You are on page 1of 16

รายงานเชิงวิชาการ

การอ่านและพิจารณาวรรณคดีเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย
โดย

นางสาว ธนารีย์ อรุณนำโชค ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/8 เลขที่ 2


นางสาว กัลยรักษ์ กัลปนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/8 เลขที่ 8
นาย กฤษณพงษ์ นิ่มอนุสสรณ์กุล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/8 เลขที่ 10

เสนอ

อ.พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน

(Project Based Learning)

รายวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

1
คำนำ

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานวิชาภาษาไทยเพื่อการเรียนรู้ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีจุด


ประสงค์เพื่อพิจารณาวรรณคดีเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย ทั้งนี้รายงานฉบับนี้มีเนื้อหาซึ่งประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับเนื้อ
เรื่อง, คุณค่าในด้านต่างๆ และการใช้คำในการแต่งคำประพันธ์ ผู้จัดทำหวังรายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน
และนักเรียนหรือนักศึกษา หากมีข้อเสนอแนะประการใด ผู้จัดทำขอรับไว้ด้วยความขอบพระคุณอย่างยิ่ง

ผู้จัดทำ

2
สารบัญ

เรื่อง หน้า

เนื้อเรื่อง 4
โครงเรื่อง 4
ตัวละคร 5-6
ฉากท้องเรื่อง 6
บทเจรจาหรือรำพึงรำพัน 6-7
แก่นเรื่อง 7
การสรรคำ 7-9
การเรียบเรียงคำ 9-11
การใช้โวหาร 11-12
คุณค่าด้านอารมณ์ 12-13
คุณค่าด้านคุณธรรม 13
คุณค่าด้านวรรณศิลป์ 13-14
บรรณานุกรม 15

3
แนวทางในการพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม

การอ่านและพิจารณาวรรณคดีและวรรณกรรมต่างๆ ให้เกิดอรรถรสนั้น ผู้อ่านพึงพิจารณาเนื้อหาและกลวิธี


ในการนำเสนอของผู้ประพันธ์ ประกอบด้วย เนื้อเรื่อง โครงเรื่อง ตัวละคร ฉากท้องเรื่อง บทเจรจารำพึงรำพัน และ
แก่นเรื่อง ตามแนวทางการอ่านและพิจารณาวรรณคดี ของ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ (2539)
ดังนี้
1.1 เนื้อเรื่อง
เมื่อพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงทรงทราบว่าสมเด็จพระมหาราชาเสด็จสวรรคตกรุงศรีอยุธยา อาจจะเกิด
เหตุการณ์แย่งชิงบัลลังค์กัน พระเจ้าหงสาวดีจึงมีพระราชบรรชาให้พระมหาอุปราชยกทัพเข้ามาบุกไทย พระมหา
อุปราชเดินทัพผ่านทางเจดีย์สามองค์และเข้าตีเมืองกาญจนบุรี ขณะนั้นพระมหากษัตริย์ของไทยคือสมเด็จพระนเรศวร
มหาราช โดยมีพระเอกาทศรถผู้เป็นอนุชาทรงดำรงตำแหน่งมกาอุปราช ในเวลานั้นพระองค์ได้ทรงเตรียมทัพไปบุก
เขมร แต่เมื่อครั้นพระองค์ได้ทรงทราบข่าวศึกพม่าก็ทรงได้จัดเตรียมรับศึกนอกพระนครกองทัพทั้งสองฝ่ายได้ทำ
สงครามกันที่ตำบลตระพังตรุ จังหวัดสุพรรณบุรี ช้างทรงเสด็จของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วสมเด็จเอกาทศรถ
กำลังตกมัน เมื่อได้ยินเสียงกลองศึก จึงวิ่งเตลิดเข้าไปกลางกองทัพทหารฝั่งพม่า ทำให้ทั้งสองพระองค์ตกอยู่ในวงล้อม
ของศัตรูมีเพียงควาญช้างและกลางช้างโดยเสด็จเท่านั่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสังเกตเห็นพระมหาอุปราช
ประทับอยู่ใต้ต้นข่อย จึงเข้าไปเชิญพระมหาอุปราชทำยุทธหัตถีกัน พระมหาอุปราชหมดหนทางเลี่ยง พระนเรศวร
มหาราชเป็นฝ่ายชนะในสงครามครั้งนี้ ครั้นเมื่อเสด๊จกลับอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงปรึกษาโทษแม่ทัพ
นายกองทั้งหลายที่ตามเสด็จไม่ทัน แต่สมเด็จพระวันรัตได้กราบทูลขอพระราชทาอภัยโทษแทนนายทหารเหล่านั้นไว้
ได้
1.2 โครงเรื่อง
ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นวรรณคดีที่ได้แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แต่งโดยสมเด็จ
พระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ซึ่งอ้างอิงมาจากการทำสงครามยุทธหัตถีในประวัติศาสตร์ และได้ทรง
เพิ่มเติมเนื้อหาด้านอื่นๆเข้าไปเพื่อเพิ่มสีสันให้แก่เนื้อเรื่อง เนื้อหาหลักของเรื่องจะดำเนินตามเค้าเรื่องพงศาวดาร ได้แก่
การทำสงคราม การต่อสู้แบบยุทธหัตถี การจัดทัพ และรายละเอียดต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามประเพณีในสมัยโบราณทุก
อย่าง ส่วนในด้านของส่วนเพิ่มเติมของเรื่อง จะเป็นลักษณะนิราศ ซึ่งพรรณนาผ่านบทบาทของพระมหาอุปราชาเกี่ยว
กับการเดินทางและนางผู้ที่เป็นที่รัก

