You are on page 1of 58

บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

ส่วนที่ 2.2
การประกอบธุรกิจและผลการดำเนินงาน

1. โครงสร้างการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท

1.1 นโยบายและภาพรวมการประกอบธุรกิจ
บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) เดิมชื่อบริษัท ลอจิก จำกัด ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 30
มกราคม 2532 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 4 ล้านบาท เพื่อประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์
ประเภทเวิร์คสเตชั่น (Workstation) ของ Sun Microsystem รายแรกของประเทศไทย ต่อมาได้ขยายการให้บริการให้
ครอบคลุมบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่หลากหลายตามการพัฒนาเทคโนโลยีของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อ
เนื่อง ปัจจุบันบริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลอย่างครบวงจร ซึ่งมีความเชี่ยวชาญ
ด้านการบูรณาการและนำเสนอโซลูชั่นที่สามารถตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ
ดำเนินงานและเสริมศักยภาพในการแข่งขัน บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนลูกค้าในการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ยุคเทคโนโลยี
ดิจิทัล (Digital Transformation) เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง และก้าวสู่ความสำเร็จของ
องค์กรตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยบริษัทฯ ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำในหลากหลาย
อุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจการเงิน ธุรกิจโทรคมนาคม ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตและ
พลังงาน รวมถึงสถาบันการศึกษาต่างๆ
ตลอดระยะเวลา 33 ปีที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทฯ พัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีและ
ความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่เปลี่ยนไป โดยมุ่งเน้นการให้บริการที่คำนึงถึงลูกค้าเป็นสำคัญ ประกอบกับความเข้าใจใน
กระบวนการทำงานของแต่ละอุตสาหกรรมอย่างลึกซึ้ง รวมถึงความพร้อมและความเชี่ยวชาญของบุคลากรในด้าน
นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลโซลูชั่น รวมถึงการที่กลุ่มบริษัทฯ เป็นพันธมิตรกับเจ้าของเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกซึ่ง
เป็นที่ยอมรับในระดับสากลส่งผลให้กลุ่มบริษัทฯ สามารถพัฒนาโซลูชั่นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลที่สามารถ
ตอบโจทย์ความต้องการและแก้ไขปัญหาของลูกค้าได้อย่างตรงจุด อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนลูกค้าให้สามารถประยุกต์ใช้
เทคโนโลยีดิจิทัลในการขับเคลื่อนธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนในโลกดิจิทัล
1.1.1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมองค์กร
วิสัยทัศน์ (Vision) การขับเคลื่อนธุรกิจในโลกดิจิทัล
Enabling business in the digital world
พันธกิจ (Mission) พร้อมเป็นพันธมิตรทางเทคโนโลยีที่เชื่อมั่นและวางใจให้กับทุกองค์กร
Be the trusted technology partner for enterprise
เป้ าหมาย (Goal) การเป็นบริษัทเทคโนโลยีดิจิทัลอันดับ 1 ในประเทศไทย
No. 1 Digital Technology Company in Thailand

ค่านิยมองค์กร (Values)
Excellence - สู่ความเป็นเลิศ : ทำให้ดีที่สุด และก้าวไปถึงขีดสุดเพื่อแข่งกับมาตรฐานสากล
Teamwork - พลังของทีม : รวมพลัง ร่วมสร้างความสำเร็จด้วยความอ่อนน้อมและให้เกียรติผู้อื่น

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 1


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

Customer Focus - ลูกค้าคือหัวใจ : เข้าใจความต้องการลูกค้าและเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจให้ได้สูงสุด


Growth - พัฒนาต่อเนื่อง : กล้าทำสิ่งท้าทาย และพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดนิ่ง
Ownership - รับผิดชอบรอบด้าน : รับผิดชอบต่อทุกการตัดสินใจและการกระทำของตน

1.1.2 ข้อได้เปรียบในการแข่งขัน
1.1.2.1 การนำเสนอโซลูชั่นด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลที่ครบวงจรในหลากหลายอุตสาหกรรม
กลุ่มบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจให้บริการโซลูชั่นด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลสำหรับองค์กรชั้นนำในประเทศไทยมา
นานกว่า 33 ปี ทำให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการพัฒนาโซลูชั่นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านเทคโนโลยีและ
ดิจิทัลเป็นอย่างดี ประกอบกับประสบการณ์ของกลุ่มบริษัทฯ ในการให้บริการแก่ลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรมไม่ว่า
จะเป็นธุรกิจการเงิน ธุรกิจโทรคมนาคม ธุรกิจการผลิต ธุรกิจบริการ เป็นต้น ทำให้กลุ่มบริษัทฯ เข้าใจถึงปัญหาและ
ความต้องการของลูกค้าทั้งในด้านธุรกิจ ข้อจำกัดของระบบและผู้ใช้งาน และสามารถออกแบบโซลูชั่นที่ใช้งานได้ง่าย
และแก้ปัญหาได้จริงซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด Possible, Simple ของบริษัทฯ โดยกระบวนการในการออกแบบโซลูชั่น
ของกลุ่มบริษัทฯ ครอบคลุมตั้งแต่การศึกษาความต้องการและข้อจำกัดของลูกค้า การให้คำแนะนำ และออกแบบ
โซลูชั่นที่เหมาะกับความต้องการลูกค้า รวมถึงการให้บริการอย่างครบวงจรตั้งแต่การจัดหา ติดตั้ง และทดสอบระบบ
เพื่อให้มั่นใจว่าโซลูชั่นของกลุ่มบริษัทฯ สามารถตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าได้จริง ตลอดจนการให้บริการบำรุงรักษา
เพื่อให้โซลูชั่นอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์พร้อมใช้ตลอดเวลา
นอกจากนี้ โซลูชั่นด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลของกลุ่มบริษัทฯ ยังมีความหลากหลายและครอบคลุมเทคโนโลยี
ที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นโซลูชั่นด้านระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security Solution) โซลูชั่นด้านระบบคลาวด์
และดาต้าเซ็นเตอร์ (Cloud and Data Center Modernization Solution) โซลูชั่นด้านระบบจัดการข้อมูลและการ
วิเคราะห์ข้อมูล (Data and Analytics Solution) และโซลูชั่นด้านธุรกิจดิจิทัล (Digital Business and Application
Solution) ยิ่งไปกว่านั้น กลุ่มบริษัทฯ ยังมีโซลูชั่นสำหรับบริหารจัดการระบบสารสนเทศ (Managed Tech Services)
เพื่อให้บริการสนับสนุนงานด้านระบบเทคโลยีสารสนเทศ ด้วยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งาน
ระบบเทคโลยีสารสนเทศที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และทำให้กลุ่มบริษัทฯ สามารถตอบสนองความต้องการเกี่ยว
กับโซลูชั่นด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลของลูกค้าได้อย่างอย่างครบวงจร (One Stop Service)
1.1.2.2 ความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าและเจ้าของผลิตภัณฑ์
กลุ่มบริษัทฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับทั้งลูกค้า
และคู่ค้า โดยการรักษาความสัมพันธ์อันดีและส่งเสริมศักยภาพซึ่งกันและกัน ทำให้มีเครือข่ายพันธมิตรที่มีความ
แข็งแกร่ง โดยกลุ่มบริษัทฯ มีการทำงานร่วมกับลูกค้าอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ขั้นตอนการศึกษาความต้องการและทำความ
เข้าใจรูปแบบธุรกิจของลูกค้า เพื่อนำมาพัฒนาเป็นโซลูชั่นที่มีคุณภาพซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการและแก้ปัญหา
ทางธุรกิจของลูกค้าได้ตรงจุด โดยมีผลงานในการให้บริการโซลูชั่นด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลให้กับลูกค้า มากกว่า
30,000 โครงการ ครอบคลุมลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรมมากกว่า 1,000 ราย ทำให้บริษัทฯ ได้รับความไว้ใจใน
การพัฒนาโซลูชั่นจากลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
ในขณะเดียวกันกลุ่มบริษัทฯ มีการทำงานร่วมกับเจ้าของผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำจากทั่วโลก
มากกว่า 100 ราย โดยกลุ่มบริษัทฯ มีนโยบายสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวกับเจ้าของผลิตภัณฑ์ และดำเนินงานร่วม
กันภายใต้แนวคิดของการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจต่อกัน ปัจจุบันกลุ่มบริษัทฯ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพันธมิตรระดับสูง
จากเจ้าของผลิตภัณฑ์จำนวนมากไม่ว่าจะเป็น Oracle, Dell Technologies, Hewlett Packard Enterprise, F5,
Huawei เป็นต้น ด้วยความสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้าของผลิตภัณฑ์ทำให้บริษัทฯ ได้รับการสนับสนุนในด้านองค์ความรู้เกี่ยว
กับเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงการสนับสนุนทั้งบริการก่อนการขายและการบริการหลังการขาย ตลอดจนการฝึกอบรมที่ได้

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 2


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

มาตรฐาน เพื่อพัฒนาศักยภาพและความชำนาญเทคโนโลยี ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของกลุ่มบริษัทฯ ได้เป็น


อย่างดี
1.1.2.3 ความพร้อมของทีมงานซึ่งมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจ
กลุ่มบริษัทฯ มีบุคลากรในสายงานโซลูชั่นและเทคโนโลยีมากกว่า 1,000 คน ที่มีประสบการณ์และความ
เชี่ยวชาญเฉพาะทางในด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลอย่างลึกซึ้ง กลุ่มบริษัทฯ จึงมีความพร้อมในการให้บริการ ให้คำ
ปรึกษา ออกแบบและพัฒนาโซลูชั่นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ด้วยประสบการณ์การทำงานและผลงานที่
ผ่านมาของกลุ่มบริษัทฯ จึงเป็นเครื่องชี้วัดถึงความเชื่อมั่นที่ลูกค้ามีให้กับกลุ่มบริษัทฯ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ กลุ่ม
บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญในการศึกษาข้อมูลธุรกิจและความต้องการลูกค้า โดยจัดให้มีฝ่ายพัฒนาธุรกิจที่แยกดูแลรับ
ผิดชอบตามแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ทำให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจและกระบวนการทำงานของแต่ละ
อุตสาหกรรมที่แตกต่างกันเป็นอย่างดี ช่วยให้บริษัทฯ เห็นถึงภาพรวมของความต้องการของแต่ละอุตสาหกรรมได้อย่าง
ชัดเจนและสามารถให้คำแนะนำในการออกแบบและพัฒนาโซลูชั่นให้แก่ลูกค้าได้อย่างครอบคลุมและครบถ้วน ซึ่งเป็น
ส่วนสำคัญที่ทำให้บริษัทฯ ได้รับการยอมรับจากลูกค้าซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำในหลากหลายอุตสาหกรรม
1.1.2.4 การมีรายได้จากจากการให้บริการที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในสัดส่วนที่สูงและเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันกลุ่มบริษัทฯ มีรายได้จากการให้บริการที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง (Recurring Income) ประกอบด้วย รายได้
จากการให้บริการบำรุงรักษา รายได้จากการให้บริการในลักษณะเช่าใช้ (Software as a Service : SaaS) และรายได้
จากการให้บริการบุคลากรด้านระบบสารสนเทศ ซึ่งรายได้ในส่วนนี้จะถูกทยอยรับรู้รายได้ตลอดระยะเวลาสัญญาการ
บริการ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการให้บริการโซลูชั่นที่ติดตั้งใหม่ในแต่ละปี และโดยส่วนใหญ่เมื่อลูกค้ามีการติดตั้ง
โซลูชั่นแล้วก็จะใช้งานอย่างต่อเนื่อง โอกาสที่จะเปลี่ยนไปใช้โซลูชั่นจากผู้ให้บริการรายอื่นจะเป็นไปได้ยาก และมีอัตรา
การต่อสัญญาเฉลี่ยสำหรับบริการที่เกิดขึ้นต่อเนื่องที่สูงถึงร้อยละ 88 ในปี 2563-2565 โดยบริษัทฯ มีรายได้จากการให้
บริการที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจำนวน 2,150.43 ล้านบาท ในปี 2563 จำนวน 2,414.55 ล้านบาท ในปี 2564 และจำนวน
2,396.73 ล้านบาท ในปี 2565 คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 41.54 ร้อยละ 48.89 และร้อยละ 50.66 ของรายได้จากการขาย
และบริการ ตามลำดับ และคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5.57 ต่อปี
1.1.3 กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ
1.1.3.1 การมุ่งเน้นการให้บริการโซลูชั่นที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญระดับสูง
กลุ่มบริษัทฯ มุ่งเน้นการให้บริการในกลุ่มโซลูชั่นที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ
กลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ที่ธุรกิจมีความซับซ้อน ดังนั้น ในการพัฒนาโซลูชั่นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าดังกล่าวจึง
ต้องอาศัยทักษะและความเข้าใจในลักษณะธุรกิจของลูกค้า เพื่อที่จะสามารถพัฒนาและปรับปรุงระบบเทคโนโลยีของลูกค้า
ให้มีความเชื่อมโยงและตรงกับแผนการดำเนินธุรกิจขององค์กร โดยบริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นที่มีความเชี่ยวชาญ
เฉพาะทางในกลุ่มโซลูชั่นที่มีความต้องการสูงในธุรกิจยุคปัจจุบัน ได้แก่ กลุ่มโซลูชั่น Cyber Security, Data and Analytics,
Digital Business and Application ซึ่งปัจจุบันโซลูชั่นกลุ่มนี้มีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นตามกระแสดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น
(Digital Transformation) ของภาคธุรกิจซึ่งต้องการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงาน
ขององค์กรและเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อลดความซ้ำซ้อน
ในการทำงาน ตลอดจนการใช้ระบบอัตโนมัติในการประมวลผลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประกอบการตัดสิน
ใจในเชิงกลยุทธ์ ซึ่งทิศทางดังกล่าวสอดคล้องกับรายงานของ Gartner, Inc. (Gartner) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษา
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของโลกที่คาดการณ์ว่ามูลค่าใช้จ่ายด้านไอทีในประเทศไทยในปี 2566 ในส่วนของ
ซอฟต์แวร์ระดับองค์กรจะเป็นส่วนที่เติบโตสูงที่สุด ในอัตราร้อยละ 14.87 ซึ่งเป็นผลจากการที่บริษัทและองค์กรต่างๆ มีการ
ปรับตัวเพื่อให้สามารถทำงานได้จากหลากหลายสถานที่ จึงมีแนวโน้มที่จะนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับการทำงานในองค์กร
มากขึ้นเพื่อรองรับรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป กลุ่มบริษัทฯ เล็งเห็นถึงโอกาสและแนวโน้มของตลาดดังกล่าว จึงมุ่งเน้น
การขยายธุรกิจในกลุ่มโซลูชั่นที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในระดับสูงที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับโซลูชั่นของกลุ่ม
บริษัทฯ ซึ่งจะนำไปสู่อัตรากำไรที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 3


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

1.1.3.2 การขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นเพื่อให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
ด้วยปัจจุบันบริษัทฯ มีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งในกลุ่มสถาบันการเงิน ซึ่งครอบคลุมลูกค้ากลุ่มธนาคาร เงินทุน
หลักทรัพย์ ประกันภัย และประกันชีวิต กลุ่มบริษัทฯ จึงมีนโยบายที่จะขยายฐานลูกค้าเพิ่มเติมไปยังลูกค้าในกลุ่ม
อุตสาหกรรมอื่น เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเติบโตของรายได้และอัตรากำไรของบริษัทฯ ในอนาคต โดยกลุ่มบริษัทฯ มุ่ง
เน้นไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตที่ดี และมีความต้องการในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลเพื่อเพิ่ม
ศักยภาพในการแข่งขัน แต่บริษัทฯ ยังมีส่วนแบ่งการตลาดในกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวที่ยังไม่มากนัก โดยเบื้องต้น
กลุ่มบริษัทฯ มีนโยบายมุ่งที่จะขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มธุรกิจขนส่ง และธุรกิจบริการสุขภาพ ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่
Gartner คาดการณ์ว่าในปี 2566-2569 จะมีมูลค่าการใช้จ่ายในตลาดไอทีของประเทศไทยอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี
(CAGR) ที่สูงในระดับร้อยละ 13.51 และร้อยละ 16.98 รวมถึงการใช้กลยุทธ์ Cross-selling เพื่อนำเสนอโซลูชั่นที่
เกี่ยวข้องเพิ่มเติมจากโซลูชั่นหลักที่กลุ่มบริษัทฯ ให้บริการแก่ลูกค้าในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงการต่อยอดการให้บริการไปยัง
กลุ่มโซลูชั่นอื่นที่กลุ่มบริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญและมีความพร้อมในการให้บริการเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดของ
กลุ่มบริษัทฯ โดยในเบื้องต้นกลุ่มบริษัทฯ เน้นการขยายตลาดในกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม เนื่องจากเป็นหนึ่งในกลุ่มลูกค้า
ที่มีงบประมาณลงทุนในด้านเทคโนโลยีอยู่ในระดับสูง
1.1.3.3 การพัฒนาซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มซึ่งเป็นเทคโนโลยีของกลุ่มบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง
ด้วยความสำเร็จที่ผ่านมาของกลุ่มธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มในระหว่างปี 2563-2565 ซึ่งสามารถ
สร้างอัตราการเติบโตของรายได้เฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่สูงถึงร้อยละ 32.17 และมีอัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยที่สูงถึงกว่า
ร้อยละ 50 ปัจจุบันซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มของกลุ่มบริษัทฯ ประกอบด้วย แพลตฟอร์มด้านการตลาดดิจิทัล แพลตฟอร์ม
ด้านการบริหารจัดการข้อมูล Big Data และ แพลตฟอร์มด้านการบริหารพื้นที่เช่า ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการ
สร้างความแตกต่างทางการแข่งขันของกลุ่มบริษัทฯ ที่เหนือกว่าคู่แข่งที่ประกอบธุรกิจในกลุ่มเดียวกัน โดยอาศัยการ
สร้างมูลค่าเพิ่มจากองค์ความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาโซลูชั่นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และต่อย
อดเป็นซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่กลุ่มบริษัทฯ เป็นเจ้าของ ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มด้านการตลาด
ดิจิทัล แพลตฟอร์มด้านการบริหารพื้นที่เช่า และแพลตฟอร์มด้านการบริหารจัดการข้อมูล Big Data ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทฯ
ยังคงให้ความสำคัญในการพัฒนาแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์ความ
ต้องการของลูกค้าได้มากยิ่งขึ้นในอนาคต โดยกลุ่มบริษัทฯ ได้สนับสนุนให้ทีมพัฒนาซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มได้มีโอกาส
นำเสนอแนวคิดที่จะต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้นอยู่เสมอ รวมถึง
การพัฒนาซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มใหม่เพิ่มเติมในอนาคต โดยเบื้องต้นกลุ่มบริษัทฯ ได้พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับให้
บริการด้าน E-Tax Invoice เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกรรมด้านดิจิตอลดิจิทัลที่มีแน้วโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งได้
เปิดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 2566
1.1.3.4 การขยายศักยภาพในการให้บริการและต่อยอดความเชี่ยวชาญไปยังธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
ด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วของกระแสดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ส่งผลให้ความต้องการด้านระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศและดิจิทัลของภาคธุรกิจมีแนวโน้มการเติบโตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจากรายงานมูลค่าใช้จ่ายด้านไอที
ในประเทศไทยของ Gartner ระบุว่ามูลค่าการใช้จ่ายในตลาดไอทีของประเทศไทยจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี
(CAGR) เท่ากับร้อยละ 9.09 ในช่วงปี 2563-2566 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มซอฟต์แวร์ ดาต้าเซ็นเตอร์ และบริการ
ด้านไอที ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่สูงถึงร้อยละ 15.21 ในช่วงปี 2563-2566 โดยจาก
แนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมดังกล่าว กลุ่มบริษัทฯ จึงให้ความสำคัญในการขยายทีมงานพัฒนาโซลูชั่นเพื่อเพิ่ม
ศักยภาพในการให้บริการ และรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมในอนาคต นอกจากนี้ ด้วยความเชี่ยวชาญในธุรกิจ
ให้บริการโซลูชั่นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลอย่างครบวงจร กลุ่มบริษัทฯ จึงมีแผนที่จะต่อยอดความ
เชี่ยวชาญดังกล่าวไปยังกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น ธุรกิจให้คำปรึกษาทางธุรกิจ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถของกลุ่ม
บริษัทฯ ในการให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทฯ อาจใช้กลยุทธ์การเติบโตจาก
ภายนอก (Inorganic Growth) ในการขยายศักยภาพการให้บริการและต่อยอดความเชี่ยวชาญไปยังธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งอาจรวมถึงการคัดเลือกพันธมิตรเชิงกลยุทธ์และการเข้าซื้อกิจการ เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่ง
เทคโนโลยีแพลตฟอร์มซึ่งจะช่วยสนับสนุนและเสริมการให้บริการในรูปแบบใหม่ของกลุ่มบริษัทฯ ตลอดจนกิจการที่

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 4


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

เสริมธุรกิจปัจจุบันของกลุ่มบริษัทฯ การเพิ่มโอกาสในการขยายทีมงาน และ/หรือส่งเสริมการขยายธุรกิจของกลุ่ม


บริษัทฯ ให้มีความสามารถในการให้บริการลูกค้าได้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการเพิ่ม
ศักยภาพในการให้บริการและขยายกลุ่มลูกค้า เพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันและรองรับการเติบโตของธุรกิจใน
อนาคต โดยกลุ่มบริษัทฯ ให้ความสนใจกับการลงทุนในบริษัทที่มีกรรมสิทธิ์ (Intellectual Property) ในเทคโนโลยี
แพลตฟอร์มของตนเอง เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัทฯ ซึ่งสอดคล้องกับแผนโย
บายการเติบโตของบริษัท และปัจจุบัน บริษัทฯ อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ และการตรวจสอบสถานะกิจการ
(Due Diligence) ของบริษัทเป้าหมายที่บริษัทฯ ต้องการจะลงทุน ทั้งนี้ ในการเลือกลงทุนนกิจการอื่นกลุ่มบริษัทฯ จะ
พิจารณาถึงคุณลักษณะและความสามารถเฉพาะของกิจการเป้าหมาย ตลอดจนศักยภาพในการขยายธุรกิจ การเข้าถึง
กลุ่มลูกค้าใหม่ และเทคโนโลยีใหม่ รวมทั้งยังมองถึงความสามารถในการสร้างรายได้และสร้างประโยชน์ร่วมกัน
(Synergy) ในอนาคต อย่างไรก็ตาม การใช้กลยุทธ์การเติบโตจากภายนอก อาจมีปัจจัยภายนอกที่อยู่นอกเหนือการ
ควบคุมที่อาจส่งผลกระทบให้การดำเนินงานไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ เช่น กระบวนการคัดสรรบุคลากรที่ตรงตาม
ความต้องการของกลุ่มบริษัทฯ หรือการบริหารจัดการต้นทุนดำเนินงาน ตลอดจนประมาณการรายได้ที่อาจไม่เป็นไป
ตามที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งในการดำเนินธุรกิจ กลุ่มบริษัทฯ จะพิจารณาอย่างรอบคอบในทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน
ทั้งนี้ หากปรากฏว่ามีปัจจัยความเสี่ยงในการลงทุนค่อนข้างสูง และ/หรือมีแนวโน้มที่จะกระทบในทางลบต่อผลการ
ดำเนินงานโดยรวม กลุ่มบริษัทฯ อาจพิจารณาระงับ หรือชะลอการลงทุนดังกล่าว เพื่อลดความเสี่ยงของการที่ผล
ตอบแทนจากการลงทุนจะไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
นอกจากนี้ หากในอนาคตกลุ่มบริษัทฯ พบโอกาสในการลงทุนในธุรกิจใหม่ ที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่
เหมาะสม รวมถึงสามารถเพิ่มโอกาสในการขยายงานหรือพัฒนาการทางธุรกิจได้นั้น กลุ่มบริษัทฯ จะนำเสนอต่อที่
ประชุมคณะกรรมการบริษัท และ/หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป โดยการอนุมัติดังกล่าวจะต้องปฏิบัติ
ตามหลักเกณฑ์ในการทำรายการที่มีนัยสำคัญที่เข้าข่ายเป็นการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน และหลักเกณฑ์การ
ทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน รวมทั้งหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เป็นไปตามกฏหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ
กำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือประกาศของคณะกรรมการกำกับตลาดทุน และ
คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่มบริษัทฯ และผู้ถือหุ้น เป็นสำคัญ

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 5


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

1.1.4 การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญ
ตลอดระยะเวลากว่า 33 ปี บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) ได้มีพัฒนาการทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ตามการ
เปลี่ยนแปลงของดิจิทัลเทคโนโลยีในสังคมไทย ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกซึ่งบริษัทฯ เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกวงการไอทีใน
ประเทศไทย โดยเริ่มต้นจากการเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ประเภทเวิร์คสเตชั่น (Workstation) ของ
Sun Microsystem รายแรกของประเทศไทย และเป็นผู้ผลักดันเทคโนโลยีระบบ UNIX ซึ่งเป็นรากฐานของระบบเครือ
ข่ายคอมพิวเตอร์และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบโครงข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยซึ่งนี่เป็นจุดเริ่มที่นำทุกคน
มาสู่ยุค 5G ในทุกวันนี้ และตั้งแต่ในปี 2543 เป็นต้นมาบริษัทฯ เริ่มพัฒนาการให้บริการในลักษณะโซลูชั่นโดยการนำ
เทคโนโลยีมาช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับพาร์ท
เนอร์ระดับโลกเพื่อนำโซลูชั่นระดับองค์กรมาประยุกต์ใช้การทำงานของภาคธุรกิจเพื่อช่วยลดเวลาการประมวลผล และ
ยังช่วยลดข้อผิดพลาดจากการทำงานของพนักงาน (Human error) บริษัทฯ เป็นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศหลักของ
องค์กร ขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจธนาคาร กลุ่มธุรกิจประกันภัย และกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม รวมถึงเริ่มให้
บริการบริหารจัดการระบบสารสนเทศอย่างครบวงจรเพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ได้
อย่างเต็มประสิทธิภาพ และในปี 2546 บริษัทฯ ได้มุ่งเน้นการประกอบธุรกิจเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศและดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ และโอนธุรกิจตัวแทนจำหน่ายไปยังบริษัท เฟิร์ส ลอจิก จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย
ต่อมาเมื่อประเทศไทยเริ่มมีการใช้เทคโนโลยีระบบ 3G ในช่วงปี 2554 ส่งผลให้การใช้งานระบบอินเตอร์เน็ต
ในประเทศไทยแพร่หลายมากขึ้น ภาคธุรกิจต่างๆ จึงให้ความสนใจในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้าง
ความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยบริษัทฯ ในฐานะหนึ่งในผู้นำในด้านการทำ Digital transformation ให้กับลูกค้าไม่
ว่าจะเป็นระบบ Digital Insurance ระบบ Mobile Banking Application เป็นต้น นอกจากนี้กลุ่มบริษัทฯ ยังได้พัฒนา
ซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มของตนเอง เพื่อตอบโจทย์ทางธุรกิจของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นในด้าน Digital Marketing ไปจนถึง
เรื่องการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Bigdata) เพื่อให้การตัดสินใจทางธุรกิจเป็นไปได้โดยง่าย
ทั้งนี้ ในปี 2565 บริษัทฯ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการเป็น Tech Enabler โดยการต่อยอดจากองค์ความรู้ใน
ด้าน การพัฒนาโซลูชั่นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล ผนวกกับประสบการณ์ของบริษัทฯ ในหลากหลาย
อุตสาหกรรม เพื่อสร้างธุรกิจดิจิทัลซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและต่อยอดโอกาสทางธุรกิจในโลก
ดิจิทัลให้กับลูกค้า นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทฯ ยังได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับคู่ค้าและลูกค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อสร้าง
แผนการเติบโตต่อยอดไปยังธุรกิจใหม่ในอนาคต
ปี เหตุการณ์ที่สำคัญ
2532  จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทฯ ในชื่อ บริษัท ลอจิก จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 4,000,000 บาท เมื่อ
วันที่ 30 มกราคม 2532 เพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ประเภทเวิร์คสเตชั่น
(Workstation) และศูนย์บริการของ Sun Microsystem
2539  บริษัทฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิมจำนวน 4,000,000 บาท เป็นจำนวน 10,000,000 บาท
ด้วยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 60,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท เมื่อวันที่ 20
มิถุนายน 2539 เพื่อรองรับการขยายธุรกิจ
2541  บริษัทฯ ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้จากเดิมหุ้นละ 100 บาท เป็นหุ้นละ 10 บาท
2542  บริษัทฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิมจำนวน 10,000,000 บาท เป็นจำนวน 20,000,000 บาท
ด้วยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 1,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท เมื่อวันที่ 30
มีนาคม 2542 เพื่อรองรับการขยายธุรกิจ
2544  บริษัทฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิมจำนวน 20,000,000 บาท เป็นจำนวน 60,000,000 บาท
ด้วยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 4,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท เมื่อวันที่ 15
มิถุนายน 2544 เพื่อรองรับการขยายธุรกิจ
2546  จดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท เฟิร์ส ลอจิก จำกัด เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2546 โดยกลุ่มจีเอเบิล เป็น
ผู้ถือหุ้นใหญ่ ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 100 เพื่อประกอบธุรกิจในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของ Sun
Microsystem แทนบริษัทฯ ซึ่งได้ปรับลักษณะการประกอบธุรกิจเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นระบบ

