You are on page 1of 27

รหัสโครงการ 26YESC00766T

รายงานฉบับสมบูรณ์

การเพิ่มความแข็งแรง ความเหนียว และการทนน้ำของบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ


พร้อมสารสกัดธรรมชาติเพื่อชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและตัวชี้วัดการเน่าเสียของอาหารสด
Enhancement of Strength Toughness and Water-Resistant of Biodegradable
Packaging with Natural Antibacterial Film and Food Spoilage Indicator

โครงงานสาขาวิทยาศาสตร์โลกและสิ่งแวดล้อม
(สาขาย่อย: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเคมีสิ่งแวดล้อม)

โดย
1. นางสาววิชญาพร วุฒิภาพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน กำเนิดวิทย์
2. นางสาวธันยนันท์ พูนบันดาลสิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน กำเนิดวิทย์

อาจารย์ที่ปรึกษา
1. ดร.จันทร์จิรา มณีสาร โรงเรียน/สถาบัน กำเนิดวิทย์

เสนอต่อ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ได้รับทุนอุดหนุน
การประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 26
การทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม
จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
“This research and innovation activity is funded by National Science and Technology
Development Agency (NSTDA) and National Research Council of Thailand (NRCT)”
รหัสโครงการ 26YESC00766T
การเพิ่มความแข็งแรง ความเหนียว และการทนน้ำของบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ
พร้อมสารสกัดธรรมชาติเพื่อชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและตัวชี้วัดการเน่าเสียของอาหารสด
ผู้พัฒนา นางสาววิชญาพร วุฒิภาพ1 นางสาวธันยนันท์ พูนบันดาลสิน1
อาจารย์ที่ปรึกษา ดร.จันทร์จิรา มณีสาร1
1 โรงเรียนกำเนิดวิทย์ ตำบล ป่ายุบใน อำเภอ วังจันทร์ จังหวัด ระยอง

บทคัดย่อ

บรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากผู้คนเริ่มรับรู้และ
ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพก็
ได้รับการพัฒนาอขึ้นย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มคุณสมบัติที่จำเป็นในการบรรจุอาหาร ทำให้ผลิตจากวัสดุธรรมชาติให้ได้มาก
ที่สุด และเพื่อลดระยะเวลาที่ใช้ในการย่อยสลาย โดยคณะผู้จัดทำได้ทำการศึกษาบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีว ภาพที่
ประกอบด้วยสามส่วนหลัก คือภาชนะที่ผลิตจากเซลลูโลสเปลือกทุเรียนผสมโซเดียมแอลจิเนต ฟิล์มชะลอการ
เจริญเติบโตของแบคทีเรียจากสารสกัดจากกระชาย และฟิล์มอินดิเคเตอร์เพื่อบ่งชี้การเน่าเสียของอาหารสดจากดอก
ต้อยติ่ง ทั้งยังได้มีการศึกษาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการนำเซลลูโลสนาโนคริสตัล หรือซีเอ็นซีจากเปลือกทุเรียนผสม
ลงไปในฟิล์มต้านแบคทีเรียและฟิล์มบ่งชี้การเน่าเสียของอาหารสดเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับฟิล์ม นอกจากนี้ยังได้
ทดสอบความแข็งแรง ความเหนียวและความทนน้ำของบรรจุภัณฑ์โดยเปรียบเทียบการใช้โซเดียมแอลจิเนตจาก
สาหร่ายสีน้ำตาลกับเจลาตินที่สกัดได้จากสกัดกระดูกวัว ซึ่งการผลิตจากวัสดุธรรมชาติทั้งหมดนี้จะทำให้บรรจุภัณฑ์
สามารถย่อยสลายได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตามในการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจำเป็นต้ องมีการหาอัตราส่วนของ
วัตถุดิบที่ใช้ผลิต ชนิดของวัตถุดิบที่เหมาะสมจะใช้ผลิตที่สุด คณะผู้จัดทำจึงได้นำโซเดียมแอลจิเนตและเจลาตินมาใช้
ในการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ และทำการเปรียบเทียบความแข็งแรง ความเหนียวและความสามารถในการ
ทนน้ำของบรรจุภัณฑ์ทั้งสองชนิด

คำสำคัญ: บรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ (Biodegradable packaging); ฟิล์มต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย


(Antibacterial film); ฟิล์มบ่งชี้การเน่าเสียของอาหารสด (Food spoilage indicator film);เซลลูโลสนาโนคริสตัล
(Cellulose nanocrystal); โซเดียมแอลจิเนต (Sodium alginate); เจลาติน (Gelatin);

1
สารบัญ

เรื่อง หน้า

1. บทนำ ……………………............................................................................................................................... 1
2. วัตถุประสงค์ …………………….....................................................................................................................3
3. สมมติฐาน ………………………..................................................................................................................... 3
4. ระเบียบวิธีการทดลอง ………………………...................................................................................................4
4.1 วัสดุอุปกรณ์และสถานที่ .......................................................................................................... 5
4.1.1 วัสดุอุปกรณ์ ............................................................................................................ 5
4.1.2 สถานที่ ....................................................................................................................5
4.2 ขั้นตอนการศึกษา .................................................................................................................... 5
4.2.1 การผลิตฟิล์มอินดิเคเตอร์จากดอกต้อยติ่ง……………..................................................... 5
4.2.2 การตรวจสอบคุณสมบัตกิ ารยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของสมุนไพรไทย………………………....... 6
4.2.3 การทำภาชนะพลาสติกชีวภาพจากเปลือกทุเรียน......................................................... 7
4.2.4 การตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)…………………………………………………8
4.2.5 การวิเคราะห์สมบัติของฟิล์ม………………………………………………………………………………….9
5. ผลการทดลองและการวิเคราะห์ผล ………………………………………............................................................. 10
5.1 การเปลี่ยนแปลงสีของผงสารสกัดจากดอกต้อยติ่ง…………………………………………………........... 10
5.2 การตรวจสอบคุณสมบัติสมุนไพรด้วยวิธี Agar Diffusion Assay……….................................... 10
5.3 การตรวจสอบคุณสมบัติการซึมผ่านของไอน้ำ........................................................................... 11
5.4 การตรวจสอบลักษณะสัณฐานวิทยา……………………………………………………………………………
5.4 การตรวจสอบคุณสมบัติการย่อยสลายได้………………………………………………………………………..13
6. สรุปผล ……………………............................................................................................................................. 14
7. กิตติกรรมประกาศ …………………………………….........................................................................................15
8. บรรณานุกรม ……………………................................................................................................................... 16
9. ภาคผนวก ……………………………............................................................................................................... 18

