You are on page 1of 216

คำ�นำ�

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate เล่มนี้ กรมพลศึกษาโดยสถาบัน


พัฒนาบุคลากรการพลศึกษาและการกีฬา จัดทำ�ขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการฝึกสอน
กีฬาวอลเลย์บอลให้มีความทันสมัย มีมาตรฐานสูงขึ้น สอดคล้องกับการจัดการแข่งขัน
กีฬาวอลเลย์บอลในปัจจุบัน และมอบให้แก่ผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล ระดับ T-Certificate
ผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอลทั่วไปและผู้สนใจได้ใช้เป็นคู่มือในการฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล
การดำ�เนินการได้รับความร่วมมือจากสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญ
ด้านกีฬาวอลเลย์บอลมาเป็นวิทยากรและร่วมจัดทำ�ต้นฉบับ
กรมพลศึกษาขอขอบคุณสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทยและผู้เชี่ยวชาญทุกท่าน
ทีม่ สี ว่ นร่วมในการจัดทำ�คูม่ อื ผูฝ้ กึ สอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate เล่มนี้ จนสำ�เร็จลุลว่ ง
เป็นอย่างดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล
และผู้ที่สนใจทั่วไปได้ศึกษา ค้นคว้า และนำ�ไปใช้ในการพัฒนาการฝึกสอน ฝึกซ้อม และ
การจัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลให้มีมาตรฐานสูงขึ้น สนองนโยบายและแผนพัฒนาการกีฬา
ของชาติต่อไป

กรมพลศึกษา
มีนาคม 2555
VOLLEYBALL
สารบัญ
หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล ระดับ 1 T-Certificate 1
ตารางการฝึกอบรมผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล ระดับ 1 T-Certificate 2
บทที่ 1 ประวัติความเป็นมาของกีฬาวอลเลย์บอล 13
ประวัติของสหพันธ์กีฬาวอลเลย์บอลนานาชาติ 14
กีฬาวอลเลย์บอลในเอเชีย 19
กีฬาวอลเลย์บอลในประเทศไทย 22
บทที่ 2 หลักสูตรการเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล 24
ผู้ฝึกสอนกับจิตวิทยาการกีฬา (Coach and Sport Psychology) 35
บทที่ 3 การเสริมสร้างสมรรถภาพที่เกี่ยวข้องกับกีฬาวอลเลย์บอล 41
บทที่ 4 การฝึกซ้อมด้านร่างกายส�ำหรับนักกีฬาวอลเลย์บอล 61
บทที่ 5 วิทยาศาสตร์การกีฬาและเทคโนโลยีทางการกีฬากับการพัฒนานักกีฬาวอลเลย์บอล 83
บทที่ 6 การปฐมพยาบาลการบาดเจ็บจากการกีฬา 93
บทที่ 7 ทักษะการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล 104
การเสิร์ฟ (Serving) 104
การเล่นลูกสองมือล่าง (Underhand) 119
การเซต (Setting) 128
การตบ (Spiking) 141
การสกัดกั้นหรือการบล็อก (Blocking) 160
ผู้เล่นตัวรับอิสระหรือลิโบโร่ (The Libero) 171
บทที่ 8 มินิวอลเลย์บอล 178
เทคนิคการฝึกสอนผู้เล่นมินิวอลเลย์บอล 180
(Coaching Techniques for the Mini Volleyball Players)
การฝึกซ้อมทักษะเด็กอายุ 12-14 ปี 183
การพัฒนาเทคนิคของนักกีฬาวอลเลย์บอล 188
การเล่นวอลเลย์บอลในสวนสาธารณะ (Park Volleyball) 190
บทที่ 9 การเล่นทีม (Team) 192
บรรณานุกรม 206
คณะกรรมการจัดท�ำคู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล ระดับ 1 T-Certificate 207
ห ลักสูตรการฝึกอบรมผู้ฝึกสอน
กีฬาวอลเลย์บอล ระดับ 1 T-Certificate
ระยะเวลาดำ�เนินการ : จำ�นวน 7 วัน
เนื้อหาหลักสูตร :
ลำ�ดับ กิจกรรม บรรยาย ทดสอบ จำ�นวน
ที่ เนื้อหา สาธิต อภิปราย ฝึกปฏิบัติ สื่อนวัตกรรม ประเมินผล ชัว่ โมง
1 ประวัติความเป็นมาของกีฬาวอลเลย์บอล 1 - - - - 1
2 หลักการเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล 1 .30 - .30 - 2
3 การเสริมสร้างสมรรถภาพที่เกี่ยวข้องกับ .30 .30 .30 .30 - 2
กีฬาวอลเลย์บอล
4 การฝึกซ้อมด้านร่างกายสำ�หรับ .30 .15 .30 .15 - 1.30
กีฬาวอลเลย์บอล
5 วิทยาศาสตร์การกีฬาและเทคโนโลยี .30 .30 .15 .15 - 1.30
ทางการกีฬากับการพัฒนานักกีฬาวอลเลย์บอล
6 การปฐมพยาบาลการบาดเจ็บจากการกีฬา .30 .30 - .30 - 1.30
7 ทักษะการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
- การเสิร์ฟ .30 .15 2.45 .15 - 3.45
- การเล่นลูกสองมือล่าง .15 .15 2.45 .15 - 3.30
- การเซต .30 .15 2.15 .15 - 3
- การตบ .15 .15 2.45 .15 - 3.30
- การสกัดกั้น .15 .15 2.30 .15 - 3.15
- ตัวรับอิสระ .15 .15 1.30 - - 2
8 กติกาที่ควรทราบ 1 .15 - .15 - 1.30
9 มินิวอลเลย์บอล .15 .15 2.30 .15 - 3.15
10 การเล่นทีม-แข่งขัน .30 .30 5.30 .15 - 6.45
11 การทดสอบ - - - - 4 4
รวม 44 ชม.
หมายเหตุ : รวมเวลาในการฝึกอบรม 40 ชั่วโมง
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 1
2
ตารางการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
เวลา 12.00 น.
08.30 - 10.00 น. 10.00 - 12.00 น. ถึง 13.00 - 14.45 น. 15.00 - 16.30 น.
วันที่ 13.00 น.
พิธีเปิด/ประวัติความเป็นมาของ หลักการเป็นผู้ฝึกสอน การเสริมสร้างสมรรถภาพที่เกี่ยวกับ การฝึกซ้อมด้านร่างกาย
วันที่ 1 กีฬาวอลเลย์บอล
กีฬาวอลเลย์บอล กีฬาวอลเลย์บอล ส�ำหรับกีฬาวอลเลย์บอล

วิทยาศาสตร์การกีฬาและเทคโนโลยี
วันที่ 2 ทางการกีฬากับการพัฒนา การเสิร์ฟ การเสิร์ฟ การเล่นลูกสองมือล่าง
นักกีฬาวอลเลย์บอล
การปฐมพยาบาล
วันที่ 3 การเล่นลูกสองมือล่าง การเซต
การบาดเจ็บจากการกีฬา

วันที่ 4 การตบ การสกัดกั้น

วันที่ 5 กติกาที่ควรทราบ ตัวรับอิสระ รับประทานอาหาร 1 ชั่วโมง มินิวอลเลย์บอล

วันที่ 6 การเล่นทีม-แข่งขัน การเล่นทีม-แข่งขัน

วันที่ 7 ทดสอบภาคปฏิบัติ ทดสอบภาคปฏิบัติ ทดสอบภาคปฏิบัติ อภิปราย พิธีปิด

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันโลกมีความเจริญก้าวหน้า ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีการพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง
ในท�ำนองเดียวกันกับกีฬาวอลเลย์บอลสมัยใหม่ ไม่ใช่เป็นการแข่งขันด้านเทคนิค แต่เป็นการแข่งขัน
ด้านการบริหารจัดการวิทยาศาสตร์การกีฬาได้อย่างถูกต้อง ถูกวิธีเพื่อพัฒนาตนเองจากพื้นฐาน
สู่ความเป็นเลิศและอาชีพต่อไป
ฉะนั้น ผู้ฝึกสอนที่สอนกีฬาขั้นพื้นฐานต้องมีความรู้ ความเข้าใจทุกๆ ด้าน เพื่อพัฒนา
นักกีฬาให้ก้าวหน้าไปสู่สากล หลักสูตร T-Certificate ประกอบด้วยเนื้อหาต่างๆ จากหลักสูตร
ผู้ฝึกสอนวอลเลย์บอลนานาชาติ ระดับ 1 ซึ่งเป็นหลักสูตรของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
สถาบันพัฒนาบุคลากรการพลศึกษาและการกีฬา กรมพลศึกษา จึงได้จัดการอบรมผู้ฝึกสอน
กีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate เพือ่ สอดคล้องกับแผนพัฒนากีฬาชาติและความนิยมกีฬาวอลเลย์บอล
มากขึ้นทุกวัน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล ให้มีความรู้ ความสามารถ ฝึกสอน
นักกีฬาในระดับพื้นฐานให้ถูกต้อง
2. เพือ่ เป็นพืน้ ฐานส�ำหรับผูฝ้ กึ สอนในการเรียนหลักสูตร Coaches course Level 1 ของ
สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
3. เพือ่ เป็นการส่งเสริมและพัฒนาผูฝ้ กึ สอนกีฬาวอลเลย์บอลให้มที ศั นคติทดี่ ี และให้โอกาส
ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมวอลเลย์บอล

โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร
การฝึกอบรมหลักสูตรผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอลขั้นพื้นฐาน (T-Certificate) มีการเรียน
การสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
การฝึกอบรมหลักสูตรผูฝ้ กึ สอนกีฬาวอลเลย์บอลขัน้ พืน้ ฐาน นับเป็นความรับผิดชอบของ
สถาบันพัฒนาบุคลากรการพลศึกษาและการกีฬา กรมพลศึกษา และสมาคมกีฬาวอลเลย์บอล
แห่งประเทศไทย โดยเฉพาะด้านผู้ฝึกสอนที่ต้องท�ำทีมให้ประสบความส�ำเร็จในการแข่งขัน ดังนั้น
ผู้ฝึกสอนจึงต้องศึกษาหาความรู้ความเข้าใจตามหลักสูตรการฝึกอบรม ซึ่งประกอบด้วย
- ประวัติความเป็นมาของกีฬาวอลเลย์บอล
- หลักการเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล
- การเสริมสร้างสมรรถภาพที่เกี่ยวกับกีฬาวอลเลย์บอล

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 3
- การฝึกซ้อมด้านร่างกายส�ำหรับนักกีฬาวอลเลย์บอล
- วิทยาศาสตร์การกีฬาและเทคโนโลยีทางการกีฬากับการพัฒนานักกีฬาวอลเลย์บอล
- การปฐมพยาบาลการบาดเจ็บจากการกีฬา
- การเสิร์ฟ
- การเล่นลูกสองมือบนหรือการเซต
- การตบ
- การสกัดกั้น
- กติกาที่ควรทราบ
- ตัวรับอิสระ
- มินิวอลเลย์บอล
- การเล่นทีม-แข่งขัน
- การทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

ระยะเวลาในการฝึกอบรม
ใช้เวลาในการฝึกอบรม จ�ำนวน 7 วัน รวม 44 ชั่วโมง
- ภาคทฤษฎี 12 ชั่วโมง
- ภาคปฏิบัติ 32 ชั่วโมง

คุณสมบัติและบทบาทหน้าที่ของวิทยากร และผู้ช่วยวิทยากร
- ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรวิทยากรหรือสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลให้การรับรอง

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
1. ต้องมีอายุไม่ต�่ำกว่า 18 ปี
2. ต้องท�ำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนทีมใดทีมหนึ่ง
3. วุฒิการศึกษาไม่ต�่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย

4 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
วัสดุอุปกรณ์ที่จ�ำเป็นต้องใช้ในการฝึกอบรม
- ยิมเนเซียม มีสนามวอลเลย์บอลพร้อมเสา นวมหุ้มเสา ตาข่าย เสาอากาศ
- ลูกวอลเลย์บอล จ�ำนวน 40 ลูก พร้อมตะกร้าใส่ลูกบอล
- ห้องส�ำหรับใช้อบรมภาคทฤษฎี
- โทรทัศน์
- เครื่องเล่น Video/VCD
- เครื่องฉาย Overhead/LCD/Profector, Monitor

การประเมินผล
- มีเวลาในการฝึกอบรม อย่างน้อย 80%
- ภาคทฤษฎี สอบข้อเขียน ผ่าน 60%
- ภาคปฏิบัติ ผ่าน 60 %

รายละเอียดประกอบหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล
หัวข้อเนื้อหา ประวัติความเป็นมาของกีฬาวอลเลย์บอล
ระยะเวลา 1.30 ชั่วโมง
ขอบข่ายเนื้อหา ความเป็นมาของกีฬาวอลเลย์บอลตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน
เนื้อหา 1. ประวัติความเป็นมาของกีฬาวอลเลย์บอล
2. ประวัติกีฬาวอลเลย์บอลในประเทศไทย
กิจกรรม การบรรยาย
การอภิปราย-การซักถาม
สื่อและอุปกรณ์ - วีดีทัศน์
- เอกสารประกอบการบรรยาย
- เครื่องฉายข้ามศีรษะ
- พาวเวอร์พอยท์

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 5
หัวข้อเนื้อหา หลักการเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล
ระยะเวลา 1.30 ชั่วโมง
ขอบข่ายเนื้อหา กีฬาวอลเลย์บอลจะประสบความส�ำเร็จได้ถา้ มีการบริหารจัดการ
นักกีฬาให้เหมาะสมและนักกีฬาได้แสดงความสามารถเต็มที่
เนื้อหา - หลักการเป็นผู้ฝึกสอนที่ดี
- ผู้ฝึกสอนกับจิตวิทยาการกีฬา
กิจกรรม การบรรยาย
การอภิปราย-การซักถาม
สื่อและอุปกรณ์ - วีดีทัศน์
- เอกสารประกอบการบรรยาย
- เครื่องฉายข้ามศีรษะ
- พาวเวอร์พอยท์

หัวข้อเนื้อหา การเสริมสร้างสมรรถภาพที่เกี่ยวข้องกับกีฬาวอลเลย์บอล
ระยะเวลา 2 ชั่วโมง
ขอบข่ายเนื้อหา การสร้ า งสมรรถภาพของมนุ ษ ย์ ที่ ส ามารถท�ำให้ เ กิ ด
ความสัมพันธ์การเล่นเป็นอย่างดี เล่นวอลเลย์บอลได้ดี
เนื้อหา - สมรรถภาพทางกาย
- สมรรถภาพทางกลไก
- สมรรถภาพทางกลไกทั่วไป
กิจกรรม บรรยาย-สาธิต
ปฏิบัติ
สื่อและอุปกรณ์ - วีดีทัศน์
- เอกสารประกอบการบรรยาย

6 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
หัวข้อเนื้อหา การฝึกซ้อมด้านร่างกายส�ำหรับนักกีฬาวอลเลย์บอล
ระยะเวลา 1.30 ชั่วโมง
ขอบข่ายเนื้อหา การสร้างสมรรถภาพด้านร่างกายในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
เนื้อหา - ความทนทาน
- ก�ำลัง (ความแข็งแรงแบบเร็ว)
- ความแข็งแรงสูงสุด
- ความคล่องตัว
- ความเร็วความอ่อนตัว
กิจกรรม บรรยาย-สาธิต
ปฏิบัติ
สื่อและอุปกรณ์ - วีดีทัศน์
- ห้องเวทฮ์ เทรนนิ่ง (weight training room)

หัวข้อเนื้อหา วิทยาศาสตร์การกีฬาและเทคโนโลยีทางการกีฬากับการพัฒนา
นักกีฬาวอลเลย์บอล
ระยะเวลา 1.30 ชั่วโมง
ขอบข่ายเนื้อหา การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ในการท�ำสถิติ
การแข่งขัน และระดับนานาชาติใช้ระบบ VIS (Volleyball
Information System)
เนื้อหา วิ ท ยาศาสตร์ ก ารกี ฬ าและเทคโนโลยี ท างการกี ฬ ากั บ
การเตรียมนักกีฬาวอลเลย์บอล ประกอบด้วย
- สรีรวิทยา - ชีวกลศาสตร์กับการกีฬา
- จิตวิทยาการกีฬา - โภชนาการกีฬา
- เวชศาสตร์การกีฬา
กิจกรรม บรรยาย-การสาธิต
ปฏิบัติ
สื่อและอุปกรณ์ - วีดีทัศน์
- เอกสารประกอบการบรรยาย
- เครื่องฉายข้ามศีรษะ
- พาวเวอร์พอยท์
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 7
หัวข้อเนื้อหา หลักทั่วไปของการปฐมพยาบาลและการบาดเจ็บจากการกีฬา
ระยะเวลา 1.30 ชั่วโมง
ขอบข่ายเนื้อหา การให้ความช่วยเหลือและป้องกันการบาดเจ็บของนักกีฬา
ก่อนส่งเข้ารักษาต่อไป
เนื้อหา - การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
- การบาดเจ็บของข้อต่อ
กิจกรรม บรรยาย-อภิปราย
ซักถาม
สื่อและอุปกรณ์ - วีดีทัศน์
- เอกสารประกอบการบรรยาย
- เครื่องฉายข้ามศีรษะ
- พาวเวอร์พอยท์