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 6


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

ปี เหตุการณ์ที่สำคัญ
เทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล
2547  จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัทฯ จากบริษัท ลอจิก จำกัด เป็นบริษัท จีเอเบิล จำกัด เมื่อวันที่ 19
มกราคม 2547
 บริษัทฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิมจำนวน 60,000,000 บาท เป็นจำนวน 87,802,830 บาท
ด้วยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 2,780,283 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท เมื่อวันที่ 19
ตุลาคม 2547 เพื่อรองรับการขยายธุรกิจ
 บริษัทฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิมจำนวน 87,802,830 บาท เป็นจำนวน 209,435,330 บาท
ด้วยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 121,632,500 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท เมื่อวันที่ 28
ตุลาคม 2547 เพื่อรองรับการขยายธุรกิจ
 บริษัทฯ ได้เข้าซื้อหุ้นสามัญของ บริษัท ซีดีจี ไมโครซีสเต็มส์ จำกัด (“CDGM”) จำนวน
1,999,994 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 100 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ CDGM
จากกลุ่มผู้ถือหุ้นของ CDGM ซึ่งมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือกลุ่มลิ่วเจริญ กลุ่มเอื้อวัฒนสกุล กลุ่มชันซื่อ
และกลุ่มพันธุมวนิช
 บริษัทฯ ได้เข้าซื้อหุ้นสามัญของ บริษัท เดอะ คอมมูนิเคชั่น โซลูชั่น จำกัด (“TCS”) จำนวน
2,257,071 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 100 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ TCS
จากกลุ่มผู้ถือหุ้นของ TCS ซึ่งมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือกลุ่มลิ่วเจริญ กลุ่มเอื้อวัฒนสกุล กลุ่มชันซื่อ
และกลุ่มพันธุมวนิช
2554  บริษัทฯ ร่วมมือกับบริษัท ออราเคิล คอร์ปอเรชัน (ประเทศไทย) จำกัด จัดตั้งศูนย์ Center of
Excellence ในประเทศไทยซึ่งเป็นศูนย์แห่งที่สองในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีเป้าหมายเพื่อ
ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ รวมไปถึงการกระตุ้นให้มีการนำเทคโนโลยีของออราเคิลมาสนับ
สนุนโซลูชั่นของบริษัทฯ ที่จะนำคุณลักษณะของเทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐานเปิดมาต่อยอดและ
สนับสนุนการดำเนินธุรกิจขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย
2557  จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัท ซีดีจี ไมโครซีสเต็มส์ จำกัด เป็นบริษัท เอ็มเวิร์จ จำกัด เมื่อวันที่
24 มิถุนายน 2557
2558  บริษัทฯ ร่วมมือกับโครงการสตาร์ทอัพของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จด
ทะเบียนจัดตั้งบริษัท อินไซท์เอรา จำกัด (“INSE”) ด้วยทุนจดทะเบียน 12,500,000 บาท เมื่อ
วันที่ 10 สิงหาคม 2558 โดยบริษัทฯ ถือหุ้นจำนวน 600,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 48
ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ INSE เพื่อประกอบธุรกิจด้านพัฒนาระบบ
ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในเชิงพาณิชย์
2560  บริษัทฯ เปิดตัวโซลูชั่น Marketing Technology (MarTech) ในเดือนสิงหาคม 2560 ซึ่งเป็น
เทคโนโลยีที่เชื่อมโยงการตลาดในโลกออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกันโดยใช้เครื่องมือและข้อมูล
Big Data ในการวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อตอบโจทย์การตลาดยุคดิจิทัล
2561  ในเดือนมกราคม INSE ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มบริษัทฯ เปิดตัว “BRIAN” (“ไบรอัน”)
แพลตฟอร์ม 4D Marketing Analytics รายแรกของไทยที่ตอบโจทย์การวิเคราะห์ข้อมูลการ
ตลาดครบทั้ง 4 มิติ ได้แก่ โซเชียลมีเดีย โฆษณาออนไลน์ เว็บไซต์ และการทำ PR
 บริษัทฯ ซื้อหุ้นสามัญของ INSE เพิ่มจำนวน 312,500 หุ้น จากผู้ถือหุ้นเดิมส่งผลให้สัดส่วนการ
ถือหุ้นของบริษัทฯ ใน INSE เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 73.00 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด
2564  บริษัทฯ จดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท เบลนเดต้า จำกัด (“BLD”) เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 ด้วย
ทุนจดทะเบียน 20,000,000 บาท โดยบริษัทฯ ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 100 เพื่อพัฒนา
แพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 7


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

ปี เหตุการณ์ที่สำคัญ
 บริษัทฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิมจำนวน 209,435,330 บาท เป็นจำนวน 375,000,000 บาท
ด้วยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 16,556,467 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท เมื่อวันที่ 8
ตุลาคม 2564 เพื่อรองรับการขยายธุรกิจ
2565  บริษัทฯ จำหน่ายหุ้นสามัญของ BLD จำนวน 99,999 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5 ของ BLD
ให้แก่กรรมการและผู้บริหารของ BLD เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2565 ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้น
ของบริษัทฯ ใน BLD ลดลงเป็นร้อยละ 95.00 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด
 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2565 ได้มีมติอนุมัติให้บริษัทฯ
ดำเนินการ ดังนี้
- แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด
- เปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้จากเดิมหุ้นละ 10 บาท เป็นหุ้นละ 1 บาท
- บริษัทฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนและชำระแล้วจากเดิมจำนวน 375,000,000 บาท เป็นจำนวน
525,000,000 บาท ด้วยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 150,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้น
ละ 1 บาท เพื่อรองรับการขยายธุรกิจ
 บริษัทฯ จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ไซเบอร์จีนิคส์ จำกัด (“CGN”) เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2565
ด้วยทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท โดยบริษัทฯ ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 100 เพื่อประกอบธุรกิจ
ให้บริการด้านระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์
 เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565 ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนใน CGN จากเดิม 1,000,000 บาท เป็น
50,000,000 บาท
 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565 ได้มีมติออนุมัติให้บริษัทฯ
เพิ่มทุนจดทะเบียน เป็นจำนวนเงิน 707,500,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน
182,500,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท ซึ่งมีรายละเอียดการจัดสรรดังนี้
(1) หุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 175,000,000 หุ้น เพื่อเสนอขายต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก
(IPO)
(2) หุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 7,500,000 หุ้น เพื่อเสนอขายให้แก่ ผู้บริหาร และ/หรือพนักงาน
ของบริษัทฯ และบริษัทย่อยตามโครงการ GABLE ESOP ในราคาที่มีส่วนลดร้อยละ 20
ของราคาขายหุ้นสามัญที่ออกใหม่เพื่อเสนอขายให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) โดย
มีอายุโครงการ 3 ปี
 บริษัทฯ และ INSE ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงกับ Grey Thailand Ltd. (Grey NJ) หนึ่ง
ในผู้นำทางด้าน Creative Agency เพื่อร่วมเป็นพันธมิตรในธุรกิจ Tech Media Consultancy
Business
 บริษัทฯ และ BLD ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงกับ บริษัท พีทีที ดิจิตอล โซลูชั่น จำกัด
(PTT Digital) เพื่อศึกษาโอกาศทางธุรกิจในการนำโซลูชั่นทางด้าน Data Analytic เพื่อยก
ระดับศักยภาพทางธุรกิจสำหรับกลุ่มธุรกิจพลังงานและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
 บริษัทฯ ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงกับ ST Engineering Digital Systems Pte. Ltd. ซึ่ง
เป็นบริษัทไอทีชั้นนำที่มีนวัตกรรมที่หลากหลายจากประเทศสิงคโปร์ เพื่อเป็นการร่วมมือในการ
พัฒนาด้านเทคโนโลยีเพื่อต่อยอดธุรกิจใหม่ โดยมุ่งเน้นที่ธุรกิจ 5G, IoT, Cloud, Data &
Analytics และ Cyber Security
2566  ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 ได้มีมติออกและเสนอ
ขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัท ให้แก่ผู้บริหาร (รวมถึงผู้บริหารซึ่งดำรงตำแหน่ง
กรรมการ) และ/หรือพนักงานของบริษัท และ/หรือบริษัทย่อยภายใต้โครงการ ESOP GABLE
ESOP-W1 จำนวนไม่เกิน 7,500,000 หน่วย ที่ราคาเสนอขาย 0 บาทต่อหน่วย โดยใบสำคัญ

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 8


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

ปี เหตุการณ์ที่สำคัญ
แสดงสิทธิฯ 1 หน่วย มีสิทธิซื้อหุ้นสามัญได้ 1 หุ้น ที่ราคาใช้สิทธิเท่ากับส่วนลดร้อยละ 20 ของ
ราคาขายหุ้นสามัญที่ออกใหม่เพื่อเสนอขายให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (Initial Public Offering)
(รายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หัวข้อที่ 1.5
การออกหลักทรัพย์อื่น) รวมทั้งยกเลิกการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 7,500,000 หุ้น ตาม
โครงการ GABLE ESOP และเปลี่ยนแปลงการจัดสรรหุ้นสามัญดังกล่าวเป็นเพื่อการรองรับใบ
สำคัญแสดงสิทธิ GABLE ESOP-W1 แทน

1.1.5 ข้อผูกพันที่บริษัทฯ ให้คำมั่นไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และ/หรือเงื่อนไข


การอนุญาตของสำนักงาน และ/หรือเงื่อนไขการรับหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ (ถ้ามี)
- ไม่มี -
1.2 ลักษณะการประกอบธุรกิจ

บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ประกอบธุรกิจให้บริการโซลูชั่นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและ


ดิจิทัล โดยมุ่งเน้นกลุ่มโซลูชั่นระดับองค์กร (Enterprise Solution and Services) ที่ครอบคลุมเทคโนโลยีที่สำคัญในโลก
ยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 1.โซลูชั่นด้านระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security Solution) 2.โซลูชั่นด้านระบบ
คลาวด์และดาต้าเซ็นเตอร์ (Cloud and Data Center Modernization Solution) 3.โซลูชั่นด้านระบบจัดการข้อมูลและ
การวิเคราะห์ (Data and Analytics Solution) 4.โซลูชั่นด้านธุรกิจดิจิทัล (Digital Business and Application Solution)
5.โซลูชั่นด้านการบริหารจัดการระบบสารสนเทศ (Managed Tech Services Solution) ด้วยความเชี่ยวชาญในการให้
บริการโซลูชั่นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลที่หลากหลาย กลุ่มบริษัทฯ จึงสามารถตอบโจทย์ความต้องการของ
ลูกค้าได้อย่างครบวงจร โดยอาศัยประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในการบูรณาการและนำเสนอโซลูชั่นที่สามารถ
ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในแต่ละกลุ่มธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและสร้างโอกาสในการต่อย
อดทางธุรกิจ โดยการผลักดันและสนับสนุนลูกค้าให้สามารถแข่งขันได้ในยุคปัจจุบัน ช่วยยกระดับธุรกิจให้มีความพร้อม
ที่จะก้าวไปสู่ยุคดิจิทัลในทุกมิติ นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทฯ ยังมีกลุ่มธุรกิจโซลูชั่นที่เป็นตัวแทนจำหน่ายและสร้างมูลค่า
เพิ่ม (Value-added Distribution) เพื่อเสริมความแข็งแกร่งทางธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ โดยบริษัท เฟิร์ส ลอจิก จำกัด
(FLG) บริษัทย่อยของบริษัท ได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจาก Oracle
Corporation (Oracle) และ Veritas Technologies LLC ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก
ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อสร้างความแตกต่างจากผู้ให้บริการโซลูชั่นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล กลุ่ม
บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นภายในองค์กรมาต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และพัฒนาเป็น
ธุรกิจใหม่จนเกิดเป็นกลุ่มธุรกิจบริการซอฟต์แวร์แพลตฟอร์ม (Software Platform) โดยปัจจุบัน มีซอฟต์แวร์
แพลตฟอร์มที่กลุ่มบริษัทฯ เป็นเจ้าของและพร้อมให้บริการแก่ลูกค้าจำนวน 3 แพลตฟอร์ม ดังนี้ 1. แพลตฟอร์มด้าน
การตลาดดิจิทัล (Marketing Technology) แบบครบวงจร 2. แพลตฟอร์มสำหรับจัดการข้อมูล Big Data 3.
แพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการพื้นที่เช่า
ทั้งนี้ บริษัทฯ มีบริษัทย่อย ทั้งหมด 6 บริษัท (ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมหัวข้อ 1.3 โครงสร้างการถือหุ้นของ
กลุ่มบริษัท) ดังนี้
1.2.1 โครงสร้างกลุ่มบริษัทฯ และการประกอบธุรกิจ
บริษัทฯ มีบริษัทย่อย ทั้งหมด 6 บริษัท ดังนี้
บริษัท เฟิ ร์ส ลอจิก จำกัด (“FLG”)
100% ◾ ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจาก Oracle Corporation
และ Veritas Technologies LLC ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก

100%
ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 9
บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

บริษัท เอ็มเวิร์จ จำกัด (“MVG”)


◾ ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการพื้นที่เช่าและโซลูชั่นบริหารระบบงาน
บน Microsoft Power platform
บริษัท เดอะ คอมมูนิเคชั่น โซลูชั่น จำกัด (“TCS”)
◾ ผู้ให้บริการโซลูชั่นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลโดยปัจจุบัน TCS ให้
บริการเฉพาะกลุ่มกับลูกค้าที่ TCS มีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ขายไว้เท่านั้น รวมถึง
เพื่อรองรับแผนการขยายธุรกิจด้าน IoT ในอนาค
บริษัท อินไซท์เอรา จำกัด (“INSE”)
◾ ผู้ให้บริการเทคโนโลยีเพื่อการตลาดดิจิทัล (Marketing Technology) แบบครบวงจร

บริษัท เบลนเดต้า จำกัด (“BLD”)


◾ ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับจัดการข้อมูล Big Data

บริษัท ไซเบอร์จีนิคส์ จำกัด (“CGN”)


◾ ผู้ให้บริการด้านระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 10


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

1.2.2 โครงสร้างรายได้ของกลุ่มบริษัทฯ

ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565


โครงสร้างรายได้
ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ
กลุ่มธุรกิจให้บริการโซลูชั่นระดับองค์กร 3,252.11 62.82 3,232.41 65.45 3,607.23 76.24
(Enterprise Solution and Services)
กลุ่มธุรกิจโซลูชั่นที่เป็นตัวแทนจำหน่ายและ 1,882.98 36.38 1,645.39 33.31 1,051.57 22.23
สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value-added Distribution)
กลุ่มธุรกิจบริการซอฟต์แวร์แพลตฟอร์ม 41.53 0.80 61.27 1.24 72.55 1.53
(Software Platform)
รวมรายได้จากการขายและบริการ 5,176.62 100.00 4,939.07 100.00 4,731.34 100.00

1.2.3 ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการให้บริการ
(1) กลุ่มธุรกิจให้บริการโซลูชั่นระดับองค์กร (Enterprise Solution and Services)
กลุ่มบริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล ซึ่งบริการโซลูชั่นของกลุ่มบริษัทฯ
รวมถึงการให้คำปรึกษา การออกแบบ ติดตั้ง และจัดจำหน่าย ตลอดจนการบริการบำรุงรักษาและบริการอื่นที่เกี่ยวเนื่อง
โดยโซลูชั่นที่กลุ่มบริษัทฯ ให้บริการนั้นครอบคลุมเทคโนโลยีที่สำคัญในโลกยุคดิจิทัล ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มธุรกิจให้
บริการโซลูชั่นระดับองค์กรเป็น 5 กลุ่มโซลูชั่นหลัก ดังนี้
1) โซลูชั่นด้านระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ : Cyber Security Solution
การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจในปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องและต้องอาศัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาก
ขึ้นไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารในองค์กรหรือการทำธุรกรรมติดต่อกับลูกค้า ในขณะเดียวกันอัตราการเกิดอาชญากรรมทาง
ไซเบอร์และการจารกรรมข้อมูลสำคัญขององค์กรและหน่วยงานต่างๆ จะมีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้นไปใน
ทิศทางเดียวกัน องค์กรและหน่วยงานต่างๆ จึงให้ความสำคัญกับความมั่นคงและปลอดภัยทางไซเบอร์มากยิ่งขึ้น
โดยกลุ่มบริษัทฯ ให้บริการโซลูชั่นด้านระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบครบวงจร (End-to-End Services)
ครอบคลุมตั้งแต่การศึกษาความต้องการของลูกค้า การออกแบบ และคัดสรรเทคโนโลยี หรือโซลูชั่นจากพันธมิตรที่เป็น
เจ้าของผลิตภัณฑ์ด้านการป้องกันระบบสารสนเทศที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น Palo Alto, Check Point, Fortinet,
Splunk, CrowdStrike, Imperva, McAfee และ CyberArk เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีทีมงานที่มีประสบการณ์และ
ความเชี่ยวชาญในด้าน Cyber Security ที่พร้อมให้บริการ รวมทั้งปรับปรุงระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้เหมาะ
กับโครงสร้างระบบสารสนเทศของลูกค้าแต่ละราย ซึ่งโซลูชั่นด้านระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ของกลุ่มบริษัทฯ มี
บริการที่สำคัญดังนี้
1.1 Security Consulting Services : บริการให้คำปรึกษาด้าน IT Security ซึ่งช่วยลูกค้าในการ
ประเมิน รวบรวมข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ รวมทั้งจัดทำรายงานผลการวิเคราะห์และข้อแนะนำในด้านต่างๆ ตามหลัก
มาตรฐานสากลของ NIST Cybersecurity Framework ซึ่งเผยแพร่โดยสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติของ
สหรัฐอเมริกา (National Institute of Standards and Technology: NIST) เพื่อเป็นแนวทางในการยกระดับการรักษา
ความมั่นคงปลอดภัยที่มีอยู่ ให้ครอบคลุมระบบงานหลักด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทั้ง 5 ด้าน ซึ่งได้แก่
◾ การระบุความเสี่ยง (Identify) การทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมของลูกค้า สินทรัพย์ด้าน
ไอทีและความเสี่ยงที่ลูกค้ามี
◾ การป้ องกัน (Protect) การหาแนวทางที่เหมาะสมในการปกป้องความปลอดภัยของลูกค้า
ในด้านต่างๆ
◾ การตรวจจับ (Detect) การเฝ้าระวังและตรวจจับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 11


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

◾ การตอบสนอง (Response) การดำเนินการเพื่อลดผลกระทบหรือจำกัดความเสียหายให้


อยู่ในวงแคบเมื่อพบภัยคุกคามอย่างทันท่วงที
◾ การกู้คืน (Recover) การกู้คืนระบบขึ้นมาให้บริการตามปกติได้อย่างรวดเร็วภายใต้เวลาที่
กำหนดและหลักการบริหารความเสี่ยงขององค์กร
1.2 IT Infrastructure Protection : โซลูชั่นด้านการปกป้องความปลอดภัยของระบบโครงสร้างพื้น
ฐานด้านไอที ด้วยการตรวจสอบและป้องกันภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นในระบบเครือข่ายขององค์กรก่อนเข้าถึงระบบอื่นๆ
ที่สำคัญ เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงระบบเครือข่ายและข้อมูลขององค์กรจากช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะ
เป็นระบบอินเทอร์เน็ต หรือการเข้า-ออกระบบเครือข่ายด้วยช่องทางอื่น รวมถึงการตรวจจับพฤติกรรมที่ผิดปกติของผู้
ใช้เพื่อป้องกันระบบจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทั้งในส่วนที่เป็นซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์
ไม่ว่าจะเป็น Firewall, VPN, Web App Firewall, Secure Gateway เป็นต้น
1.3 Cloud Security Protection : โซลูชั่นด้านการปกป้องความปลอดภัยของระบบคลาวด์ ด้วยการ
เฝ้าระวังระบบที่อยู่ในโครงสร้างคลาวด์ และการป้องกันภัยคุกคามของระบบคลาวด์ด้วยการกำหนดสิทธิการเข้าถึงของ
ผู้ใช้งานคลาวด์ให้สอดคล้องกับระดับการเข้าถึงที่อนุญาตไว้ ตลอดจนทำการวิเคราะห์และควบคุมมาตรฐานความ
ปลอดภัยให้ตรงตามที่องค์กรกำหนดไว้ ด้วยเทคโนโลยี Cloud Security Posture Management (CSPM) ซึ่งเป็น
เทคโนโลยีที่ช่วยในการบริหารปริมาณงาน (workload) และการประมวลผลข้อมูลบนระบบคลาวด์โดยอัตโนมัติ โดย
ระบบจะทำการแจ้งเตือนเมื่อระบบมีความเสี่ยงจากปริมาณงานหรือการใช้งานบริการต่างๆ ที่สูงผิดปกติ
นอกจากนี้ ยังรวมถึงโซลูชั่นสำหรับการบริหารจัดการนโยบายความปลอดภัยของระบบคลาวด์
(Policy enforcement) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานในองค์กร และระบบคลาวด์ แทนการที่ผู้
ใช้งานดำเนินการโดยตรงบนระบบคลาวด์ ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดระบบชั้นของการเข้าถึงข้อมูล รวมถึงการ
เข้ารหัสข้อมูลที่สำคัญที่ทำงานอยู่ในระบบคลาวด์ รวมถึงการติดตามการใช้งานต่างๆ บนระบบคลาวด์ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
1.4 Application Security : โซลูชั่นด้านการปกป้องความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน ด้วยการตรวจ
สอบเพื่อหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาแอปพลิเคชันก่อนที่จะนำไปใช้งานจริง โดยกลุ่มบริษัทฯ ให้บริการ
ตรวจหาช่องโหว่ด้านความความปลอดภัย (Vulnerability Assessment) ซึ่งเป็นการประเมินโอกาสที่แอปพลิเคชันจะถูก
เจาะระบบความปลอดภัยด้วยการโจมตีรูปแบบต่างๆ เพื่อให้คำแนะนำในการปิดช่องโหว่เหล่านั้น รวมถึงการทำแบบ
จำลองด้วยการทดสอบเจาะระบบ (Penetration Test) โดยผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการอบรมเป็นพิเศษ เพื่อค้นหาจุดอ่อนใน
การเข้าถึงระบบและจัดทำเป็นรายงานเพื่อให้คำแนะในการพัฒนนาระบบความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน
1.5 Data Security : โซลูชั่นด้านการปกป้องความปลอดภัยของข้อมูล เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลที่
สำคัญขององค์กรรั่วไหล ซึ่งรวมถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายพระราช
บัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (Personal Data Protection Act : PDPA) โดยอาศัยเทคโนโลยีการเข้า
รหัสข้อมูล (Data Encryption) ในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลสำคัญได้รับการคุ้มครองและผู้ที่สามารถใช้
ข้อมูลจะต้องเป็นผู้ที่มีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวเท่านั้น
นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทฯ ยังมีโซลูชั่นด้านการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล (Data Loss
Prevention : DLP) ซึ่งช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถคัดกรองและตรวจสอบพฤติกรรมน่าสงสัยที่เกิดขึ้นกับข้อมูล อีกทั้ง
ช่วยติดตามการใช้งานและการรับส่งข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยระบบจะจะช่วยกำหนดสิทธิการเข้าถึง รวม
ถึงการรายงานให้ทราบถึงสถานะและรูปแบบการใช้ข้อมูลโดยหากมีพฤติกรรมการใช้งานที่น่าสงสัย ผู้ดูแลระบบก็จะ
สามารถยับยั้งการใช้ การคัดลอก และการส่งออกข้อมูล ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงให้กับองค์กรในกรณีที่ถูกโจรกรรมข้อมูล
1.6 Endpoint Security and User Access Management : โซลูชั่นด้านการปกป้องความ
ปลอดภัยของผู้ใช้และอุปกรณ์ปลายทาง (End Point) โดยกลุ่มบริษัทฯ มีโซลูชั่นเกี่ยวกับการติดตามพฤติกรรมที่ผิด
ปกติ ของผู้ใช้งานและอุปกรณ์ปลายทาง รวมถึงการตรวจสอบและจัดเก็บข้อมูลการใช้งานด้วยระบบการแจ้งเตือน

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 12


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

อัตโนมัติเมื่อตรวจพบพฤติกรรมต้องสงสัย (Endpoint detection and response : EDR) เพื่อให้ทีมงานด้านความ


ปลอดภัยสามารถเข้าจำกัดบริเวณ ตรวจสอบ และจัดการแก้ปัญหาด้านความปลอดภัยได้ทันท่วงที ตลอดจน
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบบุคคลผู้ใช้งาน เช่น Single-Sign-On หรือ Multi-Factor Authentication เพื่อให้
สามารถมั่นใจได้ว่าผู้ใช้งานอุปกรณ์เป็นผู้ใช้งานจริงที่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ ยังรวมถึงซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับระบบ
aniti-virus ต่างๆ ที่ช่วยปกป้องความปลอดภัยในการใช้งานอุปกรณ์
1.7 Security Event Monitoring and Managed Services : บริการ Managed Service ด้านความ
ปลอดภัยทางไซเบอร์โดยเฉพาะ ซึ่งอาศัยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของทีมงาน โดยมีขั้นตอนในการให้บริการ
ตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 27001 เพื่อช่วยลูกค้าในการเฝ้าระวัง ตรวจจับและตอบโต้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ รวมถึง
การจัดการกับภัยคุกคามหรือเหตุผิดปกติที่เกิดขึ้นทันทีหลังตรวจพบ พร้อมแจ้งเตือนและให้คำแนะนำแก่องค์กรเพื่อ
ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุดังกล่าวซ้ำอีกในอนาคต โดยการให้บริการจะเป็นไปตามข้อตกลงกับลูกค้าภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้
(Service Level Agreement : SLA) ไม่ว่าจะเป็นบริการศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Security
Operations Center :SOC) หรือ บริการอื่นๆ
2) โซลูชั่นด้านระบบคลาวด์และดาต้าเซ็นเตอร์ : Cloud and Data Center Modernization Solution
ปัจจุบันข้อมูลสารสนเทศขององค์กรต่างๆ มีปริมาณมากขึ้น และมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดยการ
บริหารจัดการข้อมูลถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน องค์กรส่วนใหญ่จึงหันมาให้ความสำคัญ
และปรับปรุงเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยพัฒนาจากระบบดาต้าเซ็นเตอร์ (Data Center) ที่มีอยู่
ให้ทันสมัยหรือที่เรียกว่า Data Center Modernization โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคลาวด์ ร่วมกับระบบดาต้า
เซ็นเตอร์ที่มีอยู่เดิม ซึ่งจะช่วยเพิ่มความปลอดภัย ลดต้นทุนการบริหารจัดการ รวมถึงเพิ่มความคล่องตัวในการขยาย
ธุรกิจได้ในเวลาที่รวดเร็ว
บริการโซลูชั่นด้านระบบคลาวด์และดาต้าเซ็นเตอร์ของกลุ่มบริษัทฯ ครอบคลุมตั้งแต่การให้คำปรึกษา
การออกแบบระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ตอบสนองความต้องการตามงบประมาณขององค์กร รวมไปถึงบริการติดตั้งและ
ดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีความเสถียรภาพ (Sustainability) และสามารถตอบสนองต่อการขยายตัวของธุรกิจได้
ตามความต้องการ (Scalability) โดยอาศัยทีมงานของกลุ่มบริษัทฯ ที่มีความเชี่ยวชาญทั้งระบบดาต้าเซ็นเตอร์ในองค์กร
(On-Premise) และระบบคลาวด์ (On-Cloud) ควบคู่ไปกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกของพันธมิตรธุรกิจ
ต่างๆ เช่น Dell Technologies, Oracle, Cisco Systems, Huawei, Red Hat, Amazon Web Services, HP Enterprise,
Veritas, Delta, Nutanix, Alcatel-Lucent, VMWare, Genesys, F5 Networks, Juniper Networks และ Microsoft
เป็นต้น ทั้งนี้ บริการโซลูชั่นด้านระบบคลาวด์และดาต้าเซ็นเตอร์ของกลุ่มบริษัทฯ ครอบคลุมบริการต่างๆ ดังนี้
1.8 Backup Recovery and Archiving : โซลูชั่นระบบสำรองข้อมูล (Backup) และระบบการจัด
เก็บข้อมูลเพื่อการสืบค้นย้อนหลัง (Archiving) โดยการออกแบบระบบการจัดเก็บข้อมูลให้สอดคล้องกับความต้องการ
ในการเรียกใช้ข้อมูล และนโยบายการรักษาข้อมูลขององค์กร รวมถึงการติดตั้งระบบสำรองข้อมูลฉุกเฉิน (Disaster
Recovery) เพื่อให้ข้อมูลของระบบสารสนเทศมีเสถียรภาพและพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา ไม่เกิดการหยุดชะงัก และ
สามารถมั่นใจได้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ระบบหลักเกิดความเสียหาย ระบบงานที่สำรองไว้จะต้องสามารถทำงานทดแทน
ระบบหลักได้ภายในเวลาที่องค์กรกำหนด
1.9 Infrastructure Workload Optimization : ระบบการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานของระบบ
สารสนเทศโดยการผสมผสานเทคโนโลยีคลาวด์และดาต้าเซ็นเตอร์ เพื่อทำให้ระบบปฏิบัติงานหลักขององค์กร (Core
Application) สามารถตอบสนองปริมาณการใช้งานในช่วงเวลาต่างๆ ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด และมีความยืดหยุ่นใน
การปรับเปลี่ยนสมรรถนะของระบบ (System Capacity) ให้เหมาะสมกับปริมาณการใช้งานในแต่ละขณะได้โดยอัตโนมัติ
1.10 Branch Transformation : ระบบการควบคุมและบริหารจัดการการเชื่อมต่อของสาขาเพื่อให้
สาขาที่ตั้งอยู่ตามสถานที่ต่างๆ สามารถเชื่อมต่อระบบกับดาต้าเซ็นเตอร์ หรือคลาวด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ
ปลอดภัย โดยสามารถบริหารการประมวลผลข้อมูลในระบบเครือข่ายได้ตามลำดับความสำคัญของธุรกิจ รวมถึงระบบ

