You are on page 1of 224

คำ�นำ�

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอลเล่มนี้ กรมพลศึกษา โดยสถาบันพัฒนาบุคลากร


การพลศึกษาและการกีฬา จัดทำ�ขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล
ให้มีความทันสมัย มีมาตรฐานสูงขึ้น สอดคล้องกับการจัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล
ในปัจจุบัน และมอบให้แก่ผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอลอาชีพ ผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอลทั่วไป
และผู้สนใจ ได้ใช้เป็นคู่มือในการตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล ทั้งนี้การดำ�เนินการได้รับความร่วมมือ
จากสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทยและผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาวอลเลย์บอลมาเป็น
วิทยากรและร่วมจัดทำ�ต้นฉบับ
กรมพลศึกษา ขอขอบคุณสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทยและผู้เชี่ยวชาญ
ทุกท่าน ทีม่ สี ว่ นร่วมในการจัดทำ�คูม่ อื ผูต้ ดั สินกีฬาวอลเลย์บอลเล่มนี้ จนสำ�เร็จลุลว่ ง เป็นอย่างดี
และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล และผู้ที่สนใจ
ทัว่ ไปได้ศกึ ษาค้นคว้า และนำ�ไปใช้ในการพัฒนาการตัดสินและการจัดการแข่งขัน กีฬาวอลเลย์บอล
ให้มีมาตรฐานสูงขึ้น สนองต่อนโยบายและแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติต่อไป

กรมพลศึกษา
มีนาคม 2555
VOLLEYBALL
สารบัญ หน้า

คำ�นำ�
หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล 1
(Training Course of Volleyball Referee)
ประวัติความเป็นมาของกีฬาวอลเลย์บอล 8
(The History of Volleyball)
คุณลักษณะของผู้ตัดสินที่ดี 20
(Qualities of A Good Referees)
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล 24
(General Knowlede : Volleyball Referee)
จิตวิทยาสำ�หรับผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล 30
(Psycology for Volleyball Referee)
แนวทางและข้อแนะนำ�ในการตัดสิน 37
(Refereeing Guidelines and Instructions)
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการตัดสิน 68
(Criteria Consideration for Judging)
เทคนิคการปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินที่ 1 74
st
(Technical Performance : 1 Referee)
เทคนิคการปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินที่ 2 102
nd
(Technical Performance : 2 Referee)
เทคนิคการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เทคนิค 132
(Technical Performance of Volleyball Technician)
เทคนิคการเป็นผู้กำ�กับเส้น 132
(Line Judges)
เทคนิคการเป็นผู้บันทึก 137
(Scorer)
เทคนิคการเป็นผู้ช่วยผู้บันทึก 148
(Assistant Scorer)
VOLLEYBALL
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
เทคนิคการเป็นผู้ประกาศ 149
(Announcer)
เทคนิคการเป็นเจ้าหน้าที่เช็ดพื้น 152
(Floor Mopping)
เทคนิคการเป็นเจ้าหน้าที่ส่งลูกบอล 154
(Ball Retriever)
กติกาการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล 155
(Rules of Volleyball)
สิ่งอำ�นวยความสะดวกและอุปกรณ์ 156
(Facilities and Equipments)
ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน 161
(Participants)
รูปแบบของการแข่งขัน 165
(Playing Format)
ลักษณะของการเล่น 170
(Playing Action)
การหยุดการแข่งขัน การหยุดพัก และการถ่วงเวลา 179
(Interruptions and Delays)
ผู้เล่นตัวรับอิสระ 185
(The Libero Player)
การปฏิบัติของผู้ร่วมการแข่งขัน 189
(Participant’s Conduct)
ผู้ตัดสิน 192
(Referees)
หนังสืออ้างอิง 200
บรรณานุกรม 201
ภาคผนวก 202
คณะกรรมการจัดทำ�คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล 215
ห ลักสูตรการฝึกอบรมผู้ตัดสิน
กีฬาวอลเลย์บอล
ระยะเวลาดำ�เนินการ : จำ�นวน 5 วัน
เนื้อหาหลักสูตร :
ลำ�ดับ กิจกรรม บรรยาย ทดสอบ จำ�นวน
ที่ เนื้อหา สาธิต อภิปราย ฝึกปฏิบัติ สื่อนวัตกรรม ประเมินผล ชัว่ โมง
1 ประวัติกีฬาวอลเลย์บอล 1.30 .30 - - - 2
- คุณลักษณะผู้ตัดสินที่ดี
- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตัดสิน
กีฬาวอลเลย์บอล
2 กติกา 3 1 - - - 4
บทที่ 1 สิง่ อำ�นวยความสะดวกและอุปกรณ์
บทที่ 2 ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
บทที่ 3 รูปแบบของการแข่งขัน
3 กติกา 3 .30 - - - 3.30
บทที่ 4 ลักษณะของการเล่น
บทที่ 5 การหยุดการแข่งขัน
การถ่วงเวลาและการหยุดพัก
บทที่ 6 ผู้เล่นตัวรับอิสระ
บทที่ 7 การปฏิบัติของผู้ร่วมการแข่งขัน
4 การวิเคราะห์กติกาการแข่งขัน ขั้นตอน 3 1 - - - 4
พิธีการก่อนการแข่งขัน การประชุมเพื่อ
พิจารณาคำ�ตัดสิน
5 หลักเกณฑ์ในการพิจารณาในการตัดสิน 3 .30 - - - 3.30
เทคนิคการปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินที่ 1
เทคนิคการปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินที่ 2

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 1
ลำ�ดับ กิจกรรม บรรยาย ทดสอบ จำ�นวน
ที่ เนื้อหา สาธิต อภิปราย ฝึกปฏิบัติ สื่อนวัตกรรม ประเมินผล ชัว่ โมง
6 เทคนิคการปฏิบัติหน้าที่ 3 1 - - - 4
เจ้าหน้าที่เทคนิค
ผู้กำ�กับเส้น
ผู้บันทึก
ผู้ช่วยผู้บันทึก
ผู้ประกาศ
เจ้าหน้าที่เช็ดพื้น
เจ้าหน้าที่ส่งลูกบอล
7 ฝึกปฏิบัติการเป็นผู้ตัดสินที่ 1 - 1.30 6 - - 7.30
ผู้ตัดสินที่ 2 และเจ้าหน้าที่เทคนิค
8 สอบภาคทฤษฎี - - - - 1.30 1.30
9 สอบภาคปฏิบัติการเป็นผู้ตัดสิน - - - - 4 4
รวม 34

หมายเหตุ : รวมเวลาในการฝึกอบรม 34 ชั่วโมง

2 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ตารางการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล
เวลา 12.00 น.
08.30 - 10.00 น. 10.00 - 12.00 น. ถึง 13.00 - 15.00 น. 15.00 - 17.00 น.
วันที่ 13.00 น.

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
- ประวัติกีฬาวอลเลย์บอล กติกา
บทที่ 1 สิ่งอ�ำนวยความสะดวกและอุปกรณ์
วันที่ 1 ลงทะเบียน พิธีเปิดการอบรม - คุณลักษณะผู้ตัดสินที่ดี
- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตัดสิน บทที่ 2 ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
กีฬาวอลเลย์บอล บทที่ 3 รูปแบบของการแข่งขัน
กติกา
บทที่ 4 ลักษณะของการเล่น การวิเคราะห์กติกาการแข่งขัน
วันที่ 2 บทที่ 5 การหยุดการแข่งขัน การถ่วงเวลาและการหยุดพัก ขั้นตอน พิธีการก่อนการแข่งขัน
บทที่ 6 ผู้เล่นตัวรับอิสระ การประชุมเพื่อพิจารณาค�ำตัดสิน
บทที่ 7 การปฏิบัติของผู้ร่วมการแข่งขัน
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาในการตัดสิน เทคนิคการปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่เทคนิค
วันที่ 3 เทคนิคการปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินที่ 1 รับประทานอาหาร 1 ชั่วโมง (ผู้ก�ำกับเส้น, ผู้บันทึก, ผู้ช่วยผู้บันทึก, ผู้ประกาศ, เจ้าหน้าที่เช็ดพื้น
เทคนิคการปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินที่ 2 และเจ้าหน้าที่ส่งลูกบอล)
วันที่ 4 ฝึกปฏิบัติการเป็นผู้ตัดสินที่ 1 ผู้ตัดสินที่ 2 และเจ้าหน้าที่เทคนิค ฝึกปฏิบัติการเป็นผู้ตัดสินที่ 1 ผู้ตัดสินที่ 2 และเจ้าหน้าที่เทคนิค
วันที่ 5 สอบภาคทฤษฎี สอบภาคปฏิบัติการเป็นผู้ตัดสิน สอบภาคปฏิบัติการเป็นผู้ตัดสิน พิธีปิด

3
หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล
จ�ำนวนไม่น้อยกว่า 34 ชั่วโมง

จุดประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในการตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอลได้
3. เพือ่ เป็นพืน้ ฐานให้แก่ผเู้ ข้ารับการอบรมได้รบั การพัฒนาสูก่ ารเป็นผูต้ ดั สินระดับนานาชาติ
และระดับโลก

เนื้อหาของหลักสูตร
1. ประวัติความเป็นมาของกีฬาวอลเลย์บอล
ประวัติของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
ประวัติกีฬาวอลเลย์บอลในเอเชีย
2. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตัดสิน
การแบ่งระดับชั้นของผู้ตัดสิน
สิทธิและหน้าที่ของผู้ตัดสิน
3. คุณลักษณะของผู้ตัดสินที่ดี
4. จิตวิทยาส�ำหรับผู้ตัดสิน
5. แนวทางและข้อแนะน�ำในการตัดสิน
6. หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการตัดสิน
7. เทคนิคการปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินที่ 1
8. เทคนิคการปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินที่ 2
9. เทคนิคการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เทคนิค
10. กติกาการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล
11. การประสานงานกันของคณะกรรมการการตัดสิน
12. การบันทึกผลการแข่งขัน
13. ขั้นตอนพิธีการก่อนการแข่งขัน
การประเมินผล
1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องมีเวลาเข้าอบรมไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของเวลาทั้งหมด
2. เกณฑ์การประเมิน

4 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
2.1 สอบผ่านภาคทฤษฎี (ข้อเขียน) ได้ไม่น้อยกว่า 75 เปอร์เซ็นต์
2.2 สอบผ่านภาคปฏิบัติได้ไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
2.2.1 ผู้ตัดสินที่ 1 (30 คะแนน)
2.2.2 ผู้ตัดสินที่ 2 (30 คะแนน)
2.2.3 ผู้บันทึก (20 คะแนน)
2.2.4 ผู้ช่วยบันทึก (10 คะแนน)
2.2.5 ผู้ก�ำกับเส้น (10 คะแนน)

การจัดเตรียมอุปกรณ์และสิ่งอ�ำนวยความสะดวก ส�ำหรับการฝึกอบรม
ภาคทฤษฎี
1. โปรเจคเตอร์ + คอมพิวเตอร์ 1 ชุด
2. กระดานไวท์บอร์ดพร้อมปากกาไวท์บอร์ดชนิดลบได้
3. เอกสารประกอบค�ำบรรยาย (วิทยากรจัดเตรียมต้นฉบับให้)
ภาคปฏิบัติ
จัดเตรียมสนามแข่งขัน พร้อมอุปกรณ์การแข่งขัน ได้แก่
• ป้ายบอกคะแนน จ�ำนวน 2 ป้าย
• ใบบันทึกคะแนนตามจ�ำนวนผู้รับการอบรม คนละ 3 ใบ
• ใบส่งต�ำแหน่ง จ�ำนวน 30 ชุด
• ม้านั่งส�ำหรับทีม จ�ำนวน 2 ชุด
• โต๊ะผู้บันทึก จ�ำนวน 1 ชุด
• ออดหรือกริ่งสัญญาณไฟฟ้า จ�ำนวน 1 ชุด
• ป้ายเปลี่ยนตัวหมายเลข 1-18 จ�ำนวน 1 ชุด
• เก้าอี้ผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล จ�ำนวน 1 ชุด
• ธงส�ำหรับผู้ก�ำกับเส้น จ�ำนวน 1 ชุด
• เครื่องเสียงพร้อมผู้ประกาศ จ�ำนวน 1 ชุด
• กระดาษกาว/เทปกาวสีแดง (เขตลงโทษ) ยาว 10 เมตร
• ไม้วัดความสูงตาข่าย จ�ำนวน 1 อัน
• ตาข่าย จ�ำนวน 1 ผืน
• เสาติดตาข่าย จ�ำนวน 1 คู่
• ใบเหลือง - ใบแดง จ�ำนวน 1 ชุด
• เสาอากาศวอลเลย์บอล จ�ำนวน 1 คู่

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 5
ตัวอย่าง
ก�ำหนดการฝึกอบรมผู้ตัดสินวอลเลย์บอลระดับชาติ
วันที่ 1 08.00 น. ลงทะเบียน
09.00-09.30 น. พิ ธี เ ปิ ด การฝึ ก อบรม แนะน�ำวิ ท ยากรและผู ้ เข้ า รั บ การฝึ ก อบรม
แนะน�ำหลักสูตรและแนวทางการอบรม
09.30-10.30 น. บรรยาย 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตัดสิน, คุณลักษณะของผู้ตัดสินที่ดี
10.30-10.45 น. พัก
10.45-12.00 น. บรรยาย 2 กติกาข้อที่ 1-5 (สนาม ตาข่าย ลูกบอล ทีม ผู้น�ำของทีม)
พร้อมแนวทางและข้อแนะน�ำการตัดสินที่เกี่ยวข้อง
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30 น. บรรยาย 3 กติกาข้อ 6-8 (การได้คะแนน โครงสร้างของการแข่งขัน
รูปแบบของการเล่น) พร้อมแนวทางและข้อแนะน�ำการตัดสินทีเ่ กีย่ วข้อง
14.30-14.45 น. พัก
14.45-16.30 น. บรรยาย 4 ประวัติความเป็นมาของกีฬาวอลเลย์บอล จิตวิทยา
ส�ำหรับผู้ตัดสิน
วันที่ 2 09.00-10.30 น. บรรยาย 5 กติกาข้อ 9-11 (การเล่นลูก ลูกบอลที่บริเวณตาข่าย
ผูเ้ ล่นทีบ่ ริเวณตาข่าย) พร้อมแนวทางและข้อแนะน�ำการตัดสินทีเ่ กีย่ วข้อง
10.30-10.45 น. พัก
10.45-12.00 น. บรรยาย 6 กติ ก าข้ อ 12-14 (การเสิ ร ์ ฟ การรุ ก การสกั ด กั้ น )
พร้อมแนวทางและข้อแนะน�ำการตัดสินที่เกี่ยวข้อง
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30 น. บรรยาย 7 กติกาข้อ 15-17 (การหยุดการแข่งขัน การถ่วงเวลาการแข่งขัน
การหยุดการแข่งขันทีย่ กเว้น) พร้อมแนวทางและข้อแนะน�ำการตัดสิน
ที่เกี่ยวข้อง
14.30-14.45 น. พัก
14.45-16.30 น. บรรยาย 8 กติกาข้อ 18-19 (การหยุดพักและการเปลี่ยนแดน,
ผู้เล่นตัวรับอิสระ) พร้อมแนวทางและข้อแนะน�ำการตัดสินที่เกี่ยวข้อง
วันที่ 3 9.00-10.30 น. บรรยาย 9 กติกาข้อ 20-22 (มรรยาทของผูเ้ ข้าแข่งขัน การผิดมรรยาท
และการลงโทษ คณะกรรมการตัดสินและการท�ำหน้าที่) พร้อมแนวทาง
และข้อแนะน�ำการตัดสินที่เกี่ยวข้อง
10.30-10.45 น. พัก
10.45-12.00 น. บรรยาย 10 กติกาข้อ 23-24 (ผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ตัดสินที่ 2)
พร้อมแนวทางและข้อแนะน�ำการตัดสินที่เกี่ยวข้อง
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30 น. บรรยาย 11 กติกาข้อ 25-28 (ผู้บันทึก ผู้ช่วยผู้บันทึก ผู้ก�ำกับเส้น
สัญญาณมือ) วิธีการบันทึกการแข่งขัน
6 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
14.30-14.45 น. พัก
14.45-16.30 น. ขัน้ ตอนพิธกี ารก่อนการแข่งขัน และการประชุมเพือ่ พิจารณาค�ำตัดสิน
วันที่ 4 09.00-10.30 น. สอบข้อเขียน
10.30-10.45 น. พัก
10.45-12.00 น. บรรยาย 12 การประสานงานระหว่างผู้ตัดสินที่ 1 กับผู้ตัดสินที่ 2
และผู้ตัดสินที่ 2 กับผู้บันทึกและผู้ช่วยผู้บันทึก
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30 น. ภาคปฏิบัติ 1 ฝึกปฏิบัติการแสดงสัญญาณมือ สัญญาณนกหวีด
สัญญาณธง
14.30-14.45 น. พัก
14.45-16.30 น. ภาคปฏิ บั ติ 2 นั ก กี ฬ า 2 ที ม ก�ำหนดหน้าที่ฝึกปฏิบัติผู้เข้ารับ
การอบรมทุกคน การท�ำหน้าที่ผู้ตัดสินที่ 1 ผู้ตัดสินที่ 2 ผู้ก�ำกับเส้น
ผู้บันทึก ผู้ช่วยผู้บันทึก
วันที่ 5 09.00-10.30 น. ภาคปฏิบัติ 3 นักกีฬา 2 ทีม ฝึกปฏิบัติการท�ำหน้าที่ผู้ตัดสินที่ 1
ผู้ตัดสินที่ 2 ผู้ก�ำกับเส้น ผู้บันทึกและผู้ช่วยผู้บันทึก (ต่อ)
10.30-10.45 น. พัก
10.45-12.00 น. ภาคปฏิบัติ 4 นักกีฬา 2 ทีม ฝึกปฏิบัติการท�ำหน้าที่ผู้ตัดสินที่ 1
ผู้ตัดสินที่ 2 ผู้ก�ำกับเส้น ผู้บันทึกและผู้ช่วยผู้บันทึก (ต่อ)
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.30 น. สอบภาคปฏิบัติ นักกีฬา 2 ทีม การท�ำหน้าที่ผู้ตัดสินที่ 1 ผู้ตัดสินที่ 2
ผู้ก�ำกับเส้น ผู้บันทึกและผู้ช่วยผู้บันทึก
วันที่ 6 09.00-12.00 น. สอบภาคปฏิบัติ นักกีฬา 2 ทีม การท�ำหน้าที่ผู้ตัดสินที่ 1 ผู้ตัดสินที่ 2
ผู้ก�ำกับเส้น ผู้บันทึกและผู้ช่วยผู้บันทึก (ต่อ)
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.30 น. สอบภาคปฏิบัติ นักกีฬา 2 ทีม การท�ำหน้าที่ผู้ตัดสินที่ 1 ผู้ตัดสินที่ 2
ผู้ก�ำกับเส้น ผู้บันทึก และผู้ช่วยผู้บันทึก (ต่อ)
วันที่ 7 09.00-12.00 น. สอบภาคปฏิบัติ 3 นักกีฬา 2 ทีม ฝึกปฏิบัติการท�ำหน้าที่ผู้ตัดสินที่ 1
ผู้ตัดสินที่ 2 ผู้ก�ำกับเส้น ผู้บันทึก และผู้ช่วยผู้บันทึก (ต่อ)
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30 น. สอบภาคปฏิบัติ นักกีฬา 2 ทีม การท�ำหน้าที่ผู้ตัดสินที่ 1 ผู้ตัดสินที่ 2
ผู้ก�ำกับเส้น ผู้บันทึก และผู้ช่วยผู้บันทึก (ต่อ)
14.30-14.45 น. พัก
14.45-15.30 น. อภิปราย-ซักถาม
15.30-16.30 น. พิธีปิดการฝึกอบรม
*ก�ำหนดการนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 7


ระวัติความเป็นมาของ
กีฬาวอลเลย์บอล
กีฬาวอลเลย์บอลได้เริม่ ขึน้ ทีเ่ มือ่ ค.ศ. 1895 โดยนายวิลเลีย่ ม จี มอร์แกน (William G.Morgan)
ผู้อ�ำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. (Young Men’s Christian) เมืองโฮลโยค
ในรัฐแมสซาชูเซตส์ (Holyoke, Massachusetts) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พยายามคิดค้น
หาเกมต่างๆ โดยใช้ยางในของลูกบาสเกตบอล และตีด้วยมือให้ข้ามตาข่าย โดยใช้ชื่อว่า มินโตเนต
(Mintonette) ต่อมาในปี 1896 ศาสตราจารย์อัลเฟรด ที ฮอลสเตด (Prof.Alfred T.Halstead)
ได้เสนอให้เปลี่ยนชื่อจาก “มินโตเนต (Mintonette)” เป็น “วอลเลย์บอล (Volleyball)”

ประวัติของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
ปี ค.ศ. 1895 นายวิลเลียม จี มอร์แกน (William G.Morgan) ได้คิดค้นเกมการเล่น
วอลเลย์บอลขึ้น ที่สมาคม Y.M.C.A. ในเมืองโฮลโยค รัฐแมสซาชูเซตส์
(Holyoke, Massachusetts) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้ชอื่ มินโตเนต (Mintonette)
ปี ค.ศ. 1896 ศาสตราจารย์อัลเฟรด ที ฮอลสเตด (Prof.Alfred T.Halstead) ได้เสนอให้
เปลีย่ นชือ่ จาก “มินโตเนต (Mintonette)” เป็น “วอลเลย์บอล (Volleyball)”
ปี ค.ศ. 1898 ประเทศแคนาดาได้พัฒนากีฬาวอลเลย์บอลเพื่อเป็นกิจกรรมนันทนาการ
(Recreation Activity)
ปี ค.ศ. 1905 ศาสตราจารย์เจ ฮาวาร์ด โครเกอร์ (Prof J. Haward Crocher) ได้น�ำ
กีฬาวอลเลย์บอลเข้าไปเผยแพร่ในประเทศจีน (China)
ปี ค.ศ. 1908 นายแฟรงกิน เอช บราวน์ (Franklin H.Brown) ได้น�ำกีฬาวอลเลย์บอล
เข้าไปเผยแพร่ในประเทศญี่ปุ่น (Japan)
ปี ค.ศ. 1910 นายเอลวูด๊ เอส บราวน์ Elwood S.Brown ช่วยจัดตัง้ สมาคมวอลเลย์บอล
ในประเทศฟิลปิ ปินส์ (Philippines)
ปี ค.ศ. 1913 ได้มีการบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลเข้าในการแข่งขันกีฬาภาคพื้นตะวันออกไกล
(Far Eastern Games) ครั้ ง ที่ 1 ณ กรุ ง มะนิ ล า ประเทศฟิ ลิ ป ปิ น ส์
(Manila, Philippines)
ปี ค.ศ. 1918 ได้ก�ำหนดให้ใช้ผู้เล่นข้างละ 6 คน
ปี ค.ศ. 1922 ได้ก�ำหนดกติกาให้แต่ละทีมเล่นลูกได้ไม่เกิน 3 ครัง้ และได้มกี ารก่อตัง้ สมาคม
วอลเลย์บอลและบาสเกตบอลขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศเชคโกสโลวาเกีย
8 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ปี ค.ศ. 1928 มีการก่อตัง้ สมาคมวอลเลย์บอลขึน้ ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการจัดการแข่งขัน
วอลเลย์บอลชิงชนะเลิศแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 1 ที่ Brooklyn
Central Y.M.C.A. (USA National Volleyball Championships)
ปี ค.ศ. 1933 ได้บรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงในการแข่งขันกีฬา Central American และ
Caribbean Game ในกรุงซาน ซิลวาดอร์ (San Salvador) ประเทศ
เอลซัลวาดอร์ (El Salvador)
ปี ค.ศ. 1934 มี ก ารจั ด ตั้ ง คณะกรรมการกี ฬ าวอลเลย์ บ อลนานาชาติ เ ป็ น ครั้ ง แรก
ภายใต้สหพันธ์แฮนด์บอล
ปี ค.ศ. 1946 ประเทศโปแลนด์ ฝรัง่ เศส เชคโกสโลวาเกีย สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียตรัสเซีย
และโรมาเนีย ได้รว่ มกันก่อตัง้ คณะกรรมการทีด่ �ำเนินการด้วยตนเองขึน้ ครัง้ แรก
ปี ค.ศ. 1947 14 ประเทศ ได้รว่ มกันจัดตัง้ สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (The Federation
International De Volleyball : FIVB) ขึ้นในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
และได้เลือกนายพอล ลิบอร์ด (Paul Libaud) เป็นประธานสหพันธ์คนแรก
โดยมีประเทศทีร่ ว่ มกันจัดตัง้ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา ฝรัง่ เศส เชคโกสโลวาเกีย
โปแลนด์ อียปิ ต์ อิตาลี เนเธอแลนด์ เบลเยียม โปรตุเกส โรมาเนีย ตุรกี บราซิล
อุรกุ วัย ยูโกสลาเวีย (อิสราเอลและเลบานอนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี ค.ศ. 1949)
ปี ค.ศ. 1948 การแข่งขันวอลเลย์บอลชิงชนะเลิศแห่งทวีปยุโรป ครั้งที่ 1 ประเภทชาย
ที่กรุงโรม ระหว่างวันที่ 24-26 กันยายน
ปี ค.ศ. 1949 - จัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงชนะเลิศของโลกเป็นครัง้ แรก ณ กรุงปราก (Prague)
ประเทศเชคโกสโลวาเกีย (Czechoslovakia)
- คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee-IOC)
ได้ประกาศรับรองกีฬาชนิดนี้ แต่ยังอยู่ในฐานะกีฬาที่ไม่ได้มีการแข่งขันใน
กีฬาโอลิมปิก (Non Olympic Sport)
- การแข่งขันชิงแชมป์โลก ประเภททีมชาย (Men’S World Championships)
ครั้งแรก ณ กรุงปราก (Prague)
- การแข่งขันชิงแชมป์ยุโรป (European Champions) ประเภททีมหญิงครั้งแรก
ณ กรุงปราก (Prague)
- มีการใช้ระบบการรุก 3 คน และมีการล�้ำแดนของตัวเซตที่อยู่แดนหลัง
ปี ค.ศ. 1951 อนุญาตให้มือสามารถล�้ำเหนือตาข่ายได้ ภายใต้เงื่อนไขคือการสกัดกั้น
ปี ค.ศ. 1952 การแข่งขันชิงแชมป์โลก ประเภททีมหญิง (Women’S World Championships)
ครั้งแรก ณ กรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย (Moscow, Russia)

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 9
ปี ค.ศ. 1955 - กีฬาวอลเลย์บอลได้ถูกบรรจุเข้าใน “แพนอเมริกันเกม ครั้งที่ 2” (The 2nd
Pan American Games) ณ เมืองเม็กซิโกซิตี้ (Mexico City)
- นายมาซาอิชิ นิชิกาว่า (Masaichi Nishikawa) นายกสมาคมวอลเลย์บอล
แห่งประเทศญีป่ นุ่ ได้จดั ตัง้ สหพันธ์วอลเลย์บอลแห่งเอเชีย (Asian Volleyball
Confederation : AVC) ขึ้น
ปี ค.ศ. 1956 จัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชาย-หญิงชิงแชมป์โลกในเวลาเดียวกันเป็นครั้งแรก
ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส (Paris, France) โดยมีทีมชาย 24 ทีม และ
หญิง 17 ทีม
ปี ค.ศ. 1957 คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ได้มีการประชุมที่เมืองโซเฟีย ประเทศ
บัลแกเรีย (Sofia, Bulgaria) และยอมรับกีฬาวอลเลย์บอลเข้าเป็นกีฬาชนิดหนึง่
ในกีฬาโอลิมปิก และประกาศให้สหพันธ์วอลเลย์นานาชาติ (FIVB) เป็นองค์กร
กีฬาสากลมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายนเป็นต้นไป
ปี ค.ศ. 1961 คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) และคณะกรรมการจัดการแข่งขันโอลิมปิก
(OCOG : Organising Committee of The Olympic Game) แห่งประเทศญีป่ นุ่
ได้บรรจุกีฬาวอลเลย์บอลเข้าเป็นกีฬาชนิดหนึ่งในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
ที่จัดขึ้นที่กรุงโตเกียวด้วย
ปี ค.ศ. 1963 สหพันธ์วอลเลย์บอลยุโรป (The European Volleyball Confederation : CEV)
ได้จัดตั้งคณะกรรมการในโซนของยุโรป
ปี ค.ศ. 1964 - กีฬาวอลเลย์บอลชาย-หญิงได้ถกู บรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นครัง้ แรก
ที่จัดขึ้นที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (เหรียญทองหญิง ได้แก่ ทีมญี่ปุ่น
เหรียญทองชาย ได้แก่ ทีมสหภาพโซเวียตรัสเซีย)
- ได้มกี ารปรับปรุงกติกาการสกัดกัน้ ใหม่ (อนุญาตให้มอื ทัง้ สองลำ�้ เหนือตาข่าย
และอนุญาตให้ถูกลูกขณะสกัดกั้นเกินกว่า 1 ครั้งได้)
ปี ค.ศ. 1965 - การแข่งขันเวิลด์คพั ชาย ครัง้ ที่ 1 ณ กรุงวอซอร์ ประเทศโปแลนด์ (Warsaw, Poland)
- มีการจัดตั้งคณะกรรมการในโซนแอฟริกาขึ้น
ปี ค.ศ. 1966 Dr.Ruben Acosta ได้จดั ตัง้ คณะกรรมการโซนอเมริกากลางและโซนคาริเบียนขึน้
ปี ค.ศ. 1968 สหรัฐอเมริกาและแคนาดาได้เข้าร่วมโซนอเมริกากลาง เพือ่ จัดตัง้ สหพันธ์วอลเลย์บอล
แห่งทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง (NORCECA) ตามข้อเสนอของ
Dr.Ruben Acosta
ปี ค.ศ. 1971 ได้มกี ารจัดหลักสูตรผูฝ้ กึ สอนระดับนานาชาติขนึ้ ครัง้ แรก โดยสมาคมวอลเลย์บอล
แห่งประเทศญีป่ นุ่ ภายใต้การด�ำเนินงานของ Mr.Yutaka Maeda และ Mr.Hiroshi Toyoda

10 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ปี ค.ศ. 1972 สหพันธ์วอลเลย์บอลทั้ง 5 ทวีป ได้แก่ เอเชีย (AVC), แอฟริกา (CEV),
อเมริกาใต้ (CSV), อเมริกาเหนือและอเมริกากลาง (NORCERA) ได้จัดตั้ง
คณะกรรมการฝ่ายแข่งขันกีฬาของแต่ละทวีปขึ้น โดยการรับรองโดยสหพันธ์
ของแต่ละทวีป
ปี ค.ศ. 1973 การแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์คัพหญิง ครั้งที่ 1 ที่ประเทศอุรุกวัย (Uruguay)
ปี ค.ศ. 1974 มีการถ่ายทอดสดเป็นครัง้ แรกในการแข่งขันวอลเลย์บอลชาย-หญิงชิงแชมป์โลก
จากประเทศเม็กซิโกไปยังประเทศญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ
ปี ค.ศ. 1975 - มีการจัดประชุมและส่งเสริมมินิวอลเลย์บอลขึ้นที่ประเทศสวีเดน
- มีการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงชนะเลิศแห่งทวีปแอฟริกา ณ เมืองดากา
ประเทศเซเนกัล (Dakar, Senegal)
ปี ค.ศ. 1976 - Dr.Ruben Acosta ได้คิดค้นระบบการใช้ลูกบอล 3 ลูก และอนุญาตให้
เล่นได้อกี 3 ครัง้ หลังการสกัดกัน้ ได้ถกู น�ำมาใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกม
ณ เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา (Montreal, Canada)
- ความกว้างของตาข่ายถูกลดให้เหลือ 9 เมตร
ปี ค.ศ. 1977 การแข่งขันระดับเยาวชน (อายุตำ�่ กว่า 21 ปี ) ชาย-หญิง ชิงแชมป์โลกจัดขึน้ เป็นครัง้ แรก
ที่ประเทศบราซิล (Brazil)
ปี ค.ศ. 1980 กติกาของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) ได้มกี ารพัฒนาขึน้ เป็น 2 ภาษา
ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศสและภาษาสเปนเป็นครั้งแรก ตามผลจากการเสนอของ
ประเทศเม็กซิโก ในการประชุมใหญ่ที่กรุงมอสโคว์และได้มีการรับรองเกี่ยวกับ
นักกีฬาอาชีพ
ปี ค.ศ. 1982 ได้มกี ารลดแรงดันลมของลูกบอลจาก 0.45 เป็น 0.40 กิโลกรัม /ตารางเซนติเมตร
ปี ค.ศ. 1984 - Dr.Ruben Acosta ได้รบั เลือกให้ขนึ้ เป็นประธานสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
(2nd FIVB President) แทนนาย Pual Libaud ผู้ก่อตั้งสหพันธ์ฯ
- ส�ำนักงานใหญ่ของสหพันธ์ฯ ได้ยา้ ยจากกรุงปารีสไปยังเมืองโลซาน ประเทศ
สวิตเซอร์แลนด์ (Lausame, Switzerland)
ปี ค.ศ. 1985 - คณะกรรมการบริหารสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้ให้การรับรอง 5 โครงการหลัก
เพือ่ พัฒนาวอลเลย์บอลของโลก ซึง่ เสนอโดย Dr.Ruben Acosta และมีเจตนา
มุ่งหมายเพื่อยกระดับวอลเลย์บอลขึ้นสู่ระดับกีฬาอาชีพ
- ได้มกี ารจัดการแข่งขัน World Gala เป็นครัง้ แรกทีก่ รุงปักกิง่ และเมืองเซีย่ งไฮ้
โดยทีมหญิงของประเทศจีนพบกับทีมดาราของโลก การแข่งขันวอลเลย์บอล
ชายหาดชิงแชมป์โลกได้จัดเป็นครั้งแรกที่ประเทศบราซิล

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 11
ปี ค.ศ. 1990 การแข่งขัน วอลเลย์บอลเวิลด์ลีก (World League) ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก
มีการจัดการแข่งขันมากกว่า 20 เมือง จาก 8 ประเทศ เข้าร่วมแข่งขันเพื่อ
ชิงเงินรางวัล 1 ล้านเหรีญสหรัฐ
ปี ค.ศ. 1992 สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) ได้เริม่ ให้มกี ารแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด
(Beach Volleyball) World Tour ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีการจัดการแข่งขัน
ที่ญี่ปุ่น เปอร์โตริโก บราซิล อิตาลี และออสเตรเลีย
ปี ค.ศ. 1993 - สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้กลายเป็นองค์กรกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลก
โดยมีประเทศสมาชิกถึง 210 ประเทศ
- เริม่ มีการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิง เวิลด์กรังปรีซ์ (Women’S World Grand Prix)
ขึ้นเป็นครั้งแรกโดยมี 8 ประเทศ เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อชิงเงินรางวัล
1 ล้านเหรียญสหรัฐ
- คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ได้มีการประชุมที่เมืองมอนเตการ์โล
รัฐโมนาโก (Monte Carlo, Monaco) ให้บรรจุวอลเลย์บอลชายหาด
เข้าในกีฬาโอลิมปิกเกม 1996 มีการแข่งขันทีมหญิง 16 คู่ ทีมชาย 24 คู่
ปี ค.ศ. 1994 - อนุญาตให้ลูกถูกส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ทุกส่วนรวมทั้งเท้า
- ได้มีการขยายเขตเสิร์ฟจนเต็มเขตพื้นที่ 9 เมตร
- ที่ประชุมใหญ่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้รับรองแผนการส่งเสริม
วอลเลย์บอลปี 2001 ซึ่งเสนอโดย Dr.Ruben Acosta เพื่อพัฒนาทักษะ
การบริหารจัดการของสมาคมวอลเลย์บอลแต่ละประเทศให้สามารถจัดการแข่งขัน
วอลเลย์บอลอาชีพขึน้ รวมทั้งวอลเลย์บอลชายหาดด้วย
ปี ค.ศ. 1995 ครบรอบ 100 ปี ส�ำหรับกีฬาวอลเลย์บอล จัดให้มกี ารเฉลิมฉลอง 100 วัน ในทัว่ โลก
โดยผู้เกี่ยวข้องกับกีฬาวอลเลย์บอล
ปี ค.ศ. 1996 กีฬาวอลเลย์บอลชายหาดได้ถกู บรรจุเข้าในรายการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นครัง้ แรก
ณ เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย (Atlanta, Jeorgia)
ปี ค.ศ. 1997 - มีการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดชิงแชมป์โลก (ทั้งประเภททีมชาย
และทีมหญิง) เป็นครัง้ แรก ณ เมืองลอสแองเจลิส (Los Angeles, USA) ประเทศ
สหรัฐอเมริกา โดยมีเงินรางวัลในแต่ละประเภท 600,000 เหรียญสหรัฐ
- การแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์ลกี ครัง้ ที่ 8 ได้เพิม่ เงินรางวัลเป็น 8 ล้านเหรียญสหรัฐ
ปี ค.ศ. 1998 การประชุม FIVB World Congress ครั้งที่ 26 มีการประกาศใช้ระบบ
การนับคะแนนแบบ “Rally Point” และมีการยอมรับอย่างเป็นทางการ
ให้มกี ารเล่นโดยใช้ตวั รับอิสระ (The Libero Player) ในการแข่งขันชิงแชมป์โลก
ที่กรุงโตเกียว (Tokyo)
12 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ปี ค.ศ. 1999 ทีมหญิงจากประเทศคิวบา (Cuba) ได้รับต�ำแหน่งชนะเลิศเป็นครั้งที่ 4
ในการแข่งขันรายการ FIVB World Cup และทีมชายจากประเทศรัสเซีย
ได้รับต�ำแหน่งชนะเลิศเป็นครั้งแรก
ปี ค.ศ. 2000 - การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย มีการแข่งขัน
วอลเลย์บอลชายหาด ประเภทชาย 24 คู่ หญิง 24 คู่ วอลเลย์บอลในร่ม
ประเภทชาย 12 ทีม หญิง 12 ทีม และสาธารณรัฐคิรินาส (Kiribati)
ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกล�ำดับที่ 218
- ระบบการนับคะแนนแบบ Rally Point ถูกน�ำไปใช้กบั การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด
- มีการยอมรับกติกาการเสิร์ฟบอลสามารถถูกตาข่ายได้
- การเฉลิมฉลองให้กับผู้เล่นที่ดีที่สุดแห่งศตวรรษ (Best Players of Century)
ได้แก่ Karch Kiraly จากสหรัฐอเมริกา Lorenzo Bernardi จากอิตาลี และ
Regla Torres จากเจ้าของแชมป์โอลิมปิก 3 สมัยอย่างคิวบา
ปี ค.ศ. 2002 - มีการประชุมใหญ่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ครัง้ ที่ 28 ณ กรุงบัวโนสไอเรส
ประเทศอาร์เจนตินา (Buenos, Aires, Argentina) ได้มีการก�ำหนดความสูง
ของผู้เข้าแข่งขัน ชาย 185 เซนติเมตรขึ้นไป หญิง 175 เซนติเมตรขึ้นไป
- ประเทศเยอรมนี (Germany) เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก
โดยมีทีมเข้าร่วม 24 ทีม แข่งขันในเมื่อต่างๆ ถึง 8 เมือง
- ประเทศอาร์เจตินา (Argentina) เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชาย
ชิงแชมป์โลก โดยมีทีมเข้าร่วม 24 ทีม แข่งขันในเมืองต่างๆ ถึง 6 เมือง
ปี ค.ศ. 2004 - การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ (Athens, Greece)
มีการแข่งขันวอลเลย์บอลในร่มประเภททีมชาย จ�ำนวน 12 ทีม ประเภททีมหญิง
จ�ำนวน 12 ทีม และวอลเลย์บอลชายหาดจ�ำนวน 24 ทีม หญิง จ�ำนวน 24 ทีม
- ทีมชนะเลิศวอลเลย์บอลประเภทชาย ได้แก่ บราซิล และประเภทหญิง ได้แก่
ประเทศจีน
ปี ค.ศ. 2006 การแข่งขัน FIVB Volleyball World Championship ทีมชนะเลิศประเภทชาย
ได้แก่ บราซิล และประเภทหญิง ได้แก่ รัสเซีย
ปี ค.ศ. 2007 การแข่งขัน FIVB World Cup ทีมชนะเลิศประเภทชาย ได้แก่ บราซิล และ
ประเภทหญิง ได้แก่ อิตาลี
ปี ค.ศ. 2008 การแข่งขันโอลิมปิกที่ประเทศจีน ทีมชนะเลิศประเภทชาย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา
และประเภทหญิง ได้แก่ บราซิล

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 13
ปี ค.ศ. 2009 - การแข่งขันรายการ FIVB Club World Championship ประเภททีมชาย
ได้น�ำกลับมาลงในปฏิทนิ การแข่งขันระดับนานาชาติอกี ครัง้ หลังจากทีม่ กี ารแข่งขัน
ล่าสุดในปี 1992
ปี ค.ศ. 2010 - กีฬาวอลเลย์บอลประสบความส�ำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ กับการเริ่มฤดูกาลแข่งขัน
กีฬาโอลิมปิกเยาวชน ณ ประเทศสิงคโปร์
- การแข่งขันรายการ FIVB Club World Championship ประเภททีมหญิง
ได้น�ำกลับมาลงในปฏิทินการแข่งขันอีกครั้ง หลังจากที่มีการแข่งขันครั้งแรก
ในปี 1994 หลังจากทีป่ ระเภททีมชายประสบความส�ำเร็จในการแข่งขันเมือ่ ปีกอ่ นหน้านี้
- การแข่งขันเพื่อชิงถ้วยรางวัล Continental Cup ถูกก�ำหนดขึ้นครั้งแรก
ในการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด ทีจ่ ะจัดขึน้ ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2012
ณ กรุงลอนดอน (London, England)
ปี ค.ศ. 2011 - ระบบการนับแต้มแบบใหม่ได้มีการน�ำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในการแข่งขัน
โดยได้รับการยืนยันโดยผู้บริหารของ FIVB ในการแข่งขันที่มีการชนะที่ 3 ต่อ 0
หรือ 3 ต่อ 1 โดยผู้ชนะจะได้ 3 แต้ม และผู้แพ้จะได้ 0 เช่นกันกับการชนะแต้ม
3 ต่อ 2 ซึ่งจะหมายถึง ผู้ชนะได้ 2 แต้ม และผู้แพ้ได้ 1 แต้ม ในกรณีที่แต้มเสมอ
กันจะนับคะแนนเป็นแบบ Set Ratio ซึง่ จะต่างจากการนับคะแนนแบบ Point Ratio
ในอดีตที่ผ่านมา
ปี ค.ศ. 2012 - มีการปรับปรุงแก้ไขเรื่องเครื่องแบบของผู้เล่นฝ่ายหญิงโดยมีทางเลือกให้ 3 ทาง
คือ ผู้เล่นสามารถสวมปลอกหุ้มหัวเข่าความยาวอย่างมากที่สุด 3 เซนติเมตร
ไว้เหนือเข่าหรือใส่แบบครึ่งตัวหรือใส่แบบเต็มตัว โดยให้ขึ้นอยู่กับการเคารพ
ในกฎและหรือความเชื่อของแต่ละศาสนา

ประวัติกีฬาวอลเลย์บอลในเอเชีย
ฝ่ายวิชาการ กองกีฬา กรมพลศึกษา (2535: 5-6) ได้เรียบเรียงกีฬาวอลเลย์บอลใน
เอเชียไว้ดังนี้
ดร.เกรย์ (Dr.Gray) ผู้ อำ � นวยการพลศึ ก ษาแห่ ง สมาคม Y.M.C.A. ได้ นำ �
กีฬาวอลเลย์บอลเข้ามาในประเทศอินเดีย เมื่อปี ค.ศ. 1900 ต่อมาในปี ค.ศ. 1906
กีฬาวอลเลย์บอลได้เข้าสู่ประเทศจีนโดยนายโรเบิร์ทสันและนายเกลีย (Robert and Gaily)
ผู้อำ�นวยการพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A.

14 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ปี ค.ศ. 1910 นายเอลวูด เอส. บราวน์ (Elwood S. Brown) ผู้อำ�นวยการพลศึกษาของ
สมาคม Y.M.C.A. ได้นำ�เข้าเผยแพร่ในประเทศฟิลิปปินส์ และได้แผ่ขยาย
ออกไปถึงประเทศตะวันออกไกล
ปี ค.ศ. 1913 ได้มีการแข่งขันกีฬาภาคพื้นตะวันออก (Far Eastern Games) ครั้งที่ 1
ขึ้นที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ กีฬาวอลเลย์บอลก็ได้รับการบรรจุเข้า
ในการแข่งขันด้วยโดยใช้ระบบการแข่งขันแบบ 16 คน ซึ่งอีก 5 ปีต่อมา
ได้เปลี่ยนเป็นระบบการเล่น 6 คน ซึ่งคิดโดยสหรัฐอเมริกา
ปี ค.ศ. 1921 ซึ่งเป็นการแข่งขันกีฬาภาคพื้นตะวันออก ครั้งที่ 5 ณ เมืองเซี่ยงไฮ้
ประเทศจีน ได้เปลี่ยนระบบการเล่นแบบ 16 คน มาเป็นระบบ 12 คน
ปี ค.ศ. 1924 ประเทศญี่ปุ่น ได้คิดระบบการเล่นแบบ 9 คน ซึ่งระบบนี้ได้นำ�มาใช้ใน
การแข่ ง ขั น ภาคพื้ น ตะวั น ออก (Far Eastern Games) ครั้ ง ที่ 8
ในเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ในปี ค.ศ. 1927
ปี ค.ศ. 1943 นายแฟรงคลิน เอช. บราวน์ (Franklin H. Brown) ได้น�ำ กีฬาวอลเลย์บอล
เข้าสหพันธ์แห่งเอเชีย
ปี ค.ศ. 1951 ญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ได้เข้าร่วมกับสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
ปี ค.ศ. 1952 อินเดียและเลบานอนได้เข้าร่วมการแข่งขันชิงแชมป์โลกชาย ครั้งที่ 2
ซึ่ ง จั ด ขึ้ น ที่ ก รุ ง มอสโก ประเทศรั ส เซี ย และที ม ชาติ ห ญิ ง ของอิ น เดี ย
ได้ เข้ า ร่ ว มการแข่ ง ขั น ชิ ง แชมป์ โ ลกหญิ ง ครั้ ง ที่ 1 ซึ่ ง จั ด ที่ ก รุ ง มอสโก
ในเวลาเดียวกัน
ปี ค.ศ. 1953 ทีมมหาวิทยาลัยวาเซดะ (Waseda) แห่งประเทศญีป่ นุ่ ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
กีฬาชิงชนะเลิศภายในประเทศสหรัฐอเมริกา ทีเ่ มืองโอมาฮะ และเนบราก้า
(Omaha and Nebraska) และได้มแี รงจูงใจให้น�ำ เอาระบบการเล่น 6 คน
เข้ามาในประเทศญี่ปุ่น
ปี ค.ศ. 1954 ได้มีการก่อตั้งสหพันธ์วอลเลย์บอลแห่งเอเชียขึ้นในกรุงมะนิลา ในโอกาสที่มี
การแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 2 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนายมาซาอิชิ
นิชิกาวา (Masaichi Nishikawa) นายกสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศ
ญี่ปุ่นในขณะนั้น แต่อย่างไรก็ตามมีข้อผูกพันว่าประเทศสมาชิกต้องเป็น
สมาชิกของสหพันธ์

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 15
ปี ค.ศ. 1955 ได้มีการจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 1 ประเภททีมชาย
ขึ้นที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นที่ระลึกแก่สหพันธ์วอลเลย์บอล
แห่งเอเชีย และในครั้งนั้นประเทศอินเดียและญี่ปุ่นเป็นผู้ชนะเลิศประเภท
6 คน และ 9 คน ตามลำ�ดับ
ปี ค.ศ. 1958 มีการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ขึ้นที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
กี ฬ าวอลเลย์ บ อลได้ ถู ก บรรจุ เข้ า ไว้ ใ นการแข่ ง ขั น ประเภทหนึ่ ง ด้ ว ย
(เฉพาะทีมชาย) ประเทศญี่ปุ่นได้ชนะเลิศทั้งประเภท 6 คน และ 9 คน
ในระหว่างการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ในครั้งนี้ ได้มีการดำ�ริที่จะจัด
การแข่งขันกีฬาภาคพืน้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เซียพเกมส์ (SEAP Games)
และได้มีการประชุมกันระหว่างผู้แทนของประเทศต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในแถบนี้
โดยการริเริม่ ของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยในปี 1949 ซึง่ ใน
ข้อตกลงได้ก�ำ หนดให้มกี ารจัดการแข่งขัน 2 ปีตอ่ ครัง้ และได้พจิ ารณาบรรจุ
กีฬาวอลเลย์บอลเข้าตั้งแต่การแข่งขันกีฬาเซียพเกมส์ ครั้งที่ 1 เป็นต้นมา
ปี ค.ศ. 1964 สมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศเกาหลี ได้จัดการแข่งขันวอลเลย์บอล
เยาวชนชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย (Asian Youth Games) ขึ้นที่กรุงโซล
ประเทศเกาหลีใต้
ปี ค.ศ. 1975 จัดให้มีการแข่งขันชิงชนะเลิศ ครั้งที่ 1 ภายใต้การควบคุมของสหพันธ์
วอลเลย์บอลแห่งเอเชีย ที่กรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ทีมชนะเลิศ
ทีมชาย ญี่ปุ่น ทีมหญิง ญี่ปุ่น
ปี ค.ศ. 1979 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมหญิงและชาย ครั้งที่ 2
ที่ประเทศฮ่องกงและบาห์เรน ตามลำ�ดับในเดือนธันวาคม ทีมชนะเลิศ
ทีมหญิงจีน ทีมชายจีน
ปี ค.ศ. 1980 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย (Junior Asian Championship)
ครั้งที่ 1 ประเทศเกาหลี
ปี ค.ศ. 1983 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมหญิงและชาย ครั้งที่ 3
ณ ประเทศญี่ปุ่น ทีมหญิงได้แก่ ญี่ปุ่น และทีมชายได้แก่ญี่ปุ่น
ปี ค.ศ. 1984 จัดการแข่งขันเยาวชนชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมหญิง ครั้งที่ 2
ที่เมืองแคนเบอร์รา (Canbera) ประเทศออสเตรเลีย และประเภททีมชาย
ครั้งที่ 2 ที่เมืองริยาด (Riyadh) ประเทศซาอุดิอาระเบีย

16 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ปี ค.ศ. 1987 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชาย ครั้งที่ 4 ที่ประเทศ
คูเวต และการแข่งขันประเภททีมหญิงที่ประเทศจีน ทีมชนะเลิศทีมชาย
ญี่ปุ่น ทีมหญิง ได้แก่ จีน
ปี ค.ศ. 1989 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมหญิงและทีมชาย ทีป่ ระเทศ
เกาหลีและฮ่องกง ตามลำ�ดับ ทีมชนะเลิศทีมหญิง ได้แก่ จีน ทีมชายได้แก่
เกาหลีใต้
ปี ค.ศ. 1991 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายทีป่ ระเทศออสเตรเลีย
ทีมชนะเลิศได้แก่ ญี่ปุ่น ประเทศทีมหญิงจัดที่ประเทศไทย ทีมชนะเลิศ
ได้แก่ จีน
ปี ค.ศ. 1993 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายจัดขึ้นที่ประเทศไทย
ทีมชนะเลิศ ได้แก่ เกาหลีใต้ ประเภททีมหญิงจัดทีป่ ระเทศจีน ทีมชนะเลิศ
ได้แก่ จีน
ปี ค.ศ. 1995 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายจัดขึ้นที่ประเทศ
เกาหลีใต้ ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ญี่ปุ่น ประเภททีมหญิงจัดขึ้นที่ประเทศไทย
ทีมชนะเลิศ ได้แก่ จีน
ปี ค.ศ. 1997 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายจัดขึน้ ทีป่ ระเทศกาตาร์
ที ม ชนะเลิ ศ ได้ แ ก่ จี น ประเภทที ม หญิ ง จั ด ขึ้ น ที่ ป ระเทศฟิ ลิ ป ปิ น ส์
ทีมชนะเลิศ ได้แก่ จีน
ปี ค.ศ. 1999 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายจัดขึน้ ทีป่ ระเทศอิหร่าน
ทีมชนะเลิศได้แก่ จีน ประเภททีมหญิงจัดขึน้ ทีป่ ระเทศฮ่องกง ทีมชนะเลิศ
ได้แก่ จีน
ปี ค.ศ. 2001 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายจัดขึ้นที่ประเทศ
เกาหลีใต้ ทีมชนะเลิศได้แก่ เกาหลีใต้ ประเภททีมหญิงจัดขึน้ ทีป่ ระเทศจีน
ทีมชนะเลิศ ได้แก่ จีน
ปี ค.ศ. 2003 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายจัดขึ้นที่ประเทศจีน
ทีมชนะเลิศได้แก่ เกาหลีใต้ ประเภททีมหญิงจัดขึ้นที่ประเทศไทย ทีมชนะเลิศ
ได้แก่ จีน
ปี ค.ศ. 2005 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายจัดขึ้นที่ประเทศไทย
ที ม ชนะเลิ ศ ได้ แ ก่ ญี่ ปุ่ น ประเภทที ม หญิ ง จั ด ขึ้ น ที่ ป ระเทศเวี ย ดนาม
ทีมชนะเลิศ ได้แก่ จีน
คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 17
ปี ค.ศ. 2007 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายจัดขึ้นที่ประเทศ
อินโดนีเซีย ทีมชนะเลิศได้แก่ ออสเตรเลีย ประเภททีมหญิงจัดขึ้นที่
ประเทศไทย ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ญี่ปุ่น
ปี ค.ศ. 2009 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายจัดขึ้นที่ประเทศ
ฟิลิปปินส์ ทีมชนะเลิศได้แก่ ญี่ปุ่น ประเภททีมหญิงจัดขึ้นที่ประเทศ
เวียดนาม ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศไทย
ปี ค.ศ. 2011 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายจัดขึน้ ทีป่ ระเทศอิหร่าน
ทีมชนะเลิศได้แก่ อิหร่าน ประเภททีมหญิงจัดขึ้นที่ประเทศจีนไทเป
ทีมชนะเลิศ ได้แก่ จีน

ประวัติกีฬาวอลเลย์บอลในประเทศไทย
กีฬาวอลเลย์บอลในประเทศไทยนั้นไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่า ได้แพร่หลายเข้ามา
ในสมัยใด แต่พอจะประมาณได้ว่าการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลได้มีขึ้นในประเทศไทยกว่า 60 ปี
โดยเล่นเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ
ในปี พ.ศ. 2476 กรมพลศึกษาเห็นว่าวอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่นักเรียนทั้งหญิงและชาย
สามารถเล่นได้ จึงได้จัดให้สอนวิชานี้ขึ้นในสถาบันพลศึกษา
ในปี พ.ศ. 2477 กรมพลศึกษาได้จดั พิมพ์กติกาวอลเลย์บอลขึน้ โดยอาจารย์ นพคุณ พงษ์สวุ รรณ
เป็นผูแ้ ปลและท่านเป็นผูท้ มี่ คี วามเชีย่ วชาญในกีฬาวอลเลย์บอลจึงได้รบั การเชิญให้เป็นผูบ้ รรยาย เกีย่ วกับ
เทคนิควิธเี ล่น ตลอดจนกติกาการแข่งขันแก่ครูพลศึกษาทั่วประเทศ ประมาณ 100 คน ในโอกาสที่
กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้จัดการอบรมขึ้น และในปีนี้เอง กรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬา
ประจ�ำปีขึ้น และบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงไว้ในการแข่งขันเป็นครั้งแรก พร้อมบรรจุไว้ในหลักสูตร
ของโรงเรียนพลศึกษากลางและก�ำหนดเป็นวิชาบังคับให้นกั เรียนหญิงเรียนวิชาวอลเลย์บอลและเนตบอล
ในสมัยของนาวาเอกหลวงศุภชลาศัย ด�ำรงต�ำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา อย่างไรก็ตามการแข่งขัน
วอลเลย์บอลในสมัยนั้นไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก นักกีฬาต่างก็เล่นกันไปเพียงไม่ให้ผิดกติกา
จึงท�ำให้การเล่นวอลเลย์บอลเสื่อมความนิยมไป แต่ยังคงมีการแข่งขันอยู่บ้างเป็นครั้งคราว
ในปี พ.ศ. 2500 มีคณะบุคคลผูร้ เิ ริม่ ก่อตัง้ สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยขึน้
โดยมีคณะผู้ร่วมก่อตั้งทั้ง 7 คน ได้แก่
1. พลโทสุรจิต จารุเศรณี
2. นายกอง วิสุทธารมณ์
3. นายสวัสดิ์ เลขยานนท์

18 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
4. นายเสรี ไตรรัตน์
5. นายนิคม พลสุวรรณ์
6. นายแมน พลพยุหคีรี
7. นายเฉลิม บุณยะสุนทร
บุคคลทั้ง 7 คน ได้เข้าร่วมกันประชุมวางแผนด�ำเนินงานการก่อตั้งสมาคมวอลเลย์บอล
สมัครเล่นแห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2500 จากที่ประชุมได้มอบหมาย
ให้นายกอง วิสทุ ธารมณ์ เป็นผูแ้ ทนไปด�ำเนินการขออนุญาตจัดตัง้ สมาคมฯ ต่อกระทรวงศึกษาธิการ
ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2502
โดยมีนายนาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผูล้ งนามในใบอนุญาต
จัดตั้งสมาคมฯ มีชื่อว่า “สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย” (Amature Volleyball
Association of Thailand โดยใช้ชื่อย่อว่า A.V.A.T.)
วันที่ 1 มิถุนายน 2502 พลเอกสุรจิต จารุเศรณี นายกสมาคมฯ ได้ลงนามในข้อบังคับ
ของสมาคมฯฉบับแรกที่ก�ำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารเพียง 7 ต�ำแหน่ง และด�ำรงต�ำแหน่ง
ได้สมัยละ 4 ปี คณะกรรมการสมาคมฯ ชุดแรก ดังนี้
1. พลเอกสุรจิต จารุเศรณี นายกสมาคมฯ
2. นายกอง วิสุทธารมณ์ อุปนายก
3. นายแมน พลพยุหคีรี เหรัญญิก
4. นายเฉลิม บุณยะสุนทร เลขานุการ
5. นายสวัสดิ์ เลขยานนท์ กรรมการ
6. นายเสรี ไตรรัตน์ กรรมการ
7. นายนิคม พลสุวรรณ์ กรรมการ
เมื่อมีการจัดตั้งสมาคมฯ ขึ้นเป็นผลส�ำเร็จ ประเทศไทยจึงส่งทีมชายเข้าร่วมการแข่งขัน
ในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพมหานคร ทีมไทยประสบความส�ำเร็จได้ต�ำแหน่งชนะเลิศ
แต่ในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 2 ที่กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า ทีมไทยไม่ประสบผลส�ำเร็จ
ในปี พ.ศ. 2505 ประเทศไทยส่งทีมวอลเลย์บอลชายเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์
(Asian Games) ครั้งที่ 4 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย การแข่งขันครั้งนี้ท�ำให้เห็นว่า
กีฬาวอลเลย์บอลของประเทศไทยยังล้าหลังชาติอนื่ ๆ อยูอ่ กี มาก ดังนัน้ สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่น
แห่งประเทศไทยจึงพยายามส่งเสริมกีฬาประเภทนีใ้ ห้เจริญก้าวหน้า โดยได้ตดิ ต่อผูฝ้ กึ สอนชาวญีป่ นุ่
ให้เข้ามาท�ำการฝึกสอนให้กบั ทีมชาติไทยให้เข้าใจวิธกี ารเล่นทีถ่ กู ต้องเป็นทีย่ อมรับของชาวต่างประเทศ
ทั่วๆ ไป

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 19
คุ

ณลักษณะของผู้ตัดสินที่ดี
(Qualities of A Good Referee)
Mr.Gavriel Kraus ประธานคณะกรรมการฝ่ายผู้ตัดสินสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
ได้กล่าวถึงคุณลักษณะของผู้ตัดสินที่ดีไว้ดังนี้
1. ลักษณะท่าทางที่ดี (Appearance)
1.1 แต่งกายดี
1.2 บุคลิกภาพที่แสดงออกดี
1.3 การพูดจา (ภาษาอังกฤษในระดับนานาชาติ)
1.4 มีความประพฤติดี
2. มีความเป็นมืออาชีพ (Professional)
2.1 คุณสมบัติทั่วไป (General)
- ก่อนแข่งขัน
- ขณะแข่งขัน
- หลังแข่งขัน
2.2 ความเสียสละ (Sacrifice) มีความเสียสละในเรื่อง
- เวลา ต้องห่างจากครอบครัว เพื่อน และหน้าที่งานประจ�ำ
- ร่างกาย ต้องพยายามรักษาสุขภาพ (ทรวดทรง)
- จิตใจ ต้องหมั่นเรียนรู้ หมั่นเฝ้าดู และอดทน
2.3 ด้านการเงิน (Financial)
เมื่อใดที่ผู้ตัดสินรับเงิน ไม่ว่าจะน้อยเพียงใด จะถือว่าเขาเป็นผู้ตัดสินอาชีพทันที
3. การเตรียมตัว (Preparation)
3.1 การเตรียมตัวด้านกติกา (Rules)
3.1.1 ต้องเรียนรู้กติกาทุกข้อ ตั้งแต่ต้นจนจบ (จะไม่มีใครที่สามารถเรียนรู้
กติกาแทนกันได้)
3.1.2 ต้องเรียนรู้การตีความกติกาทุกข้อ โดยเรียนรู้จากแนวทางท�ำหน้าที่
ผู้ตัดสิน (Guideline) และค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้ตัดสิน (Instruction)
3.1.3 ต้องเรียนรู้การน�ำกติกาไปใช้
3.1.4 ต้องเข้าใจเจตนารมณ์ของกติกาเป็นอย่างดี และการวิวฒั นาการอย่างต่อเนือ่ ง
ของกีฬาวอลเลย์บอล
3.1.5 ต้องรู้ว่าการมีความรู้ที่ดีจะน�ำไปสู่การตัดสินที่ดีได้
20 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
3.2 เตรียมการท�ำหน้าที่ (Work)
3.2.1 การเตรียมด้านจิตใจ
3.2.1.1 ต้องมีจติ ใจทีจ่ ะท�ำหน้าทีใ่ นการแข่งขันทุกรูปแบบ ไม่ใช่เฉพาะ
คู่ที่ส�ำคัญเท่านั้น
3.2.1.2 ต้องคิดแต่เรือ่ งกีฬาวอลเลย์บอลและการตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล
เท่านั้น
3.2.1.3 ต้องเข้าใจลักษณะการเล่นและเข้าใจถึงยุทธวิธีการเล่นของทีม
3.2.2 การเตรียมด้านร่างกาย
3.2.2.1 สร้างร่างกายให้พร้อมเสมอส�ำหรับการท�ำหน้าที่
3.2.2.2 ท�ำร่างกายให้ดดู อี ยูเ่ สมอ (เหมือนนักกีฬาแต่ตอ้ งไม่เหมือนคนอ้วนๆ)
3.2.3 การเตรียมด้านจิตวิทยา
3.2.3.1 ต้องหนักแน่นในสภาวะที่กดดัน
3.2.3.2 สามารถให้จบเซต และเสร็จสิ้นการแข่งขันในช่วงวิกฤต
ได้อย่างถูกต้อง
3.2.4 การเตรียมตัวทั่วๆ ไป
3.2.4.1 ต้องตัดสินการแข่งขันทุกประเภท เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ
การเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ
3.2.4.2 ต้องเฝ้าชมการแข่งขัน เพื่อท�ำความเข้าใจเกมการแข่งขัน
รวมถึงการเรียนรู้การท�ำหน้าที่ในสิ่งที่ดี และความผิดพลาดที่เกิดขึ้นของผู้ตัดสินอื่น
3.3 ด้านรูปแบบ (Style)
3.3.1 การเป็นตัวของตัวเอง ทุกคนต่างก็มีความแตกต่างกัน จะต้องพัฒนา
สิ่งที่เหมาะสมที่สุดให้ตัวเอง
3.3.2 การลอกเลี ย นแบบ ผู ้ ตั ด สิ น บางคนอาจชอบการตั ด สิ น ของผู ้ อื่ น
แต่ต้องรู้จักน�ำสิ่งที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพของตนเองมาใช้เท่านั้น
4. ก่อนการแข่งขัน
4.1 ก่อนการแข่งขันแต่ละนัด อย่างน้อยทีส่ ดุ ควรได้อา่ นกติกาการแข่งขันบางตอนก่อน
4.2 ประเมินผลงานโดยวิเคราะห์จากการแสดงออกของทีม ผู้เล่น ผู้ฝึกสอน ผู้ชม
และสภาพภายในสนามแข่งขัน
4.3 ควรมีการพูดคุยทีด่ กี บั ผูร้ ว่ มท�ำหน้าทีต่ ดั สิน เช่น ผูต้ ดั สินที่ 2 ผูก้ �ำกับเส้น ผูบ้ นั ทึก
ผู้เช็ดพื้น ผู้กลิ้งบอล
4.4 ต้องยึดมั่นกับค�ำขวัญที่ว่า

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 21
4.4.1 ไม่มีใครส�ำคัญมากไปกว่าการแข่งขัน
4.4.2 ความส�ำคัญไม่ได้อยู่ที่ใครถูก แต่ส�ำคัญที่อะไรคือสิ่งที่ถูกต้องส�ำหรับ
กีฬาวอลเลย์บอล
5. ระหว่างการแข่งขัน
สิง่ ส�ำคัญ คือ ทันทีทกี่ ารแข่งขันเริม่ ต้นขึน้ ผูต้ ดั สินเท่านัน้ ทีเ่ ป็นคนกลาง และจะต้องให้
ค�ำตอบว่าตนเองมีความยุติธรรมหรือไม่ โดย
5.1 ต้องท�ำหน้าที่เหมือนกับผู้ก�ำกับวงออเคสตร้า แต่ต้องไม่ใช่ต�ำรวจจราจร
5.2 ต้องร่วมมือกับคณะร่วมตัดสินอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง โดยท�ำงานร่วมกันเป็นทีม
5.3 ต้องมีความแน่นอน (Consistent) โดย
5.3.1 ต้องรู้จักสถานการณ์ที่แตกต่างกัน (มีการตัดสินใจที่เหมือนกันภายใต้
สถานภาพที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน)
5.3.2 ผู้เล่นจะต้องรู้ตั้งแต่ต้นว่า อะไรที่อนุญาตได้และอะไรที่ไม่อนุญาตให้เล่น
5.4 ต้องมีความแม่นย�ำในการตีความกติกาการแข่งขัน และเข้าใจลักษณะของเกมส์
การแข่งขันของการแข่งขัน (หนังสือกติกาการแข่งขันเป็นเพียงแนวทางให้ปฏิบตั ิ ไม่ใช่ค�ำสัง่ ให้ปฏิบตั )ิ
5.5 เป่านกหวีดเฉพาะเมือ่ เห็น ไม่ใช่คดิ ว่าเห็น “การเดาเป็นสัญญาณของความผิดพลาด”
5.6 เป่านกหวีดเฉพาะเมื่อมั่นใจอย่างแน่นอนว่ามีการท�ำผิดกติกา และรู้ลักษณะ
ของการท�ำผิด ถ้าสงสัยไม่ควรเป่านกหวีด
5.7 ท�ำให้การแข่งขันต่อเนื่อง กีฬาวอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ได้รับการยอมรับว่า
นักกีฬาจะต้องเป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาด ดังนั้น การพยายามท�ำให้การแข่งขันด�ำเนินไปด้วยดี
จะท�ำให้การแข่งขันได้เลื่อนไหลต่อเนื่อง โดย
5.7.1 หลีกเลี่ยงการเจรจากับนักกีฬาและผู้ฝึกสอน
5.7.2 อย่าพยายามให้เป็นเรื่องของเทคนิคมากเกินไป จงพยายามท�ำหน้าที่
ตัดสินภายใต้เจตนารมณ์ของกติกา
5.7.3 พยายามควบคุมตนเองไม่ให้เป่านกหวีดโดยไม่จ�ำเป็น หรือจะกล่าวอีก
อย่างหนึ่งว่า จะหยุดแข่งขันเมื่อจ�ำเป็นเท่านั้น แต่อย่าไปรบกวนการต่อเนื่องของการเล่น พยายาม
ท�ำให้ลูกบอลลอยอยู่ในอากาศนานๆ เพื่อให้ผู้ชมเกิดความตื่นเต้น
5.8 ต้องพร้อมเสมอที่จะตัดสินลูกยากๆ การตัดสินลูกที่ยากๆ นั้น ต้องอาศัยความ
กล้าหาญมากกว่าการท�ำเป็นไม่รู้ไม่เห็น
5.9 ต้องพร้อมที่จะแก้ไขความผิดพลาดของตนเอง สิ่งนี้ต้องอาศัยความกล้าหาญ
ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่เช่นนี้ จะท�ำให้ผู้ตัดสินที่ดีกลายเป็นผู้ตัดสินที่ยิ่งใหญ่ได้

22 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
5.10 ความซือ่ ตรงและมีเกียรติ จะเปรียบเสมือนมีความเป็นกลางในการแข่งขัน และ
จะต้องพยายามรักษาระดับนี้ไว้ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบการแข่งขัน โดย
5.10.1 ต้องไม่ยอมให้การได้เปรียบใดๆ เกิดกับทีมใดในทุกเวลา
5.10.2 ต้องมั่นใจว่าทีมที่ชนะ ควรเป็นทีมที่ควรได้รับชัยชนะอย่างถูกต้อง
5.11 ต้องไม่ใส่ใจต่อผู้ชม ผู้ฝึกสอน นักกีฬา แต่ยังคงแสดงไว้ซึ่งความสุภาพเสมอ
5.12 ต้องรู้ว่าอะไรที่จะท�ำให้เกิดความเป็นศัตรูกับผู้เล่น ผู้ฝึกสอน ความหยิ่งยโส
ขาดความรู้ จะน�ำตัวไปสู่ความไม่แน่นอนในการตัดสินใจ
5.13 การตัดสินทุกครั้งต้องได้รับการยอมรับ ปราศจากข้อค�ำถามใดๆ
5.14 ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีตลอดการแข่งขัน และคงไว้ภายใต้พื้นฐานที่ถูกต้อง
5.15 อย่าสร้างปัญหาให้กับตนเอง
5.16 มีอารมณ์ที่อยากตัดสิน และสามารถควบคุมได้
5.17 มีนกหวีดทีม่ คี ณ ุ ภาพดี สามารถเป่าได้เสียงดังชัดเจน มีอ�ำนาจ และเกิดความเชือ่ มัน่
5.18 พยายามใช้สัญญาณมือที่เป็นทางการเท่านั้น
6. ภายหลังการแข่งขัน
6.1 ตรวจสอบใบบันทึกอย่างละเอียด
6.2 อย่าโต้เถียงกับผู้ฝึกสอน นักกีฬา และผู้ชม
6.3 รับฟังและยอมรับค�ำวิพากษ์วจิ ารณ์ดว้ ยความรูส้ กึ ทีด่ ี มีความต้องการทีจ่ ะปรับปรุง
ตนเอง และใฝ่หาแนวทางที่ดีกว่าอยู่เสมอ
7. เรื่องทั่วๆ ไป
7.1 ต้องเป็นผู้ตัดสินเพราะว่ามีใจรักกีฬาวอลเลย์บอล
7.2 มีความอยากท�ำหน้าที่เป็นอย่างมาก เพราะต้องการอุทิศตนเองให้แก่กีฬา
วอลเลย์บอล
7.3 มีทักษะและการแสดงออกซึ่งความเสียสละให้กับการแข่งขัน โดยไม่รบกวน
ให้การแข่งขันต้องหยุดชะงัก
7.4 แสดงถึ ง การมี ม นุ ษ ยสั ม พั น ธ์ ที่ ดี ต ่ อ ผู ้ ตั ด สิ น อื่ น ๆ ฝ่ า ยการจั ด การแข่ ง ขั น
ผู้ควบคุมการแข่งขัน ผู้ฝึกสอน นักกีฬา ทั้งก่อนแข่งขัน ขณะแข่งขัน และหลังการแข่งขัน
7.5 สุภาพและอ่อนโยนเสมอในทุกสถานการณ์ แต่ตอ้ งหลีกเลีย่ งการพูดคุยกับผูเ้ ล่น
ผู้ฝึกสอน และเจ้าหน้าที่ของทีม ทั้งในสนามแข่งขันและในโรงยิมเนเซียมที่แข่งขัน
7.6 ต้องพยายามคิดเสมอว่า ความจริงแล้วผูช้ มไม่ตอ้ งการมาดูผตู้ ดั สิน แต่ตอ้ งการ
มาชมนักกีฬาและทีมมากกว่า
7.7 ผู้ตัดสินที่ดีจะต้องสนุกสนานต่อการท�ำหน้าที่ มิฉะนั้นก็ควรลาออกจาก
การเป็นผู้ตัดสิน
คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 23


วามรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตัดสิน
กีฬาวอลเลย์บอล
1. การแบ่งระดับชั้นของผู้ตัดสิน
สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ได้ก�ำหนดระดับชัน้ ของผูต้ ดั สินซึง่ อยูใ่ นความรับผิดชอบได้
4 ระดับ
1.1 ผู้ตัดสินระดับชาติ (National Referees)
1.1.1 ผู้ตัดสินระดับชาติ คือ บุคคลที่ได้รับอนุญาตจากสมาคมวอลเลย์บอล
ของประเทศต่างๆ ให้ท�ำหน้าทีใ่ นการแข่งขันรายการระดับสูงของประเทศนัน้ ๆ และมีชอื่ ขึน้ ทะเบียน
กับสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
1.1.2 สมาคมวอลเลย์ บ อลของประเทศต่ า งๆ เป็ น องค์ ก รที่ ก�ำหนดขึ้ น
ในแต่ละประเทศ มีหน้าทีใ่ นการให้ความรูแ้ ละให้การรับรองบุคคลผูซ้ งึ่ มีความรูใ้ นกติกาการแข่งขัน
กีฬาวอลเลย์บอลอย่างสมบูรณ์ และสามารถประยุกต์เพื่อน�ำไปใช้ในขณะแข่งขันได้
1.1.3 สมาคมวอลเลย์บอลของประเทศต่างๆ จะสามารถก�ำหนดขั้นตอน
หรือขบวนการต่างๆ ในการแต่งตั้งผู้ตัดสินของประเทศนั้นๆ และส่งชื่อผู้ตัดสินระดับชาติเหล่านั้น
เพื่อขึ้นทะเบียนกับสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
1.2 ผู้ตัดสินเตรียมเป็นผู้ตัดสินนานาชาติ (International Referee Candidates)
1.2.1 บุคคลที่จะเตรียมขึ้นสู่ผู้ตัดสินระดับนานาชาติ คือ ผู้ตัดสินระดับชาติ
ของแต่ละประเทศ (ตามทีก่ �ำหนดไว้ในข้อ 1.1) ผูซ้ งึ่ มีชอื่ ขึน้ ทะเบียนไว้กบั สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
อย่างน้อย 3 ปี ที่ได้เข้าอบรม และสอบผ่านหลักสูตรผู้ตัดสินระดับนานาชาติที่รองรับโดยสหพันธ์
วอลเลย์บอลนานาชาติ ผู้ตัดสินเหล่านี้จะได้รับวุฒิบัตร “ผู้ตัดสินเตรียมเป็นผูต้ ดั สินนานาชาติ”
จากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ทัง้ นีจ้ ะต้องมีอายุเกินกว่า 20 ปี แต่ไม่เกิน 41 ปีบริบูรณ์ นับถึง
วันแรกของการอบรม
1.2.2 ผูต้ ดั สินระดับชาติทมี่ ชี อื่ ขึน้ ทะเบียนไว้กบั สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
เท่านัน้ ทีม่ สี ทิ ธิเ์ ข้ารับการอบรมหลักสูตร “การท�ำหน้าทีผ่ ตู้ ดั สินนานาชาติ” และจะต้องผ่านการ
รับรองจากแพทย์
1.2.3 ถ้าผู้ตัดสินสอบผ่านหลักสูตร “การท�ำหน้าที่ผู้ตัดสินนานาชาติ”
จะมีสิทธ์ได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้ตัดสินเตรียมเป็นผู้ตัดสินนานาชาติ
1.2.4 ขั้นตอนในการแต่งตั้งประกอบด้วย

24 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
1.2.4.1 เมื่ อ จบหลั ก สู ต ร ผู ้ อ�ำนวยการหลั ก สู ต รจะมอบวุ ฒิ บั ต ร
ผู้ผ่านการฝึกอบรม โดยผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรนี้จะต้องได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการฝ่ายตัดสิน
ในการประชุมครั้งต่อไป
1.2.4.2 หลังจากทีไ่ ด้มกี ารพิจารณาเห็นชอบ ฝ่ายเลขานุการส�ำนักงาน
ของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ จะได้จดั ส่งประกาศนียบัตรแก่ผเู้ ข้ารับการฝึกอบรม และแจ้งไปยัง
สมาคมของประเทศนั้นๆ
1.3 ผู้ตัดสินระดับนานาชาติ (International Referees)
1.3.1 ผู้ตัดสินระดับนานาชาติ คือ ผู้ตัดสินเตรียมเป็นผู้ตัดสินนานาชาติ
ตามข้อ 1.2 ผู้ซึ่งสามารถผ่านการปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินที่ 1 อย่างน้อย 7 ครั้ง ภายในเวลา 5 ปี
หลังการอบรม โดยใน 3 ครั้ง จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันระดับทวีปหรือระดับภูมิภาค
ที่อยู่ในความดูแลหรือยอมรับโดยสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
1.3.2 สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติจะมอบประกาศนียบัตรและบัตรประจ�ำตัว
ให้แก่ผู้ตัดสิน ที่ได้รับการเสนอจากฝ่ายคณะกรรมการผู้ตัดสินของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
หลังจากทีพ่ จิ ารณาแล้ว และมัน่ ใจว่าผูต้ ดั สินเหล่านัน้ มีคณ
ุ สมบัตคิ รบถ้วน และมีประสบการณ์เพียงพอ
1.3.3 ขั้นตอนในการแต่งตั้งประกอบด้วย
1.3.3.1 สมาคมแต่ละประเทศของผู้ตัดสินจะต้องเสนอผู้ตัดสินเหล่านั้น
ไปยังคณะกรรมการฝ่ายผู้ตัดสินของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ พร้อมกับแนบใบบันทึกที่เป็น
การแข่งขันระดับนานาชาติที่ผู้ตัดสินนั้นท�ำหน้าที่ผู้ตัดสินที่ 1 จ�ำนวน 7 ครั้ง โดยการรับรองของ
คณะกรรมการฝ่ายตัดสินของทวีปนั้นๆ จ�ำนวน 3 ครั้ง ภายในเวลา 5 ปี หลังการฝึกอบรม
1.3.3.2 คณะกรรมการฝ่ายผู้ตัดสินของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
จะตรวจสอบใบบันทึก และส่งให้คณะกรรมการฝ่ายบริหารพิจารณาตัดสินต่อไป
1.3.3.3 เมื่อคณะกรรมการฝ่ายบริหารพิจารณาแล้วจะส่งต่อให้
ส�ำนักงานเลขาธิการของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติตรวจสอบอีกครั้ง ถ้าทุกอย่างสมบูรณ์
ส�ำนักงานเลขาธิการจะส่งประกาศนียบัตรให้กับผู้ตัดสินเหล่านั้นทันที
1.3.4 สถานภาพของผู้ตัดสินนานาชาติ จะมีเวลา 4 ปี
1.3.5 ในช่วงระยะเวลานี้ สมาคมของแต่ละประเทศจะต้องส่งรายงาน
ผลการปฏิบัติงานทั้งในการแข่งขันระดับชาติและระดับนานาชาติของผู้ตัดสินแต่ละคนตามแบบ
รายงานของสหพันธ์ฯ ให้แก่ส�ำนักงานเลขาธิการสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ไม่เกินวันที่ 30
พฤศจิกายน ของทุกปี
1.3.6 จากการรายงานผลการปฏิบตั งิ านประจ�ำปี คณะกรรมการฝ่ายผูต้ ดั สิน
จะพิจารณาว่าผู้ตัดสินนานาชาตินั้น จะยังคงสภาพเป็นผู้ตัดสินระดับนานาชาติต่อไปหรือไม่
เมื่อครบเวลา 4 ปี
คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 25
1.3.7 ในกรณีที่ผู้ตัดสินคนใดไม่มีผลการปฏิบัติหน้าที่ระดับชาติหรือระดับ
นานาชาติ คณะกรรมการฝ่ายผู้ตัดสินสามารถยกเลิกสถานภาพของผู้ตัดสินคนนั้น และจะต้องให้
ผู้ตัดสินคนนั้นเข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้ตัดสินระดับนานาชาติหรือหลักสูตรฟื้นฟู (ทั้งภาคทฤษฎี
และภาคปฏิบัติ) ซึ่งควบคุมโดยวิทยากรของคณะกรรมการฝ่ายผู้ตัดสินของสหพันธ์วอลเลย์บอล
นานาชาติคนนั้น และได้รับการแต่งตั้งอีกครั้งในช่วงเวลา 4 ปี
1.3.8 อายุส�ำหรับผู้ตัดสินระดับนานาชาติจะก�ำหนดไว้ไม่เกิน 55 ปี
1.4 ผู้ตัดสินระดับโลก (FIVB Referees)
ผู้ตัดสินระดับโลก คือ ผู้ตัดสินระดับนานาชาติตามที่ได้ระบุไว้ในข้อ 1.3 ผู้ซึ่งได้
ท�ำหน้าทีผ่ ตู้ ดั สินที่ 1 ในการแข่งขันชิงแชมป์โลก เวิลด์คพั เวิลด์ลกี เวิลด์กรังปรีซ์ และโอลิมปิกเกม
ในระยะเวลา 4 ปี และได้รับการประเมินผลในระดับดีมากจ�ำนวนไม่น้อยกว่า 8 ครั้ง โดย
1.4.1 จากผลการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการฝ่ายผู้ตัดสิน
จะพิจารณาเสนอชื่อต่อคณะกรรมการบริหารเพื่อพิจารณา
1.4.2 ขั้นตอนในการแต่งตั้งประกอบด้วย
1.4.2.1 ผูต้ ดั สินระดับนานาชาติทไี่ ด้รบั การแต่งตัง้ มาแล้วไม่นอ้ ยกว่า
5 ปี อาจจะได้รับการเสนอชื่อเพื่อพิจารณาให้เป็นผู้ตัดสินระดับโลก
1.4.2.2 เฉพาะผู้ตัดสินระดับนานาชาติที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1.3
และ 1.4 เท่านั้น ที่อาจจะได้รับการพิจารณาเสนอชื่อ
1.4.2.3 การแต่งตัง้ จะต้องได้รบั การตรวจสอบจากส�ำนักงานเลขาธิการ
สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติก่อน และจึงเสนอต่อไปยังคณะกรรมการบริหารต่อไป
1.4.2.4 การแต่งตั้งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
บริหารของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
1.4.2.5 ทันทีทคี่ ณะกรรมการบริหารพิจารณาเห็นชอบแล้วส�ำนักงาน
เลขาธิการจะจัดส่งวุฒิบัตรและบัตรประจ�ำตัวใหม่ไปยังสมาคมวอลเลย์บอลของประเทศนั้นๆ
เพื่อที่จะได้ส่งตรงให้แก่ผู้ตัดสินผู้นั้นต่อไป
1.4.3 แต่ละประเทศสามารถมีผู้ตัดสินระดับโลกไม่เกิน 3 คน ในช่วงเวลา
เดียวกัน
1.4.4 เฉพาะผู้ตัดสินระดับโลกเท่านั้นที่สามารถได้รับเชิญเป็นรายบุคคล
(เป็นการส่วนตัว) เพื่อท�ำหน้าที่ในการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ และ
รายการแข่งขันที่เป็นทางการอื่นๆ
1.4.5 ผูต้ ดั สินระดับโลกจะมีขอื่ อยูใ่ นระยะเวลา 4 ปี และอาจจะถูกจัดล�ำดับให้
ตำ�่ ลงกว่าเดิมได้ ถ้าระดับความสามารถไม่เป็นไปตามข้อก�ำหนดของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ

26 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
2. สิทธิและหน้าที่ของผู้ตัดสิน
2.1 มีสิทธิเฉพาะในการท�ำหน้าที่ในการแข่งขันระดับนานาชาติ โดย
2.1.1 เฉพาะผู้ตัดสินระดับนานาชาติเท่านั้นที่จะได้รับอนุญาตให้ท�ำหน้าที่
ในการแข่งขันที่เป็นรายการของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
2.1.2 เจ้าหน้าทีท่ ไี่ ด้รบั การยอมรับ และมีชอื่ อยูใ่ นรายการแข่งขัน อาจจะท�ำ
หน้าที่ในนามของผู้ตัดสินนานาชาติ หรือผู้ตัดสินเตรียมเป็นผู้ตัดสินระดับโลกได้
2.2 ความรับผิดชอบ
2.2.1 ความรับผิดชอบของผู้ตัดสินทุกคนได้ก�ำหนดไว้ในระเบียบทั่วๆ ไป
ส�ำหรับการแข่งขันระดับนานาชาติซึ่งอยู่ในคู่มือ และข้อเสนอแนะส�ำหรับการตัดสินในการแข่งขัน
แต่ละรายการ ซึ่งถือเป็นระเบียบเฉพาะและต้องถือปฏิบัติ
2.2.2 ผู้ตัดสินนานาชาติทุกคน จะต้องมีสัญชาติที่ทางสมาคมประเทศนั้นๆ
ที่ตนเองสังกัด
2.2.3 ผูต้ ดั สินนานาชาติคนใดทีไ่ ด้รบั อนุญาตให้อยูใ่ นประเทศอืน่ อย่างถูกต้อง
ตามกฎหมาย จะได้รับการจ�ำแนกเป็นผู้ตัดสินของประเทศนั้น และเขาจะมีสิทธิตามเงื่อนไขได้
เมื่อเขาได้อยู่ในประเทศนั้นอย่างน้อย 1 ปี
2.2.4 ผู้ตัดสินคนใดที่มีสัญชาติอื่น แต่ได้อาศัยอยู่ในประเทศนั้นอย่างน้อย 3 ปี
สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติอาจจะอนุญาตให้ท�ำหน้าทีใ่ นการแข่งขันระดับนานาชาติได้ ถ้าได้รบั
การขออนุญาตจากประเทศนั้น และผู้ตัดสินนั้นยังมีระดับความสามารถอยู่ในระดับดี
2.3 การเข้าร่วมคลินิกการปฏิบัติหน้าที่ตัดสิน
2.3.1 การจัดท�ำคลินิกการปฏิบัติหน้าที่ตัดสิน จะต้องจัดภายใต้ค�ำแนะน�ำ
จากกรรมการฝ่ายผู้ตัดสินก่อนการแข่งขันส�ำหรับเจ้าหน้าที่ทุกคน การแข่งขันระดับภูมิภาคหรือ
ระดับทวีปจะต้องปฏิบัติตามก�ำหนดการดังนี้
2.3.1.1 การอบรมภาคทฤษฎี 4 ชั่วโมง ในวันแรก และภาคปฏิบัติ
8 ชัว่ โมง ในวันที่ 2 (ส�ำหรับการแข่งขันรายการของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ) หรือ 4 ชัว่ โมง
ในการแข่งขันระดับภูมิภาคหรือระดับทวีป
2.3.1.2 ส�ำหรับโปรแกรมการด�ำเนินการทีแ่ น่นอนดังกล่าวนัน้ จะต้อง
ได้รับการยืนยันจากเจ้าภาพผู้จัดการแข่งขัน
2.3.2 ผู้ตัดสินที่เข้าร่วมในการแข่งขันทุกคนจะต้องเข้าร่วมในการท�ำคลินิก
ดังต่อไปนี้
2.3.2.1 ผู้ตัดสินนานาชาติจะต้องเดินทางถึงเมืองที่จัดการแข่งขัน
3 วันเต็ม ก่อนการแข่งขัน

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 27
2.3.2.2 ผู้ตัดสินคนใดที่เดินทางถึงไม่ทันก�ำหนดเวลา สมาคมฯ ของ
ประเทศนั้นจะต้องถูกพิจารณาลงโทษตามระเบียบ
2.4 การประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่และการรายงาน
2.4.1 ใบประเมินผลการปฏิบตั หิ น้าที่ (R4) ในการแข่งขันรายการระดับโลก
หรือรายการที่เป็นทางการ คณะอนุกรรมการฝ่ายผู้ตัดสินจะต้องประเมินระดับความสามารถของ
ผู้ตัดสินทุกคน
2.4.2 การประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตัดสินจะด�ำเนินตามขั้นตอนดังนี้
2.4.2.1 คณะอนุกรรมการฝ่ายผูต้ ดั สิน 1 คน หรือทัง้ สองคนจะกรอก
เพื่อประเมินผลลงในใบประเมินเพียงชุดเดียว
2.4.2.2 หลังการแข่งขัน คณะอนุกรรมการฝ่ายผู้ตัดสินจะประชุม
เพื่อประเมินและยืนยันใบประเมินผลของผู้ตัดสิน
2.4.2.3 ประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายผู้ตัดสินจะเป็นผู้เก็บรวบรวม
ใบประเมินผล เพื่อจัดส่งส�ำนักงานเลขาธิการสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติพร้อมรายงาน
หลังการแข่งขันในรายการนั้นๆ
2.4.2.4 ในการประชุมประจ�ำปี คณะกรรมการฝ่ายผูต้ ดั สินจะพิจารณา
เพือ่ ยืนยันผลการประเมินของผูต้ ดั สินแต่ละคน เพือ่ การเสนอชือ่ เป็นผูต้ ดั สินระดับโลก (FIVB Referee)
2.4.3 จ�ำนวนผู้ตัดสินระดับนานาชาติ
จ�ำนวนผู้ตัดสินระดับนานาชาติของแต่ละประเทศจะถูกก�ำหนดโดย
ระดับพื้นฐานของแต่ละประเทศดังนี้
กลุ่ม A จ�ำนวน 20 คนต่อประเทศ (มีกิจกรรมการแข่งขันมาก)
กลุ่ม B จ�ำนวน 10 คนต่อประเทศ (มีกิจกรรมการแข่งขันปานกลาง)
กลุ่ม C จ�ำนวน 5 คนต่อประเทศ (มีกิจกรรมการแข่งขันน้อย)
2.4.4 ผู้ตัดสินเตรียมเป็นผู้ตัดสินระดับนานาชาติ จะไม่นับรวมอยู่ในจ�ำนวน
ของแต่ละประเทศ
2.5 การให้ออกและการยึดบัตรผู้ตัดสินระดับนานาชาติ
2.5.1 ผู้ตัดสินระดับนานาชาติคนใดที่ไม่มีกิจกรรมในการแข่งขันระดับชาติ
และระดับนานาชาติภายในระยะเวลา 2 ปี จะถูกให้ออก และจะต้องส่งคืนบัตรประจ�ำตัวให้กับ
ส�ำนักงานเลขาธิการสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
2.5.2 ผู ้ ตั ด สิ น คนใดที่ ไ ม่ ไ ด้ ท�ำหน้ า ที่ ใ นรายการแข่ ง ขั น ระดั บ นานาชาติ
ในช่วงเวลา 2 ปี ติดต่อกันจะถูกให้ออกโดย

28 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
2.5.2.1 ถ้าประเทศนัน้ ได้รอ้ งขอต่อคณะกรรมการฝ่ายผูต้ ดั สินอาจจะท�ำ
การทดสอบผู้ตัดสินนั้นเพื่อกลับเข้าร่วมกิจกรรมในกรณีที่ 1 และ 2
2.5.2.2 คณะกรรมการฝ่ายผู้ตัดสิน อาจจะท�ำการทดสอบผู้ตัดสิน
เป็นกรณีพิเศษ ถ้าได้รับการร้องขอจากประเทศนั้นๆ
2.5.3 ผูต้ ดั สินระดับนานาชาติคนใดทีห่ ยุดกิจกรรมเพือ่ การศึกษาหรือหน้าที่
การงานในช่วงเวลา 2 ปี โดยการขออนุญาตจากประเทศนั้น เมื่อครบก�ำหนดแล้วคณะกรรมการ
ฝ่ายผู้ตัดสินจะพิจารณาอนุมัติให้เพิ่มชื่อเข้าในรายชื่อผู้ตัดสินระดับนานาชาติได้อีก
2.5.4 ในระดับนานาชาติ จะไม่อนุญาตให้ผู้ตัดสินท�ำหน้าที่ทั้งผู้ฝึกสอน
และผูต้ ดั สินในเวลาเดียวกัน ถ้าผูต้ ดั สินคนใดท�ำหน้าทีเ่ ป็นผูฝ้ กึ สอนในระดับนานาชาติ ผูต้ ดั สินนัน้
จะถูกให้ออกจากกิจกรรมการตัดสินทันที

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 29

จิ ตวิทยาสำ�หรับผู้ตัดสิน
กีฬาวอลเลย์บอล
การแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล เป็นการแข่งขันทีใ่ ช้เวลายาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิง่ การแข่งขัน
ในระดับสูงๆ คู่แข่งขันที่มีระดับความสามารถใกล้เคียงกัน ยิ่งใช้เวลาในการแข่งขันมากยิ่งขึ้น
การแข่งขันเวิลด์ลกี เป็นการแข่งขันระดับสุดยอดของกีฬาวอลเลย์บอล การแข่งขันแต่ละเซตใช้เวลา
ไม่ต�่ำกว่า 30 นาที บางเซตใช้เวลาเกือบ 1 ชั่วโมง เพราะกว่าจะได้กันแต่ละคะแนนต้องต่อสู้กัน
อย่างหนักหนาสาหัส ผูต้ ดั สินต้องใช้ความพยายามอย่างสุดความสามารถในการควบคุมการแข่งขัน
ให้น่าชมและเกิดความตื่นเต้นส�ำหรับผู้ชม
ถ้าจะถามว่าการตัดสินนัดส�ำคัญๆ นัน้ ผูต้ ดั สินมีความรูส้ กึ หนักอกหนักใจเพียงไร คงจะต้องถาม
ความรูส้ กึ กับผูต้ ดั สินทีผ่ า่ นประสบการณ์การตัดสินระดับสูงๆ ตัดสินคูส่ �ำคัญๆ อย่างอาจารย์ทรงศักดิ์
เจริญพงศ์ ผู้ตัดสินระดับโลกคนเดียวของประเทศไทย รับรองว่าจะได้รับค�ำตอบว่า “หนักใจ”
ยิ่งการแข่งขันที่มีการชิงเงินรางวัลสูงๆ ใช้เวลาแข่งขันนาน ผู้ก�ำกับเส้นเป็นของเจ้าภาพ ผู้ตัดสิน
ก็ยิ่งท�ำหน้าที่ล�ำบากยิ่งขึ้น
เพื่อเป็นแนวทางส�ำหรับผู้ตัดสินและผู้ที่ก�ำลังอยากจะเข้ามาเป็นผู้ตัดสิน จึงได้น�ำเรื่องของ
จิตวิทยาทีจ่ ะช่วยผูต้ ดั สินให้ประสบความส�ำเร็จในการปฏิบตั หิ น้าทีม่ าเป็นแนวทางเพือ่ การศึกษาต่อไป
ต้องยอมรับกันว่า ผู้ตัดสินที่ได้รับการแต่งตั้งให้ท�ำหน้าที่ตัดสินคู่ส�ำคัญๆ มักจะเกิด
ความประหม่า ตื่นเต้น แต่ก็อยากท�ำหน้าที่ให้ดีที่สุดจนเกิดความกังวลใจ เกิดความกดดันตามมา
และอาจกลายเป็นความกลัวที่จะต้องท�ำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายดังกล่าว ดังนั้นถ้าต้องท�ำหน้าที่
ตัดสินคู่ที่ส�ำคัญๆ แล้วเกิดอาการทั้งหลายที่กล่าวมาแล้ว ก่อนอื่นจะต้องตั้งใจว่า “ต้องพยายาม
ลดในสิ่งที่ตนเองกลัวให้ได้ แล้วความกลัวจะถูกฆ่าให้หมดไป”
เพือ่ ช่วยให้จติ ใจสงบ ลดความหวาดกลัวให้หมดไป มีรา่ งกายและจิตใจพร้อมทีจ่ ะท�ำหน้าที่
จึงขอแนะน�ำให้ส�ำรวจรายการต่อไปนี้ ซึ่งบางอย่างจะต้อง “ท�ำ” แต่บางอย่างต้อง “ไม่ท�ำ” ก่อน
การแข่งขัน ได้แก่
1. ต้องท�ำกิจวัตรประจ�ำวันให้เป็นปกติเช่นที่เคยท�ำ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร
การพักผ่อนหลับนอน
2. อย่าพยายามเปลี่ยนแปลงก�ำหนดการต่างๆ ที่เคยท�ำอยู่เป็นอันขาด
3. ต้องรักษาวินยั ในการออกก�ำลังกายของตนเอง เพือ่ เสริมสร้างสมรรถภาพและความมัน่ ใจ
ในตนเอง

30 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
4. ต้องใช้เวลาสักระยะหนึง่ ก่อนการแข่งขัน สร้างจินตนาการว่าถ้าเกิดปัญหาต่างระหว่าง
การแข่งขัน แล้วให้นึกต่อไปว่าจะตัดสินหรือแก้ปัญหาอย่างไร ความกดดันต่างๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น
ถ้าหาค�ำตอบที่ชัดเจนให้แก่ปัญหาที่เกิดขึ้นได้
5. อย่าให้สิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดมาก่อน สร้างความแปลกประหลาดใจให้แก่ตัวเอง
เพราะจะท�ำให้ขาดความมั่นใจในการตัดสิน
6. อย่าเตรียมการล่วงหน้านานถึง 1 คืน เพราะจะท�ำให้เกิดความสับสนและความกดดัน
จนนอนไม่หลับ
7. จงใช้ท่าทาง สัญญาณมือ และความเคลื่อนไหวตามปกติที่เคยใช้
8. อย่าพยายามใช้ท่าทางหรือสัญญาณใหม่ๆ อย่างฉับพลันก่อนการแข่งขันนัดส�ำคัญๆ
9. ท�ำทุกอย่างทีเ่ ห็นว่าจะท�ำให้รา่ งกาย อารมณ์ และสมองพร้อมท�ำหน้าทีไ่ ด้อย่างดีทสี่ ดุ
10. หลีกเลีย่ งสิง่ ต่างๆ ทีอ่ าจท�ำให้เหน็ดเหนือ่ ย ไม่อยูใ่ นสภาพสมบูรณ์ในการท�ำหน้าที่
11. อย่าท�ำกิจกรรมใดๆ ที่อาจเกิดปัญหาและความสับสน ถ้าต้องท�ำควรท�ำหลังจาก
การแข่งขันเสร็จสิ้นแล้ว
12. ต้องมีความกระตือรือร้น ความกระหาย และความมั่นใจที่จะปฏิบัติหน้าที่
13. ต้องไม่มีความกระวนกระวายใจ หากเกิดขึ้นต้องพยายามคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา
ที่อาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
14. อย่าวิตกกังวลกับความกระวนกระวายใจหรือการนอนไม่หลับที่เกิดขึ้น
15. ต้องแต่งกายให้พร้อมที่จะเป็นผู้ชนะ ท�ำสิ่งที่เคยน�ำโชค น�ำของขลังหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ที่เคารพนับถือติดตัวไปด้วย
16. จงท�ำทุกอย่างตามขั้นตอนปกติที่เคยท�ำเช่นเคย เช่น ใส่ของขลังที่เคารพนับถือไว้
กระเป๋าใด ก็จงท�ำที่เคยท�ำทุกครั้ง
17. อย่ารับประทานอาหารมากๆ ในช่วง 2 ชั่วโมงก่อนการแข่งขัน เพราะจะท�ำให้ขาด
ความคล่องแคล่วว่องไว ควรรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่ายจ�ำนวนพอสมควร
18. ต้องสร้างความเคยชินกับสนามแข่งขัน โดยเข้าไปอยู่ภายในสนามแข่งขันนานพอที่
สายตาจะคุ้นเคยกับสภาพแสงและร่างกายเกิดความชินกับสภาพแวดล้อมของสนาม
19. ต้องหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ซึ่งมีผลต่อสายตาและระบบการหายใจของร่างกาย
ถ้าปฏิบตั ติ ามข้อเสนอดังกล่าวทัง้ 19 ข้อ น่าจะประสบความส�ำเร็จขัน้ พืน้ ฐานในการสร้าง
ความพร้อมทีจ่ ะท�ำหน้าทีผ่ ตู้ ดั สินนัดส�ำคัญ แต่จะส�ำเร็จหรือไม่เพียงใดนัน้ จะต้องอาศัยเทคนิคอืน่ ๆ
เข้าช่วยอีกมากมาย ซึ่งได้แก่

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 31
ท่าทางการแสดงออกที่มีการกลั่นกรองแล้ว
เมื่อจิตใจ ความรู้สึก และร่างกายพร้อมจะท�ำหน้าที่แล้ว จึงมีเทคนิคที่จะช่วยท�ำให้เกิด
ความมัน่ ใจในการท�ำหน้าทีผ่ ตู้ ดั สิน และช่วยท�ำให้ทา่ ทางทีแ่ สดงออกไปผสมกลมกลืนเป็นธรรมชาติ
ไม่เคอะเขิน คือ
1. การสร้างจินตนาการเพื่อเตรียมเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น
2. การสร้างแรงจูงใจเพื่อให้เกิดความอยากท�ำหน้าที่
3. การผ่อนคลายกล้ามเนื้อเพื่อไม่ให้เกิดความเมื่อยล้าขณะท�ำหน้าที่นานๆ
4. การควบคุมระบบการหายใจเพื่อระงับความตื่นเต้นและความเครียด
5. การเคลือ่ นไหวทีร่ วดเร็วเพือ่ การให้สญ ั ญาณนกหวีดและสัญญาณมือทันต่อเหตุการณ์
ที่เกิดขึ้น
6. การเป็นตัวของตัวเองเพื่อสร้างความมั่นใจในการตัดสินใจ
การสร้างเทคนิคเหล่านี้จะช่วยให้สามารถท�ำหน้าที่ผู้ตัดสินได้ในการแข่งขันทุกระดับ
แต่วิธีที่ดีที่สุดที่จะสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นได้ก็คือ หมั่นฝึกฝนโดยการปฏิบัติจริงหรือการได้ชม
การแข่งขันบ่อยๆ
ถ้าต้องท�ำหน้าที่ผู้ตัดสินในการแข่งขันที่ส�ำคัญๆ ต้องท�ำการฝึกซ้อมให้หนักเป็นพิเศษ
เพื่อให้สามารถตัดสินปัญหาความยุ่งยาก ความกดดัน หรือลูกเล่นที่ทีมต่างๆ น�ำมาใช้ได้อย่างถูกต้อง
ระหว่างการฝึกซ้อมเช่นนี้มีข้อเสนอแนะน�ำส�ำหรับผู้ตัดสิน คือ
1. ศึกษาปัญหาต่างๆ จากวีดิโอเทป โดยฝึกท่าทางประกอบตามท่าทาง ขณะตัดสิน
ต้องเยือกเย็นสุขุม ไม่ตื่นเต้น โดยอาศัยกระจกเงาช่วยท่าทาง
2. ฝึกควบคุมระบบหายใจเข้า-ออกของตนเองทั้งเร็วและช้า
3. เพิ่มพลังการสูบฉีดของเส้นโลหิต โดยการกระโดดขึ้น-ลงด้วยปลายนิ้ว
4. สร้างจินตนาการของปัญหาและแรงกดดัน แล้วคิดต่อไปว่าควรจะตัดสินใจอย่างไร
ด้วยท่าทางอย่างไร
5. ทบทวนอย่างรวดเร็วว่าหากเกิดเรือ่ งส�ำคัญทีส่ ดุ ในสนาม จะควบคุมอย่างไรให้การแข่งขัน
ด�ำเนินต่อไปอย่างรวดเร็ว
6. ฝึกเร่งและผ่อนคลายการท�ำงานของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ
7. บอกตัวเองอยู่เสมอว่า “เราท�ำได้”
8. นึกถึงความส�ำเร็จในการท�ำหน้าที่ตัดสินคู่ส�ำคัญๆ ที่ผ่านมา
9. ถึงแม้ว่าไม่เคยได้รับความส�ำเร็จมาก่อน เมื่อต้องท�ำหน้าที่ตัดสินนัดส�ำคัญ ก็ต้องท�ำ
ท่าทางเหมือนกับว่าเคยได้รับความส�ำเร็จในการท�ำหน้าที่ระดับนี้มาแล้ว
10. ใช้ความพยายามทั้งหมดที่มีอยู่ในการปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด

32 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ต้องรวบรวมความสุดยอดฝีมือที่มีอยู่ในตัวเอง รับฟังค�ำแนะน�ำ ข้อคิดเห็นจากผู้อื่น
แล้วน�ำมารวบรวมกับความคิดเป็นแนวในการตัดสิน เพื่อให้เกิดผลส�ำเร็จสูงสุด
การท�ำการบ้านก่อนลงมือปฏิบัติจริง โดยศึกษาทีมที่จะแข่งขัน ระบบการเล่นของทีม
ผู้ฝึกสอน และผู้เล่นที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นผู้สร้างปัญหา แล้วจะประสบผลส�ำเร็จในการตัดสิน
ผู้ตัดสินนั้น ตัดสินดีอย่างไร แต่ถ้ามาดหรือท่าทางไม่ดี ก็อาจเป็นจุดอ่อนให้ทีมและผู้ชมติติงได้
แต่ในทางตรงกันข้าม ผู้ตัดสินที่มาดหรือท่าทางดี ดูสุขุม ก็อาจท�ำให้เกมการแข่งขัน
ไม่น่าดูหรือไร้รสชาติได้ ถ้าการตัดสินไม่ดี ผู้ตัดสินที่สามารถควบคุมการแข่งขันให้เป็นไปตามกติกา
และสามารถปล่อยให้นักกีฬาใช้ลูกเล่นและเทคนิคต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์ จะท�ำให้เกมการแข่งขัน
เป็นไปอย่างตื่นเต้น ผู้ชมเกิดความสนุกสนาน ซึ่งเป็นเป้าหมายส�ำคัญที่จะท�ำให้กีฬาวอลเลย์บอล
เป็นที่ยอมรับของประชาชน
ความส�ำเร็จของผู้ตัดสินส่วนหนึ่งที่ส�ำคัญของการแข่งขัน คงไม่มีผู้ตัดสินคนใดอยากถูก
ผู้ชมโห่ อยากถูกผู้เล่นประท้วงอย่างแน่นอน

ขณะปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ต้องแสดงท่าทางว่าประสบความส�ำเร็จในการตัดสินตลอดเวลา ต้องนึกถึงความ
ส�ำเร็จที่เคยได้รับในการปฏิบัติหน้าที่ และต้องไม่ให้ความผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เกิดขึ้นอีก
ขณะท�ำหน้าที่ในปัจจุบัน ถ้าวางมาดหรือท่าทางได้เช่นนี้ จะท�ำให้ทีมหรือผู้ชมรู้สึกว่ามีความสุขุม
มั่นคง พร้อม และเต็มใจที่จะท�ำหน้าที่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะท�ำให้สามารถควบคุมการแข่งขันให้เป็น
ไปอย่างราบรื่น
2. ต้องใช้สายตาแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจในการตัดสิน ใบหน้าของผู้ตัดสินเป็นสิ่งที่
ส�ำคัญทีผ่ เู้ ล่นจะวัดได้วา่ เขาควรจะเชือ่ ฟังการตัดสินเพียงใด หากการแสดงออกทางใบหน้าเป็นการ
แสดงออกอย่างน่าเชื่อถือ ผู้เล่นก็จะไม่ค่อยกล้าคัดค้านหรือโต้แย้งการตัดสิน แต่ถ้าการแสดงออก
ทางใบหน้ า ดู ข าดความมั่ น ใจ ผู ้ เ ล่ น และผู ้ ฝ ึ ก สอนก็ มั ก จะแสดงอาการไม่ ย อมรั บ ค�ำตั ด สิ น
เมื่อการตัดสินบางลูกไม่ชัดเจน
สิ่งส�ำคัญที่จะท�ำให้การแสดงออกทางใบหน้าดูน่าเชื่อถือก็คือ สายตา การมอง และ
การแสดงออกทางสายตาของผูต้ ดั สินเป็นสิง่ ทีท่ า่ นจะต้องฝึกฝนกระจกเงาและรูปจากการท�ำหน้าที่
ที่ผ่านมาจะช่วยได้มาก ในการใช้สายตาเพื่อช่วยให้การแสดงออกทางใบหน้าดูมั่นคง น่าเชื่อถือ
การประสานสายตากับผู้เล่น ผู้ฝึกสอนที่มีปัญหา เพื่อควบคุมให้คนเหล่านี้ยอมรับการตัดสินต้อง
แสดงออกทั้งขู่ทั้งปลอบไปพร้อมๆ กัน
ถ้าทีมและผู้ชมมองว่ามีความสุขุมมั่นคงในการตัดสิน ตัวผู้ตัดสินก็จะเกิดความเชื่อมั่น
ในตนเองมากยิ่งขึ้น และจะท�ำให้สามารถควบคุมการแข่งขันได้ดียิ่งขึ้นด้วย

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 33
3. ต้องมีความสุภาพอ่อนโยน เป็นกันเองกับผู้เล่นและเจ้าหน้าที่ ผู้ตัดสินที่ประสบ
ความส�ำเร็จในการปฏิบตั หิ น้าทีต่ อ้ งเข้ากันได้ดกี บั นักกีฬาและเจ้าหน้าทีท่ กุ คน ซึง่ จะท�ำให้เกมการแข่งขัน
ด�ำเนินไปอย่างราบรื่น ตื่นเต้น ไม่ตึงเครียด หากผู้ตัดสินขาดสิ่งเหล่านี้ ผู้ชมจะรู้สึกว่าการแข่งขัน
ดูไม่ราบรื่น คล้ายกับจะเกิดปัญหาอยู่ตลอดเวลา ท�ำให้ความสนุกสนานดูลดน้อยลงไป เพราะผู้ชม
และทุกคนในสนามจะพะวงแต่วา่ เดีย๋ วคนนีจ้ ะมีเรือ่ งกับคนนัน้ คนนัน้ มีเรือ่ งกับคนนี้ และอาจจะท�ำให้
การแข่งขันต้องยุติลงบ่อยๆ ท�ำให้ผู้ชมเสียอารมณ์
4. ต้องมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้ตัดสินกับเจ้าหน้าที่ทุกคน การท�ำหน้าที่
ของผูต้ ดั สินจะประสบความส�ำเร็จได้ ก็ตอ่ เมือ่ ได้รบั ความร่วมมืออย่างดียงิ่ จากเจ้าหน้าทีท่ กุ คนในสนาม
ไม่ว่าจะเป็นผู้บันทึก ผู้ประกาศ ผู้ก�ำกับเส้น ผู้ควบคุมป้ายคะแนน เด็กเก็บบอลและถูพื้น
หากเจ้าหน้าที่คนใดคนหนึ่งไม่ให้ความร่วมมือ การแข่งขันจะต้องมีการหยุดชะงักเกิดขึ้น
ทันที และจะน�ำไปสู่ความสับสนชุลมุนวุ่นวาย เกมการแข่งขันขาดความราบรื่น
ดังนั้น ผู้ตัดสินจะถือว่าตนเป็นใหญ่ สั่งการตามอ�ำเภอใจไม่ได้เป็นอันขาด ผู้ตัดสินจะ
ต้องขอความร่วมมือและแสดงความเห็นอกเห็นใจเจ้าหน้าที่ทุกคนขณะปฏิบัติหน้าที่ เพื่อจะได้รับ
การสนองตอบจากเจ้าหน้าทีท่ กุ คนในทางทีด่ ี และจะท�ำให้ประสบความส�ำเร็จในการท�ำหน้าที่ ผูต้ ดั สิน
คงมีอะไรๆ อีกมากมายหลายอย่างที่จะช่วยให้ผู้ตัดสินเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง แต่ก็มีไม่น้อย
ทีผ่ ตู้ ดั สินมักจะท�ำลายเกมการแข่งขันทีส่ นุกสนานตืน่ เต้นลงไปโดยไม่รตู้ วั เพราะผูต้ ดั สินเหล่านัน้ คิดว่า
ตนเองเป็นพระเอกในสนาม อยากให้ตนเองเป็นจุดเด่น เป็นเป้าหมายของผู้ชมก็เลยเป่านกหวีด
หยุดการแข่งขันบ่อยๆ ท�ำให้ผู้ชมเสียอารมณ์ในการชมกีฬาที่ก�ำลังแข่งขันกันอย่างออกรสชาติ
ต้ อ งไม่ ลื ม ว่ า พระเอกในสนามนั้ น คื อ นั ก กี ฬ า ผู ้ ช มอยากจะชมพระเอกแสดงฝี มื อ
อย่างสุดฤทธิ์สุดเดช อยากดูเทคนิคและลูกเล่นที่แพรวพราวของนักกีฬาภายใต้การควบคุมของ
ผู้ตัดสินที่คอยดูแลให้พระเอกเล่นไปตามกติกาการแข่งขัน แต่ผู้ชมไม่ได้ตั้งใจมาชมผู้ท�ำหน้าที่
ผู้ตัดสินเป่านกหวีดหยุดการแข่งขัน ยิ่งหยุดการแข่งขันมากเท่าไร ความมันของการแข่งขัน
ก็จะลดน้อยลงเท่านั้น และนั่นแหละจะเป็นสาเหตุให้ผู้ชมเบื่อที่จะชมการแข่งขันวอลเลย์บอล
“หากผู ้ ตั ด สิ น คนหนึ่ ง ชอบเป่ า นกหวี ด หยุ ด การแข่ ง ขั น เพี ย งสาเหตุ ที่ ว ่ า สงสั ย ว่ า
ลู ก นั้ น จะผิ ด กติ ก า สงสั ย ว่ า ผู ้ เ ล่ น คนนั้ น ถู ก ตาข่ า ย นั่ น แสดงว่ า เป็ น ผู ้ ตั ด สิ น อี ก คนหนึ่ ง
ที่ ฆ ่ า เกมการแข่ ง ขั น อย่ า งน่ า เสี ย ดาย และจะไม่ มี ท างประสบความส�ำเร็ จ ในการตั ด สิ น ได้ เ ลย
หากท่านไม่ปรับปรุงตนเอง ผู้ตัดสินกับนักกีฬาไม่ใช่ต�ำรวจกับผู้ร้าย ดังนั้น หน้าที่ของผู้ตัดสิน
ไม่ใช่คอยจ้องจับผิดเหมือนต�ำรวจกับผู้ร้าย แต่ต้องท�ำหน้าที่ควบคุมและสร้างสรรค์ให้ผู้เล่น
ได้เล่นตามกติกาและสามารถแสดงออกได้อย่างเต็มที่ที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ ถ้าท�ำหน้าที่ได้เช่นนี้
จึงจะถือว่าเป็นผูต้ ดั สินทีป่ ระสบความส�ำเร็จในการปฏิบตั หิ น้าที่ และจะเป็นผูห้ นึง่ ทีช่ ว่ ยส่งเสริมกีฬา

34 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
วอลเลย์บอลให้เป็นทีน่ ยิ มชมชอบของผูค้ นทัว่ ไป อยากเป็นผูต้ ดั สินชัน้ ยอดก็ลองน�ำเอาจิตวิทยาการ
ตัดสินไปลองใช้กันดูและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะเป็นผู้ตัดสินที่ประสบความส�ำเร็จด้วยดีคนหนึ่ง
ในอนาคตได้ (ชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ. 2537 : 6)
จากหลักจิตวิทยาส�ำหรับผู้ตัดสินดังกล่าวข้างต้น ในฐานะที่ผู้เขียนมีประสบการณ์
ในการท�ำหน้าที่ตัดสินคู่ส�ำคัญๆ ในการแข่งขันรายการระดับโลกหลายรายการ ต้องยอมรับว่า
เมื่อได้รับการแต่งตั้งให้ท�ำหน้าที่คู่ส�ำคัญๆ ในบางครั้งอาจเกิดความตื่นเต้นหรือมีความกดดันอื่นๆ
ตามมา แต่ก็ได้พยายามใช้หลักจิตวิทยาเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ จนสามารถท�ำหน้าที่ได้อย่างราบรื่น
และได้รับค�ำชมเชยตลอดมา ซึ่งผู้เขียนขอเสนอแนะหลักจิตวิทยาเพื่อใช้ในการท�ำหน้าที่ดังนี้
1. การใช้หลักจิตวิทยากับทีมที่แข่งขัน
1.1 พยายามวางท่าทางว่าประสบความส�ำเร็จในการตัดสิน โดยไม่พยายามนึกถึง
ความผิดพลาดทีเ่ กิดขึน้ ในช่วงทีผ่ า่ นๆ มา แต่ตอ้ งพยายามนึกถึงการควบคุมเกมในขณะนัน้ ให้ดที สี่ ดุ
1.2 ใช้ ส ายตาและใบหน้ า ให้ เ ห็ น ถึ ง ความมั่ น ใจ การแสดงออกด้ ว ยสี ห น้ า ที่ มี
ลักษณะวิตกกังวลหรือสายตาแสดงออกถึงความไม่กล้า จะท�ำให้นักกีฬาขาดความเชื่อถือ และ
เป็นส่วนหนึ่งที่ท�ำให้เกิดการคัดค้านการตัดสินอยู่บ่อยๆ การแสดงออกทางสายตาของผู้ตัดสิน
เป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝน เช่น สังเกตจากกระจกเงา วีดีทัศน์ หรือภาพถ่ายต่างๆ ที่ปฏิบัติหน้าที่
การฝึกประสานตากับผูเ้ ล่น ผูฝ้ กึ สอน หรือเจ้าหน้าทีอ่ นื่ ๆ ต้องพยายามควบคุมให้เขาเหล่านัน้ ยอมรับ
การตัดสินของท่านด้วยการใช้สายตา
1.3 มีความสุภาพอ่อนโยนต่อผู้เล่นและเจ้าหน้าที่ทีมทุกคน ซึ่งสามารถท�ำให้เกม
การแข่งขันไม่ตึงเครียด แต่ราบรื่นและตื่นเต้น หากผู้ตัดสินคนใดไม่สามารถท�ำให้เกิดสิ่งเหล่านี้
ในการแข่งขัน ผู้ชมจะมีความรู้สึกว่าการแข่งขันไม่ราบรื่น มีแต่ปัญหาและอุปสรรคนานาประการ
1.4 ความผิดเล็กน้อยซึ่งผู้อื่นไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน จะต้องพยายาม
ไม่ตดั สินความผิดนัน้ เช่น การถูกตาข่าย หรือการลำ�้ เส้นแบ่งแดน หรือการผิดต�ำแหน่งเพียงเล็กน้อย
หากความผิดนั้นไม่ชัดเจนควรจะยกประโยชน์ให้กับทีม
1.5 อย่าชดเชยความผิดทีท่ า่ นท�ำผิดพลาดกับทีมหนึง่ และน�ำไปชดเชยให้กบั อีกทีมหนึง่
เป็นอันขาด
1.6 ในช่วงเวลาที่เป็นช่วงคับขัน เช่น เมื่อคะแนนใกล้จบเซตหรือใกล้จบการแข่งขัน
ถ้าความผิดนั้นไม่ชัดเจน จงอย่าพิจารณาตัดสินความผิดนั้นเป็นอันขาด โดยเฉพาะอย่างอย่างยิ่ง
เมื่อตัดสินลูกนั้นแล้ว จะมีผลท�ำให้การแข่งขันต้องจบเซตหรือจบการแข่งขันทันที ดังค�ำกล่าวที่ว่า
“ท�ำดีมาตลอดเวลา แต่ถ้าพลาดในช่วงสุดท้ายถูกต่อว่าแน่นอน”
1.7 อย่าพยายามเปลีย่ นค�ำตัดสินของตนเองบ่อยๆ ซึง่ อาจท�ำทีมและผูช้ มขาดความ
เชื่อถือ

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 35
2. การใช้หลักจิตวิทยากับเพื่อนร่วมงาน
2.1 พยายามให้การยอมรับค�ำตัดสินของเพือ่ นร่วมงาน ได้แก่ ผูต้ ดั สินที่ 2 ผูก้ �ำกับเส้น
รวมทั้งเจ้าหน้าที่เช็ดพื้น ถ้าไม่จ�ำเป็นอย่าพยายามปฏิเสธค�ำตัดสินของผู้ตัดสินที่ 2 หรือผู้ก�ำกับเส้น
2.2 พยายามสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ผู้ตัดสินที่ 2 และผู้ก�ำกับเส้น รวมทั้งผู้บันทึกและผู้ช่วยผู้บันทึกด้วย
2.3 พยายามให้ความร่วมมือประสานงานกันเป็นอย่างดีกบั เจ้าหน้าทีท่ กุ คน โดยเฉพาะ
เมื่อเป่านกหวีดให้หยุดการเล่นลูก ควรจะมองดูผู้ก�ำกับเส้นที่รับผิดชอบเส้นนั้นๆ หรือผู้ตัดสินที่ 2
ก่อนที่จะตัดสินว่าเป็นอย่างไร
3. การใช้หลักจิตวิทยากับตนเอง
3.1 อย่าพยายามท�ำลายเกมการแข่งขันที่สนุกตื่นเต้นโดยไม่รู้ตัว มีผู้ตัดสินจ�ำนวน
ไม่น้อยที่มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง แต่ขาดความช�ำนาญและประสบการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มี
ศิลปะในการตัดสิน โดยคิดว่าตนเองเป็นบุคคลส�ำคัญในสนาม พยายามท�ำทุกรูปแบบต่างๆ ทั้งๆ ที่
ขณะนั้นเกมการแข่งขันก�ำลังสนุกสนาน ตื่นเต้นอย่างเต็มที่ ลักษณะเช่นนี้ถือว่าเป็นการท�ำลาย
ผู้ชมจะเสียอารมณ์ในการชมกีฬา
3.2 อย่าเป็นคนช่างสงสัยหรือคาดเดา เช่น สงสัยว่าลูกนัน้ ผิดกติกา หรือผูเ้ ล่นคนนัน้
ถูกตาข่าย ลูกถูกผู้เล่นคนนั้นคนนี้แล้วออก หากไม่มั่นใจว่าเป็นความผิดที่ชัดแจ้ง ไม่ต้องเป่านกหวีด
3.3 พยายามคิดและบอกกับตนเองเสมอว่า “เราสามารถท�ำได้” โดยพยายามคิดถึง
สิ่งที่ท�ำส�ำเร็จมาแล้วเป็นสิ่งที่ยาก แต่ก็สามารถท�ำส�ำเร็จได้
3.4 พยายามทบทวนการแสดงสัญญาณมือที่หน้ากระจกเพื่อให้เกิดความมั่นใจ
3.5 ฝึกควบคุมระบบหายใจให้เป็นปกติ ในบางครัง้ อาจต้องหายใจเข้าลึกๆ เพือ่ เป็นการ
ลดอาการตื่นเต้นลงได้
3.6 พยายามใช้สญั ญาณให้สอื่ ความหมายโดยคงไว้ชวั่ ขณะหนึง่ เพือ่ ให้ทกุ คนได้มองเห็น
อย่างชัดเจน

36 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล

แ นวทางและข้อแนะนำ�ในการตัดสิน
(Refereeing Guidelines and Instructions)
แนวทางการตัดสินและข้อแนะน�ำในการตัดสินกีฬาวอลเลย์บอลนี้ สามารถใช้กบั การแข่งขัน
ได้ทุกระดับ ทั้งการแข่งขันระดับโลกและรายการแข่งขันที่เป็นทางการ เนื่องจากรายการแข่งขันเหล่านี้
เป็นรายการแข่งขันที่มีความส�ำคัญ ผู้ตัดสินทุกคนจะต้องเตรียมท�ำหน้าที่ให้เต็มความสามารถ
โดยมีสภาพร่างกายและจิตใจที่ดีที่สุด สิ่งส�ำคัญที่ผู้ตัดสินทุกคนพึงเข้าใจและเห็นความส�ำคัญ
ส�ำหรับกีฬาวอลเลย์บอลสมัยใหม่ คือ การแสดงความสามารถของนักกีฬา
คณะกรรมการฝ่ายผู้ตัดสินของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ได้ขอให้ผู้ตัดสินทุกคน
ที่ท�ำหน้าที่ในรายการส�ำคัญๆ นี้ ได้ศึกษากติกาการแข่งขันอย่างละเอียด และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
แนวทางการตัดสินและข้อแนะน�ำในการตัดสิน เพื่อท�ำให้การแข่งขันสนุกสนานและหลีกเลี่ยง
การหยุดชะงักใดๆ สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ และคณะกรรมการฝ่ายผูต้ ดั สินต่างก็มคี วามมัน่ ใจว่า
ผู้ตัดสินนานาชาติทุกคนต่างมีความสามารถและทราบว่าจะประยุกต์ใช้กติกาการแข่งขันอย่างไร
ดังนั้น จึงไม่จ�ำเป็นที่จะต้องอธิบายในรายละเอียดของกติกาการแข่งขัน จุดมุ่งหมายหลัก
ของเอกสารฉบับนี้ เพื่อที่จะท�ำให้เกณฑ์การตัดสินเป็นรูปแบบเดียวกัน
ถึงแม้วา่ เอกสารฉบับนีจ้ ะเป็นการจัดเตรียมและเน้นส�ำหรับผูต้ ดั สินนานาชาติ แต่ผตู้ ดั สินทุกคน
ในระดับชาติของทุกประเทศก็ควรได้มีการศึกษาในเนื้อหาต่างๆ และยิ่งกว่านั้นผู้ตัดสินระดับชาติ
ควรมีการอภิปรายถึงเอกสารนี้กับผู้ตัดสินระดับนานาชาติของประเทศนั้น
เป็นความเข้าใจผิดอย่างยิง่ ทีว่ า่ การท�ำหน้าทีต่ ดั สินนัน้ ไม่มอี ะไรมากไปกว่า การท�ำหน้าที่
ควบคุมการแข่งขัน โดยใช้กติกาเป็นเครื่องพิจารณาตัดสิน เพราะว่าการตัดสินย่อมไม่สามารถ
ท�ำให้เหมือนเครื่องจักร หรือน�ำกติกามาใช้โดยอัตโนมัติได้ แต่ความสามารถเป็นเครื่องก�ำหนด
ซึง่ ความสามารถนีเ้ ป็นความสามารถส่วนบุคคล ประสบการณ์ตา่ งๆ จะเกิดจากการได้เข้าร่วมกิจกรรม
เพียงผิวเผินเท่านัน้ แต่จะต้องเข้าไปมีสว่ นร่วมในการแข่งขันอย่างจริงจัง ดังนัน้ จะไม่สามารถท�ำหน้าที่
บรรลุเป้าหมายได้เลย ถ้าเพียงจ้องจับผิดของทีมและนักกีฬาหรือพิจารณาลงโทษเท่านั้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้
เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเป็นอย่างยิ่งต่อการตัดสิน ในทางตรงข้ามผู้ตัดสินจะต้องมีความเชี่ยวชาญและ
เป็นมิตรกับทุกคน ท�ำหน้าที่เพื่อเกมการแข่งขันและเพื่อนักกีฬา จะมีเพียงว่า ถ้าเป็นตามความผิด
ที่แท้จริงเท่านั้น จะพิจารณาตัดสินท�ำโทษ
ผู้ตัดสินไม่ควรใช้การคาดคะเนล่วงหน้า การตัดสิน แต่จะต้องคงไว้ในพื้นฐานของ
การแข่งขัน จะควบคุมเฉพาะสิ่งที่จ�ำเป็นเท่านั้น ดังเช่น ความประพฤติของนักกีฬาเป็นสิ่งจ�ำเป็น
ส�ำหรับกีฬาวอลเลย์บอลในปัจจุบนั กีฬาวอลเลย์บอลสมัยใหม่กบั เป้าหมายของสหพันธ์วอลเลย์บอล
คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 37
นานาชาติ มุง่ หวังทีจ่ ะให้กฬี าวอลเลย์บอลเป็นของผูช้ ม มุง่ ส่งเสริมการแสดงความสามารถทีเ่ ป็นเลิศ
ต่อผู้ชมเล่นกันในสถานที่เล็กๆ ที่ไม่มีคนดู แต่กีฬาวอลเลย์บอลในปัจจุบันได้มีการถ่ายทอดเผย
แพร่ออกไปทั่วโลก ผู้ชมไม่ต้องการที่จะได้ยินเสียงนกหวีดของผู้ตัดสินในแต่ละครั้ง แต่เขาต้องการ
ชมการแสดงออกซึ่งความสามารถที่เป็นเลิศของนักกีฬา ทั้งเป็นบุคคลและทีมในการเล่นลูก
เพื่อชัยชนะในแต่ละครั้ง
ผู้ตัดสินที่ดีจะสามารถช่วยให้การแข่งขันคงไว้บนพื้นฐานที่ดี แต่ผู้ตัดสินที่คอยขัดขวาง
การแสดงออกซึ่งความสามารถของนักกีฬาจะถือว่าเป็นผู้ตัดสินที่ไม่มีคุณภาพ และไม่ปฏิบัติ
ตามเจตนารมณ์ของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ผู้ตัดสินจะต้องส่งเสริมให้นักกีฬาและทีมได้แสดง
ให้ผู้ชมได้สนุกสนาน ตื่นเต้นภายใต้กติกาการแข่งขัน และยิ่งไปกว่านั้น ผู้ตัดสินจะต้องสร้าง
มนุษยสัมพันธ์อันดีกับผู้เล่น ผู้ฝึกสอน และถือว่าเป็นลักษณะนิสัยที่ควรท�ำ
ในขณะแข่งขัน ผู้ตัดสินจะต้องสามารถแยกแยะลักษณะการแสดงออกซึ่งความรู้สึก
ในการแข่งขันกับการแสดงลักษณะที่ไม่มีน�้ำใจนักกีฬา ผู้ตัดสินจะต้องไม่ลงโทษต่อการแสดงออก
ซึง่ ความรูส้ กึ ในการแข่งขันของนักกีฬาเพือ่ ให้การแข่งขันเป็นไปในบรรยากาศทีด่ ี เช่น การแสดงออก
โดยการยืนขึ้นเพื่อให้ก�ำลังใจกับเพื่อนร่วมทีมที่สามารถเล่นได้อย่างดีเยี่ยม แต่อย่างไรก็ตาม
การแสดงออกในทางทีไ่ ม่ถกู ต้อง หรือการทักท้วงการท�ำหน้าทีข่ องผูต้ ดั สิน ลักษณะเช่นนีถ้ อื ว่าเป็น
ข้อห้ามอย่างมากจะต้องมีการท�ำโทษ

การวิเคราะห์กติกาการแข่งขัน
กติกาข้อ 1 พื้นที่ลูกเล่น (Playing area)
1. ก่อนการแข่งขัน 2 วัน คณะกรรมการฝ่ายการตัดสินซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ของคณะกรรมการ
ควบคุมการแข่งขัน ต้องตรวจสอบขนาดของสนาม รวมทั้งคุณภาพของเส้นเขตสนามทุกเส้น
ถ้าไม่มีคณะกรรมการควบคุมการแข่งขัน ผู้ตัดสินจะต้องเป็นผู้ตรวจสอบและวัดขนาดของสนาม
ให้ได้ขนาดตามทีก่ �ำหนดโดยท�ำอย่างน้อย 1 วัน ก่อนการแข่งขัน ถ้าพบสิง่ ทีไ่ ม่เป็นไปตามข้อก�ำหนด
จะต้องแจ้งให้มีการแก้ไขทันที และจะต้องมั่นใจว่าได้มีการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ในการตรวจสอบ
จะต้องตรวจสอบเกี่ยวกับ
1.1 เส้นทุกเส้นจะต้องมีขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร (ต้องไม่มากหรือน้อยกว่า)
1.2 ความยาวของเส้นและเส้นทแยงมุม (ขนาด 12.73 เมตร หรือ 41 ฟุต 9 นิ้ว
ในแต่ละด้านทั้งสองด้าน)
1.3 เส้นสนามทุกเส้นจะต้องมีสีที่แตกต่างจากสีพื้นสนามและเขตพื้นที่รอบสนาม
1.4 ในกรณีที่ไม่ใช่การแข่งขันที่เป็นทางการ ถ้ามีเส้นของสนามอื่นๆ อยู่ในบริเวณ
เขตลูกเล่น เส้นเขตสนามจะต้องมีสีที่แตกต่างจากสีเส้นสนามอื่นๆ

38 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
2. เส้นแบ่งแดนให้ถือว่าเป็นพื้นที่ของทั้งสองฝ่าย (กติกาข้อ 1.3.3)
3. ผู้เล่นทุกคนมีสิทธิ์เล่นลูกนอกเขตพื้นที่รอบสนาม (ยกเว้นการเสิร์ฟ) ดังนั้นลูกบอล
จะสามารถน�ำกลับเข้ามาเล่นจากทุกจุดนอกเขตพื้นที่รอบสนามได้ แต่สถานการณ์และกติกา
มีความแตกต่างกันในพื้นที่รอบสนามของฝ่ายตรงข้าม (กติกาข้อ 10.1.2)

กติกาข้อที่ 2 ตาข่ายและเสาขึงตาข่าย (The net and posts)


1. เนื่องจากตาข่ายมีความยืดหยุ่นตัว ดังนั้น ผู้ตัดสินจะต้องส�ำรวจดูว่าตาข่ายได้ขึงตึง
พอหรือไม่ โดยการโยนลูกบอลใส่ตาข่าย และดูการกระดอนกลับของลูกบอลว่าดีพอหรือไม่ ลูกบอล
จะต้องกระดอนกลับอย่างดีเมื่อตาข่ายตึง แต่อุปกรณ์ที่จะใช้ต้องไม่ยืดหยุ่นมากเกินไป เช่น ยางยืด
จะไม่อนุญาตให้ใช้ตาข่ายที่มีรอยโป่งพอง (คล้ายถุง) แนวดิ่งของตาข่ายจะต้องตั้งได้ฉากกับพื้นที่
สนามและอยู่ที่กึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน เสาอากาศจะต้องติดไว้ที่ขอบนอกของแถบข้างแต่ละข้าง
(ไม่ใช่อยู่ที่กึ่งกลางของแถบข้าง)
2. ถ้าตาของตาข่ายขาด จะไม่อนุญาตให้มีการแข่งขัน (ดูกติกาข้อ 10.3.2)
3. ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องวัดความสูงของตาข่ายก่อนการเสี่ยง โดยใช้ที่วัดความสูง
(ควรเป็นโลหะ) ที่ออกแบบไว้ส�ำหรับการวัดความสูงของตาข่าย และเป็นอุปกรณ์ประจ�ำสนาม
ที่วัดความสูงจะต้องท�ำเครื่องหมายแสดงความสูงขนาด 243 และ 245 เซนติเมตร กับขนาด 224
และ 226 เซนติเมตร ส�ำหรับประเภทชายและประเภทหญิงตามล�ำดับ ผู้ตัดสินที่ 1 ควรจะอยู่ใกล้ๆ
กับผู้ตัดสินในขณะที่มีการวัดความสูงของตาข่าย เพื่อตรวจสอบและให้ค�ำแนะน�ำ
4. ในขณะแข่งขัน (โดยเฉพาะอย่างยิง่ ขณะเริม่ ต้นในแต่ละเซต) ผูก้ �ำกับเส้นจะต้องตรวจสอบ
แถบข้างทัง้ สองให้อยูใ่ นแนวดิง่ กับพืน้ สนามแข่งขัน และอยูเ่ หนือเส้นข้างโดยมีเสาอากาศติดอยู่ขอบ
ด้านนอกของแถบข้างแต่ละข้าง ถ้าไม่ตรงตามทีก่ �ำหนด ผูก้ �ำกับเส้นจะต้องปรับแก้ไขให้ถกู ต้องทันที
5. ก่อนการแข่งขัน (ก่อนอบอุน่ ร่างกายอย่างเป็นทางการ) และขณะท�ำการแข่งขันผูต้ ดั สิน
จะต้องคอยตรวจสอบเสาขึงตาข่าย และเก้าอี้ผู้ตัดสินว่าจะไม่เกิดอันตรายต่อผู้เล่น (เช่น ส่วนมือหมุน
ที่ยื่นออกรอบๆ เสา สายสลิงยึดเสา เป็นต้น)
6. อุปกรณ์เพิ่มเติมอื่นๆ เช่น ม้านั่งส�ำหรับทีม โต๊ะผู้บันทึก ออดสัญญาณไฟฟ้า 2 ตัว
พร้อมด้วยไฟสีแดงและสีเหลือง (ออดสัญญาณไฟฟ้าจะติดไว้ใกล้กับที่นั่งผู้ฝึกสอนแต่ละด้าน)
เพื่อให้สัญญาณในการขออนุญาตหยุดการเล่น (ขอเวลานอกและขอเปลี่ยนตัว) เก้าอี้ส�ำหรับ
ผู้ตัดสินที่ 1 ที่วัดความสูงของตาข่าย เครื่องวัดลมเพื่อวัดแรงอัดลมของลูกบอลที่ใช้แข่งขัน
เครื่องสูบลม เครื่องวัดอุณหภูมิ เครื่องวัดความชื้น ที่ตั้งลูกบอลส�ำหรับลูกบอลจ�ำนวน 5 ลูก
ป้ายเปลี่ยนตัว (1-20) ที่ถูพื้นขนาดกว้าง 1 เมตร 6 อัน ผ้าเช็ดพื้นส�ำหรับเจ้าหน้าที่เช็ดพื้นเร็ว
อย่างน้อย 8 ผืน ขนาด 40x40 ซ.ม. หรือ 40x80 ซ.ม. เก้าอี้ส�ำหรับผู้ถูกลงโทษในเขตลงโทษ
ด้านละ 2 ตัว และเสือ้ ส�ำรองหรือเสือ้ เอีย๊ มส�ำหรับผูเ้ ล่นตัวรับอิสระ ในการแข่งขันรายการของสหพันธ์
วอลเลย์บอลนานาชาติจะต้องมีออดสัญญาณบนโต๊ะผู้บันทึกเพื่อให้สัญญาณการผิดต�ำแหน่ง และ
ผู้เล่นตัวรับอิสระผิดต�ำแหน่ง การให้เวลานอกเทคนิค และการเปลี่ยนตัว
คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 39
7. ฝ่ายจัดการแข่งขันจะต้องจัดเตรียมเสาอากาศส�ำรองและตาข่ายส�ำรองไว้ใต้โต๊ะผู้บันทึก
8. ป้ายคะแนนไฟฟ้า ส�ำหรับการแข่งขันระดับนานาชาติ และจะต้องมีปา้ ยพลิกคะแนน
บนโต๊ะผู้บันทึก

กติกาข้อ 3 ลูกบอล (Balls)


1. มีที่วางลูกบอล (เป็นโลหะ) เพื่อวางลูกบอล 5 ลูก อยู่ใกล้ๆ โต๊ะผู้บันทึก (เป็นลูกที่ใช้
แข่งขัน 3 ลูก และลูกบอลส�ำรองอีก 2 ลูก)
2. ผู้ตัดสินที่ 2 เป็นผู้เก็บลูกบอลส�ำหรับแข่งขัน 5 ลูก และตรวจสอบลูกบอลก่อนการ
แข่งขันว่ามีลักษณะตามที่ก�ำหนดไว้ ได้แก่ สี เส้นรอบวง น�้ำหนัก และแรงอัดลม ผู้ตัดสินที่ 2 และ
ผู้ตัดสินที่ 1 จะท�ำการคัดเลือกลูกบอล 3 ลูก ไว้ส�ำหรับแข่งขันและอีก 2 ลูก ส�ำหรับเป็นลูกส�ำรอง
ผู้ตัดสินที่ 2 เป็นผู้รับผิดชอบลูกบอลทั้งหมดตลอดการแข่งขัน และส่งคืนให้แก่ผู้จัดการฝ่ายสนาม
เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันในคู่นั้น
3. เฉพาะลูกบอลที่มีเครื่องหมายของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติเท่านั้นที่สามารถ
ใช้แข่งขันได้ (เครื่องหมายและรูปแบบนี้ขึ้นอยู่กับการแข่งขันในแต่ละรายการ) ผู้ตัดสินที่จะต้อง
ตรวจสอบลูกบอลทัง้ หมด ถ้าลูกบอลไม่มตี ราประทับของ FIVB บนลูกบอล จะต้องไม่เริม่ แข่งขัน
4. ระบบการใช้ลูกบอล 3 ลูก ในขณะแข่งขันจะใช้เจ้าหน้าที่กลิ้งลูกบอล 6 คน ยืนอยู่
ในเขตรอบสนาม (ตามแผนผังที่ 10) โดยก่อนทีจ่ ะเริม่ การแข่งขัน เจ้าหน้าทีก่ ลิง้ บอลต�ำแหน่งที่ 2
และต�ำแหน่งที่ 5 (ผู้ที่อยู่ต่อจากบริเวณเขตเสิร์ฟ) จะรับลูกบอลจากผู้ตัดสินที่ 2 เพื่อส่งให้ผู้เสิร์ฟ
ขณะแข่งขัน เมื่อลูกบอลไม่ได้อยู่ในการเล่น (ลูกตาย)
4.1 ถ้าลูกออกนอกสนามแข่งขัน เจ้าหน้าที่กลิ้งบอลที่อยู่ใกล้ จะต้องกลิ้งลูกบอล
ส่งให้เจ้าหน้าที่กลิ้งบอลที่ได้ส่งให้แก่ผู้เสิร์ฟ
4.2 ถ้าลูกบอลอยูใ่ นสนาม ผูเ้ ล่นทีอ่ ยูใ่ กล้ลกู บอล จะต้องกลิง้ ลูกบอลออกจากสนาม
บริเวณเส้นเขตสนามที่ใกล้ที่สุดทันที
4.3 ทันทีทม่ี สี ญั ญาณแสดงว่าลูกตาย เจ้าหน้าทีก่ ลิง้ บอลทีอ่ ยูใ่ กล้ผเู้ สิรฟ์ (ต�ำแหน่งที่ 2 และ 5)
จะต้องส่งบอลให้แก่ผเู้ สิรฟ์ ให้เร็วทีส่ ดุ เพือ่ ให้การเสิรฟ์ สามารถท�ำได้อย่างรวดเร็วปราศจากการถ่วงเวลา
การส่งลูกบอลระหว่างเจ้าหน้าทีก่ ลิง้ ลูกบอลด้วยกัน จะใช้วธิ กี ารกลิง้ ไปบนพืน้ ในขณะทีล่ กู ตาย (ไม่ยนื )

กติกาข้อ 4 ทีม (Teams)


1. เจ้าหน้าที่ทีมทุกคนถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของผู้แทนของทีม ในการแข่งขันระดับโลก
ของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (นอกจากจะได้มีการก�ำหนดไว้เฉพาะในระเบียบการแข่งขัน)
ทีมก�ำหนดจ�ำนวนได้ถึง 17 คน ประกอบด้วยนักกีฬา 12 คน ซึ่งสามารถรวมผู้เล่นตัวรับอิสระได้

40 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
2 คน และเจ้าหน้าที่ทีม 5 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 2 คน นักกายภาพบ�ำบัด 1 คน
แพทย์ 1 คน (แพทย์และนักกายภาพบ�ำบัดจะต้องผ่านการรับรองจากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ)
ก่อนการแข่งขัน (ระหว่างพิธีการก่อนการแข่งขัน) ผู้ตัดสินจะต้องตรวจสอบจ�ำนวนเจ้า
หน้าที่ทีมที่มีสิทธิ์นั่งบนม้านั่งรวมถึงขณะท�ำการอบอุ่นร่างกายแต่ละด้าน ขณะท�ำการแข่งขัน
หรือขณะอบอุ่นร่างกาย ไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นมีส่วนร่วมรวมถึงช่วงพักระหว่างเซต ก่อนพิธีการ
ก่อนการแข่งขันอนุญาตให้ผู้มีรายชื่อในใบบันทึกสวมชุดวอร์มในเขตควบคุมการแข่งขันขณะท�ำการ
อบอุ่นร่างกาย (กติกาข้อ 4.2.2)
2. ในการแข่งขันระดับนานาชาติ แต่ละทีมจะมีนักกีฬา 12 คน และนักกีฬาเหล่านี้
จะต้องเป็นคนเดิม และใส่เสื้อที่มีหมายเลขเดิมในแต่ละนัด
3. โดยปกติแล้วในรายการแข่งขันระดับนานาชาติที่เป็นทางการ ผู้ตัดสินที่ 1 ไม่จ�ำเป็นต้อง
ขอเอกสารเพื่อตรวจสอบรายชื่อนักกีฬาในใบบันทึก (รายชื่อนักกีฬาจะได้รับการตรวจสอบ
โดยคณะกรรมการควบคุมการแข่งขันก่อนแล้ว) แต่อย่างไรก็ตามถ้ามีระเบียบข้อบังคับอื่นใด
เป็นพิเศษและไม่มีคณะกรรมการควบคุมการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่ 1 จะต้องตรวจสอบรายชื่อนักกีฬา
และเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับพิเศษนั้น นอกเหนือจากนั้น ผูต้ ดั สินที่ 1 จะบันทึก
การตัดสินใจนัน้ ลงในใบบันทึกหรือรายงานเพิม่ เติม (ในการแข่งขันทีร่ ะดับนานาชาติอย่างเป็นทางการ
โดยถามความคิดเห็นต่อคณะกรรมการฝ่ายอุทธรณ์)
4. ผู้ฝึกสอนและหัวหน้าทีม จะต้องเป็นผู้ตรวจรายชื่อนักกีฬา และเจ้าหน้าที่ทีม
ในใบบันทึกและลงนามรับรอง และจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบรายชื่อที่อยู่ในใบบันทึก
5. ผู้ตัดสินที่ 1 จะต้องตรวจสอบชุดแข่งขันของทั้งสองทีม ถ้าชุดแข่งขันไม่เป็นไปตาม
กติกาข้อ 4.3 จะต้องให้มกี ารเปลีย่ น ชุดแข่งขันจะต้องเหมือนกันทัง้ ทีม และเสือ้ ต้องใส่ไว้ในกางเกง
ตลอดเวลา หรืออย่างน้อยต้องแต่งกายสุภาพก่อนเริ่มการแข่งขันหรือในแต่ละเซต แถบเครื่องหมาย
หัวหน้าทีมจะต้องติดแน่นใต้หมายเลขบริเวณหน้าอกตลอดเวลาการแข่งขัน และสามารถมองเห็นได้
อย่างชัดเจน ทั้งนี้ผู้ตัดสินจะต้องตรวจสอบก่อนเริ่มการแข่งขัน
6. ถ้ า ทั้ ง สองที ม ใช้ ชุ ด แข่ ง ขั น ที่ มี สี เ หมื อ นกั น ที ม ที่ มี ช่ื อ แรกในก�ำหนดการแข่ ง ขั น
(ตามล�ำดับการจัด) รวมทั้งในใบบันทึก (ก่อนการเสี่ยง) จะต้องเป็นผู้เปลี่ยนชุดแข่งขัน
7. เครือ่ งแต่งกายส�ำหรับเจ้าหน้าทีท่ มี ให้รวมถึงชุดวอร์มและเสือ้ ยืด หรือเสือ้ นอกพร้อม
เสือ้ เชิต้ คอปก และเนกไท เจ้าหน้าทีท่ มี ทีอ่ ยูบ่ นม้านัง่ (ตามทีไ่ ด้มกี ารรับรองจากการประชุมสัมภาษณ์ทมี )
จะต้องใช้เครื่องแต่งกายอย่างหนึ่งทั้งทีมดังนี้
7.1 ทุกคนใช้ชุดวอร์มและเสื้อยืดที่มีสีและแบบเดียวกัน หรือ
7.2 ทุกคนใช้ชดุ เสือ้ นอก เสือ้ คอปก ผูกเนกไท (ส�ำหรับชาย) กางเกงขายาวทีม่ สี แี ละ
แบบเดียวกัน ยกเว้นผู้ฝึกที่อาจใช้ชุดวอร์มและเสื้อยืด

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 41
ในความหมายนีใ้ ห้หมายถึง ถ้าผูฝ้ กึ สอนถอดเสือ้ นอกหรือเสือ้ วอร์มออก เจ้าหน้าทีท่ มี ทุกคน
จะต้องถอดเสือ้ นอก และเสือ้ วอร์มออกด้วยเช่นกันทันที ทัง้ นี้ เพือ่ ให้มชี ดุ ทีเ่ หมือนกันทุกคน เฉพาะ
เจ้าหน้าที่ที่ใส่ชุดวอร์มเท่านั้นที่จะได้รับอนุญาตให้ลงไปในสนามเล่นขณะที่มีการอบอุ่นร่างกาย

กติกาข้อ 5 ผู้น�ำของทีม (Team Leaders)


1. ผูต้ ดั สินที่ 1 จะต้องสามารถแยกว่าหัวหน้าทีมในสนาม และผูฝ้ กึ สอนเท่านัน้ ทีส่ ามารถ
เข้าเกี่ยวข้องในระหว่างการแข่งขัน ผู้ตัดสินจะต้องทราบว่าใครคือหัวหน้าทีมในสนามตลอดเวลา
2. ในขณะแข่งขัน ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องคอยตรวจสอบว่าผู้เล่นส�ำรองได้น่ังอยู่บนม้านั่ง
หรืออยูใ่ นเขตอบอุน่ ร่างกาย ผูเ้ ล่นทีอ่ ยูใ่ นเขตอบอุน่ ร่างกายจะไม่สามารถใช้ลกู บอลในขณะก�ำลังแข่งขัน
แต่ละเซต ผู้เล่นที่ยังอยู่บนม้านั่ง หรืออยู่ในเขตอบอุ่นร่างกายไม่มีสิทธิ์ทักท้วงหรือโต้แย้งค�ำตัดสิน
ของผู้ตัดสิน การแสดงพฤติกรรมเช่นนี้จะต้องถูกผู้ตัดสินที่ 1 พิจารณาลงโทษ
3. ในกรณีทหี่ วั หน้าทีมในสนามขอค�ำอธิบายในการน�ำกติกามาใช้ในการตัดสิน ผูต้ ดั สินที่ 1
จะต้องให้ค�ำอธิบาย และถ้าจ�ำเป็นผูต้ ดั สินจะต้องไม่เพียงแต่แสดงสัญญาณมือซำ�้ ๆ เท่านัน้ แต่จะต้อง
ใช้ภาษาที่ใช้ในการปฏิบัติงานของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ หรือภาษาอื่นๆ ที่ใช้เป็นทางการ
โดยการพูดสรุปใช้ลักษณะทางเทคนิคของกติกาการแข่งขัน หัวหน้าทีมในสนามมีสิทธิ์เพียงขอ
ค�ำอธิบายหรือการตีความตามกติกาโดยผู้ตัดสินซึ่งเป็นการขอในนามของทีม (ดังนั้นถ้าหัวหน้าทีม
ที่ถูกเปลี่ยนตัวออกและอยู่ที่ม้านั่งหรือในเขตอบอุ่นร่างกายย่อมไม่มีสิทธิ์นั้น)
4. ผู้ฝึกสอนไม่มีสิทธิ์ในการขออนุญาตใดๆ จากคณะกรรมการตัดสิน นอกจากการ
ขอหยุดการเล่น (ได้แก่ การขอเวลานอก และการขอเปลี่ยนตัว) แต่ถ้าป้ายคะแนนไม่มีการแสดง
จ�ำนวนการขออนุญาตหยุดการเล่นไว้ หรือไม่มคี ะแนน หรือคะแนนไม่ชดั เจน ผูฝ้ กึ สอนสามารถซักถาม
กับผู้บันทึกได้ในขณะที่ลูกตาย

กติกาข้อ 6 การได้คะแนนการชนะในแต่ละเซต และการชนะในแต่ละนัด (To Score a point,


to win a set and the match)
ในการแข่งขันใช้ระบบการได้คะแนนทุกครัง้ เมือ่ มีการหยุดการเล่นลูก (Rally point system)
ถ้าทีมถูกปรับเป็นแพ้หรือไม่พร้อมในการแข่งขัน ผูบ้ นั ทึกจะต้องบันทึกรายละเอียดต่างๆ ให้สมบูรณ์
ตามที่ระบุไว้ในกติกา (กติกาข้อ 6.4)

กติกาข้อ 7 โครงสร้างของการแข่งขัน (Structure of play)


1. ผู้ตัดสินที่ 2 และผู้บันทึกจะต้องตรวจสอบใบส่งต�ำแหน่งก่อนที่ผู้บันทึกจะได้บันทึก
ล�ำดับข้อมูลลงในใบบันทึก โดยจะต้องตรวจสอบให้หมายเลขของผู้เล่นในใบบันทึกตรงกับในใบส่ง
ต�ำแหน่ง หากไม่ตรงกันจะต้องไม่รบั ใบส่งต�ำแหน่งนัน้ และผูต้ ดั สินที่ 2 จะต้องขอใบส่งต�ำแหน่งจาก
ผู้ฝึกสอนใหม่
42 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
2. เมื่อสิ้นสุดในแต่ละเซตผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องขอใบส่งต�ำแหน่งของเซตต่อไปจาก
ผูฝ้ กึ สอนทันที ทัง้ นีเ้ พือ่ เป็นการหลีกเลีย่ งไม่ให้เกิดการล่าช้าในการเปลีย่ นแดนช่วง 3 นาที ถ้าผูฝ้ กึ สอน
ไม่ได้เตรียมเขียนใบส่งต�ำแหน่งให้เรียบร้อย และท�ำให้เกิดการล่าช้าต่อการแข่งขันผู้ตัดสินที่ 1
จะต้องลงโทษถ่วงเวลาต่อทีมนั้นทันทีก่อนเริ่มต้นในเซตนั้น
3. ถ้ามีการผิดต�ำแหน่งเกิดขึ้น หลังจากผู้ตัดสินได้ให้สัญญาณมือการท�ำผิดต�ำแหน่งแล้ว
ผู้ตัดสินควรจะระบุผู้เล่นสองคนนั้นให้ชัดเจน ถ้าหัวหน้าทีมขอทราบรายละเอียดที่มากกว่านั้น
ในการผิดต�ำแหน่ง ผู้ตัดสินที่ 2 ควรหยิบใบส่งต�ำแหน่งจากกระเป๋าและแสดงให้หัวหน้าทีมได้ทราบว่า
ผู้เล่นคนใดเป็นผู้ร่วมกระท�ำผิดต�ำแหน่ง
4. ผู้ตัดสินที่ 1 ควรถามหัวหน้าทีมทั้งสองทีมก่อนการเสี่ยง (ทั้งสองทีมประสงค์ที่จะ
อบอุ่นร่างกายพร้อมกันหรือไม่)

กติกาข้อ 8 รูปแบบต่างๆ ของการเล่น (State of play)


1. เป็นความจ�ำเป็นอย่างมากที่จะต้องเข้าใจค�ำว่า “โดยสมบูรณ์” ในประโยคที่ว่า
ส่วนของลูกบอลได้สัมผัสพื้นนอกเส้นเขตสนามโดยสมบูรณ์
2. ลวดสลิงขึงตาข่ายที่อยู่นอกระยะความยาว 9.50 หรือ 10.00 เมตรนี้ ไม่ถือว่าเป็น
ส่วนของตาข่าย ในทีน่ ใี้ ห้รวมถึงเสาขึงตาข่าย และลวดสลิงทัง้ สองด้านด้วย ดังนัน้ ถ้าลูกบอลได้ถกู ส่วน
ที่อยู่นอกตาข่าย ซึ่งอยู่นอกแถบข้างทั้งสองข้าง (9 เมตร) ให้ถือว่าเป็นการถูกสิ่งกีดขวางภายนอก
และผู้ตัดสินทั้งสองคนจะต้องเป่านกหวีดให้สัญญาณเป็น “ลูกออก”

กติกาข้อ 9 การเล่นลูกบอล (Playing the ball)


1. การกีดขวางการเล่นลูกบอลโดยผูก้ �ำกับเส้น ผูต้ ดั สินที่ 2 หรือผูฝ้ กึ สอนทีอ่ ยูใ่ นเขตรอบสนาม
1.1 ถ้าลูกบอลถูกเจ้าหน้าที่หรือผู้ฝึกสอนให้ถือเป็นลูกออก (ตามกติกาข้อ 8.4.2)
1.2 ถ้าผู้เล่นอาศัยเจ้าหน้าที่หรือผู้ฝึกสอนเพื่ออาศัยเล่นลูกบอล ถือว่าผู้เล่นกระท�ำผิด
(การถูกลูกโดยมีการช่วยเหลือกติกาข้อ 9.1.3) ซึ่งจะต้องไม่ให้เล่นใหม่
2. ได้มกี ารเน้นย�ำ้ ว่าเฉพาะความผิดทีส่ ามารถมองเห็นได้เท่านัน้ ทีจ่ ะถูกท�ำโทษ ผูต้ ดั สินที่ 1
จะต้องพยายามมองส่วนของร่างกายทีส่ มั ผัสกับลูกบอล ในการพิจารณาตัดสินผูต้ ดั สินจะต้องไม่ให้
ลักษณะท่าทางของผู้เล่นทั้งก่อนหรือหลังการเล่นลูกบอลมามีส่วนเกี่ยวข้องกับการพิจารณาตัดสิน
โดยเฉพาะอย่างยิง่ คณะกรรมการฝ่ายผูต้ ดั สินได้เน้นย�ำ้ ว่า ผูต้ ดั สินต้องอนุญาตให้นักกีฬาเล่นลูกมือบน
ด้วยนิ้วมือ หรือการเล่นลักษณะอื่นๆ ได้ตามกติกาการแข่งขัน

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 43
3. เพือ่ ให้เกิดความเข้าใจในกติกาข้อ 9.2.2 ดีขนึ้ (ลูกบอลจะต้องถูกตี ไม่ใช่จบั หรือทุม่
ลูกบอลสามารถกระดอนออกได้ในทุกทิศทาง) จะต้องเข้าใจความหมายของค�ำว่า “ตี” คืออะไร
การตี หมายถึง ลักษณะทีล่ กู บอลได้กระดอนออกจากจุดกระทบ แต่การทุม่ ลูกบอลจะประกอบด้วย
2 ลักษณะ คือ การจับและการทุ่มหรือโยนลูกออกไป
4. ผูต้ ดั สินจะต้องพยายามรักษาระดับความแน่นอนในการเล่นลูกให้ถกู หลักเกณฑ์ตลอด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันนี้ กีฬาวอลเลย์บอลมีการหลอกล่อในการรุก มีการเปลี่ยนทิศทางของ
ลูกบอล ดังนั้น สิ่งส�ำคัญที่ต้องระมัดระวังคือ ในขณะที่มีการรุกจะสามารถใช้วิธีการแตะหยอดได้
ถ้าการรุกนัน้ ไม่ใช่เป็นการจับหรือทุม่ ลูกบอล ความหมายของการรุกด้วยการแตะหยอดคือ ลักษณะ
การกระท�ำด้วยมือหรือนิ้วมือข้างเดียวในขณะที่ลูกอยู่สูงกว่าตาข่ายโดยสมบูรณ์
ผู้ตัดสินที่ 1 จะต้องดูลักษณะการแตะหยอดอย่างใกล้ชิด ถ้าหลังจากการแตะหยอดลูกบอล
ไม่ได้มกี ารกระดอนออกทันที แต่เป็นการเคลือ่ นทีไ่ ปพร้อมกับมือ ถือว่าเป็นการทุม่ ซึง่ เป็นการท�ำผิด
จะต้องถูกท�ำโทษ
5. สิ่งที่พึงระมัดระวังเกี่ยวกับลักษณะการสกัดกั้นที่ไม่ถูกต้อง ถ้าไม่ใช่เป็นการป้องกัน
ลูกบอลที่มาจากฝ่ายตรงข้าม แต่จะใช้วิธีการจับลูก (โดยการยก ผลัก พา ทุ่ม หรือลากลูกบอล)
ในกรณีเหล่านี้ ผู้ตัดสินจะต้องท�ำโทษการสกัดกั้นนี้ว่าการจับลูกบอล (ไม่ควรให้เป็นการกระท�ำ
แบบโอ้อวด)
6. เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ผู้ตัดสินจ�ำนวนมากไม่เข้าใจเกี่ยวกับการเล่นลูกแรกของทีม
ดังนั้นเขาจึงไม่ได้น�ำไปปฏิบัติให้ถูกต้องตามกติกาข้อ 9.2.3.2 ซึ่งใน 4 กรณีที่จะนับว่าเป็นการเล่น
ลูกแรกของทีม (เป็นการเล่นลูกครั้งแรกในจ�ำนวน 3 ครั้งของทีม) ประกอบด้วย
6.1 การรับลูกเสิร์ฟ
6.2 การรับลูกที่มาจากการรุก (ไม่ใช่เฉพาะลูกตบ การรุกทุกลักษณะให้ดูในกติกา
ข้อ 13.1.1)
6.3 การเล่นลูกที่มาจากการสกัดกั้นของฝ่ายตรงข้าม
6.4 การเล่นลูกที่มาจากการสกัดกั้นของฝ่ายตนเอง
7. เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการแข่งขันระดับนานาชาติ เพื่อเป็นการส่งเสริม
การเล่นให้ยาวนานยิ่งขึ้น และเพื่อความตื่นเต้นของผู้ชม ผู้ตัดสินจะเป่านกหวีดเฉพาะการท�ำผิด
ที่รุนแรงเท่านั้น ดังนั้น ในขณะที่ผู้เล่นไม่อยู่ในท่าทางที่ดีพอที่จะเล่นลูกนั้น ผู้ตัดสินที่ 1 จะต้อง
ลดเกณฑ์ในการพิจารณาการตัดสินลงเกี่ยวกับการเล่นลูกบอล ตัวอย่างเช่น
7.1 ขณะทีต่ วั เซตก�ำลังวิง่ ไปเล่นลูกบอล หรือจ�ำเป็นต้องกระท�ำอย่างเร็วให้ถงึ ลูกบอล
เพื่อท�ำการเซตลูกนั้น

44 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
7.2 ผู้เล่นได้วิ่งอย่างเร็วหรือท�ำการอย่างรวดเร็วเพื่อเล่นลูกบอล หลังจากที่ลูกบอล
ได้กระดอนกลับจากการสกัดกั้นหรือจากผู้เล่นอื่นๆ
7.3 การถูกลูกครัง้ แรกของทีมสามารถท�ำได้โดยเสรี ยกเว้นถ้าผูเ้ ล่นจับหรือทุม่ ลูกบอล

กติกาข้อ 10 ลูกบอลที่บริเวณตาข่าย (Ball at the net) และกติกาข้อ 11 ผู้เล่นที่บริเวณ


ตาข่าย (Player at the net)
1. ในกติกาข้อที่ 10.1.2 ได้ให้สิทธิ์ผู้เล่นในการเล่นลูกจากบริเวณเขตรอบสนาม
ของฝ่ายตรงข้าม ผูต้ ดั สินที่ 2 และผูก้ �ำกับเส้นจะต้องเข้าใจกติกาข้อนีใ้ ห้ดี ในขณะแข่งขันทุกคนจะต้อง
ตระหนักและเปิดทางให้ผู้เล่นสามารถน�ำลูกนั้นกลับเข้ามายังแดนตนเอง ถ้าลูกบอลข้ามแนวดิ่ง
ของตาข่ายภายในพื้นที่ที่ก�ำหนดไปยังเขตรอบสนามของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งมีผู้เล่นถูกลูกบอล
เพื่อน�ำลูกบอลกลับมายังแดนตนเอง ผู้ตัดสินต้องเป่านกหวีดและแสดงสัญญาณลูกออก
2. ผู้ตัดสินจะต้องพยายามเอาใจใส่กติกาที่เกี่ยวกับผู้เล่นถูกตาข่าย การถูกตาข่ายหรือ
เสาอากาศ (กติกาข้อ 11.3.1) เว้นแต่ผเู้ ล่นนัน้ เกีย่ วข้องกับการเล่นลูกบอล โดยการถูกแถบบนของ
ตาข่ายหรือถูกเสาอากาศเหนือขอบบน (80 ซม.) ของตาข่าย นอกจากเป็นการถูกในขณะเล่น
ลูกบอล หรือเกี่ยวข้องกับการเล่นนั้น (ค�ำว่าก�ำลังเล่นลูกบอลนั้น หมายถึงลักษณะใดๆ ที่ผู้เล่น
ที่อยู่ใกล้ลูกบอลและพยายามเล่นลูกนั้น แต่จะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ คือ
ถ้าผูเ้ ล่นอยูใ่ นลักษณะก�ำลังเล่นลูกในแดนของตนเองและลูกบอลได้พงุ่ ชนตาข่ายจากฝ่ายตรงข้าม
เป็นเหตุให้ตาข่ายถูกผู้เล่น (กติกาข้อ 11.3.3) ลักษณะเช่นนี้ผู้เล่นไม่ได้ท�ำผิด)
3. ผู้ตัดสินจะต้องเอาใจใส่ในความจริงที่ว่า ลวดสลิงขึงตาข่ายที่อยู่นอกระยะความยาว
9.50 หรือ 10.00 เมตรนี้ ไม่ถือว่าเป็นส่วนของตาข่าย ในที่นี้ให้รวมถึงเสาตาข่ายและลวดสลิง
ทั้งสองด้านด้วย ดังนั้น ถ้าผู้เล่นได้ถูกส่วนที่อยู่นอกตาข่าย (ได้แก่ เสาขึงตาข่ายทั้งสองข้าง
แถบบนของตาข่ายที่อยู่นอกเสาอากาศทั้งสองด้าน) จะไม่ถือว่าเป็นการท�ำผิดกติกา เว้นแต่ท�ำให้
โครงสร้างของตาข่ายและเสาขึงตึงตาข่ายเสียหาย
4. ผูต้ ดั สินต้องแยกแยะระหว่างการลำ�้ ของเท้าหรือส่วนต่างๆ ของร่างกายผ่านเส้นแบ่งแดน
ไปยังเขตของฝ่ายตรงข้าม ขณะที่ล�้ำโดยส่วนต่างๆ ของร่างกายที่อยู่เหนือเท้าขึ้นไปสามารถสัมผัส
พื้นสนามของฝ่ายตรงข้ามได้ทั้งนี้ต้องไม่กีดขวางการเล่นของฝ่ายตรงข้าม
5. พึงระลึกเสมอว่าทีมที่เข้าร่วมแข่งขันในระดับสูงๆ นั้นการเล่นที่บริเวณใกล้ตาข่าย
นับว่าเป็นสิ่งส�ำคัญมาก ดังนั้นผู้ตัดสินจะต้องใส่ใจ (ระมัดระวัง) เป็นพิเศษ ในกรณีที่ลูกบอลถูกมือ
ผู้สกัดกั้น และหลังจากนั้นได้กระดอนออกนอกสนาม
6. การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตัดสินทั้ง 2 ต้องจดจ่อดูแถบบนและแถบล่างของตาข่าย
ด้านฝ่ายรุกและผู้ตัดสินที่ 2 ต้องจดจ่อดูตลอดช่วงความยาวของตาข่ายด้านฝ่ายสกัดกั้น