หัวข้อเนื้อหา การเสิร์ฟ
ระยะเวลา 3.30 ชั่วโมง
ขอบข่ายเนื้อหา การเสิรฟ์ เป็นการเริม่ ต้นขัน้ แรกของการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
ถ้าการเสิร์ฟมีประสิทธิภาพดีท�ำให้ฝ่ายรับลูกยากเปิดเกมรุก
ไม่ได้ โอกาสที่ฝ่ายเสิร์ฟจะรุกกลับได้ และได้คะแนนที่เกิด
จากการเสิร์ฟที่มีประสิทธิภาพด้วย
เนื้อหา - การเสิร์ฟลูกมือล่าง
- การเสิร์ฟลูกมือบน
กิจกรรม การบรรยาย-การสาธิต
การปฏิบัติ
สื่อและอุปกรณ์ - วีดีทัศน์
- เอกสารประกอบการบรรยาย
- ลูกวอลเลย์บอลพร้อมตะกร้า
- ยิมสนามฝึกอบรม

8 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
หัวข้อเนื้อหา การเล่นลูกสองมือล่าง
ระยะเวลา 3.30 ชั่วโมง
ขอบข่ายเนื้อหา การเล่นลูกสองมือล่างเป็นทักษะพืน้ ฐานทีน่ กั กีฬาวอลเลย์บอล
ต้องฝึกให้ถูกต้อง เพื่อให้เกิดความสามารถในการเป็นผู้เล่น
กีฬาวอลเลย์บอลที่ดี
เนื้อหา - การจับมือ
- การรับลูกเสิร์ฟ
- การรับลูกตบ
กิจกรรม อธิบาย-สาธิต
การปฏิบัติ
สื่อและอุปกรณ์ - วีดีทัศน์
- เอกสารประกอบการบรรยาย
- ลูกวอลเลย์บอลพร้อมตะกร้า
- ยิมสนามฝึกอบรม

หัวข้อเนื้อหา การเล่นลูกสองมือบนหรือการเซต
ระยะเวลา 3 ชั่วโมง
ขอบข่ายเนื้อหา ตัวเซตเป็นหัวใจส�ำคัญของทีมที่จะส่งบอลให้เพื่อนร่วมทีม
ท�ำการรุกท�ำคะแนนได้
เนื้อหา - การเซตบอลหัวเสา
- การเซตลูกเร็ว
กิจกรรม ศึกษาจาก VCD
สาธิต
ฝึกปฏิบัติ
สื่อและอุปกรณ์ - วีดีทัศน์
- เอกสารประกอบการบรรยาย
- ลูกวอลเลย์บอลพร้อมตะกร้า
- ยิมสนามฝึกอบรม

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 9
หัวข้อเนื้อหา การตบ
ระยะเวลา 3.30 ชั่วโมง
ขอบข่ายเนื้อหา ในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลถ้าทีมมีตวั ตบทีม่ ปี ระสิทธิภาพ
จะท�ำให้ทีมประสบความส�ำเร็จในการแข่งขัน
เนื้อหา - การตบลูกหัวเสา
- การตบลูกเร็ว
กิจกรรม ศึกษาจาก VCD
สาธิต
ฝึกปฏิบัติ
สื่อและอุปกรณ์ - วีดีทัศน์
- เอกสารประกอบการบรรยาย
- ลูกวอลเลย์บอลพร้อมตะกร้า
- ยิมสนามฝึกอบรม

หัวข้อเนื้อหา การสกัดกั้น
ระยะเวลา 3.30 ชั่วโมง
ขอบข่ายเนื้อหา การเล่นลูกหน้าตาข่ายเพื่อป้องกันมิให้คู่ต่อสู้รุกได้รุนแรง
เนื้อหา - การสกัดกั้นคนเดียว
- การสกัดกั้นเป็นกลุ่ม
กิจกรรม ศึกษาจาก VCD
สาธิต
ฝึกปฏิบัติ
สื่อและอุปกรณ์ - วีดีทัศน์
- เอกสารประกอบการบรรยาย
- ลูกวอลเลย์บอลพร้อมตะกร้า
- ยิมสนามฝึกอบรม

10 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
หัวข้อเนื้อหา กติกาที่ควรทราบ
ระยะเวลา 1.30 ชั่วโมง
ขอบข่ายเนื้อหา นักกีฬาต้องรู้วิธีการเล่นและมารยาทของการเป็นนักกีฬา
วอลเลย์บอลที่ดี
เนื้อหา - กติกาการแข่งขัน
กิจกรรม การบรรยาย
อภิปราย-ซักถาม
สาธิต-ปฏิบัติ
สื่อและอุปกรณ์ - วีดีทัศน์
- เอกสารประกอบการบรรยาย
- เครื่องฉายข้ามศีรษะ
- พาวเวอร์พอยท์

หัวข้อเนื้อหา ตัวรับอิสระ
ระยะเวลา 1.30 ชั่วโมง
ขอบข่ายเนื้อหา ตัวรับอิสระเป็นผู้เล่นแดนหลัง รับลูกบอลจากการเสิร์ฟ
การรุกจากฝ่ายตรงข้ามเพื่อส่งลูกให้ตัวเซต ท�ำการเซต
เพื่อง่ายต่อการรุกในการท�ำคะแนน
เนื้อหา - การรับลูกเสิร์ฟ
- การรับลูกที่รุนแรง
กิจกรรม ศึกษาจาก VCD
สาธิต
ฝึกปฏิบัติ
สื่อและอุปกรณ์ - วีดีทัศน์
- เอกสารประกอบการบรรยาย
- ลูกวอลเลย์บอลพร้อมตะกร้า
- ยิมสนามฝึกอบรม

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 11
หัวข้อเนื้อหา มินิวอลเลย์บอล
ระยะเวลา 3.30 ชั่วโมง
ขอบข่ายเนื้อหา การฝึกเล่นทีมเบือ้ งต้นเพือ่ พัฒนาไปสูก่ ารแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล
ที่เต็มรูปแบบต่อไป
เนื้อหา - วอลเลย์บอลตามสวนสาธารณะ
- มินิวอลเลย์บอล
กิจกรรม สาธิต
การปฏิบัติ
สื่อและอุปกรณ์ - วีดีทัศน์
- เอกสารประกอบการบรรยาย
- ลูกวอลเลย์บอลพร้อมตะกร้า
- ยิมสนามฝึกอบรม

หัวข้อเนื้อหา การเล่นทีม-แข่งขัน
ระยะเวลา 6.30 ชั่วโมง
ขอบข่ายเนื้อหา การฝึกทักษะต่างๆ เพือ่ ประกอบการเล่นทีมตามต�ำแหน่งต่างๆ
ในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล
เนื้อหา - การเล่นเป็นทีม ในรูปแบบการรุก การรับ
- การแข่งขัน โดยการแบ่งกลุ่มแข่งขัน
กิจกรรม สาธิต
การปฏิบัติ
สื่อและอุปกรณ์ - วีดีทัศน์
- เอกสารประกอบการบรรยาย
- ลูกวอลเลย์บอลพร้อมตะกร้า
- ยิมสนามฝึกอบรม

12 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate

บ ทที่ 1
ประวัติความเป็นมาของกีฬาวอลเลย์บอล
ปี ค.ศ. 1895 กีฬาวอลเลย์บอล เริ่มขึ้นโดยนายวิลเลียม จี. มอร์แกน (William
G. Morgan) มีสมาคม Y.M.C.A (Young Men’s Christian Association) เมืองฮอลโยค
(Holyoke) มลรัฐแมสซาซูเซตส์ (Massachusetts) โดยเขาพยายามจัดกิจกรรมสันทนาการ
ให้กับสมาชิกเขาคิดค้นเกมต่างๆ ในที่สุดก็หันมาทางด้านกีฬาเทนนิส (Tennis) ซึ่งต้องใช้แร๊กเกต
ลูกบอลและตาข่ายเป็นอุปกรณ์การเล่น โดยน�ำเอายางในของลูกบาสเกตบอลมาใช้มือตีเล่น
แทนไม้แร็กเกตให้ขา้ มตาข่าย ซึง่ สูง 6 ฟุต 6 นิว้ แต่เนือ่ งจากลูกบอลมีนำ�้ หนักเบา ท�ำให้การเคลือ่ นที่
ของลูกบอลช้า เขาจึงหันมาใช้ลูกบาสเกตบอลแทน ซึ่งมีน�้ำหนักมากเกินไปอีก แต่ก็ยังคงใช้เล่น
ไปก่อนเรื่อยๆ อย่างไม่มีกฎเกณฑ์อะไร

วิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan)

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 13
ประวัติของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ

ปี ค.ศ. 1895 นายวิลเลียม จี มอร์แกน (William G.Morgan) ได้คิดค้นเกมการเล่น


วอลเลย์บอลขึ้นที่สมาคม Y.M.C.A. ในเมืองโฮลยอค มลรัฐแมสซาซูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยใช้ชื่อมินโตเนต (Mintonette)
ปี ค.ศ. 1896 ศาสตราจารย์อัลเฟรด ที ฮอลสเตด (Dr.Alfred T.Halstead) ได้เสนอ
ให้เปลี่ยนชื่อจากมินโตเนต เป็นวอลเลย์บอล
ปี ค.ศ. 1900 ประเทศแคนาดาได้พัฒนากีฬาวอลเลย์บอลเพื่อเป็นกิจกรรมนันทนาการ
ปี ค.ศ. 1908 นายแฟรงกิน เอช บราวน์ (Frankiln H.Brown) ได้น�ำกีฬาวอลเลย์บอล
เข้าไปเผยแพร่ในประเทศฟิลปิ ปินส์ และศาสตราจารย์เจ ฮาวาร์ด โครเกอร์ ได้น�ำกีฬาวอลเลย์บอล
เข้าไปเผยแพร่ในประเทศจีน
ปี ค.ศ. 1913 ได้มกี ารบรรจุกฬี าวอลเลย์บอลเข้าในการแข่งขันกีฬาภาคพืน้ ตะวันออกไกล
ครัง้ ที่ 1 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
ปี ค.ศ. 1918 ได้ก�ำหนดให้ใช้ผู้เล่นข้างละ 6 คน
ปี ค.ศ. 1922 ได้ก�ำหนดกติกาให้แต่ละทีมเล่นลูกได้ไม่เกิน 3 ครั้ง และได้มีการก่อตั้ง
สมาคมวอลเลย์บอลและบาสเกตบอลขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศเชคโกสโลวาเกีย
ปี ค.ศ. 1928 มีการก่อตัง้ สมาคมวอลเลย์บอลขึน้ ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการจัดการแข่งขัน
กีฬาวอลเลย์บอลชิงชนะเลิศแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 1 ที่ Brooklyn Central Y.M.C.A.
ปี ค.ศ. 1933 ได้บรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงในการแข่งขันกีฬา Central American
และ Caribbean Game ใน San Salvador
ปี ค.ศ. 1934 มีการจัดตั้งคณะกรรมการกีฬาวอลเลย์บอลนานาชาติเป็นครั้งแรก
ภายใต้สหพันธ์แฮนด์บอล
ปี ค.ศ. 1946 ประเทศโปแลนด์ ฝรัง่ เศส เชคโกสโลวาเกีย สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต
รัสเซียและโรมาเนีย ได้ร่วมกันก่อตั้งคณะกรรมการที่ด�ำเนินการด้วยตนเองขึ้นครั้งแรก
ปี ค.ศ. 1947 14 ประเทศ ได้ร่วมกันจัดตั้งสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติขึ้นใน
กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้เลือกนายพอล ลิบอร์ด (Paul Libaud) เป็นประธานกรรมการ
โดยมีประเทศทีร่ ว่ มกันจัดตัง้ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา ฝรัง่ เศส เชคโกสโลวาเกีย โปแลนด์ อียปิ ต์
อิตาลี เนเธอแลนด์ เบลเยียม โปรตุเกส โรมาเนีย ตุรกี บราซิล อุรุกวัย ยูโกสลาเวีย (อิสราเอล
และเลบานอนได้เข้าร่วมในปี ค.ศ. 1949)
ปี ค.ศ. 1948 การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งชาติยุโรป ครั้งที่ 1 ประเภทชายที่กรุงโรม
ระหว่างวันที่ 24-26 กันยายน

14 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
ปี ค.ศ. 1949 - คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้รับกีฬาวอลเลย์บอลซึ่งไม่ใช่กีฬาที่อยู่
ในกีฬาโอลิมปิก
- การแข่งขันชิงแชมป์โลก ประเภททีมชาย ครั้งแรกที่ Prague
- การแข่งขันชิงแชมป์ยุโรป ประเภททีมหญิง ครั้งแรกที่ Prague
- มีการใช้ระบบการรุก 3 คน และมีการลำ�้ แดนของตัวเซตทีอ่ ยูแ่ ดนหลัง
ปี ค.ศ. 1951 อนุญาตให้มือสามารถล�้ำเหนือตาข่ายได้ ภายใต้เงื่อนไขคือการสกัดกั้น
ปี ค.ศ. 1952 การแข่งขันชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 1 ประเภททีมหญิง
ปี ค.ศ. 1955 - กีฬาวอลเลย์บอลได้ถูกบรรจุเข้าใน “แพนอเมริกันเกม ครั้งที่ 2”
ที่เม็กซิโก
- นายมาซาเอชิ นิชิเคโอ และนายยูตากะ เมดา จากประเทศญี่ปุ่น
ได้จัดตั้งสหพันธ์วอลเลย์บอลแห่งทวีปเอเชียขึ้น
ปี ค.ศ. 1956 จัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลชาย-หญิงชิงแชมป์โลกในเวลาเดียวกัน
เป็นครั้งแรกที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยมีทีมชาย 24 ทีม และทีมหญิง 17 ทีม
ปี ค.ศ. 1957 คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้มกี ารประชุมทีเ่ มืองโซเฟีย ประเทศบัลแกเรีย
และรับกีฬาวอลเลย์บอลเข้าเป็นกีฬาชนิดหนึง่ ในกีฬาโอลิมปิก และรับว่าสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
เป็นองค์กรกีฬาสากลเมื่อ 24 กันยายน
ปี ค.ศ. 1961 คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้มกี ารประชุมทีก่ รุงเอเธนส์ ให้ประเทศญีป่ นุ่
เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกม และได้บรรจุกฬี าวอลเลย์บอลเข้าเป็นกีฬาชนิดหนึง่ ในการ
แข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่จัดขึ้นที่กรุงโตเกียวด้วย
ปี ค.ศ. 1963 สหพันธ์วอลเลย์บอลแห่งทวีปยุโรปได้จดั ตัง้ คณะกรรมการในโซนของยุโรป
ปี ค.ศ. 1964 - กีฬาวอลเลย์บอลชาย-หญิงได้ถกู บรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
เป็นครัง้ แรกทีจ่ ดั ขึน้ ทีก่ รุงโตเกียว ประเทศญีป่ นุ่ (เหรียญทองหญิง ได้แก่ ทีมญีป่ นุ่ เหรียญทองชาย
ได้แก่ ทีมสหภาพโซเวียตรัสเซีย)
- ได้มกี ารปรับปรุงกติกาการสกัดกัน้ ใหม่ (อนุญาตให้มอื ทัง้ สองลำ�้ เหนือตาข่าย
และอนุญาตให้ถูกลูกขณะสกัดกั้นเกินกว่า 1 ครั้งได้)
ปี ค.ศ. 1965 - การแข่งขันเวิลด์คัพชาย ครั้งที่ 1 ที่กรุงวอซอร์ ประเทศโปแลนด์
- มีการจัดตั้งคณะกรรมการในโซนแอฟริกาขึ้น
ปี ค.ศ. 1966 - Dr.Roben Acosta ได้จัดตั้งคณะกรรมการโซนอเมริกากลาง และ
โซนคาริเบียนขึ้น
ปี ค.ศ. 1968 สหรัฐอเมริกาและแคนาดาได้เข้าร่วมโซนอเมริกากลาง เพือ่ จัดตัง้ สหพันธ์
วอลเลย์บอลแห่ง Norceca ตามข้อเสนอของ Dr.Ruben Acosta