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 13


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

รักษาความปลอดภัยเพื่อปกป้องข้อมูลและอุปกรณ์ในขณะเชื่อมต่อ ซึ่งสามารถกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยใน
เชิงลึก เช่น การระบุยืนยันตัวตนผู้ใช้งาน ซึ่งเหมาะสำหรับองค์กรที่มีสาขาและบริษัทในเครือที่กระจายอยู่หลายแห่ง
1.11 Cloud Enablement : บริการที่ช่วยสนับสนุนลูกค้าในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคลาวด์ในรูป
แบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการระบบคลาวด์ภายในดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กร (Private Cloud) หรือ ระบบคลา
วด์ที่บริหารจัดการโดยผู้ให้บริการคลาวด์ (Public Cloud) เช่น AWS, Azure, Google Cloud เป็นต้น รวมถึงการใช้
เทคโนโลยีคลาวด์ในรูปแบบผสมผสาน (Hybrid Cloud) โดยบริการของกลุ่มบริษัทฯ ครอบคลุมตั้งแต่ให้คำปรึกษาในการ
ออกแบบระบบโครงสร้างพื้นฐานของคลาวด์ แนะนำรูปแบบการเชื่อมต่อระบบคลาวด์ที่เหมาะสม เพื่อช่วยเหลือให้องค์กร
สามารถเริ่มต้นเข้าสู่เทคโนโลยีคลาวด์ได้อย่างเป็นลำดับ รวมถึงบริการเคลื่อนย้ายระบบงานเดิมมาที่ระบบคลาวด์ (Cloud
Migration) โดยมีกระบวนการในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานแบบอัตโนมัติ รวมถึงบริการตรวจสอบหลังการโอนย้ายระบบ
ไปยังระบบคลาวด์ เพื่อให้องค์กรมั่นใจว่าระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.12 Application Development Platform : บริการสร้างแพลตฟอร์มที่รวบรวมเครื่องมือที่จำเป็น
สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน เพื่อช่วยให้ทีมงานสามารถพัฒนาแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็วและมี
ประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการปรับเปลี่ยนโค้ด หรือการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการทดสอบการใช้
งาน การแก้ปัญหาจากการใช้งาน ตลอดจนการผสานการทำงานในแต่ละขั้นตอนระหว่างทีมพัฒนา และทีมปฏิบัติการ
ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถขององค์กรในการพัฒนาแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็ว และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกลุ่มบริษัทฯ มีเทคโนโลยีและเครื่องมือทั้งในรูปแบบ On-Premise และ On-Cloud เช่น
DevOps, DevSecOps Tools, Container Management, Microservice Tools เป็นต้น

1.13 Contact Center Solution : ระบบการบริหารจัดการศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งสามารถ


รองรับการติดต่อสื่อสารของลูกค้าจากหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อผ่านทางระบบโทรศัพท์ (Voice)
หรือช่องทางสื่อสารอื่น (Non-voice) ทั้งในรูปแบบการตอบข้อความ อีเมล และ Social Media ซึ่งสามารถเชื่อมต่อ
ระบบทั้งหมดเข้าด้วยกันกับระบบงานเดิมที่มีอยู่ขององค์กรด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สามารถทำงานได้ทั้ง On-
Cloud หรือ On-Premise รวมถึงสามารถติดตั้งระบบตอบรับอัตโนมัติในรูปแบบ Voicebot และ Chatbot เพื่อลด
ปริมาณงานที่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ในการดำเนินการ และสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่สามารถดูแลลูกค้าได้อย่างทั่วถึงและมี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1.14 Digital Workplaces Solution : ระบบสนับสนุนการทำงานรูปแบบใหม่ในยุค New Normal
เพื่อรองรับรูปแบบการทำงานที่มีความยืดหยุ่น และอำนวยความสะดวกให้พนักงานสามารถทำงานได้จากทุกสถานที่
และทำงานร่วมกันได้โดยง่าย เช่น การประชุมทางไกล (Virtual Meeting) การบริหารจัดการงาน เช่น การแชร์ไฟล์
ข้อมูล และการแก้ไขเอกสารร่วมกันแบบเรียลไทม์ ตลอดจนระบบการจัดเก็บเอกสารแบบรวมศูนย์ ซึ่งทำให้สามารถรับ
รู้สถานะของแต่ละงานได้แบบเรียลไทม์ และสามารถรองรับการทำงานได้จากหลากหลายอุปกรณ์ เช่น เครื่อง
คอมพิวเตอร์ Notebook หรือ Smart Device
3) โซลูชั่นด้านระบบจัดการข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล : Data and Analytics Solution

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 14


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

หลายปีที่ผ่านมาองค์กรส่วนใหญ่ตระหนักถึงทรัพย์สินอันมีค่าที่องค์กรมีอยู่ อันได้แก่ “ข้อมูล” และเริ่ม


นำข้อมูลปริมาณมหาศาลที่มีอยู่ภายในองค์กร อาทิ ข้อมูลจากการดำเนินงาน ข้อมูลจากการทำธุรกรรมมาวิเคราะห์
เพื่อใช้ในการตัดสินใจหรือกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาฐานลูกค้าเดิม การหาลูกค้า
ใหม่ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม หลายองค์กรกำลังเผชิญกับความ
ท้าทายจากปริมาณข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งความหลากหลายของข้อมูล การมีข้อมูลที่ซ้ำซ้อน และความไม่
สอดคล้องกันของข้อมูลซึ่งล้วนส่งผลต่อคุณภาพ ความแม่นยำ และความถูกต้องของการนำข้อมูลไปใช้ กลุ่มบริษัทฯ
จึงเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวและได้พัฒนาบริการและโซลูชั่นด้านระบบจัดการข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล โดย
พัฒนาองค์ความรู้และรูปแบบการให้บริการในรูปแบบต่างๆ ควบคู่ไปกับประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก เช่น
Cloudera, Databricks, Informatica, Tableau, Alteryx และ Microsoft Power BI เป็นต้น โดยกลุ่มบริษัทฯ มีการ
ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลแบบครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่การทำความเข้าใจความ
ต้องการขององค์กร การออกแบบโครงสร้างระบบฐานข้อมูล และการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ตลอดจนบริการ
ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและนำข้อมูลเข้าระบบให้แก่ลูกค้า รวมถึงการอบรมการใช้งานและบริการ
บำรุงรักษาเพื่อให้ระบบใช้งานได้ตลอดเวลา เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจและสามารถนำข้อมูลที่เกิดขึ้นในองค์กรไปใช้สร้าง
ประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างเต็มที่ ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน การแก้ปัญหาทางธุรกิจ ตลอด
จนการคาดการณ์ข้อมูล เพื่อพัฒนาต่อยอดธุรกิจ ซึ่งโซลูชั่นของกลุ่มบริษัทฯ ประกอบไปด้วย
1.15 Data Platform : บริการออกแบบและสร้างแพลตฟอร์มสำหรับจัดเก็บข้อมูล ซึ่งรวมถึงการ
กำหนดรูปแบบโครงสร้างของการจัดเก็บข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลต่างๆ ถูกรวบรวมและจัดเก็บในรูปแบบที่ถูกต้องเพื่อให้
สามารถนำใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ เช่น Data Lake, Data Warehouse, Big Data
เป็นต้น
1.16 Data Management : บริการในการบริหารจัดการข้อมูลอย่างครบวงจร เพื่อให้ข้อมูลของลูกค้ามี
ความถูกต้อง ปลอดภัย และสามารถนำไปใช้งานได้จริง โดยบริการของกลุ่มบริษัทฯ มีดังนี้
 Data Transformation : การแปลงข้อมูลที่มีรูปแบบหลากหลาย ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่รวมมา
จากหลายแหล่งข้อมูลให้มีโครงสร้างหรือรูปแบบที่ตามที่ต้องการ
 Data Cleansing : การตรวจสอบ และคัดกรองข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือข้อมูลที่ไม่จำเป็นออก
จากชุดข้อมูลที่จะใช้ในการวิเคราะห์หรือประมวลผล รวมถึงการจัดรูปแบบข้อมูลให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ชุด
ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ ถูกต้อง และพร้อมสำหรับนำไปใช้ในการวิเคราะห์
 Data Glossary and Catalogue : การจัดกลุ่มข้อมูลตามนิยามของธุรกิจและการจัดหมวด
หมู่ให้เหมาะกับการเรียกใช้ข้อมูล
 Data Governance : การกำหนดขั้นตอนและนโยบายในการบริหารจัดการการข้าถึงข้อมูล
รวมถึงการให้คำแนะนำในการกำหนดโครงสร้าง หรือจัดตั้งหน่วยงานเพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลข้อมูลภายในองค์กรเพื่อ
ให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล
1.17 Modern Business Intelligence & Visualization : ระบบที่ช่วยในการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จาก
การประมวลผลข้อมูลในรูปแบบ Dashboard หรือรายงานทางธุรกิจ (Business Intelligence) ด้วยการนำเสนอข้อมูลใน
รูปแบบกราฟและแผนภาพ (Diagram) ที่เหมาะสมกับข้อมูลแต่ละประเภท ช่วยให้สามารถวิเคราะห์และตัดสินใจ รวม
ถึงสื่อสารข้อมูลกับผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน
1.18 Advanced Data Analytics : โซลูชั่นการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงหรือ Advanced Analytics
เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างโมเดลทางสถิติด้วยเทคโนโลยี Data Science และ Machine Learning ในการ
จำลองสถานการณ์และคาดการผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่องค์กรในการบริหารจัดการ วางแผน และตัดสิน
ใจเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจในอนาคต โดยกลุ่มบริษัทฯ มีทีมงานนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ที่มีความ
เข้าใจในธุรกิจเพื่อช่วยวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างแบบจำลองข้อมูล (Data Model) ที่เหมาะกับธุรกิจในหลากหลาย

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 15


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

อุตสาหกรรม เช่น การทำ Personalization & Recommendation, Customer segmentation, Late payment
prediction, Product analysis & prediction เป็นต้น
4) โซลูชั่นด้านธุรกิจดิจิทัล : Digital Business and Application Solution
ในโลกยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ ตลอดจน
พฤติกรรมของผู้บริโภค ส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องมีการปรับตัวเพื่อให้ทันต่อกระแสของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ด้วย
การนำดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการ
ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ทั้งในภาคการผลิต การขนส่ง การขาย และการบริการ
กลุ่มบริษัทฯ ให้บริการโซลูชั่นด้านธุรกิจดิจิทัล โดยอาศัยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญใน
อุตสาหกรรมเทคโนโลยีและดิจิทัล ส่งผลให้กลุ่มบริษัทฯ เข้าใจถึงปัญหาและความต้องการของธุรกิจในหลากหลาย
อุตสาหกรรม ผ่านการทำงานควบคู่กับลูกค้าในฐานะพันธมิตรในลักษณะการประสานจุดแข็งด้านธุรกิจของลูกค้าเข้ากับ
จุดแข็งด้านเทคโนโลยีของกลุ่มบริษัทฯ โดยการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อตอบโจทย์ทางธุรกิจของลูกค้า โดยมุ่ง
เน้นการพัฒนาซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มที่ออกแบบให้เหมาะกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ส่งผลให้
กลุ่มบริษัทฯ สามารถประยุกต์ใช้แพลตฟอร์มกับลูกค้าในอุตสาหกรรมนั้นๆ ซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการพัฒนาให้กับลูกค้า
แต่ละราย โดยกลุ่มบริษัทฯ มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจในธุรกิจแต่ละประเภทและทีมนักพัฒนาที่พร้อมให้คำปรึกษา
วางแผนร่วมกับลูกค้าในการออกแบบ ปรับแต่ง และติดตั้งระบบ รวมถึงการทดสอบระบบ และฝึกอบรมการใช้งาน เพื่อ
ให้ลูกค้าสามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ตลอดจนบริการบำรุงรักษาระบบและบริการหลังการขายแบบครบวงจร
โดยปัจจุบันโซลูชั่นด้านธุรกิจดิจิทัลที่กลุ่มบริษัทฯ ให้บริการมีรายละเอียดดังนี้
1.19 Digital Insurance : บริการดิจิทัลโซลูชั่นสำหรับธุรกิจประกันภัยโดยการประยุกต์ใช้
เทคโนโลยีเพื่อเสริมการดำเนินงานของธุรกิจ เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น โดย
ระบบจะประกอบไปด้วยฟังก์ชันที่ครอบคลุมขั้นตอนการทำงานที่สำคัญในธุรกิจประกันวินาศภัย (Non-life Insurance)
ด้วยการเชื่อมต่อการส่งข้อมูลแบบ Real Time ตั้งแต่กระบวนการออกกรมธรรม์ การสลักหลัง การต่ออายุกรมธรรม์ ไป
จนถึงขั้นตอนการชำระเบี้ยประกันและการคำนวณภาษี ผู้ใช้งานสามารถดูรายงานสถานะของแต่ละขั้นตอนได้ทันที
และยังถูกพัฒนาเพื่อให้การทำงานรองรับและสอดคล้องตามข้อกำหนดของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และสามารถ
รองรับการทำงานธุรกิจประกันวินาศภัยในหลายรูปแบบ เช่น ประกันรถยนต์ ประกันอัคคีภัย ประกันการเดินทาง
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล และประกันขนส่งทางทะเล เป็นต้น นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทฯ ยังมีการพัฒนาระบบเสริมเพื่อ
สนับสนุนการดำเนินงานสำหรับกลุ่มธุรกิจประกันภัย ได้แก่ ระบบการจัดการงานขายสำหรับตัวแทนการขายหรือ
พนักงานขาย และระบบวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกด้านประกันภัย เป็นต้น
1.20 Digital Lending : บริการดิจิทัลโซลูชั่นสำหรับธุรกิจสินเชื่อ โดยการนำเทคโนโลยีมาช่วยให้
สามารถนำเสนอสินค้าและบริการแก่ผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น ด้วยระบบสินเชื่อออนไลน์แบบครบวงจร (Digital Lending
solution) ซึ่งสามารถใช้บริการได้ผ่านบราวเซอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ โดยระบบประกอบไปด้วยฟังก์ชันสนับสนุนทาง
ธุรกิจที่สำคัญ อาทิ ระบบเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการอนุมัติสินเชื่อเต็มรูปแบบ ระบบเช่าซื้อและลิสซิ่ง ระบบการ
ประเมินความเสี่ยงในการให้กู้ยืมสินเชื่อส่วนบุคคล และเครื่องมือที่สามารถชี้วัดความน่าจะเป็นในการชำระคืนหนี้
1.21 Appraisal System : โซลูชั่นสำหรับประเมินราคาทรัพย์สิน โดยการนำระบบข้อมูลสารสนเทศ
ภูมิศาสตร์มาช่วยในการทำงานด้วยประมวลข้อมูลทำเลที่ตั้งผ่านระบบแผนที่ที่มีความละเอียด รวมทั้งมีข้อมูลลักษณะ
พื้นที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่สาธารณะ พื้นที่ป่าสงวน พื้นที่จัดสรร และสนามบิน ทำให้ทราบข้อจำกัดหรือ ข้อได้
เปรียบของทรัพย์สินเบื้องต้น ช่วยลดเวลาในการประเมินทรัพย์สิน รวมทั้งเกิดความชัดเจนและความโปร่งใสในการ
ประเมินราคา นอกจากนี้ ยังมีระบบสนับสนุนการทำงานสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ออกหน้างานและผู้ประเมินราคาทรัพย์สิน
1.22 Education Solution : โซลูชั่นระบบบริหารการศึกษา (EdTech Management Solution) เพื่อ
เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของสถาบันการศึกษาอย่างครบวงจร โดยมีระบบสนับสนุนการจัดการศึกษาที่มีความ
ยืดหยุ่น และสามารถออกแบบการเรียนการสอนได้ตามความต้องการของผู้เรียน รวมทั้งระบบสนับสนุนการบริหาร

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 16


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

จัดการและดำเนินงานของสถาบันการศึกษาครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการรับสมัคร การลงทะเบียนเรียน การประเมินผล


จนถึงกระบวนการจบการศึกษา
1.23 Digital Business Operation : โซลูชั่นสำหรับส่วนงานสนับสนุนภายในองค์กรเพื่ออำนวย
ความสะดวกต่อผู้ใช้งาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการทำงานใน
ขั้นตอนต่างๆ ให้องค์กรสามารถเปลี่ยนผ่านรูปแบบการทำงานสู่รูปแบบดิจิทัล (Digital Transformation) ทำให้สามารถ
ลดต้นทุน ค่าใช้จ่าย และเวลาในการทำงาน รวมทั้งลดการใช้ทรัพยากร เพื่อปรับตัวไปสู่ธุรกิจ Net Zero Emission โดย
มีระบบงานและบริการต่างๆ อาทิ ระบบบริหารจัดการเอกสาร และโซลูชั่นเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถปฏิบัติตามข้อ
กำหนดของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เป็นต้น
1.24 Cloud Native Application Development : บริการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันภายใต้
แนวคิด “Bring your digital product idea alive” เพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจสามารถพัฒนารูปแบบการทำงาน หรือส่ง
มอบบริการในรูปแบบบดิจิทัลเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยกลุ่มบริษัทฯ มีทีมงานที่มีความ
เชี่ยวชาญซึ่งใช้หลักการ Aglie, DevOps และ Quality-Focus ช่วยให้สามารถพัฒนาส่งมอบแอปพลิเคชันได้ตามระยะ
เวลาที่วางแผนไว้ รวมถึงองค์กรสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และจัดลำดับความสำคัญในการพัฒนา
แอปพลิเคชันเพื่อตอบโจทย์ทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสม
1.25 Application Transformation : บริการสำหรับองค์กรที่ต้องการปรับเปลี่ยนแอปพลิเคชันให้มี
ความทันสมัยทั้งในด้านโครงสร้างสถาปัตยกรรม และกระบวนการพัฒนาเพื่อให้สามารถรองรับเทคโนโลยีการพัฒนา
แอปพลิเคชันในอนาคต รวมทั้งเพื่อให้การพัฒนาแอปพลิเคชันสามารถตอบสนองความต้องการใหม่ๆ ได้รวดเร็วขึ้น
ตลอดจนการปรับเปลี่ยนแอปพลิเคชันให้ทันสมัย และการย้ายระบบงานปัจจุบันไปบนระบบคลาวด์ เป็นต้น โดยกลุ่ม
บริษัทฯ ให้บริการในการปรับปรุงแอปพลิเคชันอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งรวมถึงการพิจารณาถึงผลกระทบทางธุรกิจที่อาจ
เกิดขึ้นระหว่างการปรับปรุงพร้อมแผนรับมือ และแผนสำรองกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด
1.26 Quality Assurance and Assistance : บริการตรวจสอบเชิงคุณภาพของแอปพลิเคชันอย่างครบ
วงจร ด้วยหลักการที่มีลูกค้าและผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้คำแนะนำแก่ทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ของลูกค้าในการดำเนินการ
ปรับปรุงให้แอปพลิเคชันมีคุณภาพและตอบโจทย์ธุรกิจขององค์กรก่อนถึงมือผู้ใช้งานจริงโดยมีรายละเอีย ดังนี้
 Test Strategy & Management บริการช่วยองค์กรในการพัฒนากลยุทธ์ด้านการทดสอบ
ระบบที่เหมาะสมกับความต้องการทางธุรกิจ
 Functional Testing & Non-functional Testing บริการช่วยทดสอบระบบทั้งในส่วนของ
การทดสอบการทำงานเพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบสามารถทำงานตรงตามความต้องการที่กำหนด รวมถึงการทดสอบ
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานภายใต้สถานการณ์ต่างๆ
 Test Automation บริการด้านการทดสอบแบบอัตโนมัติเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของ
แอปพลิเคชัน โดยการใช้เทคโนโลยีในการสนับสนุนการทดสอบในรูปแบบที่ต้องทำซ้ำและต่อเนื่อง เพื่อลดปริมาณงาน
และลดความผิดพลาดในการทดสอบแอปพลิเคชัน รวมถึงสามารถจัดทำรายงานผลการทดสอบที่มีความเสถียรและ
แม่นยำ ได้อย่างรวดเร็ว
 Cloud Migration Testing บริการในการตรวจสอบ และทดสอบ การย้ายแอปพลิเคชัน
ขององค์กรขึ้นสู่ระบบคลาวด์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ใช้งานได้จริง และมีความต่อเนื่อง
โดยธุรกิจไม่หยุดชะงัก
5) โซลูชั่นด้านการบริหารจัดการระบบสารสนเทศ : Managed Tech Services Solution
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจมากยิ่งขึ้น
ในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ การนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการอย่างรวดเร็ว การให้บริการที่ต่อ
เนื่องและมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งองค์กรต่างๆ ต้องเผชิญ

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 17


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

กับปัญหาในการบริหารจัดการระบบสารสนเทศ (IT Operation Management) ในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทักษะ


ของบุคลากร IT ให้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป การสรรหาบุคลากรให้สอดคล้องกับปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้น
ตลอดจนการเผชิญกับกระบวนการทำงานที่ยุ่งยากและซับซ้อน และการบริหารงบประมาณที่จำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์
สูงสุด ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลให้ทีมงานสารสนเทศในองค์กรไม่สามารถดำเนินการตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้
กลุ่มบริษัทฯ จึงได้พัฒนาบริการและโซลูชั่นทางด้าน Managed Tech Services แบบครบวงจร
(End-to-End Managed Tech Service) เพื่อสนับสนุนลูกค้าในการบริหารจัดการระบบสารสนเทศ ให้สามารถใช้
ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยอาศัยทีมงานคุณภาพของกลุ่มบริษัทฯ ที่มีความรู้
เรื่องเทคโนโลยีในด้านต่างๆ เป็นอย่างดี ควบคู่ไปกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก เช่น BMC Software,
Dynatrace, ManageEngine และ UiPath เป็นต้น นอกจากนี้ ทีมงานที่ให้บริการจะทำงานในลักษณะเชิงรุกโดยมอง
หาปัญหาที่มีโอกาสเกิดขึ้นแล้วทำการแก้ไขหรือแจ้งเตือนล่วงหน้า (Proactive Monitoring) รวมถึงการนำสิ่งที่เกิดขึ้น
มาเป็นบทเรียนในการพัฒนาให้ดีขึ้นตลอดเวลา (Continuous Improvement) โดยมุ่งเน้นความพึงพอใจและการสร้าง
ประสบการณ์ที่ดีให้กับองค์กรที่ใช้บริการ โดยโซลูชั่นด้านการบริหารจัดการระบบสารสนเทศที่กลุ่มบริษัทฯ นำเสนอ
ครอบคลุมบริการต่างๆ ดังนี้

1.1 Endpoint Operation : บริการที่ช่วยบริหารจัดการอุปกรณ์ปลายทางของผู้ใช้งานเช่น


คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เคลื่อนที่ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากการใช้งาน ทั้งทาง
ด้านเทคนิค และความปลอดภัย เช่น ระบบซอฟต์แวร์สำหรับป้องกันไวรัส การปรับปรุงระบบงานให้มีความทันสมัยอยู่
ตลอดเวลา การปิดช่องโหว่ในอุปกรณ์ต่างๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจของลูกค้า รวมถึง
กระบวนการต่างๆ ในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุมทั้งอุปกรณ์เคลื่อนที่และเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง
ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ (Service Level Agreement)
1.2 Application Operation : บริการบริหารจัดการระบบงาน (Application Operation) ด้วยทีมงาน
ที่คอยสนับสนุนและช่วยเหลืลูกค้าในการตรวจสอบสถานะและประสิทธิภาพการทำงานของระบบงาน ตลอด 24 ชั่วโมง
รวมถึงทำการแจ้งเตือน จัดทำรายงาน และทำการปรับแต่งหรือให้คำแนะนำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบ
งาน โดยจะทำงานร่วมกับหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายของลูกค้าอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การดำเนินการของธุรกิจเป็นไปได้
อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
1.3 Security Operation : บริการเฝ้าระวัง ป้องกัน และตรวจสอบระบบจากภัยคุกคามทางไซเบอร์
ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งรวมถึงการแจ้งเตือนและการจัดทำรายงานตามข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัยและข้อกำหนดของ
ต่างๆ ของธุรกิจ
1.4 Cloud & Infrastructure Operation : บริการดูแลระบบคลาวด์ และโครงสร้างพื้นฐานตลอด 24
ชั่วโมงเพื่อให้ระบบมีความเสถียร ปลอดภัย และสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการติดตามเพื่อให้มั่นใจได้ว่า
ระบบสามารถรองรับปริมาณงานที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก โดยการเฝ้าระวังระบบอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สามารถตัดสินใจ

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 18


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

ขยายศักยภาพของระบบให้เหมาะสมอย่างทันเวลา รวมทั้งการแจ้งเตือนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหากเกิดเหตุขัดข้อง
และประสานไปยังผู้ให้บริการคลาวด์ เพื่อแก้ปัญหาให้ระบบสามารถกลับมาใช้งานได้อย่างรวดเร็วและเต็มประสิทธิภาพ
1.5 Data Operation : บริการดูแลระบบการประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจให้ทำงานถูกต้อง และ
สามารถจัดทำรายงานข้อมูลได้ตรงเวลา โดยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการกับลูกค้าอย่างเหมาะสม
พร้อมยึดหลักพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองธุรกิจในปัจจุบันที่ใช้ข้อมูลในการบริหารและประกอบการตัดสินใจ
1.6 IT Operation Service Center : บริการดูแลระบบสารสนเทศหลักที่ใช้งานอยู่ในดาต้าเซ็นเตอร์
ภายในองค์กรหรือบนระบบคลาวด์ โดยครอบคลุมทั้ง Hardware และ Software ของระบบสารสนเทศ ด้วยการบริการที่
ดูแลระบบผ่านศูนย์กลาง (Shared Service Center) ตลอด 24 ชั่วโมง
1.7 Business Process Operation : บริการพัฒนากระบวนการทำงานของธุรกิจโดยการประยุกต์ใช้
เทคโนโลยีร่วมกับเพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานของลูกค้าให้เป็นรูปแบบการทำงานอย่างอัตโนมัติที่รวดเร็วและถูกต้อง
แม่นยำ โดยจะทำการสำรวจ ประเมิน รวมถึงทำความเข้าใจกระบวนการทำงานในปัจจุบัน จากนั้นจะดำเนินการวิเคราะห์
และวางแผนเพื่อเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจให้สูงขึ้น
1.8 Operation Performance & Analytics : บริการวิเคราะห์การทำงานของระบบสารสนเทศรวม
ถึงการประมวลผลของระบบในช่วงเวลาต่างๆ ตลอดจนประสิทธิภาพในการตอบสนองของระบบ รวมถึงหาสาเหตุของ
ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบงานทำให้องค์กรสามารถนำผลจากการวิเคราะห์มาพัฒนา ปรับปรุง เพื่อยกระดับคุณภาพการ
ให้บริการด้าน IT ให้กับผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1.9 Operation Optimization : บริการพัฒนากระบวนการทำงานของ IT เพื่อให้กระบวนการทำงาน
ด้าน IT เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการให้คำแนะนำเพื่อลดความซ้ำซ้อนของกระบวนการด้าน IT รวมทั้ง
ออกแบบวิธีการทำงานที่เหมาะสม ทั้งในส่วนที่ควรนำเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อให้เกิดการทำงานแบบอัตโนมัติ และขั้น
ตอนที่ควรเป็นงานของบุคลากรเพื่อทำการตัดสินใจ โดยมุ่งเน้นไปที่ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งจากภายในและ
ภายนอกหน่วยงาน IT
1.10 Operation Strategy : การสร้างกลยุทธ์การดำเนินงานไอทีโอเปอร์เรชั่นให้สอดคล้องกับเป้า
หมายที่องค์กรตั้งไว้ ซึ่งเป็นจุดเด่นของการให้บริการของกลุ่มบริษัทฯ ที่แตกต่างจากผู้ให้บริการรายอื่น โดยการ
วิเคราะห์ วางแนวทาง ระยะเวลา งบประมาณ รวมทั้งนำเสนอเทคโนโลยีที่เหมาะกับความต้องการของธุรกิจ เพื่อ
กำหนดแนวทางการปรับปรุงระบบให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ นอกจากกลุ่มโซลูชั่นหลักตามที่ระบุข้างต้นแล้วกลุ่มบริษัทฯ ยังให้บริการในการจัดหา และติดตั้งอุปกรณ์
อื่นเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า เช่น ระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ และระบบ ATM เป็นต้น

(2) ธุรกิจโซลูชั่นที่เป็นตัวแทนจำหน่ายและสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value-added Distribution Solution)


กลุ่มบริษัทฯ ประกอบธุรกิจตัวแทนจำหน่ายระบบเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านบริษัท เฟิร์ส ลอจิก จำกัด (FLG) ซึ่ง
เป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ โดย FLG เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับ Oracle
Corporation (“Oracle”) และ Veritas Technologies LLC (“Veritas”) ซึ่งเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการใช้งานในระดับ
องค์กรซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากผู้ใช้งานทั่วโลกมาแล้วอย่างยาวนาน พร้อมด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์และ
ความเชี่ยวชาญในโซลูชั่นที่เกี่ยวข้องของ Oracle และ Veritas ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ระบบคอมพิวเตอร์พื้นฐาน ระบบคลาวด์
ไปจนถึงระบบการจัดการฐานข้อมูลอย่างครบวงจรตั้งแต่ระบบการจัดเก็บข้อมูล ระบบการจัดเตรียมรวบรวมข้อมูล ระบบ
การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างประสิทธิภาพและความได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจ ไปจนถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาสร้าง
ประโยชน์ให้กับผู้ใช้งาน เช่น เทคโนโลยีบล็อคเชน เป็นต้น
ปัจจุบัน ธุรกิจของ FLG ครอบคลุมผลิตภัณฑ์และบริการดังนี้

