You are on page 1of 27

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้

เรื่อง ระบบนิเวศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3


ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ
ประกอบการจัดการเรียนรู้ รายวิชา ว23102 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน 6

ชื่อ-สกุล.......................................................................
ชื่อเล่น..................... ชั้น.................... เลขที่..............
คานา

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ ประกอบการจัดการเรียนรู้ รายวิชา ว23102 วิทยาศาสตร์


พื้นฐาน 6 ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 กลุ่ มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนวัดนวลนรดิศ
กรุงเทพมหานคร สพม. เขต 1
สาหรับเล่มนี้เป็นชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ ใช้
เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2 คาบ จานวน 3 ชั่วโมง
ผู้จัดทาหวังเป็นอย่ างยิ่งว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้เล่มนี้ จะทาให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับองค์ประกอบของระบบนิเวศ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ผ่านกระบวนการสืบ
เสาะหาความรู้ (5E) โดยยึดหลักให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ครูเป็นเพียงผู้ให้คาแนะนาและ
ประสานกิจกรรมให้เกิดการเรียนจากการได้ทากิจกรรมร่วมกัน ซึ่งจะทาให้นักเรียนรู้จากการลงมือทา
(Learning by doing) นักเรียนจึงเกิดกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและทาให้องค์ความรู้นั้น
คงอยู่ถาวรยิ่งขึ้น

ขอขอบคุณผู้เชี่ยวชาญทุกท่านที่ได้ให้ความรู้ คาปรึก ษา และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการ


จัดทาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศเล่มนี้ จนสาเร็จลุล่วง
ไปได้ด้วยดี

ศยามล ดีวิลัย
ผู้จัดทา
สารบัญ

เรื่อง หน้า
คานา.........................................................................................................................................................ก
สารบัญ......................................................................................................................................................ข
คาแนะนาการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สาหรับครู......................................................................................1
คาแนะนาการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สาหรับนักเรียน.............................................................................2
สาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของชุดกิจกรรมการเรียนรู้.............................................3
สาระสาคัญและความคิดรวบยอดของชุดกิจกรรมการเรียนรู้.....................................................................3
จุดประสงค์การเรียนรู้ของชุดกิจกรรมการเรียนรู้.......................................................................................4
สมรรถนะสาคัญของผู้เรียน........................................................................................................................4
แผนผังลาดับขั้นตอนการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้.....................................................................................5
ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ........................................................................................................................6
ขั้นที่ 2 ขั้นสารวจและค้นหา....................................................................................................................7-8
ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป...............................................................................................................9
ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้.......................................................................................................................10-11
ขั้นที่ 5 ขั้นประเมิน..................................................................................................................................12
ใบความรู้ เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ......................................................................................13-16
ภาคผนวก................................................................................................................................................17
คำแนะนำกำรใช้ชุดกิจกรรมกำรเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ
ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ (สำหรับครู)

การนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ ไปใช้ในการ


จัดการเรียนรู้กับนักเรียน ครูผู้สอนควรศึกษาและทาความเข้าใจตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
 ขั้นเตรียมก่อนสอน
1. ครู ค วรศึ ก ษาและท าความเข้ า ใจวิ ธี ก ารใช้ ชุ ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ เรื่ อ ง ระบบนิ เ วศ ชุ ด ที่ 1
องค์ประกอบของระบบนิเวศ โดยเริ่มจากขั้นตอนการดาเนินกิจกรรม การใช้สื่อและอุปกรณ์ การวัดและ
ประเมินผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ชัดเจน
2. ครูควรศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ เพื่อให้การดาเนินการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้บรรลุตามจุดมุ่งหมายของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบ
ของระบบนิเวศ
3. ครูควรศึกษา ค้นคว้า และอ่านเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมล่วงหน้า และเตรียมชุดกิจกรรมการเรียนรู้
เรื่อง ระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ
 ขั้นสอน
1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
2. ครูดาเนินกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้
3. ในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ ประกอบการ
จัดการเรียนรู้ดาเนินการโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
ขั้นที่ 2 ขั้นสารวจและค้นหา (Exploration)
ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)
ขั้นที่5 ขั้นประเมิน (Evaluation)
4. ครูควรดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดเพื่อคอยให้คาแนะนาและเป็นที่ปรึกษา
5. ครูประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนเมื่อจบการเรียนในแต่ละชุดกิจกรรม

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ หน้า 1


คำแนะนำกำรใช้ชุดกิจกรรมกำรเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ
ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ (สำหรับนักเรียน)

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ ที่นักเรียนจะศึกษา


ต่อไปนี้ เป็นชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อให้นักเรียนได้คิด และลงมือปฏิบัติ
กิจกรรมตามที่กาหนดไว้ในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด นักเรียนควรปฏิบัติ
ตามคาชี้แจงที่กาหนดไว้ในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามลาดับ ดังนี้
1. ชุดกิจกรรมการเรีย นรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ ใช้เวลา 3 คาบ
จานวน 3 ชั่วโมง หรือ 180 นาที
2. ศึกษาผลการเรียนรู้และจุดประสงค์การเรียนรู้
3. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนในชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยศึกษาคาชี้แจงที่กาหนดไว้ในแต่ละ
ขั้นของกิจกรรมอย่างละเอียด
4. ในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ ประกอบด้วยใบ
ความรู้และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
ขั้นที่ 2 ขั้นสารวจและค้นหา (Exploration)
ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)
ขั้นที่5 ขั้นประเมิน (Evaluation)
5. เมื่ อ ปฏิ บั ติ กิ จ กรรมต่ า ง ๆ ในแต่ ล ะขั้ น เสร็ จ นั ก เรี ย นสามารถตรวจสอบค าตอบและเฉลย
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่อยู่ในส่วนของภาคผนวกของแต่ละชุดกิจกรรมการเรียนรู้
6. เมื่อนักเรียนมีข้อสงสัยในการปฏิบัติกิจกรรม ให้นักเรียนขอคาปรึกษาจากครูผู้สอน