4
1.3 ตัวละคร
- ฝ่ายไทย
1. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์คือคนที่ประกาศเอกราชกลังจากที่เสียไปให้กับพม่ามาถึง 15 ปี
รวมทั้งพระองค์ยังทรงขยายอาณาจักรให้กว้างใหญ่ อีกทั้งยังทำสงครามกับพม่า จนพม่าเกรงกลัวไม่กล้าที่จะมารบกับ
ไทยอีกเลยเป็นเวลากว่าร้อยปี พระองค์ทรงเสด็จสววรคตในขณะที่ทำศึกสงครามกับกรุงอังวะ แต่เกิดอาการประชวร
พระองค์ประชวรได้เพียง 3 วัน ก็ทรงเสด็จสวรรคต
2. สมเด็จพระเอกาทศรถ ตลอดรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรทรงออกศึกร่วมกับสมเด็จเอกาทศรถ
3. พระมหาธรรมราชา ขุนพิเรนทรเทพ ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชา แล้วได้รับโปรด
เกล้าให้ไปครองเมืองพิษณุโลก สำเร็จราชการหัวเมืองฝ่ายเหนือ มีศักดิ์เทียบเท่าพระมหาอุปราช
4. สมเด็จพระวันรัต  ในคราวที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพ ท่านเป็นผู้เกลี้ยกล่อมให้พระยา
เกียรติ์ และพระยารามที่พระเจ้าหงสาวดีส่งมาให้ลอบกำจัดพระนเรศวร พระมหาเถรคันฉ่องทราบก่อน จึงนำความ
กราบทูลพระนเรศวร และเกลี้ยกล่อมให้ พระยาเกียรติ์ และพระยาราม รับสารภาพและเข้าร่วมกับพระนเรศวร
วีรกรรมอีกครั้งหนึ่งของท่านคือ การขอพระราชทานอภัยโทษ บรรดาแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จสมเด็จพระนเรศวร
ไม่ทัน ต้องโทษประหารชีวิต สมเด็จพระวันรัตได้ขอบิณฑบาต พระราชทานอภัยโทษบรรดาแม่ทัพนายกองทั้งหลาย
5. พระยาศรีไสยณรงค์ พระองค์เป็นแม่ทัพกองหน้าของพระนเรศวร มีกำลังพล 5 หมื่น ยกไปตั้งที่หนอง
ส่าหร่าย แต่ไม่สามารถต้านทางกองทัพของฝ่ายพม่าได้ จึงมีพระราชโองการในการให้ถอยทัพเพื่อจะไปโอบล้อมจนได้
รับชัยชนะ
6. พระราชฤทธานนท์ ปลัดทัพหน้าที่สมเด็จพระนเรศวรแต่งตั้งขึ้นเพื่อให้ไปรบเป็นเพื่อนกับพระยาศรีไสย
ณรงค์
7. เจ้าพระยาคลัง ทำหน้าที่รับผิดชอบด้านการต่างประเทศ ถูกอาญาประหารชีวิตเช่นเดียวกับเจ้าพระยา
คลัง แต่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ แล้วรับสั่งให้นำทัพ 5 หมื่นคน ไปตีถวายเป็นการไถ่โทษ
8. เจ้าพระยาจักรี ทำหน้าที่รับผิดชอบด้านการพลเรือน และดูแลหัวเมืองทางภาคกลางและภาคเหนือ ถูก
อาญาประหารชีวิตในคราวที่สมเด็จพระนเรศวรกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา แต่พระวันรัตมาขอพระราชทาน
อภัยโทษ สมเด็จพระนเรศวรพระราชทานอภัยโทษ แล้วรับสั่งให้นำทัพ ๕ หมื่นคน ไปตีเมืองตะนาวศรี และมริด
เป็นการไถ่โทษ
9. เจ้ารามราฆพ กลางช้างของพระนเรศวร หนึ่งในสี่ทหารที่ตามเสด็จทันในการทำยุทธหัตถี และไม่โดน
อาญาประหารชีวิต แถมยังได้รับการปูนบำเหน็จจากสมเด็จพระนเรศวร เพื่อตอบแทนความกล้าหาญ
5
10. นายมหานุภาพ ควาญช้างของสมเด็จพระนเรศวร ถูกทหารพม่ายิงเสียชีวิตในช่วงที่กระทำยุทธหัตถี
และได้รับพระราชทานยศและทรัพย์สิ่งของ ผ้าสำรดแก่บุตรภรรยา เป็นการตอบแทนความชอบ
11. หลวงมหาวิชัย พราหมณ์ผู้ที่ทำพิธีตัดไม้ข่มนาม ก่อนที่สมเด็จพระนเรศวรจะยกทัพออกรบ และ
 กระทำยุทธหัตถีจนได้รับชัยชนะ