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 15
ปี ค.ศ. 1971 ได้มีการจัดหลักสูตรผู้ฝึกสอนระดับนานาชาติขึ้นครั้งแรก โดยสมาคม
วอลเลย์บอลแห่งประเทศญีป่ นุ่ ภายใต้การด�ำเนินงานของ Mr.Yutaka Maeda และ Mr.Hiroshi Toyoda
ปี ค.ศ. 1972 สหพันธ์วอลเลย์บอลทั้ง 5 ทวีป ได้จัดตั้งคณะกรรมการฝ่ายแข่งขันกีฬา
ของแต่ละทวีปขึ้น โดยการรับรองโดยสหพันธ์ของแต่ละทวีป
ปี ค.ศ. 1973 การแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลเวิลด์คัพหญิง ครั้งที่ 1 ที่ประเทศอุรุกวัย
ปี ค.ศ. 1974 มีการถ่ายทอดสดเป็นครัง้ แรกในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลชาย-หญิง
ชิงแชมป์โลกจากประเทศเม็กซิโกไปยังประเทศญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆหลายประเทศ
ปี ค.ศ. 1975 - มีการจัดประชุมและส่งเสริมมินิวอลเลย์บอลอื่นที่ประเทศสวีเดน
- มีการจัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลหญิงชิงชนะเลิศแห่งทวีปแอฟริกา
ที่เมืองดากา ประเทศเซเนกัล
ปี ค.ศ. 1976 Dr.Ruben Acosta ได้คิดค้นระบบการใช้ลูกบอล 3 ลูก เพื่อใช้ใน
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมที่มอนทรีล และในท�ำนองเดียวกันกติกาที่อนุญาตให้เล่นได้อีก 3 ครั้ง
หลังการสกัดกั้นได้ถูกน�ำมาใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมที่มอนทรีล ประเทศแคนาดา
และการแข่งขันลีกอาชีพของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้ใช้ตาข่ายที่มีความยาว 9 เมตร
ปี ค.ศ. 1977 การแข่งขันเยาวชนอายุต�่ำกว่า 21 ปี ชาย-หญิงชิงแชมป์โลกได้เริ่มขึ้น
เป็นครั้งแรกที่ประเทศบราซิล
ปี ค.ศ. 1980 ได้มีการพัฒนากติกาขึ้นเป็น 3 ภาษา เป็นครั้งแรก (ฝรั่งเศส อังกฤษ
และสเปน) ตามผลจากการเสนอของประเทศเม็กซิโก ในการประชุมใหญ่ที่กรุงมอสโคว์ และ
ได้มีการรับรองเกี่ยวกับนักกีฬาอาชีพ
ปี ค.ศ. 1982 ได้มกี ารลดแรงอัดลมของลูกบอลจาก 0.45 เป็น 0.40 ตารางเซนติเมตร
ต่อกิโลกรัม
ปี ค.ศ. 1984 - Dr.Ruben Acosta ได้รับเลือกให้เป็นประธานสหพันธ์วอลเลย์บอล
นานาชาติแทนประธาน Pual Libaud ผู้ก่อตั้งสหพันธ์ฯ
- ส�ำนักงานใหญ่ของสหพันธ์ฯ ได้ย้ายจากปารีสไปยังเมืองโลซาน
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ปี ค.ศ. 1985 คณะกรรมการบริหารสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้ให้การรับรอง
5 โครงการหลักเพื่อพัฒนากีฬาวอลเลย์บอลของโลก ซึ่งเสนอโดย Dr.Ruben Acosta และได้มี
เจตนามุ่งหมายเพื่อยกระดับกีฬาวอลเลย์บอลขึ้นสู่ระดับกีฬาอาชีพ
ปี ค.ศ. 1987 ได้มีการจัดการแข่งขัน World Gala เป็นครั้งแรกที่กรุงปักกิ่งและ
เมืองเซี่ยงไฮ้ โดยทีมหญิงของประเทศจีนพบกับทีมดาราของโลก การแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล
ชายหาดชิงแชมป์โลกได้จัดเป็นครั้งแรกที่ประเทศบราซิล

16 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
ปี ค.ศ. 1990 การแข่งขัน “เวิลด์ลีก” ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก มีการจัดการแข่งขัน
มากกว่า 20 เมือง โดยมี 8 ทีม เข้าร่วมแข่งขันเพื่อชิงเงินรางวัล 1 ล้านเหรียญสหรัฐ
ปี ค.ศ. 1992 สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้เริ่มให้มีการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล
ชายหาด World Tour ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีการจัดการแข่งขันที่ญี่ปุ่น เปอร์โตริโก บราซิล อิตาลี
และออสเตรเลีย
ปี ค.ศ. 1993 - สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้กลายเป็นองค์กรกีฬาทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในโลก
โดยมีประเทศสมาชิกถึง 210 ประเทศ
- เริ่มมีการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลหญิง “เวิลด์กรังปรีซ์” ขึ้นเป็นครั้งแรก
โดยมี 8 ประเทศ เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อชิงเงินรางวัล 1 ล้านเหรียญสหรัฐ
ปี ค.ศ. 1994 - อนุญาตให้ลูกถูกส่วนต่างๆของร่างกายได้ทุกส่วนรวมทั้งเท้า
- ได้มีการขยายเขตเสิร์ฟจนเต็มเขตพื้นที่ 9 เมตร
- คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้มกี ารประชุมที่ Monte Carlo ให้บรรจุ
กีฬาวอลเลย์บอลชายหาดเข้าในกีฬาโอลิมปิกเกม 1996 มีการแข่งขันทีมหญิง 16 คู่ ทีมชาย 24 คู่
- ที่ประชุมใหญ่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้รับรองแผนการ
ส่งเสริมกีฬาวอลเลย์บอลปี 2001 ซึ่งเสนอโดย Dr.Ruben Acosta เพื่อพัฒนาทักษะการบริหาร
จัดการของสมาคมแต่ละประเทศให้สามารถจัดการแข่งขันลีกอาชีพขึ้น รวมทั้งกีฬาวอลเลย์บอล
ชายหาดด้วย
ปี ค.ศ. 1995 ครบรอบ 100 ปี กีฬาวอลเลย์บอล จัดให้มีการเฉลิมฉลอง 100 วัน
ในทั่วโลกโดยผู้เกี่ยวข้องกับกีฬาวอลเลย์บอล
ปี ค.ศ. 1996 กีฬาวอลเลย์บอลชายหาดได้ถูกบรรจุเข้าในกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรก
ที่แอตแลนตา
ปี ค.ศ. 1997 - มีการจัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดชิงแชมป์โลกเป็นครัง้ แรก
ที่ Los Angeles ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีเงินรางวัล 600,000 เหรียญสหรัฐ
- วอลเลย์บอลเวิลด์ลีกได้เพิ่มเงินรางวัลเป็น 8 ล้านเหรียญสหรัฐ
ปี ค.ศ. 1998 มีการใช้ระบบการนับคะแนนแบบ “Really Point System” และ
มี ก ารยอมรั บ อย่ า งเป็ น ทางการให้ มี ก ารเล่ น โดยใช้ ตั ว รั บ อิ ส ระในการแข่ ง ขั น ชิ ง แชมป์ โ ลก
ที่กรุงโตเกียว
ปี ค.ศ. 1999 ทีมหญิงประเทศคิวบาได้รบั ต�ำแหน่งชนะเลิศในการแข่งขัน “เวิลด์คพั ”
เป็นครั้งที่ 4 และทีมรัสเซียชายได้รับต�ำแหน่งชนะเลิศเป็นครั้งแรกหลังจากมีการเปลี่ยนแปลง
ประเทศใหม่

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 17
ปี ค.ศ. 2000 การแข่ ง ขั น กี ฬ าโอลิ ม ปิ ก เกมที่ เ มื อ งซิ ด นี ย ์ ประเทศออสเตรเลี ย
มีการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลชายหาด ชาย 24 คู่ หญิง 24 คู่ วอลเลย์บอลในร่ม ชาย 12 ทีม
หญิง 12 ทีม และประเทศ Kiribati ได้เข้าเป็นสมาชิกล�ำดับที่ 218
ปี ค.ศ. 2002 - มีการประชุมใหญ่สหพันธ์กีฬาวอลเลย์บอลนานาชาติ ครั้งที่ 28
ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา
- ประเทศเยอรมนี เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลหญิง
ชิงแชมป์โลก โดยมีทีมเข้าร่วม 24 ทีม แข่งขันในเมืองต่างๆ ถึง 8 เมือง
- ประเทศอาร์เจนตินา เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลชาย
ชิงแชมป์โลก โดยมีทีมเข้าร่วม 24 ทีม แข่งขันในเมืองต่างๆ ถึง 6 เมือง
ปี ค.ศ. 2004 การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ มีการแข่งขัน
กีฬาวอลเลย์บอลในร่มชายจ�ำนวน 12 ทีม หญิง จ�ำนวน 12 ทีม และกีฬาวอลเลย์บอลชายหาด
ชาย จ�ำนวน 24 ทีม หญิง จ�ำนวน 24 ทีม
- ทีมชนะเลิศวอลเลย์บอลประเภททีมชาย ได้แก่ ประเทศบราซิล และ
ประเภททีมหญิง ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ปี ค.ศ. 2006 การแข่งขัน FIVB Volleyball World Championship ทีมชนะเลิศ
ประเภททีมชาย ได้แก่ ประเทศบราซิล และประเภททีมหญิง ได้แก่ ประเทศรัสเซีย
ปี ค.ศ. 2007 การแข่งขัน FIVB World Cup ทีมชนะเลิศประเภททีมชาย ได้แก่
ประเทศบราซิล และประเภททีมหญิง ได้แก่ ประเทศอิตาลี
ปี ค.ศ. 2008 การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกทีป่ ระเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ทีมชนะเลิศ
ประเภททีมชาย ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเภททีมหญิง ได้แก่ ประเทศบราซิล
ปี ค.ศ. 2010 การแข่งขัน FIVB Volleyball World Championship ทีมชนะเลิศ
ประเภททีมชาย ได้แก่ ประเทศบราซิล และประเภททีมหญิง ได้แก่ ประเทศรัสเซีย
ปี ค.ศ. 2011 การแข่งขัน FIVB World Cup ทีมชนะเลิศประเภททีมชาย ได้แก่
ประเทศรัสเซีย และประเภททีมหญิง ได้แก่ ประเทศอิตาลี
ปี ค.ศ. 2012 การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ประเทศอังกฤษ ทีมชนะเลิศประเภททีมชาย
ได้แก่ ประเทศรัสเซีย และประเภททีมหญิง ได้แก่ ประเทศบราซิล

18 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
กีฬาวอลเลย์บอลในเอเชีย
ฝ่ายวิชาการ กองกีฬา กรมพลศึกษา (2535: 5-6) ได้เรียบเรียงกีฬาวอลเลย์บอล
ในเอเชียไว้ดังนี้
ดร.เกรย์ (Dr.Gray) ผู้อ�ำนวยการพลศึกษาแห่งสมาคม Y.M.C.A. ได้น�ำกีฬาวอลเลย์บอล
เข้ามาในประเทศอินเดีย เมื่อปี ค.ศ. 1900 ต่อมาในปี ค.ศ. 1906 กีฬาวอลเลย์บอลได้เข้าสู่ประเทศ
สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยนายโรเบิร์ทสันและนายเกลีย (Robert and Gaily) ผู้อ�ำนวยการ
พลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A.
ปี ค.ศ. 1910 นายเอลวูด เอส. บราวน์ (Elwood S. Brown) ผู้อ�ำนวยการพลศึกษา
ของสมาคม Y.M.C.A. ได้น�ำเข้าเผยแพร่ในประเทศฟิลปิ ปินส์ และได้แผ่ขยายออกไปถึงประเทศตะวันออกไกล
ปี ค.ศ. 1913 ได้มกี ารแข่งขันกีฬาภาคพืน้ ตะวันออก ครัง้ ที่ 1 ขึน้ ทีก่ รุงมะนิลา ประเทศ
ฟิลิปปินส์ กีฬาวอลเลย์บอลก็ได้รับการบรรจุเข้าในการแข่งขันด้วย โดยใช้ระบบการแข่งขันแบบ
16 คน ซึ่งอีก 5 ปีต่อมา ได้เปลี่ยนเป็นระบบการเล่น 6 คน ซึ่งคิดโดยสหรัฐอเมริกา
ปี ค.ศ. 1921 ซึ่งเป็นการแข่งขันกีฬาภาคพื้นตะวันออก ครั้งที่ 5 ณ เมืองเซี่ยงไฮ้
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เปลี่ยนระบบการเล่นแบบ 16 คน มาเป็นระบบ 12 คน
ปี ค.ศ. 1924 ประเทศญี่ปุ่น ได้คิดระบบการเล่นแบบ 9 คน ซึ่งระบบนี้ได้น�ำมาใช้
ในการแข่งขันภาคพืน้ ตะวันออก ครัง้ ที่ 8 ในเมืองเซีย่ งไฮ้ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี ค.ศ. 1927
ปี ค.ศ. 1943 นายแฟรงคลิน เอช. บราวน์ (Franklin H. Brown) ได้น�ำกีฬาวอลเลย์บอล
เข้าสหพันธ์แห่งเอเชีย
ปี ค.ศ. 1951 ญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ได้เข้าร่วมกับสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
ปี ค.ศ. 1952 อินเดียและเลบานอนได้เข้าร่วมการแข่งขันชิงแชมป์โลกชาย ครั้งที่ 2
ซึ่ ง จั ด ขึ้ น ที่ ก รุ ง มอสโก ประเทศรั ส เซี ย และที ม ชาติ ห ญิ ง ของอิ น เดี ย ได้ เข้ า ร่ ว มการแข่ ง ขั น
ชิงแชมป์โลกหญิงครั้งที่ 1 ซึ่งจัดที่กรุงมอสโกในเวลาเดียวกัน
ปี ค.ศ. 1953 ทีมมหาวิทยาลัยวาเซดะ (Waseda) แห่งประเทศญี่ปุ่นได้เข้าร่วม
การแข่งขันกีฬาชิงชนะเลิศภายในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เมืองโอมาฮะ และเนบราก้า (Omaha
and Nebraska) และได้มีแรงจูงใจให้น�ำเอาระบบการเล่น 6 คน เข้ามาในประเทศญี่ปุ่น
ปี ค.ศ. 1954 ได้ มี ก ารก่ อ ตั้ ง สหพั น ธ์ ว อลเลย์ บ อลแห่ ง เอเชี ย ขึ้ น ในกรุ ง มะนิ ล า
ในโอกาสที่มีการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 2 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนายมาซาอิชิ นิชิกาวา
(Masaichi Nishikawa) นายกสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศญี่ปุ่นในขณะนั้น แต่อย่างไรก็ตาม
มีข้อผูกพันว่าประเทศสมาชิกต้องเป็นสมาชิกของสหพันธ์
ปี ค.ศ. 1955 ได้มีการจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 1 ประเภททีมชาย
ขึ้นที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นที่ระลึกแก่สหพันธ์วอลเลย์บอลแห่งเอเชีย และในครั้งนั้น
ประเทศอินเดียและญี่ปุ่นเป็นผู้ชนะเลิศประเภท 6 คน และ 9 คน ตามล�ำดับ
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 19
ปี ค.ศ. 1958 มีการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ขึ้นที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
กีฬาวอลเลย์บอลได้ถูกบรรจุเข้าไว้ในการแข่งขันประเภทหนึ่งด้วย (เฉพาะทีมชาย) ประเทศญี่ปุ่น
ได้ชนะเลิศทั้งประเภท 6 คน และ 9 คน ในระหว่างการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ในครั้งนี้
ได้มีการด�ำริที่จะจัดการแข่งขันกีฬาภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เซียพเกมส์ (SEAP Games)
และได้มีการประชุมกันระหว่างผู้แทนของประเทศต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในแถบนี้ โดยการริเริ่มของคณะกรรมการ
โอลิมปิกแห่งประเทศไทยในปี 1949 ซึง่ ในข้อตกลงได้ก�ำหนดให้มกี ารจัดการแข่งขัน 2 ปีต่อครั้ง และ
ได้พิจารณาบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลเข้าตั้งแต่การแข่งขันกีฬาเซียพเกมส์ ครั้งที่ 1 เป็นต้นมาด้วย
ปี ค.ศ. 1964 สมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศเกาหลี ได้จดั การแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล
เยาวชนชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย (Asian Youth Games) ขึ้นที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
ปี ค.ศ. 1975 จัดให้มกี ารแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครัง้ ที่ 1 ภายใต้การควบคุมของ
สหพันธ์วอลเลย์บอลแห่งเอเชีย ทีก่ รุงเมลเบิรน์ ประเทศออสเตรเลีย ทีมชนะเลิศทีมชาย ได้แก่ ประเทศ
ญี่ปุ่น ทีมชนะเลิศทีมหญิง ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น
ปี ค.ศ. 1979 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมหญิงและชาย ครั้งที่ 2
ที่ประเทศฮ่องกงและบาห์เรน ตามล�ำดับในเดือนธันวาคม ทีมชนะเลิศทีมชาย ได้แก่ ประเทศ
สาธารณรัฐประชาชนจีน ทีมชนะเลิศทีมหญิง ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ปี ค.ศ. 1980 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย (Junior Asian Championship)
ครั้งที่ 1 ประเทศเกาหลี
ปี ค.ศ. 1983 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมหญิงและชาย ครัง้ ที่ 3
ณ ประเทศญี่ปุ่น ทีมชนะเลิศทีมชาย ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ทีมชนะเลิศทีมหญิง ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น
ปี ค.ศ. 1984 จัดการแข่งขันเยาวชนชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย (Asian Youth Games)
ประเภททีมหญิง ครั้งที่ 2 ที่เมืองแคนเบอร์รา (Canbera) ประเทศออสเตรเลีย และประเภท
ทีมชาย ครั้งที่ 2 ที่เมืองริยาด (Riyadh) ประเทศซาอุดิอาระเบีย
ปี ค.ศ. 1987 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย (ครัง้ ที่ 4) ประเภททีมชาย ทีป่ ระเทศ
คูเวต และการแข่งขันประเภททีมหญิงทีป่ ระเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ทีมชนะเลิศทีมชาย ได้แก่
ประเทศญี่ปุ่น ทีมชนะเลิศทีมหญิง ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ปี ค.ศ. 1989 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมหญิงและทีมชาย
ที่ประเทศเกาหลี และฮ่องกง ตามล�ำดับ ทีมชนะเลิศทีมชาย ได้แก่ ประเทศเกาหลีใต้ ทีมชนะเลิศ
ทีมหญิง ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ปี ค.ศ. 1991 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายจัดขึ้นที่ประเทศ
ออสเตรเลีย ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ประเภททีมหญิงจัดขึ้นที่ประเทศไทย ทีมชนะเลิศ
ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

