You are on page 1of 86

คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 269

5
บทที่ กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง
ในบทกราฟของฟั ง ก์ ชั น กำ � ลั ง สองนี้ ประกอบด้ ว ยหั ว ข้ อ ย่ อ ย
ดังต่อไปนี้

5.1 แนะนำ�ฟังก์ชัน 2 ชัว่ โมง


5.2 กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 8 ชัว่ โมง

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 จำ�นวนและพีชคณิต
มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป ความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน ลำ�ดับและอนุกรม และนำ�ไปใช้

ตัวชี้วัด
เข้าใจและใช้ความรู้เกี่ยวกับฟังก์ชันกำ�ลังสองในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

จุดประสงค์ของบทเรียน
นักเรียนสามารถ
2 2 2
1. ระบุลักษณะพร้อมทั้งเขียนกราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสองที่อยู่ในรูป y = ax , y = ax + k, y = a(x – h) ,
2 2
y = a(x – h) + k และ y = ax + bx + c เมื่อ a, b, c, h และ k เป็นค่าคงตัว ที่ a ≠ 0
2. นำ�ความรู้เกี่ยวกับกราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสองไปใช้ในการแก้ปัญหา

ความเชื่อมโยงระหว่างตัวชี้วัดกับจุดประสงค์ของบทเรียน
เนื่องจากตัวชี้วัดกล่าวถึงความเข้าใจและการใช้ความรู้เกี่ยวกับฟังก์ชันกำ�ลังสองในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ดังนั้น
เพือ
่ ให้การเรียนรูข
้ องนักเรียนในเรือ
่ งกราฟของฟังก์ชน
ั กำ�ลังสองสอดคล้องกับตัวชีว้ ด
ั ครูควรจัดประสบการณ์ให้นก
ั เรียนสามารถ
1. เข้ า ใจฟั ง ก์ ชั น กำ � ลั ง สอง ซึ่ ง สะท้ อ นได้ จ ากการที่ นั ก เรี ย นรู้ จั ก และอธิ บ ายความหมายของฟั ง ก์ ชั น และ
ฟังก์ชันกำ�ลังสอง ระบุได้ว่ากราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสองเป็นพาราโบลา และอธิบายลักษณะทั่วไปของกราฟ
2 2 2 2
ของฟังก์ชันกำ�ลังสองที่อยู่ในรูป y = ax , y = ax + k, y = a(x – h) , y = a(x – h) + k และ
2
y = ax + bx + c เมื่อ a, b, c, h และ k เป็นค่าคงตัว ที่ a ≠ 0 พร้อมทั้งเขียนกราฟ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
270 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

2. ใช้ความรู้เกี่ยวกับฟังก์ชันกำ�ลังสองในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ซึ่งสะท้อนได้จากการที่นักเรียนวิเคราะห์ปัญหา
หรือสถานการณ์ เขียนฟังก์ชันกำ�ลังสองหรือสมการของพาราโบลาแทนปัญหาหรือสถานการณ์นั้น และแปล
ความหมายจากลักษณะทั่วไปของสมการของพาราโบลาหรือกราฟของพาราโบลา เพื่อหาคำ�ตอบของปัญหาหรือ
สถานการณ์นั้น

ความคิดรวบยอดของบทเรียน
2
ฟังก์ชันกำ�ลังสองที่อยู่ในรูป y = ax + bx + c เมื่อ a, b, c เป็นค่าคงตัว และ a ≠ 0 มีกราฟเป็นพาราโบลา
เราสามารถใช้ฟังก์ชันกำ�ลังสองในการจำ�ลองปัญหาหรือสถานการณ์และใช้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะของกราฟในการหาคำ�ตอบ
ของปัญหา

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

หัวข้อ
ทักษะและกระบวนการ 5.1 5.2 กิจกรรมท้ายบท/
ทางคณิตศาสตร์ แนะนำ�ฟังก์ชัน กราฟของ แบบฝึกหัดท้ายบท
ฟังก์ชันกำ�ลังสอง
การแก้ปัญหา ✤ ✤

การสื่อสารและการสื่อความหมาย
✤ ✤
ทางคณิตศาสตร์
การเชื่อมโยง ✤ ✤ ✤

การให้เหตุผล

การคิดสร้างสรรค์ ✤

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 271

ความเชื่อมโยงของความรู้

✤ การอ่านคู่อันดับและการเขียนกราฟของคู่อันดับ เพื่อเป็นพื้นฐานในการอ่านและ
เขียนกราฟของพาราโบลา
✤ การเลื่อนขนานบนระนาบ เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำ�ความเข้าใจการเลื่อนขนาน

ความรูพื้นฐาน กราฟ
✤ การสะท้อนบนระนาบ เพื่อเป็นพื้นฐานในการลงจุดของคู่อันดับและพิจารณา
แกนสมมาตรของกราฟ
✤ การแยกตัวประกอบโดยทำ�ให้เป็นกำ�ลังสองสมบูรณ์ เพือ ่ เป็นพืน
้ ฐานในการจัดรูป
2
สมการกำ�ลังสองให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k เมื่อ h, k เป็นค่าคงตัว และ
a ≠ 0
✤ การหาคำ�ตอบของสมการกำ�ลังสองตัวแปรเดียว เพือ ่ เป็นพืน้ ฐานในการหาคำ�ตอบ
ของปัญหาหรือสถานการณ์

✤ ฟังก์ชัน คือ ความสัมพันธ์ของปริมาณ x และปริมาณ y โดยที่ ปริมาณ x


แต่ละค่า จะมีปริมาณ y ที่สอดคล้องกันเพียง 1 ค่า ในกรณีที่ f เป็น
ความสัมพันธ์ที่เป็นฟังก์ชัน และค่าของ y ขึ้นอยู่กับค่าของ x จะเขียน
แทนด้วย y = f(x) และเรียก f(x) ว่า ค่าของฟังก์ชัน f ที่ x
2
✤ ฟั ง ก์ ชั น กำ � ลั ง สอง คื อ ฟั ง ก์ ชั น ที่ อ ยู่ ใ นรู ป y = ax + bx + c หรื อ
ความรู f(x) = ax2 + bx + c เมื่อ a, b, c เป็นค่าคงตัว และ a ≠ 0 มีกราฟเป็น
พาราโบลา
ในบทเรียน ✤ ลักษณะกราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสองหรือสมการของพาราโบลา พิจารณาได้โดย
2
จัดรูปสมการให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k เมื่อ h, k เป็นค่าคงตัว และ
a ≠ 0 ซึ่งลักษณะทั่วไปของพาราโบลามีดังนี้
◆ พาราโบลาเป็นรูปสมมาตร มีเส้นตรง x = h เป็นแกนสมมาตร
◆ พาราโบลาจะมีลักษณะคว่ำ�หรือหงาย บานมากหรือบานน้อย ขึ้นอยู่กับค่า a
◆ จุดต่�ำ สุดหรือจุดสูงสุดของกราฟอยูท ่ จี่ ด
ุ (h, k) และค่าต่�ำ สุดหรือค่าสูงสุดของ
y เท่ากับ k
2
◆ กราฟที่ได้จะเป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานกราฟของสมการ y = ax

ความรูในอนาคต การใช้ความรู้เกี่ยวกับกราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสองในการเรียนเรื่องพาราโบลา
ในเรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
272 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ลำ�ดับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของบทเรียน

เชื่อมโยงความรู้เรื่องความสัมพันธ์และทำ�กิจกรรมเพื่อแนะนำ�ฟังก์ชัน
อธิบายและยกตัวอย่างการใช้สัญลักษณ์และการหาค่าของฟังก์ชัน

สนทนาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้งทางเรขาคณิต
และเส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีลักษณะเป็นพาราโบลา
รวมถึงสถานการณ์ที่สามารถแสดงความสัมพันธ์ด้วยพาราโบลา

แนะนำ�ฟังก์ชันกำ�ลังสอง และเชื่อมโยงตัวอย่างเพื่อแสดงกราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสองเป็นพาราโบลา

ศึกษากราฟของพาราโบลา โดยทำ�กิจกรรมสำ�รวจลักษณะทั่วไปของกราฟของสมการที่อยู่ในรูป
2 2 2 2
y = ax , y = ax + k, y = a(x – h) , y = a(x – h) + k
เมื่อ a, h และ k เป็นค่าคงตัว และ a ≠ 0

2 2
อธิบายการจัดรูปสมการ y = ax + bx + c ให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k
เมื่อ a, b, c, h และ k เป็นค่าคงตัว และ a ≠ 0

แก้โจทย์ปัญหาโดยเขียนฟังก์ชันกำ�ลังสองหรือสมการของพาราโบลาแทนปัญหา แปลความหมายจาก
ลักษณะทั่วไปของสมการของพาราโบลาหรือกราฟของพาราโบลา เพื่อหาคำ�ตอบของปัญหา

สรุปบทเรียนเรื่องกราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง
ฝึกแก้ปัญหาโดยทำ�กิจกรรมท้ายบทและแบบฝึกหัดท้ายบท

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 273

5.1 แนะนำ�ฟังก์ชัน (2 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. อธิบายความหมายของฟังก์ชัน
2. หาค่าของฟังก์ชัน f ที่ x หรือ f(x) เมื่อกำ�หนดค่า x มาให้

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
นักเรียนอาจเข้าใจคลาดเคลือ
่ นว่า ความสัมพันธ์ทก
ุ ความสัมพันธ์เป็นฟังก์ชน
ั แต่ในความเป็นจริงแล้ว มีบางความสัมพันธ์
2
ที่ไม่เป็นฟังก์ชัน เช่น y = x ที่ x = 9 จะได้ y สองค่า คือ -3 และ 3

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมเสนอแนะ 5.1 : ฟังก์ชันปริศนา

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้จะแนะนำ�ให้นักเรียนได้รู้จักคำ�ว่า “ฟังก์ชัน” โดยขยายความคิดจากความสัมพันธ์ที่นักเรียนได้เรียนมาแล้ว
เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานในการเรียนเรื่องฟังก์ชันในระดับที่สูงขึ้น มุ่งให้นักเรียนได้รู้จักฟังก์ชันและนำ�ไปใช้ในการสื่อสารและ
สือ
่ ความหมาย แต่ไม่ได้เน้นให้นก
ั เรียนบอกได้วา่ ความสัมพันธ์ทก
่ี �ำ หนดให้เป็นฟังก์ชน
ั หรือไม่ แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
อาจทำ�ได้ดังนี้
1. ครูสนทนากับนักเรียนเพือ
่ ทบทวนความสัมพันธ์ของปริมาณสองปริมาณ โดยให้นก
ั เรียนยกตัวอย่างความสัมพันธ์
จากสถานการณ์ในชีวิตประจำ�วัน จากนั้น ครูยกตัวอย่างสถานการณ์ชมธารซื้อส้มสายน้ำ�ผึ้ง ในหนังสือเรียน
หน้า 159 เพื่อทบทวนว่าความสัมพันธ์ของปริมาณสองปริมาณสามารถแสดงได้ในรูปข้อความ ตาราง แผนภาพ
คู่อันดับ กราฟ หรือสมการ
2. จากสถานการณ์ชมธารซื้อส้มสายน้ำ�ผึ้ง ครูให้นักเรียนสังเกตว่า ราคาของส้มสายน้ำ�ผึ้งขึ้นอยู่กับน้ำ�หนักของส้ม
โดยน้�ำ หนักของส้ม 1 ค่า จะได้ราคา 1 ค่า เพือ่ นำ�ไปสูก่ ารแนะนำ�ว่าความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ ในทางคณิตศาสตร์
เรียกว่า “ฟังก์ชัน” และเพื่อให้เข้าใจฟังก์ชันมากขึ้น ครูควรให้นักเรียนทำ� “กิจกรรม : ทำ�ความรู้จักฟังก์ชัน”
ในหนังสือเรียน หน้า 161–162
จากนั้นครูให้นักเรียนสังเกตว่า ค่า x แต่ละค่าที่ใส่ลงในเครื่องจักรและผ่านกระบวนการตามที่กำ�หนดไว้
จะได้ผลลัพธ์ y เพียงค่าเดียว ดังนั้น ความสัมพันธ์ของปริมาณ x และ y จากการทำ�กิจกรรมข้างต้น จึงเป็น
ฟังก์ชันด้วย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
274 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

3. ครูควรอธิบายความหมายของฟังก์ชัน แนะนำ�สัญลักษณ์ y = f(x) และสัญลักษณ์ f(x) รวมทั้งการหาค่าของ


ฟังก์ชน
ั โดยอาจใช้ตวั อย่างความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านและพืน
้ ทีข
่ องรูปสีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั ในหนังสือเรียน
หน้า 163
4. ครู อ ภิ ป รายกั บ นั ก เรี ย นเกี่ ย วกั บ การพิ จ ารณาความสั ม พั น ธ์ ที่ เ ป็ น ฟั ง ก์ ชั น ซึ่ ง ทำ � ได้ โ ดยการแทนค่ า x ลงใน
ความสัมพันธ์ด้วยจำ�นวนจริงใด ๆ แล้วแต่ละค่าของ x จะได้ค่า y เพียง 1 ค่า หรือพิจารณาจากกราฟแสดง
ความสัมพันธ์ ซึ่งหากค่า x แต่ละค่า ให้ค่า y ที่สอดคล้องกันเพียง 1 ค่า ความสัมพันธ์นั้นจะเป็นฟังก์ชัน
ดังตัวอย่างที่ 1 ในหนังสือเรียน หน้า 163 และบทสนทนาของข้าวหอมกับข้าวกล้อง ในหนังสือเรียน หน้า 164
5. ครูอาจใช้ “กิจกรรมเสนอแนะ 5.1 : ฟังก์ชันปริศนา” ในคู่มือครู หน้า 278 ให้นักเรียนได้ฝึกสังเกตความสัมพันธ์
ระหว่างค่า x และค่า f(x) เพื่อสร้างและทดสอบข้อความคาดการณ์ว่าฟังก์ชันปริศนาคืออะไร ซึ่งครูสามารถ
ปรับเปลี่ยนบัตรฟังก์ชันให้มีความยากง่ายเหมาะสมกับความสามารถของนักเรียนได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 275

กิจกรรม : ทำ�ความรู้จักฟังก์ชัน
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่เน้นให้นักเรียนรู้จักและเข้าใจความหมายของฟังก์ชัน โดยคำ�ถามส่วนใหญ่ไม่ได้มุ่งให้นักเรียน
คำ�นวณ แต่ต้องการฝึกให้สังเกตว่า เมื่อเราแทนค่า x แต่ละค่าลงในฟังก์ชัน แล้วจะได้ผลลัพธ์ y ออกมาเพียง 1 ค่า เพื่อ
นำ�ไปสู่ความหมายของฟังก์ชัน นอกจากนี้ กิจกรรมนี้ยังช่วยพัฒนาความสามารถในการนำ�เสนอแนวคิดและการสื่อความหมาย
ทางคณิตศาสตร์ โดยมีขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
-

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนสังเกตการทำ�งานของเครื่องจักรชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า เครื่องจักรฟังก์ชัน ในกิจกรรม ข้อ 1 จากนั้น
ครูสุ่มนักเรียนให้อธิบายหลักการทำ�งานของเครื่องจักรฟังก์ชันแต่ละเครื่อง
2. ครูให้นก
ั เรียนทำ�กิจกรรมในข้อ 2 โดยให้นก
ั เรียนใส่คา่ x ตามทีก
่ �ำ หนดให้จากตาราง แล้วเติมผลลัพธ์ y ลงในตาราง
ให้ถูกต้อง พร้อมทั้งเขียนความสัมพันธ์ระหว่างค่า x และ y ในรูปสมการ จากนั้นครูสุ่มนักเรียนให้นำ�เสนอคำ�ตอบ
ที่ได้ และให้เพื่อน ๆ ช่วยกันพิจารณาความถูกต้อง
3. ครูอาจใช้ค�ำ ถามให้นก
ั เรียนใส่คา่ x เพิม
่ เติมจากทีก
่ �ำ หนดให้ในตาราง อาจจะเป็นเศษส่วนหรือทศนิยม เพือ
่ ให้นก
ั เรียน
เห็นตัวอย่างและคำ�ตอบเพิ่มขึ้น จากนั้นครูและนักเรียนช่วยกันสรุปผลจากการทำ�กิจกรรมว่า ค่า x แต่ละค่าที่ใส่
ลงในเครื่องจักรและผ่านกระบวนการตามที่กำ�หนดไว้ จะได้ผลลัพธ์ y เพียงค่าเดียว ดังนั้น ความสัมพันธ์ของ
ปริมาณ x และ y จากการทำ�กิจกรรมข้างต้น จึงเป็นฟังก์ชันด้วย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
276 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยกิจกรรม : ทำ�ความรู้จักฟังก์ชัน
2. 1)
x y
-8 -4
x
-2 -1

0 0

6 3
÷2
y 10 5
x
x –
2

ความสัมพันธ์ระหว่างค่า x และ y ของเครื่องจักรฟังก์ชันนี้ สามารถเขียนให้อยู่ในรูปสมการ ได้เป็น


x
y = –
2

2)
x y
-6 0
x
-3 1.5
0 3
2 4
คูณด้วย
0.5 5 5.5
จากนั้น
บวกด้วย y x 0.5x + 3
3

ความสัมพันธ์ระหว่างค่า x และ y ของเครื่องจักรฟังก์ชันนี้ สามารถเขียนให้อยู่ในรูปสมการ ได้เป็น


y = 0.5x + 3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 277

3)
x y
x -2 4

-1 1

0 0

ยกกำ�ลัง 1 1
2
y 2 4
2
x x

ความสัมพันธ์ระหว่างค่า x และ y ของเครื่องจักรฟังก์ชันนี้ สามารถเขียนให้อยู่ในรูปสมการ ได้เป็น


2
y = x

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
278 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรมเสนอแนะ 5.1 : ฟังก์ชันปริศนา


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมทีเ่ ปิดโอกาสให้นก
ั เรียนได้ฝก
ึ สังเกตความสัมพันธ์ระหว่างค่า x และค่า f(x) เพือ
่ สร้างและทดสอบ
ข้อความคาดการณ์ว่าฟังก์ชันปริศนาคืออะไร โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
1. บัตรฟังก์ชันปริศนา 14 ใบ/ชุด
2. ตารางบันทึกคะแนน

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4–5 คน
2. ครูแจกบัตรฟังก์ชันปริศนา 1 ชุด ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม แล้วให้นักเรียนเล่มเกมตามกติกาต่อไปนี้
1) ในแต่ละรอบ จะมีนักเรียน 1 คน เป็นเจ้าของปริศนา และนักเรียนคนอื่น ๆ เป็นนักพยากรณ์ และจะผลัดกัน
เป็นเจ้าของปริศนาในรอบถัด ๆ ไป
2) ให้เจ้าของปริศนาหยิบบัตรฟังก์ชน
ั ปริศนาจากกองขึน
้ มา 1 ใบ โดยไม่ให้นก
ั พยากรณ์เห็นฟังก์ชน
ั ปริศนาบนบัตร
จากนัน
้ ให้นก
ั พยากรณ์คนแรกบอกค่า x ทีต
่ อ
้ งการ แล้วเจ้าของปริศนาต้องบอกค่า f(x) ทีส่ อดคล้องกับค่า x นัน