- ฝ่ายพม่า
1. พระเจ้าหงสาวดี ดำรงตำแหน่งอุปราชในสมัยบุเรงนอง ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากบุเรงนอง
2. พระมหาอุปราช เป็นเพื่อนเล่นกันกับพระนเรศวรในสมัยที่พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงหงสาวดี ทรงทำงาน
สนองพระราชบิดาหลายครั้ง โดยเฉพาะราชการสงคราม และได้ถวายงานครั้งสุดท้ายในการยกทัพ ๕ แสนมาตีไทย
และสิ้นพระชนม์ในการทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
3. พระยาจิดตอง แม่กองการทำสะพานเชือกข้ามแม่น้ำกระเพิน
4. สมิงอะคร้าน สมิงป่อง สมิงซายม่วน กองลาดตระเวที่พระมหาอุปราชส่งให้มาเพื่อมาหาข่าวที่กองทัพ
ไทย ก่อนที่จะตัดสินใจเข้ามาทำศึกสงครามที่ไทย
5. เจ้าเมืองมล่วน ควาญช้างของพระมหาอุปราช ผู้ที่สมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้กลับไปแจ้งข่าวการแพ้
สงคราม และการสิ้นพระชนม์ของพระมหาอุปราชาแก่พระเจ้าหงสาวดี
6. มางจาชโร พี่เลี้ยงของพระมหาอุปราชา ผู้ที่ชนช้างกับพระเอกาทศรถ และถูกพระเอกาทศรถฟันด้วย
พระแสงของ้าวคอขาด

1.4 ฉากท้องเรื่อง
ลิลิตตะเลงพ่ายมีฉากท้องเรื่องอยู่ในกรุงศรีอยุธยาและกรุงหงสาวดีในสมัยอยุธยา