2
1. บทนำ
เป็นที่ทราบกันดีว่าปัญหาขยะพลาสติกถือเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลกในปัจจุบัน เนื่องจากปริมาณการใช้พลาสติก
ของมนุษย์ที่มากขึ้น อีกทั้งมีการทิ้งในปริมาณสูง อายุการย่อยสลายของพลาสติกที่ยาวนานทำให้เกิดการสะสมของ
พลาสติกมากขึ้นทุกปี และเมื่อย่อยสลายแล้วยังมีปัญหาไมโครพลาสติกที่เกิดจากการย่อยสลายพลาสติกซึ่งก่อให้เกิด
ภาวะโลกร้อนตามมา บรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพจึงถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เนื่องจากบรรจุภัณฑ์
ประเภทนี้สามารถย่อยสลายได้เองอย่างรวดเร็วในธรรมชาติ และไม่ก่อให้เกิดมลพิษหลังการย่อยสลาย แต่บรรจุภัณฑ์
พลาสติกชีวภาพที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่ได้ผลิตจากวัสดุธรรมชาติทั้งหมด อีกทั้งบางชิ้นยังไม่มีความเหนียว ความ
แข็งแรงทนทาน และความสามารถในการทนน้ำ ซึ่งข้อจำกัดเหล่านี้ทำให้ผู้บริโภคหลายคนไม่เลือกซื้อบรรจุภัณฑ์
ชีวภาพและยังคงใช้พลาสติกที่มีความสะดวกสบายในการใช้มากกว่า
บรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพนี้ถูกพัฒนาขึ้นให้สามารถทนน้ำได้ มีความแข็งแรง และความเหนียว เพื่อให้สามารถ
ใช้งานได้ยาวนานและสะดวกสบายมากขึ้น บรรจุภัณฑ์นี้สามารถใช้บรรจุอาหารสดได้ และมุ่งเน้นไปที่คุณสมบัติใน
การยับยั้งแบคทีเรีย เพื่อป้องกันการเน่าเสีย และการปนเปื้อนของแบคทีเรียก่อโรคในอาหารสด [Chouliara et al.,
2007] เช่น ในเนื้อไก่สด จากการศึกษาพบว่าการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในเนื้อไก่ อาทิ Salmonella enteritidis
และStaphylococus aureus ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่ออายุการเก็บรักษาเนื้อไก่ จึงเกิดความคิดที่จะ
พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สามารถชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในอาหารสดได้ โดยใช้น้ำมันหอมระเหย และจาก
การศึกษาพบว่าน้ำมันหอมระเหยที่มีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งแบคทีเรีย คือ ออริกาโน่ [ Roberto et al., 2018]
คณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะนำสมุนไพรไทยที่ใช้ในครัวเรือนทั่วไป คือ กะเพรา สะระแหน่ โหระพา ขิง ข่า ตะไคร้ และ
กระชาย ซึ่งถือเป็นสมุนไพรไทยที่เป็นพืชท้องถิ่น เจริญเติบโตได้ง่าย และสามารถนำมาบริโภคได้ มาใช้ในการทดสอบ
ด้วย โดยจะนำสารสกัดจากสมุนไพรไทยมาใช้ในการยับยั้งแบคทีเรียในอาหารสด ด้วยการสกัดเอาสารมีสีออกจาก
สมุนไพรก่อนนำไปเคลือบกับฟิล์มเพื่อให้ฟิล์มที่ได้เป็นฟิล์มใสไม่มีสี ซึ่งฟิล์มลักษณะนี้จะทำให้ผู้บริโภคสามารถดู
ลักษณะอาหารสดที่ถูกบรรจุอยู่ภายในได้สะดวกขึ้น
นอกจากนี้การบอกความสดของอาหารก็ถือเป็นเรื่องสำคัญในการช่วยผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้ออาหารสด การ
เปลี่ยนสีของแอนโทไซยานินอันเนื่องมาจากค่า pH ที่เปลี่ยนไป [Chen et al., 2020] สามารถใช้บอกความสดของ
อาหารได้ จึงได้นำมาใช้กับบรรจุภัณฑ์นี้ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค โดยการนำแอนโทไซยานินผสมกับไบโอโพลิ
เมอร์ (biopolymer) เช่น สารสกัดจากเบอร์รี่ กะหล่ำปลีม่วงหรือมันเทศ [Wu et al., 2021] เนื่องจากสารแอนโทไซ
ยานินในพืชเหล่านี้มีความไวต่อการเปลี่ยนสีในค่า pH ที่แตกต่างกันสูง [Nazaruddin et al., 2021]
คณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่จะพัฒนา และหาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพความเหนียว ความแข็งแรง และความสามารถ
ในการทนน้ำของบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพต้านแบคทีเรียจากเปลือกทุเรียน พร้อมตัวชี้วัดการเน่าเสียของอาหารสด
จากดอกต้อยติ่ง
การผลิต พัฒนา และเพิ่มประสิทธิภาพในการทนน้ำ ความเหนียว และความแข็งแรงของบรรจุภัณฑ์พลาสติก
ชีวภาพต้านแบคทีเรียจากเปลือกทุเรียน พร้อมตัวชี้วัดการเน่าเสียของอาหารสดได้มีการนำเปลือกทุเรียนกลับมาใช้ให้
3
เป็นประโยชน์ โดยนำมาสร้างเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพที่สามารถทนต่อน้ำแทนภาชนะกระดาษและภาชนะ
พลาสติกได้ ทั้งยังสามารถย่อยสลายง่าย ไม่ก่อให้เกิดขยะที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีไมโครพลาสติกเหลือ
หลังจากการย่อยสลาย โดยในเปลือกทุเรียนมีปริมาณเซลลูโลสสูง [Isroi et al.,2017] สามารถนำมาผลิตบรรจุภณ ั ฑ์
พลาสติกชีวภาพได้ ในส่วนของการยืดอายุการใช้งานของบรรจุภัณฑ์ ซึ่งคือการเพิ่มความสามารถในการทนน้ำ โดยมี
การนำโซเดียมแอลจิเนต และเจลาติน[Santana and Kieckbusch, 2013] ซึ่งเป็นสารสกัดธรรมชาติจากผนังเซลล์
ของสาหร่ายทะเลสีน้ำตาล และกระดูกวัว ตามลำดับมาใช้ในการผลิต อีกทั้งยังได้ศึกษาการนำคาร์บอกซิเมทิล
เซลลูโลส หรือซีเอ็มซี และเซลลูโลสนาโนคริสตัล หรือซีเอ็นซี มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตฟิล์มอินดิเคเตอร์จาก
ดอกต้อยติ่งอีกด้วย
โครงงานนี้เป็นโครงงานต่อยอด ซึ่งโครงงานก่อนหน้านี้ทำการวิเคราะห์ฟิล์มบ่งชี้ความสดของเนื้อไก่จากดอก
ต้อยติ่ง และผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรียจากสมุนไพรไทยโดยใช้ เซลลูโลส น้ำ
แป้ง กลีเซอรอล และน้ำยางพาราเป็นตัวบรรจุภัณฑ์ จากนั้นเคลือบด้วยฟิล์มจากสมุนไพรไทยที่ทำจากโซเดียมแอลจิ
เนตซึ่งพบปัญหาว่า บรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพเริ่มอ่อนตัวเมื่อทิ้งเอาไว้ที่สภาวะปกติ พร้อมทั้งกลิ่นของน้ำยางส่งผล
ให้ภาชนะมีกลิ่นของน้ำยางด้วย และฟิล์มเคลือบจะหลุดออกเมื่อเวลาผ่านไป ในส่วนของฟิล์มบ่งชี้การเน่าเสียของ
อาหารและฟิล์มชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ยังคงต้องการพัฒนาอัตราส่วนที่เหมาะสม หาชนิดวัสดุที่เหมาะ
ชนิดพลาสติไซเซอร์ที่เหมาะสมเพื่อให้ได้พลาสติกชีวภาพในส่วนที่เป็นภาชนะ และฟิล์มปิดภาชนะที่มีคุณภาพตามที่
ผู้จัดทำโครงงานต้องการ และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ให้ได้มากขึ้น
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
1. ไมโครพลาสติก คือ ชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กมากที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าและอาจปนเปื้อนลงไปในสิ่งแวดล้อมได้
2. ออริกาโน่ คือ น้ำมันหอมระเหยชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
3. แอนโทไซยานิน คือ รงควัตถุที่พบในพืชทั้งในดอกและในผลของพืช ให้สีแดง น้ำเงิน หรือม่วง
4. เซลลูโลสนาโนคริสตัล หรือซีเอ็นซี คือ เซลลูโลสที่ได้จากการใช้สารเคมีเข้าทําปฏิกิริยาเพื่อทําการตัด สายโซ่โมเลกุล
ระหว่างโครงสร้างที่เป็นผลึก (crystals) และโครงสร้างอสัณฐาน (amorphous) ซึ่งมีความกว้าง 4–70 นาโนเมตร และยาว
100–6,000 นาโนเมตร

4
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพโดยใช้เซลลูโลสจากเปลือกทุเรียนที่มีความแข็งแรง ความเหนียวทนทาน
สามารถทนต่อน้ำ และในขณะเดียวกันก็สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
2.2 เพื่อผลิตฟิล์มต้านแบคทีเรียที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากสมุนไพรไทย ซึ่งมีประสิทธิภาพในการชะลออัตรา
การเจริญเติบโตของแบคทีเรียก่อโรคในอาหาร อันเป็นสาเหตุทที่ ำให้อาหารเน่าเสียได้จริง
2.3 เพื่อผลิตฟิล์มที่ผลิตจากสารสกัดดอกต้อยติ่งสามารถทำหน้าที่เป็นอินดิเคเตอร์ที่เปลี่ยนสีตามค่า pH ที่
เปลี่ยนไปได้ ซึ่งสามารถใช้ในการบ่งบอกความเน่าเสียของอาหารสดได้อย่างถูกต้อง และแม่นยำ

3. สมมติฐาน
3.1 ถ้าเซลลูโลสมีคุณสมบัติในการเพิ่มความแข็งแรง แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถดูดซับน้ำได้ดี ดังนั้นบรรจุภัณฑ์
พลาสติกชีวภาพที่มีปริมาณเซลลูโลสต่างกันจะมีความแข็งแรงและการทนน้ำต่างกันโดยบรรจุภัณฑ์ที่มีอัตราส่วนของ
เซลลูโลสมากจะมีความแข็งแรงมาก แต่มีความสามารถในการทนน้ำต่ำ
3.2 ถ้าสารสกัดจากสมุนไพรไทยมีความสามารถในการยับยัง้ การเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ดังนั้นฟิล์มที่มีสาร
สกัดจากสมุนไพรไทยเป็นส่วนประกอบก็มีความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และสามารถลด
การเน่าเสียของอาหารสดได้
3.3 ถ้าสารสกัดจากดอกต้อยติ่งสามารถใช้เป็นอินดิเคเตอร์เพื่อวัดค่า pH ได้ ดังนั้นฟิล์มที่มีสารสกัดจากดอก
ต้อยติ่งเป็นส่วนผสมสามารถใช้เป็นอินดิเคเตอร์วัดค่า pH และเป็นอินดิเคเตอร์วัดความเน่าเสียของอาหารสดได้
เนื่องจากเมื่ออาหารสดการเน่าเสียจะปล่อยแก๊สแอมโมเนีย ซึ่งมีฤทธิ์เป็นเบสออกมา

5
4. ระเบียบวิธีการทดลอง

สกัดดอกต้อยติ่ง สกัดสารต้านจุลินทรีย์ เตรียมเปลือกทุเรียน


จากสมุนไพรไทย
วิเคราะห์การตอบสนองต่อค่า pH สกัดเซลลูโลสจากเปลือก
ของสารสกัดต้อยติ่ง สกัดสารมีสีออก ทุเรียนและทำให้บริสุทธิ์

