You are on page 1of 27

เทคนิคในการทําข้อสอบ GAT และ 9SUB

By PMOOKTUTOR

ชีทนี้จะเป็นชีทสรุปเทคนิคแนวการทําข้อสอบทั้ง GAT และ 9SUB เลยนะคะ ซึ่งพี่จะ


ขอแยกเป็นหมวดหมูต
่ ามประเภทข้อสอบน้า ข้อสอบแนวไหนที่มันออกในทั้ง GAT และ
9SUB ก็จะขออธิบายรวมเลย อย่างเช่น ข้อสอบแนว Conversation หรือพวกบทสนทนา
คือมันจะออกข้อสอบทั้ง GAT ทั้ง 9SUB เลย ก็จะอธิบายเทคนิครวมๆ ไปเลย ส่วนถ้าแนว
ข้อสอบไหนมันออกในแค่ข้อสอบ GAT หรือออกแค่ใน 9SUB อันนั้นเดี๋ยวพี่ก็จะอธิบาย
แยกออกมาว่าแนวอันนี้ออกแค่ GAT น้า เช่น ข้อสอบแนว Error Identification อันนี้
เดี๋ยวจะวงเล็บแยกให้ว่ามันมีแค่ใน GAT แล้วก็อธิบายเทคนิคให้เลย ทํานองนี้ค่ะ ดังนั้น
เรามาดูกันเลยว่ามีข้อสอบแนวไหน แล้วเทคนิคเป็นยังไงบ้าง

1.เทคนิคข้อสอบแนว conversation (ออกทั้ง GAT และ


9SUB)
ข้อสอบแนวนี้มันจะออกทั้ง GAT และ 9SUB เลยค่ะ แต่ 9SUB จะค่อนข้างยากกว่า
ยากในที่นี้คือ ศัพท์ยาก ออกสํานวนยากหน่อย แต่ GAT ก็คือจะออกค่อนข้างตรงตัว
สํานวนเวลาคุยกันไม่ค่อยยากมากเท่าไหร่ แต่พาร์ทนี้เป็นพาร์ทที่เหมาะในการเก็บคะแนน
ให้ได้เยอะที่สุดทั้ง GAT และ 9SUB เลยค่ะ มาดูตัวอย่างข้อสอบกันค่ะ

Situation: In a dormitory room (ข้อสอบ 9SUB ปี64)

Ethan: Hi there!
Emma: Hi Ethan!
Ethan: Why are you just standing in the doorway? Why don't you
____(1)____?
Emma: OK, but just____(2)____.
Ethan: Good! ____(3)____?
Emma: Well, there's something that's been bothering me. I think we
need to talk.
Ethan: Uh oh. ____(4)____!

1. A. get on or get off

B. break into the room

C. just clear your mind

D. come in and have a seat

E. do something for a change

2. A. think of it

B. take it all in

C. look up the time

D. so I can take a nap

E. for a few minutes

3. A. What's going on

B. What's an issue

C. What's that all about

D. What's your next move

E. What's so funny today

4. A. It's your problem


B. Don't you think that

C. That sounds serious

D. How dare you say it

E. That might just work

นี่คือตัวอย่างของข้อสอบแนว Conversation นะคะ ก็คือบทสนทนาจะมีหมดทุกรูปแบบ


แต่ส่วนมากที่เคยเห็นออกบ่อย ๆ คือจะเป็น นักเรียนคุยกัน หรือพ่อแม่คุยกับลูก ครูกับ
นักเรียน หัวข้อที่คุยกันก็หลากหลายมาก ตั้งแต่เรื่องจริงจังปรึกษาการเรียนจนไปถึง
เรื่องจิปาถะเม้ามอย และจากข้อสอบ คือเราจะเห็นได้เลยว่า มันมักจะออกวลีหรือ Phrase
ที่มีความหมายไม่ตรงตัวค่อนข้างบ่อยเลยค่ะ เช่น ช้อยส์ของ 2 ก็จะมี take it all in ที่
ไม่ได้แปลตรงตัวว่า “เอาเข้าไปทั้งหมด” แต่มันแปลว่า “ซึมซับ หรือ ทําความเข้าใจ” ดังนั้น
ก่อนที่จะสอนเทคนิคในการทําข้อสอบ conversation จะขอเสนอ Phrasal verb หรือ
Expression ที่เราอาจจะเจอได้บ่อย ๆ ตามตารางด้านล่างเลยค่ะ

ตาราง Phrasal verb หรือ Expression พร้อมความหมาย

Phrasal verb
ความหมายและการใช้
หรือ Expression

เอ่ยปากหรือเริ่มพูดถึงเรื่องอะไรบางอย่าง หรือ
Bring something up
mention อะไรบางอย่าง
Break a leg! คําอวยพรขอให้โชคดี
Beats me / Search me ฉันไม่ร,ู้ ฉันไม่เข้าใจ
Call off ยกเลิก
Drop me a line ติดต่อกัน, ส่งจดหมายหรือส่งข้อความ
Come across เจอโดยบังเอิญ, ผ่านไปเจอ
Come up with เกิดความคิดอะไรขึ้นมาบางอย่าง, คิดขึ้นมาได้
something
Don’t even go there! อย่าคิดแม้แต่จะพูดถึงมัน, อย่าพูดถึงมันอีก
Have a ball, Have a มีความสุขมาก ๆ (บางทีสามารถใช้เป็นคําอวยพรให้มี
blast
ความสุขมากๆ หรือสนุกกับอะไรบางอย่าง)
I can’t argue with that ตกลง, เห็นด้วย, มีความคิดเห็นตรงกัน
I don’t mean maybe! ไม่ได้พูดเล่นนะเรื่องนี,้ พูดจริงนะนี่ตอนนี้
I won’t tell a soul ฉันจะไม่บอกใคร, เรื่องนี้จะเก็บไว้เป็นความลับ
Keep your shirt on! ใจเย็นๆ, สงบสติอารมณ์นะ
Now you’re talking! ฉันเห็นด้วยกับคุณมากๆ, คุณพูดจาน่าฟังมาก
Speak of the devil. พูดถึงคนนั้น แล้วคนนั้นก็โผล่มาพอดี (ตายยาก)
Take my word for it เชื่อฉันสิ
That’s the last straw ฟางเส้นสุดท้าย, หมดความอดทนกับอะไรบางอย่าง
Mum’s the word เก็บเงียบเป็นความลับไม่บอกใคร

to screw up something ทําให้ยุ่งเหยิง, ทําผิดพลาด, ทําให้พัง

to jack up the prices โก่งราคา


it’s no biggie ไม่ใช่ปัญหาใหญ่
a bummer เรื่องน่าเสียดาย, เรื่องเศร้า, เรื่องน่าหดหู่