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 45
กติกาข้อ 12 การเสิร์ฟ (Service)
1. การอนุญาตให้ท�ำการเสิร์ฟ ผู้ตัดสินไม่จ�ำเป็นที่จะต้องรอให้ผู้เสิร์ฟพร้อม เพียงแต่ให้
ผู้เล่นที่จะเป็นผู้เสิร์ฟได้รับลูกบอลแล้ว
2. ผูต้ ดั สินที่ 1 ควรตรวจสอบการแสดงสัญญาณภาพซ�ำ้ ในการถ่ายทอดก่อนเป่านกหวีด
อนุญาตให้ท�ำการเสิร์ฟ
3. ผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ก�ำกับเส้นที่รับผิดชอบ จะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับต�ำแหน่งของ
ผู้เสิร์ฟในขณะที่ท�ำการเสิร์ฟ หรือก�ำลังเริ่มกระโดดเสิร์ฟ ผู้ก�ำกับเส้นจะต้องให้สัญญาณทันที
ถ้ามีการท�ำผิดเกิดขึ้น และผู้ตัดสินที่ 1 จะต้องเป่านกหวีดในความผิดนั้น ผู้เสิร์ฟสามารถเริ่ม
เคลือ่ นทีเ่ พือ่ การเสิรฟ์ จากนอกเขตเสิรฟ์ ได้ แต่ขณะทีเ่ ริม่ กระโดดเพือ่ การเสิรฟ์ นัน้ จะต้องอยูภ่ ายใน
เขตเสิร์ฟ
4. ในขณะทีล่ กู บอลก�ำลังกระทบมือผูเ้ สิรฟ์ ผูต้ ดั สินที่ 1 จะต้องสังเกตผูเ้ ล่นในสนามของ
ทีมเสิร์ฟ ในขณะที่ผู้ตัดสินที่ 2 ต้องสังเกตผู้เล่นในสนามของทีมที่รับเสิร์ฟ
5. ถ้าผู้เสิร์ฟไม่ยอมเข้าไปในเขตเสิร์ฟ หรือไม่ยอมรับลูกบอลจากเจ้าหน้าที่กลิ้งลูกบอล
โดยการเจตนาถ่วงเวลา ในกรณีนี้ทีมจะต้องถูกลงโทษถ่วงเวลา
หมายเหตุ ผู้ตัดสินส่วนมากและผู้เล่นต่างมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตีความในคู่มือนี้
โดยคิดว่าจะเริ่มนับเวลา 8 วินาที เมื่อผู้เสิร์ฟได้เริ่มโยนหรือปล่อยลูกบอลเพื่อท�ำการเสิร์ฟ
(ซึง่ เป็นความเข้าใจผิด) ในกติกาได้เน้นชัดเจนว่า “หลังจากผูต้ ดั สินที่ 1 เป่านกหวีดเพือ่ ให้เสิรฟ์ ”
6. สัญญาณมือที่ถูกต้องที่ผู้ตัดสินที่ 1 ใช้ในขณะที่การเสิร์ฟลูกนั้นลูกบอลถูกตาข่าย
และไม่อยู่ในการเล่น (ไม่ข้ามตาข่าย) ให้ใช้สัญญาณมือที่ 19
7. สมาคมวอลเลย์บอลในหลายๆ ประเทศ คณะกรรมการฝ่ายผู้ตัดสินไม่ได้เอาใจใส่
ในการบังการเสิรฟ์ (กติกาข้อ 13.5) ในการแข่งขันรายการในประเทศนัน้ ๆ จึงไม่ได้มกี ารใช้กติกาข้อนี้
โดยไม่เคยมีการลงโทษ การบังการเสิร์ฟเลย ดังนั้น จึงเกิดปัญหากับผู้ตัดสินและทีมจากประเทศ
เหล่านั้นในขณะที่เข้าร่วมแข่งขันระดับนานาชาติ ผู้ตัดสินที่ 1 ต้องเอาใจใส่ในเรื่องของการก�ำบังวิถี
และทิศทางของลูกบอลหรือของผู้เสิร์ฟระหว่างการเสิร์ฟของทีมเสิร์ฟ

กติกาข้อ 13 การรุก (Attack Hit)


1. จะต้องพยายามท�ำความเข้าใจให้ดีเกี่ยวกับกติกาข้อ 13.2.4 เรื่องการรุกลูกที่มาจาก
การเสิรฟ์ พึงระวังถึงหลักความจริงว่าจะต้องพิจารณาจากต�ำแหน่งของลูกบอลเท่านัน้ ไม่ใช่ต�ำแหน่ง
ของผูเ้ ล่น และจะถือว่าเป็นการท�ำผิดเมือ่ การรุกนีเ้ ป็นการรุกโดยสมบูรณ์ ซึง่ ผูต้ ดั สินที่ 1 จะต้องเป็น
ผู้เป่านกหวีดในความผิดนี้

46 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
2. ในการควบคุมการรุกของผู้เล่นแดนหลัง และผู้เล่นตัวรับอิสระ เป็นสิ่งจ�ำเป็นที่ต้อง
ท�ำความเข้าใจว่า การกระท�ำที่ผิดนั้นจะเป็นการท�ำผิดเมื่อเป็นการรุกโดยสมบูรณ์เท่านั้น (ลูกบอล
ได้ข้ามแนวตาข่ายอย่างสมบูรณ์ หรือลูกบอลได้ถูกสกัดกั้นคนใดคนหนึ่ง)

กติกาข้อ 14 การสกัดกั้น (Blocking)


1. ผู ้ ส กั ด กั้ น มี สิ ท ธิ ที่ จ ะท�ำการสกั ด กั้ น ลู ก บอลทุ ก ลู ก ที่ อ ยู ่ ใ นแดนของฝ่ า ยตรงข้ า ม
โดยยื่นมือล�้ำเหนือตาข่าย โดย
1.1 การเล่นลูกครั้งที่ 1 หรือครั้งที่ 2 ของฝ่ายตรงข้าม และลูกนั้นถูกส่งไปยัง
ฝ่ายตรงข้ามและ
1.2 จะต้องไม่มผี เู้ ล่นของฝ่ายตรงข้ามอยูใ่ กล้ตาข่าย ในบริเวณนัน้ เพือ่ จะท�ำการเล่นลูกต่อ
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้ามีผเู้ ล่นฝ่ายตรงข้ามอยูใ่ กล้ลกู บอลเพือ่ จะเล่นลูกนัน้ หากผูส้ กัดกัน้
ล�ำ้ เหนือตาข่ายและสัมผัสลูกบอลก่อนหรือขณะก�ำลังเล่นลูก ลักษณะเช่นนีจ้ ะเป็นการป้องกันการเล่น
ของฝ่ายตรงข้ามถือว่าผิดกติกา
หลังจากการเล่นลูกครั้งที่ 3 ของฝ่ายตรงข้ามแล้ว ผู้สกัดกั้นสามารถท�ำการสกัดกั้น
ได้ทุกลูกที่อยู่ในแดนของฝ่ายตรงข้าม
2. การเซตโดยการส่งลูกผ่านให้เพือ่ นร่วมทีม (ไม่ใช่การรุก) ซึง่ ไม่ได้ขา้ มตาข่ายไปในแดน
ของฝ่ายตรงข้าม จะไม่อนุญาตให้สกัดกั้นล�้ำเหนือตาข่าย ยกเว้นหลังจากถูกลูกครั้งที่ 3 แล้ว
3. ถ้ า ผู ้ ส กั ด กั้ น ยื่ น มื อ ล�้ ำ เหนื อ ตาข่ า ยและตี บ อลนั้ น แทนลั ก ษณะของการสกั ด กั้ น
จะถือว่าเสีย (การล�ำ้ เหนือตาข่าย หมายถึง การยืน่ มือขึน้ เหนือตาข่ายเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้าม)
4. ตามกติกาข้อ 14.6.3 “การสกัดกั้นลูกจากการเสิร์ฟของฝ่ายตรงข้าม” หมายถึง
การสกัดกั้นโดยสมบูรณ์จากลูกที่มาจากการเสิร์ฟจะถือว่าเสีย
5. ปัจจุบนั ได้มกี ารอนุญาตให้ลกู บอลสามารถถูกส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ ถ้าขณะท�ำการ
สกัดกั้นลูกบอลได้ถูกเท้าจะถือว่าไม่เสียและยังคงเป็นการสกัดกั้น

กติกาข้อ 15 การหยุดการแข่งขันตามกติกา (Regular game Interruptions)


1. เวลานอกและเวลานอกทางเทคนิค
1.1 ผู้ฝึกสอนต้องแสดงสัญญาณมือเพื่อขอเวลานอกอย่างเป็นทางการเท่านั้น
การยื น ร้ อ งขอด้ ว ยวาจาหรื อ การกดออดสั ญ ญาณเพี ย งอย่ า งเดี ย วผู ้ ตั ด สิ น มี อ�ำนาจปฏิ เ สธ
การขอเวลานอกนั้น ผู้ตัดสินที่ 1 สามารถด�ำเนินการลงโทษในกรณีท�ำให้เกมการแข่งขันล่าช้า
(ถ่วงเวลา) โดยด�ำเนินการลงโทษตามกติกา

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 47
1.2 ผูช้ ว่ ยผูบ้ นั ทึกจะต้องให้สญ ั ญาณเวลานอกทางเทคนิคด้วยสัญญาณออดหลังจาก
ที่ทีมท�ำคะแนนน�ำถึง 8 และ 16 คะแนน ในแต่ละเซต (ไม่ใช่เป็นความรับผิดชอบของผู้ตัดสินที่ 2)
ในท�ำนองเดียวกันผู้ช่วยผู้บันทึกจะต้องให้สัญญาณหมดเวลานอกทางเทคนิคและผู้ประกาศ
ต้องประกาศว่า “เวลานอกทางเทคนิคครั้งที่ 1” เมื่อหมดเวลานอกทางเทคนิค จะต้องประกาศว่า
“หมดเวลานอกทางเทคนิค” ซึ่งในกระบวนการนี้จะใช้กับเวลานอกทางเทคนิคครั้งที่ 2 ด้วยเช่นกัน
ผูต้ ดั สินที่ 2 จะต้องมัน่ ใจว่าผูเ้ ล่นจะต้องไม่เข้าไปในสนามก่อนทีส่ ญ
ั ญาณหมดเวลานอกทางเทคนิค
จะดังขึ้น โดยทั่วไปแล้วถ้าเกิดปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับการท�ำงานของผู้บันทึก ผู้ตัดสินที่ 2
สามารถตรวจสอบการท�ำงานของเขาได้เช่นกัน
2. การเปลี่ยนตัว
2.1 ผู้ตัดสินที่ 2 ต้องยืนระหว่างเสาขึงตาข่ายกับโต๊ะผู้บันทึกคะแนนเว้นแต่
การเปลี่ยนตัวนั้นผิดระเบียบ จากนั้นผู้ตัดสินท�ำสัญญาณไขว้แขนเพื่อให้ผู้เล่นเปลี่ยนตัวใน
เขตเปลี่ยนตัว ในกรณีการเปลี่ยนตัวผู้เล่นจ�ำนวนหลายคน ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องรอให้ผู้บันทึกแสดง
สัญญาณมือเมื่อการบันทึกการเปลี่ยนตัวของแต่ละคนเสร็จสิ้น
2.2 การเปลี่ยนตัวผู้เล่นหลายคนต้องด�ำเนินการในแต่ละคู่ภายในเขตเปลี่ยนตัว
โดยการก�ำกับของผู้บันทึก อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนตัวผู้เล่นต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยต้องยืน
อยู่นอกเขตเปลี่ยนตัว หากไม่ยืนใกล้เขตเปลี่ยนตัว ผู้ตัดสินจะปฏิเสธโดยไม่มีการลงโทษ
2.3 ข้อส�ำคัญในการเปลี่ยนตัวคือผู้เล่นต้องเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วและด�ำเนินการ
เปลี่ยนตัวอย่างราบรื่น วิธีการในการเปลี่ยนตัวแบบใหม่มุ่งหมายให้เกมการแข่งขันด�ำเนินไปอย่าง
ราบรืน่ และหลีกเลีย่ งความล่าช้าของขัน้ ตอนในการเปลีย่ นตัว หากผูเ้ ล่นถูกลงโทษในกรณีถว่ งเวลา
เนือ่ งจากไม่พร้อมท�ำการเปลีย่ นตัวนัน้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผูต้ ดั สินที่ 2 และผูบ้ นั ทึกคะแนน
โดยไม่ใช้นกหวีดหรือกริง่ สัญญาณในการปฏิเสธการเปลีย่ นตัว (กติกาข้อ 15.10.3A และ 15.10.4)
3. กรณีนกั กีฬาบาดเจ็บรุนแรงผูต้ ดั สินต้องหยุดการแข่งขันและอนุญาตให้แพทย์ประจ�ำ
ทีมเข้าไปในสนามโดยสอบถามถึงความต้องการในการเปลี่ยนตัวของทีม ข้อยกเว้นในการเปลี่ยน
ตัวเนื่องจากการบาดเจ็บสามารถกระท�ำได้โดยทีมและไม่ถือเป็นการเปลี่ยนตัวปกติ โดยผู้เล่น
ที่บาดเจ็บไม่สามารถกลับมาเล่นในนัดนั้นได้อีก (กติกาข้อ 15.7) ผู้ตัดสินต้องแยกแยะให้ชัดเจน
ระหว่างการเปลี่ยนตัวที่ผิดกติกากับการขอเปลี่ยนตัวตามกติกา (ทีมท�ำการเปลี่ยนตัวผิดกติกา,
การแข่งขันในคะแนนนั้นอีกครั้ง, และไม่มีการบันทึกโดยผู้บันทึกหรือผู้ตัดสินที่ 2, กติกาข้อ 15.9)
ส่วนการเปลี่ยนตัวผิดกติกา (กติกาข้อ 16.1.3) ผู้บันทึกหรือผู้ตัดสินต้องด�ำเนินการปฏิเสธ
และลงโทษถ่วงเวลา

48 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
4. การขอเปลี่ยนตัวก่อนเริ่มต้นเซตนั้นสามารถท�ำได้และจะต้องมีการบันทึกการขอ
เปลี่ยนตัวนี้ในเซตนั้นๆ โดยผู้ฝึกสอนต้องท�ำสัญญาณมือขอเปลี่ยนตัว
5. ผู้ตัดสินจะต้องศึกษาและท�ำความเข้าใจให้ถ่องแท้ในกติกาที่เกี่ยวกับ “การขอหยุด
การแข่งขันทีผ่ ดิ กติกา” (Improper request) (กติกาข้อ 15.6) ซึง่ ควรท�ำความเข้าใจในเรือ่ งต่างๆ คือ
5.1 ความหมายของการขอหยุดการแข่งขันที่ผิดกติกา
5.2 มีกรณีใดบ้างที่เป็นการขอหยุดการแข่งขันที่ผิดกติกา
5.3 เมื่อเกิดกรณีต่างๆ ขึ้น อะไรคือขบวนการที่ต้องท�ำ
5.4 ถ้าทีมท�ำซ�้ำอีกในนัดนั้นจะต้องท�ำอะไรต่อไป
ในขณะแข่งขัน ผู้ตัดสินที่ 1 จะต้องคอยตรวจสอบดูว่าผู้ตัดสินที่ 2 ได้ด�ำเนินการ
ถูกต้องตามกติกาที่เกี่ยวกับ “การขอหยุดการแข่งขันที่ผิดกติกา”
6. ข้อแตกต่างของการเปลี่ยนตัว ลิโบโร่ (กติกาข้อ 19.3.2) กับการเปลี่ยนตัวปกติ
เป็นอำ�นาจของผู้ตัดสินที่ 2 หรือผู้บันทึกตามข้อมูลในใบบันทึกคะแนน (กติกาข้อ 15.5 ถึง 15.10)
โดยผู้ช่วยผู้บันทึกเป็นผู้ทำ�หน้าที่บันทึกการเปลี่ยนตัว ลิโบโร่ รวมถึงการแต่งตั้งลิโบโร่คนใหม่ลง
ในใบบันทึกตัวลิโบโร่ (R-6) โดยการเปลี่ยนตัวทุกครั้งต้องทราบหมายเลขผู้เล่นปกติที่เปลี่ยนกับ
ลิโบโร่ตลอดเวลา

กติกาข้อ 16 การถ่วงเวลาการแข่งขัน (Game Delays)


1. ผูต้ ดั สินจะต้องท�ำความคุน้ เคยให้ถกู ต้องกับหลักการต่างๆ เกีย่ วกับการถ่วงเวลาทุกชนิด
รวมทั้งการลงโทษการถ่วงเวลา ยิ่งไปกว่านั้นผู้ตัดสินจะต้องมีความเข้าใจอย่างชัดเจนถึงความแตกต่าง
ระหว่างการขอหยุดการแข่งขันที่ผิดกติกากับการถ่วงเวลา
2. ผู้ตัดสินจะต้องพยายามป้องกันไม่ให้ทีมท�ำการถ่วงเวลาทั้งโดยการเจตนาและไม่เจตนา
ตัวอย่างของการถ่วงเวลา :
ผู้เล่นถ่วงเวลาการแข่งขัน โดยการขออนุญาตต่อผู้ตัดสิน เพื่อขอผูกเชือกรองเท้า
กรณีเช่นนี้ ถึงแม้วา่ จะเป็นการขอครัง้ แรกก็ตามจะต้องถูกท�ำโทษการถ่วงเวลา (เตือนถ่วงเวลา) ทันที
สาเหตุหลักของการถ่วงเวลา ประกอบด้วย การขอเปลี่ยนตัว การขอเวลานอก
การขอผูกเชือกรองเท้า การขอเช็ดพื้น
ผู้เล่นคนใดขออนุญาตต่อผู้ตัดสินให้หยุดการเล่นเพื่อผูกเชือกรองเท้า แสดงว่าตั้งใจ
ถ่วงเวลาการเล่น จะต้องถูกลงโทษถ่วงเวลา (Delay Sanction)
3. การท�ำโทษส�ำหรับการถ่วงเวลาเป็นการท�ำผิดของทีม ไม่ใช่การท�ำผิดมารยาทของ
สมาชิกในทีม ซึง่ หมายความรวมถึงกรณีทสี่ มาชิกทีมคนใดคนหนึง่ เป็นสาเหตุของการถ่วงเวลาด้วย

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 49
4. สิ่งส�ำคัญ คือ “การเตือนถ่วงเวลาเพียงแต่แสดงสัญญาณมือเท่านั้น (ใช้สัญญาณ
ที่ 25 โดยใช้บัตรเหลืองและต้องมีการบันทึกในใบบันทึกในช่องการลงโทษใต้ตัวอักษร “W”
แต่อย่างไรก็ตาม “การลงโทษถ่วงเวลา” จะต้องแสดงสัญญาณมือโดยใช้บัตรสีแดงและบันทึกลง
ในใบบันทึกในช่องการลงโทษใต้ตัวอักษร “P”
5. การเช็ดพื้น
จุดประสงค์หลักของการเช็ดพืน้ เพือ่ เป็นการป้องกันผูเ้ ล่นให้เกิดความปลอดภัย ท�ำให้
การแข่งขันได้ต่อเนื่อง โดยการหลีกเลี่ยงผู้เล่นที่จะต้องถูพื้นด้วยตนเอง
5.1 เจ้าหน้าที่เช็ดพื้นและอุปกรณ์ส�ำหรับเช็ดพื้น
5.1.1 เจ้าหน้าที่เช็ดพื้นจะใช้เจ้าหน้าที่เช็ดพื้นด้านละ 4 คน รวม 2 ด้าน
จ�ำนวน 8 คน เจ้าหน้าทีเ่ ช็ดพืน้ นีจ้ ะต้องได้รบั การฝึกเพือ่ ท�ำหน้าทีน่ เี้ ป็นอย่างดี และจะเป็นประโยชน์มาก
ถ้าเจ้าหน้าที่เช็ดพื้นเคยมีประสบการณ์เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลมาก่อน
5.1.2 อุปกรณ์ส�ำหรับเช็ดพื้น ประกอบด้วย
• ที่เช็ดพื้นขนาดกว้าง 1 เมตร พร้อมด้ามจับ จ�ำนวน 6 อัน
• แต่ละด้านของเขตอบอุน่ ร่างกายจะมีทเี่ ช็ดพืน้ จ�ำนวน 3 อันอยูใ่ กล้ๆ
• ผา้ ส�ำหรับเช็ดพืน้ จ�ำนวน 8 ผืน (ขนาดอย่างต�ำ่ 40 × 40 เซนติเมตร
และไม่เกิน 40 × 80 เซนติเมตร) ในจ�ำนวนนี้จะต้องวางไว้ใกล้ๆ โต๊ะผู้บันทึก 4 ผืน และอีก 4 ผืน
อยู่บริเวณเขตอบอุ่นร่างกาย โดยมีเจ้าหน้าที่เช็ดพื้นนั่งอยู่บนเก้าอี้ขนาดเล็ก
5.1.3 ต�ำแหน่งของเจ้าหน้าที่เช็ดพื้น (ตามแผนภูมิ A)
5.1.3.1 เจ้าหน้าทีเ่ ช็ดพืน้ เร็ว 1 คนต่อ 1 ด้าน (รวม 2 คน) อยูด่ า้ นหลัง
ผู้ตัดสินที่ 2 โดยนั่งบนส้นเท้าและพร้อมที่จะวิ่งออกไปเช็ดพื้นยังจุดที่เปียกได้ทันที
5.1.3.2 เจ้าหน้าที่เช็ดพื้น 3 คนต่อ 1 ด้าน (รวม 6 คน) อยู่ใกล้เขต
อบอุ่นร่างกาย แต่ละด้านนั่งอยู่บนเก้าอี้เตี้ยๆ (1 ใน 3 คนนี้ จะเป็นเจ้าหน้าที่เช็ดพื้นเร็วด้วย)
5.1.2.3 เจ้าหน้าที่เช็ดพื้นทุกคนจะต้องไม่นั่งบังป้ายโฆษณาที่อยู่รอบๆ
สนามแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณด้านหลังผู้ตัดสินที่ 1
5.2 จะเช็ดพื้นอย่างไร
เพือ่ ให้เกิดความมัน่ ใจว่าการแข่งขันจะด�ำเนินไปอย่างต่อเนือ่ ง และเพือ่ ป้องกัน
กลวิธใี นการท�ำให้เกิดการล่าช้า สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติจึงได้ก�ำหนดแนวทางดังนี้
5.2.1 ในขณะที่มีการขอเวลานอก หรือเวลานอกทางเทคนิค และช่วงเวลา
พักระหว่างเซต เจ้าหน้าทีเ่ ช็ดพืน้ ด้านละ 3 คน จะเช็ดพืน้ พร้อมๆ กันเป็นกลุม่ เดียว โดยเจ้าหน้าที่
เช็ดพืน้ 3 คน ทีอ่ ยูใ่ กล้ๆ เขตอบอุน่ ร่างกายจะต้องน�ำทีเ่ ช็ดพืน้ ทีม่ ดี า้ มมาทีเ่ ส้นข้างบริเวณแดนหน้า
ใกล้กับผู้ตัดสินที่ 2 เจ้าหน้าที่เช็ดพื้นในแต่ละด้านของสนามจะเริ่มเช็ดพื้นพร้อมๆ กัน (ตามแผนภูมิ A)

50 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
5.2.2 ในขณะที่ลูกตาย (ในแต่ละครั้งที่หยุดเล่นลูก) ถ้ามีความจ�ำเป็น
5.2.2.1 เมื่ อ เจ้ า หน้ า ที่ เช็ ด พื้ น เร็ ว สั ง เกตเห็ น จุ ด ที่ เ ปี ย กบนสนาม
ให้ยกมือขึ้น 1 ข้าง ให้สัญญาณว่ามีจุดเปียก และคอยจนกว่าจะจบการเล่นลูกนั้น เมื่อผู้ตัดสิน
เป่านกหวีดว่าเป็นลูกตายให้เจ้าหน้าที่เช็ดพื้นเร็ว ที่ยกมือวิ่งเข้าไปเช็ดพื้นทันทีด้วยผ้าเช็ดพื้น 2 ผืน
โดยวิง่ อย่างเร็วไปทีจ่ ดุ เปียก ในแต่ละด้านเจ้าหน้าทีเ่ ช็ดพืน้ เร็วทีน่ งั่ อยูห่ ลังผูต้ ดั สินที่ 1 หรือผูต้ ดั สินที่ 2
จะรับผิดชอบเช็ดพื้นบริเวณแดนหน้าของสนาม
เจ้าหน้าที่เช็ดพื้นที่นั่งอยู่ใกล้เขตอบอุ่นร่างกายทั้งสองด้านจะรับผิดชอบดูแล
ในบริเวณแดนหลัง โดยการวิ่งไปที่จุดที่เปียกอย่างเร็วทันทีที่ผู้ตัดสินเป่านกหวีดให้เป็น “ลูกตาย”
ถ้ามีจดุ ทีเ่ ปียกมากกว่า 1 แห่ง จุดทีจ่ ะต้องเช็ดเป็นอันดับแรกคือ ในบริเวณแดนหน้า
จุดเปียกในแดนหลังหรือบริเวณนอกสนามจะเป็นล�ำดับรองลงไป
5.2.2.2 ทันทีหลังจากทีเ่ ช็ดพืน้ อย่างเร็วแล้ว เจ้าหน้าทีเ่ ช็ดพืน้ จะต้องรีบวิง่ ออกจาก
สนามกลับไปยังต�ำแหน่งที่นั่งโดยใช้ระยะทางที่สั้นที่สุด
5.2.2.3 เวลาที่ใช้เช็ดพื้นต้องอยู่ระหว่าง 6-8 วินาที ซึ่งอยู่ในช่วงระหว่าง
เมือ่ ผูต้ ดั สินเป่านกหวีดให้เป็นลูกตาย จนเมือ่ ผูต้ ดั สินที่ 1 เป่านกหวีดเพือ่ ให้เสิรฟ์ ครัง้ ต่อไป จะต้อง
ไม่ให้เกิดความล่าช้าต่อการแข่งขันโดยเจ้าหน้าที่เช็ดพื้นเป็นอันขาด
5.2.2.4 ผู้ตัดสินจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการด�ำเนินการของเจ้าหน้าที่เช็ดพื้น
แต่อย่างไรก็ตามผูต้ ดั สินที่ 1 มีอ�ำนาจทีจ่ ะให้เจ้าหน้าทีเ่ ช็ดพืน้ ได้ปฏิบตั หิ น้าทีใ่ ห้เป็นไปตามข้อก�ำหนด
เฉพาะในกรณีที่เจ้าหน้าที่เช็ดพื้นปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์หรือรบกวนต่อการแข่งขัน
5.2.2.5 ผูเ้ ล่นหรือผูฝ้ กึ สอนไม่มสี ทิ ธิข์ อให้เจ้าหน้าทีเ่ ช็ดพืน้ ท�ำการเช็ดพืน้ บริเวณ
ที่เปียกหรือให้ค�ำแนะน�ำในขณะก�ำลังเช็ดพื้น
5.3 ความรับผิดชอบของผู้เล่น
ถ้าผู้เล่นจะท�ำการเช็ดพื้นด้วยตนเองด้วยผ้าของตนเอง ผู้ตัดสินที่ 1 จะต้องไม่รอ
จนกระทั่งผู้เล่นได้เช็ดพื้นเสร็จและได้กลับเข้าอยู่ในต�ำแหน่งการเล่น ทั้งนี้ขณะที่มีการเสิร์ฟอยู่
และผู้เล่นอยู่ในต�ำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง ผู้ตัดสินที่รับผิดชอบจะต้องท�ำโทษลักษณะการผิดต�ำแหน่ง
5.4 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการควบคุมการแข่งขัน
ถ้าสภาพอากาศไม่เหมาะสมและเกิดบริเวณที่เปียกในแดนหน้าจนมองเห็นได้เฉพาะ
คณะกรรมการควบคุมการแข่งขันเท่านั้นที่มีสิทธิ์ขอให้ผู้ตัดสินที่ 2 แจ้งเจ้าหน้าที่เช็ดพื้นให้ท�ำหน้าที่
หลังจากสิ้นสุดการเล่นลูกในทันทีและเมื่อเช็ดเสร็จจะต้องรีบกลับไปยังที่ตามเดิมทันที

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 51
กติกาข้อ 17 การหยุดการแข่งขันในกรณีทไี่ ด้รบั การยกเว้น (Exceptional game Interruptions)
• ถ้าผู้เล่นได้รับบาดเจ็บไม่สามารถเปลี่ยนตัวตามปกติผู้ฝึกสอนมีสิทธิ์ขอเปลี่ยนตัว
ที่ได้รับการยกเว้น (กรณีพิเศษ) ได้กับผู้เล่นที่ไม่อยู่ในเขตเล่นลูก (ยกเว้นลิโบโร่ หรือผู้ที่เปลี่ยนตัว
กับลิโบโร่) และในกรณีนผี้ เู้ ล่นทีบ่ าดเจ็บนัน้ จะไม่มสี ทิ ธิล์ งแข่งขันได้อกี จนกว่าจะจบการแข่งขันในนัดนัน้
• หากผู้เล่นที่บาดเจ็บไม่สามารถเปลี่ยนตัวตามปกติหรือเปลี่ยนตัวในกรณีพิเศษได้
ผู้เล่นคนนั้นสามารถหยุดพักเพื่อปฐมพยาบาลได้ 3 นาที แต่จะท�ำได้เพียงครั้งเดียวในนัดนั้น

กติกาข้อ 18 การหยุดพักและการเปลี่ยนแดน (Interval and changes of courts)


1. ในช่วงเวลาพักระหว่างเซต ผูเ้ ล่นสามารถใช้ลกู บอลเพือ่ อบอุน่ ร่างกายในพืน้ ทีร่ อบสนามได้
(ยกเว้นลูกบอลส�ำหรับแข่งขัน)
2. ในเซตตั ด สิ น หลั ง จากที่ ที ม น�ำท�ำคะแนนที่ 8 ทั้ ง สองที ม ต้ อ งเปลี่ ย นแดนกั น
(ถ้าคะแนนที่ 8 ท�ำได้โดยฝ่ายรับ หลังจากเปลี่ยนแดนแล้วทีมนั้นจะต้องหมุนต�ำแหน่ง 1 ต�ำแหน่ง
ก่อนที่จะมีการเสิร์ฟ ซึ่งจะต้องตรวจโดยผู้บันทึกและผู้ตัดสินที่ 2
3. ในช่วงเวลาพักระหว่าเซต ลูกบอลทัง้ 3 ลูก จะต้องอยูท่ เี่ จ้าหน้าทีก่ ลิง้ ลูกบอลหมายเลข 2
และ 5 (จะต้องไม่ให้ผู้เล่นน�ำไปใช้เพื่ออบอุ่นร่างกาย) ก่อนเริ่มในเซตตัดสิน ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้อง
ส่งลูกบอลให้ผเู้ สิรฟ์ คนแรก ในช่วงขอเวลานอก การเปลีย่ นตัว และการเปลีย่ นแดนเมือ่ คะแนนที่ 8
ในเซตตัดสิน ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องไม่เก็บลูกบอลไว้ ซึ่งลูกบอลจะต้องอยู่กับเจ้าหน้าที่กลิ้งลูกบอล

กติกาข้อ 19 ผู้เล่นตัวรับอิสระ (ลิโบโร่) (The Libero Player)


1. ในกรณีทีมมี “ลิโบโร่ 2 คน” ที่ลงในสนามคนที่ 1 (Acting Libero) ต้องบันทึกเป็น
ชือ่ แรกในบรรทัดแรกของช่องทีเ่ ตรียมไว้ส�ำหรับลิโบโร่ในใบบันทึกคะแนนโดยผูฝ้ กึ สอนเป็นผูล้ งชือ่
รับรองในใบบันทึก
2. ผู้ฝึกสอนสามารถเปลี่ยนลิโบโร่ คนที่ 1 กับลิโบโร่ส�ำรองได้ตลอดเวลา
3. ในกรณีที่ลิโบโร่บาดเจ็บและไม่มีลิโบโร่ส�ำรองภายในทีมผู้ฝึกสอนสามารถขอแต่งตัง้
นักกีฬาที่อยู่นอกสนามแทนลิ โ บโร่ ที่บาดเจ็บได้ (ยกเว้นนักกีฬาที่เปลี่ยนตัวกับลิ โ บโร่ ที่ บ าดเจ็ บ
ซึ่งอยู่นอกสนาม) (กติกาข้อ 19.4.2) พึงระวังเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้เล่นลิโบโร่ใหม่นั้นเป็นทางเลือก
ของผูฝ้ กึ สอนนัน้ จะใช้หรือไม่ใช้กไ็ ด้โดยวิธกี ารเดียวกับการเปลีย่ นลิโบโร่กบั ผูเ้ ล่นปกติถ้าการแต่งตั้งนั้น
ถ้าลิโบโร่ในสนาม (Acting Libero) ไม่สามารถเล่นต่อได้ เขาสามารถเปลี่ยนกับผู้เล่นปกติ
ที่เปลี่ยนออกได้ หรือเปลี่ยนกับลิโบโร่ที่ตั้งใหม่ได้ทันที แต่อย่างไรก็ตามลิโบโร่ที่ถูกแจ้งว่าไม่สามารถ
เล่นต่อได้นั้น จะกลับเข้ามาเล่นอีกไม่ได้ในนัดนั้น ทั้งนี้ผู้ฝึกสอนหรือหัวหน้าทีม (ถ้าผู้ฝึกสอนไม่มา)
สามารถติดต่อกับผู้ตัดสินที่ 2 เพื่อแจ้งการแต่งตั้งลิโบโร่ใหม่

52 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
4. ข้อพึงระวังของความแตกต่างระหว่างการเปลีย่ นตัวทีไ่ ด้รบั การยกเว้น (จากการบาดเจ็บ
ของผู้เล่นปกติ) กับการแต่งตั้งลิโบโร่ที่ได้รับการบาดเจ็บ ผู้เล่นคนใด (ยกเว้นลิโบโร่/และผู้เล่น
ทีเ่ ปลีย่ นลิโบโร่) ทีไ่ ม่สามารถเล่นต่อได้ เนือ่ งจากบาดเจ็บจะต้องเปลีย่ นตัวตามปกติ ถ้าไม่สามารถ
เปลี่ยนตัวตามปกติได้ ทีมสามารถขอเปลี่ยนตัวในกรณีพิเศษได้ ในการแต่งตั้งตัวรับอิสระคนใหม่
กับผู้เล่นคนอื่นที่อยู่นอกสนามสามารถกระท�ำได้ (ยกเว้น ผู้เล่นที่เปลี่ยนกับลิโบโร่ในสนาม หรือ
ลิโบโร่ที่ถูกห้ามเล่นในเซตนั้นหรือนัดนั้น) โดยผู้ตัดสินพึงระวังถึงคุณสมบัติของลิโบโร่ที่จะถูก
แต่งตั้งใหม่จากการร้องขอของผู้ฝึกสอน
5. เพื่ อ เน้ น ความเข้ า ใจในการตี ค วามข้ อ 19.3.2 การเปลี่ ย นลิ โ บโร่ ผู ้ ตั ด สิ น
ต้องระวังความแตกต่างการตีความกติกาข้อ 25.2.2.2 ควบคุมต�ำแหน่ง/ล�ำดับการเสิรฟ์ หากมีการ
ผิดต�ำแหน่ง/ล�ำดับการเสิรฟ์ เมือ่ ใด ผูบ้ นั ทึกต้องแจ้งให้ผตู้ ดั สินทราบทันทีหลังจากท�ำการเสิรฟ์ แล้ว
และกติกาข้อ 26.2.2.2 ผู้ช่วยผู้บันทึกต้องแจ้งต่อผู้ตัดสินเมื่อมีการเปลี่ยนลิโบโร่ที่ผิดระเบียบ
โดยใช้ออดให้สัญญาณทันทีหลังจากท�ำการเสิร์ฟแล้ว และกติกาข้อ 7.7.2 หากผู้ช่วยผู้บันทึก
เกิดความผิดพลาด ผูบ้ นั ทึกต้องหยุดการแข่งขันทันทีทมี่ กี ารผิดต�ำแหน่งเกิดขึน้ และคะแนนทีท่ �ำได้
ทั้งหมดขณะผิดต�ำแหน่ง ต้องยกเลิกส่วนคะแนนของทีมตรงข้ามให้คงไว้ตามเดิม
6. การแข่งขันที่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติรับรองอนุญาตให้ลิโบโร่ที่ได้รับบาดเจ็บ
กลับมาเล่นในนัดถัดไปได้ โดยการพิจารณาของคณะการจัดการแข่งขันในรายการนั้น
7. ผูเ้ ล่นลิโบโร่สามารถถูกให้งดการเล่น โดยผูฝ้ กึ สอนหรือหัวหน้าทีม (กรณีทผี่ ฝู้ กึ สอนไม่อยู)่
เนื่องจากการบาดเจ็บ ป่วย ถูกลงโทษ หรือถูกให้ออกจากการแข่งขัน

กติกาข้อ 20 ลักษณะของมารยาทที่ดี และกติกาข้อ 21 การผิดมารยาทและการลงโทษ


(Misconduct and its Sanctions)
1. มีความจ�ำเป็นอย่างยิ่งในเรื่องของการประยุกต์ใช้กติกาภายใต้กรอบของการมีน�้ำใจ
นักกีฬา การเข้าใจกติกาและระดับการลงโทษแบบใหม่
2. ผู้ตัดสินไม่ควรมองข้ามการให้ความส�ำคัญในกติกาข้อ 21.2.1 เกี่ยวกับพฤติกรรม
ของผู้ร่วมการแข่งขันที่แสดงถึงความเคารพและความสุภาพต่อคณะกรรมการควบคุมการแข่งขัน
คู่แข่งขัน และผู้ชม
3. กติกาข้อ 21.1 ได้ระบุวา่ การท�ำผิดมารยาทเล็กน้อยจะต้องไม่มกี ารลงโทษในครัง้ แรก
จะต้องไม่มีการลงโทษเพียงแต่ใช้การเตือนด้วยวาจาหรือสัญญาณมือผ่านยังหัวหน้าทีมหรือเพื่อน
ร่วมทีมคนอืน่ ๆ (ไม่มกี ารใช้บตั ร ไม่ตอ้ งบันทึกในใบบันทึก) หากเกิดขึน้ อีกในครัง้ ที่ 2 ให้ใช้ใบเหลือง
ให้กับผู้ร่วมทีม โดยไม่มีผลกระทบแต่อย่างใด (แต่ต้องมีการบันทึกในใบบันทึก) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
ดุลยพินิจของผู้ตัดสินที่ 1

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 53
4. กติกาข้อ 21.2 พฤติกรรมทีน่ �ำไปสูก่ ารลงโทษจากการกระท�ำทีก่ า้ วร้าว (OFFENSIVE
CONDUCT) ได้แก่ การสบประมาท ใช้ค�ำพูดหรือท่าทางที่เป็นการดูถูกเหยียดหยาม ในกรณี
การใช้ความรุนแรง (AGGRESSION) ได้แก่ การท�ำร้ายร่างกาย การรุกราน หรือพฤติกรรมข่มขู่
ต้องถูกลงโทษ โดยมีการบันทึกในใบบันทึกตามตารางที่ก�ำหนด หากการแสดงพฤติกรรมดังกล่าว
เกิดขึ้นอีกต้องท�ำการลงโทษในระดับที่สูงขึ้น
5. การปฏิบตั กิ ารลงโทษในการท�ำผิดมารยาทของสมาชิกของทีมนัน้ ผูต้ ดั สินที่ 1 จะเป็น
ผู้ตัดสินใจโดย
5.1 ผู้เล่นที่อยู่ในสนาม :
ผู้ตัดสินที่ 1 ต้องเป่านกหวีด (เมื่อบอลตาย เว้นแต่เป็นการผิดมารยาทที่รุนแรง) และ
เรียกผู้เล่นที่กระท�ำผิดเข้าไปใกล้เก้าอี้ผู้ตัดสิน เมื่อผู้เล่นเข้าใกล้เก้าอี้ผู้ตัดสิน ผู้ตัดสินที่ 1 จะแสดง
บัตรลงโทษตามแต่กรณีและพูดว่า “ผมลงโทษโดย (ทีมตรงข้ามได้คะแนนและได้เสิร์ฟ/เชิญออก
จากการแข่งขัน/ตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน)”

กติกาข้อ 22 คณะกรรมการ
1. สิ่งส�ำคัญที่ผู้ตัดสินจะให้สัญญาณหยุดการเล่นลูกในแต่ละครั้งนั้นจะต้องเป็นไปตาม
เงื่อนไข 2 ประการ คือ
1.1 ต้องมั่นใจว่าเป็นการท�ำผิดจริง หรือเกิดเหตุขัดข้องอื่นๆ
1.2 ต้องสามารถระบุความผิดนั้นได้
2. เมื่ อ ผู ้ ตั ด สิ น เป่ า นกหวี ด จะต้ อ งสามารถบอกกั บ ที ม ถึ ง ความผิ ด ได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ ง
(เพื่อให้ผู้ชม หรือผู้ชมทางโทรทัศน์ และอื่นๆ ได้ทราบ) โดยใช้สัญญาณมือที่เป็นทางการ (ดูกติกา
ข้อ 22.2 และ 22.1) เฉพาะสัญญาณมือเหล่านี้เท่านั้นที่สามารถใช้ จะไม่มีการใช้สัญญาณอื่นๆ
(สัญญาณของแต่ละประเทศหรือสัญญาณมือส่วนตัว หรือความเคยชินที่เคยปฏิบัติ)
3. เนือ่ งจากความเร็วของลูกบอลมีมาก ปัญหาต่างๆ อาจเกิดขึน้ จากความผิดพลาดของ
การตัดสิน ดังนัน้ เพือ่ เป็นการป้องกันปัญหานี้ คณะกรรมการตัดสินจะต้องมีการประสานงานกันอย่างใกล้ชดิ
หลังจากการเล่นลูกแต่ละครั้ง เขาควรที่จะดูหรือประสานกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อยืนยันการตัดสินนั้น

กติกาข้อ 23 ผู้ตัดสินที่ 1 (First Referee)


1. ผูต้ ดั สินที่ 1 จะต้องประสานงานกับเจ้าหน้าทีท่ เี่ กีย่ วข้องตลอดเวลา (ได้แก่ ผูต้ ดั สินที่ 2
ผู้ก�ำกับเส้น ผู้บันทึก) โดยจะต้องให้เจ้าหน้าที่เหล่านั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบและ
อ�ำนาจหน้าที่ ผู้ตัดสินที่ 1 ควรยืนปฏิบัติหน้าที่ในขณะท�ำหน้าที่

54 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้ตัดสินที่ 1 เป่านกหวีดเพื่อหยุดการเล่น ควรจะดูเจ้าหน้าที่อื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง และเป็นผู้ตัดสินใจครั้งสุดท้าย โดยการแสดงสัญญาณมือดังนี้
1.1 ขณะจะตัดสินว่าเป็นลูกดีหรือลูกออก ควรจะดูที่ผู้กับก�ำเส้นที่รับผิดชอบเส้นนั้น
ทีอ่ ยูใ่ กล้กบั จุดทีล่ กู บอลตก (ถึงแม้วา่ ผูต้ ดั สินที่ 1 จะไม่ใช่ผกู้ �ำกับเส้น แต่โดยทัว่ ๆ ไปแล้ว ถ้ามีความจ�ำเป็น
มีสิทธิ์ให้ค�ำแนะน�ำเพื่อนร่วมงานได้
1.2 ในขณะแข่ ง ขั น ผู ้ ตั ด สิ น ที่ 1 จะต้ อ งพยายามดู ผู ้ ตั ด สิ น ที่ 2 อยู ่ เ สมอ
(หากเป็นไปได้ภายหลังจบการเล่นลูกแต่ละครั้ง และก่อนให้สัญญาณนกหวีดส�ำหรับการเสิร์ฟ
แต่ละครั้ง) ซึ่งผู้ตัดสินที่ 2 ได้หันหน้ามาทางผู้ตัดสินที่ 1 เพื่อดูว่าได้ให้สัญญาณความผิดหรือไม่ เช่น
การเล่นลูก 4 ครั้ง การเล่นลูก 2 ครั้ง เป็นต้น
2. ปัญหาที่เกี่ยวกับลูกบอลออก โดยถูกผู้เล่นฝ่ายรับก่อน (เช่น ถูกผู้สกัดกั้น เป็นต้น)
กรณีนี้จะต้องตรวจสอบโดยผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ก�ำกับเส้น แต่อย่างไรก็ตามผู้ตัดสินที่ 1 จะเป็น
ผูต้ ดั สินใจครัง้ สุดท้ายก่อนทีจ่ ะให้สญั ญาณมือ หลังจากได้ดกู ารให้สญั ญาณจากเพือ่ นร่วมงานอืน่ ๆ แล้ว
(ผู้ตัดสินจะต้องไม่ใช้วิธีการถามผู้เล่นว่าลูกบอลได้ถูกผู้เล่นหรือไม่)
3. ผู้ตัดสินที่ 1 จะต้องมั่นใจตลอดเวลาว่าได้ให้เวลาส�ำหรับผู้ตัดสินที่ 2 และผู้บันทึก
อย่างพอเพียงในการด�ำเนินการ และการจดบันทึกต่างๆ เช่น ผูบ้ นั ทึกมีเวลาพอเพียงในการตรวจสอบ
ความถูกต้องของการขอเปลี่ยนตัวและได้บันทึกการเปลี่ยนตัวนั้น ถ้าผู้ตัดสินที่ 1 ถ้าผู้ตัดสินที่ 1
ไม่ได้ให้เวลาอย่างพอเพียงต่อเพื่อนร่วมงานในการปฏิบัติหน้าที่นั้น ทั้งผู้บันทึกและผู้ตัดสินที่ 2
จะไม่สามารถด�ำเนินการในช่วงต่อไปของการแข่งขันได้ ผลทีเ่ กิดขึน้ คือความผิดพลาดต่างๆ จะเกิดขึน้
โดยคณะกรรมการตัดสินนั้น ถ้าผู้ตัดสินที่ 1 ไม่ได้ให้เวลาอย่างพอเพียงส�ำหรับการควบคุม และ
การด�ำเนินการต่างๆ แล้ว ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องเป่านกหวีดเพื่อให้หยุดการแข่งขัน
4. ผูต้ ดั สินที่ 1 สามารถเปลีย่ นค�ำตัดสินของเพือ่ นร่วมงานหรือของตนเองได้ ถ้าผูต้ ดั สินที่ 1
เป่านกหวีดและเห็นเพื่อนร่วมงาน (เช่นผู้ตัดสินที่ 2 ผู้ก�ำกับเส้น หรือผู้บันทึก) ได้แสดงการตัดสิน
ที่เป็นลักษณะตรงข้ามกับตนเอง เขาสามารถด�ำเนินการได้ดังนี้
4.1 ถ้าผู้ตัดสินที่ 1 มั่นใจว่าการตัดสินใจของตนเองถูกต้องให้คงค�ำตัดสินนั้นไว้
4.2 ถ้าผู้ตัดสินที่ 1 เห็นว่าการตัดสินใจของตนเองผิดพลาด สามารถเปลี่ยนค�ำตัดสินได้
4.3 ถ้าผูต้ ดั สินที่ 1 เห็นว่าความผิดทีเ่ กิดขึน้ เป็นการท�ำผิดของผูเ้ ล่นพร้อมกันทัง้ สองทีม
จะต้องให้สัญญาณให้เล่นใหม่
4.4 ถ้าผู้ตัดสินที่ 1 พิจารณาเห็นว่าค�ำตัดสินของผู้ตัดสินที่ 2 ผิดพลาดให้เปลี่ยน
ค�ำตัดสินนั้น เช่น ถ้าผู้ตัดสินที่ 2 เป่าให้สัญญาณว่าฝ่ายรับผิดต�ำแหน่ง แต่หลังจากผู้ตัดสินที่ 1
ได้รบั ค�ำทักท้วงจากหัวหน้าทีมและพบว่าต�ำแหน่งถูกต้อง กรณีเช่นนีจ้ ะต้องไม่ยอมรับค�ำตัดสินของ
ผู้ตัดสินที่ 2 และสั่งให้มีการเล่นใหม่

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 55
5. ถ้าผู้ตัดสินที่ 1 พบว่า เจ้าหน้าที่คนใดไม่เข้าใจในหน้าที่ของตนเองหรือปฏิบัติหน้าที่
โดยไม่เที่ยงตรง ผู้ตัดสินที่ 1 สามารถเปลี่ยนเจ้าหน้าที่เหล่านั้นได้
6. เฉพาะผู ้ ตั ด สิ น ที่ 1 เท่ า นั้ น ที่ ส ามารถลงโทษการผิ ด มารยาทและการถ่ ว งเวลา
ซึ่งผู้ตัดสินที่ 2 ผู้บันทึก และผู้ก�ำกับเส้นไม่มีสิทธิ์ ถ้าเจ้าหน้าที่คนใดสังเกตเห็นความผิดปกติใดๆ
ควรจะให้สัญลักษณ์และไปพบผู้ตัดสินที่ 1 เพื่อแจ้งให้ผู้ตัดสินที่ 1 ได้ทราบถึงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น
และผูต้ ดั สินที่ 1 เท่านัน้ ทีจ่ ะพิจารณาลงโทษ

กติกาข้อ 24 ผู้ตัดสินที่ 2 (Second Referee)


1. ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องมีศักยภาพเช่นเดียวกันกับผู้ตัดสินที่ 1 ถ้าผู้ตัดสินที่ 1 เกิดการล้มป่วย
ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องปฏิบัติหน้าที่ด�ำเนินการแข่งขันแทนผู้ตัดสินที่ 1
2. หน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบของผูต้ ดั สินที 2 ได้ก�ำหนดไว้อย่างชัดเจนในกติกา ผูต้ ดั สิน
ควรจะท�ำการศึกษาถึงความรับผิดชอบของผูต้ ดั สินที่ 2 ให้ลกึ ซึง้ โดยจะต้องเข้าใจว่าในขณะแข่งขัน
มีกรณีใดบ้างทีผ่ ตู้ ดั สินที่ 2 จะต้องตัดสินใจเป่านกหวีดและให้สญ ั ญาณการท�ำผิด (ดูกติกาข้อ 24.3.2)
3. การเล่นบริเวณใกล้ตาข่าย ผู้ตัดสินที่ 2 ต้องระมัดระวังในการควบคุมการถูกตาข่าย
ของฝ่ายสกัดกั้น การล�้ำเส้นแบ่งแดนและการสกัดกั้นที่ผิดกติกาของผู้เล่นฝ่ายรับ พึงระวังกติกา
ที่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการถูกตาข่ายของผู้เล่นซึ่งไม่ผิดกติกา เว้นแต่เป็นการถูกตาข่ายนั้น
เป็นการรบกวน/กีดขวางการเล่น ซึ่งถือว่าผิดกติกา
4 ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องตรวจสอบอย่างละเอียดทั้งก่อนและขณะการแข่งขันว่าผู้เล่น
อยูใ่ นต�ำแหน่งทีถ่ กู ต้องตามใบส่งต�ำแหน่งของทีมในขณะปฏิบตั หิ น้าทีผ่ ตู้ ดั สินที่ 2 จะได้รบั การสนับสนุน
จากผู้บันทึกซึ่งสามารถบอกได้ว่าผู้เล่นคนใดอยู่ในต�ำแหน่งที่ 1 (ผู้เสิร์ฟ) โดยปกติแล้วสามารถ
ตรวจสอบได้โดยการหมุนใบส่งต�ำแหน่งตามเข็มนาฬิกา ก็จะทราบได้ทันทีเกี่ยวกับล�ำดับต�ำแหน่ง
ของแต่ละทีมที่ถูกต้อง ขณะที่มีการตรวจสอบต�ำแหน่งนั้น ผู้ตัดสินที่ 2 ควรยืนอยู่ในต�ำแหน่งที่ 2
ของแดนด้านซ้าย หรือต�ำแหน่งที่ 4 ของแดนด้านขวาหันหน้าเข้าหาตาข่าย และระบุต�ำแหน่งของผูเ้ ล่น
ตามที่ระบุไว้ในใบส่งต�ำแหน่ง โดยเริ่มจากผู้เล่นในต�ำแหน่งที่ 1
5. ผูต้ ดั สินที่ 2 จะต้องระมัดระวังเอาใจใส่เกีย่ วกับพืน้ ทีร่ อบสนามจะต้องเป็นบริเวณทีว่ า่ ง
ปราศจากสิง่ กีดขวางใดๆ ซึง่ จะเป็นสาเหตุให้ผเู้ ล่นได้รบั บาดเจ็บ (เช่น ขวดนำ�้ ดืม่ เครือ่ งปฐมพยาบาล
ป้ายเปลี่ยนตัว เป็นต้น)
6. ในช่วงเวลานอกและเวลานอกทางเทคนิค ผูต้ ดั สินที่ 2 ไม่ควรยืนอยูน่ งิ่ โดยด�ำเนินการ
ดังต่อไปนี้
• ตรวจสอบการท�ำงานของเจ้าหน้าทีเ่ ช็ดพืน้ เพือ่ ให้แน่ใจว่าอยูใ่ นต�ำแหน่งและด�ำเนินการ
ตรงตามก�ำหนดเวลา โดยพร้อมเพรียงกัน

56 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
• ควบคุมทีมแข่งขันให้อยู่ใกล้ม้านั่งผู้เล่นส�ำรอง
• ควบคุมการท�ำงานของผู้บันทึก
• ประสานงานการควบคุมต�ำแหน่งลิโบโร่ร่วมกับผู้ช่วยผู้บันทึก
• ตรวจสอบการท�ำงานของเจ้าหน้าที่เช็ดพื้นอีกครั้งเมื่อเสร็จสิ้น
• ประสานงานร่วมกับผู้ตัดสินที่ 1 (ถ้าจ�ำเป็น)
• ควบคุมผู้เล่นเข้าสู่สนาม ก่อนสิ้นสุดเวลานอกและก�ำกับการเปลี่ยนตัวลิโบโร่กับ
ผู้เล่นปกติให้ถูกต้อง
7. เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่ 2 ต้องตรวจสอบและลงลายมือชื่อในใบบันทึก
ผู้ตัดสินส�ำรอง
ความรับผิดชอบของผู้ตัดสินส�ำรอง ดังนี้
1. ท�ำหน้าที่แทนผู้ตัดสินที่ 2 ในกรณีที่ผู้ตัดสินที่ 2 ไม่มา หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่
ได้อย่างต่อเนื่องหรือผู้ตัดสินที่ 2 ท�ำหน้าที่แทนผู้ตัดสินที่ 1
2. ควบคุมป้ายเปลี่ยนตัวก่อนเริ่มต้นและระหว่างการแข่งขันในแต่ละเซต
3. ตรวจสอบออดสัญญาณก่อน และระหว่างการแข่งขัน (ถ้าออดสัญญาณมีปัญหา)
4. ช่วยเหลือผู้ตัดสินที่ 2 ในการควบคุมเขตรอบสนามและเขตลงโทษ
5. ควบคุมผูส้ �ำรองในเขตอบอุน่ ร่างกายและบนม้านัง่ ส�ำรอง และผูท้ ถี่ กู ท�ำโทษในเขตลงโทษ
6. เป็นผูถ้ อื ลูกบอลแข่งขันสองลูกแรกให้กบั ผูต้ ดั สินที่ 2 ทันทีหลังจากประกาศให้นกั กีฬา
ลงสู่สนามทั้ง 2 ทีม
7. เป็นผู้มอบลูกบอลแข่งขันให้กับผู้ตัดสินที่ 2 หลังจากผู้ตัดสินที่ 2 ตรวจสอบต�ำแหน่ง
ผู้เล่นเสร็จสิ้น
8. สนับสนุนผู้ตัดสินที่ 2 ในการก�ำกับเจ้าหน้าที่เช็ดพื้น

กติกาข้อ 25 ผู้บันทึก และ กติกาข้อที่ 26 ผู้ช่วยผู้บันทึก (Scorer)


1. การปฏิบัติหน้าที่ของผู้บันทึกเป็นสิ่งที่ส�ำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแข่งขัน
ระดับนานาชาติ ขณะที่คณะกรรมการการตัดสิน และทีมต่างๆ นั้นมาจากประเทศต่างๆ ดังนั้น
ผูต้ ดั สินระดับนานาชาติทกุ คน รวมทัง้ ผูก้ �ำกับเส้นจะต้องรูแ้ ละเข้าใจในการท�ำใบบันทึก และถ้ามีความจ�ำเป็น
อาจจะต้องลงท�ำหน้าที่ผู้บันทึกด้วย โดยผู้บันทึกจะต้อง
2.1 ก่อนเริ่มต้นแต่ละเซต เมื่อรับใบส่งต�ำแหน่งจะต้องตรวจสอบว่าหมายเลขผู้เล่น
ในใบส่งต�ำแหน่งนั้นมีในรายชื่อของทีมในใบบันทึกด้วย (ถ้าไม่มีจะต้องแจ้งแก่ผู้ตัดสินที่ 2 )
2.2 แจ้งแก่ผตู้ ดั สินที่ 2 เมือ่ แต่ละทีมมีการขอเวลานอกครัง้ ที่ 2 และการขอเปลีย่ นตัว
คนที่ 5 และคนที่ 6 (ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ฝึกสอนได้ทราบ)

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 57
2.3 ต้องมีการประสานงานกันอย่างดี ในขณะที่มีการขอเปลี่ยนตัว โดย
2.3.1 หลังจากผู้ตัดสินที่ 2 อนุญาตให้เปลี่ยนตัวผู้เล่น โดยเป่านกหวีด หรือ
ได้ยนิ เสียงออดเพือ่ ขออนุญาตให้เปลีย่ นตัวโดยผูบ้ นั ทึก ผูต้ ดั สินที่ 2 ต้องยืนระหว่างเสาขึงตาข่ายกับ
โต๊ะผูบ้ นั ทึกโดยสามารถมองเห็นผูเ้ ล่นทีต่ อ้ งการเปลีย่ นตัวและผูบ้ นั ทึกได้ เมือ่ ผูเ้ ล่นถือป้ายเปลีย่ น
ตัวเข้าใกล้เส้นข้างในเขตเปลี่ยนตัวและผู้บันทึกเห็นว่าเป็นการเปลี่ยนตัวที่ถูกต้อง ผู้ตัดสินที่ 2
จึงยินยอมการเปลี่ยนตัวนั้น โดยการให้สัญญาณไขว้แขน
2.3.2 หลังจากที่ผู้ตัดสินที่ 2 เห็นสัญญาณมือ “พร้อม” จากผู้บันทึก
ผูต้ ดั สินที่ 2 ต้องยืนอยูใ่ นต�ำแหน่งทีพ่ ร้อมจะเริม่ การเล่นครัง้ ถัดไปและส่งสัญญาณมือ “พร้อม” ให้กบั
ผู้ตัดสินที่ 1 เพื่อให้ผู้ตัดสินที่ 1 เป่านกหวีดอนุญาตให้ท�ำการเสิร์ฟ ในช่วงนี้ผู้บันทึกต้องตรวจสอบ
ความถูกต้องในล�ำดับการเสิร์ฟ หากไม่ถูกต้องผู้บันทึกต้องกดออดสัญญาณทันทีหลังจากผู้เสิร์ฟ
ได้เสิร์ฟลูกไปแล้ว จากนั้นผู้ตัดสินที่ 2 ต้องตรวจสอบความถูกต้องกับผู้บันทึกและแจ้งให้ทีมทราบ
รวมถึงผู้ตัดสินที่ 1
2.3.3 ถ้าผู้บันทึกตรวจพบว่า ผู้เล่นที่จะขอเปลี่ยนตัวเข้ามีหมายเลขบนเสื้อ
ไม่ตรงกับหมายเลขป้ายเปลีย่ นตัวทีม่ อี ยูใ่ นใบบันทึก การขอเปลีย่ นตัวนัน้ ไม่ถกู ต้อง เขาจะต้องยกมือขึน้ 1 ข้าง
และโบกไปมาและบอกว่าเป็นการเปลีย่ นตัวทีไ่ ม่ถกู ต้อง ในกรณีนผี้ ตู้ ดั สินที่ 2 จะต้องไปทีโ่ ต๊ะผูบ้ นั ทึก
และตรวจสอบความถูกต้องในใบบันทึก หากยืนยันว่าเป็นการขอเปลี่ยนตัวที่ไม่ถูกต้องผู้ตัดสินที่ 2
จะต้องไม่อนุญาตให้เปลี่ยนตัว ผู้ตัดสินที่ 1 จะต้องท�ำโทษทีมนั้นโดยเป่านกหวีดและให้สัญญาณ
“การถ่วงเวลา” ผู้บันทึกจะต้องบันทึกการท�ำโทษถ่วงเวลานี้ ลงในใบบันทึกในช่อง “การลงโทษ”
ตามความเหมาะสม ผูต้ ดั สินที่ 2 จะต้องตรวจสอบดูการบันทึกของผูบ้ นั ทึกเกีย่ วกับการท�ำโทษนัน้ ด้วย
2.3.4 กรณีที่ทีมขอเปลี่ยนตัวมากกว่า 1 คน กระบวนการเปลี่ยนตัวต้องท�ำ
ครัง้ ละ 1 คน และต่อเนือ่ งด้วยวิธกี ารเดียวกัน โดยผูบ้ นั ทึกดูหมายเลขป้ายเปลีย่ นตัว และหมายเลขเสือ้
ของผู้เล่นที่ขอเปลี่ยนตัว เมื่อเห็นว่าถูกต้องและบันทึกเสร็จเรียบร้อยจะต้องยกมือขึ้น 2 ข้างทันที
2.4 การบันทึกการลงโทษในใบบันทึกต้องอยู่ภายใต้การแนะน�ำของผู้ตัดสินที่ 2
เท่านั้น
2.5 ผู้บันทึกต้องเขียนในช่องหมายเหตุ ถ้าผู้เล่นบาดเจ็บหรือออกจากการแข่งขัน
ตามปกติหรือการเปลี่ยนตัวที่ได้รับการยกเว้น ซึ่งช่องหมายเหตุดังกล่าวต้องระบุหมายเลข
ของผู้เล่นที่บาดเจ็บ เซต และคะแนนที่เกิดเหตุการณ์บาดเจ็บ

58 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
กติกาข้อ 26 ผู้ช่วยผู้บันทึก
1. ผู้ช่วยผู้บันทึกจะนั่งอยู่ใกล้กับผู้บันทึก ในกรณีท่ีผู้บันทึกป่วย ผู้ช่วยผู้บันทึกจะต้อง
ท�ำหน้าที่แทน
2. หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ช่วยผู้บันทึก
2.1 ตรวจสอบการเปลี่ยนตัวของผู้เล่นตัวรับอิสระ ในขณะแข่งขันว่าถูกต้องหรือไม่
2.2 ควบคุมเวลานอกทางเทคนิค โดยการกดสัญญาณออดเมื่อเริ่มและสิ้นสุดเวลา
นอกทางเทคนิค
2.3 พลิกป้ายคะแนนที่อยู่บนโต๊ะผู้บันทึก
2.4 ตรวจสอบป้ายคะแนนในสนามให้ถูกต้อง ถ้าไม่ถูกจะต้องแก้ไขให้ถูก
2.5 แจ้งผูต้ ดั สินที่ 2 โดยใช้สญั ญาณมือแสดงให้ทราบว่า ตัวรับอิสระใดอยูใ่ น/นอกสนาม
ในช่วงเวลานอก, เวลานอกเทคนิค
2.6 แจ้งจ�ำนวนเวลาแข่งขันของแต่ละเซตและเวลาเริ่มและจบการแข่งขันในแบบ
ฟอร์ม มอบให้ผู้ควบคุมการแข่งขันในนัดนั้น
2.7 ในกรณีที่จ�ำเป็น ผู้ช ่วยผู้บันทึกสามารถกดออดสัญญาณและประกาศใน
กระบวนการขอเปลี่ยนตัวได้
3. ผู้ช่วยผู้บันทึกจะต้องมีชื่อในใบบันทึกและต้องลงลายมือชื่อหลังจบการแข่งขัน

กติกาข้อ 27 ผู้ก�ำกับเส้น (Line Judges)


การท�ำหน้าทีข่ องผูก้ �ำกับเส้นมีความส�ำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในระหว่างการแข่งขัน
ระดับสูง ระดับนานาชาติ ผู้ตัดสินระดับนานาชาติและผู้ที่เตรียมเป็นผู้ตัดสินระดับนานาชาติทุกคน
จะต้องสามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้ก�ำกับเส้นได้เป็นอย่างดี เมื่อถูกแต่งตั้งให้ท�ำหน้าที่ผู้ก�ำกับเส้น
ในการแข่งขันระดับนานาชาติ โดย
1. ผูก้ �ำกับเส้นทุกคนจะต้องถึงสนามแข่งขันในชุดทีพ่ ร้อมจะท�ำหน้าทีก่ อ่ นเวลาเริม่ การแข่งขัน
45 นาที (ตามขั้นตอนก่อนการแข่งขันของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ)
2. ฝ่ายจัดการแข่งขันจะต้องเตรียมธงส�ำหรับผู้ก�ำกับเส้น สีของธงจะต้องแตกต่างจาก
สีพื้นสนาม
3. ผู้ก�ำกับเส้นจะต้องทราบถึงการท�ำหน้าที่เป็นอย่างดีไม่ว่าจะใช้ผู้ก�ำกับเส้น 4 คน หรือ
2 คน (ดูแผนผัง 10 ในกติกาการแข่งขัน)
4. ผูก้ �ำกับเส้นแต่ละคนจะถูกก�ำหนดให้แสดงสัญญาณความผิดทีเ่ กิดขึน้ ใกล้เส้นทีแ่ ต่ละคน
รับผิดชอบ รวมทั้งความผิดที่เกิดขึ้นขณะที่มีการเสิร์ฟ

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 59
5. ถ้าลูกบอลถูกเสาอากาศ หรือข้ามเหนือเสาอากาศ หรือลอยออกนอกเสาอากาศ
ผู้ก�ำกับเส้นที่อยู่ใกล้กับทิศทางของลูกบอลนั้นจะเป็นผู้ให้สัญญาณความผิดที่เกิดขึ้น
6. การให้สญ ั ญาณความผิดจะต้องชัดเจน เพือ่ ให้เกิดความมัน่ ใจว่าผูต้ ดั สินที่ 1 ได้มองเห็น
อย่างแน่นอน

กติกาข้อ 28 สัญญาณมือที่เป็นทางการ (Official hand signals)


1. ผูต้ ดั สินจะต้องใช้สญ
ั ญาณมือทีเ่ ป็นสัญญาณสากลเท่านัน้ ควรหลีกเลีย่ งการใช้สญ ั ญาณ
มืออื่นๆ และหากมีกรณีอื่นใดจะใช้เมื่อมีความจ�ำเป็นเพื่อให้สมาชิกของทีมได้เข้าใจเท่านั้น
2. ขณะที่ผู้ตัดสินที่ 2 เป่านกหวีดการท�ำผิด (เช่น ผู้เล่นถูกตาข่าย) ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้อง
แสดงสัญญาณมือทางด้านที่มีการท�ำผิดเกิดขึ้น (ตามกติกาข้อ 28.1) ตัวอย่างเช่น
ถ้าผู้เล่นของทีมที่อยู่ทางด้านขวามือถูกตาข่าย เมื่อผู้ตัดสินที่ 2 เป่านกหวีดความผิดนี้
จะต้องไม่แสดงสัญญาณมือผ่านลอดใต้ตาข่ายไปยังอีกด้านหนึง่ แต่จะต้องเคลือ่ นทีไ่ ปทางด้านทีท่ �ำผิด
และแสดงสัญญาณมือโดยใช้มือด้านที่ทีมนั้นท�ำผิดเท่านั้น
3. การแสดงสัญญาณความผิด (ดูกติกาข้อ 22.2, 23.3 และ 24.3) ผู้ตัดสินจะต้องเป่า
นกหวีดทันทีเมื่อจะพิจารณาถึงสิ่งส�ำคัญ 2 ประการ
3.1 จะต้องไม่ให้สัญญาณความผิดโดยการชักน�ำของผู้ชมหรือผู้เล่น
3.2 เมือ่ มัน่ ใจอย่างแน่นอนว่าเป็นการตัดสินทีผ่ ดิ พลาด ผูต้ ดั สินอาจจะหรือสามารถ
แก้ไขค�ำตัดสินในความผิดพลาดของตนเอง (หรือความผิดพลาดของคณะกรรมการการตัดสินคนอืน่ ๆ)
ทั้งนี้จะต้องท�ำโดยทันทีทันใด
ั ญาณมือว่าเป็น “ลูกออก” ดังนี้
4. ผูต้ ดั สินพึงเอาใจใส่ตอ่ การตีความให้ถกู ต้องและให้สญ
4.1 เมื่อลูกบอล “ออกโดยตรง” หลังจากการรุกหรือสกัดกั้นโดยฝ่ายตรงข้ามให้ใช้
สัญญาณมือ “ลูกบอลออก” (สัญญาณที่ 15) และสัญญาณธงของผู้ก�ำกับเส้น รูปที่ 2
4.2 ถ้ามีการรุกลูกนัน้ ข้ามตาข่ายและลูกได้ถกู พืน้ นอกสนามเล่นหลังจากลูกได้ถกู ผูส้ กัดกัน้
หรือผู้เล่นฝ่ายรับก่อน กรณีนี้จะต้องแสดงสัญญาณ “ลูกถูกผู้เล่นแล้วออก” (สัญญาณที่ 24) และ
สัญญาณธงของผู้ก�ำกับเส้น รูปที่ 3
4.3 หลังจากการเล่นลูกครัง้ ที่ 1 ครัง้ ที่ 2 หรือครัง้ ที่ 3 และลูกบอลได้ออกในฝ่ายนัน้
กรณีนใี้ ห้แสดงสัญญาณ “ลูกถูกผูเ้ ล่นแล้วออก” (สัญญาณที่ 24) และสัญญาณธงของผูก้ �ำกับเส้น
รูปที่ 3

60 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
4.4 หลังจากการรุกลูกบอลได้ถกู ตาข่าย และออกทางด้านของฝ่ายรุก โดยไม่ถกู ผูเ้ ล่นฝ่าย
สกัดกัน้ กรณีนใี้ ห้แสดงสัญญาณ “ลูกออก” (สัญญาณที่ 15) แต่จะต้องระบุตวั ผูท้ ที่ �ำการรุกนัน้ ทันที
เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจว่าลูกบอลไม่ได้ถูกผู้สกัดกั้นในกรณีเดียวกัน ถ้าลูกบอลได้ถูกผู้สกัดกั้นและ
ลอยออกทางด้านของฝ่ายรุก ผูต้ ดั สินต้องแสดง “สัญญาณลูกออก” (สัญญาณที่ 15) และระบุตวั
ผู้สกัดกั้น
5. เมื่อมีการรุกที่สมบูรณ์ซึ่งมาจากการเล่นบอลด้วยปลายนิ้วของตัวรับอิสระในเขตรุก
ผู้ตัดสินต้องใช้สัญญาณมือ (สัญญาณที่ 21)
6. การให้สัญญาณของผู้ก�ำกับเส้นก็มีความส�ำคัญมากในสายตาของคู่แข่งขัน และผู้ชม
ผู้ตัดสินที่ 1 จะต้องคอยตรวจสอบสัญญาณของผู้ก�ำกับเส้น ถ้ามีการให้สัญญาณที่ไม่ถูกต้อง
ผู้ตัดสินที่ 1 สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
ในการแข่งขันระดับนานาชาติที่ส�ำคัญๆ ขณะที่ความเร็วของลูกบอลจะมีประมาณ
100-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงมีความจ�ำเป็นอย่างมากที่ผู้ก�ำกับเส้นจะต้องตั้งใจสังเกตการณ์
เคลื่อนที่ของลูกบอล โดยเฉพาะในขณะที่การรุกและลูกบอลได้ถูกผู้สกัดกั้นก่อนที่ลูกนั้นจะออก
7. กรณีลูกบอลไม่ผ่านแนวดิ่งของตาข่ายภายหลังจากการเล่นบอลครั้งที่ 3 ของทีม :
7.1 ถ้าเป็นผู้เล่นคนเดิมถูกบอลอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณมือคือ Double Hits
7.2 ถ้าเป็นผู้เล่นคนอื่นถูกบอลสัญญาณมือคือ Four Hits

การจัดการแข่งขัน (GAME MANAGEMENT)


1. ก่อนการแข่งขัน
1.1 ผู้ตัดสินมีหน้าที่ต้องเตรียมความพร้อมต่างๆ ให้เป็นไปตามก�ำหนดการแข่งขัน
ตามล�ำดับพิธีการแข่งขัน
1.2 ผูต้ ดั สินต้องแต่งเครือ่ งแบบผูต้ ดั สิน ก่อนเวลาตามก�ำหนดการแข่งขันอย่างน้อย
45 นาที
1.3 ผูต้ ดั สินที่ 1, 2 และผูต้ ดั สินส�ำรอง รวมถึง ผูบ้ นั ทึกและผูก้ �ำกับเส้น ควรด�ำเนินการ
ตรวจปริมาณแอลกอฮอล์ โดยฝ่ายแพทย์ของฝ่ายจัดการแข่งขัน
1.4 หากผู้ตัดสินที่ 1 ไม่มาปรากฏตัวตามเวลา ผู้ตัดสินที่ 2 ต้องเริ่มด�ำเนินการแทน
ผู้ตัดสินที่ 1 ภายหลังจากคณะกรรมการจัดการแข่งขันมอบหมาย
1.5 ถ้าผูต้ ดั สินที่ 1 ไม่ผา่ นการตรวจระดับแอลกอฮอล์หรือไม่สามารถท�ำหน้าทีภ่ ายหลัง
กรณีวินิจฉัยของฝ่ายแพทย์ได้ ผู้ตัดสินที่ 2 ควรปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ตัดสินส�ำรอง
ท�ำหน้าที่แทนผู้ตัดสินที่ 2 ซึ่งในกรณีที่ไม่มีผู้ตัดสินส�ำรองฝ่ายจัดการแข่งขันต้องตัดสินใจให้ผู้ตัดสินที่ 1
ท�ำหน้าที่สลับกับผู้ตัดสินที่ 2

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 61
2. ระหว่างการแข่งขัน
2.1 ขณะท�ำการเสิร์ฟผู้ตัดสินที่ 1 ต้องตรวจสอบต�ำแหน่งผู้เล่นฝ่ายทีมเสิร์ฟ
และผู้ตัดสินที่ 2 ตรวจต�ำแหน่งผู้เล่นฝ่ายรับ หลังจากท�ำการเสิร์ฟผู้ตัดสินที่ 2 สามารถเคลื่อนที่ได้
ตลอดแนวเส้นข้างตั้งแต่เส้นแบ่งแดนถึงเส้นรุก ขณะท�ำการรุกผู้ตัดสินที่ 2 ต้องอยู่ในต�ำแหน่ง
ของฝ่ายรับ/ฝ่ายสกัดกั้น ดังนั้นตลอดช่วงเกมการแข่งขันผู้ตัดสินที่ 2 ต้องเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง
2.2 ผู้ตัดสินที่ 1 ต้องจดจ้องลูกบอลและผู้เล่นที่ถูกลูกบอลหรืออุปกรณ์หรือ
สิ่งกีดขวางอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นต้องมั่นใจได้ว่าสามารถมองเห็นการถูกลูกบอลและสามารถคาดคะเน
ทิศทางของลูกบอลระหว่างท�ำการรุกได้อย่างชัดเจน รวมถึงการพิจารณาทิศทางของลูกบอล
ที่พุ่งเข้าหาตาข่าย
2.3 ถ้าสมาชิกของทีมที่อยู่บนม้านั่งหรือเขตอบอุ่นร่างกายฝ่าฝืนกติกาที่ก�ำหนดไว้
ผู้ตัดสินที่ 2 ต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินที่ 1 รับทราบ และผู้ตัดสินที่ 1 สามารถลงโทษได้ทันทีตามระดับ
ความรุนแรงของความผิด
2.4 เมื่อผู้ตัดสินที่ 2 เป่านกหวีดในกรณีการผิดต�ำแหน่งของผู้เล่นฝ่ายรับ ผู้ตัดสินที่ 2
ต้องระบุความผิดด้วยสัญญาณมือ และผู้กระท�ำผิดทันที
2.5 ภายใต้กติกาการแข่งขัน การกระท�ำผิดครัง้ แรกต้องได้รบั การลงโทษ ซึง่ ในความ
รับผิดชอบที่แตกต่างกันของผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ตัดสินที่ 2 หากกรณีที่มีการกระท�ำผิดพร้อมกัน
ควรพิจารณาสัญญาณนกหวีดทีเ่ กิดขึน้ ก่อนเมือ่ จบแรลลีน่ นั้ เพือ่ ไม่ให้ผเู้ ข้าร่วมการแข่งขันเกิดความสับสน
2.6 โดยปกติแล้วผู้ตัดสินที่ 2 มีหน้าที่อนุญาตให้หยุดการแข่งขันภายหลังบอลตาย
หากในกรณีทผี่ ตู้ ดั สินที่ 2 ไม่สามารถระบุสาเหตุของการขอหยุดการแข่งขันได้ผตู้ ดั สินที่ 1 สามารถ
ด�ำเนินการแทนผู้ตัดสินที่ 2 ได้
2.7 ในระหว่างการแข่งขัน หากผูต้ ดั สินที่ 2 สังเกตลักษณะท่าทางทีไ่ ม่มนี ำ�้ ใจนักกีฬา
หรือการใช้ถ้อยค�ำที่ไม่สุภาพต่อฝ่ายตรงข้ามในครั้งแรกขณะบอลตาย ผู้ตัดสินที่ 2 ต้องแจ้งต่อ
ผู้ตัดสินที่ 1 ถึงเหตุการณ์นั้นเพื่อให้พิจารณาด�ำเนินการตักเตือนหรือลงโทษทันที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
ลักษณะของพฤติกรรมนั้น
2.8 การเริ่มเล่นใหม่
การแข่งขันในระดับโลกทีส่ หพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติรบั รอง รวมถึงรายการ
แข่งขันทีเ่ ป็นทางการนัน้ เมือ่ มีการแพร่ภาพออกอากาศ โดยมีการร้องขอต่อคณะกรรมการจัดการ
แข่งขัน และผูค้ วบคุมการแข่งขันของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ เพือ่ ติดตัง้ สัญญาณไฟด้านบน
ของเสาขึงตาข่ายข้างหน้าผู้ตัดสินที่ 1 ซึ่งเชื่อมต่อกับผู้ส่งสัญญาณภาพ ทั้งนี้เมื่อไฟดังกล่าวสว่างขึ้น
แสดงว่าการออกอากาศขณะนั้น ได้มีการทวนสัญญาณภาพในการเล่นที่ผ่านมา โดยกระบวนการ
ดังกล่าวกระท�ำได้ไม่เกิน 8 ครั้งต่อเซตและไม่เกิน 7 วินาทีต่อครั้ง

62 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
2.9 การหยุดพักระหว่างเซต
ในการพักการแข่งขันระหว่างเซตที่ 2 และเซตที่ 3 ฝ่ายจัดการแข่งขันสามารถขยาย
เวลาพักได้ถึง 10 นาที ผู้ตัดสินที่ 1 ต้องออกจากเขตควบคุมการแข่งขันไปยังห้องแต่งตัว
เมื่อจบการแข่งขันเซตที่ 2 และต้องกลับมายังสนามแข่งขันก่อน 3 นาที ก่อนเริ่มต้นเซตที่ 3
โดยปกติในการพักระหว่างเซตที่ 1 ถึงเซตที่ 4 (3 นาที)
ทีม : เมือ่ จบการแข่งขันระหว่างเซต ผูเ้ ล่นในสนาม 6 คนของแต่ละทีมต้องยืนเข้าแถว
ที่เส้นหลังในแดนของตนเอง เพื่อเปลี่ยนแดนไปยังม้านั่งฝ่ายตรงข้าม โดยอ้อมเสาขึงตาข่าย
ในทิศทางเดียวกัน
ผู ้ บั น ทึ ก : ในขณะที่ ผู ้ ตั ด สิ น เป่ านกหวี ด จบการเล่ น ครั้ ง สุ ด ท้ ายของแต่ ล ะเซต
ผู้บันทึกต้องเริ่มจับเวลาเพื่อควบคุมเวลาในการพักระหว่างเซต และในนาทีที่ 2.30 นาที ผู้ตัดสินที่ 2
ต้องเป่านกหวีดหรือผู้บันทึกต้องกดออดสัญญาณ
ทีม : ผู้เล่น 6 คน ในใบส่งต�ำแหน่งลงสู่สนาม
ผู้ตัดสิน : ผู้ตัดสินที่ 2 ตรวจสอบต�ำแหน่งผู้เล่นตามใบส่งต�ำแหน่ง และให้สิทธิ์
ตัวรับอิสระลงสู่สนาม
เจ้าหน้าที่เก็บบอลส่งลูกบอลให้กับผู้เสิร์ฟ
นาทีที่ 3 ผู้ตัดสินที่ 1 เป่านกหวีดเพื่อให้เสิร์ฟ
การหยุดพักระหว่างเซตตัดสิน
ทีม : เมื่อจบการแข่งขันระหว่างเซต ผู้เล่นในสนาม 6 คนทั้ง 2 ทีมยืนเข้าแถวที่เส้นหลัง
และกลับไปยังม้านั่งส�ำรองในแดนของตนเอง
หัวหน้าทีม : ท�ำการเสี่ยงที่โต๊ะของผู้บันทึก
ผู้ตัดสิน : ด�ำเนินการเสี่ยงที่โต๊ะผู้บันทึก
นาทีที่ 2.30 - ผู้ตัดสินที่ 2 เป่านกหวีด หรือผู้บันทึกกดออดสัญญาณเสียง
ทีม : ผู้เล่น 6 คน ในใบส่งต�ำแหน่งลงสู่สนาม
ผู้ตัดสิน : ผู้ตัดสินที่ 2 ตรวจสอบต�ำแหน่งผู้เล่นตามใบส่งต�ำแหน่ง พร้อมทั้งให้สิทธิ์
ตัวรับอิสระลงสู่สนามและส่งลูกบอลให้ผู้เสิร์ฟ
นาทีที่ 3 ผู้ตัดสินที่ 1 เป่านกหวีดเพื่อให้เสิร์ฟ
เมื่อทีมน�ำมีคะแนนที่ 8
ทีม : เมื่อจบการเล่นคะแนนที่ 8 ผู้เล่น 6 คนในสนาม ไปที่เส้นหลังของแดนตนเอง
และย้ายไปยังแดนตรงข้ามโดยไม่มีการถ่วงเวลาเมื่อผู้ตัดสินที่ 1 ให้สัญญาณเปลี่ยนแดน

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 63
ผู้ตัดสิน : ผู้ตัดสินที่ 2 ตรวจความถูกต้องในการหมุนต�ำแหน่ง (สังเกตจากผู้เล่น
ต�ำแหน่งที่ 1 ของแต่ละทีม) รวมถึงความพร้อมของผู้บันทึก และให้สัญญาณพร้อมต่อผู้ตัดสินที่ 2
ต้องระบุให้ผู้เล่นอยู่ใกล้ม้านั่งส�ำรองและออกจากพื้นที่ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เช็ดพื้น
ทั้ง 6 คน

3. หลังจบการแข่งขัน
ผู้ตัดสินทั้ง 2 ยืนหน้าเก้าอี้ผู้ตัดสิน ผู้เล่นทั้ง 2 ทีมยืนที่เส้นหลังของแดนตนเอง
ผู้ตัดสินที่ 1 เป่านกหวีด เพื่อให้ทั้ง 2 ทีม เดินเรียบเส้นข้างมายังผู้ตัดสิน และแสดงความขอบคุณ
ผู้ตัดสินพร้อมทั้งเดินตามแนวตาข่ายเพื่อจับมือฝ่ายตรงข้ามและกลับไปยังม้านั่งส�ำรองของตน
ผู้ตัดสินทั้ง 2 เดินตามแนวตาข่ายไปที่โต๊ะผู้บันทึก เพื่อท�ำการตรวจสอบใบบันทึก ลงลายมือชื่อ
และขอบคุณผู้บันทึก ผู้ก�ำกับเส้นที่ร่วมด�ำเนินการตัดสิน
เพื่อให้การท�ำหน้าที่ของผู้ตัดสินสมบูรณ์ต้องตรวจความเรียบร้อยในบริเวณเขต
ควบคุ ม การแข่ ง ขั น เกี่ ย วกั บ พฤติ ก รรมความมี น�้ำ ใจนั ก กี ฬ าหลั ง เป่ า นกหวี ด จบการแข่ ง ขั น
หากพฤติกรรมที่แสดงถึงความมีน�้ำใจนักกีฬาต่างๆ เกิดขึ้นหลังจากจบการแข่งขันผู้ตัดสินต้อง
รายงานต่อผู้ควบคุมการแข่งขันพร้อมทั้งเขียนรายงานในช่องหมายเหตุในใบบันทึก หรือหนังสือ
อย่างเป็นทางการ

64 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
หัวหน้าทีม
ธงประจำ�ชาติ
ผู้ตัดสิน ผู้กำ�กับเส้น
ที่ 1 ผู้ตัดสินที่ 2
ทีม A. ทีม B.