นักพยากรณ์คนถัดไปบอกค่า x ที่ต้องการ แล้วเจ้าของปริศนาบอกค่า f(x) ที่สอดคล้องกับค่า x นั้นเช่นเดิม
ทำ�เช่นนี้จนกว่านักพยากรณ์จะทายฟังก์ชันปริศนาได้ โดยบอกค่า x และค่า f(x) ได้ไม่เกิน 10 ครั้ง
3) การคิดคะแนนจะคิดคะแนนรวมจาก 2 ส่วน คือ คะแนนทีไ่ ด้รวมกับคะแนนพิเศษทีไ่ ด้รบ
ั จากจำ�นวนครัง้ ทีเ่ หลือ
ในการทาย เช่น การคิดคะแนน เมื่อนักพยากรณ์ทายฟังก์ชันปริศนา หลังจากบอกค่า x ไปแล้ว 3 ครั้ง
◆ ถ้านักพยากรณ์ทายฟังก์ชน
ั ปริศนาถูก นักพยากรณ์จะได้คะแนนคนละ 6 คะแนน รวมกับคะแนนพิเศษ
เท่ากับจำ�นวนครั้งที่เหลือในการทาย นั่นก็คือ 7 ครั้ง
ดังนั้น นักพยากรณ์แต่ละคนจะได้คะแนนในรอบการเล่นนี้เป็น 6 + 7 = 13 คะแนน
◆ ถ้านักพยากรณ์ทายผิด จะต้องเสียคนละ 4 คะแนน และเจ้าของปริศนาจะได้คะแนน 4 คะแนน
รวมกับคะแนนพิเศษเท่ากับจำ�นวนครั้งที่เหลือในการทาย นั่นก็คือ 7 ครั้ง
ดังนั้น เจ้าของปริศนาจะได้คะแนนในรอบการเล่นนี้เป็น 4 + 7 = 11 คะแนน
4) เมื่อเกมจบ ผู้เล่นที่มีคะแนนรวมสูงสุดจะเป็นผู้ชนะ
3. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงแนวคิดในการหาฟังก์ชันปริศนา เช่น
✤ การแทนค่า x เป็นจำ�นวนเต็มที่เรียงถัดกัน เช่น -2, -1, 0, 1
✤ การจดบันทึกค่า x และค่า y เพื่อหาแบบรูปของคำ�ตอบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 279

บัตรฟังก์ชันปริศนา

f(x) = x2 – 1 1
f(x) = 2x + –
2

f(x) = x2 – x f(x) = 3(x + 5)

f(x) = 1 – x2 3x
f(x) = –
5

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
280 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

f(x) = (x – 3)2 f(x) = 8 – 2x

x
f(x) = – f(x) = 3x + 5
4

f(x) = (1 – x)2 f(x) = 4 – x2

()x f(x) = x + 3
2
f(x) = –
2 10

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 281

ตารางบันทึกคะแนน

คะแนนในรอบที่
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ... รวม
ผู้เล่น 1  

ผู้เล่น 2  

ผู้เล่น 3  

ผู้เล่น 4  

ผู้เล่น 5  

 แสดงผู้เล่นที่เป็นเจ้าของปริศนาในการเล่นแต่ละรอบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
282 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 5.1
2
1. f(3) = 3 + 2(3) = 15
3 2
2. f(-2) = 3(-2) – 2(-2) + 4(-2) – 1 = -41

() ( )
1 1 1
2
3. g – = 2 – – 4 = 24–
2 2 2
g(-5) = [1 – 2(-5)] – (-5) = 1,336
3
4.

5. h(-1) = √(-1) + 5 = 2
2
6. h(a) = (a – 3) – a(a) = -6a + 9

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 283

5.2 กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง (8 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. อธิบายความหมายของฟังก์ชันกำ�ลังสอง
2. ระบุได้ว่าสมการใดเป็นสมการของพาราโบลา
3. อธิบายลักษณะของพาราโบลาจากสมการ และเขียนกราฟ
4. แก้ปัญหาโดยใช้ความรู้เรื่องกราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
นักเรียนอาจเข้าใจคลาดเคลือ่ นว่า จุดสูงสุดของกราฟมีความหมายเหมือนกับค่าสูงสุด หรือจุดต่�ำ สุดของกราฟ มีความหมาย
2
เหมือนกับค่าต่ำ�สุด เช่น เข้าใจว่ากราฟของ y = x + 2 มีค่าต่ำ�สุดของกราฟเป็น (0, 2) แต่ในความเป็นจริงจุดสูงสุด
หรือจุดต่ำ�สุดเป็นจุดในระนาบที่แสดงตำ�แหน่งสูงที่สุดหรือต่ำ�ที่สุดของกราฟนั้น ส่วนค่าสูงสุดหรือค่าต่ำ�สุด เป็นค่าของ y
ที่จุดสูงสุดหรือจุดต่ำ�สุด เช่น
2
✤ กราฟของ y = x + 2 มีจุดต่ำ�สุดของกราฟเป็น (0, 2) และมีค่าต่ำ�สุดของกราฟเป็น 2
2
✤ กราฟของ y = -x + 3 มีจุดสูงสุดของกราฟเป็น (0, 3) และมีค่าสูงสุดของกราฟเป็น 3

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
อุปกรณ์ของกิจกรรมเสนอแนะ 5.2 : ชูป้ายให้คำ�ตอบ

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนีเ้ ป็นเรือ
่ งเกีย่ วกับกราฟของฟังก์ชน
ั กำ�ลังสอง โดยเน้นให้นก
ั เรียนได้รจู้ ก
ั กราฟของสมการของพาราโบลา ศึกษา
2 2 2 2
สำ�รวจ และสังเกตลักษณะของกราฟของสมการ y = ax , y = ax + k, y = a(x – h) , y = a(x – h) + k และ
2
y = ax + bx + c เมื่อ a, b, c, h และ k เป็นค่าคงตัว และ a ≠ 0 เพื่อสร้างข้อสรุปเกี่ยวกับลักษณะของกราฟของสมการ
แต่ละรูปแบบข้างต้นได้ แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาจทำ�ได้ดังนี้
1. ในการเชื่อมโยงสู่ฟังก์ชันกำ�ลังสอง ครูอาจสนทนาให้นักเรียนสังเกตสิ่งแวดล้อมและสิ่งก่อสร้างรอบตัวที่มีลักษณะ
เป็นเส้นโค้งทางเรขาคณิต เช่น สายเคเบิลที่ขึงโยงสะพานแขวน สายน้ำ�พุที่พุ่งขึ้นในช่วงเวลาต่าง ๆ เส้นทาง
การเคลื่อนที่ของวัตถุที่โยนไปในอากาศ เพื่อแนะนำ�ลักษณะของกราฟพาราโบลา
ครูยกตัวอย่างสมการที่มีกราฟเป็นพาราโบลา และชี้ให้นักเรียนเห็นว่า สมการดังกล่าวเป็นฟังก์ชันที่อยู่
2 2
ในรูป y = ax + bx + c หรือ f(x) = ax + bx + c เมือ
่ a, b, c เป็นค่าคงตัว และ a ≠ 0 ซึง่ เรียกว่า
ฟังก์ชันกำ�ลังสอง และสมการของฟังก์ชันกำ�ลังสองนี้เรียกว่า สมการของพาราโบลา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
284 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

2. ในการสอนเกี่ยวกับลักษณะของกราฟ ครูอาจอภิปรายร่วมกับนักเรียนเกี่ยวกับการพิจารณาลักษณะของกราฟ
ซึง่ จะดูจาก กราฟคว่�ำ หรือหงาย กราฟบานมากหรือน้อย จุดต่�ำ สุดหรือจุดสูงสุด ค่าต่�ำ สุดหรือค่าสูงสุด แกนสมมาตร
การเลือ
่ นขนานกราฟ ครูให้นก
ั เรียนสำ�รวจลักษณะของกราฟของพาราโบลาโดยให้นก
ั เรียนทำ� “กิจกรรม : สำ�รวจ
กราฟของ y = ax2 เมื่อ a ≠ 0” ในหนังสือเรียน หน้า 169–174 เพื่อสรุปว่า กราฟของพาราโบลาจะเป็น
เส้นโค้งเรียบ เมื่อ a > 0 กราฟเป็นพาราโบลาหงาย มีจุดต่ำ�สุดอยู่ที่ (0, 0) มีค่าต่ำ�สุดเป็น 0 และเมื่อ a < 0
กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ� มีจุดสูงสุดอยู่ที่ (0, 0) มีค่าสูงสุดเป็น 0 ซึ่งกราฟจะบานมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับค่า a
และมีแกน Y เป็นแกนสมมาตร
ในทำ�นองเดียวกัน ครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรมสำ�รวจลักษณะกราฟที่อยู่ในรูปอื่น ดังต่อไปนี้
2
✤ “กิจกรรม : สำ�รวจกราฟของ y = ax + k เมื่อ a ≠ 0” ในหนังสือเรียน หน้า 179–182
2
✤ “กิจกรรม : สำ�รวจกราฟของ y = a(x – h) เมื่อ a ≠ 0” ในหนังสือเรียน หน้า 186–188
2
✤ “กิจกรรม : สำ�รวจกราฟของ y = a(x – h) + k เมื่อ a ≠ 0” ในหนังสือเรียน หน้า 192–194
จากกิจกรรมสำ�รวจกราฟทั้งสี่กิจกรรม ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปลักษณะทั่วไปของพาราโบลาที่อยู่ในรูป
2
y = a(x – h) + k เมื่อ a ≠ 0 ได้ดังนี้
1) กราฟพาราโบลาเป็นรูปสมมาตร มีเส้นตรง x = h เป็นแกนสมมาตร
✤ ถ้า a > 0 กราฟเป็นพาราโบลาหงาย มีจุดต่ำ�สุดที่จุด (h, k) ค่าต่ำ�สุด เท่ากับ k
✤ ถ้า a < 0 กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ� มีจุดสูงสุดที่จุด (h, k) ค่าสูงสุด เท่ากับ k
2) กราฟจะบานน้อยหรือมากขึ้นอยู่กับค่า a กล่าวคือ
ถ้า |a| มีค่าน้อยลงเรื่อย ๆ กราฟจะบานมากขึ้นเรื่อย ๆ
ในทางกลับกัน ถ้า |a| มีค่ามากขึ้นเรื่อย ๆ กราฟจะบานน้อยลงเรื่อย ๆ
2
3) กราฟของสมการ y = a(x – h)2 + k เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานกราฟของสมการ y = ax
ครูอาจให้นักเรียนสังเกตลักษณะของกราฟเพิ่มเติมโดยดาวน์โหลดไฟล์ GSP จากมุมเทคโนโลยี ท้ายแต่ละ
กิจกรรม
2
3. ครูควรอธิบายและทำ�ความเข้าใจกับนักเรียน เพื่อชี้ให้เห็นว่า เมื่อกำ�หนดสมการที่อยู่ในรูป y = ax + bx + c
เมื่อ a ≠ 0 มาให้ นักเรียนสามารถวิเคราะห์ลักษณะของกราฟที่กำ�หนดให้ โดยทำ�บางส่วนของสมการให้เป็น
2
กำ�ลังสองสมบูรณ์ เพื่อเขียนสมการให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k เมื่อ a ≠ 0 แล้วใช้ข้อสรุปเกี่ยวกับลักษณะ
ทั่วไปของกราฟเพื่อบอกลักษณะของกราฟของสมการที่กำ�หนด
4. ครูอาจใช้ “กิจกรรมเสนอแนะ : ชูป้ายให้คำ�ตอบ” ในคู่มือครู หน้า 296 ให้นักเรียนได้ฝึกพิจารณาสมการของ
พาราโบลาเพื่อบอกลักษณะของกราฟของพาราโบลา หรือฝึกพิจารณากราฟของพาราโบลาเพื่อบอกสมการของ
พาราโบลา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 285

5. ครูควรยกตัวอย่างโจทย์ปัญหาที่ใช้ความรู้เกี่ยวกับกราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง เพื่อให้นักเรียนเห็นถึงการเชื่อมโยง
และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการแก้ปัญหา เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างสัปดาห์ที่มีลิ้นจี่วางขาย (x) กับราคาลิ้นจี่
เป็นบาทต่อกิโลกรัม (y) ในปีหนึ่ง ในหนังสือเรียน หน้า 167 โดยครูแนะนำ�เพิ่มเติมว่า เราสามารถหาได้ว่า
สัปดาห์ทม
ี่ ล
ี น
ิ้ จีว่ างขายสัปดาห์ใดมีราคาลิน
้ จีถ
่ ก
ู ทีส
่ ด
ุ ได้จากการจัดรูปสมการทีแ่ สดงความสัมพันธ์นน
ั้ ให้อยูใ่ นรูป
2
y = a(x – h) + k เมื่อ a ≠ 0 แทนการแทนค่าในการหาคำ�ตอบ
6. ครูอาจใช้ชวนคิด 5.9 ในหนังสือเรียน หน้า 206 ซึ่งมีเจตนาให้นักเรียนได้ประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับกราฟของ
ฟังก์ชน
ั กำ�ลังสองในการหาสมการของพาราโบลาทีส่ อดคล้องกับสะพานทีก
่ �ำ หนดให้ โดยครูอาจแนะนำ�ให้นก
ั เรียน
ใช้ซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad ในการสำ�รวจ ซึ่งสมการมีได้หลากหลาย ครูจึงควรพิจารณา
ความสมเหตุสมผลของวิธีการหาคำ�ตอบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
286 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรม : สำ�รวจกราฟของ y = ax2 เมื่อ a ≠ 0


2
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่เน้นให้นักเรียนสำ�รวจ และสังเกตลักษณะของกราฟของสมการ y = ax เมื่อ a ≠ 0
2
โดยเริ่มศึกษาการเขียนกราฟของพาราโบลาที่กำ�หนดด้วยสมการ y = ax เมื่อ a = 1 เพื่อให้นักเรียนได้สังเกตว่า กราฟมี
ลักษณะเป็นเส้นโค้งเรียบ และรู้จักคำ�ต่าง ๆ ที่ใช้ในการอธิบายลักษณะของกราฟ นอกจากนี้ นักเรียนจะต้องสร้างข้อสรุป
2
เกี่ยวกับลักษณะของกราฟที่กำ�หนดด้วยสมการ y = ax เมื่อ a < 0 และ a > 0 ได้ โดยมีขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
-

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
2
1. ครูให้นก
ั เรียนศึกษาการเขียนกราฟของพาราโบลาทีก
่ �ำ หนดด้วยสมการ y = ax เมือ
่ a = 1 ในกิจกรรม ตอนที่ 1
ข้อ 1 โดยครูเน้นย้ำ�ว่า จุดทั้งหมดที่เกิดจากคู่อันดับ (x, y) ที่สอดคล้องกับสมการ จะเรียงกันเป็นเส้นโค้งเรียบ
ไม่ใช่เป็นส่วนของเส้นตรงที่ลากเชื่อมต่อจุด แล้วให้นักเรียนตอบคำ�ถามในข้อ 2 เพื่อสรุปลักษณะของกราฟเกี่ยวกับ
แกนสมมาตร ค่าต่ำ�สุด และค่าสูงสุด และอาจขยายไปถึงจุดต่ำ�สุดและจุดสูงสุดเพื่อชี้ให้นักเรียนเห็นความแตกต่าง
ระหว่างค่าต่ำ�สุดกับจุดต่ำ�สุดของกราฟ และค่าสูงสุดกับจุดสูงสุดของกราฟ
2. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามในกิจกรรม ตอนที่ 2 และตอนที่ 3 แล้วอภิปรายร่วมกันเพื่อสรุปลักษณะของกราฟของ
2
สมการ y = ax เมื่อ a > 0 และ a < 0
2
3. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปลักษณะของกราฟของพาราโบลาที่กำ�หนดด้วยสมการ y = ax เมื่อ a ≠ 0

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 287

เฉลยกิจกรรม : สำ�รวจกราฟของ y = ax2 เมื่อ a ≠ 0


2
ตอนที่ 1 กราฟของ y = ax เมือ
่ a = 1
2. 1) พาราโบลาหงาย
2) 9
3) 9
4) -2 และ 2
5) เป็นรูปสมมาตร โดยมีเส้นตรง x = 0 หรือแกน Y เป็นแกนสมมาตร
6) ค่า y เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
7) 0
8) ค่า y เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
9) ค่าต่ำ�สุดของ y เป็น 0 ได้มาจากค่า x เป็น 0
10) ไม่มี เพราะค่า y เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด

2
ตอนที่ 2 กราฟของ y = ax เมื่อ a > 0
1.
x -3 -2 -1 0 1 2 3

y = 2x2 18 8 2 0 2 8 18
1 2 9 1 1 9
y = – – 2 – 0 – 2 –
2x 2 2 2 2
Y
2. y = 2x
2

18

16 2
y = x
14

12
y = 1
2
–x
2
10

X
-6 -4 -2 O 2 4 6
-2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
288 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

3. 1) เส้นตรง x = 0 หรือแกน Y
2
2) จุดต่ำ�สุดของกราฟของสมการ y = 2x คือ (0, 0) และมีค่าต่ำ�สุดของ y เป็น 0
2
จุดต่ำ�สุดของกราฟของสมการ y = x คือ (0, 0) และมีค่าต่ำ�สุดของ y เป็น 0
1 2
จุดต่ำ�สุดของกราฟของสมการ y = – x คือ (0, 0) และมีค่าต่ำ�สุดของ y เป็น 0
2
3) ค่า a กล่าวคือ ถ้า a มีค่าน้อย กราฟจะบานมาก แต่ถ้า a มีค่ามาก กราฟจะบานน้อย

2
ตอนที่ 3 กราฟของ y = ax เมื่อ a < 0
1.
x -3 -2 -1 0 1 2 3

y = -x2 -9 -4 -1 0 -1 -4 -9

y = -2x2 -18 -8 -2 0 -2 -8 -18


9 1 1 9
y = -–21 x2 -–
2
-2 -–
2
0 -–
2
-2 -–
2

2.
Y

X
-6 -4 -2 O 2 4 6
-2

-4

-6

-8

-10
1
y = - x²
-12 2

-14
y = - x²
-16

-18
y = -2x²

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 289

3. 1) พาราโบลาคว่ำ�
2) เป็นรูปสมมาตร โดยมีเส้นตรง x = 0 หรือแกน Y เป็นแกนสมมาตร
3) ค่า y ลดลงเรื่อย ๆ
4) 0
5) ค่า y ลดลงเรื่อย ๆ
2
6) จุดสูงสุดของกราฟของสมการ y = -x คือ (0, 0) และค่าสูงสุดของ y เป็น 0
2
จุดสูงสุดของกราฟของสมการ y = -2x คือ (0, 0) และค่าสูงสุดของ y เป็น 0
1 2
จุดสูงสุดของกราฟของสมการ y = - – x คือ (0, 0) และค่าสูงสุดของ y เป็น 0
2
7) ค่าสูงสุดของ y เป็น 0 ได้มาจากค่า x เป็น 0
8) ไม่มี เพราะ ค่า y ลดลงเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด
9) ค่า a กล่าวคือ ถ้า a มีค่ามาก กราฟจะบานมาก แต่ถ้า a มีค่าน้อย กราฟจะบานน้อย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
290 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรม : สำ�รวจกราฟของ y = ax2 + k เมื่อ a ≠ 0