a chicken คนขี้ขลาด

Throwing shade แขวะ, แซวกันแรง, มองด้วยสายตาตําหนิ


Bail or Ditch ทิ้ง, ยกเลิก, เท

get on someone's กวนประสาท


nerves

ข้างบนจะเป็นพวกแสลงหรือวลีที่อาจจะไปบอกในส่วนของข้อสอบ conversation ได้ค่ะ


ต่อมาก็คือเทคนิคในการทํา conversation นะคะ
เทคนิคการทําข้อสอบ conversation
จริง ๆ เทคนิคในการทํา Conversation จะไม่มีอะไรมากมาย โดยเฉพาะใน GAT เนื่องจาก
ข้อสอบประเภทนี้จะวัดแค่ว่าเรารู้ศัพท์ไหม เรารู้ไหมว่าวลีนี้ใช้ยังไง ใช้ตอนไหน และอยากให้
เด็กๆ เก็บคะแนนจากส่วนนี้ให้ได้มากที่สุดด้วยค่ะ เพราะพี่คิดว่ามันเป็นพาร์ทที่ง่ายสุดใน
ข้อสอบเลย แต่ใน 9Sub บางทีบทสนทนาจะยาวมาก แบบมาก กินพื้นที่ 2 หน้ากระดาษ
ดังนั้น มันก็ต้องมีเทคนิคกันบ้างค่ะ 5555 เดี๋ยวไม่ทัน แต่ถ้าบทสนทนามันสั้น ๆ ก็อ่าน
แล้วตอบตามปกติเลยค่ะ แต่ถ้าบทสนทนามันยาวมาก เราอาจจะไม่จําเป็นต้องอ่านทุก
ท่อนก็ได้ มันจะไม่ทันเอา เราจะใช้เทคนิค “บน-ข้าง-ข้าง-ล่าง” ค่ะ มาดูกันเลยว่าเราทํา
ยังไง

ตัวอย่างข้อสอบ conversation แบบยาว ๆ

In the dormitory living room (9sub ปี 56)

Pathara: This assignment the teacher gave us is really difficult. We


are supposed to explain with examples, the ideas behind
some of Einstein’s famous quotes.
Siriruk: Yeah, this is hard.___(5)____to understand the most
brilliant mind that ever lived? I am not in the mood to do
this. Let’s just go to the mall.
Pathara: Let’s do this first, then go to the mall. Which quote did you
get for your assignment?
Siriruk: Two things are infinite: the universe and human stupidity;
and I’m not sure about the universe.
Pathara: Ha ha.___(6)____. That quote isn’t hard at all.
Siriruk: Funny?
Pathara: Yeah, Einstein was making a joke with a serious message.
The universe is supposed to be infinite – so big it can’t be
measured. So he is saying that human stupidity is actually
bigger than the universe.
Siriruk: ____(7)_____? Was Einstein a snob then, because he was so
much smarter than everyone?
Pathara: Ha ha. No,___(8)_____ . The quote means that while
humans think they are smart, they are actually really dumb.
Siriruk: But I have good grades. I am not stupid.
Pathara : Hmm. Yes, an individual person can be intelligent, but
there is a big difference in being intelligent and in being
wise.
Siriruk: ___(9)____ .
Pathara : Someone who is intelligent will have a high IQ and get high
scores on tests. Someone who is wise shows good judgment
with their behavior and decisions in their life.
Siriruk: ___(10)____ . How can an intelligent person not be wise?
Pathara: That is easy. All you need to do is to read the newspaper
every day to see how so many people in this world lack
wisdom. The newspaper is filled with stories of intelligent
people who are corrupt, commit crimes and so on, I believe
Einstein is stating that our greed and our ignorance are
infinite and it results in people doing stupid things,
everyday.
Siriruk: I see.___(11)____ . I guess.

5. A . Will you hold


B. What can I tell you
C. Would you excuse me
D. How are we supposed
E. You want to make something of it

6. A. Not a chance
B. Like I care
C. Here goes nothing
D. There you are
E. That’s a funny one

เห็นไหมคะว่าบางทีบทสนทนามันยาวมากจริงๆ และเราจําเป็นต้องใช้เทคนิคค่ะ แต่ถ้ามัน


สั้น ๆ ก็ไม่จําเป็นต้องใช้เทคนิคนี้นะคะ
สีเหลือง = แทนข้อความด้านบน
สีชมพู = แทนข้อความด้านข้าง
สีแดง = แทนข้อความด้านล่าง

อย่างแรก เวลาทํา conversation อ่านหัวข้อก่อนว่า หัวข้อนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร หรือเรื่อง


เกิดที่ไหนก็คือเกิดที่ In the dormitory living room หรือในห้องนั่งเล่นรวมของหอพัก
และต่อมาก็ดูว่าใครคุยกันค่ะ ใครชื่ออะไรบ้าง พวกนี้ก็สําคัญ ต่อมาเลยเราก็มาดูตรง
ช้อยส์หรือช่องว่างที่เราต้องเอาข้อความมาเติม เช่นดูตรงข้อ 5 ค่ะ มันเว้นว่างไว้ ทีนี้เราก็
ดู “ข้างบน ข้างๆ ข้างล่าง” ของที่เว้นว่างของข้อ 5 ไว้ เท่านี้เราก็จะได้คําตอบเลยค่ะ คือ
ไม่จําเป็นที่พอเราเจอโจทย์จะต้องนั่งไล่อ่านจนครบทุกบรรทัด (จริงๆอ่านหมดทุกบรรทัด
ทําได้นะคะๆ ถ้าเราอ่านเร็วมากพอและตีความได้เลยแบบไม่งง) เราอ่านหรือดูแค่บริบท
รอบๆมัน มันก็คือตรงช่องว่างของข้อนั้นที่หายไปค่ะ ดูข้างบน ข้างๆ ข้างล่างรอบๆมัน
นิดนึง เราก็พอเดาบริบทของข้อความที่ต้องเติมได้แล้ว เช่น ข้อ 5 ตรงช่องว่าง เราก็ไปดู
ข้างบนมันค่ะ คือ ข้อความสีเหลืองคือ “This assignment the teacher gave us is
really difficult. We are supposed to explain with examples, the ideas behind
some of Einstein’s famous quotes.” ที่ Pathara เค้าพูด มันแปลคร่าวๆได้ว่า
“การบ้านที่ครูให้เรามันยากจริง ๆ เราจะต้องอธิบายพวกแนวคิดเบื้องหลังของวาทะดังๆ
ของไอน์สไตน์ด้วย” ทีนี้เราก็พอรู้แล้วว่าหัวข้อของเราคือเรื่องการบ้านที่ยากค่ะ และ
ต่อมาเราก็ดูตรงข้อความไฮไลท์สีชมพู คือข้างๆช่องว่างที่หายไป คือ Siriruk ก็ตอบว่า
“Yeah, this is hard.___(5)____to understand the most brilliant mind that
ever lived?” แปลได้ประมาณว่า “ใช่ การบ้านมันยากจริง . __________ที่จะเข้าใจ
ความคิดของคนที่ฉลาดที่สุดที่เคยมีมาเลย?” ทีนี้เราดูแค่นี้รอบๆก็เพียงพอแล้วที่จะ
ตอบคําถามข้อ 5 ค่ะ ไม่จําเป็นต้องไปอ่านข้อความอื่นเพิ่มเติม ดูช้อยส์ได้เลย จบ นี่คือ
เทคนิค ดู “บน-ข้าง-ข้าง-ล่าง” คือดูบริบทรอบๆข้อความที่หายไป แล้วก็ดูช้อยส์ตอบได้
เลย ไม่จําเป็นต้องอ่านหมด นี่คือเทคนิคประหยัดเวลา พอมาดูช้อยส์ปุ๊บ และสังเกตได้ว่า
ตรงสีชมพูมันมีเครื่องหมาย (?) อยู่ แสดงว่า Siriruk ต้องพูดอะไรที่เป็นประโยคคําถาม
แน่นอน ดังนั้น ในบรรดาช้อยส์ของข้อ 5 เหล่านี้
5. A . Will you hold
B. What can I tell you
C. Would you excuse me
D. How are we supposed
E. You want to make something of it