1.5 บทเจรจาหรือรำพึงรำพัน
พระมหาอุปราชารำพึงถึงนาง
มาเดียวเปลี่ยวอกอ้า                     อายสู
สถิตอยู่เอ้องค์ดู                                 ละห้อย
พิศโพ้นพฤกษ์พบู                              บานเบิก ใจนา
พลางคะนึงนุชน้อย                              แน่งเนื้อนวลสงวน
6
สลัดไดใดสลัดน้อง                      แหนงนอน ไพรฤ
เพราะเพื่อมาราญรอน                      เศิกไสร้
สละสละสมร                                    เสมอชื่อ ไม้นา
นึกระกำนามไม้                                แม่นแม้นทรวงเรียม
สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง                     ยามสาย
สายบ่หยุดเสน่ห์หาย                        ห่างเศร้า
กี่คืนกี่วันวาย                                    วางเทวษ ราแม่
ถวิลทุกขวบค่ำเช้า                              หยุดได้ฉันใด
  ถอดคำประพันธ์
  พระองค์ได้ออกเดินทางมาเพียงคนเดียวจึงรู้สึกเปล่าเปลี่ยวใจและน่าเศร้า เมื่อท่านชมต้นไม้และ
ดอกไม้ที่พบเห็นระหว่างทางก็รู้สึกเบิกบานพระทัยขึ้น แต่ก็ไม่ยังคงคิดถึงนางสนมทั้งหลายอยู่
ท่านเห็นต้นสลัดไดทรงดำริว่าเหตุใดต้องจากน้องมานอนป่า มาเพื่อทำสงครามกับข้าศึก เห็นต้นสละที่ต้อง
สละน้องมาเหมือนชื่อต้นไม้ เห็นต้นระกำที่ชื่อต้นไม้เหมือนอกพี่แท้ๆ
ต้นสายหยุดเมื่อสายก็หมดกลิ่น แต่ใจของพระมหาอุปราชาก็ไม่คลายรักนาง กี่วันกี่คืนที่จากนางก็มีแต่
ความทุกข์คิดถึงน้องทุกค่ำเช้า ไม่รู้ว่าจะหยุดรักนางได้อย่างไร

1.6 แก่นเรื่อง
ผู้ประพันธ์เรื่องลิลิตตะเลงพ่ายต้องการสะท้อนให้ผู้อ่านเห็นถึงความกล้าหาญและความเสียสละของ
บรรพบุรุษไทย และเป็นการสร้างกำลังใจให้คนไทยมีความรักและปกป้องแผ่นดินไทย。

การพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม
ในวรรณคดีต่างๆนั้น กวีและถ้อยคำต่างๆที่ใช้จะต้องมีความประณีตและอ่อนช้อยเหมาะสมมานำเสนอต่อ
ผู้อ่าน รวมถึงการใช้ภาษาที่พลิกแพลงไปมาเพื่อสร้างอรรถรสให้ในการอ่าน ทั้งที่ทั้งนั้นภาษาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำมา
เป็นประเด็นในการวิเคราะห์วรรณคดีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
2.1 การสรรคำ
ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นวรรณคดีมรดกล้ำค่าของคนไทยที่ทุกคนควรจะศึกษา เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ
ในวีรกรรมของนักรบ, กษัตริย์ไทยและภูมิใจในภาษาไทยที่กวีใช้ในการถ่ายทอดอารมณ์, ความรู้สึกและเรื่องราว
7
ได้อย่างมีคุณค่าทางดานวรรณศิลป์ ด้วยการใช้ถ้อยคำได้อย่างไพเราะ ดังนี้

1. การใช้คำที่เหมาะสมแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคล ผู้แต่งเลือกใช้คำที่แสดงฐานะของบุคคล ดังนี้


ภูบาลอื้นอำนวย    อวยพระพรเลิศลัน
จงอยุธย์อย่าพ้น                 แห่งเงื้อมมือเทอญ พ่อนา
จากโคลงบทนี้ กวีเลือกใช้คำที่มีศักดิ์คำสูง แสดงให้เห็นภาพเด่นชัดและไพเราะ เช่น
ภูบาล หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน
อยุธย์ หมายถึง ไม่พ่ายแพ้
อวยพระพร หมายถึง ถวายพระพร