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 19


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

2.1 กลุ่มโซลูชั่นของ Oracle


FLG ได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายของ Oracle Corporation ต่อเนื่องมาตั้งแต่ในปี 2553
เป็นต้นมา Oracle เป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกที่มีผลิตภัณฑ์และบริการครบวงจร โดยเป็นผู้นำในด้านระบบ
ฐานข้อมูลระดับองค์กรซึ่งได้รับความเชื่อมั่นจากธุรกิจขนาดใหญ่ในหลากหลายอุตสาหกรรมทั่วโลก เทคโนโลยีของ
Oracle นั้นครอบคลุม ทั้งระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่สำคัญเพื่อช่วยในการสนับสนุนการประมวลผลฐานข้อมูลได้
อย่างเต็มประสิทธิภาพ ตั้งแต่ระบบฐานข้อมูล (Database) ระบบคลาวด์และระบบเสมือน (Cloud and Virtualization)
ระบบเซิร์ฟเวอร์และการจัดเก็บข้อมูล (Server and Storage) เป็นต้น

Oracle Hardware ระบบบริหารจัดการข้อมูลแบบครบวงจรที่ ทั้งในส่วนของเซิร์ฟเวอร์ และพื้นที่เก็บข้อมูล รวม


ถึงระบบการประมวลผลข้อมูลที่ถูกออกแบบเพื่อใช้กับการบริการจัดการฐานข้อมูลโดยเฉพาะ
ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลของ Oracle ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ระบบยังมีความยืดหยุ่นสามารถรองรับการขยายระบบในอนาคตตามการเติบโต
ของผู้ใช้งาน
Oracle Software ซอฟต์แวร์ด้านฐานข้อมูลของ Oracle ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและมีความ
ปลอดภัยสูง ซึ่งได้รับความเชื่อถือจากองค์กรชั้นนำระดับโลก และรองรับการปรับขนาดฐาน
ข้อมูลในอนาคต ซึ่งช่วยให้ธุรกิจทุกขนาดสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีฐานข้อมูลที่มี
ประสิทธิภาพสูงได้ด้วยการจ่ายตามการใช้งานจริง ทำให้มีต้นทุนเริ่มต้นโครงการที่ต่ำ และ
สามารถขยายตามการเติบโตขององค์กร นอกจากนี้ ยังมีระบบสนับสนุนการรักษาความ
ปลอดภัยของข้อมูล (Database Security) เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการรั่วไหลของข้อมูลด้วย
การเข้ารหัสข้อมูล การกำหนดสิทธิการเข้าถึง ตลอดจนระบบการตรวจสอบการตั้งค่าอัตโนมัติ
ซึ่งช่วยในประเมินการตั้งค่าต่างๆ ในระบบฐานข้อมูลให้มีความเหมาะสม รวมถึงการตรวจ
สอบช่องโหว่ของระบบความปลอดภัยที่ต้องทำการแก้ไข
Oracle Cloud ระบบคลาวด์ของ Oracle ซึ่งมีจุดเด่นด้านการประมวลผลฐานข้อมูลด้วยระบบคลาวด์ที่มีความ
รวดเร็วและมีโครงสร้างที่ยืดหยุ่นสามารถปรับประสิทธิภาพการใช้งานได้ตามความต้องการ
ของธุรกิจ รวมถึงสามารถเชื่อมต่อไปยังระบบงานขององค์กร และแอปพลิเคชันที่ประมวลผล
ในระบบบนคลาวด์

2.2 กลุ่มโซลูชั่นของ Veritas

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 20


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

FLG ได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของ Veritas Technologies LLC. ประเทศ


สหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกในด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูล (Data Protection) และการ
บริหารจัดการระบบการเก็บรักษาข้อมูล (Storage Management)
โซลูชั่นของ Veritas มีจุดเด่นทางด้านการสำรองและกู้คืนข้อมูล (Backup and Recovery) การบริหาร
ความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ (Business Continuity) ช่วยให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่าข้อมูลถูกเก็บรักษาอย่างปลอดภัย
และในกรณีที่มีเหตุจำเป็นจะต้องสามารถกู้คืนข้อมูลจากระบบหรืออุปกรณ์ที่เสียหายได้ โดยไม่กระทบกับการดำเนิน
ของธุรกิจ โซลูชั่นของ Veritas ได้รับการออกแบบให้สามารถเชื่อมต่อได้หลากหลายรูปแบบทั้งการเก็บข้อมูลในระบบ
ดาต้าเซ็นเตอร์ และระบบคลาวด์ รวมทั้งสามารถรองรับการทำงานร่วมกับระบบ (Platform) หรืออุปกรณ์ (Hardware)
จากหลายผู้ผลิต นอกจากนี้ Veritas ยังมีฟังก์ชันสนับสนุนในการกำหนดนโยบายการจัดการข้อมูล (Information
Governance) โดยระบบจะช่วยในการจัดหมวดหมู่หรือประเภทของข้อมูลโดยอัตโนมัติด้วยระบบ AI และ Machine
Learning เพื่อสำหรับใช้ในการวิเคราะห์ และกำหนดมาตรการในการกำกับดูแลข้อมูลและรักษาความปลอดภัยข้อมูลได้
อย่างเหมาะสม รวมถึงสามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงในการบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.3 บริการ Professional Service


FLG มีบุคลากรที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ได้รับการรับรองจาก
เจ้าของผลิตภัณฑ์ที่ FLG เป็นผู้ให้บริการ โดย FLG มีวิศวกรที่ได้รับการรับรองจาก Oracle-Sun Certified Field
Engineer มากที่สุดในประเทศไทย รวมถึงมี Veritas Certified Engineer ที่พร้อมให้บริการเพื่อตอบทุกความต้องการ
ของลูกค้า โดยบริการ Professional Service ของ FLG มีดังนี้

Readiness / บริการที่จะช่วยลดระยะเวลาในการเตรียมความพร้อมและปรับแต่งระบบให้เหมาะกับ
Configuration Services ระบบงานของลูกค้า เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

Migration Services บริการที่ช่วยในการวางแผน จัดเตรียม และดำเนินการ ขนย้าย อุปกรณ์ ข้อมูล หรือ


ระบบอย่างมืออาชีพ โดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้การดำเนินการย้ายระบบเป็นไป
อย่างราบรื่น และมีความปลอดภัย

Maintenance Service บริการดูแลและบำรุงรักษาระบบ เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ


ด้วยทีมงานวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญและเข้าใจถึงความต้องการของภาคธุรกิจที่มี

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 21


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

การเตรียมพร้อมการให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
(3) กลุ่มธุรกิจบริการซอฟต์แวร์แพลตฟอร์ม (Software Platform)
ด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในธุรกิจด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลมายาวนานกว่า 33 ปี
ประกอบกับองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของกลุ่มบริษัทฯ ทำให้กลุ่มบริษัทฯ มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่อย่าง
ต่อเนื่อง กลุ่มบริษัทฯ จึงมีแนวคิดในการนำเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นภายในองค์กรมาต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาเป็น
ธุรกิจใหม่ในรูปแบบธุรกิจบริการซอฟต์แวร์แพลตฟอร์ม โดยจะพิจารณาจัดตั้งแยกเป็นบริษัทย่อยสำหรับธุรกิจที่มีโอกาสใน
การเติบโตที่ดี เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ และสอดคล้องกับสภาวะการแข่งขันในยุคดิจิทัลที่
ธุรกิจต้องมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันกลุ่มธุรกิจบริการซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มของกลุ่มบริษัทฯ ดำเนินงานโดย
บริษัทย่อย 3 แห่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้
3.1 บริษัท อินไซท์เอรา จำกัด
บริษัท อินไซท์เอรา จำกัด ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีสำหรับการทำการตลาดดิจิทัลแบบครบวงจร
(Marketing Technology หรือ MarTech) โดยใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ (Social Analytics Tools) ที่
รองรับการประมวลผลข้อมูลภาษาไทยที่มีความแม่นยำสูง ซึ่งสามารถวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าและความต้องการของตลาด เพื่อ
ใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแผนธุรกิจ และกลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถวัดผลการดำเนินงานได้
อย่างชัดเจน โดยบริการของ INSE ครอบคลุมโซลูชั่นที่สำคัญของการทำการตลาด ซึ่งสามารถตอบโจทย์ความต้องการที่
หลากหลายของธุรกิจตั้งแต่การจัดทำรายงานวิจัยทางการตลาด การบริหารช่องทางการตลาด การวิเคราะห์ข้อมูลทางการ
ตลาด และการทำกิจกรรมการตลาดด้วยการใช้ Programmatic Ads โดยอาศัยเครื่องมือต่างๆ ได้แก่
◾ DOM – Social Listening Tool : เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อทำความเข้าใจ
ความต้องการของลูกค้า และความนิยมของตลาดได้อย่างทันท่วงที โดยสามารถเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลแบบ
Real-time เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ในการสื่อสาร และให้บริการลูกค้าได้
อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการติดตามข้อมูลประเด็นปัญหาทางสังคมที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ เพื่อดำเนินการแก้ไข
จัดการได้ในทันที โดยมีการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบ Interactive Dashboard ที่เข้าใจง่าย ซึ่งผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยน
รายงานได้ด้วยตนเอง
◾ BRIAN – Competitors Analytics Tool : เครื่องมือวิเคราะห์กลยุทธ์ทางสื่อสังคมออนไลน์ซึ่ง
สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของคู่แข่ง รวมถึงการวิเคราะห์กลยุทธ์และช่องทางในการสร้าง Traffic บนเว็บไซต์ของ
คู่แข่ง เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพและโอกาสในการแข่งขันให้ธุรกิจ
◾ CENT – Omni-channel Management Tool : เครื่องมือบริหารจัดการสื่อสังคมออนไลน์ที่ช่วยเชื่อม
โยง Social Media Account ในทุกแพลตฟอร์มให้สามารถบริหารจัดการได้ผ่านระบบเดียว โดยสามารถตอบทุก
ข้อความ และคอมเมนต์ของลูกค้าจากทุกช่องทาง ในหน้าจอเดียว รวมทั้งโพสต์คอนเทนต์ไปยังทุกช่องทาง Social
Media ได้โดยง่ายพร้อมกันในครั้งเดียว โดยเครื่องมือดังกล่าวสามารถแสดงผลในรูปแบบ Dashboard เพื่อสำหรับการ
ประเมินประสิทธิภาพการทำงานในการตอบข้อความจากลูกค้าได้
◾ ALICE – Chatbot Platform : ระบบ Chatbot ที่พร้อมให้บริการลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งสามารถ
ทำการสนทนาโต้ตอบได้ด้วยภาษาไทย โดยอาศัยเทคโนโลยี AI Machine Learning ที่สามารถเข้าใจภาษาไทยอย่าง
แม่นยำ และสามารถปรับปรุงเรียนรู้คำใหม่ๆ ได้เพิ่มเติม โดยสามารถทำงานได้ทั้ง Facebook LINE และ Web chat
เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถวิเคราะห์สถิติการใช้งานและประสิทธิภาพการทำงานของ Chatbot เพื่อนำมาปรับปรุง
การใช้งานในอนาคต
◾ 1palette – Customer Data Platform : แพลตฟอร์มสำหรับการบริหารจัดการข้อมูลลูกค้าในสื่อ
สังคมออนไลน์ซึ่งสามารถทำการวิเคราะห์และเก็บข้อมูลลูกค้าเชิงลึกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนทางการตลาด
นอกจากนี้ ยังสามารถการทำกิจกรรมการตลาดด้วยการใช้ Programmatic Ads เพื่อช่วยในการขยายฐานลูกค้าด้วยการ

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 22


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

ใช้เทคโนโลยี Big Data และ AI ในการค้นหากลุ่มเป้าหมายที่คล้ายกับกลุ่มคนที่เคยซื้อสินค้า หรือกลุ่มคนที่สนใจสินค้า


ในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายของการทำการตลาด ตลอดจนสามารถวัดผลแคมเปญทางการตลาดแบบ Real-Time จาก
ทุกแพลตฟอร์มได้ที่เดียว
◾ HUBSPOT - CRM : ระบบบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship
Management) ด้วยระบบของ HubSpot ซึ่งช่วยในการวิเคราะห์และจัดการข้อมูลลูกค้าโดยสามารถแบ่งกลุ่มลูกค้าตาม
พฤติกรรม และความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้ ยังสามารถทำการตลาดแบบอัตโนมัติตามพฤติกรรมลูกค้า
(Personalized Marketing) เพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายฐานลูกค้ารวมทั้งจัดการข้อมูลการขายและติดตามสถานะ อีกทั้ง
เพิ่มโอกาสในการปิดการขาย
◾ ELI – THAI NLP Platform : บริการในการเชื่อมต่อระบบ (API Services) เพื่อช่วยวิเคราะห์และ
ประมวลผลข้อมูลภาษาไทยได้อย่างแม่นยำด้วยระบบที่ช่วยให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษาของมนุษย์ ด้วย
การนำเอาเทคโนโลยี Natural Language Processing (NLP) และเทคโนโลยี Big Data มาประยุกต์ใช้ โดยมีจุดเด่นคือ
สามารถรองรับภาษาไทย นอกจากนี้ ระบบฐานข้อมูลยังสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง โดยการนำ Feedback จากการ
ใช้งานจริงมาร่วมในการประมวลผลเพื่อให้ระบบสามารถเรียนรู้ได้และพัฒนาความแม่นยำในการสื่อสารได้ตลอดเวลา
3.2 บริษัท เบลนเดต้า จำกัด
บริษัท เบลนเดต้า จำกัด ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) แบบ
ครบวงจร โดยให้บริการ Blendata แพลตฟอร์มในรูปแบบ Software as a Service เพื่อแก้ปัญหาขององค์กรในการจัดการ
ข้อมูลขนาดใหญ่ โดยระบบออกแบบให้สามารถใช้งานได้ง่ายโดยรองรับการใช้งานแบบไม่ต้องเขียนโค้ด (No-Code) ทำให้ผู้
ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการ Coding ในการใช้งาน ซึ่งสามารถช่วยภาคธุรกิจในการบริหารจัดการข้อมูลได้ในทุก
ขั้นตอน ตั้งแต่การรวบข้อมูลจนถึงการนำข้อมูลไปใช้งาน ได้ในแพลตฟอร์มเดียว โดยมีฟังก์ชันที่สำคัญดังนี้
Data Ingestion ◾ สามารถเชื่อมต่อและรวบรวมข้อมูลได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายทั้งแบบดาต้า
(การรวบรวมข้อมูล) เซ็นเตอร์และระบบคลาวด์
◾ สามารถรองรับฐานข้อมูลในระบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Oracle, mySQL, Amazon S3
และอื่นๆ รวมทั้งสามารถตั้งค่าการอัพเดทข้อมูลได้โดยอัตดนมัติทั้งในแบบ Real
time หรือตามระยะเวลาที่กำหนด
Data Management ◾ สามารถจัดประเภทและหมวดหมู่ของข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการทำข้อมูลไปใช้ต่อ
(การบริหารจัดการข้อมูล) บริหารการจัดเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
◾ สามารถกำหนดนโยบายของข้อมูลไม่ว่าจะเป็นการกำหนดระยะเวลาการเก็บรักษา
ข้อมูล รวมถึงการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งาน
เพื่อรองรับองค์กรขนาดใหญ่ที่อาจมีผู้ใช้งานหลายคน
Data Processing ◾ สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลที่มีความหลากหลายให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน
(การประมวลผลข้อมูล) พร้อมทั้งรวบรวมและจัดลำดับข้อมูลได้ตามความต้องการได้โดยไม่ต้องเขียน Code
◾ สามารถใช้การเขียน Code เพื่อการทำ Machine Learning
Data Utilization ◾ สามารถประมวลผลข้อมูลเพื่อนำไปใช้งานในรูปแบบต่างๆ เช่น สร้างแดชบอร์ด
(การประยุกต์ใช้ข้อมูล) (Databoard) สำหรับการนำเสนอข้อมูล
◾ การส่งออกข้อมูลจากระบบเพื่อเชื่อมต่อข้อมูลที่ประมวลผลไปยังแพลตฟอร์มหรือ
แอปพลิเคชันอื่นผ่าน APIs

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 23


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

3.3 บริษัท เอ็มเวิร์จ จำกัด


บริษัท เอ็มเวิร์จ จำกัด ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (PropTech) และแพลตฟอร์ม
สำหรับบริหารระบบงานด้วย Microsoft Power Platform โดยปัจจุบันผลิตภัณฑ์และบริการของ Mverge มีดังนี้
3.3.1 แพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการพื้นที่เช่า
แพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการพื้นที่เช่า (Commercial Rental Management Platform) ใน
ชื่อ “SPACE” ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ของกลุ่มบริษัทฯ สำหรับช่วยบริหารจัดการพื้นที่เช่าแบบครบวงจร เพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการพื้นที่เช่า ลดปริมาณเอกสารและขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น ซึ่งช่วยลดความผิด
พลาดในการบริหารจัดการพื้นที่เช่า โดย SPACE สามารถใช้งานได้ทั้งบนระบบเครือข่ายหรือในรูปแบบออนไลน์บน
บราวเซอร์ โดยมีฟังก์ชันครอบคลุมตั้งแต่การวางผังพื้นที่ การทำสัญญา การคำนวณค่าสาธารณูปโภค การออกใบแจ้ง
หนี้และใบเสร็จรับเงิน รวมถึงสามารถเชื่อมโยงสัญญาพื้นที่เช่ากับสัญญาเสริมอื่นที่เกิดขึ้นในพื้นที่เช่าเดียวกัน
นอกจากนี้ยังสามารถรองรับการทำงานร่วมกับเทคโนโลยี IoT และ Data Analytics เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล และ
ในการติดตาม สถานะและความสนใจของลูกค้า (Customer Journey) โดยปัจจุบัน SPACE แพลตฟอร์มได้ถูกใช้ใน
การบริหารจัดการพื้นที่เช่ามากกว่า 1,000,000 ตารางเมตร ซึ่งครอบคลุมลูกค้าผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย
เพื่อการพาณิชย์ และกลุ่มมิกซ์ยูส

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 24


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

3.3.2 แพลตฟอร์มสำหรับบริหารระบบงาน
แพลตฟอร์มสำหรับบริหารระบบงานในชื่อ MyApp+ ซึ่งเป็นโปรแกรมเสริมที่ Mverge ได้พัฒนา
ขึ้นด้วย Microsoft Power Platform สำหรับทำงานบน Microsoft Team ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้ทั่วโลก เพื่อช่วยเสริม
การทำงานแบบ Work from Anywhere ให้มีความคล่องตัวและรองรับการทำงานในยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพโดยมี
ฟังก์ชันดังนี้

My App ระบบที่รวบรวมทุกแอปพลิเคชันขององค์กร ให้สามารถเข้าใช้งานผ่านหน้าจอหลักของ


Microsoft Team ได้โดยง่าย รวมถึงการจัดการแอปพลิเคชันที่ใช้งานเป็นประจำ
My Announcement ระบบที่ช่วยการสร้างประกาศ หรือ กระดานข่าวสารภายเพื่อใช้สื่อสารให้แก่พนักงาน
ภายในองค์กร
My Flow ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการระบบงานภายในองค์กร ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ การจัดทำ
บันทึกภายใน (E-Memo) การสร้างแบบฟอร์มผ่านระบบเพื่อขอพิจารณาอนุมัติ การ
บริหารและการอนุมัติงบประมาณเกี่ยวกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและการตรวจรับงาน
My Workplace ระบบอำนวยความสะดวกในการจัดประชุม ตั้งแต่การแจ้งกำหนดการ การรับ-ส่งเอกสาร
การประชุม และการจัดทำรายงานการประชุมผ่านระบบ
นอกจากนี้ Mverge ยังมีบริการให้คำปรึกษา และฝึกอบรมการใช้งานเครื่องมือ Microsoft Power
Platform ซึ่งได้แก่ Power Apps, Power Automate และ Power BI เพื่อให้ลูกค้าสามารถพัฒนาระบบงานต่างๆ
ภายในองค์กรด้วยตนเอง

1.2.4 กลุ่มลูกค้าเป้ าหมายและการจัดจำหน่าย


1.2.4.1 กลุ่มลูกค้าเป้ าหมาย

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 25


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

กลุ่มบริษัทฯ ประกอบธุรกิจในการให้บริการโซลูชั่นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลอย่างครบวงจร ที่


มุ่งเน้นการให้บริการแก่ภาคธุรกิจเอกชนและสถาบันการศึกษา โดยกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบริษัทหรือองค์กรชั้น
นำในแต่ละอุตสาหกรรมที่มีความต้องการที่จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การดำเนินงาน สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เพื่อพัฒนาองค์กรให้มีความพร้อมสำหรับการแข่งขันในโลกยุค
ดิจิทัล และสร้างโอกาสในการต่อยอดทางธุรกิจ โดยกลุ่มลูกค้าของกลุ่มบริษัทฯ สามารถแบ่งได้ดังนี้
1. กลุ่มธุรกิจการเงิน (Financial services) ได้แก่ ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจประกันภัย และ
ธุรกิจประกันชีวิต
2. กลุ่มธุรกิจบริการในสาขาต่างๆ (Services) ได้แก่ ธุรกิจที่ปรึกษา ธุรกิจให้บริการด้านข้อมูลสารสนเทศ
และเทคโนโลยี และธุรกิจด้านบริการเฉพาะกิจ (Professional services)
3. กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม ได้แก่ ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการ
อินเตอร์เน็ต เป็นต้น
4. กลุ่มธุรกิจการผลิตและพลังงาน ได้แก่ ธุรกิจยานยนต์ ธุรกิจผลิตอาหาร ธุรกิจปิโตรเคมีภัณฑ์ และ
ธุรกิจพลังงาน
5. กลุ่มสถาบันการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยภาครัฐและเอกชน โรงเรียน และศูนย์ฝึกอบรมต่างๆ
6. กลุ่มธุรกิจอื่น เช่น ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจการท่องเที่ยวและสันทนาการ ธุรกิจค้าปลีก
ธุรกิจขนส่ง และธุรกิจบริการสุขภาพ เป็นต้น
ตารางแสดงสัดส่วนรายได้จากการขายแยกตามประเภทลูกค้า
ประเภทลูกค้า ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565
ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ
1. กลุ่มธุรกิจการเงิน 1,988.18 38.41 1,822.91 36.91 1,983.23 41.92
2. กลุ่มธุรกิจบริการ 1,246.18 24.07 1,054.06 21.34 978.52 20.68
3. กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม 533.71 10.31 446.17 9.03 488.85 10.33
4. กลุ่มธุรกิจการผลิตและพลังงาน 463.42 8.95 544.80 11.03 442.87 9.36
5. กลุ่มสถาบันการศึกษา 186.76 3.61 214.73 4.35 203.62 4.30
6. กลุ่มธุรกิจอื่นๆ 758.37 14.65 856.40 17.34 634.25 13.41
รวม 5,176.62 100.00 4,939.07 100.00 4,731.34 100.00
1.2.4.2 ช่องทางการจัดจำหน่าย
ช่องทางในการเสนอการให้บริการของกลุ่มบริษัทฯ ส่วนใหญ่เป็นการเสนอบริการแก่ลูกค้าโดยตรงโดยฝ่าย
ขายของกลุ่มบริษัทฯ และจากการกลุ่มบริษัทฯ มีผลงานในอดีต (Track Record) ในการให้บริการโซลูชั่นด้าน
เทคโนโลยีและดิจิทัลสำหรับองค์กรชั้นนำในประเทศไทยมานานกว่า 33 ปี และครอบคลุมลูกค้าในหลากหลายกลุ่ม
อุตสาหกรรม ส่งผลให้ที่ผ่านมาลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัทฯ จึงมาจากการแนะนำจากลูกค้าเดิม หรือบริษัทพันธมิตรที่
เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์
ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทฯ ให้ความสำคัญในการทำการตลาดดิจิทัลอย่างสม่ำเสมอผ่านเว็บไซต์ของบริษัทฯ และสื่อ
สังคมออนไลน์ โดยเป็นลักษณะของการผลิตคอนเทนต์ที่เป็นประโยชน์เพื่อสร้างความเข้าใจในตัวเทคโนโลยีและโซลูชั่น
ของกลุ่มบริษัทฯ ให้กับบุคคลภายนอกที่สนใจ รวมถึงมีการจัดงานสัมมนาด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้
ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งในรูปแบบออนไลน์ และออฟไลน์ อันส่งผลให้เกิดความไว้วางใจในการใช้บริการจาก
กลุ่มบริษัทฯ ในอนาคตและช่วยทำให้สามารถขยายตลาดให้ครอบคลุมฐานลูกค้าได้กว้างขึ้น
1.2.4.3 นโยบายราคา
กลุ่มบริษัทฯ มีนโยบายในการกำหนดอัตราค่าบริการโดยพิจารณาต้นทุนการให้บริการ ซึ่งรวมถึงต้นทุนค่า
อุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ และค่าใช้จ่ายของบุคลากรที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงาน ตลอดจนค่าความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในการ
ดำเนินงาน และบวกด้วยอัตรากำไรขั้นต้นที่เหมาะสม (Cost-Plus Pricing) ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทฯ จะมีกระบวนการในการ

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 26


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

จัดทำงบประมาณของแต่ละโครงการก่อนการเสนออัตราค่าบริการให้แก่ลูกค้าโดยฝ่ายขาย และฝ่ายโซลูชั่นและ
เทคโนโลยีจะร่วมกันพิจารณาถึงปัจจัยและรายละเอียดต่างๆ ของโครงการเพื่อพิจารณากำหนดราคาอัตราค่าบริการ
เช่น ขอบเขตของการให้บริการ ความซับซ้อนและขนาดของโครงการ ระยะเวลาการให้บริการ รวมถึงจำนวนบุคลากรที่
ใช้ในการดำเนินโครงการ ตลอดจนความสามารถด้านเทคนิคของบุคลากรที่จำเป็นต่อการดำเนินโครงการ นอกจาก
ปัจจัยดังกล่าวข้างต้น กลุ่มบริษัทฯ อาจพิจารณาถึงปัจจัยอื่นๆ เพื่อประกอบในการนำเสนออัตราค่าบริการแก่ลูกค้า
เช่น ภาวะการแข่งขันของโครงการ งบประมาณของลูกค้า และโอกาสทางธุรกิจในอนาคต เป็นต้น
ทั้งนี้ สำหรับบริการบำรุงรักษา (Maintenance Service : MA) ซึ่งเป็นงานบริการต่อเนื่องภายหลังจากการ
ส่งมอบงานให้กับลูกค้าแล้ว บริษัทฯ จะกำหนดอัตราค่าบริการโดยอ้างอิงจากมูลค่าโครงการที่ได้ส่งมอบให้กับลูกค้า
ประกอบกับระยะเวลาและเงื่อนไขการให้บริการที่ได้ตกลงกับลูกค้า
1.2.4.4 ขั้นตอนในการบริหารโครงการ
สำหรับกลุ่มธุรกิจให้บริการโซลูชั่นระดับองค์กรสำหรับกลุ่มธุรกิจโซลูชั่นที่เป็นตัวแทนจำหน่ายและสร้าง
มูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นงานให้บริการในลักษณะโครงการนั้น กลุ่มบริษัทฯ มีทีมงานฝ่ายขายที่รับผิดชอบดูแลการนำเสนอ
ผลิตภัณฑ์และบริการให้แก่ลูกค้า โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายติดต่อลูกค้าและนัดหมายกับลูกค้าเพื่อนำเสนอบริการให้แก่
ลูกค้าโดยตรงรวมถึงติดตามข่าวการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรและหน่วยงานต่างๆ ที่มีความต้องการโซลูชั่นระบบ
เทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลที่กลุ่มบริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญเพื่อยื่นประมูล หรือเข้านำเสนอบริการของกลุ่ม
บริษัทฯ โดยในเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายจะทำหน้าที่ในการติดต่อและสอบถามเพื่อให้ทราบถึงความต้องการของ
ลูกค้า หลังจากนั้นฝ่ายขาย และฝ่ายโซลูชั่นและเทคโนโลยีจะทำการศึกษาความต้องการของลูกค้าอย่างละเอียด เพื่อ
สรุปรายละเอียดของโครงการ ทั้งในส่วนของอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ที่ต้องใช้ในการดำเนินงาน ระยะเวลาในการดำเนิน
การและความสามารถด้านเทคนิคของบุคลากรที่จำเป็น เพื่อพิจารณาคัดเลือก ออกแบบและนำเสนอโซลูชั่นที่เหมาะสม
และตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย หลังจากนั้นจะร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายโซลูชั่นและเทคโนโลยีเพื่อนำเสนอ
โซลูชั่นที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า รวมถึงสาธิตการใช้งานโซลูชั่น เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าโซลูชั่นที่นำ
เสนอสามารถตอบโจทย์การทำงานของผู้ใช้งานได้อย่างแท้จริง ซึ่งโดยทั่วไปกระบวนการนี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 1-3
เดือน
ต่อมาเมื่อลงนามในสัญญากับลูกค้าแล้ว ฝ่ายขายจะทำการยืนยันรายละเอียดงาน (Scope of Work) กับ
ลูกค้า รวมทั้งทบทวนต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนงานในการดำเนินโครงการ รวมถึงดำเนินการจัด
ซื้อผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ สำหรับใช้ในการพัฒนาและติดตั้งโซลูชั่นให้แก่ลูกค้าต่อไป โดยมีฝ่ายปฏิบัติงาน
โครงการ (PMO) ซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลควบคุมการดำเนินงานตลอดระยะเวลาโครงการ จนถึงกระบวนการตรวจรับงาน
ซึ่งโดยทั่วไปจะมีระยะเวลาโครงการประมาณ 1-6 เดือน และสำหรับโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัลจะมีระยะเวลา
โครงการประมาณ 9-12 เดือน