เราตัดข้อ E ออกได้เลยค่ะ เพราะก็เห็นๆอยู่เลยว่าข้อความสีชมพูมันมีเครื่องหมาย (?) ใน


ข้อความ ดังนั้นช้อยส์ที่เราไปเติมต้องมีอะไรที่บ่งบอกถึงการตั้งคําถาม ซึ่งข้อ A. B. C.
D. ขึ้นต้นด้วย will, what, would, how ที่เอาไว้ตั้งคําถาม ดังนั้นเก็บ 4 ช้อยส์นี้ได้เลยค่ะ
ส่วน E มันไม่มีประโยคตั้งคําถามค่ะ มันเป็นประโยคบอกเล่าคือประโยค You want to
make something of it ดังนั้น ถ้าตัดช้อยส์เลือกตัดข้อนี้ออกก่อนเลยค่ะ และคําตอบ
ของเราก็คือ ข้อ D. นั่นเอง How are we supposed ค่ะ พอเอาไปเติมทีข
่ ้อ5มันหายไปจะ
ได้ข้อความประมาณว่า “ใช่ การบ้านมันยากจริง. เราจะไปเข้าใจความคิดของคนที่ฉลาด
ที่สุดที่เคยมีมาได้ยังไง?” และข้ออื่นๆ เช่น ข้อ 6 ก็ทําแบบเดียวกัน ดูบริบทรอบข้างแล้ว
ตอบ ก็เข้าใจแล้วค่ะ ไม่ต้องอ่านหมด ดังนั้น เห็นได้เลยว่า ถ้าบทสนทนายาวๆ อย่าเพิ่ง
เสียเวลาไปอ่านหมดค่ะ
ไล่อ่านบริบทรอบๆข้อความที่หายไป (ดู บน-ข้าง-ข้าง- ล่าง) -> ดูช้อยส์ -> ตอบ แล้วไล่
ข้อลงมาเรื่อยๆ ทําแบบเดียวกัน คืออ่านบริบทรอบๆของข้อความที่หายไปแล้วไปดูช้อยส์
แล้วก็ตอบ แค่นก
ี้ ็ทําทันแล้วค่ะ ยาวแค่ไหนก็ไหว 555555 (แต่ถ้าบทสนทนามันสั้น วิธีนี้ก็
ไม่จําเป็นนะคะ อ่านข้อความทั้งหมดได้เลยค่ะ)

**จบในส่วนของพาร์ท conversation**

2.เทคนิคข้อสอบแนว vocabulary (ออกแค่ GAT อย่างเดียว)

ข้อสอบแนวนี้จะเป็นแบบเติมคําศัพท์ที่หายไปในช่องว่างให้เหมาะสมที่สุดค่ะ
16. Students should know how to ______information from different
sources aside from the Internet.
A. design
B. correct
C. maintain
D. gather
E. adjust

17. The manager__ Jane by firing her in front of all her colleagues.
A. criticized.
B. deceived
C. flattered
D. disliked
E. humiliated

ดังนั้น การที่เราจะทําพาร์ทนี้ให้ได้ คือการรู้คําศัพท์ให้ได้มากที่สุดนั่นเองค่ะ เพราะเค้า


ต้องการที่จะทดสอบเราเรื่องศัพท์ว่าเรารู้ศัพท์แค่ไหน ดังนั้น ก่อนที่จะไปเรื่องเทคนิคใน
การทําข้อสอบแนวเติมคําในคําศัพท์ เรามาดูศัพท์ที่มักจะออกบ่อยกันดีกว่าค่ะ ท่องทุก
วันได้ยง
ิ่ ดีเลยนะคะ (ศัพท์ด้านล่างอาจจะมีได้หลายความหมายและหลายบริบท ดังนั้น ถ้า
มีเวลาพี่แนะนําว่าให้ลองดูตัวอย่างประโยคในการใช้คําศัพท์นั้นๆประกอบด้วยน้า)

ตารางคําศัพท์ที่อาจจะออกคําข้อสอบได้
ตารางคําศัพท์นี้จะอยู่ในอีกไฟล์นึงที่แนบแยกจากไฟล์นี้เลยนะคะ (ที่ชื่อว่าไฟล์
super vocab) เนือ
่ งจากมันค่อนข้างยาวเลย พี่เลยแยกให้อีกไฟล์ค่ะ

เทคนิคการทําข้อสอบแนว Vocabulary
โอเคทีนี้ ถ้าเกิดว่าเราท่องศัพท์ทุกคําแล้ว หรือแบบทําเต็มที่แล้วในการท่องศัพท์
แต่ทีนี้ ปัญหามันเกิดขึ้นได้ค่ะ คือต่อให้บางทีเราเตรียมตัวมามากแล้ว มันจะเจอคําบาง
คําศัพท์ที่เราอาจจะไม่รู้ก็ได้ ดังนั้น เราก็ต้องมีวิธีที่เอาไว้ตัดช้อยส์หรือเดาคําศัพท์จาก
บริบทนั้นได้จะมีวิธด
ี ังด้านล่างนี้เลยค่ะ
1. เดาบริบทจากรากศัพท์พวก prefix ต่างๆ เช่น un-, im-, co- อะไรแบบนี้จะทําให้เรา
เดาได้ว่าศัพท์พวกนั้นเป็นความหมายแนวๆไหน และอาจจะทําให้เราตัดช้อยส์ได้เลย
ค่ะ เช่น

16. He disagrees with the death penalty arguing that it does not deter
crime. (ข้อสอบ GAT ปี 60)
A. commit
B. support
C. discourage
D. promote
E. report

ข้อสอบข้อ 26 นี้ เค้าขีดเส้นใต้ deter มาเพื่อให้เราดูว่าข้อไหนมีความหมายที่


เหมือนมาก deter มากที่สุด ซึ่งจะเห็นได้ว่าคําว่า deter มันมี de- ที่เป็น prefix ที่
แปลว่า “ลดลง” เช่น decrease มี de- นําหน้า และแปลว่า ลดลง เช่นเดียวกัน
ดังนั้นพวกตัว prefix ที่มีตัว de- อะไรแบบนี้จะมีความหมายที่ไปในทางลบ แบบ
ลดลง น้อยลงค่ะ ดังนั้น ถึงเราไม่รู้ศัพท์คําว่า deter แต่พอจะเดาจาก prefix มัน
ได้เลยว่าแปลว่า “ลดหรือน้อยลง” ดังนัน
้ เราก็ต้องหาช้อยส์ที่แปลว่า “ลดลง” หรือ
น้อยลงเช่นเดียวกันค่ะ และดูจากช้อยส์เห็นคําว่า discourage ซึ่งตรงนี้คือเราจะ
เห็นคําว่า dis- นําหน้า ก็มีความหมาย “ไม่” ใช้ในความหมายแง่ลบเหมือนกันค่ะ
ดังนั้น ถ้าเราไม่รู้ศัพท์และต้องเดาข้อนี้จริงๆๆ ก็ตอบได้จากเทคนิค prefix นะคะ
และข้อนี้ตอบ discourage เพราะมีความหมายที่เหมือนกับ deter มากที่สุด เดา
จาก de- กับ dis- ความหมายไปในทางลบเหมือนกัน ก็ตอบได้เลยค่ะ ข้อนี้แสดงถึง
ตัวอย่างที่ใช้เทคนิคในการเดาศัพท์จาก prefix ได้ดีมากๆค่ะ ถึงแม้ไม่รู้ศัพท์เราก็
ตอบถูกได้เลย แต่ข้อนี้เดี๋ยวพี่จะมาแปลความหมายให้ฟังด้วยค่ะ