2. การใช้คำโดยคำนึงถึงน้ำเสียง ความไพเราะของถ้อยคำหรือความงามของถ้อนคำนั่น พิจารณาที่การใช้


สัมผัส การเล่นคำ การเลียนเสียงธรมชาติ เป็นต้น จากบทประพันธ์ลิลิตตะเลงพ่ายมีการใช้เสียงที่เล่นคำมากมาย ดังนี้

2.1 มีการใช้สัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะในคำประพันธ์ทุกบท ทำให้เกิดความไพเราะมากขึ้น เช่น  


“เสร็จเสาวนีย์สั่งสนม เนืองบังคมคำราช พระบาทบทันนิทรา จวนเวลาล่วงสาง    พื้นนภางค์
เผือดดาว   แสงเงินขาวขอบฟ้า แสงทองจ้าจับเมฆ........ฯลฯ..........ขอลาองค์ท่านไท
ไปเผด็จดัสกรให้   เหือดเสี้ยนศึกสยาม   สิ้นนา”
สัมผัสสระ  ขาว - ฟ้า,ลา - ท่าน,ลา - ส่าง, จวน - ล่วง,ภางค์ - ดาว,ไท - ไป - ให้,สยาม - นา,ราช -
บาท - ทรา

สัมผัสพยัญชนะ เสร็จ - เสา - สั่ง - สนม,คม - คำ,ลา - ล่วง,จ้า - จับ,ท่าน - ไท,เผด็จ - ดัส,เสี้ยน -
สยาม - สิ้น
  2.2 มีการใช้สัมผัสพยัญชนะเดียวกันเกือบทั้งวรรค เช่น
กระเต็นกระตั้วตื่น   แตกคน
ยูงย่องยอดยูงยล          โยกย้าย
นกเปล้านกปลีปน              ปลอมแปลก กันนา
8
คล่ำคล่ำคลิ้งโคลงคล้าย    คู่เคล้าคลอเคลีย
วรรคที่ 1  เต็น - ตั้ว - ตื่น
วรรคที่ 3  ยูง - ย่อง - ยอด - ยูง - ยล
วรรคที่ 4  โยก - ย้าย
วรรคที่ 5  เปล้า - ปลี - ปน
วรรคที่ 6  ปลอม - แปลก
วรรคที่ 7  คล่ำ - คลิ้ง - โคลง - คล้าย
วรรคที่ 8  คู่ - เคล้า - คลอ - เคลีย

2.3 มีการใช้สัมผัสสระในแต่ละวรรคองโคลงแต่ละบาทคล้ายกลบท เช่น


สงครามความเศิกซึ้ง            แสนกล
จงพ่ออย่ายินยล                      แต่ตื้น
อย่าลองคะนองตน                   ตาชอบ ทำนา
การศึกลึกเล่ห์พื้น                     ล่อเลี้ยว หลอกหลอน
บาทที่ 1  คราม - ความ
บาทที่ 2  จง - ยล
บาทที่ 3  ลอง - นอง
บาทที่ 4  ศึก - ลึก
2.4 การเล่นคำ ในบทประพันธ์ ลิลิตตะเลงพ่ายมีการเล่นคำเพื่อให้เกิดความไพเราะ,ลึกซึ้งและเกิดอารมณ์
กระทบใจผู้อ่าน

2.5 การเล่นเสียงวรรณยุกต์  เช่น


สลัดไดใดสลัดน้อง    แหนงนอน ไพรฤ
เพราะเพื่อมาราญรอน          เศิกไสร้
 สละสละสมร                       เสมอชื่อ ไม้นา
9
นึกระกำนามไม้                   แม่นแม้นทรวงเรียม

2.6 การเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น


                  “....เจ้าพระยาไชยานุภาพ เจ้าพระยาปราบไตรจักร ตรับตระหนักสำเนียง เสียงฆ้องกลองปืนศึก อีก
เอิกก้องกาหล เร่งคำรนเรียกมัน ชันหู ชูหางเล่น แปร้นแปร๋แลคะไขว่.”

