You are on page 1of 15

การย้อมผ้าย้อมม่อฮ่อม

จัดทาโดย
นางสาววราลักษณ์ ประสงค์พันธ์
นางสาวพิชารัฐ สละมัจฉา
และนางสาวพรทิพย์ พลเทพ

1
ม่อฮ่อม หรือ หม้อห้อม หมายถึงเสื้อผ้าที่ทาจากผ้าฝ้าย
มีสีน้าเงินเข้มที่ได้จากการย้อมด้วยต้นห้อมในหม้อดิน จึง
เรียกว่า "หม้อห้อม" ก่อนจะเพี้ยนมาเป็น "ม่อฮ่อม" หรือ "ม่อ
ห้อม" หม้อห้อม จัดเป็นเครื่องแต่งกายพื้นบ้านของไท
ตั้งแต่ไทลื้อในสิบสองปันนา ลาวในประเทศลาว และไท
ล้านนา ทางภาคเหนือของไทย [1]

http://www.klongdigital.com/images_webboard3/id_34972_75.jpg
กระบวนการเตรียมและย้อมม่อฮ่อม [4] 3
ขั้นตอนการเตรียมการย้อม
1. สีย้อมผ้าจากต้นห้อม เริ่มจากการนาลาต้นและใบของต้น
ห้อม มามัดแช่น้าคลอง หรือน้าฝน (ห้ามใช้น้าประปา) เก็บไว้
ในถัง หรือโอ่งน้าขนาดใหญ่ จนลาต้นและใบเน่าได้ที่
ประมาณ 72 ชั่วโมง ได้น้าสีเขียวไข่กาที่มีกลิ่นเหม็น จากนั้น
นาใบห้อมที่เน่าแล้วทิ้งไป และนาใบห้อมใหม่มาหมักในน้า
เดิมจนเน่าเหม็นเข้มข้นขึ้น น้าที่ได้จะมีสีครามเข้ม กรองกาก
ห้อมทิ้งเหลือแต่น้า ต่อจากนั้นนาปูนขาวมาผสม ตีจนเป็น
ฟองให้เข้ากัน แล้วกรองน้าด้วยผ้าขาวบาง จะได้สีย้อมสี
ครามเข้ม (สีคราม) 4
ต้นคราม

ต้นห้อม หรือ ฮ่อม 5

ถังพลาสติกเจาะรูเล็กๆ ที่ก้นถัง แล้วใส่ขี้เถ้า


2. การทาน้าคราม นาถังพลาสติกเจาะรูเล็กๆ ที่ก้นถัง แล้วใส่ขี้เถ้า
ต่อจากนั้นเทน้าคลอง หรือน้าฝน ให้เต็ม นาถังเปล่ารองน้าด่างที่ได้
จากการกรองน้าขี้เถ้าด้านล่าง (น้าด่างที่นามาใช้เป็นน้าใสที่อยู่
ตอนบน น้าที่ได้จะมีฤทธิ์เป็นด่าง เวลาจับจะรู้สึกลื่นเหมือนน้าสบู่ )
นาน้าด่างที่ได้มาใช้เป็นตัวละลายสีครามที่ได้จากการหมักต้นห้อม
เทน้าด่างใส่โอ่ง หรือหม้อใบใหญ่ (“หม้อห้อม”) แล้วเทน้าคราม
ตาม จากนั้นใส่ปูนขาวพอประมาณ คนให้เข้ากัน จะได้น้าครามที่
พร้อมสาหรับการจก (การจก คือการตักน้าครามขึ้นมาด้วยขันแล้ว
เทให้สูงๆ คล้ายๆ การทาชาชัก ระวังสีกระเด็นใส่เสื้อ)
6
หมักต้นห้อม เทน้าด่างใส่โอ่ง หรือหม้อใบใหญ่ (“หม้อห้อม”) 7
การจก คือการตักน้าครามขึ้นมาด้วยขัน 8