เตรียมฟิล์มจาก ตรวจสอบการยับยั้งแบคทีเรีย เตรียมพลาสติกชีวภาพ


สารสกัดดอกต้อยติ่ง โดยวิธี Agar Diffusion Assay จากโซเดียมอัลจิเนต

ทดสอบการเปลี่ยนแปลงสีของฟิลม์ ผลิตฟิล์มจาก
สารสกัดสมุนไพรไทย เตรียมพลาสติกชีวภาพ
ต่อค่า pH ที่แตกต่างกัน
จากเจลาติน
ฟิล์มอินดิเคเตอร์จาก ทดสอบความสามารถใน
สารสกัดดอกต้อยติ่ง การยับยั้งแบคทีเรียของฟิล์ม ขึ้นรูปพลาสติก
ชีวภาพเป็นภาชนะ
ฟิล์มต้านแบคทีเรียจาก
ภาชนะพลาสติกชีวภาพ
สารสกัดสมุนไพรไทย
จากเปลือกทุเรียน

“บรรจุภณ
ั ฑ์พลาสติกชีวภาพทนต่อน้ำจากเปลือกทุเรียนและชะลอการเติบโตของแบคทีเรียด้วยสาร
สกัดจากสมุนไพรไทย พร้อมตัวบ่งชี้การเน่าเสียของอาหารสดจากดอกต้อยติ่ง”

วิเคราะห์คุณสมบัติต่างๆของบรรจุภัณฑ์อีกครั้ง
รูปที่ 1 แสดงผังงานกระบวกการทดลอง (flowchart) ของการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ

รูปที่ 2 แสดงรูปต้นแบบ (prototype) ของบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ


6
รูปที่ 3 แสดงรูปผลิตภัณฑ์จริง

4.1. วัสดุอุปกรณ์และสถานที่
4.1.1. วัสดุอุปกรณ์
ดอกต้อยติ่ง, สมุนไพรไทยทั้ง 7 ชนิด ได้แก่ กะเพรา, โหระพา, สะระเเหน่, ข่า, ตะไคร้,
ขิง, กระชาย, เอทานอล (C2H5OH), น้ำกลั่น , กรดไฮโดรคลอริก (HCI), โพแทสเซียมคลอไรด์
(KCl), โพแทสเซียมไฮโดรเจนพทาเลต (C8H5KO4), โพแทสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต (KH2PO4),
โซเดี ย มเตตระบอเรตเดคะไฮเดรต (Na2B4O7•10H2O), ไดโซเดี ย มฟอสเฟต (Na2HPO4),
โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH), โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (NaClO), กรดซัลฟูริค, เนื้อไก่สด, เเบคที
เรียเเกมบวก (Enterococcus faecalis, Staphylococcus aureus เเละAcillus cereus), เเบค
ทีเรียเเกมลบ (Escherichia coli, Aeromonas hydrophila เเละSalmonella typhimurium),
แอมพิซิลลิน, เปลือกทุเรียน, Sodium Alginate, กลีเซอรอล, DMSO, แผ่นอะคริลิก, เจลาติน, น้ำ
ปราศจากไอออน
กระดาษยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์, เครื่องวัดค่า pH, เครื่องกวนแบบแม่เหล็ก, ผ้าขาวบาง,
hot plate, เครื่องกลั่นระเหยสารแบบหมุน , เครื่องปั่น, อลูมิเนียมฟอยล์ , โซนิเคเตอร์, Freeze
dryer , โกร่งบดสาร, เครื่องชั่งน้ําหนัก ,เครื่องวัดค่าการดูดกลืนแสง, เเท่งเเก้วเกลี่ยเชื้อสามเหลี่ยม
, กระดาษกรอง, อาหารเลี้ยงเชื้อ, วุ้นเลี้ยงเชื้อ, จานเพาะเชื้อ, ไมโครปิเปต, ลูปเขี่ยเชื้อ, เครื่องย่อย
ไนโตรเจน, เครื่องดูดความชื้น, ขวดรูปชมพู่, บีกเกอร์, เทอร์โมมิเตอร์
4.1.2. สถานที่
- ห้องปฏิบัติการ โรงเรียนกำเนิดวิทย์
- ห้องปฏิบัติการ สถาบันวิทยสิริเมธี

4.2. ขั้นตอนการศึกษา
4.2.1. การผลิตฟิล์มอินดิเคเตอร์จากดอกต้อยติ่ง
- การสกัดดอกต้อยติ่ง
นำดอกต้อยติ่ง 100 กรัมใส่ในบีกเกอร์ จากนั้นเติมเอทานอล 99.9% 0.5 ลิตรลงไป จากนั้นนำ
ส่วนผสมแต่ละส่วนไปปั่นเป็นเวลา 2 นาที และใส่ในภาชนะที่ปิดด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ที่อุณหภูมิหอ้ ง

7
เป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง หลังจากนั้นกรองส่วนผสมที่ได้ผ่านผ้าขาวบาง และนำกากออก แล้วนำไป
กลั่นเพื่อระเหยเอทานอลออกด้วยเครื่องกลั่นระเหยสารแบบหมุนที่อุณหภูมิ 30°C จากนั้นนำสารที่ได้
เก็บไว้ในหลอดพลาสติกที่อุณหภูมิ -50°C ก่อนการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง ด้วยเครื่อง Freeze
Dryer
- การวิเคราะห์การตอบสนองต่อ pH ของสารสกัดดอกต้อยติ่ง
เตรียมสารละลายบัฟเฟอร์ของค่า pH 11 ระดับ (pH 2.0 ถึง 12.0) โดยเตรียมจากการผสมสาร
สองชนิดเข้าด้วยกันแล้วบรรจุในภาชนะขนาด 50 มล. ที่ปิดสนิท บัฟเฟอร์แต่ละ pH ปริมาณ 5 มล.
จะถูกนำมาทดสอบกับผงที่สกัดจากดอกต้อยติ่งเป็นเวลา 5 นาที จากนั้นบันทึกผลการเปลี่ยนแปลงสี
ของสารผสมดังกล่าว
pH 2 ใช้ 0.2M KCl กับ 0.2M HCl pH 3,4 ใช้ 0.1M C8H5KO4 กับ 0.1M HCI
pH 5 ใช้ 0.1M C8H5KO4 กับ 0.1M NaOH pH 6-8 ใช้ 0.1M KH2PO4 กับ 0.1M NaOH
pH 9 ใช้ 0.025M Na2B4O7•10H2O กับ 0.1M HCl
pH 10 ใช้ 0.025M Na2B4O7•10H2O กับ 0.1M NaOH
pH 11,12 ใช้ 0.05M Na2HPO4 กับ 0.1M NaOH
- การเตรียมเซลลูโลสนาโนคริสตัล
ต้มเซลลูโลสที่สกัดได้จากเปลือกทุเรียนด้วย 50-65% กรดซัลฟูริคนาน 1-2 ชั่วโมง จากนั้นนำมา
ปรับ pH ด้วยน้ำกลั่นโดยวิธีปั่นเหวี่ยง จนได้ pH เป็นกลาง แล้วนำมาฟอกขาวด้วยโซเดียมไฮโปคลอ
ไรต์แล้วนำไปปรับ pH ให้เป็นกลางด้วยการปั่นเหวี่ยงโดยทิ้งส่วนที่เป็นของเหลวและเก็บส่วนที่เป็น
ตะกอนซึ่งเป็นส่วนของเซลลูโลสนาโนคริสตัล
- การเตรียมฟิล์มจากสารสกัดดอกต้อยติ่ง
เตรียมสารละลายโซเดียมแอลจิเนตโดยการเติมผงโซเดียมแอลจิเนตและกลีเซอรอลลงในน้ำกลั่น
(100 มล.) และผสมในเข้ า กั น โดยใช้ เครื ่ องกวนแบบแม่ เ หล็ ก (70°C) จากนั ้ น ค่ อยๆเติ ม 3-5%
สารละลายแคลเซียมคลอไรด์ แล้วนำไปปั่น จากนั้นเติมผงสารสกัดดอกต้อยติ่งที่มีความเข้มข้น 1
มก./มล.ลงในสารละลาย และผสมเซลลูโลสนาโนคริสตัลลงไปหลังจากนั้นสารละลายจะถูกทำให้แห้ง
บนจานที่ 50°C เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ทำให้เกิดเป็นฟิล์มขึ้น
- การทดสอบการเปลี่ยนแปลงสีของฟิล์มต่อค่า pH ที่แตกต่างกัน
สารละลายบัฟเฟอร์ pH แต่ละค่าตั้งแต่ pH 2.0 ถึง 12.0 ปริมาณ 5 มล. จะถูกหยดลงบนฟิลม์ เป็น
เวลา 5 นาที จากนัน้ เช็ดสารละลายออก แล้วบันทึกผลสีบนฟิลม์ แต่ละแผ่น
4.2.2. การตรวจสอบคุณสมบัตกิ ารยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของโหระพา กะเพรา กระชาย ขิง ข่า และตะไคร้
- การสกัดสารต้านจุลนิ ทรีย์จากสมุนไพรไทย
นำสมุนไพรไทยทั้ง 7 ชนิดซึ่งได้แก่ กะเพรา โหระพา สะระแหน่ ตะไคร้ ข่า กระชาย และขิง ชนิด
ละ 100 กรัม มาสกัดโดยใช้เอทานอล 500 มิลลิลิตร หลังจากนั้นนำสารละลายที่ได้ไปเข้าเครื่องกลั่น

