You are on page 1of 17

บทที่ 3 สมดุล

บทที่ 3 สมดุล
(Equilibrium)
3.1 บทนา
3.2 ผังวัตถุอิสระ 2 มิติ
3.3 เงื่อนไขของสมดุลใน 2 มิติ
3.4 เงื่อนไขของสมดุลใน 3 มิติ

3.1 บทนา
• ในบทที่ 2 เป็ นการศึกษาผลลัพธ์จากระบบแรงกระทาภายนอกตามที่ปรากฎในรู ปโจทย์
• แรงลัพธ์ จะพยายามทาให้วตั ถุเกิดการเลื่อนตาแหน่ง (Translation)
• โมเมนต์ลพั ธ์ จะพยายามทาให้วตั ถุเกิดการหมุน (Rotation)
• ในวิชาสถิตยศาสตร์น้ นั วัตถุตอ้ งอยูใ่ นสภาพสมดุลหรื อเคลื่อนที่ไม่ได้ในทุกรู ปแบบ ซึ่งทา
ได้ดว้ ยการใส่ จุดรองรับภายนอก เพื่อต้านทานผลลัพธ์จากแรงกระทาเหล่านั้น
• ดังนั้น เมื่อคิดแรงทุกชนิดที่กระทาต่อวัตถุแล้ว อันได้แก่ แรงกระทาภายนอกตามรู ปโจทย์
(Applied Forces) และแรงปฏิกิริยาที่จุดรองรับ (Reactive Forces) เงื่อนไขของสมดุลตาม
กฎข้อที่ 1 ของนิวตัน คือ
𝐹=0 และ 𝑀=0
• ในการใช้สมการสมดุลเพื่อแก้ปัญหานั้น เพื่อให้ได้คาตอบที่ถูกต้อง จะต้องมีการวาดผัง
วัตถุอิสระ (Free Body Diagram: FBD) ก่อนเสมอ ซึ่งประเด็นสาคัญ คือ การทราบว่าจุด
รองรับแต่ละแบบทาหน้าที่บงั คับอะไร (หรื อทาให้เกิดแรงปฏิกิริยาชนิดใด)

กลศาสตร์วิศวกรรม – 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 2

1
บทที่ 3 สมดุล

3.2 ผังวัตถุอสิ ระ (Free Body Diagram: FBD)


• ผังวัตถุอิสระเป็ นเครื่ องมือหลักของการแก้ปัญหาเรื่ องสมดุลของวัตถุ เป็ นสิ่ งที่ตอ้ งวาด
ขึ้นมาก่อนที่จะเริ่ มใช้สมการสมดุล
• ผังวัตถุอิสระ เป็ นโครงรู ปภายนอกของระบบหรื อวัตถุแข็งเกร็ งที่ถูกแยกออกมาจากจุด
รองรับหรื อวัตถุขา้ งเคียง โดยจะมีแรงกระทาต่อวัตถุดงั กล่าว 2 ชนิด คือ
1. แรงกระทาตามรู ปโจทย์ (Applied Forces) ซึ่งจะทราบค่าครบทั้งขนาดและทิศทาง
2. แรงปฏิกิริยาที่จุดรองรับ (Reactive Forces) ซึ่งจะเป็ นแรงที่ไม่ทราบค่า โดยจะขึ้นอยู่
กับลักษณะของจุดรองรับหรื อข้อต่อ ในบางกรณี จะทราบทั้งทิศทางและแนวทาง บาง
กรณี ไม่ทราบทั้ง 2 อย่าง
• ทักษะที่สาคัญในการวาดผังวัตถุอิสระให้เร็ ว ถูกต้องและครบถ้วน จะอยูท่ ี่การรู้วา่ จุดรองรับ
หรื อข้อต่อแต่ละแบบทาให้เกิดแรงปฏิกิริยาแบบใด ทราบทิศทางหรื อแนวทางหรื อไม่
• การเขียนแรงปฏิกิริยาที่ไม่ถูกต้องจะนาไปสู่ ปัญหาสาคัญ 2 ประการ คือ
- ถ้ามีจานวนแรงปฏิกิริยามากกว่าความเป็ นจริ ง จะหาคาตอบไม่ได้หรื อได้ไม่ครบ
- ถ้ามีแรงปฏิกิริยาน้อยกว่าความเป็ นจริ งหรื อผิดชนิด จะได้คาตอบที่ผดิ
กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 3

ชนิดของจุดรองรับใน 2 มิติ และลักษณะการบังคับการเคลือ่ นที่


1. จุดรองรับที่มีลกั ษณะเป็ นเส้น (เชื อก โซ่ สายพาน สายเคเบิ้ล ฯลฯ)
ถือว่าเชือกทาหน้าที่ออก “แรงดึง” ได้อย่างเดียว (ถูกกดจะหย่อน หรื อไม่มีแรง) แรงปฏิกิริยาจึงเป็ น
“แรงดึง” T ที่ทราบทิศทางแล้ว คือ มีทิศพุง่ ออกจากวัตถุ มี 2 กรณี คือ
- ไม่คิดมวล ถือว่าเป็ นเส้นตรงตลอดแนว - คิดมวล ความชันของเส้นจะเปลี่ยนไปเรื่ อยๆ