20 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
ปี ค.ศ. 1993 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายจัดขึน้ ทีป่ ระเทศไทย
ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศเกาหลีใต้ ประเภททีมหญิงจัดขึ้นที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ปี ค.ศ. 1995 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายทีป่ ระเทศเกาหลีใต้
ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเภททีมหญิงจัดขึ้นที่ประเทศไทย ทีมชนะเลิศ
ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ปี ค.ศ. 1997 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายจัดขึน้ ทีป่ ระเทศกาตาร์
ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเภททีมหญิงจัดขึ้นที่ประเทศฟิลิปปินส์
ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ปี ค.ศ. 1999 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายจัดขึน้ ทีป่ ระเทศอิหร่าน
ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเภททีมหญิงจัดขึ้นที่ประเทศสาธารณรัฐ
ประชาชนจีนฮ่องกง ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ปี ค.ศ. 2001 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายจัดขึ้นที่ประเทศ
เกาหลีใต้ ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศเกาหลีใต้ ประเภททีมหญิงจัดขึน้ ทีป่ ระเทศไทย ทีมชนะเลิศ ได้แก่
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ปี ค.ศ. 2003 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายจัดขึ้นที่ประเทศ
สาธารณรัฐประชาชนจีน ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศเกาหลีใต้ ประเภททีมหญิงจัดขึ้นที่ประเทศ
เวียดนาม ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ปี ค.ศ. 2005 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายจัดขึ้นที่ประเทศไทย
ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศญีป่ นุ่ ประเภททีมหญิงจัดขึน้ ทีป่ ระเทศเวียดนาม ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศ
สาธารณรัฐประชาชนจีน
ปี ค.ศ. 2007 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายจัดขึ้นที่ประเทศ
อินโดนีเซีย ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย ประเภททีมหญิงจัดขึ้นที่ประเทศไทย ทีมชนะเลิศ
ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น
ปี ค.ศ. 2009 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายจัดขึ้นที่ประเทศ
ฟิลิปปินส์ ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ประเภททีมหญิงจัดขึ้นที่ประเทศเวียดนาม ทีมชนะเลิศ
ได้แก่ ประเทศไทย
ปี ค.ศ. 2011 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายจัดขึน้ ทีป่ ระเทศอิหร่าน
ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศอิหร่าน ประเภททีมหญิงจัดขึน้ ทีป่ ระเทศจีนไทเป ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศ
สาธารณรัฐประชาชนจีน

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 21
กีฬาวอลเลย์บอลในประเทศไทย

ฝ่ายวิชาการ กองกีฬา กรมพลศึกษา (2534 : 34-36) ได้เรียบเรียงประวัตกิ ฬี าวอลเลย์บอล


ในประเทศไทยไว้อย่างละเอียดในหนังสือ “ประวัติการกีฬา” ไว้ดังนี้
กีฬาวอลเลย์บอลในประเทศไทยนั้นไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่า ได้แพร่หลายเข้ามา
ในปีใดหรือสมัยใด แต่พอจะอนุมานได้วา่ การเล่นกีฬาวอลเลย์บอลได้มขี นึ้ ในประเทศไทยมากกว่า 60 ปี
โดยมากเล่นเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เมื่อตั้งกรมพลศึกษาขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2476 กรมพลศึกษา
เห็นว่าวอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่นักเรียนทั้งหญิงและชายสามารถเล่นได้ จึงได้จัดให้สอนวิชานี้ขึ้นใน
สถาบันพลศึกษา
ในปี พ.ศ. 2477 กรมพลศึกษาได้จัดพิมพ์กติกาวอลเลย์บอลขึ้น โดยอาจารย์นพคุณ
พงษ์สุวรรณ เป็นผู้แปล ท่านเป็นผู้ที่มีความช�ำนาญมากจึงได้รับการเชิญให้เป็นผู้บรรยายเกี่ยว
กับเทคนิควิธีการเล่นตลอดจนกติกาการแข่งขันให้ครูพลศึกษาทั่วประเทศประมาณ 100 คน
ในโอกาสที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้จัดการอบรมขึ้น และในปีนี้เองกรมพลศึกษาได้จัดให้มี
การแข่งขันกีฬาประจ�ำปีและบรรจุกฬี าวอลเลย์บอลหญิงไว้ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรก ซึ่งในสมัย
ของ น.อ.หลวงศุภชลาศัย ร.น.ด�ำรงต�ำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา แต่การแข่งขันไม่ใคร่เป็นที่นิยมนัก
ทั้งนี้เพราะเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของแต่ละบุคคล เล่นกันไปตามเรื่องตามราวมิให้ผิดกติกา
ส่วนที่จะให้มีฝีมือนั้นไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะไม่มีผู้ช�ำนาญการโดยเฉพาะมาฝึกสอนให้ จึงท�ำให้
การเล่นกีฬาวอลเลย์บอลเสื่อมความนิยมไป แต่ยังคงมีการแข่งขันอยู่เรื่อยๆ ทั้งที่ปริมาณไม่เพิ่มขึ้น
และคุณภาพก็ยังไม่ดีพอ
ต่อมาได้ทราบกันว่า วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ประเทศใกล้เคียง เช่น ประเทศสาธารณรัฐ
ประชาชนจีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์นิยมเล่นกันมาก และมีฝีมืออยู่ในขั้นมาตรฐาน มีเทคนิคต่างๆ
ที่ก่อให้เกิดความตื่นเต้นไม่เป็นที่น่าเบื่อหน่าย บรรดาผู้ฝึกสอนซึ่งความจริงหาใช่ผู้ช�ำนาญการ
โดยเฉพาะไม่ หากแต่สนใจและพยายามเรียนรูก้ ารเคลือ่ นไหวจากต่างประเทศ น�ำมาถ่ายทอดไปยัง
ผูเ้ ล่น ท�ำให้เกิดความสนใจในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลกันขึ้นอีกระยะหนึ่งและเจริญมาจนกระทั่ง
ทุกวันนี้
ต่อมามีคณะบุคคลผู้ริเริ่มก่อตั้งสมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยชุดแรก
มี 7 คน คือ

22 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
1. พลโทสุรจิต จารุเศรณี
2. นายกอง วิสุทธารมณ์
3. นายสวัสดิ์ เลขยานนท์
4. นายเสรี ไตรรัตน์
5. นายนิคม พลสุวรรณ
6. นายแมน พลพยุหคีรี
7. นายเฉลิม บุณยะสุนทร
บุ ค คลทั้ ง 7 คน ได้ ร ่ ว มกั น ประชุ ม วางแผนด�ำเนิ น การก่ อ ตั้ ง สมาคมวอลเลย์ บ อล
แห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2500 จากที่ประชุมได้มอบหมายให้
นายกอง วิสุทธารมณ์ เป็นผู้แทนไปด�ำเนินการขออนุญาตจัดตั้งสมาคมฯ ต่อกระทรวงศึกษาธิการ
ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2502 โดยมีนายนาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผูล้ งนาม
ในใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมฯ มีชื่อ “สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย” (Amateur
Volleyball Association of Thailand = A.V.A.T.)
วันที่ 1 มิถุนายน 2502 พลเอกสุจริต จารุเศรณี นายกสมาคมฯ ได้ลงนามในข้อบังคับของ
สมาคมฉบับแรก ทีก่ �ำหนดให้มคี ณะกรรมการบริหารเพียง 7 ต�ำแหน่ง และด�ำรงต�ำแหน่งได้สมัยละ 4 ปี
คณะกรรมการสมาคมฯ ชุดแรก มีดังนี้
1. พลเอกสุรจิต จารุเศรณี นายกสมาคมฯ
2. นายกอง วิสุทธารมณ์ อุปนายก
3. นายแมน พลพยุหคีรี เหรัญญิก
4. นายเฉลิม บุณยะสุนทร เลขานุการ
5. นายสวัสดิ์ เลขยานนท์ กรรมการ
6. นายเสรี ไตรรัตน์ กรรมการ
7. นายนิคม พลสุวรรณ กรรมการ
เมื่อมีการจัดตั้งสมาคมฯ ขึ้นเป็นผลส�ำเร็จ ประเทศไทยจึงส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน
ในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ และเนื่องจากมีประเทศที่ส่งเข้าร่วมการแข่งขันเพียง
4 ประเทศ ทีมไทยจึงประสบความส�ำเร็จได้ชนะเลิศ แต่ในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 2
ที่กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า ทีมไทยไม่ประสบความส�ำเร็จ

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 23

บ ทที่ 2
หลักสูตรการเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล
การสร้างทีมให้ประสบผลส�ำเร็จนั้นมีปัจจัยที่ส�ำคัญหลายอย่างประกอบกัน แต่ที่นับว่า
ส�ำคัญมากอย่างหนึ่งคือ ผู้ฝึกสอน ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจผู้ฝึกสอนมากขึ้น จึงจ�ำเป็น
ต้องเข้าใจพื้นฐานของผู้ฝึกสอนที่ส�ำคัญ

1. บทบาทและคุณสมบัติของผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล
การที่ ผู ้ ฝ ึ ก สอนกี ฬ าจะถ่ า ยทอดและพั ฒ นาเทคนิ ค วิ ธี ก ารต่ า งๆ ในการฝึ ก นั ก กี ฬ า
ให้มปี ระสิทธิภาพได้นนั้ ผูฝ้ กึ สอนกีฬาจ�ำเป็นต้องมีพน้ื ฐานความรูค้ วามเข้าใจเกีย่ วกับพลศึกษาหรือกีฬา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกีฬาแต่ละชนิดแต่ละประเภท การเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาโดยไม่มีพื้นฐานความรู้
ทางด้านพลศึกษาหรือกีฬามาเลย เปรียบเสมือนการสร้างบ้านโดยไม่มกี ารวางรากฐานนัน่ เอง ถึงแม้วา่
จะสร้างได้สวยงามปานใดก็ตาม ก็จะไม่มคี วามมัน่ คงเท่าทีค่ วร บทบาทและคุณสมบัตขิ องผูฝ้ กึ สอนกีฬา
ที่ส�ำคัญ ได้แก่
1.1 ผู้ฝึกสอนกีฬาจะต้องศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพื่อใช้ในการส่งเสริมและ
พัฒนานักกีฬาให้มีความสามารถสูงสุดในกีฬาชนิดและประเภทนั้นๆ
1.2 ผูฝ้ กึ สอนกีฬาต้องสามารถเข้าใจถึงความต้องการด้านต่างๆ ของนักกีฬาได้เป็นอย่างดี
1.3 ผู้ฝึกสอนกีฬาต้องเป็นคนที่มีอารมณ์ร่าเริงแจ่มใส สามารถสร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน
ให้กับนักกีฬา ซึ่งต้องท�ำการฝึกอย่างหนักตลอดเวลาได้
1.4 ผู้ฝึกสอนกีฬาต้องสามารถเผชิญกับสถานการณ์หลายๆ อย่างได้เป็นอย่างดี มีจิตใจ
เข้มแข็ง ไม่อ่อนไหวง่าย
1.5 ผูฝ้ กึ สอนกีฬาต้องมีความยุตธิ รรม ไม่ล�ำเอียง หรือเลือกทีร่ กั มักทีช่ งั ในนักกีฬาคนหนึง่
คนใดโดยเฉพาะ
1.6 ผู้ฝึกสอนกีฬาต้องพยายามทุ่มเททุกอย่างให้กับการฝึก เพื่อพัฒนานักกีฬาให้เป็น
นักกีฬาที่ดีในทุกด้าน

24 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
1.7 ผูฝ้ กึ สอนกีฬาจะต้องมีความสามารถหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิง่ ต้องมีความเชีย่ วชาญ
เป็นพิเศษในกีฬาประเภทนั้นๆ เพื่อจะได้เป็นที่เชื่อถือและยอมรับของนักกีฬา
1.8 ผูฝ้ กึ สอนกีฬาต้องมีความรูค้ วามเข้าใจทางด้านเทคนิค และวิทยาศาสตร์การกีฬาเป็น
อย่างดี เพื่อใช้แก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการฝึกและการแข่งขัน
1.9 ผูฝ้ กึ สอนกีฬาจะต้องมีความรับผิดชอบสูง มีความสามารถในการวางแผนใช้ความคิด
และมีเหตุผล
1.10 ผู้ฝึกสอนกีฬานอกจากจะมีความรู้ทางทฤษฎีอย่างดีแล้ว จะต้องสามารถสาธิต
ให้นักกีฬาเห็นล�ำดับขั้นตอนต่างๆ ได้เป็นอย่างดีด้วย
1.11 ผู้ฝึกสอนกีฬาจะต้องเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทั้งกับผู้ร่วมงานและคนอื่นๆ
จากบทบาทและคุณสมบัติของผู้ฝึกสอนกีฬาดังกล่าว จะเห็นได้ว่าผู้ฝึกสอนกีฬาจะต้อง
เป็นผู้ที่สามารถท�ำให้นักกีฬาแต่ละคนเกิดความรู้ ทักษะ มีความเฉลียวฉลาดในการใช้เทคนิคต่างๆ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ในขณะท�ำการแข่งขัน ตลอดจนสามารถน�ำประสบการณ์เหล่านั้น
ไปใช้ในชีวิตประจ�ำวันด้วย ซึ่งเป็นบทบาทและคุณสมบัติทั่วๆ ไปของผู้ฝึกสอนกีฬา ส�ำหรับ
กีฬาวอลเลย์บอลผู้ฝึกสอนถือว่าเป็นหัวใจของการสร้างทีม ซึ่งมีหน้าที่ต้องด�ำเนินการ
หน้าที่ของผู้ฝึกสอนไม่ใช่เพียงเป็นผู้ส่งต�ำแหน่งให้กับผู้ตัดสินและไม่ใช่มีหน้าที่เพียงเพื่อ
สิ้นสุดการเล่นลูกสุดท้ายในแต่ละนัดเท่านั้น การบริหารและการจัดการของทีมให้ต่อเนื่องและ
สอดคล้องกับการเริ่มการแข่งขันเป็นสิ่งที่ผู้ฝึกสอนจะต้องเตรียมการ เพื่อให้ทีมบรรลุเป้าหมาย
ในระยะสั้นหรือการพัฒนาการด้านเทคนิค การจัดการ และการควบคุมขบวนการให้ประสบผล
ตามเป้าหมายนั้น จะต้องรู้และเข้าใจกลวิธีการเล่นของทีมเข้าใจเรื่องสภาพร่างกายและจิตใจ
(ทัง้ ของทีมตนเองและฝ่ายตรงข้าม) และมีความสัมพันธ์ภายในทีม ผูฝ้ กึ สอนจะต้องมีขอ้ มูลเกีย่ วกับ
กลยุทธ์และกลวิธีการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล เข้าใจจิตวิทยาและสังคมวิทยาเป็นอย่างดี ตลอดจน
มีความรู้ความเข้าใจเรื่องกติกาการแข่งขันเป็นอย่างดี