8
ระเหยเเบบหมุนเพื่อสกัดเอาเอทานอลออก เเละเข้าเครื่อง Freeze dry จนได้ผงจากสารสกัดสมุนไพร
ชนิดต่างๆ เพื่อนำไปทดสอบการต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
อีกส่วนหนึ่งของสารสกัดสมุนไพรจะถูกนำมาสกัดเพื่อแยกเอาสีออกโดยใช้เฮกเซน โดยหลังจาก
สกัดด้วยเอทานอลแล้วจะนำไปแยกสีออกจากสารสกัดด้วยการเติมเฮกเซนแล้วทำให้แห้ง จากนั้น
ทดสอบความสามารถในการชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในสารสกัดที่ทำการแยกสีออกมาแล้ว
- การตรวจสอบการยับยัง้ แบคทีเรียโดย Agar Diffusion Assay
วางเนื้อไก่สดทิ้งไว้ในอุณภูมิห้องเป็นเวลา 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำเชื้อมาเลี้ยงไว้บนอาหารเลี้ยง
เชื้อ แบคทีเรียจากไก่ แบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบจะโตด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อเเบบเหลว หลังจาก
นั้นวัดจำนวนแบคทีเรียโดยใช้ Nanodrop Spectrophotometer แบคทีเรียจะต้องเจือจางจนได้ค่า
OD 600 เท่ากับ 0.1 หลังจากนั้น นำแบคทีเรียมาเกลี่ยในจานเพาะเชื้อ ละลายผงต้านแบคทีเรียใน
DMSO ที่ความเข้มต่างกัน แช่แผ่นกระดาษกรองขนาดเล็กในสารสกัดต้านจุลชีพ DMSO (กลุ่มควบคุม
เชิงลบ) และแอมพิซิลลิน (กลุ่มควบคุมเชิงบวก) วางแผ่นกระดาษกรองลงในจานเพาะเชื้อ แบคทีเรีย
จะถูกฟักที่อุณหภูมิ 37 °C เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของ Clear Zone เป็น
มิลลิเมตร และเปรียบเทียบผลลัพธ์
4.2.3. การทำภาชนะพลาสติกชีวภาพจากเปลือกทุเรียน
- การเตรียมเปลือกทุเรียน
ตัดเปลือกทุเรียนสด และตากให้แห้งจนมีความชื้นน้อยกว่า 10% หลังจากนั้นหั่นเปลือกทุเรียนแห้ง
เป็นชิ้นเล็กๆยาวประมาณ 5 ซม. แล้วเก็บในภาชนะที่อุณหภูมิห้องก่อนทำการทดลอง

- การสกัดเซลลูโลสจากเปลือกทุเรียน และทำให้บริสุทธิ์
หั่นเปลือกทุเรียนสดเป็นชิ้นเล็กๆยาวประมาณ 5 ซม. แล้วเก็บในภาชนะที่อุณหภูมิห้องก่อนทำการ
ทดลอง สกัดเซลลูโลสออกจากเปลือกทุเรียนด้วย 10-15% โซเดียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งจะทำให้เปลือก
ทุเรียนถูกย่อย จากนั้นต้มต่อเป็นเวลา 5 ชั่วโมง เปลือกทุเรียนจะกลายเป็นเยื่อ หลังจากนั้นล้างเยื่อ
ของเปลือกทุเรียนด้วยน้ำเพื่อขจัดคราบ NaOH และอื่นๆ เมื่อล้างเยื่อของเปลือกทุเรียนเสร็จจะนำไป
ปั่นโดยเครื่องปั่นเพื่อให้ได้เยื่อที่มีระดับความอิสระ 300 มล. จากนั้นเซลลูโลสที่ได้จะถูกทำให้เป็น
เซลลูโลสบริสุทธิ์ โดยใส่เยื่อของเปลือกทุเรียน 100 กรัมลงในขวดที่มีน้ำปราศจากไอออน 3000 มล.
และโซเดียมไฮโปคลอไรต์ 33.5 กรัม (สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ความเข้มข้น 5.25% ในน้ำ
w/w) ที่อุณหภูมิ 70-75 องศาเซลเซียส จนกว่าเซลลูโลสจะกลายเป็นสีขาว หลังจากนั้นเซลลูโลสที่ได้
จะถูกทิ้งไว้ในสภาพที่เป็นกรดเป็นเวลา 12 ชั่วโมงแล้ว ล้างเซลลูโลสด้วยน้ำปราศจากไอออนไม่น้อย
กว่า 3 ครั้ง

- การเตรียมพลาสติกชีวภาพจากโซเดียมอัลจิเนต (Sodium alginate)


ผสมโซเดียมอัลจิเนต กลีเซอรอล และ น้ำกลั่นเข้าด้วยกัน ในอัตราส่วนแตกต่างกัน ขณะที่ผสมให้
ทำการคนตลอด 15 นาทีที่อุณหภูมิห้อง จากนั้นเติม 1.0, 1.5% CaCl2 30 มล. ที่อุณหภูมิ 70 ° C ใส่
สมุนไพรที่ความเข้มข้นต่างกัน หลังจากอุณหภูมิลดลงมาถึง 70 ° C ให้เทใส่แม่พิมพ์ แล้วนำไปอบให้
9
แห้งที่อุณหภูมิ 40 ° C นาน 18-20 ชั่วโมง และอบอีกครั้งที่อุณหภูมิ 25 ° C นาน 48 ชั่วโมง จะได้
แผ่นฟิล์ม 1 ซึ่งจะถูกนำไปแช่ในสารละลาย 3.0% CaCl2 รวมกับ 3% กลีเซอรอล 50 มล. และ 5.0%
CaCl2 เป็นเวลา 15 นาที แล้วนำไปอบที่อุณหภูมิ 40 ° C นาน 4-5 ชั่วโมง เพื่อให้ได้แผ่นฟิล์ม 2 ใน
กรณีที่เตรียมเป็นภาชนะบรรจุภัณฑ์ชีวภาพจะใส่เซลลูโลสจากเปลือกทุเรียนหลังจากใส่สมุนไพรเสร็จ
แล้ว จากนั้นคนให้เข้ากันแล้วนำไปเทใส่แม่พิมพ์ และทำตามขั้นตอนเหมือนการทำฟิล์มพลาสติก
ชีวภาพ
- การเตรียมพลาสติกชีวภาพจากเจลาติน (Gelatin)
ละลายเจลาตินในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 25°C นาน 2 ชั่วโมง แล้วเพิ่มอุณหภูมิเป็น 50°C เตรียม
สารละลายเจลาตินเข้มข้น 6-10 % ใส่เอนไซม์ transglutaminase ลงไป 0, 0.8 และ 1.6 กรัม/กรัม
เจลาติน ผสมให้เข้ากันพร้อมกับใส่น้ำแทนเอนไซม์ และกวนตลอดในขณะที่ทำปฏิกิริยาเป็นเวลา 30
นาที จากนั้นใส่เซลลูโลสปริมาณ 0, 6, และ 9 กรัม พร้อมทั้งสารสกัดสมุนไพรที่ความเข้มข้นต่างๆ คน
ให้เข้ากัน จากนั้นนำตัวอย่างเทลงเพลทอะคริลิค แล้วนำไปอบให้แห้งที่อุณหภูมิ 40°C
- การขึ้นรูปพลาสติกชีวภาพเป็นภาชนะ
เตรียมอุปกรณ์ขึ้นรูปพลาสติกโดยเจาะรูที่ด้านบนของกล่องไม้เป็นรูขนาดรัศมี 0.5 เซนติเมตรและ
ห่างกันรูละ 7 เซนติเมตร เจาะรูด้านข้างเพื่อเชื่อมต่อกับเครื่องดูดฝุ่น แล้วคว่ำพิมพ์ภาชนะที่ต้องการ
ลงบนกล่องไม้ด้านที่มีรู นำพลาสติกที่ได้หลังการแช่ CaCl2 และกลีเซอรอล มาวางทาบลงบนพิมพ์
ภาชนะ วางฟิล์มถนอมอาหารทับพลาสติกให้คลุมทั่วผิวกล่องไม้ และใช้เครื่องดูดอากาศในการดูด
อากาศจากกล่องไม้พักไว้เป็นเวลา 20 นาที เพื่อให้พลาสติกแข็งเข้ารูปเป็นรูปทรงภาชนะ จากนั้นนำ
พลาสติกพร้อมพิมพ์ภาชนะเข้าอบที่อุณหภูมิ 30°C เป็นระยะเวลา 4-5 ชั่วโมง
4.2.4 การตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)
- การวิเคราะห์การตอบสนองต่อ pH ของสารสกัดดอกต้อยติ่ง
เตรียมสารละลายบัฟเฟอร์ของค่า pH 11 ระดับ (pH 2.0 ถึง 12.0) โดยเตรียมจากการผสมสาร
สองชนิดเข้าด้วยกันแล้วบรรจุในภาชนะขนาด 50 มล. ที่ปิดสนิท แล้วนำบัฟเฟอร์แต่ละ pH ปริมาณ
5 มล. มาทดสอบกับผงที่สกัดจากดอกต้อยติ่ง เป็นเวลา 5 นาที จากนั้นบันทึกผลการเปลี่ยนแปลงสี
ของสารผสมดังกล่าว
pH 2 ใช้ 0.2M KCl กับ 0.2M HCl pH 3,4 ใช้ 0.1M C8H5KO4 กับ 0.1M HCI
pH 5 ใช้ 0.1M C8H5KO4 กับ 0.1M NaOH pH 6-8 ใช้ 0.1M KH2PO4 กับ 0.1M NaOH
pH 9 ใช้ 0.025M Na2B4O7•10H2O กับ 0.1M HCl
pH 10 ใช้ 0.025M Na2B4O7•10H2O กับ 0.1M NaOH
pH 11,12 ใช้ 0.05M Na2HPO4 กับ 0.1M NaOH
- การทดสอบการเปลี่ยนแปลงสีของฟิล์มอินดิเคเตอร์จากดอกต้อยติ่งต่อค่า pH ที่แตกต่างกัน
หยดสารละลายบัฟเฟอร์ pH แต่ละค่าตั้งแต่ 2.0 ถึง 12.0 ปริมาณ 1 มล. ลงบนฟิล์มอินดิเคเตอร์
จากดอกต้อยติ่งเป็นเวลา 5 นาที จากนั้นเช็ดสารละลายออก แล้วบันทึกผลสีบนฟิล์มแต่ละแผ่น