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ หน้า 2


สำระกำรเรียนรู้ มำตรฐำนกำรเรียนรู้ และตัวชี้วัดของชุดกิจกรรมกำรเรียนรู้
เรื่อง ระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ

สำระที่ 1 วิทยำศำสตร์ชีวภำพ
มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจความหลากหลายของระบบนิเวศ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งไม่มีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตและ
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ การถ่ายทอดพลังงาน การเปลี่ยนแปลงแทนที่ใน
ระบบนิเวศ ความหมายของประชากร ปัญหาและผลกระทบที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวทางใน
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งนาความรู้ไปใช้ประโยชน์

ตัวชี้วัด
ว 1.1 ม.3/1 อธิบายปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบของระบบนิเวศที่ได้จากการสารวจ
ว 1.1 ม.3/3 สร้างแบบจาลองในการอธิบายการถ่ายทอดพลังงานในสายใยอาหาร
ว 1.1 ม.3/4 อธิบายความสัมพันธ์ของผู้ผลิตผู้บริโภค และผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในระบบนิเวศ

สำระสำคัญ/ควำมคิดรวบยอด

1. ระบบนิเวศประกอบด้วยองค์ประกอบที่มีชีวิต เช่น พืช สัตว์ จุลินทรีย์ และองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต


เช่น แสง น้า อุณหภูมิ แร่ธาตุ แก๊ส องค์ประกอบเหล่านี้มีปฏิสัมพันธ์กัน เช่น พืชต้องการแสง น้า และแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์ในการสร้างอาหาร สัตว์ต้องการอาหาร และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการดารงชีวิต
เช่น อุณหภูมิ ความชื้น องค์ประกอบทั้งสองส่วนนี้จะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม ระบบนิเวศจึงจะ
สามารถคงอยู่ต่อไปได้
2. กลุ่มสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศแบ่งตามหน้าที่ได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย
สารอินทรีย์ สิ่งมีชีวิตทั้ง 3 กลุ่มนี้ มีความสัมพันธ์กัน ผู้ผลิตเป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารได้เอง โดยกระบวนการ
สังเคราะห์ด้วยแสง ผู้บริโภคเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง และต้องกินผู้ผลิตหรือสิ่งมีชีวิตอื่นเป็น
อาหาร เมื่อผู้ผลิตและผู้บริโภคตายลง จะถูกย่อยโดยผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ซึ่งจะเปลี่ยนสารอินทรีย์เป็นสารอนิ
นทรีย์กลับคืนสู่สิ่งแวดล้อม ทาให้เกิดการหมุนเวียนสารเป็นวัฏจักร จานวนผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย
สารอินทรีย์จะต้องมีความเหมาะสม จึงทาให้กลุ่มสิ่งมีชีวิตอยู่ได้อย่างสมดุล

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ หน้า 3


จุดประสงค์กำรเรียนรู้ของชุดกิจกรรมกำรเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ
ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ

ด้ำนควำมรู้ (K : Knowledge)
1. นักเรียนสามารถอธิบายปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบของระบบนิเวศได้
2. นักเรียนสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของผู้ผลิตและผู้บริโภคได้

ด้ำนทักษะกระบวนกำร (P : Process)
1. นักเรียนใช้ทักษะการวัด โดยเลือกและใช้เครื่องมือเพื่อวัดปริมาณขององค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตใน
ระบบนิเวศได้
2. นักเรียนใช้ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยนาข้อมูลจากการสังเกตและการสืบค้น
ข้อมูลมาแปลความหมายเพื่อสรุปปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบของระบบนิเวศ
3. นักเรียนใช้ทักษะการสร้างแบบจาลอง โดยการนาข้อมูลมาสร้างแบบจาลองสายใยอาหาร

ด้ำนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A : Attribute)
1. มีความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน
2. ความมีเหตุมีผล
3. มีระเบียบและรอบคอบ
4. มีความซื่อสัตย์
5. มีความรับผิดชอบ

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ หน้า 4


แผนผังลำดับขั้นตอนกำรใช้ชุดกิจกรรมกำรเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ
ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ

ศึกษำคำแนะนำ/จุดประสงค์กำรเรียนรู้/สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

ศึกษำชุดกิจกรรมกำรเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ ชุดถัดไป

หมำยเหตุ เกณฑ์การผ่าน นักเรียนมีคะแนนผลการทดสอบขั้นประเมินผลร้อยละ 80 ขึ้นไป

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ หน้า 5


กิจกรรมที่ 1 “ระบบนิเวศคืออะไร” (15 นำที)
คำชี้แจง: ให้นักเรียนอ่านข้อความที่กาหนดให้ จากนั้นตอบคาถามตามความคิดเห็นของนักเรียน

สภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่บนโลกมีความแตกต่างกัน เช่น ทะเล เมือง ป่าไม้ ภูเขา ที่ราบ ที่ลุ่ม


ทะเลทราย ธารน้าแข็ง ในแต่ละสภาพแวดล้อมจะพบสิ่งมีชีวิตอยู่ร่วมกันโดยมีปฏิสัมพันธ์กันในรูปแบบต่าง ๆ
และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิต ทาให้สิ่งมีชีวิตสามารถดารงชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมนั้น

ภาพที่นักเรียนเห็น
คือภาพอะไร และสิ่งที่
เห็นในภาพมีอะไรบ้าง?