สรุ ป แรงปฏิกิริยามี 1 แรง เป็ นแรงดึง (พุง่ ออกจากวัตถุ) ในแนวการผูกเชือก

2. จุดรองรับแบบผิวสัมผัสเรี ยบ (Smooth Surface)


ถือว่าวัตถุสามารถเลื่อนได้อย่างอิสระในแนวขนานกับผิวสัมผัส (ไม่มีแรงในแนวนี้ ) แต่จะมีแรงใน
แนวตั้งฉากกับผิวสัมผัส มีทิศพุง่ เข้าหาวัตถุเสมอ จึงเป็ น “แรงกด” N ที่ทราบทิศทางแล้ว

สรุ ป แรงปฏิกิริยามี 1 แรง เป็ นแรงกด (พุง่ เข้าหาวัตถุ)


ในแนวตั้งฉากกับผิวสัมผัส
กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 4

2
บทที่ 3 สมดุล

3. จุดรองรับแบบผิวสัมผัสขรุ ขระ (Rough surface)


นอกเหนือจากแรงในแนวตั้งฉากกับผิวสัมผัส N ทิศพุง่ เข้าหาวัตถุเหมือนกับกรณี ผิวเรี ยบแล้ว
จากความขรุ ขระของผิวสัมผัส ทาให้มีแรงต้านในแนวขนานกับผิวสัมผัส F ด้วย (อาจจะต้อง
สมมุติทิศทาง) หรื ออาจจะเขียนอีกแบบหนึ่ง คือ แรงรวม R และมุม 𝜃 ที่ไม่ทราบขนาดทั้งคู่ก็ได้

สรุ ป มี 2 แรงปฏิกิริยาย่อยที่ต้ งั ฉากกัน (แรงกด N พุง่ เข้าวัตถุ


และแรงเสี ยดทาน F ในแนวขนานกับผิวสัมผัส
(อาจจะต้องสมมุติทิศทาง)
หรื อ อาจจะเขียนเป็ นแรงรวม R พุง่ เข้าหาวัตถุในแนวมุมเอียง 𝜃 (มี 2 ตัวไม่ทราบค่าเช่นเดียวกัน)

4. จุดรองรับแบบลูกกลิ้ง (Roller Support) ได้แก่ ลูกกลิ้ง และลูกล้อแบบต่างๆ


ลูกกลิ้งถือได้วา่ เป็ นผิวสัมผัสแบบเรี ยบ จึงมีแรงกดในแนวตั้งฉากพุง่ เข้าหาวัตถุ ส่ วนตัวลูกล้อนั้นก็
มีผิวเรี ยบเช่นเดียวกัน จึงส่งผ่านแรงตั้งฉากจากพื้นมายังสลักหรื อดุมล้อ ดังนั้น เมื่อเขียนที่ขอ้ ต่อ
ของก้านต่อ จึงเป็ นแรงกดเช่นเดียวกัน
สรุ ป มีแรงปฏิกิริยา 1 แรง เป็ นแรงกด N
มีทิศพุง่ ออกจากผิวสัมผัสเข้าหาวัตถุหรื อข้อต่อ
กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 5

5. จุดรองรับแบบเลื่อนอย่างอิสระ (Freely Sliding Guide) ได้แก่ ปลอกเลื่อนบนแกนเพลา และหมุด


เลื่อนในร่ อง
ในกรณี น้ ี ถือว่าเป็ นผิวสัมผัสแบบเรี ยบ ทาให้มีแรงปฏิกิริยาเป็ นแรงตั้งฉาก N เพียงแรงเดียว ทิศทาง
พุง่ เข้าหาขอบวัตถุดา้ นที่สมั ผัสกัน (มีขอบวัตถุอยู่ 2 ด้าน จากผลของความหลวม จึงมีแรงกดเกิดขึ้นที่
ขอบด้านใดด้านหนึ่ งเท่านั้น ตามปกติแล้วจะสามารถสังเกตขอบที่สมั ผัสกันได้)
สรุ ป มีแรงปฏิกิริยา 1 แรง เป็ นแรงกด N พุง่ เข้าหา
ขอบวัตถุดา้ นที่กาลังสัมผัสกันอยูก่ บั จุดรองรับ
6. จุดรองรับแบบสลัก (Pin Connection) ได้แก่ ข้อต่อที่เป็ นสลัก บานพับ (Hinge) ร่ องเซาะ (Notch)
ปลายแหลม (Knife – edge) เป็ นต้น สามารถแยกออกได้ 2 กรณี
- สลักที่หมุนได้อย่างอิสระ ถือว่าทาหน้าที่ยดึ วัตถุไม่ให้เคลื่อนที่ท้ งั ในแนวราบและแนวดิ่ง จึงมีแรง
ปฏิกิริยา 2 แรงย่อยตั้งฉากกัน แต่ไม่ทราบทิศทาง (หรื อจะใช้เป็ น 1 แรงลัพธ์ที่ไม่ทราบมุมก็ได้)
- สลักที่มีความฝื ด ถือว่ามีโมเมนต์ตา้ นอันเป็ นผลของ
ความฝื ดเพิม่ เข้ามา จึงมี 3 แรงปฏิกิริยา
สรุ ป ในกรณี ของสลักที่ไม่มีความฝื ด จะมี 2 แรงย่อย
ในแนวตั้งฉากกันและไม่ทราบทิศทาง ส่วนสลักที่มีความฝื ด
จะมีโมเมนต์ที่ไม่ทราบทิศทางการหมุนเพิ่มเข้ามา
กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 6