แปล : He disagrees with the death penalty arguing that it does not
deter crime = เขาไม่เห็นด้วยกับโทษประหารชีวิต แล้วก็ให้เหตุผลหรือโต้แย้งว่า
โทษประหารชีวิตมันไม่ได้ช่วยลดอาชญากรรม
A. commit (กระทํา)
B. support (สนับสนุน)
C. discourage (กีดกัน)
D. promote (สนับสนุน)
E. report (รายงาน)

ดังนั้นข้อที่จะตัดทิ้งเลยคือ support กับ promote ที่แปลว่า สนับสนุนค่ะ


ความหมายตรงกันข้ามกับ deter ไปเลยนะคะ หลังจากนั้นก็ค่อยมาพิจารณา
ช้อยส์อื่นที่เหลือค่ะ

2. เดาจากคําเชื่อม (conjunction) ในการเชื่อมประโยคว่ามันขัดแย้งกันหรือคล้อย


ตามกัน มันจะทําให้เรารู้ได้เลยว่าคําในช่องว่างที่หายไปควรเป็นยังไง เช่น

28. Some classes in university are ________ while others are elective.
Most classes that freshmen take cover the foundations for more
________classes. (ข้อสอบ GAT ปี 63)
A. prescribed, upper
B. involuntary, difficult
C. recommended, mixed
D. compulsory, advanced
E. introductory, continuing

ข้อนี้มีให้เราเติมศัพท์ 2 ช่องด้วยกันนะคะ แต่เดี๋ยวเราสังเกตจากช่องแรกก่อน คือ


เราจะเห็นตัวไฮไลต์ชมพูเลยว่ามันคือคําเชื่อม “while” ที่เอาไว้เชื่อมประโยคที่
ค่อนข้างมีความหมายที่ตรงกันข้ามกัน ดังนั้น ประโยคแรก Some classes in
university are ________ ต้องมีความหมายตรงข้ามกับ others are elective
ประโยคนี้แปลรวมๆได้ว่า “บางคลาสในมหาลัยนั้น_______ในขณะที่ (while) บาง
คลาสก็เป็นวิชาเลือก (เลือกเองโดยสมัครใจ)” นั่นหมายความว่า ประโยคข้างหน้า
ต้องเป็นวิชาที่เลือกไม่ได้ หรือถูกบังคับให้ต้องลงนั่นเอง ดังนั้น ช้อยส์แรกของเรา
ต้องแปลว่า “บังคับ, เลือกไม่ได้” นั่นเองค่ะ แล้วในช้อยส์ก็มีช้อยส์เดียวที่แปลว่า
“บังคับ” ซะด้วยย ไอตัวช้อยส์อื่นไม่มีตัวไหนที่แปลว่า “บังคับ” เลย ดังนั้น ข้อนี้แทบ
ไม่ต้องไปพิจารณาถึงช่องว่างช่องหลังตัวที่สองเลยด้วยซํ้า ตอบ D.
compulsory, advanced ได้เลย เพราะข้างหน้าแปลว่า “บังคับ” ซึ่งเหมาะที่สุดค่ะ
(แต่เพื่อความชัวร์เช็คตัวหลังด้วยก็ได้นะคะ ว่าเอาไปใส่แล้วความหมายลงตัวไหม)
และถ้าใส่ compulsory ลงไปในประโยคจะได้ใจความที่โอเคลงตัวเลย มาแปลกันค่ะ
Some classes in university are compulsory while others are elective.
= คลาสบางคลาสในมหาลัยก็เป็นวิชาบังคับ ในขณะทีว
่ ิชาอื่นเป็นวิชาเลือก

** จบทริคในส่วนของพาร์ทคําศัพท์**

3.เทคนิคข้อสอบแนว Reading (ออกทั้ง GAT และ 9SUB)


Reading จะเป็นแนวข้อสอบที่หลายๆคนไม่ชอบพอๆกับพาร์ท Error
Identification เลยค่ะ ดังนั้น จะมาบอกเทคนิคเลยว่าเราควรทํายังไงกับมันดี ด้วยความ
ที่มันเป็นข้อสอบที่ต้องอ่าน Passage ยาวๆๆ (โดยเฉพาะใน 9SUB จะยาวมากค่ะพวก
passage บางปียาวไป 3-4 หน้าเลย) ดังนั้นเราจะมาดูตัวอย่างแล้วก็ดูเทคนิคเลยนะคะ

ตัวอย่างข้อสอบ Reading

Passage 3 (Items 41-45) (ข้อสอบ GAT 64)


In English, the word "salad” first appeared in the 14" century.
Vegetables were seasoned with brine (a solution of salt in water)
during Roman times. The phrase "salad days”, meaning a "time of
youthful inexperience”, was first recorded by Shakespeare in 1606,
while the use of salad bar, referring to a buffet-style serving of salad
ingredients, first appeared in American English in the 1960s.
In his 1699 book, John Evelyn attempted with little success to
encourage his fellow Britons to eat fresh salad greens. Mary, Queen
of Scots, ate boiled celery root over greens covered with creamy
mustard dressing, and slices of hard- boiled eggs.
Oil used on salads can be found in the mid-17th-century colony
of New Netherland (later called New York, New Jersey and
Delaware). In a 1665 letter to the director of New Netherland from
the Island of Curaçao: "I request most amicably that your honor be
pleased to send me seed of every sort cabbage, carrots, lettuce,
parsley, etc for none can be acquired here and I know that your
honor has plenty...”.
Salad may be sold in supermarkets, at restaurants and at fast
food chains. Salad restaurants earned more than $300 million in 2014.
Athome salad consumption has risen since 2010, but is moving away
from freshly-chopped and toward bagged greens and salad kits, with
bag sales expected to reach $7 billion per year by 2022.

41. What does the bold part about John Evelyn mean?
A. Unlike his friends, he did not try hard to eat fresh salad greens.
B. He tried, but generally failed to persuade others to eat fresh salad
greens.
C. His friends wanted to follow what John Evelyn did but they gave
up.
D. He, with little effort, followed his friends in eating fresh salad
greens.
E. He finally managed to convince his friends to try fresh salad
greens.

จากด้านบนก็คือตัวอย่างแนวข้อสอบ reading ที่เราต้องเจอในข้อสอบแน่นอนค่ะ


และปัญหาของหลายๆคนคือการทําไม่ทัน เพราะมันยาวววเลย ดังนั้น เราจะต้องมี
เทคนิคที่มาช่วยทําให้เราทําให้ทัน ก็คือทําตามลําดับข้อดังนี้เลยค่ะ

1. ดูช้อยส์ของโจทย์ก่อนเลย จะได้รู้ใจความคร่าวๆของ Passage เหมือนเราจะได้


รู้ว่าเค้ากําลังจะพูดถึงเรื่องอะไรอยู่

2. อ่าน 3 บรรทัดแรกของ Passage เพื่อดูว่าเค้ากําลังพูดถึงอะไร เพื่อดูใจความ


คร่าวๆของ passage ทีนี้พอทําถึงขั้นตอนที่สอง เราพอจะรู้แล้วว่าเรื่องมัน
เกี่ยวกับอะไร เพราะเราทั้งดูช้อยส์แบบข้อ 1 และดูสามบรรทัดบนๆของ
passage ของข้อ 2 ก็พอเข้าใจแล้วค่ะ

3. หาคําถามข้อที่มันทําได้ข้อแรกๆเลย เช่น ข้อที่ถามว่า


“ศัพท์ในบรรทัดนี้แปลว่าอะไร?”
“ประโยคที่ทําตัวหนาในบรรทัดที่….ความหมายว่ายังไง?“
”สรรพนาม it ในบรรทัดนี้ refer อ้างอิงถึงใคร?”
“Main Idea ของพารากราฟที่ 1 ใน passage คืออะไร?”