2
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่เน้นให้นักเรียนสำ�รวจ และสังเกตลักษณะของกราฟของสมการ y = ax + k เมื่อ
2
a ≠ 0 แล้วสร้างข้อสรุปเกี่ยวกับลักษณะของกราฟของพาราโบลาที่กำ�หนดด้วยสมการ y = ax + k เมื่อ k < 0 และ
k > 0 ได้ โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
กระดาษลอกลาย

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
2
1. ครูให้นักเรียนศึกษา สำ�รวจ และสังเกตกราฟของพาราโบลาที่กำ�หนดด้วยสมการ y = ax + k เมื่อ a > 0
ในกิจกรรม ตอนที่ 1 พร้อมทัง้ ตอบคำ�ถาม โดยครูเน้นย้�ำ ให้นก
ั เรียนสังเกตความแตกต่างของกราฟทีเ่ กิดขึน
้ จากค่า k
เมื่อ k > 0 หรือ k < 0
2
2. ครูให้นักเรียนศึกษา สำ�รวจ และสังเกตกราฟของพาราโบลาที่กำ�หนดด้วยสมการ y = ax + k เมื่อ a < 0
ในกิจกรรม ตอนที่ 2 พร้อมทั้งตอบคำ�ถาม โดยครูเน้นย้ำ�ให้นักเรียนสังเกตความแตกต่างของกราฟที่เกิดขึ้นจาก
ค่า k เมื่อ k > 0 หรือ k < 0
2
3. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปลักษณะของกราฟของพาราโบลาที่กำ�หนดด้วยสมการ y = ax + k เมื่อ a ≠ 0

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 291

เฉลยกิจกรรม : สำ�รวจกราฟของ y = ax2 + k เมื่อ a ≠ 0


2
ตอนที่ 1 กราฟของ y = ax + k เมื่อ a > 0
2. 1) เท่ากันทุกประการ
2) เส้นตรง x = 0 หรือแกน Y
2
3) จุดต่ำ�สุดของกราฟของสมการ y = 2x คือ (0, 0) และค่าต่ำ�สุดของ y เป็น 0
2
จุดต่ำ�สุดของกราฟของสมการ y = 2x + 2 คือ (0, 2) และค่าต่ำ�สุดของ y เป็น 2
2
จุดต่ำ�สุดของกราฟของสมการ y = 2x – 3 คือ (0, -3) และค่าต่ำ�สุดของ y เป็น -3
2
4) จุดต่ำ�สุดของกราฟของสมการ y = 2x + 2 อยู่เหนือแกน X และ
2
จุดต่ำ�สุดของกราฟของสมการ y = 2x – 3 อยู่ใต้แกน X
2 2
5) กราฟของสมการ y = 2x + 2 เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานกราฟของสมการ y = 2x
ตามแนวแกน Y ขึ้นไป เป็นระยะ 2 หน่วย และ
2 2
กราฟของสมการ y = 2x – 3 เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานกราฟของสมการ y = 2x
ตามแนวแกน Y ลงมา เป็นระยะ 3 หน่วย

2
ตอนที่ 2 กราฟของ y = ax + k เมื่อ a < 0
2. 1) เท่ากันทุกประการ
2) เส้นตรง x = 0 หรือแกน Y
3) จุดสูงสุดของกราฟของสมการ y = -2x2 คือ (0, 0) และค่าสูงสุดของ y เป็น 0
จุดสูงสุดของกราฟของสมการ y = -2x + 2 คือ (0, 2) และค่าสูงสุดของ y เป็น 2
2

จุดสูงสุดของกราฟของสมการ y = -2x2 – 3 คือ (0, -3) และค่าสูงสุดของ y เป็น -3


4) จุดสูงสุดของกราฟของสมการ y = -2x2 + 2 อยู่เหนือแกน X และ
จุดสูงสุดของกราฟของสมการ y = -2x2 – 3 อยู่ใต้แกน X
2 2
5) กราฟของสมการ y = -2x + 2 เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานกราฟของสมการ y = -2x ตามแนว
แกน Y ขึ้นไป เป็นระยะ 2 หน่วย และ
2 2
กราฟของสมการ y = -2x – 3 เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานกราฟของสมการ y = -2x ตามแนว
แกน Y ลงมา เป็นระยะ 3 หน่วย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
292 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรม : สำ�รวจกราฟของ y = a(x – h)2 เมื่อ a ≠ 0


2
กิ จ กรรมนี้ เป็ น กิ จ กรรมที่ เ น้ น ให้ นั ก เรี ย นพิ จ ารณาและสั ง เกตลั ก ษณะของกราฟของสมการ y = a(x – h)
2
เมื่อ a > 0 แล้วใช้การนึกภาพในการอธิบายลักษณะของกราฟของสมการ y = a(x – h) เมื่อ a < 0 ซึ่งนักเรียนจะต้อง
2
สร้างข้อสรุปเกี่ยวกับลักษณะของกราฟของพาราโบลาที่กำ�หนดด้วยสมการ y = a(x – h) เมื่อ h < 0 และ h > 0 ได้
โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
กระดาษลอกลาย

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
2
1. ครูให้นักเรียนพิจารณาและสังเกตกราฟของพาราโบลาที่กำ�หนดด้วยสมการ y = a(x – h) เมื่อ a > 0 พร้อมทั้ง
ตอบคำ�ถามที่กำ�หนดในกิจกรรม ข้อ 1) ถึง ข้อ 5) โดยครูเน้นย้ำ�ให้นักเรียนสังเกตความแตกต่างของกราฟที่เกิดขึ้น
จากค่า h เมื่อ h > 0 หรือ h < 0
2
2. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามเกี่ยวกับกราฟของพาราโบลาที่กำ�หนดด้วยสมการ y = a(x – h) เมื่อ a < 0
2
ในกิจกรรม ข้อ 6) และข้อ 7) โดยใช้การนึกภาพในการอธิบายลักษณะของกราฟของสมการ y = a(x – h)
เมื่อ a < 0
2
3. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปลักษณะของกราฟของพาราโบลาที่กำ�หนดด้วยสมการ y = a(x – h) เมื่อ a ≠ 0

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 293

เฉลยกิจกรรม : สำ�รวจกราฟของ y = a(x – h)2 เมื่อ a ≠ 0


2. 1) เท่ากันทุกประการ
2
2) กราฟของสมการ y = 2x มีเส้นตรง x = 0 หรือแกน Y เป็นแกนสมมาตร
2
กราฟของสมการ y = 2(x – 3) มีเส้นตรง x = 3 เป็นแกนสมมาตร
2
กราฟของสมการ y = 2(x + 4) มีเส้นตรง x = -4 เป็นแกนสมมาตร
2
3) จุดต่ำ�สุดของกราฟของสมการ y = 2x คือ (0, 0) และค่าต่ำ�สุดของ y เป็น 0
2
จุดต่ำ�สุดของกราฟของสมการ y = 2(x – 3) คือ (3, 0) และค่าต่ำ�สุดของ y เป็น 0
2
จุดต่ำ�สุดของกราฟของสมการ y = 2(x + 4) คือ (-4, 0) และค่าต่ำ�สุดของ y เป็น 0
2
4) จุดต่ำ�สุดของกราฟของสมการ y = 2(x + 4) อยู่ทางซ้ายของแกน Y และ
2
จุดต่ำ�สุดของกราฟของสมการ y = 2(x – 3) อยู่ทางขวาของแกน Y
2 2
5) กราฟของสมการ y = 2(x – 3) เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานกราฟของสมการ y = 2x
ตามแนวแกน X ไปทางขวา เป็นระยะ 3 หน่วย และ
2 2
กราฟของสมการ y = 2(x + 4) เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานกราฟของสมการ y = 2x
ตามแนวแกน X ไปทางซ้าย เป็นระยะ 4 หน่วย
2
6) จุดสูงสุดของกราฟของสมการ y = -2x คือ (0, 0) และค่าสูงสุดของ y เป็น 0
2
จุดสูงสุดของกราฟของสมการ y = -2(x – 3) คือ (3, 0) และค่าสูงสุดของ y เป็น 0
2
จุดสูงสุดของกราฟของสมการ y = -2(x + 4) คือ (-4, 0) และค่าสูงสุดของ y เป็น 0
2 2
7) กราฟของสมการ y = -2(x – 3) เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานกราฟของสมการ y = -2x
ตามแนวแกน X ไปทางขวา เป็นระยะ 3 หน่วย และ
2 2
กราฟของสมการ y = -2(x + 4) เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานกราฟของสมการ y = -2x
ตามแนวแกน X ไปทางซ้าย เป็นระยะ 4 หน่วย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
294 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรม : สำ�รวจกราฟของ y = a(x – h)2 + k เมื่อ a ≠ 0


2
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่เน้นให้นักเรียนพิจารณาและสังเกตลักษณะของกราฟของสมการ y = a(x – h) + k
2
เมื่อ a > 0 แล้วใช้การนึกภาพในการอธิบายลักษณะของกราฟของสมการ y = a(x – h) + k เมื่อ a < 0 ซึ่งนักเรียน
2
จะต้องสร้างข้อสรุปเกี่ยวกับลักษณะของกราฟของพาราโบลาที่กำ�หนดด้วยสมการ y = a(x – h) + k เมื่อ h < 0 , h > 0 ,
k < 0 และ k > 0 ได้ โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
กระดาษลอกลาย

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
2
1. ครูให้นักเรียนพิจารณาและสังเกตกราฟของพาราโบลาที่กำ�หนดด้วยสมการ y = a(x – h) + k เมื่อ a > 0
พร้ อ มทั้ ง ตอบคำ � ถาม ข้ อ 1) ถึ ง ข้ อ 5) โดยครู เ น้ น ย้ำ � ให้ นั ก เรี ย นสั ง เกตความแตกต่ า งของกราฟที่ เ กิ ด ขึ้ น
เมื่อค่า k เปลี่ยนแปลงไป
2
2. ครูอาจตั้งคำ�ถามให้นักเรียนใช้การนึกภาพในการอธิบายลักษณะของกราฟของสมการ y = a(x – h) + k เมื่อ
a > 0 และค่า h เปลี่ยนแปลงไป
2
3. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามเกี่ยวกับกราฟของพาราโบลาที่กำ�หนดด้วยสมการ y = a(x – h) + k เมื่อ a < 0
2
ในกิจกรรม ข้อ 6) และข้อ 7) โดยใช้การนึกภาพในการอธิบายลักษณะของกราฟของสมการ y = a(x – h) + k
เมื่อ a < 0
2
4. ครูอาจตั้งคำ�ถามให้นักเรียนใช้การนึกภาพในการอธิบายลักษณะของกราฟของสมการ y = a(x – h) + k
เมื่อ a < 0 และค่า h เปลี่ยนแปลงไป
5. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถาม ข้อ 8) และข้อ 9) และร่วมกันสรุปลักษณะของกราฟของพาราโบลาที่กำ�หนดด้วยสมการ
2
y = a(x – h) + k เมื่อ a ≠ 0

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 295

เฉลยกิจกรรม : สำ�รวจกราฟของ y = a(x – h)2 + k เมื่อ a ≠ 0


2. 1) เท่ากันทุกประการ
2) เส้นตรง x = 1
2
3) จุดต่ำ�สุดของกราฟของสมการ y = 2(x – 1) คือ (1, 0) และค่าต่ำ�สุดของ y เป็น 0
2
จุดต่ำ�สุดของกราฟของสมการ y = 2(x – 1) + 2 คือ (1, 2) และค่าต่ำ�สุดของ y เป็น 2
2
จุดต่ำ�สุดของกราฟของสมการ y = 2(x – 1) – 3 คือ (1, -3) และค่าต่ำ�สุดของ y เป็น -3
2
4) จุดต่ำ�สุดของกราฟของสมการ y = 2(x – 1) + 2 อยู่เหนือแกน X และ
2
จุดต่ำ�สุดของกราฟของสมการ y = 2(x – 1) – 3 อยู่ใต้แกน X
2 2
5) กราฟของสมการ y = 2(x – 1) + 2 เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานกราฟของสมการ y = 2(x – 1)
ตามแนวแกน Y ขึ้นไป เป็นระยะ 2 หน่วย และ
2 2
กราฟของสมการ y = 2(x – 1) – 3 เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานกราฟของสมการ y = 2(x – 1)
ตามแนวแกน Y ลงมา เป็นระยะ 3 หน่วย
2
6) จุดสูงสุดของกราฟของสมการ y = -2(x + 3) คือ (-3, 0) และค่าสูงสุดของ y เป็น 0
2
จุดสูงสุดของกราฟของสมการ y = -2(x + 3) + 4 คือ (-3, 4) และค่าสูงสุดของ y เป็น 4
2
จุดสูงสุดของกราฟของสมการ y = -2(x + 3) – 5 คือ (-3, -5) และค่าสูงสุดของ y เป็น -5
2 2
7) กราฟของสมการ y = -2(x + 3) + 4 เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานกราฟของสมการ y = -2(x + 3)
ตามแนวแกน Y ขึ้นไป เป็นระยะ 4 หน่วย และ
2 2
กราฟของสมการ y = -2(x + 3) – 5 เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานกราฟของสมการ y = -2(x + 3)
ตามแนวแกน Y ลงมา เป็นระยะ 5 หน่วย
2 2
8) ถ้า k > 0 กราฟของสมการ y = a(x – h) + k เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานกราฟของสมการ y = a(x – h)
ตามแนวแกน Y ขึ้นไป เป็นระยะ k หน่วย
2 2
ถ้า k < 0 กราฟของสมการ y = a(x – h) + k เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานกราฟของสมการ y = a(x – h)
ตามแนวแกน Y ลงมา เป็นระยะ |k| หน่วย
2
9) ถ้า h > 0 และ k > 0 กราฟของสมการ y = a(x – h) + k เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานกราฟของสมการ
2
y = ax ตามแนวแกน X ไปทางขวา เป็นระยะ h หน่วย แล้วเลือ่ นขนานตามแนวแกน Y ขึน
้ ไป เป็นระยะ k หน่วย
2
ถ้า h < 0 และ k > 0 กราฟของสมการ y = a(x – h) + k เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานกราฟของสมการ
2
y = ax ตามแนวแกน X ไปทางซ้าย เป็นระยะ |h| หน่วย แล้วเลือ่ นขนานตามแนวแกน Y ขึน
้ ไป เป็นระยะ k หน่วย
2
ถ้า h < 0 และ k < 0 กราฟของสมการ y = a(x – h) + k เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานกราฟของสมการ
2
y = ax ตามแนวแกน X ไปทางซ้าย เป็นระยะ |h| หน่วย แล้วเลือ่ นขนานตามแนวแกน Y ลงมา เป็นระยะ |k| หน่วย
2
ถ้า h > 0 และ k < 0 กราฟของสมการ y = a(x – h) + k เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานกราฟของสมการ
2
y = ax ตามแนวแกน X ไปทางขวา เป็นระยะ h หน่วย แล้วเลือ่ นขนานตามแนวแกน Y ลงมา เป็นระยะ |k| หน่วย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
296 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรมเสนอแนะ 5.2 : ชูป้ายให้คำ�ตอบ


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่เน้นให้นักเรียนได้ฝึกใช้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะของกราฟพาราโบลา ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะ
และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในด้านการตีความ แปลความ และสื่อความหมายจากกราฟ รวมทั้งทักษะการนำ�เสนอสมการ
ในรูปของกราฟ โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
1. ป้ายคำ�ตอบ 4 สี ได้แก่ สีแดง สีเขียว สีเหลือง และสีฟ้า
2. บัตรคำ�ถามพร้อมตัวเลือก 5 ใบ

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน แล้วแจกป้ายคำ�ตอบให้นักเรียนในกลุ่ม คนละ 1 ใบ โดยที่แต่ละคนจะ
ได้ป้ายคำ�ตอบที่มีสีต่างกัน
2. ครูแสดงบัตรคำ�ถามแล้วให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาตัวเลือกในบัตรคำ�ถามที่มีสีเดียวกันกับป้ายคำ�ตอบที่ตนเอง
ได้รับ ถ้าตัวเลือกนั้นสอดคล้องกับคำ�ถามให้ชูป้ายคำ�ตอบ โดยแต่ละคำ�ถามอาจมีตัวเลือกที่เป็นคำ�ตอบมากกว่า
1 ตัวเลือก
3. ถ้าครูพบว่า มีคำ�ตอบของนักเรียนบางกลุ่มไม่ถูกต้อง ครูควรเปิดโอกาสให้แต่ละกลุ่มร่วมกันคิดหาคำ�ตอบที่ถูกต้อง
4. ครูสุ่มนักเรียนมานำ�เสนอคำ�ตอบ และแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 297

บัตรคำ�ถามที่ 1

คำ�ถาม 8

7
ตัวเลือกใดที่สอดคล้อง
6
กับกราฟที่กำ�หนดให้ 5

3
(1, 2.5)
2

X
-3 -2 -1 (0, 0) 1 2 3
-1

ตัวเลือก

จุดต่ำ�สุดเป็นจุดเดียวกับ
เส้นตรง x = 0
จุดต่ำ�สุดของกราฟของ
เป็นแกนสมมาตร
สมการ y = x2

กราฟผ่านจุด (-1, 2.4) กราฟของสมการ y = 2.5x2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
298 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

บัตรคำ�ถามที่ 2

คำ�ถาม
ตัวเลือกใดแสดงลักษณะของกราฟของสมการ
y = -4x2 + 4

ตัวเลือก

แกนสมมาตรเป็นแกนเดียวกับ
จุดสูงสุดอยู่ที่จุด (4, 0)
กราฟของสมการ y = -4x2

ค่าสูงสุดของ y เท่ากับ 0 กราฟผ่านจุด (2, -12)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 299

บัตรคำ�ถามที่ 3

คำ�ถาม
ตัวเลือกใดแสดงลักษณะของกราฟของสมการ
y = 3(x + 5)2

ตัวเลือก

พาราโบลาคว่ำ�ที่มีจุดสูงสุด เส้นตรง x = -5
อยู่ที่จุด (-5, 0) เป็นแกนสมมาตร

กราฟตัดแกน Y ที่จุด (0, 75) ค่าสูงสุดของ y เท่ากับ 0

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
300 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

บัตรคำ�ถามที่ 4

คำ�ถาม
ตัวเลือกใดแสดงลักษณะของกราฟของสมการ
y = -(x – 2)2 – 16

ตัวเลือก
กราฟของสมการ
y = (x – 2)2 – 16
กราฟไม่ตัดแกน X เป็นภาพสะท้อน
โดยมีเส้นตรง y = -16
เป็นเส้นสะท้อน

แกนสมมาตรเป็นแกนเดียวกับ
เป็นพาราโบลาคว่ำ�
กราฟของสมการ
และมีจุดสูงสุดอยู่ที่ (2, -16)
y = 3(x – 2)2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 301

บัตรคำ�ถามที่ 5

คำ�ถาม
ตัวเลือกใดแสดงลักษณะของกราฟของสมการ
y = 3x2 + 24x + 49

ตัวเลือก
กราฟมีลักษณะเดียวกับ
กราฟของสมการ Y

y = 3(x + 4)2 + 1 11
10
9
8
7
6
กราฟผ่านจุด (-1, 28) 5
4
3
2
1
X
ค่าสูงสุดของ y เท่ากับ1 02
-7 -6 -5 -4 -3 -2 -1 O

กราฟไม่ตัดแกน Y

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
302 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยบัตรคำ�ถาม

บัตรคำ�ถามที่ 1 ตัวเลือกที่ถูกต้อง ได้แก่

จุดต่ำ�สุดเป็นจุดเดียวกับ
เส้นตรง x = 0
จุดต่ำ�สุดของกราฟของ
เป็นแกนสมมาตร
สมการ y = x2