3
บทที่ 3 สมดุล

7. จุดรองรับแบบฝังแน่น (Fixed or Built – in Support) ได้แก่ ปลายฝังแน่น และรอยเชื่ อม


การบังคับแบบฝังแน่น คือ วัตถุเคลื่อนที่ไม่ได้เลยทั้งการเลื่อนตาแหน่งและการหมุน ดังนั้น ในระบบ
2 มิติ จึงมีแรงปฏิกิริยา 3 ชนิด คือ แรงปฏิกิริยาย่อย 2 แรงในแนวแกนตั้งฉากกัน ยังไม่ทราบทิศทาง
และอีก 1 โมเมนต์ที่ไม่ทราบทิศทางการหมุน

สรุ ป มีแรงปฏิกิริยา 2 แรงย่อยในแนวตั้งฉากกัน


ไม่ทราบทิศทาง และโมเมนต์ที่ไม่ทราบทิศการหมุน
8. จุดรองรับที่เป็ นสปริ ง
ในกรณี ของ Linear spring แรงที่สปริ งกระทาต่อวัตถุจะอยูใ่ นแนววางตัวของสปริ ง โดยอาจจะเป็ น
แรงกดหรื อแรงดึง ก็ได้ ขึ้นอยูก่ บั ลักษณะของโจทย์
สรุ ป มีแรงปฏิกิริยา 1 แรง อยูใ่ นแนววางตัวของสปริ ง
ไม่ทราบทิศทาง (แต่สามารถสังเกตได้จากรู ปโจทย์)

9. มวลหรื อน้ าหนักของวัตถุ


ในกรณี ที่โจทย์บอกมวลของวัตถุมาให้ จะถือว่าน้ าหนักกระทา
“พุง่ ลงในแนวดิ่งผ่านจุดศูนย์กลางมวล”
กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 7

หลักการเขียนผังวัตถุอสิ ระ
หลังจากที่เลือกวัตถุหรื อระบบที่ตอ้ งการได้แล้ว (จะต้องเป็ นวัตถุที่มีแรงที่ทราบค่าแล้วอย่างน้อย 1 ค่า
และมีจุดที่ตอ้ งการทราบค่าแรงปฏิกิริยาอยูด่ ว้ ย) จะมีข้ นั ตอนการวาด ดังนี้
1. วาดโครงภายนอกของรู ปทรงวัตถุหรื อระบบ โดยไม่ตอ้ งวาดจุดรองรับหรื อข้อต่อ หรื อรายละเอียด
ภายใน
2. ตั้งแกนอ้างอิง เพื่อใช้กาหนดทิศทางแรงย่อย และคิดสมการสมดุล
3. เขียนแรงกระทาทุกชนิดตามรู ปโจทย์ และน้ าหนัก (ในกรณี ที่โจทย์ระบุมวลหรื อน้ าหนักมาให้)
4. เขียนแรงปฏิกิริยาที่ตาแหน่งเดิมของข้อต่อหรื อจุดรองรับที่ถอดออกไป โดยแรงที่ทราบแนวทาง
และทิศทางแล้ว ต้องเขียนให้ถูกต้อง แต่แรงที่ไม่ทราบทิศทาง สามารถสมมุติได้
5. (อาจจะเขียนระยะทางหรื อมุมเอียงลงไปในรู ปด้วยก็ได้)

ข้ อควรระวัง
1. แรงปฏิกิริยาต่างๆจะต้องเขียนให้ถูกด้าน เพราะเป็ นแรงกระทามาจากจุดรองรับหรื อวัตถุขา้ งเคียง
อย่าเขียนผิดด้าน จนผิดความหมายทางกายภาพ
2. ต้องเขียนให้แรงปฏิกิริยาครบทุกแรง ถึงแม้อาจจะไม่ได้ใช้คานวณหาคาตอบที่โจทย์ตอ้ งการทราบ
โดยตรง แต่สามารถใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของคาตอบจากสมการแรกได้ ด้วยการใช้
สมการสมดุลอื่น และที่สาคัญ การเขียนแรงไม่รองศาสตราจารย์
กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล
ครบ มีโยอกาสที
งยุทธ ใจบุญ
่จะนาไปสู่ คาตอบที่ผิดได้อย่างมาก 8

4
บทที่ 3 สมดุล

ตัวอย่ างการเขียนผังวัตถุอสิ ระ
ถ้าโจทย์ตอ้ งการให้หาแรงปฏิกิริยาที่ Rocker B ของทรัสส์
ที่มีลกั ษณะและมีแรงภายนอกกระทาดังรู ป