10
- การตรวจสอบคุณสมบัติการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของสมุนไพรด้วยวิธี Agar Diffusion Assay
สกัดสารต้านแบคทีเรียจากสมุนไพรไทยด้วยเอทานอล แล้วทำให้แห้ง นำมาละลายใน DMSO ที่
ความเข้มข้นต่างกัน ทำการเพาะเชื้อแบคทีเรียจากไก่ แบคทีเรียแกรมบวก และแกรมลบในจานเพาะ
เชื้อ เป็นเวลา 18 ชั่วโมง จากนั้นนำมาเลี้ยงในอาหารเหลวเป็นเวลา 18 ชั่วโมง เจือจางจนได้ค่า OD
600 เท่ากับ 0.1 หลังจากนั้น นำแบคทีเรียมาเกลี่ยในจานเพาะเชื้อ แล้ววาง Paper Disc 4 อันลงบน
จานเพาะเชื้อโดยวางให้ระยะห่างระหว่าง Paper Disc ทั้ง 4 อันเท่ากัน หยดสารสกัดจากสมุนไพร
ไทยทั้ง 7 ชนิดลงบน Paper Disc โดยใช้ DMSO เป็นกลุ่มควบคุมเชิงลบ และแอมพิซิลลิน เป็นกลุ่ม
ควบคุมเชิงบวก เลี้ยงเชื้อด้วยอุณภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้ววัดค่าเส้นผ่าน
ศูนย์กลางของ Clear Zone ในหน่วยมิลลิเมตร โดยค่าเส้นผ่านศูนย์กลางของ Clear Zone จะแสดง
พื้นที่ที่เเบคทีเรียที่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ในบริเวณนั้น จากนั้นเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ที่ได้ โดย
หากสารสกัดจาสมุนไพรชนิดใดมีค่าเส้นผ่านศูนย์กลางของ Clear Zone สูง แปลว่าสมุนไพรชนิดนั้น
มีความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียสูงเช่นกัน
4.2.5 การวิเคราะห์สมบัติของฟิล์ม
- การซึมผ่านของไอน้ำ
วางฟิล์มขนาด 1*1 ตารางเซนติเมตร ลงบนถ้วยแก้วที่มีน้ำกลั่น 10 กรัม (ที่อุณหภูมิ 25 องศา
เซลเซียส และ ความชื้นสัมพัทธ์ 60 %) เป็นเวลา 75 นาที จากนั้นชั่งน้ำหนักของถ้วย และฟิล์มเป็น
ระยะ แล้วนำน้ำหนักที่ได้มาคำนวณหาอัต ราการเคลื่ อนที ่ของไอน้ำผ่านแผ่น ฟิล์ มไปยังสารดู ด
ความชื้น
- การต้านเชื้อแบคทีเรียของฟิล์ม และพลาสติกชีวภาพ
ตัดฟิล์มและพลาสติกชีวภาพที่ถูกฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีแล้วให้มีน้ำหนัก 0.1 กรัม และใส่ลงในของเหลว
Luria broth (LB) 5 มล. จากนั้นนำไปเลี้ยงที่ ตู้ เขย่าโดยควบคุม อุ ณ หภูม ิที่ 37 ◦C เป็นเวลา 24
ช ั ่ ว โ มง เม ื ่ อค ร บ ตาม เว ลาแ ล้ ว จึ ง ทำก าร วั ด ค่ า OD600 โ ด ย ใ ช ้ เค ร ื ่ อง Nanodrop
Spectrophotometer การทดสอบอัตราแบคทีเรีย (%) จะถูกกำหนดโดยค่า OD600 ของแบคทีเรีย
กลุ่มทดสอบ และกลุ่มควบคุม
- การตรวจสอบคุณสมบัติการย่อยสลายได้
ตัดฟิล์ม และพลาสติกชีวภาพขนาด 1x1 เซนติเมตร จากนั้นนำไปวางบนดินปลูก กลบทับด้วยดิน
ปลูกอีกชั้น รดน้ำทุกวัน แล้วนำฟิล์ม และพลาสติกชีวภาพมาชั่งน้ำหนัก เมื่อเวลาผ่านไป 1 2 และ 4
สัปดาห์ตามลำดับ
- ลักษณะสัณฐานวิทยา
เคลือบฟิล์มด้วยแพลตตินัมเป็นเวลา 180 วินาที จากนั้นใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่อง
กราด Hitachi S4800 ที่แรงดันไฟฟ้า 5 kV ภายใต้ระดับสูญญากาศสูง เพื่อตรวจสอบลักษณะทาง
สัณฐานวิทยามาตรา โดยสัดส่วนของภาพอยู่ที่ 1:1000 1:2500 และ 1:5000 ตามลำดับ

11
5. ผลการทดลองและการวิเคราะห์ผล
5.1 การเปลี่ยนแปลงสีของผงสารสกัดจากดอกต้อยติ่ง
จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าผงดอกต้อยติ่ง ทำให้สารละลายเปลี่ยนสีได้ โดยที่สีที่เกิดขึ้นแตกต่างตาม
ค่า pH ที่ต่างกัน จากสีชมพูอ่อนไปเข้มในช่วงสารละลายเป็นกรดที่ pH ต่ำ สีเทาอมม่วงในช่วง สารละลายเป็น
กลาง และสีเขียวเข้มในช่วงสารละลายเป็นเบสที่ pH สูงดังรูป1 หลังจากได้ผลการทดลองการศึกษาคุณสมบัติ
ความเป็นอินดิเคเตอร์ของดอกต้อยติ่งแล้ว จากนั้นนำสารสกัดต้อยติ่งไปผลิตฟิล์มอินดิเคเตอร์พร้อมกับเพิ่ม
ประสิทธิภาพการยึดติดของแอนโทไซยานินในแผ่นฟิล์มโดยใช้เซลลูโลสนาโนคริสตัลดัง รูป2
6.
7.
A B
8.

รูป1 ผลการเปลี่ยนแปลงสีเมื่อเวลาผ่านไป 5 นาที ของ รูป2 ภาพแสดงแผ่นฟิล์มอินดิเคเตอร์จาก


ผงดอกต้อยติ่ง 10 มิลลิกรัมผสมกับสารละลายบัฟเฟอร์ โซเดียมแอลจิเนตที่ไม่มี (A) และมี
pH ปริมาณ 5 มิลลิลติ ร จากค่า pH 2 (หลอดทดลองซ้ายสุด) เซลลูโลสนาโนคริสตัล (B)
ไปจนถึง pH 12 (หลอดทดลองขวาสุด)

หลังจากจากนัน้ นำสารสกัดต้อยติ่งไปผลิตฟิล์มอินดิเคเตอร์ได้ผลดัง รูป3

รูป3 ภาพแสดงแผ่นฟิล์มอินดิเคเตอร์จากโซเดียมแอลจิเนตที่ pH ต่างๆ โดยภาพซ้ายมือแสดง


ก่อนการหยดสารละลาย และภาพขวามือแสดงสีของฟิล์มที่ pH จาก 2-12

5.2 การตรวจสอบคุณสมบัติการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของสมุนไพรด้วยวิธี Agar Diffusion Assay


จากการทดสอบความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียทั้ง 7 ชนิดซึ่งมีแบคทีเรียแกรมบวก
คื อ Enterococcus faecalis, Staphylococcus aureus, Bacillus cereus แ บ ค ท ี เ ร ี ย แ ก ร ม ล บ คื อ
Escherichia coli, Aeromonas hydrophila, Salmonella typhimurium และแบคทีเรียที่ได้จากการเน่าเสีย
ของเนื้อไก่ด้วยสมุนไพรไทย กระเพรา โหระพา กระชาย ขิง ข่า รากตะไคร้และ ใบตะไคร้ โดยวิธี Agar diffusion
assay พบว่ามีสารสกัดสมุนไพรด้วยเอทานอล เมื่อนำไปทำให้แห้ง แล้วนำมาละลายใน DMSO ในความเข้มข้นที่
เท่ากันคือ 175 มก./มล. แสดงความสามารถในการชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ เมื่อเทียบกับตัว
ควบคุมเชิงบวกหรือ Ampicillin โดยสมุนไพรชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ดีคือ กระชาย ดังแสดงในรูป
4 จากนั้นนำกระชายความเข้มข้น 2 mg/mL มาผสมเข้ากับพลาสติกบรรจุภัณฑ์และนำไปทดสอบการต้านเชื้อ
โดยเปรียบเทียบทั้งแบบพลาสติกชีวภาพสำหรับบรรจุภัณฑ์แบบ 1 ชั้นที่ผสมเข้ากับเซลลูโลสและแบบ 2 ชั้นที่
แยกชั้นเซลลูโลสและสารสมุนไพรได้ผลการทดลองดัง รูป5