ภาพที่เห็นคือภาพของ ..............................................................
สิ่งที่เห็นในภาพ
- สิ่งที่ไม่มีชีวิต ได้แก่ .............................................................................................................................
- สิ่งมีชีวิต ได้แก่ ...................................................................................................................................
............................................................................................................................ .................................................

นักเรียนได้ข้อสรุปว่า ระบบนิเวศ คือ


………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………...................………………………………..…………….……

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ หน้า 6


กิจกรรมที่ 2 “สำรวจระบบนิเวศในท้องถิ่น” (90 นำที)
คำชี้แจง: ให้นักเรียนศึกษาการสารวจระบบนิเวศในท้องถิ่นจากคลิปตัวอย่างด้านล่างจากนั้นนามาบันทึกผล
และตอบคาถามท้ายกิจกรรมให้ถูกต้อง
คลิปวีดีทัศน์: กำรสำรวจระบบนิเวศแหล่งน้ำ วิทยำศำสตร์ ม.3
เว็บไซต์อ้างอิง https://www.youtube.com/watch?v=w4zHL2lxlnY
(ช่องYouTube: บทเรียนออนไลน์ กระทรวงศึกษาธิการ)

 อุปกรณ์ในกำรทำกิจกรรม
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................

 ขั้นตอนกำรทำกิจกรรม (อธิบำยโดยละเอียด)
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................

 กำรบันทึกผลกำรทำกิจกรรม
บริเวณที่เลือกสารวจ คือ ............................................................................................................................
ข้อมูลสภาพแวดล้อมในบริเวณที่สารวจ
- อุณหภูมิที่วัดได้ คือ .............................................. - ความเป็นกรด-เบส (pH) ที่วัดได้ คือ .............................
- ความโปร่งใสของน้าที่วัดได้ คือ ............................ - ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้า คือ ..................................

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ หน้า 7


 ตำรำงบันทึกข้อมูลสิ่งมีชีวิตที่พบในบริเวณที่สำรวจ
รายการ สิ่งมีชีวิต จานวน

 สรุปผลกำรทำกิจกรรม
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................

 คำถำมท้ำยกิจกรรม
1. ในบริเวณที่สารวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดใดมากที่สุด และสิ่งมีชีวิตชนิดใดน้อยที่สุด เพราะเหตุใด
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................

2. สิ่งมีชีวิตที่พบในบริเวณที่สารวจมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................

3. สิ่งไม่มีชีวิตที่พบในแต่ละบริเวณมีผลทาให้ชนิดของสิ่งมีชีวิตมีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................
.

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ หน้า 8


กิจกรรมที่ 3 “เขียนสรุปองค์ควำมรู้” (15 นำที)
คำชี้แจง: ให้นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบของระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ

...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
...............

องค์ประกอบของระบบนิเวศ

องค์ประกอบที่มีชีวิต องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต

...................................................................... .....................................................................
...................................................................... .....................................................................
...................................................................... .....................................................................
...................................................................... .....................................................................
...................................................................... .....................................................................
...................................................................... .....................................................................
...................................................................... .....................................................................
.... ...........

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ หน้า 9


กิจกรรมที่ 4 “ควำมสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ” (45 นำที)
คำชี้แจง: ให้นักเรียนอ่านข้อความที่กาหนดให้ จากนั้นวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศต้องการอาหารเพื่อดารงชีวิต บางชนิดสามารถสร้างอาหารเองมีบทบาทเป็นผู้ผลิต
บางชนิดกินสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นเป็นอาหารมีบทบาทเป็น ผู้บริโภค และบางชนิดเป็นผู้ย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตมีบทบาท
เป็นผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ การที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีบทบาทแตกต่างกัน ทาให้เกิดการถ่ายทอดพลังงานโดยการ
กินต่อไปเป็นทอด ๆ เรียกว่า โซ่อาหาร

ระบบนิเวศนาข้าว
สิ่งมีชีวิต อาหารที่บริโภค ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ
ข้าว อาหารของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด จากนั้น
หอยเชอรี นามาเขียนโซ่อาหารของระบบนิเวศนี้
ตั๊กแตน ให้ได้มากที่สุด
นกกระจอก
งูเหลือม
หญ้า
เป็ด

โซ่อำหำรในระบบนิเวศนำข้ำว

1. ............................ .............................. .............................


ผูผ้ ลิต ผู้บริโภคลาดับที่ 1 ผู้บริโภคลาดับสุดท้าย

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ หน้า 10


สำยใยอำหำรในระบบนิเวศนำข้ำว

นาโซ่อาหารที่ได้มานาเสนอ
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
ในสายใยอาหาร

 สรุปผลกำรทำกิจกรรม
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ หน้า 11


กิจกรรมที่ 5 “เกมจับคู่องค์ประกอบของระบบนิเวศ” (15 นำที)
คำชี้แจง: ให้นักเรียนลากเส้นจับคู่คาสาคัญกับความหมายของคาสาคัญให้ถูกต้อง