พวกนี้จะเป็นข้อสอบประเภทที่ทําได้ข้อแรกๆเลยค่ะ เพราะอะไร? เพราะว่ามันเป็น


คําถามที่เราไม่ต้องไปอ่านทั้ง paragraph ค่ะ เช่น คําถามที่ว่า “ศัพท์ในบรรทัด
นี้แปลว่าอะไร?” ถ้าเรารู้ศัพท์นั้น เราตอบได้เลยโดยที่ไม่ต้องไปอ่าน passage
ทั้งหมด ก็คือรู้ศัพท์ปุ๊บ ตอบปั๊บเลย แต่ถ้าไม่รู้ศัพท์ ก็เดาจากบริบทรอบข้างได้
อยู่ดีค่ะ หรือคําถาม “Main Idea ของพารากราฟที่ 1 ใน passage คืออะไร?”
ก็เป็นคําถามที่ทําได้ประเภทแรกๆเลย เพราะว่าเราก็แค่อ่าน paragraph ที่ 1
แล้วก็ไปดูช้อยส์ตอบค่ะ แค่นี้เอง ไม่ต้องอ่านทัง
้ passage พูดง่ายๆว่าใช้วิธีทํา
ไป ดูช้อยส์ไป เปิดโจทย์มาอย่าพยายามอ่านทั้งหมดรอบนึงค่ะ จะค่อนข้างกิน
เวลาเลย พยายามดูช้อยส์และหาข้อที่ทําได้ข้อแรกๆ นะคะ

4. พอเราทําโจทย์ที่ทําได้ข้อแรกๆแล้วต่อมาก็พยายามทําโจทย์ที่เป็นถาม
รายละเอียดแบบ คํากล่าวใดต่อไปนี้ผิด, คํากล่าวใดต่อไปนี้ถูก ทํานองนี้ค่ะ
เช่น
“Which statement is TRUE?”
“Which statement is NOT true?”

พวกนี้คือเราจะทํามันเป็นลําดับกลางๆ ค่ะ ต้องมานั่งไล่แต่ละข้อในช้อยส์ว่าอัน


นี้จริงไหมนะ อันไหนไม่จริง และสิ่งสําคัญที่สุดในการทําคําถามนี้คือ ห้าม
ตีความเองค่ะ ถ้าสมมติโจทย์ไม่ได้บอกมา ก็คือ ไม่ใช่นะคะ เอาตามโจทย์เลย
โจทย์บอกเราแค่ไหน เราก็ให้มันจริงเท่านั้นเลย
5. คําถามที่เก็บไว้ทําลําดับท้ายๆ คือคําถามประเภทถามหาชื่อเรื่อง, ถามหาเมนไอ
เดีย, ถาม Tone ของ passage,ถามว่าสรุปเรื่องนี้เป็นยังไง หรือ ถามว่าผู้เขียน
รู้สึกยังไง เช่น

“It can be concluded from the passage that…..”


“What is the best main idea of the passage?”
“The passage is generally about….”
“The tone of the writer is best described as…”

คําถามประเภทนี้ต้องเก็บไว้ทําท้ายๆเลยค่ะ เพราะว่ามันเป็นคําถามที่ต้องผ่าน
การอ่านและเข้าใจ passage มาทั้งหมด ดังนั้นเก็บไว้ทําท้ายๆได้เลยค่ะ! และนี่
คือเทคนิคที่จะทําให้เราทําข้อสอบ reading ได้ไวขึ้นมากๆเลยค่ะ (อันนี้ทั้งหมดที่
กล่าวมา คือเทคนิคที่น่าใช้ในกรณีที่ passage มันยาวๆเลยนะคะ ถ้าสั้นๆและ
อ่านเข้าใจง่าย ก็ทําวิธีปกติได้เลยค่ะ คืออ่าน passage ให้เข้าใจ แล้วก็ตอบ
คําถาม)

และเรื่องสุดท้ายที่หลายคนถามมาเยอะ ก็คอ
ื อ่าน passage แล้วมันไม่เข้าใจ รู้
ศัพท์นะคะ แต่ก็อา่ นรวมๆแล้วงง โอเคก็คือว่า ปัญหานี้พี่ก็เคยมีเหมือนกันสมัย
มัธยม แต่ทีนี้ พี่ก็ได้เข้าใจแล้วว่า การที่เราจะอ่าน passage แล้วเก็ตไวแบบ
เข้าใจแตกฉาน มันต้องอาศัยการอ่านอังกฤษมาเป็นเวลานาน และอ่านเป็น
จํานวนมากๆเลยค่ะ ดังนั้น ถ้าเด็กๆอยากเข้าใจ passage ง่ายๆ อยากให้เด็กๆ
อ่านพวก article หรือข่าวอะไรก็ได้หรืออะไรก็ตามที่มันเป็นภาษาอังกฤษเยอะ
และบ่อย จะดีขึ้นแน่นอนค่ะ ยิ่งถ้ามีซับไทยได้ยิ่งดีเลยย 55555 พี่คอนเฟิร์มวิธีนี้
เลยค่ะ ถ้าใช้วิธีนี้ไปเรื่อยๆบ่อยๆรับรองอ่านภาษาอังกฤษได้ไวและเข้าใจเหมือน
อ่านภาษาไทยเลยค่ะ

และสิ่งที่อยากเน้นก่อนจากไปในเรื่องของ reading นะคะ คือเรื่อง Tone ของ


passage คืออาจจะมีออกข้อสอบ เพราะมันก็ออกมาหลายปีแล้ว เป็นคําถามที่
เก็บไว้ทําท้ายๆแบบที่พี่บอกเลย แต่ทีนี้ เราจะแยกยังไงว่าผู้เขียนเค้าเขียนไปแล้ว
รู้สึกยังไง เช่น Tone ของ passage นั้น มีความ ironic คือ เป็นการเขียน
passage แบบเสียดสีนั่นเอง หรือ Tone ของ Passage มีความ informative ก็
คือ เป็นการเขียน passage แบบแจ้งข้อมูลเฉยๆ (ขอบคุณที่แจ้งให้ทราบค่ะ
55555555) ดังนั้น เราต้องจําศัพท์ในเรื่อง Tone ของ passage ค่ะ ว่าแต่ละ
คําแปลว่าอะไร ดังนั้น มาดูกันเลย