12
6
7
8
OD600

OD600
9
10 Types of bacteria

11
Types of bacteria

รูป4 แสดงผลการยับยั้งการเจริญของเชื้อด้วยสาร รูป5 ผลการยังยั้งแบคทีเรียของ Bioplastic ที่ผสมด้วย


สกัดจากโหระพา กะเพรา กระชาย ขิง ข่า และตะไคร้ สารสกัดกระชายแบบ 1 และ 2 ชั้น

จากกราฟแสดงให้เห็นว่าเมื่อทำการผลิตพลาสติกชีวภาพโดยการแยกเป็น 2 ชั้นระหว่างเซลลูโลสและสารสกัด
สมุนไพรทำให้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้ดีกว่า

5.3 การตรวจสอบคุณสมบัติการซึมผ่านของไอน้ำของบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพและฟิล์ม

รูป6 แสดงผลการทนต่อการซึมผ่านของไอน้ำเมื่อระยะเวลาผ่านไปของฟิล์ม และบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ


จากรูป6 แสดงให้เห็นว่าพลาสติกที่มีเซลลูโลสสามารถดูดซับปริมาณน้ำได้มากกว่าพลาสติกทีไ่ ม่มีเซลลูโลส
และบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพแบบที่มี และไม่มีเซลลูโลสสามารถทนน้ำได้
นอกจากนี้คณะผู้จัดทำได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความสามารถในการทนต่อน้ำและยังยั้งการเจริญเติบโตของ
แบคทีเรียโดยการผสมเซลลูโลสจากเปลือกทุเรียนกับ เจลาติน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทนน้ำ แต่จากการ
ทดลองพบว่าเจลาตินที่ซื้อมาจากท้องตลาดมีการทนน้ำน้อยมากหรือแทบจะไม่ทนเลย สังเกตได้จากการที่
แผ่นฟิล์มเปื่อยยุ่ยเมื่อทำการทดสอบน้ำ ดัง รูป7 นอกจากนี้ในการทดสอบประสิทธิภาพของพลาสติไซเซอร์ยัง
พบว่าซอร์บิทัลเป็นพลาติไซเซอร์ที่ช่วยให้ฟิล์มทนน้ำได้ดีกว่า กลีเซอรอลและน้ำมันปาล์มแต่ฟิล์มมีความเปราะ
มากกว่า ดังรูป8

12
13
14
15
รูป7 บรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพโดยการผสมเซลลูโลสจากเปลือกทุเรียนกับเจลาติน

13
16
17
18
19
20
21
22
23

รูป8 แสดงเปอร์เซ็นต์การดูดซับน้ำของพลาสติไซเซอร์ชนิดต่างๆ
5.4 การตรวจสอบลักษณะสัณฐานวิทยา

A B C
รูป9 แสดงภาพเซลลูโลสนาโนคริสตัล หรือซีเอ็นซีภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด
ที่กำลังขยาย 1:20,000 (A) 1:30,000 (B) และ 1:50,000 (C) ตามลำดับ

จากรูป9 แสดงให้เห็นว่าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเซลลูโลสนาโนคริสตัล หรือซีเอ็นซีที่สกัดได้มีค่า 40-82


นาโนเมตร โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 82 นาโนเมตร ซึ่งใกล้เคียงกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางทั่วไปของเซลลูโลสนาโนคริสตัล
หรือซีเอ็นซีซึ่งมีค่าเท่ากับ 85 นาโนเมตร ทำให้สามารถสรุปได้ว่าสารที่สกัดได้เป็นเซลลูโลสนาโนคริสตัล หรือซีเอ็นซี
จริง
B

A C D
5.4 การทดสอบ
รูป10 แสดงภาพบรรจุภัณฑ์พลาสติกภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดที่กำลังขยาย 1:300 ของ
บรรจุภัณฑ์แบบ 2 ชั้นทีผ่ สมสมุนไพรไทย (A) และชุดควบคุม (B) แบบ 1 ชัน้ ที่ผสมสมุนไพรไทย (C) และชุดควบคุม
(D)

14
จากรูป10 แสดงถึงลักษณะของบรรจุภัณฑ์แบบ 2 ชั้นในรูป10A และรูป10B ที่สามารถเห็นการแยกชั้นระหว่าง
ชั้นด้านนอกที่มีส่วนผสมของเซลลูโลสจากเปลือกทุเรียน และชัน้ ด้านในที่เคลือบด้วยฟิล์มจากสารสกัดกระชายได้
อย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์แบบ 1 ชัน้ ดังรูป10C และรูป10D ขณะส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิล์กตรอนแบบ
ส่องกราด

A B

C D
\

E F

รูป11 แสดงภาพบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดทีก่ ำลังขยาย 1:2500


ของบรรจุภัณฑ์แบบ 2 ชัน้ ซึ่งด้านบนคือด้านฟิล์มที่ผสมสมุนไพรไทย (A) ไม่มีสมุนไพรไทย (B) บรรจุภัณฑ์แบบ 2 ชั้น
ซึ่งด้านบนคือด้านที่มีเซลลูโลสของบรรจุภัณฑ์แบบที่มสี มุนไพรไทย (C) ไม่มีสมุนไพรไทย (D) และบรรจุภัณฑ์แบบ 1
ชั้นที่มสี มุนไพรไทย (E) ชุดควบคุมที่ไม่มีสมุนไพรไทย (F)

15
จากรูป11 จะเห็นได้ว่าเมื่อส่องด้านฟิล์มที่ไม่มีส่วนประกอบของเซลลูโลส ลักษณะพื้นผิวของบรรจุภัณฑ์ที่มี
สมุนไพรไทยจะมีความหยาบและขรุขระมากกว่าชุดควบคุมที่ไม่มีสมุนไพรไทย และหากเปรียบเทียบภาพของด้านที่มี
เซลลูโลสกับด้านที่ไม่มีเซลลูโลส จะเห็นได้ว่า ภาพของบรรจุภัณฑ์ด้านที่ไม่มีเซลลูโลส พื้นผิวจะมีความเรียบเนียน
มากกว่าด้านที่มีเซลลูโลส นอกจากนี้หากเปรียบเทียบบรรจุภัณฑ์แบบ 2 ชั้นกับ 1 ชั้นจะเห็นได้ว่าบรรจุภัณฑ์แบบ 2
ชั้นมีโครงสร้างลักษณะพื้นผิวที่ซับซ้อน และหลากหลายมากกว่าแบบ 1 ชั้น

A B C

D E F

รูป12 แสดงภาพฟิล์มต้านแบคทีเรียภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดที่กำลังขยาย 1:2500 ของฟิล์ม


ซอร์บิทัลที่มีซีเอ็นซีและสมุนไพรไทย (A) มีซีเอ็นซีแต่ไม่มสี มุนไพรไทย (B) ชุดควบคุมทีไ่ ม่มีทั้งซีเอ็นซีและสมุนไพรไทย
(C) ฟิล์มกลีเซอรอลที่มีซีเอ็นซีและสมุนไพรไทย (D) มีซีเอ็นซีแต่ไม่มีสมุนไพรไทย (E) ชุดควบคุม (F)

รูป12 แสดงให้เห็นว่าฟิล์มที่ใช้พลาสติไซเซอร์ซอร์บิทัล มีการครอสลิงก์เชื่อมกันของพอลิเมอร์มากกว่าฟิล์มกลีเซ


อรอล ส่งผลให้ฟิล์มซอร์บิทัลมีความสามารถในการทนน้ำที่ดีกว่า แต่อย่างไรก็ตามฟิล์มจากซอร์บิทัลมีความ เปราะ
มากกว่าเมื่อเทียบกับฟิล์มกลีเซอรอล นอกจากนี้ในฟิล์มที่มีส่วนผสมของซีเอ็นซีหรือเซลลูโลสนาโนคริสตัลยังสามารถ
สังเกตเห็นอนุภาคของซีเอ็นซีได้ผ่านการส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด

A B

16
รูป13 แสดงภาพฟิล์มอินดิเคเตอร์จากดอกต้อยติ่งภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดที่กำลังขยาย
1:2500 ของฟิล์มอินดิเคเตอร์ที่มีซีเอ็นซี (A) และไม่มีซีเอ็นซี (B)

จากรูป13A จะเห็นว่าฟิล์มอินดิเคเตอร์มีส่วนประกอบของอนุภาคซีเอ็นซี หรือเซลลูโลสนาโนคริสตัลที่ช่วยในการ


ยึดจับกันระหว่างสารแอนโทไซยานินในดอกต้อยติ่งกับฟิล์ม ในขณะที่รูป13B ไม่สามารถสังเกตเห็นอนุภาคซีเอ็นซีใน
ฟิล์มได้

5.5 การทดสอบภาชนะกับอาหารสดในสภาวะอุณหภูมิห้อง และตู้เย็น


A B
C1 C2 C3

รูป14 การบรรจุเนื้อไก่สดด้วยบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ (A) จากซ้ายไปขวาคือ ชุดควบคุมไม่มีสมุนไพร บรรจุ


