You are on page 1of 6

แบบทดสอบเรื่อง โคลงสี่สุภาพ

คำชี้แจง ให้ผู้เรียนทำเครื่องหมาย x ในช่องที่ตรงกับ ๑. ๒. ๓. หรือ ๔. ที่เป็ น


คำตอบที่ถูกต้องในกระดาษคำตอบ

ให้นักเรียนอ่านโคลงข้างล่างนี้ แล้วตอบคำถามข้อ ๑

เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย

เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า

สองเผือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤาพี่

สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ (ลิ


ลิตพระลอ)

๑. โคลงบทนี้เรียกว่า โคลงชนิดใดและมีจำนวนกี่บท

๑. โคลงสองสุภาพ 1 บท ๒. โคลงสองสุภาพ 2 บท ๓. โคลงสี่


สุภาพ 1 บท ๔. โคลงสี่สุภาพ 2 บท

๒. บาทแรกของคำประพันธ์ในข้อใดเป็ นโคลงสี่สุภาพ

๑. วิชาเหมือนสินค้า อันมีค่าอยู่เมืองไกล ๒. เขาย่อมเปรียบเทียบความ


ว่ายามรัก แต่น้ำผักต้มขมชมว่าหวาน

๓. รอนรอนสุริยะโอ้ อัสดง ๔. ความเอ๋ยความรัก เริ่ม


สมัครชั้นต้น ณ หนไหน

๓. โคลงสี่สุภาพ ๑ บท มีกี่บาท
๑. ๒ บาท ๒. ๔ บาท ๓. ๖ บาท ๔. ๘
บาท

๔. โคลงสี่สุภาพมีคำสร้อยได้กี่แห่ง

๑. ๑ แห่ง ๒. ๒ แห่ง ๓. ๓ แห่ง ๔. ๔ แห่ง

๕. โคลงสี่สุภาพบังคับเอกโทอย่างไร

๑. เอก ๗ โท ๔ ๒. เอก ๔ โท ๗ ๓. เอก ๔ โท ๔


๔. เอก ๗ โท ๗

๖. ตำแหน่งที่เติมคำสร้อยในโคลงสี่สุภาพคือข้อใด

๑. ท้ายบาทที่ ๑ และ ๔ ๒. ท้ายบาทที่ ๑ และ ๒ ๓. ท้ายบาทที่


๒ และ ๔ ๔. ท้ายบาทที่ ๑ และ ๓

๗. การแต่งโคลงสี่สุภาพมีการอนุโลมให้ใช้คำอะไรแทนคำเอกได้

๑. คำเป็ น ๒. คำตาย ๓. คำซ้ำ ๔. คำ


ซ้อน

๘. ข้อใดเป็ นคำตายทุกคำ

๑. ทา บ้าน ใจ ๒. มี พวก วรรค ๓. ดาว ศุกร์ ภาพ


๔. พระ บาตร บาป

๙. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพ

๑. โคลงสี่สุภาพ ๑ บท มี ๔ บาท ๒. คำเอกมี ๗ แห่ง


คำโทมี ๔ แห่ง
๓. วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๒ คำ ๔. ตำแหน่งที่เติม
คำสร้อยได้ คือ ท้ายบาทที่ ๑ และ ๓

๑๐. ใดใดในโลกล้วน อนิจจัง

คงแต่บาปบุญ.......... เที่ยงแท้

คือเงาติดตัวตรัง ตรึงแน่น อยู่นา

ตามแต่บาปบุญ............ ก่อเกื้อรักษา

ควรนำคำในข้อใดมาเติมลงในช่องว่างของโคลง จึงจะได้ใจความเหมาะสม

๑. ฟั ง ที่ ๒. ทั้ง แท้ ๓. ยัง แล้ ๔. ยัง มี

11. เซอะซุ่มซ่ามไซร้ ไป่ ควร

เงอะงะเกะกะกวน จิตฟุ้ง

ทำใด … ยั่วยวน ความโกรธ เสมอนา

ชักแต่ดุด่ากลุ้ม … ด้วยเซอะเซิง

คำในข้อใดเหมาะสมที่จะนำมาเติมในช่องว่างของคำประพันธ์ข้างต้น ให้
ถูกต้องตามฉันทลักษณ์และความหมาย