กราฟของสมการ y = 2.5x2

บัตรคำ�ถามที่ 2 ตัวเลือกที่ถูกต้อง ได้แก่

แกนสมมาตรเป็นแกนเดียวกับ
กราฟผ่านจุด (2, -12)
กราฟของสมการ y = -4x2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 303

บัตรคำ�ถามที่ 3 ตัวเลือกที่ถูกต้อง ได้แก่

เส้นตรง x = -5
กราฟตัดแกน Y ที่จุด (0, 75)
เป็นแกนสมมาตร

บัตรคำ�ถามที่ 4 ตัวเลือกที่ถูกต้อง ได้แก่

แกนสมมาตรเป็นแกนเดียวกับ
กราฟไม่ตัดแกน X กราฟของสมการ
y = 3(x – 2)2

เป็นพาราโบลาคว่ำ�
และมีจุดสูงสุดอยู่ที่ (2, -16)

บัตรคำ�ถามที่ 5 ตัวเลือกที่ถูกต้อง ได้แก่

กราฟมีลักษณะเดียวกับ
กราฟของสมการ กราฟผ่านจุด (-1, 28)
y = 3(x + 4)2 + 1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
304 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 5.1
2
จาก y = ax + bx + c
ipst.me/11408
ถ้า a = 0 จะได้ y = bx + c
ดังนั้น ถ้าให้ a = 0 จะได้สมการเชิงเส้นสองตัวแปร ซึ่งมีกราฟเป็นเส้นตรง

ชวนคิด 5.2
2
สามารถหาจุดตัดแกน X และจุดตัดแกน Y ของกราฟของสมการ y = ax เมื่อ a ≠ 0 ได้โดย

ipst.me/11409
1. พิจารณาจากกราฟ จะได้ว่า จุดตัดแกน X และจุดตัดแกน Y คือ (0, 0)
2
หรือ 2. หาจุดตัดแกน X โดยแทน y ด้วย 0 ในสมการ y = ax จะได้ x = 0
ดังนั้น จุดตัดแกน X คือ (0, 0)
2
หาจุดตัดแกน Y โดยแทน x ด้วย 0 ในสมการ y = ax จะได้ y = 0
ดังนั้น จุดตัดแกน Y คือ (0, 0)

ชวนคิด 5.3
2 2
พาราโบลาที่กำ�หนดด้วยสมการ y = 4x และ y = -4x เป็นภาพสะท้อนซึ่งกันและกัน โดยมีเส้นตรง
ipst.me/11410
y = 0 หรือแกน X เป็นเส้นสะท้อน

ชวนคิด 5.4
2 2
สมการ y = -ax เมื่อ a ≠ 0 มีกราฟเป็นภาพสะท้อนของกราฟของสมการ y = ax เมื่อ a ≠ 0
ipst.me/11411
โดยมีแกน X เป็นเส้นสะท้อน

ชวนคิด 5.5
2 2
พาราโบลาทีก
่ �ำ หนดด้วยสมการ y = 4x + 1 และ y = -4x + 1 เป็นภาพสะท้อนซึง่ กันและกัน โดยมี
ipst.me/11412
เส้นตรง y = 1 เป็นเส้นสะท้อน

ชวนคิด 5.6
2
สามารถหาจุดตัดแกน X และจุดตัดแกน Y ของกราฟของสมการ y = ax + k เมื่อ a ≠ 0 ได้โดยกำ�หนด
ipst.me/11413
ให้ตัวแปรใดตัวแปรหนึ่งในสมการเป็น 0 ดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 305

2
1. หาจุดตัดแกน X โดยแทน y ด้วย 0 ลงในสมการ y = ax + k
2
จาก y = ax + k
2
จะได้ 0 = ax + k
เนื่องจาก a ≠ 0
k 2
ดังนั้น
= -– x
a
จากความรู้เรื่องรากที่สองของจำ�นวนจริง จะพิจารณาดังนี้
k k
✤ ถ้า - – เป็นจำ�นวนจริงบวก จะได้ว่า – เป็นจำ�นวนจริงลบ ซึ่งจะเกิดจากกรณี
a a
เมื่อ a < 0 และ k > 0 หรือเมื่อ a > 0 และ k < 0
2 k k
จาก x = - – และ – < 0
a a
จะได้
2
x = –
k
a ||

k
เนื่องจาก – เป็นจำ�นวนจริงบวก
a ||
ดังนั้น
k
x = - – หรือ x =
a || k

a ||

k
จะได้ จุดตัดแกน X คือ - – , 0 และ
a ( ||
k
– ,0
a ) ( || )
k
✤ ถ้า - – = 0
a
2 k
จาก x = -–
a
2
จะได้ x = 0
x = 0
ดังนั้น จุดตัดแกน X คือ (0, 0)
k
✤ ถ้า - – เป็นจำ�นวนจริงลบ
a
2 k
จาก x = -–
a
2 k
จะได้ว่า ไม่มีจำ�นวนจริงที่แทน x แล้วทำ�ให้ x = - –
a
ดังนั้น กรณีนี้จะไม่มีจุดตัดแกน x
2
2. หาจุดตัดแกน Y โดยแทน x ด้วย 0 ลงในสมการ y = ax + k
2
จาก y = ax + k
จะได้ y = k
ดังนั้น จุดตัดแกน Y คือ (0, k)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
306 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ชวนคิด 5.7
2 2
พาราโบลาที่กำ�หนดสมการ y = 4(x – 2) และ y = -4(x – 2) เป็นภาพสะท้อนซึ่งกันและกัน โดยมี
ipst.me/11414
เส้นตรง y = 0 หรือแกน X เป็นเส้นสะท้อน

ชวนคิด 5.8
2
สามารถหาจุดตัดแกน X และจุดตัดแกน Y ของกราฟของสมการ y = a(x – h) เมื่อ a ≠ 0 ได้โดย
ipst.me/11415
พิจารณาจากกราฟ จะได้ว่า จุดตัดแกน X คือ (h, 0)
2
หรือหาจุดตัดแกน X โดยแทน y ด้วย 0 ลงในสมการ y = a(x – h)
2
จะได้ 0 = a(x – h)
เนื่องจาก a ≠ 0
2
ดังนั้น (x – h) = 0
จะได้ x–h = 0
x = h
ดังนั้น จุดตัดแกน X คือ (h, 0)
2
และหาจุดตัดแกน Y โดยแทน x ด้วย 0 ลงในสมการ y = a(x – h)
2
จะได้ y = a(0 – h)
2
y = ah
2
ดังนั้น กราฟจะมีจุดตัดแกน Y เป็น (0, ah )

ชวนคิด 5.9
อาจหาคำ�ตอบโดยใช้ซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad ซึ่งคำ�ตอบมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับ
ipst.me/11416
ระยะหนึ่งหน่วยที่กำ�หนด
แนวคิด 1 กำ�หนดให้ปลายเส้นโค้งคว่ำ�เส้นล่างของสะพานผ่านจุด (0, 0) และใช้พารามิเตอร์กำ�หนด
2
ค่า a, h และ k และเขียนกราฟของฟังก์ชัน f(x) = a(x – h) + k จากนั้นปรับค่าพารามิเตอร์
จนกว่าจะได้พาราโบลาที่ทับกับเส้นโค้งคว่ำ�เส้นล่าง
สำ � หรั บ เส้ น โค้ ง คว่ำ � เส้ น บน สามารถใช้ พ ารามิ เ ตอร์ กำ � หนดค่ า a, h และ k อี ก ชุ ด หนึ่ ง
2
จากนั้นเขียนกราฟของฟังก์ชัน g(x) = a(x – h) + k และปรับค่าพารามิเตอร์ จนกว่าจะได้
พาราโบลาทีท
่ บ
ั กับเส้นโค้งคว่�ำ เส้นบน เช่นเดียวกับการหาเส้นโค้งคว่�ำ เส้นล่าง (นักเรียนสามารถ
สร้างเป็นแถบเลื่อนในการปรับค่า a, h และ k แทนการใช้พารามิเตอร์ก็ได้)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 307

10
a = -0.039
2
g(x) = a ∙(x – h ) + k
8 h = 7.70 2
y = -0.039 (x – 7.70 ) + 3.95
k = 3.95
6

a = -0.055
4 2
f ( x ) = a ∙( x – h ) + k
h = 7.70 2
y = -0.055 (x – 7.70 ) + 3.25
2 k = 3.25

5 10 15 20 25 30

-2

แนวคิด 2 กำ�หนดจุด A เป็นจุดสูงสุดของเส้นโค้งคว่ำ�เส้นล่าง และกำ�หนดจุด B เป็นจุดใด ๆ ที่อยู่บน


เส้นโค้งคว่ำ�เส้นล่าง จากนั้นวัดพิกัดที่หนึ่งและพิกัดที่สองของจุด A และ จุด B จะได้ว่า ค่าของ
พิกัดที่หนึ่งและพิกัดที่สองของจุด A คือ ค่า h และ k ของจุดสูงสุด (h, k) ของพาราโบลา
ตามลำ�ดับ จากนั้นแทนค่า h และ k ลงในสมการ y = a(x – h)2 + k แล้วแทน x และ y
ในสมการด้วยพิกัดที่หนึ่งและพิกัดที่สองของจุด B เพื่อหาค่า a ก็จะได้ค่า a, h และ k
ของสมการของพาราโบลาที่ทับเส้นโค้งคว่ำ�เส้นล่างของสะพาน
สำ � หรั บ การหาสมการของพาราโบลาของเส้ น โค้ ง คว่ำ � เส้ น บนสามารถใช้ วิ ธี เ ช่ น เดี ย วกั บ
การหาสมการของพาราโบลาของเส้นโค้งเส้นล่างได้

10 xA = 7.71 yA = 3.30 (h, k)

xB = 4.16 yB = 2.54
8
2
y = a (x – 7.71 ) + 3.30
6
แทน x ด�วย 4.16 และแทน y ด�วย 2.54 จะได�
2
4 A
2.54 = a (4.16 – 7.71) + 3.30
a = -0.060
2 B 2
y = -0.060 (x – 7.71 ) + 3.30

5 10 15 20 25 30

-2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
308 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 5.2 ก
2
แนวคิด จัดรูปสมการในแต่ละข้อ หากจัดรูปสมการแล้วได้สมการอยู่ในรูป y = ax + bx + c เมื่อ x, y เป็นตัวแปร
a, b, c เป็นค่าคงตัว และ a ≠ 0 สมการดังกล่าวจะเป็นสมการของพาราโบลา
2
1. y = 3x – 5 ไม่เป็นสมการของพาราโบลา เพราะไม่มีพจน์ ax เมื่อ a เป็นค่าคงตัว และ a ≠ 0 ทำ�ให้
2
ไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูป y = ax + bx + c ได้
2
2. y = 6 ไม่เป็นสมการของพาราโบลา เพราะไม่มีพจน์ ax เมื่อ a เป็นค่าคงตัว และ a ≠ 0 ทำ�ให้
2
ไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูป y = ax + bx + c ได้
2 2
3. y = x + 2x – 3 เป็นสมการของพาราโบลา เพราะสามารถเขียนให้อยู่ในรูป y = ax + bx + c ได้เป็น
2
y = x + 2x – 3 โดยที่ a = 1, b = 2 และ c = -3
2 2
4. y = -2x เป็นสมการของพาราโบลา เพราะสามารถเขียนให้อยู่ในรูป y = ax + bx + c ได้เป็น
2
y = -2x + 0x + 0 โดยที่ a = -2, b = 0 และ c = 0
2 2
5. y = 4x – 5 เป็นสมการของพาราโบลา เพราะสามารถเขียนให้อยู่ในรูป y = ax + bx + c ได้เป็น
2
y = 4x + 0x – 5 โดยที่ a = 4, b = 0 และ c = -5
4x – x 2
y = ——
2
6. เป็นสมการของพาราโบลา เพราะสามารถเขียนให้อยู่ในรูป y = ax + bx + c ได้เป็น
2
1 2 1
y = - – x + 2x + 0 โดยที่ a = - – , b = 2 และ c = 0
2 2
2 2
7. y = 6–x เป็นสมการของพาราโบลา เพราะสามารถเขียนให้อยู่ในรูป y = ax + bx + c ได้เป็น
2
y = -x + 0x + 6 โดยที่ a = -1, b = 0 และ c = 6
2 2
8. y = 2(x + 3) เป็นสมการของพาราโบลา เพราะสามารถเขียนให้อยู่ในรูป y = ax + bx + c ได้เป็น
2
y = 2x + 12x + 18 โดยที่ a = 2, b = 12 และ c = 18
2
9. y = x(7x + 5) เป็นสมการของพาราโบลา เพราะสามารถเขียนให้อยู่ในรูป y = ax + bx + c ได้เป็น
2
y = 7x + 5x + 0 โดยที่ a = 7, b = 5 และ c = 0
2 3
10. y = x (x – 1) ไม่ เ ป็ น สมการของพาราโบลา เพราะมี พ จน์ x ทำ � ให้ ไ ม่ ส ามารถเขี ย นให้ อ ยู่ ใ นรู ป
2
y = ax + bx + c ได้

แบบฝึกหัด 5.2 ข
2
1. 1) แนวคิด พิจารณาสมการ y = 3x จะได้กราฟเป็นพาราโบลาหงายที่มีแกน Y เป็นแกนสมมาตร
จุดต่ำ�สุดของกราฟ คือ จุด (0, 0) และกราฟผ่านจุด (1, 3) และ (2, 12) ดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 309

12

10

X
-6 -4 -2 O 2 4 6

-2

4 2
2) แนวคิด พิจารณาสมการ y = – x จะได้กราฟเป็นพาราโบลาหงายที่มีแกน Y เป็นแกนสมมาตร
5
จุดต่ำ�สุดของกราฟ คือ จุด (0, 0) และกราฟผ่านจุด (2.5, 5) และ (5, 20) ดังนี้

20

15

10

X
-6 -4 -2 O 2 4 6

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
310 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

2
3) แนวคิด พิจารณาสมการ y = -5x จะได้กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ�ที่มีแกน Y เป็นแกนสมมาตร
จุดสูงสุดของกราฟ คือ จุด (0, 0) และกราฟผ่านจุด (-1, -5) และ (-2, -20) ดังนี้

X
-6 -4 -2 O 2 4 6

-5

-10

-15

-20

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 311

1 2
4) แนวคิด พิจารณาสมการ y = - – x จะได้กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ�ที่มีแกน Y เป็นแกนสมมาตร
3
จุดสูงสุดของกราฟ คือ จุด (0, 0) และกราฟผ่านจุด (-3, -3) และ (-6, -12) ดังนี้

X
-6 -4 -2 O 2 4 6

-2

-4

-6

-8

-10

-12

2
2. แนวคิด พิจารณาสมการ y = ax จำ�แนกออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
✤ กลุ่มที่ 1 a > 0 ได้แก่ สมการในข้อ 2) ข้อ 4) และข้อ 6)
เนื่องจาก ถ้า |a| มีค่าน้อยลงเรื่อย ๆ กราฟจะบานมากขึ้นเรื่อย ๆ
5 2
จะได้ว่า พาราโบลา c1 เป็นกราฟของสมการในข้อ 6) y = – x
3
2
พาราโบลา c2 เป็นกราฟของสมการในข้อ 2) y = x
1 2
พาราโบลา c3 เป็นกราฟของสมการในข้อ 4) y = – x
5
✤ กลุ่มที่ 2 a < 0 ได้แก่ สมการในข้อ 1) ข้อ 3) และข้อ 5)
เนื่องจาก ถ้า |a| มีค่าน้อยลงเรื่อย ๆ กราฟจะบานมากขึ้นเรื่อย ๆ
1 2
จะได้ว่า พาราโบลา c4 เป็นกราฟของสมการในข้อ 5) y = - – x
6
2 2
พาราโบลา c5 เป็นกราฟของสมการในข้อ 3) y = - – x
3
2
พาราโบลา c6 เป็นกราฟของสมการในข้อ 1) y = -3x

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
312 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

2 2
3. แนวคิด กราฟของสมการ y = 4x เป็นพาราโบลาหงาย และกราฟของสมการ y = -4x เป็นพาราโบลาคว่ำ�
เขียนกราฟของสมการทั้งสองโดยใช้แกนคู่เดียวกัน ได้ดังนี้
Y

6
2
y = 4x

X
-4 -2 O 2 4

-2

-4
2
y = -4x

-6

จะได้ว่า
1) กราฟทั้งสองมีแกน Y เป็นแกนสมมาตร
2
2) จุดต่ำ�สุดของกราฟของสมการ y = 4x คือ จุด (0, 0)
2
จุดสูงสุดของกราฟของสมการ y = -4x คือ จุด (0, 0)
2
3) ค่าต่ำ�สุดของ y ของสมการ y = 4x คือ 0
2
ค่าสูงสุดของ y ของสมการ y = -4x คือ 0

2
4. แนวคิด พิจารณาจากกราฟของพาราโบลาที่กำ�หนดให้ จะได้ว่า สมการของพาราโบลาอยู่ในรูป y = ax
เมื่อ a ≠ 0 และเมื่อแทน x และ y ด้วยพิกัดที่หนึ่งและพิกัดที่สองของคู่อันดับของจุดที่กราฟผ่านลง
ในสมการ จะสามารถหาค่า a ได้ดังนี้

9
เนื่องจาก กราฟผ่านจุด 3, - –
5
9
( )
2
แทน x ด้วย 3 และแทน y ด้วย - – ลงในสมการ y = ax จะได้
5
9 2
- – = a(3)
5
1
a = -–
5
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 313

1 2
แทน a ด้วย - – ลงในสมการ y = ax
5
1 2
จะได้ y = - – x
5

4
( )
และเมื่อใช้พิกัดที่หนึ่งและพิกัดที่สองของจุด -2, - – และ (0, 0) มาตรวจสอบ
5
1
จะได้ว่า ค่าเหล่านั้นทำ�ให้สมการ y = - – x2 เป็นจริง
5

4
5 ( ) 9
5
1 2
ดังนั้น สมการของพาราโบลาที่ผ่านจุด -2, - – , (0, 0) และ 3, - – คือ y = - – x
5 ( )
แบบฝึกหัด 5.2 ค
2
1. 1) แนวคิด พิจารณาสมการ y = 5x + 4 จะได้กราฟเป็นพาราโบลาหงายที่มีแกน Y เป็นแกนสมมาตร
จุดต่ำ�สุดของกราฟ คือ จุด (0, 4) และกราฟผ่านจุด (1, 9) และ (2, 24) ดังนี้

25

20

15

10

X
-4 -2 O 2 4

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
314 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

1 2
2) แนวคิด พิจารณาสมการ y = – x – 1 จะได้กราฟเป็นพาราโบลาหงายที่มีแกน Y เป็นแกนสมมาตร
4
จุดต่ำ�สุดของกราฟ คือ จุด (0, -1) และกราฟผ่านจุด (2, 0) และ (4, 3) ดังนี้

X
-6 -5 -4 -3 -2 -1 O 1 2 3 4 5 6
-1

-2

-3

2
3) แนวคิด พิจารณาสมการ y = -3x – 2 จะได้กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ�ที่มีแกน Y เป็นแกนสมมาตร
จุดสูงสุดของกราฟ คือ จุด (0, -2) และกราฟผ่านจุด (1, -5) และ (2, -14) ดังนี้