2.7 การใช้คำอัพภาส คือ การซ้ำอักษรลงหน้าคำศัพท์ ทำให้เกิดความไพเราะ เช่น


               “...สาดปืนไฟยะแย้ง แผลงปืนพิษยะยุ่ง พุ่งหอกใหญ่คะคว้าง ขว้างหอกซัดคะไขว่ไล่คะคลุกบุกบัน
เงื้อดาบฟันฉะฉาด ง่าง้าวฝาดฉะฉับ...”

2.8 การเรียบเรียงคำ
ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นประเภทโคลงสุภาพ โดยมีการใช้ภาษาโบราณ และมีการพรรณนาถึงเรื่องราวต่างๆ
1) เรียงข้อความที่บรรจุสารสำคัญไว้ท้ายสุด
อุรารานร้าวแยก        ยลสยบ
เอนพระองค์ลงทบ                ท่าวดิ้น
เหนือคอคชซอนซบ               สังเวช
วายชิวาตม์สุดสิ้น                 สู่ฟ้าเสวยสวรรค์

2) เรียงคำวลี หรือประโยคที่มีความสำคัญเท่าๆ กัน เคียงขนานกันไป


ขุนเสียมสามรรถต้าน   ขุนตะเลง
ขุนต่อขุนไป่เยง                  หย่อนห้าว
ยอหัตถ์เทิดลบองเลบง      อังกุศ ไกวแฮ
งามเร่งงามโทท้าว               ท่านสู้ศึกสาร


3) เรียบเรียงประโยคให้เนื้อหาเข้มข้นขึ้นไปตามลำดับดุจขั้นบันไดจนถึงขั้นสุดท้ายที่สำคัญที่สุด
พระทรงแสงดาบแก้ว   กับกร
โจมประจักฟันฟอน               เฟื่องน้ำ
10
ต่างฤทธิ์ต่างรบรอบ              ราญชีพ กันแฮ
สระท้านทุกถิ่นท่าถ้ำ             ท่งท้องชลธี

2.9 การใช้โวหาร
พลอยพล้าเพลียกถ้าท่าน ในรณ
บัดราชฟาดแสงพล พ่ายฟ้อน
พระเดชพระแสดงดล เผด็จคู่ เข็ญแฮ
ขาดด้าว โดยขวา

แสดงให้เห็นว่า กวีได้แต่งเพื่อพรรณนาการสู้รบของทหารสองฝ่ายทีสู้รบกันโดยใช้อาวุธ มีการตายกัน


- การใช้โวหารทำให้เกิดจินตนาการภาพ การใช้คำที่แสดงให้เห็นภาพการต่อสู้อย่างห้าวหาญของพลทหารทั้ง
สองฝ่ายที่ผลัดกันรุกรับกันด้วยอาวุธหลากหลายทั้งขอ ง้าว ทวน หอก ธนู จนต่างฝ่ายล้มตายไปเป็นจำนวนมาก ดัง
ตัวอย่าง ...คนต่อคนต่อรบ ของ้าวทบทะกัน ต่างฟันต่างป้องปัด วางสนัดหลังสาร  ขานเสียงคึกกึกก้อง  ว่องต่อว่อง
ชิงชัย ไวต่อไวชิงชนะ ม้าไทยพะม้ามอญ   ต่างเข้ารอนเข้าโรม ทวนแทงโถมทวนทบ  หอกเข้ารบรอหอก หลอกล่อไล่
ไขว่แคว้ง  แย้งธนูเหนี่ยวแรง ห้าวต่อห้าวหักหาญ ชาญต่อชาญหักเชี่ยว  เรี่ยวต่อเรี่ยวหักแรง แขงต่อแขงหักฤทธิ์
ต่างประชิดฟอนฟัน  ต่างประชันฟอนฟาด ล้วนสามารถมือทัด ล้วนสามรรถมือทาน ผลาญกันลงเต็มหล้า   ผร้า
กันลงเต็มแหล่ง แบ่งกันตายลงครัน ปันกันตายลงมาก ตากเต็มท่งเต็มเถื่อน ตากเต็มเผื่อนเต็มพง