กระบวนการในการบริหารจัดการโครงการของกลุ่มบริษัทฯ

พิจารณา TOR และนำเสนอโซลูชั่นหลักของ


กลุ่มบริษัทฯ ตามความต้องการของลูกค้า

ออกแบบ/คัดเลือกโซลูชั่นที่สามารถ
ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า

จัดทำประมาณการรายได้/ต้นทุนโครงการ ติดต่อเจ้าของผลิตภัณฑ์เพื่อขอใบเสนอราคา
และจัดทำข้อเสนอโครงการ (Proposal)  สำหรับอุปกรณ์และซอฟต์แวร์หลักของโครงการ

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 27


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

นำเสนอ Proposal /ยื่นประมูล



จัดทำสัญญา

ยืนยันรายละเอียดงาน (Scope of Work) กับลูกค้า
และทบทวนต้นทุน/ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง

จัดทำแผนงานในการดำเนินโครงการ
และจัดซื้อผลิตภัณฑ์และบริการ

ดำเนินการพัฒนาและติดตั้งโซลูชั่นให้แก่ลูกค้า

ส่งมอบโซลูชั่นให้ลูกค้าตาม Milestone ที่กำหนด

ตรวจรับและปิดโครงการ + ให้บริการบำรุงรักษา

นอกจากนี้ ภายหลังการส่งมอบงานกลุ่มบริษัทฯ ยังให้บริการบำรุงรักษาระบบโซลูชั่นตามระยะเวลาการรับ


ประกันคุณภาพ (Warranty Period) ซึ่งโดยทั่วไปจะมีอายุประมาณ 1-2 ปี หลังจากการส่งมอบงาน โดยเมื่อหมดสัญญา
แล้ว ฝ่ายขายจะนำเสนอบริการบำรุงรักษาแก่ลูกค้าที่ใช้บริการโซลูชั่นของกลุ่มบริษัทฯ เพื่อให้บริการตรวจสอบและ
บำรุงรักษาโซลูชั่นตามเวลาที่กำหนด รวมถึงให้บริการซ่อมแซม ตลอดจนการให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
ระหว่างการใช้งานด้วยทีมงานวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในระบบงานดังกล่าว รวมถึงได้รับการรับรอง
ความสามารถในการให้บริการ (Certified) จากบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ โดยทั่วไปสัญญาบริการบำรุงรักษาจะ
มีอายุ 1-3 ปี

1.2.5 การจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการ
กลุ่มบริษัทฯ มีนโยบายการจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการเมื่อได้รับคำสั่งซื้อหรือทำสัญญากับลูกค้าแล้ว โดยภาย
หลังจากฝ่ายขายได้ศึกษาความต้องการของลูกค้าอย่างละเอียดแล้ว ฝ่ายขายจะประสานงานกับฝ่ายโซลูชั่นและ
เทคโนโลยี เพื่อออกแบบโซลูชั่น พร้อมทั้งศึกษาข้อกำหนดด้านเทคนิคของโครงการเพื่อระบุถึงอุปกรณ์และซอฟต์แวร์
หลักที่ต้องใช้ รวมถึงการกำหนดปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมและตรงกับที่ระบุข้อกำหนดของโครงการ (Term of
Reference หรือ TOR) โดยจะพิจารณาซื้อสินค้าและบริการโดยอ้างอิงจากข้อกำหนดทางเทคนิคของเทคโนโลยี คุณภาพ
มาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ ระยะเวลาการส่งมอบ ราคา และเครดิตเทอม ทั้งนี้ การจัดซื้อผลิตภัณฑ์และบริการของกลุ่ม
บริษัทฯ สามารถแบ่งได้ดังนี้
1. อุปกรณ์และซอฟต์แวร์หลัก
กลุ่มบริษัทฯ จะจัดซื้ออุปกรณ์และซอฟต์แวร์หลักในการให้บริการตามข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อ
กำหนดของลูกค้า (TOR) โดยกลุ่มบริษัทฯ จะสั่งซื้ออุปกรณ์และซอฟต์แวร์หลักโดยตรงจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ในต่าง
ประเทศ หรือผ่านตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ ซึ่งโดยทั่วไปจะได้รับเครดิต
เทอมประมาณ 30-60 วัน

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 28


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

ทั้งนี้ จากการที่กลุ่มบริษัทฯ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้าของผลิตภัณฑ์และมีการทำงานร่วมกันอย่างใกล้


ชิดในรูปแบบพันธมิตรทางธุรกิจ รวมทั้งได้รับการรับรองให้เป็นพันธมิตรระดับสูงจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการ
ยอมรับอย่างงกว้างขวางในระดับโลกหลากหลายราย เช่น Dell Technologies Titanium Partner, Hewlett Packard
Enterprise (HPE) Gold Partner, Expertise Oracle Partner Network, Red Hat Advance Business Partner และ
TABLEAU Premier Partner ทำให้บริษัทฯ ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายในการให้ความรู้เกี่ยว
กับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะนำออกสู่ตลาด รวมถึงการสนับสนุนด้านการตลาดและด้านเทคนิค ทั้งการสนับสนุนก่อนการ
ขาย และบริการหลังการขาย โดยบริษัทฯ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพันธมิตรจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ชั้นนำจากทั่วโลก โดยมี
ตัวอย่างดังนี้

Alcatel-Lucent Amazon Web Cisco Dell DeltaElectronics F5 Genesys


Services (AWS) Technologies (Thailand)

Hewlett Packard Huawei Juniper Microsoft Nvidia Oracle Red Hat


Enterprise (HPE)

Veritas Vmware Check Point Cloudera Fortinet Imperva Palo Alto

Trellix Tableau UiPath


นอกจากนี้ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มบริษัทฯ เป็นตัวแทนจำหน่าย ซึ่งดำเนินการโดย FLG ที่ได้รับการ
แต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์แบบไม่จำกัดแต่เพียงผู้เดียว (Non-Exclusive) ของ Oracle และ Veritas โดย
FLG จะสั่งซื้อผลิตภัณฑ์และบริการจากบริษัท ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด และ Veritas Technologies
LLC. ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวโดยตรง ตามคำสั่งซื้อที่ได้รับจากลูกค้า โดย FLG ได้รับเครดิตเทอมจาก
เจ้าของผลิตภัณฑ์ 30-45 วัน (รายละเอียดเกี่ยวกับสัญญาแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์แสดงอยู่ในส่วนที่ 2.2.5
ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลสำคัญอื่น)
2. ผลิตภัณฑ์อื่นที่ใช้ในโครงการ
กลุ่มบริษัทฯ มีการให้บริการโซลูชั่นในลักษณะโครงการแก่ลูกค้า ซึ่งในสัญญาอาจรวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ
เช่น คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบ เป็นต้น เพื่อให้โซลูชั่นของกลุ่มบริษัทฯ สามารถทำงานได้อย่างเต็ม
ประสิทธิภาพกลุ่มบริษัทฯ จะจัดซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจากผู้จัดจำหน่ายในประเทศ โดยคัดเลือกจากรายชื่อผู้จัด
จำหน่ายสินค้าที่ผ่านการพิจารณาในเรื่องของคุณภาพและบริการที่เป็นที่ยอมรับและอยู่ใน Approved Vendor List ของ
กลุ่มบริษัทฯ โดยส่วนใหญ่กลุ่มบริษัทฯ จะจัดหาอุปกรณ์ดังกล่าวจากผู้จัดจำหน่ายในประเทศ ซึ่งโดยทั่วไปจะได้รับ
เครดิตเทอมประมาณ 30-45 วัน
3. การว่าจ้างผู้ให้บริการ
โดยทั่วไปกลุ่มบริษัทฯ จะใช้บุคลากรของตนเองเป็นทีมงานหลักในการพัฒนาออกแบบและติดตั้ง
โซลูชั่นให้แก่ลูกค้านั้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีงานที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น งานก่อสร้าง หรืองาน
พัฒนาโปรแกรมเฉพาะด้าน กลุ่มบริษัทฯ จะมีการว่าจ้างผู้ให้บริการเพื่อดำเนินการตามข้อกำหนดของลูกค้าโดยมีฝ่าย
ปฏิบัติงานโครงการเป็นผู้ควบคุมการดำเนินงานของผู้ให้บริการอย่างใกล้ชิด กลุ่มบริษัทฯ จะคัดเลือกผู้ให้บริการจาก
ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ คุณภาพผลงานในอดีต ความสามารถในการส่งมอบงานตามระยะเวลาที่กำหนด และอยู่ใน
Approved Vendor List ของกลุ่มบริษัทฯ

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 29


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทฯ สั่งซื้อผลิตภัณฑ์และบริการโดยส่วนใหญ่จากผู้ขายภายในประเทศ และมีเพียงอุปกรณ์


และซอฟต์แวร์หลักบางรายการที่กลุ่มบริษัทฯ สั่งซื้อโดยตรงจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ในต่างประเทศ เช่น Microsoft,
Veritas, Cloudera, Genesys, Amazon Web Services และ Tableau เป็นต้น ซึ่งในปี 2563-2565 กลุ่มบริษัทฯ
สัดส่วนการซื้อผลิตภัณฑ์และบริการจากต่างประเทศคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.61 ร้อยละ 21.93 และร้อยละ 14.35 ของ
ยอดซื้อ ตามลำดับ
ตารางแสดงสัดส่วนการซื้อผลิตภัณฑ์และบริการจากในประเทศและต่างประเทศ
ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565
แหล่งที่มา
ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ
ในประเทศ 2,689.54 79.39 2,503.52 78.07 2,634.93 85.65
ต่างประเทศ 698.22 20.61 703.31 21.93 441.36 14.35
มูลค่าการซื้อผลิตภัณฑ์และบริการรวม 3,387.76 100.00 3,206.83 100.00 3,076.29 100.00

1.2.6 การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มบริษัทฯ ให้ความสำคัญในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะสามารถตอบสนอง
ความต้องการของตลาดในโลกเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งที่ผ่านมากลุ่มบริษัทฯ ได้มีการพัฒนา
นวัตกรรมต่างๆ และได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของกลุ่มบริษัทฯ โดย ณ วันที่
31 ธันวาคม 2565 กลุ่มบริษัทฯ มีลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่จดทะเบียนทั้งสิ้น 12 รายการ โดยมีตัวอย่างซอฟต์แวร์ที่สำคัญ
ต่อไปนี้

ซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน ลักษณะผลิตภัณฑ์
Blendata ระบบ Big Data Platform สำหรับองค์กร
Dom ระบบ Social Analytics สำหรับรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์
SPACE ระบบบริหารจัดการพื้นที่เช่าและรายงานการวิเคราะห์ในการพัฒนาธุรกิจ

นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทฯ ยังมีผลิตภัณฑ์และซอฟต์แวร์ที่ได้พัฒนาไว้ใช้ภายในองค์กร รวมทั้งผลงานที่ยังอยู่ใน


ระหว่างการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างความได้เปรียบในการเติบโตและขยายธุรกิจ อย่างยั่งยืน รวมทั้งสามารถรองรับ
ความต้องการที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในตลาดปัจจุบันได้อีกด้วย โดยบริษัทฯ มีนโยบายในการบันทึกค่าใช้จ่ายในการ
พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของกลุ่มบริษัทฯ เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเมื่อมีการประเมินแล้วว่ามีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจใน
อนาคต โดยในระหว่างปี 2563-2565 กลุ่มบริษัทฯ มีรายจ่ายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเอง ซึ่งได้บันทึกเป็น
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนโดยมีรายละเอียดดังนี้
ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา
ปี
(ล้านบาท)
2563 7.00
2564 10.23
2565 24.71

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 30


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

1.2.7 ภาวะอุตสาหกรรม
ธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ คือธุรกิจบริการให้คำปรึกษา พัฒนา วางระบบคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายงาน
เทคโนโลยี โดยมีขอบเขตการให้บริการครอบคลุมตั้งแต่การให้คำปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาหรือต่อยอดความต้องการของ
ลูกค้า ดังนั้น ภาวะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของกลุ่มบริษัท จึงได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจในภาพรวม และ
อุตสาหกรรมเทคโนโลยี
1.2.7.1 ภาพรวมเศรษฐกิจ
จากรายงานของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระบุว่าในปี 2564 ผลิตภัณฑ์มวลรวม
ในประเทศ (GDP) มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.6 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.2 ในปี 2563 จากแรง
สนับสนุนจากการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวร้อยละ 18.8 เป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 11 ปี โดย
ขยายตัวในเกณฑ์สูงต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ประกอบกับการที่การบริโภคภาค
เอกชนขยายตัวร้อยละ 0.3 เปรียบเทียบกับการลดลงร้อยละ 1.0 ในปี 2563 ตามการลดลงของความรุนแรงในการแพร่
ระบาดของโรคโควิด-19 การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด และการดำเนินการมาตรการเพื่อกระตุ้นการใช้
จ่ายของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นมาตรการช่วยเหลือภาคครัวเรือนและมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจและผู้
ประกอบการ SMEs
นอกจากนี้ ในด้านการลงทุนในปี 2564 การลงทุนรวมมีการเติบโตร้อยละ 3.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ
การลดลงร้อยละ 4.8 ในปี 2563 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งการลงทุนภาครัฐและภาคเอกชน โดยการลงทุนภาครัฐเติบโต
ร้อยละ 3.8 และการลงทุนภาคเอกชนในปี 2564 มีการเติบโตร้อยละ 3.2 อันเป็นผลสืบเนื่องจากการเติบโตของการ
บริโภคภาคเอกชนและการขยายตัวของการส่งออก ทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ปรับตัวเพิ่ม
ขึ้นและเริ่มเข้าสู่ช่วงของการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิต ส่งผลให้การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรในปี 2564
เติบโตร้อยละ 4.2 ในส่วนของการลงทุนในหมวดก่อสร้างของภาคเอกชนลดลงร้อยละ 0.6 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการ
ลดลงของแรงขับเคลื่อนจากการก่อสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในไตรมาส 2 ปี 2565 มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ปรับตัว
เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.3 ในไตรมาส 1 ปี 2565 ปัจจัยสำคัญมาจากการเร่งตัวของภาคบริการที่มี
แรงสนับสนุนจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประกอบกับการดำเนินมาตรการเพื่อ
สนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องของภาครัฐ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและชาวไทยขยายตัวสูง ด้านการ
ผลิตภาคบริการเร่งตัวขึ้น ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง นอกจากนี้ การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้น
สุดท้ายของเอกชนเร่งตัวขึ้น การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลชะลอลง ขณะที่การลงทุนรวมลดลง
สำหรับภาคต่างประเทศขยายตัวดีทั้งการส่งออกและการนำเข้าสินค้าและบริการ
ทั้งนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2565
จะขยายตัวร้อยละ 3.5 - 4.5 จากการขยายตัวมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ เนื่องจากการ
ผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของฐานรายได้
ครัวเรือนและภาคธุรกิจตามการฟื้นตัวของภาคส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการปรับตัวดีขึ้นของตลาด
แรงงาน ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2563 ประกอบกับการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของการ
ลงทุนภาคเอกชน และการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุน รวมถึงแรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐ
ตามกรอบงบลงทุนภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยคาดการณ์ว่าการลงทุนรวม จะขยายตัวร้อยละ 4.0

1.2.7.2 ภาพรวมอุตสาหกรรมเทคโนโลยี
จากข้อมูลของ Gartner, Inc. (Gartner) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำ
ของโลกระบุว่ามูลค่าการใช้จ่ายในตลาดไอทีของประเทศไทยในปี 2565 มีมูลค่าตลาดเท่ากับ 303.93 พันล้านบาท และ

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 31


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

คาดการณ์ว่าในปี 2566 จะมีอัตราการเติบโตอัตราร้อยละ 7.96 เป็น 354.96 พันล้านบาท โดยซอฟต์แวร์ระดับองค์กร


เป็นกลุ่มที่มีมูลค่าการใช้จ่ายเติบโตสูงที่สุดในปี 2566 โดยเพิ่มขึ้นอัตราร้อยละ 14.87 จากปีก่อน เนื่องจากองค์กรธุรกิจ
เริ่มพัฒนาสร้างเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ของตนเองเพิ่มมากขึ้นแทนการซื้อ อีกทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลยังเป็น
กลยุทธ์ทางธุรกิจที่สำคัญอันดับต้นๆ ขององค์กร นอกจากนี้ บริษัทและหน่วยงานต่างๆ ยังคงให้ความสำคัญกับความ
ปลอดภัยทางไซเบอร์จึงมีการมุ่งเน้นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเสริมความปลอดภัย รวมถึงการลงทุนใน
อุปกรณ์เทคโนโลยีเพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานรูปแบบไฮบริดของพนักงานที่มีแนวโน้มที่จะมีความซับซ้อนมากยิ่ง
ขึ้นในอนาคต
ตารางแสดงประมาณการมูลค่าการใช้จ่ายด้านไอทีประเทศไทย
2563 2564 2565 2566f 2567f 2568f 2569f
ดาต้าเซ็นเตอร์ มูลค่า (พันล้านบาท) 20.15 21.77 25.50 26.89 29.24 31.70 32.90
อัตราการเติบโต 8.08% 17.09% 5.43% 8.77% 8.42% 3.79%
ซอฟต์แวร์ระดับองค์กร มูลค่า (พันล้านบาท) 49.60 59.31 68.49 78.79 91.48 105.34 121.10
อัตราการเติบโต 19.59% 15.48% 15.03% 16.11% 15.15% 14.97
อุปกรณ์ดีไวซ์ มูลค่า (พันล้านบาท) 43.34 45.79 49.18 50.92 52.00 55.84 59.68
อัตราการเติบโต 5.65% 7.42% 3.53% 2.13% 7.38% 6.88%
บริการทางด้านไอที มูลค่า (พันล้านบาท) 70.97 90.03 98.97 109.31 122.37 138.42 157.88
อัตราการเติบโต 26.84% 9.94% 10.44% 11.95% 13.12% 14.06%
บริการด้านการสื่อสาร มูลค่า (พันล้านบาท) 83.42 82.58 84.94 88.45 90.83 92.47 94.45
อัตราการเติบโต (1.01%) 2.87% 4.13% 2.69% 1.81% 2.14%
มูลค่าการใช้จ่ายด้าน มู ล ค่ า (พั น ล้ า น
ไอทีทั้งหมด บาท) 267.47 299.47 327.09 354.34 385.91 423.77 466.02
อัตราการเติบโต 11.96% 9.22% 8.33% 8.91% 9.81% 9.97%
มูลค่าการใช้จ่ายด้านไอที มูลค่า (พันล้าน
สำหรับกลุ่มดาต้าเซ็นเตอร์ บาท) 140.72 171.11 192.96 214.97 243.08 275.45 311.89
ซอฟต์แวร์ระดับองค์กรและ
บริการทางด้านไอที อัตราการเติบโต 21.60% 12.77% 11.40% 13.08% 13.32% 13.23%
ที่มา: Gartner : Enterprise IT Spending by Vertical Industry Market, Worldwide, 2020-2026, 2Q22
ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงตลาดไอทีของประเทศไทยในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ซึ่ง
ได้แก่ ดาต้าเซ็นเตอร์ ซอฟต์แวร์ระดับองค์กรและบริการทางด้านไอทีนั้น ในปี 2565 กลุ่มตลาดดังกล่าวมีมูลค่าตลาด
รวมเท่ากับ 192.96 ล้านบาทและคาดการณ์ว่าในปี 2566 จะมีอัตราการเติบโตร้อยละ 11.40 ซึ่งจะเห็นว่าการเติบโต
ของตลาดไอทีในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับโดยตรงกับโซลูชั่นและบริการของบริษัทฯ มีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าการเติบโต
ของตลาดไอทีรวมในประเทศไทย ซึ่งจะมีอัตราการเติบโตที่ร้อยละ 8.33 โดยรายละเอียดมูลค่าการใช้จ่ายด้านไอทีใน
ส่วนดาต้าเซ็นเตอร์ ซอฟต์แวร์ระดับองค์กรและบริการทางด้านไอทีซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของบริษัทฯ
สำหรับแต่ละหมวดธุรกิจมีดังนี้
2563 2564 2565 2566f 2567f 2568f 2598f
ธุรกิจสถาบันการเงิน มูลค่า (พันล้านบาท) 41.56 51.76 57.82 64.10 71.72 80.17 90.41
อัตราการเติบโต 24.53% 11.72% 10.85% 11.89% 11.78% 12.78%
ธุรกิจการผลิตและพลังงาน มูลค่า (พันล้านบาท) 26.62 30.96 33.93 37.34 41.31 45.78 50.55
อัตราการเติบโต 16.31% 9.61% 10.06% 10.63% 10.83% 10.40%
ธุรกิจโทรคมนาคม มูลค่า (พันล้านบาท) 13.97 17.25 18.76 20.01 21.83 24.02 25.74
อัตราการเติบโต 23.44% 8.74% 6.66% 9.09% 10.03% 7.19%
ธุรกิจบริการ มูลค่า (พันล้านบาท) 4.79 5.86 6.74 7.89 9.38 11.30 13.19
อัตราการเติบโต 22.43% 15.12% 16.99% 18.94% 20.39% 16.76%
ธุรกิจการศึกษา มูลค่า (พันล้านบาท) 2.80 3.32 3.82 4.36 4.95 5.55 6.22
อัตราการเติบโต 18.66% 15.24% 14.00% 13.58% 12.14% 11.99%

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 32


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

2563 2564 2565 2566f 2567f 2568f 2598f


ธุรกิจอื่นๆ มูลค่า (พันล้านบาท) 50.98 61.97 71.88 81.27 93.89 108.64 125.78
อัตราการเติบโต 21.55% 16.00% 13.06% 15.52% 15.71% 15.77%
รวมทั้งหมด มูลค่า (พันล้านบาท) 140.72 171.11 192.96 214.97 243.08 275.45 311.89
อัตราการเติบโต 21.60% 12.77% 11.40% 13.08% 13.32% 13.23%
ที่มา: Gartner : Enterprise IT Spending by Vertical Industry Market, Worldwide, 2020-2026, 2Q22
จากตารางจะเห็นได้ว่าทุกกลุ่มธุรกิจมีการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล สะท้อนจากอัตราการเติบโตของมูลค่าตลาด
ทั้งนี้ ลูกค้าของกลุ่มบริษัทส่วนใหญ่ล้วนเป็นองค์กรขนาดใหญ่และอยู่ในภาคธุรกิจที่มีมูลค่าการใช้จ่ายด้านไอทีเติบโต
เช่น ธุรกิจการเงินและธนาคาร และธุรกิจโทรคมนาคม เป็นต้น
โดยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะอุตสาหกรรมเทคโนโลยี จากศูนย์วิจัยกรุงศรี หัวข้อแนวโน้มธุรกิจและ
อุตสาหกรรม ปี 2564-2566 ระบุว่าอุตสาหกรรมบริการดิจิทัลและซอฟต์แวร์ (Digital Services and Software Industry)
หมายถึงการผลิตและการให้บริการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ครอบคลุมการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล การให้บริการข้อมูล
เนื้อหาและธุรกรรมต่างๆ ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล รวมถึงการผลิตซอฟต์แวร์และการให้บริการด้านซอฟต์แวร์ ซึ่งถือเป็น
องค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของการสร้างมูลค่า (Value Creation) ผ่านนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์สู่ความเป็น
เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) โดยการเปลี่ยนแปลงระบบอุตสาหกรรมของโลกจากการเน้นเพิ่มประสิทธิภาพใน
กระบวนการผลิตไปสู่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาโมเดลธุรกิจเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
บริการด้านดิจิทัลมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากผลของโควิด-19 ที่แพร่ระบาดทั่วโลก ผลการสำรวจการ
ปรับตัวทางธุรกิจของผู้ประกอบการ 900 รายทั่วโลก ของ McKinsey พบว่าผู้ประกอบการทั่วโลกมีการปรับธุรกิจให้อยู่
ในรูปแบบดิจิทัลเพิ่มขึ้นจากสัดส่วนร้อยละ 35 ณ สิ้นปี 2562 เป็นร้อยละ 55 ในเดือนกรกฎาคม 2563 เพื่อรองรับ
พฤติกรรมการใช้ชีวิตและการทำงานตามวิถีใหม่ (New Normal) ที่เน้นการเว้นระยะห่างทางสังคมโดยติดต่อผ่าน
ออนไลน์และบริการดิจิทัลมากขึ้น โดย McKinsey คาดว่าการลงทุนพัฒนาธุรกิจสู่รูปแบบดิจิทัลทั่วโลกจะอยู่ในทิศทาง
ขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตลอดช่วงปี 2564-2570
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกรุงศรีได้จำแนกโครงสร้างธุรกิจบริการดิจิทัลและซอฟต์แวร์ของประเทศไทย 3 กลุ่มธุรกิจ
หลัก ได้แก่
1. Digital Services หรือบริการดิจิทัล เป็นการให้บริการผ่านสื่อดิจิทัล ครอบคลุมธุรกรรมบริการต่างๆ
ที่ผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น บริการข้อมูลข่าวสาร การให้คำปรึกษา การออกแบบระบบ บริการ
วิเคราะห์ประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ บริการ Cloud สำหรับ Platform และ Infrastructure และบริการ
ดิจิทัลด้าน FinTech, MedTech, AgriTech เป็นต้น
2. Software and Software Services หรือซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ เป็นการผลิต จำหน่าย
บริการ และให้เช่าด้านซอฟต์แวร์ โดยแบ่งตามประเภทซอฟต์แวร์ เช่น ซอฟต์แวร์ระดับองค์กร
(Enterprise Software) ซอฟต์แวร์ที่ให้บริการบนระบบ Cloud (Software as a service: SaaS)
ซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมอุปกรณ์
เทคโนโลยีสูง เป็นต้น
3. Digital Content หรือดิจิทัลคอนเทนต์ การผลิตเนื้อหา ข้อมูล หรือสื่อสร้างสรรค์ในรูปแบบดิจิทัล
ได้แก่ Games, Animation, Computer, Graphic, ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ สื่อการศึกษาในรูป
AR/VR/MR การ์ตูน และ E-Book
ตลาดธุรกิจบริการดิจิทัลและซอฟต์แวร์ของไทยมีมูลค่ารวมกันโดยเฉลี่ยประมาณ 3.0 แสนล้านบาทต่อปี ใน
ช่วงปี 2560-2562 โดยกลุ่มธุรกิจบริการดิจิทัลมีสัดส่วนรายได้สูงสุดกว่าร้อยละ 49.8 ของรายได้รวมในธุรกิจนี้ รองลง
ไปเป็นธุรกิจซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 40.8 และดิจิทัลคอนเทนต์ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 9.4 ผู้
ประกอบการในธุรกิจบริการดิจิทัลและซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่เป็นบริษัทคนไทยสัดส่วนถึงร้อยละ 95 โดยผู้ประกอบการที่มี

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 33


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

ขีดความสามารถในการแข่งขันมักเป็นบริษัทขนาดใหญ่โดยเฉพาะบริษัทต่างชาติที่เน้นการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่ง
สามารถพัฒนาได้เอง และมีการปรับปรุงรูปแบบการดำเนินธุรกิจได้ทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลได้ตลอด
เวลา แต่ยังมีอยู่จำนวนน้อย โครงสร้างตลาดโดยรวมของธุรกิจบริการดิจิทัลซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ยังเน้น
ภายในประเทศเป็นหลักสัดส่วนกว่าร้อยละ 90
สำหรับในปี 2565 ศูนย์วิจัยกรุงศรี (อ้างอิงตามรายงาน Industry Horizon เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2565) ได้
ประมาณการรายได้จากบริการดิจิทัลและอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ว่าจะเติบโตขึ้นร้อยละ 24 โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนหลัก
คือกลุ่มบริการดิจิทัลที่มีการคาดการณ์อัตราการเติบโตเท่ากับร้อยละ 30 ในปี 2565 เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคใน
ขณะนี้ซึ่งเน้นการใช้งานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 1 ของโลกในแง่ของส่วนแบ่งของ
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วประเทศที่ซื้อของออนไลน์และใช้บริการธนาคารบนมือถือ (ที่มา: Wearesocial, 2022) ประกอบกับ
การขยายตัวของแพลตฟอร์มทั้งจำนวนและรูปแบบซึ่งสามารถตอบรับความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างหลากหลาย
นอกจากนี้สำหรับกลุ่มธุรกิจซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ นั้นคาดการณ์การขยายตัวเท่ากับร้อยละ 12 ในปี 2565
จากการที่ภาคธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐได้มีการเปลี่ยนไปใช้การพัฒนาบนระบบบนคลาวด์เพื่อขยายการให้บริการแก่
ผู้คนจำนวนมากโดย PwC Thailand ประมาณการว่าภายในปี 2565 กว่าครึ่งหนึ่งของธุรกิจไทยได้ใช้บริการบนคลาวด์
และสำหรับธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ คาดการณ์ว่าในปี 2565 จะมีอัตราการเติบโตเท่ากับร้อยละ 12 โดยมีปัจจัยหนุนจาก
เกมออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ และการผนวกรวมเข้ากับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ สำหรับกลุ่มซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม
บริษัทฯ โดยรายได้กลุ่มธุรกิจนี้มาจากการผลิต จำหน่าย บริการหรือให้เช่าซอฟต์แวร์ ธุรกิจกลุ่มนี้เติบโตตามทิศทาง
การปฏิรูปองค์กรของภาคธุรกิจที่เน้นยุทธศาสตร์ Digital Transformation ซึ่งต้องประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์เพื่อประมวลผล
ข้อมูลเชิงวิเคราะห์ ปัจจุบันรูปแบบการใช้งานซอฟต์แวร์ปรับเปลี่ยนจากการซื้อลิขสิทธิ์มาเป็นการเช่าใช้มากขึ้น เอื้อให้
ผู้ประกอบการรายเล็กสามารถเข้าถึงการใช้ซอฟต์แวร์ง่ายขึ้น สอดคล้องกับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ที่อยู่ในช่วงปรับ
เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ (Business Transformation) โดยเน้นขยายการให้บริการซอฟต์แวร์ในรูปแบบของ Software as a
Service (SaaS) หรือ Software enable Service ที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของตนเองมากขึ้น โดยกลุ่มซอฟต์แวร์และ
บริการซอฟต์แวร์ ประกอบด้วยธุรกิจย่อย ได้แก่
1) Software System Integration (SI) ธุรกิจจัดทำระบบซอฟต์แวร์ หรือให้บริการบูรณาการรวมระบบที่
เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์
2) Software as a Service (SaaS) ธุรกิจให้บริการด้านซอฟต์แวร์บนระบบคลาวด์เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึง
โปรแกรมต่างๆ ได้โดยผ่านอินเตอร์เน็ต เช่น Microsoft Office365, Google Drive คิดค่าบริการแบบ
Subscription รายเดือน/ปี
3) Software License ธุรกิจที่มีรายได้จากการขายหรือให้เช่า Software License
4) Software Maintenance ธุรกิจบริการจัดหา ติดตั้ง บำรุงรักษา และปรับปรุงเวอร์ชั่นของซอฟต์แวร์
5) Customized Software ธุรกิจซอฟต์แวร์ที่ให้บริการออกแบบและพัฒนาเพื่อใช้เฉพาะกับงานที่เฉพาะ
เจาะจง โดยลูกค้าจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
6) Software Consult/Training ธุรกิจบริการให้คำปรึกษาด้านการวางระบบซอฟต์แวร์และอบรมหลักสูตร
ที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์
ในกลุ่มธุรกิจซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ การให้บริการ Software Maintenance, SaaS และ SI เป็น
ธุรกิจที่มีรายได้สูงสุดด้วยสัดส่วนรวมกันร้อยละ 73.4 ของมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ในไทย (ข้อมูลปี
62) เมื่อพิจารณาจากจำนวนผู้ประกอบการส่วนใหญ่กระจุกตัวในธุรกิจ Customized Software และ SI/SaaS/License
ในสัดส่วนรวมกันร้อยละ 64.5 ของจำนวนบริษัททั้งหมดในกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่มีรายได้เฉลี่ยต่อบริษัทสูงสุด
อยู่ในกลุ่มธุรกิจ Software Consult/Training ส่วนใหญ่จะเน้นให้คำปรึกษาด้านออกแบบพัฒนาซอฟต์แวร์สมองกลฝัง
ตัวที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของตนเองซึ่งเป็นส่วนที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูง ประกอบกับ จำนวนผู้ประกอบการยังไม่มากนัก