ม้านั่งผู้เล่น ม้านั่งผู้เล่น
ผู้บันทึก

ภาพที่ 1 แผนผังแสดงทิศทางการเข้าสู่สนามในช่วงพิธีการก่อนการแข่งขัน แบบที่ 1 และแบบที่ 2


(Federation Internationale De Volleyball. 2001 : 26)

R1 R2
ม้านั่งผู้เล่น ม้านั่งผู้เล่น
ผู้บันทึก

ภาพที่ 2 แผนผังแสดงทิศทางการเข้าสู่สนามในช่วงพิธีการก่อนการแข่งขัน แบบที่ 3


(Asian Volleyball Confederation. 2001 : 2)

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 65
การประชุมเพื่อพิจารณาค�ำตัดสิน (Judges Conference)
การประชุมเพื่อพิจารณาค�ำตัดสินสามารถใช้ในการแข่งขันรายการต่างๆ ของสหพันธ์
วอลเลย์บอลนานาชาติ หรือรายการแข่งขันทีเ่ ป็นทางการ เพือ่ เป็นการแก้ปญ ั หาทีเ่ กิดขึน้ ในระหว่าง
การแข่งขันทั้งที่เกิดจากการตีความในกติกาที่ผิดพลาดของผู้ตัดสิน หรือเกิดจากการผิดพลาดของ
ผู้บันทึก ซึ่งมีขบวนการดังนี้ (FIVB Referee Committee. 2013)
1. บุคคลที่สามารถขอประชุมเพื่อพิจารณาค�ำตัดสิน ผู้ฝึกสอนหรือคณะกรรมการ
ควบคุมการแข่งขันสามารถขอท�ำการประชุมเพื่อชี้แจงค�ำตัดสินกับประธานผู้ควบคุมการแข่งขันทันที
เมื่อพิจารณาเห็นว่าเกิดสถานการณ์ที่ไม่ถูกต้องหรือการพิจารณาตีความในกติกาของผู้ตัดสิน
ที่ไม่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับโดย
1.1 การพิจารณาตัดสินของผู้ตัดสินใช้การตีความในกติกาไม่เป็นไปตามข้อบังคับ
หรือไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของการตัดสิน
1.2 ความผิดพลาดทีเ่ กิดจากผูบ้ นั ทึกเกีย่ วกับล�ำดับการเสิรฟ์ หรือคะแนนบนป้ายคะแนน
1.3 กรณีที่ไม่สามารถขอประชุมเพื่อพิจารณาค�ำตัดสินคือ ทุกกรณีที่เป็นค�ำตัดสิน
ของผู้ตัดสินเกี่ยวกับลักษณะการเล่นหรือการผิดมารยาท
1.4 ผู้ฝึกสอนที่ขอไม่ถูกต้อง (ขอประชุมแล้วไม่เป็นผล) จะถูกท�ำโทษโดย
1.4.1 เตือน (Warning) เป็นการเตือนด้วยวาจาหรือสัญญาณมือ โดยไม่มี
การบันทึกลงใบบันทึก
1.4.2 ถ้าเป็นการท�ำซ�้ำอีกในนัดนั้นจะถูกตัดสิทธิ์ให้ออกจากการแข่งขันตลอด
ทั้งนัดนั้นโดยผู้ตัดสินจะให้ใบเหลือง + แดง
2. วิธกี ารขอประชุมเพือ่ พิจารณาค�ำตัดสิน ทันทีทลี่ กู ตายผูฝ้ กึ สอนทีป่ ระสงค์จะขอประชุม
เพื่อพิจารณาค�ำตัดสินจะต้องด�ำเนินการดังนี้
2.1 ผู้ฝึกสอนเข้าพบประธานผู้ควบคุมการแข่งขันที่บริเวณโต๊ะผู้ควบคุมการแข่งขัน
2.2 ชี้แจงว่าเกิดอะไรขึ้นต่อประธานผู้ควบคุมการแข่งขัน
2.3 ประธานผู้ควบคุมการแข่งขันจะพิจารณาค�ำทักท้วงร่วมกับผู้ควบคุมผู้ตัดสิน
2.4 ถ้าประธานผูค้ วบคุมการแข่งขันเห็นด้วยกับค�ำทักท้วง จะอนุญาตให้ท�ำการประชุม
เพื่อพิจารณาค�ำตัดสินได้
3. การขออนุญาตให้มีการประชุมเพื่อพิจารณาค�ำตัดสิน
3.1 ประธานผูค้ วบคุมการแข่งขันจะให้ผบู้ นั ทึกกดสัญญาณเสียงและท�ำสัญญาณมือ
โดยใช้สองมือประสานกันเป็นรูปสามเหลี่ยมเหนือศีรษะ

66 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
3.2 ถ้าเป็นค�ำทักท้วงเกี่ยวกับค�ำตัดสินของผู้ตัดสิน ประธานผู้ควบคุมการแข่งขัน
จะเชิญผู้แทนฝ่ายผู้ตัดสินและผู้ตัดสินที่ 1 เข้าร่วมประชุม โดยผู้ตัดสินที่ 1 จะต้องเป่านกหวีด
ให้ทีมเข้าไปที่บริเวณม้านั่ง แต่ไม่ออกไปนอกบริเวณพื้นที่เล่นลูก นักกีฬาสามารถใช้ลูกบอลเพื่อ
อบอุ่นร่างกายได้ที่บริเวณเขตรอบสนาม
3.3 ผูต้ ดั สินที่ 1 เป็นผูช้ แี้ จงถึงเหตุผลของการพิจารณาตีความในกติกาเพือ่ การตัดสิน
จากนั้นประธานผู้ควบคุมการแข่งขันจะเป็นผู้พิจารณาตัดสินดังนี้
3.3.1 ปฏิเสธค�ำทักท้วงของผู้ฝึกสอน หรือ
3.3.2 ยอมรับค�ำทักท้วงของผู้ฝึกสอน
3.4 ค�ำทักท้วงที่ไม่เป็นผล (ถูกปฏิเสธ) การแข่งขันจะต้องเล่นใหม่ ตามค�ำตัดสินของ
ผูต้ ดั สิน หรือตามต�ำแหน่งเดิม ส่วนผูฝ้ กึ สอนจะถูกเตือนด้วยวาจาหรือสัญญาณอืน่ ๆ เพือ่ ไม่ให้ท�ำซำ�้ อีก
ค�ำทักท้วงทีถ่ กู ปฏิเสธในครัง้ ที่ 2 ผูฝ้ กึ สอนจะต้องถูกลงโทษตัดสิทธิใ์ ห้ออกจากการแข่งขันในนัดนัน้

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 67


ลักเกณฑ์
ในการพิจารณาการตัดสิน
ในการแข่งขันรายการต่างๆ ในระดับนานาชาติหรือระดับโลกนับว่าเป็นการแข่งขันที่มี
ความส�ำคัญเป็นอย่างยิ่ง ผู้ตัดสินทุกคนจะต้องเตรียมการปฏิบัติหน้าที่ให้พร้อมสมบูรณ์ทั้งร่างกาย
และจิตใจ เพื่อให้การแข่งขันเป็นไปอย่างราบรื่นปราศจากการหยุดชะงักใดๆ และเพื่อให้เป็น
หลักเกณฑ์ในการปฏิบัติหน้าที่ส�ำหรับผู้ตัดสินทุกคน คณะกรรมการฝ่ายผู้ตัดสินของสหพันธ์
วอลเลย์บอลนานาชาติ จึงได้ก�ำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาการตัดสินส�ำหรับการแข่งขันระดับ
นานาชาติไว้ดังนี้
1. เกณฑ์การพิจารณาลักษณะการเล่นลูก (Ball touth) คณะกรรมการฝ่ายผูต้ ดั สินของ
สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้เสนอหลักเกณฑ์ในการพิจารณาไว้ดงั นี้ (FIVB Referee Committee.
2001 : 8)
1.1 ตามกติกาข้อ 9.2.2 ได้ระบุว่า “ลูกบอลจะต้องถูกตี ไม่ใช่เป็นการจับหรือการ
ทุ่มและสามารถกระดอนไปได้ทุกทิศทาง”
ผู ้ ตั ด สิ น ต้ อ งมั่ น ใจว่ า ได้ ม องเห็ น การถู ก ลู ก นั้ น อย่ า งชั ด เจนโดยเป็ น การถู ก
เพียงอย่างเดียว โดยลูกบอลได้กระดอนออกจากจุดที่สัมผัสอย่างชัดเจน แต่การทุ่มลูกบอลนั้น
จะประกอบด้วย การกระท�ำ 2 ช่วง คือ ช่วงแรกเป็นการถูกลูกบอล ช่วงที่ 2 เป็นการทุ่มลูกบอล
ผู้ตัดสินที่ 1 จะเป็นผู้เป่านกหวีดให้สิ้นสุดการเล่นลูก ซึ่งผู้ตัดสินจะต้องเป็น
ผู้พิจารณาความผิดที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนเท่านั้น
1.2 ผู้ตัดสินต้องพยายามเอาใจใส่ต่อการเล่นลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งวอลเลย์บอล
ในยุคปัจจุบันนี้มีการหลอกล่อกันด้วยการแตะหยอด (Tip-play) ซึ่งสามารถเปลี่ยนทิศทางของ
ลูกบอลได้
ดังนัน้ ในขณะทีม่ กี ารรุกผูเ้ ล่นสามารถท�ำการรุกด้วยการแตะหยอดได้ ถ้าลูกบอล
ไม่ได้ถูกจับหรือทุ่ม
1.3 ผู้ตัดสินและทีมจะต้องเอาใจใส่และเข้าถึงความเป็นจริงว่าในการสกัดกั้นนั้น
ลักษณะการสกัดกั้นของผู้เล่นอาจจะผิดพลาดได้ ถ้าผู้เล่นไม่เพียงแต่พยายามป้องลูกบอลที่มา
จากฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น แต่จะเป็นการจับหรือทุ่มลุก ซึ่งเป็นการท�ำผิดกติกาข้อ 9.2.2 ผู้ตัดสิน
จะต้องท�ำโทษการท�ำผิดนี้ทันที

68 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
1.4 ในการแข่งขันวอลเลย์บอลในปัจจุบัน สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติพยายาม
ส่งเสริมให้การเล่นลูกแต่ละครัง้ ยาวนานยิง่ ขึน้ และเพือ่ เป็นการดึงดูดความสนใจของผูช้ ม ความผิด
ที่รุนแรงเท่านั้นที่จะถูกท�ำโทษ แต่อย่างไรก็ตามถ้าผู้เล่นไม่ได้อยู่ในต�ำแหน่งที่ดีพอในการเล่นลูก
ผูต้ ดั สินที่ 1 จะต้องพยายามลดความเข้มงวดในการตัดสินเกีย่ วกับการเล่นลูกให้นอ้ ยลง ตัวอย่างเช่น
1.4.1 ขณะที่ตัวเซตก�ำลังวิ่งไปเพื่อเซตลูกบอลหรือท�ำการเซตในลักษณะ
ที่รวดเร็ว
1.4.2 ผูเ้ ล่นพยายามวิง่ หรือท�ำการในลักษณะทีร่ วดเร็วเพือ่ จะเล่นลูกทีก่ ระดอน
จากการสกัดกั้นหรือจากผู้เล่นคนอื่นๆ
1.4.3 การเล่นลูกครัง้ แรกของทีมสามารถท�ำได้โดยเสรี ยกเว้นการจับหรือทุม่
ลูกบอลเท่านั้นที่จะต้องถูกลงโทษ
ดังนั้น ผู้ตัดสินจะต้องพยายามยึดหลักเกณฑ์ที่ก�ำหนดนี้ เพื่อเป็น
เครื่องพิจารณา ในการตัดสินการเล่นลูกแต่ละครั้งให้เที่ยงตรงที่สุด
2. หลักเกณฑ์การขอเปลี่ยนตัว
การขอเปลี่ยนตัวเป็นการอนุญาตหยุดการเล่น โดยผู้ฝึกสอนหรือหัวหน้าทีมในสนาม
เป็นผู้ขออนุญาตโดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้ (FIVB Referee Committee. 2001 : 3)
2.1 ในขณะที่มีการขอเปลี่ยนตัว ผู้ฝึกสอนจะต้องแสดงสัญญาณมืออย่างถูกต้อง
ผู้เล่นที่จะเข้าเปลี่ยนตัวนั้นจะต้องอยู่ใกล้เขตเปลี่ยนตัวเท่านั้น
2.2 จะอนุญาตให้มีการเปลี่ยนตัวได้เฉพาะที่มีการขออนุญาตเท่านั้น โดยจะท�ำ
ในขณะที่ลูกตาย เมื่อผู้ฝึกสอนหรือหัวหน้าทีม (Game Captain) ได้แสดงสัญญาณมือและระบุ
จ�ำนวนผู้เล่นที่จะเข้าแทนโดยปฏิบัติดังนี้
2.2.1 ผูฝ้ กึ สอนหรือผูช้ ว่ ยผูฝ้ กึ สอนกดออด และผูฝ้ กึ สอนต้องแสดงสัญญาณมือ
ทันที พร้อมระบุจ�ำนวนผู้เล่นที่จะเปลี่ยนเข้าแทนด้วยนิ้วมือ
2.2.2 ผู้เล่นที่จะเปลี่ยนตัวเข้าแทนต้องพร้อมที่จะเข้าสู่สนาม โดยยืนอยู่ใกล้
เขตเปลี่ยนตัว ถือป้ายเปลี่ยนตัวชูขึ้นเหนือศีรษะ
2.2.3 เมื่อผู้ตัดสินที่ 2 อนุญาตให้เปลี่ยนได้ ผู้เล่นที่ถูกเปลี่ยนตัวออกจะถือ
ป้ายเปลี่ยนตัวออกมา
2.3 สิ่งส�ำคัญที่สุดคือ ขณะที่ผู้ฝึกสอนขอเปลี่ยนตัวนักกีฬาที่จะเปลี่ยนตัวเข้า
ต้องท�ำโดยรวดเร็วไม่ท�ำให้เกิดการล่าช้า การกระท�ำลักษณะใดๆที่ท�ำให้การเปลี่ยนตัวต้องล่าช้า
จะถือว่าเป็นการพยายามถ่วงเวลาการเล่น ทีมนัน้ จะต้องถูกท�ำโทษ “เตือนถ่วงเวลา” (Delay Warning)
แต่ถ้าเป็นการท�ำซ�้ำอีกในนัดนั้นจะถูกท�ำโทษ “ลงโทษถ่วงเวลา” (Delay Penalty)

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 69
2.4 การเปลี่ยนตัวที่ได้รับการยกเว้น (ที่เกิดจากการบาดเจ็บ) จะไม่นับรวมในการ
เปลี่ยนตัวตามปกติ
3. เวลานอกและเวลานอกทางเทคนิค (Time out and Technical Time out)
เวลานอก (Time out) เป็นการขออนุญาตหยุดการเล่นโดยผู้ฝึกสอนหรือหัวหน้าทีม
ในสนามเป็นผู้ขออนุญาต โดยมีหลักเกณฑ์ในการขอดังนี้ (FIVB Referee Committee. 2001 : 4)
3.1 เวลานอก (Time out) ใช้เวลา 30 วินาทีเต็ม โดยผู้ตัดสินที่ 2 เป็นผู้เป่านกหวีด
ให้สัญญาณเริ่มและหมดเวลานอก
3.2 การขอเวลานอก ผู้ฝึกสอนหรือหัวหน้าทีมเป็นผู้ขออนุญาตโดยปฏิบัติดังนี้
3.2.1 ผูฝ้ กึ สอนหรือผูช้ ว่ ยผูฝ้ กึ สอนกดออดสัญญาณ และผูฝ้ กึ สอนหรือหัวหน้า
ทีมต้องแสดงสัญญาณมือการขอเวลานอกทันที
3.2.2 ขณะขอเวลานอกนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทั้งสองทีมต้องเข้าไปที่บริเวณ
ม้านั่งของตนเอง เพื่อให้เจ้าหน้าที่เช็ดพื้นอย่างสะดวก
3.2.3 เมื่อหมดเวลานอก 30 วินาทีเต็ม นักกีฬาต้องลงสนามทันที
3.3 เมือ่ หมดเวลานอกครัง้ ที่ 2 ของแต่ละทีมในแต่ละเซต ผูต้ ดั สินที่ 2 ต้องแจ้งจ�ำนวนครัง้
ให้ผู้ฝึกสอนของทีมที่เกี่ยวข้องและให้ผู้ตัดสินที่ 1 ได้ทราบ
3.4 เวลานอกทางเทคนิค (Technical Time out) เป็นเวลานอกที่ให้โดยไม่ต้องมี
ทีมใดเป็นผู้ขอโดย
3.4.1 เวลานอกทางเทคนิคจะมีเฉพาะในการแข่งขันเซตที่ 1-4 เมื่อทีมน�ำ
ท�ำคะแนนได้ 8 คะแนน และ 16 คะแนน ส�ำหรับในเซตที่ 5 หรือเซตตัดสินจะไม่มเี วลานอกทางเทคนิค
3.4.2 เวลานอกทางเทคนิคใช้เวลา 60 วินาทีเต็ม
3.4.3 เวลานอกทางเทคนิคจะให้สัญญาณโดยสัญญาณออด ผู้ตัดสินหรือ
ผู้ฝึกสอนไม่ต้องแสดงสัญญาณใดๆ ผู้ตัดสินไม่ต้องให้สัญญาณนกหวีด
3.4.4 ขณะมีเวลานอกทางเทคนิคนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ของทั้งสองทีม
ต้องเข้าไปใกล้ม้านั่งของทีมตนเอง
3.4.5 เวลานอกทางเทคนิคใช้เวลา 60 วินาทีเต็ม ผูช้ ว่ ยผูบ้ นั ทึกจะเป็นผูจ้ บั เวลา
และกดออดให้สัญญาณเริ่มและหมดเวลา เมื่อหมดเวลานอกทางเทคนิคนักกีฬาต้องลงสนามทันที

4. มารยาทในระหว่างการแข่งขัน (Discipline During the Game)


สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้ก�ำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาเกี่ยวกับมารยาท
ไว้ดังนี้ (FIVB Referee Committee. 2001 : 9-10)
4.1 ในระหว่างการแข่งขันผู้ตัดสินต้องเอาใจใส่เกี่ยวกับมารยาทของนักกีฬาและ
เจ้าหน้าที่ของทีม และต้องระลึกเสมอว่า ผู้ตัดสินไม่ใช่ต�ำรวจที่คอยจ้องจับผิดในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ
70 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
แต่จะเป็นผู้พิจารณาลักษณะของการผิดมารยาทและการลงโทษได้เป็นอย่างดี เช่น การผิดมารยาท
เล็กน้อย (Minor Misconduct) ซึ่งจะเริ่มจากความผิดเล็กๆ น้อยๆ และน�ำไปสู่การลงโทษ
ดังนัน้ ผูต้ ดั สิน ผูฝ้ กึ สอนและนักกีฬาจะต้องท�ำความเข้าใจเกีย่ วกับการผิดมารยาท
การถ่วงเวลาและการท�ำโทษ ทั้งนี้จะต้องเข้าใจถึงสัญญาณมือที่ใช้ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้
4.2 ผูต้ ดั สินที่ 1 เป็นผูพ้ จิ ารณาการท�ำผิดมารยาททีจ่ ะน�ำไปสูก่ ารท�ำโทษ เมือ่ ผูต้ ดั สินที่ 1
เห็นการท�ำผิดมารยาท หรือได้รบั ทราบจากคณะกรรมการตัดสินว่านักกีฬาหรือเจ้าหน้าทีท่ มี ปฏิบตั ิ
โดยไม่มีน�้ำใจนักกีฬาที่จะน�ำไปสู่การลงโทษ ผู้ตัดสินที่ 1 ต้องปฏิบัติดังนี้
4.2.1 การท�ำผิดมารยาทโดยนักกีฬาในสนาม เมือ่ ลูกตาย ผูต้ ดั สินที่ 1 ต้องเป่า
นกหวีดเรียกนักกีฬาที่จะลงโทษมาใกล้กับเก้าอี้ผู้ตัดสินทันที จากนั้นผู้ตัดสินที่ 1 จะเตือนด้วยวาจา
หรือสัญญาณมือเพื่อไม่ให้ท�ำลักษณะเช่นนั้นอีกหรืออาจจะแสดงใบเหลือง “ลงโทษผิดมารยาท”
หรือใบแดง ให้ออกจากการแข่งขัน หรือใบเหลือง+ใบแดง “ตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน” และถ้าเป็น
การแข่งขันระดับนานาชาติจะต้องพูดเป็นภาษาอังกฤษว่า “I give you a penalty หรือ I expel
you หรือ I disqualify you” (ในกรณีที่เป็นการแข่งขันระดับภายในประเทศผู้ตัดสินจะพูดเป็น
ภาษาไทยว่า “ผมลงโทษคุณ หรือผมให้คุณออกจากการแข่งขัน หรือผมตัดสิทธิ์คุณออกจาก
การแข่งขัน”) ตามแต่กรณี
ผูต้ ดั สินที่ 2 เมือ่ เห็นการท�ำโทษดังกล่าวจะต้องเข้าไปแนะน�ำให้ผบู้ นั ทึก
ท�ำการบันทึกการลงโทษลงในช่องการลงโทษในช่องการลงโทษ ถ้าผูบ้ นั ทึกพบว่าการตัดสินใจลงโทษ
ของผู้ตัดสินที่ 1 ไม่เป็นไปตามกติกา ผู้บันทึกจะต้องแจ้งผู้ตัดสินที่ 2 ทันที จากนั้นผู้ตัดสินที่ 2
จะต้องไปแจ้งให้ผู้ตัดสินที่ 1 เปลี่ยนค�ำตัดสินในการลงโทษ ถ้าผู้ตัดสินที่ 1 ไม่เปลี่ยนค�ำตัดสิน
ตามที่ผู้บันทึก และผู้ตัดสินที่ 2 แนะน�ำ ผู้บันทึกจะต้องบันทึกค�ำตัดสินลงในช่องหมายเหตุ
4.2.2 การท�ำผิดมารยาทของนักกีฬาที่ไม่ได้อยู่ในสนาม
ในกรณีที่นักกีฬาหรือเจ้าหน้าที่ท�ำผิดมารยาทขณะอยู่นอกสนาม
ผู้ตัดสินที่ 1 จะต้องเป่านกหวีดเรียกหัวหน้าทีม (Game Captain) ให้เข้าไปใกล้กับเก้าอี้ผู้ตัดสิน
และแสดงใบเหลืองหรือใบแดงตามความเหมาะสม โดยพูดว่า Number……I give him/her
a penalty หรือ I disqualify him/her (ในกรณีที่เป็นการแข่งขันระดับภายในประเทศ ผู้ตัดสิน
จะพูดเป็นภาษาไทยว่า “ผมลงโทษผู้เล่นหมายเลข.....หรือผมให้ผู้เล่นหมายที่.....ออกจากการแข่งขัน
หรือผมตัดสิทธิ์ผู้เล่นหมายเลข.....”) ตามแต่กรณี และหัวหน้าทีมต้องไปแจ้งแก่นักกีฬาหรือ
เจ้าหน้าที่อื่นๆ
ขณะที่นักกีฬาหรือเจ้าหน้าที่ทีมที่ถูกลงโทษยกมือขึ้น ผู้ตัดสินที่ 1
จะต้องแสดงใบเหลืองหรือใบแดงตามความเหมาะสมให้ชดั เจนอีกครัง้ เพือ่ ให้ทมี ผูช้ ม ผูต้ ดั สินที่ 2
และผู้บันทึกได้ทราบ

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 71
5. นักกีฬาและเจ้าหน้าที่บริเวณม้านั่งเล่น (on the players bench)
5.1 แต่ละทีมประกอบด้วยนักกีฬา 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน
ผู้ฝึก 1 คน และแพทย์ 1 คน แพทย์ที่จะนั่งบริเวณม้านั่งผู้เล่น จะต้องมีใบรับรองจากสหพันธ์
วอลเลย์บอลนานาชาติแสดงให้ผู้ตัดสินที่ 1 ได้รับทราบหากไม่มีใบรับรองแสดงต่อผู้ตัดสิน ทีมนั้น
จะไม่ได้รับอนุญาตให้แพทย์นั่งที่บริเวณม้านั่ง ดังนั้นทีมจะมีนักกีฬา 12 คน และเจ้าหน้าที่เพียง
3 คนเท่านั้น ในการแข่งขันรายการที่เป็นรายการของทางสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติผู้ฝึกสอน
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ผู้ฝึกและแพทย์สามารถใช้ชุดนักกีฬาของแต่ละชาติได้หรืออาจใช้เสื้อแบบสากล
และผูกเน็กไทก็ได้
5.2 ตามกติกาการแข่งขันระบุว่าผู้ฝึกสอนหรือสมาชิกของทีม ขณะที่นั่งอยู่ที่ม้านั่ง
สามารถให้ค�ำแนะน�ำแกนักกีฬาในสนามได้
ทัง้ นีผ้ ฝู้ กึ สอนสามารถให้ค�ำแนะน�ำขณะยืนหรือเดินภายในเขตรอบสนามในแดน
ของตนเอง ตั้งแต่เส้นเขตรุกจนถึงเขตอบอุ่นร่างกายได้ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่เป็นการรบกวนการปฏิบัติงาน
ของเจ้าหน้าที่หรือถ่วงเวลาการเล่น
5.3 ในขณะแข่งขันผู้ตัดสินจะต้องสามารถแยกแยะระหว่างการแสดงออกซึ่งความ
รู้สึกอย่างแท้จริงภายใต้ความกดดันของการแข่งขันกับลักษณะการแสดงความไม่มีน�้ำใจนักกีฬา
ผู้ตัดสินไม่ควรท�ำโทษลักษณะการแสดงออกซึ่งความรู้สึกในการแข่งขันที่เป็นความรู้สึกที่ถูกต้อง
เช่น การยืนขึ้นแสดงความดีใจกับการเล่นที่สะใจของเพื่อนร่วมทีมหรือการให้ก�ำลังใจ เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตามการแสดงออกในทางลบหรือในทางทีไ่ ม่ถกู ต้องกับคูต่ อ่ สูห้ รือโต้แย้งการตัดสินของ
ผู้ตัดสินเป็นสิ่งต้องห้ามอย่างมาก ผู้ตัดสินจะต้องท�ำโทษต่อการกระท�ำดังกล่าว
6. ผู้เล่นตัวรับอิสระ (The Libero Player) (Federation Internationale De
Volleyball. 2001 : 43-44)
6.1 แต่ละทีมมีสิทธิเลือกที่จะมีผู้เล่นตัวรับอิสระ 1 ใน 12 คนได้ และไม่จ�ำเป็น
ที่ทุกทีมจะต้องมีผู้เล่นตัวรับอิสระ โดยที่ทีมหนึ่งอาจมีผู้เล่นตัวรับอิสระ ส่วนทีมตรงข้ามอาจไม่มี
ผู้เล่นตัวรับอิสระก็ได้ และเป็นไปได้ที่ทั้งสองทีมจะไม่มีผู้เล่นตัวรับอิสระเลยก็ได้
6.2 ผู้เล่นตัวรับอิสระจะต้องบันทึกลงในใบบันทึกในช่องเฉพาะที่จัดเตรียมไว้
ก่อนการแข่งขัน และจะต้องระบุหมายเลขไว้ในใบส่งต�ำแหน่งในเซตที่ 1 ด้วย
6.3 กติกาเฉพาะส�ำหรับตัวเล่นตัวรับอิสระมีดังนี้
6.3.1 อุปกรณ์ ผู้เล่นตัวรับอิสระจะต้องใส่เสื้อที่มีสีแตกต่างกับผู้เล่นอื่นๆ
ในทีมอย่างชัดเจน (เสื้อแจ๊กเก็ตหรือเสื้อกล้ามส�ำหรับผู้เล่นตัวรับอิสระที่ได้รับแต่งตั้งแทนผู้เล่น
ตัวรับอิสระที่บาดเจ็บ) เสื้อของผู้เล่นตัวรับอิสระอาจเป็นแบบที่แตกต่างกันได้ แต่ต้องมีหมายเลข
เช่นเดียวกับผู้เล่นอื่นๆ ของทีม

72 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
6.3.2 ลักษณะการเล่น ผูเ้ ล่นตัวรับอิสระสามารถเปลีย่ นเข้าแทนผูเ้ ล่นแดนหลัง
ได้ทุกต�ำแหน่ง โดยก�ำหนดให้เป็นผู้เล่นแดนหลังเท่านั้นและไม่อนุญาตให้ท�ำการรุกโดยสมบูรณ์
จากทุกพื้นที่ในขณะที่ลูกบอลอยู่สูงกว่าตาข่าย
6.3.3 ไม่อนุญาตให้ตัวรับอิสระท�ำการเสิร์ฟ สกัดกั้น หรือพยายามสกัดกั้น
ตลอดจนไม่อนุญาตให้ผู้เล่นอื่นท�ำการรุกโดยสมบูรณ์จากทุกพื้นที่ ถ้าลูกนั้นมาจากการเซตด้วย
นิ้วมือของผู้เล่นตัวรับอิสระที่อยู่ในแดนหน้า แต่ถ้าผู้เล่นตัวรับอิสระเซตด้วยนิ้วมือจากแดนหลัง
ผู้เล่นอื่นๆ สามารถท�ำการรุกได้โดยเสรีจากทุกพื้นที่
6.3.4 การเปลีย่ นตัวผูเ้ ล่นตัวรับอิสระสามารถเปลีย่ นกับผูเ้ ล่นตัวอืน่ ๆ และไม่
นับเป็นการเปลี่ยนตัวตามปกติ สามารถเปลี่ยนตัวได้โดยไม่มีจ�ำนวนจ�ำกัด และไม่ต้องมีการบันทึก
ลงในใบบันทึกการแข่งขัน แต่การเปลีย่ นตัวนัน้ จะต้องให้มกี ารเล่นผ่านไป 1 ครัง้ ก่อนผูเ้ ล่นตัวรับอิสระ
สามารถเปลี่ยนตัวออกได้เฉพาะกับคู่ของตัวเองเท่านั้น การเปลี่ยนตัวเข้า-ออกจะต้องท�ำก่อน
สัญญาณนกหวีดเพื่อเสิร์ฟและสามารถเปลี่ยนตัวเข้าเล่นก่อนเริ่มต้นแต่ละเซตหลังจากผู้ตัดสินที่ 2
ได้ตรวจสอบต�ำแหน่งเรียบร้อยแล้วขณะที่ลูกตาย
การเปลี่ ย นตั ว เข้ า -ออกที่ ท�ำหลั ง สั ญ ญาณนกหวี ด เพื่ อ การเสิ ร ์ ฟ
ผู้ตัดสินจะต้องไม่ปฏิเสธ แต่จะต้องเตือนด้วยวาจา (เมื่อลูกตาย) เมื่อมีการเปลี่ยนตัวในท�ำนอง
เดียวกันอีกจะต้องถูก “เตือนถ่วงเวลา” (Delay Warning)
6.3.5 ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นตัวรับอิสระเป็นหัวหน้าทีม (Team Captain) หรือ
หัวหน้าทีมในสนาม (Game Captain)
6.4 การแต่งตั้งผู้เล่นตัวรับอิสระใหม่ในกรณีที่ผู้เล่นตัวรับอิสระบาดเจ็บ ผู้ฝึกสอน
สามารถขอแต่งตั้งผู้เล่นตัวรับอิสระใหม่แทนผู้เล่นตัวรับอิสระที่บาดเจ็บได้โดย
6.4.1 ผู้ตัดสินที่ 1 เป็นผู้อนุญาตให้มีการแต่งตั้งผู้เล่นตัวรับอิสระใหม่แทน
ผูเ้ ล่นตัวรับอิสระทีบ่ าดเจ็บ โดยจะแต่งตัง้ ผูเ้ ล่นทีไ่ ม่ได้อยูใ่ นสนามเข้าแทนผูเ้ ล่นตัวรับอิสระทีบ่ าดเจ็บ
ไม่สามารถกลับเข้าไปเล่นอีกในนัดนั้น
ผูเ้ ล่นทีไ่ ด้รบั แต่งตัง้ เป็นตัวรับอิสระใหม่จะต้องเป็นผูเ้ ล่นตัวรับอิสระตลอดในนัดนัน้

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 73

เ ทคนิคการปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินที่ 1

ในการท�ำหน้าที่ผู้ตัดสินรายการต่างๆ ถือว่ามีความส�ำคัญเป็นอย่างมากส�ำหรับผู้ตัดสิน
ดังนั้น ผู้ตัดสินทุกคนจะต้องเตรียมตัวเพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้พร้อมสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
เป็นสิ่งส�ำคัญและจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ตัดสินจะต้องเข้าใจและเห็นความส�ำคัญถึงการแสดงความสามารถ
ของนักกีฬาในการเล่นวอลเลย์บอลสมัยใหม่อย่างแท้จริง
ผูต้ ดั สินจะต้องละเว้นจากความคิดทีว่ า่ การท�ำหน้าทีต่ ดั สินนัน้ เป็นเพียงการควบคุมการแข่งขัน
ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยการใช้กติกาการแข่งขันเป็นเครื่องพิจารณาทั้งหมด แต่ใน
ทางกลับกัน ผู้ตัดสินไม่สามารถที่จะท�ำหน้าที่ได้เหมือนเครื่องจักรที่จะประยุกต์กติกาการแข่งขัน
ได้อย่างอัตโนมัติให้เป็นแบบอย่างเดียวกันตลอดเวลาการแข่งขัน ผู้ตัดสินจึงไม่ควรปฏิบัติหน้าที่
ในลักษณะต�ำรวจที่คอยจ้องจับผิดของนักกีฬาอยู่คลอดเวลา ดังนั้น ผู้ตัดสินจะต้องปฏิบัติหน้าที่
ด้วยความเชี่ยวชาญเป็นมิตรต่อนักกีฬาและเจ้าหน้าที่โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ให้เป็น
ประโยชน์ให้มากที่สุด
ผู้ตัดสินต้องไม่ใช้การคาดคะเนเป็นเครื่องพิจารณาค�ำตัดสิน แต่จะต้องคงไว้บนพื้นฐาน
แห่งความจริง โดยจะพิจารณาตัดสินเฉพาะสิ่งที่เป็นความผิดที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงเท่านั้น ปัจจุบัน
สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติพยายามมุ่งเน้นถึงการแสดงออกซึ่งความสามารถทางทักษะของ
นักกีฬาที่แสดงถึงความสามารถเป็นเลิศต่อผู้ชม สื่อมวลชน ทั้งนี้เพราะผู้ชมที่เข้าชมการแข่งขัน
ไม่อยากทีจ่ ะฟังแต่เสียงดังของนกหวีดตลอดเวลา แต่ตอ้ งการชมการแสดงความสามารถของนักกีฬา
แต่ละคนและแต่ละทีมแข่งขันกันเพื่อชัยชนะในการเล่นลูกแต่ละครั้ง ผู้ตัดสินที่ดีจะต้องช่วยให้
การแข่งขันคงไว้บนพืน้ ฐานทีด่ แี ละถูกต้อง แต่ผตู้ ดั สินทีพ่ ยายามขัดขวางการแสดงความสามารถของ
นักกีฬาและท�ำลายรสชาติแห่งการชมกีฬาของผูช้ มจึงเป็นสิง่ ทีข่ ดั แย้งกับหลักการของวอลเลย์บอล
นานาชาติ ผู้ตัดสินที่ 1 จึงควรศึกษาและท�ำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ ดังนี้ คือ

74 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
กติกาการแข่งขันที่เกี่ยวข้องกับผู้ตัดสินที่ 1
(ชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ และทรงศักดิ์ เจริญพงศ์. 2544 : 39-40)

1. ต�ำแหน่ง ผู้ตัดสินที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยยืนหรือนั่งบนม้านั่งที่ปลายสุดด้านหนึ่งของ


ตาข่ายระดับสายตาต้องอยู่สูงกว่าขอบบนสุดของตาข่ายประมาณ 50 เซนติเมตร
2. อ�ำนาจหน้าที่ของผู้ตัดสินที่ 1
2.1 ควบคุมการแข่งขันตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการแข่งขัน มีอ�ำนาจเหนือเจ้าหน้าที่
และผู้ร่วมทีมทั้ง 2 ทีม ระหว่างการแข่งขันการตัดสินของผู้ตัดสินที่ 1 ถือเป็นสิ้นสุด มีอ�ำนาจ
กลับค�ำตัดสินของเจ้าหน้าที่ทุกคน รวมทั้งมีอ�ำนาจเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่ซึ่งเห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่
ไม่เหมาะสมได้
2.2 ต้องควบคุมการท�ำงานของผู้กลิ้งลูกบอลและผู้เช็ดพื้น
2.3 มีอ�ำนาจตัดสินใจทุกเรือ่ งทีเ่ กีย่ วข้องกับการแข่งขัน รวมถึงเรือ่ งทีไ่ ม่ได้ระบุไว้ในกติกา
2.4 ต้องไม่ยอมให้มกี ารโต้แย้งใดๆ ในการตัดสิน อย่างไรก็ตามถ้าหัวหน้าทีมในสนาม
ขอค�ำชีแ้ จง ผูต้ ดั สินที่ 1 จะให้ค�ำอธิบายการน�ำกติกามาใช้หรือตีความกติกา ซึง่ น�ำมาใช้ในการตัดสินนัน้
ถ้าหัวหน้าทีมในสนามไม่เห็นด้วยกับค�ำอธิบายของผู้ตัดสินที่ 1 และต้องการสงวนสิทธิ์ยื่นหนังสือ
ประท้วงเหตุการณ์นนั้ อย่างเป็นทางการ เมือ่ เสร็จสิน้ การแข่งขันหัวหน้าทีมในสนามต้องสงวนสิทธิท์ นั ที
และผู้ตัดสินที่ 1 ต้องยินยอมรับการประท้วงนั้น
2.5 ต้องรับผิดชอบการตัดสินใจก่อนหรือระหว่างการแข่งขันว่า พืน้ ทีเ่ ล่นลูกอุปกรณ์
และสภาพใดๆ พร้อมท�ำการแข่งขันได้
3. ความรับผิดชอบของผู้ตัดสินที่ 1
3.1 ก่อนการแข่งขัน ผูต้ ดั สินที่ 1 ต้องตรวจสภาพสนามแข่งขัน ลูกบอล และอุปกรณ์
อื่นๆ รวมทั้งท�ำการเสี่ยงร่วมกับผู้ตัดสินที่ 2 และหัวหน้าทีมทั้ง 2 ทีม ตลอดจนควบคุมการอบอุ่น
ร่างกายของทีม
3.2 ระหว่างการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่ 1 มีอ�ำนาจในการเตือน ท�ำโทษการผิดมารยาท
และการถ่วงเวลา การตัดสินเรื่องที่เกี่ยวกับการผิดกติกาของผู้เสิร์ฟต�ำแหน่งของฝ่ายเสิร์ฟ รวมทั้ง
การก�ำบังการท�ำผิดกติกาในการเล่นลูก การผิดกติกาเหนือตาข่ายและส่วนที่สูงขึ้นไปของตาข่าย
การรุกลูกที่ตัวรับอิสระส่งมาให้โดยใช้นิ้วมือเซตลูกด้วยมือบน
3.3 เมื่อสิ้นสุดการแข่งขันต้องตรวจสอบและลงนามในใบบันทึกการแข่งขัน

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 75
การด�ำเนินการช่วงพิธีการก่อนการแข่งขัน
ในการปฏิบัติหน้าที่ก่อนเริ่มการแข่งขันเป็นสิ่งที่ผู้ตัดสินที่ 1 ต้องให้ความส�ำคัญ ทั้งนี้
เพราะผู้ตัดสินส่วนมากคิดว่าในช่วงนี้ไม่มีความส�ำคัญอะไรที่จะต้องปฏิบัติ แต่ในทางตรงข้าม
ในช่วงเวลานีเ้ ป็นช่วงเวลาทีผ่ ตู้ ดั สินที่ 1 จะต้องใช้ให้เกิดประโยชน์เกีย่ วกับข้อมูลต่างๆ ให้มากทีส่ ดุ
เพื่อให้การด�ำเนินการแข่งขันเป็นไปด้วยความราบรื่น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. การตรวจสอบอุปกรณ์ ก่อนเริม่ เวลาในช่วงพิธกี ารก่อนการแข่งขัน เมือ่ ผูต้ ดั สินเข้าสู่
สนามแข่งขันและได้ทักทายกับผู้เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น ผู้บันทึก ผู้ช่วยผู้บันทึก ผู้ประกาศ รวมทั้ง
ผูฝ้ กึ สอนของทัง้ สองทีมเรียบร้อยแล้ว ควรด�ำเนินการตรวจสอบอุปกรณ์ตา่ งๆ ทีจ่ �ำเป็น เช่น ลูกบอล
ผู้ตัดสินที่ 1 จะร่วมพิจารณาคัดเลือกลูกบอลที่จะใช้แข่งขัน 5 ลูกที่มีขนาดต่างๆ ใกล้เคียงกันที่สุด
ได้แก่ น�้ำหนัก เส้นรอบวง รวมถึงแรงอัดลมของลูกบอล
2. การตรวจสอบตาข่าย ผู้ตัดสินที่ 1 เป็นผู้คอยควบคุมการวัดตาข่ายของผู้ตัดสินที่ 2
ตลอดจนพิจารณาถึงความตึงของตาข่าย ต�ำแหน่งของแถบข้างและอื่นๆ โดยท�ำอย่างรวดเร็วที่สุด
3. การเสี่ยง ผู้ตัดสินที่ 1 เป็นผู้ด�ำเนินการเสี่ยงที่บริเวณหน้าโต๊ะผู้บันทึก โดยมีผู้ตัดสินที่ 2
และหัวหน้าทีมทั้ง 2 ทีมรวมอยู่ด้วย ผู้ตัดสินที่ 1 เป็นผู้แจ้งผลการเสี่ยงให้ผู้บันทึกได้ทราบ
โดยทั่วไปจะต้องบอกให้ชัดเจนว่า “ทีมอะไร เป็นฝ่ายเสิร์ฟที่แดนใด” หลักทั่วไปด�ำเนินการเสี่ยง
ควรปฏิบัติดังนี้
3.1 ถามหัวหน้าทีมทั้งสองทีมว่าจะอบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายพร้อมกันหรือแยกกัน
3.2 ระบุเหรียญเสี่ยงให้แต่ละทีม (อย่าให้แต่ละทีมเลือกเอง)
3.3 ให้ผู้ชนะการเสี่ยงได้เลือกก่อน จากนั้นจึงให้ผู้แพ้การเสี่ยงได้เลือกส่วนที่เหลือ
3.4 ให้หัวหน้าทีมทั้งสองทีมลงในใบบันทึก
3.5 ให้ผู้ฝึกสอนทั้งสองทีมลงชื่อในใบบันทึก
4. การอบอุน่ ร่างกาย ผูต้ ดั สินที่ 1 เป็นผูใ้ ห้สญ
ั ญาณนกหวีดเพือ่ เริม่ และหมดเวลาอบอุน่
ร่างกายโดยทั่วๆ ไปก่อนหมดเวลาอบอุ่นร่างกาย 1 นาที ผู้ตัดสินที่ 1 จะแจ้งให้ผู้ฝึกสอนที่เกี่ยวข้อง
ได้ทราบว่าเหลือเวลาอีก 1 นาที เพือ่ ให้ทมี ได้เตรียมการด้านต่างๆ ทีจ่ �ำเป็น หรืออาจจะเปลีย่ นรูปแบบ
ของการอบอุ่นร่างกาย ถ้าทีมอบอุ่นร่างกายพร้อมกันจะต้องคอยควบคุมเกี่ยวกับมารยาทของ
นักกีฬาขณะอบอุ่นร่างกายด้วย ทั้งนี้เพราะลูกบอลอาจจะไปบริเวณที่ฝ่ายตรงข้ามยืนอยู่ ซึ่งอาจ
เป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ท�ำให้การแข่งขันไม่ราบรื่น
4.1 ขณะที่มีการอบอุ่นร่างกายในช่วงพิธีการก่อนการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่ 2 รับใบส่ง
ต�ำแหน่ ง ของเซตที่ 1 จากผู ้ ฝ ึ ก สอน และได้ ส ่ ง มอบให้ กั บ ผู ้ ชี้ ข าด และผู ้ บั น ทึ ก ตามล�ำดั บ แล้ ว
เมือ่ ผูบ้ นั ทึกได้บนั ทึกต�ำแหน่งผูเ้ ล่นเริม่ เล่น และได้สง่ มอบใบส่งต�ำแหน่งให้กบั ผูต้ ดั สินที่ 2 แล้วในช่วงนี้
ผู้ตัดสินที่ 1 ควรศึกษาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการวางตัวผู้เล่นของทั้งสองทีม ข้อมูลที่ควรทราบคือ

76 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
4.1.1 การวางตัวต�ำแหน่งตัวเซตอยู่ต�ำแหน่งใด ตัวเซตอยู่คู่กับหมายเลขใด
(เป็นการวางตัวให้อยู่ตรงข้ามกับผู้เล่นอื่น)
4.1.2 ผู้เล่นตัวรุกหลัก (ตัวที่รุกได้เด่นที่สุด) อยู่ตรงข้ามกับหมายเลขใด
4.1.3 ทีมที่จะเสิร์ฟก่อนใช้ผู้เล่นหมายเลขใดเป็นผู้เสิร์ฟ
4.2 ช่วงหมดเวลาอบอุ่นร่างกาย ก่อนหมดเวลาอบอุ่นร่างกายประมาณ 1 นาที
ผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ตัดสินที่ 2 ควรเรียกให้เจ้าหน้าที่เช็ดพื้นปกติ 6 คน (พร้อมไม้เช็ดพื้น) มาเตรียม
พร้อมที่ด้านหน้าโต๊ะผู้บันทึก (ควรนั่งลง) เมื่อผู้ตัดสินที่ 1 เป่านกหวีดหมดเวลาอบอุ่นร่างกายให้
เจ้าหน้าที่เช็ดพื้นปกติ ท�ำการเช็ดพื้นสนาม 1 รอบ (ควรท�ำให้เร็วที่สุด) เพื่อไม่ให้เกิดการล่าช้า
ต่อเวลาเริ่มแข่งขัน
5. การขออนุญาตต่อผู้ชี้ขาด ในการแข่งขันที่เป็นระดับนานาชาติ หรือการแข่งขัน
ที่เป็นทางการ ผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องขออนุญาตต่อผู้ชี้ขาดเพื่อเริ่มท�ำการแข่งขัน
โดยจะท�ำในช่วงอบอุ่นร่างกายเสร็จ และเป็นเวลาที่เจ้าหน้าที่เช็ดพื้นปกติ 6 คน ก�ำลังเช็ดพื้น
เพื่อรายงานความพร้อมด้านต่างๆ ให้ผู้ชี้ขาดทราบ
6. การแนะน�ำผูต้ ดั สิน ก่อนทีจ่ ะมีการแนะน�ำผูต้ ดั สินจะมีดนตรีบรรเลงประมาณ 5 วินาที
ผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ตัดสินที่ 2 เดินลงสนามโดยยืนที่กลางสนาม หันหน้าเข้าหาผู้โต๊ะผู้บันทึก
ผู้ตัดสินที่ 1 จะอยู่ทางขวามือ ผู้ตัดสินที่ 2 อยู่ทางซ้ายมือของผู้ตัดสินที่ 1 โดยอยู่คนละด้าน
ของตาข่าย ในขณะทีก่ �ำลังมีการแนะน�ำผูต้ ดั สินคนใด ควรมีการแสดงตัวทีส่ ภุ าพตามขนบธรรมเนียม
เช่น การโค้งหรือยกมือไหว้ เมื่อแนะน�ำเสร็จควรจับมือกันหรือแสดงการเคารพซึ่งกันและกัน
7. การแนะน�ำนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ ขณะที่ผู้ตัดสินนั่งหรือยืนอยู่บนเก้าอี้ผู้ตัดสิน
ควรปฏิบัติดังนี้
7.1 ไม่ควรนั่งลักษณะการกอดอก ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่น่าดู ควรนั่งในท่าที่สง่างาม
มีความน่าเชื่อถือ
7.2 การยืน ไม่ควรยืนพักขาข้างหนึง่ ควรยืนในท่าทีส่ ง่า น่าดู อาจใช้วธิ กี ารสังเกตตนเอง
ที่หน้ากระจกเงา
7.3 ขณะแนะน�ำนักกีฬา ควรดูนักกีฬาแต่ละคนที่ลงสนาม เพื่อการติดตามนักกีฬา
อย่างใกล้ชิด
7.4 ผู้ตัดสินที่ 2 ต้องตรวจสอบต�ำแหน่งผู้เล่นในสนามทั้งสองทีมและส่งลูกบอล
ให้ผู้เสิร์ฟ พร้อมทั้งแสดงสัญญาณมือว่าพร้อม ผู้ตัดสินที่ 1 จะเป่านกหวีดอนุญาตให้เสิร์ฟให้ตรง
ตามเวลาที่ก�ำหนดไว้ในก�ำหนดการแข่งขัน หรือตามที่ทางฝ่ายการแข่งขันก�ำหนด

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 77
การปฏิบัติหน้าที่ในขณะแข่งขัน
1. ก่อนให้สัญญาณนกหวีดเพื่อเสิร์ฟ
ผูต้ ดั สินที่ 1 เป็นผูใ้ ห้สญั ญาณนกหวีดเพือ่ อนุญาตให้เสิรฟ์ ทุกครัง้ ก่อนทีจ่ ะอนุญาตให้เสิรฟ์
ผู้ตัดสินที่ 1 จะต้องพิจารณาให้รอบคอบถึงความพร้อมต่างๆ ตามขั้นตอนดังนี้
1.1 ผู้เสิร์ฟพร้อมอยู่ในเขตเสิร์ฟ
1.2 ฝ่ายรับทุกคนพร้อมอยู่ในสนามทั้ง 6 คน
1.3 ฝ่ายเสิร์ฟพร้อมในสนามเล่นทั้ง 5 คน (ยกเว้นผู้เสิร์ฟ)
1.4 ผู้เสิร์ฟถือลูกบอลอยู่ในเขตเสิร์ฟ
ทั้ง 4 ขั้นตอนนี้ผู้ตัดสินที่ 1 ควรพิจารณาให้รวดเร็วและรอบคอบตามล�ำดับ จากนั้นจึงให้
สัญญาณนกหวีดอนุญาตให้เสิร์ฟ
2. ขณะที่มีการเสิร์ฟ
ในขณะเสิร์ฟผู้ตัดสินที่ 1 จะต้องส�ำรวจสิ่งต่างๆต่อไปนี้
2.1 ผู้เสิร์ฟได้ปฏิบัติถูกต้องเกี่ยวกับการเสิร์ฟ
2.1.1 ขณะเสิรฟ์ หรือขณะเริม่ กระโดดเพือ่ เสิรฟ์ ผูเ้ สิรฟ์ จะต้องอยูใ่ นเขตเสิรฟ์
แต่สามารถเริ่มวิ่งจากนอกเขตเสิร์ฟได้
2.1.2 ได้โยนลูกบอลอย่างถูกต้อง
2.1.3 ต้องไม่อนุญาตให้มีความพยายามเสิร์ฟ
2.1.4 ได้เสิรฟ์ ลูกภายใน 8 วินาทีหลังจากทีผ่ ตู้ ดั สินที่ 1 ได้ให้สญั ญาณนกหวีด
2.1.5 ขณะเสิร์ฟลูกบอลสามารถสัมผัสตาข่ายได้
2.2 ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟ
2.2.1 ผูเ้ ล่นฝ่ายเสิรฟ์ ทุกคน (ยกเว้นผูเ้ สิรฟ์ ) จะต้องอยูใ่ นสนามแข่งขันในแดน
ของตนเอง
2.2.2 ขณะเสิร์ฟผู้เล่นทุกคนอยู่ในต�ำแหน่งที่ถูกต้อง
2.2.3 ขณะเสิร์ฟผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟจะต้องไม่ท�ำการบังคับทิศทางการมองเห็น
ของผู้เล่นฝ่ายรับ
2.2.4 ลูกบอลจะต้องข้ามไปยังฝ่ายตรงข้ามโดยตรง โดยไม่ถกู ผูเ้ ล่นฝ่ายเสิรฟ์
และได้ข้ามไปในแนวข้ามตาข่ายอย่างถูกต้อง
2.3 ผู้ก�ำกับเส้นที่รับผิดชอบ ในขณะที่เสิร์ฟจะต้องดูผู้ก�ำกับเส้นที่รับผิดชอบดังนี้
2.3.1 ขณะที่ผู้เสิร์ฟก�ำลังเสิร์ฟลูกบอล ให้ดูผู้ก�ำกับเส้นต�ำแหน่งที่ 2 หรือ
ต�ำแหน่งที่ 4 แล้วแต่กรณี โดยดูว่ามีการเหยียบเส้นหลังหรือแนวสมมุติของเขตเสิร์ฟหรือไม่
2.3.2 ผูก้ �ำกับเส้นต�ำแหน่งที่ 1 หรือ 3 ว่ามีผเู้ ล่นคนใดออกนอกสนามแข่งขันหรือไม่

78 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
2.3.3 ผู้ก�ำกับเส้นทุกต�ำแหน่งที่รับผิดชอบ กรณีลูกลงสนามหรือลูกออก
หรือลูกถูกผู้เล่นแล้วออก แล้วแต่กรณี
3. ขณะที่มีการเล่นลูกบริเวณใกล้ตาข่าย
ผู้ตัดสินที่ 1 จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับ
3.1 การเล่นของฝ่ายรุก โดยจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับ
3.1.1 ผู้เล่นตัวเซตเป็นผู้เล่นแดนหน้าหรือแดนหลัง ถ้าเป็นผู้เล่นแดนหลัง
จะต้องระวังเรือ่ ง การรุกทีผ่ ดิ ระเบียบของผูเ้ ล่นแดนหลัง เช่น การรุกโดยสมบูรณ์ขณะทีอ่ ยูใ่ นเขตรุก
และลูกบอลอยู่สูงว่าระดับสูงสุดของตาข่าย หรือการสกัดกั้นที่ผิดระเบียบ
3.1.2 ผูเ้ ล่นอืน่ ๆ ของฝ่ายรุกทีท่ �ำการรุกนัน้ เป็นผูเ้ ล่นแดนหน้า หรือแดนหลัง
เนื่องจากปัจจุบันการเล่นได้มีรูปแบบต่างๆ เกิดขึ้นอย่างมาก บางครั้งผู้ตัดสินอาจเกิดการสับสนว่า
ใครคือผู้เล่นแดนหน้าหรือแดนหลัง
3.1.3 การเล่นลูกของตัวเซตว่าท�ำการเซตได้อย่างชัดเจน ไม่เป็นลักษณะ
การจับหรือยกลูก หรือไม่ใช่เป็นลักษณะถูกลูกสองจังหวะ
3.1.4 การรุกนัน้ ลูกบอลได้ขา้ มแนวการข้ามตาข่ายอย่างถูกต้องและไม่ลำ�้ แนว
ตาข่ายเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้าม
3.2 การเล่นของฝ่ายรับจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับ
3.2.1 ขณะที่ฝ่ายรุกก�ำลังเล่นลูกอยู่นั้น ฝ่ายรับได้ล�้ำเหนือตาข่ายเข้าไปเล่นลูก
หรือสกัดกั้นก่อนที่ฝ่ายรุกจะท�ำการรุกหรือไม่
3.2.2 ขณะทีฝ่ า่ ยรับก�ำลังท�ำการสกัดกัน้ มีการถูกตาข่ายในขณะก�ำลังเล่นลูก
(Action of playing the ball) โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณส่วนบนของตาข่ายหรือไม่
3.3 ต�ำแหน่งการมองของผู้ตัดสินที่ 1 ขณะที่มีการเล่นลูกใกล้ตาข่ายผู้ตัดสินที่ 1
จะต้องพยายามมองที่แนวกึ่งกลางของตาข่ายในแนวดิ่งตลอดความยาวของตาข่าย ทั้งนี้เพราะ
ในปัจจุบันนักกีฬาส่วนใหญ่มีรูปร่างสูง การล�้ำเหนือตาข่ายที่ผิดระเบียบย่อมเกิดได้ง่าย
4. ขณะที่มีการเล่นลูกครั้งแรกของทีม
ผู้ตัดสินที่ 1 จะต้องพิจารณาให้ได้ว่า การเล่นลูกนั้นเป็นการเล่นลูกครั้งแรกของทีม
หรือไม่ ถ้าเป็นการเล่นลูกครั้งแรกของทีม ผู้ตัดสินจะต้องให้อิสระในการเล่นกับนักกีฬา แต่จะต้อง
ไม่ใช่ลักษณะการจับหรือการทุ่มลูกบอลเท่านั้น ซึ่งการเล่นลูกครั้งแรกของทีมประกอบด้วย
4.1 การรับลูกที่มาจากการเสิร์ฟ
4.2 การรับลูกที่มาจากการรุกทุกกรณี
4.3 การรับลูกที่กระดอนมาจากการสกัดกั้นของฝ่ายตรงข้าม
4.4 การรับลูกที่กระดอนมาจากการสกัดกั้นของฝ่ายตนเอง

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 79
5. ขณะที่มีการเล่นลูกทั่วๆ ไป
5.1 การเล่นลูกครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ของทีมจะต้องเป็นการเล่นที่ถูกต้องชัดเจน
ไม่มีการยก ลาก ผลัก พา ทุ่ม หรือการเล่นในลักษณะ 2 จังหวะ
5.2 การเล่นลูกในลักษณะพยายามอย่างเต็มที่ ผูต้ ดั สินที่ 1 จะต้องพยายามเปิดโอกาส
ให้นกั กีฬาได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้การเล่นลูกแต่ละครัง้ ยาวนานยิง่ ขึน้ ดังนัน้
ในขณะที่นักกีฬาก�ำลังอยู่ในต�ำแหน่งที่ไม่ดีพอที่จะเล่นลูกนั้น แต่ได้พยายามอย่างเต็มที่เพื่อจะเล่นลูก
หากมีการผิดพลาดเกิดขึ้นเล็กน้อย ผู้ตัดสินจะต้องปล่อยให้การเล่นได้ต่อเนื่องไป การเล่นดังกล่าว
ประกอบด้วย
5.2.1 ขณะที่ตัวเซตก�ำลังวิ่งไปเพื่อเซตลูกบอล หรือท�ำการเซตลูกลักษณะ
รวดเร็ว (Quick Action)
5.2.2 ผู้เล่นอื่นๆ วิ่งไปเล่นลูก หรือเล่นลูกอย่างรวดเร็วหลังจากลูกบอล
ได้กระดอนมาจากการสกัดกั้นหรือจากผู้เล่นอื่นๆ
5.2.3 การเล่ น ลู ก ครั้ ง แรกของที ม สามารถท�ำได้ โ ดยเสรี ยกเว้ น การจั บ
หรือทุ่มลูกเท่านั้น
6. ขณะที่มีการรุกจากแดนหลัง
ปัจจุบันการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลได้พยายามคิดค้นการเล่นแบบใหม่ๆ โดยเฉพาะ
การรุกจากแดนหลัง ซึ่งเป็นการรุกที่สามารถท�ำได้อย่างหลากหลาย ดังนั้น ผู้ตัดสินที่ 1 ซึ่งเป็น
ผู้รับผิดชอบโดยตรงจึงควรเอาใจใส่กับการรุกจากแดนหลังให้มาก ซึ่งมีข้อแนะน�ำดังนี้
6.1 เกณฑ์การพิจารณา ผู้ตัดสินที่ 1 จะต้องเข้าใจถึงเกณฑ์การพิจารณาการรุกจาก
แดนหลังที่ผิดระเบียบ
6.1.1 การรุกนั้นต้องเป็นการท�ำโดยผู้เล่นแดนหลัง
6.1.2 เข้ามาท�ำการรุกลูกในบริเวณเขตรุกหรือแนวต่อที่ยื่นออกไป
6.1.3 ขณะท�ำการรุกลูกนั้นต้องอยู่สูงกว่าระดับสูงสุดของตาข่าย
6.1.4 การรุกนั้นจะต้องเป็นการรุกโดยสมบูรณ์ การรุกจะสมบูรณ์สามารถ
พิจารณาได้จาก
6.1.4.1 ลูกบอลทั้งลูกได้ข้ามผ่านแนวดิ่งของตาข่ายโดยสมบูรณ์ทั้งลูก
6.1.4.2 ลูกบอลได้ถูกผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
หลังจากเกณฑ์การพิจารณาทั้ง 4 ข้อนี้ ผู้ตัดสินที่ 1 จะต้องพิจารณา
ให้รอบคอบ และต้องเป็นการท�ำครบทุกหลักเกณฑ์ จึงจะถือได้วา่ เป็นการรุกทีผ่ ดิ ระเบียบแต่ถา้ เป็น
การท�ำเพียงเกณฑ์ขอ้ ใดข้อหนึง่ ซึง่ ไม่ครบทุกหลักเกณฑ์แล้วการรุกจากแดนหลังจะไม่ผดิ ระเบียบใดๆ

80 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
6.2 เทคนิคในการพิจารณา ผู้ตัดสินที่ 1 จะต้องพยายามหาวิธีการ หรือเทคนิคใดๆ
ที่จะช่วยให้การพิจารณาตัดสินเกี่ยวกับการรุกจากแดนหลังให้เที่ยงตรงที่สุด ซึ่งมีข้อแนะน�ำดังนี้
6.2.1 ผู้ตัดสินจะต้องสามารถจ�ำได้ตลอดเวลาการเล่นว่าขณะนี้ผู้เล่นคนใด
เป็นผู้เล่นแดนหลัง ซึ่งผู้ตัดสินแต่ละคนต่างก็มีหลักเกณฑ์ในการจดจ�ำของตนเองแตกต่างกันออกไป
จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนเคยผ่านการปฏิบัติหน้าที่ในรายการแข่งขันต่างๆ ทุกระดับของโลก
จึงขอแนะน�ำหลักการจ�ำส่วนตัวของผู้เขียน ซึ่งอาจจะมีความเหมาะสมกับผู้ตัดสินอื่นๆ ดังนี้
6.2.1.1 ผู้เล่นตัวเซตยืนต�ำแหน่งคู่กับใคร
6.2.1.2 ผู้เล่นตัวตบหลักของทีมยืนต�ำแหน่งคู่กับใคร
6.2.1.3 ผู้เล่นตัวเซตหมุนตามใคร
6.2.1.4 ผู้เล่นตัวตบหลักหมุนตามใคร
6.2.1.5 ถ้าผูเ้ ล่นตัวรับอิสระเปลีย่ นเข้าแทนผูเ้ ล่นใดๆ แสดงว่าทีมนัน้
จะมีผู้เล่นแดนหลังเพียง 2 คน
6.2.2 พิจารณาจากรูปแบบการเล่น โดยปกติแล้วแต่ละทีมจะมีผเู้ ล่นทีส่ ามารถ
ท�ำการรุกจากต�ำแหน่งแดนหลังในแต่ละต�ำแหน่งแตกต่างกันไป เช่น การรุกจากต�ำแหน่ง 1 ต�ำแหน่ง 6
และต�ำแหน่ง 5 จะใช้ผู้เล่นที่รุกจากแดนหลังเฉพาะตัวและเฉพาะต�ำแหน่ง ดังนั้นผู้ตัดสินที่ 1
จะต้องพยายามศึกษารูปแบบการเล่นของแต่ละทีมด้วย
6.2.3 ต�ำแหน่งการใช้สายตาขณะทีม่ กี ารรุกจากแดนหลัง สิง่ ทีผ่ ตู้ ดั สินส่วนมาก
ยังไม่สามารถปฏิบัติได้ดี คือ การแบ่งแยกสายตาจากผู้เล่นที่รุกจากแดนหลังกับผู้เล่นที่ก�ำลังสกัดกั้น
ซึ่งจ�ำเป็นต้องใช้ประสบการณ์จากการฝึกหัดบ่อยๆ
7. ก่อนเริ่มต้นในเซตตัดสิน (เซตที่ 5)
ถ้าต้องมีการแข่งขันในเซตตัดสิน เมื่อจบเซตที่ 4 ผู้ตัดสินที่ 1 ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน
ดังต่อไปนี้
7.1 ให้สัญญาณจบการแข่งขันเซตที่ 4 และให้นักกีฬาทั้งสองทีมกลับไปที่ม้านั่ง
ของทีมตนเองได้ทันที โดยไม่ต้องเปลี่ยนแดนกัน
7.2 ผูต้ ดั สินที่ 1 ลงจากเก้าอีผ้ ตู้ ดั สิน เรียกหัวหน้าทีมทัง้ สองทีมมาท�ำการเสีย่ งพร้อมกับ
ผู้ตัดสินที่ 2 ที่หน้าโต๊ะผู้บันทึก
7.3 แจ้งถึงผู้บันทึกผลการเสี่ยงว่าทีมใดเป็นฝ่ายเสิร์ฟและอยู่แดนใด
7.4 กลับไปที่เก้าอี้ผู้ตัดสิน เพื่อเตรียมท�ำหน้าที่ต่อ
7.5 ตรวจสอบดูความพร้อมของเจ้าหน้าที่ เช่น ผู้ก�ำกับเส้น เจ้าหน้าที่เช็ดพื้น และ
ดูสัญญาณจากผู้ตัดสินที่ 2 ว่าพร้อม จึงอนุญาตให้เสิร์ฟได้

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 81
การประสานงานกับเจ้าหน้าที่อื่นๆ
ในการปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ข ณะแข่ ง ขั น ผู ้ ตั ด สิ น ที่ 1 ไม่ ส ามารถปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ เ พี ย งล�ำพั ง
แต่ผู้เดียวได้ แต่จะต้องมีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดกับผู้ตัดสินที่ 2 ผู้ก�ำกับเส้น เจ้าหน้าที่
ส่งลูกบอล เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงขอแนะน�ำหลักการประสานงาน
กับเจ้าหน้าที่อื่นๆดังนี้
1. ก่อนเริ่มต้นแต่ละเซต
1.1 ต้องใช้เวลาส�ำหรับผูต้ ดั สินที่ 2 ได้ตรวจสอบต�ำแหน่งผูเ้ ล่น 6 คนแรก ให้ตรงกับ
ใบส่งต�ำแหน่ง
1.2 หากมีการเปลี่ยนตัวผู้เล่นกับตัวรับอิสระต้องอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงได้ทันที
1.3 ถ้าเป็นการเริ่มต้นในเซตที่ 1 และเซตตัดสิน ผู้เสิร์ฟต้องรับลูกบอลที่ส่งมาจาก
ผู้ตัดสินที่ 2 เท่านั้น
1.4 รอการให้สัญญาณพร้อมจากผู้ตัดสินที่ 2 โดยการชูมือทั้งสองข้าง
1.5 ถ้าหัวหน้าทีม (Team Captain) ไม่ได้ลงสนามเป็นผูเ้ ล่น 6 คนแรก ผูต้ ดั สินที่ 2
ต้องถามผู้ฝึกสอนและแจ้งให้แก่ผู้ตัดสินที่ 1 ทราบ เพื่อผู้ตัดสินที่ 1 จะได้แจ้งให้แก่ผู้เล่นที่ได้รับ
แต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าทีมในสนามได้รับทราบ
1.6 ส�ำรวจผู้ก�ำกับเส้นทั้ง 4 คนว่าอยู่ในต�ำแหน่งพร้อมธง
2. ขณะให้สัญญาณเสิร์ฟผู้ตัดสินที่ 1 ควรประสานกับ
2.1 ผู ้ ก�ำกั บ เส้ น ที่ รั บ ผิ ด ชอบเส้ น หลั ง (ต�ำแหน่ ง ที่ 2 และ 4) ของฝ่ า ยเสิ ร ์ ฟ
หากผู้ก�ำกับเส้นให้สัญญาณธงใดๆ ขึ้นแสดงว่าจะต้องมีการผิดระเบียบเกี่ยวกับการเสิร์ฟ ดังนั้น
ขณะทีผ่ เู้ สิรฟ์ ก�ำลังเริม่ กระโดดเสิรฟ์ หรือขณะก�ำลังตีลกู บอลเพือ่ เสิรฟ์ ผูต้ ดั สินที่ 1 จะต้องพยายามดู
ผู้ที่เสิร์ฟ และผู้ก�ำกับเส้นที่รับผิดชอบอย่างใกล้ชิด
2.2 ถ้าผู้ตัดสินที่ 2 ให้สัญญาณนกหวีดแสดงการผิดต�ำแหน่งของฝ่ายรับ ผู้ตัดสินที่ 1
ควรไม่ให้สัญญาณอื่นใดอีกเป็นอันขาด ควรให้ความยอมรับในการตัดสินของผู้ตัดสินที่ 2
2.3 ถ้าเป็นลูกลงสนาม (ลูกดี) หรือลูกออก ควรประสานสายตาไปยังผู้ก�ำกับเส้น
ที่รับผิดชอบอย่างรวดเร็ว แต่ไม่ควรใช้วิธีการหันหน้าไปมองอย่างชัดเจนทุกครั้ง เพราะอาจจะได้
รับค�ำต�ำหนิจากผู้ฝึกสอนว่าไม่มีความมั่นใจในตนเอง
3. ขณะให้สัญญาณหยุดการเล่น
3.1 ถ้าผู้ตัดสินที่ 2 ให้สัญญาณนกหวีดก่อน ผู้ตัดสินที่ 1 จะต้องไม่ให้สัญญาณ
นกหวีดตามอีกครัง้ เป็นอันขาด เพราะอาจจะท�ำให้เกิดความสับสนต่อนักกีฬา หรือเจ้าหน้าทีอ่ นื่ ๆ ได้
และรอชั่วขณะหนึ่ง เพื่อให้ผู้ตัดสินที่ 2 ได้แสดงสัญญาณมือระบุความผิดที่เกิดขึ้น พร้อมระบุตัว
ผู้ท�ำผิด จากนั้นผู้ตัดสินที่ 1 จึงแสดงสัญญาณระบุทีมที่จะได้สิทธิ์เสิร์ฟต่อไป

82 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
3.2 ถ้ามีการให้สัญญาณนกหวีดพร้อมกัน ผู้ตัดสินที่ 1 จะต้องรอชั่วขณะหนึ่งและ
ใช้สายตาให้สอื่ ความหมายกับผูต้ ดั สินที่ 2 จากนัน้ จึงให้สญั ญาณเพือ่ ระบุวา่ ทีมใดจะชนะการเล่นลูกครัง้ นัน้
3.3 กรณีทจี่ ะพิจารณาว่าเป็นลูกดี ลูกออก หรือลูกถูกผูเ้ ล่นแล้วออก เมือ่ ให้สญ ั ญาณ
นกหวีดแล้วจะต้องดูที่ผู้ก�ำกับเส้นที่รับผิดชอบหรือผู้ตัดสินที่ 2 อย่างรวดเร็ว จากนั้นจึงให้สญ ั ญาณ
หากผูต้ ดั สินที่ 1 มีความเห็นไม่ตรงกับผูก้ �ำกับเส้น ผูต้ ดั สินที่ 1 ต้องการยกเลิกค�ำตัดสินของผูก้ �ำกับเส้น
ให้แสดงสัญญาณมือเพือ่ ปฏิเสธอย่างชัดเจนก่อน จากนัน้ จึงแสดงสัญญาณทีถ่ กู ต้อง
3.4 ถ้าเกิดกรณีไม่มั่นใจการตัดสิน ให้เรียกผู้ตัดสินที่ 2 หรือผู้ก�ำกับเส้นที่เกี่ยวข้อง
เพื่อซักถามก่อน จากนั้นจึงตัดสินใจ อย่าใช้วิธีการถามนักกีฬา เป็นอันขาด
4. ขณะที่มีการหยุดการเล่นลูก
4.1 ก่อนให้สัญญาณนกหวีดเพื่อเริ่มเล่นใหม่หลังจากการขอหยุดการเล่นทุกครั้ง
(การขอเปลี่ยนตัว การขอเวลานอก) จะต้องรอสัญญาณจากผู้ตัดสินที่ 2 ว่าพร้อมหรือยัง
4.2 ต้องให้เวลากับผู้บันทึกในการบันทึกขอการเปลี่ยนตัว การขอเวลานอกและ
การเตือนถ่วงเวลา การลงโทษถ่วงเวลาอย่างเพียงพอ
4.3 เมื่อสิ้นสุดเวลานอกทางเทคนิค 1 นาที ให้ดูความพร้อมจากเจ้าหน้าที่อื่นๆ เช่น
ผู้บันทึก ผู้ก�ำกับเส้น และผู้ตัดสินที่ 2
5. ขณะก�ำลังมีการเล่นลูก
5.1 ถ้ามีสญั ญาณใดๆ จากผูก้ �ำกับเส้นทีเ่ กิดขึน้ เช่น ผูก้ �ำกับเส้นให้สญั ญาณลูกถูกพืน้ สนาม
ถูกสิง่ กีดขวางหรือลูกไม่ผา่ นแนวข้ามตาข่าย ฯลฯ ถ้าผูต้ ดั สินที่ 1 เห็นด้วย ให้เป่านกหวีดให้สญ ั ญาณ
หยุดการเล่น แต่ถ้าไม่เห็นด้วยจะต้องแสดงสัญญาณมือใดๆ ที่ระบุว่าไม่เห็นด้วยกับการให้สญั ญาณ
ของผูก้ �ำกับเส้นนัน้ เพือ่ ให้ทกุ คนได้เห็นว่าผูต้ ดั สินที่ 1 ได้ตดิ ตามการเล่นลูกนัน้ และเห็นการกระท�ำนัน้
อย่างชัดเจน
5.2 หากเกิดเหตุใดๆ ที่ไม่ใช่เป็นความผิดพลาดของผู้เล่น เช่น ลูกบอลกลิ้งเข้ามา
ในสนามเล่นให้ยุติการเล่นลูกนั้นและให้เริ่มเล่นใหม่
5.3 หากเกิดอาการบาดเจ็บทีร่ า้ ยแรงขึน้ ให้ยตุ กิ ารเล่นลูกนัน้ ทันทีและให้ผตู้ ดั สินที่ 2
พิจารณาเรียกแพทย์ประจ�ำทีมหรือแพทย์ประจ�ำสนามเข้าไปดูแลและให้เล่นลูกนั้นใหม่

การปฏิบัติในการลงโทษการท�ำผิดมารยาท
ชนิดของการผิดมารยาท (Misconduct) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. การผิดมารยาทเล็กน้อย (Minor Misconduct) เป็นการผิดมารยาทของนักกีฬา
หรือเจ้าหน้าที่ของทีมเพียงเล็กน้อย ไม่รุนแรง ทั้งนี้ผู้ตัดสินที่ 1 จะต้องพยายามป้องกันไม่ให้ทีม
ท�ำผิดมารยาทจนถึงขั้นต้องลงโทษ โดย

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 83
1.1 ต้องท�ำการเตือนนักกีฬาหรือเจ้าหน้าที่ที่ท�ำผิดมารยาทเล็กน้อยผ่านหัวหน้า
ในสนาม (Game captain) โดยท�ำการเตือนด้วยวาจาหรือสัญญาณมือ
1.2 การเตือนนี้ ไม่ใช่การลงโทษ ดังนั้น จึงไม่ต้องมีการใช้บัตรใดๆ
1.3 ไม่ต้องมีการบันทึกลงในใบบันทึก
2. การผิดมารยาทที่ต้องมีการลงโทษ (Misconduct Leading to Sanction) เป็นการ
ท�ำผิดมารยาทของสมาชิกในทีมต่อเจ้าหน้าที่ คู่ต่อสู้ เพื่อร่วมทีมหรือผู้ชม ซึ่งสามารถแบ่งเป็น
3 ระดับ คือ
2.1 การแสดงความหยาบคาย (Rude Conduct) เป็นการกระท�ำที่เป็นลักษณะ
ตรงข้ามกับลักษณะของมารยาททีด่ ี หรือเป็นลักษณะทีไ่ ม่มีคณ
ุ ธรรม หรือเป็นลักษณะการแสดงออก
ซึ่งความรู้สึก
2.2 การแสดงความก้าวร้าว (Offensive Conduct) เป็นการกระท�ำลักษณะ
ที่น่ารังเกียจ หรือใช้ถ้อยค�ำที่มากกว่าการหยาบคาย
2.3 การแสดงการรุกราน (Aggression) เป็นลักษณะของการท�ำร้ายร่างกาย หรือ
ตั้งใจที่จะท�ำร้าย หรือใช้ความรุนแรง

ระดับการลงโทษ (Sanction Scale)


ในการพิจารณาการลงโทษ ผู้ตัดสินที่ 1 เท่านั้น จะเป็นผู้พิจารณาลงโทษนักกีฬา
หรือเจ้าหน้าที่ของทีม และจะต้องมีการบันทึกทุกครั้งที่มีการลงโทษ โดยแบ่งระดับการลงโทษ
ออกเป็น 3 ระดับ คือ
1. การลงโทษ (Penalty) การกระท�ำใดๆ ที่เป็นลักษณะของการแสดงความหยาบคาย
(Rude Conduct) ครัง้ แรกของสมาชิกในทีมจะต้องถูกลงโทษด้วยบัตรสีเหลือง ทีมจะเสียการเล่นลูก
(Loss of rally) โดยจะต้องเสียคะแนนและเสียสิทธิการเสิร์ฟ
2. การให้ออกจากการแข่งขัน 1 เซต (Expulsion)
2.1 การแสดงความหยาบคายครั้งที่ 2 ของสมาชิกคนเดิม
2.2 การแสดงความก้าวร้าว ครั้งที่ 1 ของสมาชิกในทีมจะต้องถูกให้ออกจาก
การแข่งขัน 1 เซต
2.3 นักกีฬาหรือเจ้าหน้าทีค่ นใดทีถ่ กู ให้ออกจากการแข่งขันที่ 1 เซต จะต้องออกไปนัง่
ในบริเวณเขตลงโทษ ซึ่งอยู่ด้านหลังที่นั่งผู้เล่นส�ำรอง โดยจะไม่มีสิทธิ์ใดๆ
2.4 การให้ออกจากการแข่งขัน 1 เซต แสดงโดยบัตรสีแดง
2.5 ทีมจะไม่เสียการเล่นลูก กล่าวคือ จะไม่เสียคะแนน หรือไม่เสียสิทธิ์การเสิร์ฟ

84 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
2.6 จะต้องมีการบันทึกการให้ออกจากการแข่งขัน 1 เซตลงในใบบันทึก
2.7 ทีมที่สมาชิกถูกให้ออกจากการแข่งขัน 1 เซต จะต้องเปลี่ยนตัวตามปกติ
หากเปลี่ยนตัวตามปกติไม่ได้จะต้องถูกปรับเป็นไม่พร้อมจะแข่งขันในเซตนั้น
3. การตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน (Disqualification)
3.1 เป็นการแสดงความหยาบคาย ครั้งที่ 3 ของสมาชิกทีมคนเดิม
3.2 เป็นการแสดงความก้าวร้าว ครั้งที่ 2 ของสมาชิกทีมคนเดิม
3.3 การแสดงการรุกราน ครั้งที่ 1 ของสมาชิกในทีม
3.4 นักกีฬาหรือเจ้าหน้าทีค่ นใดทีถ่ กู ตัดสิทธิอ์ อกจากการแข่งขันจะต้องออกไปนอก
บริเวณพื้นที่ควบคุมตลอดทั้งนัดนั้น โดยไม่มีสิทธิ์ใดๆ
3.5 การตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่ 1 จะแสดงบัตรสีเหลือง+สีแดง
3.6 ทีมที่สมาชิกถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขันจะไม่เสียการเล่นลูก
3.7 จะต้องมีการบันทึกการตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขันลงในใบบันทึก
3.8 ทีมทีส่ มาชิกถูกตัดสิทธิอ์ อกจากการแข่งขันจะต้องเปลีย่ นตัวตามปกติ หากเปลีย่ นตัว
ตามปกติไม่ได้ ทีมนั้นจะต้องถูกปรับเป็นไม่พร้อมจะแข่งขันในเซตนั้น

วิธีการปฏิบัติในการลงโทษ
ผู้ตัดสินที่ 1 เท่านั้นจะพิจารณาลงโทษนักกีฬาหรือเจ้าหน้าที่ของทีม โดยมีวิธีการลงโทษ
ตามล�ำดับดังนี้
1. ถ้าเป็นลงโทษสมาชิกทีมที่อยู่ในสนามเมื่อลูกตาย ผู้ตัดสินที่ 1 จะต้องปฏิบัติดังนี้
1.1 ถ้าเป็นการผิดมารยาทเล็กน้อยจะไม่มกี ารลงโทษ เพียงแต่ผตู้ ดั สินที่ 1 จะต้องเตือน
ด้วยวาจาหรือสัญญาณมือเท่านัน้ โดยเป็นการเตือนผ่านหัวหน้าทีมทีอ่ ยูใ่ นสนาม (Game Captain)
1.2 ถ้าเป็นการผิดมารยาทที่ต้องมีการลงโทษ ผู้ตัดสินที่ 1 จะต้อง
1.2.1 เป่านกหวีดเรียกนักกีฬาที่จะถูกลงโทษเข้าไปใกล้กับเก้าอี้ผู้ตัดสินที่ 1
1.2.2 แสดงบัตร (ตามความเหมาะสม) ให้นักกีฬานั้น และพูดว่า “เป็นการ
ลงโทษคุณ หรือให้คณ ุ ออกจากการแข่งขัน 1 เซต หรือตัดสิทธิค์ ณ
ุ ออกจากการแข่งขันตลอดทัง้ นัด”
1.2.3 นักกีฬาที่ถูกลงโทษจะต้องยกมือแสดงการยอมรับ
2. ถ้าเป็นการลงโทษสมาชิกทีมที่อยู่นอกสนาม เมื่อลูกตายผู้ตัดสินที่ 1 ต้องปฏิบัติดังนี้
2.1 เป่านกหวีดเรียกหัวหน้าทีมในสนาม (Game Captain) ให้เข้าไปใกล้กับเก้าอี้
ผู้ตัดสินที่ 1

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 85
2.2 พูดกับหัวหน้าทีมในสนามว่า “เป็นการลงโทษ หรือให้ออกจากการแข่งขัน หรือ
ตัดสิทธิอ์ อกจากการแข่งขันตลอดทัง้ นัด นักกีฬาหมายเลข.....หรือเจ้าหน้าที”่ พร้อมกับแสดงบัตร
ตามความเหมาะสม ดังตัวอย่าง
“เป็นการลงโทษนักกีฬาหมายเลข.....”
“เป็นการลงโทษผู้ฝึกสอน”
“เป็นการให้นักกีฬาหมายเลข.....ออกจากการแข่งขัน”
“เป็นการให้ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนออกจากการแข่งขัน”
“เป็นการตัดสิทธิ์นักกีฬาหมายเลข.....ออกจากการแข่งขัน”
“เป็นการตัดสิทธิ์ผู้ฝึกสอนออกจากการแข่งขัน”
2.3 เมื่อผู้ตัดสินที่ 1 ก�ำลังพูดกับหัวหน้าทีม ให้แสดงบัตรตามความเหมาะสมขึ้น
พร้อมกับใช้มืออีกข้างระบุไปที่สมาชิกคนนั้น
2.4 เมื่อหัวหน้าทีมในสนาม (Game Captain) ได้รับทราบต้องไปแจ้งให้กับสมาชิก
ทีมคนนั้นยืนขึ้นพร้อมกับยกมือยอมรับ
2.5 เมือ่ สมาชิกทีถ่ กู ลงโทษยกมือขึน้ ผูต้ ดั สินที่ 1 ต้องแสดงบัตรตามความเหมาะสม
เพื่อให้ผู้ตัดสินที่ 2 ผู้บันทึกและผู้ชมได้ทราบอีกครั้ง

การปฏิบัติในการลงโทษถ่วงเวลา
การถ่วงเวลาเป็นการกระท�ำให้เกิดการล่าช้าหรือท�ำให้ตอ้ งเสียเวลาต่อการเล่น โดยนักกีฬา
หรือเจ้าหน้าที่ของทีมเป็นผู้ท�ำ ดังนั้น ผู้ตัดสินจะต้องพยายามป้องกันไม่ให้ทีมท�ำการถ่วงเวลา
การเล่นทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจและเพื่อเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาตัดสินส�ำหรับผู้ตัดสินเกี่ยวกับ
การถ่วงเวลา คณะกรรมการฝ่ายผู้ตัดสินของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้ก�ำหนดหลักเกณฑ์
ไว้ดังนี้ (FIVB Referee Committee. 2001:2)
1. การถ่วงเวลาที่เกิดจากการขออนุญาตที่ผิดระเบียบ
1.1 การกระท�ำใดๆ ทีเ่ ป็นการขออนุญาตทีผ่ ดิ ระเบียบครัง้ แรกของทีมในนัดนัน้ และ
ไม่มีผลต่อการเล่น หรือไม่ท�ำให้การเล่นต้องล่าช้าออกไป ผู้ตัดสินจะต้องปฏิเสธการขอนั้น โดยไม่มี
การท�ำโทษใดๆ
1.2 ถ้าเป็นการขออนุญาตที่ผิดระเบียบ ครั้งที่ 2 ของทีมเดิมในนัดนั้น ผู้ตัดสิน
จะต้องปฏิบัติดังนี้
1.2.1 ปฏิเสธการขออนุญาตนั้น
1.2.2 ลงโทษเตือนถ่วงเวลาทีมนัน้ โดยผูต้ ดั สินที่ 1 จะแสดงสัญญาณมือเปล่า
ชี้ที่นาฬิกา เพื่อเป็นการเตือนถ่วงเวลา (Delay Warning)

86 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
1.2.3 จะต้องมีการบันทึกการเตือนถ่วงเวลาไว้ในใบบันทึก
1.2.4 ทีมทีถ่ ูกเตือนถ่วงเวลาจะไม่เสียการเล่นลูก (ดังภาพ)

ภาพที่ 3 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณการเตือนถ่วงเวลา

1.3 ถ้าเป็นการขออนุญาตทีผ่ ดิ ระเบียบ ครัง้ ที่ 3 หรือครัง้ ต่อๆ ไปของทีมเดิมในนัดนัน้


ผู้ตัดสินจะต้องปฏิบัติดังนี้
1.3.1 ปฏิเสธการขออนุญาตนั้น
1.3.2 ลงโทษถ่วงเวลาทีมนั้น โดยผู้ตัดสินที่ 1 จะแสดงใบเหลืองชี้ที่นาฬิกา
เป็นการลงโทษถ่วงเวลา (Delay Penalty)
1.3.3 จะต้องมีการบันทึกการลงโทษถ่วงเวลาไว้ในใบบันทึก
1.3.4 ทีมทีถ่ กู ลงโทษถ่วงเวลาจะต้องเสียการเล่นลูก (จะต้องเสียสิทธิก์ ารเสิรฟ์
และเสียคะแนน 1 คะแนน) (ดังภาพ)