การเลือกวัตถุ ในที่น้ ี วตั ถุ คือ ระบบทั้งหมด


1. การเขียนโครงภายนอกของระบบ
ที่ถอดออกมาเป็ นอิสระจากจุดรองรับแล้ว
2. การตั้งแกนอ้างอิง

3. การเขียนแรงกระทาจากรู ปโจทย์
มีเพียงแรงเดียว คือ 500 N
4. การเขียนแรงปฏิกิริยาที่จุดรองรับ
ที่ B Rocker เป็ นลูกกลิ้งชนิดหนึ่ง
มีแรงตั้งฉากพุง่ เข้าหาวัตถุ เพียงแรงเดียว
ที่ A เป็ นสลัก มี 2 แรงย่อยตั้งฉากกัน ต้องสมมุติทิศทาง
** การเขียนชื่ อแรงปฏิกิริยาที่ไม่ทราบขนาด มักจะใช้ชื่อจุดนั้นร่ วมกับแนวแรง เช่น By หรื อ Ax เป็ นต้น
กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 9

ข้ อควรจา เกีย่ วกับผังวัตถุอสิ ระ


1. โจทย์ทุกข้อที่เกี่ยวกับเรื่ องสมดุล ต้องเขียนผังวัตถุอิสระทุกครั้ง
ถ้ าไม่ เขียน จะไม่ มีคะแนนสาหรับข้ อนั้นๆ ไม่วา่ จะกรณี ใดทั้งสิ้ น (และใช้กบั ทุกวิชาด้วย)
2. ผังวัตถุอิสระต้องวาดใหม่ ห้ ามวาดทับในรู ปโจทย์
และต้องถอดจุดรองรับภายนอกและข้อต่อออกไปให้หมด
3. อย่าลืมตั้งแกนอ้างอิง
4. วาดแรงให้ครบทุกแรง ทั้งขนาดและทิศทางของแรงกระทาที่ทราบค่าแล้ว
แนวทางและทิศทางของแรงปฏิกิริยาที่ทราบแล้ว
และแรงปฏิกิริยาที่ตอ้ งมีการสมมุติทิศทาง
• การวาดแรงปฏิกิริยาที่ไม่ครบถ้วนหรื อผิดชนิด จะนาไปสู่ คาตอบที่ผดิ พลาด
• การวาดแรงปฏิกิริยามากเกินความเป็ นจริ ง จะนาไปสู่ การหาคาตอบไม่ได้
5. ผังวัตถุอิสระเป็ นส่ วนสาคัญอย่างมากส่ วนหนึ่งในการแก้ปัญหาด้านสมดุล แต่จะต้องไม่
เสี ยเวลากับการวาดมากเกินไป (ไม่ควรเกิน 5 นาทีต่อ 1 FBD) ดังนั้น นักศึกษาจะต้องฝึ กฝน
ให้เกิดความชานาญ
กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 10

5
บทที่ 3 สมดุล

ตัวอย่ าง
การเขียนผังวัตถุอสิ ระ

กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 11

คาถาม
การเขียนผังวัตถุอสิ ระ
ทีไ่ ม่ ครบถ้ วนสมบูรณ์

กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 12

6
บทที่ 3 สมดุล

คาถาม
การเขียนผังวัตถุอสิ ระ
ทีผ่ ดิ หรือไม่ ครบถ้ วน

กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 13

คาถาม
การเขียนผังวัตถุอสิ ระ

กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 14

7
บทที่ 3 สมดุล

3.3 เงือ่ นไขของสมดุลใน 2 มิติ


• สมดุลใน 2 มิติ หรื อในระนาบใดๆ เช่น ระนาบ x - y จะมีสมการสมดุลอิสระย่อย 3 สมการ
คือ
 F 0 x  F 0
y M z 0

โดยสมการสมดุลของโมเมนต์น้ นั จะคิดที่จุดใดๆก็ได้ในระนาบ
• ในทางปฏิบตั ิ หลังจากที่วาดผังวัตถุอิสระแล้ว อาจจะพบลักษณะระบบแรงแบบต่างๆ ทาให้
สมการสมดุลอิสระลดลง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. แรงอยูใ่ นแนวเส้นตรงเดียวกัน (Collinear Forces)


โดยการตั้งแกนอ้างอิงให้อยูใ่ นแนวเดียวกับแรง
สมการสมดุลอิสระจะเหลือเพียงสมการเดียว คือ
F  0 x

กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 15

2. แรงกระทาที่จุดเดียวกัน (Concurrent Forces)


โดยการตั้งแกนอ้างอิงให้อยูท่ ี่จุดที่แรงกระทาผ่าน
สมการสมดุลอิสระจะเหลือ 2 สมการ คือ
F  0 x  F 0
y

3. แรงอยูใ่ นแนวขนานกัน (Parallel Forces)


โดยการตั้งแกนอ้างอิงให้อยูใ่ นแนวเดียวกับแรง
สมการสมดุลอิสระจะเหลือ 2 สมการ คือ
 F 0 x M z 0

