You are on page 1of 13

หมอนรองกระดูกแตกกดทับเส้นประสาท

(Herniated Nucleus Pulposus, HNP)

โดย น.พ.ธเนศ วรรธนอภิสิทธิ์

Thaispineclinic.com
หมอนรองกระดูกแตกกดทับเส้นประสาท
มักพบในคนอายุประมาณ 30-40 ปี อาการมักเกิดขึ้นเฉียบพลัน ภายหลังจากการยกของหนัก หรือได้รับ
อุบัติเหตุบริเวณหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ขาชาอ่อนแรง อาการปวดจะเป็นมาก
ขึ้นเมื่อก้มเงย, ไอ,จาม อาการปวดจะทุเลาเมื่อนอนพัก ในรายที่มีอาการรุนแรงจะสูญเสียการควบคุม
การขับถ่าย

รูปแสดงหมอนรองกระดูกแตกกดทับเส้นประสาท
รูปแสดงระยะต่างๆของหมอนรองกระดูกแตกกดทับเส้นประสาท
การตรวจวินิจฉัย
x-ray จะพบความสูงของหมอนรองกระดูกสันหลังลดลง
MRI ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคและบอกถึงความรุนแรงของการกดทับเส้นประสาท
Myelogram เป็นวิธีการฉีดสีเข้าช่องไขสันหลัง บริเวณที่หมอนรองกระดูกแตก จะมีการไหล
ผ่านของสีไม่สะดวก
การรักษา
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณ 90 % รักษาโดยวิธีอนุรักษ์นิยมได้ผลดี โดยใช้ยาระงับปวด การนอนพักใน
ระยะแรก การทากายภาพบาบัดในการดึงหลัง (traction) ได้ผลไม่แน่นอน การปรับท่าทางการใช้งาน
หลังให้ถูกวิธี
การฉีดยาสเตียรอยด์ (Epidural steroid injection, selective nerve root
injection)
ได้ผลดีประมาณ 60-85 % ในระยะแรก ในการลดอาการปวด, ในระยะยาวได้ผลประมาณ 30-40 %
รูปแสดงการฉีด selective nerve root injection
การรักษาโดยการผ่าตัด
มีข้อบ่งชีค้ ือ
มีการเสียการควบคุมระบบขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะ
มีการสูญเสียการทางานของเส้นประสาท มีอาการชา, อ่อนแรงของขามากขึ้น
รักษาโดยวิธีอนุรักษ์นิยมอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์แล้วไม่ได้ผล
ในรายที่มีอาการกลับมาเป็นซ้า
วิธีการผ่าตัดมีหลายเทคนิค การผ่าตัดทาโดยคีบหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาทออก หลัง
ผ่าตัด 85-90 %สามารถกลับไปใช้งานได้ปกติ ประมาณ 15%มีอาการปวดหลังอยู่บ้าง
รูปแสดงการคีบหมอนรองกระดูกที่แตกออก
รูปแสดงผู้ป่วยชายอายุ38ปี ปวดสะโพกร้าวลงขาขวาประมาณ1ปี ไม่สามารถยืนนตรงได้และก้มหลังได้ไม่
สุด มีกล้ามเนื้อน่องขวาลีบ
รูปX-rayและMRI พบหมอนรองกระดูกส่วนเอวข้อที4
่ -5แตกกดทับเส้นประสาทด้านขวา
รูปขณะทาการผ่าตัดคีบหมอนรองกระดูก
รูปเส้นประสาทหลังจากผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกที่กดทับออก
รูปแสดงผู้ป่วยหลังผ่าตัดสามารถยืนได้ตรงขึ้นและรูปแสดงหมอนรองกระดูกที่ผ่าตัดเอาออก

You might also like