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 34


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

ธุรกิจที่มีรายได้เฉลี่ยต่อบริษัทลำดับถัดมา ได้แก่ ธุรกิจ Software Maintenance ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการดูแลและปรับปรุง


ระบบซอฟต์แวร์ โดยได้อานิสงส์จากตลาดที่มีขนาดใหญ่

ที่มา : ศูนย์วิจัยกรุงศรี
ข้อมูลจากรายงาน Industry Horizon ของศูนย์วิจัยกรุงศรี เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2565 ได้ประมาณการ
เติบโตของธุรกิจซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ในปี 2566 เท่ากับร้อยละ 12 โดยเติบโตต่อเนื่องจากปี 2565 เนื่องจาก
แนวโน้มการเติบโตของเทคโนโลยีคลาวด์และการตัวของเครือข่าย 5G ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเติบโตให้กับบริการใน
กลุ่ม Software as a Service (SaaS) ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจที่ต้องการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลโดย
การปรับรูปแบบการดำเนินของตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้งในส่วนของการผลิตและบริการ ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นทั้ง
ในส่วนขององค์กรขนาดใหญ่และ SMEs ที่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มเงินลงทุนในซอฟต์แวร์มากขึ้นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผน
พัฒนาธุรกิจ ดังนั้น จึงคาดการณ์ว่าบริษัทในกลุ่มที่ให้บริการ Software as a Service (SaaS), Software System
Integration (SI) และ Software consult จะมีอัตราการเติบโตที่สูง
ทั้งนี้ จากการที่กลุ่มบริษัทฯ เป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ในประเทศไทย ที่มีการให้บริการทาง
เทคโนโลยีให้แก่ลูกค้าองค์กรไปจนถึงผู้ใช้บริการ (End-User) มาอย่างยาวนาน ดังนั้น การที่สภาวะอุตสาหกรรม
เทคโนโลยีมีแนวโน้มการเติบโตในอนาคตดีย่อมส่งผลให้กลุ่มบริษัทฯ มีพื้นที่ในการขยายธุรกิจและกลุ่มลูกค้ามากขึ้น
และมีโอกาสส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้กับประเทศและสังคม โดยเทคโนโลยีแต่ละประเภทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
ของบริษัทฯ ปัจจุบันมีแนวโน้มดังนี้
1. Data Analytics
Big Data และ Data Analytics เป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในยุคที่ให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์จากข้อมูล
และจะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ในการศึกษารูปแบบและพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น เพื่อปรับปรุงการทำ
ธุรกิจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้ รายได้ของตลาด Big Data ทั่วโลกสำหรับซอฟต์แวร์และบริการคาดว่าจะเพิ่มขึ้น
จาก 4.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2561 เป็น 1.03 แสนล้านเหรียญสหรัฐในปี 2570 ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี
(CAGR) ที่ร้อยละ 10.48 ทำให้ในอนาคต บริษัทต่างๆ จึงมองหา นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data analyst) เพื่อมาแปลง
ข้อมูลมหาศาลเป็นข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเผยรูปแบบพฤติกรรมที่ซ่อนอยู่ในข้อมูล ระบุ
โอกาสและรวบรวมข้อมูลเชิงลึกที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมธุรกิจและการปรับปรุงกระบวนการทำงาน ภายในปี 2568 ผู้คน
ทั่วไปในโลกจะมีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์รับส่งข้อมูลมากถึง 4,800 ครั้งต่อวัน ทั้งนี้ คาดว่าปริมาณข้อมูลจะเติบโตอย่าง
มาก จาก 33 เซตตะไบต์ ในปี 2561 เพิ่มขึ้นเป็น 175 เซตตะไบต์ ในปี 2568 ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 26.9
ต่อปี ข้อมูลจำนวนมหาศาลจะเกิดจากแหล่งข้อมูลต่างๆ อย่าง คลาวด์ ศูนย์ข้อมูล เสาสัญญาณ และอุปกรณ์ เช่น สมา
ร์ทโฟน และอุปกรณ์ IoT จะเป็นตัวแปรหลักที่ก่อให้เกิดข้อมูลมากกว่าร้อยละ 50 ของปริมาณการผลิตข้อมูลทั้งหมด
ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2562 ข้อมูลส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ที่พื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบคลาวด์ และ ศูนย์ข้อมูลมากกว่าเก็บไว้บน
อุปกรณ์ ถือเป็นแนวโน้มใหม่ในยุคดิจิทัล ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นจำนวนมหาศาลจะผลักดันให้การใช้งานคลาวด์และศูนย์ข้อมูล
รวมถึงเทคโนโลยี Data Analytics เติบโตยิ่งขึ้น

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 35


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

สำหรับประเทศไทย การลงทุนใน Data Analytics มีแนวโน้มที่จะถูกขับเคลื่อนโดยภาคการธนาคารและ


อุตสาหกรรมโทรคมนาคม โดยมูลค่าของตลาด Data Analytics ในประเทศไทยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 2.8 หมื่นล้านบาท
ในปี 2561 เป็น 9.2 หมื่นล้านบาทในปี 2568 ที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) อยู่ที่ 18.3% ในช่วงระยะเวลา
คาดการณ์ กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและมีแนวโน้มที่จะลงทุนใน Data Analytics มากที่สุดภายใน 5 ปี ได้แก่ กลุ่ม
ธนาคาร กลุ่มโทรคมนาคม กลุ่มการผลิตชิ้นส่วน รัฐบาลกลาง และกลุ่มการบริการวิชาชีพ ทั้งนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมข้าง
ต้นคาดว่าจะมีการใช้จ่ายมากกว่าร้อยละ 55 ของการใช้จ่ายทั้งหมด นอกจากนี้ คาดการณ์ว่าในกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ให้
บริการวิชาชีพ ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับทรัพยากรธรรมชาติจะมีอัตราการ
เติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ในระยะ 5 ปีที่ร้อยละ 16.9 ร้อยละ 16.1 และร้อยละ 15.5 ตามลําดับ นอกจากนี้ จากแนว
โน้มที่ในอนาคตกระบวนการตัดสินใจที่อาศัย Data Analytics มีแนวโน้มจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า เนื่องจากขั้นตอนในการ
ตัดสินใจแบบอัตโนมัติจะมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Machine Learning เพื่อสร้างแบบจําลองการวิเคราะห์โดย
อัตโนมัติ โดยมีการคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดของ Machine Learning ทั่วโลกจะเติบโตจาก 4.4 หมื่นล้านบาทในปี 2018
มาเป็น 2.77 แสนล้านบาทในปี 2022 ที่ อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) อยู่ที่ร้อยละ 44.1 อัตราการเติบโตของ
Machine Learning จะผลักดันการเติบโตของ Data Analytics ทั่วโลก โดยเฉพาะสําหรับประเทศไทยนั้น หลังจากปี
2568 อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ของ Data Analytics จะอยู่ที่ร้อยละ 15.3 โดยคาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมที่มี
ศักยภาพและมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้นําในการลงทุนใน Data Analytics ในอีก 10 ปีข้างหน้าคือกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการ โทรคมนาคม ธุรกิจการดูแลสุขภาพ และธุรกิจพลังงาน
2. Cybersecurity
เทคโนโลยีด้านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้
งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ปรากฎการณ์เหล่านี้ไม่เพียงแต่ส่งผลในแง่บวกต่อสังคมและธุรกิจต่างๆ แต่ยังส่งผลกระทบใน
แง่ลบ โดยเฉพาะประเด็นด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และประเด็นด้านความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ การ
โจมตีในโลกไซเบอร์มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถโจมตีเทคโนโลยีที่หลากหลายต้ังแต่
โทรศัพท์มือถือไปจนถึงเครือข่ายคลาวด์ ด้วยเหตุนี้ การโจมตีทางไซเบอร์จึงสามารถเกิดขึ้นได้ในบริเวณกว้างตั้งแต่
ระหว่าง องค์กร ระหว่างประเทศ ไปจนถึงระหว่างภูมิภาค โดยมีตัวอย่างเหตุการณ์การโจมตี อาทิ การโจมตีเรียกค่าไถ่
ข้อมูล Wannacry Malware ที่ส่งผลให้เกิดการยกเลิกนัดหมายแพทย์ในประเทศสหราชอาณาจักร พร้อมทั้งทําให้ระบบ
คอมพิวเตอร์ของการรถไฟแห่งชาติ ประเทศเยอรมนีและผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่อย่าง Telefonica ต้องหยุด
ชะงัก และการที่กลุ่มแฮกเกอร์ Avaddon ขโมยข้อมูลลูกค้าประกันสุขภาพของกลุ่มบริษัทประกัน AXA ที่ส่งผลกระทบ
ต่อการให้บริการในประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย ประเทศฮ่องกง และประเทศฟิลิปปินส์
สำหรับประเทศไทยซึ่งมีจํานวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2561 มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
จำนวน 57 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 82 จากจำนวนประชากรไทยทั้งหมด 69.11 ล้านคน คิดเป็นอัตราเติบโตถึงร้อยละ 24
เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2560 ยิ่งการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตครอบคลุมประชากรมากขึ้น ความมั่นคงปลอดภัยยังคงเป็นประเด็น
สําคัญสําหรับหน่วยงานกํากับดูแล บริษัทเอกชน และบุคคลทั่วไป ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านความมั่นคงปลอดภัยสูงขึ้นทั้งใน
ประเทศไทยและทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงทางไซเบอร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง
ใต้ ได้แก่ ความพร้อมของนโยบายใหม่ การขาดกรอบการกํากับดูแลแบบรวมภูมิภาค การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะ
ความรู้ ความสามารถ การประเมินความเสี่ยงต่ำเกินไปและเม็ดเงินลงทุนไม่เพียงพอ โดยค่าใช้จ่ายด้านความมั่นคง
ปลอดภัยทางไซเบอร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าอยู่ที่จำนวน 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2559 คิดเป็น
สัดส่วนร้อยละ 0.06 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในภูมิภาคนี้ ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวของภูมิภาคมีการคาดการณ์ว่า
จะเติบโตร้อยละ 15 ตามอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีระหว่างปี 2558 ถึงปี 2568 ในขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านความมั่นคงปลอดภัย
ไซเบอร์ของประเทศไทย คาดว่าจะเพิ่มระดับขึ้นจนมีมูลค่าถึง 511 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2568 จาก 159 ล้านเหรียญ
สหรัฐในปี 2558 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปีที่ร้อยละ 12 นับเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ต่อประชากร
มากกว่า 3 เท่า เป็น 7.4 เหรียญสหรัฐ ภายในปี 2568 จากเดิมที่ 2.3 เหรียญสหรัฐในปี 2558

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 36


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

ค่าใช้จ่ายด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย หน่วยล้านเหรียญ ปี 2558-2568

Sources: Frost & Sullivan, IDC, Gartner


3. Data Center & Cloud
มูลค่าตลาดการให้บริการ Data Center รวมของโลกคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่ร้อยละ
23 ในช่วงปี 2563-2565 โดยมีปัจจัยหนุนจากตลาด Public Cloud ที่เติบโตโดดเด่น เนื่องจากสามารถตอบโจทย์การใช้
งานระดับองค์กรภายใต้วิถีใหม่ (New Normal) ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ ในปี 2565 คาดว่ามูลค่าตลาดรวมของ Data
Center จะเท่ากับ 3.9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 12 ล้านล้านบาท) โดยในอดีตตลาด Data Center มีอัตราการ
เติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) อยู่ที่ร้อยละ 22 ในช่วงปี 2561-2563 โดยได้อานิสงค์จากปริมาณการใช้ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่าง
ต่อเนื่องตามการพัฒนาของเทคโนโลยีดิจิทัล และอัตราการเข้าถึงสมาร์ตโฟนและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของผู้บริโภคที่
เพิ่มมากขึ้น อัตราการเติบโตดังกล่าวมีเพิ่มขึ้นขึ้นจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญให้องค์กรนำ
เทคโนโลยีคลาวด์เข้ามาช่วยในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น และคาดว่ากระแสดังกล่าวจะยังดำเนินต่อเนื่องไปในอนาคต
เนื่องจากเทคโนโลยีคลาวด์สามารถช่วยลดต้นทุนในด้านไอทีให้กับองค์กรและยังช่วยอำนวยความสะดวกให้พนักงาน
ในองค์กรสามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านซอฟต์แวร์ต่างๆ เช่น ซอฟต์แวร์การจัดการลูกค้า (Customer
Relationship Service: CRM) ซอฟต์แวร์การประชุมระยะไกล (Teleconference) ซอฟต์แวร์การจัดทำเอกสารออนไลน์
และ e-signature เป็นต้น จากการรวบรวมข้อมูลงานศึกษาแนวโน้มธุรกิจ Data Center ของสถาบันวิจัยชั้นนำในต่าง
ประเทศ EIC ประเมินว่ามูลค่าตลาด private cloud จะเติบโตในอัตราที่ช้ากว่าตลาด Data Center โดยคาดว่าจะมีอัตรา
การเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ประมาณร้อยละ 8 โดยมีมูลค่าตลาดประมาณ 5.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงปี
2563-2565 เนื่องจากมีแรงกดดันของลูกค้าบางส่วนที่อาจเปลี่ยนไปใช้บริการ Public Cloud แทน ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก
การปรับตัวขององค์กรเพื่อลดต้นทุนในการดำเนินงาน ขณะที่ตลาด Public Cloud คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี
(CAGR) ที่สูงถึงร้อยละ 25 ส่งผลให้มูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 3.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2565
ในส่วนของประเทศไทย มูลค่าการให้บริการ Data Center มีแนวโน้มเติบโตในอัตราที่ช้ากว่าตลาดโลก โดย
คาดว่าในช่วงปี 2563-2565 จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) เท่ากับร้อยละ 20 และส่งผลให้มีมูลค่าตลาด
ประมาณ 3.2 หมื่นล้านบาท ถือเป็นการเร่งตัวขึ้นจากอัตราการเติบโตเฉลี่ยในช่วงปี 2561-2563 ซึ่งมีอัตราการเติบโต
เฉลี่ยต่อปี (CAGR) ประมาณร้อยละ 19 โดยตลาด Private Cloud คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่
ร้อยละ 6 โดยมีมูลค่าตลาด 6.3 พันล้านบาทในปี 2565 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำกว่าตลาดโลก ซึ่งมีอัตราการเติบโต
เฉลี่ยต่อปี (CAGR) ร้อยละ 8 โดยเป็นผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจของไทยในช่วงปี 2564-2565 ที่คาดว่าจะฟื้นตัวช้า
กว่าเศรษฐกิจโลกจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ผู้ประกอบการในบางธุรกิจ
ตัดสินใจชะลอการลงทุนด้านสินทรัพย์ไอทีลง หรือบางส่วนมีการเปลี่ยนไปใช้งาน Public Cloud มากขึ้น เนื่องจากใช้
เงินลงทุนเริ่มต้นน้อยกว่า ขณะที่ตลาด Public Cloud ของไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ใกล้เคียงกับตลาดโลก และคาดว่าจะ
มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ราวร้อยละ 24 มาอยู่ที่ 2.6 หมื่นล้านบาทในปี 2565 จากการใช้งานเทคโนโลยี
คลาวด์ภายในองค์กรที่เพิ่มขึ้น

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 37


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

4. Digital Transformation
จากข้อมูลของ Markets and Markets Research ระบุว่ามูลค่าตลาด Digital Transformation ของทั่วโลก
จะเติบโตจาก 594.5 พันล้านบาท ในปี 2565 เป็น 1,548.9 พันล้านบาท ในปี 2570 ซึ่งคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย
ร้อยละ 21.1 และจากรายงาน Thailand Digital Transformation Survey Report 2022 ถูกจัดทำโดย Deloitte ทำการ
สำรวจความเห็นบุคลากรระดับผู้บริหารองค์กรเรื่อง Digital Disruption และ Digital transformation เริ่มจากระดับผลก
ระทบของ Digital Disruption โดยธุรกิจและผู้ประกอบการต่างเริ่มทำการปฏิรูปองค์กรในช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาดเพื่อ
ความอยู่รอดขององค์กร อย่างไรก็ตาม ในปี 2565 ถึงแม้สถานการณ์โรคระบาดเริ่มคลี่คลาย แต่ Digital Disruption ยัง
คงมีผลกระทบต่อองค์กร และใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความแตกต่างจากบริษัทคู่แข่ง นอกจากนี้ บางบริษัทยังมอง
ว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลในทางบวกต่อองค์กรเนื่องจากจะสามารถนำข้อมูลที่มีในองค์กรมาใช้ในการวิเคราะห์
พฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อหาโอกาศทางธุรกิจเพิ่มเติมในอนาคตได้
ทั้งนี้ จากรายงานของ Deloitte ระบุว่าองค์กรกำลังอยูในช่วงเปลี่ยนผ่าน กล่าวคือเป็นช่วงที่กำลังเริ่มและ
ค่อยๆ ประยุกต์ Digital Transformation กับองค์กร โดย Customer Engagement มีสัดส่วนร้อยละ 55.8 Customer
Insights มีสัดส่วนร้อยละ 46.5 Digitalized Organization มีสัดส่วนร้อยละ 40 Data-driven Organization มีสัดส่วนร้อย
ละ 37.5 และ Cybersecurity มีสัดส่วนร้อยละ 40 นอกจากนี้ องค์กรบางส่วนยังเริ่มมีแผนการชัดเจนเกี่ยวกับ Digital
Plan แผนการลงทุนและนวัตกรรม โดย Customer Centricity มีสัดส่วนร้อยละ 23.3 Business Models มีสัดส่วนร้อย
ละ 20.9 Digitalized Organization มีสัดส่วนร้อยละ 17.5 และ Cybersecurity มีสัดส่วนร้อยละ 35 ตามภาพดังนี้

นอกจากนี้ Deloitte ได้กล่าวถึง Technology Implementation ที่ระบุชนิดเทคโนโลยีที่องค์กรขนาดใหญ่ กลาง


และเล็กเลือกใช้ สามารถแบ่งเทคโนโลยีออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน (Basic Technology) และ
เทคโนโลยีขั้นสูง (Advance Technology) โดยผลการศึกษาพบว่าขนาดองค์กรและการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้มี
ความสัมพันธ์กันไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ยิ่งองค์กรมีขนาดใหญ่ องค์กรนั้นยิ่งมีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้
หลากหลายขึ้น โดยเทคโนโลยีพื้นฐานและการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) ที่จัดอยู่ในหมวดเทคโนโลยีขั้นสูงเป็นที่
นิยมในองค์กรทุกขนาด ในขณะที่องค์กรใหญ่มีแนวโน้มที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหลากหลายชนิดมากกว่าองค์กร
ขนาดเล็ก เนื่องจากองค์กรใหญ่มีงบประมาณรองรับมากกว่าในการลงทุนด้านเทคโนโลยีและมีความซับซ้อนของ
กระบวนการทำงานและห่วงโซ่อุปทานมากกว่าองค์กรขนาดเล็ก ดังนั้น การใช้เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถช่วยพัฒนา
กระบวนการทำงาน ในแง่ของการลดเวลาทำงานและข้อผิดพลาดได้

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 38


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 39


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

1.2.8 ภาวะการแข่งขัน
(1) กลุ่มธุรกิจให้บริการโซลูชั่นระดับองค์กร
ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในประเทศไทย แม้จะมีผู้ประกอบการรายอื่นหลายรายที่ให้บริการ แต่จากการที่
ลักษณะธุรกิจของบริษัทฯ ที่เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล ซึ่งครอบคลุมกลุ่มโซลูชั่นที่มี
ความหลากหลายส่งผลให้บริษัทฯ มีคู่แข่งทางตรงจำนวนไม่มากนักบริษัทฯ โดยตัวอย่างคู่แข่งที่มีลักษณะการประกอบ
ธุรกิจใกล้เคียงกับกลุ่มบริษัทฯ มีดังนี้
รายชื่อบริษัท รายได้รวม กำไรสุทธิ ลักษณะโซลูชั่นที่ให้บริการ/4
(ล้านบาท) (ล้านบาท)
ปี 2564 ปี 2565 ปี 2564 ปี 2565 Cyber Cloud and Data and Digital Manage
Security Datacenter Analytic Business& Tech
Application services
บมจ. แอ็ดวานซ์อินฟอร์เมชั่น 7,034.75 6,726.59 527.12 541.64 -  -  
เทคโนโลยี /1
บมจ. เมโทรซิสเต็มส์ 7,262.54 9,451.82 195.58 244.95    - 
คอร์ปอเรชั่น /1
บจ. เอคเซนเชอร์ โซลูชั่นส์ /3 6,000.45 8,270.72 827.71 814.79 -    -
บมจ. เอ็ม เอฟ อี ซี /1 5,185.05 5,453.11 257.96 240.08    - 
บจ. ยิบอินซอย/2 5,012.35 n/a 166.34 n/a     
บมจ. จีเอเบิล 4,993.13 4,781.58 244.84 268.16     
บจ. ฟูจิตสึ (ประเทศไทย)/2 3,348.90 n/a 132.70 n/a   -  
บจ. ดาต้าโปร คอมพิวเตอร์ 2,148.82 n/a 93.69 n/a   -  
ซิสเต็มส์ /2
บจ. เอ็นทีที (ประเทศไทย)/3 2,023.62 2,566.57 82.95 63.87   -  
บจ. ดาต้า วัน เอเชีย 1,356.76 n/a 52.88 n/a   -  
(ประเทศไทย) /2
บมจ. เบริล 8 พลัส /1 379.11 810.98 82.14 138.62     
บมจ. บลูบิค กรุ๊ป /1 306.36 567.53 66.50 130.61 - -   

หมายเหตุ: /1
ข้อมูลจากงบการเงิน (สิ้นงวดปีบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม)
/2
ข้อมูลจาก Corpus BOL (สิ้นงวดปีบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม)
/3
ข้อมูลจาก Corpus BOL (สิ้นงวดปีบัญชี ณ วันที่ 31 มีนาคม)
/4
ข้อมูลจาก Corpus BOL (สิ้นงวดปีบัญชี ณ วันที่ 31 สิงหาคม)
/5
ข้อมูลจาก Website และแบบแสดงรายการข้อมูล

จากรายละเอียดการให้บริการโซลูชั่นของคู่แข่งแต่ละรายตามตารางข้างต้นทำให้เห็นว่า บริษัทฯ ถือว่าเป็น


หนึ่งในผู้ให้บริการโซลูชั่นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลที่มีโซลูชั่นที่หลากหลายพร้อมตอบสนองความต้องการ
ของลูกค้าได้อย่างครบครัน โดยมีขนาดธุรกิจที่ใกล้เคียงกับผู้ประกอบใหญ่ซึ่งมีโซลูชั่นที่คล้ายคลึงกับบริษัทฯ นอกจาก
นี้ กลุ่มบริษัทฯ ยังมีกลุ่มธุรกิจบริการซอฟต์แวร์แพลตฟอร์ม ซึ่งทำให้บริษัทฯ มีโอกาสขยายขอบเขตของโซลูชั่นและ
บริการอื่นได้เพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างความแตกต่างและความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันในอนาคต

(2) กลุ่มธุรกิจโซลูชั่นที่เป็นตัวแทนจำหน่ายและสร้างมูลค่าเพิ่ม
กลุ่มบริษัทฯ ประกอบธุรกิจตัวแทนจำหน่ายระบบเทคโนโลยีสารสนเทศผ่าน FLG ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริ
ษัทฯ โดย FLG เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับ Oracle Corporation (“Oracle”) และ

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 40


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

Veritas Technologies LLC (“Veritas”) ซึ่งในปัจจุบัน บริษัทในประเทศไทยที่ได้รับการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายจาก


Oracle และ Veritas มีดังนี้
Oracle : ปัจจุบัน Oracle มีตัวแทนจำหน่าย (Value Added Distributors) ในประเทศไทยทั้งหมด 4 รายได้แก่
1. บริษัท บริษัท เฟิร์ส ลอจิก จำกัด
2. บริษัท วินท์คอม เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)
3. บริษัท เอ-โฮสต์ จำกัด และ
4. บริษัท วีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) จำกัด
Veritas : ปัจจุบัน Veritas มีตัวแทนจำหน่าย (Veritas Distribution Partner) ในประเทศไทยทั้งหมด 3 รายได้ แก่
1. บริษัท เฟิร์ส ลอจิก จำกัด
2. บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และ
3. บริษัท วีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) จำกัด
(3) กลุ่มธุรกิจบริการซอฟต์แวร์แพลตฟอร์ม
จากข้อมูลของศูนย์วิจัยกรุงศรี ผู้ประกอบการในธุรกิจบริการดิจิทัลและซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่เป็นบริษัทคนไทย
สัดส่วนถึงร้อยละ 95 โดยบริการด้านดิจิทัลและซอฟต์แวร์ นั้นมีรูปแบบการให้บริการที่หลากหลาย รวมถึงมีฟังก์ชั่นการ
ใช้งานที่หลากหลายแตกต่างกันเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานในแต่ละด้าน อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการส่วน
ใหญ่ที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันมักเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่โดยเฉพาะบริษัทต่างชาติที่เน้นการใช้นวัตกรรม
ใหม่ๆ ซึ่งสามารถพัฒนาขึ้นได้เอง และมีการปรับปรุงรูปแบบการดำเนินธุรกิจได้ทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
ดิจิทัลได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ ซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มของกลุ่มบริษัทฯ ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มด้านการตลาดดิจิทัล
(Marketing Technology) แบบครบวงจร แพลตฟอร์มสำหรับจัดการข้อมูล Big Data และแพลตฟอร์มสำหรับบริหาร
จัดการพื้นที่เช่า ล้วนเป็นแพลตฟอร์มที่มีศักยภาพในการแข่งขันที่ทัดเทียมกับแพลตฟอร์มจากต่างประเทศ โดยมีจุด
เด่นในด้านการให้บริการในรูปแบบ Software as a Service (SaaS) ผ่านระบบคลาวด์ ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถเริ่มใช้
งานซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มได้ภายใต้งบประมาณที่จำกัด และสามารถขยายการใช้งานเพิ่มเติมได้ในอนาคตตามการ
เติบโตของลูกค้า

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 41


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

1.2.9 ทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ
บริษัทฯ มีทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจที่สำคัญได้แก่ อุปกรณ์ และสินทรัพย์ไม่มีตัวตน โดยมีมูลค่าสุทธิ
ตามบัญชีหลังหักค่าเสื่อมราคา ตามที่แสดงในงบการเงินรวมสำหรับปีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 รวมจำนวน
135.38 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้
มูลค่าสุทธิตามบัญชี
ณ วันที่ 31 ธันวาคม ลักษณะ
รายการ ภาระผูกพัน
2565 กรรมสิทธิ์
(ล้านบาท)
อุปกรณ์
- คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ให้เช่า 0.31 เจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่มี
- คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 46.64 เจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่มี
- คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (สินค้าทดสอบ) 3.25 เจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่มี
- คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (อะไหล่) 7.70 เจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่มี
- เครื่องตกแต่งติดตั้งและเครื่องใช้สำนักงาน 24.77 เจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่มี
- สินทรัพย์ระหว่างติดตั้ง - เจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่มี
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน 52.70 เจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่มี
รวม 135.38

1.2.10 งานที่ยังไม่ได้ส่งมอบ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 กลุ่มบริษัทฯ มีงานโครงการและบริการที่ได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าแล้ว แต่ยังไม่ได้ส่ง