4. ระบบแรงทัว่ ไปใน 2 มิติ


มีสมการสมดุลอิสระ 3 สมการ
F  0 x F  0
y M z 0

กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 16

8
บทที่ 3 สมดุล

ชิ้นส่ วนรับแรงแบบพิเศษ
• ในโครงสร้างต่างๆจะประกอบด้วยหลายชิ้นส่ วนที่รับแรงแบบต่างๆกัน การสังเกตลักษณะ
พิเศษของชิ้นส่ วนนั้นๆได้ จะช่วยให้การแก้ปัญหาสะดวกรวดเร็ วขึ้น
1. ชิ้นส่ วนที่รับแรงกระทาเพียง 2 จุด (Two – Force Members)
จะเป็ นชิ้นส่ วนย่อยในโครงสร้างทรัสส์ หรื อ ระบบทางกลต่างๆที่มีขอ้ ต่อเป็ นแบบสลัก ซึ่ง
ตามปกติแล้วจะมี 2 แรงย่อยที่แต่ละข้อต่อ หรื อ 1 แรงลัพธ์ที่ไม่ทราบมุม ทาให้สมดุลของ
โมเมนต์จะเป็ นจริ งก็ต่อเมื่อแรงลัพธ์ที่แต่ละข้อต่อนี้อยูใ่ นแนวเดียวกัน คือ แนวเส้นตรงที่
เชื่อมข้อต่อทั้งสองนัน่ เอง
ประโยชน์ ทาให้ลดแรงที่ไม่ทราบค่าลงได้ 1 แรง
ตั้งแต่ข้ นั ตอนการวาด FBD

หลักการสังเกตุ
เป็ นชิ้นส่ วนในโครงสร้างที่ไม่มีแรงภายนอกกระทา
ทั้งที่ระหว่างความยาวหรื อที่ขอ้ ต่อ

กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 17

2. ชิ้นส่ วนที่รับแรงกระทาเพียง 3 จุด (Three – Force Members)


จะเป็ นวัตถุหลักหรื อชิ้นส่ วนย่อยในระบบทางกลที่มีแรงกระทา 3 จุด และเป็ นแรงที่ไม่อยู่
ในแนวเดียวกันหรื อขนานกัน (และต้องไม่มีค่คู วบกระทาร่ วมด้วย) ซึ่งจากสมการสมดุล

ของแรง  F 0
  
หรื อเขียนในรู ปของการบวกเวคเตอร์ได้วา่ F1  F2  F3 0
ซึ่งโดยวิธีกราฟฟิ ก หมายถึง การบวกเวคเตอร์แบบหัวต่อหาง โดยเวคเตอร์ของแรงสุ ดท้าย
ต้องกลับไปปิ ดที่จุดเริ่ มต้น เพื่อให้แรงรวมเป็ นศูนย์
ประโยชน์
ก. สามารถใช้วธิ ีกราฟฟิ กหาคาตอบได้
โดยการวาดรู ปตามสเกล และวัดขนาด
(รู ปขวามือ)
ข. ในกรณี ที่รูปโจทย์เป็ นรู ปตามสเกล และทราบค่าของ 2 แรงใดๆแล้ว
สามารถหาแนวของแรงที่ 3 ได้ดว้ ยการวาดรู ปและวัดขนาด โดยจะพุ่งออกจากจุดที่แรง
กระทาไปยังจุดตัดของ 2 แรงแรก (รู ปซ้ายมือ)
กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 18

9
บทที่ 3 สมดุล

ชุดสมการสมดุลแบบอืน่ ๆ
• จากสมการสมดุลอิสระตามปกติน้ นั ในบางครั้งการใช้สมการสมดุลของแรงอาจจะทาให้มีหลายตัว
แปรที่ยงั ไม่ทราบค่าอยูใ่ นสมการเดียวกัน ดังนั้น การเลือกใช้สมการโมเมนต์ที่จุดตัดของแรงที่ไม่
ทราบค่า จะทาให้สามารถหาคาตอบที่ตอ้ งการได้ดว้ ยสมการเดียว
• ชุดสมการสมดุลที่อาจจะเลือกใช้ได้ มีอีก 2 แบบ คือ
1. สมการสมดุลของแรง 1 สมการ และสมการสมดุลของโมเมนต์ 2 สมการ
 F 0
x

M 0 A

M 0 B

โดยมีเงื่อนไขว่า จุด A และ B ที่ใช้คิดโมเมนต์จะต้องไม่อยู่


ในแนวตั้งฉากกับแนวแกน x ที่ใช้ในสมการสมดุลของแรง
(เพราะถ้าตั้งฉากกัน จะทาให้มีแรงลัพธ์ R เหลือในแนวแกน y ได้ ซึ่ งขัดแย้งกับเงื่อนไขสมดุล)
ในกรณี น้ ี สมการสมดุล  Fy 0 ยังคงมีอยู่ แต่ไม่ใช่สมการอิสระ และจะใช้ในการตรวจสอบ
ความถูกต้องของคาตอบที่ได้มาจาก 3 สมการแรก
กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 19