ทุกครั้งที่มีการเตือนถ่วงเวลา (Delay Warning) หรือลงโทษถ่วงเวลา (Delay Penalty)


ผูต้ ดั สินที่ 1 จะต้องมัน่ ใจได้วา่ ผูบ้ นั ทึกได้บนั ทึกการเตือนหรือลงโทษการถ่วงเวลานัน้ เรียบร้อยแล้ว

ภาพที่ 4 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณลงโทษการถ่วงเวลา

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 87
ลักษณะส�ำคัญของการขออนุญาตที่ผิดระเบียบ
1. การขออนุญาตขณะที่ก�ำลังมีการเล่นลูก หรือขณะที่ผู้ตัดสินเป่านกหวีดให้เสิร์ฟ หรือ
ภายหลังจากผู้ตัดสินเป่านกหวีดให้เสิร์ฟ
2. การขออนุญาตโดยผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ขออนุญาต
3. การขอเปลี่ยนตัวก่อนที่จะมีการเล่น หลังจากที่ทีมนั้นได้ขอเปลี่ยนตัวไปก่อนแล้ว
4. การขออนุญาตเปลี่ยนตัวหรือขอเวลานอกเกินจ�ำนวนที่ก�ำหนดในแต่ละเซต

ตัวอย่างการขออนุญาตที่ผิดระเบียบ
ผู้ฝึกสอนขอเวลานอกในขณะที่ก�ำลังเล่นลูกหรือในขณะที่ผู้ตัดสินเป่านกหวีดให้เสิร์ฟ
หรื อ ภายหลั ง จากสั ญ ญาณนกหวี ด เพื่ อ ให้ เ สิ ร ์ ฟ ถ้ า การขออนุ ญ าตนั้ น ไม่ เ ป็ น ผลต่ อ การเล่ น
หรือไม่ท�ำให้การเล่นต้องล่าช้า ผูต้ ดั สินเพียงแต่ปฏิเสธการขอนัน้ โดยไม่มกี ารท�ำโทษใดๆ แต่ถา้ เป็น
การท�ำซ�้ำอีกในนัดนั้น จะถือว่าเป็นการถ่วงเวลาการเล่นผู้ตัดสินที่ 1 จะต้องท�ำโทษทีมนั้นโดย
“เตือนถ่วงเวลา” (Delay Warning)
2. การถ่วงเวลาที่เกิดจากการถ่วงเวลาโดยตรง
2.1 ถ้าทีมท�ำการถ่วงเวลาโดยตรงและเป็นการท�ำครั้งแรกของทีมในนัดนั้น ผู้ตัดสิน
จะต้องปฏิบัติดังนี้
2.1.1 ปฏิเสธการขออนุญาตนั้น
2.1.2 เตือนถ่วงเวลาทีมนั้น โดยผู้ตัดสินที่ 1 จะแสดงสัญญาณมือเปล่า
ชี้ที่นาฬิกาเป็นการเตือนถ่วงเวลา (Delay Warning)
2.1.3 จะต้องมีการบันทึกการเตือนถ่วงเวลาไว้ในใบบันทึก
2.1.4 ทีมที่ถูกเตือนถ่วงเวลาจะไม่เสียการเล่นลูก (ดังภาพ)

ภาพที่ 5 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณการเตือนถ่วงเวลา

88 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
2.2 ถ้าทีมท�ำการถ่วงเวลาโดยตรง ครั้งที่ 2 หรือครั้งต่อๆ ไปในนัดนั้น ผู้ตัดสิน
จะต้องปฏิบัติดังนี้
2.2.1 ปฏิเสธการขออนุญาตนั้น
2.2.2 ลงโทษถ่วงเวลา (Delay Penalty) ทีมนั้น โดยผู้ตัดสินที่ 1 จะแสดง
สัญญาณใบเหลืองชี้ที่นาฬิกา เป็นการลงโทษถ่วงเวลา
2.2.3 จะต้องมีการบันทึกการลงโทษถ่วงเวลาไว้ในใบบันทึกทุกครั้ง
2.2.4 ทีมที่ถูกลงโทษถ่วงเวลาจะเสียการเล่นลูก กล่าวคือ จะเสียคะแนน
และเสียสิทธิ์การเสิร์ฟ (ดังภาพ)

ภาพที่ 6 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณการลงโทษถ่วงเวลา

ลักษณะส�ำคัญของการขออนุญาตที่เป็นการถ่วงเวลาโดยตรง
การขอเปลี่ยนตัวล่าช้า เช่น ขณะที่ขออนุญาตเปลี่ยนตัว นักกีฬาไม่พร้อมอยู่ใกล้เขต
การเปลี่ยนตัวหรือถือป้ายเปลี่ยนตัวไม่ถูกคู่ หรือไม่อยู่ในชุดแข่งขันที่พร้อมจะแข่งขัน
การขอเวลานอก ผลจากการขอเวลานอกที่เป็นสาเหตุของการถ่วงเวลา ได้แก่ เมื่อหมด
เวลานอกแล้ว ผู้ตัดสินให้ทีมลงสนาม แต่ทีมยังไม่พร้อมลงสนามหรือท�ำให้การเล่นต้องล่าช้าต่อไป
ด้วยเหตุของการขอเวลานอก
การขออนุญาตผูกเชือกรองเท้า การผูกเชือกรองเท้าเป็นความรับผิดชอบของนักกีฬาเอง
ผู้ตัดสินจะต้องไม่อนุญาตให้นักกีฬาผูกเชือกรองเท้าโดยหยุดการแข่งขันชั่วขณะหนึ่ง หากนักกีฬา
ยังยืนยันขออนุญาตผูกเชือกรองเท้าจะเป็นการถ่วงเวลาโดยตรง ทีมนั้นจะถูกเตือนหรือลงโทษ
ถ่วงเวลาตามแต่กรณี ดังนั้น หากนักกีฬาประสงค์จะผูกเชือกรองเท้าจะต้องท�ำเองโดยไม่มีการ
หยุดการแข่งขัน ผู้ตัดสินจะต้องให้สัญญาณเสิร์ฟทันทีและนักกีฬาผู้นั้นจะต้องอยู่ในต�ำแหน่ง
ที่ถูกต้อง หากไม่อยู่ในต�ำแหน่งที่ถูกต้องขณะเสิร์ฟจะต้องถูกท�ำโทษการผิดต�ำแหน่ง ทีมนั้นจะเสีย
การเล่นลูกทันที

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 89
การขออนุญาตให้เช็ดพื้น นักกีฬาหรือเจ้าหน้าที่ไม่มีสิทธิ์ร้องขอให้เจ้าหน้าที่เช็ดพื้น
ที่เปียกลื่น ทั้งนี้เพราะในการแข่งขันทุกรายการจะใช้เจ้าหน้าที่เช็ดพื้นเร็ว (Quick Mopper)
เพื่อท�ำการเช็ดพื้นขณะท�ำการแข่งขันตลอดเวลา ทั้งนี้เป็นความรับผิดชอบและอยู่ในอ�ำนาจ
การตัดสินใจของเจ้าหน้าที่เช็ดพื้นเร็วเท่านั้น ในท�ำนองเดียวกัน ถ้านักกีฬาได้ร้องขอหรือชี้แนะให้
เจ้าหน้าทีเ่ ช็ดพืน้ เร็วท�ำการเช็ดพืน้ จะถือว่าเป็นการถ่วงเวลาการเล่นโดยตรง ทีมนัน้ จะต้องถูกเตือน
หรือลงโทษตามแต่กรณี
ดังนั้น หากนักกีฬาประสงค์จะเช็ดพื้นที่เปียกลื่น จึงเป็นหน้าที่รับผิดชอบของนักกีฬาเอง
ที่จะต้องเตรียมผ้าผืนเล็กส�ำหรับการเช็ดพื้นด้วยตนเอง และในท�ำนองเดียวกันผู้ตัดสินจะต้องไม่รอให้
นักกีฬาได้ท�ำการเช็ดพื้นจนเสร็จเรียบร้อย
ตัวอย่างการถ่วงเวลาโดยตรง
ผู้เล่นท�ำการถ่วงเวลาโดยขออนุญาตผู้ตัดสินเพื่อผูกเชือกรองเท้า การกระท�ำเช่นนี้
ที ม จะถู ก ท�ำโทษทั น ที โ ดย “เตื อ นถ่ ว งเวลา” ถ้ า การถ่ ว งเวลานี้ เ ป็ น การท�ำซ�้ ำ อี ก ในนั ด นั้ น
ทีมจะถูกท�ำโทษ “ลงโทษถ่วงเวลา” ลักษณะส�ำคัญทีเ่ ป็นการถ่วงเวลาโดยตรง คือ การขอเปลีย่ นตัว
การขอเวลานอก การขอผูกเชือกรองเท้า การขอให้เช็ดพื้น เป็นต้น

ล�ำดับขั้นตอนการปฏิบัติส�ำหรับผู้ตัดสินที่ 1
ในขณะแข่งขัน เมื่อมีการขอหยุดการแข่งขันหรือช่วงพักระหว่างเซต ผู้ตัดสินที่ 1 จะต้อง
พยายามใช้เวลาในช่วงหยุดนี้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นลักษณะต่างๆ ดังนี้
1. เมื่อมีการขออนุญาตเปลี่ยนตัว สิ่งที่ผู้ตัดสินที่ 1 พึงสังเกตและปฏิบัติในช่วงนี้คือ
1.1 ผู้เล่นที่จะเปลี่ยนตัวเข้าพร้อมและอยู่ใกล้เขตเปลี่ยนตัว โดยอยู่ในชุดแข่งขัน
ถือป้ายเปลี่ยนตัวที่ถูกต้อง ถ้าท�ำไม่ถูกต้องถือเป็นการเปลี่ยนตัวล่าช้า ต้องถูกท�ำโทษเตือนหรือ
ลงโทษถ่วงเวลาตามแต่กรณี
1.2 กรณีขออนุญาตเปลีย่ นตัวพร้อมกันทัง้ สองทีม ผูต้ ดั สินที่ 1 สามารถให้สญ ั ญาณให้
ผู้เล่นอีกทีมหนึ่งรออยู่ขณะหนึ่งก่อน
1.3 การเปลี่ยนตัวหัวหน้าทีมในสนามจะต้องสอบถามผู้ฝึกสอนหรือหัวหน้าทีม
(Game Captain) ว่าใครคือผู้ที่จะท�ำหน้าที่หัวหน้าทีมในสนามแทน
1.4 ได้ให้เวลาส�ำหรับการบันทึกการเปลี่ยนตัวของผู้บันทึกอย่างเพียงพอ
1.5 สังเกตดูฝ่ายที่ก�ำลังเสียคะแนนติดต่อกันหรือในช่วงที่ทีมต้องการเปลี่ยนตัว
เพื่อท�ำคะแนนในช่วงส�ำคัญๆ จะเป็นฝ่ายขอเปลี่ยนตัว
2. เมื่อมีการขอเวลานอก ผู้ตัดสินที่ 1 พึงสังเกต คือ
2.1 ผู้ฝึกสอนได้แสดงสัญญาณมืออย่างถูกต้อง

90 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
2.2 ผู้ตัดสินที่ 2 ได้ให้นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ของทั้งสองทีมเข้าไปใกล้ม้านั่งของทีม
เพื่อให้เจ้าหน้าที่เช็ดพื้นได้ท�ำการเช็ดพื้นได้อย่างสะดวก
2.3 สังเกตปฏิกิริยาของทีม (กรณีเกิดความไม่พอใจในค�ำตัดสิน)
2.4 การขอเวลานอกครัง้ ที่ 2 ของทีม ผูต้ ดั สินที่ 2 ได้แจ้งให้ผฝู้ กึ สอนทีเ่ กีย่ วข้องได้ทราบ
2.5 สังเกตลักษณะต่างๆ ของเพื่อนร่วมงานที่อาจจะแจ้งสิ่งต่างๆ ให้ทราบ
2.6 ต้องทราบว่าใครคือผู้เสิร์ฟในครั้งต่อไป
2.7 พึงสังเกตฝ่ายที่ก�ำลังเสียเปรียบจะเป็นฝ่ายที่ขอเวลานอก
3. เมื่อมีเวลานอกทางเทคนิค ผู้ตัดสินที่ 1 ควรพิจารณาเกี่ยวกับ
3.1 สังเกตดูการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เช็ดพื้นปกติ
3.2 ให้นักกีฬาลงสนามเมื่อหมดเวลา 60 วินาทีเต็ม
3.3 ต้องทราบว่าใครคือผู้เสิร์ฟครั้งต่อไป
3.4 สังเกตดูการเปลีย่ นตัวของผูเ้ ล่นตัวรับอิสระในขณะทีจ่ ะลงสนามเพราะอาจจะมี
การเปลี่ยนตัวโดยไม่ได้มีการเล่นผ่านไป 1 ครั้งก่อน
4. ขณะที่มีการหยุดพักระหว่างเซต ผู้ตัดสินที่ 1 ควรพิจารณาเกี่ยวกับ
4.1 เมื่อจบเซตผู้เล่นในสนามได้เข้าแถวที่เส้นหลังเพื่อเปลี่ยนแดนอย่างถูกต้อง
4.2 สังเกตดูปฏิกิริยาของเจ้าหน้าที่ทีมและผู้เล่นส�ำรองขณะเดินสวนกันที่หน้าโต๊ะ
ผู้บันทึก
4.3 สังเกตดูเกี่ยวกับมารยาทของสมาชิกในทีม หากมีการท�ำผิดมารยาทในช่วงพัก
ระหว่างเซตจะต้องพิจารณาท�ำโทษในเซตต่อไป
5. การเปลี่ยนตัวของผู้เล่นตัวรับอิสระ ผู้ตัดสินที่ 1 พึงระมัดระวังเกี่ยวกับ
5.1 จะต้องเปลี่ยนตัวก่อนสัญญาณนกหวีดเพื่อให้เสิร์ฟ
5.2 จะต้องเปลี่ยนตัวในเซตที่อนุญาตให้เปลี่ยนเท่านั้น
5.3 จะต้องมีการเล่นผ่านไป 1 ครั้งก่อน
5.4 หากมีการเปลีย่ นตัวผูเ้ ล่นตัวรับอิสระหลังสัญญาณนกหวีดให้เสิรฟ์ (แต่กอ่ นการเสิรฟ์ )
ผู้ตัดสินจะต้องไม่ปฏิเสธ แต่จะต้องเตือนด้วยวาจาเมื่อจบการเล่นลูกนั้น
5.5 หากมีการเปลีย่ นตัวผูเ้ ล่นตัวรับอิสระขณะเสิรฟ์ หรือหลังการเสิรฟ์ ทีมนัน้ จะต้อง
เสียการเล่นลูกในลักษณะการผิดต�ำแหน่ง

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 91
การแสดงสัญญาณมือส�ำหรับผู้ตัดสินที่ 1
การแสดงสัญญาณมือเป็นสือ่ บอกความหมายระหว่างผู้ตัดสินกับนักกีฬาและผู้ชมให้เข้าใจ
ความหมายซึง่ กันและกัน ดังนัน้ ผูต้ ดั สินจะต้องแสดงสัญญาณมือให้ถกู ต้องชัดเจนและสือ่ ความหมาย
โดยใช้สัญญาณมือที่ระบุไว้ในกติกาเท่านั้น การแสดงสัญญาณมือที่ผู้ตัดสินที่ 1 มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่
2 ลักษณะ คือ
1. การแสดงสัญญาณมือ เมื่อผู้ตัดสินที่ 1 เป็นผู้เป่านกหวีดระบุความผิดการแสดง
สัญญาณมือลักษณะนี้ ผู้ตัดสินที่ 1 จะต้องเป็นผู้แสดงก่อนเป็นล�ำดับขั้นตอน ดังนี้
1.1 เป่านกหวีดเพื่อหยุดการเล่น
1.2 แสดงสัญญาณมือชี้แดนฝ่ายที่ได้เสิร์ฟ (ฝ่ายที่ชนะการเล่นลูกนั้น)
1.3 แสดงสัญญาณมือระบุเหตุของการท�ำผิดว่าเกิดความผิดอะไร เช่น เล่นลูก 2 ครัง้
ลูกดี ลูกออก หรือลูกถูกผู้เล่นแล้วออก
1.4 ระบุตัวผู้ท�ำผิด โดยแสดงสัญญาณมือด้วยการชี้ด้วยนิ้วทั้ง 5 ซึ่งเป็นลักษณะ
ที่สุภาพ
2. การแสดงสัญญาณมือ เมื่อผู้ตัดสินที่ 2 เป็นผู้เป่านกหวีดระบุความผิด การแสดง
สัญญาณมือกรณีนี้ผู้ตัดสินที่ 1 จะเป็นผู้แสดงสัญญาณมือภายหลังผู้ตัดสินที่ 2 ดังนี้
2.1 เมื่อผู้ตัดสินที่ 2 เป่านกหวีดเพื่อหยุดการเล่น
2.2 ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงสัญญาณมือระบุเหตุของการท�ำผิด เช่น การถูกตาข่าย
การล�้ำเส้นแบ่งแดน ลูกบอลถูกเสาอากาศด้านผู้ตัดสินที่ 2 เป็นต้น (ผู้ตัดสินที่ 1 ไม่ต้องแสดง
สัญญาณใดๆ)
2.3 ผู้ตัดสินที่ 2 ระบุตัวผู้เล่นที่ท�ำผิด (ผู้ตัดสินที่ 1 ไม่ต้องแสดงสัญญาณใดๆ)
2.4 เมื่อผู้ตัดสินที่ 2 ระบุตัวผู้เล่นที่ท�ำผิด ผู้ตัดสินที่ 1 จะเป็นผู้แสดงสัญญาณชี้แดน
ที่จะได้เป็นฝ่ายเสิร์ฟครั้งต่อไป จากนั้นผู้ตัดสินที่ 2 จึงแสดงสัญญาณตามผู้ตัดสินที่ 1

เทคนิคการแสดงสัญญาณมือที่เกี่ยวข้องกับผู้ตัดสินที่ 1
การแสดงสัญญาณมือที่ผู้ตัดสินที่ 1 มีส่วนเกี่ยวข้องและต้องแสดงเมื่อผู้ตัดสินที่ 1
เป็นผู้เป่านกหวีดระบุความผิดมีเทคนิคดังต่อไปนี้ (Federation International De Volleyball.
2001 : 69-73)
1. พื้นที่ได้เสิร์ฟ เหยียดแขนไปทางทีมที่จะได้เสิร์ฟ ให้แขนตึง หันฝ่ามือไปข้างหน้า
แขนอยู่ในแนวขนานกับพื้น (ดังภาพ)

92 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ภาพที่ 7 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณระบุทีมที่ได้เสิร์ฟ

2. อนุญาตให้เสิร์ฟ โบกมือแสดงทิศทางการเสิร์ฟ โดยโบกมือพับแขนให้ขนานพื้น
ให้ผ่านล�ำตัว (ดังภาพ)

ภาพที่ 8 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณการอนุญาตให้เสิร์ฟ

3. เปลี่ยนแดน พับแขนทั้งสองหมุนแขนขวาไปทางด้านหน้า หมุนแขนซ้ายไปทาง


ด้านหลัง (ลักษณะทวนเข็มนาฬิกา) (ดังภาพ)

ภาพที่ 9 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณการเปลี่ยนแดน

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 93
4. ขอเวลานอก วางฝ่ามือบนปลายนิ้วของอีกมือหนึ่งในแนวดิ่ง โดยทีมใดเป็นผู้ขอ
ให้ใช้มือข้างนั้นตั้งขึ้น (ดังภาพ)

ภาพที่ 10 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณมือการขอเวลานอก

5. ขอเปลีย่ นตัว หมุนแขนทัง้ สองข้างให้รอบซึง่ กันและกัน โดยหมุนออกจากล�ำตัว (ดังภาพ)


ภาพที่ 11 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณการขอเปลี่ยนตัว

6. ลงโทษผิดมารยาท แสดงใบเหลืองเพื่อลงโทษนักกีฬาหรือเจ้าหน้าที่ทีมคนนั้นๆ
โดยระบุตัวผู้ท�ำผิด (ดังภาพ)

ภาพที่ 12 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณให้ใบเหลืองเพื่อลงโทษ

94 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
7. ให้ออกจากการแข่งขัน (เฉพาะเซตนัน้ ) แสดงใบแดงเพือ่ ให้นกั กีฬาหรือเจ้าหน้าทีค่ นนัน้ ๆ
ออกจากการแข่งขันเฉพาะในเซตนั้น (ดังภาพ)

ภาพที่ 13 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณให้ใบแดงเพื่อให้ออกจากการแข่งขันในเซตนั้น

8. ตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน (ตลอดทั้งนัด) แสดงใบเหลือง + ใบแดง เพื่อตัดสิทธิ์


นักกีฬาหรือเจ้าหน้าที่ทีมให้ออกจากการแข่งขันตลอดทั้งนัดนั้น (ดังภาพ)

ภาพที่ 14 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณให้ใบเหลือง + ใบแดงเพื่อตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน


ตลอดทั้งนัดนั้น
9. จบการแข่งขันแต่ละเซตหรือจบการแข่งขัน ไขว้แขนทั้งสองที่บริเวณหน้าอก
เป็นรูปสามเหลี่ยม (ดังภาพ)

ภาพที่ 15 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณจบการแข่งขัน


คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 95
10. ไม่โยนหรือปล่อยลูกบอลขณะเสิร์ฟ หงายฝ่ามือเหยียดแขนแล้วยกแขนขึ้นตรงๆ
โดยแขนไม่งอ (ดังภาพ)

ภาพที่ 16 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณไม่โยนหรือปล่อยลูกขณะเสิร์ฟ



11. เกินก�ำหนดเวลาเสิร์ฟ ชูนิ้วแปดนิ้วแยกออกจากกัน โดยพับนิ้วนางและนิ้วก้อย
ของมือข้างหนึ่ง (ดังภาพ)

ภาพที่ 17 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณเกินก�ำหนดเวลาเสิร์ฟ

12. สกัดกั้นผิดระเบียบ ยกแขนทั้งสองในแนวดิ่ง แขนเหยียดตึงหันฝ่ามือไปข้างหน้า


(ดังภาพ)

ภาพที่ 18 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณการสกัดกั้นผิดระเบียบ



96 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
13. ผิดต�ำแหน่งหรือผิดล�ำดับ ใช้นิ้วชี้ท�ำรูปวงกลม (ดังภาพ)

ภาพที่ 19 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณการผิดต�ำแหน่งหรือผิดล�ำดับ

14. ลูกดี (ลูกลงสนาม) เหยียดแขนและนิ้วทั้ง 5 ชี้ที่พื้น โดยชี้ที่บริเวณจุดกึ่งกลางของ


เส้นเขตรุก (ดังภาพ)

ภาพที่ 20 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณลูกดี (ลูกลงสนาม)



15. ลูกออก (ลูกออกนอกสนาม) พับแขนทัง้ สองขึน้ ให้อยูใ่ นแนวดิง่ แบมือ นิว้ ทัง้ 5 ชิดติดกัน
หันฝ่ามือเข้าหาล�ำตัว (ดังภาพ)

ภาพที่ 21 แสดงสัญญาณลูกออก

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 97
16. จับหรือทุ่มลูกบอล พับแขนด้านที่ทีมนั้นท�ำผิดขึ้นช้าๆ หงายฝ่ามือขึ้น (ดังภาพ)


ภาพที่ 22 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณจับหรือทุ่มลูกบอล

17. ถูกลูกสองครั้ง ชูนิ้วสองนิ้วแยกออกจากกัน เหยียดแขนขึ้นในแนวดิ่ง (ดังภาพ)

ภาพที่ 23 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณการถูกลูกสองครั้ง

18. เล่นลูกสี่ครั้ง ชูนิ้วสี่นิ้วแยกออกจากกัน โดยพับนิ้วหัวแม่มือ หันฝ่ามือไปข้างหน้า


เหยียดแขนขึ้นในแนวดิ่ง (ดังภาพ)

ภาพที่ 24 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณการเล่นลูกสี่ครั้ง


98 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
19. ผู้เล่นถูกตาข่ายหรือเสิร์ฟไม่ข้ามตาข่าย ชี้ตาข่ายด้านที่เกิดเหตุ (ดังภาพ)

ภาพที่ 25 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณผู้เล่นถูกตาข่ายหรือเสิร์ฟไม่ข้ามตาข่าย



20. ล�้ำเหนือตาข่าย วางมือเหนือตาข่ายคว�่ำฝ่ามือลง (ดังภาพ)

ภาพที่ 26 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณการล�้ำเหนือตาข่าย



21. การรุกทีผ่ ดิ ระเบียบโดยผูเ้ ล่นแดนหลังหรือรุกลูกทีม่ าจากการเสิรฟ์ หรือรุกลูกทีม่ าจาก
การเซตของผู้เล่นตัวรับอิสระที่อยู่ในแดนหน้า โดยชูแขนขึ้นแล้วพับลง (ดังภาพ)

ภาพที่ 27 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณการรุกที่ผิดระเบียบ


คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 99
22. ล�ำ้ ใต้ตาข่ายหรือลูกลอดใต้ตาข่าย ชีท้ บี่ ริเวณจุดกึง่ กลางของเส้นแบ่งแดน (ดังภาพ)

ภาพที่ 28 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณการล�้ำใต้ตาข่ายหรือลูกลอดใต้ตาข่าย

23. ให้เล่นใหม่ ยกหัวแม่มือขึ้นโดยก�ำมือทั้งสองข้าง (ดังภาพ)

ภาพที่ 29 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณให้เล่นใหม่

24. ลูกบอลถูกผู้เล่นแล้วออกนอกสนาม ใช้ฝ่ามือปัดที่ปลายนิ้วของมืออีกข้างหนึ่ง


โดยทีมใดท�ำลูกออกให้ใช้มือนั้นตั้งขึ้น (ดังภาพ)

ภาพที่ 30 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณลูกบอลถูกผู้เล่นแล้วออก


100 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
25. เตือนถ่วงเวลาและลงโทษถ่วงเวลา การเตือนใช้ฝ่ามือแตะที่ข้อมือ (นาฬิกา)
การลงโทษใช้ใบเหลืองชี้ที่นาฬิกา (ดังภาพ)

ภาพที่ 31 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณการเตือนถ่วงเวลา

ภาพที่ 32 ผู้ตัดสินที่ 1 แสดงสัญญาณการลงโทษการถ่วงเวลา

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 101

เ ทคนิคการปฏิบัติหน้าที่
ผู้ตัดสินที่ 2
การปฏิบตั หิ น้าทีผ่ ตู้ ดั สินที่ 2 มีความส�ำคัญไม่นอ้ ยไปกว่าการปฏิบตั หิ น้าทีข่ องผูต้ ดั สินที่ 1
ทั้งนี้เพราะผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องคอยควบคุม ตรวจสอบ ให้ค�ำแนะน�ำในด้านต่างๆ ดังนั้น เพื่อให้
การปฏิบตั หิ น้าทีข่ องผูต้ ดั สินที่ 2 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเรียบร้อยถูกต้องตามกติกาการแข่งขัน
และแนวปฏิบัติของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ผู้ตัดสินที่ 2 จึงควรศึกษาและท�ำความเข้าใจ
ในรายละเอียดต่างๆ ดังนี้

กติกาการแข่งขันที่เกี่ยวข้องกับผู้ตัดสินที่ 2
(ชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ และทรงศักดิ์ เจริญพงศ์. 2544 : 2-40)
1. ต�ำแหน่งของผู้ตัดสินที่ 2
ปฏิบัติหน้าที่โดยยืนใกล้เสานอกเขตสนามด้านตรงข้ามกับผู้ตัดสินที่ 1 และหันหน้า
เข้าหากัน
2. อ�ำนาจหน้าที่ของผู้ตัดสินที่ 2
2.1 ผู้ตัดสินที่ 2 เป็นผู้ช่วยผู้ตัดสินที่ 1 แต่มีขอบเขตในการตัดสินเป็นของตัวเอง
ถ้าผู้ตัดสินที่ 1 ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อได้ ผู้ตัดสินที่ 2 จะท�ำหน้าที่แทน
2.2 ผูต้ ดั สินที่ 2 จะให้สญ ั ญาณมือแสดงการผิดกติกาทีน่ อกเหนืออ�ำนาจการตัดสิน
ของผู้ตัดสินที่ 2 โดยไม่ต้องเป่านกหวีดแต่ต้องไม่เน้นย�้ำการกระท�ำผิดนั้น
2.3 ควบคุมการท�ำงานของผู้บันทึก
2.4 ควบคุมผู้ร่วมทีมที่นั่งบนม้านั่งและรายงานการท�ำผิดมารยาทของผู้ร่วมทีมเหล่า
นั้นต่อผู้ตัดสินที่ 1
2.5 ควบคุมผู้เล่นในเขตอบอุ่นร่างกาย
2.6 อนุญาตให้หยุดการแข่งขัน ควบคุมเวลาและปฏิเสธการขอหยุดการแข่งขัน
ที่ผิดระเบียบ
2.7 ควบคุมจ�ำนวนครั้งที่แต่ละทีมขอเวลานอกและขอเปลี่ยนตัวและรายงาน
การขอเวลานอกครั้งที่ 2 การขอเปลี่ยนตัวผู้เล่นคนที่ 5 และคนที่ 6 ให้ผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ฝึกสอน
ของทีมที่เกี่ยวข้องได้ทราบ
2.8 ในกรณีที่ผู้เล่นเกิดการบาดเจ็บ ผู้ตัดสินที่ 2 มีอ�ำนาจอนุญาตให้เปลี่ยนตัว
ตามข้อยกเว้นหรืออนุญาตให้ท�ำการรักษาพยาบาล 3 นาทีได้
102 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
2.9 ตรวจสภาพพื้นสนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตรุกและระหว่างการแข่งขัน
ต้องตรวจลูกบอลว่าอยู่ในสภาพที่ถูกต้องตามระเบียบการแข่งขัน
2.10 ควบคุมผู้ร่วมทีมในพื้นที่ลงโทษและรายงานการผิดมารยาทให้ผู้ตัดสินที่ 1
ทราบตลอดเวลาที่พบเห็น
3. ความรับผิดชอบของผู้ตัดสินที่ 2
3.1 ก่อนเริม่ ต้นแต่ละเซตต้องตรวจสอบต�ำแหน่งของผูเ้ ล่นให้เป็นไปตามใบส่งต�ำแหน่ง
และเมื่อจ�ำเป็นจะต้องตรวจสอบต�ำแหน่งของผู้เล่นในสนามขณะนั้นให้ตรงกับสภาพความเป็นจริง
ตามใบส่งต�ำแหน่ง
3.2 ต้องตัดสินใจเป่านกหวีดและแสดงสัญญาณมือในระหว่างการแข่งขันดังนี้
3.2.1 การล�้ำใต้ตาข่ายเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้าม
3.2.2 เมื่อฝ่ายรับลูกเสิร์ฟยืนผิดต�ำแหน่ง
3.2.3 เมื่อผู้เล่นถูกตาข่ายส่วนล่างหรือถูกเสาอากาศทางด้านผู้ตัดสินที่ 2
3.2.4 การสกัดกัน้ โดยสมบูรณ์ของผูเ้ ล่นแดนหลัง หรือพยายามสกัดกัน้ โดย
ผู้เล่นตัวรับอิสระ
3.2.5 ลูกบอลถูกสิ่งกีดขวางหรือถูกพื้นสนามในขณะที่ผู้ตัดสินที่ 1 อยู่ใน
ต�ำแหน่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้
3.3 เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันต้องตรวจสอบและลงนามในใบบันทึกการแข่งขัน
4. ต�ำแหน่งที่อยู่ของทีม ผู้ตัดสินที่ 2 มีส่วนเกี่ยวข้องกับทีม เมื่อ
4.1 ผูเ้ ล่นทีไ่ ม่ได้ลงแข่งขันควรนัง่ นับบนม้า หรืออยูใ่ นพืน้ ทีอ่ บอุน่ ร่างกายของทีมตนเอง
ผู้ฝึกสอนและผู้ร่วมทีมคนอื่นๆ ต้องนั่งบนม้านั่ง แต่อาจลุกจากม้านั่งได้เป็นครั้งคราว
4.2 เฉพาะผู้ร่วมทีมเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้นั่งบนม้านั่งระหว่างการแข่งขันและ
ร่วมการอบอุ่นร่างกายก่อนการแข่งขัน
5. ผู้ตัดสินที่ 2 มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ฝึกสอน เมื่อ
5.1 ตลอดเวลาการแข่งขันผู้ฝึกสอนเป็นผู้ควบคุมการเล่นของทีมที่บริเวณนอก
สนามแข่งขัน เป็นผู้เลือกผู้เล่น 6 คนแรก เปลี่ยนตัวผู้เล่นและขอเวลานอก การท�ำหน้าที่ดังกล่าว โดย
ขอผ่านผู้ตัดสินที่ 2
5.2 ก่อนการแข่งขันผูฝ้ กึ สอนต้องตรวจสอบรายชือ่ และหมายเลขของผูเ้ ล่นในใบบันทึก
ให้ถูกต้อง และลงชื่อเพื่อรับรองในใบบันทึกนั้น
5.3 ในระหว่างการแข่งขันผู้ฝึกสอนต้อง
5.3.1 ยืน่ ใบส่งต�ำแหน่งผูเ้ ล่นทีม่ ชี อื่ อยูใ่ นใบบันทึกให้ผตู้ ดั สินที่ 2 หรือผูบ้ นั ทึก
5.3.2 นั่งที่ม้านั่งของทีมใกล้กับผู้บันทึกมากที่สุด แต่อาจลุกขึ้นเพื่อท�ำการ
สอนขณะแข่งขันที่บริเวณด้านหน้าม้านั่งของทีมตนเองตั้งแต่บริเวณเส้นรุกถึงเขตอบอุ่นร่างกายได้
คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 103
5.3.3 ขอเวลานอกและขอเปลี่ยนตัวผู้เล่น
5.3.4 ผูฝ้ กึ สอนและผูร้ ว่ มทีมอืน่ ๆ อาจให้ค�ำแนะน�ำผูเ้ ล่นในสนามได้ ผูฝ้ กึ สอน
อาจให้ค�ำแนะน�ำขณะที่ยืนหรือเดินภายในบริเวณเขตเล่นลูกด้านหน้าม้านั่งตั้งแต่แนวเส้นเขตรุก
จนถึงพื้นที่อบอุ่นร่างกาย โดยไม่รบกวนหรือถ่วงเวลาการแข่งขัน
6. ผู้ตัดสินที่ 2 มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ช่วยผู้ฝึกสอนดังนี้
6.1 ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนนั่งบนม้านั่งของทีม แต่ไม่มีสิทธิ์ใดๆ ที่จะขอหยุดการแข่งขัน
6.2 ถ้าผูฝ้ กึ สอนไม่อยู่ ผูช้ ว่ ยผูฝ้ กึ สอนอาจท�ำหน้าทีแ่ ทนได้ โดยการขออนุญาตของ
หัวหน้าทีมและได้รับการยินยอมจากผู้ตัดสินที่ 1 ทั้งนี้ผู้ตัดสินที่ 2 ต้องรับทราบด้วย
7. ต�ำแหน่งเริ่มต้นของทีม ผู้ตัดสินที่ 2 มีส่วนเกี่ยวข้องดังนี้
7.1 ก่อนเริม่ การแข่งขันแต่ละเซต ผูฝ้ กึ สอนต้องส่งใบส่งต�ำแหน่ง ซึง่ เขียนหมายเลข
ผู้เล่น 6 คนแรก และลงชื่อก�ำกับ
7.2 ผูเ้ ล่นทีไ่ ม่ได้อยูใ่ นใบส่งต�ำแหน่งจะเป็นผูเ้ ล่นส�ำรองในเซตนัน้ ยกเว้นผูเ้ ล่นตัวรับอิสระ
7.3 เมือ่ ผูฝ้ กึ สอนได้สง่ ใบส่งต�ำแหน่งให้แก่ผตู้ ดั สินที่ 2 หรือผูบ้ นั ทึกแล้วจะไม่อนุญาต
ให้มีการเปลี่ยนแปลงอีก นอกจากการเปลี่ยนตัวตามปกติ
7.4 ในกรณีที่มีการผิดพลาดระหว่างใบส่งต�ำแหน่งกับต�ำแหน่งของผู้เล่นในสนาม
ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้อง
7.4.1 ถ้าพบการผิดพลาดก่อนเริม่ เซต ให้เปลีย่ นผูเ้ ล่นให้ถกู ต้องตามใบส่ง
ต�ำแหน่งโดยไม่มีการท�ำโทษใดๆ
7.4.2 ถ้าผูฝ้ กึ สอนต้องการให้ผเู้ ล่นทีไ่ ม่ได้ระบุไว้ในใบส่งต�ำแหน่งยังคงอยูใ่ น
สนาม ผู้ฝึกสอนต้องขอเปลี่ยนตัวผู้เล่นตามปกติและต้องบันทึกลงในใบลงบันทึก
8. การล�้ำใต้ตาข่าย ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องพิจารณาดังนี้
8.1 อนุญาตให้ผู้เล่นล�้ำเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามใต้ตาข่ายได้ ทั้งนี้ต้องไม่
กีดขวางการเล่นของฝ่ายตรงข้าม
8.2 การล�้ำเส้นแบ่งแดนเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามสามารถท�ำได้โดย
8.2.1 อนุญาตให้เท้าหรือมือถูกแดนของฝ่ายตรงข้ามได้ ถ้ามีสว่ นใดส่วนหนึง่
ของมือหรือเท้าอยู่บนเส้นแบ่งแดนหรืออยู่เหนือเส้นแบ่งแดน
8.2.2 ไม่อนุญาตให้ถูกแดนของฝ่ายตรงข้ามโดยส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
8.3 ผู้เล่นอาจเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามได้เมื่อลูกตาย
8.4 ผู้เล่นอาจล�้ำเข้าไปในเขตรอบสนามของฝ่ายตรงข้ามได้ถ้าไม่กีดขวางการเล่น
ของฝ่ายตรงข้าม

104 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
9. การถูกตาข่าย ผู้ตัดสินจะต้องพิจารณาดังนี้
ผู้ตัดสินที่ 2 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการถูกตาข่ายของผู้เล่นโดยตรง ฉะนั้นเพื่อให้เกิด
ความเข้าใจผู้ตัดสินที่ 2 จึงควรท�ำความเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับการถูกตาข่ายโดย
9.1 ผู้เล่นถูกตาข่ายไม่ถือว่าผิดกติกา ยกเว้นเป็นการถูกตาข่ายในขณะก�ำลังเล่นลูก
9.2 เมื่อผู้เล่นได้เล่นลูกบอลแล้วอาจไปถูกเสา เชือก หรือสิ่งใดๆ ที่อยู่นอกความ
ยาวของตาข่ายได้ ทั้งนี้ต้องไม่กีดขวางการเล่น
9.3 ลูกบอลที่พุ่งไปชนตาข่ายและท�ำให้ตาข่ายไปถูกผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามไม่ถือว่า
ผู้เล่นผิดกติกา
10. การสกัดกั้นที่ผิดกติกา
ผู้ตัดสินที่ 2 สามารถเป่านกหวีดให้สัญญาณการสกัดกั้นที่ผิดกติกา เมื่อ
10.1 ผู้เล่นแดนหลังท�ำการสกัดกั้นหรือรวมกลุ่มท�ำการสกัดกั้นโดยสมบูรณ์
10.2 ผู้เล่นตัวรับอิสระท�ำการสกัดกั้นหรือพยายามท�ำการสกัดกั้น
11. การขอหยุดการแข่งขันและการขอหยุดการแข่งขันที่ผิดกติกา
ผูต้ ดั สินที่ 2 เป็นผูค้ วบคุมการขออนุญาตหยุดการแข่งขัน รวมถึงการขอหยุดการแข่งขัน
ที่ผิดกติกาดังต่อไปนี้
11.1 แต่ละทีมมีสิทธิ์ขอเวลานอกได้ 2 ครั้งและขอเปลี่ยนตัวได้ 6 คนต่อเซต
11.2 การขอหยุดการแข่งขันสามารถขอโดยผูฝ้ กึ สอนหรือหัวหน้าทีมในสนามแข่งขัน
ได้โดยการแสดงสัญญาณมือให้ถูกต้องเมื่อลูกตายและก่อนสัญญาณนกหวีดเพื่อการเสิร์ฟ
11.3 การขอเปลีย่ นตัวก่อนเริม่ ต้นแต่ละเซต สามารถท�ำได้และต้องบันทึกไว้ในใบบันทึก
11.4 ทีมสามารถขอเวลานอก 1 หรือ 2 ครัง้ ติดต่อกันได้ และตามด้วยการเปลีย่ นตัว
โดยไม่ต้องรอให้มีการเล่นแทรกระหว่างการขอหยุดแต่ละครั้ง
11.5 ไม่อนุญาตให้ขอเปลี่ยนตัวสองครั้งติดต่อกัน เว้นเสียแต่ว่าจะมีการแข่งขัน
เกิดขึ้น หลังจากการขอเปลี่ยนตัวครั้งแรกแล้ว การเปลี่ยนตัวสามารถเปลี่ยนได้ครั้งละหนึ่งคน
หรือมากกว่าก็ได้
11.6 เวลานอกแต่ละครั้งใช้เวลา 30 วินาทีเต็ม ผู้เล่นและเจ้าหน้าที่ของทีมทุกคน
ต้องเข้าไปใกล้ม้านั่งของตนเอง
11.7 การแข่งขันในเซตที่ 1-4 สามารถใช้เวลานอกทางเทคนิคได้ เมื่อทีมฝ่ายน�ำ
ท�ำคะแนนไปได้คะแนนที่ 8 และ 16 โดยใช้เวลา 60 วินาทีเต็ม ส�ำหรับในเซตตัดสินไม่มีเวลานอก
ทางเทคนิค
11.8 การเปลี่ยนตัวจะต้องท�ำภายในเซตเปลี่ยนตัวเท่านั้นและใช้เวลาเท่าที่จ�ำเป็น
เพื่อบันทึกการเปลี่ยนตัวลงในใบบันทึก

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 105
11.9 ขณะขอเปลี่ยนตัว ผู้เล่นที่จะเปลี่ยนตัวเข้าต้องพร้อมที่จะเข้าสนาม โดยยืน
ใกล้กับเขตเปลี่ยนตัว ถ้าไม่พร้อมผู้เล่นนั้นจะถูกปฏิเสธโดยผู้ตัดสินที่ 2 และทีมจะถูกลงโทษถ่วง
เวลาการแข่งขัน
11.10 ถ้าผู้ฝึกสอนประสงค์จะขอเปลี่ยนตัวมากกว่า 1 คน จะต้องแสดงสัญญาณมือ
บอกจ�ำนวนที่จะขอเปลี่ยนตัวและจะต้องเปลี่ยนตัวให้เสร็จทีละคู่
11.11 การขอหยุดการแข่งขันที่ผิดกติกา การขออนุญาตหยุดการแข่งขันต่อไปนี้
เป็นการขอที่ผิดกติกา ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องปฏิเสธการขอดังนี้
11.11.1 ขอในระหว่างการเล่นลูกก�ำลังด�ำเนินอยูห่ รือขณะก�ำลังให้สญั ญาณเสิรฟ์
หรือหลังให้สัญญาณเสิร์ฟแล้ว
11.11.2 ขอโดยผู้ร่วมทีมที่ไม่ได้รับมอบอ�ำนาจในการขอ
11.11.3 ขอเปลี่ยนตัวครั้งที่ 2 โดยทีมเดิมและยังไม่ได้มีการแข่งขันต่อ
หลังจากเปลี่ยนตัวครั้งแรกไปแล้ว
11.11.4 ขออนุญาตหลังจากจ�ำนวนครัง้ ทีม่ สี ทิ ธิข์ อเวลานอกหรือขอเปลีย่ นตัว
ได้ใช้หมดแล้ว
การขอหยุดการแข่งขันที่ผิดกติกาครั้งแรกที่ไม่มีผลกระทบหรือท�ำให้การแข่งขันช้า
จะได้รบั การปฏิเสธโดยไม่มกี ารลงโทษใดๆ แต่ถา้ มีการขอหยุดการแข่งขันทีผ่ ดิ กติกาอีกในนัดนัน้
โดยทีมเดิมจะถูกลงโทษถ่วงเวลาการเล่น
12. เวลาพักระหว่างเซต ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับ
12.1 เวลาพักระหว่างเซตให้เวลา 3 นาทีเต็ม
12.2 ในช่วงเวลาพักระหว่างเซต เมื่อมีการเปลี่ยนแดนกัน ผู้ตัดสินที่ 2 จะรับใบส่ง
ต�ำแหน่งในเซตต่อไปจากผู้ฝึกสอน
12.3 ช่วงเวลาพักระหว่างเซตที่ 2 และเซตที่ 3 อาจยืดไปได้ถงึ 10 นาที ทัง้ นีจ้ ะ
ต้องเป็นการร้องขอจากฝ่ายจัดการแข่งขัน โดยในช่วงเวลาพักนี้ทั้งสองทีมจะต้องกลับไปที่ห้องพัก
และกลับออกมาเมื่อเวลาผ่านไป 7 นาที จากนั้นทั้งสองทีมมีสิทธิ์อบอุ่นร่างกายโดยใช้ลูกบอล
ในสนามโดยไม่ใช้ตาข่ายได้
13. การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตัดสิน
13.1 ผูต้ ดั สินที่ 1 และผูต้ ดั สินที่ 2 เท่านัน้ ทีส่ ามารถเป่านกหวีดเพือ่ หยุดการเล่นลูก
13.2 ผูต้ ดั สินที่ 1 และผูต้ ดั สินที่ 2 จะเป่านกหวีดเพือ่ แสดงว่าจะอนุญาตหรือปฏิเสธ
การขอหยุดเล่นของทีมเมื่อลูกตายเท่านั้น
13.3 เมื่อผู้ตัดสินที่ 1 เป่านกหวีดให้สัญญาณสิ้นสุดการเล่นลูก ผู้ตัดสินที่ 1 ต้องแสดง
สัญญาณมือดังนี้

106 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
13.3.1 ทีมที่จะท�ำการเสิร์ฟในครั้งต่อไป
13.3.2 ลักษณะการกระท�ำผิด
13.3.3 ผู้กระท�ำผิด (ถ้าจ�ำเป็น)
ผู้ตัดสินที่ 2 จะท�ำสัญญาณมือซ�้ำตามผู้ตัดสินที่ 1 ทีละขั้นตอน
13.4 ถ้าผูต้ ดั สินที่ 2 เป่านกหวีดแสดงการกระท�ำผิด ผูต้ ดั สินที่ 2 จะแสดงสัญญาณมือ
ดังนี้
13.4.1 ลักษณะการกระท�ำผิด
13.4.2 ผู้กระท�ำผิด (ถ้าจ�ำเป็น) จากนั้นให้รอชั่วขณะหนึ่ง
13.4.3 เมื่อผู้ตัดสินที่ 1 ให้สัญญาณทีมที่จะท�ำการเสิร์ฟ ผู้ตัดสินที่ 2
จึงท�ำสัญญาณมือตามผู้ตัดสินที่ 1

การด�ำเนินการช่วงพิธีการก่อนการแข่งขัน
1. การตรวจสอบลูกบอล ผู้ตัดสินที่ 2 เป็นผู้พิจารณาตรวจสอบลูกบอลส�ำหรับแข่งขัน
จ�ำนวน 5 ลูก โดยตรวจสอบขนาด น�้ำหนักและแรงอัดลมให้ถูกต้องตามกติกาการแข่งขัน และ
พิจารณาเลือกว่าจะใช้ลูกบอลลูกใดร่วมกับผู้ตัดสินที่ 1 หลังจากนั้นผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องเป็น
ผู้รับผิดชอบลูกบอลที่จะใช้แข่งขันทั้งหมด
2. การตรวจสอบตาข่าย ผูต้ ดั สินที่ 1 และ 2 ต้องท�ำการตรวจสอบตาข่ายให้อยูใ่ นสภาพ
ที่สามารถใช้ท�ำการแข่งขันได้โดยผู้ตัดสินที่ 2 เป็นผู้วัดความสูงของตาข่าย ส่วนผู้ตัดสินที่ 1
เป็นผู้ควบคุมดูแลวิธีการวัดความสูงของตาข่ายสามารถท�ำได้ดังนี้
2.1 วัดที่บริเวณกึ่งกลางตาข่าย
2.2 วัดที่บริเวณแถบด้านไกล (ด้านผู้ตัดสินที่ 1)
2.3 วัดที่บริเวณแถบด้านใกล้ (ด้านผู้ตัดสินที่ 2)
3. การเสี่ยง ในการเสี่ยง ผู้ตัดสินที่ 1 เป็นผู้ด�ำเนินการเสี่ยงที่บริเวณหน้าโต๊ะผู้บันทึก
โดยมีผู้ตัดสินที่ 2 และหัวหน้าทีมทั้ง 2 ทีมรวมอยู่ด้วย
4. การตรวจสอบอุปกรณ์การแข่งขัน ในช่วงเวลาอบอุ่นร่างกายผู้ตัดสินที่ 2 จะเป็น
ผู้ตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ที่จ�ำเป็น ได้แก่
4.1 ป้ายที่เปลี่ยนตัวของทั้งสองทีมหมายเลข 1-20
4.2 ออดสัญญาณที่ม้านั่งผู้ฝึกสอนทั้งสองทีม
4.3 ออดสัญญาณที่โต๊ะผู้บันทึก
4.4 ป้ายพลิกคะแนนที่โต๊ะผู้บันทึก
4.5 ใบส่งต�ำแหน่งของทั้งสองทีมที่ได้เขียนหรือพิมพ์ชื่อทีมไว้เรียบร้อยทุกแผ่น

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 107
4.6 ใบบันทึกการแข่งขันพร้อมใบบันทึกส�ำรองทีก่ รอกรายละเอียดต่างๆ เรียบร้อยแล้ว
4.7 ใบบันทึกการเปลี่ยนตัวผู้เล่นตัวรับอิสระ
4.8 นาฬิกากาจับเวลาส�ำหรับผู้บันทึก

การปฏิบัติหน้าที่ก่อนเริ่มการแข่งขันแต่ละเซต
ในขณะแข่งขันตั้งแต่เริ่มต้นการแข่งขันจนถึงสิ้นสุดการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่ 2 มีหน้าที่
จะต้องปฏิบัติหลายประการ ซึ่งต้องอาศัยเทคนิคและประสบการณ์ดังต่อไปนี้
1. ก่อนเริ่มต้นในเซตที่ 1
1.1 ขณะทีท่ มี ก�ำลังอบอุน่ ร่างกายในช่วงพิธกี ารก่อนการแข่งขันผูต้ ดั สินที่ 2 ต้องรับใบส่ง
ต�ำแหน่งของเซตที่ 1 จากผู้ฝึกสอนเพื่อส่งมอบให้กับผู้ชี้ขาดและผู้บันทึกตามล�ำดับ
1.2 ขณะรับใบส่งต�ำแหน่ง
1.2.1 ผู้ฝึกสอนได้ลงนามในใบส่งต�ำแหน่งเรียบร้อยแล้ว
1.2.2 ผู้ฝึกสอนได้ใช้ใบส่งต�ำแหน่งของเซตที่ถูกต้อง
1.2.3 หมายเลขผู้เล่นที่ระบุในใบส่งต�ำแหน่งตรงกันทั้ง 2 ชุด (โดยทั่วไปจะใช้
ใบส่งต�ำแหน่งเซตละ 2 ชุด เพื่อให้กับผู้ชี้ขาดและผู้บันทึก)
1.2.4 ถ้าทีมนัน้ มีผเู้ ล่นตัวรับอิสระ ผูฝ้ กึ สอนได้ใส่หมายเลขของผูส้ มัครตัวรับอิสระ
ลงในใบส่งต�ำแหน่งของเซตที่ 1
1.3 ก่อนเริม่ ต้นเซตที่ 1 ผูต้ ดั สินที่ 2 ต้องตรวจสอบต�ำแหน่งผูเ้ ล่นในสนามให้ตรงกับ
ใบส่งต�ำแหน่ง โดยให้เริ่มจากต�ำแหน่งหลังขวาและนับทวนเข็มนาฬิกาไปทีละต�ำแหน่ง เมื่อตรวจสอบ
เรียบร้อยแล้วควรน�ำใบส่งต�ำแหน่งใส่กระเป๋ากางเกงด้านละ 1 ใบ (ให้ทมี ด้านซ้ายอยูก่ ระเป๋าด้านซ้าย)
ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบหากมีกรณีผิดต�ำแหน่งเกิดขึ้น จากนั้นให้กลิ้งลูกบอลให้กับ
ผู้เสิร์ฟและกลับมายืนอยู่ทางฝ่ายรับต่อไป
1.4 การตรวจสอบต�ำแหน่งผู้เล่น ควรใช้วิธีการมอบผ่านไปทีละต�ำแหน่ง ไม่ควรใช้
วิธีการชี้ไปทีละต�ำแหน่ง
1.5 เมือ่ ส่งลูกบอลให้ผเู้ สิรฟ์ แล้ว ควรหันไปตรวจสอบกับผูบ้ นั ทึกอีกครัง้ ว่าพร้อมหรือไม่
หากผู้บันทึกแสดงสัญญาณว่าพร้อมโดยชูมือทั้งสองขึ้น ผู้ตัดสินที่ 2 ต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินที่ 1
ทราบด้วยว่าพร้อมแล้ว โดยการชูมือทั้งสองขึ้นเช่นกัน
2. ก่อนเริ่มต้นในเซตที่ 2, 3, 4
2.1 การหยุดพักระหว่างเซตจะต้องใช้เวลา 3 นาทีเต็ม โดยผู้ตัดสินที่ 2 หรือ
ผู้บันทึกเริ่มจับเวลา เมื่อผู้ตัดสินเป่านกหวีดให้เป็นลูกตาย คะแนนสุดท้ายของเซตที่ผ่านมาจนถึง

108 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
เมื่อผู้ตัดสินที่ 1 เป่านกหวีดให้เสิร์ฟในเซตถัดไป ทั้งนี้เมื่อเวลาผ่านไป 2.30 นาที ผู้ตัดสินที่ 2 หรือ
ผู้บันทึกจะต้องให้สัญญาณนกหวีดหรือออดเพื่อให้นักกีฬาลงนาม
2.2 เมื่อนักกีฬาลงสนามแล้วจะด�ำเนินการขบวนการตรวจสอบต�ำแหน่งและอื่นๆ
เช่นเดียวกับก่อนเริ่มต้นในเซตที่ 1 (ยกเว้นผู้ตัดสินที่ 2 ไม่ต้องส่งลูกบอลให้ผู้เสิร์ฟ)
2.3 ในการแข่งขันระดับโลกบางรายทีฝ่ า่ ยจัดการแข่งขันได้รอ้ งขอในช่วงพักระหว่าง
เซตที่ 2 กับเซตที่ 3 จะใช้เวลา 10 นาที ซึ่งในช่วงเวลานี้จะมีกิจกรรมต่างๆ คือ
2.3.1 นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทั้งสองทีมให้เข้าไปที่ห้องพักนักกีฬา
2.3.2 ผู้ตัดสินทั้งสามคนกลับไปที่พักห้องพักผู้ตัดสิน
2.3.3 ฝ่ายจัดการแข่งขันจะจัดให้มีการแสดงต่างๆ ในสนามแข่งขันโดยใช้เวลา
ไม่เกิน 5 นาที
2.3.4 เมือ่ ถึงเวลา 7 นาที ให้นกั กีฬาลงอบอุน่ ร่างกายทีส่ นามแข่งขันพร้อมลูกบอลได้
แต่ไม่อนุญาตให้อบอุ่นร่างกายที่ตาข่าย
2.3.5 ผู้ตัดสินที่ 2 รับใบส่งต�ำแหน่งจากผู้ฝึกสอน
2.3.6 เมื่อหมดเวลา 9.30 นาที ผู้ตัดสินที่ 2 หรือผู้บันทึกจะให้สัญญาณ
เพื่อให้นักกีฬาลงสนามเพื่อตรวจสอบต�ำแหน่ง และด�ำเนินการขบวนการต่างๆ เช่นเดียวกับ
การเริ่มต้นเซตที่ 2
3. ก่อนเริ่มต้นในเซตตัดสิน (เซตที่ 5)
3.1 เมื่อจบการแข่งขันเซตที่ 4 และต้องมีการแข่งขันต่อในเซตที่ 5 ผู้ตัดสินที่ 1
จะอนุญาตให้ทมี กลับเข้าไปทีม่ า้ นัง่ ของทีมตนเอง ไม่ตอ้ งมีการเปลีย่ นแดน ผูต้ ดั สินที่ 2 เก็บลูกบอล
แข่งขันไว้ 1 ลูก เพื่อไว้ส่งให้ผู้เสิร์ฟ
3.2 ผู้ตัดสินที่ 1 ผู้ตัดสินที่ 2 และหัวหน้าทีม (Team Captain) จะต้องท�ำการเสี่ยง
ที่หน้าโต๊ะผู้บันทึก
3.3 เมื่อเสี่ยงเสร็จผู้ตัดสินที่ 1 ต้องแจ้งรายละเอียดต่างๆ กับผู้บันทึก ได้แก่ ทีมใด
เป็นฝ่ายเสิร์ฟและอยู่แดนใด
3.4 ผู้ตัดสินที่ 2 รับใบส่งต�ำแหน่งและด�ำเนินการเช่นเดียวกับการเริ่มต้นในเซตที่ 1
3.5 เมื่อนักกีฬาลงสนามผู้ตัดสินที่ 2 ตรวจสอบต�ำแหน่งต่างๆ เช่นเดียวกับเซตที่ 1
และส่งลูกบอลให้ผู้เสิร์ฟ จากนั้นให้เริ่มแข่งขันได้ตามปกติเช่นเดียวกับเซตที่ผ่านๆ มา

การปฏิบัติหน้าที่ในขณะแข่งขัน
1. ขณะที่มีการเสิร์ฟ ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องปฏิบัติดังนี้
1.1 ต�ำแหน่งของผู้ตัดสินที่ 2 ขณะที่มีการเสิร์ฟจะต้องยืนอยู่ทางฝ่ายรับลูกเสิร์ฟ
ให้ห่างจากเสาตาข่ายประมาณ 1 เมตร – 1.5 เมตร

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 109
1.2 พยายามสังเกตดูการยืนของฝ่ายรับลูกเสิร์ฟว่ายืนถูกต้องทั้งในแถวเดียวกัน
และระหว่างแถวหน้ากับแถวหลังตามใบส่งต�ำแหน่งหรือไม่ หากนักกีฬายืนผิดต�ำแหน่งขณะที่มี
การเสิร์ฟผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องให้สัญญาณการท�ำผิดของฝ่ายรับเมื่อผู้เสิร์ฟได้เสิร์ฟลูก
1.3 พิจารณาดูผู้เล่นฝ่ายรับลูกเสิร์ฟทุกคนต้องอยู่ในสนามแข่งขัน ไม่อนุญาตให้
เท้าใดเท้าหนึ่งออกนอกสนามแข่งขันก่อนการเสิร์ฟ
1.4 การเสิร์ฟจะเริ่มขึ้น เมื่อผู้เสิร์ฟได้ท�ำการเสิร์ฟลูกแล้ว
1.5 การให้สัญญาณนกหวีดการยืนผิดต�ำแหน่งของผู้เล่นฝ่ายรับจะท�ำเมื่อผู้เสิร์ฟ
ได้สัมผัสลูกแล้ว
1.6 การให้สัญญาณการยืนผิดต�ำแหน่งจะต้องใช้มือข้างเดียวกับฝ่ายรับแสดงสัญญาณ
2. ขณะมีการเล่นลูกใกล้ตาข่าย
2.1 ผูต้ ดั สินที่ 2 จะต้องพยายามปรับต�ำแหน่งการยืนให้อยูท่ างฝ่ายรับอยูต่ ลอดเวลา
โดยการเคลื่อนที่ให้เร็วแต่ไม่รีบร้อนจนเกินไป
2.2 ต้องดูการถูกตาข่ายของผู้เล่นที่ผิดกติกา ผู้ตัดสินที่ 2 พึงระลึกเสมอว่า
2.2.1 การถูกตาข่ายหรือเสาอากาศไม่ถือว่าผิดกติกา นอกจากเป็นการถูก
ขณะก�ำลังเล่นลูก (Action of Playing the Ball)
2.2.2 ต้องพิจารณาว่าผู้เล่นถูกตาข่ายหรือตาข่ายถูกผู้เล่น ถ้าเป็นกรณีหลัง
คือตาข่ายถูกผู้เล่นจะถือว่าไม่ผิดกติกา
2.2.3 ขณะที่มีการเล่นลูกใกล้กับเสาอากาศด้านผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องพยายาม
ก้าวถอยออกมา 2-3 ก้าว เพื่อให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและต้องพยายามเคลื่อนสายตา
ให้ใกล้กับการเล่นลูกบอลและตาข่ายมากที่สุด
2.3.4 ขณะทีม่ กี ารเล่นลูกใกล้กบั ผูต้ ดั สินที่ 1 ผูต้ ดั สินที่ 2 ต้องพยายามเคลือ่ นที่
ให้เข้าใกล้เส้นข้างที่สุด ทั้งนี้ถ้าเกิดกรณีดังกล่าวและถ้านวมหุ้มเสามีขนาดใหญ่อาจเป็นอุปสรรค
ต่อการมองได้ แต่อย่างไรก็ตามจะต้องไม่เข้าไปในสนามเด็ดขาด
2.3.5 พิจารณาดูการล�ำ้ เส้นแบ่งแดน ตามกติกาการแข่งขัน เส้นแบ่งแดนอนุญาต
ให้เท้าหรือมือล�้ำเส้นแบ่งแดนเข้าไปในแดนคู่ต่อสู้ได้ แต่ต้องไม่เป็นการล�้ำทั้งเท้าหรือทั้งมือ
2.3 ขณะทีม่ กี ารรุกในระยะทีห่ า่ งจากด้านผูต้ ดั สินที่ 2 หากเป็นไปได้ควรตรวจสอบดู
ผู้รุกก่อน จากนั้นจึงเปลี่ยนสายตามาดูที่ฝ่ายรับ ทั้งนี้จะท�ำให้มองเห็นมุมการเคลื่อนที่ของลูกบอล
ได้อย่างชัดเจนว่าลูกนัน้ ได้ขา้ มตาข่ายผ่านแนวเสาอากาศหรือไม่ ในกรณีทฝี่ า่ ยรับไม่ได้ทำ� การสกัดกัน้
ไม่จำ� เป็นต้องดูวา่ มีการถูกตาข่ายหรือไม่ ในขณะทีม่ กี ารเล่นลูกสิง่ ทีผ่ ตู้ ดั สินที่ 2 ต้องคอยตรวจสอบ
คือการท�ำผิดกติกาเกี่ยวกับ
2.3.1 การถูกตาข่าย

110 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
2.3.2 การล�้ำเส้นแบ่งแดน
2.3.3 การสกัดกั้นที่ผิดกติกาของผู้เล่นแดนหลังและผู้เล่นตัวรับอิสระ
2.3.4 ลูกบอลถูกพื้นหรือสิ่งกีดขวางในขณะที่ผู้ตัดสินที่ 1 ไม่สามารถอยู่ใน
ต�ำแหน่งที่จะมองเห็นได้อย่างชัดเจน
2.4 สิง่ ส�ำคัญทีส่ ดุ ส�ำหรับผูต้ ดั สินที่ 2 คือการปรับหาต�ำแหน่งการยืนขณะปฏิบตั หิ น้าที่
ให้ได้เหมาะสมที่สุด ทั้งนี้จะต้องพยายามอ่านและศึกษารูปแบบการเล่นและต้องมั่นใจว่าต�ำแหน่ง
ที่ยืนอยู่นั้นเป็นต�ำแหน่งที่สามารถพิจารณาตัดสินได้ดีที่สุด
3. ขณะที่การสกัดกั้น ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องปฏิบัติดังนี้
3.1 ในขณะทีม่ กี ารสกัดกัน้ ทีบ่ ริเวณตาข่าย ผูต้ ดั สินที่ 2 ควรตรวจสอบสิง่ ทีม่ คี วามผิด
อาจจะเกิดขึ้นตามล�ำดับดังนี้ (Klass Hejdwnberg : 2001 : 20)

รายการที่ ลักษณะการกระทำ� บริเวณที่ผู้ตัดสินที่ 2 ควรตรวจสอบ


1 การเคลื่อนที่ เส้นแบ่งแดนและส่วนล่างของตาข่าย
2 การเริ่มกระโดด เส้นแบ่งแดนและส่วนล่างของตาข่าย
3 ขณะกำ�ลังลอยตัวขึ้น ส่วนล่างของตาข่าย
4 ขณะกำ�ลังสกัดกั้น ส่วนบนของตาข่าย
5 ขณะกำ�ลังลงสู่พื้น ส่วนล่างของตาข่าย
6 เมื่อลงสู่พื้นและกำ�ลังหมุนตัว ส่วนล่างของตาข่ายและเส้นแบ่งแดน

ในรายการที่ 5 และ 6 ให้รวมทั้งฝ่ายรับและฝ่ายรุกด้วย ทั้งนี้เพราะในขณะนั้น


ผู้ตัดสินที่ 1 จะต้องมองตามลูกบอลว่าอยู่ที่ใด
3.2 จะต้องพยายามดูที่บริเวณเส้นแบ่งแดนจนกว่าผู้เล่นจะออกจากบริเวณนั้นแล้ว
3.3 จะต้องระลึกเสมอว่า ขณะที่ผู้เล่นลงสู่พื้นและพยายามทรงตัวการถูกตาข่าย
ในช่วงนี้ไม่ควรเป่านกหวีด
3.4 ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องพยายามเอาใจใส่ในหน้าที่และหลีกเลี่ยงการตามเกม
จนเกินความจ�ำเป็น
3.5 ดูการสกัดกัน้ ทีผ่ ดิ ระเบียบของผูเ้ ล่นแดนหลังและผูเ้ ล่นตัวรับอิสระทีเ่ ข้าสกัดกัน้
และพยายามสกัดกั้น

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 111
การประสานงานกับผู้ตัดสินที่ 1
ในปัจจุบนั การเล่นกีฬาวอลเลย์บอลได้พฒ ั นารูปแบบไปอย่างมาก ท�ำให้ลกู บอลมีความเร็ว
และความรุนแรงมากยิง่ ขึน้ ดังนัน้ การร่วมมือประสานงานกันระหว่างผูต้ ดั สินที่ 1 และผูต้ ดั สินที่ 2
จึงมีความจ�ำเป็นอย่างยิ่ง เหตุผลที่ว่าผู้ตัดสินที่ 1 ไม่สามารถติดตามการเล่นได้ ทุกลักษณะทั้ง
ในสนามและนอกสนามแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่นลูก ดังนั้นหน้าที่หลักของผู้ตัดสินที่ 2
จะต้องพิจารณาตรวจสอบสิ่งต่างๆ ทั้งในขณะก�ำลังเล่นลูกหรือไม่ได้อยู่ในขณะเล่นลูก ทั้งนี้จะต้อง
มีการประสานงานกันอย่างดีกับผู้ตัดสินที่ 1 คือ
1. การรุกที่ผิดระเบียบของผู้เล่นแดนหลัง
ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องไม่ให้สัญญาณการรุกที่ผิดระเบียบของผู้เล่นแดนหลัง แต่ผู้ตัดสินที่ 1
เท่านั้นที่มีหน้าที่ให้สัญญาณการท�ำผิดนั้น โดยต้องมั่นใจว่า
1.1 ผู้เล่นนั้นเป็นผู้เล่นแดนหลังอย่างแท้จริง
1.2 การกระโดดนั้นท�ำในแดนหน้าหรือแนวที่ต่อออกไป
1.3 ลูกบอลขณะที่มีการรุกนั้นอยู่สูงกว่าระดับความสูงของตาข่าย
1.4 ลูกบอลได้ผ่านแนวตาข่ายโดยสมบูรณ์หรือได้ถูกผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
2. การรุกที่ผิดระเบียบของผู้เล่นตัวรับอิสระ เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ตัดสินที่ 1
3. การสกัดกั้นที่ผิดระเบียบ
ผู้ตัดสินที่ 2 มีหน้าที่ให้สัญญาณการท�ำผิดนี้ เมื่อผู้เล่นแดนหลังท�ำการสกัดกั้น
ที่ผิดระเบียบ หรือผู้เล่นตัวรับอิสระท�ำการสกัดกั้นหรือพยายามท�ำการสกัดกั้น ทั้งนี้ต้องมั่นใจว่า
3.1 ผู้เล่นนั้นเป็นผู้เล่นแดนหลังอย่างแท้จริง
3.2 การถูกลูกนั้นเป็นลักษณะของการสกัดกั้น
3.3 ผู้เล่นนั้นเข้าร่วมในกลุ่มของการสกัดกั้นอย่างสมบูรณ์
3.4 ผู้เล่นตัวรับอิสระได้สกัดกั้นหรือพยายามท�ำการสกัดกั้น
4. กรณีที่ตัวเซตเป็นผู้เล่นแดนหลังและท�ำการสกัดกั้นขณะที่ฝ่ายตรงข้ามท�ำการรุก
โดยตรงจากการรับลูกเสิร์ฟและตัวเซตขึ้นท�ำการสกัดกั้น ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องให้สัญญาณการท�ำผิด
ระเบียบนี้
5. เมื่อมีการท�ำผิดมารยาทโดยที่ผู้ตัดสินที่ 1 ไม่สามารถเห็นได้เนื่องจากในบางครั้ง
ผูต้ ดั สินที่ 2 สามารถสังเกตพฤติกรรมต่างๆ ของทีมได้ดกี ว่าผูต้ ดั สินที่ 1 หากพิจารณาเห็นว่าสมาชิก
ของทีมแสดงการผิดมารยาท ผู้ตัดสินที่ 2 ควรแจ้งให้ผู้ตัดสินที่ 1 ทราบทันทีเมื่อลูกตาย ทั้งนี้
อาจเดินไปที่ผู้ตัดสินที่ 1 เพื่อชี้แจงสิ่งต่างๆ ที่พบเห็นได้
6. การใช้สัญญาณช่วยเหลือผู้ตัดสินที่ 1 ในบางครั้งผู้ตัดสินที่ 1 ไม่สามารถมองเห็น
การกระท�ำผิดได้อย่างชัดเจน ผู้ตัดสินที่ 2 สามารถให้สัญญาณช่วยเหลือได้ที่บริเวณหน้าอก
ทั้งนี้เป็นการแสดงชั่วขณะเท่านั้น อย่าใช้วิธีการแสดงสัญญาณแบบเน้นย�้ำ
112 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
7. กรณีที่มีการยืนผิดต�ำแหน่งของฝ่ายรับลูกเสิร์ฟจะต้องแสดงสัญญาณดังนี้
7.1 เป่านกหวีดเพื่อแจ้งให้ทราบว่ามีการท�ำผิด
7.2 แสดงสัญญาณการยืนผิดต�ำแหน่งด้วยมือด้านเดียวกับทีมที่ท�ำผิด
7.3 ให้ระบุว่าผู้เล่นต�ำแหน่งใดกับต�ำแหน่งใดที่ท�ำผิด
7.4 หากมีการสงสัยจากผู้เล่น ให้ผู้ตัดสินที่ 2 หยิบใบส่งต�ำแหน่งขึ้นมาแล้วระบุให้
หัวหน้าทีมทราบ
7.5 หากมีความจ�ำเป็นต้องชี้แจง ให้ผู้ตัดสินที่ 2 เดินเข้าไปในสนามและชี้ว่าเกิดเหตุ
ผิดพลาดเพราะอะไร
8. แจ้งจ�ำนวนการขอเปลี่ยนคนที่ 5 และ 6 และขอเวลานอกครั้งที่ 2 ของแต่ละทีม
ในแต่ละเซตให้ผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ฝึกสอนของทีมที่เกี่ยวข้องได้ทราบ
9. ถ้าหัวหน้า (Game Captain) ถูกเปลีย่ นตัวออก ผูต้ ดั สินที่ 2 จะต้องถามผูฝ้ กึ สอนหรือ
หัวหน้าทีมว่าจะแต่งตั้งให้ใครเป็นหัวหน้าทีมแทนและต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินที่ 1 ได้ทราบ
10. ในกรณีที่ผู้ตัดสินที่ 1 ขอความเห็นหรือไม่มั่นใจว่าลูกนั้นถูกมือผู้สกัดกั้นหรือไม่
ผู้ตัดสินที่ 2 ควรใช้วิธีการเดินไปทางแดนของฝ่ายที่จะรับลูกเสิร์ฟครั้งต่อไป ลักษณะเช่นนี้ผู้ตัดสินที่ 1
จะรู้ได้ทันทีว่าฝ่ายใดจะได้ชนะการเล่นลูกครั้งนั้น

การประสานงานกับผู้บันทึก
1. เมื่อมีการลงโทษการผิดมารยาท
ในกรณีที่ผู้ตัดสินที่ 1 ได้พิจารณาลงโทษทีมใดทีมหนึ่ง ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องเข้าใจ
อย่างชัดเจนว่า
1.1 ลงโทษใคร ผูเ้ ล่นหมายเลขใดถ้าเป็นเจ้าหน้าทีท่ มี จะต้องรูว้ า่ เป็นใคร เช่น ผูฝ้ กึ สอน
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน เทรนเนอร์ (ผู้ฝึก) หรือแพทย์ประจ�ำทีม
1.2 ลงโทษระดับใด เช่น ลงโทษ (ใบเหลือง) หรือให้ออกจากการแข่งขันในเซตนั้น
(ใบแดง) หรือตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขันตลอดนัดนั้น (ใบเหลือง + ใบแดง)
1.3 ผูบ้ นั ทึกได้บนั ทึกการลงโทษในใบบันทึกเรียบร้อยแล้ว เมือ่ ผูต้ ดั สินที่ 1 ได้แสดงบัตร
เพื่อลงโทษแก่ทีม ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องมั่นใจว่าเป็นการลงโทษสมาชิกของทีมใด หมายเลขใด
หรือเจ้าหน้าที่คนใด ถ้าผู้ตัดสินที่ 2 ยังไม่มั่นใจว่าเป็นใคร เขาสามารถเดินไปขอค�ำชี้แจงที่ชัดเจน
จากผู้ตัดสินที่ 1 ได้ จากนั้นผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องไปแจ้งแก่ผู้บันทึกอีกครั้งว่าได้มีการบันทึกผล
การลงโทษ ทั้งนี้จะต้องท�ำโดยไม่ล่าช้าและผู้ตัดสินที่ 2 ควรตรวจสอบการบันทึกอย่างถูกต้อง
1.4 ถ้าเป็นการลงโทษการผิดมารยาท (ใบเหลือง) จะต้องมัน่ ใจว่าผูบ้ นั ทึกได้เพิม่ คะแนน
ให้กับฝ่ายตรงข้ามอีก 1 คะแนนแล้ว

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 113
2. เมื่อมีการเตือนหรือลงโทษถ่วงเวลา ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องมั่นใจว่าเป็นการเตือน
หรือลงโทษทีมใดและต้องตรวจสอบกับผู้บันทึกทุกครั้ง ถ้าเป็นการลงโทษถ่วงเวลาทุกครั้งจะต้องมี
การเพิ่มคะแนนให้กับฝ่ายตรงข้าม 1 คะแนน
3. เมือ่ มีการขอเปลีย่ นตัว ผูต้ ดั สินที่ 2 จะต้องพยายามใส่ใจและระลึกเสมอว่าขบวนการ
ขอเปลี่ยนตัวเป็นสิ่งส�ำคัญที่สุดหากมีการผิดพลาดเกิดขึ้น อาจเป็นสาเหตุใหญ่ที่ต้องมีการแข่งขัน
กันใหม่ก็ได้ ดังนั้นผู้ตัดสินที่ 2 จึงควรปฏิบัติดังนี้
3.1 ควรรู้ว่าจะมีการขอเปลี่ยนตัวโดยทีมใด โดยทั่วๆ ไปแล้วทีมที่เสียการเล่นลูก
3-4 ครั้งติดต่อกัน หรือมีคะแนนตามคู่ต่อสู้ หรือในโอกาสเพื่อต้องการท�ำคะแนนในช่วงส�ำคัญๆ
จะเป็นทีมที่ขอเปลี่ยนตัว ผู้ตัดสินที่ 2 พึงพยายามสังเกตโดยการช�ำเลืองดูทีมดังกล่าว ขณะที่มี
ลูกตายเกิดขึ้น
3.2 ต้องตรวจสอบว่าทีมใดเป็นผู้ขอ เมื่อมีออดสัญญาณดังขึ้น ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้อง
ตรวจสอบในสิ่งต่างๆ คือ
3.2.1 ผู้ที่ขออนุญาตนั้นเป็นผู้ที่มีสิทธิ์ตามกติกาหรือไม่ (ผู้ฝึกสอนหรือหัวหน้าทีม
ในสนามเท่านั้น)
3.2.2 ผู้ขออนุญาตได้ท�ำสัญญาณมือถูกต้องหรือไม่
3.3 การขออนุญาตนั้นสามารถท�ำได้หรือไม่ โดยจะต้องรู้ว่า
3.3.1 ทีมนั้นได้ขอเปลี่ยนตัวแล้วกี่คน
3.3.2 ผูเ้ ล่นทีจ่ ะขอเปลีย่ นตัว พร้อมทีจ่ ะเข้าสนามโดยยืนอยูใ่ กล้กบั เขตเปลีย่ นตัว
พร้อมป้ายเปลี่ยนตัวที่ถูกต้อง
3.3.3 ต้องท�ำก่อนการเป่านกหวีดให้สัญญาณเสิร์ฟ
3.4 ถ้ามีการขออนุญาตเปลี่ยนตัวและได้พิจารณาว่าถูกต้องตามข้อก�ำหนดดังกล่าว
ข้างต้นแล้ว ให้ผู้ตัดสินที่ 2 เป่านกหวีดพร้อมแสดงสัญญาณมือ แต่ถ้าพิจารณาแล้วไม่ถูกต้องตาม
ข้อก�ำหนดดังกล่าว ทีมนั้นจะต้องถูกปฏิเสธการขอ เพราะเป็นการขออนุญาตที่ผิดระเบียบ
ถ้ามีการขออนุญาตทีผ่ ดิ ระเบียบครัง้ แรกของทีมใดในนัดนัน้ และไม่มผี ลต่อการเล่น
หรือไม่ทำ� ให้เกิดการล่าช้าเกิดขึน้ ผูต้ ดั สินเพียงแต่ปฏิเสธการขออนุญาตนัน้ โดยไม่ตอ้ งมีการลงโทษใดๆ
แต่ถ้าการขออนุญาตนั้นเป็นเหตุให้เกิดการล่าช้าทีมนั้นจะต้องถูกลงโทษถ่วงเวลา
ถ้าการขออนุญาตนัน้ ผิดระเบียบ แต่ผตู้ ดั สินได้เป่านกหวีดและแสดงสัญญาณมือ
แล้วให้ถือเสมือนว่าทีมนั้นท�ำให้การเล่นต้องล่าช้า ทีมจะถูกลงโทษถ่วงเวลาทันทีเช่นกัน

114 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ล�ำดับขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อมีการขอเปลี่ยนตัว
1. เมื่อมีสัญญาณออดดังขึ้น ผู้ฝึกสอนหรือหัวหน้าทีม (ในสนาม) ได้แสดงสัญญาณมือ
2. ผู้ตัดสินที่ 2 เป่านกหวีดและแสดงสัญญาณมือ
3. เดินไปที่จุดตัดระหว่างเส้นเขตรุกกับเส้นข้าง หันหน้าเข้าหาตาข่าย
4. อนุญาตให้ผเู้ ล่นทีจ่ ะเปลีย่ นตัวเข้ามายืนทีบ่ ริเวณเส้นข้างในเขตเปลีย่ นตัว พร้อมชูปา้ ย
เปลี่ยนตัวขึ้น ให้ผู้เล่นที่จะเปลี่ยนตัวเข้าและออกยืนรอชั่วขณะหนึ่ง
5. มองดูผู้บันทึก (ประสานสายตาซึ่งกันและกัน) โดย
5.1 เมื่อเห็นผู้บันทึกยกมือขึ้น 1 ข้าง นั่นหมายความว่า การเปลี่ยนตัวคู่นี้ถูกต้อง
สามารถเปลี่ยนได้
5.2 ให้สัญญาณอนุญาตให้ผู้เล่นเปลี่ยนตัวได้
5.3 เมื่อผู้บันทึกได้บันทึกการเปลี่ยนตัวเรียบร้อยแล้ว จะยกมือขึ้น 2 ข้าง (ในช่วงที่
ผู้บันทึกก�ำลังบันทึกอยู่นั้น ให้ผู้ตัดสินที่ 2 เดินไปยังฝ่ายที่จะรับลูกเสิร์ฟในครั้งต่อไปเพื่อไม่ให้
เกิดการล่าช้า)
5.4 ผู้ตัดสินที่ 2 รับทราบว่าบันทึกเรียบร้อย จากนั้นให้หันไปทางผู้ตัดสินที่ 1 ยกมือ
ทั้งสองขึ้นเพื่อแจ้งให้ผู้ตัดสินที่ 1 ทราบว่าทุกอย่างพร้อมเรียบร้อยแล้ว สามารถด�ำเนินการแข่งขัน
ต่อได้
6. กรณีการเปลีย่ นตัวเกิน 1 คู่ ผูต้ ดั สินที่ 2 จะต้องปฏิบตั เิ ช่นเดียวกับการเปลีย่ นตัว 1 คู่
โดยให้เปลีย่ นทีละคู่ เมือ่ เปลีย่ นคูแ่ รกเรียบร้อยแล้วผูบ้ นั ทึกจะยกมือ 2 ข้างขึน้ จากนัน้ ผูต้ ดั สินที่ 2
จึงอนุญาตให้คทู่ ี่ 2 เข้าไปในเขตเปลีย่ นตัว ท�ำลักษณะนีไ้ ปเรือ่ ยๆ จนครบกระบวนการเปลีย่ นตัวทุกคู่
7. การขอเปลี่ยนตัวคนที่ 5 และ 6 ของทีมในแต่ละเซต ผู้บันทึกจะต้องแจ้งให้
ผู้ตัดสินที่ 2 ทราบ ผู้ตัดสินที่ 2 ต้องแจ้งการเปลี่ยนตัวคนที่ 5 และ 6 ให้กับผู้ฝึกสอนที่เกี่ยวข้องทราบ
พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ตัดสินที่ 1 ทราบด้วย

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 115
ล�ำดับขั้นตอนการขอเปลี่ยนตัว (1 คน)

ล�ำดับที่ 1 นักกีฬาทีข่ อเปลีย่ นตัวถือป้ายหมายเลขเปลีย่ นตัวของผูท้ ตี่ อ้ งการจะเปลีย่ นตัว


ออกและยืนอยู่ในเขตเปลี่ยนตัวก่อน R1 เป่านกหวีดอนุญาตให้ท�ำการเสิร์ฟ


ล�ำดับที่ 2 SC. กดกริ่งสัญญาณเพื่ออนุญาตให้นักกีฬาเปลี่ยนตัวได้ หรือกรณี SC.
ไม่กดกริง่ สัญญาณ ผูต้ ดั สินที่ 2 สามารถเป่านกหวีดพร้อมแสดงสัญญาณมืออนุญาตเปลีย่ นตัวแทนได้
(ดังภาพ)

ผู้ตัดสินที่ 2 เป่านกหวีดพร้อมแสดงสัญญาณมือการเปลี่ยนตัว
ล�ำดั บ ที่ 3 ผู ้ ตั ด สิ น ที่ 2 ยื น ระหว่ า งเสาขึ ง ตาข่ า ยกั บ โต๊ ะ ผู ้ บั น ทึ ก เพื่ อ ตรวจสอบ
ความถูกต้องของการเปลี่ยนตัว โดยสังเกตการท�ำหน้าที่ของผู้บันทึก

116 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ล�ำดับที่ 4 เมือ่ ผูต้ ดั สินที่ 2 เห็นว่าการเปลีย่ นตัวคู่นั้นถูกต้อง จึงอนุญาตให้เปลี่ยนตัวได้
(ดังภาพ)

ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงสัญญาณมืออนุญาตให้เปลี่ยนตัวได้


ล�ำดับที่ 5 เมื่อผู้บันทึกได้บันทึกการเปลี่ยนตัวเรียบร้อยแล้วให้ยกมือขึ้น 2 ข้าง เพื่อแจ้งกับ
ผู้ตัดสินที่ 2 ว่าได้บันทึกการเปลี่ยนตัวเรียบร้อยแล้ว (ดังภาพ)