X
-6 -4 -2 O 2 4 6

-5

-10

-15

-20

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 315

1 2
4) แนวคิด พิจารณาสมการ y = - – x + 2 จะได้กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ�ที่มีแกน Y เป็นแกนสมมาตร
3
จุดสูงสุดของกราฟ คือ จุด (0, 2) และกราฟผ่านจุด (-3, -1) และ (-6, -10) ดังนี้

X
-6 -4 -2 O 2 4 6
-2

-4

-6

-8

-10

-12

2
2. แนวคิด พิจารณาสมการ y = ax + k จำ�แนกออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
✤ กลุ่มที่ 1 k = 2 ได้แก่ สมการในข้อ 2) และข้อ 3)
เนื่องจาก ถ้า |a| มีค่าน้อยลงเรื่อย ๆ กราฟจะบานมากขึ้นเรื่อย ๆ
2
จะได้ว่า พาราโบลา c3 เป็นกราฟของสมการในข้อ 2) y = -x + 2
1 2
พาราโบลา c4 เป็นกราฟของสมการในข้อ 3) y = - – x + 2
4
✤ กลุ่มที่ 2 k = -5 ได้แก่ สมการในข้อ 1) และข้อ 4)
เนื่องจาก ถ้า |a| มีค่าน้อยลงเรื่อย ๆ กราฟจะบานมากขึ้นเรื่อย ๆ
2
จะได้ว่า พาราโบลา c1 เป็นกราฟของสมการในข้อ 1) y = 3x – 5
1 2
พาราโบลา c2 เป็นกราฟของสมการในข้อ 4) y = – x – 5
3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
316 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

2 2
3. แนวคิด กราฟของสมการ y = 4x + 1 เป็นพาราโบลาหงาย และกราฟของสมการ y = -4x + 1
เป็นพาราโบลาคว่ำ� เขียนกราฟของสมการทั้งสองโดยใช้แกนคู่เดียวกันได้ดังนี้
Y

6
2
y = 4x + 1

X
-4 -2 O 2 4

-2

2
y = -4x + 1
-4

จะได้ว่า
1) กราฟทั้งสองมีแกน Y เป็นแกนสมมาตร
2
2) จุดต่ำ�สุดของกราฟของสมการ y = 4x + 1 คือ จุด (0, 1)
2
จุดสูงสุดของกราฟของสมการ y = -4x + 1 คือ จุด (0, 1)
2
3) ค่าต่ำ�สุดของ y ของสมการ y = 4x + 1 คือ 1
2
ค่าสูงสุดของ y ของสมการ y = -4x + 1 คือ 1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 317

2
4. แนวคิด คำ�ตอบของข้อ 1) ถึงข้อ 4) สามารถหาได้จากลักษณะทั่วไปของกราฟของสมการ y = ax + k
เมื่อ a ≠ 0
คำ�ตอบของข้อ 5) สำ�หรับจุดตัดแกน X จะมีค่า y ของพิกัดเป็น 0 จึงแทนค่า y ด้วย 0 ลงใน
สมการ แล้วแก้สมการหาค่า x
สำ�หรับจุดตัดแกน Y คือ จุดต่ำ�สุดหรือจุดสูงสุดของกราฟ
2
สมการที่ 1 : y = 2x + 5
1) กราฟเป็นพาราโบลาหงาย
2) จุดต่ำ�สุดของกราฟ คือ จุด (0, 5)
3) ค่าต่ำ�สุดของ y คือ 5
4) แกน Y เป็นแกนสมมาตร (หรือเส้นตรง x = 0 เป็นแกนสมมาตร)
5)กราฟไม่ตัดแกน X แต่ตัดแกน Y ที่จุด (0, 5)
9 2
สมการที่ 2 : y = - – x + 1
4
1) กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ�
2) จุดสูงสุดของกราฟ คือ จุด (0, 1)
3) ค่าสูงสุดของ y คือ 1
4)แกน Y เป็นแกนสมมาตร (หรือเส้นตรง x = 0 เป็นแกนสมมาตร)

2
( )
2
( )
5) กราฟตัดแกน X ที่จุด - –, 0 และ –, 0 และตัดแกน Y ที่จุด (0, 1)
1
3 3
2
สมการที่ 3 : y = -3x – –
3
1) กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ�
2) จุดสูงสุดของกราฟ คือ จุด 0, - –
1
1
3 ( )
3) ค่าสูงสุดของ y คือ - –
3
4) แกน Y เป็นแกนสมมาตร (หรือเส้นตรง x = 0 เป็นแกนสมมาตร)

1
5) กราฟไม่ตัดแกน X แต่ตัดแกน Y ที่จุด 0, - –
3 ( )
2
สมการที่ 4 : y = -x + 5
1) กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ�
2) จุดสูงสุดของกราฟ คือ จุด (0, 5)
3) ค่าสูงสุดของ y คือ 5
4) แกน Y เป็นแกนสมมาตร (หรือเส้นตรง x = 0 เป็นแกนสมมาตร)
5) กราฟตัดแกน X ที่จุด (-√5, 0) และ (√5, 0) และตัดแกน Y ที่จุด (0, 5)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
318 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

2
5. 1) แนวคิด พิจารณาจากกราฟของพาราโบลาที่กำ�หนดให้ จะได้ว่า สมการของพาราโบลาอยู่ในรูป y = ax
เมื่อ a > 0 และเมื่อแทน x และ y ด้วยพิกัดที่หนึ่งและพิกัดที่สองของคู่อันดับของจุดที่กราฟ
ผ่านลงในสมการ จะสามารถหาค่า a ได้ดังนี้
เนื่องจาก กราฟผ่านจุด (1, 2)
2
แทน x ด้วย 1 และแทน y ด้วย 2 ลงในสมการ y = ax จะได้
2
2 = a(1)
a = 2
2
แทน a ด้วย 2 ลงในสมการ y = ax
2
จะได้ y = 2x
และเมื่อใช้พิกัดที่หนึ่งและพิกัดที่สองของจุด (-2, 8) และ (0, 0) มาตรวจสอบ
2
จะได้ว่า ค่าเหล่านั้นทำ�ให้สมการ y = 2x เป็นจริง
2
ดังนั้น สมการของพาราโบลาที่ผ่านจุด (-2, 8), (0, 0) และ (1, 2) คือ y = 2x
2
2) ถ้าเลื่อนขนานกราฟของ y = 2x ตามแนวแกน Y ขึ้นไป 3 หน่วย กราฟที่ได้จะมีสมการเป็น
2
y = 2x + 3
2
3) ถ้าเลื่อนขนานกราฟของ y = 2x ตามแนวแกน Y ลงมา 5 หน่วย กราฟที่ได้จะมีสมการเป็น
2
y = 2x – 5

6. แนวคิด พิจารณาจากกราฟของพาราโบลาที่กำ�หนดให้ จะได้ว่า สมการของพาราโบลาอยู่ในรูป


2
y = ax + k เมื่อ a > 0 ซึ่งมีจุดต่ำ�สุดของกราฟ คือ (0, k)
และเนื่องจากจุด (0, 4) เป็นจุดต่ำ�สุดของกราฟ ดังนั้น k = 4
2
จึงได้สมการของพาราโบลาอยู่ในรูป y = ax + 4
และเมื่อแทน x และ y ด้วยพิกัดที่หนึ่งและพิกัดที่สองของจุดที่กราฟผ่านลงในสมการ
2
y = ax + 4 จะสามารถหาค่า a ได้ดังนี้
เนื่องจากกราฟผ่านจุด (-2, 8)
2
แทน x ด้วย -2 และแทน y ด้วย 8 ลงในสมการ y = ax + 4 จะได้
2
8 = a(-2) + 4
a = 1
2
แทน a ด้วย 1 ลงในสมการ y = ax + 4
2
จะได้ y = x + 4
และเมื่อใช้พิกัดที่หนึ่งและพิกัดที่สองของจุด (0, 4) และ (3, 13) มาตรวจสอบ
2
จะได้ว่า ค่าเหล่านั้นทำ�ให้สมการ y = x + 4 เป็นจริง
2
ดังนั้น สมการของพาราโบลาที่ผ่านจุด (-2, 8), (0, 4) และ (3, 13) คือ y = x + 4

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 319

แบบฝึกหัด 5.2 ง
2
1. 1) แนวคิด พิจารณาสมการ y = (x + 1) จะได้กราฟเป็นพาราโบลาหงายที่มีเส้นตรง x = -1 เป็น
แกนสมมาตร จุดต่ำ�สุดของกราฟ คือ จุด (-1, 0) และกราฟผ่านจุด (-3, 4) และ (-4, 9) ดังนี้

12

10

X
-6 -4 -2 O 2 4 6

-2

2
2) แนวคิด พิจารณาสมการ y = -3(x – 1) จะได้กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ�ที่มีเส้นตรง x = 1 เป็น
แกนสมมาตร จุดสูงสุดของกราฟ คือ จุด (1, 0) และกราฟผ่านจุด (2, -3) และ (3, -12) ดังนี้
Y

X
-6 -4 -2 O 2 4 6

-2

-4

-6

-8

-10

-12

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
320 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

2
3) แนวคิด พิจารณาสมการ y = -4(x + 2) จะได้กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ�ที่มีเส้นตรง x = -2 เป็น
แกนสมมาตร จุดสูงสุดของกราฟ คือ จุด (-2, 0) และกราฟผ่านจุด (-3, -4) และ (-4, -16) ดังนี้

X
-6 -4 -2 O 2 4 6
-2

-4

-6

-8

-10

-12

-14

-16

2
4) แนวคิด พิจารณาสมการ y = (x – 2) จะได้กราฟเป็นพาราโบลาหงายที่มีเส้นตรง x = 2 เป็น
แกนสมมาตร จุดต่ำ�สุดของกราฟ คือ จุด (2, 0) และกราฟผ่านจุด (4, 4) และ (5, 9) ดังนี้

12

10

X
-6 -4 -2 O 2 4 6
-2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 321

2
2. 1) กราฟของ y = -(x + 3) เป็นพาราโบลาคว่ำ�และมีจุดสูงสุดอยู่ที่ (-3, 0)
2
ดังนั้น กราฟของ y = -(x + 3) คือ พาราโบลา c3
2
2) กราฟของ y = (x + 5) เป็นพาราโบลาหงายและมีจุดต่ำ�สุดอยู่ที่ (-5, 0)
2
ดังนั้น กราฟของ y = (x + 5) คือ พาราโบลา c1
2
3) กราฟของ y = -(x – 3) เป็นพาราโบลาคว่ำ�และมีจุดสูงสุดอยู่ที่ (3, 0)
2
ดังนั้น กราฟของ y = -(x – 3) คือ พาราโบลา c4
2
4) กราฟของ y = (x – 1) เป็นพาราโบลาหงายและมีจุดต่ำ�สุดอยู่ที่ (1, 0)
2
ดังนั้น กราฟของ y = (x – 1) คือ พาราโบลา c2

2 2
3. แนวคิด กราฟของสมการ y = 4(x – 2) เป็นพาราโบลาหงาย และกราฟของสมการ y = -4(x – 2)
เป็นพาราโบลาคว่ำ� เขียนกราฟของสมการทั้งสองโดยใช้แกนคู่เดียวกัน ได้ดังนี้
Y

2
y = 4(x – 2)
4

X
-6 -4 -2 O 2 4 6

-2

-4 2
y = -4(x – 2)

-6

จะได้ว่า
1) กราฟทั้งสองมีเส้นตรง x = 2 เป็นแกนสมมาตร
2
2) จุดต่ำ�สุดของกราฟของสมการ y = 4(x – 2) คือ จุด (2, 0)
2
จุดสูงสุดของกราฟของสมการ y = -4(x – 2) คือ จุด (2, 0)
2
3) ค่าต่ำ�สุดของ y ของสมการ y = 4(x – 2) คือ 0
2
ค่าสูงสุดของ y ของสมการ y = -4(x – 2) คือ 0

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
322 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

2
4. แนวคิด คำ�ตอบของข้อ 1) ถึงข้อ 4) สามารถหาได้จากลักษณะทั่วไปของกราฟของสมการ y = a(x – h)
เมื่อ a ≠ 0
คำ�ตอบของข้อ 5) สำ�หรับจุดตัดแกน X คือ จุดต่ำ�สุดหรือจุดสูงสุดของกราฟ
สำ�หรับจุดตัดแกน Y จะมีค่า x ของพิกัดเป็น 0 จึงแทนค่า x ด้วย 0 ลงในสมการ
แล้วแก้สมการหาค่า y
2
สมการที่ 1 : y = -(x – 4)
1) กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ�
2) จุดสูงสุดของกราฟ คือ จุด (4, 0)
3) ค่าสูงสุดของ y คือ 0
4) เส้นตรง x = 4 เป็นแกนสมมาตร
5) กราฟตัดแกน X ที่จุด (4, 0) และตัดแกน Y ที่จุด (0, -16)
2
สมการที่ 2 : y = -3(x + 2)
1) กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ�
2) จุดสูงสุดของกราฟ คือ จุด (-2, 0)
3) ค่าสูงสุดของ y คือ 0
4) เส้นตรง x = -2 เป็นแกนสมมาตร
5)
กราฟตัดแกน X ที่จุด (-2, 0) และตัดแกน Y ที่จุด (0, -12)
สมการที่ 3 : y = 4 x – –
12
2 ( )
1) กราฟเป็นพาราโบลาหงาย

1
2) จุดต่ำ�สุดของกราฟ คือ จุด –, 0
2 ( )
3) ค่าต่ำ�สุดของ y คือ 0
1
4) เส้นตรง x = – เป็นแกนสมมาตร
2

1
( )
5) กราฟตัดแกน X ที่จุด –, 0 และตัดแกน Y ที่จุด (0, 1)
1
2
2
สมการที่ 4 : y = – (x – 3)
3
1) กราฟเป็นพาราโบลาหงาย
2) จุดต่ำ�สุดของกราฟ คือ จุด (3, 0)
3) ค่าต่ำ�สุดของ y คือ 0
4) เส้นตรง x = 3 เป็นแกนสมมาตร
5) กราฟตัดแกน X ที่จุด (3, 0) และตัดแกน Y ที่จุด (0, 3)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 323

2
5. 1) แนวคิด พิจารณาจากกราฟของพาราโบลาที่กำ�หนดให้ จะได้ว่า สมการของพาราโบลาอยู่ในรูป y = ax
เมื่อ a < 0 และเมื่อแทน x และ y ด้วยพิกัดที่หนึ่งและพิกัดที่สองของคู่อันดับของจุดที่กราฟ
ผ่านลงในสมการ จะสามารถหาค่า a ได้ดังนี้
เนื่องจาก กราฟผ่านจุด (-2, -4)
2
แทน x ด้วย -2 และแทน y ด้วย -4 ลงในสมการ y = ax จะได้
2
-4 = a(-2)
a = -1
2
แทน a ด้วย -1 ลงในสมการ y = ax
2
จะได้ y = -x
และเมื่อใช้พิกัดที่หนึ่งและพิกัดที่สองของจุด (0, 0) และ (3, -9) มาตรวจสอบ
2
จะได้ว่า ค่าเหล่านั้นทำ�ให้สมการ y = -x เป็นจริง
2
ดังนั้น สมการของพาราโบลาที่ผ่านจุด (-2, -4) , (0, 0) และ (3, -9) คือ y = -x
2
2) ถ้าเลื่อนขนานกราฟของ y = -x ตามแนวแกน X ไปทางขวา 2 หน่วย กราฟที่ได้จะมีสมการเป็น
2
y = -(x – 2)
2
3) ถ้าเลื่อนขนานกราฟของ y = -x ตามแนวแกน X ไปทางซ้าย 4 หน่วย กราฟที่ได้จะมีสมการเป็น
2
y = -(x + 4)

2
6. แนวคิด พิจารณาจากกราฟของพาราโบลาที่กำ�หนดให้ จะได้ว่า สมการของพาราโบลาอยู่ในรูป y = a(x – h)
เมื่อ a > 0 และมีจุดต่ำ�สุดของกราฟ คือ จุด (h, 0)
และเนื่องจากจุด (4, 0) เป็นจุดต่ำ�สุดของกราฟ ดังนั้น h = 4
2
จึงได้สมการของพาราโบลาอยู่ในรูป y = a(x – 4)
2
และเมื่อแทน x และ y ด้วยพิกัดที่หนึ่งและพิกัดที่สองของจุดที่กราฟผ่านลงในสมการ y = a(x – 4)
จะสามารถหาค่า a ได้ดังนี้
เนื่องจากกราฟผ่านจุด (2, 2)
2
แทน x ด้วย 2 และแทน y ด้วย 2 ลงในสมการ y = a(x – 4) จะได้
2
2 = a(2 – 4)
1
a = –
2
1 2
แทน a ด้วย – ลงในสมการ y = a(x – 4)
2
1 2
จะได้ y = – (x – 4)
2
และเมื่อใช้พิกัดที่หนึ่งและพิกัดที่สองของจุด (4, 0) และ (8, 8) มาตรวจสอบ
1 2
จะได้ว่า ค่าเหล่านั้นทำ�ให้สมการ y = – (x – 4) เป็นจริง
2
1 2
ดังนั้น สมการของพาราโบลาที่ผ่านจุด (2, 2) , (4, 0) และ (8, 8) คือ y = – (x – 4)
2
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
324 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

แบบฝึกหัด 5.2 จ
2
1. 1) แนวคิด พิจารณาสมการ y = 4(x – 1) – 2 จะได้กราฟเป็นพาราโบลาหงายที่มีเส้นตรง x = 1
เป็นแกนสมมาตร จุดต่ำ�สุดของกราฟ คือ จุด (1, -2) และกราฟผ่านจุด (2, 2) และ (3, 14)
ดังนี้
Y

14

12

10

O X
-6 -4 -2 2 4 6

-2

2
2) แนวคิด พิจารณาสมการ y = -(x + 1) – 3 จะได้กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ�ที่มีเส้นตรง x = -1
เป็นแกนสมมาตร จุดสูงสุดของกราฟ คือ จุด (-1, -3) และกราฟผ่านจุด (0, -4) และ (1, -7)
ดังนี้
Y

X
-6 -4 -2 O 2 4 6

-2

-4

-6

-8

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 325

2
3) แนวคิด พิจารณาสมการ y = -3(x + 1) + 3 จะได้กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ�ที่มีเส้นตรง x = -1
เป็นแกนสมมาตร จุดสูงสุดของกราฟ คือ จุด (-1, 3) และกราฟผ่านจุด (-2, 0) และ (-3, -9)
ดังนี้
Y

X
-6 -4 -2 O 2 4 6
-2

-4

-6

-8

-10

-12

2
4) แนวคิด พิจารณาสมการ y = (x + 2) + 2 จะได้กราฟเป็นพาราโบลาหงายที่มีเส้นตรง x = -2
เป็นแกนสมมาตร จุดต่ำ�สุดของกราฟ คือ จุด (-2, 2) และกราฟผ่านจุด (0, 6) และ (1, 11)
ดังนี้
Y

14

12

10

X
-6 -4 -2 O 2 4 6
-2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
326 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

