You are on page 1of 6

1.

ชื่อผลงาน/โครงการพัฒนา : นวัตกรรมบัตรสีเตือนภัยห่างไกลสารเคมี

2.คำสำคัญ : เอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส, สารเคมีตกค้างในเลือด, บัตรสี


เตือนภัย

3.สรุปผลงานโดยย่อ : จากผลการดำเนินงาน พบว่าก่อนที่จะมีการนำ


นวัตกรรมบัตรสีเตือนภัยห่างไกลจากสารพิษ มาใช้ พบว่าการเข้าถึง
กิจกรรมลดปั จจัยเสี่ยงสารเคมีในเกษตรกรในกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัย
ในปี 2564 - 2565 พบว่ามีความครอบคลุมร้อยละ 32.09 และ 29.38
ตามลำดับ และจากการศึกษาวิจย
ั เรื่อง “การศึกษาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเท
อเรสในประชาชนบ้านตึกชุม ตำบลชุมพลบุรี อำเภอชุมพลบุรี จังหวัด
สุรินทร์” ในปี 2565 พบว่า มีความชุกของเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรสที่มี
ระดับความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย คิดเป็ นร้อยละ 45.83 ประชาชนที่ใช้
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 38
จึงวางแผนการดำเนินงาน โดยการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปั ญหา
และนำบัตรสีเตือนภัย ซึง่ ใช้สัญลักษณ์สีเพื่อเตือนถึงระดับอันตรายจาก
สารเคมี ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงรับรู้ เกิดความตระหนักถึงอันตรายจากสาร
เคมีในเลือด เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคคลในชุมชนที่ได้บัตรสี
ต่างกัน และกระตุ้นให้มีการปรับพฤติกรรม สนใจเข้าร่วมกิจกรรมลด
ปั จจัยเสี่ยงจากสารเคมีในเลือดเกษตรกร และตัง้ ใจที่จะลดระดับสารพิษใน
ร่างกาย ทำให้ตัวเองปลอดภัยจากสารเคมีในเลือดเกษตรกร เหมือนกับ
บุคคลอื่น ซึ่งหลังจากที่มีการใช้บัตรสีเตือนภัย ห่างไกลสารพิษในเลือด
เกษตรกรมาใช้ พบว่า มีกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่ไม่ปลอดภัย เข้าถึงกิจกรรม
ลดปั จจัยเสี่ยงสารเคมีในเกษตรกร คิดเป็ นร้อยละ 100 เพิ่มขึน
้ จากปี ที่ผ่าน
มา และเมื่อใช้บัตรสีเตือนภัย ห่างไกลสารพิษ ผลการตรวจ พบสารเคมี
ตกค้างในกระแสเลือดในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ลดลง คิดเป็ นร้อยละ
28 และมีความรู้อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 78

4.ชื่อและที่อยู่องค์กร : กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม

5.สมาชิกทีม : นางวรรณวิภา สร้อยแสง, นายทวีศักดิ ์ ชูวา, นางสาวศิริ


ทิพย์ ในทอง และนายสมศักดิ ์ เหลาคม
6.เป้ าหมาย : เกษตรกร บ้านตึกชุม อายุ 15-60 ปี ทำงานสัมผัสกับสาร
เคมี จำนวน 50 คน (จำนวนดังกล่าวต้องไม่ใช่กลุ่มป่ วยเบาหวาน)

7.ปั ญหาและสาเหตุโดยย่อ :
จากข้อมูลของ กระทรวงสาธารณสุข HDC พบว่า ปี 2562
ประเทศไทยมีอัตราป่ วยจากผลของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 10.91 ต่อ
ประชากรแสนคน ข้อมูลเขตสุขภาพที่ 9, จังหวัดสุรินทร์ อำเภอชุมพลบุรี
และหมู่บ้านตึกชุม ปี 2562 มีอัตราป่ วยจากผลของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
26.88 , 15.14, 21.94 และ 0 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ
จากการดำเนินงานดูแลสุขภาพเกษตรกร โดยการคัดกรองความ
เสี่ยงและตรวจหาระดับของเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส และดำเนินงานเฝ้ า
ระวังโรคพิษจากสารศัตรูพืช ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลชุมพลบุรี พบ
ว่า เกษตรกรมีผลเลือดในระดับที่เสี่ยงและไม่ปลอดภัย ปี 2564 – 2566
ร้อยละ 83.36, 89.82 และ 90.62 ตามลำดับ และพบว่าการเข้าถึง
กิจกรรมลดปั จจัยเสี่ยงสารเคมีในเกษตรกรในกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัย
ในปี 2564 - 2565 พบว่ามีความครอบคลุมร้อยละ 32.09 และ 29.38
ตามลำดับ และจากการศึกษาวิจย
ั เรื่อง “การศึกษาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเท
อเรสในประชาชนบ้านตึกชุม ตำบลชุมพลบุรี อำเภอชุมพลบุรี จังหวัด
สุรินทร์” ในปี 2565 พบว่า มีความชุกของเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรสที่มี
ระดับความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย คิดเป็ นร้อยละ 45.83 ประชาชนที่ใช้
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็ นร้อย
ละ 34.94