2. การวางแผนการแข่งขัน
ในการวางแผนการแข่งขันนั้นจะเป็นการวางแผนอย่างมีระบบ มีการจัดการเกี่ยวกับ
การฝึกซ้อมเพื่อให้ได้มาซึ่งความสามารถของนักกีฬา ขึ้นอยู่กับปัจจัยส�ำคัญที่สามารถแยกออก
ได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 25
1. สภาพการแข่งขัน ได้แก่
- เวลาการแข่งขันรายวัน
- ขนาดของสนามแข่งขัน
- แสงสว่าง
- ความสูงของเพดาน
- ระบบการแข่งขัน
- ก�ำหนดการแข่งขัน
- ระดับมาตรฐานของทีมตรงข้าม
- ระดับมาตรฐานของทีมตัวเอง
- ลักษณะของผู้ชม
- สภาพภูมิอากาศ
- รูปแบบของอาหารการกิน
ส�ำหรับเรือ่ งของสภาพการแข่งขัน ผูฝ้ กึ สอนควรจะต้องทราบล่วงหน้าในระยะเวลาทีน่ าน
เพียงพอส�ำหรับการเตรียมทีมเพื่อเข้าแข่งขัน เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของ
สภาพอากาศ เวลา และอาหารการกิน เพือ่ ให้เกิดความคุน้ เคยมากทีส่ ดุ การเตรียมทีมเพือ่ เข้าแข่งขัน
ควรจะให้ใกล้เคียงกันสภาพของการแข่งขันมากที่สุด
2. การสอดแนม (Scouting)
การสอดแนมเพื่อหาข้อมูลของฝ่ายตรงข้าม ควรจะท�ำล่วงหน้าซึ่งจะช่วยให้การวางแผน
การแข่งขันได้ดีขึ้น ข้อมูลที่ได้จากการสอดแนมควรมีรายละเอียดอย่างชัดเจน เพื่อใช้เวลาในการ
ศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับเทคนิคและแทคติคของฝ่ายตรงข้าม ทั้งนี้ถ้าความสามารถในทักษะ
ของทีมเรายังไม่เพียงพอ โอกาสชนะทีมคูแ่ ข่งขันทีม่ คี วามแน่นอนเหนือกว่าเราก็เป็นไปได้ยาก แต่ก็ควร
จะเป็นประโยชน์ในโอกาสหน้า ไม่ใช่เพียงแค่ระยะเวลาช่วงสั้นๆ จะสามารถแก้ไขทีมให้เกิดความ
ส�ำเร็จได้
ข้อมูลที่ได้จากการสอดแนมฝ่ายตรงข้าม ควรจะประกอบด้วย
2.1 ส่วนประกอบของทีม ได้แก่ ระบบการเล่น เช่น ระบบ 4-2, 5-1 ต�ำแหน่งผู้เล่น
6 คนแรก และโอกาสในการเปลี่ยนผู้เล่นที่เป็นตัวหลักในการรุกและการรับ และสภาพวิญญาณ
การเป็นนักสู้ของทีม

26 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
2.2 รูปแบบของทีม ได้แก่
- การเสิร์ฟ ใช้วิธีการเสิร์ฟแบบใด, มีกลวิธีการเสิร์ฟอย่างไร และมีการสับเปลี่ยน
ต�ำแหน่งหรือไม่
- การรับลูกเสิร์ฟ รูปแบบในการยืนรับเป็นอย่างไร, ผู้เล่นคนใดรับลูกเสิร์ฟได้, ผู้เล่น
คนใดรับลูกเสิร์ฟไม่ดี, ผู้เล่นคนใดรับลูกเสิร์ฟแล้วจะต้องมาตบบล็อกหน้าเน็ตด้วย จะต้อง
วิเคราะห์ให้ดี
- การตั้งเกมรับเป็นอย่างไร (Defense), ระบบการยืนรับเป็นอย่างไร, การบล็อกเป็น
อย่างไร, ผู้เล่นคนใดยืนอยู่ต�ำแหน่งใดแล้วบล็อกได้ดีและมีประสิทธิภาพ
- การรุก ฝ่ายตรงข้ามใช้การรุกแบบใด, ใช้การรุกแดนหน้าอย่างเดียวหรือมีผสม
แดนหลังเข้ามาด้วย, ท�ำการรุกแบบรวดเร็วโดยใช้บอลเร็วเป็นหลักหรือใช้บอลหัวเสาเป็นหลัก
ผู้เล่นในต�ำแหน่งใดท�ำคะแนนได้มาก ตัวเซตชอบจ่ายบอลให้ใครรุก ตัวรุกแต่ละตัวตบบอล
ไปในทิศทางใดเป็นส่วนใหญ่
- ตัวผูฝ้ กึ สอนฝ่ายตรงข้ามมีวธิ กี ารอย่างไร เช่น วิธกี ารสอน การเปลีย่ นตัว การวางต�ำแหน่ง
การขอเวลานอก การกระตุ้นทีม
2.3 การวางแผนการเล่น
การวางแผนการเล่น ควรประกอบด้วยรายการต่างๆ ดังนี้
- การคาดการณ์ผลการแข่งขันโดยเปรียบเทียบระดับความสามารถของทีม
- การวางต�ำแหน่งผู้เล่น 6 คนแรกในการยืนเพื่อเตรียมการในครั้งแรก
- การเลือกเปลี่ยนผู้เล่นส�ำรองในต�ำแหน่งต่างๆ
- เทคนิคและแทคติคในการรุกและการรับ
- การเตรียมเปลี่ยนแผนการเล่น
- เรื่องเกี่ยวกับจิตวิทยาของทีม
3. การจัดการส�ำหรับทีมก่อนและหลังการแข่งขัน
3.1 การเดินทางถึงสนามแข่งขัน ทีมควรเดินทางไปให้ถงึ สนามแข่งขันก่อนก�ำหนดการ
แข่งขันอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงครึ่ง นักกีฬาทุกคนควรไปท�ำความคุ้นเคยกับสภาพสนาม แสงสว่าง
และสิ่งต่างๆ ภายนอก โดยการเดินไปรอบๆ และเพื่อสภาพจิตใจที่มั่นคง
3.2 การประชุมก่อนการแข่งขัน เมื่อเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเรียบร้อยแล้ว ควรมี
การประชุมโดยผู้ฝึกสอนในช่วงสั้นๆ โดยเน้นในเรื่องแผนการเล่นคร่าวๆ และกระตุ้นให้นักกีฬา
ท�ำให้ดีที่สุด

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 27
3.3 การอบอุ่นร่างกาย
การเตรียมการอบอุ่นร่างกายจะต้องขึ้นอยู่กับพิธีการก่อนการแข่งขัน ซึ่งประกอบด้วย
การแนะน�ำทีม การบรรเลงเพลงชาติ และเวลาที่ใช้อบอุ่นร่างกายอย่างเป็นทางการในสนาม
ดังนัน้ ผูฝ้ กึ สอนจะต้องก�ำหนดแผนการอบอุน่ ร่างกายให้สอดคล้องกับเวลาต่างๆ การอบอุน่ ร่างกาย
จะเริ่มจากการยืดเส้นและกล้ามเนื้อ การวิ่งเบาๆ การวิ่งระยะสั้นๆ การกระโดด ฯลฯ จากนั้น
จึงเริ่มใช้ลูกบอล (ถ้าเป็นไปได้ลูกบอลที่ใช้ควรเป็นลักษณะเดียวกับลูกที่ใช้แข่งขัน)
ในช่วงการอบอุ่นร่างกายนี้ไม่ควรให้มีการฝึกทักษะหรือเทคนิคใหม่ ทั้งนี้ถ้านักกีฬา
ท�ำได้ไม่ดีหรือเกิดความผิดพลาด ย่อมจะเกิดผลกับสภาพจิตใจด้วย ในตอนสุดท้ายควรจะให้มี
การเสิร์ฟและการรับลูกเสิร์ฟโดยเฉพาะ ผู้เล่นที่จะเป็นตัวรับโดยเฉพาะควรจะได้มีโอกาสฝึกรับ
มากกว่าผู้อื่น ส�ำหรับตัวเชตที่ใช้ระบบการเล่นแบบ 5-1 ไม่ควรเข้าร่วมการฝึกการรับลูกเสิร์ฟ
ในช่วงนี้ ผู้ฝึกสอนจะสามารถประเมินสภาพของผู้เล่นแต่ละคน และพยายามไม่สร้างความกดดันใดๆ
ให้แก่นักกีฬา
3.4 การเลือกจากการเสี่ยง
ผู้ฝึกสอนและหัวหน้าทีมควรจะพิจารณาถึงสภาพสนามทั้งสองด้านและพิจารณา
เลือกในการเสี่ยง โดยทั่วๆ ไปการเลือกนี้หัวหน้าทีมควรมีความรู้ในกติกาอย่างดี ทั้งนี้เพราะ
ในปัจจุบันการนับคะแนน จะใช้ระบบ Rally Point คือ มีการได้คะแนนทุกครั้งที่มีการเล่นลูก
ดั้งนั้น การเลือกจากการเสี่ยงควรจะเป็นการเลือกรับลูกเสิร์ฟมากกว่าการเลือกเสิร์ฟ
แต่อย่างไรก็ตามหลักการนี้จะไม่เป็นเช่นนี้เสมอไป ทั้งนี้ อาจจะประกอบด้วย
ปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น สภาพสนาม ความสามารถในการเสิร์ฟของผู้เสิร์ฟคนแรกของทีม
3.5 ข้อแนะน�ำทั่วๆ ไป ในขณะแข่งขัน
3.5.1 การวางแผนการเล่นตั้งแต่เริ่มต้นเป็นสิ่งส�ำคัญอย่างยิ่ง และจะต้องมั่นใจได้ว่า
แผนการที่วางไว้บรรลุผล การอ่านแผนการเล่นเป็นสิ่งจ�ำเป็นที่จะช่วยให้เกิดประโยชน์ได้มากและ
ผู้ฝึกสอนจะต้องพยายามหาวิธีให้ผู้เล่นตามแผนที่วางไว้ (ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนหรือเจ้าหน้าที่อื่นๆ
สามารถให้ข้อมูลต่างๆ ได้จากการวิเคราะห์การแข่งขันโดยข้อมูลทางสถิติอย่างง่ายๆ)
3.5.2 การมีวิญญาณเป็นนักสู้เป็นสิ่งส�ำคัญ ผู้ฝึกสอนจะต้องคิดเสมอว่าการแข่งขัน
จะยังไม่จบจนกระทั่งถึงคะแนนสุดท้าย และผลการแข่งขันจะสามารถเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ดังนั้น
ผู้ฝึกสอนจะต้องพยายามสร้างหรือกระตุ้นให้นักกีฬามีวิญญาณนักสู้ตลอดเวลาแข่งขัน
3.5.3 ช่วงวิกฤตในแต่ละเซตควรจะเปลี่ยนจังหวะหรือกลวิธีการเล่น โดยเฉพาะ
ในช่วงคะแนนที่ 8, 16 และ 20-21 เป็นช่วงที่จะต้องพยายามให้เป็นฝ่ายน�ำก่อนให้ได้ ทั้งนี้เพราะ
จะมีผลด้านจิตวิทยาของผู้เล่นด้วย

28 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
3.5.4 ผูฝ้ กึ สอนสามารถท�ำสิง่ ต่างๆ ให้เกิดผลกับทีม สิง่ ต่างๆ ควรมีการเตรียมการล่วงหน้า
และมีการวางแผนไว้ เช่น การเปลี่ยนตัวและการขอเวลานอก
3.5.5 ใช้กลวิธีต่างๆ ให้ถึงสิ้นสุดการแข่งขัน ขณะที่ทั้งสองทีมมีคะแนนคู่คี่กันมาก
เช่น 22 : 23 จะต้องพยายามไม่ให้เสียการเล่นลูก
3.6 การปฏิบัติขณะแข่งขัน
ผู้ฝึกสอนสามารถท�ำสิ่งต่างๆ ในขณะแข่งขัน คือ
3.6.1 การใช้เวลานอก ในช่วงการขอเวลานอกเพียง 30 หรือ 60 วินาที จะต้องใช้
ให้เป็นประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งจ�ำเป็นที่จะให้ผู้เล่นได้มีการประชุมกับผู้ฝึกสอน
อย่างเร็วที่สุดที่บริเวณหน้าม้านั่งของทีมตนเอง การขอเวลานอกจะท�ำเมื่อ
ก. เมือ่ ฝ่ายตรงข้ามท�ำคะแนนน�ำไปถึง 4-5 คะแนนติดต่อกัน และมีความจ�ำเป็น
ที่จะต้องหยุดจังหวะการท�ำคะแนนนี้
ข. เมื่อทีมเกิดความสับสนหรือผู้เล่นบางคนเล่นพลาดซ�้ำบ่อยๆ
ค. เมื่อผู้ฝึกสอนต้องการแนะน�ำกลวิธี เช่น จะเสิร์ฟไปที่ไหน จะรุกอย่างไรที่จะ
ได้ประโยชน์ที่สุด หรือจะสกัดกั้นที่ไหน
ง. เมื่อต้องการที่จะเปลี่ยนกลวิธี เนื่องจากคู่ต่อสู้สามารถจัดแผนการเล่นได้
จ. เมื่อผู้เล่นต้องการแรงกระตุ้นเพิ่มขึ้น
ฉ. เมือ่ ผูเ้ ล่นต้องการพักสภาพจิตใจ หลังจากมีการเล่นลูกทีย่ าวนานในแต่ละครัง้
3.6.2 การขอเปลี่ยนตัว
ผู้ฝึกสอนจะขอเปลี่ยนตัวผู้เล่น โดยพิจารณาสิ่งต่างๆ ดังนี้
ก. เพื่อเพิ่มเกมรุก การรับให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หรือเพื่อเปลี่ยนสภาพจิตใจ
ในสนาม โดยเปลี่ยนเอาผู้เล่นตัวพิเศษเฉพาะลงแทน
ข. เปลี่ยนผู้เล่นที่เล่นผิดพลาดจากแผน หรือท�ำผิดพลาดบ่อยๆ หรือแสดง
ความไม่มีน�้ำใจนักกีฬา หรือเกิดความไม่พอใจในเพื่อนร่วมทีม
ค. ให้โอกาสผู้เล่นส�ำรองได้ลงเล่นในนัดที่ไม่มีผลต่อทีม
ง. หยุดการแข่งขันเพื่อให้ค�ำแนะน�ำกับทีม หรือหยุดจังหวะการเล่นของคู่ต่อสู้
(รวมถึงการขอเวลานอกด้วย)
3.6.3 การใช้เวลาในช่วงพักระหว่างเซต
ในช่วงพักระหว่างเซตมีเวลา 3 นาที ที่ผู้ฝึกสอนสามารถสรุปผลในเซตที่ผ่านมา
และสามารถพูดคุย ถึงกลวิธีที่จะใช้ในเซตต่อไป ผลจากการวิเคราะห์การแข่งขันหรือข้อสังเกต

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 29
จากผู ้ ช ่ ว ยผู ้ ฝ ึ ก สอนสามารถใช้ เ ป็ น ข้ อ มู ล เพื่ อ ปรั บ ปรุ ง ล�ำดั บ ต�ำแหน่ ง หรื อ ต�ำแหน่ ง เริ่ ม เล่ น
โดยการคาดคะเนการวางต�ำแหน่งของทีมฝ่ายตรงข้ามในเซตต่อไป นักกีฬาทุกคนควรจะมีความมัน่ ใจ
อย่างเต็มที่ที่จะชนะในเซตต่อไปก่อนที่จะเริ่มต้นเซต
4. การประเมินผลการแข่งขัน
คณะผู้ฝึกสอน ได้แก่ ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน หรือทุกคนที่เป็นผู้ช่วยผู้ฝึกสอนของทีม รวมทั้ง
ผูเ้ ล่นส�ำรองจะต้องพยายามเก็บข้อมูลเพือ่ เป็นการช่วยเหลือผูฝ้ กึ สอน ซึง่ จะต้องเกีย่ วกับการผิดพลาด
และการประสบผลส�ำเร็จในครั้งที่ผ่านมา การประเมินผลควรมีจุดหมายและประกอบด้วยสิ่งต่างๆ
ดังนี้ (Federation Internationale de Volleyball. 1997 : 158)
4.1 สัมฤทธิ์ผลของการวางแผนการเล่นและคุณภาพของทีม
4.2 การประเมินความสามารถของนักกีฬาและพฤติกรรมขณะแข่งขัน
การใช้สถิติการวิเคราะห์การแข่งขัน จะท�ำให้ทราบข้อมูลต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ข้อมูล
เกี่ยวกับทักษะการเล่นของนักกีฬา (ทั้งปริมาณและคุณภาพ) ในการแข่งขัน จะสามารถเก็บได้
โดยผู้ช่วยผู้ฝึกสอนหรือผู้เล่นบนม้านั่งผู้เล่นส�ำรอง หรือข้อมูลนี้สามารถน�ำเสนอโดยภาพยนตร์
หรือการบันทึกวีดิโอ
ข้อมูลจากใบบันทึกผลการแข่งขันเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างมาก ผู้ฝึกสอนควรจะ
ศึกษาและท�ำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลและวิธีการบันทึกการแข่งขัน การใช้โปรแกรมอย่างง่ายๆ
ในคอมพิวเตอร์จะสามารถท�ำให้ทราบเกีย่ วกับคะแนนต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น ได้ทราบว่าคะแนน
ที่ได้หรือเสียมากที่สุดจากอะไร และในการหมุนแต่ละต�ำแหน่งสามารถท�ำได้กี่คะแนน ฯลฯ
ผู้ฝึกสอนควรหาโอกาสประชุมทีมในที่ที่สงบหลังการแข่งขัน โดยจะต้องมีผลและการแปลผล
ทางสถิติเกี่ยวกับการวิเคราะห์การแข่งขัน ผู้ฝึกสอนไม่ควรประชุมทีมทันทีหลังจากจบการแข่งขัน
เพียงแต่พูดเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับการชนะหรือแพ้เท่านั้น โดยจะพูดถึงว่านักกีฬาทุกคนนั้น
ไม่ใช่เล่นไม่ดีอย่างที่เขาคิด ช่วงเวลาที่เหมาะสมส�ำหรับการประชุมเพื่อวิเคราะห์การแข่งขัน
คือ วันที่จะท�ำการฝึกซ้อมในวันถัดไป โดยให้นักกีฬาได้มีโอกาสพูดแสดงความคิดเห็นก่อน
จากนั้นผู้ฝึกสอนจึงสรุปเหตุผลที่แพ้หรือชนะ เพราะอย่างไรในช่วงจบการประชุมจะต้องสรุป
เพื่อการฝึกซ้อมในวันต่อไป