2
2. แนวคิด 1) กราฟของ y = -(x – 6) – 1 เป็นพาราโบลาคว่ำ�และมีจุดสูงสุดอยู่ที่ (6, -1)
2
ดังนั้น กราฟของ y = -(x – 6) – 1 คือ พาราโบลา c4
2
2) กราฟของ y = (x + 4) – 1 เป็นพาราโบลาหงายและมีจุดต่ำ�สุดอยู่ที่ (-4, -1)
2
ดังนั้น กราฟของ y = (x + 4) – 1 คือ พาราโบลา c1
2
3) กราฟของ y = -(x – 4) เป็นพาราโบลาคว่ำ�และมีจุดสูงสุดอยู่ที่ (4, 0)
2
ดังนั้น กราฟของ y = -(x – 4) คือ พาราโบลา c3
2
4) กราฟของ y = (x + 2) เป็นพาราโบลาหงายและมีจุดต่ำ�สุดอยู่ที่ (-2, 0)
2
ดังนั้น กราฟของ y = (x + 2) คือ พาราโบลา c2

2
3. แนวคิด คำ�ตอบในข้อ 1) ถึงข้อ 4) สามารถหาได้จากลักษณะทั่วไปของกราฟของสมการ y = a(x – h) + k
เมื่อ a ≠ 0
คำ�ตอบในข้อ 5) สำ�หรับจุดตัดแกน X จะมีค่า y ของพิกัดเป็น 0 จึงแทนค่า y ด้วย 0 ลงในสมการ
แล้วแก้สมการหาค่า x
สำ�หรับจุดตัดแกน Y จะมีค่า x ของพิกัดเป็น 0 จึงแทนค่า x ด้วย 0 ลงในสมการ
แล้วแก้สมการหาค่า y
2
สมการที่ 1 : y = -(x – 4) + 1
1) กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ�
2) จุดสูงสุดของกราฟ คือ จุด (4, 1)
3) ค่าสูงสุดของ y คือ 1
4) เส้นตรง x = 4 เป็นแกนสมมาตร
5) กราฟตัดแกน X ที่จุด (3, 0) และจุด (5, 0) และตัดแกน Y ที่จุด (0, -15)
2
สมการที่ 2 : y = -3(x + 2) – 4
1) กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ�
2) จุดสูงสุดของกราฟ คือ จุด (-2, -4)
3) ค่าสูงสุดของ y คือ -4
4) เส้นตรง x = -2 เป็นแกนสมมาตร
5) กราฟไม่ตัดแกน X แต่ตัดแกน Y ที่จุด (0, -16)
2
สมการที่ 3 : y = 2(x – 3) – 8
1) กราฟเป็นพาราโบลาหงาย
2) จุดต่ำ�สุดของกราฟ คือ จุด (3, -8)
3) ค่าต่ำ�สุดของ y คือ -8
4) เส้นตรง x = 3 เป็นแกนสมมาตร
5) กราฟตัดแกน X ที่จุด (1, 0) และจุด (5, 0) และตัดแกน Y ที่จุด (0, 10)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 327

2 2
สมการที่ 4 : y = – (x + 3) + 1
3
1) กราฟเป็นพาราโบลาหงาย
2) จุดต่ำ�สุดของกราฟ คือ จุด (-3, 1)
3) ค่าต่ำ�สุดของ y คือ 1
4) เส้นตรง x = -3 เป็นแกนสมมาตร
5) กราฟไม่ตัดแกน X แต่ตัดแกน Y ที่จุด (0, 7)

2
4. 1) แนวคิด พิจารณาจากกราฟของพาราโบลาที่กำ�หนดให้ จะได้ว่า สมการของพาราโบลาอยู่ในรูป y = ax
เมื่อ a > 0 และเมื่อแทน x และ y ด้วยพิกัดที่หนึ่งและพิกัดที่สองของคู่อันดับของจุดที่กราฟ
ผ่านลงในสมการ จะสามารถหาค่า a ได้ดังนี้
เนื่องจาก กราฟผ่านจุด (-1, 2)
2
แทน x ด้วย -1 และแทน y ด้วย 2 ลงในสมการ y = ax จะได้
2
2 = a(-1)
a = 2
2
แทน a ด้วย 2 ลงในสมการ y = ax
2
จะได้ y = 2x
และเมื่อใช้พิกัดที่หนึ่งและพิกัดที่สองของจุด (0, 0) และ (2, 8) มาตรวจสอบ
2
จะได้ว่า ค่าเหล่านั้นทำ�ให้สมการ y = 2x เป็นจริง
2
ดังนั้น สมการของพาราโบลาที่ผ่านจุด (-1, 2) , (0, 0) และ (2, 8) คือ y = 2x
2
2) ถ้าเลื่อนขนานกราฟของ y = 2x ตามแนวแกน X ไปทางขวา 2 หน่วย แล้วเลื่อนขนานตามแนวแกน Y
2
ขึ้นไป 3 หน่วย กราฟที่ได้จะมีสมการเป็น y = 2(x – 2) + 3
2
3) ถ้าเลื่อนขนานกราฟของ y = 2x ตามแนวแกน X ไปทางซ้าย 1 หน่วย แล้วเลื่อนขนานตามแนวแกน Y
2
ขึ้นไป 2 หน่วย กราฟที่ได้จะมีสมการเป็น y = 2(x + 1) + 2
2
4) ถ้าเลื่อนขนานกราฟของ y = 2x ตามแนวแกน X ไปทางขวา 4 หน่วย แล้วเลื่อนขนานตามแนวแกน Y
2
ลงมา 3 หน่วย กราฟที่ได้จะมีสมการเป็น y = 2(x – 4) – 3
2
5) ถ้าเลื่อนขนานกราฟของ y = 2x ตามแนวแกน X ไปทางซ้าย 5 หน่วย แล้วเลื่อนขนานตามแนวแกน Y
2
ลงมา 2 หน่วย กราฟที่ได้จะมีสมการเป็น y = 2(x + 5) – 2

2
5. แนวคิด พิจารณาจากกราฟของพาราโบลาทีก
่ �ำ หนดให้ จะได้วา่ สมการของพาราโบลาอยูใ่ นรูป y = a(x – h) + k
เมื่อ a < 0 ซึ่งมีจุดสูงสุดของกราฟคือ จุด (h, k)
และเนื่องจากจุด (3, 3) เป็นจุดสูงสุดของกราฟ ดังนั้น h = 3 และ k = 3
2
จึงได้สมการของพาราโบลาอยู่ในรูป y = a(x – 3) + 3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
328 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

2
และเมือ
่ แทน x และ y ด้วยพิกด
ั ทีห
่ นึง่ และพิกด
ั ทีส่ องของจุดทีก
่ ราฟผ่านลงในสมการ y = a(x – 3) + 3
จะสามารถหาค่า a ได้ดังนี้
เนื่องจากกราฟผ่านจุด (2, 1)
2
แทน x ด้วย 2 และแทน y ด้วย 1 ลงในสมการ y = a(x – 3) + 3 จะได้
2
1 = a(2 – 3) + 3
a = -2
2
แทน a ด้วย -2 ลงในสมการ y = a(x – 3) + 3
2
จะได้ y = -2(x – 3) + 3
และเมื่อใช้พิกัดที่หนึ่งและพิกัดที่สองของจุด (3, 3) และ (5, -5) มาตรวจสอบ
2
จะได้ว่า ค่าเหล่านั้นทำ�ให้สมการ y = -2(x – 3) + 3 เป็นจริง
2
ดังนั้น สมการของพาราโบลาที่ผ่านจุด (2, 1) , (3, 3) และ (5, -5) คือ y = -2(x – 3) + 3

แบบฝึกหัด 5.2 ฉ
2 2
1. 1) แนวคิด เขียนสมการ y = x + 6x + 8 ให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k เมื่อ a ≠ 0 ได้ดังนี้
2
y = x + 6x + 8
= [x2 + 2(x)(3) + 32] – 32 + 8
2
= (x + 3) – 1
2
พิจารณาสมการ y = (x + 3) – 1 จะได้กราฟเป็นพาราโบลาหงายที่มีเส้นตรง x = -3
เป็นแกนสมมาตร จุดต่ำ�สุดของกราฟ คือ จุด (-3, -1) และกราฟผ่านจุด (-4, 0) และ (-5, 3)
ดังนี้

X
-6 -4 -2 O 2

-2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 329

2 2
2) แนวคิด เขียนสมการ y = -x – 4x – 2 ให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k เมื่อ a ≠ 0 ได้ดังนี้
2
y = -x – 4x – 2
2
= -(x + 4x) – 2
= -[(x + 2(x)(2) + 2 ) – 2 ] – 2
2 2 2

2
= -(x + 2) + 4 – 2
2
= -(x + 2) + 2
2
พิจารณาสมการ y = -(x + 2) + 2 จะได้กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ�ที่มีเส้นตรง x = -2
เป็นแกนสมมาตร จุดต่ำ�สุดของกราฟ คือ จุด (-2, 2) และกราฟผ่านจุด (-3, 1) และ (-4, -2)
ดังนี้
Y

X
-6 -5 -4 -3 -2 -1 O 1
-1

-2

-3

-4

-5

2
2. แนวคิด คำ�ตอบในข้อ 1) ถึงข้อ 4) สามารถหาได้จากลักษณะทั่วไปของกราฟของสมการ y = a(x – h) + k
เมื่อ a ≠ 0
คำ�ตอบในข้อ 5) สำ�หรับจุดตัดแกน X จะมีค่า y ของพิกัดเป็น 0 จึงแทนค่า y ด้วย 0 ลงในสมการ
แล้วแก้สมการหาค่า x
สำ�หรับจุดตัดแกน Y จะมีค่า x ของพิกัดเป็น 0 จึงแทนค่า x ด้วย 0 ลงในสมการ
แล้วแก้สมการหาค่า y
2
สมการที่ 1 : y = x – 6x
2
จาก y = x – 6x
จะได้ y = [x2 – 2(x)(3) + 32] – 32
2
= (x – 3) – 9
1) กราฟเป็นพาราโบลาหงาย
2) จุดต่ำ�สุดของกราฟ คือ จุด (3, -9)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
330 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

3) ค่าต่ำ�สุดของ y คือ -9
4) เส้นตรง x = 3 เป็นแกนสมมาตร
5) กราฟตัดแกน X ที่จุด (0, 0) และจุด (6, 0) และตัดแกน Y ที่จุด (0, 0)
2
สมการที่ 2 : y = -x – 6x
2
จาก y = -x – 6x
2
จะได้ y = -(x + 6x)
= -[(x + 2(x)(3) + 3 ) – 3 ]
2 2 2

2
= -(x + 3) + 9
1) กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ�
2) จุดสูงสุดของกราฟ คือ จุด (-3, 9)
3) ค่าสูงสุดของ y คือ 9
4) เส้นตรง x = -3 เป็นแกนสมมาตร
5) กราฟตัดแกน X ที่จุด (-6, 0) และจุด (0, 0) และตัดแกน Y ที่จุด (0, 0)
2
สมการที่ 3 : y = -x + 6x – 5
2
จาก y = -x + 6x – 5
2
จะได้ y = -(x – 6x) – 5
= -{[x – 2(x)(3) + 3 ] – 3 } – 5
2 2 2

2
= -(x – 3) + 9 – 5
2
= -(x – 3) + 4
1) กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ�
2) จุดสูงสุดของกราฟ คือ จุด (3, 4)
3) ค่าสูงสุดของ y คือ 4
4) เส้นตรง x = 3 เป็นแกนสมมาตร
5) กราฟตัดแกน X ที่จุด (1, 0) และจุด (5, 0) และตัดแกน Y ที่จุด (0, -5)
2
สมการที่ 4 : y = 2x + 5x + 2
2
จาก
y = 2x + 5x + 2
จะได้
2 5
y = 2 x + –x + 2
4 ( )
{[ ( ) (–45) ] – (–45) } + 2
2 2
2 5
= 2 x + 2 – x +
4

( ) ( )+2
2
5 25
= 2 x + – – —
4 8

( ) ()
2
5 9
= 2 x + – – –
4 8

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 331

1) กราฟเป็นพาราโบลาหงาย

2)
5 9
(
จุดต่ำ�สุดของกราฟ คือ จุด - – , - –
4 8 )
9
3) ค่าต่ำ�สุดของ y คือ - –
8
5
4) เส้นตรง x = - – เป็นแกนสมมาตร
4
5)
1
( )
กราฟตัดแกน X ที่จุด (-2, 0) และจุด - –, 0 และตัดแกน Y ที่จุด (0, 2)
2

2
3. แนวคิด พิจารณาจากกราฟของพาราโบลาทีก
่ �ำ หนดให้ จะได้วา่ สมการของพาราโบลาอยูใ่ นรูป y = a(x – h) + k
เมื่อ a > 0 ซึ่งมีจุดต่ำ�สุดของกราฟคือ จุด (h, k)
และเนื่องจากจุด (-3, -2) เป็นจุดต่ำ�สุดของกราฟ ดังนั้น h = -3 และ k = -2
2
จึงได้สมการของพาราโบลาอยู่ในรูป y = a(x + 3) – 2
2
และเมื่อแทน x และ y ด้วยพิกัดที่หนึ่งและพิกัดที่สองของจุดที่กราฟผ่านลงในสมการ y = a(x + 3) – 2
จะสามารถหาค่า a ได้ดังนี้
เนื่องจากกราฟผ่านจุด (-2, 0)
2
แทน x ด้วย -2 และแทน y ด้วย 0 ลงในสมการ y = a(x + 3) – 2 จะได้
2
0 = a(-2 + 3) – 2
a = 2
2
แทน a ด้วย 2 ลงในสมการ y = a(x + 3) – 2
2
จะได้ y = 2(x + 3) – 2
และเมื่อใช้พิกัดที่หนึ่งและพิกัดที่สองของจุด (-5, 6) และ (-3, -2) มาตรวจสอบ
2
จะได้ว่า ค่าเหล่านั้นทำ�ให้สมการ y = 2(x + 3) – 2 เป็นจริง
2
ดังนั้น สมการของพาราโบลาที่ผ่านจุด (-5, 6) , (-3, -2) และ (-2, 0) คือ y = 2(x + 3) – 2
2
ซึ่งสามารถเขียนให้อยู่ในรูป y = ax + bx + c ได้ดังนี้
2
y = 2(x + 3) – 2
2
= 2(x + 6x + 9) – 2
2
= 2x + 12x + 16

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
332 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

2
4. แนวคิด พิจารณาจากสมการที่กำ�หนดให้ จะสามารถจัดให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k เมื่อ a ≠ 0
ได้ดังนี้
2
จาก s = -2t + 48t + 20
2
จะได้ s = -2(t – 24t) + 20
= -2{[(t – 2(t)(12) + 12 ] – 12 } + 20
2 2 2

2 2
= -2(t – 12) + 2(12 ) + 20
2
= -2(t – 12) + 308
แสดงว่า กราฟของสมการเป็นพาราโบลาคว่ำ� และจุดสูงสุดของกราฟ คือ จุด (12, 308)
1) เมื่อเวลา 0 วินาที (t = 0) เป็นจุดที่ยิงปืนใหญ่อยู่สูงจากพื้นน้ำ�
2
ซึ่งจะได้ s = -2(0 – 12) + 308 = 20
ดังนั้น จุดที่ยิงปืนใหญ่อยู่สูงจากพื้นน้ำ� 20 เมตร
2) เนื่องจาก จุดสูงสุดของกราฟ คือ จุด (12, 308)
ดังนั้น กระสุนปืนใหญ่ขึ้นไปได้สูงสุดเมื่อเวลาผ่านไป 12 วินาที หลังจากการยิง และขึ้นไปได้สูงสุด 308 เมตร
3) แทน s ด้วย 180 ลงในสมการที่กำ�หนดให้ จะได้
2
180 = -2t + 48t + 20
2
t – 24t + 80 = 0
(t – 4)(t – 20) = 0
นั่นคือ t = 4 หรือ t = 20
ดังนั้น กระสุนปืนใหญ่จะสูงจากพื้นน้ำ� 180 เมตร หลังจากยิงไปแล้ว 4 วินาที และ 20 วินาที
4) เนื่องจากจุดที่กระสุนปืนใหญ่ตกน้ำ�อยู่ต่ำ�กว่าจุดที่ยิงปืนใหญ่ 20 เมตร
แสดงว่า จุดที่กระสุนปืนใหญ่ตกน้ำ�สูง -20 เมตร เมื่อเทียบกับจุดที่ยิงปืนใหญ่
แทน s ด้วย -20 ลงในสมการ จะได้
-20 = -2t2 + 48t + 20
t2 – 24t – 20 = 0
2
- (-24 ) ± √(-24) – 4(1)(-20)
t =
2(1)
24 ± √656
=
2
= 12 ± 2√41
นั่นคือ t ≈ -0.81 หรือ t ≈ 24.81
เนื่องจาก t เป็นเวลา จะได้ t ≥ 0
ดังนั้น กระสุนปืนใหญ่จะตกน้ำ�หลังจากการยิงไปแล้ว 24.81 วินาที

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 333

5. แนวคิด สร้างแบบจำ�ลองเพื่อหาขนาดของที่ดินรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหา ดังนี้


กำ�หนดให้ ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีด้าน CD

D C เป็นด้านที่อยู่ติดคลอง และให้ด้าน AD ยาว x เมตร

x x เนื่องจาก มีวัสดุสำ�หรับทำ�รั้วยาว 200 เมตร
จะได้ ด้าน AB ยาว 200 – 2x เมตร
A

200 – 2x B ถ้าให้พื้นที่ของ ABCD เป็น y ตารางเมตร
จะได้สมการเป็น y = x(200 – 2x)
2
เขียนสมการให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k ได้ดังนี้
จาก y = x(200 – 2x)
2
จะได้ y = -2x + 200x
2
= -2(x – 100x)
= -2{[x – 2(x)(50) + 50 ] – 50 }
2 2 2

2
= -2(x – 50) + 5,000
แสดงว่า กราฟของสมการเป็นพาราโบลาคว่ำ� ที่มีจุดสูงสุด คือ (50, 5,000)
จะได้ y มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 5,000 เมื่อ x เท่ากับ 50
ดังนั้น ที่ดินที่ธนินทร์ล้อมรั้วได้มีพื้นที่มากที่สุดเท่ากับ 5,000 ตารางเมตร

6. แนวคิด ให้ ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีความยาวรอบรูป



x 80 เมตร และให้ด้าน AB ยาว x เมตร
D C
80 – 2x
จะได้ด้าน BC ยาว เมตร หรือ 40 – x เมตร
2
40 – x 40 – x
ถ้าให้พื้นที่ของ ABCD เป็น y ตารางเมตร
จะได้สมการเป็น y = x(40 – x)
A x B

จาก y = x(40 – x)
2
จะได้ y = -x + 40x
= -{[x – 2(x)(20) + 20 ] – 20 }
2 2 2

2
= -(x – 20) + 400
แสดงว่า กราฟของสมการเป็นพาราโบลาคว่ำ� ที่มีจุดสูงสุด คือ (20, 400)
จะได้ y มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 400 เมื่อ x เท่ากับ 20
ดังนั้น รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีความยาวรอบรูปเป็น 80 เมตร จะมีพื้นที่มากที่สุดเมื่อมีด้านด้านหนึ่งยาว
20 เมตร และมีด้านประกอบมุมฉากของด้านนี้ยาว 40 – 20 = 20 เมตร
นั่นคือ รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากจะมีพื้นที่มากที่สุด เมื่อความกว้างและความยาวเป็น 20 เมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
334 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรมท้ายบท : จับคู่... เรียนรู้สถานที่ปริศนา