คำสำคัญ ควำมหมำย

ระบบนิเวศ   ประกอบด้วย อนินทรียสาร อินทรียสาร และสภาพแวดล้อม


ทางกายภาพ
องค์ประกอบที่มีชีวิต 
 ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นแหล่งที่อยู่
องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต  อาศัย ณ ที่ใดที่หนึ่ง
 สิ่งมีชีวิตตั้งแต่ 2 ชนิด (Species) มาอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม
ประชากร 
 ประกอบด้วย ผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์
กลุ่มสิ่งมีชีวิต 
 สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวอาศัยอยู่ร่วมกัน
แหล่งที่อยู่   เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารจึงบริโภคสิ่งมีชีวิต
ชนิดอื่นเป็นอาหาร
ผู้ผลิต 
 เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้ แต่สามารถย่อย
ผู้บริโภค  สลายอินทรียสารให้เป็นอนินทรียสารได้

ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์   บริเวณที่สิ่งมีชีวิตใช้เป็นที่อยู่อาศัย
 ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในเรื่องของการกินต่อกันเป็น
โซ่อาหาร  ทอดๆ จากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค
สายใยอาหาร   เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้
 โซ่อาหารหลายๆ โซ่ที่มีความสัมพันธ์กันโดยในธรรมชาติการ
กินต่อกันเป็นทอดๆ ในโซ่อาหารจะมีความซับซ้อนกันมาก

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ หน้า 12


ใบควำมรูช้ ุดกิจกรรม เรื่อง ระบบนิเวศ
ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ

ภำพแสดง ระบบนิเวศบนบกและแหล่งน้ำ
ที่มา: https://sites.google.com/site/scienceinging

ระบบนิเวศ คืออะไร?
ในบริเวณหนึ่ง ๆ จะพบสิ่งมีชีวิตหลายชนิดที่แตกต่างกัน เช่น พืช สัตว์ เห็ด รา แบคทีเรีย บริเวณที่
สิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาศัยอยู่ เรียกว่า แหล่งที่อยู่ (habitat) เช่น สระน้า สนามหญ้า ขอนไม้ ในแต่ละแหล่งที่อยู่ซึ่ง
มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกันจะพบสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน สิ่ งมีชีวิตชนิดเดียวกันที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน
ในช่วงเวลาหนึ่ง เรียกว่า ประชำกร (population) ประชากรของสิ่งมีชีวิตหลาย ๆ ชนิดที่อ าศัยอยู่ในแหล่งที่
อยู่เดียวกันและมีความสัมพั นธ์กันเรียกว่า กลุ่มสิ่งมีชีวิต (community) เราเรียกระบบที่มีสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ
อาศัยในแหล่งที่อยู่เดียวกันที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมว่า ระบบนิเวศ
(ecosystem) ในท้องถิ่นของเราอาจจะพบระบบนิเวศที่มีขนาดเล็ก เช่น ระบบนิเวศต้นไม้ ระบบนิเวศสวนผัก
ระบบนิเวศขอนไม้ จนถึงระบบนิ เวศขนาดใหญ่ เช่น ระบบนิเวศทะเล ระบบนิเวศป่าไม้ ขนาดของระบบนิเวศ
สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับการกาหนดขอบเขตระบบนิเวศของผู้ศึกษา
ดังนั้น ระบบนิเวศ หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่อาศัย ณ
ที่ใดที่หนึ่ง ความสัมพันธ์มี 2 ลักษณะ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต
และระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตด้วยกันเอง โดยมีการถ่ายทอดพลังงานและสารอาหาร
ในบริเวณนั้น ๆ สู่สิ่งแวดล้อม

คลิปวีดีทัศน์: ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงแหล่ง
ที่อยู่ ประชำกรและกลุ่มสิ่งมีชีวิต
เว็บไซต์อ้างอิง ipst.me/10606

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ หน้า 13


องค์ประกอบของสภำพแวดล้อมในท้องถิ่น
องค์ประกอบในสภาพแวดล้อมแต่ล ะบริเวณ เช่น สนามหญ้า สระน้า จะพบชนิดและปริมาณของ
สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตแตกต่างกันไป สิ่งมีชีวิตที่พบ เช่น สัตว์ พืช จุลินทรีย์ และสิ่งไม่มีชีวิต เช่น แสง อากาศ
น้า ดิน ธาตุอาหาร ซึ่งสามารถแบ่งองค์ประกอบของระบบนิเวศได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. องค์ประกอบที่มีชีวิต ได้แก่ พืช สัตว์ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ซึ่งช่วยทา
ให้ระบบนิเวศทางานได้อย่างเป็นปกติ โดยแบ่งออกตามหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
- ผู้ผลิต (producer) คือ สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารเองได้โดยการสังเคราะห์ด้วยแสง ได้แก่
พืชสีเขียว แพลงก์ตอนพืช และแบคทีเรียบางชนิด ผู้ผลิตมีความสาคัญมากเพราะเป็นจุดเริ่มต้นที่
เชื่อมต่อระหว่างสิ่งไม่มีชีวิตและสิ่งที่มีชีวิตอื่นๆในระบบนิเวศ
- ผู้บริโภค (consumer) คือ สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารขึ้นเองได้ แต่ได้รับธาตุอาหารจาก
การกินสิ่งมีชีวิตอื่นอีกทอดหนึ่ง
- ผู้ย่อยสลาย (decomposer) คือ สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ แต่อาศัยอาหารจาก
สิ่งมีชีวิตชนิดอื่น โดยการสร้างน้าย่อยออกมาย่อยสลายแร่ธาตุต่างๆในส่วนประกอบของซากสิ่งมีชีวิต
ให้เป็นสารโมเลกุลเล็กๆ แล้วจึงดูดซึมอาหารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปใช้ เช่น แบคทีเรีย เห็ด รา เป็นต้น
2. องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic component ) เป็นส่วนประกอบในระบบนิเวศที่ไม่มีชีวิต ซึ่ง
เป็นส่วนสาคัญที่ทาให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศขึ้นมา แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
- อนินทรีย์สาร เป็นสารที่ได้จากธรรมชาติและเป็นส่วนประกอบที่เป็นแร่ธาตุพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
เช่น ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน น้า ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส เป็นต้น
- อินทรีย์สาร เป็นสารที่ได้จากสิ่งมีชีวิต เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ฮิวมัส เป็นต้น
- สภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น แสงสว่าง อุณหภูมิ ความชื้น ความเป็นกรด-เบส เป็นต้น

สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ทาให้การดารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศนั้นแตกต่างกันออกไป โดยที่


องค์ประกอบจะมีปฏิสัมพันธ์กัน เช่น สิ่ งมีชีวิตต้องการน้าเพื่อใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของร่างกาย สิ่งมีชีวิตใช้แก๊ส
ออกซิเจนในการหายใจ พืชและสาหร่ายใช้แก็สคาร์บอนไดออกไซด์และแสงในการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้าง
อาหาร และปล่อยแก๊สออกซิเจนออกสู่อกาศ พืชและสิ่งมีชีวิตบางชนิดใช้ดินเป็นที่อยู่และแหล่งแร่ธาตุอาหาร ถ้า
องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไปองค์ประกอบที่มีชีวิตอาจต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถดารงชีวิต
และอยู่รอดต่อไปได้ในสภาพแวดล้อมนั้น ๆ
ระบบนิเวศจึงประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตนานาชนิดและรูปแบบต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ จุลินทรีย์ที่อยู่
รวมกันบริ เวณใดบริ เวณหนึ่ ง โดยสิ่ งมีชีวิตเหล่ านั้นสามารถปรั บตั วให้ เข้ ากั บสภาวะแวดล้ อมรอบ ๆ ตัวได้
การปรับตัวเปลี่ยนแปลงบางอย่างของสิ่งมีชีวิตอาจเกิดขึ้นภายในหนึ่งชั่วอายุหรือยาวนานหลายชั่วอายุ โดยผ่าน
การคัดเลือกตามธรรมชาติ ตามกระบวนการวิวัฒนาการ คุณสมบัติและความสามารถของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตและ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ หน้า 14
สภาวะแวดล้อมต่างก็มีบทบาทร่วมกัน และมีปฏิกิริยาต่อกันและกันอย่างซับซ้อนในระบบนิเวศที่สมดุล โครงสร้าง
และคุณสมบัติของระบบนิเวศเป็นสิ่งสาคัญที่ช่วยให้สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ รวมทั้งมนุษย์อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล

ควำมสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวติ ในระบบนิเวศ
สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศต้องการอาหารเพื่อการดารงชีวิต บางชนิดมีบทบาทในการสร้างอาหารบางชนิด
กินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร และบางชนิดเป็นผู้ย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้เอง
โดยใช้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง สิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้มีบทบาทเป็น ผู้ผลิต (producer) ได้แก่ พืช สาหร่าย
และแบคทีเรียบางชนิด สิ่งมีชีวิตบางชนิดไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง ต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร สิ่งมีชีวิต
กลุ่มนี้มีบทบาทเป็น ผู้บริโภค (consumer) เช่น มนุษย์ สัตว์ต่าง ๆ ถ้าพิจารณาอาหารที่ผู้บริโภคกินสามารถ
แบ่งกลุ่มผู้บริโภคได้เป็ นผู้ บริโภคที่กิน พืช เป็นอาหาร เรียกว่า สิ่งมีชีวิตกิน พืช (herbivore) เช่น วัว ช้าง
ผู้บริโภคที่กินสัตว์เป็นอาหาร เรียกว่า สิ่งมีชีวิตกินสัตว์ (carnivore) เช่น เสือดาว สิงโต และผู้บริโภคที่กินทั้ง
พืชและสัตว์เป็นอาหาร เรียกว่า สิ่งมีชีวิตกินพืชและสัตว์ (omnivore) เช่น ไก่ มนุษย์ นอกจากนี้ยังมีสิ่งมีชีวิต
บางชนิดที่กินเฉพาะซากสิ่งมีชีวิต เช่น แร้ง เรียกสิ่งมีชีวิตพวกนี้ว่า สัตว์กินซำก (scavenger)
เมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง จะมีสิ่งมีชีวิตอีกกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทเป็น ผู้ย่อยสลำยสำรอินทรีย์ (decomposer)
เช่น เห็ดรา แบคทีเรีย ซึ่งดารงชีวิตโดยผลิตเอนไซม์ออกมาย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตให้เป็นสารอาหารที่มีขนาด
โมเลกุลเล็กลง แล้วดูดซึมสารอาหารไปใช้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือจะอยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ผลิตสามารถ
นาไปใช้ในการดารงชีวิตต่อไป