- การใช้โวหารโดยการเปรียบเทียบ

ว่าสมเด็จพระนเรศวรมีฤทธิ์เหมือนพระรามยามต่อสู้กับทศกัณฐ์ ข้าศึกศัตรูที่พ่ายแพ้ไปเหมือนพล
ยักษ์ สมเด็จพระนเรศวรก็เหมือนองค์พระนารายณ์อวตารลงมา                          
บุญเจ้าจอมภพขึ้น            แผ่นสยาม
แสยงพระยศยินขาม                     ขาดแกล้ว
พระฤทธิ์ดั่งฤทธิ์ราม                     รอนราพณ์ แลฤ
ราญอริราชแผ้ว                        แผกแพ้ทุกภาย
ไพรินทรนาศเพี้ยง            พลมาร
พระดั่งองค์อวตาร                       แต่กี้
แสนเศิกห่อนหาญราญ                    รอฤทธิ์ พระฤ
11
ดาลตระดกเดชลี้                      ประลาตหล้าแหล่งสถาน
เสร็จเสวยศวรรเยศอ้าง   ไอยศูรย์ สรวงฤ
เย็นพระยศปูนเดือน           เด่นฟ้า
เกษมสุขส่องสมบูรณ์         บานทวีป
สว่างทุกข์ทุกธเรศหล้า       แหล่งล้วนสรรเสริญ ฯลฯ
ถอดคำประพันธ์ได้ว่า อำนาจแห่งพระนเรศวรมหาราชกษัตริย์ไทย แค่ศัตรูได้ยินเพียงชื่อ ก็พากันเกรงกลัว เมื่อมีใครมา
ทำศึกสงครามก็ต้องพ่ายแพ้กลับไปข้าศึกล้มตายไปเหมือนทหารยักษ์ พระองค์เปรียบเสทือนดั่งพระรามอวตารลงมาปราบศัตรู
ต่อให้มีศัตรูเป็นแสน ก็ไม่มีผู้มดสามารถต่อสู้ฤทธ์อำนาจของพระองค์ได้ ต่างก็พากันตกใจแล้วก็หนีกลับไปยังประเทศของตน
พระบารมีของพระองค์ที่มีทำให้บ้านเมืองไทยมีแต่ความสงบ อุดมสมบูรณ์ ไม่มีทุกข์ภัยมาเยือน จนเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ

การพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรม
วรรณคดีและวรรณกรรม ไม่ได้เป็นแค่เรื่องเล่าหรือเรื่องราวที่แต่งขึ้นมาเพื่อให้อ่านแบบนิทานทั่วไป หาก สิ่งนี้
แฝงไปด้วยคุณธรรมในหลายๆด้านที่สอนใจมากมายและยังสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของผู้เขียน ดังนั้น วรรณกรรม
ต่างมีบทบาทความสำคัญ ซึ่งคุณค่าเหล่านี้สามารถเห็นได้ตาม ดังนี้

3.1 คุณค่าด้านอารมณ์
1. สะท้อนถึงอารมณ์โกรธแค้นและสะเทือนใจ
พระผาดผายสู่ห้อง         หาอนุชนวลน้อง
หนุ่มเหน้าพระสนม             ปวงประนมนบเกล้า
งามเสงี่ยมเฟี้ยมเฝ้า        อยู่ถ้าทูลสนอง
กรตระกองกอดแก้ว           เรียมจักร้างรสแคล้ว
คลาดเคล้าคลาสมร        จำใจจรจากสร้อย
อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แล
ถอดคำประพันธ์ได้ว่า พระมหาอุปราชาเสด็จไปลานางสนมซึ่งร่ำไห้คร่ำครวญ และขอตามเสด็จด้วย
แต่พระมหาอุปราชาได้ตรัสว่าหนทางลำบากนัก พระองค์จำใจจากเหล่าสนมไปในไม่ช้าก็คงจะได้กลับคืนมา

