You are on page 1of 6

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

โครงการ การศึกษาการเสื่อมสภาพของยาเม็ดวิตามินซี
โดยเคมีวิเคราะห์ร่วมกับการประมวลผลด้วยภาพดิจิตอล

The study of degradation of vitamin C tablets


by chemical analysis with digital image processing technique

ภญ.ดร.สุมาลี วรรณาชัยสิทธิ์
อ.ภักดี สุขพรสวรรค์
อ.มิกาเอล ไลโซลา

โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้
จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน)
ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
มหาวิทยาลัยบูรพา

โครงการ การศึกษาการเสื่อมสภาพของยาเม็ดวิตามินซี โดยเคมีวิเคราะห์


ร่วมกับการประมวลผลด้วยภาพดิจิตอล
สุมาลี วรรณาชัยสิทธิ์, ภักดี สุขพรสวรรค์, มิกาเอล ไลโซลา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยคือศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณกรดแอสคอร์บิคและระดับสี
ของยาเม็ด การเปลี่ยนแปลงของสีเป็นสัญญาณอย่างหนึ่งของการเสื่อมสภาพของยาเม็ด การศึกษาทา
การเก็บ ยาเม็ด วิตามินซีที่ผลิตโดย 3 บริษัท ที่แตกต่าง (A, B และ C) ภายใต้ส ภาวะเร่ง (40±2°C,
75±5%RH) เป็นเวลา 70 วัน ทาการวิเคราะห์หาปริมาณกรดแอสคอร์บิคโดยเครื่องโครมาโตกราฟฟี
เหลวสมรรถนะสูง ทาการประเมินค่าระดับสีของเม็ดยาโดยเทคนิคการประมวลผลด้วยภาพดิจิตอล
ผลการทดลองพบว่าปริมาณกรดแอสคอร์บิค ของยาเม็ด A, B และ C น้อยกว่า 90% ของปริมาณที่
ระบุบนฉลากหลังจากเก็บยาเม็ดในตู้สาหรับศึกษาความคงตัว เป็นระยะเวลา 70 วัน โดยปริมาณกรด
แอสคอร์บิคของยาเม็ด A ลดลงเท่ ากั บ 76.92 % หลัง จากเก็ บเป็นระยะเวลา 21 วัน การศึกษา
ระดั บ สีข องเม็ ด ยาพบว่า ในสภาวะเร่ง ระดั บ สี ข องยาเม็ ด ลดลงเมื่ อ เก็ บ เป็ นระยะเวลานานขึ้น
ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณกรดแอสคอร์บิคกับระดับสี พบว่าสาหรับยาเม็ด A มีค่า R2 ของสมการ
ความสัมพันธ์เท่ากับ 0.9297 ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ที่สูง ยาเม็ด B และ C มีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ
0.7017 และ 0.6945 ตามลาดับ แสดงถึงความสัมพันธ์ระดับปานกลาง ผลการศึกษาแสดงว่าการ
วิเคราะห์ค่าระดับสีจากการประมวลผลด้วยภาพดิจิตอลสามารถคัดกรองเบื้องต้นในการพิจารณาการ
เสื่อมสภาพของยาเม็ดวิตามินซีได้

คาสาคัญ: กรดแอสคอร์บิค, วิตามินซี, ยาเม็ด, ความคงตัว, การเสื่อมสภาพ, ประมวลผลด้วยภาพ