การที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีบทบาทแตกต่างกัน ทาให้เกิดการถ่ายทอดพลังงานที่อยู่ในอาหารไปตาม
ลาดับโดยการกินกันเป็นทอด ๆ เรียกว่า โซ่อำหำร (food chain) โดยทั่วไปโซ่อาหารประกอบด้วยผู้ผลิตและ
ผู้บริโภคลาดับต่าง ๆ ดังภาพ จะเห็นว่าในโซ่อาหารนี้มีหญ้าเป็นผู้ผลิต มีตั๊ กแตน ก และงู เป็นผู้บริโภค โดย
ตั๊กแตนกินหญ้า ตั๊กแตนจัดเป็นผู้บริโภคลาดับที่ 1 กบกินตั๊กแตน กบจัดเป็นผู้บริโภคลาดับที่ 2 ส่วนงูกิน กบ
งูจัดเป็นผู้บริโภคลาดับที่ 3 หรือผู้บริโภค ลาดับสุดท้ายของโซ่อาหารนี้

ภำพแสดง โซ่อำหำร
(ที่มา: หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นม.3 เล่ม 2 สสวท. หน้า 167)

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ หน้า 15


ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในโซ่อาหารเป็นความสัมพันธ์ในด้านการถ่ายทอดพลังงาน โดยการกิน
กันเป็นทอดๆ ไม่ซับซ้อน แต่ในธรรมชาติอาจมีผู้ผลิตมากกว่าหนึ่งชนิดและมีผู้บริโภคที่สามารถบริโภคพืชและ
สัตว์อื่น ๆ ได้หลายชนิด เช่น กบกินตั๊กแตน แมลงปอ และแมลงหวี่ ในขณะเดียวกันผู้บริโภคชนิดหนึ่งอาจเป็น
อาหารของผู้บริโภคได้หลายชนิด เช่น กบเป็นอาหารของแมว งู และนกอินทรี ดังภาพ แสดงความสัมพันธ์ของ
สิ่งมีชีวิต ในการถ่ายทอดพลังงานโซ่อาหารหลายสายที่สัมพันธ์ซับซ้อนนี้ เรียกว่า สำยใยอำหำร (food web)

ภำพแสดง สำยใยอำหำร
(ที่มา: หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นม.3 เล่ม 2 สสวท. หน้า 168)

ระบบนิเวศหนึ่ง ๆ จะมีสิ่งมีชีวิตหลายชนิดที่มีความสัมพันธ์กันในด้านการถ่ายทอดพลังงานโดยการกิน
กันเป็นทอดๆ ในรูปของสายใยอาหาร ซึ่งประกอบด้วยโซ่อาหารหลายโซ่อาหารสัมพันธ์กัน ในธรรมชาติสายใย
อาหารจะมีความซับซ้อนแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดและจานวนชนิดของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระบบนิเวศ

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ หน้า 16


ภาคผนวก
แนวการตอบคาถามแต่ละกิจกรรมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้
เรื่อง ระบบนิเวศ ชุดที่ 1 องค์ประกอบของระบบนิเวศ
กิจกรรมที่ 1 “ระบบนิเวศคืออะไร” (15 นาที)
คาชี้แจง: ให้นักเรียนอ่านข้อความที่กาหนดให้ จากนั้นตอบคาถามตามความคิดเห็นของนักเรียน

สภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่บนโลกมีความแตกต่างกัน เช่น ทะเล เมือง ป่าไม้ ภูเขา ที่ราบ ที่ลุ่ม


ทะเลทราย ธารน้าแข็ง ในแต่ละสภาพแวดล้อมจะพบสิ่งมีชีวิตอยู่ร่วมกันโดยมีปฏิสัมพันธ์กันในรูปแบบต่าง ๆ
และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิต ทาให้สิ่งมีชีวิตสามารถดารงชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมนั้น

ภาพที่นักเรียนเห็น
คือภาพอะไร และสิ่งที่
เห็นในภาพมีอะไรบ้าง?

ภาพที่เห็นคือภาพของ ระบบนิเวศบริเวณแหล่งน้า.
สิ่งที่เห็นในภาพ
- สิ่งที่ไม่มีชีวิต ได้แก่ แสงสว่าง ออกซิเจน น้า
- สิ่งมีชีวิต ได้แก่ หญ้า ต้นไม้ บัว แมลงปอ แมลงเต่าทอง เต่า ปลาเล็ก ปลาใหญ่ กบ แรคคูน กวาง เหยี่ยว

นักเรียนได้ข้อสรุปว่า ระบบนิเวศ คือ


ระบบนิเวศ หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่อาศัย ณ ที่ใดที่หนึ่ง โดยมีการ
ถ่ายทอดพลังงานและสารอาหารในบริเวณนั้น ๆ สู่สิ่งแวดล้อม
กิจกรรมที่ 2 “สารวจระบบนิเวศในท้องถิ่น” (90 นาที)
คาชี้แจง: ให้นักเรียนศึกษาการสารวจระบบนิเวศในท้องถิ่นจากคลิปตัวอย่างด้านล่างจากนั้นนามาบันทึกผล
และตอบคาถามท้ายกิจกรรมให้ถูกต้อง
คลิปวีดีทัศน์: การสารวจระบบนิเวศแหล่งน้า วิทยาศาสตร์ ม.3
เว็บไซต์อ้างอิง https://www.youtube.com/watch?v=w4zHL2lxlnY
(ช่องYouTube: บทเรียนออนไลน์ กระทรวงศึกษาธิการ)

 อุปกรณ์ในการทากิจกรรม
1) กระดาษยูนิเวอร์ 2) เทอร์มอมิเตอร์ 3) บีกเกอร์ขนาด 80 ลบ.ซม. 4) เซคิดิสก์ 5) กล้องจุลทรรศน์
6) สไลด์และกระจกปิดสไลด์ 7) หลอดหยด 8) เครื่องตรวจวัดออกซิเจนในน้า 9) สวิงตักสิ่งมีชีวิตในน้า