8. กิจกรรมการพัฒนา :
1.เตรียมข้อมูลสถานะสุขภาพ กลุ่มเป้ าหมายในการตรวจคัดกรอง
สารเคมีในเลือด เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง อายุ 15 - 60 ปี
2. ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเกษตรกรทราบเพื่อเตรียมกลุ่มเป้ าหมาย
และนัด วัน เวลาและสถานที่ในการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ตกค้างในเลือด
3.เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองการตรวจเลือด
โดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส
4. ดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร
กลุ่มเสี่ยง
5. จำแนกประชาชนที่ผลการตรวจพบระดับสารเคมีในเลือด ออก
เป็ น ๔ ระดับประกอบด้วย
- ระดับไม่ปลอดภัย ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดต่ำ
กว่า ๗๕ หน่วยต่อมิลลิลิตร
- ระดับเสี่ยง ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดมากกว่า
หรือเท่ากับ ๗๕ หน่วยต่อมิลลิลิตร
- ระดับปลอดภัย ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด
มากกว่าหรือเท่ากับ ๘๗.๕ หน่วยต่อมิลลิลิตร
- ระดับปกติ ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด
มากกว่าหรือเท่ากับ ๑๐๐ หน่วยต่อมิลลิลิตร
6.แจ้งผลและให้คำแนะนำด้วยบัตรสีเตือนภัย 4 สี ดังนี ้
- ระดับไม่ปลอดภัย แจ้งผลด้วยบัตรสีแดง
- ระดับเสี่ยง แจ้งผลด้วยบัตรสีเหลือง
- ระดับปลอดภัย แจ้งผลด้วยบัตรสีเขียว
- ระดับปกติ แจ้งผลด้วยบัตรสีขาว
7. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงของหมู่บ้านกลุ่มเป้ าหมายให้มี
ความรู้และสร้างเจตคติเรื่องการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง
8. ในกลุ่มที่ได้รับบัตรสีแดงและสีเหลืองจะได้รับคู่มือสำหรับการล้าง
พิษในประชาชนและเข้าสู่ กระบวนการขับสารพิษ คือ การรับ
ประทานชาชงรางจืด โดยทานชารางจืดวันละ 1 ครัง้ ในตอนเช้าครัง้
ละ 5 กรัมติดต่อกัน 7 วัน
9. ประเมินความรู้ และตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่ม
เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ครัง้ ที่ 2 แจ้งผลและให้คำแนะนำด้วยบัตรสีเตือนภัย 4
สี

9.การวัดผลและผลการเปลี่ยนแปลง :
ผลการศึกษา : จากการติดตามและประเมินผลกลุ่มตัวอย่าง
เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงตำบลชุมพลบุรี พบว่า
ตารางที่ 1 จำนวนค่าโคลีนเอสเทอเรสที่ทำการตรวจ จำแนกเป็ นก
ลุ่มตามเกณฑ์ (N = 50 คน)
จำนวนคน
เกณฑ์ ก่อน ร้อย หลัง ร้อย
(จำนว ละ (จำนว ละ
นคน) นคน)
ปกติ 4 6.00 7 14.00
ปลอดภัย 8 16.00 11 24.00
มีความเสี่ยง 14 28.00 18 36.00
ไม่ปลอดภัย 23 46.00 13 26.00
(เสี่ยง+ไม่ปลอดภัย) 37 74.0 31 62.0
0 0

ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในร่างกาย ระดับเสี่ยง และไม่ปลอดภัย มี


จำนวนลดลง หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมลดปั จจัยเสี่ยง และเข้าสู่
กระบวนการขับสารพิษ ร้อยละ 28
ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละ ระดับความรู้ก่อนและหลังเข้าร่วม
อบรม (N = 50 คน)
เกณฑ์คะแนน ก่อนอบรม หลังอบรม
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
(คน) (คน)
ความรู้ระดับสูง 14 28.00 39 78.00
ความรู้ระดับปานกลาง 19 38.00 7 14.00
ความรู้ระดับต่ำ 17 34.00 4 8.00

เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมฯ มีความรู้ ระดับปานกลาง


มากที่สุด ร้อยละ 38 แต่หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมแล้ว พบว่ามีระดับความ
รู้อยู่ระดับสูง ร้อยละ 78

10. บทเรียนที่ได้รับ : การใช้บัตรสี พบว่าเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง เข้าร่วม


กิจกรรมมากขึน
้ และมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขน
ึ ้ มากกว่าแนวทาง
เดิมที่แจ้งผลด้วยวาจา และไม่ใช้บัตรสี ทัง้ นีเ้ นื่องมาจาก เกษตรกรกลุ่ม
เสี่ยงที่ได้รับบัตรสี มีการรับรู้สภาวะสุขภาพของตนเอง รับรู้ระดับสารเคมี
ตกค้างในร่างกาย มีความรู้ ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัด
ศัตรูพืช เกิดความสนใจที่จะทำให้ตัวเองปลอดภัยจากสารเคมีในเลือด
เกษตรกร เหมือนกับบุคคลอื่น เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเข้าร่วม
กิจกรรมการขับสารพิษอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
11. การติดต่อกับทีมงาน : นางวรรณวิภา สร้อยแสง งานอาชีวอนามัย
และเวชกรรมสิ่งแวดล้อม กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรง
พยาบาลชุมพลบุรี โทร.044-596321 ต่อ 501

You might also like