ผู้บันทึกแสดงการยกมือ 2 ข้าง เมื่อบันทึกการเปลี่ยนตัวเรียบร้อย

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 117
ล�ำดับที่ 6 ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงสัญญาณมือว่าพร้อมที่จะแข่งขันต่อไปโดยยกมือขึ้น 2 ข้าง
แสดงให้ผู้ตัดสินที่ 1 ทราบ เพื่อที่จะได้ให้สัญญาณเสิร์ฟต่อไป (ดังภาพ)

ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงการยกมือ 2 ข้าง แจ้งแก่ผู้ตัดสินที่ 1

ล�ำดับขั้นตอนการขอเปลี่ยนตัว (เกินกว่า 1 คน)

ล�ำดับที่ 1 นักกีฬาทีข่ อเปลีย่ นตัวทัง้ หมดยืนถือป้ายหมายเลขเปลีย่ นตัวใกล้เขตเปลีย่ นตัว


โดยนักกีฬาผู้ขอเปลี่ยนตัวคนที่ 1 ยืนอยู่ในเขตเปลี่ยนตัว

118 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ล�ำดับที่ 2 SC. กดกริ่งสัญญาณเพื่ออนุญาตให้นักกีฬาเปลี่ยนตัวได้ หรือกรณี SC.
ไม่กดกริ่งสัญญาณ ผู้ตัดสินที่ 2 สามารถเป่านกหวีดพร้อมแสดงสัญญาณมืออนุญาตเปลี่ยนตัว
แทนได้ (ดังภาพ)

ผู้ตัดสินที่ 2 เป่านกหวีดพร้อมแสดงสัญญาณมือการเปลี่ยนตัว


ล�ำดับที่ 3 ผู้ตัดสินที่ 2 ยืนระหว่างเข้าถึงตาข่ายกับโต๊ะผู้บันทึกและอนุญาตให้คนที่ 1
เปลี่ยนตัวได้โดยก�ำกับให้นักกีฬาผู้ขอเปลี่ยนตัวที่เหลือยืนรอใกล้เขตเปลี่ยนตัว

ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงการกันนักกีฬาให้อยู่นอกเขตเปลี่ยนตัว

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 119
ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงสัญญาณมืออนุญาตให้เปลี่ยนตัวได้

ล�ำดับที่ 4 ผู้บันทึกจะท�ำการบันทึกการเปลี่ยนตัวในใบบันทึก (ดังภาพ)

ผู้บันทึกแสดงการบันทึกการเปลี่ยนตัวคู่ที่ 1

ล�ำดับที่ 5 เมื่อผู้บันทึกได้บันทึกการเปลี่ยนตัวคนที่ 1 เรียบร้อยแล้วให้ยกมือขึ้น 2 ข้าง


(ดังภาพ)

ผู้บันทึกแสดงการยกมือ 2 ข้าง เมื่อบันทึกการเปลี่ยนตัวคู่ที่ 1 เรียบร้อย

120 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ล�ำดับที่ 6 การเปลีย่ นตัวคนที่ 2 หรือคนต่อไป เมือ่ ผูต้ ดั สินที่ 2 เห็นผูบ้ นั ทึกยกมือขึน้
2 ข้าง ให้เรียกนักกีฬาคนต่อไปเข้ามาในเขตเปลี่ยนตัวและมองดูผู้บันทึก หากผู้บันทึกจึงอนุญาตให้
เปลี่ยนตัวคนที่ 2 ได้ (ดังภาพ)

ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงการอนุญาตให้เปลี่ยนตัวคู่ 2 ได้

ผู้บันทึกแสดงการบันทึกการเปลี่ยนตัวคู่ที่ 2

ล�ำดับที่ 7 เมื่อผู้บันทึกได้บันทึกการเปลี่ยนตัวคู่ที่ 2 เสร็จเรียบร้อยแล้วให้ยกมือขึ้น


2 ข้าง (ดังภาพ)

ผู้บันทึกแสดงการยกมือ 2 ข้าง แสดงการบันทึกคู่ที่ 2 เรียบร้อย

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 121
ล�ำดั บ ที่ 8 เมื่อผู้ตัดสินที่ 2 เห็นผู้บันทึกยกมือ 2 ข้าง แสดงว่าการบันทึกได้ท�ำ
เรียบร้อยแล้ว (ขณะที่ผู้ตัดสินที่ 2 ก�ำลังรอผู้บันทึกอยู่นั้น ให้เดินไปอยู่ประจ�ำที่ทางด้านฝ่ายรับ
ลูกเสิร์ฟครั้งต่อไป) จากนั้นจึงยกมือ 2 ข้าง แจ้งแก่ผู้ตัดสินที่ 1 เพื่อเป่านกหวีดให้เสิร์ฟต่อไป
(ดังภาพ)

ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงการยกมือ 2 ข้าง แจ้งแก่ผู้ตัดสินที่ 1 ว่าการบันทึกเรียบร้อย

4. เมื่อมีการขอเวลานอก
4.1 ผู้ฝึกสอนกดแสดงสัญญาณการขอเวลานอก
4.2 ผู้ตัดสินที่ 2 เป่านกหวีดและแสดงสัญญาณมือพร้อมระบุทีมที่ขอเวลานอก
4.3 ผูต้ ดั สินที่ 2 จับเวลาการขอเวลานอก 30 วินาทีเต็ม และพยายามควบคุมนักกีฬา
และเจ้าหน้าที่ทั้งสองทีมให้อยู่ใกล้กับม้านั่ง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ถูพื้นท�ำการถูพื้นได้อย่างสะดวก
4.4 ตรวจดูผู้บันทึกได้มีการบันทึกเวลานอกเรียบร้อยแล้ว
4.5 ผู้ตัดสินที่ 2 เป่านกหวีดหมดเวลา 30 วินาที
4.6 ให้ทีมลงสนาม พร้อมกับตรวจสอบกับผู้บันทึกถึงความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่
ต่อไปด้วยการยกมือ 2 ข้าง (การตรวจสอบผู้ตัดสินที่ 2 จะใช้วิธีการหันไปมองผู้บันทึกเท่านั้น)
4.7 ถ้าเป็นการขอเวลานอกครั้งที่ 2 ของทีมในแต่ละเซต ผู้ตัดสินที่ 2 ต้องแจ้งแก่
ผู้ฝึกสอนของทีมที่เกี่ยวข้องและผู้ตัดสินที่ 1 โดยการยกมือ 2 ข้าง

122 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ล�ำดับขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อมีการขอเวลานอก
ล�ำดับที่ 1 ผูฝ้ กึ สอนกดออดและแสดงสัญญาณมือขอเวลานอก โดยใช้มอื วางบนปลายนิว้
ของมืออีกข้างหนึ่ง (ดังภาพ)

ผู้ฝึกสอนแสดงการกดออดและแสดงสัญญาณมือขอเวลานอก

ล�ำดับที่ 2 ผู้ตัดสินที่ 2 เป่านกหวีดและแสดงสัญญาณมือ พร้อมระบุทีมที่ขอ (ดังภาพ)

ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงสัญญาณมือขอเวลานอกและระบุทีมที่ขอ

ล�ำดับที่ 3 ผู้ตัดสินที่ 2 จับเวลานอกด้วยตนเอง 30 วินาที (ดังภาพ)

ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงการจับเวลา 30 วินาที ส�ำหรับการขอเวลานอก


คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 123
ล�ำดับที่ 4 เมื่อหมดเวลานอก 30 วินาที ผู้ตัดสินที่ 2 เป่านกหวีดให้นักกีฬาลงสนามและ
ดูที่ผู้บันทึกแสดงสัญญาณพร้อม โดยการยกมือขึ้นทั้งสองข้าง (ดังภาพ)

ผู้บันทึกแสดงการยกมือ 2 ข้าง แสดงว่าพร้อมที่จะเริ่มแข่งขันต่อ


ล�ำดับที่ 5 ผูต้ ดั สินที่ 2 แจ้งสัญญาณพร้อมกับผูต้ ดั สินที่ 1 โดยการยกมือขึน้ 2 ข้าง (ดังภาพ)

ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงการยกมือ 2 ข้าง เพื่อแจ้งแก่ผู้ตัดสินที่ 1

5. เมื่อมีการให้เวลานอกทางเทคนิค
5.1 ในเซตที่ 1-4 เมื่อคะแนนของฝ่ายน�ำท�ำได้คะแนนที่ 8 และ 16 ให้ผู้บันทึก
กดออดให้สัญญาณเพื่อให้ทีมออกจากสนาม พร้อมทั้งผู้บันทึกเป็นผู้จับเวลา 60 วินาทีเต็ม
5.2 ผู้ตัดสินที่ 2 ไม่ต้องแสดงสัญญาณใดๆ ในการให้เวลานอกทางเทคนิค
5.3 เมื่อหมดเวลา 60 วินาทีเต็ม ให้ผู้บันทึกกดออดให้สัญญาณ
5.4 ผู้ตัดสินที่ 2 ให้ทีมลงสนามตรวจสอบความพร้อมต่างๆ และแจ้งสัญญาณพร้อม
ให้กับผู้ตัดสินที่ 1 เพื่อเป่านกหวีดให้สัญญาณเสิร์ฟต่อไป

การแสดงสัญญาณมือส�ำหรับผู้ตัดสินที่ 2
การแสดงสั ญ ญาณมื อ เป็ น สื่ อ บอกความหมายระหว่ า งผู ้ ตั ด สิ น กั บ นั ก กี ฬ าและผู ้ ช ม
ให้เข้าใจความหมายซึ่งกันและกัน การแสดงสัญญาณมือส�ำหรับผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องแสดง

124 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ให้ชัดเจนและสื่อความหมายเช่นเดียวกับการแสดงสัญญาณมือของผู้ตัดสินที่ 1 ซึ่งสามารถ
แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. การแสดงสัญญาณมือเมื่อผู้ตัดสินที่ 2 เป็นผู้เป่านกหวีดระบุความผิด จะต้องปฏิบัติ
ตามขั้นตอนดังนี้
1.1 เป่านกหวีดให้สัญญาณเมื่อมีความผิดเกิดขึ้น
1.2 แสดงสัญญาณมือระบุการท�ำผิด ว่าเป็นความผิดอะไร เช่น การถูกตาข่าย
การล�้ำเส้นแบ่งแดน การยืนผิดต�ำแหน่ง หรือการสกัดกั้นที่ผิดระเบียบ เป็นต้น
1.3 ระบุตัวผู้ท�ำผิด โดยการชี้ที่นักกีฬาที่ท�ำผิดนั้น โดยใช้วิธีการระบุตัวผู้ท�ำผิด
ลักษณะที่สุภาพ ควรใช้วิธีการชี้ด้วยมือลักษณะแบฝ่ามือทั้ง 5 นิ้ว แต่ไม่ควรใช้วิธีการชี้ด้วยนิ้ว
เพียงนิ้วเดียว
1.4 รอชั่ ว ขณะหนึ่ ง เมื่ อ ผู ้ ตั ด สิ น ที่ 1 ชี้ แ ดนที่ จ ะได้ เ ป็ น ฝ่ า ยเสิ ร ์ ฟ ต่ อ ไปแล้ ว
ผู้ตัดสินที่ 2 จึงชี้แดนที่จะได้เป็นฝ่ายเสิร์ฟตามผู้ตัดสินที่ 1 ในการชี้แดนในขั้นตอนสุดท้ายนี้
ผูต้ ดั สินที่ 2 ควรรอให้ผตู้ ดั สินที่ 1 ชีก้ อ่ น อย่าชีก้ อ่ นผูต้ ดั สินที่ 1 เป็นอันขาด ทัง้ นีเ้ พราะผูต้ ดั สินที่ 1
อาจจะไม่เห็นด้วยกับค�ำตัดสินของผู้ตัดสินที่ 2 ก็ได้
2. การแสดงสัญญาณมือเมื่อผู้ตัดสินที่ 1 เป็นผู้เป่านกหวีดระบุความผิด ผู้ตัดสินที่ 2
จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
2.1 เมื่อผู้ตัดสินที่ 1 เป่านกหวีดให้สัญญาณเมื่อมีความผิดเกิดขึ้น
2.2 ผู้ตัดสินที่ 1 จะแสดงสัญญาณชี้แดนที่จะได้เป็นฝ่ายเสิร์ฟ ผู้ตัดสินที่ 2 จะเคลื่อนตัว
ไปอยู่ทางฝ่ายที่ผิดและชี้แดนที่จะได้เป็นฝ่ายเสิร์ฟตามผู้ตัดสินที่ 1
2.3 ผูต้ ดั สินที่ 1 จะแสดงสัญญาณมือระบุเหตุของการกระท�ำผิดว่าเกิดความผิดอะไร เช่น
การเล่นลูก 2 ครั้ง ลูกถูกผู้เล่นแล้วออกนอกสนาม ลูกดีหรือลูกออก เป็นต้น จากนั้นผู้ตัดสินที่ 2
ต้องแสดงสัญญาณมือระบุความผิดนั้นตามผู้ตัดสินที่ 1 ทีละสัญญาณอย่าแสดงก่อนเป็นอันขาด
2.4 ถ้าจ�ำเป็นต้องระบุตัวผู้ท�ำผิด เมื่อผู้ตัดสินที่ 1 ระบุตัวผู้ท�ำผิด ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้อง
ให้สัญญาณตามด้วยเช่นกัน

เทคนิคการแสดงสัญญาณมือที่เกี่ยวข้องกับผู้ตัดสินที่ 2
การแสดงสัญญาณมือ ผู้ตัดสินที่ 2 จะให้สัญญาณมือเฉพาะสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับ
ผู้ตัดสินที่ 2 เท่านั้น ส่วนสัญญาญอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ในกติกาผู้ตัดสินที่ 2 ไม่จ�ำเป็นต้องแสดง
สัญญาณมือที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ตัดสินที่ 2 และต้องแสดงมีเทคนิคดังต่อไปนี้ (Federation
Internationale De Volleyball. 2001 : 69-73)

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 125
1. ทีมที่ได้เสิร์ฟ ให้เหยียดแขนไปทางที่จะได้เสิร์ฟ ให้แขนตึงขนานพื้น หันฝ่ามือ
ไปข้างหน้า กางแขนออกให้แนวเดียวกับล�ำตัว (ดังภาพ)

ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงสัญญาณมือระบุทีมที่ได้เสิร์ฟ

2. ขอเวลานอก วางฝ่ามือบนปลายนิ้วของมืออีกข้างหนึ่งที่ตั้งอยู่ในแนวดิ่ง (ควรใช้มือ


ด้านที่ทีมนั้นขอเป็นมือที่ตั้งขึ้น) (ดังภาพ)

ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงสัญญาณมือการขอเวลานอก

3. ขอเปลี่ยนตัว หมุนแขนให้รอบซึ่งกันและกัน (ดังภาพ)

ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงสัญญาณมือการขอเปลี่ยนตัวและระบุจ�ำนวน
หมายเหตุ : ถ้าเป็นการขอเปลี่ยนตัวมากกว่า 1 คน ให้ระบุจ�ำนวนคนด้วยนิ้วมือ

126 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
4. สกัดกั้นผิดระเบียบ ยกแขนทั้งสองในแนวดิ่งหันฝ่ามือไปข้างหน้า (ดังภาพ)

ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงสัญญาณมือการสกัดกั้นผิดระเบียบ

5. ผิดต�ำแหน่ง ใช้นิ้วชี้ท�ำรูปวงกลม (ดังภาพ)

ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงสัญญาณมือการผิดต�ำแหน่ง

6. ลูกดี (ลูกลงพื้นสนาม) เหยียดแขนและนิ้วทั้งห้านิ้วชิดติดกันและชี้ที่พื้น โดยชี้ไปที่


บริเวณจุดกึ่งกลางของเส้นเขตรุก พยายามให้ฝ่ามือหันเข้าหาแนวล�ำตัว (ดังภาพ)

ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงสัญญาณมือลูกดี

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 127
7. ลูกออก (ลูกออกนอกสนาม) พับแขนเสื้อ แบมือ หันฝ่ามือเข้าหาล�ำตัว แขน และ
ข้อศอกพยายามให้เป็นมุมฉาก (ดังภาพ)

ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงสัญญาณมือลูกออกนอกสนาม

8. ผู้เล่นถูกตาข่ายและเสิร์ฟไม่ข้ามตาข่าย ใช้มือชี้ลักษณะการแตะตาข่ายด้านที่เกิดเหตุ
(ดังภาพ)

ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงสัญญาณมือผู้เล่นถูกตาข่ายหรือเสิร์ฟไม่ข้ามตาข่าย

9. ผู้เล่นล�้ำใต้ตาข่ายหรือลูกลอดใต้ตาข่าย ใช้นิ้วชี้ ชี้ที่เส้นแบ่งแดน (ดังภาพ)

ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงสัญญาณมือผู้เล่นล�้ำใต้ตาข่ายหรือลูกลอดใต้ตาข่าย

128 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
10. ลูกบอลถูกผู้เล่นแล้วออกนอกสนาม ใช้ฝ่ามือปัดที่ปลายนิ้วของอีกมือหนึ่งโดยใช้มือ
ด้านฝ่ายที่ท�ำผิดเป็นมือที่ตั้งขึ้น (ดังภาพ)

ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงสัญญาณมือลูกบอลถูกผู้เล่นแล้วออกนอกสนาม

11. จบเซตหรือจบการแข่งขัน ใช้มือไขว้กันบริเวณหน้าอก หันฝ่ามือเข้าหาตัว (ดังภาพ)

ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงสัญญาณมือจบเซต

สัญญาณมือที่ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงเพื่อช่วยผู้ตัดสินที่ 1

ในการปฏิบัติหน้าที่บางครั้งผู้ตัดสินที่ 1 ไม่สามารถมองเห็นการท�ำผิดนั้นๆ ได้อย่าง


ชัดเจน ดังนั้น เพื่อให้การประสานงานกันระหว่างผู้ตัดสินที่ 1 กับผู้ตัดสินที่ 2 เป็นไปอย่างราบรื่น
เมื่อผู้ตัดสินที่ 2 เห็นการท�ำผิดที่อยู่นอกเหนืออ�ำนาจหน้าที่ของตน ผู้ตัดสินที่ 2 สามารถ
ให้สัญญาณช่วยเหลือได้ที่บริเวณหน้าอก แต่ไม่ควรเน้นย�้ำต่อผู้ตัดสินที่ 1 สัญญาณที่ผู้ตัดสินที่ 2
สามารถแสดงให้การช่วยเหลือมีดังนี้

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 129
1. ลูกถูกมือผู้เล่นฝ่ายรับหรือฝ่ายรุกแล้วออก ใช้มือแตะกันที่บริเวณหน้าอก (ดังภาพ)

ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงสัญญาณเพื่อช่วยผู้ตัดสินที่ 1 เกี่ยวกับลูกถูกผู้เล่นแล้วออก

2. การเล่นลูก 2 ครั้ง พับแขนและแยก 2 นิ้วจากกันที่บริเวณหน้าอก (ดังภาพ)

ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงสัญญาณเพื่อช่วยผู้ตัดสินที่ 1 เกี่ยวกับการเล่นลูก 2 ครั้ง

3. การเล่นลูก 4 ครั้ง พับแขนและแยก 4 นิ้วจากกันที่บริเวณหน้าอก (ดังภาพ)

ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงสัญญาณเพื่อช่วยผู้ตัดสินที่ 1 เกี่ยวกับการเล่นลูก 4 ครั้ง

130 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
4. การจับหรือทุ่มลูกบอล พับแขนหงายฝ่ามือขึ้น (ดังภาพ)

ผู้ตัดสินที่ 2 แสดงสัญญาณเพื่อช่วยผู้ตัดสินที่ 1 เกี่ยวกับการจับหรือทุ่มลูกบอล

ในการให้สัญญาณช่วยเหลือต่อผู้ตัดสินที่ 1 นั้น ผู้ตัดสินจะต้องเข้าใจและมั่นใจว่า


เป็ น การท�ำผิ ด ของผู ้ เ ล่ น นั้ น จริ ง ๆ อย่ า เพี ย งแต่ ส งสั ย หรื อ คาดเดาว่ า จะเป็ น ความผิ ด
การให้สญั ญาณนีจ้ ะต้องไม่ท�ำให้ผอู้ นื่ เห็นอย่างชัดเจน (นอกจากผูต้ ดั สินที่ 1 เท่านัน้ ) ทัง้ นีจ้ ะต้องมี
การประสานสายตากันอย่างดีระหว่างผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ตัดสินที่ 2

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 131

เ ทคนิคการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เทคนิค
(Technical Performance of Volleyball Technician)
เจ้าหน้าทีเ่ ทคนิคเป็นบุคคลทีจ่ ะช่วยให้การด�ำเนินการจัดการแข่งขันเป็นไปอย่างเรียบร้อย
การจัดการแข่งขันจะประสบความส�ำเร็จหรือไม่เพียงใดนัน้ ขึน้ อยูก่ บั การปฏิบตั หิ น้าทีข่ องเจ้าหน้าที่
เทคนิคในอัตราส่วนที่สูงพอกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่เทคนิคประกอบด้วยบุคคล
ในกลุ่มต่างๆ
1. เทคนิคการเป็นผู้ก�ำกับเส้น (Line Judges)
2. เทคนิคการเป็นผู้บันทึก (Scorer)
3. เทคนิคการเป็นผู้ช่วยผู้บันทึก (Assistant Scorer)
4. เทคนิคการเป็นผู้ประกาศ (Announcer)
5. เทคนิคการเป็นเจ้าหน้าที่เช็ดพื้น (Floor Mopping)
6. เทคนิคการเป็นเจ้าหน้าที่ส่งลูกบอล (Ball Retriever)

เทคนิคการเป็นผู้ก�ำกับเส้น (Line Judges)


การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ก�ำกับเส้นมีความส�ำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในการแข่งขัน
ระดับนานาชาติ ผู้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตัดสินนานาชาติทุกคนจะต้องรู้และสามารถปฏิบัติหน้าที่
ผู้ก�ำกับเส้นได้ในกรณีที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ก�ำกับเส้น
1. หน้าที่รับผิดชอบของผู้ก�ำกับเส้น มีดังนี้ (ทรงศักดิ์ เจริญพงศ์. 2538 : 39)
1.1 แสดงสัญญาณลูก “ดี” ลูก “ออก” เมื่อลูกบอลถูกพื้นใกล้เส้นของแต่ละคน
ที่รับผิดชอบ
1.2 แสดงสัญญาณลูกบอลถูกผู้เล่นของทีมที่เป็นฝ่ายรับแล้วลูกออกนอกสนาม
1.3 แสดงสัญญาณเมื่อลูกบอลถูกเสาอากาศหรือข้ามตาข่ายนอกเขตที่ก�ำหนดให้
ลูกข้ามตาข่าย (แต่ต้องพิจารณาให้ดีว่าเป็นการเล่นลูกแรกหรือไม่ เพราะถ้าเป็นการเล่นลูกแรก
ทีมนั้นยังสามารถที่จะน�ำลูกกลับมาเล่นต่อได้)
1.4 แสดงสัญญาณถ้าผู้เล่นเหยียบพื้นที่นอกเขตสนามของตนขณะท�ำการเสิร์ฟ
ยกเว้นผู้เสิร์ฟเท่านั้น ผู้ก�ำกับเส้นที่รับผิดชอบเส้นหลังต้องให้สัญญาณเมื่อเท้าของผู้เสิร์ฟผิดกติกา
โดยเหยียบเส้นหลังขณะท�ำการเสิร์ฟหรือเริ่มกระโดดเสิร์ฟจากนอกเขตเสิร์ฟและผู้ก�ำกับเส้น
ต้องแสดงสัญญาณซ�้ำเมื่อได้รับการขอร้องจากผู้ตัดสินที่ 1

132 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
1.5 ต้องมีความเข้าใจอย่างดีเมื่อมีการใช้ผู้ก�ำกับเส้นระบบ 2 คนหรือระบบ 4 คน
ซึ่งมีหลักการปฏิบัติหน้าที่ดังนี้
1.5.1 การปฏิบตั หิ น้าทีร่ ะบบ 2 คน ผูก้ ำ� กับเส้นหมายเลข 1 จะอยูท่ างขวามือของ
ผู้ตัดสินที่ 1 รับผิดชอบเส้นข้างและเส้นหลังตลอดความยาวของเส้นนั้นๆ และผู้ก�ำกับเส้นที่ 2
ยืนอยู่ในมุมทแยงกับผู้ก�ำกับเส้นหมายเลข 1 รับผิดชอบเส้นข้างและเส้นหลังอีกด้านหนึ่งของสนาม
1.5.2 การปฏิบัติหน้าที่ระบบ 4 คน ผู้ก�ำกับเส้นหมายเลข 1 จะอยู่ทางขวามือ
ของผู้ตัดสินที่ 1 รับผิดชอบเส้นข้างและให้นับทวนเข็มนาฬิกาขึ้นไปเป็นผู้ก�ำกับเส้นหมายเลข 2
รับผิดชอบเส้นหลังผู้ก�ำกับเส้นหมายเลข 3 และ 4 รับผิดชอบเส้นข้างและเส้นหลังตามล�ำดับ
(ดังภาพที่ 33)

1 L
L 1
2

R2 R1

4
2 L
L3

ภาพที่ 33 แสดงระบบการใช้ผู้ก�ำกับเส้น 2 คน และ 4 คน


(Federation Internationale De Volleyball. 2001 : 68)

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 133
การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ก�ำกับเส้น สัญญาณที่ใช้เป็นสื่อความหมายระหว่างผู้ตัดสิน ผู้เล่น
และผู้ชม คือ สัญญาณธง ซึ่งมีลักษณะและความหมายต่างๆ ดังนี้

สัญญาณธงของผู้กำ�กับเส้น (Linejudges’ Flag Signals)

เหตุการณ์ที่จะระบุ คำ�อธิบายและภาพประกอบ
ลูกดี (ลูกลงในสนาม) ชี้ลงด้วยธง L 1
(กติกาข้อ 9.3)

ลูกออก (ลูกลงในสนาม) ยกธงขึ้นในแนวดิ่ง L 2


(กติกาข้อ 9.4.1)

ลูกบอลถูกผู้เล่นแล้วออกนอกสนาม ยกธงขึ้นและแตะที่ปลายธง L 3
(กติกาข้อ 27.2, 1.2) ด้วยฝ่ามือ

ลูกออกนอกเสาอากาศหรือ โบกธงเหนือศีรษะ และ L 4


ผู้เล่นเหยียบเส้นเสิร์ฟ ชี้ที่เสาอากาศหรือเส้นหลัง
(กติกาข้อ 9.4.2, 9.4.3, 9.4.4,
13.4.3, 27.2.1.4, 27.2.1.6)

อากาศหรือเส้นหลัง ยกมือขึ้นไขว้กันที่หน้าอก L 5
ไม่สามารถมองเห็นได้

หมายเหตุ
L = สัญญาณที่จะต้องระบุของผู้กำ�กับเส้น

ภาพที่ 34 แสดงสัญญาณธงของผู้ก�ำกับเส้น
(ชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสิร์ฐ และทรงศักดิ์ เจริญพงศ์. 2554 : 62)

134 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
2. การฝึกปฏิบัติหน้าที่ส�ำหรับผู้ก�ำกับเส้น
การฝึกภาคปฏิบัติส�ำหรับผู้ก�ำกับเส้น มีความจ�ำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นการสร้าง
ความเชื่อมั่นและความคุ้นเคยให้แก่ผู้ก�ำกับเส้น การฝึกภาคปฏิบัติส�ำหรับผู้ก�ำกับเส้นมีข้อเสนอ
แนะน�ำดังนี้ (ทรงศักดิ์ เจริญพงศ์, 2538 : 49-52)
2.1 ในกรณีทลี่ กู บอลตกอยูใ่ กล้ๆ เส้นข้าง หรือเส้นท้ายสนามให้ผฝู้ กึ สอนตบลูกบอล
อย่างรุนแรงไปยังจุดต่างๆ และให้ผู้ก�ำกับเส้นฝึกให้สัญญาณดังนี้
2.1.1 จุดที่ใกล้เส้นท้ายสนาม และเส้นข้างสนามมากที่สุด
2.1.2 จุดที่ใกล้มุมสนามมากที่สุด
2.1.3 จุดที่ใกล้เส้นข้างสนามมากที่สุด แต่ผู้ก�ำกับเส้นหมายเลข 1 (L1)
และผู้ก�ำกับเส้นหมายเลข 3 (L3) มองเห็นได้ยาก (ดังภาพที่ 35)

R1
c L4
L1
b b
a
a
b b
L3
c R2
L2
ภาพที่ 35 แสดงการฝึกผู้ก�ำกับเส้นในทิศทางต่างๆ
(ทรงศักดิ์ เจริญพงศ์. 2538 : 49)

2.2 เมื่อลูกบอลถูกเสาอากาศ
ผูฝ้ กึ สอนยืนบนโต๊ะและตบลูกบอลไปยังมือของผูส้ กัดกัน้ หรือตรงไปทีเ่ สาอากาศ
และให้ผู้ก�ำกับเส้นฝึกให้สัญญาณดังนี้
2.2.1 ในกรณีที่ลุกบอลถูกเสาอากาศโดยตรง
2.2.2 ในกรณีที่ลุกบอลถูกมือของผู้สกัดกั้น จากนั้นจึงไปกระทบกับเสาอากาศ
เพื่อให้ผู้ก�ำกับเส้นคนที่ 1 (L1) และผู้ก�ำกับเส้นหมายเลข 4 (L4) ฝึกใช้สัญญาณธงอย่างถูกต้อง
(ดังภาพที่ 36)

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 135
R1 1
2
L4
L1

L3
L2 R2
ภาพที่ 36 แสดงการฝึกผู้ก�ำกับเส้น ลักษณะลูกบอลถูกเสาอากาศ
(ทรงศักดิ์ เจริญพงศ์. 2538 : 50)
2.3 เมื่อลูกบอลข้ามตาข่าย โดยลูกบอลทั้งลูกหรือบางส่วนของลูกบอลอยู่นอกแนว
ของเสาอากาศทั้งสอง
ผู้ที่จะตัดสินว่า วิถีทางของลูกบอลถูกหรือผิดกติกา จะต้องเป็นผู้ก�ำกับเส้น
ที่ได้รับการฝึกมาอย่างดีและต้องยืนในต�ำแหน่งที่สามารถมองเห็นวิถีของลูกบอลได้อย่างถูกต้อง
ชัดเจน ซึ่งจะฝึกได้จากการโยนลูกบอลและตบลูกบอลข้ามเหนือเสาอากาศ (ดังภาพที่ 37)

2
R1 1
L1 1 L4

L3

L2 R2
1
ภาพที่ 37 แสดงการฝึกผู้ก�ำกับเส้น ลักษณะแนวการข้ามตาข่ายนอกเสาอากาศ
(ทรงศักดิ์ เจริญพงศ์. 2538 : 51)
136 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
2.4 การตัดสินว่าลูกบอลถูกผู้สกัดกั้นและผู้รับลูกจากการรุก
ผู ้ ฝ ึ ก สอนยื น บนโต๊ ะ ท� ำ การตบหรื อ หยอดลู ก บอลไปยั ง ผู ้ เ ล่ น ที ม ตรงข้ า ม
โดยพยายามให้ถูกมือผู้สกัดกั้นหรือตบอย่างรุนแรงไปยังผู้เล่นที่รอรับลูกตบในแดนหลัง เพื่อให้
ลูกถูกมือของผู้รับในลักษณะต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ เพื่อให้ผู้ก�ำกับเส้นฝึกใช้สัญญาณธง
อย่างถูกต้อง (ดังภาพที่ 38)
R1
L1 L4

L3
L2 R2
ภาพที่ 38 การแสดงการฝึกผู้ก�ำกับเส้น ลักษณะลูกถูกผู้สกัดกั้น
(ทรงศักดิ์ เจริญพงศ์. 2538 : 52)
เทคนิคการเป็นผู้บันทึก (Scorer)
ผูบ้ นั ทึกจะท�ำหน้าทีบ่ นั ทึกผลการแข่งขัน ณ บริเวณโต๊ะบันทึกการแข่งขันทีอ่ ยูด่ า้ นตรงข้ามกับ
ผู้ตัดสินที่ 1 โดยหันหน้าเข้าหาผู้ตัดสินที่ 1 ความรับผิดชอบของผู้บันทึก มีดังนี้ (ทรงศักดิ์ เจริญพงศ์.
2538 : 38-39)
1. ก่อนเริ่มการแข่งขันแต่ละนัด และแต่ละเซตผู้บันทึกต้อง
1.1 บันทึกข้อมูลของการแข่งขันของแต่ละทีมตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน และต้อง
ให้หัวหน้าทีมผู้ฝึกสอนทั้งสองทีมลงสนาม
1.2 บันทึกต�ำแหน่งเริม่ เล่นของแต่ละทีมตามใบส่งต�ำแหน่ง ถ้าไม่ได้รบั ใบส่งต�ำแหน่ง
ตามเวลาที่ควรได้รับ จะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินที่ 2 ทราบทันที ผู้บันทึกจะต้องไม่แสดงใบส่งต�ำแหน่ง
ให้ผู้ใดเห็น ยกเว้นผู้ตัดสินและผู้ควบคุมการแข่งขันเท่านั้น
2. ระหว่างการแข่งขัน
2.1 บันทึกคะแนนที่ได้ของแต่ละทีมและต้องแน่ใจว่าป้ายคะแนนได้แสดงคะแนน
ที่ถูกต้อง
คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 137
2.2 ควบคุมล�ำดับการเสิร์ฟของแต่ละทีม หากมีการผิดล�ำดับการเสิร์ฟเมื่อใด
ต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบทันทีหลังจากผู้เสิร์ฟได้ท�ำการเสิร์ฟแล้ว โดยกดออดให้สัญญาณ
2.3 บันทึกการขอเวลานอก การเปลีย่ นตัวผูเ้ ล่นและควบคุมจ�ำนวนครัง้ ของการเปลีย่ นตัว
ขอเวลานอกและแจ้งให้ผู้ตัดสินที่ 2 ทราบ
2.4 ถ้าการขอหยุดการแข่งขันผิดกติกาต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบทันที
2.5 เมื่อจบการแข่งขันแต่ละเซต และเมื่อคะแนนถึง 8 คะแนน ในเซตที่ 5 ต้องแจ้งให้
ผู้ตัดสินทราบ
2.6 บันทึกการเตือนและการลงโทษทุกชนิด (ยกเว้นการเตือนด้วยวาจา)
3. เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขัน
3.1 บันทึกผลสิ้นสุดการแข่งขัน
3.2 หลังจากลงนามในใบบันทึกแล้วต้องให้หัวหน้าและผู้ตัดสินลงนามตามล�ำดับ
3.3 หากมีการประท้วงขณะแข่งขันและหัวหน้าทีมได้ขอสิทธิ์เพื่อบันทึกเมื่อสิ้นสุด
การแข่งขันต้องเขียนหรืออนุญาตให้หัวหน้าทีมเขียนแจ้งเหตุของการประท้วงลงในใบบันทึก
4. วิธีการบันทึกการแข่งขันวอลเลย์บอล (ทรงศักดิ์ เจริญพงศ์. 2538 : 40-48)
4.1 ก่อนการแข่งขัน
ผู้บันทึกจะต้องส�ำรวจรายละเอียดหรือช่องต่างๆ ในใบบันทึกว่าได้กรอกข้อความ
เรียบร้อยแล้วหรือยัง หากยังไม่เรียบร้อยจะต้องท�ำการกรอกข้อความลงในช่องต่างๆ ดังนี้
ส่วนที่ 1 ส่วนบนของใบบันทึก
1) ชื่อการแข่งขัน (Name of the Competition)
2) เมืองหรือสถานที่แข่งขัน (City)
3) สนามแข่งขัน (Hall) เป็นชื่อของโรงยิมเนเซี่ยมหรือสนามกีฬา
4) คู่ที่แข่งขัน (Match Number)
5) ประเภทของการแข่งขัน (Division) เป็นชายหรือหญิง (ให้ทำ� เครือ่ งหมาย ×
ลงในช่องนั้น)
6) ระดับของการแข่งขัน (Category) ให้ทำ� เครือ่ งหมาย × ลงในช่องสีเ่ หลีย่ มนัน้ ๆ เช่น
ประชาชน (Senior)
เยาวชน (Junior)
ยุวชน (Youth)
7) วันที่แข่งขัน (Date) ให้ระบุวัน เดือน ปี
8) เวลาแข่งขัน (Time) เป็นเวลาตามก�ำหนดการแข่งขันประจ�ำวัน
9) ชื่อทีม (Team) ให้เขียนชื่อทีมตามก�ำหนดการแข่งขันประจ�ำวันและเว้นช่องใน
วงกลม A หรือ B ไว้ก่อน จะใส่เมื่อเสี่ยงเสร็จเรียบร้อย
138 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ส่วนที่ 2 ในช่องสี่เหลี่ยมด้านล่างขวา
1) ให้เขียนชื่อทีมที่ด้านบนซ้ายและขวาเช่นเดียวกับข้อ 9) โดยเว้นช่องว่าง
ในวงกลม A หรือ B ไว้
2) หมายเลขและชือ่ ผูเ้ ล่นของแต่ละทีม (ให้วงกลมรอบหมายเลขของหัวหน้าทีม
ถ้าหัวหน้าทีมใดมีผู้เล่นตัวรับอิสระ (Libero) จะต้องน�ำหมายเลขและชื่อไปใส่ในช่องที่ก�ำหนด
ของตัวรับอิสระ)
3) รายชื่อของเจ้าหน้าที่ทีม
C ผู้ฝึกสอน (Head Coach)
AC / AC 1 2 ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน (Assistant Coach)
T นักกายภาพบ�ำบัดประจ�ำทีม (Team Therapist)
M แพทย์โดยการรับรองของสหพันธ์ (Medical Doctor)
4) ลายเซ็นของหัวหน้าทีม (Captain) (ภายหลังการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว)
5) ลายเซ็นของผู้ฝึกสอน (Coach) (ภายหลังการตรวจสอบรายชื่อเรียบร้อยแล้ว)
Aor TEAMS Aor
B B
N Name of the player N Name of the player

LIBERO PLAYER (“L”)

OFFICIALS
C
AC1
AC2
T
M
SIGNATURES
Team Captain Team Captain

Coach Coach

ภาพที่ 39 แสดงตัวอย่างการกรอกรายละเอียดรายชื่อนักกีฬา

ส่วนที่ 3 ในส่วนด้านล่างของช่อง “Approval” ให้เขียนชือ่ และประเทศของผูต้ ดั สิน


และเจ้าหน้าที่ต่างๆ
1) ผู้ตัดสินที่ 1
2) ผู้ตัดสินที่ 2
3) ผู้บันทึก
4) ผู้ช่วยผู้บันทึก
คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 139
5) ผู้ก�ำกับเส้น (เขียนเฉพาะชื่อเท่านั้น) (ดังภาพที่ 40)
APPROVAL
Referees Name Country Signature
1 st CHAREONPONG Songsak THA
2 nd WANG Ning CHN
Scorer ONOZAWA Katsuhiro JPN
Assistant TOMORI Shigeo
Scorer JPN
KIMURA Ichiro 1 Line 2 MAKIGUCHI Yuji
TANAKA Masaru 2 Judges 4 IIZUKA Masafumi
A Team B
Captains

ภาพที่ 40 แสดงตัวอย่างการกรอกรายละเอียดรายชื่อผู้ตัดสิน และเจ้าหน้าที่เทคนิค



4.2 หลังจากการเสี่ยง การเสี่ยงจะต้องเริ่มเสี่ยงก่อนการแข่งขัน โดยผู้บันทึก
จะต้องขอรายละเอียดต่างๆ
4.2.1 จากผู้ตัดสินที่ 1
4.2.1.1 แดนที่แต่ละทีมจะลงเริ่มเล่น
4.2.1.2 ทีมที่ได้เสิร์ฟก่อน
4.2.2 จากผู้ตัดสินที่ 2
ใบส่งต�ำแหน่งซึ่งได้เขียนหมายเลขผู้เล่นที่จะลงในต�ำแหน่งเริ่มเล่น
พร้อมลายเซนต์ของผู้ฝึกสอนเรียบร้อยแล้ว ถ้าทีมนั้นมีผู้เล่นตัวรับอิสระ จะต้องเขียนหมายเลข
ไว้ในช่องที่ก�ำหนดด้วย (ดังภาพที่ 41)
SET 1
LINE-UP SHEET
R-5 Fiche de position
TEAM
Equipe

IV III II

V VI I
SERVICE
COACH SIGNATURE

ภาพที่ 41 แสดงตัวอย่างใบส่งต�ำแหน่ง
4.2.3 รายละเอียดต่างๆ ผู้บันทึกจะต้องด�ำเนินการดังต่อไปนี้
4.2.3.1 ในส่วนบนด้านซ้ายของเซตที่ 1 จะต้องบันทึกชื่อทีม A และ B
ที่อยู่ในช่องตามที่แต่ละทีมจะเริ่มเล่นในเซตที่ 1 ว่าอยู่แดนใด (ทีม A เป็นทีมที่อยู่ทางด้านซ้าย

140 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ของผู้บันทึกและทีม B เป็นทีมที่อยู่ห่างด้านขวาของผู้บันทึก) และให้ท�ำเครื่องหมาย × ทับตัว S
ที่อยู่ในวงกลมส�ำหรับทีมที่ได้เสิร์ฟครั้งแรกและท�ำเครื่องหมาย × ทับตัว R ที่อยู่ในวงกลมส�ำหรับ
ทีมที่เป็นฝ่ายรับครั้งแรก
จากนั้นให้เขียนชื่อทีมในวงกลมที่ว่างในส่วนบนตามข้อ 9 (เพียงตัว A
หรือ B และในท�ำนองเดียวกัน ให้เติมชื่อทีมเช่นเดียวกัน (A หรือ B) ลงในวงกลมส่วนล่างขวา
4.2.3.2 ในช่ อ งสี่ เ หลี่ ย มด้ า นขวา ช่ อ งเซตที่ 2 ให้ เขี ย นชื่ อ ที ม A
ไว้ทางด้านขวา และชื่อทีม B ไว้ทางด้านซ้าย จากนั้นให้ท�ำเครื่องหมาย × ทับตัว S หรือตัว R
ที่อยู่ในวงกลมของแต่ละทีม เพื่อชี้ให้เห็นว่าในเซตนี้ทีมที่เสิร์ฟเป็นที่เป็นฝ่ายรับครั้งแรกในเซต
ที่ผ่านมา และให้สลับกันไป
4.2.3.3 ช่องสีเ่ หลีย่ มด้านใต้ของเซตที่ 1 คือ ช่องสีเ่ หลีย่ มของเซตที่ 3
ในช่องนีใ้ ห้เขียนชือ่ ทีม และท�ำเครือ่ งหมายต่างๆ ทับตัว S และ R ทีอ่ ยูใ่ นวงกลมเช่นเดียวกับเซตที่ 1
4.2.3.4 ถ้ามีความจ�ำเป็นต้องบันทึกเซตที่ 4 ทางด้านขวามือซึ่งอยู่
ด้านใต้เซตที่ 2 เป็นช่องสี่เหลี่ยมของเซตที่ 4 ให้เขียนชื่อทีมและท�ำเครื่องหมายต่างๆ ทับตัว S
และ R ที่อยู่ในวงกลมเช่นเดียวกันกับเซตที่ 2
4.2.4 ใบส่งต�ำแหน่งที่ผู้บันทึกรับจากผู้ตัดสินที่ 2 ผู้บันทึกจะต้องด�ำเนินการ
กรอกรายละเอียดก่อนเริ่มต้นแต่ละเซตโดย
4.2.4.1 บันทึกหมายเลขผู้เล่นในช่องใต้เลขโรมัน ตั้งแต่ 1-6 ในแถว
ผู้เริ่มเล่นทั้งสองด้านของแต่ละทีม
4.2.4.2 ตัวอย่าง
ส�ำหรับทีม A
ใต้เลข I ใส่หมายเลข 8
ใต้เลข II ใส่หมายเลข 4
ใต้เลข III ใส่หมายเลข 5 เป็นต้น
(ดังภาพที่ 42)
Fig. 4 START 16 : 02 TEAM
B XRS
U,S,A POINTS
S
B J , P , N TEAM END : POINTS
Service order S time
I II III IV V VI 1
2
13
14
25
26
37
38
XR time
I II III IV V VI 1
2
13
14
25
26
37
38

E 3 15 27 39 3 15 27 39
Time line-up

Starting players 8 4 5 2 1 13 4
5
16
17
28
29
40
41
3 1 6 4 2 8 4
5
16
17
28
29
40
41
N’ of playres 6 18 30 42 6 18 30 42
Substitutes
Score T :
:
:
:
:
:
:
:
:
:
:
:
7
8
9
10
19
20
21
22
31
32
33
34
43
44
45
46
:
:
:
:
:
:
:
:
:
:
:
:
7
8
9
10
19
20
21
22
31
32
33
34
43
44
45
46

Service
1st
2nd
5th
6th
4 7 11
12
23
24
35
36
T
47
48 X 2 11
12
23
24
35
36
T
47
48

rounds 3rd
4th
7th
8th
1 :
:
:
:

ภาพที่ 42 แสดงตัวอย่างวิธีการบันทึกในเซตที่ 1

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 141
4.3 ในระหว่างการแข่งขัน ผู้บันทึกจะต้องท�ำดังต่อไปนี้
4.3.1 ที่ด้านบนสี่เหลี่ยมของเซตที่ 1 ในช่อง “Start” ให้ใส่เวลาการเริ่มเสิร์ฟ
ครั้งแรกในเซตนั้น เช่น 16.00 น. (เวลาที่เริ่มเสิร์ฟที่แท้จริงให้ลงเป็นนาฬิกาและนาที)
4.3.2 ตรวจสอบล�ำดับการเสิร์ฟ ตามล�ำดับผู้เล่นที่ได้บันทึกไว้ในช่องใต้เลขโรมัน
4.3.3 บันทึกการเสิร์ฟของผู้เล่นแต่ละคน และควบคุมการเสิร์ฟแต่ละครั้ง
ตามล�ำดับในช่อง 1-8 ซึ่งจะมีอยู่ 4 บรรทัด เรียกว่า “รอบของการเสิร์ฟ” (Service Rounds)
ที่อยู่ทางด้านซ้ายของแต่ละเซต ผู้บันทึกจะต้องท�ำสิ่งต่างๆ ดังนี้
4.3.3.1 ท�ำเครือ่ งหมายแสดงการเสิรฟ์ ครัง้ แรก โดยการท�ำเครือ่ งหมาย (√)
ในช่องทีม่ เี ลข 1 ในส่วนทีเ่ ป็นผูเ้ สิรฟ์ ในขณะทีท่ มี นัน้ เสียสิทธิก์ ารเสิรฟ์ ให้บนั ทึกคะแนนโดยใส่จำ� นวน
คะแนนทั้งหมดในเซตนั้นของฝ่ายเสิร์ฟลงในช่องของผู้เสิร์ฟคนนั้น
4.3.3.2 จากนั้นผู้บันทึกข้ามมายังทีม B ในช่องสี่เหลี่ยมของเซตที่ 1
ที่ได้ท�ำเครื่องหมาย × ลงในช่องรอบของการเสิร์ฟรอบที่ 1 ไว้ ทีมนั้นจะต้องหมุนต�ำแหน่งไป
1 ต�ำแหน่ง และผูเ้ ล่นซึง่ มีหมายเลขทีไ่ ด้บนั ทึกไว้ในช่องล�ำดับการเสิรฟ์ ที่ 2 จะเป็นผูเ้ สิรฟ์ โดยจะท�ำ
เครื่องหมาย √ ที่หมายเลขรอบของการเสิร์ฟที่ 1 ให้ผู้เสิร์ฟล�ำดับต่อไป
4.3.3.3 ทางด้านขวาของส่วนคะแนนของแต่ละทีมจะมีช่องคะแนน
(Points) ที่มีจ�ำนวน 1 ถึง 48 อยู่ ส่วนนี้เป็นส่วนที่ใช้ส�ำหรับบันทึกคะแนนจากบนสุดถึงล่างสุด
ของทีมนั้นๆ โดยการขีดคร่อมตัวเลขของคะแนนนั้นๆ (/) ในขณะที่ทีมเสียสิทธิ์การเสิร์ฟให้บันทึก
จ�ำนวนคะแนนสุดท้ายลงในช่องที่ได้ขีดคร่อมหมายเลขรอบการเสิร์ฟของผู้เล่นคนนั้น
4.4 ตัวอย่างการบันทึกคะแนนและการควบคุมการเสิร์ฟในแต่ละเซต
4.4.1 ทีม A ได้สิทธิ์การเสิร์ฟครั้งแรก หมายเลข 8 ซึ่งได้ถูกบันทึกอยู่ใน
ต�ำแหน่งที่ 1 เป็นคนเสิร์ฟครั้งแรก ทีม A ชนะในการเล่นลูกครั้งนั้นและได้คะแนน ผู้บันทึก
จะต้องขีดคร่อมเลข 1 ในช่องคะแนนของทีม A การเล่นในลูกต่อไป ทีม A ก็สามารถชนะได้อีก
ผู้บันทึกจะขีดคร่อมเลข 2 ของช่องคะแนนนั้นและท�ำต่อๆ ไปเช่นนี้
หลังจากสามารถท�ำคะแนนไปได้ 4 คะแนน ฝ่ายเสิรฟ์ เสีย ผูบ้ นั ทึกจะต้อง
บันทึกเลขเลข 4 ในช่องที่ 1 ของผู้เล่นหมายเลข 8 ช่องทีม A ซึ่งท�ำให้ทราบว่าทีม A ได้ 4 คะแนน
เมื่อผู้เล่นหมายเลข 8 เป็นผู้เสิร์ฟ
4.4.2 จากนั้นให้มาดูทางส่วนของทีม B หลังจากชนะการเล่นลูกจะได้สิทธิ์
ท�ำการเสิร์ฟ และทีม B จะได้ 1 คะแนน ให้ท�ำเครื่องหมายคร่อมคะแนนที่ 1 ของทีม B ต่อไป
ให้ข้ามช่องที่ได้เขียนเครื่องหมาย × ในช่องที่ 1 จากนั้นทีม B จะต้องหมุน 1 ต�ำแหน่ง เพื่อท�ำการ
เสิร์ฟคนแรกของทีม ให้เขียนเครื่องหมาย √ คร่อมเลข 1 ในช่องที่ 2 ซึ่งแสดงว่าผู้เล่นหมายเลข 1
ของทีม B จะเป็นคนเสิรฟ์ คนแรก ทีม B ชนะการเล่นลูก และได้ 1 คะแนน ให้เขียนเครือ่ งหมายคร่อม
คะแนนที่ 2 ของทีม B
142 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
จากนั้นทีม B เสียการเล่นลูก จะต้องเสียสิทธิ์การเสิร์ฟให้ผู้บันทึก
เขียนเลข 2 ในช่องของผู้เล่นหมายเลข 1 ของทีม B ซึ่งได้เสิร์ฟไปแล้ว แสดงให้เห็นว่าทีม B
ได้ 2 คะแนน เมื่อหมายเลข 1 หมดสิทธิ์การเสิร์ฟ
4.3.3 จากนั้นผู้บันทึกกลับมาทางด้านทีม A และขีดคร่อมคะแนนที่ 5 ในช่อง
คะแนน จากนัน้ ก็ขดี เครือ่ งหมาย √ คร่อมเลข 1 ในช่องที่ 2 เพือ่ แสดงว่าผูเ้ ล่นหมายเลข 4 ที่บันทึก
อยู่ในช่องนี้จะเป็นผู้เสิร์ฟ หมายเลข 4 ท�ำได้ 2 คะแนนก่อนที่จะเสิร์ฟเสีย ผู้บันทึกจะต้องเขียนเลข 7
ในช่องที่ 1 ที่ตรงกับหมายเลข 4 ของทีม A ฯลฯ
4.4.4 ผู้บันทึกจะต้องท�ำในลักษณะเช่นนี้ต่อไปจนจบเซต ที่คะแนน 25 : 22
ของทีม A โดยจะต้องบันทึกเวลาที่จบเซตในช่อง End Time
4.4.5 ถ้ามีคะแนนเท่ากันที่ 24 : 24 จะต้องเล่นต่อไปจนกว่าที่จะมีฝ่ายใด
มีคะแนนน�ำอยู่ 2 คะแนน เช่น 26 : 24, 27 : 25, …, 29 : 27 ฯลฯ
4.4.6 คะแนนที่ไม่ได้มีการขีดคร่อมของแต่ละทีมให้ฆ่าทิ้งและคะแนนสุดท้าย
ของแต่ละทีมที่ท�ำได้ ให้วงรอบคะแนนนั้นในช่องล�ำดับการเสิร์ฟที่หมายเลขใดเป็นคนเสิร์ฟ
คนสุดท้าย ถ้าฝ่ายรับเป็นฝ่ายชนะในเซตนั้น คะแนนสุดท้ายในช่องล�ำดับการเสิร์ฟของฝ่ายรับ
ที่จะได้เสิร์ฟคนต่อไปให้ท�ำเครื่องหมายวงกลมรอบคะแนนสุดท้ายนั้น โดยไม่ต้องมีเครื่องหมาย √
(ดังภาพที่ 43)
Fig. 4 START 16 : 02 TEAM
B XRS
U,S,A POINTS
S
B J , P , N TEAM END 16 : 24 POINTS
Service order S time
I II III IV V VI 1
2
13
14
25
26
37
38
XR time
I II III IV V VI 1
2
13
14
25
26
37
38

E 3 15 27 39 3 15 27 39
Time line-up

Starting players 8 4 5 2 1 13 4
5
16
17
28
29
40
41
3 1 6 4 2 8 4
5
16
17
28
29
40
41
N’ of playres 7 12 6 18 30 42 7 5 10 6 18 30 42
Substitutes
Score T : 09:04 :
: 10:07 :
10:07 :
12:06 :
:
:
7
8
9
10
19
20
21
22
31
32
33
34
43
44
45
46
19:21 :
: :
3:7
7:9
: : 21:23
: : :
7
8
9
10
19
20
21
22
31
32
33
34
43
44
45
46

Service
1st
2nd
5th
6th
4 7 9
16 17 19
12 14 15
21 24 25
11
12
T
23
24
35
36
47
48 X14 16
2 3
18
7 9 11
19 21 23
11
12
23
24
T
35
36
47
48

rounds 3rd
4th
7th
8th
1 15 : 14
:
15 : 14
21: 23

ภาพที่ 43 แสดงตัวอย่างวิธีการบันทึกในเซตที่ 1 (ต่อ)

4.5 ในกรณีเซตตัดสิน (เซตที่ 5)


4.5.1 หลังจากท�ำการเสีย่ ง ผูบ้ นั ทึกจะเขียน A หรือ B ในช่องว่างภายในวงกลม
ของแต่ละทีม โดยให้ทีมที่บันทึกลงในด้านซ้ายเป็นทีมที่เล่นอยู่ทางด้านซ้ายของผู้บันทึก
4.5.2 ผู้บันทึกจะท�ำตาขบวนการเช่นเดียวกับเซตที่ 1 โดยใช้ส่วนแรกของ
สองส่วนในเซตที่ 5

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 143
4.5.3 การเปลี่ยนแดนจะท�ำเมื่อภายหลังจากทีมใดทีมหนึ่งได้คะแนนที่ 8
ต�ำแหน่งของทีมที่อยู่ทางซ้าย จะน�ำไปไว้ทางด้านขวาสุดทั้งหมด
4.5.4 การเปลี่ ย นแดนหลั ง จากคะแนนที่ 8 ผู ้ บั น ทึ ก จะด� ำ เนิ น การต่ อ ไป
ในส่วนที่ 3 ทางด้านขวาสุด และให้บันทึกล�ำดับการเสิร์ฟและคะแนนของทีม ซึ่งได้เริ่มบันทึกไว้
ในส่วนที่ 1 ทางด้านซ้ายแล้ว คะแนนรวมของทีมนี้เมื่อมีการเปลี่ยนแดน ให้น�ำไปบันทึกไว้
ในวงกลมช่อง “Points at Change” ซึ่งอยู่ทางด้านบนขวาของส่วนที่ 3 คะแนนที่ได้ก่อน
การเปลี่ยนแดนให้ปล่อยวางไว้
4.5.5 ในขณะที มี ก ารเปลี่ ย นเสิ ร ์ ฟ ที ม ซึ่ ง ได้ สิ ท ธิ์ ก ารเสิ ร ์ ฟ ท� ำ คะแนนได้
ผู้บันทึกจะขีดคร่อมคะแนนไปในช่องคะแนนและท�ำเครื่องหมายในช่องเล็กๆ ในช่องด้วย
4.5.6 ถ้ามีคะแนนเท่ากัน 14 : 14 จะต้องเล่นต่อไปจนมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ที่มีคะแนนน�ำอยู่ 2 คะแนน เช่น 16 : 14, 17 : 15, …, 20 : 18 ฯลฯ (ดังภาพที่ 44)

START 16 : 45 TEAM J , P , N
time BX POINTS A U , S , A TEAM END P TEAM B
time 17 : 05 POINTS POINTS AT CHANGE 17 : 05 POINTS
S I II III IV V VIR 1
I II III IV V VI h
a I II
1
2
11
12 III IV V VI 1
2
11
12
11
12
E 3 1 6 4 2 8 2
3 8 4 5 2 1 13 n 8 4
g
3
4
13
14 5 2 1 13
3
4
13
14
13
14

T : : : : : :
4 5 15 5 15 15
5 6 16 6 16 16
6 : : : : : : e : : 7
8
17
18 : : : : 7
8
17
18
17
18
7
: : : : : : 8 : : : : : : s : :
9
10
19
20 : : : : 9
10
19
20
19
20

5 3 5 6 T 3 7 9 10 13 T i 8 12 13 T
: 14 16 12 : 11 d 14 8 : 12
: 12 : 12 e 13 : 14

ภาพที่ 44 แสดงตัวอย่างการบันทึกเซตที่ 5

4.6 การเปลี่ยนตัว (Substitution)


การบันทึกการเปลี่ยนตัวผู้เล่นซึ่งเป็นผู้เริ่มในเซตนั้น มีวิธีการดังนี้
4.6.1 ใส่หมายเลขของผู้เล่นที่ขอเปลี่ยนตัวเข้าไว้ในช่องใต้หมายเลขผู้เล่น
ที่ออกจากสนาม
4.6.2 ในส่ ว นเดี ย วกั น ในช่ อ งบนของ “Score at Change” (คะแนน
เมื่ อ เปลี่ ย นตั ว ) ให้ บั น ทึ ก คะแนนของทั้ ง สองที ม ในขณะที่ ข อเปลี่ ย นตั ว (ให้ ค ะแนนของที ม
ที่ขอเปลี่ยนตัวอยู่ทางด้านซ้ายและอีกทีมหนึ่งอยู่ทางด้านขวา) ซึ่งผู้เล่นที่ถูกเปลี่ยนตัวนั้นสามารถ
เปลี่ยนกลับมาแทนได้อีก
4.6.3 ผู้บันทึกจะต้องแน่ใจว่า หมายเลขของผู้เล่นที่ขอเปลี่ยนตัวเข้าแทน
ผู้เล่นส�ำรองนั้น ตรงกับที่บันทึกไว้เหนือหมายเลขผู้เล่นที่ขอเปลี่ยนตัวออกและหมายเลขผู้เล่นนี้
ให้วงกลมล้อมรอบเพื่อแสดงว่าเขาไม่สามารถที่จะขอเปลี่ยนตัวเข้าได้ตามปกติอีกแล้วในเซตนั้น

144 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
4.6.4 ให้บันทึกคะแนนในขณะนั้นทันทีที่ช่องล่างของช่องคะแนน เมื่อเปลี่ยนตัว
(Substitutes Scores)
4.6.5 ตัวอย่าง ผู้เล่นหมายเลข 5 ของทีม B เปลี่ยนเข้าแทนหมายเลข 6
ในขณะที่คะแนน 3 : 7 และหมายเลข 6 เปลี่ยนกลับเข้าในต�ำแหน่งเดิมอีกเมื่อคะแนน 7 : 9
เลขตัวแรกของคะแนนหมายถึงคะแนนของทีมที่ขอเปลี่ยนตัวขณะนั้น
4.6.6 การเปลีย่ นตัวกรณีพเิ ศษส�ำหรับการบาดเจ็บ หรือการแต่งตัง้ ตัวรับอิสระใหม่
เข้าแทนผู้เล่นตัวรับอิสระที่บาดเจ็บ จะต้องบันทึกในช่องหมายเหตุ (Remarks) โดยผูบ้ นั ทึกจะต้อง
บันทึกเกีย่ วกับเซต ชือ่ ทีม หมายเลขและชือ่ ผูเ้ ล่นทีบ่ าดเจ็บและตัวรับอิสระตัวใหม่ หรือผู้เล่นคนใหม่
และคะแนนขณะที่เปลี่ยน
4.7 การขอเวลานอก (Time-Outs)
ใต้ช่องคะแนนของแต่ละทีม จะมีช่องเล็ก 2 ช่อง ที่ด้านบนมีตัว T
4.7.1 ในขณะทีท่ มี นัน้ ขอเวลานอก ผูบ้ นั ทึกจะต้องบันทึกคะแนนของทัง้ สองทีม
ในขณะนั้นลงในช่องบน
4.7.2 ถ้าทีมเดิมขอเวลานอกอีก (ครั้งที่ 2) ผู้บันทึกจะต้องบันทึกคะแนนของ
ทั้งสองทีมในขณะนั้นลงในช่องล่าง คะแนนตัวแรกเป็นคะแนนของทีมที่ขอเวลานอกขณะนั้น
4.7.3 ตัวอย่างเช่น ทีม B ขอเวลานอกครัง้ ที่ 1 เมือ่ คะแนน 7 : 12 และครัง้ ที่ 2
เมื่อคะแนน 21 : 23
4.8 การบันทึกการลงโทษ (Recording of Sanctions)
4.8.1 การผิดมารยาท (For Misconduct)
4.8.1.1 การลงโทษทุกชนิดจะต้องบันทึกลงในช่องด้านล่างซ้ายของ
ใบบันทึก โดยการเขียนหมายเลขผู้เล่นที่ถูกลงโทษหรือต�ำแหน่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตามที่อยู่
ทางด้านล่างขวาต่อการลงโทษรายบุคคลในช่องที่เหมาะสม “P” ส�ำหรับการลงโทษ “E” ส�ำหรับ
การให้ออกจากการแข่งขัน และ “D” ส�ำหรับการตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน และใส่อักษร A หรือ B
ในช่องเพื่อแสดงว่าเป็นทีมใดและเซตที่เท่าไรและคะแนนในขณะที่ถูกลงโทษ
4.8.1.2 คะแนนที่ ไ ด้ จ ากการลงโทษในการท� ำ ผิ ด ของฝ่ า ยตรงข้ า ม
จะต้องวงกลมรอบคะแนนนั้นในช่องคะแนน
4.8.2 การลงโทษถ่วงเวลา (Delay Sanctions)
4.8.2.1 การลงโทษถ่ ว งเวลาจะต้ อ งบั น ทึ ก ลงในช่ อ งด้ า นล่ า งซ้ า ย
ของใบบันทึกโดยการเขียนอักษร “D” ลงในช่อง “W” ส�ำหรับการเตือน และ “P” ส�ำหรับ
การลงโทษและใส่ตัวอักษร A หรือ B ในช่องเพื่อแสดงว่าเป็นทีมใด เซตที่เท่าไร คะแนนในขณะที่
ถูกลงโทษ

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 145
4.8.2.2 การลงโทษถ่วงเวลาที่มีต่อการเสียสิทธิ์การเล่นลูก ผู้บันทึก
จะต้องบันทึกตามกระบวนการ โดยการวงกลมคะแนนที่ได้ในช่องคะแนนหลังจากที่ได้ใส่ลงในช่อง
การลงโทษดังกล่าวข้างบนแล้ว (ดังภาพที่ 45)
IMPROPER REQUEST
SANCTIONS TEAM A : TEAM B

W P E D
(Warning) (Penalty) (Exposed) (Duration)
A
B SET SCORE
D A 1 17 : 15
D A 1 24 : 21
A 3 2:2
5 B 3 15 : 6
D B 3 15 : 7
AC B 3 15 : 7
13 A 3 22 : 20
ภาพที่ 45 แสดงตัวอย่างวิธีการบันทึกการลงโทษ

5. ภายหลังการแข่งขัน (After the match)


ภายหลังการแข่งขันแต่ละเซตและเมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขัน ผู้บันทึกจะต้องบันทึก
ในช่องผล (Results) ดังนี้
5.1 ชื่อทีม A ในด้านซ้าย และชื่อทีม B ในด้านขวาของช่องสี่เหลี่ยม
5.2 ในช่องเวลาระหว่างเซต (Set Duration) ให้ใส่จ�ำนวนเวลาที่เล่นในแต่ละเซต
และในช่อง Total set duration ให้ใส่เวลาเป็นนาทีจากจ�ำนวนเวลาที่เล่นในแต่ละเซต
5.2.1 ช่วงเวลาของแต่ละเซต การแข่งขันแต่ละเซตเริ่มเมื่อสัญญาณนกหวีด
ของผู้ตัดสินที่อนุญาตให้เสิร์ฟลูกแรกของเซตและสิ้นสุดเมื่อสัญญาณนกหวีดที่เป็นคะแนนสุดท้าย
ของเซตนั้น
5.2.2 ช่วงเวลาการแข่งขัน การแข่งขันเริ่มเมื่อสัญญาณนกหวีดของผู้ตัดสิน
ที่อนุญาตให้เสิร์ฟลูกแรกของเซตที่ 1 และสิ้นสุดเมื่อสัญญาณนกหวีดที่เป็นคะแนนสุดท้าย
ของเซตสุดท้าย
5.3 ในช่องคะแนน (Points) ของแต่ละทีม ผูบ้ นั ทึกจะต้องบันทึกลงในช่องแต่ละเซต
ตามคะแนนที่ท�ำได้ของแต่ละทีม และในช่องสุดท้ายเป็นช่องรวมคะแนนของทุกเซตของแต่ละทีม
5.4 ในช่องที่มีตัว W ให้บันทึกตัว W ในแต่ละช่องของแต่ละเซตของทีมที่ชนะ
ในเซตนั้น จากนั้นให้บันทึกผลรวมเซตที่ชนะของแต่ละทีมในช่อง “Total”

146 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
5.5 ในช่องที่มีตัว S (การเปลี่ยนตัว) ให้บันทึกจ�ำนวนการขอเปลี่ยนตัวของแต่ละทีม
ในแต่ละเซตและให้บันทึกผลรวมของการขอเปลี่ยนตัวของแต่ละทีมตลอดเวลาการเล่นในแถว
“Total”
5.6 ในช่องทีม่ ตี วั T (ขอเวลานอก) ให้บนั ทึกการขอเวลานอกของแต่ละทีมในแต่ละเซต
และบันทึกผลรวมของการขอเวลานอกของแต่ละทีมในทุกเซตที่เล่นในแถว “Total”
5.7 ให้บันทึกเวลาเริ่มและเวลาสิ้นสุดการแข่งขันในช่องด้านล่างและให้ระบุเวลา
ที่ใช้ตลอดการแข่งขันในช่องขวามือ
5.8 ในบรรทัดสุดท้าย จะต้องบันทึกชือ่ ทีมทีช่ นะและทางด้านขวามือให้เขียนจ�ำนวน
ของเซตที่เสีย
หมายเหตุ ในช่องแต่ละช่อง ถ้าไม่มจี ำ� นวนให้เว้นว่างไว้เฉยๆ ส่วนในแถวรวม (Total)
ถ้าไม่มีจ�ำนวนให้ใส่ 0 (ดังภาพที่ 46)

RESULTS
TEAM U , S, A A B J , P , N TEAM
“T” S W Point
P SET Overal P W S “T”
Point
1 4 W 25 1 ( 22 ) 22 4 2
1 3 23 2 ( 28 ) 25 W 6 2
1 5 W 33 3 ( 37 ) 31 5 2
1 1 W 25 4 ( 18 ) 15 4 1
5 ( )
4 13 3 106 (Total105 mn ) 93 1 19 7
Set Duration

Match Scoring Time Total Match Duration


Match Ending Time
16h 02 mn 17h 56 mn 1h 54 mn
WINNER U , S, A 3:1

ภาพที่ 46 แสดงตัวอย่างการบันทึกสรุปผลการแข่งขัน

5.9 การขออนุญาตบันทึก (การขออนุญาตบันทึกค�ำทักท้วงโดยหัวหน้าทีมจะอนุญาต


จากผู้ตัดสินที่ 1) การทักท้วงในระหว่างเวลาเล่น หัวหน้าทีม (Team Captain) จะบันทึกลงใน
ช่องหมายเหตุ
5.10 ในตอนสุดท้าย ในช่องเกีย่ วกับการลงนามในช่อง “Approval” จะต้องลงนาม
ตามล�ำดับดังนี้

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 147
5.10.1 ผู้ช่วยผู้บันทึกและผู้บันทึก
5.10.2 หัวหน้าทีมทั้งสองทีม
5.10.3 ผู้ตัดสินที่ 2
5.10.4 ผู้ตัดสินที่ 1

เทคนิคการเป็นผู้ช่วยผู้บันทึก (Assistant Scorer)


ผู้ช่วยผู้บันทึกจะท�ำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้บันทึก เพื่อให้การด�ำเนินงานการบันทึกผล
การแข่งขันเป็นไปอย่างเรียบร้อย โดยจะนั่งอยู่คู่กับผู้บันทึก มีความรับผิดชอบดังนี้
1. ก่อนเริ่มการแข่งขัน
1.1 จัดเตรียมใบบันทึกส�ำรองซึ่งมีข้อมูลต่างๆ เหนือกับใบบันทึกจริง
1.2 ส�ำรวจอุปกรณ์ตา่ งๆ ทีจ่ ำ� เป็น เช่น ป้ายพลิกคะแนน นาฬิกาจับเวลา ใบตรวจสอบ
การเปลี่ยนตัวของผู้เล่นตัวรับอิสระ
2. ระหว่างการแข่งขัน
2.1 ด�ำเนินการพลิกป้ายคะแนนให้สอดคล้องกับใบบันทึกจริง
2.2 ตรวจสอบการเปลี่ยนตัวของผู้เล่นตัวรับอิสระ หากมีการผิดพลาดให้กดออด
สัญญาณแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบ
2.3 จับเวลานอกทางเทคนิค 60 วินาที และกดออดให้สัญญาณ เมื่อหมดเวลา
60 วินาทีเต็ม
2.4 จับเวลาช่วงพักระหว่างเซต 3 นาที โดยกดออดให้สัญญาณเมื่อเวลา 2.30 นาที
3. เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขัน
ลงนามในใบบันทึก
วิธีการบันทึกเปลี่ยนตัวผู้เล่นตัวรับอิสระ
ในใบบันทึกการเปลี่ยนตัวผู้เล่นตัวรับอิสระจะมีช่องบันทึกรวมอยู่ 5 เซต โดย
3.1 เซตที่ 1 ด้านซ้ายมือเป็นทีม A ให้ใส่ชอื่ ทีมลงในช่อง และด้านขวามือ เป็นทีม B
ให้ใส่ชื่อทีมลงในช่อง
3.2 ในช่อง Libero No. ให้ใส่หมายเลขของตัวรับอิสระของทีม A และทีม B
3.3 ถ้าทีมใดมีการเปลีย่ นแปลงตัวรับอิสระเข้า จะต้องเขียนหมายเลขผูเ้ ล่นทีเ่ ปลีย่ นออก
ในช่อง P.No. และใส่คะแนนขณะที่เปลี่ยนตัวออก
3.4 เมือ่ ตัวรับอิสระจะเปลีย่ นออก ต้องเปลีย่ นกับผูเ้ ล่นทีเ่ ป็นคูเ่ ท่านัน้ และใส่คะแนนที่
เปลี่ยนตัวออกในช่องล่าง
3.5 ท�ำเช่นนี้ต่อๆ ไปจนจบเซตทุกๆ เซต

148 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ภาพที่ 47 แสดงตัวอย่างใบบันทึกการเปลี่ยนตัวผู้เล่นตัวรับอิสระ
เทคนิคการเป็นผู้ประกาศ (Announcer)
ผูป้ ระกาศเป็นเจ้าหน้าทีเ่ ทคนิคทีท่ ำ� หน้าทีส่ อื่ สารและประชาสัมพันธ์รายละเอียด หรือให้
ข้อมูลต่างๆ ให้ทีมและผู้ชมได้รับทราบ
1. หน้าที่ของผู้ประกาศ
1.1 ประกาศประชาสัมพันธ์คู่แข่งขันประจ�ำวันและวันอื่นๆ ที่จ�ำเป็น
1.2 ประกาศในช่วงพิธีการก่อนการแข่งขันให้เป็นไปตามขั้นตอนของพิธีการแข่งขัน
1.3 ประกาศในช่วงการแข่งขันเป็นการประกาศเรือ่ งการเปลีย่ นตัว การขอเวลานอก
เวลานอกทางเทคนิค การเตือนหรือลงโทษและผลการแข่งขันในเซตนั้นๆ
1.4 ประกาศในช่วงสิ้นสุดการแข่งขัน
2. วิธีการประกาศในช่วงพิธีการก่อนการแข่งขันและขณะแข่งขัน
2.1 ก่อนเวลา 17 นาที ประกาศประชาสัมพันธ์และเชิญชวน
2.2 ก่อนเวลา 4 นาที เมื่อหมดเวลาอบอุ่นร่างกายของทั้งสองทีมแล้ว ผู้ตัดสินที่ 1
และ 2 จะน�ำนักกีฬาทั้งสองทีมเดินเข้าสนาม เข้าแถวเป็นแถวหน้ากระดานแถวเดียว เมื่อนักกีฬา
และผู้ตัดสินเริ่มเดินลงสนาม ผู้ประกาศเริ่มประกาศดังนี้

“ต่อไปจะเป็นการแข่งขันวอลเลย์บอล.............(ชื่อการแข่งขัน).................
ประเภททีม......................(หญิงหรือชาย).......................คู่ที่...................
ระหว่างทีม............................................กับ...........................................”
ถ้าเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติในช่วงนี้ต้องประกาศให้ผู้ชมยืนเคารพธงชาติ
ของทั้ง 2 ทีมด้วย
คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 149
2.3 ก่อนเวลา 2 นาที ช่วงแนะน�ำผู้ตัดสิน
เมือ่ จบช่วงการบรรเลงของแตรฟันฟาร์หรือดนตรี (5 วินาที)
ให้ประกาศดังนี้

“รายนามคณะกรรมการผู้ตัดสิน
ผู้ตัดสินที่ 1 ...................................................................
ผู้ตัดสินที่ 1 ...................................................................”

ถ้าเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติต้องประกาศว่าจากประเทศใดด้วย
2.4 ก่อนเวลา 1 นาที ช่วงแนะน�ำนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ เมื่อจบช่วงการบรรเลงของ
แตรฟันฟาร์หรือดนตรี (5 วินาที) ให้ประกาศทีมที่ได้เสิร์ฟก่อนดังนี้

“รายนามนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทีม.................................................................
หมายเลข..........................................................................................
หมายเลข..........................................................................................
หมายเลข..........................................................................................
หมายเลข..........................................................................................
หมายเลข..........................................................................................
หมายเลข..........................................................................................
ผู้เล่นตัวรับอิสระ หมายเลข............................................................................
หมายเลข..........................................................................................”

หมายเหตุ : การประกาศนี้จะประกาศเฉพาะผู้เล่น 6 คนแรก ผู้เล่นตัวรับอิสระและ


ผู้ฝึกสอนเท่านั้น เมื่อประกาศเสร็จทีมหนึ่ง ให้ประกาศทีมต่อไปทันที

2.5 ขณะแข่งขัน

“ทีม................................ขอเปลี่ยนตัว หมายเลข......................ออก
หมายเลข..................................(ชื่อนักกีฬา)...............................เข้า”

“ทีม...............................ขอเวลานอกครั้งที่.......................................”

150 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
2.5.3 เวลานอกทางเทคนิค

“เวลานอกทางเทคนิคครั้งที่...........................................................”
หมดเวลานอกทางเทคนิคครั้งที่.....................................................”

2.5.4 การลงโทษผิดมารยาท (รายบุคคล)

“ผูเ้ ล่นหมายเลข/เจ้าหน้าที่ (บอกต�ำแหน่ง)...................ทีม....................


ถูกลงโทษ/ถูกให้ออกจากการแข่งขัน/ถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน”

2.5.5 การเตือนหรือการลงโทษถ่วงเวลา (ทั้งทีม)

“ทีม.......................................................................ถูกเตือนถ่วงเวลา
ทีม...................................................................ถูกลงโทษถ่วงเวลา”

2.5.6 จบการแข่งขันในแต่ละเซต

“ผลการแข่งขันในเซตที่...............................ทีม.................................
ชนะด้วยคะแนน...................................................................................”

2.5.7 สิ้นสุดการแข่งขัน

“สรุปผลการแข่งขัน ทีม.....................................................................
ชนะ..................................ต่อ................................เซต”

2.5.8 ภายหลังการแข่งขัน

“ประกาศเชิญชวนชมการแข่งขันคู่ต่อไป ฯลฯ.....................................”