๑. เย้า , เนื่อง 2. ดุจ , อัน 3. มัก, เพราะ


๔. ได้ , เกิด

12. บาทที่ 3 ของโคลงสี่สุภาพต่อไปนี้ ข้อใดแต่งถูกต้องตามลักษณะบังคับทุก


ประการ
๑. นารายณ์บรรทมสินธุ์ นานตื่น ๒. นารายณ์เจื่องเจ้านิทร
นานเนา แล้วเฮย

๓. นารายณ์เนื่องนิทรสินธุ์ นานตื่น ๔. นารายณ์เนาใน


สินธุ์ นานนับ แลนา

13. คำที่ต้องเติมลงไปในโคลงสี่สุภาพต่อไปนี้คือคำใด

โมงเมียงแมกม่วงไม้ มองเมีย

ยางเหยียบยอดยางเยีย ยาตร ……….

คลิ้งโคลงคล่ำคล้าเคลีย คลอเคล่า

แอ่นแอ่นอกแอบเอื้อง ออกเอี้ยงอึงอล

๑. ย้ำ 2. เยื้อง 3. ย้าย


๔. เย้า

14. ข้อใดเป็ นบาทสุดท้ายของโคลงต่อไปนี้

รัศมีก่องยิ่งแก้ว สุริยกานต์

เลอพิศพร่างโอฬาร เพริศแพร้ว

ประกายพรายแผ่ไพศาล สว่างทั่ว ถิ่นแฮ


๑. ยามเปรียบยิ่งดวงแก้ว พ้นแล้วอุปมา ๒. ยังแผ่นดินเลิศ
แล้ว พร่างพ้นสุริย์ฉาย

๓. ยิ่งแสงสุริยะแคล้ว เลิศล้ำแสงฉาย ๔. ฉาบแผ่นดินให้แผ้ว


พ่างพื้นพิมานสถาน

15. ไทยยงคงศักดิ์ด้วย ดวงดี เด่นฤา

ฤาปะเหมาะเคราะห์ปี - ศาจคุ้ม

ลำพังชะตามี ก็อาจ อับนอ

เพราะพิรัชภัยคลุ้ม คลั่งล้อมรอบคาม

คำประพันธ์นี้ใช้คำตายแทนคำเอกกี่คำ

๑. ๕ คำ 2. ๔ คำ 3. ๖ คำ
๔. ๓ คำ

16. ข้อใดมีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อให้มีรูปวรรณยุกต์ถูกต้องตามฉันทลักษณ์

๑. ตาเสือเสือผาดผ้าย หนีทาง

๒. พระครวญถึงอ่อนท้าว หนักอุระราชร้าว

๓. อาจประกันกรุงถ้า ทัพข้อยคืนถึง

๔. มาแต่ตัวเข้าข้อง ข่ายท้าวทั้งสอง

ข้อ 16

เลือกตอบข้อ ก.ตาเสือเสือผาดผ้าย หนีทาง


ผิด เพราะคำว่า ผาดผ้าย เป็นคำที่มีความหมายตรงกับเนื้อความ แปลว่า เคลื่อนที่ไปอย่างรวดเร็ว จึงไม่ใช่คำ โทโทษ ที่ เปลี่ยนรูปคำมาจากคำว่า พ่าย
เลือกตอบข้อ ข. พระครวญถึงอ่อนท้าว หนักอุระราชร้าว
ผิด เพราะคำว่า ท้าว ในข้อความนี้ เป็นคำที่หมายถึง
นางผู้เป็นใหญ่ นางผู้มีสกุล จึงไม่ใช่คำโทโทษ ที่เกิดจากการเปลี่ยนรูปมาจากคำว่า ท่าว

เลือกตอบข้อ ค. อาจประกันกรุงถ้า ทัพข้อยคืนถึง


ถูก เพราะคำว่า ถ้า คำนี้อยู่ตรงตำแหน่งคำโท ซึ่งตามเนื้อความ น่าจะหมายถึงคำว่า ท่า ที่แปลว่า รอ
ซึ่งเป็นลักษณะของการใช้คำ โทโทษ

เลือกตอบข้อ ง. มาแต่ตัวเข้าข้อง ข่ายท้าวทั้งสอง


ผิด เพราะคำว่า ข้อง คำนี้ ตามเนื้อความ แปลว่า
ติดอยู่ จึงไม่ใช่ลักษณะของการใช้คำโทโทษ

You might also like