2. สมการสมดุลของโมเมนต์ 3 สมการ
M A 0
M B 0
M C 0

โดยมีเงื่อนไขว่า จุด A, B และ C ที่ใช้คิดโมเมนต์จะต้องไม่อยูใ่ นแนวเส้นตรงเดียวกัน


(เพราะถ้าอยูใ่ นแนวเส้นตรงเดียวกัน จะทาให้เงื่อนไขสมดุลของแรงไม่เป็ นจริ ง เพราะสามารถมีแรง
ลัพธ์ R เหลือในแนวเส้นตรงนี้ได้)
ในกรณี น้ ี สมการสมดุล  Fx 0 และ  Fy 0 ยังคงมีอยู่ แต่ไม่ใช่สมการอิสระ และจะใช้ใน
การตรวจสอบความถูกต้องของคาตอบที่ได้มาจาก 3 สมการแรก

** สมการชุดนี้ใช้ได้ดีกบั วัตถุที่มี 2 มิติ (ความยาวและความสูง) และจะมีประโยชน์อย่างยิง่ เมื่อใช้กบั


กรณี ของโครงสร้างทรัสส์ ซึ่งมีรูปทรงเป็ นสามเหลี่ยม มีจุดตัดของแนวแรง 3 จุด เหมาะสมกับการคิด
สมดุลของโมเมนต์ที่แต่ละจุดตัดของ 2 แนวแรงใดๆ

กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 20

10
บทที่ 3 สมดุล

การบังคับการเคลือ่ นที่ (Constraints) และการหาคาตอบได้


• จากการที่มีสมการสมดุลอิสระ 3 สมการ ดังนั้นในระบบ 2 มิติ จะต้องมีจุดรองรับทาหน้าที่บงั คับการ
เคลื่อนที่ (Constraints) 3 รู ปแบบเช่นเดียวกัน ถึงจะทาให้วตั ถุอยูใ่ นสมดุล และสามารถหาคาตอบได้
(Determinable)
• อย่างไรก็ตาม การบังคับการเคลื่อนที่ 3 รู ปแบบนี้ ต้องอยูใ่ นลักษณะที่เหมาะสมถึงจะทาให้วตั ถุอยู่
ในสภาพสมดุลได้ คือ ต้องสามารถบังคับการเลื่อนตาแหน่งได้ 2 แกน และบังคับการหมุน 1 แกน
(ถ้าบังคับผิดรู ปแบบ วัตถุอาจจะยังสามารถเคลื่อนที่ได้ในบางแกน)
• ในกรณี ที่มีการบังคับการเคลื่อนที่มากเกินสมการสมดุล จะทาให้หาคาตอบไม่ได้หรื อได้ไม่ครบด้วย
วิธีทางสถิตยศาสตร์ (Statically Indeterminate) ซึ่งจะยังไม่เรี ยนในวิชานี้
• ในทางปฏิบตั ิ วัตถุจริ งเป็ นวัสดุที่มีความยืดหยุน่ จึงเกิดการเสี ยรู ปภายใต้แรงกระทา ซึ่งถ้าเกิดการเสี ย
รู ปมากเกินไป อาจจะทาให้มีปัญหาในการใช้งาน จึงต้องมีการเพิ่มจุดรองรับมากกว่าเงื่อนไขสมดุล
การจะแก้ปัญหาเหล่านี้ จะใช้สมการความสัมพันธ์ของการเสี ยรู ป (Compatibility Equation) ร่ วมกับ
สมการสมดุล ซึ่ งนักศึกษาจะได้เรี ยนในวิชาต่อไป

กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 21

เทคนิคการแก้ ปัญหาสมดุล
เพื่อให้การแก้ปัญหาเป็ นไปด้วยความสะดวก และได้คาตอบที่ถูกต้อง มีคาแนะนาดังนี้
1. พยายามเลือกใช้สมการสมดุลที่สามารถกาจัดแรงที่ไม่ทราบค่าอื่นได้ทุกค่า และเหลือแรงที่ยงั ไม่
ทราบค่าเพียงแรงเดียวเท่านั้น คือ แรงที่ตอ้ งการทราบค่า ซึ่ งทาได้ 2 วิธี คือ
• การคิดสมการสมดุลของแรงในแนวที่ต้ งั ฉากกับแรงไม่ทราบค่าที่ตอ้ งการกาจัดทิ้ง ตัวอย่างเช่น
คิดสมดุลของแรงในแนวแกน x เพื่อกาจัดแรงไม่ทราบค่าที่อยูใ่ นแนวแกน y (ดูตวั อย่างที่ 3.1
ประกอบ)
• การคิดสมดุลของโมเมนต์ ณ จุดที่มี 2 แรงไม่ทราบค่า เช่น ที่ขอ้ ต่อแบบสลัก หรื อจุดตัดที่ได้จาก
การต่อแนวแรงที่ไม่ทราบค่า 2 แรงไปตัดกัน (ดูตวั อย่างที่ 3.3 ประกอบ)
2. ใช้สมการรู ปแบบอื่น ทาการตรวจสอบคาตอบที่ได้จากสมการสมดุลอิสระชุดแรก ซึ่งจะทาได้ใน 2
รู ปแบบ คือ
• หาค่าเดิมด้วยสมการใหม่ ... คาตอบ 2 ครั้งนี้ ต้องเท่ากัน
• แทนค่าที่ได้เดิมลงในสมการใหม่ ... ผลที่ได้ ต้องเป็ นศูนย์ (อาจจะคลาดเคลื่อนเป็ นเลขน้อยๆ
หรื อเลขจุดทศนิยมได้ จากการปัดเศษ)
3. นักศึกษาควรจะสามารถประมาณคาตอบได้จากข้อมูลที่โจทย์ให้มา

กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 22

11
บทที่ 3 สมดุล

ตัวอย่ างที่ 3.1


Determine the magnitudes of the C and T, which
along with the other three forces shown, act on the
bridge-truss joint.

กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 23

ตัวอย่ างที่ 3.2


The uniform 100-kg I-beam is supported initially by its
end rollers on the horizontal surface A and B. By means of
the cable at C it is desired to elevate end B to a position 3m
above end A. Determine the required tension P, the
reaction at A, and the angle 𝜃 made by the beam with the
horizontal in the elevated position.

กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 24

12
บทที่ 3 สมดุล

ตัวอย่ างที่ 3.3


Determine the magnitude T of the tension in the
supporting cable and the magnitude of the force on pin
at A for the jib crane shown. The beam AB is a standard
0.5m I-beam with a mass 95 kg per meter of length.

กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 25

3.4 เงือ่ นไขของสมดุลใน 3 มิติ


• สมดุลใน 3 มิติ ในระบบแกนพิกดั ฉาก x – y - z จะมีสมการสมดุลอิสระหลักในรู ปแบบของ
 
เวคเตอร์ คือ F 0 และ M 0
• หรื อในรู ปของสมการสมดุลย่อยในแต่ละแกน คือ
และ
F
x 0 M x 0

F
y 0 M y 0

F
z 0 M z 0
โดยหลักการแก้ปัญหายังคงเหมือนกับในระบบ 2 มิติ คือ ต้องเริ่ มจากการเขียนผังวัตถุอิสระ ซึ่ งจุด
รองรับใน 3 มิติที่เป็ น เส้นเชือก มวลและสปริ ง ยังคงเหมือนกับใน 2 มิติ แต่จะมีส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามา
ดังต่อไปนี้
1. พื้นผิวหรื อผนังเรี ยบ (Smooth Surface)
จะมีแรงตั้งฉาก N พุง่ เข้าหาวัตถุ จานวน 1 แรง/ 1 พื้นผิว
เช่น ถ้าพื้นผิว คือ ระนาบ x - y แรงจะอยูใ่ นแนวแกน z
และถ้าปลายวัตถุไปสัมผัสกับผนัง (x - z หรื อ y - z) ด้วย ก็จะมีแรงตั้งฉากออกมาจากแต่ละผนังด้วย
กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 26

13
บทที่ 3 สมดุล

2. พื้นผิวหรื อผนังขรุ ขระ (Rough Surface)


จะมีแรงตั้งฉาก N จากพื้นผิวที่มีการสัมผัสพุง่ เข้าหาวัตถุ
และมีแรงเสี ยดทาน F ในพื้นผิวที่มีการสัมผัส ไม่ทราบทิศทาง
ถ้าพื้นผิว คือ ระนาบ x - y แรงตั้งฉากจะอยูใ่ นแนวแกน z และแรงเสี ยดทาน จะอยูใ่ นระนาบ x - y
(ถ้ามีการสัมผัส 2 และ 3 พื้นผิว ก็จะมี 4 แรงย่อย และ 6 แรงย่อย ตามลาดับ)

3. ลูกกลิ้งหรื อล้อที่อยูบ่ นราง (Lateral Constrain Roller)


จะมีแรงตั้งฉาก N จากรางพุง่ เข้าหาล้อ
และมีแรงดัน P จากด้านข้างพุง่ เข้าหาล้อ
(เป็ นแรงที่ป้องกันไม่ให้ลอ้ หลุดออกไปนอกราง)

4. ข้อต่อแบบลูกบอลอยูใ่ นเบ้า (Ball - and – Socket Joint)


เป็ นจุดรองรับที่บงั คับให้วตั ถุอยูก่ บั ที่
แต่สามารถหมุนได้อย่างอิสระ
จะมีแรงย่อย 3 แรง ไม่ทราบทิศทาง

กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 27

5. จุดรองรับแบบฝังแน่นหรื อเชื่อม (Fixed or Welded Support)


เป็ นจุดรองรับที่บงั คับให้วตั ถุอยูก่ บั ที่ และหมุนไม่ได้
จะมีแรงย่อย 3 แรง ไม่ทราบทิศทาง
และมีโมเมนต์ไม่ทราบค่า 3 แกน ไม่ทราบทิศทางการหมุน

6. รองเพลาแบบรับแรงในแนวแกน (Thrust Bearing)