30 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
3. การวางแผนการฝึกซ้อม
ในการวางแผนการฝึกซ้อมเป็นสิ่งที่ส�ำคัญที่สุดในการสร้างทีมเพื่อไปสู่เป้าหมาย ไม่ว่าใน
การแข่งขันหรือการพัฒนาทีมเพื่อไปสู่ความเป็นเลิศ
การวางแผนการฝึกซ้อมมีอยู่ 3 ระดับ ดังนี้
1. การวางแผนระยะยาว โดยทั่วไปอยู่ที่ 4-8 ปี ถ้าในระดับชาติก็คือ การเตรียมทีมไปสู่
กีฬาโอลิมปิก
2. การวางแผนระยะกลาง โดยทั่วไปอยู่ที่ 1-2 ปี โดยท�ำต่อเนื่องจากแผนระยะยาว
โดยมีโปรแกรมการแข่งขันรายการต่างๆ เข้ามาสอดแทรกตอนกลางของแผนระยะยาว
3. การวางแผนระยะสัน้ อยูท่ รี่ ะยะเวลา 3-6 เดือน เป็นการเตรียมทีเ่ พือ่ เข้าแข่งขันรายการ
เฉพาะกิจ หรือการมีเวลาเตรียมทีมน้อย ซึ่งขึ้นอยู่กับการเตรียมทีมของแต่ละทีม
สิ่งที่ต้องค�ำนึงสูงสุดในการวางแผนการฝึกซ้อม คือ การตั้งเป้าหมายสูงสุด (Goal)
ของแต่ละทีม ซึ่งในการวางแผนการฝึกซ้อมนั้นจะมีโปรแกรมการแข่งขันในระดับต่างๆ เข้ามา
ในการตั้ ง เป้ า หมายสู ง สุ ด ทางผู ้ ฝ ึ ก สอนจะต้ อ งล�ำดั บ ตามความส�ำคั ญ จากน้ อ ยไปหามาก
ตามล�ำดับดังต่อไปนี้

เป้าหมายทั่วไป เป้าหมายรอง เป้าหมายสูงสุด

กระบวนการวางแผนการฝึกซ้อม ประกอบด้วย
1. การเตรียมทีม
1.1 ด้านร่างกาย คือ การฝึกซ้อมในเรื่องของสมรรถภาพร่างกาย ประกอบด้วย
- ความแข็งแรง
- ความอดทน
- ความเร็ว
- ความคล่องตัว
- ความอ่อนตัว
1.2 ด้านจิตใจ
- ความสามัคคี
- การมีสมาธิ

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 31
ในการเตรี ย มที ม ทั้ ง ในด้ า นร่ า งกายและจิ ต ใจนั้ น เป็ น ผลโดยตรงที่ จ ะท�ำให้ นั ก กี ฬ า
เมื่อฝึกซ้อมไปแล้ว จะท�ำให้เกิดการพัฒนาใน 2 ด้าน คือ
- ความแน่นอน
- ความแม่นย�ำ
2. การวางแผนในเรือ่ งของสภาพการแข่งขัน ซึง่ เราจะต้องเตรียมทีมฝึกซ้อมให้ใกล้เคียง
กับความเป็นจริงมากที่สุด ประกอบด้วย
2.1 แข่งขันที่ไหน แข่งเมื่อไหร่ แข่งเวลาอะไร
2.2 สภาพภูมิอากาศเป็นอย่างไร
2.3 สถานที่แข่งขันนั้นเป็นอย่างไร
3. การรู้เขารู้เรา
3.1 การรูเ้ ขา เพือ่ ทีจ่ ะท�ำการศึกษาจุดแข็งและจุดอ่อนของคูต่ อ่ สู้ โดยใช้การสอดแนม
(Scouting) การถ่ายทอดวีดิโอ (VDO Spy)
3.2 การรู้เรา เพื่อที่จะได้รู้ฝึกจุดอ่อนจุดแข็งของทีมเรา และน�ำไปสู่การฝึกซ้อม
ที่ถูกต้อง เช่น ดูจากวีดิโอบันทึกการแข่งขันที่ผ่านมา ดูสถิติที่บันทึกเอาไว้
4. การทดสอบ
4.1 การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย เพื่อให้ทราบความสมบูรณ์และความพร้อม
ของร่างกาย
4.2 การทดสอบทางด้านจิตใจ เพื่อทราบความสมบูรณ์และความพร้อมของจิตใจ
5. การประเมินผล
5.1 การประเมินผลการฝึกซ้อม ควรท�ำหลังจากฝึกซ้อมของแต่ละวัน เพื่อปรับปรุง
และแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ
5.2 การประเมินผลการแข่งขัน ควรท�ำหลังจบการแข่งขัน เพือ่ น�ำมาปรับปรุงแก้ไขข้อดี
ข้อเสียต่างๆ เพื่อน�ำไปสู่กระบวนการฝึกซ้อมและแข่งขันต่อไป

32 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
ตัวอย่างการฝึกซ้อมของผู้เล่นที่เริ่มต้นการเล่น (แผนครึ่งปี)

ตัวอย่างโปรแกรมการฝึกซ้อมของผู้เล่นเบื้องต้น ซึ่งพิจารณาจากผู้เล่น ชั่วโมงการฝึก


และความถี่ต่อสัปดาห์
ตัวอย่างตารางการฝึกซ้อมของผู้เล่นที่เริ่มต้นการเล่น (แผนครึ่งปี)
สัปดาห์ วิชาและหัวข้อการฝึกซ้อม
1 การเล่นบอลโดยผู้เล่น 1 คน
2 การเล่นบอลโดยผู้เล่น 2 คน
3 การเล่นบอลสองมือล่างและมือเดียวโดยผู้เล่น 1 คน
4 การเล่นบอลสองมือล่างและการจัดท่าทางขั้นพื้นฐาน ส�ำหรับการ
เล่นลูกแดนหลัง
5 การเสิร์ฟและการตั้งรับบอลเสิร์ฟ
6 การส่งบอลโดยลูกมือล่าง
7 การเล่นแบบ 2 ต่อ 2, 3 ต่อ 3, 4 ต่อ 4 แบบการเล่นสนามขนาดเล็ก
8 การขว้างบอล จับบอล การครองบอล การส่ง โดยใช้ลกู มือบน
9 การส่งลูกมือบนและเคลื่อนที่ไปหลายทิศทาง
10 การเล่นเกมโดยส่งลูกมือบน (โดยการวิง่ และการก้าวไปด้านข้าง)
11 การตั้งบอลจากแดนหลังไปยังหน้าตาข่าย
12 การตั้งหน้าตาข่าย
13 การตั้งรับโดยผู้เล่น 2-3 คน
14 การฝึกตบบอล (การเหวี่ยงแขน การกระโดด)
15 การฝึกตบบอล (กระโดดและตบอย่างรวดเร็ว)
16 การฝึกตบบอล (การตบมุมสูง การเปลี่ยนต�ำแหน่งการตบ)
17 การรับลูกตบโดยการเคลื่อนที่หลายทิศทาง
18 การคาดการณ์ในการรับลูกตบ
19 การรับลูกตบโดยผู้เล่น 2-3 คน
20 การฝึกการตั้งรับ การรับในระดับสูง
21-22 เกมผู้เล่น 4 ต่อ 4 (สนามขนาด 6x4.5 เมตร) การเสิร์ฟลูกมือล่าง
การรับลูกเสิร์ฟ การตั้งรับ และการตบ
* การฝึกอย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ 2 ชั่วโมงต่อวัน 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ชั่วโมงการฝึกทั้งหมด 88 ชั่วโมงต่อ 6 เดือน
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 33
การเริ่มต้นการฝึกซ้อม สิ่งที่ควรค�ำนึงถึงในการฝึกซ้อม
1. วางแผนการฝึกซ้อมที่ดีเพื่อพัฒนาทักษะทางด้านร่างกายของผู้เล่นและทัศนคติ
ของผู้เล่นส�ำหรับการฝึกแต่ละครั้ง
2. การใช้กจิ กรรมทีห่ ลากหลายในการสร้างความคุน้ เคยกับบอลเพือ่ พัฒนาความสามารถ
ทางด้านร่างกาย
3. ควรฝึกซ�้ำๆ อย่างน้อยประมาณ 10 ครั้ง จึงพัก 10-15 นาที และฝึกต่อ 60 นาที
4. หลีกเลี่ยงการฝึกซ้อมที่เข้มงวด ส�ำหรับเด็กอายุต�่ำกว่า 12 ปี
5. ก่อนการฝึกซ้อมควรอบอุ่นร่างกาย
6. ศึกษาทฤษฎีและรูปแบบการเล่นให้เข้าใจยิ่งขึ้น
7. จั ด เตรี ย มสภาพแวดล้ อ ม การสร้ า งก�ำลั ง ใจให้ กั บ นั ก กี ฬ า ส�ำหรั บ ผู ้ เริ่ ม เล่ น
การสร้างแรงจูงใจเป็นสิ่งที่ส�ำคัญ
8. ผู้เล่นควรมีความรับผิดชอบรู้กฎระเบียบเพื่อพัฒนาความเป็นผู้น�ำ
9. ค�ำนึงถึงสภาพทางด้านจิตใจของผู้เล่นเพื่อสร้างความมั่นใจในการฝึกซ้อม
10. มอบหมายหน้าที่ให้ผู้เล่นทุกคนในทีม
11. หลังจากการฝึกซ้อม ผู้เล่นควรวิเคราะห์ผลการแข่งขัน

34 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
ผู้ฝึกสอนกับจิตวิทยาการกีฬา
(Coach and Sport Psychology)
ในสถานการณ์ ก ารแข่ ง ขั น กี ฬ าในปั จ จุ บั น จะมี ก ารเกี่ ย วข้ อ งกั บ จิ ต วิ ท ยาการกี ฬ า
มากขึน้ ซึง่ เป็นองค์ประกอบทีส่ �ำคัญของการแสดงความสามารถของนักกีฬานัน้ จะประกอบไปด้วย
องค์ประกอบ 3 ประการ คือ
- สมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness) เป็นดัชนีชี้ให้เห็นว่านักกีฬาจะแสดง
ความสามารถทางด้านร่างกายที่มีอยู่มาใช้ได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งองค์ประกอบของสมรรถภาพ
ทางกาย ได้แก่ ความแข็งแรง ความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิต
ความแคล่วคล่องว่องไว ความอ่อนตัว พลังการประสานมือกับอุปกรณ์ เป็นต้น
- สมรรถภาพทางเทคนิค ทักษะ และกลยุทธ์ทางการกีฬา (Sport Techniques
Skill and Strategies Fitness) เป็นความสามารถของนักกีฬา ซึ่งเป็นผลมาจากการเรียนรู้
และการฝึกหัดนักกีฬาที่มีทักษะสูง รู้จักเทคนิคและกลยุทธ์ในการกีฬาจะแสดงความสามารถ
ออกมาได้สูง
- สมรรถภาพทางจิตใจ (Mental Fitness) เป็นดัชนีที่ชี้วัดให้เห็นถึงความสามารถ
ทางด้ า นจิ ต ใจ ซึ่ ง มี ส ่ ว นกั บ ความสามารถทางกายที่ จ ะแสดงพฤติ ก รรมทางการเคลื่ อ นไหว
ที่มีประสิทธิภาพ องค์ประกอบที่ส�ำคัญได้แก่ ความมั่นใจในตนเอง การควบคุมความเครียด
ความวิตกกังวล การสร้างสมาธิ การสร้างจินตนาการความคิดในทางบวก ความมุง่ มัน่ ความพยายาม
สู่ความส�ำเร็จ เป็นต้น
นั ก กี ฬ าที่ ต ้ อ งการแสดงความสามารถของตนในระหว่ า งท�ำการแข่ ง ขั น ให้ ไ ด้ เ ต็ ม ที่
ต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้ง 3 องค์ประกอบนี้ จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ มิฉะนั้นจะท�ำให้
ประสิทธิภาพในการแข่งขันลดลง ดังนัน้ ในการฝึกซ้อม ผูฝ้ กึ สอนต้องมีการออกแบบฝึกให้สอดคล้อง
กับองค์ประกอบทั้งสามนี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้นักกีฬาในระหว่างท�ำการแข่งขัน

ความวิตกกังวลในการกีฬา (Anxiety in Sport)


ความวิตกกังวลเป็นสภาพทางอารมณ์อันไม่พึงปรารถนาของบุคคลที่รู้สึกหวั่นไหว
ไม่สบายใจ ล้มเหลว หรือเป็นผลจากการคาดเหตุการณ์ล่วงหน้าต่อเหตุการณ์หรือสถานการณ์
ที่จะเกิดขึ้น

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 35
สาเหตุของความวิตกกังวลทางการกีฬา
- ขาดความเชื่อมั่นในความสามารถของตน
- ความวิตกกังวลและคิดว่าตนเองจะต้องมีความวิตกกังวล
- ความสามารถที่แสดงออกในการแข่งขันที่ผ่านมาต�่ำกว่ามาตรฐานของตนเอง
- การเชื่อว่าคุณค่าของตนเองขึ้นอยู่กับการแข่งขัน
- ความพร้อมของร่างกายนักกีฬา
- สภาพแวดล้อม
สาเหตุต่างๆ เหล่านี้ จะเห็นว่าทุกคนไม่สามารถขจัดความวิตกกังวลออกไปได้โดยสิ้นเชิง
ทัง้ นี้ เพราะเกิดความกดดันขึน้ มามากมายในการแข่งขัน อย่างไรก็ดนี กั กีฬาสามารถทีจ่ ะลดความรุนแรง
ของความวิตกกังวลลงได้

วิธีการควบคุมความวิตกกังวล
1. วิธีการทางร่างกาย
- ออกก�ำลังกายเคลื่อนไหวเป็นจังหวะ
- ออกก�ำลังกายเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อ
- การหายใจลึกๆ
2. วิธีการทางจิตใจ
- การยอมรับ คือ การท�ำจิตใจยอมรับสภาพการณ์ สถานการณ์แวดล้อมต่างๆ ก็ช่วย
ลดความวิตกลงได้
- การเบี่ยงเบนความคิด คือ การฝึกให้คิดในเรื่องอื่น โดยเปลี่ยนความสนใจไปที่อื่น
- การคิดในทางที่ดี คือ ฝึกความคิดว่าสถานการณ์ คู่แข่ง อุปกรณ์ สิ่งแวดล้อม ท�ำให้
เราได้โอกาสดี
3. วิธผี อ่ นคลายกล้ามเนือ้ มีดว้ ยกันหลายวิธี ดังนัน้ เพือ่ ให้ได้ประโยชน์จากการฝึกมากทีส่ ดุ
หลังจากรูส้ กึ ตึงเครียด เมือ่ เคลือ่ นไหวแต่ละครัง้ ให้เกร็งจุดนัน้ ไว้ประมาณ 5 วินาที รับรูถ้ งึ ความรูส้ กึ
ตึงเครียด แล้วผ่อนคลายให้หมดในทันที อ่อนนุ่มทั้งหมด สังเกตความรู้สึกสบายที่เกิดขึ้นจาก
การผ่อนคลายประโยชน์ของการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
- ช่วยลดความวิตกกังวล
- ช่วยให้การฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
- ช่วยประหยัดพลังงาน
- ช่วยให้นอนหลับสบาย
- ช่วยให้ขจัดความเครียดจากกล้ามเนื้อ