 ขั้นตอนการทากิจกรรม (อธิบายโดยละเอียด)
1) วัดอุณหภูมิแหล่งน้า โดยใช้เทอร์มอมิเตอร์
2) วัดระยะที่แสงส่องผ่าน โดยใช้เซคิดิสก์ ทาได้โดยหย่อนเซคิดิสก์ในแหล่งน้าจนถึงระยะที่เริ่มมองไม่เห็นบันทึก
ค่าความลึกของระดับน้าและค่อยๆดึงขึ้นจนเริ่มมองเห็นแล้วจดบันทึกค่าความลึกอีกครั้งจากนั้นนามาหาค่าเฉลี่ย
3) เก็บตัวอย่างน้าด้วยเครื่องมือเก็บตัวอย่างน้า จากนั้นวัดความเป็นกรด-เบส สังเกตสี กลิ่น วัดปริมาณออกซฺเจน
สังเกตและศึกษาสิ่งมีชีวิตที่พบ

 การบันทึกผลการทากิจกรรม
บริเวณที่เลือกสารวจ คือ ระบบนิเวศแหล่งน้า
ข้อมูลสภาพแวดล้อมในบริเวณที่สารวจ
- อุณหภูมิที่วัดได้ คือ ผิวน้า 27 °C , น้าลึก 26.5 °C - ความเป็นกรด-เบส (pH) ที่วัดได้ คือ 7
- ความโปร่งใสของน้าที่วัดได้ คือ ผิวน้า: ใส , น้าลึก: ขุ่นเล็กน้อย - ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้า คือ มาก
 ตารางบันทึกข้อมูลสิ่งมีชีวิตที่พบในบริเวณที่สารวจ
รายการ สิ่งมีชีวิต จานวน
1 สาหร่ายหางกระรอก พบจานวนมาก
2 สาหร่ายลักษณะเป็นเส้น พบจานวนมาก
3 แพลงก์ตอนพืช พบจานวนมาก
4 ลูกอ๊อด พบจานวนมาก
5 ปลา 5 ตัว
6 แมงมุมน้า 3 ตัว

 สรุปผลการทากิจกรรม
ในสภาพแวดล้อมแต่ละบริเวณจะพบชนิดและปริมาณของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตต่างกัน เราสามารถพบ
สิ่งมีชีวิต ได้แก่ พืช สัตว์ เป็นองค์ประกอบที่มีชีวิต และสิ่งไม่ มีชีวิต เช่น แสงแดด อากาศ น้า ดินอุณหภูมิ ที่เป็น
องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตแตกต่างกันออกไปในแต่ละระบบนิเวศ เพราะองค์ประกอบดังกล่าวจะมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน

 คาถามท้ายกิจกรรม
1. ในบริเวณที่สารวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดใดมากที่สุด และสิ่งมีชีวิตชนิดใดน้อยที่สุด เพราะเหตุใด
แนวคาตอบ ตอบตามข้อมูลที่นักเรียนสารวจได้ โดยให้นักเรียนแสดงหลักฐานสนับสนุนข้อมูลจานวนของชนิด
สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด เช่น ตารางบันทึกผล ภาพถ่าย ภาพวาด

2. สิ่งมีชีวิตที่พบในบริเวณที่สารวจมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร
แนวคาตอบ ตอบตามความคิดเห็นและข้อสรุปของนักเรียน ซึ่งครูสามารถนาอภิปรายร่วมกันถึงปฏิสัมพันธ์ของ
องค์ประกอบในระบบนิเวศนั้น ๆ เช่น มดขุดดินเพื่อสร้างรัง และกินตั๊กแตนตัวเล็ก ๆ เป็นอาหาร หรือ ปลา
อาศัยอยู่ในน้า กินสาหร่ายเป็นอาหาร ส่วนสาหร่ายมักขึ้นริมตลิ่งเพราะต้องอาศัยแสงแดด ในการสังเคราะห์
ด้วยแสง จึงไม่สามารถเจริญเติบโตในบริเวณน้าลึกได้

3. สิ่งไม่มีชีวิตที่พบในแต่ละบริเวณมีผลทาให้ชนิดของสิ่งมีชีวิตมีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
แนวค าตอบ ความแตกต่ า งของสิ่ ง ไม่ มี ชี วิ ต เช่ น แสง น้ า อากาศ ในแต่ ล ะบริ เ วณ ส่ ง ผลให้ สิ่ ง มี ชี วิ ต
ที่อาศัยอยู่ในแต่ละบริเวณนั้นแตกต่างกัน เนื่องจากสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความต้องการพื้นฐานในการดารงชีวิต
ที่แตกต่าง เช่น พืชบางชนิดเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มน้า ดังนั้นในบริเวณที่ใกล้แหล่งน้าก็จะพบพืชชนิดนี้
มากกว่าบริเวณที่แห้งแล้ง เป็นต้น
กิจกรรมที่ 3 “เขียนสรุปองค์ความรู้” (15 นาที)
คาชี้แจง: ให้นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบของระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ

ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่อาศัย ณ ที่ใดที่หนึ่ง ความสัมพันธ์


โดยมีการถ่ายทอดพลังงานและสารอาหารในบริเวณนั้น ๆ สู่สิ่งแวดล้อม

องค์ประกอบของระบบนิเวศ

องค์ประกอบที่มีชีวิต องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต

แบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ 1) ผู้ผลิต คือ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) อนินทรีย์สาร


สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารเองได้ เช่น คาร์บอน ไฮโดรเจน น้า 2) อินทรีย์สาร
2) ผู้บริโภค คือ สิ่งมีชีวิตที่ได้รับธาตุอาหาร เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน เป็นต้น
จากการกินสิ่งมีชีวิตอืน่ อีกทอดหนึ่ง และ 3) สภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น แสง
และ 3) ผู้ย่อยสลาย คือ สิ่งมีชีวิตที่อาศัย สว่าง อุณหภูมิ ความชื้น กรด-เบส เป็นต้น
อาหารจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น โดยการสร้าง
น้าย่อยออกมาย่อยสลายแร่ธาตุต่างๆ
กิจกรรมที่ 4 “ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ” (45 นาที)
คาชี้แจง: ให้นักเรียนอ่านข้อความที่กาหนดให้ จากนั้นวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศต้องการอาหารเพื่อดารงชีวิต บางชนิดสามารถสร้างอาหารเองมีบทบาทเป็นผู้ผลิต
บางชนิดกินสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นเป็นอาหารมีบทบาทเป็น ผู้บริโภค และบางชนิดเป็นผู้ย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตมีบทบาท
เป็นผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ การที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีบทบาทแตกต่างกัน ทาให้เกิดการถ่ายทอดพลังงานโดยการ
กินต่อไปเป็นทอด ๆ เรียกว่า โซ่อาหาร

ระบบนิเวศนาข้าว
สิ่งมีชีวิต อาหารที่บริโภค ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ
ข้าว - อาหารของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด จากนั้น
หอยเชอรี ต้นหญ้า ต้นข้าว นามาเขียนโซ่อาหารของระบบนิเวศนี้
ตั๊กแตน ต้นหญ้า ต้นข้าว ให้ได้มากที่สุด
นกกระจอก ต้นข้าว ตั๊กแตน
งูเหลือม หอยเชอรี นกกระจอก เป็ด
หญ้า -
เป็ด หอยเชอรี

โซ่อาหารในระบบนิเวศนาข้าว

1. ต้นหญ้า นกกระจอก งูเหลือม


ผูผ้ ลิต ผู้บริโภคลาดับที่ 1 ผู้บริโภคลาดับสุดท้าย
2. ต้นข้าว หอยเชอรี เป็ด งูเหลือม
ผูผ้ ลิต ผู้บริโภคลาดับที่ 1 ผู้บริโภคลาดับที่ 2 ผู้บริโภคลาดับสุดท้าย

3. ต้นหญ้า ตั๊กแตน นกกระจอก งูเหลือม


ผูผ้ ลิต ผู้บริโภคลาดับที่ 1 ผู้บริโภคลาดับที่ 2 ผู้บริโภคลาดับสุดท้าย
สายใยอาหารในระบบนิเวศนาข้าว

งูเหลือม

เป็ ด
นกกระจอก
นาโซ่อาหารที่ได้มานาเสนอ
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต หอยเชอรี
ตัก๊ แตน
ในสายใยอาหาร

ต้ นหญ้ า ต้ นข้ าว

 สรุปผลการทากิจกรรม
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศจะมีความสัมพันธ์ในด้านการถ่ายทอดพลังงานโดยการกิน
กันเป็นทอดๆ ไม่ซับซ้อน ที่เรียกว่าโซ่อาหาร แต่ในธรรมชาติอาจมีผู้ผลิตมากกว่าหนึ่งชนิดและมีผู้บริโภคที่
สามารถบริโภคพืชและสัตว์อื่น ๆ ได้ หลายชนิด ในขณะเดียวกันผู้บริโภคชนิดหนึ่งอาจเป็นอาหารของผู้บริโภค
ได้หลายชนิด โดยการถ่ายทอดพลังงานของโซ่อาหารหลายสายที่สัมพันธ์ซับซ้อนนี้ เรียกว่า สายใยอาหาร
กิจกรรมที่ 5 “เกมจับคู่องค์ประกอบของระบบนิเวศ” (15 นาที)
คาชี้แจง: ให้นักเรียนลากเส้นจับคู่คาสาคัญกับความหมายของคาสาคัญให้ถูกต้อง

คาสาคัญ ความหมาย

ระบบนิเวศ   ประกอบด้วย อนินทรียสาร อินทรียสาร และสภาพแวดล้อม


ทางกายภาพ
องค์ประกอบที่มีชีวิต 
 ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นแหล่งที่อยู่
องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต  อาศัย ณ ที่ใดที่หนึ่ง
 สิ่งมีชีวิตตั้งแต่ 2 ชนิด (Species) มาอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม
ประชากร 
 ประกอบด้วย ผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์
กลุ่มสิ่งมีชีวิต 
 สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวอาศัยอยู่ร่วมกัน
แหล่งที่อยู่   เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างเองอาหารได้จึงบริโภค
สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นเป็นอาหาร
ผู้ผลิต 
 เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้ แต่สามารถย่อย
ผู้บริโภค  สลายอินทรียสารให้เป็นอนินทรียสารได้

ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์   บริเวณที่สิ่งมีชีวิตใช้เป็นที่อยู่อาศัย
 ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในเรื่องของการกินต่อกันเป็น
โซ่อาหาร  ทอดๆ จากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค
สายใยอาหาร   เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้
 โซ่อาหารหลายๆ โซ่ที่มีความสัมพันธ์กันโดยในธรรมชาติการ
กินต่อกันเป็นทอดๆ ในโซ่อาหารจะมีความซับซ้อนกันมาก

You might also like