ภัณฑ์ชีวภาพแบบ 1ชั้น และบรรจุภัณฑ์แบบ 2 ชั้น พร้อมทั้งการประกอบชิ้นส่วนเข้าด้วยกันกับฟิล์มยังยั้งการ
เจริญเติบโตของแบคทีเรียและฟิล์มบ่งชี้การเน่าเสียของอาหาร (B) และภาพขยายเพื่อแสดงให้เห็นฟิล์มอินดิเค
เตอร์บ่งชี้การเน่าเสียเมื่อเวลาผ่านไป 12 ชั่วโมงที่อุณหภูมิห้อง ไม่มีสมุนไพร(C1) ชุดบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ
แบบ 1 ชั้น(C2) ชุดบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพแบบ 2 ชั้น (C3) ชุดบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพก่อนบรรจุอาหาร
(D) ฟิล์มอินดิเคเตอร์บ่งชี้การเน่าเสียของอาหารที่ pH ต่างๆ (E)

จากรูป14 แสดงให้เห็นว่าบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพสามารถยังยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้เมื่อ
เทียบกับบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้ใส่สารสมุนไพรเข้าไป อีกทั้งยังพบว่าณ อุณหภูมิห้องฟิล์มบ่งชี้การเน่าเสียเปลี่ยนเป็นสี
เขียวเหลืองเมื่อเวลาผ่านไป 12 ชั่วโมง แต่บรรจุภัณฑ์พลาสติกชีว ภาพที่มีสมุนไพรยังไม่มีการเปลี่ยนสีของฟิล์ม
บ่งชี้การเน่าเสีย เนื่องจากปริมาณแก๊สที่แบคทีเรียผลิตออกมาขณะเจริญเติบโตในอาหารสดตอนที่มีฟิล์มจากสาร
สกัดสมุนไพรไทยเกิดขึ้นน้อยกว่าขณะไม่มีฟิล์มต้านแบคทีเรียจากสารสกัดสมุนไพรไทย

17
A B C
รูป15A แสดงรูปบรรจุภัณฑ์ที่ไม่มี รูป15B แสดงรูปบรรจุภณ ั ฑ์หลังจาก รูป15C แสดงรูปบรรจุภัณฑ์หลังจาก
สมุนไพร (ซ้าย) และมีสมุนไพร (ขวา) แช่ในตู้เย็นเป็นเวลา 7 วัน แช่ในตู้เย็นทำเป็นเวลา 1 เดือน
ที่บรรจุเนื้อไก่สดก่อนแช่ตู้เย็น

จากรูป15 แสดงให้เห็นว่าการทดสอบในตู้เย็นได้ผลเช่นเดียวกับการทดสอบ ณ อุณหภูมิห้องโดย


บรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพที่มีส่วนผสมของสมุนไพรไทยสามารถยังยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ ดีกว่า
บรรจุภัณฑ์ชุดควบคุมที่ไม่มีส่วนผสมของสารสกัดจากสมุนไพรไทย สังเกตได้จากการเปลี่ยนสีของฟิล์มบ่งชี้การ
เน่าเสียซึง่ เปลี่ยนเป็นสีเขียวเหลืองเมื่อเวลาผ่านไป 7 วัน ในขณะที่บรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพที่มีสมุนไพรยังไม่มี
การเปลี่ยนสีของฟิล์มบ่งชี้การเน่าเสีย นอกจากนี้เมื่อทดสอบในตู้เย็นเป็นเวลา 1 เดือนจะสังเกตเห็นได้ว่าฟิล์ม
อินดิเคเตอร์ที่อยู่บนบรรจุภัณฑ์ทั้งที่มีและไม่มีสมุนไพรเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเขียว เนื่องจากเมื่อเนื้อไก่เน่าเสียจะ
มีการปล่อยแก๊สแอมโมเนียซึ่งมีฤทธิ์เป็นเบสออกมา ทำให้สามารถสรุปได้ว่าฟิล์มอินดิ เคเตอร์จากดอกต้อยติ่ง
สามารถใช้เพื่อบ่งบอกการเน่าเสียของอาหารสดภายในบรรจุภัณฑ์ได้จริง

5.5 การตรวจสอบคุณสมบัติการย่อยสลายได้

B
A
รูป16 ชุดการทดลองการทดสอบคุณสมบัติการย่อยสลายของฟิล์มและบรรจุภัณฑ์ (A) และ ฟิลม์ และบรรจุภัณฑ์
พลาสติกชีวภาพหลังผ่านไป 1 เดือน (B)

จากรูป16 จะเห็นว่าเมื่อระยะเวลาผ่านไป 1 เดือน พลาสติกชีวภาพที่ไม่มีส่วนประกอบของเซลลูโลส และ


ฟิล์มจากสารสกัดสมุนไพรไทยสามารถย่อยสลายได้หมด โดยไม่เหลือเศษทิ้งไว้ ส่วนพลาสติกชีวภาพผสม
เซลลู โ ลส หรื อบรรจุ ภั ณ ฑ์ พ ลาสติ กชี ว ภาพจากเซลลู โ ลสเปลื อกทุ เรี ย นสามารถย่ อยสลายได้ เช่ นกั น โดย
บรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพที่มีเซลลูโลสเป็นส่วนผสม 15% ยังคงมีเศษเหลือ แต่บรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพที่มี
เซลลูโลส 6% ถูกย่อยสลายไปเหลือเพียงเล็กน้อย

18
6. สรุปผล
จากการทดสอบการเปลี่ยนสีของฟิล์มจากสารสกัดดอกต้อยติ่งต่อสารละลายที่มีค่า pH แตกต่างกัน พบว่า ฟิล์มมี
การเปลี่ยนแปลงสีที่แตกต่างกันในแต่ละสารละลาย ดังนั้นฟิล์มจากสารสกัดดอกต้อยติ่งจึงมีคุณสมบัติในการบ่งบอก
ค่า pH ผ่านการสังเกตจากสี
จากการศึ กษาความสามารถในการยั บยั ้ งการเจริ ญ ของแบคทีเรี ย ของสารสมุ นไพรไทยทั้ ง 7 ชนิ ด ต่อ
แบคทีเรียแกรมบวก คือ Enterococcus faecalis, Staphylococcus aureus, Bacillus cereus และแบคทีเรียแก
รมลบ คื อ Escherichia coli, Aeromonas hydrophila, Salmonella typhimurium ด้ ว ยวิ ธ ี Agar diffusion
assay พบว่า สารสกัดจากกระชาย และข่าที่ละลายใน DMSO ในความเข้มข้น 175 mg/ml สามารถยับยั้งการ
เจริญเติบโตของแบคทีเรียได้มากที่สุด จึงเลือกใช้สมุนไพร 2 ชนิดนี้ในการผลิตฟิล์มยับยั้งการเจริญเติบโตของ
แบคทีเรียโดยใส่แอลจิเนต สารละลายแคลเซียมคลอไรด์ และกลีเซอรอลเป็นพลาสติไซเซอร์เนื่องจากช่วยให้ฟิล์มและ
พลาสติกชีวภาพมีความทนน้ำได้ดีกว่าพลาสติไซเซอร์ชนิด อื่น และไม่เปราะหั กง่าย ในการยับยั้งการเจริญ ของ
แบคทีเรีย พบว่าฟิล์มจากสารสกัดกระชายมีความสามารถในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ดีกว่าข่า สมุนไพรกระชา ยจึง
นำมาใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพโดยการผสมเซลลูโลสจากเปลือกทุเรียน แล้วนำไปศึกษาความสามารถ
ในการยับยั้งแบคทีเรียอีกครั้ง ได้ผลว่าบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพแบบชั้นเดียวมีความสามารถในการยับยั้ง เชื้อ
แบคทีเรียเช่นเดียวกันกับฟิล์มจากสารสกัดสมุนไพรไทยแต่มีประสิทธิภาพต่ำกว่า จึงเปลี่ยนไปผลิตบรรจุภัณฑ์แบบ 2
ชั้นโดยชั้นนอกเป็นชัน้ ที่มีสว่ นผสมของเซลลูโลสจากเปลือกทุเรียน และชั้นในที่สัมผัสกับอาหารมีส่วนผสมของสารสกัด
จากสมุนไพรกระชายพบว่า ต้านทานเชื้อแบคทีเรียได้ดีกว่าบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพชั้นเดียว
การทดสอบความสามารถในการทนน้ำของทั้งฟิล์มจากสารสกัดสมุนไพรไทย และบรรจุภัณฑ์พลาสติก
ชีวภาพ โดยนำไปแช่นำ้ เป็นเวลา 30นาที, 1ชั่วโมง, 5ชั่วโมง และ1วัน ตามลำดับ แล้วนำไปชั่งน้ำหนัก พบว่า ฟิล์มจาก
สารสกัดสมุนไพรไทยสามารถทนน้ำได้ บรรจุภัณฑ์ชีวภาพที่มีส่วนผสมของเซลลูโลสจากเปลือกทุเรียนชั้นเดียว
สามารถทนน้ำได้น้อยกว่าบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพแบบ 2 ชั้น
ในส่วนการทดสอบการย่อยสลายของฟิล์มจากสารสกัดสมุนไพรไทย และบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ โดย
การนำไปฝังดิน แล้วรดน้ำทุกวันเป็นระยะเวลา 1 เดือนพบว่าฟิล์มจากสารสกัดสมุนไพรไทยสามารถย่อยสลายได้หมด
ภายในระยะเวลา 1 เดือน ส่วนบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพจากเปลือกทุเรียนมีมวลลดลง แสดงให้เห็นว่าทั้งฟิล์ม และ
บรรจุภัณฑ์ชีวภาพสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ไม่เป็นมลพิษ และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ยังได้ศึกษาบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพโดยการผสมเซลลูโลสจากเปลือกทุเรียนกับ เจลาตินที่หาได้
จากท้องตลาด แทนการใช้แอลจิเนต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทนน้ำ แต่จากการทดลองผลผลิตจากเจลาตินซึ่งทำ
การ crosslinking ด้วย transglutaminase ไม่สามารถทนน้ำได้ ทั้งยังมีความแข็ง เปราะหักง่ายก่อนโดนน้ำ