แล้วเทให้สูงๆ คล้ายๆ การทาชาชัก


ขั้นตอนการทาเสื้อผ้าหม้อห้อม
หลังจากที่มีการจัดเตรียมสีย้อมที่ได้จากต้นฮ่อม ไว้ในโอ่งเรียบร้อยแล้ว
ขั้นตอนการย้อมก็ทาได้อย่างง่าย ๆ ดังนี้
1. นาผ้าฝ้ายสีขาว (ผ้าดิบ) ตัดเย็บตามแบบที่ต้องการให้เรียบร้อย หรือ
อาจตัดผ้าเป็นผืนก็ได้ นาไปแช่ในโอ่งหรือถังน้าสะอาดธรรมดา เพื่อให้
แป้งหรือสิ่งสกปรกที่ติดมากับเนื้อผ้าหลุดออกหมด จากนั้นนาผ้ามาตาก
แดดให้แห้ง
2. นาผ้าดิบแห้งหมาดๆ จุ่มลงในโอ่งที่บรรจุสีย้อมทีเ่ ตรียมไว้แล้ว สวมถุง
มือยางขยาผ้า ถ้าไม่ขยาจะทาให้สีของเนื้อผ้าไม่สม่าเสมอ จากนั้นนาผ้าที่
ขยาเสร็จ มาผึ่งลมไว้จนหมาด นาผ้าที่ตากใว้ซึ่งแห้งหมาดๆ มาทาซ้า
อย่างเดิมอีกประมาณ 5-6 ครั้ง จนสีผ้าเป็นสีครามเข้ม (การย้อมซ้าหลาย
9
ครั้งมีข้อดี คือ สีครามที่ย้อมจะติดผ้าทั่วผืน สีเสมอกัน และสีที่ย้อมจะติด
ทนนาน)
3. นาผ้าที่ผ่านการย้อมแล้วไปตากให้แห้ง สามารถนาไปใช้งานได้
ข้อดีของการย้อมสีฮ่อม หรือสีห้อม
1. เป็นสีที่เกิดจากธรรมชาติ ไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม (เป็นสีที่เป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อม)
2. ไม่เป็นอันตราย ปราศจากโลหะหนัก ไม่เหมือนกับสีสังเคราะห์ ที่
อาจจะมีโลหะหนัก หรือสารเคมีจานวนมากเจือปน
3. การย้อมครามด้วยฮ่อม หรือห้อม จะเป็นการย้อมเย็น แต่การย้อมสี
สังเคราะห์จะเป็นสีย้อมร้อน (60oC ขึ้นไป)
4. น้าย้อมฮ่อม หรือห้อม สามารถย่อยสลายเองตามธรรมชาติ
5. สามารถใช้ย้อมได้หลายครั้งไม่จาเป็นต้องทิ้งน้าย้อมทีห่ มักไว้แล้ว
10
ยกเว้นถ้าหากไม่ได้จก (เติมอากาศ) จะต้องเติมน้าด่าง น้าแป้งบ้าง แล้ว
ต้องจกให้จุลินทรีย์ในน้าย้อมทางานต่อไป
6. ผ้าย้อมฮ่อม หรือห้อม มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ไม่เหมือนกับสี
สังเคราะห์ที่ผ้าอาจมีกลิ่นเหม็น
7. ผ้าย้อมฮ่อม หรือห้อม ไม่ได้เติมสารเคมี แตกต่างจากสี
สังเคราะห์เติมผงเหม็น (โซเดียมไฮโดรซัลไฟท์) และด่าง
โซดาไฟ (โซเดียมไฮดรอกไซด์) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่างสูง อาจกัด
ผิวหนังผู้ย้อม และผู้สวมใส่ได้ แถมมีกลิ่นเหม็นแบบไข่เน่า
8. ผ้าย้อมฮ่อมจะซีดจางลง แต่น้าที่ซักจะไม่ตกติดสีกับผ้า
ฝ้ายที่ซักร่วมกัน ในขณะที่สีสังเคราะห์จะไม่ซีดจาง เมื่อ
11
ผ่านการซักล้าง
ข้อเสีย
1. ค่อนข้างยุ่งยากหลายขั้นตอน
2. ต้นฮ่อม หรือห้อม ต้องปลูกในที่เย็นๆ และใช้เวลานานในการทาให้มีใบ และลาต้น
ในการเอาไปหมัก

12
13
14
เอกสารอ้างอิง
[1] จุลจันทร์ นันทมาลา, "ม่อฮ่อม" หรือ "หม้อห้อม"
[2] ยามหนึ่ง อนาคาริก, ห้อม ใบไม้มหัศจรรย์ "ถ้ามันตาย มันจะไม่เป็น", เนชั่นสุด
สัปดาห์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 858, 7 พฤศจิกายน 2551, หน้า 65
[3] http://th.wikipedia.org ค้นหาคาว่า “ม่อฮ่อม”
[4] แก้ววรรณาหม้อห้อมธรรมชาติ เมืองแพร่
http://kaewwanna.blogspot.com/
[5] http://www.chiangmaithaitravel.com/581
[6] ข้อมูลจากวิสาหกิจชุมชนหม้อห้อมทุ่งเจริญฯ อ.ทุ่งโฮ้ง จ.แพร่

15

You might also like