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 151
เทคนิคการเป็นเจ้าหน้าที่เช็ดพื้น (Floor Mopping)
เจ้าหน้าที่เช็ดพื้นเป็นเจ้าหน้าที่เทคนิคที่ปฏิบัติหน้าที่ในสนามแข่งขัน โดยมีวัตถุประสงค์หลัก
คือ เพื่อรักษาความปลอดภัยให้แก่นักกีฬาและเพื่อให้การแข่งขันสามารถด�ำเนินต่อไปได้ โดยไม่ล่าช้า
ซึ่งเจ้าหน้าที่เช็ดพื้นแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. เจ้าหน้าที่เช็ดพื้นทั่วไป ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ด้านละ 3 คน 2 ด้าน รวม 6 คน
จะท�ำหน้าที่เช็ดพื้นตามปกติขณะที่มีการขอหยุดการเล่น เช่น การขอเวลานอก เวลานอก
ทางเทคนิคหรือเวลาพักระหว่างเซต โดยจะมีรูปแบบและวิธีการเช็ดพื้นดังนี้ (ดังภาพที่ 48)
retriever

retriever

Warm-Up
Ball

Ball

Area
MMM

MMM

Moppers
qM M M
Surface
Area

Players’ bench
3

Camera
TV
2

qM
M retriever M

1
retriever
retriever

refriever
2nd
1st
Ball

Ball
1

qM

Camera
2

TV
Players’ bench
3
4

Moppers
M M qM
Surface
Area

Warm-Up
MMM
retriever

retriever

Area
Ball

Ball

ภาพที่ 48 แสดงตัวอย่างวิธีการเช็ดพื้น
(Feduation Internationale De Volleyball. 2001 : 33)

152 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
จากภาพที่ 48 แสดงให้เห็นถึงแบ่งช่วงตอนการเช็ดพื้นเป็น 4 ช่วง
ช่วงที่ 1 เจ้าหน้าที่เช็ดพื้นแต่ละด้านๆ ละ 3 คน ถือไม้เช็ดพื้นขนาดกว้าง 1 เมตร ไปยืน
เข้าแถวที่เส้นข้าง (ด้านผู้ตัดสินที่ 2 ให้ไม้เรียงเป็นแถวหน้ากระดานภายในบริเวณเขตรุก จากนั้น
เริ่มเช็ดพื้นไปพร้อมๆ กันทั้ง 6 คน
ช่วงที่ 2 ให้เช็ดกลับบริเวณเดิมอีก 1 เที่ยว
ช่วงที่ 3 ให้แต่ละชุดหมุนเป็นครึ่งวงกลม เพื่อเช็ดบริเวณที่ต่อจากเส้นเขตรุก
ช่วงที่ 4 ให้แต่ละชุดหมุนเป็นครึ่งวงกลมเพื่อเช็ดกลับบริเวณแดนหลัง จากนั้นให้เช็ดออกไป
ที่บริเวณเขตสนามเล่นหลังเส้นหลัง เมื่อจบให้กลับนั่งประจ�ำที่ตามเดิม
2. เจ้าหน้าที่เช็ดพื้นเร็ว (Quick Mopper)
เจ้าหน้าทีเ่ ช็ดพืน้ เร็วมีหน้าทีเ่ ช็ดพืน้ หลังการเล่นแต่ละครัง้ จบลงดังรายละเอียดต่อไปนี้
(ทรงศักดิ์ เจริญพงศ์. 2538 : 29-30)
2.1 จ�ำนวน 1 ใน 3 คนของเจ้าหน้าที่เช็ดพื้นทั่วไป จะถูกก�ำหนดให้เป็นเจ้าหน้าที่
เช็ดพืน้ เร็ว 1 คน โดยอยูใ่ นบริเวณใกล้ทสี่ ดุ ในจ�ำนวน 3 คนนัน้ และทีบ่ ริเวณแดนหน้า (ข้างละ 1 คน)
รวม 2 คน นั่งอยู่หน้าโต๊ะผู้บันทึก เพื่อเช็ดพื้นบริเวณเขตรุกทั้งหมด
2.2 เจ้าหน้าที่เช็ดพื้นเร็วจะท�ำการเช็ดพื้นด้วยวิธีการดังนี้
2.2.1 ขณะก�ำลังเล่นลูก เมื่อเจ้าหน้าที่เช็ดพื้นเร็วที่รับผิดชอบบริเวณนั้นๆ
เห็นนักกีฬาล้มลงและเกิดการเปียก ณ ที่นั้น เมื่อลูกตายให้เจ้าหน้าที่เช็ดพื้นเร็วยกมือขึ้น และ
วิ่งเข้าไปเช็ดพื้นบริเวณนั้นด้วยผ้าเช็ดพื้น ขนาดกว้าง 1 × 1½ ฟุต โดยท�ำอย่างรวดเร็วภายในเวลา
ไม่เกิน 8 วินาที
2.2.2 ถ้าเกิดการเปียกเป็นพืน้ ทีก่ ว้าง ให้เจ้าหน้าทีเ่ ช็ดพืน้ เร็วทีร่ บั ผิดชอบบริเวณ
ใกล้เคียงเข้าช่วยเหลือได้
2.2.3 นักกีฬาหรือเจ้าหน้าที่ไม่มีสิทธิ์ขอให้เจ้าหน้าที่เช็ดพื้นเร็วเข้าไปเช็ดพื้น
ตามที่นักกีฬาหรือเจ้าหน้าที่ชี้แนะ
2.2.4 ผูต้ ดั สินจะต้องไม่เข้าไปร่วมในการปฏิบตั หิ น้าทีข่ องเจ้าหน้าที่ แต่ผตู้ ดั สินที่ 1
มีอ�ำนาจที่จะควบคุมการท�ำงานของเจ้าหน้าที่เช็ดพื้น ให้ท�ำหน้าที่อย่างถูกต้อง
2.4.5 ขณะแข่งขัน ถ้าผู้ควบคุมการแข่งขันพิจารณาเห็นว่า พื้นสนามลื่น อาจเกิด
อันตรายกับนักกีฬา สามารถขอให้ผตู้ ดั สินที่ 2 เรียกเจ้าหน้าทีเ่ ช็ดพืน้ ให้ทำ� การเช็ดพืน้ ได้เมือ่ ลูกตาย

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 153
เทคนิคการเป็นเจ้าหน้าที่ส่งลูกบอล (Ball Retriever)
การแข่ ง ขั น แต่ ล ะนั ด ใช้ เจ้ า หน้ า ที่ ส ่ ง ลู ก บอล 6 คน โดยนั่ ง หรื อ ยื น อยู ่ ร อบสนาม
ตามต�ำแหน่งดังนี้
ต�ำแหน่งที่ 1 อยู่ที่มุมสนามด้านขวามือของผู้ตัดสินที่ 1
ต�ำแหน่งที่ 2, 3, 4, 5 ให้นับจากต�ำแหน่งที่ 1 ทวนเข็มนาฬิกาขึ้นไป โดยต�ำแหน่งที่ 3
อยู่หน้าโต๊ะผู้บันทึก และต�ำแหน่งที่ 6 อยู่หลังผู้ตัดสินที่ 1
1. หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ส่งลูกบอล
1.1 เก็บลูกบอลที่อยู่ในสนามและกลิ้งส่งต่อไปให้ต�ำแหน่งที่ 2 และ 5 (ที่มุมสนาม
ทั้งสองด้าน)
1.2 ป้องกันไม่ให้ลูกบอลเข้าไปในสนามแข่งขัน
1.3 ขณะที่มีการเล่นลูกไม่ควรมีการกลิ้งบอลส่งต่อกัน
1.4 รักษาลูกบอลที่ใช้แข่งขันในช่วงพักระหว่างเซต ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นน�ำลูกบอล
แข่งขันไปใช้อบอุ่นร่างกาย
1.5 เจ้าหน้าที่ส่งลูกบอลต�ำแหน่งที่ 2 และ 5 จะต้องท�ำความสะอาดลูกบอล
ด้วยผ้าตลอดเวลา
1.6 เจ้าหน้าที่ส่งลูกบอลต�ำแหน่งที่ 2 และ 4 จะต้องไม่ส่งลูกบอลให้ต�ำแหน่งที่ 3
2. วิธีการส่งลูกบอล
2.1 การส่งลูกบอลระหว่างเจ้าหน้าที่ส่งลูกบอลด้วยกัน ให้ใช้วิธีกลิ้งส่งต่อกัน
โดยไม่ให้ลูกบอลกระดอนไป
2.2 การส่งลูกบอลให้ผู้เสิร์ฟให้ใช้วิธีการส่งแบบลูกกระดอนให้ผู้เสิร์ฟ

สรุป
ในการด� ำ เนิ น การจั ด การแข่ ง ขั น เจ้ า หน้ า ที่ เ ทคนิ ค นั บ ว่ า เป็ น กลุ ่ ม ที่ มี ค วามจ� ำ เป็ น
และส�ำคัญไม่น้อยไปกว่าผู้ตัดสิน การแข่งขันจะด�ำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ราบรื่น ไม่ท�ำให้
การแข่งขันต้องหยุดชะงัก หรือล่าช้าออกไป เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
ของเจ้าหน้าที่เทคนิคทุกฝ่าย ซึ่งประกอบด้วย ผู้ก�ำกับเส้น ผู้บันทึก ผู้ช่วยผู้บันทึก ผู้ประกาศ
เจ้าหน้าที่เช็ดพื้น และเจ้าหน้าที่ส่งลูกบอล

154 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ก ติกาการแข่งขัน
กีฬาวอลเลย์บอล
ลักษณะของการแข่งขัน (Game Characteristic)
วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่เล่นโดยทีมสองทีมบนสนามที่แบ่งแดนด้วยตาข่าย ลักษณะของ
การแข่งขันอาจแตกต่างกันได้ตามสภาพที่จ�ำเป็น เพื่อให้เล่นกันได้อย่างแพร่หลาย
จุดมุ่งหมายของการแข่งขัน คือ การส่งลูกบอลให้ข้ามตาข่ายไปตกลงบนพื้นในแดน
ของทีมตรงข้าม และป้องกันไม่ให้ทีมตรงข้ามส่งลูกบอลข้ามตาข่ายมาตกลงบนพื้นในแดนของตน
แต่ละทีมจะถูกลูกบอลได้ 3 ครัง้ ในการส่งลูกบอลไปยังแดนของทีมตรงข้าม (ยกเว้นการถูกลูกบอล
ในการสกัดกั้น)
การเล่นเริ่มต้นด้วยการเสิร์ฟลูกบอล โดยผู้เสิร์ฟส่งลูกบอลข้ามตาข่ายไปยังทีมตรงข้าม
การเล่ น จะด� ำ เนิ น ไปจนกว่ า ลู ก บอลจะตกลงบนพื้ น ในเขตสนามหรื อ นอกเขตสนามหรื อ ที ม
ไม่สามารถส่งลูกบอลกลับไปยังทีมตรงข้ามได้อย่างถูกต้องตามกติกา
การแข่งขันวอลเลย์บอลนั้น ทีมที่ชนะการเล่นลูกจะได้ 1 คะแนน (Rally Point System)
เมื่อทีมที่เป็นฝ่ายรับลูกเสิร์ฟชนะการเล่นลูก จะได้คะแนน 1 คะแนน และได้สิทธิ์ท�ำการเสิร์ฟ
ผู้เล่นทีมนั้นต้องหมุนตามเข็มนาฬิกาไป 1 ต�ำแหน่ง

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 155
สิ่ งอำ�นวยความสะดวกและอุปกรณ์
(Facilities and Equipment)
กติกาข้อที่ 1 พื้นที่เล่นลูก (Playing Area)
พื้ น ที่ เ ล่ น ลู ก รวมถึ ง สนามแข่ ง ขั น และเขตรอบสนาม ต้ อ งเป็ น รู ป สี่ เ หลี่ ย มผื น ผ้ า
และเหมือนกันทุกส่วน (1.1/ภาพที่ 1a/1b)
1.1 ขนาดของสนาม (Dimension) (ภาพที่ 2)
สนามแข่งขันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 18 x 9 เมตร ล้อมรอบด้วยเขต
รอบสนามกว้างอย่างน้อยที่สุด 3 เมตร ทุกด้าน
ที่ว่างส�ำหรับเล่นลูก คือ ที่ว่างเหนือพื้นที่เล่นลูก ซึ่งไม่มีสิ่งกีดขวางสูงขึ้นไป
อย่างน้อยที่สุด 12.50 เมตร จากพื้นสนาม
ส�ำหรั บ การแข่ ง ขั น ระดั บ โลกของสหพั น ธ์ ว อลเลย์ บ อลนานาชาติ และ
การแข่งขันทีเ่ ป็นทางการ เขตรอบสนามต้องกว้างอย่างน้อย 5 เมตร จากเส้นข้าง และ 8 เมตร
จากเส้นหลังที่ว่างเหนือสนาม ส�ำหรับเล่นลูกต้องสูงจากพื้นสนามขึ้นไปอย่างน้อย 12.50 เมตร
1.2 พื้นผิวสนาม (Playing Surface)
1.2.1 พื้ น ผิ ว สนามต้ อ งเรี ย บ เป็ น พื้ น ราบและเหมื อ นกั น ตลอดทั้ ง สนาม
ต้องไม่เป็นอันตรายจนเป็นเหตุให้ผู้เล่นบาดเจ็บและไม่อนุญาตให้แข่งขันบนพื้นสนามที่ขรุขระหรือลื่น
ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ และ
การแข่งขันทีเ่ ป็นทางการ อนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะพืน้ ผิวสนามทีเ่ ป็นไม้หรือพืน้ ผิวสังเคราะห์เท่านัน้
พื้นผิวสนามอื่นต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติก่อน
1.2.2 สนามแข่งขันในร่ม พื้นผิวสนามต้องเป็นสีม่วง
ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ และ
การแข่งขันทีเ่ ป็นทางการ เส้นสนามต้องเป็นสีขาว ส่วนพืน้ ผิวสนามแข่งขันและบริเวณเขตรอบ
สนามต้องเป็นสีอื่นแตกต่างกันออกไป (1.1/1.3)
1.2.3 สนามแข่งขันกลางแจ้ง อนุญาตให้พื้นผิวสนามลาดเอียงได้ 5 มิลลิเมตร
ต่อ 1 เมตร เพื่อการระบายน�้ำ ห้ามใช้ของแข็งท�ำเส้นสนาม (1.3)
1.3 เส้นบนพื้นสนาม (Lines on the Court) (ภาพที่ 2)
1.3.1 เส้นทุกเส้นกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีสว่างแตกต่างจากสีของพื้นผิวสนาม
และสีของเส้นอื่นๆ (1.2.2)

156 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
1.3.2 เส้นเขตสนาม (Boundary line) เส้นข้าง 2 เส้น และเส้นหลัง 2 เส้น
เป็นเส้นก�ำหนดเขตสนามแข่งขัน เส้นทั้งหมดต้องอยู่ภายในเขตสนามแข่งขัน (1.1)
1.3.3 เส้นแบ่งแดน (Center line) กึ่งกลางของเส้นแบ่งแดนจะแบ่งสนามแข่งขัน
ออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆ กัน ขนาด 9 x 9 เมตร เส้นนี้ลากจากเส้นข้างด้านหนึ่งไปยังเส้นข้าง
อีกด้านหนึ่งใต้ตาข่าย (ภาพที่ 2)
1.3.4 เส้นเขตรุก (Attack line) แต่ละแดนของสนามจะมีเส้นเขตรุก ซึ่งริมสุด
ด้านนอกของเส้นนี้จะลากห่างจากจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน 3 เมตร เป็นเครื่องหมายของ
เขตรุก (1.3.3/1.4.1)
ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ และการแข่งขัน
อย่างเป็นทางการ เส้นเขตรุกจะถูกลากต่อออกไปจากเส้นข้างทั้ง 2 เส้น เป็นเส้นประ
กว้าง 5 เซนติเมตร ยาวเส้นละ 15 เซนติเมตร จ�ำนวน 5 เส้น และเว้นช่องว่างระหว่างเส้นไว้
ช่องละ 20 เซนติเมตร รวมความยาวข้างละ 1.75 เมตร
เส้นเขตก�ำหนดส�ำหรับผู้ฝึกสอน (เป็นเส้นประต่อจากเส้นเขตรุกไปจนถึงเส้นหลัง
ของสนาม ขนานและห่างจากเส้นข้าง 1.75 เมตร) เส้นประนี้ยาวเส้นละ 15 เซนติเมตร
ระยะห่างกันแต่ละเส้น 20 เซนติเมตร เป็นเขตก�ำหนดส�ำหรับให้ผฝู้ กึ สอนปฏิบตั หิ น้าที่ (ภาพที่ 2)
1.4 เขตและพื้นที่ต่างๆ (Zone and Areas) (ภาพที่ 1b และภาพที่ 2)
1.4.1 เขตรุก (Front zone) (ภาพที่ 2)
เขตรุกแต่ละแดนจะถูกก�ำหนดจากกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดนไปจนถึงริมสุด
ด้านนอกของเส้นเขตรุก (1.3.3/1.3.4)
เขตรุก ถือเสมือนว่ามีความยาวต่อจากเส้นข้างทั้งสองข้างไปจนถึงริมสุด
ของขอบเขตสนาม (1.1/1.3.2)
1.4.2 เขตเสิร์ฟ (Service zone)
เขตเสิร์ฟพื้นที่กว้าง 9 เมตร อยู่เลยเส้นหลังแต่ละเส้นออกไปเขตเสิร์ฟก�ำหนด
โดยเส้นขนานสัน้ ๆ 2 เส้น ยาวเส้นละ 15 เซนติเมตร เส้นทัง้ สองนีจ้ ะตีหา่ งจากเส้นหลัง 20 เซนติเมตร
เสมือนว่าเป็นแนวต่อจากเส้นข้าง และรวมอยู่ในความกว้างของเขตเสิร์ฟด้วย (1.3.2/ภาพที่ 1b)
ในแนวลึก เขตเสิร์ฟจะยาวออกไปจนถึงปลายสุดของเขตรอบสนาม (1.1)
1.4.3 เขตเปลี่ยนตัว (Substitution zone)
เขตเปลี่ยนตัว ก�ำหนดโดยแนวต่อของเส้นรุกทั้งสองเส้นไปจนถึงโต๊ะผู้บันทึก
(1.3.4/ภาพที่ 1b)

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 157
1.4.4 เขตเปลี่ยนตัวรับอิสระ (Libero Replacement Zone)
เขตเปลี่ยนตัวรับอิสระเป็นส่วนหนึ่งของเขตรอบสนามด้านเดียวกับม้านั่งของทีม
ก�ำหนดโดยเส้นที่ต่อจากเส้นเขตรุกถึงเส้นหลัง (7.5.1ม 19.3.2.4ม ภาพที่ 1b)
1.4.5 พื้นที่อบอุ่นร่างกาย (Warm-up area)
ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ และ
การแข่งขันอย่างเป็นทางการ พืน้ ทีอ่ บอุน่ ร่างกาย ขนาด 3 x 3 เมตร จะอยูท่ นี่ อกเขตรอบสนาม
ตรงมุมสนามด้านเดียวกับม้านั่งของผู้เล่นส�ำรอง (รูป 1a/1b)
1.4.6 พื้นที่ลงโทษ (Penalty area)
พื้นที่ลงโทษขนาดประมาณ 1 x 1 เมตร มีเก้าอี้ตั้งไว้ 2 ตัว อยู่ในพื้นที่ควบคุม
การแข่งขันแต่อยู่เลยแนวของเส้นหลังและมีเส้นแดงกว้าง 5 เซนติเมตร ก�ำหนดพื้นที่ (ภาพที่ 1a/
ภาพที่ 1b)
1.5 อุณหภูมิ (Temperature)
อุณหภูมิต�่ำสุดต้องไม่ต�่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส (50 องศาฟาเรนไฮต์)
การแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ และการแข่งขันอย่างเป็น
ทางการอุณหภูมิสูงสุดต้องไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส (77 องศาฟาเรนไฮต์) และอุณหภูมิต�่ำสุด
ต้องไม่ต�่ำกว่า 16 องศาเซลเซียส (61 องศาฟาเรนไฮต์)
1.6 แสงสว่าง (Lighting)
ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ และการแข่งขัน
อย่างเป็นทางการ แสงสว่างบนพื้นที่เล่นลูกต้องมีความสว่าง 1,000-1,500 ลักซ์ โดยวัดที่
ระดับความสูงจากพื้นสนาม 1 เมตร

กติกาข้อที่ 2 ตาข่ายและเสาขึงตาข่าย (Net and Posts) (ภาพที่ 3)


2.1 ความสูงของตาข่าย (Height of the Net)
2.1.1 ตาข่ายถูกขึงเป็นแนวตั้งเหนือเส้นแบ่งแดน ส�ำหรับทีมชาย ขอบบนสุดต้องสูง
จากพื้น 2.43 เมตร ทีมหญิงสูง 2.24 เมตร (1.3.3)
2.1.2 ความสูงของตาข่าย วัดทีก่ งึ่ กลางของสนามความสูงของตาข่าย (ทีเ่ หนือเส้นข้าง
ทัง้ สองด้าน) ต้องสูงเท่ากัน แต่จะต้องสูงเกินกว่าความสูงทีก่ ำ� หนด 2 เซนติเมตร (1.1/1.3.2/2.1.1)
2.2 โครงสร้าง (Structure)
ตาข่ายมีความกว้าง 1 เมตร และยาว 9.50-10.00 เมตร (โดยมีความยาวเหลืออยู่
25-30 เซนติ เ มตร จากแถบข้ า งแต่ ล ะด้ า น) ท� ำ ด้ ว ยวั ส ดุ สี ด� ำ เป็ น ตาสี่ เ หลี่ ย มจั ตุ รั ส ขนาด
10 ตารางเซนติเมตร (ภาพที่ 3)
158 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ที่ขอบบนของตาข่ายมีแถบขนานกับพื้นพับ 2 ชั้น สีขาวกว้าง 7 เซนติเมตร เย็บติด
ตลอดความยาวของตาข่าย ที่ปลายสุดแต่ละข้างเจาะรูไว้ข้างละ 1 รู เพื่อร้อยเชือกผูกกับเสาขึงตาข่าย
เพื่อดึงให้แถบบนสุดของตาข่ายตึง
ภายในแถบมีสายที่ยืดหยุ่นได้ส�ำหรับผูกกับเสา เพื่อท�ำให้ส่วนบนสุดของตาข่ายตึง
ที่ชายล่างสุดของตาข่ายมีแถบขนานกับพื้นกว้าง 5 เซนติเมตร ภายในแถบมีสาย
ที่ยืดหยุ่นได้ส�ำหรับผูกกับเสา เพื่อท�ำให้ส่วนล่างของตาข่ายตึง
2.3 แถบข้าง (Side Bands)
แถบสีขาว 2 เส้น ผูกในแนวตั้งกับตาข่ายหรือเส้นข้างทั้ง 2 เส้น (1.3.2/ภาพที่ 3)
แถบข้างมีขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตาข่าย
2.4 เสาอากาศ (Antennae)
เสาอากาศเป็นแท่งกลมยืดหยุน่ ได้ ยาว 1.80 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร
ท�ำด้วยใยแก้วหรือวัสดุที่คล้ายคลึงกัน
ส่วนบนสุดของเสาอากาศที่ยื่นเลยเหนือตาข่ายขึ้นไป 80 เซนติเมตร จะเป็นแถบสี
สลับกันเป็นช่วงๆ ยาวละ 10 เซนติเมตร นิยมใช้สีแดงและสีขาว
เสาอากาศถือเป็นส่วนหนึ่งของตาข่ายและเป็นแนวขนานที่ก�ำหนดพื้นที่ข้ามตาข่าย
(10.1.1/ภาพที่ 3 และภาพที่ 5)
2.5 เสาขึงตาข่าย (Posts)
2.5.1 เสาขึงตาข่ายยึดติดกับพื้นสนาม ห่างจากเส้นข้าง 0.50-1.00 เมตร มีความสูง
2.55 เมตร สามารถปรับระดับได้ (ภาพที่ 3)
ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ และการแข่งขัน
อย่างเป็นทางการ เสาขึงตาข่ายต้องยึดติดกับพื้นสนาม ห่างจากเส้นข้าง 1 เมตร เว้นแต่จะได้รับ
การยินยอมจากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
2.5.2 เสาขึงตาข่ายมีลักษณะกลมและเรียบยึดติดกับพื้น โดยไม่มีสายยึดเสา
และต้องไม่เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายและไม่เป็นสิ่งกีดขวางใดๆ
2.6 อุปกรณ์อื่นๆ (Additional Equipment)
อุปกรณ์อื่นใดให้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงตามระเบียบของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ

กติกาข้อที่ 3 ลูกบอล (Balls)


3. มาตรฐาน (Standard)
ลูกบอลต้องกลม ท�ำด้วยหนังฟอกหรือหนังสังเคราะห์ทยี่ ดื หยุน่ ได้ ห่อหุม้ ลูกทรงกลม
ท�ำด้วยยางหรือวัสดุที่คล้ายคลึงกัน

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 159
สีของลูกบอลอาจเป็นสีอ่อนๆ เหมือนกันทั้งลูกหรืออาจเป็นหลายสีผสมกันก็ได้
ลูกบอลซึง่ ท�ำด้วยวัสดุทเี่ ป็นหนังสังเคราะห์มหี ลายสีผสมกันทีใ่ ช้ในการแข่งขันระดับ
นานาชาติอย่างเป็นทางการ ต้องมีมาตรฐานตามที่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติก�ำหนด
ลูกบอลต้องมีเส้นรอบวงยาว 65-67 เซนติเมตร และมีน�้ำหนัก 260-280 กรัม
ลูกบอลต้องมีแรงดันลม 0.30-0.325 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
3.2 รูปแบบของลูกบอล (Uniformity of Balls)
ลูกบอลทีใ่ ช้ในการแข่งขันต้องมีเส้นรอบวง น�ำ้ หนัก แรงอัด ชนิด และสีตามมาตรฐาน
เดียวกัน (3.1)
การแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและรวมทั้งระดับชาติ
หรือการแข่งขันลีก (League) ของแต่ละประเทศต้องใช้ลกู บอลทีส่ หพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
รับรองเท่านั้น เว้นแต่ได้รับการยินยอมจากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
3.3 ระบบการใช้ลูกบอล 3 ลูก (Three-ball System)
ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขัน
อย่างเป็นทางการ จะใช้ลูกบอล 3 ลูก โดยมีผู้กลิ้งลูกบอล 6 คน ประจ�ำที่มุมของเขตรอบสนาม
ทั้งสี่มุมๆ ละ 1 คน และหลังผู้ตัดสินด้านละ 1 คน (ภาพที่ 10)

160 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ผู้ เข้าร่วมการแข่งขัน
(Participants)
กติกาข้อที่ 4 ทีม (Teams)
4.1 ส่วนประกอบของทีม (Team Composition)
4.1.1 ในการแข่งขัน ทีมประกอบด้วยผู้เล่นสูงสุด 12 คน รวมกับ
- คณะผู้ฝึกสอน ประกอบด้วย ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนไม่เกิน 2 คน
- คณะแพทย์ ประกอบด้วย นักกายภาพบ�ำบัด 1 คน และแพทย์ 1 คน
(4.1.1/5.2/5.3)
เฉพาะผู้ที่มีรายชื่ออยู่ในใบบันทึกเท่านั้น ที่สามารถเข้าภายในบริเวณพื้นที่
ควบคุม และเข้าร่วมในการอบอุ่นร่างกายรวมถึงการแข่งขันด้วย
การแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขัน
อย่างเป็นทางการ แพทย์และนักกายภาพบ�ำบัด ต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์วอลเลย์บอล
นานาชาติ ก่อนการแข่งขัน
4.1.2 ผู้เล่นคนหนึ่งของทีมที่ไม่ใช่ตัวรับอิสระ ต้องเป็นหัวหน้าทีมและจะระบุไว้
ในใบบันทึกการแข่งขัน (5.1/19.1.3)
4.1.3 ผูเ้ ล่นทีม่ ชี อื่ อยูใ่ นใบบันทึกการแข่งขันเท่านัน้ จึงจะลงสนามและร่วมการแข่งขันได้
เมื่อผู้ฝึกสอนและหัวหน้าทีม (Team Captain) ลงชื่อในใบบันทึกการแข่งขันแล้วจะเปลี่ยนแปลง
ผู้เล่นอีกไม่ได้ (1/5.11/5.22)
4.2 ต�ำแหน่งที่อยู่ของทีม (Location of the Team)
4.2.1 ผู้เล่นที่ไม่ได้ลงแข่งขันควรนั่งบนม้านั่งหรืออยู่ภายในพื้นที่อบอุ่นร่างกาย
ของทีมตนเอง ผู้ฝึกสอนและผู้ร่วมทีมคนอื่นต้องนั่งบนม้านั่ง แต่อาจลุกจากม้านั่งได้เป็นครั้งคราว
(1.4.5/5.2.3/7.3.3) ม้านัง่ ของทีมตัง้ อยูด่ า้ นข้างโต๊ะผูบ้ นั ทึกนอกเขตรอบสนาม (ภาพที่ 1a/ ภาพที่ 1b)
4.2.2 เฉพาะผู้ร่วมทีมเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้นั่งบนม้านั่งระหว่างการแข่งขัน
และร่วมการอบอุ่นร่างกายก่อนการแข่งขัน (4.1.1/7.2)
4.2.3 ผู้เล่นที่ไม่ได้ลงแข่งขันสามารถอบอุ่นร่างกายโดยไม่ใช้ลูกบอลได้ดังนี้
4.2.3.1 ระหว่างการแข่งขัน : ในพืน้ ทีอ่ บอุน่ ร่างกาย (1.4.5/8.1 ภาพที่ 1a/ภาพที่ 1b)
4.2.3.2 ระหว่างขอเวลานอกและเวลานอกทางเทคนิค : ในเขตรอบสนาม
ด้านหลังแดนของทีมตนเอง (1.3.3/15.4)
4.2.4 ช่วงพักระหว่างเซต ผูเ้ ล่นสามารถอบอุน่ ร่างกายโดยใช้ลกู บอลได้ในเขตรอบสนาม
ของทีมตนเอง (18.1)
คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 161
4.3 เครื่องแต่งกาย (Equipment)
เครื่องแต่งกายของผู้เล่น ประกอบด้วย เสื้อยืด กางเกงขาสั้น ถุงเท้า (ชุดแข่งขัน)
และรองเท้ากีฬา
4.3.1 สีและแบบของเสื้อยืด กางเกงขาสั้นและถุงเท้าต้องเหมือนกันทั้งทีม (ยกเว้น
ตัวรับอิสระ) ชุดแข่งขันต้องสะอาด (4.1/19.2)
4.3.2 รองเท้าต้องเบาและอ่อนนุ่ม พื้นเป็นยางหรือพื้นที่มีส่วนประกอบอื่นๆ
ที่ไม่มีส้น
การแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขัน
อย่างเป็นทางการ ในรุน่ ทีไ่ ม่จ�ำกัดอายุ จะไม่อนุญาตให้ใช้รองเท้าทีม่ สี ี ส่วนใหญ่เป็นสีด�ำทีพ่ น้ื ที่
ท�ำให้เกิดรอย
4.3.3 เสื้อผู้เล่นต้องมีหมายเลขตั้งแต่ 1-20
ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ และ
การแข่งขันอย่างเป็นทางการ เสื้อผู้เล่นจะต้องมีหมายเลขตั้งแต่ 1-20
4.3.3.1 ต้ อ งติ ด หมายเลขที่ ก ลางหน้ า อกและกลางหลั ง สี ข องหมายเลข
ต้องตัดกับสีเสื้ออย่างชัดเจน
4.3.3.2 หมายเลขด้านหน้าต้องสูงอย่างน้อยที่สุด 15 เซนติเมตร ด้านหลัง
อย่างน้อยที่สุด 20 เซนติเมตรและความกว้างของแถบที่ท�ำหมายเลขต้องกว้างอย่างน้อยที่สุด
2 เซนติเมตร
ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขัน
อย่างเป็นทางการ หมายเลขของผูเ้ ล่นต้องมีหมายเลขซ�ำ้ บนขากางเกงด้านขวา ความสูง 4-6 เซนติเมตร
และแถบทีท่ �ำตัวเลขกว้างอย่างน้อยทีส่ ดุ 1 เซนติเมตร เสือ้ และกางเกงต้องเป็นไปตามข้อบังคับของ
สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
4.3.4 หัวหน้าทีมต้องมีแถบขนาด 8 x 2 เซนติเมตร ติดอยูใ่ ต้หมายเลขตรงหน้าอกเสือ้ (5.1)
4.3.5 ห้ามใส่ชุดแข่งขันที่มีหมายเลขไม่ถูกต้องหรือชุดที่มีสีแตกต่างจากผู้เล่นอื่น
(ยกเว้นตัวนับอิสระ) หรือไม่มีหมายเลข (19.2)
4.4 การเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย (Change of Equipment)
ผู้ตัดสินที่ 1 มีอ�ำนาจที่จะอนุญาตให้ผู้เล่น 1 คน หรือมากกว่า : (23)
4.4.1 ลงแข่งขันโดยไม่ใส่รองเท้าได้
ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ และการแข่งขัน
อย่างเป็นทางการ จะไม่อนุญาตให้ลงแข่งขันโดยไม่ใส่รองเท้า

162 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
4.4.2 เ ปลี่ ย นชุ ด แข่ ง ขั น ที่ เ ปี ย กหรื อ ช� ำ รุ ด ในช่ ว งพั ก ระหว่ า งเซตหรื อ หลั ง จาก
การเปลี่ยนตัวได้ โดยสี แบบและหมายเลขของชุดใหม่ต้องเหมือนกับชุดเดิม (4.3/15.5)
4.4.3 ส วมชุ ด วอร์ ม ลงแข่ ง ขั น ได้ ถ ้ า อากาศหนาว โดยสี แ ละแบบของชุ ด วอร์ ม
ต้องเหมือนกันทั้งทีม (ยกเว้นตัวรับอิสระ) และมีหมายเลขตามกติกาข้อ 4.3.3 (4.1.1/19.2)
4.5 สิ่งของที่ห้ามสวมใส่ (Forbidden Objects)
4.5.1 ห้ามสวมใส่สิ่งของ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการบาดเจ็บหรือช่วยให้ผู้เล่น
ได้เปรียบผู้อื่น
4.5.2 ผูเ้ ล่นอาจสวมแว่นตาหรือเลนส์ได้ โดยรับผิดชอบอันตรายทีอ่ าจเกิดขึน้ ด้วยตัวเอง

กติกาข้อที่ 5 ผู้น�ำของทีม (Team Leader)


ทัง้ หัวหน้าทีมและผูฝ้ กึ สอนเป็นผูร้ บั ผิดชอบความประพฤติและระเบียบวินยั ของผูร้ ว่ มทีม (20)
ตัวรับอิสระจะเป็นหัวหน้าทีมไม่ได้ (19.1.3)
5.1 หัวหน้าทีม (Captain)
5.1.1 ก่อนการแข่งขัน หัวหน้าทีมเป็นผู้ลงชื่อในใบบันทึกการแข่งขันและเป็นผู้แทน
ของทีมในการเสี่ยง (7.1/25.2.1.1)
5.1.2 ระหว่างการแข่งขันและขณะอยูใ่ นสนามแข่งขัน หัวหน้าทีม (Team Captain)
ท�ำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมในสนามแข่งขัน (Game Captain) เมื่อหัวหน้าทีมไม่ได้เล่นอยู่ในสนาม
ผู้ฝึกสอนหรือตัวหัวหน้าทีมเองต้องแต่งตั้งผู้เล่นคนหนึ่งที่อยู่ในสนาม แต่ต้องไม่ใช่ตัวรับอิสระ
ท�ำหน้าที่หัวหน้าทีมในสนามแข่งขัน (Game Captain) และต้องรับผิดชอบไปจนกว่าหัวหน้าทีม
(Team Captain) จะเปลี่ยนตัวกลับลงมาเล่นอีก หรือจนกว่าจะสิ้นสุดในเซตนั้น (15.2.1/19.1.3)
เมือ่ ลูกตาย หัวหน้าทีมในสนามแข่งขันเท่านัน้ ทีม่ สี ทิ ธิเ์ ป็นผูแ้ ทนของทีมพูดกับ
ผู้ตัดสินเพื่อ (8.2)
5.1.2.1 ขอค�ำอธิบายในการตีความกติกาหรือกติกามาใช้และร้องขอหรือยื่น
ค�ำถามของเพื่อนร่วมทีม ถ้าค�ำอธิบายไม่เป็นที่พอใจ หัวหน้าทีมในสนามแข่งขันต้องขอสงวนสิทธิ์
บันทึกการทักท้วงอย่างเป็นทางการในใบบันทึกการแข่งขัน เมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลง (23.2.4)
5.1.2.2 ขอสิทธิ์
ก. เปลีย่ นชุดและอุปกรณ์การแข่งขันบางส่วนหรือทัง้ หมด (4.3/4.4.2)
ข. ตรวจต�ำแหน่งผู้เล่นของทีม (7.4)
ค. ตรวจพื้นสนาม ตาข่าย และลูกบอล เป็นต้น (1.2/2/3)
5.1.2.3 ถ้าผู้ฝึกสอนไม่อยู่เป็นผู้ท�ำหน้าที่ขอเวลานอกและเปลี่ยนตัวผู้เล่น
(15.2.1/15.4/15.5)

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 163
5.1.3 เมื่อสิ้นสุดการแข่งขันหัวหน้าทีมต้อง : (6.3)
5.1.3.1 แสดงความขอบคุณผูต้ ดั สินและลงชือ่ ในใบบันทึกการแข่งขันเพือ่ รับรอง
ผลการแข่งขัน (25.2.3.3)
5.1.3.2 เมื่อมีการแจ้งกับผู้ตัดสินที่ 1 ไว้แล้ว ก็สามารถยืนยันและบันทึก
การทักท้วงอย่างเป็นทางการต่อผู้ตัดสินเกี่ยวกับการน�ำกติกามาใช้หรือตีความกติกาลงในใบบันทึก
การแข่งขัน (5.12.1/25.2.3.2)
5.2 ผู้ฝึกสอน (Coach)
5.2.1 ตลอดการแข่งขัน ผูฝ้ กึ สอนเป็นผูค้ วบคุมการเล่นของทีมภายนอกสนามแข่งขัน
เป็นผู้เลือกผู้เล่น 6 คนแรก เปลี่ยนตัวผู้เล่นและขอเวลานอก ผู้ฝึกสอนท�ำหน้าที่ดังกล่าวได้
โดยขอผ่านทางผู้ตัดสินที่ 2 (1.1/7.3.2/15.4/15.5)
5.2.2 ก่อนการแข่งขัน ผู้ฝึกสอนต้องบันทึกหรือตรวจสอบรายชื่อและหมายเลข
ของผู้เล่นในใบบันทึกการแข่งขัน และลงชื่อในใบในทึกการแข่งขันนั้น (4.1/19.1.3/25.2.1.1)
5.2.3 ระหว่างการแข่งขัน ผู้ฝึกสอนต้อง
5.2.3.1 ยื่นใบส่งต�ำแหน่งของผู้เล่นที่ลงชื่อแล้วให้ผู้ตัดสินที่ 2 หรือผู้บันทึก
ก่อนการแข่งขันทุกเซต (7.3.2)
5.2.3.2 นั่งที่ม้านั่งของทีมซึ่งใกล้กับผู้บันทึกมากที่สุด แต่อาจลุกจากม้านั่ง
ได้เป็นครั้งคราว (4.2)
5.2.3.3 ขอเวลานอกและเปลี่ยนตัวผู้เล่น (15.4/15.5)
5.2.3.4 ผู้ฝึกสอนรวมทั้งผู้ร่วมทีมอื่นๆ อาจให้ค�ำแนะน�ำผู้เล่นในสนามได้
โดยผู้ฝึกสอนอาจให้ค�ำแนะน�ำขณะที่ยืนหรือเดินภายในเขตเล่นลูก (Free Zone) ด้านหน้า
ของม้านั่งผู้เล่นส�ำรอง ตั้งแต่แนวที่ยื่นออกมาของเส้นเขตรุก จนถึงพื้นที่อบอุ่นร่างกาย แต่ต้อง
ไม่รบกวนหรือถ่วงเวลาการแข่งขัน (1.3.4/1.4.5)
ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขัน
อย่างเป็นทางการ ผู้ฝึกสอนสามารถท�ำหน้าที่ ณ บริเวณหลังเส้นประ ซึ่งเป็นเขตก�ำหนดให้
ผู้ฝึกสอนท�ำหน้าที่ (ภาพที่ 1a/ภาพที่ 1b/2)
5.3 ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน (Assistant Coach)
5.3.1 ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนนั่งบนม้านั่งของทีม แต่ไม่มีสิทธิ์ใดๆ ที่จะขอหยุดการแข่งขัน
5.3.2 ถ้าผู้ฝึกสอนต้องออกจากการท�ำหน้าที่ด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม รวมถึงการ
ถูกลงโทษ แต่ไม่รวมถึงการลงสนามในฐานะผู้เล่น ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนอาจท�ำหน้าที่แทนผู้ฝึกสอน
ในช่วงเวลาที่ผู้ฝึกสอนต้องออกจากการท�ำหน้าที่ โดยการยืนยันจากหัวหน้าทีม (Game Captain)

164 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
รู ปแบบของการแข่งขัน
(Playing Format)
(To Score a Point, To Win a Set and the Match)
กติกาข้อที่ 6 การได้คะแนน การชนะในแต่ละเซต และการชนะในแต่ละนัด
6.1 การได้คะแนน (To Score a Point)
6.1.1 คะแนน ทีมจะได้คะแนนเมื่อ :
6.1.1.1 ท�ำให้ลูกบอลตกลงบนพื้นสนามในแดนของทีมตรงข้าม (8.3/10.1.1)
6.1.1.2 ฝ่ายตรงข้ามท�ำผิดกติกา (6.1.2)
6.1.1.3 ฝ่ายตรงข้ามถูกท�ำโทษ (16.2.3/21.3.1)
6.1.2 การท�ำผิดกติกา ทีมท�ำผิดกติกาเมื่อกระท�ำลักษณะการเล่นที่ตรงข้ามกับ
กติกาการแข่งขัน (หรือขัดกับกติกาด้วยวิธกี ารใดๆ) ผูต้ ดั สินจะพิจารณาการท�ำผิดนัน้ และจะตัดสิน
การท�ำผิดกติกานั้นๆ ดังนี้
6.1.2.1 ถ้ า มี ก ารเล่ น ผิ ด กติ ก าสองอย่ า งหรื อ มากกว่ า เกิ ด ขึ้ น ต่ อ เนื่ อ งกั น
จะลงโทษเฉพาะการผิดกติกาที่เกิดขึ้นก่อนเท่านั้น
6.1.2.2 ถ้าทั้งสองทีมเล่นผิดกติกาสองอย่างหรือมากกว่าพร้อมๆ กัน ทั้งสองทีม
จะถือว่าเป็นการกระท�ำผิดทั้งคู่ (Double Fault) และจะเล่นลูกนั้นใหม่ (6.1.2/ภาพที่ 11 (23))
6.1.3 การเล่นและการสิ้นสุดการเล่น (Rally and completed rally)
การเล่น (Rally) เป็นลักษณะการเล่นที่เริ่มต้นตั้งแต่ผู้เสิร์ฟท�ำการเสิร์ฟ
จนกระทั่งลูกตาย การสิ้นสุดการเล่น (A completed rally) เป็นลักษณะการเล่นที่สิ้นสุดลง
ซึ่งมีผลต่อการได้คะแนน การเล่นจะเริ่มและสิ้นสุดลงด้วยสัญญาณนกหวีดจากผู้ตัดสิน (8.1/8.2)
6.1.3.1 ถ้าทีมที่เป็นฝ่ายเสิร์ฟชนะการเล่นลูกจะได้คะแนนและได้เสิร์ฟต่อ
6.1.3.2 ถ้าทีมที่เป็นรับลูกเสิร์ฟชนะการเล่นลูกจะได้คะแนนและได้เสิร์ฟ
ในครั้งต่อไป
6.2 การชนะในแต่ละเซต (To Win a Set) (ภาพที่ 11 (9))
ทีมที่ท�ำได้ 25 คะแนนก่อน (ยกเว้นเซตตัดสิน) จะเป็นทีมชนะการแข่งขันเซตนั้น
ถ้าท�ำคะแนนได้ 24-24 คะแนนเท่ากัน จะต้องแข่งขันกันต่อไปจนกว่าทีมใดทีมหนึ่งท�ำคะแนนน�ำ
อีกทีมหนึ่งอย่างน้อยที่สุด 2 คะแนน (26-24, 27-25, ...) (6.3.2)

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 165
6.3 การชนะในแต่ละนัด (To Win the Match) (ภาพที่ 11 (9))
6.3.1 ทีมที่ท�ำได้ 3 เซต เป็นทีมที่ชนะการแข่งขันนัดนั้น (6.2)
6.3.2 ในกรณีทที่ ำ� ได้ 2-2 เซต เท่ากัน การแข่งขันในเซตตัดสิน (เซตที่ 5) จะแข่งขันกัน
15 คะแนน และต้องมีคะแนนน�ำอีกทีมหนึ่งอย่างน้อยที่สุด 2 คะแนน (7.1)
6.4 ทีมทีผ่ ดิ ระเบียบการแข่งขันและไม่พร้อมจะแข่งขัน (Default and Incomplete Team)
6.4.1 ถ้าทีมปฏิเสธที่จะแข่งขัน หลังจากได้รับแจ้งให้แข่งขันต่อ ทีมนั้นจะถูกแจ้ง
ว่าท�ำผิดระเบียบการแข่งขันและปรับเป็นแพ้ในการแข่งขันนัดนั้น ด้วยผลการแข่งขัน 0-3 เซต
และมีคะแนน 0-25 ในแต่ละเซต (6.2/6.3)
6.4.2 ทีมที่ไม่มาปรากฏตัว ณ สนามแข่งขันตามเวลาที่ก�ำหนด โดยไม่มีเหตุผล
อันสมควร ถือว่าผิดระเบียบการแข่งขันและมีผลการแข่งขันเช่นเดียวกับกติกาข้อ 6.4.1
6.4.3 ทีมที่ถูกแจ้งว่าไม่พร้อมจะแข่งขันในเซตใดเซตหนึ่ง หรือการแข่งขันนัดใด
นัดหนึ่ง จะแพ้ในเซตนั้นหรือการแข่งขันนัดนั้น ทีมตรงข้ามจะได้คะแนนหรือได้ทั้งคะแนนและเซต
เพื่อเป็นทีมชนะในเซตหรือการแข่งขันนัดนั้น ส่วนทีมที่ไม่พร้อมจะแข่งขันจะยังคงได้คะแนน
และเซตที่ท�ำไว้ได้ (6.2/6.3/7.3.1)

กติกาข้อที่ 7 โครงสร้างของการแข่งขัน (Structure of Play)


7.1 การเสี่ยง (Toss)
ก่อนการแข่งขันผู้ตัดสินที่ 1 จะท�ำการเสี่ยงเพื่อตัดสินว่าทีมใดจะเสิร์ฟก่อนหรืออยู่
แดนใดในเซตที่ 1 (12.1.1)
ถ้าต้องแข่งขันเซตตัดสินจะต้องท�ำการเสี่ยงใหม่อีกครั้งหนึ่ง (6.3.2)
7.1.1 การเสี่ยงต้องท�ำโดยมีหัวหน้าทีมทั้งสองทีมร่วมอยู่ด้วย (5.1)
7.1.2 ผู้ชนะการเสี่ยงจะได้สิทธิ์เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
7.1.2.1 เสิร์ฟหรือรับลูกเสิร์ฟก่อน หรือ (12.1.1)
7.1.2.2 แดนใดแดนหนึ่งของสนามก็ได้ ผู้แพ้การเสี่ยงจะได้รับส่วนที่เหลือ
7.1.3 ในกรณีที่ท�ำการอบอุ่นร่างกายไม่พร้อมกัน ทีมที่ท�ำการเสิร์ฟก่อนจะท�ำการ
อบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายก่อน (7.2)
7.2 การอบอุ่นร่างกาย (Warm-up Session)
7.2.1 ก่อนการแข่งขัน ถ้าทีมมีสนามอบอุน่ ร่างกายทีจ่ ดั ไว้ ทีมจะท�ำการอบอุน่ ร่างกาย
ทีต่ าข่ายพร้อมกันได้ 6 นาที ถ้าไม่มสี นามอบอุน่ ร่างกาย จะใช้เวลาอบอุน่ ร่างกาย 10 นาที
7.2.2 ถ้าหัวหน้าทีมมีความประสงค์ทจี่ ะอบอุน่ ร่างกายแยกกัน แต่ละทีมมีสทิ ธิอ์ บอุน่
ร่างกายได้ 3 นาที หรือ 5 นาที ตามกติกาข้อ 7.2.1 (7.2.1)

166 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
7.3 ต�ำแหน่งเริ่มต้นของทีม (Team Starting Line-up)
7.3.1 ทีมต้องมีผู้เล่นในสนาม 6 คน ตลอดเวลา (6.4.3)
ต�ำแหน่งเริม่ ต้นของทีมแสดงถึงล�ำดับการหมุนต�ำแหน่งของผูเ้ ล่นในสนามล�ำดับนี้
จะคงอยู่ตลอดเซตนั้น (7.6)
7.3.2 ก่อนเริ่มการแข่งขันแต่ละเซต ผู้ฝึกสอนต้องแจ้งต�ำแหน่งเริ่มต้นของทีมตนเอง
ในใบส่งต�ำแหน่ง ซึ่งเขียนหมายเลขของผู้เล่นและลงชื่อก�ำกับ แล้วส่งให้ผู้ตัดสินที่ 2 หรือผู้บันทึก
การแข่งขัน (5.2.3.1/24.3.1/25.2.1.2)
7.3.3 ผู้เล่นที่ไม่ได้อยู่ในใบส่งต�ำแหน่งเริ่มต้นของทีม จะเป็นผู้เล่นส�ำรองในเซตนั้น
(ยกเว้นตัวรับอิสระ) (7.3.2/15.5)
7.3.4 เมือ่ ใบส่งต�ำแหน่งเริม่ ต้นเล่นถูกน�ำส่งให้ผตู้ ดั สินที่ 2 หรือผูบ้ นั ทึกการแข่งขันแล้ว
จะไม่อนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงใบส่งต�ำแหน่งอีก นอกจากเป็นการเปลี่ยนตัวผู้เล่นตามปกติ
(15.2.2/15.5)
7.3.5 ถ้าพบว่ามีการผิดพลาดระหว่างใบส่งต�ำแหน่งกับต�ำแหน่งของผู้เล่นในสนาม
จะต้องปฏิบัติดังนี้ : (24.3.1)
7.3.5.1 ถ้าพบการผิดพลาดก่อนเริ่มการแข่งขันของเซต ผู้เล่นต้องเปลี่ยนตัว
ให้เป็นไปตามใบส่งต�ำแหน่ง โดยไม่มีการลงโทษ (7.3.2)
7.3.5.2 ในท�ำนองเดียวกัน ถ้าพบว่ามีผู้เล่นอยู่ในสนาม โดยไม่ได้ระบุไว้
ในใบส่งต�ำแหน่ง ต้องเปลี่ยนตัวผู้เล่นในสนามให้เป็นไปตามใบส่งต�ำแหน่ง โดยไม่มีการลงโทษ
เช่นกัน (7.3.2)
7.3.5.3 อย่างไรก็ตามถ้าผู้ฝึกสอนต้องการให้ผู้เล่นที่ไม่ได้ระบุไว้ในใบส่ง
ต�ำแหน่งยังคงอยู่ในสนาม ผู้ฝึกสอนต้องขอเปลี่ยนตัวตามปกติ และต้องบันทึกลงในใบบันทึก
การแข่งขัน
7.3.5.4 ถ้าพบว่าผู้เล่นที่อยู่ในสนามไม่มีชื่อในใบบันทึก ให้คงคะแนนของ
ฝ่ายตรงข้ามไว้ และได้คะแนนเพิม่ อีก 1 คะแนน พร้อมทัง้ ได้สทิ ธิก์ ารเสิรฟ์ ทีมทีท่ ำ� ผิดจะเสียคะแนน
และเซตที่ม�ำได้ทั้งหมดตั้งแต่ผู้เล่นที่ไม่มีชื่อได้ลงสนาม พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนใบส่งต�ำแหน่งใหม่
และส่งผู้เล่นที่มีชื่อในใบบันทึกลงสนามแทนต�ำแหน่งผู้เล่นที่ไม่มีชื่อนั้น
7.4 ต�ำแหน่ง (Position) (ภาพที่ 4)
ขณะที่ผู้เสิร์ฟท�ำการเสิร์ฟ แต่ละทีมต้องอยู่ในแดนของตนเองตามล�ำดับการหมุน
ต�ำแหน่ง (ยกเว้นผู้เสิร์ฟ) (7.6.1/8.1/12.4)
7.4.1 ต�ำแหน่งของผู้เล่น จ�ำแนกได้ดังนี้

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 167
7.4.1.1 ผูเ้ ล่นแถวหน้า 3 คน ทีอ่ ยูใ่ กล้ตาข่ายเป็นผูแ้ ล่นแถวหน้าอยูใ่ นต�ำแหน่งที่ 4
(หน้าซ้าย) ต�ำแหน่งที่ 3 (กลางหน้า) และต�ำแหน่งที่ 2 (หน้าขวา)
7.4.1.2 ส่วนอีก 3 คน เป็นผูเ้ ล่นแถวหลังอยูใ่ นต�ำแหน่งที่ 5 (หลังซ้าย) ต�ำแหน่งที่ 6
(กลางหลัง) และต�ำแหน่งที่ 1 (หลังขวา)
7.4.2 ความเกี่ยวข้องของต�ำแหน่งระหว่างผู้เล่น
7.4.2.1 ผูเ้ ล่นแถวหลังแต่ละคน ต้องมีตำ� แหน่งอยูห่ า่ งจากเส้นแบ่งแดนมากกว่า
คู่ของตนเองที่เป็นผู้เล่นแถวหน้า
7.4.2.2 ผู้เล่นแถวหน้าและแถวหลังแต่ละคู่ต้องอยู่ในต�ำแหน่งข้างเดียวกัน
ตามล�ำดับการหมุนต�ำแหน่งที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 7.4.1
7.4.3 ต�ำแหน่งของผูเ้ ล่นจะพิจารณาและควบคุมจากต�ำแหน่งของเท้าทีแ่ ตะพืน้ (ภาพที่ 4)
7.4.3.1 ผูเ้ ล่นแถวหน้าแต่ละคน ต้องมีสว่ นหนึง่ ส่วนใดของเท้าอยูใ่ กล้เส้นแบ่งแดน
มากกว่าเท้าของผู้เล่นแถวหลังที่เป็นคู่ของตน (1.3.3)
7.4.3.2 ผู้เล่นที่อยู่ทางขวา (หรือซ้าย) ต้องมีส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าใกล้กับ
เส้นข้างทางขวา (หรือซ้าย) มากกว่าผู้เล่นที่อยู่ในต�ำแหน่งกลางของแถวเดียวกัน (1.3.2)
7.4.4 เมื่อท�ำการเสิร์ฟลูกบอลออกไปแล้ว ผู้เล่นสามารถเคลื่อนที่ไปอยู่ต�ำแหน่งใด
ก็ได้ในแดนและเขตรอบสนามของตน
7.5 การผิดต�ำแหน่ง (Positional Fault) (ภาพที่ 4/ภาพที่ 11 (13))
7.5.1 ทีมจะผิดต�ำแหน่ง ถ้าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งไม่อยู่ในต�ำแหน่งที่ถูกต้องขณะที่
ผู้เสิร์ฟท�ำการเสิร์ฟลูกบอล ซึ่งรวมถึงผู้เล่นที่อยู่ในสนามที่เปลี่ยนตัวผิดกติกาด้วย (7.3/7.4/15.9)
7.5.2 ถ้าผูเ้ สิรฟ์ เสิรฟ์ ผิดกติกาขณะทีท่ ำ� การเสิรฟ์ จะถือว่าการเสิรฟ์ ผิดกติกาเกิดขึน้
ก่อนการผิดต�ำแหน่งของทีมตรงข้าม (12.4/12.7.1)
7.5.3 ถ้าการเสิรฟ์ ผิดกติกา หลังจากท�ำการเสิรฟ์ ออกไปแล้ว จะถือว่าการผิดต�ำแหน่ง
เกิดขึ้นก่อน (12.7.2)
7.5.4 การผิดต�ำแหน่งจะมีผลตามมาดังนี้ :
7.5.4.1 ทีมถูกท�ำโทษโดยเสียคะแนนและฝ่ายตรงข้ามได้เป็นฝ่ายเสิรฟ์ (6.1.3)
7.5.4.2 ปรับเปลี่ยนต�ำแหน่งของผู้เล่นให้ถูกต้อง (7.3/7.4)
7.6 การหมุนต�ำแหน่ง (Rotation)
7.6.1 ล�ำดับการหมุนต�ำแหน่งจะเป็นไปตามใบส่งต�ำแหน่งเริม่ ต้นเล่นของทีมและควบคุม
ด้วยล�ำดับการเสิร์ฟ และต�ำแหน่งของผู้เล่นตลอดทั้งเซต (7.3/7.4.1/12.2)

168 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
7.6.2 เมื่อทีมรับลูกเสิร์ฟได้สิทธิ์ท�ำการเสิร์ฟ ผู้เล่นต้องหมุนต�ำแหน่งตามเข็มนาฬิกาไป
1 ต�ำแหน่ง ผู้เล่นต�ำแหน่งที่ 2 จะหมุนไปต�ำแหน่งที่ 1 เพื่อท�ำการเสิร์ฟและผู้เล่นต�ำแหน่งที่ 1
หมุนไปต�ำแหน่งที่ 6 เป็นต้น (12.2.2.2)
7.7 การหมุนต�ำแหน่งผิด (Rotation Fault) (ภาพที่ 11 (13))
7.7.1 การหมุนต�ำแหน่งผิดเกิดขึน้ เมือ่ การเสิรฟ์ ไม่เป็นไปตามล�ำดับการหมุนต�ำแหน่ง
และมีผลตามมาดังนี้ (7.6.1/12)
7.7.1.1 ทีมถูกท�ำโทษโดยฝ่ายตรงข้ามได้คะแนนและได้เป็นฝ่ายเสิร์ฟ (6.1.3)
7.7.1.2 แก้ไขต�ำแหน่งของผู้เล่นให้ถูกต้อง (7.6.1)
7.7.2 ผู้บันทึกต้องหยุดการแข่งขันทันทีที่มีการผิดต�ำแหน่งเกิดขึ้นและคะแนน
ทีท่ ำ� ได้ทงั้ หมดขณะผิดต�ำแหน่ง ต้องยกเลิกส่วนคะแนนของทีมตรงข้ามให้คงไว้ตามเดิม (25.2.2.2)
ถ้าคะแนนขณะผิดต�ำแหน่งไม่สามารถตรวจพบได้ ให้ลงโทษเพียงให้ฝา่ ยตรงข้าม
ได้คะแนนและเป็นฝ่ายเสิร์ฟเท่านั้น (6.1.3)

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 169
ลั กษณะของการเล่น
(Playing Action)
กติกาข้อที่ 8 รูปแบบของการเล่น (States of Play)
8.1 ลูกบอลที่อยู่ในการเล่น (Ball in Play)
ลูกบอลจะอยูใ่ นการเล่นตัง้ แต่ขณะทีท่ ำ� การเสิรฟ์ โดยผูต้ ดั สินที่ 1 เป็นผูอ้ นุญาต (12.3)
8.2 ลูกบอลที่ไม่ได้อยู่ในการเล่น (Ball out of Play) หรือลูกตาย
ลูกบอลไม่ได้อยู่ในการเล่นตั้งแต่ขณะที่มีการท�ำผิดกติกา ซึ่งผู้ตัดสินคนใดคนหนึ่ง
จะเป็นผู้ให้สัญญาณนกหวีด การท�ำผิดกติกาสิ้นสุดลงพร้อมๆ กับสัญญาณนกหวีด
8.3 ลูกบอลลงในสนาม (Ball in) หรือลูกดี (ภาพที่ 11(14) และภาพที่ 12 (1))
ลูกบอลลงในสนามเมือ่ ลูกบอลถูกพืน้ สนามแข่งขัน รวมทัง้ เส้นเขตสนาม (1.1/1.3.2)
8.4 ลูกบอลออกนอกสนาม (Ball out) หรือลูกออก (ภาพที่ 11(15))
ลูกบอลออกนอกสนามเมื่อ :
8.4.1 บางส่วนของลูกบอลตกลงพื้นนอกเส้นเขตสนามอย่างสมบูรณ์ (1.3.2/
ภาพที่ 11 (15) และภาพที่ 12 (2))
8.4.2 ลูกบอลถูกสิ่งกีดขวางที่อยู่ภายนอกสนาม เพดาน หรือผู้ที่ไม่ได้แข่งขัน
(ภาพที่ 11 (5) และภาพที่ 12 (4))
8.4.3 ลู ก บอลถู ก เสาอากาศ เชื อ ก เสา หรื อ ตาข่ า ยที่ อ ยู ่ น อกแถบข้ า ง (2.3/
ภาพที่ 12 (4)/ภาพที่ 5 และภาพที่ 11 (15))
8.4.4 ลูกบอลข้ามตาข่ายทั้งลูกหรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของลูก นอกเขตแนว
ข้ามตาข่ายที่ก�ำหนดให้ ยกเว้นกรณีกติกาข้อ 10.1.2 (10.1.1/ภาพที่ 5/ภาพที่ 11 (15) และ
ภาพที่ 12 (4))
8.4.5 ลูกบอลลอดใต้ตาข่ายไปยังแดนของทีมตรงข้ามอย่างสมบูรณ์ (23.3.2.3f/
ภาพที่ 5 และภาพที่ 11 (22))

กติกาข้อที่ 9 การเล่นลูกบอล (Playing the Ball)


แต่ละทีมต้องเล่นลูกบอลภายในพื้นที่เล่นลูกและพื้นที่ว่างเหนือตาข่ายของทีมตนเอง
(ยกเว้นกติกาข้อ 10.1.2) อย่างไรก็ตามผู้เล่นสามารถน�ำลูกบอลกลับมาเล่นจากเขตรอบนอกได้

170 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
9.1 การถูกลูกบอลของทีม (Team Hits)
การถูกลูกบอล (A hit) เป็นการสัมผัสลูกบอลโดยผู้เล่นที่อยู่ในการเล่นทุกลักษณะ
ทีมถูกลูกบอลได้มากทีส่ ดุ 3 ครัง้ (นอกจากท�ำการสกัดกัน้ ตามกติกาข้อ 14.4.1) เพือ่ ส่งลูกบอลกลับ
ไปยังทีมตรงข้าม ถ้าถูกลูกบอลมากกว่านี้ ถือว่าทีมผิดกติกา “ถูกลูก 4 ครั้ง”
9.1.1 การถูกลูกบอลอย่างต่อเนื่อง (Consecutive Contacts)
ผูเ้ ล่นจะถูกลูกบอล 2 ครัง้ ติดต่อกันไม่ได้ (ยกเว้นกติกาข้อ 9.2.3/14.2/14.4.2)
(9.2.3/14.2/14.4.2)
9.1.2 การถูกลูกบอลพร้อมกัน (Simulteneous Contacts)
ผู้เล่น 2 คน หรือ 3 คน อาจถูกลูกบอลพร้อมๆกัน ได้ในเวลาเดียวกัน
9.1.2.1 เมื่อผู้เล่นทีมเดียวกัน 2 คน หรือ 3 คน อาจถูกลูกบอลพร้อมๆ กัน
จะถือว่าเป็นการถูกลูกบอล 2 ครั้ง หรือ 3 ครั้ง ยกเว้นเมื่อท�ำการสกัดกั้น ถ้าผู้เล่นหลายคน
ถึงลูกบอลพร้อมกัน แต่มีผู้เล่นถูกลูกบอลเพียงคนเดียว จะถือว่าถูกลูกบอล 1 ครั้ง ถึงแม้ว่าผู้เล่น
จะชนกันก็ไม่ถือว่าผิดกติกา
9.1.2.2 เมื่อทั้งสองฝ่ายถูกลูกบอลพร้อมๆ กันเหนือตาข่ายและยังเล่นลูกนั้น
ต่อไปได้ ทีมทีร่ บั ลูกนัน้ สามารถถูกลูกบอลได้อกี 3 ครัง้ ถ้าลูกบอลออกนอกสนาม จะถือว่าทีมทีอ่ ยู่
ฝั่งตรงข้ามกับลูกบอลเป็นฝ่ายท�ำลูกบอลออกนอกสนาม
9.1.2.3 ถ้าการถูกลูกบอลพร้อมๆ กันของทัง้ สองฝ่ายเหนือตาข่ายและมีการพัก
ลูกบอลเล่นลูกบอลนั้นจะเล่นต่อไป (9.1.2.2)
9.1.3 การถูกลูกบอลโดยมีการช่วยเหลือ (Assissted Hit)
ภายในบริเวณพื้นที่เล่นลูก ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นอาศัยเพื่อนร่วมทีมหรือสิ่งใดๆ
ช่วยให้ไปถึงลูกบอล (1)
อย่างไรก็ตามผูเ้ ล่นทีก่ ำ� ลังจะท�ำผิดกติกา (ถูกตาข่ายหรือข้ามเส้นแบ่งแดน ฯลฯ)
อาจได้รับการฉุดหรือดึงโดยเพื่อนร่วมทีมได้
9.2 ลักษณะของการถูกลูกบอล (Characteristic of the Hit)
9.2.1 ลูกบอลอาจถูกส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้
9.2.2 การถูกลูกบอลต้องเป็นการกระทบ ไม่ให้จบั และ/หรือทุม่ ลูกบอลจะกระดอน
กลับไปในทิศทางใดก็ได้
9.2.3 ลูกบอลอาจถูกหลายส่วนของร่างกายได้ ถ้าการถูกนั้นเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน
ข้อยกเว้น :
9.2.3.1 ในการสกัดกั้น ลูกบอลอาจถูกผู้สกัดกั้นคนเดียวหรือมากกว่า
ติดต่อกันได้ ถ้าการถูกลูกบอลนั้นเป็นลักษณะการถูกลูกบอลเพียงครั้งเดียว (During one action)
(14.1.1/14.2)
คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 171
9.2.3.2 การถูกลูกบอลครั้งแรกของทีม (ยกเว้นกติกาข้อ 9.2.4) ลูกบอล
อาจถูกส่วนต่างๆ ของร่างกายต่อเนื่องกันได้ ถ้าการถูกลูกบอลเป็นลักษณะการถูกลูกครั้งเดียว
(During one action) (9.1/14.4.1)
9.2.4 ในขณะรับลูกเสิร์ฟ ถ้าเป็นการรับด้วยลูกมือบนด้วยนิ้วมือ (Overhand
finger action) คือ การเซตลูก (Setting action) ในลักษณะสองจังหวะ (Double contact) หรือ
จับยึดลูก (Catch) ถือว่าเป็นการท�ำผิดกติกา
9.3 การท�ำผิดกติกาในการเล่นลูกบอล (Fault in Playing the Ball)
9.3.1 การถูกลูกบอล 4 ครั้ง (Four Hit) ทีมถูกลูกบอล 4 ครั้ง ก่อนส่งลูกบอล
ไปยังทีมตรงข้าม (9.1/ภาพที่ 11 (18))
9.3.2 การถูกลูกบอลโดยมีการช่วยเหลือ (Assissted Hit) ผูเ้ ล่นอาศัยเพือ่ นร่วมทีม
หรือสิ่งของใดๆ ช่วยให้เข้าถึงลูกบอลภายในบริเวณพื้นที่เล่นลูก (9.1.3)
9.3.3 การจับลูกบอล (Catch) เป็นการจับหรือทุ่มลูกบอล ลูกบอลไม่ได้กระดอน
จากจุดสัมผัส (9.2.2/ภาพที่ 11 (16))
9.3.4 การถูกลูกบอล 2 ครั้ง (Double Contact) ผู้เล่นถูกลูกบอล 2 ครั้ง หรือ
ลูกบอลถูกส่วนต่างๆ ของร่างกายหลายส่วน (9.2.3/ภาพที่ 11 (17))

กติกาข้อที่ 10 ลูกบอลที่บริเวณตาข่าย (Ball at The Net)
10.1 การข้ามตาข่ายของลูกบอล (Ball Crossing the Net)
10.1.1 ลูกบอลที่ส่งไปยังแดนของทีมตรงข้าม ต้องข้ามเหนือตาข่ายภายในพื้นที่
ส�ำหรับส่งลูกบอลข้ามตาข่าย พื้นที่ส�ำหรับส่งลูกบอลข้ามตาข่าย คือ พื้นที่ในแนวตั้งของตาข่าย
ที่ถูกก�ำหนดด้วยสิ่งต่อไปนี้ (10.2/ภาพที่ 5)
10.1.1.1 ส่วนต�่ำสุด โดยขอบบนของตาข่าย (2.2)
10.1.1.2 ด้านข้าง โดยเสาอากาศและแนวสมมุติที่สูงขึ้นไป (2.4)
10.1.1.3 ส่วนบนสุด โดยเพดาน
10.1.2 ลูกบอลที่ข้ามแนวตาข่ายไปยังเขตรอบสนามของทีมตรงข้ามทุกส่วนของลูก
หรือเพียงบางส่วนของลูกบอลภายนอกแนวข้ามตาข่าย ลูกบอลนั้นสามารถน�ำกลับมาเล่นต่อได้
โดยเล่นลูกไม่เกิน 3 ครั้ง ถ้า (9.1)
10.1.2.1 ผู้เล่นต้องไม่ถูกแดนของทีมตรงข้าม (11.2.2)
101.2.2 ลูกบอลที่น�ำกลับมา ต้องข้ามนอกเขตข้ามตาข่ายของลูกบอล
ทางด้านเดียวกันของสนามทัง้ ลูกหรือเพียงบางส่วนของลูก ทีมตรงข้ามจะกีดขวางการเล่นลูกนีไ้ ม่ได้

172 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
10.1.3 ลูกบอลที่ก�ำลังจะเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามบริเวณใต้ตาข่าย
เป็นลูกที่อยู่ในการเล่น จนกระทั่งลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านแนวใต้ตาข่ายโดยสมบูรณ์ (ภาพที่ 5/
ภาพที่ 11 (22)/23.3.2.3f)
10.2 การถูกตาข่ายของลูกบอล (Ball Touching the Net)
ลูกบอลอาจถูกตาข่ายได้ขณะที่ก�ำลังข้ามตาข่าย (10.1.1)
10.3 ลูกบอลที่ชนตาข่าย (Ball in the Net)
10.3.1 ลูกบอลที่พุ่งชนตาข่าย ยังเล่นต่อไปได้จนครบ 3 ครั้ง ตามก�ำหนด
การเล่นลูก (9.1)
10.3.2 ถ้าลูกบอลท�ำให้ตาของตาข่ายขาดหรือท�ำให้ตาข่ายหลุด ให้ยกเลิกการเล่น
ลูกครั้งนั้นและให้เล่นใหม่

กติกาข้อที่ 11 ผู้เล่นที่บริเวณตาข่าย (Player at The Net)


11.1 การล�้ำเหนือตาข่าย (Reaching Beyond the Net)
11.1.1 ในการสกัดกั้น ผู้สกัดกั้นอาจล�้ำตาข่ายเข้าไปถูกลูกบอลได้ถ้าไม่กีดขวาง
การเล่นลูกของทีมตรงข้าม โดยไม่ถูกลูกบอลก่อนหรือขณะที่ทีมตรงข้ามท�ำการรุก (14.1/14.3)
11.1.2 ภายหลังการรุก มือของผู้เล่นอาจล�้ำตาข่ายได้ ถ้าขณะถูกลูกบอลเป็นการ
ถูกลูกบอลในแดนของทีมตนเอง
11.2 การล�้ำใต้ตาข่าย (Penetration under the Net)
11.2.1 อนุญาตให้ล�้ำเข้าไปในที่ว่างใต้ตาข่ายของฝ่ายตรงข้ามได้ ถ้าไม่กีดขวาง
การเล่นของฝ่ายตรงข้าม
11.2.2 การล�้ำเส้นแบ่งแดนเข้าไปในแดนของทีมตรงข้าม (1.3.3/11.2.2.1/
ภาพที่ 11 (22))
11.2.2.1 อนุ ญ าตให้ สั ม ผั ส พื้ น สนามของฝ่ า ยตรงข้ า มด้ ว ยเท้ า หรื อ
สองเท้าได้ ทั้งนี้จะต้องมีส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้านั้นสัมผัส หรืออยู่เหนือเส้นแบ่งแดน (1.3.3/
และภาพที่ 11 (22))
11.2.2.2 อนุญาตให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายที่อยู่เหนือเท้าขึ้นไปสัมผัส
พืน้ สนามของฝ่ายตรงข้ามได้ ทัง้ นีจ้ ะต้องไม่กดี ขวางการเล่นของฝ่ายตรงข้าม (1.3.3/ 11.2.2.1/
ภาพที่ 11 (22))
11.2.3 ผู้เล่นอาจเข้าไปในแดนของทีมตรงข้ามได้หลังจากลูกตายแล้ว (8.2)
11.2.4 ผู้เล่นอาจเข้าไปในเขตรอบสนามของทีมตรงข้ามได้ ถ้าไม่กีดขวางการเล่น
ของทีมตรงข้าม

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 173
11.3 การถูกตาข่าย (Contact with the Net)
11.3.1 การถูกตาข่ายไม่ถือว่าผิดกติกา นอกจากเป็นการรบกวนการเล่นของ
ทีมตรงข้าม (11.4.4/24.3.2.3/24.3.2.3c/ภาพที่ 3)
11.3.2 ผู้เล่นสามารถถูกเสา เชือก หรือส่วนอื่นๆ ที่อยู่นอกเสาอากาศรวมถึง
ตัวตาข่ายได้ ทั้งนี้จะต้องไม่รบกวนการเล่นของทีมตรงข้าม (ภาพที่ 3)
11.3.3 ขณะที่ลูกบอลพุ่งเข้าชนตาข่ายและท�ำให้ตาข่ายถูกผู้เล่น ไม่ถือว่าเป็น
การท�ำผิดกติกา
11.4 ผู้เล่นท�ำผิดบริเวณตาข่าย (Player fault at the Net)
11.4.1 ผูเ้ ล่นถูกลูกบอลหรือถูกผูเ้ ล่นทีมตรงข้ามในแดนของทีมตรงข้ามหรือระหว่าง
ทีท่ ีมตรงข้ามท�ำเกมรุก (11.1.1/ภาพที่ 11 (20))
11.4.2 ผูเ้ ล่นรบกวนการเล่นของฝ่ายตรงข้าม ในขณะทีล่ ำ�้ แนวใต้ตาข่ายเข้าไป
ในแดนของฝ่ายตรงข้าม (11.2.1)
11.4.3 เท้าใดเท้าหนึ่งหรือสองเท้าของผู้เล่นล�้ำเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้าม
โดยสมบูรณ์ (11.2.2.2/ภาพที่ 11 (22))
11.4.4 ผู้เล่นรบกวนการเล่นของฝ่ายตรงข้ามโดย : (11.3.1)
11.4.4.1 ถูกขอบบนของตาข่ายหรือเสาอากาศส่วนที่อยู่เหนือตาข่าย
ขึ้นไป 80 เซนติเมตร ในขณะก�ำลังเล่นลูก หรือ (11.3.1/ภาพที่ 11 (19))
11.4.4.2 ใช้ตาข่ายเพื่อช่วยเหลือในขณะก�ำลังเล่นลูกบอล หรือ
11.4.4.3 กระท�ำในสิ่งที่ไม่ยุติธรรมต่อฝ่ายตรงข้าม หรือ
11.4.4.4 การกระท�ำในลักษณะทีเ่ ป็นการขัดขวางความพยายามในการเล่น
ของฝ่ายตรงข้าม

กติกาข้อที่ 12 การเสิร์ฟ (Service)


การเสิร์ฟเป็นการน�ำลูกบอลเข้าสู่การเล่น โดยผู้เล่นต�ำแหน่งหลังขวาอยู่ในเขตเสิร์ฟ
(8.1/12.4.1)
12.1 การเสิร์ฟครั้งแรกในแต่ละเซต (First Service in a Set)
12.1.1 การเสิร์ฟครั้งแรกในเซตที่ 1 และเซตตัดสิน (เซตที่ 5) จะท�ำโดยผลมาจาก
การเสี่ยง (6.3.2/7.1)
12.1.2 ในเซตอืน่ ๆ ทีมทีไ่ ม่ได้เสิรฟ์ ลูกแรกในเซตทีผ่ า่ นมาจะเป็นทีมทีท่ ำ� การเสิรฟ์
ลูกแรก

174 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
12.2 ล�ำดับการเสิร์ฟ (Service Order)
12.2.1 ล�ำดับการเสิรฟ์ ของผูเ้ ล่นต้องเป็นไปตามทีบ่ นั ทึกไว้ในใบส่งต�ำแหน่ง (7.3.1/7.3.2)
12.2.2 หลังจากการเสิรฟ์ ครัง้ แรกในแต่ละเซต ผูเ้ ล่นทีเ่ สิรฟ์ ครัง้ ต่อไปจะเป็นดังนี้ (12.1)
12.2.2.1 เมื่อฝ่ายเสิร์ฟชนะการเล่นลูกนั้น ผู้ที่ท�ำการเสิร์ฟอยู่แล้ว (หรือ
ผู้เล่นส�ำรองที่เปลี่ยนตัวเข้ามาแทน) จะท�ำการเสิร์ฟต่อ (6.1.3/15.5)
12.2.2.2 เมือ่ ฝ่ายรับลูกเสิรฟ์ ชนะในการเล่นลูกนัน้ จะได้สทิ ธิท์ ำ� การเสิรฟ์
และต้องหมุนต�ำแหน่งก่อนท�ำการเสิร์ฟ ผู้เล่นที่หมุนจากต�ำแหน่งหน้าขวาไปยังต�ำแหน่งหลังขวา
จะเป็นผู้เสิร์ฟ (6.1.3/7.6.2)
12.3 การอนุญาตให้ท�ำการเสิร์ฟ (Authorization of the Service)
ผู้ตัดสินที่ 1 เป็นผู้อนุญาตให้ท�ำการเสิร์ฟ หลังจากตรวจดูว่าทีมทั้งสองทีมพร้อมจะ
แข่งขันและผู้เสิร์ฟได้ถือลูกบอลไว้แล้ว (12/ภาพที่ 11 (1))
12.4 การปฏิบัติในการเสิร์ฟ (Execution of the Service) (ภาพที่ 11 (10))
12.4.1 จะต้องเสิร์ฟด้วยมือเดียวหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของแขนเพียงข้างเดียว
หลังจากผู้เสิร์ฟโยนหรือปล่อยลูกบอลออกจากมือแล้ว
12.4.2 อนุ ญ าตให้ โ ยนหรื อ ปล่ อ ยลู ก บอลเพื่ อ ท� ำ การเสิ ร ์ ฟ ได้ เ พี ย งครั้ ง เดี ย ว
แต่อนุญาตให้เดาะหรือเคลื่อนไหวลูกบอลในมือได้
12.4.3 ขณะท�ำการเสิรฟ์ หรือกระโดดเสิรฟ์ ผูเ้ สิรฟ์ ต้องไม่ถกู พืน้ เขตสนาม (รวมทัง้
เส้นหลังด้วย) หรือพื้นนอกเขตเสิร์ฟ (14.2/27.2.1.4/ภาพที่ 12 (22))
หลังจากท�ำการเสิร์ฟแล้ว ผู้เสิร์ฟสามารถเหยียบหรือถูกพื้นนอกเขตเสิร์ฟ
หรือพื้นในเขตสนามได้
12.4.4 ผูเ้ สิรฟ์ ต้องท�ำการเสิรฟ์ ลูกภายใน 8 วินาที หลังจากผูต้ ดั สินที่ 1 เป่านกหวีด
ให้ท�ำการเสิร์ฟ (12.3/ภาพที่ 11 (12))
12.4.5 การเสิร์ฟก่อนสัญญาณนกหวีดให้ยกเลิก และให้ท�ำการเสิร์ฟใหม่ (12.3)
12.5 การก�ำบัง (Screening) (ภาพที่ 11 (12))
12.5.1 ผู้เล่นของทีมที่ท�ำการเสิร์ฟคนเดียวหรือหลายคนก็ตามต้องไม่บังทีมตรงข้าม
เพื่อมิให้มองเห็นผู้เสิร์ฟหรือวิถีของลูกบอล (12.5.2)
12.5.2 ถ้าเป็นผู้เล่นคนเดียวหรือหลายคนของทีมที่ท�ำการเสิร์ฟเคลื่อนไหวแขน
กระโดด หรือเคลื่อนที่ไปข้างๆ ขณะที่ก�ำลังท�ำการเสิร์ฟ หรือยืนเป็นกลุ่มเพื่อบังผู้เสิร์ฟและวิถีของ
ลูกบอล (12.4/ภาพที่ 6)

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 175
12.6 การกระท�ำผิดระหว่างท�ำการเสิร์ฟ (Faults Made During the Service)
12.6.1 การเสิร์ฟที่ผิดกติกา การผิดกติกาต่อไปนี้จะต้องเปลี่ยนเสิร์ฟ ถึงแม้ว่า
ทีมตรงข้ามจะผิดต�ำแหน่ง (12.2.2.2/12.7.1)
12.6.1.1 ท�ำการเสิร์ฟผิดล�ำดับการเสิร์ฟ (12.2)
12.6.1.2 ท�ำการเสิร์ฟไม่ถูกต้อง (12.4)
12.6.2 การผิดกติกาหลังจากเสิร์ฟ
หลังจากเสิร์ฟลูกบอลออกไปอย่างถูกต้องแล้ว การเสิร์ฟนั้นจะผิดกติกา
(ยกเว้นผู้เล่นผิดต�ำแหน่ง) ถ้า : (12.4/12.7.2)
12.6.2.1 ลูกบอลถูกผู้เล่นของทีมที่ท�ำการเสิร์ฟหรือไม่ข้ามผ่านพื้นที่ว่าง
เหนือตาข่ายอย่างสมบูรณ์ (8.4.4/8.4.5/10.1.1/ภาพที่ 11 (15))
12.6.2.2 ลูก “ออก” (8.4/ภาพที่ 11 (15))
12.6.2.3 ลูกบอลผ่านเหนือการก�ำบัง (12.5/ภาพที่ 11 (12))
12.7 การผิดกติกาหลังจากการเสิร์ฟและการผิดต�ำแหน่ง (Faults Made After
the Service and Positional Fault)
12.7.1 ถ้าผู้เสิร์ฟท�ำการเสิร์ฟผิดกติกาขณะเสิร์ฟ (เสิร์ฟไม่ถูกต้องหรือผิดล�ำดับ
การเสิร์ฟ เป็นต้น) และทีมตรงข้ามผิดต�ำแหน่ง การเสิร์ฟผิดกติกาจะถูกท�ำโทษ (7.5.1/7.5.2/12.6.1)
12.7.2 ถ้าการเสิร์ฟกระท�ำไปอย่างถูกต้อง แต่เป็นลูกเสียในเวลาต่อมา (ลูกออก
หรือผ่านเหนือการก�ำบัง เป็นต้น) จะถือว่าการผิดต�ำแหน่งเกิดขึน้ ก่อน และจะท�ำโทษการผิดต�ำแหน่ง
(7.5.3/12.6.2)

กติกาข้อที่ 13 การรุก (Attack Hit)


13.1 การรุก (Attack Hit) (12/14.1.1)
13.1.1 การกระท�ำใดๆ ทีส่ ง่ ลูกบอลไปยังทีมตรงข้าม ยกเว้นการเสิรฟ์ และการสกัดกัน้
ถือว่าเป็นการรุก (ภาพที่ 2)
13.1.2 ขณะท�ำการรุก อนุญาตให้ใช้ปลายนิ้วเล่นลูกได้ ถ้าการถูกลูกเป็นไปอย่าง
ชัดเจน และไม่ได้เป็นการจับหรือทุ่มลูกบอลออกไป (9.2.2)
13.1.3 การรุกจะสมบูรณ์ เมื่อลูกได้ข้ามแนวดิ่งของตาข่ายไปแล้วทั้งลูก หรือ
เมื่อทีมตรงข้ามถูกลูกบอล
13.2 ข้อจัดของการรุก (Restrictions of the Attack Hit)
13.2.1 ผู้เล่นแถวหน้าสามารถท�ำการรุกได้ทุกระดับความสูง ถ้าการถูกลูกบอล
อยู่ภายในแดนของตนเอง (ยกเว้นกติกาข้อ 13.2.4) (7.4.1.1)

176 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
13.2.2 ผู้เล่นแถวหลังสามารถท�ำการรุกได้ทุกระดับความสูงจากหลังแดนหน้า โดย
: (1.4.1/7.4.1.2/19.3.1.2/ภาพที่ 8)
13.2.2.1 ขณะกระโดด เท้ า ข้ า งหนึ่ ง (ทั้ ง สองข้ า ง) ต้ อ งไม่ แ ตะหรื อ
ข้ามเส้นรุก (1.3.4)
13.2.2.2 หลังจากตบลูกแล้ว สามารถลงยืนในเขตรุกได้ (1.4.1)
13.2.3 ผู ้ เ ล่ น แถวหลั ง สามารถท� ำ การรุ ก ในเขตรุ ก ได้ ถ้ า ขณะถู ก ลู ก บอลนั้ น
มีส่วนของลูกบอลอยู่ต�่ำกว่าขอบบนสุดของตาข่าย (1.4.1/7.4.1.2/ภาพที่ 8)
13.2.4 ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นท�ำการรุกโดยสมบูรณ์จากลูกที่มาจากการเสิร์ฟของ
ทีมตรงข้าม โดยในขณะท�ำการรุกลูกบอลอยูใ่ นเขตรุกและอยูเ่ หนือขอบบนสุดของตาข่ายทัง้ ลูก (1.4.1)
13.3 การรุกที่ผิดกติกา (Fault of the Attack Hit)
13.3.1 ตบลูกบอลในแดนของทีมตรงข้าม (13.2.1/ภาพที่ 11 (20))
13.3.2 ตบลูกบอลออกนอกเขตสนาม (8.4/ภาพที่ 11 (15))
13.3.3 ผู้เล่นแถวหลังท�ำการรุกโดยสมบูรณ์ในเขตรุก ขณะที่ลูกบอลอยู่เหนือ
ขอบบนสุดของตาข่ายทั้งลูก (1.4.1/7.4.1.2/13.2.3/ภาพที่ 11 (21))
13.3.4 ผู้เล่นท�ำการรุกโดยสมบูรณ์จากลูกที่มาจากการเสิร์ฟของฝ่ายตรงข้าม
โดยในขณะที่ลูกบอลอยู่ในเขตรุกและอยู่เหนือขอบบนสุดของตาข่ายทั้งลูก (1.4.1/13.2.4/
ภาพที่ 11 (21))
13.3.5 ตัวรับอิสระท�ำการรุกโดยสมบูรณ์ ถ้าขณะท�ำการรุกลูกบอลทัง้ ลูกอยูเ่ หนือ
ขอบบนสุดของตาข่าย (19.3.1.2/23.3.2.3d/ภาพที่ 11 (21))
13.3.6 ผู้เล่นท�ำการรุกโดยสมบูรณ์ขณะลูกบอลอยู่เหนือขอบบนสุดของตาข่าย
จากลูกทีต่ วั รับอิสระอยูใ่ นแดนหน้าและใช้นวิ้ มือส่งลูกบอลมาให้ดว้ ยการลูกมือบน (1.4.1/19.3.1.4/
23.3.2.3e และภาพที่ 11 (21))

กติกาข้อที่ 14 การสกัดกั้น (Block)


14.1 การสกัดกั้น (Blocking)
14.1.1 การสกัดกั้น คือ การเล่นโดยผู้เล่นที่อยู่ชิดตาข่ายยื่นมือขึ้นสูงกว่าระดับ
สูงสุดของตาข่าย ท�ำการป้องกันลูกบอลทีจ่ ะมาจากทีมตรงข้าม ผูเ้ ล่นแถวหน้าเท่านัน้ ทีไ่ ด้รบั อนุญาต
ให้ท�ำการสกัดกั้นโดยสมบูรณ์ได้ โดยขณะที่ถูกลูกบอลนั้นส่วนของร่างกายต้องอยู่เหนือขอบบนสุด
ของตาข่าย (7.4.1.1)
14.1.2 ความพยายามท�ำการสกัดกัน้ คือ ลักษณะของการท�ำการสกัดกัน้ แต่ไม่ถกู ลูกบอล
14.1.3 การสกัดกั้นโดยสมบูรณ์ คือ การสกัดกั้นที่ผู้สกัดกั้นถูกลูกบอล (ภาพที่ 7)

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 177
14.1.4 การสกัดกัน้ เป็นกลุม่ คือ การสกัดกัน้ โดยผูเ้ ล่นสองหรือสามคนทีอ่ ยูใ่ กล้คน
การสกัดกั้นจะสมบูรณ์เมื่อผู้เล่นคนใดคนหนึ่งถูกลูกบอล
14.2 การถูกลูกบอลขณะท�ำการสกัดกั้น (Block Contact)
การถูกลูกบอลหลายครั้ง (อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง) โดยผู้สกัดกั้นคนเดียวหรือ
มากกว่าอาจเกิดขึ้นได้ ถ้าการถูกลูกนั้นเป็นลักษณะท�ำการสกัดกั้นเพียงครั้งเดียว (9.1.1/9.2.3)
14.3 การสกัดกัน้ ในแดนของทีมตรงข้าม (Blocking within the Opponent’s Space)
ในการสกัดกัน้ ผูเ้ ล่นสามารถยืน่ มือและแขนล�ำ้ เหนือตาข่ายได้ ถ้าไม่กดี ขวางการเล่น
ของทีมตรงข้าม จะไม่อนุญาตให้ถูกลูกบอลในแดนของทีมตรงข้ามก่อนที่ที่ตรงข้ามจะถูกลูกบอล
เพื่อท�ำการรุกแล้ว (13.1.1)
14.4 การสกัดกั้นและการถูกลูกบอลของทีม (Block and Team Hits)
14.4.1 การถู ก ลู ก บอลโดยการสกั ด กั้ น จะไม่ นั บ เป็ น การถู ก ลู ก บอลของที ม
หลังจากถูกลูกบอลโดยการสกัดกั้นแล้ว ทีมนั้นยังถูกลูกบอลได้อีก 3 ครั้ง เพื่อส่งลูกกลับไปยัง
ทีมตรงข้าม (9.1/14.4.2)
14.4.2 หลังจากท�ำการสกัดกั้น ผู้ถูกลูกแรกจะเป็นผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง รวมทั้ง
ผู้เล่นที่ถูกลูกบอลในการกั้นด้วยก็ได้ (14.4.1)
14.5 การสกัดกั้นลูกเสิร์ฟ (Blocking the Service)
ห้ามสกัดกั้นลูกบอลที่มาจากการเสิร์ฟของทีมตรงข้ามเสิร์ฟ (ภาพที่ 11 (12))
14.6 การสกัดกั้นที่ผิดกติกา (Blocking Fault)
14.6.1 ผู้สกัดกั้นถูกลูกบอลในแดนของทีมตรงข้าม ก่อนหรือพร้อมกับการถูกลูก
เพื่อท�ำการรุกของทีมตรงข้าม (ภาพที่ 11 (12)/ 14.3)
14.6.2 ผู้เล่นแถวหลังหรือตัวรับอิสระท�ำการสกัดกั้นโดนสมบูรณ์ หรือร่วมกลุ่ม
ท�ำการสกัดกั้นโดยสมบูรณ์ (14.1/14.5/19.3.1.3)
14.6.3 สกัดกั้นการเสิร์ฟของทีมตรงข้าม (14.5/ภาพที่ 11 (12))
14.6.4 ลูกบอลถูกสกัดกั้นแล้วออกนอกเขตสนาม (8.4)
14.6.5 สกัดกั้นลูกบอลด้านนอกเสาอากาศในแดนของทีมตรงข้าม
14.6.6 ตั ว รั บ อิ ส ระพยายามท� ำ การสกั ด กั้ น ด้ ว ยตนเองหรื อ ร่ ว มกั บ ผู ้ เ ล่ น อื่ น
(14.1.1/19.3.1.3)