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่เน้นให้นักเรียนได้ฝึกใช้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะของกราฟของพาราโบลา ซึ่งเป็นการพัฒนา
ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการนำ�เสนอสมการในรูปของกราฟ รวมทั้งการตีความ แปลความ และสื่อความหมาย
จากกราฟ ครูอาจให้นักเรียนทำ�กิจกรรมนี้นอกเวลาเรียน โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
อุปกรณ์สำ�หรับสืบค้นข้อมูล เช่น สมาร์ตโฟน หรือคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนทำ� “กิจกรรมท้ายบท : จับคู่... เรียนรู้สถานที่ปริศนา” ในหนังสือเรียน หน้า 209–211 เมื่อนักเรียนได้
ชื่อของสถานที่ปริศนาแล้ว ครูให้นักเรียนค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่นั้น
2. ครูอาจให้นักเรียนนำ�เสนอข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ปริศนานั้น และแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันในชั้นเรียน โดยครูอาจ
เตรียมรูปภาพหรือเว็บไซต์ของสถานที่นั้นแสดงให้นักเรียนเห็นเพิ่มเติม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 335

เฉลยกิจกรรมท้ายบท : จับคู่... เรียนรู้สถานที่ปริศนา

สมการที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12

ตัวอักษรที่กำ�กับอยู่บน O C E A N O G R A F I C
ภาพที่แสดงกราฟ

สถานที่ปริศนา คือ OCEANOGRAFIC

สถานที่ปริศนาเป็นสถานที่เกี่ยวข้องกับอะไร และมีลักษณะพิเศษอย่างไร
Oceanografic เป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ�ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป ตั้งอยู่ในเมืองวาเลนเซีย ราชอาณาจักรสเปน
อาคารทีม
่ ช
ี อ
ื่ เสียงทีส
่ ด
ุ ของ Oceanografic คือ อาคารทีม
่ ล
ี ก
ั ษณะเป็นทรงพาราโบลาทีอ
่ อกแบบโดยสถาปนิกทีม
่ ช
ี อ
ื่ เสียง
คือ Félix Candela ซึ่งอาคารดังกล่าวได้สื่อความหมายถึงดอกบัว

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
336 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบท
1. แนวคิด f(5) = √52 + 25 = 5√2 และ f(-5) = √(-5)2 + 25 = 5√2
ดังนั้น f(5) + f(-5) = 5√2 + 5√2 = 10√2

3 2 3 2
2. แนวคิด f(2) = 2 – 4(2) + 10 = 2 และ f(-4) = (-4) – 4(-4) + 10 = -118
ดังนั้น f(2) + f(-4) = 2 + (-118) = -116

2 2 2
3. แนวคิด g(2a) = 4(2a) – 3(2a) – 5 = 4(4a ) – 6a – 5 = 16a – 6a – 5

h(a – 1) = 2(a – 1) – [(a – 1) – 4] = 2a – 2 – (a – 5) = -a + 15a – 73a + 123


3 3 3 2
4. แนวคิด

2
5. แนวคิด คำ�ตอบในข้อ 1) ถึงข้อ 4) สามารถหาได้จากลักษณะทั่วไปของกราฟของสมการ y = a(x – h) + k
เมื่อ a ≠ 0
คำ�ตอบในข้อ 5) สำ�หรับจุดตัดแกน X จะมีค่า y ของพิกัดเป็น 0 จึงแทนค่า y ด้วย 0 ลงในสมการ
แล้วแก้สมการหาค่า x
สำ�หรับจุดตัดแกน Y จะมีค่า x ของพิกัดเป็น 0 จึงแทนค่า x ด้วย 0 ลงในสมการ
แล้วแก้สมการหาค่า y
2
สมการที่ 1 : y = 5x + 3
1) กราฟเป็นพาราโบลาหงาย
2) จุดต่ำ�สุดของกราฟ คือ จุด (0, 3)
3) ค่าต่ำ�สุดของ y คือ 3
4) แกน Y เป็นแกนสมมาตร
5) กราฟไม่ตัดแกน X แต่ตัดแกน Y ที่จุด (0, 3)
2
สมการที่ 2 : y = -2(x – 5)
1) กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ�
2) จุดสูงสุดของกราฟ คือ จุด (5, 0)
3) ค่าสูงสุดของ y คือ 0
4) เส้นตรง x = 5 เป็นแกนสมมาตร
5) กราฟตัดแกน X ที่จุด (5, 0) และตัดแกน Y ที่จุด (0, -50)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 337

2
สมการที่ 3 : y = 3x + 10x + 9
2
จาก y = 3x + 10x + 9

2 10
จะได้ y = 3 x + — x + 9
3 ( )
{[ ( ) ( )] ( )}
2 2
2 5 5 5
= 3 x + 2(x) – + – – – + 9
3 3 3

( )
2
5 25
= 3 x + – – — + 9
3 3

( )
2
5 2
= 3 x + – + –
3 3
1) กราฟเป็นพาราโบลาหงาย

5 2
2) จุดต่ำ�สุดของกราฟ คือ จุด - – , –
3 3 ( )
2
3) ค่าต่ำ�สุดของ y คือ –
3
5
4) เส้นตรง x = - – เป็นแกนสมมาตร
3
5) กราฟไม่ตัดแกน X แต่ตัดแกน Y ที่จุด (0, 9)
2
สมการที่ 4 : y = -4x + 4x + 3
2
จาก y = -4x + 4x + 3
2
จะได้ y = -4(x – x) + 3

{[ ( ) ( )] ( )}+3
2 2
2 1 1 1
= -4 x – 2(x) – + – – –
2 2 2

( )
2
1
= -4 x – – + 1 + 3
2

( )
2
1
= -4 x – – + 4
2
1) กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ�
2)
1
จุดสูงสุดของกราฟ คือ จุด – , 4
2 ( )
3) ค่าสูงสุดของ y คือ 4
1
4) เส้นตรง x = – เป็นแกนสมมาตร
2
5)
1 3
( ) ( )
กราฟตัดแกน X ที่จุด – , 0 และ – , 0 และตัดแกน Y ที่จุด (0, 3)
2 2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
338 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

2
6. 1) แนวคิด พิจารณาจากกราฟพาราโบลาที่กำ�หนดให้ จะได้ว่า สมการของพาราโบลาอยู่ในรูป y = a(x – h) + k
เมื่อ a > 0 ซึ่งมีจุดต่ำ�สุดของกราฟคือ จุด (h, k)
และเนื่องจากจุด (3, 2) เป็นจุดต่ำ�สุดของกราฟ ดังนั้น h = 3 และ k = 2
2
จึงได้สมการของพาราโบลาอยู่ในรูป y = a(x – 3) + 2
2
และเมือ
่ แทน x และ y ด้วยพิกด
ั ทีห
่ นึง่ และพิกด
ั ทีส่ องของจุดทีก
่ ราฟผ่านลงในสมการ y = a(x – 3) + 2
จะสามารถหาค่า a ได้ดังนี้
เนื่องจากกราฟผ่านจุด (1, 4)
2
แทน x ด้วย 1 และแทน y ด้วย 4 ลงในสมการ y = a(x – 3) + 2 จะได้
2
4 = a(1 – 3) + 2
1
a = –
2
1 2
แทน a ด้วย – ลงในสมการ y = a(x – 3) + 2
2
1 2
จะได้ y = – (x – 3) + 2
2
และเมื่อใช้พิกัดที่หนึ่งและพิกัดที่สองของจุด (3, 2) และ (6, 6.5) มาตรวจสอบ
1 2
จะได้ว่า ค่าเหล่านั้นทำ�ให้สมการ y = – (x – 3) + 2 เป็นจริง
2
1 2
ดังนั้น สมการของพาราโบลานี้ คือ y = – (x – 3) + 2
2
1 2
2) ถ้าเลื่อนขนานกราฟของ y = – (x – 3) + 2 ตามแนวแกน X ไปทางซ้าย 5 หน่วย กราฟที่ได้จะมีสมการเป็น
2
1 2
y = – (x + 2) + 2
2
1 2
3) ถ้าเลื่อนขนานกราฟของ y = – (x – 3) + 2 ตามแนวแกน Y ไปด้านล่าง 2 หน่วย กราฟทีไ่ ด้จะมีสมการเป็น
2
1 2
y = – (x – 3)
2

2
7. แนวคิด 1 พิจารณาจากกราฟพาราโบลาที่กำ�หนดให้ จะได้ว่า สมการของพาราโบลาอยู่ในรูป y = a(x – h) + k
เมื่อ a < 0 ซึ่งมีจุดสูงสุดของกราฟคือ จุด (h, k)
และเนื่องจากจุด (-1, -3) เป็นจุดสูงสุดของกราฟ ดังนั้น h = -1 และ k = -3
2
จึงได้สมการของพาราโบลาอยู่ในรูป y = a(x + 1) – 3
2
และเมื่อแทน x และ y ด้วยพิกัดที่หนึ่งและพิกัดที่สองของจุดที่กราฟผ่านลงในสมการ y = a(x + 1) – 3
จะสามารถหาค่า a ได้ดังนี้
เนื่องจากกราฟผ่านจุด (-2, -5)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 339

2
แทน x ด้วย -2 และแทน y ด้วย -5 ลงในสมการ y = a(x + 1) – 3 จะได้
2
-5 = a(-2 + 1) – 3
a = -2
2
แทน a ด้วย -2 ลงในสมการ y = a(x + 1) – 3
2
จะได้ y = -2(x + 1) – 3
และเมื่อใช้พิกัดที่หนึ่งและพิกัดที่สองของจุด (-1, -3) และ (1, -11) มาตรวจสอบ
2
จะได้ว่า ค่าเหล่านั้นทำ�ให้สมการ y = -2(x + 1) – 3 เป็นจริง
2
ดังนั้น สมการของพาราโบลานี้ คือ y = -2(x + 1) – 3
2
เมื่อเลื่อนขนานกราฟของ y = -2(x + 1) – 3 ไปทางขวา 4 หน่วย จากนั้นเลื่อนขนานกราฟ
2
ขึ้นไป 5 หน่วย สมการของพาราโบลาที่ได้จากการเลื่อนขนานนี้ คือ y = -2(x – 3) + 2
แนวคิด 2 เลื่อนขนานจุด (-2, -5) จุด (-1, -3) และจุด (1, -11) ไปทางขวา 4 หน่วย จากนั้นเลื่อนขนานขึ้นไป
5 หน่วย จะได้พิกัดของจุดใหม่เป็นจุด (2, 0) จุด (3, 2) และจุด (5, -6) ตามลำ�ดับ
2
พิจารณากราฟของพาราโบลาที่กำ�หนดให้ จะได้ว่า สมการของพาราโบลาอยู่ในรูป y = a(x – h) + k
เมื่อ a < 0 ซึ่งมีจุดสูงสุดของกราฟคือ จุด (h, k)
และเนื่องจากจุด (3, 2) เป็นจุดสูงสุดของกราฟ ดังนั้น h = 3 และ k = 2
2
จึงได้สมการของพาราโบลาอยู่ในรูป y = a(x – 3) + 2
2
และเมือ
่ แทน x และ y ด้วยพิกด
ั ทีห
่ นึง่ และพิกด
ั ทีส่ องของจุดทีก
่ ราฟผ่านลงในสมการ y = a(x – 3) + 2
จะสามารถหาค่า a ได้ดังนี้
เนื่องจากกราฟผ่านจุด (2, 0)
2
แทน x ด้วย 2 และแทน y ด้วย 0 ลงในสมการ y = a(x – 3) + 2 จะได้
2
0 = a(2 – 3) + 2
a = -2
2
แทน a ด้วย -2 ลงในสมการ y = a(x – 3) + 2
2
จะได้ y = -2(x – 3) + 2
และเมื่อใช้พิกัดที่หนึ่งและพิกัดที่สองของจุด (3, 2) และ (5, -6) มาตรวจสอบ
2
จะได้ว่า ค่าเหล่านั้นทำ�ให้สมการ y = -2(x – 3) + 2 เป็นจริง
2
ดังนั้น สมการของพาราโบลาที่ได้จากการเลื่อนขนานนี้ คือ y = -2(x – 3) + 2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
340 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

8. แนวคิด ให้ ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีความยาวรอบรูป


D x
C p หน่วย และให้ด้าน AB ยาว x หน่วย
p – 2x p
จะได้ด้าน BC ยาว หน่วย หรือ – – x หน่วย
2 2
p – 2x p – 2x

x x ถ้าให้พื้นที่ของ
ABCD เป็น y ตารางหน่วย

A x B
p
จะได้สมการเป็น y = x – – x
2 ( )
จาก
p
y = x––x
2 ( )
จะได้
2 p
y = -x + – x
2 ()
- {[x – 2(x)(–) + (–) ] – (–) }
2 p p p 2 2
=
4 4 4
-(x – –) + —
p p 2 2
=
2 16
แสดงว่า กราฟของสมการเป็นพาราโบลาคว่ำ� ที่มีจุดสูงสุด คือ จุด –, —
p p2
4 16 ( )
p2 p
จะได้ y มีค่ามากที่สุดเท่ากับ — เมื่อ x เท่ากับ –
16 4
p
ดังนั้น เราควรกำ�หนดรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากให้มีด้านด้านหนึ่งยาว – หน่วย จะได้ ด้านประกอบมุมฉากของ
4
p p p p2
ด้านนีย้ าว – – – = – หน่วย ทำ�ให้ได้รป ู สีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั ทีม
่ พ
ี น
้ื ทีเ่ ท่ากับ — ตารางหน่วย ซึง่ เป็น
2 4 4 16
พื้นที่มากที่สุดตามต้องการ

2
9. แนวคิด พิจารณาสมการที่กำ�หนดให้ จะสามารถจัดให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k เมื่อ a ≠ 0 ได้ดังนี้
2
จาก P = 0.6x – 9.6x + 60
2
จะได้ P = 0.6(x – 16x) + 60
= 0.6{[x – 2(x)(8) + 8 ] – 8 } + 60
2 2 2

2
= 0.6(x – 8) + 21.6 เมื่อ 5 ≤ x ≤ 13
แสดงว่า กราฟเป็นพาราโบลาหงาย และจุดต่ำ�สุดของกราฟ คือ จุด (8, 21.6)
1) ผลกำ�ไรในการขายข้าวต่ำ�สุดอยู่ในปีที่ x = 8 หรือ พ.ศ. 2557 และมีกำ�ไร 21.6 สิบล้านบาท หรือ 216 ล้านบาท
2
2) ในปี พ.ศ. 2561 (x = 12) บริษัทมีผลกำ�ไรในการขายข้าวเท่ากับ 0.6(12 – 8) + 21.6 = 31.2 สิบล้านบาท
หรือ 312 ล้านบาท
3) บริษัทมีผลกำ�ไรประมาณ 222 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2556 และ พ.ศ. 2558

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 341

ตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท
1. จงพิจารณาว่าสมการของพาราโบลาที่กำ�หนดให้ในแต่ละข้อสอดคล้องกับกราฟใดต่อไปนี้ (5 คะแนน)
2
1) y = (x + 4) – 1 สอดคล้องกับกราฟ
2
2) y = (x – 4) + 1 สอดคล้องกับกราฟ
1 2
3) y = – (x – 4) + 1 สอดคล้องกับกราฟ
4
1 2
4) y = - – (x – 4) + 1 สอดคล้องกับกราฟ
2
2
5) y = -3(x + 4) – 1 สอดคล้องกับกราฟ

c2 c3

5 c4

c1

X
-8 -6 -4 -2 O 2 4 6 8

c8

c5
-5 c7
c6

2. จงเติมเครื่องหมาย  หน้าข้อความที่ถูกต้อง และเติมเครื่องหมาย  หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ


(20 คะแนน)
2
1) สมการ y = 2x + 3x + 4 เป็นสมการของพาราโบลา
เหตุผล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
342 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

1

2) กราฟของสมการ y – x = - –x – x + 9 เป็นพาราโบลาคว่ำ�
2
เหตุผล

2
3) กราฟของสมการ y = 5 – x มีจุด (0, 5) เป็นจุดต่ำ�สุด
เหตุผล

( )
2
1 1

4) แกนสมมาตรของกราฟของสมการ y = x + – คือ เส้นตรง x = –
2 2
เหตุผล

( ) ( )
2
3 5 3 5

5) กราฟของสมการ y = 2 x – – – – มีจุดต่ำ�สุด คือ จุด – , –
2 2 2 2
เหตุผล

2
6) จุด (-9, -1) เป็นจุดที่อยู่บนกราฟของสมการ y = -2x + 3x – 4
เหตุผล

2
7) กราฟของสมการ y = 4(x + 2) – 2 มีแกนสมมาตร คือ เส้นตรง x = -2
เหตุผล

1 2 3 2

8) จุดต่�ำ สุดของกราฟของสมการ y = –x – 3 และจุดสูงสุดของกราฟของสมการ y = - – x + 2 อยูห
่ า่ งกัน
4 2
5 หน่วย
เหตุผล

2
9) กราฟของสมการ y = -2(x – 4) – 18 ไม่มีจุดตัดแกน X
เหตุผล

2
10) กราฟของสมการ y = -3(x – 5) + 10 จะตัดแกน Y ที่จุด (0, 65)
เหตุผล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 343

2 2
3. จงเขียนสมการ y = 3x – 12x + 11 ให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k แล้วตอบคำ�ถามต่อไปนี้โดยไม่ต้องเขียนกราฟ
(5 คะแนน)

1) กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ�หรือพาราโบลาหงาย

2) จุดต่ำ�สุดหรือจุดสูงสุดของกราฟเป็นจุดใด และมีค่าต่ำ�สุดหรือค่าสูงสุดของ y เป็นเท่าใด

3) กราฟมีเส้นตรงใดเป็นแกนสมมาตร

2 2
4. จงเขียนสมการ y = -x + 8x + 12 ให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k แล้วตอบคำ�ถามต่อไปนี้โดยไม่ต้องเขียนกราฟ
(5 คะแนน)

1) กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ�หรือพาราโบลาหงาย

2) จุดต่ำ�สุดหรือจุดสูงสุดของกราฟเป็นจุดใด และมีค่าต่ำ�สุดหรือค่าสูงสุดของ y เป็นเท่าใด

3) กราฟมีเส้นตรงใดเป็นแกนสมมาตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
344 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

2
5. กราฟของสมการ y = 4x – 12x + c ผ่านจุด (2, -1) จงหาจุดต่ำ�สุดของกราฟนี้ (5 คะแนน)

6. สะพานแขวนแห่งหนึ่งแขวนด้วยลวดสลิงที่โยงระหว่างยอดเสาสองต้นที่อยู่ปลายสะพานซึ่งสูงเท่ากัน ลวดสลิงดังกล่าว
2
หย่อนโค้งเป็นรูปพาราโบลาที่มีสมการ y = 0.01x – x + 35 เมื่อ x แทนระยะทาง (เมตร) ที่จุดแต่ละจุดบนสะพาน
อยู่ห่างจากเสาสะพานทางซ้าย และ y แทนระยะห่างระหว่างลวดสลิงกับพื้นสะพาน

1) จงหาระยะห่างที่น้อยที่สุดระหว่างลวดสลิงกับพื้นสะพาน (3 คะแนน)

2) เสาสะพานทั้งสองต้นห่างกันเท่าใด (2 คะแนน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 345