36 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
4. วิธีการฝึกสมาธิ
วิธีนี้เป็นวิธีที่ยากที่สุดในการฝึกที่จะช่วยลดความวิตกกังวล แต่ถ้ามีการฝึกกระท�ำ
เป็นประจ�ำสม�่ำเสมอแล้วจะได้ผลดีที่สุด เพราะจะช่วยให้นักกีฬามีสมาธิอยู่กับการเล่น ลดความ
กดดันระหว่างแข่งขัน ไม่คิดฟุ้งซ่าน มีความตั้งใจต่อสิ่งที่ก�ำลังกระท�ำอยู่ ซึ่งในสถานการณ์กีฬา
มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้น เช่น การเล่นของคู่ต่อสู้ การคิดถึงการเล่นที่ผ่านมาและที่ก�ำลัง
จะเกิดขึ้น การคาดหวังของตนเองและผู้ชม เป็นต้น

ปรัชญาของโค้ช
โค้ ช ต้ อ งเข้ า ใจว่ า การฝึ ก เป็ น สิ่ ง เฉพาะบุ ค คล และเหมาะสมในแต่ ล ะสถานการณ์
วิธีการฝึกอย่างเดียวกันอาจใช้ไม่ได้กับการฝึกกีฬาอย่างเดียวกันก็ได้ การจะเป็นโค้ชได้ดีต้องศึกษา
อบรมและปฏิบัติมาอย่างจริงจัง ไม่ใช่จะอ่านต�ำราแล้วจะมาเป็นผู้ฝึกสอนได้ สิ่งที่โค้ชต้องระลึก
อยู่เสมอ คือ ความผิดหวังที่จะต้องมีและต้องเกิดกับตัวเองและทีมอยู่เสมอ ตลอดจนปัญหา
และข้อขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในตัวของโค้ชเอง ผู้ร่วมทีม และผู้เล่น ซึ่งโค้ชจะต้องรู้วิธีแก้ปัญหาต่างๆ
ที่เกิดขึ้น

คุณลักษณะที่ดีของโค้ช
1. มีความรู้เกี่ยวกับสภาพร่างกายของมนุษย์
2. ใฝ่หาวิธีการฝึกที่ทันสมัย
3. ความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ไขท่าทาง
4. การสื่อสาร
5. การได้ประโยชน์สูงสุดจากบุคลากร
6. มีจริยธรรมและมีความเชื่อถือถึงคุณค่าของการแข่งขัน
7. การบุคลิกภาพที่ดี
8. มีปรัชญาเป็นของตนเอง
9. มีเป้าหมาย
10. ต้องอุทิศตน กระตือรือร้น และมีความคิดริเริ่ม
11. ต้องสร้างวินัยในทีม
12. ต้องไม่เห็นแก่ตัว
13. มีมนุษยสัมพันธ์
14. มีความรู้และถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เล่น

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 37
15. มีความเป็นผู้น�ำ
16. มีความรู้และเข้าใจด้านจิตวิทยา
17. มีความรับผิดชอบต่อผู้เล่นและชุมชน
18. มีความรูเ้ รือ่ งจิตวิทยา เวชศาสตร์การกีฬา วิทยาศาสตร์การกีฬา สรีรวิทยา การออกก�ำลังกาย
และวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว

บทบาทของโค้ชกับการแข่งขัน
ก่อนการแข่งขัน
โค้ชที่ดีควรศึกษาทีมที่จะแข่งขันเพื่อเตรียมยุทธวิธีในการที่จะสร้างความส�ำเร็จแก่ทีม
และโค้ชควรจะสร้างสมรรถภาพทางกายของนักกีฬา รวมทั้งความพร้อมทางด้านจิตใจในช่วง
ก่อนการแข่งขันประมาณ 3-6 เดือน ก่อนฤดูการแข่งขันอาจจะแบ่งออกเป็นขั้นตอนดังนี้
1. เตรียมและวางโปรแกรมการฝึก เพื่อพัฒนาทักษะเทคนิคยุทธวิธีของผู้เล่นและทีม
ในช่วงการฝึกต่างๆ
2. วิเคราะห์การเล่นของทีมคู่แข่งขัน
3. ตระเตรียมผู้เล่นให้พร้อมเพรียง และสมบูรณ์ทางด้านร่างกายและจิตใจ
ขณะท�ำการแข่งขัน
1. วางตัวผู้เล่นที่จะลงสนาม พร้อมส่งรายชื่อ
2. ควบคุมการอบอุ่นร่างกายของผู้เล่นให้เกิดประสิทธิภาพ
3. เน้นย�้ำยุทธวิธีการเล่นอย่างสั้นและได้ใจความก่อนการแข่งขันจะเริ่มขึ้นเล็กน้อย
4. วิเคราะห์การเล่นของทีมและเทคนิคการเล่นของผู้เล่นทั้งฝ่ายเราและฝ่ายตรงข้าม
5. สรุปและวิจารณ์การเล่นของทีม และผูเ้ ล่นภายหลังการแข่งขันสิน้ สุดลง เพือ่ ชีจ้ ดุ อ่อน
และข้อผิดพลาด แนะน�ำวิธีแก้ไขและรับฟังข้อเสนอแนะ เพื่อน�ำไปปรับปรุงการเล่นในเกมต่อไป
เมื่ อ สิ้ น สุ ด การแข่ ง ขั น และโค้ ช พาลู ก ที ม เดิ น ทางกลั บ ถึ ง ที่ พั ก โค้ ช ยั ง คงมี ห น้ า ที่
และบทบาทที่ต้องกระท�ำอีกดังนี้
- ท�ำบันทึกเทคนิคการเล่นของผู้เล่น ข้อบกพร่องที่ควรแก้ไขตามความคิดตัวเอง
- นัดประชุมผู้เล่นทั้งหมดและสต๊าฟโค้ช เพื่ออภิปรายผลการเล่นที่ผ่านมา ในการนี้
ผู้เล่นจะได้รับโอกาสให้พูดทั้งผู้ที่ลงเล่นและไม่ลงเล่น การพบปะพูดคุยครั้งนี้จะช่วยสร้างบรรยากาศ
และเป็นศูนย์รวมจิตใจ ผู้เล่นให้เกิดความสนใจร่วมกันที่จะฝึกซ้อมและเตรียมตัวเพื่อแข่งขัน
ในโอกาสต่อไป

38 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
แรงจูงใจกับการกีฬา
ชัยชนะใช่ทุกอย่าง แต่การพากเพียรพยายามนี่ซิ คือ ทุกสิ่งทุกอย่าง
แรงจูงใจกับการกีฬานั้น แบ่งได้หลายประเภท หลายรูปแบบ ในที่นี้จะยกตัวอย่าง
ประเภทแรงจูงใจที่นักจิตวิทยาบางกลุ่มได้แบ่งไว้ ตามหลักการแสดงออกของพฤติกรรมได้เป็น
2 ประเภท
1. แรงจูงใจภายใน (Intrinsic Motives) แรงจูงใจทีเ่ กิดจากแรงกระตุน้ อย่างใดอย่างหนึง่
ที่เกิดขึ้นภายในตัวเอง โดยไม่มีผลจากสาเหตุภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องในการกีฬา เป็นแรงจูงใจ
ในการเล่นเพือ่ การสนองความต้องการของตัวเอง แรงจูงใจภายในมีความส�ำคัญและมีคา่ มากส�ำหรับ
นักกีฬาที่จะท�ำให้ประสบความส�ำเร็จในการฝึกซ้อมหรือเล่นกีฬา
2. แรงจูงใจภายนอก (Extrinsic Motives) คือ สภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวนักกีฬา
เช่น เงิน ทอง รางวัล ชื่อเสียง เป็นต้น แรงจูงใจชนิดนี้เกิดจากแรงผลักดันของสังคมเป็นตัวกระตุ้น
ท�ำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมเพื่อสนองความต้องการของสังคม

ทฤษฎีแรงจูงใจเกี่ยวกับการกีฬา มี 4 ทฤษฎี
1. แรงจูงใจภายในและแรงจูงใจแบบประเมิน (Intrinsic and Cognitive Evaluation Theory)
เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีรางวัลหรือสาเหตุภายนอกมาเกี่ยวข้อง เป็นการเล่น
เพื่อสนุกสนาน สนุกที่จะได้เล่น ซึ่งแรงจูงใจภายในเกิดได้อย่างไร เพิ่มได้อย่างไร อธิบายไม่ได้
จึ ง ต้ อ งมี ท ฤษฎี แรงจู ง ใจแบบประเมิ น ขึ้ น ถื อ ว่ า เป็ น แรงจู ง ใจประเภทหนึ่ ง ที่ เ กิ ด จากภายใน
ซึ่งองค์ประกอบที่ส�ำคัญคือ
ความรู้สึกควบคุม หมายถึง การให้แรงเสริมภายนอก คือ เดิมทีเล่นเพื่อสนุกสนาน
(แรงจูงใจ ภายใน) เมือ่ มีแรงเสริมภายนอกจะเล่นเพือ่ สิง่ ของ เงินรางวัล ชือ่ เสียง เป็นเหตุผลทีส่ �ำคัญ
2. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Achievement Motivation Theory)
หมายถึง แรงขับหรือสิ่งเร้าใจที่ท�ำให้บุคคลมีความพยายามมุ่งมั่นที่จะไปถึงเป้าหมาย
ดังนั้น ในการฝึกหรือแข่งขันกีฬา ถ้านักกีฬามีการรับรู้หรือถูกท�ำให้รับรู้ว่าตนเองมีความสามารถ
ก็จะเกิดความมั่นใจ ความต้องการที่จะท�ำการฝึกให้ยากยิ่งขึ้น มีแรงจูงใจที่จะกระท�ำให้มากขึ้น
3. ทฤษฎีอ้างสาเหตุ (Attribution Theory)
การอ้างสาเหตุของนักกีฬา เป็นการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง เพือ่ รักษาความภาคภูมใิ จ
ในตัวเอง ซึง่ เป็นแรงจูงใจทีส่ �ำคัญในการเล่นกีฬา โค้ชเป็นบุคคลส�ำคัญทีจ่ ะช่วยปรับการอ้างสาเหตุ
เมื่อมีการรับรู้ว่าประสบผลส�ำเร็จหรือล้มเหลว

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 39
โดยเมื่อนักกีฬาประสบผลส�ำเร็จ ให้อ้างสาเหตุเป็นเพราะความสามารถของนักกีฬา
เพื่อสร้างความเชื่อมั่น
หากประสบความล้มเหลว จะอ้างสาเหตุเดิมไม่ได้ เพราะจะท�ำลายความเชื่อมั่น
และแรงจูงใจของนักกีฬา ควรจะอ้างเป็นเพราะขาดความพยายาม งานยาก คู่ต่อสู้เก่งกว่า ซึ่งเป็น
สิ่งที่ไม่คงที่ ดังนั้น นักกีฬาควรมีความพยายามมากขึ้น และใช้เวลาในการฝึกซ้อมมากขึ้น
4. การก�ำหนดเป้าหมาย (Goal Setting Theory)
ต้ อ งค�ำนึ ง ถึ ง ความเป็ น ไปได้ ข องเป้ า หมาย ไม่ เช่ น นั้ น การตั้ ง เป้ า หมายจะท�ำให้
แรงจูงใจลดลง เพิ่มความคับข้องใจมากขึ้น การก�ำหนดเป้าหมายที่ก�ำหนดต้องยาก เฉพาะเจาะจง
สามารถวัดได้และไม่คลุมเครือ การก�ำหนดเป้าหมายสามารถใช้ได้ตลอดเวลาทัง้ ในระหว่างฝึกซ้อม
และแข่งขัน
ผลที่นักกีฬาได้รับจากการก�ำหนดเป้าหมาย
- ช่วยสร้างบรรยากาศของการฝึกร่วมกันเป็นทีม
- สร้างความเข้าใจระหว่างกันภายในทีม
- เกิดความคิดที่จะพัฒนาตนเองมากขึ้น
- การก�ำหนดเป้าหมายช่วยท�ำให้ทุกคนมีโอกาสประสบผลส�ำเร็จ

แรงจูงใจกับนักกีฬา (Motivation and Athletes)


- การยกย่องชมเชย
- การใช้กฎเกณฑ์และการลงโทษ
- การปลอบขวัญ
- การก�ำหนดเงื่อนไข (ศึกษาคู่ต่อสู้แล้วมาฝึกพิเศษ)
- การใช้เสียง
- การปรับปรุงทีมหรือแก้ปัญหารายบุคคล
- การพูดจี้ใจให้ได้สติ (ระหว่างก่อนแข่งขัน ขอเวลานอก พูดข้อดีข้อเสีย)
- การใช้เทคนิคจิตวิทยา การกีฬาสร้างแรงจูงใจ (ให้คดิ ในทางบวก Positive Thinking)
- การจัดบอร์ด (ยกย่องบุคคลดีเด่น ทีมรุก ทีมรับ ประจ�ำต�ำแหน่งต่างๆ ในแต่ละสัปดาห์)
- การประชาสัมพันธ์ กับสื่อมวลชน

40 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate

บ ทที่ 3
การเสริมสร้างสมรรถภาพที่เกี่ยวข้องกับ
กีฬาวอลเลย์บอล
สมรรถภาพของมนุ ษ ย์ สามารถแบ่ ง ออกตามองค์ ป ระกอบของสมรรถภาพที่ มี
ความแตกต่างกัน แบ่งได้ดังนี้
1. สมรรถภาพทางกาย
2. สมรรถภาพทางกลไก
3. สมรรถภาพทางกลไกทั่วไป
สมรรถภาพทางกาย หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการประกอบกิจกรรมหรือ
การงานอย่างหนึ่งอย่างใดได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่เหนื่อยอ่อนจนเกินไป ในขณะเดียวกัน
ก็สามารถทีจ่ ะถนอมก�ำลังกายทีเ่ หลือไว้ใช้ในกิจกรรมทีจ่ �ำเป็นและส�ำคัญในชีวติ รวมทัง้ กิจกรรมใน
เวลาว่างเพื่อความสนุกสนานในชีวิตประจ�ำวันได้ด้วย

ความแข็งแรง ความอ่อนตัว

สมรรถภาพ
ทางกาย

ความอดทน ความอดทน
ของกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนเลือด
และการหายใจ

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 41
สรุปได้ว่า สมรรถภาพทางกาย สมรรถภาพทางกลไก และสมรรถภาพทางกลไกทั่วไป
ต่างก็หมายถึง สมรรถภาพของการท�ำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย กล่าวคือ สมรรถภาพ
ทางกาย (Physical Fitness) ประกอบด้วย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular Strength)
ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance) และความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิต
และระบบหายใจ (Cardio Vascular Endurance) เท่านัน้ หากรวมพลังกล้ามเนือ้ (Muscular Power)
ความเร็ว (Speed) ความคล่องตัว (Agility) ความทรงตัว ความอ่อนตัว (Body-Balance
Flexibility) เข้าด้วยกัน จึงเรียกว่า สมรรถภาพทางกลไก (Motor Fitness) และถ้ารวม
ความสัมพันธ์ระหว่างเท้ากับตา (Eyes-Foots Coordination) และความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
(Eyes-Hands Coordination) เข้าด้วยกัน และจะกลายเป็นสมรรถภาพทางกลไกทั่วไป (General
Motor Fitness)

Physical Fitness
สมรรถภาพทางกาย

Motor สมรรถภาพ Fitness


ทางกลไก
General Motor Fitness Fitness
Motor สมรรถภาพทางกลไกทั่วไป
Eyes-Hands Muscular Muscular Cardio Muscular Body- Eyes-Foots
Coordination Power Agility Endurance Vascular Strangth Balance, Speed Coordination
Endurance Flexibility

ความสัมพันธ์ พลัง ความ ความอดทน ความอดทน ความแข็งแรง ความทรงตัว ความเร็ว ความสัมพันธ์


ระหว่าง กล้ามเนื้อ คล่องตัว ของ ของระบบ ของ ความอ่อน ระหว่าง
มือกับตา กล้ามเนื้อ ไหลเวียนโลหิต กล้ามเนือ้ ไหว เท้ากับตา
และระบบหายใจ

แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness)


สมรรถภาพทางกลไก (Motor Fitness) และสมรรถภาพทางกลไกทัว่ ไป (General Motor Fitness)

42 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness) องค์ประกอบของสมรรถภาพ
ทางกลไก (Motor Fitness) และองค์ประกอบของสมรรถภาพทางกลไกทั่วไป (General Motor
Fitness) นับว่ามีความส�ำคัญต่อการประกอบกิจวัตรประจ�ำวัน การออกก�ำลังกายและการเล่นกีฬา
ซึง่ สอดคล้องกับส�ำนักพัฒนาการพลศึกษา สุขภาพและนันทนาการ กรมพลศึกษา (2539: 14) ทีว่ า่
องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกลไก และองค์ประกอบ
ของสมรรถภาพทั่วไป องค์ประกอบทั้ง 3 ประการนี้ ถ้าหากได้มีการฝึกฝนให้ท�ำงานที่นอกเหนือ
จากงานประจ�ำอยู่เสมอแล้ว ก็จะท�ำให้แต่ละส่วนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และเมื่อน�ำไปใช้ใน
การประกอบกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดพร้อมๆ กัน ก็จะเกิดเป็นสมรรถภาพที่สูงขึ้น และ
การมีสมรรถภาพทางกายสูงขึ้นไม่ใช่จะต้องเล่นกีฬาได้เก่งทุกอย่าง เพราะการเล่นกีฬาจ�ำเป็นต้อง
อาศัยองค์ประกอบอืน่ ๆ ทีร่ วมกันแล้วเรียกว่า สมรรถภาพทางกลไกทัว่ ไป (General Motor Fitness)
แต่คนจะเล่นกีฬาได้เก่งจ�ำเป็นต้องมีสมรรถภาพทางกายสูงเป็นพื้นฐาน