ดิจิตอล
1

บทที่ 1
บทนา

1.1 ความสาคัญและที่มาของปัญหา
ศูนย์รวบรวมข้อมูลปัญหาคุณภาพยา ภายใต้การดูแลรับผิดชอบโดยหน่วยงานของสานักยาและ
วัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทารายงานปัญหาคุณภาพยา จาก
สถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศเก็บข้อมูลปัญหาคุณภาพยาตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2552 ถึงเดือน
ธันวาคม พ.ศ. 2554 รายละเอียดปัญหาทางกายภาพทีพ่ บในยาเม็ด (tablets) จานวนที่พบได้รายงานไว้
เป็นจานวน 1,006 รายการ ซึ่งลักษณะที่พบคือ จากการรวบรวมรายงานปัญหาคุณภาพยาทางกายภาพที่
พบ การเสือ่ มสภาพหรือมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ได้แก่ ยาเม็ดกร่อนแตกหัก มีจุดกระ เม็ดยาชื้น
ขึ้นรา สีเม็ดยาไม่สม่าเสมอ สีเปลี่ยนไป สีซีด กลิ่นผิดปกติ หรือยาเม็ดเคลือบแตกเยิ้มหรือเกาะตัวกัน
สามารถบ่งถึงคุณภาพยา ซึ่งมักพบปัญหาดังกล่าวในยาที่ไวต่อความชื้นแล้วเกิดสารสลายตัว เช่น ยา
แอสไพริน, ยาปฏิชีวนะ และยากลุ่มวิตามิน เป็นต้น (1)
ปัญหาความเสื่อมสภาพของยา เป็นปัญหาทีส่ ่งผลกระทบหลาย ๆ ด้าน เช่น ส่งผลกระทบต่อ
ระบบสาธารณสุข โรงพยาบาล คลีนิค ร้านยา และผู้ป่วย โดยการเก็บรักษายาในคลังยาขึ้นอยูก่ ับวิธีการ
เก็บรักษาเป็นสาคัญ ซึ่งปัญหาที่พบ คือ ยาเสื่อมคุณภาพก่อนวันหมดอายุ โดยสาเหตุหลักเกิดจากวิธีการ
เก็บรักษาที่ไม่ถูกวิธี ขาดการดูแลควบคุมปัจจัยต่างๆที่สง่ ผลต่อการเก็บรักษา ยาบางชนิดต้องเก็บใน
สภาวะไม่สัมผัสกับแสงแดด โดยส่วนใหญ่ปัจจัยทีส่ ่งผลให้ยาเสื่อมคุณภาพ คือ แสงแดด ความร้อนและ
สภาพความชื้น เมื่อยามีการสูญเสียสภาพไปแล้วย่อมส่งผลเหล่านี้ไปต่อการรักษาที่ไม่ได้ผลและยังอาจ
ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ยาเป็นองค์ประกอบทีส่ าคัญอย่างหนึง่ ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยให้หาย
จากโรคที่เป็นอยู่ อีกทั้งยังเป็นส่วนทีท่ าให้เกิดทั้งต้นทุนและรายได้ของโรงพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็น
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย ดังนั้นเพื่อเป็นการสนับสนุนการใช้ยาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การเก็บรักษา
ยาให้มีคุณภาพพร้อมสาหรับการใช้งาน การมีข้อมูลการเก็บรักษายาและความคงตัวของยา ในด้านมิติของ
ผู้บริโภคหรือผูป้ ่วย ซึ่งปัญหาหนึ่งทีพ่ บบ่อยคือปัญหายาเสื่อมคุณภาพ โดยปัญหายาเสื่อมสภาพมักเกิดจาก
การทีผ่ ู้ป่วยที่ได้รบั ยาในการรักษาโรคเป็นจานวนมาก ส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้ป่วยโรคเรือ้ รัง พบว่าผูป้ ่วยใน
2

กลุ่มดังกล่าวจะมียาที่ได้รับเพื่อการรักษาเป็นจานวนมากและมีเก็บรักษาไว้ที่บ้านมากเกินความจาเป็น
โดยมีประมาณ 3-4 เท่าของยาที่ควรมี ปริมาณที่มากนีม้ ักเป็นยาที่ได้รับมาจากโรงพยาบาลหรือคลินกิ แล้ว
รับประทานยาไม่ครบตามแผนการรักษาทาให้มเี หลือเก็บไว้ ผู้ป่วยจานวนไม่น้อยมักจะเลือกรับประทาน
ยาที่เก็บสะสมไว้มากกว่าไปพบแพทย์เมื่อมีอาการเจ็บป่วย โดยทาให้ผปู้ ่วยมีความเสี่ยงทีจ่ ะได้รบั อันตราย
จากการใช้ยาคือยาอาจหมดอายุหรืออาจเสื่อมสภาพไปซึง่ ส่งผลถึงการหมดประสิทธิภาพในการรักษาและ
อาจเสี่ยงอันตรายถึงแก่ชีวิต การเสื่อมสภาพของยาอาจสังเกตจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอกซึ่ ง
สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนหรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงตัวยาที่อยู่ภายในเม็ดยาซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้
ด้วยตาเปล่า เม็ดยาเสื่อมสภาพ เช่น มีลักษณะเยิม้ เม็ดแตก ชื้น บิ่น เปลี่ยนสี มีผลึกใส มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว
เกิดขึ้นบนเม็ดยาหรือในขวด ยาแคปซูลอาจมีลกั ษณะแตกออกจากกัน บวม ชื้น หรือสีของยาที่อยู่ภายใน
แคปซูลเปลี่ยนไป หรือมีสีเข้มขึ้น ซึง่ เป็นอันตรายต่อการบริโภคเป็นอย่างมาก (2-5)
ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงทาการศึกษาการเสื่อมสภาพของยาเม็ด โดยใช้เทคนิคในการตรวจสอบความ
เสื่อมสภาพโดยวิธีเคมีวิเคราะห์ร่วมกับการประมวลผลด้วยภาพดิจิตอล โดยงานวิจัยนี้ใช้ยาเม็ดวิตามินซี
เป็นตัวอย่างในการทดลองศึกษา เนื่องจากวิตามินซีสามารถหาได้ทั่วไป เกิดการสลายตัวง่าย และสามารถ
สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงภายนอกได้ชัดเจน ยาเม็ดวิตามินซีจึงมีความเหมาะสมเพื่อใช้เป็นตัวอย่างใน
งานวิจัยนี้ โดยงานวิจัยนี้ทาการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณตัวยาสาคัญในเม็ดยากับระดับสีของ
เม็ดยาที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อทาการเก็บเม็ดยาวิตามินซีไว้ในสภาวะเร่งซึ่งเป็นสภาวะที่ทาให้เกิดการสลาย
ของตัวยาสาคัญในระยะเวลาที่เร็วขึ้น นอกจากความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณตัวยาสาคัญและระดับสีของ
เม็ดยา คุณสมบัติทางกายภาพอื่นๆ ได้แก่ ความแข็ง ความกร่อน และการแตกตัวอาจมีการเปลี่ยนแปลง
เมื่อเกิดการเสื่อมสภาพของเม็ดยาได้ จึงทาการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของเม็ดยาที่เปลี่ยนแปลงไป
เมื่อเกิดการเสื่อมสภาพ นอกจากนี้คณะผู้วิจัยได้ทาการพัฒนาและตั้งตารับยาเม็ดวิตามินซี เพื่อใช้ในการ
ทดสอบความคงตัวที่สภาวะเร่งร่วมด้วย
22