- informative (บอกข้อมูล และส่วนมากจะออกอันนี้เยอะ ใน passage มักจะมี


ข้อความที่อ้างอิงมาจากอาจารย์หรือนักปรัชญา หรือแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
ได้)
- philosophical (ปรัชญา)
- optimistic (มองโลกในแง่ด)ี
- sarcastic, ironic (ประชดประชัน อันนี้ก็ออกบ่อยค่ะ เป็นการพูดเสียดสี แซะๆ
หน่อยในบทความ จะใส่ความคิดเห็นของผู้เขียนเข้าไปเยอะค่ะ)
- humorous (ขบขัน)
- pessimistic (มองโลกในแง่ร้าย)
- emotional (แสดงความรู้สึก อารมณ์)
- critical (ไม่เห็นด้วย วิจารณ์)
- frustrated (รู้สึกคับข้องใจ)
- persuasive (โน้มน้าว จูงใจให้ผู้อ่านทําอะไรตาม)
- confused (สับสน)
- historical (เล่าถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์)
- descriptive (บรรยาย)
- complimentary (ยกย่อง)
- concerned (เป็นห่วง ส่วนมากเหมือนที่เห็นผู้เขียนจะมีเขียนชัดเจนใน
passage เลยว่า ห่วงเรื่องนั้นเรื่องนี้ )
- approving (เห็นด้วย)
- indifferent (เป็นกลาง)

**จบในส่วนของพาร์ท reading**
4.เทคนิคข้อสอบแนว Error Identification (ออกแค่ GAT)

พาร์ทนี้คือเป็นพาร์ทที่ออกแค่ GAT ค่ะ คือเราต้องจับผิดว่าข้อไหนที่ขีดเส้นใต้มัน


ผิดแกรมม่า เค้าจะขีดเส้นใต้มา 4 อัน แล้วมันจะมีอันนึงที่ผิดแกรมม่าค่ะ อีก 3 อันที่เหลือ
คือถูกหมดแล้ว ซึ่งเราจะมีวิธีการในการทําแกรมม่าตามต่อไปนี้เลยค่ะ

1. ชําแหละประโยคย่อยออกมา เวลาเราเจอโจทย์ข้อนึง เราต้องมองมันให้ออกว่าทั้งก้อน


ที่เราเห็นโจทย์นั้น มันแบ่งออกเป็นกี่ประโยค แล้วเราก็ค่อยแยกพิจารณาแต่ละประโยค
แยกกันไปค่ะ ดังเช่น ตัวอย่างข้างล่างเลยค่ะ

Environmental experts claimed that Planet Earth is steadily warming up


because of human activities, and developed world is primary responsible for
this.

เห็นโจทย์ปุ๊บพยามมองหาคําเชื่อมประโยคพวก conjunction ต่าง ๆ ค่ะ เช่น And, But,


Because, Moreover อะไรพวกนี้เป็นต้น เพราะมันจะเป็นตัวที่เชื่อมประโยคนึงกับอีก
ประโยคหนึ่ง เราก็พอเดาได้แล้วค่ะว่าอ้อทั้งก้อนนี้มีหลายประโยคซ้อนกันอยู่ เราก็ขยาย
ออกมา แงะออกมาทีละอันค่ะ ในโจทย์จะเห็นได้ว่าตัวที่พี่ไฮไลท์สีเขียวคือประโยคย่อยที่
หนึ่ง และประโยคที่ไฮไลท์สีเหลืองคือประโยคย่อยที่สอง โดยมี and เชื่อม เราก็พิจารณา
ประโยคแรกก่อน พิจารณาจบก็ค่อยมาคิดอันที่สองต่อ

2. หาประธาน (Subject) ที่แท้จริงและกริยา (Verb) ที่แท้จริงของประโยคและหาส่วน


ขยายของประโยค หลังจากที่เราแยกประโยคย่อยออกมาแล้ว เราก็มาพิจารณาประโยค
เดียวของเราทีละอัน ในหนึ่งประโยคเราจะมีประธานที่แท้จริง 1 ตัวและกริยาที่แท้จริง 1
ตัวเท่านั้นค่ะ ลองยกตัวอย่างง่าย ๆ เลยนะคะ เช่น
Sarah walks.
Sarah walks runs.
ตัวอย่างที่สองผิดเพราะว่ากริยาแท้มี 2 ตัวในประโยคแบบนี้ไม่ได้ค่ะ ๆ แล้วถ้าอยากให้มี
มากกว่า 1 ในประโยคได้ไหม? ได้ค่ะ ก็เอาคํามาเชือ
่ มพวก and มาเชื่อม เช่น Sarah walks
and runs แค่นี้เราก็สามารถมีประธานหรือกริยามากกว่า 1 ตัวในประโยคได้แล้วค่ะ และ
นอกจากนี้มันจะมีหลายครั้งเลยที่หน้าตามันดูเหมือนกริยาและอยู่ในประโยค แต่มันไม่ใช่
กริยาค่ะ เป็นแค่ตัวขยายให้เราสับสนก็มี ตัวอย่างเช่น

Many extreme weather phenomenon caused by violent changes in the


atmosphere associated with the human actions were the causes of death of
creatures in the north pole.

ประเด็นที่ 1 : เราจะเห็นได้ว่าประธานของประโยคคือตัวสีม่วงค่ะ และตัวที่ขยายประธานคือ


สีเขียวทั้งก้อน ดังนั้นเวลาอิงประธานอิงจากไฮไลท์สีม่วงนะคะ และกริยาคือ were ที่เป็น
พหูพจน์ ดังนั้น ประธานของเรา Many extreme weather phenomenon มันขึ้นต้น
ด้วย Many ก็ต้องตามด้วยนามพหูพจน์ แต่ phenomenon มันคือรูปเอกพจน์ค่ะ ดังนั้น
ผิดค่ะ! ต้องแก้เป็น phenomena ที่เป็นพหูพจน์ให้สอดคล้องกับที่เป็นรูปพหูพจน์ ดังนั้น
เรื่องดูประธานสําคัญมาก เด็ก ๆ ลองสังเกตตรงท้ายสุดของตัวขยายไฮไลท์สีเขียวตรง
human actions ซึ่งตรงนี้มันทําให้เราเข้าใจผิดได้เลยนะคะว่ามันคือประธานที่เป็น
พหูพจน์ ซึ่งจริง ๆ ไม่ใช่เลยยย มันเป็นแค่ตัวขยายค่ะ! ถ้าเราไม่รู้ว่าใครคือประธาน ใคร
ขยายข้อนี้ก็ตอบผิดไปเลยค่ะ

ประเด็นที่ 2 : ตรงนี้มีจุดหลายจุดที่ให้งงมากว่าใครเป็นกริยาแท้ของประโยคกันแน่ ดูตรง


caused by หรือ associated by หน้าตาเหมือนจะใช่กริยาเลย แต่ไม่ใช่ซะงั้น กลายเป็นแค่
ส่วนขยายของประโยคไปเลยค่ะ เพราะประโยคนี้จัดเป็นประโยคเดียวค่ะ ประธานแท้จริงมี 1
ตัว กริยาแท้จริงก็มี 1 ตัวเท่านั้น ดังนั้น เช็คและพยายามแยกหากริยาที่แท้จริงให้เจอนะคะ
บางข้อถ้าเจอไวตอบข้อนั้นได้เลยก็มีค่ะ

3. เช็คแกรมม่าตามหัวข้อที่ออกสอบบ่อย ๆ เหล่านี้เลยค่ะ
Subject-verb agreement
Tense
Passive-active voice
Part of speech
Relative pronoun
Present participle/ Past participle
If-clause
ตัวด้านบนเหล่านีค
้ ือบทที่ออกบ่อย ๆ ค่ะ ส่วนบทอื่นอาจจะมีออกได้ค่ะ เช่น Subjunctive,
Question tag, Comparison หรืออีกมากมายหรือพวกแกรมม่า พวกนี้ก็สามารถออก
ได้หมดเลยค่ะ เพียงแต่ว่าตัวด้านบนควรจะเน้นมากเป็นพิเศษเพราะพวกด้านบนจะพบเจอ
ได้บ่อยกว่าค่ะ เพราะฉะนั้นแกรมม่าที่ไฮไลท์สีเทานีค
้ ือต้องค่อนข้างแม่นเลย เราจะได้
จับผิดได้ว่าผิดเรื่องไหนตรงไหน เช่น