178 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ก ารหยุดการแข่งขัน การหยุดพัก และการถ่วงเวลา
(Interruption and Delays)
กติกาข้อที่ 15 การหยุดการแข่งขันตามกติกา (Regular Game Interruption)
การหยุดการแข่งขันตามกติกา ได้แก่ การขอเวลานอกและการเปลี่ยนตัว (15.4/15.5)
ช่ ว งหยุ ด การแข่ ง ขั น เป็ น ช่ ว งเวลาเมื่ อ สิ้ น สุ ด การเล่ น ลู ก จนกระทั่ ง ผู ้ ตั ด สิ น ที่ 1
ได้เป่านกหวีด 8.1/8.2)
15.1 จ�ำนวนครัง้ ของการขอหยุดการแข่งขันตามกติกา (Number of Regular
Interruption)
แต่ละทีมจะขอเวลานอกได้อย่างมากไม่เกิน 2 ครั้งและเปลี่ยนตัวผู้เล่น
6 คน ต่อเซต (6.2/15.4/15.5)
15.2 การขอหยุดการแข่งขันตามกติกา (Request Regular Interruption)
15.2.1 ผู้ฝึกสอนหรือหัวหน้าทีมที่ลงแข่งขันเท่านั้นที่ขอหยุดการ
แข่งขันได้ (5.1.2/5.2/5.3.2/15)
การขอหยุดการแข่งขันกระท�ำโดยแสดงสัญญาณมือเมื่อลูกตาย
และก่อนสัญญาณนกหวีดให้ท�ำการเสิร์ฟ (8.2/12.3/ภาพที่ 11 (4, 5))
ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
และรายการแข่งขันที่เป็นทางการจะต้องใช้ออดและสัญญาณมือเพื่อขอเวลานอก
15.2.2 การขอเปลี่ยนตัวก่อนเริ่มการแข่งขันของแต่ละเซตสามารถ
ท�ำได้ และต้องบันทึกไว้เหมือนกับการขอเปลี่ยนตัวปกติในเซตนั้น (7.3.4)
15.3 ล�ำดับของการหยุดการแข่งขัน (Sequence of Interruption)
15.3.1 ที ม สามารถขอเวลานอกหนึ่ ง หรื อ สองครั้ ง ติ ด ต่ อ กั น ได้
และตามด้วยการขอเปลี่ยนตัวได้อีกด้วย โดยไม่ต้องรอให้มีการแข่งขันแทรกระหว่างการขอหยุด
การแข่งขันแต่ละครั้ง (15.4/15.5)
15.3.2 ไม่อนุญาตให้ทมี ขอเปลีย่ นตัวสองครัง้ ติดต่อกันในช่วงทีข่ อหยุด
การแข่งขันนั้น การเปลี่ยนตัวแต่ละครั้งจะเปลี่ยนครั้งละสองคนหรือมากกว่าก็ได้ (15.5/15.6.1)

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 179
15.4 เวลานอกปกติและเวลานอกทางเทคนิค (Time-outs and Technical
Time-outs)
15.4.1 การขอเวลานอกจะต้องท�ำโดยแสดงสัญญาณมือ ในขณะทีล่ กู ตาย
และก่อนสัญญาณนกหวีดเพือ่ การเสิรฟ์ การขอเวลานอกแต่ละครัง้ ใช้เวลา 30 วินาที (6.1.3/8.2/12.3/
ภาพที่ 11 (4))
ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
และการแข่งขันอย่างเป็นทางการ จะต้องใช้ออดและแสดงสัญญาณมือเพือ่ ขอเวลานอก (ภาพที่ 11 (4))
15.4.2 ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอล
นานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ ระหว่างเซตที่ 1 ถึง 4 เมือ่ ทีมใดน�ำไปถึงคะแนนที่ 8
และคะแนนที่ 16 ในแต่ละรวมเซต จะให้เวลานอกทางเทคนิคโดยอัตโนมัติครั้งละ 60 วินาที
(15.3.1)
15.4.3 ในเซตตัดสิน (เซตที่ 5) ไม่มกี ารให้เวลานอกทางเทคนิค จะ
มีเพียงให้แต่ละทีมขอเวลานอกตามปกติได้ 2 ครั้งๆ ละ 30 วินาที (6.3.2)
15.4.4 ระหว่างการขอเวลานอก ผู้เล่นในสนามทุกคนต้องออกไปอยู่
ที่เขตรอบสนามใกล้ม้านั่งของทีมตนเอง
15.5 การเปลี่ยนตัวผู้เล่น (Player Substitution) (ภาพที่ 11 (5))
15.5.1 การเปลี่ยนตัวเป็นการกระท�ำโดยผู้เล่น รวมถึงตัวรับอิสระ
และคูข่ องเขา หลังจากทีผ่ บู้ นั ทึกได้ทำ� การบันทึกการขอเปลีย่ นตัว และเข้าเล่นแทนในต�ำแหน่งทีเ่ ปลีย่ น
ตัวออกมา (ภาพที่ 11 (5)/15.10/19.3.2)
15.5.2 ขณะทีม่ กี ารเปลีย่ นตัวผูเ้ ล่นทีบ่ าดเจ็บทีอ่ ยูใ่ นสนาม ผูฝ้ กึ สอน
หรือ หัวหน้าทีม (Game caption) ควรแสดงสัญญาณมือประกอบด้วย
15.6 ข้อจ�ำกัดในการเปลี่ยนตัว (Limitation of Substitution)
15.6.1 ผู้เล่นที่เริ่มเล่นในแต่ละเซต สามารถออกจากการเล่นได้เพียง
1 ครั้ง และกลับเข้ามาเล่นใหม่ในต�ำแหน่งเดิมได้อีก 1 ครั้ง (7.3.1)
15.6.2 ผู้เล่นส�ำรองสามารถเปลี่ยนตัวกับผู้เล่นในแต่ละเซตได้เพียง
1 ครั้งต่อเซต และเขาจะสามารถเปลี่ยนตัวออกได้กับผู้เล่นที่เป็นคู่เดิมเท่านั้น (7.3.1)
15.7 การเปลี่ยนตัวที่ได้รับการยกเว้น (Exceptional Substitution)
ผูเ้ ล่นคนใด (ยกเว้นตัวรับอิสระ) ทีไ่ ม่สามารถเล่นต่อได้ เนือ่ งจากบาดเจ็บ
หรือเจ็บป่วย จะต้องเปลีย่ นตัวตามปกติ ถ้าไม่สามารถเปลีย่ นตัวตามปกติได้ ทีมสามารถขอเปลีย่ นตัว
ในกรณีพิเศษได้ ตามข้อก�ำหนดของกติกา ข้อ 15.6 (15.6/19.4.3)

180 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
การเปลี่ยนตัวที่ได้รับการยกเว้น หมายถึงผู้เล่นคนใดที่ไม่ได้อยู่ในสนาม
ขณะทีม่ กี ารบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย (ยกเว้นตัวรับอิสระ ตัวรับอิสระคนที่ 2 หรือผูเ้ ล่นปกติทเี่ ปลีย่ นตัว
กับตัวรับอิสระ) สามารถเปลีย่ นตัวกับผูเ้ ล่นทีบ่ าดเจ็บได้ ผู้เล่นที่บาดเจ็บจะไม่สามารถกลับเข้าเล่น
อีกในนัดนั้น
การเปลีย่ นตัวกรณีพเิ ศษนี้ จะไม่นบั เป็นจ�ำนวนครัง้ ของการเปลีย่ นตัวตามปกติ
แต่จะต้องมีการบันทึกไว้ในใบบันทึก ซึ่งเป็นส่วนของการเปลี่ยนตัวรวมในเซตนั้นและในนัดนั้น
15.8 การเปลี่ยนตัวผู้เล่นที่ถูกให้ออกหรือถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน
(Substitution for Expulsion or Disqualification)
ผู้เล่นที่ถูกให้ออกหรือถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน จะต้องเปลี่ยนตัว
ตามปกติได้ ทีมจะต้องถูกปรับเป็นไม่พร้อมที่จะแข่งขัน (6.4.3/7.3.1/15.6/21.3.2/21.3.3)
15.9 การเปลี่ยนตัวที่ผิดระเยียบ (Illegal Substitution)
15.9.1 การเปลี่ยนตัวจะผิดระเบียบ ถ้ามีการเปลี่ยนตัวที่ไม่เป็นไป
ตามกติกาข้อ 15.6 (ยกเว้นกรณีกติกาข้อ 15.7) หรือในกรณีมีผู้เล่นที่ไม่มีชื่อลงเล่นด้วย
15.9.2 เมือ่ ทีมมีการเปลีย่ นตัวทีผ่ ดิ ระเบียบและได้มกี ารเล่นต่อไปแล้ว
จะต้องด�ำเนินการดังนี้ (8.1/15.6)
15.9.2.1 ทีมถูกลงโทษโดยฝ่ายตรงข้ามได้คะแนนและเป็น
ฝ่ายเสิร์ฟ (6.1.3)
15.9.2.2 แก้ไขการเปลี่ยนตัวให้ถูกต้อง
15.9.2.3 ยกเลิกคะแนนของทีมที่ท�ำผิด เมื่อมีการกระท�ำผิด
เกิดขึ้นคะแนนของฝ่ายตรงข้ามให้คงไว้
15.10 ขบวนการเปลี่ยนตัว (Substitution Procedure)
15.10.1 การเปลี่ยนตัวจะต้องท�ำในเขตเปลี่ยนตัว (1.4.3/ภาพที่ 1b)
15.10.2 การเปลีย่ นตัวจะใช้เวลาเท่าทีจ่ ำ� เป็นเพือ่ บันทึกการเปลีย่ นตัวผูเ้ ล่น
ในใบบันทึกเท่านั้น และอนุญาตให้ผู้เล่นออกและเข้าสนาม (15.10.3/25.2.2.3)
15.10.3a การขอเปลี่ยนตัวคือ การที่ผู้เล่นส�ำรองเข้าไปในเขตเปลี่ยนตัว
พร้อมที่จะเล่น ขณะที่มีการหยุดการเล่น ผู้ฝึกสอนไม่จ�ำเป็นต้องแสดงสัญญาณมือ ยกเว้นการขอ
เปลี่ยนตัวในกรณีบาดเจ็บหรือก่อนเริ่มต้นเซต (1.4.3/7.3.3/15.6.3)
15.10.3b ถ้ า ผู ้ เ ล่ น เข้ า ไปในเขตเปลี่ ย นตั ว แล้ ว แต่ ไ ม่ ข อเปลี่ ย นตั ว
ทีมจะถูกท�ำโทษถ่วงเวลา (16.2)
15.10.3c การขอเปลี่ยนตัวจะรับทราบโดยสัญญาณออดจากผู้บันทึก
หรือสัญญาณนกหวีดจากผู้ตัดสินที่ 2 ผู้ตัดสินที่ 2 จะเป็นผู้อนุญาตการเปลี่ยนตัวนั้น

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 181
ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ และ
การแข่งขันอย่างเป็นทางการ ให้ใช้ปา้ ยเปลีย่ นตัวเพือ่ อ�ำนวยความสะดวกในการเปลีย่ นตัว
15.10.4 ถ้ า ที ม ต้ อ งการขอเปลี่ ย นตั ว พร้ อ มกั น มากกว่ า 1 คน
ผูเ้ ล่นทีจ่ ะเปลีย่ นตัวเข้าต้องพร้อมทีเ่ ขตเปลีย่ นตัวพร้อมกัน เพือ่ ให้เห็นว่าเป็นการขอในเวลาเดียวกัน
ในกรณีนี้การเปลี่ยนตัวจะท�ำเป็นคู่ๆ ถ้ามีผู้เล่นคนใดที่ขอเปลี่ยนตัวผิดกติกา ผู้เล่นคนนั้นจะต้อง
ถูกระงับการขอเปลี่ยนตัว และต้องถูกท�ำโทษถ่วงเวลา (1.4.3/15.2.2)
15.11 การขออนุญาตที่ผิดระเบียบ (Improper Request)
15.11.1 การขออนุญาตหยุดการเล่นจะผิดระเบียบเมื่อ : (15)
15.11.1.1 ขอระหว่างทีม่ กี ารเล่นหรือในขณะทีม่ กี ารเป่านกหวีด
ให้เสิร์ฟหรือภายหลังการเป่านกหวีดให้เสิร์ฟ (6.1.3/15.2.1)
15.11.1.2 ขอโดยสมาชิกของทีมที่ไม่มีสิทธิ์ (15.2.1)
15.11.1.3 ขอเปลี่ยนตัวผู้เล่นก่อนที่จะมีการเล่นหลังจาก
การเปลี่ยนตัวครั้งก่อน (15.3.2)
15.11.1.4 ขอเวลานอกและเปลีย่ นตัวผูเ้ ล่นเมือ่ จ�ำนวนทีม่ สี ทิ ธิ์
ขอได้หมดลง (15.1)
15.11.2 การขออนุญาตทีผ่ ดิ ระเบียบครัง้ แรกของทีมในนัดนัน้ ทีไ่ ม่เป็นผล
หรือไม่มีการท�ำให้การเล่นต้องล่าช้าจะได้รับการปฏิเสธโดยไม่มีผลใดๆ (15.11.3/16.1/25.2.2.6)
15.11.3 การขออนุญาตทีผ่ ดิ ระเบียบครัง้ ต่อๆ มาของทีมเดิมในนัดนัน้
จะเป็นการถ่วงเวลา (16)

กติกาข้อที่ 16 การถ่วงเวลาการแข่งขัน (Game Delays)


16.1 ชนิดของการถ่วงเวลาการแข่งขัน (Types of Delays)
การกระท�ำใดๆ ของทีมทีเ่ ป็นเหตุให้การแข่งขันล่าช้าถือว่าเป็นการถ่วงเวลา
ประกอบด้วย
16.1.1 การเปลี่ยนตัวล่าช้า (15.10.2)
16.1.2 เมื่อได้รับแจ้งให้เริ่มการแข่งขันแล้ว ยังท�ำให้การขอหยุด
การแข่งขันเนิ่นนานออกไปอีก (15)
16.1.3 ขอเปลี่ยนตัวผิดกติกา
16.1.4 ขอหยุดการแข่งขันผิดกติกาซ�้ำอีก (15.11.3)
16.1.5 การถ่วงเวลาการแข่งขันโดยสมาชิกของทีม

182 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
16.2 บทท�ำโทษในการถ่วงเวลา (Delay Sanctions) (ภาพที่ 9)
16.2.1 การเตือนถ่วงเวลา (Delay Warning) และการลงโทษถ่วงเวลา
(Delay Penalty) เป็นการท�ำโทษ
16.2.1.1 การถูกท�ำโทษถ่วงเวลาจะมีผลต่อเนื่องตลอดการแข่งขันนัดนั้น
16.2.1.2 การถูกท�ำโทษและการถูกเตือนถ่วงเวลาต้องถูกบันทึกลงใน
ใบบันทึกการแข่งขัน (25.2.2.6)
16.2.2 การถ่วงเวลาครั้งแรกของทีมในนัดนั้น จะถูกท�ำโทษด้วยการ
เตือนถ่วงเวลา (Delay Warning) (4.1.1/ภาพที่ 11 (25))
16.2.3 การถ่วงเวลาครั้งที่ 2 และครั้งต่อๆ ไปทุกชนิดในการแข่งขัน
ครั้งเดียวกันโดยสมาชิกหรือผู้เล่นของทีมเดียวกัน ถือว่าเป็นการท�ำผิดกติกาและจะถูกท�ำโทษ
ถ่วงเวลา (Delay Penalty) (6.1.3/ภาพที่ 11 (25))
16.2.4 การท�ำโทษถ่วงเวลาก่อนเริ่มต้นเซตหรือระหว่างเซตจะมีผล
ในเซตถัดไป (18.1)
16.2.5 การท�ำโทษก่อนเวลาเซตหรือระหว่างเซตจะมีผลในเซตถัดไป (18.1)

กติกาข้อที่ 17 การหยุดการแข่งขันทีไ่ ด้รบั การยกเว้น (Exceptional Interruptions)


17.1 การบาดเจ็บ (Injury) (8.1)
17.1.1 เมื่อมีอุบัติเหตุร้ายแรงขณะมีการเล่นลูก ผู้ตัดสินต้องหยุด
การแข่งขันทันทีและอนุญาตให้พยาบาลลงไปในสนามได้ แล้วให้เล่นลูกนั้นใหม่ (6.1.3)
17.1.2 ถ้าผู้เล่นที่บาดเจ็บไม่สามารถเปลี่ยนตัวตามกติกาหรือตาม
ข้อยกเว้นจะอนุญาตให้พยาบาลผู้เล่นนั้นได้ 3 นาที แต่จะท�ำได้เพียงครั้งเดียวในการแข่งขันนัดนั้น
ส�ำหรับผู้เล่นคนเดิม (15.6/15.7/24.2.8) ถ้าพยายามแล้วยังเล่นต่อไปไม่ได้ จะถือว่าทีมนั้น
ไม่พร้อมท�ำการแข่งขัน (6.4.3/7.3.1)
17.2 เหตุขัดข้องนอกเหนือกติกาการแข่งขัน (External Interference)
ถ้ามีเหตุขัดข้องนอกเหนือกติกาเกิดขึ้นระหว่างการแข่งขัน จะต้องหยุด
การแข่งขันและให้เล่นลูกนั้นใหม่ (6.1.3)
17.3 เหตุขัดข้องเป็นเวลายาวนาน (Prolonged Interruptions)
17.3.1 ถ้ามีเหตุไม่คาดฝันท�ำให้การแข่งขันหยุดลง ผู้ตัดสินที่ 1
ฝ่ายจัดการแข่งขันและคณะกรรมการควบคุมการแข่งขันจะร่วมกันตัดสินใจให้การแข่งขันด�ำเนิน
ต่อไปตามปกติ

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 183
17.3.2 ถ้าต้องหยุดการเล่นครั้งเดียวหรือหลายๆ ครั้ง แต่รวมแล้ว
ไม่เกิน 4 ชั่วโมง : (17.3.1)
17.3.2.1 ถ้าการเล่นได้เริ่มใหม่ที่สนามเดิม เซตที่หยุดเล่น
ไปจะถูกน�ำกลับมาเล่นตามปกติ โดยใช้คะแนนผู้เล่น (ยกเว้นผู้เล่นที่ถูกให้ออกจากการแข่งขัน
หรือถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน) และต�ำแหน่งเดิม ผลการแข่งขันของเซตที่ผ่านไปยังมีผล
เหมือนเดิม (1/7.3)
17.3.2.2 ถ้าได้เริ่มใหม่ที่สนามอื่น ให้ยกเลิกผลการแข่งขัน
ในเซตที่หยุดเล่น แล้วเริ่มต้นเล่นใหม่ตามต�ำแหน่งเดิม (ยกเว้นผู้เล่นที่ถูกให้ออกจากการแข่งขัน
หรือถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน) และการลงโทษที่ได้บันทึกไว้ให้คงไว้เช่นเดิม ผลการแข่งขัน
ของเซตที่ผ่านไปยังมีผลเหมือนเดิม (7.3/21.4.1/ภาพที่ 9)
17.3.3 ถ้าต้องหยุดการแข่งขันครัง้ เดียวหรือหลายๆ ครัง้ รวมกันแล้ว
เกิน 4 ชั่วโมง จะต้องท�ำการแข่งขันนัดนั้นใหม่

กติกาข้อที่ 18 การหยุดพักและการเปลี่ยนแดน (Intervals and Change of Courts)


18.1 การหยุดพักระหว่างเซต (Intervals)
การหยุดพักระหว่างเซตจะพักเซตละ 3 นาที ระหว่างการหยุดพักนี้
จะท�ำการเปลี่ยนแดน และบันทึกต�ำแหน่งเริ่มแข่งขันลงในใบบันทึกผลการแข่งขัน (4.2.4/18.2/
25.2.1.2) การหยุดพักระหว่างเซตที่ 2 และเซตที่ 3 อาจขยายเวลาพักเป็น 10 นาทีได้ตามค�ำขอ
ของฝ่ายจัดการแข่งขัน
18.2 การเปลี่ยนแดน (Change of Courts) (ภาพที่ 11 (3))
18.2.1 เมื่อการแข่งขันแต่ละเซตจบลง ทั้งสองทีมจะเปลี่ยนแดน
ยกเว้นเซตตัดสิน (7.1)
18.2.2 ในเซตตัดสินเมือ่ ทีมใดท�ำได้ 8 คะแนน จะท�ำการเปลีย่ นแดนทันที
และต�ำแหน่งของผู้เล่นให้เป็นไปตามเดิม (6.3.2/7.4.1/25.2.2.5)
ถ้าไม่ได้เปลี่ยนแดน เมื่อทีมน�ำท�ำคะแนนได้ 8 คะแนน
จะต้องท�ำการเปลี่ยนแดนทันทีเมื่อพบข้อผิดพลาด ส่วนคะแนนให้เป็นไปตามเดิม

184 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
เล่นตัวรับอิสระ
(The Libero Player)
กติกาข้อที่ 19 ตัวรับอิสระ (The Libero Player)
19.1 การแต่งตั้งตัวรับอิสระ (Designation of the Libero)
19.1.1 แต่ละทีมมีสิทธิ์แต่งตั้งตัวรับอิสระที่รับลูกบอลได้ดีเป็นพิเศษ
2 คน จากรายชื่อผู้เล่น (4.1.1)
ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
และการแข่งขันอย่างเป็นทางการรุ่นไม่จ�ำกัดอายุ เมื่อทีมเลือกที่จะมีผู้เล่นเกินกว่า 12 คน และ
ทีมจะต้องแต่งตั้งตัวรับอิสระที่รับลูกบอลได้ดีเป็นพิเศษ 2 คน จากรายชื่อผู้เล่น
19.1.2 ก่อนเริม่ การแข่งขันต้องบันทึกตัวรับอิสระทุกคนลงในใบบันทึก
การแข่งขันที่บรรทัดซึ่งจัดไว้เป็นพิเศษส�ำหรับการนี้
ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
และการแข่งขันอย่างเป็นทางการ ผูเ้ ล่นตัวรับอิสระทุกคนต้องบันทึกลงในใบบันทึกการแข่งขัน
ที่บรรทัดซึ่งจัดไว้เป็นพิเศษส�ำหรับการนี้เท่านั้น
19.1.3 ตัวรับอิสระทีอ่ ยูใ่ นสนาม เป็นตัวรับอิสระทีล่ งเล่น (Active Libero)
ถ้าทีมมีตัวรับอิสระคนอื่น จะท�ำหน้าที่เป็นตัวรับอิสระคนที่ 2 ของทีม (Second Libero)
ตลอดเวลาจะมีผู้เล่นตัวรับอิสระในสนามได้เพียงคนเดียว
19.2 เครื่องแต่งกาย (Equipment)
ตัวรับอิสระต้องสวมชุดแข่งขัน (หรือเสื้อที่ออกแบบพิเศษส�ำหรับตัวรับ
อิสระ) อย่างน้อยที่สุดสีเสื้อต้องแตกต่างจากเพื่อนร่วมทีม แบบชุดแข่งขันตัวรับอิสระอาจแตกต่าง
จากคนอื่น แต่แบบของหมายเลขบนชุดแข่งขันต้องเหมือนกับของเพื่อนร่วมทีม (4.3)
ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ และ
การแข่งขันอย่างเป็นทางการ ผู้เล่นตัวรับอิสระที่ได้รับแต่งตั้งแทนถ้าเป็นไปได้ จะต้องสวมเสื้อ
ที่มีสีและแบบเดียวกับตัวรับอิสระคนแรก แต่ต้องเป็นหมายเลขของตัวเอง
19.3 ลักษณะการเล่นของตัวรับอิสระ (Actions Involving the Libero)
19.3.1 ลักษณะการเล่น
19.3.1.1 ตั ว รั บ อิ ส ระจะเปลี่ ย นเข้ า แทนผู ้ เ ล่ น แดนหลั ง
คนใดก็ได้ (7.4.1.2)

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 185
19.3.1.2 ตัวรับอิสระถูกก�ำหนดให้ทำ� หน้าทีเ่ หมือนกับผูเ้ ล่น
แดนหลังคนหนึ่ง ไม่อนุญาตให้ท�ำการรุกโดยสมบูรณ์ ไม่ว่าจากจุดใดของสนาม (ทั้งภายในสนาม
แข่งขัน และเขตเล่นลูก) ถ้าขณะถูกลูกบอลทุกส่วนของลูกบอลอยู่สูงกว่าขอบบนของตาข่าย
(13.2.2/13.2.3/14.3.5)
19.3.1.3 ตัวรับอิสระจะท�ำการเสิรฟ์ สกัดกัน้ หรือพยายาม
ท�ำการสกัดกั้นไม่ได้ (12/14.1/14.6.2/14.6.6)
19.3.1.4 จะไม่อนุญาตให้เพือ่ นร่วมทีมท�ำการรุกโดยสมบูรณ์
ในขณะที่ลูกบอลอยู่สูงกว่าขอบบนของตาข่าย ถ้าลูกนั้นมาจากการส่งด้วยมือของตัวรับอิสระ
ที่อยู่ในแดนหน้าของทีมตนเอง เพื่อนร่วมทีมสามารถท�ำการรุกได้อย่างเสรี (1.4.1/13.3.623.2.3
3d,e /ภาพที่ 1b)
19.3.2 การเปลี่ยนตัวรับอิสระ (Libero Replacements)
19.3.2.1 การเปลีย่ นตัวทีเ่ กีย่ วกับตัวรับอิสระจะไม่นบั จ�ำนวน
ครัง้ ท�ำนองเดียวกับการเปลี่ยนตัวตามปกติ (6.1.3, 15.5)
จะไม่มีการจ�ำกัดจ�ำนวนครั้ง แต่ต้องมีการสิ้นสุด
การเล่นลูก 1 ครั้ง ก่อน นอกจากถูกลงโทษ และต้องไปในต�ำแหน่งที่ 4 หรือตัวรับอิสระในสนาม
(Acting Libero) ไม่สามารถเล่นต่อไปได้ (Unable to play) ท�ำให้การเล่นนั้นต้องหยุดลง
19.3.2.2 ผู้เล่นปกติที่เปลี่ยนตัวกับตัวรับอิสระ สามารถ
เปลี่ยนตัวกับตัวรับอิสระนั้น หรือกับตัวรับอิสระคนอื่นได้
ตัวรับอิสระที่อยู่ในสนาม สามารถเปลี่ยนตัวกับ
ผู้เล่นปกติที่เปลี่ยนออกหรือเปลี่ยนกับตัวรับอิสระคนที่ 2
19.3.2.3 ขณะที่จะมีการเริ่มต้นในแต่ละเซต ตัวรับอิสระ
จะต้องไม่สนามจนกว่าผู้ตัดสินที่ 2 ได้ตรวจสอบต�ำแหน่งเริ่มต้นแล้ว (7.3.2, 12.1)
19.3.2.4 การเปลี่ยนตัวรับอิสระจะต้องท�ำขณะลูกตาย
และก่อนสัญญาณนกหวีดในการเสิร์ฟ (8.2, 12.3)
19.3.2.5 การเปลี่ยนตัวรับอิสระภายหลังสัญญาณนกหวีด
ให้ท�ำการเสิร์ฟ แต่ก่อนที่ผู้เสิร์ฟได้ท�ำการเสิร์ฟ ผู้ตัดสินต้องไม่ปฏิเสธ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อสิ้นสุด
การเล่นลูกนั้นจะต้องแจ้งกับหัวหน้าทีมว่าเป็นการกระท�ำที่ไม่ถูกต้อง และถ้ามีการท�ำอีกในครั้งต่อไป
จะถูกท�ำโทษถ่วงเวลา (12.3/12.4/19.3.3.3)
19.3.2.6 การเปลี่ยนตัวรับอิสระที่ตัวล่าช้าครั้งต่อๆ ไป
จะมีผลต่อการหยุดเล่นทันที ทีมต้องถูกท�ำโทษถ่วงเวลา ทีมที่เสิร์ฟครั้งต่อไปจะก�ำหนดโดยผลจาก
การลงโทษถ่วงเวลา (16.2, ภาพที่ 9)

186 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
19.3.2.7 ตัวรับอิสระและผูเ้ ล่นทีเ่ ปลีย่ นตัวออก จะเข้าและออก
จากสนามได้ที่เขตเปลี่ยนตัวตัวรับอิสระเท่านั้น (1.4.4/7.5.1/ภาพที่ 1b)
19.3.2.8 การเปลีย่ นตัวรับอิสระ จะต้องบันทึกในใบควบคุม
ตัวรับอิสระ (26.2.2.1, 26.2.2.2)
19.3.2.9 การเปลี่ยนตัวรับอิสระที่ผิดระเบียบจะรวมถึง
• เปลี่ยนตัวเมื่อไม่สิ้นสุดการเล่นลูก (6.1.3)
• เปลี่ยนตัวกับผู้เล่นอื่นที่ไม่ได้เปลี่ยนกับตัวรับ
อิสระ หรือตัวรับอิสระคนที่ 2 (15.9)
การเปลีย่ นตัวรับอิสระทีพ่ บก่อนเริม่ เล่นแรลลีต่ อ่ ไป
ผู้ตัดสินจะต้องแก้ไขให้ถูกต้อง และทีมนั้นต้องถูกท�ำโทษถ่วงเวลา (ภาพที่ 9)
19.4 การแต่งตั้งตัวรับอิสระใหม่ (Re-Desination of new Libero)
19.4.1 ตัวรับอิสระทีไ่ ม่สามารถเล่นต่อไปได้ บาดเจ็บ ป่วย ถูกให้ออก
จากการแข่งขัน (expelled) หรือถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน (disqualified) (21.3.2/21.3.3/
ภาพที่ 9)
ผู้ฝึกสอนหรือหัวหน้าทีม ในกรณีที่ผู้ฝึกสอนไม่มาท�ำหน้าที่
สามารถแจ้งว่าตัวรับอิสระไม่สามารถเล่นต่อได้ในทุกกรณี (5.1.2.1/5.2.1)
19.4.2 ทีมที่มีตัวรับอิสระ 1 คน
19.4.2.1 ขณะที่ทีมมีตัวรับอิสระเพียง 1 คน ตามกติกาข้อ
19.4.1 และตัวรับอิสระถูกแจ้งว่า ไม่สามารถเล่นต่อได้ ผู้ฝึกสอนหรือหัวหน้าทีม (ถ้าผู้ฝึกสอนไม่มา)
สามารถตั้งผู้เล่นคนอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในสนามขณะที่มีการแต่งตั้ง (ยกเว้นผู้เล่นที่เปลี่ยนกับ
ตัวรับอิสระ) ให้เป็นตัวรับอิสระใหม่แทนได้
19.4.2.2 ถ้ า ตั ว รั บ อิ ส ระในสนาม (Acting Libero)
ไม่สามารถเล่นต่อได้ สามารถเปลี่ยนกับผู้เล่นปกติที่เปลี่ยนออกได้ หรือเปลี่ยนกับตัวรับอิสระ
ทีต่ งั้ ใหม่ได้ทนั ที แต่อย่างไรก็ตามตัวรับอิสระทีถ่ กู แจ้งว่าไม่สามารถเล่นต่อได้นนั้ จะกลับเข้ามาเล่น
อีกไม่ได้ในนัดนั้น
ถ้าตัวรับอิสระทีอ่ ยูน่ อกสนามถูกแจ้งว่าไม่สามารถ
เล่นต่อได้ เขาสามารถตั้งตัวรับอิสระใหม่แทนได้ แต่ตัวรับอิสระเดิมจะไม่สามารถกลับเข้าเล่นอีก
ในนัดนั้น
19.4.2.3 ผู้ฝึกสอนหรือหัวหน้าทีม (ถ้าผู้ฝึกสอนไม่มา)
สามารถติดต่อกับผู้ตัดสินคนที่ 2 เพื่อแจ้งการตั้งตัวรับอิสระใหม่ (5.1.2.1/5.2.1)

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 187
19.4.2.4 ถ้ า ตั ว รั บ อิ ส ระที่ ตั้ ง ใหม่ ไ ม่ ส ามารถเล่ น ต่ อ ได้
ทีมสามารถตั้งตัวรับอิสระใหม่ได้อีก (19.4.1)
19.4.2.5 ถ้าผูฝ้ กึ สอนขออนุญาตตัง้ ให้หวั หน้าทีมเป็นตัวรับ
อิสระใหม่ได้ แต่หัวหน้าทีมนั้นจะต้องสละการเป็นผู้น�ำของทีมทั้งหมด (5.1.2, 19.4.1)
19.4.2.6 ในกรณีที่มีการตั้งตัวรับอิสระใหม่ หมายเลขของ
ตัวรับอิสระใหม่จะต้องบันทึกในใบบันทึกในช่องหมายเหตุและในใบควบคุมตัวรับอิสระ (หรือใน
ใบบันทึกแบบอิเลคทรอนิค)
19.4.3 ทีมที่มีตัวรับอิสระ 2 คน
19.4.3.1 ขณะทีท่ มี ได้แจ้งใช้ตวั รับอิสระ 2 คน ในใบบันทึก
แต่คนหนึ่งไม่สามารถเล่นต่อได้ ทีมมีสิทธิ์ที่จะเล่นด้วยตัวรับอิสระเพียงคนเดียว (4.1.1/19.1.1)
จะไม่อนุญาตให้ตั้งตัวรับอิสระใหม่ นอกจากตัวรับ
อิสระที่เหลือไม่สามารถเล่นต่อไป
19.5 สรุป
19.5.1 ถ้าตัวรับอิสระถูกให้ออกจากการแข่งขันหรือถูกตัดสิทธิ์
ออกจากการแข่งขัน (Expulsion and Disqualification) เขาสามารถเปลี่ยนตัวได้ทันทีกับ
ตัวรับอิสระคนที่ 2 กรณีที่ทีมใช้ตัวรับอิสระคนเดียว ทีมสามารถใช้สิทธิ์ขอตั้งตัวรับอิสระใหม่ได้

188 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ก ารปฏิบัติของผู้ร่วมการแข่งขัน
(Participant’s Conduct)
กติกาข้อที่ 20 ข้อก�ำหนดเรื่องมารยาท (Requirements of Conduct)
20.1 ความมีน�้ำใจนักกีฬา (sportmanlike Conduct)
20.1.1 ผู้ร่วมการแข่งขันต้องมีความรู้เรื่อง “กติกาการแข่งขัน” และ
ปฏิบัติตามกติกาที่ก�ำหนด
20.1.2 ผู้ร่วมการแข่งขันต้องยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสินด้วยน�้ำใจ
นักกีฬาโดยไม่มีการโต้แย้งด้วยความประพฤติของผู้มีน�้ำใจนักกีฬา
หากมีขอ้ สงสัยสามารถขอค�ำชีแ้ จงจากผูต้ ดั สินได้ โดยหัวหน้าทีม
ในสนาม (Game Captain) เป็นผู้ขอค�ำชี้แจง (5.1.2.1)
20.1.3 ผูร้ ว่ มการแข่งขันต้องละเว้นการแสดงท่าทางหรือทัศนคติใดๆ
ที่มุ่งหมายให้มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ตัดสินหรือปกปิดการท�ำผิดกติกาของทีมตนเอง
20.2 การเล่นที่ยุติธรรม (Fair Play)
20.2.1 ผู้ร่วมการแข่งขันต้องให้การยอมรับและความเอื้อเฟื้อทั้ง
ต่อผูต้ ดั สินเจ้าหน้าทีอ่ นื่ ๆ คูแ่ ข่งขัน เพือ่ นร่วมทีม และผูช้ ม เพือ่ มุง่ ให้การแข่งขันเป็นไปอย่างยุตธิ รรม
20.2.2 ขณะที่ท�ำการแข่งขันสมาชิกในทีมสามารถให้ค�ำแนะน�ำกันได้
(5.2.3.4)

กติกาข้อที่ 21 การผิดมารยาทและการลงโทษ (Misconduct and Its Sanctions)


21.1 การผิดมารยาทเล็กน้อย (Minor Misconduct)
การผิดมารยาทเล็กน้อย ไม่ต้องมีการท�ำโทษ ผู้ตัดสินที่ 1 ต้องท�ำหน้าที่
ป้องกันทีมไม่ให้ทำ� ผิดมารยาทจนถึงระดับทีต่ อ้ งถูกลงโทษ โดยการเตือนด้วยวาจาหรือสัญญาณมือ
ต่อผูท้ ที่ ำ� ผิดมารยาทหรือต่อทีม ผ่านทางหัวหน้าทีมในสนามแข่งขัน (Game Captain) (5.1.2/21.3)
ขัน้ ที่ 1 โดยการเตือนด้วยวาจาผ่านหัวหน้าทีม
ขัน้ ที่ 2 โดยการใช้ใบเหลืองกับบุคคลทีเ่ กีย่ วข้อง การเตือนนีไ้ ม่ใช่การลงโทษ
แต่เป็นเครือ่ งหมายแสดงว่าสมาชิกของทีมและสมาชิกคนอืน่ ๆ ในทีมได้ถงึ ระดับทีจ่ ะถูกลงโทษแล้ว
จะต้องมีการบันทึกในใบบันทึก แต่จะยังไม่เกิดผลทันที
การเตือนนีไ้ ม่ใช่การท�ำโทษและไม่มผี ลทันที ไม่มกี ารบันทึกลงในใบบันทึก
การแข่งขัน

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 189
21.2 การผิดมารยาททีน่ �ำไปสูก่ ารลงโทษ (Misconduct Leading to Sanctions)
การท�ำผิดมารยาทของผู้เล่นต่อเจ้าหน้าที่ ทีมตรงข้าม เพื่อนร่วมทีมหรือผู้ชม
แบ่งได้เป็น 3 ระดับ ตามความหนักเบาของความรุนแรง (4.1.1)
21.2.1 ความหยาบคาย (Rude Conduct) ได้แก่ การกระท�ำใดๆ
ที่ไม่สุภาพไร้คุณธรรม และการแสดงดูหมิ่น
21.2.2 การก้าวร้าว (Offensive Conduct) ได้แก่ การสบประมาท
ใช้ค�ำพูดหรือท่าทางที่เป็นการดูถูกเหยียดหยาม
21.2.3 การใช้ความรุนแรง (Aggression) การท�ำร้ายร่างกายหรือ
การรุกรานหรือพฤติกรรมข่มขู่
21.3 ระดับการลงโทษ (Sanction Scale) (ภาพที่ 9)
การลงโทษทีน่ ำ� มาใช้ ขึน้ อยูก่ บั การพิจารณาตัดสินของผูต้ ดั สินและขึน้ อยู่
กับความรุนแรงของการกระท�ำและต้องบันทึกลงในใบบันทึกการแข่งขัน ประกอบด้วย
การลงโทษการให้ออกจากการแข่งขัน การตัดสิทธิจ์ ากการแข่งขัน มีดงั นี้
(21.2/25.2.2.6)
21.3.1 การลงโทษ (Penalty) (ภาพที่ 11 (6))
การกระท� ำ ที่ ห ยาบคายครั้ ง แรกในการแข่ ง ขั น โดยผู ้ เ ล่ น
คนใดคนหนึง่ ของทีม จะถูกท�ำโทษโดยฝ่ายตรงข้ามได้คะแนนและการเสิรฟ์ (4.1.1/21.2.1)
21.3.2 การให้ออกจากการแข่งขันในเซตนัน้ (Expulsion) (ภาพที่ (11))
21.3.2.1 ผู้เล่นซึ่งถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันในเซตนั้น
จะลงแข่งขันในเซตนั้นต่อไปอีกไม่ได้ และต้องนั่งอยู่ในพื้นที่ลงโทษ โดยไม่มีผลอื่นใดตามมา
(1.4.6/4.1.1/5.2.1/5.3.2/ภาพที่ 1a/ภาพที่ 1b)
ผู้ฝึกสอนที่ถูกให้ออกจากการแข่งขันจะไม่มีสิทธิ์
ท�ำหน้าทีใ่ นเซตนั้น และต้องนั่งอยู่ในพื้นที่ลงโทษ
21.3.2.2 การแสดงความก้าวร้าวครัง้ แรก โดยสมาชิกทีมใด
คนใดคนหนึง่ จะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันในเซตนัน้ โดยไม่มผี ลอืน่ ใดตามมา (4.1.1/21.2.2)
21.3.2.3 การแสดงมารยาทหยาบคายครัง้ ที่ 2 ในการแข่งขัน
นัดนัน้ โดยผู้เล่นคนเดียวกัน จะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันในเซตนั้น โดยไม่มีผลอื่นใดตามมา
(4.1.1/21.2.1)
21.3.3 การตัดสิทธิใ์ ห้ออกจากการแข่งขันตลอดทัง้ นัดนัน้ (Disqualification)
(ภาพที่ 11 (8))

190 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
21.3.3.1 ผู้เล่นที่ถูกท�ำโทษตัดสิทธิ์ให้ออกจากการแข่งขัน
ตลอดนัดนั้นต้องออกจากพื้นที่ควบคุมการแข่งขัน (Competition Control Area) ในส่วนที่เหลืออยู่
ของนัดนั้นโดยไม่มีผลอื่นใดตามมา (4.1.1/ภาพที่ 1a)
21.3.3.2 การใช้ความรุนแรงครั้งแรก หรือการรุกราน หรือ
พฤติกรรมข่มขูจ่ ะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันตลอดทัง้ นัดนัน้ โดยไม่มผี ลอืน่ ใดตามมา (21.2.3)
21.3.3.3 การแสดงความก้าวร้าวครั้งที่ 2 ในการแข่งขัน
โดยสมาชิกทีมคนเดียวกันจะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันตลอดทั้งนัดนั้น โดยไม่มีผลอื่นใด
ตามมา (4.1.1/21.2.1)
21.4 การท�ำโทษเรือ่ งการผิดมารยาท (Application of Misconduct Sanction)
21.4.1 การท�ำโทษผิดมารยาทเป็นการลงโทษรายบุคคลและมีผล
ตลอดการแข่งขันนัดนั้น และจะถูกบันทึกลงในใบบันทึกการแข่งขัน (21.3/25.2.2.6)
21.4.2 การกระท�ำผิดมารยาทโดยสมาชิกของทีมคนเดียวกันในการแข่งขัน
นัดเดียวกัน จะถูกลงโทษที่หนักขึ้นเป็นล�ำกับ (ผู้กระท�ำผิดจะถูกลงโทษสูงขึ้นทุกครั้งที่มีการกระท�ำผิด
มารยาทในแต่ละครั้ง (4.1.1/21.2/21.3/ภาพที่ 9)
21.4.3 การให้ออกจากการแข่งขันในเซตนัน้ (Expulsion) หรือการให้
ออกจากการแข่งขันในนัดนั้น (Disqualification) จะท�ำได้ทันที โดยไม่จ�ำเป็นต้องมีการลงโทษใดๆ
มาก่อน แต่ขึ้นอยู่กับการแสดงความก้าวร้าวหรือการใช้ความรุนแรง (21.2/21.3)
21.5 การผิดมารยาทก่อนเริมต้นเซตและระหว่างเซต (Misconduct Before
and Between Set)
การผิดมารยาทที่เกิดขึ้นก่อนเริ่มต้นเซตหรือระหว่างเซต จะถูกท�ำโทษ
ตามกติกาข้อ 21.3 และมีผลในเซตถัดไป (18.1/21.2/21.3)
21.6 บทสรุปเรือ่ งการผิดมารยาท และการใช้บตั รลงโทษ (Sanction Cards)
(ภาพที่ 11 (6a,/6b/7/8))
การเตือน (Warning) ไม่มีการท�ำโทษ
• ขั้นที่ 1 เตือนด้วยปากเปล่า
• ขั้นที่ 2 โดยใช้ใบเหลือง (21.1)
การลงโทษ (Penalty) ท�ำโทษโดยใช้แดง (21.3.1)
การให้ออกจากการแข่งขันในเซตนั้น (Expulsion)
ท�ำโทษโดยใช้แดงและใบเหลืองคู่กัน (21.3.2)
การตัดสิทธิ์ให้ออกจากการแข่งขันนัดนั้น (Disqualification)
ท�ำโทษโดยใช้แดงและใบเหลืองแยกกัน (21.3.3)

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 191
ผู้ ตัดสิน
(Referees)
กติกาข้อที่ 22 คณะกรรมการตัดสินและการปฏิบัติหน้าที่ (Refereeing Corps
and Procedures)
22.1 องค์ประกอบ (Composition)
ฝ่ายท�ำหน้าที่ในการตัดสินแต่ละนัด ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ต่อไปนี้
ผู้ตัดสินที่ 1 (23)
ผู้ตัดสินที่ 2 (24)
ผู้บันทึก (25)
ผู้ก�ำกับเส้น 4 คน (หรือ 2 คน) (27)
ต�ำแหน่งในสนามของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวแสดงไว้ในภาพที่ 10
ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ และ
การแข่งขันอย่างเป็นทางการต้องมีผู้ช่วยบันทึกการแข่งขันด้วย (26)
22.2 ขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ (Procedures)
22.2.1 ผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ตัดสินที่ 2 เท่านั้นที่สามารถเป่านกหวีด
ระหว่างการแข่งขันได้
22.2.1.1 ผู ้ ตั ด สิ น ที่ 1 เป็ น ผู ้ ใ ห้ สั ญ ญาณเสิ ร ์ ฟ เพื่ อ เริ่ ม เล่ น
(6.1.3/12.3)
22.2.1.2 ผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ตัดสินที่ 2 จะเป่านกหวีด
ให้สัญญาณเสร็จสิ้นการเล่นลูกเมื่อแน่ใจว่ามีการท�ำผิดกติกาเกิดขึ้น และต้องแสดงลักษณะของ
การกระท�ำผิดนั้น
22.2.2 ผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ตัดสินที่ 2 จะเป่านกหวีดเมื่อลูกตาย
เพื่อแสดงว่าจะอนุญาตหรือปฏิเสธการขอหยุดเล่นของทีม (5.1.2/8.2)
22.2.3 ทันทีหลังจากการเป่านกหวีดให้สัญญาณเสร็จสิ้นการเล่นลูก
ผูต้ ดั สินต้องแสดงสัญญาณมือ (22.2.1/28.1)
22.2.3.1 ผูต้ ดั สินที่ 1 เป่านกหวีดระบุการกระท�ำผิดผูต้ ดั สินที่ 1
จะแสดง
ก. ทีมที่ท�ำการเสิร์ฟ (12.2.2/ภาพที่ 11 (2))
ข. ลักษณะการกระท�ำผิด
192 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ค. ผู้กระท�ำผิด (ถ้าจ�ำเป็น)
ผู้ตัดสินที่ 2 จะท�ำสัญญาณซ�้ำตามผู้ตัดสินที่ 1
22.2.3.2 ผูต้ ดั สินที่ 2 เป่านกหวีดระบุการกระท�ำผิดผูต้ ดั สินที่ 2
จะแสดง
ก. ลักษณะการกระท�ำผิด
ข. ผู้กระท�ำผิด (ถ้าจ�ำเป็น)
ค. ที ม ที่ จ ะท� ำ การเสิ ร ์ ฟ ตามสั ญ ญาณมื อ ของ
ผูต้ ดั สินที่ 1 (12.2.2)
ในกรณีนี้ ผูต้ ดั สินที่ 1 จะไม่แสดงลักษณะของการ
กระท�ำผิด และผู้กระท�ำผิด แต่จะแสดงเฉพาะทีมที่จะท�ำการเสิร์ฟเท่านั้น (ภาพที่ 11 (2))
22.2.3.3 ในกรณีทมี่ กี ารรุกทีผ่ ดิ ระเบียบโดยผูเ้ ล่นแดนหลัง
หรือตัวรับอิสระ ผู้ตัดสินทั้ง 2 คน จะแสดง
ก. ลักษณะของการกระท�ำผิด
ข. ผู้กระท�ำผิด (ถ้าจ�ำเป็น)
ค. ทีมที่ท�ำการเสิร์ฟ ซึ่งชี้น�ำโดยผู้ตัดสินที่ 1
(12.2.2/ภาพที่ 11 (2))

กติกาข้อที่ 23 ผู้ตัดสินที่ 1 (First Referee)


23.1 ต�ำแหน่ง (Location)
ผู้ตัดสินที่ 1 ท�ำหน้าที่โดยนั่งหรือยืนบนม้านั่งที่ตั้งไว้ปลายสุดด้านหนึ่ง
ของตาข่ายระดับสายตาต้องสูงกว่าขอบบนสุดของตาข่ายประมาณ 50 เซนติเมตร (ภาพที่ 1a/
ภาพที่ 1b/ภาพที่ 10)
23.2 อ�ำนาจหน้าที่ (Authority)
23.2.1 ผู้ตัดสินที่ 1 ต้องควบคุมการแข่งขันตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด
การแข่งขันมีอ�ำนาจเหนือเจ้าหน้าที่และผู้ร่วมทีมทั้ง 2 ทีม (4.1.1/6.3)
ระหว่างการแข่งขันการตัดสินใจของผูต้ ดั สินที่ 1 ถือเป็นสิน้ สุด
มีอ�ำนาจกลับค�ำตัดสินของเจ้าหน้าที่ทุกคน เมื่อเห็นว่าเจ้าหน้าที่นั้นผิดพลาด
ผู้ตัดสินที่ 1 มีอ�ำนาจเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่ ซึ่งเห็นว่าปฏิบัติ
หน้าที่ไม่เหมาะสมได้
23.2.2 ผูต้ ดั สินที่ 1 ต้องควบคุมการท�ำงานของผูก้ ลิง้ ลูกบอล ผูเ้ ช็ดพืน้
(Floor Wipers) และผู้ถูพื้น (Moppers) (3.3)

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 193
23.2.3 ผู้ตัดสินที่ 1 มีอ�ำนาจตัดสินใจไม่ว่าเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
การแข่งขันรวมถึงเรื่องที่ไม่มีในกติกา
23.2.4 ผูต้ ดั สินที่ 1 ไม่ยอมให้มกี ารโต้แย้งใดๆ ในการตัดสิน (20.1.2)
อย่างไรก็ตามถ้าหัวหน้าทีมในสนามขอค�ำชี้แจง ผู้ตัดสินที่ 1
จะให้คำ� อธิบายการน�ำกติกามาใช้ หรือตีความกติกา ซึง่ น�ำมาใช้ในการตัดสินใจนัน้ (5.1.2.1) ถ้าหัวหน้าทีม
ในสนามไม่เห็นด้วยกับค�ำอธิบายของผูต้ ดั สินที่ 1 และต้องการสงวนสิทธิย์ นื่ หนังสือประท้วงเหตุการณ์นนั้
อย่างเป็นทางการ เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันหัวหน้าทีมในสนามต้องขอสงวนสิทธิ์ทันทีและผู้ตัดสินที่ 1
ต้องยินยอมรับการประท้วงนั้น (5.1.2.1/5.1.3.1/25.2.3.2)
23.2.5 ผูต้ ดั สินที่ 1 รับผิดชอบการตัดสินใจก่อนหรือระหว่างการแข่งขัน
ว่าพื้นที่เล่นอุปกรณ์ และสภาพใดๆ พร้อมท�ำการแข่งขันได้ (บทที่ 1/23.3.1.1)
23.3 ความรับผิดชอบ (Responsibilities)
23.3.1 ก่อนการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่ 1 :
23.3.1.1 ตรวจสภาพสนามแข่งขัน ลูกบอล และอุปกรณ์อนื่ ๆ
(บทที่ 1/23.2.5)
23.3.1.2 ท�ำการเสี่ยงร่วมกับหัวหน้าทีมทั้ง 2 (7.1)
23.3.1.3 ควบคุมการอบอุ่นร่างกายของทีม (7.2)
23.3.2 ระหว่างการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่ 1 เท่านั้นที่มีอ�ำนาจ
23.3.2.1 ตักเตือนทีม (21.1)
23.3.2.2 ท�ำโทษการผิดมารยาทและการถ่วงเวลา (16.2/21.2)
23.3.2.3 ตัดสินใจเรื่อง
ก. การผิดกติกาของผู้เสิร์ฟ ต�ำแหน่งของทีม
ที่ จ ะท� ำ การเสิ ร ์ ฟ รวมทั้ ง การก� ำ บั ง ด้ ว ย
(7.5/12.4/12.5/12.7.1/ภาพที่ 4)
ข. การผิดกติกาในการเล่นลูก (9.3)
ค. การผิดกติกาเหนือตาข่ายและทีส่ ว่ นทีส่ งู ขึน้ ไป
ของตาข่าย (11.3.1/11.4.1/11.4.4)
ง. การตบลู ก บอลของผู ้ เ ล่ น แดนหลั ง หรื อ
ตั ว รั บ อิ ส ระ (13.3.3/13.3.5/24.3.2.4/
ภาพที่ 11 (22))
จ. การรุ ก โดยสมบู ร ณ์ จ ากลู ก ที่ ตั ว รั บ อิ ส ระ
ส่ ง มาให้ ด ้ ว ยมือบน (set) ในขณะที่อยู่ใน
แดนหน้า (1.4.1/13.3.6/24.3.2.4/ภาพที่ 11 (22))
194 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ฉ. ลู ก บอลที่ ข ้ า มแนวกั้ น ตาข่ า ยโดยสมบู ร ณ์
(8.4.5/24.3.2.7/ ภาพที่ 5)
ช. การสกัดกั้นโดยสมบูรณ์ของผู้เล่นแดนหลัง
หรื อ พยายามสกั ด กั้ น โดยตั ว รั บ อิ ส ระ
(14.6.2/14.6.6/ภาพที่ 11 (12))
23.3.3 เมื่อสิ้นสุดการแข่งขันต้องตรวจสอบและลงนามในใบบันทึก
การแข่งขัน (25.2.3.3)

กติกาข้อที่ 24 ผู้ตัดสินที่ 2 (Second Referee)


24.1 ต�ำแหน่ง (Location)
ผู้ตัดสินที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่โดยยืนใกล้เสานอกเขตสนามด้านตรงข้ามกับ
ผู้ตัดสินที่ 1 หันหน้าเข้าหาผู้ตัดสินที่ 1 (ภาพที่ 1a/ภาพที่ 1b/ภาพที่ 10)
24.2 อ�ำนาจหน้าที่ (Authority)
24.2.1 เป็นผูช้ ว่ ยผูต้ ดั สินที่ 1 แต่มขี อบเขตในการตัดสินเป็นของตนเองด้วย
(24.3) ถ้าผู้ตัดสินที่ 1 ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ผู้ตัดสินที่ 2 จะท�ำหน้าที่แทน
24.2.2 ให้สญั ญาณมือแสดงการผิดกติกาทีน่ อกเหนืออ�ำนาจการตัดสินใจ
ของผู้ตัดสินที่ 2 โดยไม่เป่านกหวีด แต่ต้องไม่เน้นเตือนการกระท�ำผิดนั้นต่อผู้ตัดสินที่ 1 (24.3)
24.2.3 ควบคุมการท�ำงานของผู้บันทึกการแข่งขัน (25.2/26.2)
24.2.4 ควบคุมผู้ร่วมทีมที่นั่งบนม้านั่งและรายงานการผิดมารยาท
ของผู้ร่วมทีมเหล่านี้ต่อผู้ตัดสินที่ 1 (4.2.3)
24.2.5 ควบคุมผู้เล่นในเขตอบอุ่นร่างกาย (4.2.3)
24.2.6 อนุญาตให้หยุดการแข่งขัน ควบคุมเวลาและปฏิเสธการขอหยุด
การแข่งขันที่ไม่เหมาะสม (15/15.11/25.2.2.3)
24.2.7 ควบคุมจ�ำนวนครั้งที่แต่ละทีมขอเวลานอกและขอเปลี่ยนตัว
และต้องรายงานการขอเวลานอกครั้งที่ 2 และขอเปลี่ยนตัวผู้เล่นครั้งที่ 5 และ 6 ให้ผู้ตัดสินที่ 1
และผู้ฝึกสอนที่เกี่ยวข้องทราบ (15.1/25.2.2.3)
24.2.8 กรณีทผี่ เู้ ล่นบาดเจ็บ มีอำ� นาจให้ทำ� การเปลีย่ นตัวตามข้อยกเว้น
หรืออนุญาตให้ท�ำการรักษาพยาบาล 3 นาทีได้ (15.7/17.1.2)
24.2.9 ตรวจสภาพพืน้ สนาม โดยเฉพาะอย่างยิง่ เขตรุก ระหว่างการแข่งขัน
ต้องตรวจลูกบอลคงสภาพถูกต้องสมบูรณ์ตามระเบียบการแข่งขันด้วย (1.2.1/3)
24.2.10 ควบคุมผู้ร่วมทีมในพื้นที่ลงโทษ และรายงานการผิดมารยาท
ให้ผู้ตัดสินที่ 1 ทราบ (1.4.6/21.3.2)
คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 195
ส�ำหรับการแข่งขันในระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอล
นานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ ตามที่ภาพข้อ 24.2.5 และ 24.2.10 เป็นหน้าที่ของ
ผู้ตัดสินส�ำรอง

24.3 ความรับผิดชอบ (Responsibility)


24.3.1 ตรวจต�ำแหน่งที่ถูกต้องของผู้เล่นในสนามให้เป็นไปตามใบส่ง
ต�ำแหน่งก่อนเริ่มต้นเล่นแต่ละเซต และเมื่อเปลี่ยนแดนในเซตตัดสินให้ตรงกับใบส่งต�ำแหน่ง
(5.2.3.1/7.3.2)/7.3.5/18.2.2)
24.3.2 ขณะแข่งขัน ผู้ตัดสินที่ 2 ต้องตัดสินใจเป่านกหวีดและ
แสดงสัญญาณมือระหว่างการแข่งขันดังนี้
24.3.2.1 การล�้ำเข้าไปในแดนของทีมตรงข้ามและที่ว่าง
ใต้ตาข่าย (11.2/ภาพที่ 5)
24.3.2.2 ฝ่ายรับลูกเสิร์ฟผิดต�ำแหน่ง (7.5/ภาพที่ 4)
24.3.2.3 ผูเ้ ล่นถูกตาข่ายทีผ่ ดิ กติกาโดยเฉพาะฝ่ายสกัดกัน้
และเสาอากาศด้านผู้ตัดสินที่ 2 (11.3.1)
24.3.2.4 การสกั ด กั้ น โดยสมบู ร ณ์ ข องผู ้ เ ล่ น แดนหลั ง
หรือพยายามสกัดกั้นโดยตัวรับอิสระหรือการรุกที่ผิดกติกาโดยเล่นแดนหลังหรือตัวรับอิสระ
(13.3.3/14.6.2/14.6.6/23.3.2.3d, e, g/ภาพที่ 11 (12))
24.3.2.5 ลูกบอลถูกสิ่งกีดขวางนอกสนาม (8.4.2/8.4.3)
24.2.3.6 ลู ก บอลถู ก พื้ น สนามในขณะที่ ผู ้ ตั ด สิ น ที่ 1
อยู่ในต�ำแหน่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ (8.3)
24.3.2.7 ลูกบอลข้ามตาข่ายนอกแนวข้ามตาข่ายทั้งลูก
หรื อ บางส่ ว นของลู ก ไปยั ง แดนของฝ่ า ยตรงข้ า ม หรื อ ถู ก เสาอากาศด้ า นที่ ผู ้ ตั ด สิ น ที่ 2 อยู ่
(8.4.3/8.4.4/ภาพที่ 5)
24.3.3 เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันต้องลงชื่อในใบบันทึกการแข่งขัน
(25.2.3.3)

กติกาข้อที่ 25 ผู้บันทึก (Scorer)


25.1 ต�ำแหน่ง (Location)
ผู้บันทึกจะนั่งท�ำหน้าที่ที่โต๊ะบันทึกการแข่งขันคนละด้านของสนามกับ
ผู้ตัดสินที่ 1 โดยหันหน้าเข้าหากัน (ภาพที่ 1a/ภาพที่ 1b/และภาพที่ 10)
196 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
25.2 ความรับผิดชอบ (Responsibility)
บันทึกผลการแข่งขันตามกติกาการแข่งขันและประสานงานกับผูต้ ดั สินที่ 2
ต้ อ งกดกริ่ ง หรื อ อุ ป กรณ์ ที่ ท� ำ ให้ เ กิ ด เสี ย งเป็ น สั ญ ญาณแจ้ ง ผู ้ ตั ด สิ น
ที่เมื่อมีเรื่องที่ต้องรับผิดชอบเกิดขึ้น
25.2.1 ก่อนเริ่มการแข่งขันแต่ละนัดและแต่ละเซตผู้บันทึกต้อง
25.2.1.1 บันทึกข้อมูลการแข่งขันและของทีมตามขั้นตอน
การปฏิบตั งิ าน และต้องให้หวั หน้าทีมและผูฝ้ กึ สอนทัง้ สองทีมลงนาม (4.1/5.1.1/5.2.2/7.3.2/19.1.2/19.3.3.2)
25.2.1.2 บันทึกต�ำแหน่งเริ่มต้นเล่นของแต่ละทีมจากใบส่ง
ต�ำแหน่ง (5.2.3.1/7.3.2) ถ้าไม่ได้รบั ใบส่งต�ำแหน่งตามเวลาทีค่ วรได้รบั จะต้องแจ้งให้ผตู้ ดั สินที่ 2 ทราบทันที
25.2.2 ขณะแข่งขันผู้บันทึกต้อง
25.2.2.1 บันทึกคะแนนที่ได้ (6.1)
25.2.2.2 ควบคุมล�ำดับการส่งต�ำแหน่ง หากมีการผิดต�ำแหน่ง
เมื่อใดต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินที่ทราบทันทีหลังจากท�ำการเสิร์ฟแล้ว (12.2)
25.2.2.3 มีอ�ำนาจในการแจ้งการขอเปลี่ยนตัวผู้เล่นโดยใช้
สัญญาณออดควบคุมจ�ำนวนการเปลี่ยนตัวผู้เล่น บันทึกการขอเวลานอกและแจ้งให้ผู้ตัดสินที่ 2 ทราบ
(15.1/15.4.1/24.2.6/24.2.7)
25.2.2.4 แจ้งให้ผตู้ ดั สินทราบถ้าการขอหยุดการแข่งขันนัน้
ผิดกติกา (15.11)
25.2.2.5 แจ้งให้ผตู้ ดั สินทราบถึงการเสร็จสิน้ ของแต่ละเซต
และคะแนนที่ 8 ในเซตตัดสิน (6.2/15.4.1/18.2.2)
25.2.2.6 บั น ทึ ก การลงโทษทุ ก อย่ า งและการขออนุ ญ าต
ทีผ่ ดิ ระเบียบที่เกิดขึ้น (15.11.3/16.2/21.3)
25.2.2.7 บั น ทึ ก เหตุ ก ารณ์ อื่ น ๆ ที่ ผู ้ ตั ด สิ น ที่ 2 แจ้ ง เช่ น
การเปลี่ยนตัวที่ได้รับการยกเว้น เวลาที่เริ่มการแข่งขันใหม่ การหยุดการแข่งขันเป็นเวลานาน
เหตุขัดข้องจากภายนอก (15.7/17.1.2/17.2/17.3)
25.2.2.8 ควบคุมเวลาพักระหว่างเซต (18.1)
25.2.3 เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันของแต่ละชนิด ผู้บันทึกต้อง
25.2.3.1 บันทึกผลสิ้นสุดการแข่งขัน (6.3)
25.2.3.2 หากมีการประท้วงที่ผู้ตัดสินที่ 1 อนุญาตไว้แล้ว
ต้องเขียนหรืออนุญาตให้หวั หน้าทีมเขียนแจ้งเหตุของการประท้วงลงในใบบันทึก (5.1.2.1/5.1.3.2/23.2.4)
25.2.3.3 หลังจากลงสนามในใบบันทึกแล้ว ต้องให้หวั หน้าทีม
และผู้ตัดสินลงนามตามล�ำดับ (5.1.3.1/23.3.3/24.3.3)
คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 197
กติกาข้อที่ 26 ผู้ช่วยผู้บันทึก (Assistant Scorer)
26.1 ต�ำแหน่ง (Location) (22.1/ภาพที่ 1a/ภาพที่ 1b/ภาพที่ 10)
ผู้ช่วยผู้บันทึกนั่งท�ำหน้าที่ข้างๆ ผู้บันทึกที่โต๊ะบันทึก
26.2 ความรับผิดชอบ (Responsibility) (19.3)
บันทึกการเปลีย่ นตัวทีเ่ กีย่ วกับตัวรับอิสระ เป็นผูใ้ ห้การช่วยเหลือการท�ำหน้าที่
ของผู้บันทึก ถ้าผู้บันทึกไม่สามารถท�ำหน้าที่ต่อได้ ผู้ช่วยผู้บันทึกจะเปลี่ยนท�ำหน้าที่แทน
26.2.1 ก่อนเริม่ การแข่งขันแต่ละครัง้ และแต่ละเซต ผูช้ ว่ ยผูบ้ นั ทึกจะต้อง
26.2.1.1 เตรียมใบควบคุมตัวรับอิสระ
26.2.1.2 เตรียมใบบันทึกส�ำรอง
26.2.2 ขณะแข่งขันผู้ช่วยผู้บันทึกต้อง
26.2.2.1 บันทึกรายละเอียดของการเปลีย่ นตัวรับอิสระ (19.3.1.1)
26.2.2.2 แจ้ ง ต่ อ ผู ้ ตั ด สิ น เมื่ อ มี ก ารเปลี่ ย นตั ว รั บ อิ ส ระที่ ผิ ด
ระเบียบ โดยใช้ออดให้สัญญาณ (19.3.2.1)
26.2.2.3 จับเวลาเริม่ และสิน้ สุดเวลานอกทางเทคนิค (5.4.1)
26.2.2.4 พลิกป้ายคะแนนบนโต๊ะผู้บันทึก
26.2.2.5 ตรวจความถูกต้องของใบบันทึก (25.2.2.1)
26.2.2.6 ถ้าจ�ำเป็นเตรียมใบบันทึกส�ำรองให้แก้ผบู้ นั ทึก (25.2.1.1)
26.2.3 เมื่อจบการแข่งขัน ผู้ช่วยผู้บันทึกต้อง
26.2.3.1 ลงนามในใบควบคุมการเปลีย่ นตัวรับอิสระและมอบให้แก่
ผู้ควบคุมการตัดสินเพื่อตรวจสอบ
26.2.3.2 ลงนามในบันทึกการแข่งขัน
ส� ำ หรั บ การแข่ ง ขั น ในระดั บ โลกของสหพั น ธ์
วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการที่มีการใช้ใบบันทึกแบบอิเลกโทรนิคส์
ผู้ช่วยที่บันทึกจะท�ำหน้าที่ช่วยทีมผู้บันทึกในการขานการเปลี่ยนตัวและการแจ้งการเปลี่ยนตัวรับอิสระ

กติกาข้อที่ 27 ผู้ก�ำกับเส้น (Line Judges)


27.1 ต�ำแหน่ง (Location)
ถ้าใช้ผกู้ ำ� กับเส้น 2 คน จะยืนเป็นแนวเฉียงใกล้กบั ทางขวามือของผูต้ ดั สิน
แต่ละคน ห่างจากมุมสนาม 1-2 เมตร (ภาพที่ 1a/ภาพที่ 1b/ภาพที่ 10)

198 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
ผูก้ ำ� กับเส้นทัง้ สองคนจะควบคุมทัง้ เส้นหลังและเส้นข้างทางด้านของตนเอง
ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและ
การแข่งขันอย่างเป็นทางการต้องมีผู้ก�ำกับเส้น 4 คน
ผูก้ �ำกับเส้นจะยืนทีเ่ ขตรอบสนามห่างจากมุมสนามแต่ละมุม 1-3 เมตร
ตามแนวสมมุติที่ต่อออกไปจากเส้นที่แต่ละคนควบคุม (ภาพที่ 10)
27.2 ความรับผิดชอบ (Responsibility)
27.2.1 ผู้ก�ำกับเส้นปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ธงขนาด 40x40 เซนติเมตร
แสดงสัญญาณดังภาพการให้สัญญาณที่แสดงไว้ในภาพที่ 12 ดังนี้
27.2.1.1 ลูก “ดี” ลูก “ออก” เมื่อลูกบอลตกลงบนพื้น
ใกล้เส้นของแต่ละทีม (8.3/8.4/ภาพที่ 12 (1, 2))
27.2.1.2 ลูกบอลถูกผู้เล่นของทีมที่เป็นฝ่ายรับแล้วลูกออก
นอกสนาม (8.4/ภาพที่ 12 (3))
27.2.1.3 ลู ก บอลถู ก เสาอากาศหรื อ ลู ก บอลที่ เ สิ ร ์ ฟ หรื อ
การเล่นลูกครัง้ ทีส่ ามของทีมและลูกบอลข้ามตาข่ายนอกเขตทีก่ ำ� หนดเป็นต้น (8.4.3/8.4.4/10.1.1/
ภาพที่ 5/ภาพที่ 12 (4))
27.2.1.4 ถ้าคนใด (ยกเว้นผูเ้ สิรฟ์ ) ผูเ้ ล่นทีเ่ หยียบพืน้ ทีน่ อกเขต
สนามของตนเองขณะท�ำการเสิร์ฟ (7.4/12.4.3/ภาพที่ 12 (4))
27.2.1.5 เมื่อเท้าของผู้เสิร์ฟผิดกติกา (12.4.3)
27.2.1.6 เมื่ อ ผู ้ เ ล่ น ถู ก เสาอากาศด้ า นที่ ต นเองรั บ ผิ ด ชอบ
ขณะก�ำลังเล่นลูกบอลหรือกีดขวางการเล่นลูก (11.3.1/11.4.4/ภาพที่ 12 (4))
27.2.1.7 ลูกบอลข้ามตาข่ายนอกเขตข้ามตาข่ายที่ก�ำหนด
ไปยังแดนของทีมตรงข้ามหรือถูกเสาอากาศทางด้านที่รับผิดชอบ (10.1.1/ภาพที่ 5/ภาพที่ 12 (4))
27.2.2 แสดงสัญญาณซ�้ำ ถ้าผู้ตัดสินที่ 1 ร้องขอ

กติกาข้อที่ 28 สัญญาณตามกติกาการแข่งขัน (Official Signals)


28.1 สัญญาณมือของผู้ตัดสิน (Referees’ Hand Signals) (ภาพที่ 11)
ผูต้ ดั สินต้องใช้สญั ญาณมือแสดงเหตุผลของการเป่านกหวีด (ทีเ่ ป่าเพือ่ แสดง
การกระท�ำผิด หรือเพื่อหยุดการแข่งขัน) โดยต้องแสดงสัญญาณค้างไว้ชั่วขณะหนึ่งและถ้าแสดง
สัญญาณด้วยมือข้างเดียวต้องใช้มือข้างเดียวกับทีมที่ท�ำผิดกติกาหรือขอหยุดการแข่งขัน
28.2 สัญญาณธงของผู้ก�ำกับเส้น (Linesjudges’ Flag Signals) (ภาพที่ 12)
ผู้ก�ำกับเส้นต้องแสดงสัญญาณธงตามลักษณะของการท�ำผิดกติกา
ที่เกิดขึ้นและต้องค้างไว้ชั่วขณะหนึ่ง
คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 199
หนังสืออ้างอิง
Fedderetion Internationale de Volleyball. Official Volleyball Rules Approved by
the 33st FIVB Congress 2012. FIVB Anaheim, USA.
สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย.กติกาการแข่งขันวอลเลย์บอล ฉบับประจำ�ปี พ.ศ.2556
- 2559 (2013 - 2016)

200 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
บรรณานุกรม
ชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ. “จิตวิทยาที่จะช่วยให้ผู้ตัดสินประสบความสำ�เร็จ” สยามกีฬารายวัน,
14 มิถุนายน 2537. หน้า 6.
ชาญฤทธิ์ วงษ์ ป ระเสริ ฐ และทรงศั ก ดิ์ เจริ ญ พงศ์ . กติ ก าการแข่ ง ขั น วอลเลย์ บ อล ฉบั บ
พ.ศ. 2544-2547 กรุงเทพฯ : หจก.วรานนท์พริ้นติ้ง แอนด์ กราฟฟิค, 2544.
_____. กรณีปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญญหา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ม.ป.ป
ทรงศั ก ดิ์ เจริ ญ พงศ์ . คู่ มื อ การตั ด สิ น และเจ้ า หน้ า ที่ เ ทคนิ ค วอลเลย์ บ อล. กรุ ง เทพฯ :
โรงพิมพ์การศาสนา, 2538
AVC Referee Committee. Refereeing Instruction. Beijing : AVC Office, 2001.
FIVB Referee Committee. Refereeing Guidelines and Instruction. Lausanne :
FIVB Office, 2004.
Federation International. De Volleyball. Official Volleyball Rules 2001-2004.
Lausanne : FIVB Office 2001.
Gavriel KRAUS. Good Referees. Lausanne : FIVB Office, 2002.
Kals hejdenberg. Second Referees in Volleyball 2001. Copenhegen : Swedish
Volleyball Association, 2001.

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 201
ภาคผนวก

202 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
Delimitation fence

Journalists’ positions Journalists’ positions Journalists’ positions Journalists’ positions Journalists’ positions Journalists’ positions
Control Area Control Area 2m
Photographers positions Photographers positions
VIS Photographers positions Photographers positions

Advertising Board

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
3 -5 m

Microphone
Control Area

& replay Light


6m 3m

Photographers positions
Photographers positions

1.75 m

1m
Other Material needed
in the competition area
• Hygrometer
G 5 (F.L) • Thermometer
• Clock or Chronograph
• Manual scorboard
• 2 fubber wheel trolleys
• Net measuring red
• 6x1 m lom=ng mops
9m

• 8 abserbent towels
• 4 Linemen’s a red or yellow flage
(40x40 cm)
VIS

VIS
• Pressure gauge
• Ball mr=easuring devioes (weight & orioumfarence)
21.50 m - 25.50 m

• TV Replay light
• 1 set of post pads
• 1 reserve net
• 1 pair of reserve antenaes

Team Statitution
Net Camera
Photographers positions
Competition Area

Official Searers
3 -5 m

Protection Fence Free Zone Ball Retriever


Court Announcers

Photographers positions
Ball Retriever Quick Moppers Medical Service
Scoreboard VIS Operatoes
Buzzer Cameraman Coach
Coach Buzzer Ball Retriever
Players Bench Assistant Coach Cableman Assistant Coach Players Bench

Moppers 3m
Warm-Up Area Moppers Numbered Cards Numbered Cards
Control Area Match Balls Control Area
3m
4.50 m

~1.50 m
~1.50 m

Uniforms Uniforms Warm-Up Area


Ball Trolley Penalty Tralley Trolley Penalty Ball Trolley
Area Organiser Host T.V Area
Reserve Referee & Linesman
Control Committee Liaison Riser
2m 3m-8m Team Interpreter Control Committee Team Interpreter 3m-8m 2m
9m 9m
28 m - 38 m
C C
2 C 3
1

203
Diagram 1a R.1, 1.4.4, 1.4.5, 4.2.1, 4.2.3.1, 19.3.2.4; 21.3.2.1; 21.3.3.1; 23.1; 24.1; 25.1; 26.1
204
penalty area / aire de penallte
warm-up ~ 1x1 m warm-up
area/aire d’ ~ 3x3 m ~ 3x3 m area/aire d’

min
1.50 m
min
1.50 m
echauffement echauffement
team bench/ Scorer’s table team bench/
banc de touche Table de marque banc de touche

Free zone Substitution zone Libero remplacement zone Free zone


Zone libre Zone de remplacement Zone de remplacementdu Libero Zone libre

3-5 m
1.75 m
3-8 m
Back zone Front zone Front zone Back zone
Zone arriere Zone avant Zone avant Zone arriere

COURT COURT

9m
9m

CAMP CAMP

Service zone
Service zone

Zone de service
Zone de service

15-19 m
Playing court
Terrain de jeu
3-8 m

1.75 m
A
3-5 m

0.50 m -1 m
The Playing Area / L’Aire de Jeu

Free zone
Zone libre

24-34 m

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
Diagram 1b 1; 1.4; 1.4.2; 1.4.3; 1.4.4; 1.4.5; 4.2.1; 4.2.3.1; 15.10.1; 21.3.2; 23.1; 24.1; 25.1; 26.1
18 m 0.20 m 0.15 m
9m 9m

0.05 m

1.75 m
End line

0.05 m

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
Ligne de fond
3m 3m
Side line

0.05 m
Zone Ligne Back zone
axis of the centre line Zone arriere
0.15 m
0.20 m
3m 0.15 m
0.20 m
1.75 m 0.15 m
rear edge
Back zone 0.20 m
9m

of the attack line


Zone arriere 0.15 m

Lines of the service zone


Traits de la zone de service
0.20 m
0.15 m
How to measure the Front zone
Comment mesurer la Zone 0.20 m
Front zone Front zone
Zone avant Zone avant 0.05 m
0.05 m

Diagram 2 R1.1; 1.3; 1.3.3; 1.3.4; 1.4


Side line 0.05 m 0.05 m 0.05 m 0.05 m
Ligne de cote

0.05 m
0.05 m

End line Attack line Attack line End line


Centre line
The Playing Court / Le Terrain de jeu

Ligne de cote Ligne d’ attaque Ligne d’ attaque Ligne de cote


Ligne centrale
1.75 m

205
Design of the Net / Caracteristiques du Filet

0.80 m 9m

Cable
Cable
0.07 m
Cord
Corde 2.43 m
Men / hommes
1m 2.24 m
Women / hommes

0.05 m
2.55 m

Cord
Corde 9.50 - 10 m

0.50 m / 1 m

Axis / Axe

0.01 m
Top band
Bande superieure
0.10 m
Cable / Cable

0.07 m
Cord
Corde 0.10
x
0.10 m

Side band
Babde de cote
0.05 m

Diagram 3 R. 2, 2.2, 2.3, 2.4, 2.5.1

206 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
Position Of Players / Position de Joueurs
Example A : Example A :
Determination of the positions between Determination des positions entre un joueur
a front-row player and the corresponding avant et son arriere correspondant
back-row player

Front-row player Front-row player


Avant Front-row player
Avant Avant

Back-row player Back-row player


Arrierw Back-row player
Arrierw Arrierw

Correct Fault Fault


Faute Faute

Example B : Example A :
Determination of the positions between Determination des positions entre des
players of the same row joueurs de la meme ligne

C R (L) CC R (D)
L (G) L (G)
Correct
R (D)
C
L (G) Correct R (D)
C
Fault / Faute L (G)

C = Centre player / Joueur centre


R (D) = Right player / Joueur droit
L (G) = Left player / Joueur gauche

Diagram 4 R. 7.4, 7.4.3, 7.5

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 207
Ball crossing the vertical plane of the net to the opponents court
Ballon traversant le plan vertical en direction du camp adverse

External spcce Crossing spcce External spcce


Espace exteneur Espace de Passage Espace exteneur

Lower spcce / Espace inferieur

= Fault/Faute
= Correct crossing / Passage correct

Diagram 5 R. 2.4; 8.4.3; 8.4.4; 8.4.5; 10.1.1

208 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
Collective Screen / Ecran collectif

= Correct = Fault/Faute

Diagram 6 R. 12.5.2

Completed Block / Contre

Ball above the net Ball lower than Ball touche the net Ball bounces off the net
the top of the net
Le ballon est Le ballon est Le ballon touche Le ballon rebondit
au-dessus en-dessous le filet sur le filet
du filet du board superieur
du filet

Diagram 7 R. 14.1.3
คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 209
Back Row Player’s / Attaque d’un Arriere

A B

Net
C
Filet

Front Zone
Zone avant

Attack Line
Ligne d’ attaque

A = Correct
B, C = Fault/ Fault

Net
Filet
Height of the ball at the moment of the attack-hit
Hauteur du ballon au moment de la frappe d’attaque

A = Correct
B, C = Fault/ Fault

Diagram 8 R. 13.2.2’ 13.2.3

210 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
Ball Crossing the Vertical Plane of the Net
to the Opponent Free Zone

= Fault
= Correct
Diagram 5b 110.1.2, 10.1.2.2, 24.3.2.7

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 211
Misconduct Sanction Scale
CATEGORIES OCCURRANCE OFENDER SANCTION CARDS CONSEQUENCE
RUDE CONDUCT First Any member Penalty Yellow Loss of Ralty
Second Same member Expuision Red Shall leave playing area and
stay in the penalty area for
remainder of the set
Third Same member Disqualification Red+Yellow Shall leave the Competition
Control area for the remainder
of the match
OFFENSIVE First Any member Expuision Red Shall leave playing area and
stay in the penalty area for
CONDUCT remainder of the set
Second Same member Disqualification Red+Yellow Shall leave the Competition
Control area for the remainder
of the match
AGGRESSION Third Any member Disqualification Red+Yellow Shall leave the Competition
Control area for the remainder
of the match

Delay Sanction Scale


CATEGORIES OCCURRANCE OFENDER SANCTION CARDS CONSEQUENCE
DELAY First Any member Delay Warning Hand signal Prevention - no penalty
of the team No. 25 with
no card
Second Any member Delay Penalty Hand signal Loss of ralty
(and subsequent) of the team No. 25 with
yellow card

Echelle des Sanction pour mauvaise conduite


CATEGORIE OCCURRANCE AUTEUR SANCTION CARTONS CONSEQUENCE
CONDUITE GROSSIERE Premiere Un joueur queiconque Penalite Jaune Perte de l’echange de jeu
Second Le meme joueur Expulsion Rouge Doit quitter l aire de jeu et demeurer
dans l’aire de penalite pour le reste
du set
Troisieme Le meme joueur Disqualification Rouge+Jaune Doit quitter l aire de controle de la
compettion pour le reste du match
CONDUITE GROSSIERE Premiere Un joueur queiconque Expulsion Rouge Doit quitter l aire de jeu et demeurer
dans l’aire de penalite pour le reste
du set
Second Le meme joueur Disqualification Rouge+Jaune Doit quitter l aire de controle de la
compettion pour le reste du match
AGGRESSION Premiere Un joueur queiconque Disqualification Rouge+Jaune Doit quitter l aire de controle de la
compettion pour le reste du match

Echelle des Sanction pour retard


CATEGORIE OCCURRANCE AUTEUR SANCTION CARTON CONSEQUENCE
RETARD Premiere Un joueur de l equipe Avertissement Signal No. 25 Avertissement - pas de penalite
pour retard sans carton
Seconde Un joueur de l equipe Avertissement Signal No. 25 Perte de l echange de jeu
et suivantes retard sans carton
jaune

Diagram 9 R. 21.3; 21.4.2

212 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
Location of Refereeing Corps and Their Assistants
Placement des arbitres et de leurs assistants

2 1

1 L
1
L
2

3 R3 R1 6

2 L
3
L

4 5

R1 = First Referee / Premire arbitre


R2 = Second Referee / Second arbitre
= Scorer (s) /Marqueur (s)
2 = Linesjudges / Juges de ligne (numbers 1-4 or 1-2 / numerotes 1-4 ou 1-2)
4 = Ball Retrievers / Ramasseurs de ballon (numbers 1-6 / numerotes 1-6)
= Floor Moppers / Balayeurs et Essuyeurs

Diagram 10 R. 3.3; 23.1; 24.1; 25.1; 26.1 and 27.1 (line judges)

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 213
214 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล
คณะกรรมการจัดท�ำคู่มือผู้ตัดสิน
กีฬาวอลเลย์บอล
ที่ปรึกษา
นางแสงจันทร์ วรสุมันต์ อธิบดีกรมพลศึกษา
นายพัฒนาชาติ กฤดิบวร รองอธิบดีกรมพลศึกษา
นายชลิต เขียวพุ่มพวง รองอธิบดีกรมพลศึกษา

คณะผู้จัดท�ำ
นางแสงจันทร์ วรสุมันต์ ประธานกรรมการ
นายสิทธิศักดิ์ ด�ำรงสกุล รองประธานกรรมการ
นายทรงศักดิ์ เจริญพงศ์ กรรมการ
นายวิทยา ถีนานนท์ กรรมการ
นางสาวจันทร์เพ็ญ จิรัคคกุล กรรมการ
นายสมโภชน์ ยิ้มพลอย กรรมการ
นายนิทัศน์ ปฐมภาคย์ กรรมการ

ผู้แปลและเรียบเรียงต้นฉบับ
ร.อ.ท.ชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ คณะกรรมการบริหารสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
นายทรงศักดิ ์ เจริญพงศ์ คณะกรรมการฝ่ า ยผู ้ ตั ด สิ น และวิ ท ยากรของสหพั น ธ์
วอลเลย์บอลนานาชาติ
ผู้เรียบเรียง
นางสุพิทย์ วีระใจ ผูอ้ ำ� นวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรการพลศึกษาและการกีฬา
นางบงกชรัตน์ โมลีี หัวหน้ากลุ่มวิชาการและมาตรฐานวิชาชีพ
นายปริญญา ถวัลย์อรรณพ นักพัฒนาการกีฬาช�ำนาญการ

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล 215
ชื่อหนังสือ คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล
ปีที่พิมพ์ 2555
จำ�นวน 1,000 เล่ม

ออกแบบ นายเกียรติศักดิ์ บุตรศาสตร์


บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำ�กัด
248/47 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ
เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700
โทรศัพท์ 0 2424 1963, 0 2424 5600 โทรสาร 0 2435 2794

พิมพ์ที่ สำ�นักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์


2/9 ซอยกรุงเทพฯ-นนทบุรี 31 เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
โทรศัพท์ 0 2910 7001-2 โทรสาร 0 2585 6466

216 คู่มือผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บ ล

You might also like