ฮิสโตแกรมสีเป็นลักษณะเฉพาะทางสีของภาพที่นิยมนามาใช้ในระบบการค้นคืนภาพส่วนใหญ่
เนื่องจากสามารถคานวณได้ง่ายและรวดเร็ว แต่มีข้อเสียคือ มีเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับการกระจายของสี
ภายในภาพเท่านั้นไม่มีข้อมูลเชิงตาแหน่ง (Spatial Information)

วัตถุประสงค์
1. พัฒนาสูตรตารับของยาเม็ดวิตามินซีเพื่อนามาทดลองเปรียบเทียบผลของความคงตัว
2. เพือ่ ศึกษาความคงตัวของยาเม็ดวิตามินซีเมือ่ เก็บไว้ที่สภาวะที่กาหนด
3. เพือ่ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณยาที่คงเหลือหลังจากเก็บเม็ดยาไว้ทสี่ ภาวะหนึ่งๆ กับสี
ของเม็ดยาทีเ่ ปลี่ยนแปลงไปเมือ่ ทาการวิเคราะห์จากภาพถ่าย

ขอบเขตการวิจัย
1. ศึกษาลักษณะทางกายภาพของเม็ดยาในสภาพปกติและเม็ดยาที่ถูกเก็บไว้ภายใต้สภาวะเร่ง
ทาการบันทึกสัญญาณภาพดิจิตอล และนาไปหาปริมาณตัวยาสาคัญเพื่อนาข้อมูลที่ได้ไป
ประมวลผลหาความสัมพันธ์
2. ศึกษาการเสื่อมสภาพของยาเม็ดวิตามินซีทผี่ ลิตจากหลายบริษัท เพื่อเปรียบเทียบ
ความสัมพันธ์ของวิธีวิเคราะห์ทางเคมีและการประมวลผลด้วยภาพดิจิตอล

กรอบแนวคิดการวิจัย

ความชืน้
และอุณหภูมิ

ปริมาณวิตามินซีท่ีคงเหลือ
ยาเม็ดวิตามินซีสาเร็จรูป
ในตารับที่เวลาต่าง ๆ
ยาเม็ดวิตามินซีตารับที่พฒ
ั นาขึน้
สีของเม็ดยาที่เปลี่ยนแปลง
23

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รบั
1. เพื่ อ วิเ คราะห์ห าความสัม พันธ์ของปริม าณสารส าคัญ ที่ ได้จ ากการเคมี วิเ คราะห์ร่วมกั บ การ
ประมวลผลด้วยภาพดิจิตอล
2. พัฒนาข้อมูลสัญญาณภาพดิจิตอลเพื่อใช้ในการคาดการณ์ปริมาณสารสาคัญในเม็ดยา ซึ่งสามารถ
สะท้อนถึงคุณภาพยาได้เบื้องต้น

You might also like