  2. ใช้ถ้อยคำเกิดความเศร้าสะเทือนใจสงสารในชะตากรรมของตัวละคร
                           สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง        ยามสาย
12
สายบ่หยุดเสน่ห์หาย                      ห่างเศร้า

กี่คืนกี่วันวาย                                 วางเทวษ ราแม่

ถวิลทุกขวบค่ำเช้า                        หยุดได้ฉันใด

3.2. คุณค่าด้านคุณธรรม
1.สอนให้รู้จักรอบคอบไม่ประมาท

จากเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย จะสามารถเห็นความรอบคอบและความไม่ประมาทในตัวของพระนเรศวรได้ชัดเจน
ซึ่งทำให้พระเองค์เป็นกษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถมากที่สุด

2. สอนให้รู้จักการวางแผน

พระนเรศวรได้ทรงวางแผนมากมายเมื่อถูกข้าศึกบุกรุก เพื่อเตรียมพร้อมกับการรับมือ เช่นตอนที่ได้ทรง


เปลี่ยนแผนจากการตีเขมรเป็นรับศึกจากพม่าแทน เป็นต้น

3.สอนให้รู้จักกตัญญู

ได้แสดงให้เห็นถึงความรักของพระมหาอุปราชาที่มีต่อพระบิดา และแสดงให้เห็นถึงความกตัญญูและความ
ห่วงใยที่ท่านมีต่อพระบิดาในขณะที่กำลังออกรบอยู่

3.3 คุณค่าด้านวรรณศิลป์

1. การสรรคำ ลิลิตตะเลงพ่ายส่งเสริมให้คนไทยเกิดความภาคภูมิใจในวีรกรรมของ นักรบไทยและภาษาไทยที่


ผู้แต่งได้ใช้เรื่องราวได้อย่างมีคุณค่า
1.1การใช้คำที่เหม่าะแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคล กวีได้มีการใช้คาที่เหมาะสมตามฐานะ และมี
ความไพเราะ เช่น นฤนาถ หมายถึง กษัตริย์
1.2 การใช้คาโดยคานึงถึงเสียง ในลิลิตตะเลงพ่ายมรความไพเราะของถ้อยคา โดยการใช้สัมผัส การ
เล่นคำ การเลียนเสียงธรรมชาติ ใช้สัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะในคำประพันธ์ทุกบท เกิดความไพเราะ
1. สัมผัสสระ ได้แก่ เข้า – เช้า, รามัญ – ทัน, พม่า – กล้า, แทง – แข็ง, ฉาด – ฟาด
13
2.สัมผัสพยญัชนะได้แก่ ขับ–แขง–เข้ายัน–ยนื –ยทุ ธ์, คะ–คว้าง,บุก–บัน,ฉะ–ฉาด,ง่า–ง้าว,ฉะ–ฉับ
การเล่นคำ เพื่อให้มีความลึกซึ้งและเกิดอารมณ์ต่อผู้อ่าน

2. การใช้โวหาร กวีเลือกใช้ถ้อยคาในการบรรยาย พรรณนาและเปรียบเทียบได้อย่างเหมาะสม ทำให้ผู้อ่าน


มองเห็นภาพชัดเจน
2.1 การใช้คำให้เกิดจินตภาพ ใช้คำที่แสดงให้เห็นภาพการต่อสู้อย่างห้าวหาญของพลทหาร
เป็นจานวนมาก
2.2 การใช้โวหารโดยการเปรียบเทียบ กวีได้เปรียบเทียบสมเด็จพระนเรศวรมีฤทธิ์เหมือนพระราม
ยามต่อสู้กับทศกัณฐ์
2.3 การใช้ถ้อยคาสร้างอารมณ์และความรู้สึก ด้วยความปรีชาในด้านภาษาอย่างลึกซึ้งของกวี ส่งผล
ให้ผู้อ่านเกิดความสะเทือนอารมณ์

14
บรรณานุกรม

สมศักด์ิ อัมพรวิสิทธิ์โสภา และธัญลักษณ์ จุ้ยเรือง. (2537). หลักภาษา และการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสาร


วรรณคดีวิจักษ์ ม.5. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์ภูมิบัณฑิต.

15

You might also like