ผิดเรื่อง Subject-verb agreement

Symptoms of this illness that warrant a doctor visit includes fever, vomiting,
and diarrhea, as well as the loss of appetite.
**สีม่วง = ประธาน
**สีเขียว = ส่วนขยาย
**สีแดง = กริยา

ข้อนี้เราก็ต้องแก้จาก includes เป็น include เพราะว่าประธานของเราเป็นพหูพจน์คือ


Symptoms ค่ะ ดังนั้น พหูพจน์กริยาไม่เติม s ค่ะ นี่คือเรื่องของ Subject-verb
agreement ประธานกริยาต้องคล้องจองกันค่ะ ดังนั้นเราต้องเป๊ะและจําการใช้แกรมม่า
ได้ระดับนึงเลยค่ะ ต้องทวนเรื่องพวกนี้บ่อยๆค่ะ
4. เช็คความหมายของประโยคโดยรวมทั้งหมด เคยหาคําตอบใน error นานมาก ๆ ไหม
คะ แบบมันก็ดูถูกไปหมดทุกข้อเลย ข้อนั้นก็ใช่ ข้อนี้ก็ใช่ นั่นแหละค่ะ บางทีมันอาจจะไม่ได้
ผิดที่แกรมม่า แต่ผิดที่ความหมายของประโยคค่ะ คือพอเราเช็คแกรมม่าของข้อ 3
มาแล้วหาข้อผิดไม่เจอสักที งั้นเราลองมาเช็คความหมายของประโยคดูค่ะอาจจะผิดที่
คําเชื่อมประโยคก็ได้นะคะ เลยทําให้ประโยคความหมายผิดเพี้ยน เช่น เชื่อมอยู่ด้วย
Because ที่เชื่อมความเป็นเหตุเป็นผลและคล้อยตามกันแต่ความหมายของประโยค
ทั้งหมดมันต้องการความขัดแย้ง อย่างนี้ก็เรียกว่าคําเชื่อมและความหมายประโยคผิดค่ะ
ต้องแก้เลย ตัวอย่างเช่น

Because the ranges of the two dolphins correspond to geographically, the


feeding ecology of the two species is more distinct.

ข้อนี้เรามีประโยคย่อย 2 ประโยคนะคะ เพราะมันถูกเชื่อมอยู่ด้วย conjunction อย่าง


because ค่ะ ก็เข้าสูตรเลยค่ะ แยกพิจารณาทีละประโยคเลย เพราะฉะนั้นเราจะพิจารณา
ประโยค Because the ranges of the two dolphins correspond to geographically
ก่อน ประโยคนี้แกรมม่าถูกต้องหมดค่ะ the ranges ที่เป็นพหูพจน์เป็นประธาน
สอดคล้องกับกริยาพหูพจน์อย่าง correspond ค่ะ และมี geographically ที่เป็น
adverb ขยายกริยา correspond ก็ถูกต้องค่ะ ต่อมาประโยคที่สองก็ถูกต้องหมดเลย
การเรียงเป็นไปตามลําดับ part of speech ทุกอย่างค่ะ ดังนั้น ในเมื่อพอเราพิจารณาไป
เรื่อย ๆ แล้วก็จะเริ่มสงสัยแล้วว่าทําไมมันก็ดูถูกไปหมดด ดังนั้นให้เด็ก ๆ ลองหันมา
เพ่งเล็งคําเชื่อมอย่าง because ดูค่ะ พอมันมาเชื่อมแล้ว ความหมายมันอาจจะไม่เข้ากับ
ประโยคโดยรวมค่ะ ซึ่งข้อนี้ because ผิดจริงค่ะ เราต้องแก้ให้เป็น although เพราะ
ความหมายประโยคต้องการความขัดแย้งค่ะ แบบนี้ก็สามารถมีได้ ลองสังเกตจากคําใน
ประโยคสองประโยคดูค่ะ ประโยคแรกมีคําว่า correspond แปลว่า “สอดคล้อง/เท่ากัน/
ลักษณะเดียวกัน” แต่ประโยคหลังมีคําว่า distinct ที่แปลว่า “แตกต่างกันอย่างชัดเจน”
ดังนั้น ความหมายของสองประโยคนี้มันมีความตรงกันข้ามกัน เราจะใช้ because ที่
เอาไว้เชื่อมประโยคสองอันที่คล้อยตามกันก็ไม่ได้ค่ะ เลยต้องแก้เป็น although ที่แปลว่า
ถึงแม้ว่าเอาไว้เชื่อมประโยคสองประโยคที่มีความหมายขัดแย้งกันนั่นเอง

**จบในส่วนของ error **
5.เทคนิคข้อสอบแนว Cloze test (ออกทั้ง GAT และ 9SUB)
ข้อสอบแนว cloze test คือแนวที่ให้ passage เรามายาวๆแล้วก็เว้นช่องว่างให้เรา
เติมคําที่เหมาะสมลงไปค่ะ ซึ่ง 9Sub จะเน้นข้อสอบ cloze test เยอะกว่า GAT ค่ะ
ตัวอย่างข้อสอบ ก็เช่น

Items 51-55 Choose the best answer (GAT ปี 64)

According to statistics from FamilyFirst Aid, about statistics from Family


First Aid, about 30 percent of teenagers in the U.S. _____ (51) _____ either
as a bully or a victim. Data suggests that teenage bullying is more common
among younger teens than it is among older teens This is likely because
young teens are more vulnerable _____ (52)_____ physical bullying.

Physical bullying is mostly seen with boys _____(53) _____ teenage girls
often favor verbal and emotional bullying. Girls report that they are often
the targets of nasty rumors, _____ (54) _____ sexual gossip. Additionally,
girls are more likely to use exclusion as a teenage bullying technique than
_____ (55) _____

51. A. have experienced bullying


B. were experiencing bullying
C. have experienced to bully
D. were experiencing to be bullied

E. have experienced to be bullying

52. A. on

B. for

C. at

D. to
E. of

53. A. wherever

B. because

C. if

D. as far as

E. so that

54. A. include

B. includes

C. to include

D. included

E. including

55. A. they are

B. they use

C. boys are

D. boys did

E. do boys

นี่คือโจทย์ของ cloze test ค่ะ ซึ่งคําถามก็จะปะปนกันทั้ง Grammar เอย คําศัพท์เอย


ดังนั้นเทคนิคของเราคือ ถ้าข้อไหนที่เค้าถามแกรมม่า เราก็ดบ
ู ริบทรอบข้างพองามแล้วก็
ตอบได้เลยค่ะ เพราะเค้าถามแกรมม่าไม่เกี่ยวอะไรกับเนื้อเรื่องเลยค่ะๆ แต่ถ้าข้อไหนเค้า
ถามคําถามที่เป็น vocab ให้เติมแบบนี้ อันนี้ต้องอ่านโจทย์อ่านบริบทรอบข้าง ให้เข้าใจ
แล้วจึงค่อยเติมค่ะ เช่น ข้อ 51, 52, 54, 55 ตัว 4 ข้อนี้นี่คือถามเชิงแกรมม่าหมดเลย ก็คือ
อ่านรอบข้างพอเข้าใจแล้วตอบได้เลยค่ะ แต่ถ้าเป็นข้อ 53 เค้าถาม vocab หรือพวก
ตัวเชื่อมประโยคหรือ conjunction เราก็ต้องอ่าน passage บริเวณนั้นให้เข้าใจถ่องแท้
เลยถึงจะตอบได้นะคะ