ข้อเสนอแนะ
- พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความสามารถในการทนความร้อนต่อไป
- ศึกษาการสกัดเจลาตินจากกระดูกวัว และหนังวัวเพื่อใช้ในการสร้างพลาสติกชีวภาพที่สามารถทนน้ำได้ดี
ยิ่งขึ้น
- ศึกษาการใช้พลาสติไซเซอร์ชนิดอื่นๆในการผลิต

19
7. กิตติกรรมประกาศ
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพการทนน้ำของบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพต้านแบคทีเรีย
จากเปลือกทุเรียน พร้อมตัวชี้วดั การเน่าเสียของอาหารสด เป็นโครงงานที่ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ และฝึกฝนทักษะ
ด้านวิทยาศาสตร์ อีกทั้งก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาสิง่ ต่างๆรอบตัวให้เกิดประโยชน์สงู สุด
โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณา และความช่วยเหลืออย่างดียิ่งจาก ดร.จันทร์จิรา มณีสาร อาจารย์
ที่ปรึกษาโครงงาน ที่ได้ให้ความรู้ประกอบการทำโครงงาน รวมทั้งคำปรึกษาแนะนำ และแก้ไขข้อบกพร่องในการ
จัดทำโครงงาน คณะผู้จัดทำโครงงานขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง พร้อมทั้งนางสาวชิษณุชา จิโรจน์กุล นางสาวพิมพ์
ชนก ลีลาประดิษฐ์พงศ์ และนางสาวเอฎา อดัมสแซค ที่ให้คำแนะนำเพื่อที่คณะผู้จัดทำได้พัฒนาโครงงานต่อไป
ขอขอบพระคุณ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ และรองศาตราจารย์บุญโชติ เผ่าสวัสดิ์ยรรยง ผู้อำนวยการโรงเรียน
กำเนิดวิทย์ ที่ได้ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมโครงงาน และสถาบันวิทยสิริเมธีที่อนุเคราะห์เครื่องมือทาง
วิทยาศาสตร์ในการตรวจสอบสมบัติทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ที่จัดทำขึ้นมา และสุดท้ายขอขอบคุณคณะครูทกุ ท่าน
ที่ได้ให้คำแนะนำระหว่างการทำโครงงาน ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน ที่มีส่วนช่วยให้โครงงานสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี

คณะผู้จัดทำ

20
8. บรรณานุกรม
1. Aditiya, H. B., Chong, W. T., Mahlia, T. M. I., Sebayang, A. H., Berawi, M. A., & Nur, H. (2016).
Second generation bioethanol potential from selected Malaysia’s Biodiversity biomasses: A review.
Waste Management, หน้า 46–61.
2. E. Chouliara, A. Karatapanis, I.N. Savvaidis & M.G. Kontominas. (2 007). Combined effect of
oregano essential oil and modified atmosphere packaging on shelf-life extension of fre sh chicken
breast meat, stored at 4°C. Food Microbiology 24, หน้า 607-617.
3 . Isroi, A Cifriadi, T Panji, Nendyo A Wibowo & K Syamsu4. (2017). Bioplastic production from
cellulose of oil palm empty fruit bunch. IOP Conf. Series: Earth and Environmental Science 65. หน้ า
1-19.
4. Nazaruddin, N., Nurul, A., Muhammad, B., Susilawati, S., Nor Diyana, Md. S., Chakavak, E.,
Muhammad, I., Murniana, M., Uswatun, H. & Eka, S. (2021) A simple optical pH sensor based on
pectin and Ruellia tuberosa L-derived anthocyanin for fish freshness monitoring. F1000Res, หน้า 1-
24.
5. Rekha Chawla, S. Sivakumar & Harsimran Kaur. (2021). Antimicrobial edible films in food packaging:
Current scenario and recent nanotechnological advancements- a review. Carbohydr. Polym. หน้ า 1-
19.
6. Roberto Scaffaro, Francesco Lopresti, Andreana Marino & Antonia Nostro. (2018). Antimicrobial
additives for poly (lactic acid) materials and their applications: current state and perspectives. Appl.
Microbiol. Biotechnol, หน้า 7739-7756.
7. Shunli Chen, Min Wu, Peng Lu, Lin Gao, Shun Yan & Shuangfei Wang. (2020). Development of pH
indicator and antimicrobial cellulose nanofibre packaging film based on purple sweet potato
anthocyanin and oregano essential oil. Int. J. Biol. Macromol. หน้า 271-280.
8. Tummala, P., Liu, W., Drzal, L. T., Mohanty, A. K., & Misra, M. (2006). Influence of Plasticizers
on thermal and mechanical properties and morphology OF Soy-Based bioplastics. Industrial &
Engineering Chemistry Research, หน้า 7491–7496.
9. Vieira, M. G., da Silva, M. A., dos Santos, L. O., & Beppu, M. M. (2011). Natural -based
plasticizers and biopolymer films: A review. European Polymer Journal, หน้า 254–263.
10. Wasupon, C. & Kotchaphon V. (2020). Efficacy of crude extract of thai herbal to Inhibit
Dermatophyte DT01 isolated from Fighting Cock. J. Mahanakorn Vet. Med., หน้า 123-130.
11. Wu, L.-T., Tsai, I.-L., Ho, Y.-C., Hang, Y.-H., Lin, C., Tsai, M.-L., & Mi, F.-L. (2021). Active and
intelligent gellan gum-based packaging films for controlling anthocyanins release and monitoring
food freshness. Carbohydrate Polymers, หน้า 1-9.

21
12. Yan, L. P., Gopinath, S. C., Anbu, P., Kasim, F. H., Zulhaimi, H. I. I., & Yaakub, A. R. (2020).
Characterization and anti-bacterial potential of iron oxide nanoparticle processed eco-friendly by
plant extract. Preparative Biochemistry & Biotechnology, หน้า 1053–106.
13. Huq, T., Salmieri, S., Khan, A., Khan, R. A., Le Tien, C., Riedl, B., ... & Lacroix, M. (2012).
Nanocrystalline cellulose (NCC) reinforced alginate based biodegradable nanocomposite film.
Carbohydrate polymers, 90(4), 1757-1763.
14. Mahajan, R., Nair, R., Wakharkar, V., Swan, J., Tang, J., & Vandentop, G. (2002). Emerging directions
for packaging technologies. Intel Technology Journal, 6(2).
15. Trache, D., Hussin, M. H., Haafiz, M. M., & Thakur, V. K. (2017). Recent progress in cellulose
nanocrystals: sources and production. Nanoscale, 9(5), 1763-1786.
16. Al-Hassan, A. A., & Norziah, M. H. (2012). Starch–gelatin edible films: Water vapor permeability
and mechanical properties as affected by plasticizers. Food hydrocolloids, 26(1), 108-117.
17. Yue, C., Huang, Y., Kong, B., & Wang, G. (2022). Effect of anthocyanin indicator addition on
cellulose nanocrystals/gellan gum‐based intelligent packaging films. Journal of Food Processing and
Preservation, 46(12), e17246.
18. Domenek, S., Feuilloley, P., Gratraud, J., Morel, M. H., & Guilbert, S. (2004). Biodegradability of
wheat gluten based bioplastics. Chemosphere, 54(4), 551-559.

22
9. ภาคผนวก

ภาพบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

ขนาดวงใสของแบคทีเรีย Salmonella typhimurium , Bacillus Cereus , Aeromonas hydrophila,


staphylococcus oureus, Bacteria from fresh chicken, Esherichia Coil, Enterococus faecolis ตามลำดับ
ด้วยสารสกัดจากกระชายและข่า

23
OD600
Types of bacteria

กราฟแสดงผลการยับยั้งแบคทีเรียของแผ่นฟิล์ม alginate ผสมสารสกัดข่า กระชาย และชุดควบคุมที่มีเซลลูโลส


OD600

Types of bacteria
กราฟแสดงผลการยับยั้งแบคทีเรียของแผ่นฟิล์ม alginate ผสมสารสกัดข่า กระชาย
และชุดควบคุมที่ไม่มีเซลลูโลส

ฟิล์มต้านแบคทีเรียที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากกระชาย และข่าตามลำดับ

ความสามารถในการทนน้ำของพลาสติกชีวภาพแบบที่มีเซลลูโลส (บรรจุภัณฑ์) และไม่มีเซลลูโลส (ฟิล์ม)

24
OD600

Types of bacteria

ผลการยังยั้งแบคทีเรียของ Bioplastic และฟิล์ม ที่เคลือบด้วยสารสกัดกระชาย

รูปต้นแบบของบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ 2 ชั้น (A) บรรจุภณ ั ฑ์พลาสติกชีวภาพ 2 ชัน้ ที่ขึ้นรูปแล้ว (B)


บรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ 2 ชั้นที่ขึ้นรูปแล้วโดยปัน่ เซลลูโลสให้ละเอียด (C)

25
บรรจุภัณฑ์ต้นแบบ (prototype)

ภาพชิ้นงานต้นแบบของนวัตกรรม

26

You might also like