จะบังคับให้เพลาหมุนรอบแกนความยาวได้เพียงอย่างเดียว
จะมีแรงย่อย 3 แรง ไม่ทราบทิศทาง
และมีโมเมนต์ไม่ทราบค่า 2 แกน ไม่ทราบทิศทางการหมุน
(ตามปกติแล้ว เพลาจะมีรองเพลา 2 ตัว ทาให้มีแรงหรื อโมเมนต์ที่ไม่ทราบค่าทั้งหมด 10 ค่า ซึ่ งมากกว่า
สมการสมดุล ดังนั้น ตามปกติแล้ว มักจะถือว่ารองเพลามีความหลวมเล็กน้อย สามารถส่ ายหรื อโยกได้
จึงถือว่าโมเมนต์ตา้ นไม่มี จึงลดแรงที่ไม่ทราบค่าลงมาเหลือ 6 แรงได้)
** นอกจากนี้ จะมีรองเพลาแบบรับแรงในแนวรัศมี (Radial Bearing) ที่จะไม่มีการบังคับการเลื่อนใน
แนวแกนความยาว จึงมี 2 แรงในแนวรัศมี และ 2 โมเมนต์รอบแกนของรัศมี ... และถ้าถือว่ามีความ
หลวม ก็จะลดลงเหลือเพียง แรงที่ไม่ทราบค่าเพียง 2 แรง ต่อรองเพลา 1 ตัว
*** รองเพลาแบบรับแรงในแนวรัศมีแบบมีความหลวมเล็กน้อยนี้ ยังหมายความถึง ปลอกรัดหรื อ
แหวนรัดแบบหลวมๆ (Loosed – Fitting Ring) ด้วย
กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 28

14
บทที่ 3 สมดุล

ประเภทของสมดุลใน 3 มิติ
หลังจากที่วาดผังวัตถุอิสระแล้ว จะได้ลกั ษณะของระบบแรงกระทา และสมการสมดุลอิสระ ดังนี้
1. แนวแรงกระทาร่ วมจุดเดียวกัน
(Concurrent Forces with a Point)
มีสมการสมดุลอิสระเฉพาะของแรงเท่านั้น คือ
 F 0 ,  F 0 ,  F 0
x y z

2. แนวแรงกระทาผ่านแนวแกนเดียวกัน
(Concurrent Forces with a Line)
จะไม่มีโมเมนต์รอบแกนที่แรงตัดผ่านเพียงสมการเดียว
จึงเหลือสมการสมดุลอิสระ 5 สมการ คือ
F 0 , F 0 , F 0
x y z

M y 0 , M z 0

กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 29

3. แนวแรงขนานกัน (Parallel Forces)


มีสมการสมดุลอิสระของแรงพียงแกนเดียว
และสมการสมดุลของโมเมนต์อีก 2 แกน คือ
 F 0 , M
x y 0 , M z 0

4. ระบบแรงทัว่ ไปใน 3 มิติ


จะมีแรงกระทาในแนวหรื อจุดที่ต่างกัน
และอาจจะมีคู่ควบกระทาร่ วมด้วย
จึงมีสมการสมดุลอิสระย่อย ครบทั้ง 6 สมการ คือ
F 0 , F 0 , F 0
x y z

M 0 , M 0 , M 0
x y z

*** ตามปกติแล้ว การแก้ปัญหาของระบบแรงใน 3 มิติ จะใช้สมการเวคเตอร์ โดยจะเริ่ มต้นจากการคิด


สมดุลของโมเมนต์ ณ จุดที่มีแรงไม่ทราบค่าตัดกัน 3 แรง แล้วจึงต่อด้วยสมการสมดุลของแรง
กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 30

15
บทที่ 3 สมดุล

ตัวอย่ างที่ 3.4


The uniform 7 m steel shaft has a mass of 200 kg and is
supported by a ball-and-socket joint at A in the horizontal
floor. The ball at B rests against the smooth vertical
walls as shown. Compute the forces exerted by the walls
and the floor on the ends of the shaft.

กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 31

ตัวอย่ างที่ 3.5


A 200 N force is applied to the handle of the hoist in
the direction shown. The bearing A supports the thrust
(force in the direction of the shaft axis), while bearing
B supports only radial load (load normal to the shaft
axis). Determine the mass m which can be supported
and the total radial force exerted on the shaft by each bearing. Assume neither bearing to be
capable of supporting a moment about a line normal to the shaft axis.

กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 32

16
บทที่ 3 สมดุล

ตัวอย่ างที่ 3.6


The welded tubular frame is secured to the horizontal x-y plane by a ball-
and-socket joint at A and receives support from the loose-fitting ring at B.
Under the action of the 2 kN load, rotation about a line from A to B is
prevented by the cable CD, and the frame is stable in the position shown.
Neglect the weight of the frame compared with the applied load and
determine the tension T in the cable, the reaction at the ring, and the reaction
components at A.

กลศาสตร์วิศวกรรม – บทที่ 3 - สมดุล รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ใจบุญ 33

17

You might also like