7. นาวินมีที่ดินแปลงหนึ่งอยู่ริมคลองและต้องการแบ่งที่ดินเพื่อสร้างบ้านริมคลอง โดยล้อมรั้วที่ดินสำ�หรับสร้างบ้านเป็น
รูปสีเ่ หลีย่ มมุมฉากและล้อมรัว้ เพียงสามด้าน อีกด้านหนึง่ ติดคลองไม่ตอ
้ งล้อมรัว้ ถ้านาวินมีวสั ดุในการล้อมรัว้ ยาว 120 เมตร
และอยากได้พื้นที่ภายในรั้วมากที่สุด จงหาว่านาวินจะต้องกำ�หนดขนาดของรั้วอย่างไร และมีพื้นที่เท่าไร พร้อมทั้งวาดภาพ
ประกอบ (7 คะแนน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
346 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท
1. จงพิจารณาว่าสมการของพาราโบลาที่กำ�หนดให้ในแต่ละข้อสอดคล้องกับกราฟใดต่อไปนี้ (5 คะแนน)
2
1) y = (x + 4) – 1 สอดคล้องกับกราฟ c1
2
2) y = (x – 4) + 1 สอดคล้องกับกราฟ c3
1 2
3) y = – (x – 4) + 1 สอดคล้องกับกราฟ c4
4
1 2
4) y = - – (x – 4) + 1 สอดคล้องกับกราฟ c8
2
2
5) y = -3(x + 4) – 1 สอดคล้องกับกราฟ c6
Y

c2 c3

5 c4

c1

X
-8 -6 -4 -2 O 2 4 6 8

c8

c5
-5 c7
c6

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
2 2
ข้อ 1 นักเรียนสามารถระบุลกั ษณะพร้อมทัง้ เขียนกราฟของฟังก์ชน
ั กำ�ลังสองทีอ่ ยูใ่ นรูป y = ax , y = ax + k,
2 2 2
y = a(x – h) , y = a(x – h) + k และ y = ax + bx + c เมื่อ a, b, c, h และ k เป็น
ค่าคงตัว ที่ a ≠ 0
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 5 คะแนน ข้อละ 1 คะแนน
✤ ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 347

2. จงเติมเครื่องหมาย  หน้าข้อความที่ถูกต้อง และเติมเครื่องหมาย  หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ


(20 คะแนน)
2
 1) สมการ y = 2x + 3x + 4 เป็นสมการของพาราโบลา
2 2
เหตุผล เพราะสมการ y = 2x + 3x + 4 อยู่ในรูป y = ax + bx + c โดยที่ a = 2, b = 3
และ c = 4
1
2) กราฟของสมการ y – x = - –x – x + 9 เป็นพาราโบลาคว่ำ�

2
1 1
เหตุผล เพราะสมการ y – x = - –x – x + 9 สามารถจัดรูปได้เป็น y = - –x + 9 ซึง่ เป็นสมการเชิงเส้น
2 2
สองตัวแปร ดังนั้น กราฟที่ได้เป็นกราฟเส้นตรง
2
 3) กราฟของสมการ y = 5 – x มีจุด (0, 5) เป็นจุดต่ำ�สุด
2 2
เหตุผล เพราะสมการ y = 5 – x สามารถจัดรูปได้เป็น y = -x + 5 ซึ่งมีกราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ�
และมีจุดสูงสุด คือ จุด (0, 5)

( )
2
1 1
4) แกนสมมาตรของกราฟของสมการ y = x + – คือ เส้นตรง x = –

2 2

( ) [ ( )]
2 2
1 1
เหตุผล เพราะสมการ y = x + – สามารถจัดรูปได้เป็น y = x – - –
2 2
1
ดังนั้น แกนสมมาตรของกราฟของสมการนี้ คือ เส้นตรง x = - –
2

( ) ( )
2
3 5 3 5
5) กราฟของสมการ y = 2 x – – – – มีจุดต่ำ�สุด คือ จุด – , –

2 2 2 2
32 5
( )
เหตุผล เพราะสมการ y = 2 x – – – – สามารถจัดรูปได้เป็น y = 2 x – – + - –
2 2
32
2
5
2 ( ) ( )

3 5
ดังนั้น กราฟของสมการนี้เป็นพาราโบลาหงาย มีจุดต่ำ�สุด คือ จุด – , -–
2 2 ( )
2
 6) จุด (-9, -1) เป็นจุดที่อยู่บนกราฟของสมการ y = -2x + 3x – 4
2
เหตุผล เพราะเมื่อแทน x ด้วย -9 และแทน y ด้วย -1 ลงในสมการ y = -2x + 3x – 4
2
ทำ�ให้ได้สมการที่ไม่เป็นจริง ดังนั้น จุด (-9, -1) ไม่อยู่บนกราฟของสมการ y = -2x + 3x – 4
2
 7) กราฟของสมการ y = 4(x + 2) – 2 มีแกนสมมาตร คือ เส้นตรง x = -2
สามารถจัดรูปได้เป็น y = 4[x – (-2)] – 2
2 2
เหตุผล เพราะสมการ y = 4(x + 2) – 2
ดังนั้น แกนสมมาตรของกราฟของสมการนี้ คือ เส้นตรง x = -2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
348 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

1 2 3 2
8) จุดต่�ำ สุดของกราฟของสมการ y = –x – 3 และจุดสูงสุดของกราฟของสมการ y = - – x + 2 อยูห
 ่ า่ งกัน
4 2
5 หน่วย
1 2
เหตุผล เพราะจุดต่ำ�สุดของกราฟของสมการ y = – x – 3 คือ (0, -3)
4
3 2
และจุดสูงสุดของกราฟของสมการ y = - – x + 2 คือ (0, 2)
2
ดังนั้น จุดต่ำ�สุดและจุดสูงสุดของกราฟทั้งสองอยู่ห่างกัน 5 หน่วย
2
 9) กราฟของสมการ y = -2(x – 4) – 18 ไม่มีจุดตัดแกน X
2
เหตุผล เพราะกราฟของสมการ y = -2(x – 4) – 18 เป็นพาราโบลาคว่ำ� ที่มีจุดสูงสุดอยู่ที่จุด (4, -18)
จะได้ว่า กราฟของสมการนี้ไม่ตัดแกน X ดังนั้น กราฟจึงไม่มีจุดตัดแกน X
2
 10) กราฟของสมการ y = -3(x – 5) + 10 จะตัดแกน Y ที่จุด (0, 65)
2
เหตุผล เพราะเมื่อแทน x ด้วย 0 ลงในสมการ y = -3(x – 5) + 10 จะได้ y = -65
2
ดังนั้น กราฟของสมการ y = -3(x – 5) + 10 จะตัดแกน Y ที่จุด (0, -65)

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถระบุลกั ษณะพร้อมทัง้ เขียนกราฟของฟังก์ชน
ั กำ�ลังสองทีอ่ ยูใ่ นรูป y = ax2, y = ax2 + k,
y = a(x – h)2, y = a(x – h)2 + k และ y = ax2 + bx + c เมื่อ a, b, c, h และ k เป็น
ค่าคงตัว ที่ a ≠ 0
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 20 คะแนน ข้อละ 2 คะแนน โดยแบ่งให้คะแนน ดังนี้
✤ ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ แสดงเหตุผลได้อย่างสมเหตุสมผล ได้ 1 คะแนน

2 2
3. จงเขียนสมการ y = 3x – 12x + 11 ให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k แล้วตอบคำ�ถามต่อไปนี้โดยไม่ต้องเขียนกราฟ
(5 คะแนน)
2
แนวคิด จาก y = 3x – 12x + 11
2
จะได้ y = 3(x – 4x) + 11
= 3{[x – 2(x)(2) + 2 ] – 2 } + 11
2 2 2

2
= 3(x – 2) + 3(-4) + 11
2
= 3(x – 2) – 1
1) กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ�หรือพาราโบลาหงาย
พาราโบลาหงาย
2) จุดต่ำ�สุดหรือจุดสูงสุดของกราฟเป็นจุดใด และมีค่าต่ำ�สุดหรือค่าสูงสุดของ y เป็นเท่าใด
จุดต่ำ�สุดของกราฟเป็น คือ จุด (2, -1) และมีค่าต่ำ�สุดของ y เป็น -1
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 349

3) กราฟมีเส้นตรงใดเป็นแกนสมมาตร
กราฟมีเส้นตรง x = 2 เป็นแกนสมมาตร

2 2
4. จงเขียนสมการ y = -x + 8x + 12 ให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k แล้วตอบคำ�ถามต่อไปนี้โดยไม่ต้องเขียนกราฟ
(5 คะแนน)
แนวคิด จาก y = -x2 + 8x + 12
จะได้ y = -(x2 – 8x) + 12
= -{[x2 – 2(x)(4) +42] – 42} + 12
= -(x – 4)2 + 16 + 12
= -(x – 4)2 + 28
1) กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ�หรือพาราโบลาหงาย
พาราโบลาคว่ำ�
2) จุดต่ำ�สุดหรือจุดสูงสุดของกราฟเป็นจุดใด และมีค่าต่ำ�สุดหรือค่าสูงสุดของ y เป็นเท่าใด
จุดสูงสุดของกราฟ คือ จุด (4, 28) และมีค่าสูงสุดของ y เป็น 28
3) กราฟมีเส้นตรงใดเป็นแกนสมมาตร
กราฟมีเส้นตรง x = 4 เป็นแกนสมมาตร

สำ�หรับข้อ 3–4
ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
2 2
ข้อ 1 นักเรียนสามารถระบุลกั ษณะพร้อมทัง้ เขียนกราฟของฟังก์ชน
ั กำ�ลังสองทีอ่ ยูใ่ นรูป y = ax , y = ax + k,
2 2 2
y = a(x – h) , y = a(x – h) + k และ y = ax + bx + c เมื่อ a, b, c, h และ k เป็น
ค่าคงตัว ที่ a ≠ 0
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็มข้อละ 5 คะแนน โดยแบ่งให้คะแนน ดังนี้
2
ส่วนที่ 1 การเขียนสมการให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k
2
✤ เขียนสมการให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k ถูกต้องครบถ้วน ได้ 2 คะแนน
2
✤ เขียนสมการให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k ถูกต้องบางส่วน ได้ 1 คะแนน
2
✤ เขียนสมการให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k ไม่ถูกต้อง หรือไม่เขียน ได้ 0 คะแนน
ส่วนที่ 2 การตอบคำ�ถาม
✤ ตอบถูกต้อง ได้ข้อละ 1 คะแนน
✤ ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
350 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

2
5. กราฟของสมการ y = 4x – 12x + c ผ่านจุด (2, -1) จงหาจุดต่ำ�สุดของกราฟนี้ (5 คะแนน)
2
แนวคิด แทน x ด้วย 2 และแทน y ด้วย -1 ลงในสมการ y = 4x – 12x + c จะได้
2
-1 = 4(2) – 12(2) + c
-1 = 16 – 24 + c
ดังนั้น c = 7
2
จะได้สมการเป็น y = 4x – 12x + 7
2
จาก y = 4x – 12x + 7
2
จะได้ y = 4(x – 3x) + 7

= 4 x – 2(x) – + – – – + 7
2 3 9 9
2 4 4 {[ () ] }
( )
2
3
= 4 x – – – 9 + 7
2

( )
2
3
ดังนั้น y = 4x–– –2
2

3
จะได้ว่า จุดต่ำ�สุดของกราฟนี้ คือ จุด – , -2
2 ( )
ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
2 2
ข้อ 1 นักเรียนสามารถระบุลกั ษณะพร้อมทัง้ เขียนกราฟของฟังก์ชน
ั กำ�ลังสองทีอ่ ยูใ่ นรูป y = ax , y = ax + k,
2 2 2
y = a(x – h) , y = a(x – h) + k และ y = ax + bx + c เมื่อ a, b, c, h และ k เป็น
ค่าคงตัว ที่ a ≠ 0
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 5 คะแนน โดยแบ่งให้คะแนน ดังนี้
ส่วนที่ 1 การเขียนแสดงการหาค่า c
✤ เขียนแสดงการหาค่า c และหาค่า c ถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
✤ เขียนแสดงการหาค่า c แต่หาค่า c ไม่ถูกต้อง
หรือ ไม่เขียนแสดงการหาค่า c แต่หาค่า c ถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ ไม่เขียนแสดงการหาค่า c และหาค่า c ไม่ถูกต้อง ได้ 0 คะแนน
2
ส่วนที่ 2 การเขียนสมการให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k
2
✤ เขียนสมการให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k ถูกต้องครบถ้วน ได้ 2 คะแนน
2
✤ เขียนสมการให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k ถูกต้องบางส่วน ได้ 1 คะแนน
2
✤ เขียนสมการให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k ไม่ถูกต้อง หรือไม่เขียน ได้ 0 คะแนน
ส่วนที่ 3 การสรุปคำ�ตอบ
✤ สรุปคำ�ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ สรุปคำ�ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่สรุป ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 351

6. สะพานแขวนแห่งหนึ่งแขวนด้วยลวดสลิงที่โยงระหว่างยอดเสาสองต้นที่อยู่ปลายสะพานซึ่งสูงเท่ากัน ลวดสลิงดังกล่าว
2
หย่อนโค้งเป็นรูปพาราโบลาที่มีสมการ y = 0.01x – x + 35 เมื่อ x แทนระยะทาง (เมตร) ที่จุดแต่ละจุดบนสะพาน
อยู่ห่างจากเสาสะพานทางซ้าย และ y แทนระยะห่างระหว่างลวดสลิงกับพื้นสะพาน

1) จงหาระยะห่างที่น้อยที่สุดระหว่างลวดสลิงกับพื้นสะพาน (3 คะแนน)
2
แนวคิด จาก y = 0.01x – x + 35
2
จะได้ y = 0.01(x – 100x) + 35
2
=0.01{[x – 2(x)(50) + 2,500] – 2,500} + 35
2
=0.01(x – 50) – 25 + 35
=0.01(x – 50)2 + 10
แสดงว่ากราฟเป็นพาราโบลาหงาย และจุดต่ำ�สุดของกราฟ คือ จุด (50, 10)
ดังนั้นจุดต่ำ�สุดของลวดสลิงมีระยะห่างจากพื้นสะพานน้อยที่สุดคือ 10 เมตร
2) เสาสะพานทั้งสองต้นห่างกันเท่าใด (2 คะแนน)
แนวคิด เนื่องจาก จุดต่ำ�สุดของลวดสลิง คือ จุดที่อยู่ห่างจากเสาสะพานทางซ้าย 50 เมตร
และจุดต่ำ�สุดของลวดสลิงจะเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างเสาสะพานทั้งสองต้น
นั่นคือ จุดต่ำ�สุดจะอยู่ห่างจากเสาสะพานทางขวา 50 เมตร เท่ากัน
ดังนั้น เสาสะพานทั้งสองต้นอยู่ห่างกัน 50 + 50 = 100 เมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
352 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรียนสามารถนำ�ความรู้เกี่ยวกับกราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสองไปใช้ในการแก้ปัญหา
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 5 คะแนน
ข้อ 1) คะแนนเต็ม 3 คะแนน โดยแบ่งให้คะแนน ดังนี้
2
ส่วนที่ 1 การเขียนสมการให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k
2
✤ เขียนสมการให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k ถูกต้องครบถ้วน ได้ 2 คะแนน
2
✤ เขียนสมการให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k ถูกต้องบางส่วน ได้ 1 คะแนน
2
✤ เขียนสมการให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k ไม่ถูกต้อง หรือไม่เขียน ได้ 0 คะแนน
ส่วนที่ 2 การสรุปคำ�ตอบ
✤ สรุปคำ�ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ สรุปคำ�ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่สรุป ได้ 0 คะแนน

ข้อ 2) คะแนนเต็ม 2 คะแนน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้


✤ เขียนแสดงแนวคิดและหาคำ�ตอบถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
✤ เขียนแสดงแนวคิด แต่หาคำ�ตอบไม่ถูกต้อง
หรือ ไม่เขียนแสดงแนวคิด แต่หาคำ�ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ ไม่เขียนแสดงแนวคิดและหาคำ�ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

7. นาวินมีที่ดินแปลงหนึ่งอยู่ริมคลองและต้องการแบ่งที่ดินเพื่อสร้างบ้านริมคลอง โดยล้อมรั้วที่ดินสำ�หรับสร้างบ้านเป็น
รูปสีเ่ หลีย่ มมุมฉากและล้อมรัว้ เพียงสามด้าน อีกด้านหนึง่ ติดคลองไม่ตอ
้ งล้อมรัว้ ถ้านาวินมีวสั ดุในการล้อมรัว้ ยาว 120 เมตร
และอยากได้พื้นที่ภายในรั้วมากที่สุด จงหาว่านาวินจะต้องกำ�หนดขนาดของรั้วอย่างไร และมีพื้นที่เท่าไร พร้อมทั้งวาดภาพ
ประกอบ (7 คะแนน)

x x

120 – 2x

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง 353

แนวคิด ให้ รั้วกว้าง x เมตร จะได้ว่า รั้วยาว 120 – 2x เมตร


ให้ พื้นที่ภายในรั้วเป็น y ตารางเมตร จะได้ว่า y = x(120 – 2x)
จาก y = x(120 – 2x)
2
จะได้ y = -2x – 120x
2
= -2(x – 60x)
{
= -2 [x – 2(x)(30) + 900] – 900
2
}
2
= -2(x – 30) + 1,800
แสดงว่า กราฟเป็นพาราโบลาคว่ำ� และจุดสูงสุดของกราฟ คือ จุด (30, 1,800)
และมีค่าสูงสุดของ y เป็น 1,800 เมื่อ x = 30
ดังนัน
้ นาวินจะต้องกำ�หนดความกว้างของรัว้ เป็น 30 เมตร และความยาวของรัว้ เป็น 120 – 2(30) = 60 เมตร
จึงจะได้พื้นที่ภายในรั้วมากที่สุดเป็น 1,800 ตารางเมตร

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรียนสามารถนำ�ความรู้เกี่ยวกับกราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสองไปใช้ในการแก้ปัญหา
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 7 คะแนน โดยแบ่งให้คะแนน ดังนี้
ส่วนที่ 1 การวาดรูป
✤ วาดรูปสอดคล้องกับปัญหา ได้ 1 คะแนน
✤ วาดรูปไม่สอดคล้อง หรือไม่วาด ได้ 0 คะแนน
ส่วนที่ 2 การเขียนแสดงที่มาของสมการและการเขียนสมการ
✤ เขียนแสดงที่มาของสมการ และเขียนสมการถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
✤ เขียนแสดงที่มาของสมการ แต่เขียนสมการไม่ถูกต้อง
หรือ ไม่เขียนแสดงที่มาของสมการ แต่เขียนสมการถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ ไม่เขียนที่มาของสมการและเขียนสมการไม่ถูกต้อง หรือไม่เขียน ได้ 0 คะแนน
2
ส่วนที่ 3 การเขียนสมการให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k
2
✤ เขียนสมการให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k ถูกต้องครบถ้วน ได้ 2 คะแนน
2
✤ เขียนสมการให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k ถูกต้องบางส่วน ได้ 1 คะแนน
2
✤ เขียนสมการให้อยู่ในรูป y = a(x – h) + k ไม่ถูกต้อง หรือไม่เขียน ได้ 0 คะแนน
ส่วนที่ 4 การเขียนแสดงแนวคิดและการหาคำ�ตอบ
✤ เขียนแสดงแนวคิดและหาคำ�ตอบถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
✤ เขียนแสดงแนวคิด แต่หาคำ�ตอบไม่ถูกต้อง
หรือ ไม่เขียนแสดงแนวคิด แต่หาคำ�ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ ไม่เขียนแสดงแนวคิดและหาคำ�ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
354 บทที่ 5 | กราฟของฟังก์ชันกำ�ลังสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

You might also like