**จบในส่วนของ cloze test**

6.เทคนิคข้อสอบแนวเติมประโยคที่หายไปในช่องว่าง (ออก GAT


อย่างเดียว)

ข้อสอบแนวนี้คือจะเป็นการเติมประโยคที่หายไปว่าอันไหนเหมาะสมที่สุดค่ะ ดังนั้น
เทคนิคในการทําข้อสอบแนวนี้คือ ดูประโยครอบข้างแล้วก็ตอบค่ะ คือไม่จําเป็นต้องอ่าน
ยาวๆๆให้จบทีเดียวแล้วตอบนะคะ สมมติเค้าถามหาประโยคที่หายไปเราก็ดูรอบๆแล้วตอบ
ได้เลยค่ะ เช่น

Most people believe that (A)____________. (B) However, nearly everyone


still occasionally lies. (C)____________. (D), White lies, for example, are
usually not serious. (E) Many people tell white lies to avoid hurting
someone else. (F) For example, a husband might lie and say that his wife's
cooking is great, even though he doesn't like it that much. (G) More
examples of white lies take place at work. (H) In contrast, black lies or
telling lies to gain personal benefit are universally condemned. (I) For
example, a car dealer may lie to customers about the condition of the cars
that are for sale. (I), In many cases, it is better to tell a white lie than to hurt
someone with the truth. (K) Yet, it does not mean that white lies are always
desirable and have no negative consequences. (L) Therefore, we need to be
careful to make sure that the white lies we tell are

56. Which one should be inserted in (A) as the topic sentence for this
paragraph?
A. children do not lie but adults do

B. we are all honest people

C. telling the truth is a practical norm nowadays

D. honesty is the most important quality

E. lying is not acceptable and should be avoided

เค้าถามหาข้อ (A) ที่หายไป เราก็ดูถึงแค่ตัวที่พี่ไฮไลท์สีเหลืองไว้ เท่านี้เราก็พอเข้าใจ


ประโยคแล้วค่ะว่าต้องเติมอะไร คือช่องว่างมันเว้นไว้ว่า
“Most people believe that (A)____________. = หลายคนเชื่อว่า…..” และประโยค
หลังของมันคือ “(B) However, nearly everyone still occasionally lies = อย่างไร
ก็ตาม เกือบจะทุกคนก็มีโกหกกันบ้าง” แสดงว่า ไอที่หายไปตรง A นี่ก็คือต้องตรงข้ามกับ
B เพราะมันเชื่อมด้วย However อยู่ค่ะ เป็นตัวเชื่อมที่ใช้เชื่อมในการขัดแย้งกัน ดังนั้นข้อ
56. เราตอบ E เลย เพราะมันตรงข้ามกับประโยค (B) However, nearly everyone
still occasionally lies มากสุด เมื่อตอบ E แล้วเราจะได้ประโยครวมกันว่า

“Most people believe that lying is not acceptable and should be avoided.
However, nearly everyone still occasionally lies.”

= หลายคนเชื่อว่าการโกหกเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ และควรที่จะหลีกเลี่ยงการโกหกให้มากที่สุด
อย่างไรก็ตาม เกือบหรือแทบจะทุกคนก็มีการโกหกกันอยู่บ้าง

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เราไม่จําเป็นต้องอ่าน Passage ที่เค้าให้มาจนจบ เราก็ตอบได้แล้วค่ะ


เพียงดูบริบทรอบข้างเท่านั้นเอง และยังประหยัดเวลามากขึ้นด้วย

**จบในส่วนของพาร์ทเติมประโยค**

7.เทคนิคข้อสอบแนวเรียงประโยค (ออก 9sub อย่างเดียว)


แนวข้อสอบเรียงประโยคเป็นแนวข้อสอบเอกลักษณ์ของ 9 วิชาสามัญมาแต่ไหนแต่ไรค่ะ
เป็นการเอาประโยคมาเรียงใหม่ให้จับใจความได้ แต่ปีนี้ไม่รู้ว่าจะออกไหม แค่เราก็ต้อง
เอาทริคไปเผื่อๆเซฟๆกันไว้เลยค่ะ ตัวอย่างข้อสอบเรียงประโยคจะมีหน้าตาเป็นแบบนี้เลย

78. A. Thus, it is a widely accepted fact that the rich and the famous,
political figures, royalty or anyone wishing to make a statement
follows the trends of fashion.

B. The advertising media also plays a role in reinforcing fashion


norms.
C. It is considered by most as a means of self-expression.
D. The garments and accessories that a man or woman wears help
them to identify with a group of others – whether it is a lifestyle,
profession, a religion, or an attitude.

E. Fashion plays an increasingly important role in an individual's


life

1. D-C-E-A-B

2. B-A-C-D-E

3. E-C-D-A-B

4. A-B-D-E-C

5. C-E-D-A-B

ปกติทริควิธีการทําข้อสอบแนวนี้นะคะ ถ้าสมมติ ช้อยส์มันซํ้า เช่น

1. D-C-E-A-B

2. D-A-C-B-E
พี่ก็จะคิดแล้วว่า เห้ย มันต้องขึ้นต้นด้วยประโยค D. แน่เลยย ช้อยส์อื่นพี่ก็จะตัดๆไป
เพราะช้อยส์ D ซํ้าก็น่าจะอันนี้ดูน่าจะขึน
้ ต้นด้วย D. มากสุด แต่ดูในข้อสอบปีที่แล้ว
คือ ช้อยส์ไม่ซํ้าเลยย เช่นช้อยส์ของข้อนี้

1. D-C-E-A-B

2. B-A-C-D-E

3. E-C-D-A-B

4. A-B-D-E-C

5. C-E-D-A-B

คือช้อยส์แบบ ขึ้นต้นคนละตัวเลย ดังนั้น เราต้องดูจากโจทย์ค่ะ ประโยคแรกที่


ขึ้นต้น พี่จะตัดทิ้งเลยก็คือ A, B, C ค่ะ ตัดทีเดียว 3 ช้อยส์เลย ทําไมตัดได้เยอะจัง
อย่างแรกเลยนะคะๆ ประโยค A. ที่พี่ไฮไลท์สีชมพูไว้มน
ั มีคําว่า Thus ที่แปล “ดังนั้น”
แสดงว่ามันต้องไม่ใช่ประโยคขึ้นต้นแน่ๆ และประโยค B. มันมีคําว่า also ที่แปลว่า
“อีกด้วย” ดังนั้นมันต้องต่อท้ายด้วยประโยคอื่นแน่ๆ และประโยค C.มันมีคําว่า It ที่
หมายถึงสรรพนามที่กล่าวแล้วประโยคข้างหน้า ดังนั้น มันไม่ใช่ตัวที่ขึ้นต้นตัวแรก
แน่นอน นี่คือทริคของเราค่ะ สังเกตจากคําในประโยคเลย ดังนั้นเราจะเหลือแค่สอง
ช้อยส์ด้วยกัน คือ 1,3 และข้อนี้ก็ตอบ 3. E-C-D-A-B นั่นเองค่ะ

**จบในส่วนของพาร์ทเรียงประโยค**

You might also like