มอบหรือให้บริการแก่ลูกค้ารวมจำนวน 4,051.41 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ประเภทรายได้ ปี ที่คาดว่าจะรับรู้รายได้ รวม


(หน่วย: ล้านบาท) 2566 2567 2568 2569 2570
1.กลุ่มธุรกิจให้บริการโซลูชั่นระดับองค์กร 2,088.53 501.82 234.72 121.79 46.00 2,992.86
(Enterprise Solution and Services)
2.กลุ่มธุรกิจโซลูชั่นที่เป็นตัวแทนจำหน่ายและ 719.32 152.22 66.12 27.18 18.04 982.88
สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value-added Distribution)
3.กลุ่มธุรกิจบริการซอฟต์แวร์แพลตฟอร์ม 63.25 9.11 3.26 0.05 - 75.67
(Software Platform)
รวม 2,871.10 663.16 304.10 149.01 64.04 4,051.41
หมายเหตุ : มูลค่าตามสัญญาคงเหลือที่คาดว่าจะรับรู้เป็นรายได้ในแต่ละช่วงเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงจากที่ระบุไว้
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าตามสัญญาหรือการเปลี่ยยนแปลงกำหนดการส่งมอบงาน

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 42


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

1.3 โครงสร้างการถือหุ้นของกลุ่มบริษัทฯ

1.3.1 โครงสร้างการถือหุ้นของกลุ่มบริษัทฯ
ปัจจุบัน โครงสร้างการถือหุ้นของกลุ่มบริษัทฯ เป็นดังนี้

บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)


(ทุนชำระแล้ว 525,000,000 บาท)

100% 100% 100% 73.00%/1 95.00%/2 100%

บริษัท เฟิ ร์ส ลอจิก จำกัด บริษัท เอ็มเวิร์จ จำกัด บริษัท เดอะ คอมมูนิเคชั่น บริษัท อินไซท์เอรา จำกัด บริษัท เบลนเดต้า จำกัด บริษัท ไซเบอร์จีนิคส์ จำกัด
(“FLG”) (“MVG”) โซลูชั่น จำกัด (“TCS”) (“INSE”) (“BLD”) (“CGN”)
ทุนจดทะเบียน 20,000,000 บาท ทุนจดทะเบียน 50,000,000 บาท ทุนจดทะเบียน 22,570,770 บาท ทุนจดทะเบียน 12,500,000 บาท ทุนจดทะเบียน 20,000,000 บาท ทุนจดทะเบียน 50,000,000 บาท
ทุนชำระแล้ว 20,000,000 บาท ทุนชำระแล้ว 50,000,000 บาท ทุนชำระแล้ว 22,570,770 บาท ทุนชำระแล้ว 12,500,000 บาท ทุนชำระแล้ว 15,000,000 บาท/3 ทุนชำระแล้ว 50,000,000 บาท

หมายเหตุ : 1/ บริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 73 ใน INSE โดยผู้ถือหุ้นรายอื่นใน INSE ได้แก่ (1) ผู้บริหารและพนักงานของ INSE ประกอบด้วย น.ส.นารีรัตน์ แซ่เตียว ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 11.0 นายกันต์
อรัญชราธร ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 2.5 และนายธนพล มีติฉัตร ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 4.0 และ (2) นายสันติธรรม พรหมอ่อน ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT) ถือ
หุ้นในสัดส่วนร้อยละ 6.5 และ (3) บจ.นววิวรรธ บริษัทภายใต้การบริหารของ KMUTT ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 3.0
2/ บริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 95 ใน BLD โดยผู้ถือหุ้นรายอื่นใน BLD ได้แก่ ผู้บริหารและผู้พัฒนาแพลตฟอร์มของ BLD ประกอบด้วย นายอุกฤษฏ์ วงศราวิทย์ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 1.25
นายณัฐนภัส รชตะวิวรรธน์ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 1.25 นายชายลักษณ์ ฉันทวิทย์ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 1.25 และ นายไพฑูรย์ ชีวินศิริวัฒน์ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 1.25
3/ BLD มีทุนจดทะเบียนจำนวน 20 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมีการเรียกชำระจำนวนร้อยละ 75 ของมูลค่าที่ตราไว้ตามสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละราย รวมเป็นทุนชำระแล้วจำนวน 15 ล้านบาท

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 43


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

รายละเอียดของบริษัทย่อย
(1) บริษัท เฟิ ร์ส ลอจิก จำกัด (“FLG”)
FLG จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2546 ด้วยทุนจดทะเบียนจำนวน 20 ล้านบาท แบ่ง
เป็นหุ้นสามัญจำนวน 2,00,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ปัจจุบัน FLG ประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนจำหน่าย
ผลิตภัณฑ์ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแบบเพิ่มมูลค่า (Value-added Distributor) ให้กับ Oracle Corporation
(Oracle) และ Veritas Technologies LLC
(2) บริษัท เอ็มเวิร์จ จำกัด (“MVG”)
MVG จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทภายใต้ชื่อบริษัท ซีดีจี ไมโครซีสเต็มส์ จำกัด (“CDGM”) เมื่อวันที่ 25
มีนาคม 2537 ด้วยทุนจดทะเบียนจำนวน 5 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 500,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ
10 บาท CDGM เพิ่มทุนอย่างต่อเนื่องโดยในปี 2547 มีทุนจดทะเบียนจำนวน 20 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน
2,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท และเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2547 บริษัทฯ ได้เข้าซื้อหุ้นสามัญ CDGM
จากกลุ่มผู้ถือหุ้น ซึ่งมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือกลุ่มลิ่วเจริญ กลุ่มเอื้อวัฒนสกุล กลุ่มชันซื่อ และกลุ่มพันธุมวนิช จำนวน
1,999,994 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 100 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ CDGM จำกัด ต่อมาได้จดทะ
เบียยนเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท เอ็มเวิร์จ จำกัด ในปี 2557 และเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนและ
ทุนชำระแล้วเป็นจำนวน 50,000,000 บาท เพื่อรองรับการขยายธุรกิจในอนาคต
ปัจจุบัน MVG ประกอบธุรกิจพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการพื้นที่เช่าและโซลูชั่นบริหารระบบ
งานบน Microsoft Power platform
(3) บริษัท เดอะ คอมมูนิเคชั่น โซลูชั่น จำกัด (“TCS”)
TCS จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2534 ด้วยทุนจดทะเบียนจำนวน 3 ล้านบาท แบ่ง
เป็นหุ้นสามัญจำนวน 300,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดย TCS เพิ่มทุนอย่างต่อเนื่องโดยในปี 2547
TCS มีทุนจดทะเบียนจำนวน 22,570,770 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 2,257,077 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10
บาท และเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2547 บริษัทฯ ได้เข้าซื้อหุ้นสามัญ TCS จากกลุ่มผู้ถือหุ้น ซึ่งมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือกลุ่มลิ่ว
เจริญ กลุ่มเอื้อวัฒนสกุล กลุ่มชันซื่อ และกลุ่มพันธุมวนิช จำนวน 2,257,071 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 100 ของ
จำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ TCS
ปัจจุบัน TCS ประกอบธุรกิจให้บริการโซลูชั่นด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล โดยปัจจุบัน TCS ให้บริการ
เฉพาะกลุ่มกับลูกค้าที่ TCS มีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ขายไว้เท่านั้น รวมถึงเพื่อรองรับแผนการขยายธุรกิจด้าน IoT ใน
อนาค
(4) บริษัท อินไซท์เอรา จำกัด (“INSE”)
INSE จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2558 ด้วยทุนจดทะเบียนจำนวน 12.5 ล้านบาท
แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 1,250,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทฯ กับโครง
การสตาร์ทอัพของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยบริษัทฯ ถือหุ้นจำนวน 600,000 หุ้น คิดเป็น
สัดส่วนร้อยละ 48 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ INSE ต่อมาในปี 2561 บริษัทฯ ซื้อหุ้นสามัญของ
INSE เพิ่มจำนวน 312,500 หุ้น จากผู้ถือหุ้นเดิม ในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ ส่งผลให้บริษัทฯ มีสัดส่วนการถือหุ้นใน
INSE เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 73.00 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด
ปัจจุบัน INSE ประกอบธุรกิจให้บริการด้านเทคโนโลยีเพื่อการตลาดดิจิทัล (Marketing Technology)
แบบครบวงจร
(5) บริษัท เบลนเดต้า จำกัด (“BLD”)

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 44


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

BLD จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 ด้วยทุนจดทะเบียนจำนวน 20 ล้านบาท แบ่ง


เป็นหุ้นสามัญจำนวน 2,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยทุนชำระแล้วทั้งสิ้น 15 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อวัน
ที่ 29 มิถุนายน 2565 บริษัทฯ จำหน่ายหุ้นของ BLD จำนวน 99,999 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5 ให้แก่กรรมการ
และผู้บริหารของ BLD ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทฯ ใน BLD ลดลงเป็นร้อยละ 95 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่าย
ได้แล้วทั้งหมด
ปัจจุบัน บริษัทฯ ถือหุ้น BLD ในสัดส่วนร้อยละ 95 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด เพื่อ
ประกอบธุรกิจพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับจัดการข้อมูล Big Data
(6) บริษัท ไซเบอร์จีนิคส์ จำกัด (“CGN”)
CGN จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2565 ด้วยทุนจดทะเบียนจำนวน 1 ล้านบาท แบ่ง
เป็นหุ้นสามัญจำนวน 100,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 ของจำนวน
หุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565 ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วเป็นจำนวน
50,000,000 บาท เพื่อรองรับการขยายธุรกิจในอนาคต ปัจจุบัน CGN ประกอบธุรกิจให้บริการด้านระบบความ
ปลอดภัยทางไซเบอร์

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 45


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

1.3.2 ความสัมพันธ์กับกลุ่มธุรกิจของผู้ถือหุ้นใหญ่
กลุ่มบริษัทซีดีจี เป็นกลุ่มบริษัทซึ่งประกอบธุรกิจให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทที่มี
กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ร่วมกับบริษัทฯ (นับรวมการถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม) ซึ่งได้แก่ กลุ่มลิ่วเจริญ กลุ่มเอื้อวัฒนสกุล
กลุ่มชันซื่อ และกลุ่มพันธุมวนิช อย่างไรก็ตาม กลุ่มบริษัทซีดีจีไม่มีการประกอบธุรกิจที่เป็นการแข่งขันหรือมีความขัด
แย้งทางผลประโยชน์กับกลุ่มบริษัทฯ โดยธุรกิจของบริษัทในกลุ่มซีดีจีมีรายละเอียด ดังนี้

ชื่อบริษัท ลักษณะธุรกิจ
1. บริษัท คอนโทรล ดาต้า (ประเทศไทย) จำกัด ให้บริการโซลูชั่นเฉพาะทางที่เกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลทะเบียน
ราษฎร์
2. บริษัท ซีดีจี ซิสเต็มส์ จำกัด ให้บริการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศตามคำสั่งลูกค้าในรูป
แบบ Turnkey
3. บริษัท ดีเฟนซ์ อินโนเวชั่น จำกัด จัดจำหน่ายระบบกล้องและยุทธภัณฑ์ทางทหาร
4. บริษัท คอมพิวเตอร์ เพอริเฟอรัล แอนด์ ซัพพลาย จัดจำหน่ายระบบการพิมพ์ความเร็วสูง และระบบงานพิมพ์แบบต่อ
ส์ จำกัด เนื่อง
5. บริษัท คอร์ โซลูชั่น จำกัด ให้บริการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามคำสั่งของลูกค้า
6. บริษัท คอร์วิสดอม จำกัด ให้บริการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามคำสั่งของลูกค้า
7. บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ตัวแทนจำหน่ายเทคโนโลยี และบริการโซลูชันระบบสารสนเทศ
ภูมิศาสตร์ภายใต้แบรนด์ ArcGIS ในประเทศไทย
8. บริษัท จีไอเอส จำกัด ให้บริการระบบภูมิสารสนเทศแบบครบวงจร (Geographic
Information Systems) และเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของ
GARMIN ในประเทศไทย
9. บริษัท โกลบเทค จำกัด ผู้ให้บริการโซลูชันเฉพาะทางสำหรับข้อมูลแผนที่ดิจิทัลภายใต้
แบรนด์ นอสตร้า (NOSTRA)
10. บริษัท จีโอทาเลนท์ จำกัด ให้บริการด้านพัฒนาแอพพลิเคชั่นระบบภูมิสารสนเทศ
11. บริษัท เมอร์เคเทอร์ จำกัด ผู้ให้บริการด้านการสำรวจและนำเข้าข้อมูลแผนที่ด้วยระบบ
สารสนเทศภูมิศาสตร์
การไม่พึ่งพิงกัน
ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม G-Able และกลุ่มบริษัทซีดีจี ไม่ได้มีการพึ่งพิงซึ่งกันและกัน ทั้งสองบริษัทไม่มีผู้
บริหาร หรือบุคลากร รวมถึงไม่มีการใช้ทรัพย์สินหรือทรัพยากรร่วมกัน ไม่มีการช่วยเหลือทางการเงิน นอกจากนี้
รายการซื้อขายระหว่างกันเป็นรายการที่มีลักษณะการค้าปกติ โดยมีราคาและเงื่อนไขในการทำรายการที่สามารถเทียบ
เคียงได้กับการทำรายการกับบุคคลภายนอกและผ่านขั้นตอนการคัดเลือกเสมือนทำกับคู่ค้ารายอื่น โดยในปี 2565 กลุ่ม
บริษัทฯ มีรายการขายสินค้าและบริการให้กลุ่มบริษัทซีดีจี รวมจำนวน 113.65 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.40 ของราย
ได้จากการขายและบริการ และมีรายการซื้อสินค้าและบริการจากกลุ่มบริษัทซีดีจี จำนวน 17.59 ล้านบาท คิดเป็นร้อย
ละ 0.57 ของมูลค่าการซื้อรวม
มาตรการป้ องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์
กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ ประกอบด้วย กลุ่มลิ่วเจริญ กลุ่มเอื้อวัฒนสกุล กลุ่มชันซื่อ และกลุ่มพันธุมวนิช ได้ร่วมกันจัด
ทำบันทึกข้อตกลงไม่ประกอบธุรกิจที่เป็นการแข่งขันกับบริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) ฉบับลงวันที่ 3 มีนาคม 2566
โดยรายละเอียดของบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีดังนี้
1. กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ ตกลงว่าจะไม่ร่วมกันลงทุนทั้งโดยตรงและโดยอ้อมในธุรกิจ ที่เป็นการแข่งขันกับกิจการ
ของ G-Able และ/หรือกลุ่ม G-Able ตลอดจนจะไม่ร่วมกันเข้าเป็นหุ้นส่วน หรือเป็นผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจควบคุมกิจการใน
บริษัทอื่นที่ประกอบธุรกิจอันมีสภาพอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของ G-Able และ/หรือกลุ่ม G-Able

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 46


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

เว้นแต่จะเป็นการลงทุนโดยผ่าน G-Able และ/หรือกลุ่ม G-Able เท่านั้น โดยอำนาจควบคุมกิจการให้มีความหมายเช่น


เดียวกับบทนิยามของคำดังกล่าวที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วย
การกำหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์
2. กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่จะจัดให้มีมาตรการในการควบคุมดูแล เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทในกลุ่มของกลุ่มผู้ถือหุ้น
ใหญ่ ซึ่งหมายถึงบริษัทที่กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ ทั้ง 4 กลุ่มถือหุ้นร่วมกันทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง
บริษัท คอนโทรล ดาต้า (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ซีดีจี ซิสเต็มส์ จำกัด, บริษัท ดีเฟนซ์ อินโนเวชั่น จำกัด, บริษัท
อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท จีไอเอส จำกัด, บริษัท คอมพิวเตอร์ เพอริเฟอรัล แอนด์ ซัพพลายส์ จำกัด,
บริษัท โกลบเทค จำกัด, บริษัท จีโอทาเลนท์ จำกัด, บริษัท คอร์ โซลูชั่น จำกัด, บริษัท คอร์วิสดอม จำกัด และบริษัท
เมอร์เคเทอร์ จำกัด จะไม่ประกอบธุรกิจอันเป็นการแข่งขันกับกิจการของ G-Able และ/หรือกลุ่ม G-Able ตลอดจนจะไม่
เข้าเป็นหุ้นส่วน หรือเป็นผู้ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 10 ในบริษัทอื่นที่ประกอบธุรกิจอันมีสภาพอย่างเดียวกัน และเป็นการ
แข่งขันกับกิจการของ G-Able และ/หรือกลุ่ม G-Able
3. บันทึกข้อตกลงฉบับนี้มีผลในวันที่ลงนาม และจะสิ้นสุดลงเมื่อเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นของ G-Able และส่งผลให้กลุ่มลิ่วเจริญ กลุ่มเอื้อวัฒนสกุล
กลุ่มชันซื่อ และกลุ่มพันธุมวนิชร่วมกันแล้ว ไม่มีอำนาจควบคุมกิจการใน G-Able โดยอำนาจควบคุมกิจการให้มีความ
หมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคำดังกล่าวที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ว่าด้วยการกำหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ หรือ
(ข) เมื่อ G-Able ไม่มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสิ้นสุดหน้าที่
ในการเปิดเผยข้อมูลตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิด
เผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์

1.3.2.1 ธุรกิจของผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์


บริษัท ซีดีจี ซิสเต็มส์ จำกัด
บริษัท ซีดีจี ซิสเต็มส์ จำกัด (“CDGS”) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีการประกอบธุรกิจใกล้เคียงกับกลุ่ม G-able และมี
กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ร่วมกับบริษัทฯ (นับรวมการถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม) โดยกลุ่มลิ่วเจริญถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ
41.25 กลุ่มเอื้อวัฒนสกุลถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 40.00 กลุ่มชันซื่อถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 13.88 และกลุ่มพันธุมวนิช
ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 2.00 อย่างไรก็ตาม CDGS ประกอบธุรกิจเป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศในลักษณะ
โครงการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จตามความต้องการของลูกค้า (Turnkey Project) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาระบบงานด้าน
การให้บริการประชาชนเพื่อมุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตและแก้ปัญหาให้แก่สังคม รวมถึงสนับสนุนการทำงานของหน่วย
งานภาครัฐ ซึ่งแตกต่างจากธุรกิจของกลุ่ม G-Able ทั้งนี้ CDGS มีการดำเนินธุรกิจและความเชี่ยวชาญที่แตกต่างจากบ
ริษัทฯ และไม่ประสงค์จะดำเนินธุรกิจแข่งขันกัน โดย CDGS มีลักษณะการประกอบธุรกิจหลัก ดังนี้
1) งานพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแบบเบ็ดเสร็จตามความต้องการของลูกค้า (Turnkey Project)
บริการหลักของ CDGS คือบริการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแบบเบ็ดเสร็จตามความต้องการของ
ลูกค้า ซึ่งเป็นระบบงานหลักขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายงานต่างๆ จำนวนมาก และมีความเชี่ยวชาญในระบบงาน
ด้านการบริการประชาชนโดยเฉพาะ โดยมีทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า
ทุกรูปแบบ ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการวิเคราะห์ปัญหา ออกแบบ พัฒนา และติดตั้งระบบให้พร้อมใช้งาน รวมถึงการ
จัดหาอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ที่จำเป็น ตลอดจนการให้บริการบำรุงรักษาและจัดฝึกอบรมเพื่อให้ผู้ใช้งาน
สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพสูงสุด
2) งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-Saraban)
CDGS ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-Saraban) ซึ่งเป็นโปรแกรมสำเร็จรูป
สำหรับการจัดการระบบเอกสารตาม “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ” เพื่อสนับสนุนภาครัฐและ
รัฐวิสาหกิจให้สามารถบริหารงานเอกสารราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมุ่งสู่การเป็นสำนักงานไร้กระดาษ

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 47


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

(Paperless Office) เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานในองค์กรสามารถส่งเอกสารระหว่างหน่วยงานได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และ


ความปลอดภัย โดยสามารถกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งานภายในองค์กรได้ตามต้องการในแต่ละระดับ
1.3.2.1.1 ความแตกต่างระหว่างกลุ่ม G-Able และ CDGS

G-Able CDGS
1.นโยบายการประกอบธุรกิจที่แตกต่างกัน
G-Able ประกอบธุรกิจเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นระบบ CDGS ประกอบธุรกิจเป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยี
เทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล (Solution Provider) โดย สารสนเทศในลักษณะโครงการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ
มุ่งเน้นกลุ่มโซลูชั่นเฉพาะทางที่อาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตามความต้องการของลูกค้า (Turnkey Project)
ซึ่งครอบคลุมความต้องการหลักของของกลุ่มลูกค้า ได้แก่ ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการวิเคราะห์ปัญหา ออกแบบ
(1) โซลูชั่นด้านระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ (2) พัฒนา และติดตั้งระบบให้พร้อมใช้งาน โดยมุ่งเน้นการ
โซลูชั่นด้านระบบคลาวด์และดาต้าเซ็นเตอร์ (3) โซลูชั่น พัฒนาระบบงานด้านการบริการประชาชนเพื่อมุ่งยก
ด้านระบบจัดการข้อมูลและการวิเคราะห์ (4) โซลูชั่นด้าน ระดับคุณภาพชีวิตและแก้ปัญหาให้แก่สังคม รวมถึง
ธุรกิจดิจิทัล และ (5) โซลูชั่นด้านการบริหารจัดการระบบ สนับสนุนการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งงานใน
สารสนเทศ โดยอาศัยความเชี่ยวชาญของบริษัทฯ ในการ ลักษณะดังกล่าวจะเป็นงานพัฒนาระบบสารสนเทศใหม่
พัฒนาและปรับแต่ง (Customized) โซลูชั่นให้ตรงกับความ ทั้งระบบ ที่อาจต้องเชื่อมต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ต้องการของลูกค้า ซึ่งส่งผลให้บริษัทฯ สามารถตอบโจทย์ จำนวนมาก และต้องการระบบงานที่ออกแบบมาให้
ความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร สอดคล้องกับการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานโดย
นอกจากนี้ ยังมีบริษัทย่อยซึ่งเป็นตัวแทนหลักในการ เฉพาะ ซึ่งงานลักษณะดังกล่าวต้องอาศัยเวลา และ
จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชั้นนำซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับการ ทรัพยากรด้านบุคลากรจำนวนมากในการศึกษาข้อมูล
ยอมรับจากผู้ใช้งานทั่วโลก รวมถึงธุรกิจบริการซอฟต์แวร์ ระบบงาน และความต้องการของลูกค้าในแต่ละส่วนรวม
แพลตฟอร์ม (Software Platform) ที่กลุ่มบริษัทฯ พัฒนา ถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแต่ละหน่วยงาน จึงส่งผล
ขึ้นเองเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และเสริม ให้การพัฒนาระบบงานด้านการบริการประชาชนและ
ความแข็งแกร่งทางธุรกิจของกลุ่ม G-Able ซึ่งปัจจุบัน งานสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ มีลักษณะการทำงานที่
ครอบคลุมเทคโนโลยีในการบริหารจัดการข้อมูล Big Data เฉพาะเจาะจง แตกต่างกันตามเป้าหมายและพันธกิจ
การบริหารพื้นที่เช่า และการตลาดดิจิทัล หลักของแต่ละองค์กร เช่น
- ระบบงานต่อทะเบียนรถยนต์และภาษีประจำปีของ
กรมการขนส่งทางบก
- ระบบตรวจประวัติอาชญากรรมของสำนักงานตำรวจ
แห่งชาติ
- ระบบจัดการงบประมาณอิเล็กทรอนิกส์ (e-
Budgeting) ของสำนักงบประมาณ
2. กลุ่มลูกค้าเป้ าหมาย
กลุ่มลูกค้าหลักเป็นบริษัทเอกชนหรือองค์กรชั้นนำในแต่ละ กลุ่มลูกค้าหลักเป็นหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งมีความ
อุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็น ภาคธุรกิจการเงิน ธุรกิจ ต้องการระบบงานที่ออกแบบสำหรับการดำเนินการ
โทรคมนาคม ธุรกิจประกัน ธุรกิจผลิตและธุรกิจพลังงาน ตามพันธกิจหลักของแต่ละหน่วยงานโดยเฉพาะ
รวมถึงสถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งมีความต้องการที่ชัดเจน
และทราบถึงปัญหาที่ต้องการแก้ไข หรือพัฒนา ปรับปรุง
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างตรงจุด เพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และสร้างความได้เปรียบ
ในการแข่งขัน
3.ลักษณะโครงการและความเชี่ยวชาญ

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 48


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

G-Able CDGS
 G-Able ให้บริการโซลูชั่นด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล  CDGS มีประสบการณ์และผลงานเกี่ยวข้องกับ
สำหรับองค์กรชั้นนำในประเทศไทยมานานกว่า 33 ปี โครงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแบบ
จึงมีความรู้และความเชี่ยวชาญในการพัฒนาโซลูชั่น เบ็ดเสร็จตามความต้องการของลูกค้า (Turnkey
เฉพาะทาง ซึ่งต้องอาศัยความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและ Project) มานานกว่า 40 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ผลิตภัณฑ์ระดับสูง ผนวกกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สำหรับระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการ
ชั้นนำของพันธมิตรทางธุรกิจทำให้บริษัทฯ สามารถ ประชาชน ทำให้เข้าใจความต้องการของลูกค้า
ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด และ อย่างดี จึงมีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่ง เช่น สำนักงาน
มีประสิทธิภาพ และทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง ตำรวจแห่งชาติ และ กรมขนส่งทางบก เป็นต้น
ไปอย่างรวดเร็ว  ระยะเวลาการนำเสนอโครงการ (Pre Sales)
 ด้วยฐานลูกค้าของบริษัทฯ ซึ่งครอบคลุมในหลากหลาย ประมาณ 1-2 ปี
อุตสาหกรรมส่งผลให้บริษัทฯ สามารถประยุกต์ใช้  ระยะเวลาการพัฒนาโครงการสำหรับระบบหลัก
ประสบการณ์และองค์ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจ ประมาณ 1-2 ปี และสำหรับงานที่ต่อเนื่อง หรือ
ในแต่ละอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาต่อยอดโซลูชั่นและนำ โครงการส่วนต่อขยาย ประมาณ 3-6 เดือน
เสนอไปยังลูกค้ารายอื่นที่มีความต้องการที่คล้ายคลึง
กันได้ (Repeatable Solution)
 ระยะเวลานำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการ (Pre Sales)
ประมาณ 3-6 เดือน
 ระยะเวลาโครงการทั่วไปประมาณ 1-6 เดือน และ
สำหรับโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัลประมาณ 9-
12 เดือน
4.พันธมิตรทางธุรกิจ
ได้รับการแต่งตั้งเป็นพันธมิตรระดับสูงของเจ้าของผลิตภัณฑ์ เน้นการออกแบบโซลูชั่นโดยอาศัยความเชี่ยวชาญของ
ชั้นนำของโลกเกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีดิจิทัลหลายราย เช่น ทีมพัฒนาภายในองค์กร ซึ่งอาจมีการว่าจ้างผู้ให้บริการ
Dell Technologies Titanium Partner, Hewlett Packard สำหรับงานที่อาศัยความเชี่ยวชาญหรือเทคโนโลยีที่
Enterprise (HPE) Gold Partner, Expertise Oracle Partner เฉพาะทาง
Network, Red Hat Advance Business Partner และ
TABLEAU Premier Partner เป็นต้น บริษัทฯ จึงได้รับการ
สนับสนุนจากบริษัทผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายในการให้ความรู้
เกี่ยวกับเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะนำออกสู่ตลาด
รวมถึงการสนับสนุนทั้งก่อนการขาย เทคนิคการบริการหลัง
การขายและด้านการตลาด ตลอดจนการจัดฝึกอบรมเพื่อ
พัฒนาศักยภาพและความชำนาญของทีมงาน
5.ทีมงานและบุคลากร
 ทีมงานต้องมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ ในการออกแบบระบบงานให้หน่วยงานภาครัฐ
ระดับสูง รวมทั้งต้องมีการติดตามข่าวสารเทคโนโลยี นอกจากทักษะด้านพัฒนาซอฟต์แวร์ และการควบคุม
อย่างใกล้ชิด รวมถึงการอบรมเพิ่มทักษะและพัฒนา โครงการ ทีมงานต้องมีความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมาย
บุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และระบบงานราชการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึง
เทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ทีมงาน ระบบงบประมาณ ระเบียบจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวข้อง
จะต้องเข้ารับการอบรมจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ ตาม
เงื่อนไขที่เจ้าของผลิตภัณฑ์กำหนดรวมถึงทักษะในกา

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 49


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

G-Able CDGS
รบูรณาการต่อยอดโซลูชั่นจากผลิตภัณฑ์ของเจ้าของ
ผลิตภัณฑ์ระดับโลก เพื่อนำมาปรับให้เข้ากับความ
ต้องการของลูกค้า
 ทีมงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจ
กระบวนการทำงาน ความต้องการ และข้อจำกัดใน
แต่ละอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน เพื่อที่จะสามารถให้คำ
แนะนำในการออกแบบและพัฒนาโซลูชั่นให้แก่ลูกค้าได้
อย่างครอบคลุมและครบถ้วน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้
บริษัทฯ ได้รับการยอมรับจากลูกค้าซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำ
ในหลากหลายอุตสาหกรรม

1.3.2.1.2 ความอิสระในการบริหารงานและการถ่วงดุล
1) โครงสร้างการถือหุ้น
 กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ของ G-Able ประกอบด้วย ผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้งหมด 4 กลุ่ม ประกอบด้วย (1) กลุ่มลิ่ว
เจริญ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 28.68 (2) กลุ่มเอื้อวัฒนสกุล ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 26.63 (3) กลุ่ม
ชันซื่อ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 21.65 และ (4) กลุ่มพันธุมวนิช ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 15.08
 กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ของ CDGS นับรวมสัดส่วนการถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม ประกอบด้วย กลุ่มผู้
ถือหุ้นใหญ่ทั้งหมด 3 กลุ่ม ประกอบด้วย (1) กลุ่มลิ่วเจริญ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 41.25 (2) กลุ่ม
เอื้อวัฒนสกุล ซึ่งถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 40.00 (3) กลุ่มชันซื่อ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 13.88
 กลุ่มผู้ถือหุ้นข้างต้นไม่มีลักษณะความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมที่เข้าลักษณะเป็นการกระทำร่วมกับ
บุคคลอื่นตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2552
 กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่แต่ละกลุ่มมีการแต่งตั้งกรรมการตามสัดส่วนการถือหุ้น โดยกรรมการทั้งหมดที่เป็น
ตัวแทนของกลุ่มผู้ถือหุ้นนั้น เป็นกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร (Non-Executive Director)
2) โครงสร้างกรรมการและผู้บริหาร
G-Able และ CDGS ไม่มีกรรมการและผู้บริหารร่วมกัน นอกจากนี้ กรรมการของ G-Able ยังประกอบ
ด้วย กรรมการอิสระ จำนวน 3 ท่าน จากกรรมการทั้งหมด 9 ท่าน เพื่อช่วยถ่วงดุลและตรวจสอบการ
ดำเนินธุรกิจให้มีความโปร่งใสและเป็นอิสระ
3) การไม่พึ่งพิงกัน
ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม G-Able และ CDGS ไม่ได้มีการพึ่งพิงซึ่งกันและกัน ทั้งสองบริษัทไม่มีผู้
บริหาร หรือบุคลากร รวมถึงไม่มีการใช้ทรัพย์สินหรือทรัพยากรร่วมกัน ไม่มีการช่วยเหลือทางการเงิน
นอกจากนี้ รายการซื้อขายระหว่างกันเป็นรายการที่มีลักษณะการค้าปกติ โดยมีราคาและเงื่อนไขในการ
ทำรายการที่สามารถเทียบเคียงได้กับการทำรายการกับบุคคลภายนอกและผ่านขั้นตอนการคัดเลือก
เสมือนทำกับคู่ค้ารายอื่น โดยในปี 2565 กลุ่มบริษัทฯ มีรายการขายสินค้าและบริการให้ CDGS จำนวน
13.02 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.28 ของรายได้จากการขายและบริการ และมีรายการซื้อสินค้าและ
บริการจาก CDGS จำนวน 0.11 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.004 ของมูลค่าการซื้อรวม
4) มาตรการป้ องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 50


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

บริษัทฯ และ CDGS ได้จัดทำข้อตกลงที่จะไม่ประกอบธุรกิจแข่ง ซึ่งมีผลนับแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน


2565 โดยตลอดระยะเวลาที่ CDGS ยังคงเป็นบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งของบริษัทฯ และ/หรือบริษัทฯ
ยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศ ทจ. 39/2559 และหนังสือเวียน ที่ กลต.จท
7/2556 และบริษัทฯ ยังคงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ CDGS ตกลงที่จะดำเนิน
การดังต่อไปนี้
(ก) CDGS จะดำเนินธุรกิจการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศในลักษณะโครงการจ้างเหมาแบบ
เบ็ดเสร็จตามความต้องการของลูกค้า (Turnkey Project) รวมถึงการให้บริการสำหรับงานที่ต่อ
เนื่อง หรือเป็นส่วนต่อขยายสำหรับโครงการดังกล่าวเท่านั้น โดยมุ่งเน้นการพัฒนาระบบงานที่
CDGS มีความเชี่ยวชาญ เช่น ระบบงานด้านการบริการประชาชน และการเพิ่มประสิทธิภาพการ
ทำงานของหน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น โดย CDGS จะไม่ดำเนินธุรกิจในลักษณะการให้บริการ
โซลูชั่นแบบเฉพาะทาง
(ข) นอกเหนือจากการดำเนินธุรกิจตามข้อ (ก) CDGS จะสามารถดำเนินธุรกิจได้เฉพาะในกรณีที่มี
ลักษณะธุรกิจที่เข้าข่ายดังต่อไปนี้
(1) การขาย หรือให้บริการ License Subscription สำหรับซอฟแวร์ระบบสารบรรณ
อิเล็กทรอนิกส์ (e-Saraban) ที่ CDGS เป็นผู้พัฒนา
(2) การให้บริการที่เกี่ยวเนื่อง หรือบริการในส่วนงานต่อขยายของโครงการที่เกี่ยวข้องกับ
ซอฟแวร์ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-Saraban) ตามข้อ (1)
(ค) ในกรณีที่มีการประมูลงานกับหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และ/หรือบริษัทเอกชนนั้น G-able มี
สิทธิที่จะเข้าร่วมการประมูลในโครงการเดียวกับ CDGS ด้วยตนเอง หรือเข้าประมูลร่วมกับ
CDGS ในรูปแบบกิจการร่วมค้า (Consortium) โดยกรณีที่เข้าประมูลร่วมกันในรูปแบบกิจการร่วม
ค้าบริษัทฯ และ CDGS ตกลงที่จะแบ่งขอบเขตหน้าที่ ความรับผิดชอบ และผลประโยชน์ตาม
ความเหมาะสมโดยพิจารณาจากประเภทของงานและความเชี่ยวชาญของแต่ละฝ่ายเพื่อประโยชน์
สูงสุดของบริษัทฯ
(ง) CDGS จะไม่เข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน หรือจะไม่ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่
มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ประกอบธุรกิจอันมีสภาพอย่าง
เดียวกันและเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของบริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อยของบริษัทฯ
1.3.3 ผู้ถือหุ้น
1.3.3.1 รายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ
ณ วันที่ 5 กันยายน 2565 โครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทฯ และภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชน
ในครั้งนี้ สรุปได้ดังนี้
หลังการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน
ก่อนการเสนอขาย ภายหลังการแปลงสภาพ
ภายหลังการเสนอขายหุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิภายใต้
ลำดับ รายชื่อผู้ถือหุ้น หุ้นต่อประชาชน ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก โครงการ GABLE ESOP-
W1
จำนวนหุ้น ร้อยละ จำนวนหุ้น ร้อยละ จำนวนหุ้น ร้อยละ
1 กลุ่มลิ่วเจริญ
1.1 นาย นาถ ลิ่วเจริญ 64,611,288 12.31 64,611,288 9.23 64,611,288 9.13
1.2 นาง มนนิกา วงศ์สงวน 42,701,946 8.13 42,701,946 6.10 42,701,946 6.04
1.3 นาง มัลลิกา หริตวร 22,086,232 4.21 22,086,232 3.16 22,086,232 3.12
1.4 นางสาว ณัฐนิช หริตวร 10,595,536 2.02 10,595,536 1.51 10,595,536 1.50
1.5 นาย เอก หริตวร 10,595,536 2.02 10,595,536 1.51 10,595,536 1.50
รวมกลุ่มลิ่วเจริญ 150,590,538 28.68 150,590,538 21.51 150,590,538 21.28
2 กลุ่มเอื้อวัฒนสกุล

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 51


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)
หลังการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน
ก่อนการเสนอขาย ภายหลังการแปลงสภาพ
ภายหลังการเสนอขายหุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิภายใต้
ลำดับ รายชื่อผู้ถือหุ้น หุ้นต่อประชาชน ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก โครงการ GABLE ESOP-
W1
จำนวนหุ้น ร้อยละ จำนวนหุ้น ร้อยละ จำนวนหุ้น ร้อยละ
2.1 นาย ประภัสสร์ เอื้อวัฒนสกุล 34,948,396 6.66 34,948,396 4.99 34,948,396 4.94
2.2 นาย ณัฐพล เอื้อวัฒนสกุล 34,948,396 6.66 34,948,396 4.99 34,948,396 4.94
2.3 นางสาว กรุณา เอื้อวัฒนสกุล 34,948,424 6.66 34,948,424 4.99 34,948,424 4.94
2.4 นางสาว อโนชา เอื้อวัฒนสกุล 34,948,424 6.66 34,948,424 4.99 34,948,424 4.94
รวมกลุ่มเอื้อวัฒนสกุล 139,793,640 26.63 139,793,640 19.97 139,793,640 19.76
3 กลุ่มชันซื่อ
3.1 นางสาว ปรมา ชันซื่อ 52,655,540 10.03 52,655,540 7.52 52,655,540 7.44
3.2 นาย เอกพจน์ ชันซื่อ 19,102,118 3.64 19,102,118 3.64 19,102,118 3.64
3.3 นาย เอกเทศ ชันซื่อ 18,108,566 3.45 18,108,566 3.45 18,108,566 3.45
3.4 นางสาว ธริสรา ชันซื่อ 2,506,742 0.48 2,506,742 0.36 2,506,742 0.35
3.5 นางสาว เนตรชนก ทังสุพานิช 21,277,088 4.05 21,277,088 3.04 21,277,088 3.01
รวมกลุ่มชันซื่อ 113,650,054 21.65 113,650,054 16.24 113,650,054 16.06
4 กลุ่มพันธุมวนิช
4.1 นาง สุภาวดี พันธุมวนิช 27,180,664 5.18 27,180,664 3.88 27,180,664 3.84
4.2 นางสาว แพร พันธุมวนิช 25,989,530 4.95 25,989,530 3.71 25,989,530 3.67
4.3 นางสาว พราว เนื่องจำนงค์ 25,989,530 4.95 25,989,530 3.71 25,989,530 3.67
รวมกลุ่มพันธุมวนิช 79,159,724 15.08 79,159,724 11.31 79,159,724 11.19
5 นาย สตีฟ ติง ตวน ทูน 13,125,000 2.50 13,125,000 1.88 13,125,000 1.86
6 นาย ลิม ชิน ฮู 13,125,000 2.50 13,125,000 1.88 13,125,000 1.86
7 น.พ. เทอดศักดิ์ สุริยภูมิ 4,435,928 0.84 4,435,928 0.63 4,435,928 0.63
8 นาย ไตรรัตน์ ใจสำราญ 3,357,228 0.64 3,357,228 0.48 3,357,228 0.47
9 นางสาว อรัญญา ลีลกฤชชัย 2,631,874 0.50 2,631,874 0.38 2,631,874 0.37
10 ผู้ถือหุ้นรายอื่น 5,131,014 0.98 5,131,014 0.73 5,131,014 0.73
รวม 525,000,000 100.00 525,000,000 75.00 525,000,000 74.20
จำนวนหุ้นที่เสนอขายประชาชนทั่วไป - - 175,000,00 25.00 175,000,00 24.73
จำนวนหุ้นเพื่อรองรับการใช้สิทธิของใบสำคัญแสดง - - - - 7,500,000 1.07
สิทธิภายใต้โครงการ GABLE ESOP-W1
รวมทั้งหมด 525,000,000 100.00 700,000,000 100.00 707,500,000 100.00
หมายเหตุ : (1) รายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ถูกจัดกลุ่มตามความสัมพันธ์ของผู้ถือหุ้นในลักษณะเครือญาติ โดยไม่
เกี่ยวกับลักษณะความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมที่เข้าลักษณะเป็นการกระทำร่วมกับบุคคลอื่นตาม
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2552 แต่อย่างใด
(2) นายนาถ ลิ่วเจริญ, นายประภัสสร์ เอื้อวัฒนสกุล, นางสาวปรมา ชันซื่อ, นางสุภาวดี พันธุมวนิช และ
นายลิม ชิน ฮู ตกลงและยินยอมให้หุ้น GABLE ที่ตนถืออยู่ทั้งหมดรวม 192,520,880 หุ้น คิดเป็น
ร้อยละ 27.50 ของหุ้นทั้งหมดภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ ถูกจำกัดการขาย (Silent Period)
ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่หุ้นเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทย
(3) ผู้ถือหุ้นรายอื่นในกลุ่มลิ่วเจริญ กลุ่มเอื้อวัฒนสกุล กลุ่มชันซื่อ และกลุ่มพันธุมวนิช นอกจากที่ระบุใน
ข้อ (2) ตกลงและยินยอมให้หุ้น GABLE ที่ตนถืออยู่รวมจำนวน 192,387,762 หุ้น คิดเป็นร้อยละ
27.48 ของหุ้นทั้งหมดภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ถูกจำกัดการขาย (Silent Period) ภายใน 1 ปี

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 52


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

นับแต่วันที่หุ้นเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
และยินยอมให้หุ้นส่วนที่เหลือทั้งหมดของผู้ถือหุ้นดังกล่าว รวมจำนวน 111,410,306 หุ้น คิดเป็น
ร้อยละ 15.92 ของหุ้นทั้งหมดภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ ถูกจำกัดการขายภายใน 6 เดือน นับ
ตั้งแต่วันที่เริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ตามความสมัครใจของกลุ่มผู้ถือหุ้นดังกล่าว
(4) นายสตีฟ ติง ตวน ทูน ยินยอมให้หุ้นของ GABLE ที่ตนถืออยู่จำนวน 6,562,500 หุ้น คิดเป็นร้อยละ
0.94 ของหุ้นทั้งหมดภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ ถูกจำกัดการขายภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่
เริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ตามความสมัครใจของผู้ถือหุ้นดังกล่าว
1.3.3.2 ข้อตกลงระหว่างผู้ถือหุ้นใหญ่ที่มีผลกระทบต่อการออกและเสนอขายหลักทรัพย์หรือการบริหารงานของบริ
ษัทฯ และบริษัทย่อย และสาระสำคัญต่อการดำเนินงาน
-ไม่มี-

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 53


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

1.4 จำนวนทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว
ปัจจุบันบริษัทฯ มีทุนจดทะเบียนจำนวน 707,500,000 บาท โดยเป็นทุนที่เรียกชำระแล้วจำนวน
525,000,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 525,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท ทั้งนี้ ที่ประชุมวิสามัญผู้
ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 ได้มีมติอนุมัติการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนดังนี้
1. จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ จำนวน 175,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท เพื่อ
เสนอขายหุ้นสามัญที่ออกใหม่ของบริษัทฯ ต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO)
2. จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 7,500,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท เพื่อรองรับการใช้สิทธิ
ตามใบสำคัญแสดงสิทธิซึ่งเสนอขายให้แก่ ผู้บริหาร และ/หรือพนักงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อยตามโครงการ
GABLE ESOP-W1

1.5 การออกหลักทรัพย์อื่น
ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 ได้มีมติอนุมัติการออกและเสนอขายใบ
สำคัญแสดงสิทธิที่สำหรับการเสนอขายให้แก่ ผู้บริหาร (รวมถึงผู้บริหารซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการ) และ/หรือพนักงาน
ของบริษัท และ/หรือบริษัทย่อยภายใต้โครงการเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่ผู้บริหาร และ/หรือพนักงานของบริษัท
และ/หรือบริษัทย่อย (โครงการ GABLE ESOP-W1) โดยมีรายละเอียดดังนี้
ประเภท : ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)
(บริษัท) (“ใบสำคัญแสดงสิทธิฯ”)
ชนิด : ระบุชื่อผู้ถือและสามารถโอนเปลี่ยนมือได้
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการจดข้อกำหนดการโอนสำหรับ GABLE ESOP-W1
กับทางสำนักงาน ก.ล.ต. โดยระบุว่าบริษัทฯ จะไม่รับจดทะเบียนการใบสำคัญ
แสดงสิทธิไม่ว่าทอดใดๆ หากการโอนดังกล่าวจะทำให้ใบสำคัญแสดงสิทธิที่
เสนอขายในครั้งนั้นไม่สามารถจำกัดผู้ถือหลักทรัพย์ในกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้บริหาร
(รวมถึงผู้บริหารซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการ) และ/หรือพนักงานของบริษัทได้
เว้นแต่มีข้อตกลงเป็นประการอื่นในกรณีที่ผู้บริหาร กรรมการหรือพนักงานเสีย
ชีวิต
อายุใบสำคัญแสดงสิทธิฯ : 3 ปี นับจากวันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ภายใต้โครงการ GABLE ESOP-W1
ทั้งนี้ ภายหลังการออกใบสำคัญแสดงสิทธิฯ บริษัทจะไม่ขยายอายุใบสำคัญ
แสดงสิทธิฯ
จำนวนใบสำคัญแสดงสิทธิฯ : ไม่เกิน 7,500,000 หน่วย
ที่ออกและเสนอขาย
จำนวนหุ้นที่ออกเพื่อรองรับ : จำนวนรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 7,500,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท คิดเป็น
ใบสำคัญแสดงสิทธิฯ สัดส่วนร้อยละ 1.06 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท ภาย
หลังการออกและเสนอขายหุ้นสามัญที่ออกใหม่ของบริษัทต่อประชาชนเป็นครั้ง
แรก (IPO)
ราคาเสนอขายต่อหน่วย : -0- บาท
อัตราการใช้สิทธิ : ใบสำคัญแสดงสิทธิฯ 1 หน่วย มีสิทธิซื้อหุ้นสามัญได้ 1 หุ้น (อาจเปลี่ยนแปลงใน
ภายหลังตามเงื่อนไขการปรับสิทธิ)

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 54


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

ราคาใช้สิทธิ : ราคาที่มีส่วนลดร้อยละ 20 ของราคาขายหุ้นสามัญที่ออกใหม่เพื่อเสนอขายให้


แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (Initial Public Offering) (อาจเปลี่ยนแปลงในภาย
หลังตามเงื่อนไขการปรับสิทธิ)
ระยะเวลาเสนอขายใบสำคัญ : บริษัทฯ จะดำเนินการออกใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับ
แสดงสิทธิฯ อนุญาตให้ออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิฯ จากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ
บริษัท
วันที่ออกและเสนอขายใบ : คณะกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมการบริหาร หรือประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
สำคัญแสดงสิทธิฯ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมการ
บริหาร เป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดวันที่ออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิ
ทธิฯ
วิธีการเสนอขาย : บริษัทฯ จะเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิฯ โดยการเสนอขายใบสำคัญแสดงสิ
ทธิฯ ของ บริษัท (การเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน) ให้แก่ ผู้บริหาร (รวมถึงผู้
บริหารซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัทและ/หรือบริษัทย่อย) และ/หรือ
พนักงานของบริษัท และ/หรือบริษัทย่อย ตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนก
วันกำหนดการใช้สิทธิ : วันกำหนดการใช้สิทธิ ทุกวันทำการสุดท้ายของเดือนมีนาคม เดือนมิถุนายน
เดือนกันยายน หรือเดือนธันวาคม ของแต่ละปีปฏิทิน ตลอดอายุของใบสำคัญ
แสดงสิทธิฯ (วันกำหนดใช้สิทธิ) ทั้งนี้ ในกรณีที่วันกำหนดการใช้สิทธิตรงกับ
วันหยุดทำการของบริษัทฯ ให้เลื่อนกำหนดวันใช้สิทธิดังกล่าวเป็นวันทำการ
ก่อนหน้า
โดยวันกำหนดใช้สิทธิครั้งแรก (วันกำหนดใช้สิทธิครั้งแรก) จะตรงกับวัน
ทำการสุดท้ายของเดือนมีนาคม หรือเดือนมิถุนายน หรือเดือนกันยายน หรือ
เดือนธันวาคม (แล้วแต่กรณี) นับจากวันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิฯ
ใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ที่เหลือจากการใช้สิทธิหรือไม่ได้ใช้สิทธิในวันกำหนดการ
ใช้สิทธิใดๆ สามารถสะสมเพื่อนำไปใช้สิทธิได้ในวันกำหนดการใช้สิทธิครั้งต่อไป
ตลอดอายุของใบสำคัญแสดงสิทธิฯ แต่หากครบกำหนดอายุของใบสำคัญแสดง
สิทธิฯ แล้ว ใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ใดๆ ที่ไม่ถูกใช้สิทธิจะถูกยกเลิกและสิ้นสภาพ
ไป
วันกำหนดใช้สิทธิครั้งสุดท้ายของใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ตรงกับวันที่ครบกำหนด
ระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิฯ (วันกำหนดใช้สิทธิครั้ง
สุดท้าย) ในกรณีที่วันกำหนดใช้สิทธิครั้งสุดท้ายตรงกับวันหยุดทำการให้เลื่อน
วันกำหนดใช้สิทธิครั้งสุดท้ายเป็นวันทำการก่อนหน้าวันกำหนดใช้สิทธิครั้ง
สุดท้ายดังกล่าว
นอกจากนี้ ผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิฯ จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในการใช้สิทธิ
ตามใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ตามที่บริษัทกำหนดด้วย
ระยะเวลาใช้สิทธิและสัดส่วน : ผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิฯ สามารถใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ได้ตามรอบ
การใช้สิทธิ ระยะเวลาใช้สิทธิ นับจากวันที่ออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ตามราย
ละเอียดดังนี้

ช่วงเวลา สัดส่วนใบสำคัญแสดงสิทธิ
GABLE ESOP-W1
ที่สามารถใช้สิทธิได้ในแต่ละช่วง

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 55


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

เวลา
นับแต่วันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ ร้อยละ 30 ของจำนวนใบสำคัญแสดง
จนถึงวันกำหนดใช้สิทธิครั้งสุดท้าย สิทธิ GABLE ESOP-W1 ที่บุคคลดัง
กล่าวได้รับจัดสรรทั้งหมด
นับแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 จนถึง ร้อยละ 65 ของจำนวนใบสำคัญแสดง
วันกำหนดใช้สิทธิครั้งสุดท้าย สิทธิ GABLE ESOP-W1 ที่บุคคลดัง
กล่าวได้รับจัดสรรทั้งหมด
นับแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 จนถึง ร้อยละ 100 ของจำนวนใบสำคัญ
วันกำหนดใช้สิทธิครั้งสุดท้าย แสดงสิทธิ GABLE ESOP-W1
ทั้งหมด

ตลาดรองของใบสำคัญแสดง : บริษัทฯ จะไม่นำใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ที่ออกในครั้งนี้เข้าจดทะเบียนใน


สิทธิฯ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตลาดรองของหุ้นสามัญเพิ่ม : บริษัทฯ จะดำเนินการนำหุ้นสามัญที่เกิดจากการใช้สิทธิเข้าจดทะเบียนเป็นหลัก
ทุน ทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยหุ้นสามัญที่ออกตาม
การใช้สิทธิของผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ในครั้งนี้ จะมีสิทธิและสภาพเหมือน
หุ้นสามัญของบริษัทฯ ที่ออกไปก่อนหน้านี้แล้วทุกประการ
เหตุในการต้องออกหุ้นใหม่ : เมื่อมีการปรับราคาการใช้สิทธิและอัตราการใช้สิทธิตามเงื่อนไขของการปรับ
เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง สิทธิเมื่อมีเหตุการณ์ตามที่ระบุในประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลัก
การใช้สิทธิ ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) หรือประกาศอื่นใดที่เกี่ยวข้อง
เหตุแห่งการปรับสิทธิและ : บริษัทฯ จะดำเนินการปรับราคาการใช้สิทธิและอัตราการใช้สิทธิ เมื่อเกิด
เหตุในการต้องออกหุ้นใหม่ เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งดังต่อไปนี้ เพื่อรักษาผลประโยชน์ตอบแทนของผู้ถือ
เพื่อรองรับการปรับสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ไม่ให้ด้อยไปกว่าเดิม
(1) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นของบริษัทอันเป็นผลมาจากการ
รวมหุ้นหรือแบ่งแยกหุ้น
(2) เมื่อบริษัทเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ใดๆ ในราคาที่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของ
ราคาตลาดของหุ้นสามัญของบริษัท
(3) เมื่อบริษัทเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบ
สำคัญแสดงสิทธิฯ ที่จะซื้อหุ้นใดๆ โดยกำหนดราคาหรือคำนวณราคาของ
หุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อ
หุ้นนั้นต่ำกว่าร้อยละ 90 ของราคาตลาดของหุ้นสามัญของบริษัท
(4) เมื่อบริษัทฯจ่ายเงินปันผลทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นหุ้นที่ออกใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้น
(5) เมื่อบริษัทฯจ่ายเงินปันผลเป็นเงินซึ่งเกินกว่าอัตราที่ระบุไว้ในข้อกำหนดสิทธิ
(6) เมื่อมีกรณีอื่นใดในลักษณะเดียวกับ (1) - (5) ที่ทำให้ผลประโยชน์ตอบแทน
ใดๆ ที่ผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ที่จะซื้อหุ้นจะได้รับเมื่อมีการใช้สิทธิตามใบ
สำคัญแสดงสิทธิฯ ด้อยไปกว่าเดิม
เงื่อนไขอื่น ๆ : คณะกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมการบริหาร หรือประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
หรือบุคคลที่คณะกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมการบริหารมอบหมาย เป็นผู้มี
อำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และรายละเอียดอื่น ๆ ของใบสำคัญ

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 56


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

แสดงสิทธิฯ รวมถึง แต่ไม่จำกัดเพียงการกำหนดวันออกและเสนอขายใบสำคัญ


แสดงสิทธิฯ วันกำหนดการใช้สิทธิครั้งแรกและวันกำหนดการใช้สิทธิครั้งสุดท้าย
การใช้สิทธิแปลงสภาพของใบสำคัญแสดงสิทธิฯ กำหนดเงื่อนไขและรายละ
เอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปรับราคาใช้สิทธิและอัตราการใช้สิทธิ การเข้า
เจรจา ตกลงและลงนามในเอกสารและสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งดำเนิน
การต่างๆ อันจำเป็นและสมควรอันเกี่ยวเนื่องกับการออกและเสนอขายใบสำคัญ
แสดงสิทธิฯ ในครั้งนี้ ซึ่งรวมถึงการนำหุ้นสามัญที่เกิดจากการใช้สิทธิตามใบ
สำคัญแสดงสิทธิฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลอด
จนดำเนินการขออนุญาตต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

หลักเกณฑ์ เงื่อนไขการจัดสรรและการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิฯ
1. บริษัทฯ จะจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ให้แก่ผู้บริหาร (รวมถึงผู้บริหารซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัท
และ/หรือบริษัทย่อย) และ/หรือพนักงานของบริษัท และ/หรือบริษัทย่อยย่อย ตามเกณฑ์การจัดสรรที่บริษัท
กำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับจากวันที่บริษัทได้รับอนุญาตให้ออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิฯ
จากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทที่มีมติอนุมัติเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทต่อผู้
บริหารและ/หรือพนักงานของบริษัทและ/หรือบริษัทย่อย
2. ในกรณีที่มีใบสำคัญแสดงสิทธิฯ เหลือจากการจัดสรรในครั้งนี้ และใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ที่ไม่ได้มีการใช้สิทธิ
ภายในอายุของใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ให้ยกเลิกใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ดังกล่าวทั้งหมด
3. ไม่มีผู้บริหาร และ/หรือพนักงานคนใดที่จะได้รับจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิฯ เกินกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนใบ
สำคัญแสดงสิทธิฯ ที่ออกและเสนอขายทั้งหมดในครั้งนี้ ทั้งนี้ หากผู้บริหารหรือพนักงานรายใดจะได้รับจัดสรร
ใบสำคัญแสดงสิทธิฯ เกินกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ที่ออกและเสนอขายทั้งหมดในครั้งนี้
บริษัทจะต้องนำเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติการจัดสรรดังกล่าวก่อนเป็นรายบุคคล
4. คุณสมบัติของผู้บริหาร (รวมถึงผู้บริหารซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัทและ/หรือบริษัทย่อย) และ/หรือ
พนักงานของบริษัทและ/หรือบริษัทย่อยที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิฯ มีดังนี้
(ก) มีสถานะเป็นผู้บริหาร และ/หรือพนักงานของบริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อย ในวันที่ออกและเสนอขายใบ
สำคัญแสดงสิทธิฯ
(ข) จำนวนใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ที่ผู้บริหาร และ/หรือพนักงานแต่ละรายจะได้รับ ไม่จำเป็นต้องมีจำนวนเท่า
กัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ประสบการณ์ อายุงาน ผลงาน และ
ศักยภาพในการเติบโตของพนักงาน รวมถึงคุณประโยชน์ที่ทำให้แก่บริษัท
(ค) ในกรณีอื่นๆ นอกจากข้อ (ก) และ (ข) ให้คณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและกำกับดูแล
กิจการ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและกำกับดูแลกิจการ
เป็นผู้มีดุลพินิจกำหนดเป็นกรณีพิเศษ
ทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและกำกับดูแลกิจการ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะ
กรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและกำกับดูแลกิจการจะเป็นผู้กำหนดรายชื่อและ/หรือคุณสมบัติของผู้
บริหาร และ/หรือพนักงานที่จะได้รับการจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิฯ และจำนวนใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ที่จะ
จัดสรรให้แก่ผู้บริหาร และ/หรือพนักงานแต่ละราย รวมถึงหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและรายละเอียดอื่น ๆ ที่
เกี่ยวข้อง

1.6 นโยบายการจ่ายเงินปันผล
1.6.1 นโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทฯ

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 57


บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)

บริษัทฯ มีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิจากงบเฉพาะ


กิจการภายหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ตาม อัตรา
การจ่ายเงินปันผลดังกล่าว อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ กระแสเงินสดของบริษัทและแผนการ
ลงทุนของบริษัทฯ และบริษัทย่อยตามความจำเป็นและความเหมาะสม
1.6.2 นโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทย่อย
บริษัทย่อยมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิจากงบเฉพาะ
กิจการ ภายหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ตาม อัตรา
การจ่ายเงินปันผลดังกล่าว อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ กระแสเงินสด และแผนการลงทุนของ
บริษัทย่อยตามความจำเป็นและความเหมาะสม

ส่วนที่ 2.2.1 โครงสร้างและการดำเนินงานของบริษัทฯ หน้า 58

You might also like