ความหมายขององค์ประกอบสมรรถภาพทางกลไกทั่วไป
วุ ฒิ พ งศ์ ปรมั ต ถากร (2537: 78-79) ได้ ก ล่ า วว่ า สมรรถภาพทางกลไกทั่ ว ไป
(General Motor Fitness) คณะกรรมการนานาชาติเพื่อจัดมาตรฐานการทดสอบความสมบูรณ์
ทางด้านร่างกาย International for the Standardization of Physical (Fitness Test)
ได้จ�ำแนกองค์ประกอบสมรรถภาพทางกลไกทั่วไปไว้ดังนี้
1. ความเร็ว (Speed) คือ ความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยัง
อีกที่หนึ่งโดยใช้ระยะเวลาสั้นที่สุด
2. พลังกล้ามเนื้อ (Muscular Power) คือ ความสามารถของกล้ามเนื้อในการท�ำงาน
ได้อย่างรวดเร็วและแรงในจังหวะของกล้ามเนื้อหดตัวเพียงครั้งเดียว เช่น การยืนกระโดดไกล
(Standing Broad Jump) เป็นต้น
3. ความแข็งแรงของกล้ามเนือ้ (Muscular Strength) คือ ความสามารถของกล้ามเนือ้
ที่หดตัวเพียงครั้งเดียวโดยไม่จ�ำกัดเวลา เช่น การยกน�้ำหนัก เป็นต้น
4. ความอดทนของกล้ามเนือ้ (Muscular Endurance) คือ ความสามารถของกล้ามเนือ้
ที่ได้ประกอบกิจกรรมที่หนักกว่าปกติ ซ�้ำซากได้เป็นระยะเวลานานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
การวิ่งระยะไกล เป็นต้น
5. ความคล่องตัว (Agility) คือ ความสามารถของร่างกายทีจ่ ะบังคับควบคุมในการเปลีย่ น
ทิศทางของการเคลื่อนที่ได้ด้วยความรวดเร็วและแน่นอน

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 43
6. ความทรงตัว ความอ่อนตัว (Body-Balance Flexibility) คือ ความสามารถของ
ข้อต่อต่างๆ ที่จะเคลื่อนไหวได้อย่างกว้างขวาง
7. ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ (Cardio Vascular Endurance)
คือ ความสามารถในการใช้พลังงานแบบแอโรบิก (Aerobic) เพราะการใช้พลังงานแบบนี้จะใช้
แหล่งพลังงานทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน เมื่อรวมกับออกซิเจน สารเหล่านั้นจะสลาย
ตัวออกเป็นคาร์บอนไดออกไซด์กับน�้ำ พร้อมกับให้พลังงานออกมา ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในเซลล์
หรือใยกล้ามเนือ้ ในส่วนทีอ่ อกซิเจนถูกพาไปถึง จะได้พลังงานซึง่ เป็นส่วนส�ำคัญทีส่ ดุ เพราะร่างกาย
จะต้องใช้อยู่ตลอดเวลา
8. ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา (Eyes-Hands Coordination) คือ ความสามารถของ
ระบบประสาทในการท�ำงานประสานกันระหว่างตากับมือ
9. ความสัมพันธ์ระหว่างเท้ากับตา (Eyes-Foots Coordination) คือ ความสามารถของ
ระบบประสาทในการท�ำงานประสานกันระหว่างตากับเท้า

การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกลไกทั่วไป
วุฒิพงศ์ ปรมัตถากร ได้กล่าวถึงการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกลไกทั่วไปดังต่อไปนี้
1. การเสริมสร้างความเร็ว (Speed)
ความเร็วของการเคลื่อนไหวขึ้นอยู่กับการท�ำงานของระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาท
และการเปลี่ ย นแปลงความเร็ ว ถู ก ควบคุ ม โดยระบบประสาทเป็ น ส่ ว นใหญ่ เมื่ อ กล่ า วถึ ง
ความเร็วในการออกก�ำลังกายหรือเล่นกีฬาแล้ว จะต้องแยกการเคลื่อนไหวออกเป็น 2 ลักษณะ
คือ การเคลื่อนไหวที่ต้องอาศัยความสามารถหรือความช�ำนาญเป็นพิเศษ กับการเคลื่อนไหว
แบบธรรมดาง่ายๆ ดังนั้น การฝึกในการเคลื่อนไหวที่ต้องอาศัยความสามารถและความช�ำนาญ
เป็นพิเศษเพื่อเพิ่มความเร็ว จึงเป็นสิ่งที่ท�ำได้ง่ายกว่า เช่น ฝึกว่ายน�้ำ ตีเทนนิส หรือพิมพ์ดีด เป็นต้น
ในช่วงแรกของการฝึกทักษะจะกระท�ำได้ ต่อมาจะสามารถเพิ่มความเร็วขึ้นได้เรื่อยๆ
และถ้าการเริ่มต้นกระท�ำได้ถูกหลักและวิธีการ จะช่วยผลักดันให้มีการพัฒนาไปได้ไกลและ
มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ส�ำหรับความเร็วที่ใช้ในการเคลื่อนไหวแบบธรรมดานั้น ได้แก่ การวิ่งหรือการเดิน
ถ้าต้องการทีจ่ ะวิง่ หรือเดินให้เร็วขึน้ จะต้องลดระยะเวลาการหดตัวและการคลายตัวของกล้ามเนือ้
นั่นคือความยาวและความถี่ของการก้าวเท้าจะต้องเพิ่มขึ้น แต่ความยาวของการก้าวเท้าขึ้นอยู่กับ
ความยาวของช่วงขา ส่วนความถี่ของการก้าวเท้าขึ้นอยู่กับความเร็วในการหดตัวของกล้ามเนื้อ
และการร่วมมือกันระหว่างระบบกล้ามเนื้อกับระบบประสาท

44 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
ชูศักดิ์ เวชแพศย์ (2524: 90) กล่าวว่า ความเร็วสูงสุดของคนเรานั้นจะอยู่ในช่วงอายุ
ประมาณ 21 ปี ส�ำหรับชาย และ 18 ปี ส�ำหรับหญิง ทั้งนี้อาจจะเพิ่มความเร็วได้บ้าง แต่ก็อยู่ใน
ขอบเขตที่จ�ำกัดเชื่อกันว่าสามารถเพิ่มความเร็วได้ 3 อย่าง คือ
1. เพิ่มก�ำลังของกล้ามเนื้อที่ใช้เหยียดขา
2. ฝึกการวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการร่วมงานกันของกล้ามเนื้อ
3. แก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ เกี่ยวกับกลไก (Mechanics) ของการวิ่ง

หลักของการฝึกความเร็ว
ความเร็ว คือ ความสามารถของกล้ามเนื้อในการหดตัวและคลายตัวได้เต็มที่และรวดเร็ว
ภายใต้การควบคุมของระบบประสาท แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ความเร็วในการวิง่ (Speed) ขึน้ อยูก่ บั ความถีแ่ ละช่วงของการก้าวเท้ากับระยะทางทีว่ งิ่
ดังนั้น การฝึกจึงต้องเน้นความบ่อยครั้งและต้องออกแรงเต็มที่ เช่น วิ่งเต็มที่ 30-80 เมตร ว่ายน�้ำ
เร็วเต็มที่ 20-25 เมตร ทั้งนี้จะต้องมีช่วงพักหรือช่วงเบาที่พอเหมาะ คือให้เวลาร่างกายฟื้นสภาพ
ประมาณ 2-5 นาที แล้วท�ำการฝึกซ�้ำหลายๆ ครั้ง จ�ำนวนเที่ยวที่ฝึกอาจจะอยู่ในช่วง 5-10 เที่ยว
ด้วยความเร็วเต็มที่และเกือบเต็มที่ ข้อส�ำคัญจะต้องเป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ไม่หักโหม
2. ความเร็วในการเคลื่อนที่ หมายถึง ความเร็วที่มีการเคลื่อนไหวเป็นชุดๆ เช่น กระโดด
ขว้าง ตี เตะ ปัจจัยที่ส�ำคัญของความเร็วชนิดนี้อยู่ที่ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนและ
ต้องอยู่ในระดับที่พอเหมาะ ดังนั้น การฝึกจึงต้องเน้นที่ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตามลักษณะ
ของการใช้งานและจะต้องฝึกแบบต้านทานกับน�้ำหนัก เช่น การวิ่งข้ามรั้วต้องออกแรงต้านทาน
กับน�้ำหนักตนเอง การทุ่มน�้ำหนักต้องออกแรงต้านกับลูกน�้ำหนัก การฝึกเพื่อเน้นความแข็งแรง
ของนักวิง่ ข้ามรัว้ จึงต้องเน้นทีก่ ล้ามเนือ้ ขา เท้า และล�ำตัว ส่วนนักทุม่ น�ำ้ หนักนัน้ จะต้องเน้นความแข็งแรง
ของกล้ามเนื้อหัวไหล่ มือ ข้อมือ และแขน เป็นต้น
3. ความเร็วในการตัดสินใจ หมายถึง เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นให้ตัดสินใจจะต้องตัดสินใจ
เคลื่อนไหวโดยเร็ว ถูกต้อง และแม่นย�ำ ดังนั้น ความสามารถของการตอบโต้หรือการตัดสินใจ
จึงขึ้นอยู่กับ
1. ความสามารถของสายตาที่มองเห็นและเปลี่ยนทิศทางได้รวดเร็ว
2. ความถูกต้องของประสาทหูและตา
3. ความช�ำนาญในทักษะของแต่ละบุคคล
4. ความเร็วในการเคลื่อนไหว

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 45
ดังนัน้ การตัดสินใจตอบโต้ได้ดแี ละเคลือ่ นทีไ่ ด้เร็วจะต้องมีทกั ษะทีด่ แี ละถูกต้องเป็นพืน้ ฐาน
การฝึกจึงควรฝึกจากง่ายไปหายาก เช่น
1. ฝึกให้รู้จักแก้ปัญหาง่ายๆ เช่น การตัดสินใจเข้าปะทะ หลบหลีก หรือป้องกัน
จากช้าๆ ไปหาเร็ว
2. ฝึกให้รู้จักแก้ปัญหาง่ายๆ ในเหตุการณ์เฉพาะหน้า
3. ฝึกให้รจู้ กั แก้ปญ
ั หาทีห่ าค�ำตอบไม่ได้ในเหตุการณ์เฉพาะหน้า เช่น ไม่ทราบว่าคูต่ อ่ สู้
จะมาทางไหน มาทีละกี่คนหรือถ้าจะเข้าโจมตีคู่ต่อสู้ที่มีการป้องกันแต่ไม่ทราบแบบแผน
4. ฝึกการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างยาก แต่ต้องตัดสินใจให้รวดเร็ว เช่น การฝึกเป็น
ผู้รักษาประตูฟุตบอลโดยการโยน กลิ้ง ขว้าง ให้รับหลายๆ ระดับ
5. ฝึกแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและมักเกิดขึ้นเสมอๆ ในการเล่นหรือการแข่งขัน
2. การเสริมสร้างพลังกล้ามเนื้อ
พลังกล้ามเนื้อ (Muscular Power) เกิดจากการรวมของปัจจัยดังนี้
1. แรงที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อหลายๆ มัด ที่ท�ำให้เกิดการเคลื่อนไหว
ในกลุ่มเดียวกัน
2. ความสามารถของกล้ามเนื้อในกลุ่มเดียว ที่ท�ำงานประสานสัมพันธ์กับกลุ่มของ
กล้ามเนื้อตรงกันข้าม
3. ความสามารถทางกลไกจากการท�ำงานของระบบคานระหว่างกระดูกกับกล้ามเนื้อ
ที่เกี่ยวข้อง
ในข้อที่ 1 สามารถเพิม่ ประสิทธิภาพได้โดยการฝึกชนิดทีค่ อ่ ยๆ เพิม่ ความต้านทาน
ขึ้นเรื่อยๆ
ในข้อที่ 2 การทีจ่ ะเพิม่ ความสามารถของกลุม่ กล้ามเนือ้ ขึน้ อยูก่ บั ความสามารถ
ในการร่วมงานกันระหว่างกล้ามเนื้อแต่ละมัด ซึ่งสามารถเพิ่มได้แต่มีขีดจ�ำกัด
ในข้อที่ 3 ความสามารถของระบบคานขึ้นอยู่กับมุมในการดึงของกล้ามเนื้อ
และความยาวของแขนของแรงพยายามกับแรงต้าน ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนแปลงความยาวได้
หากมีความจ�ำเป็น
พลังของกล้ามเนือ้ มีสว่ นช่วยให้กล้ามเนือ้ มีความทนทาน เพราะถ้ากล้ามเนือ้ มีพลังมาก
มีผลให้การเคลื่อนไหวท�ำได้ง่ายและรวดเร็ว จึงท�ำให้สามารถเคลื่อนไหวได้นานและหลายครั้ง
นอกจากนัน้ พลังของกล้ามเนือ้ ยังมีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไว เพราะจากการทีก่ ล้ามเนือ้
มีพลังเพียงพอต่อการควบคุมน�้ำหนักของร่างกายที่ต่อต้านกับแรงเฉื่อย และท�ำให้ส่วนต่างๆ ของ
ร่างกายเคลื่อนไหวรวดเร็วด้วยการออกแรงเพื่อเร่งให้การเคลื่อนที่เป็นไปด้วยความเร็วสูง

46 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
การเพิ่ ม พลั ง กล้ า มเนื้ อ อาจท�ำได้ โ ดยให้ ก ล้ า มเนื้ อ หดตั ว เพื่ อ ต่ อ สู ้ กั บ แรงต้ า นทาน
แบบเพิม่ แรงต้านทานขึ้นเรื่อยๆ เพื่อจะให้กล้ามเนื้อส่วนนั้นมีการปรับตัว เช่น
1. ต้องเลือกท่าของการออกก�ำลังกาย เพื่อให้กล้ามเนื้อส่วนที่ต้องการเพิ่มพลัง
ได้ท�ำงานเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะพลังจะเพิ่มขึ้นเฉพาะกล้ามเนื้อที่ได้มีการท�ำงานมากกว่าปกติเท่านั้น
2. ควรให้กล้ามเนื้อได้หดตัวอย่างสม�่ำเสมอเพื่อต่อต้านกับแรงต้านทาน
3. ควรใช้แรงต้านที่เหมาะสมกับความสามารถที่สามารถยกขึ้นได้ 8-12 ครั้ง
4. เพื่อผลให้การเพิ่มพลังควรจะเพิ่มน�้ำหนักต้านทานขึ้นเรื่อยๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป
โดยไม่เกิดการหักโหม

ปัจจัยที่มีผลต่อจ�ำนวนพลังงานที่ใช้ในการออกก�ำลังกาย
1. ความเข้มข้นของการออกก�ำลังกาย (Intensity of Exercise) ถ้าความเข้มข้นของ
การออกก�ำลังกายมีน้อย ความจ�ำเป็นที่จะใช้ออกซิเจนก็มีน้อย แต่ถ้าหากการหดตัวของกล้ามเนื้อ
เป็นไปอย่างรุนแรง แสดงว่ากล้ามเนือ้ ส่วนใหญ่ตอ้ งท�ำงานหนักขึน้ จึงมีความต้องการออกซิเจนเพิม่ ขึน้
2. ระยะเวลาของการออกก�ำลังกาย (Duration of Contraction) ถ้าเป็นการออกก�ำลังกาย
ตามปกติ อัตราการเพิ่มออกซิเจนจะเพิ่มอย่างสม�่ำเสมอ ตลอดช่วงเวลาของการออกก�ำลังกาย
แต่ถ้าเป็นการออกก�ำลังกายที่มีความเข้มข้นที่ยาวนานจนท�ำให้เกิดความล้า (Fatigue) ความต้องการ
ออกซิเจนจะสูงและเพิม่ ขึน้ อย่างรวดเร็ว แต่ถา้ กลุม่ กล้ามเนือ้ ทีท่ �ำงานเกิดอาการเมือ่ ยล้า กล้ามเนือ้ กลุม่
อืน่ ๆ จะต้องเข้ามาช่วยเพือ่ ให้การออกก�ำลังกายด�ำเนินต่อไปได้ตลอดระยะเวลา ความต้องการออกซิเจน
จึงสูงขึ้นอีก
3. การฝึกกล้ามเนื้อจะเป็นการฝึกแบบไม่ใช้ออกซิเจน ยิ่งการฝึกยิ่งเร็วเท่าไหร่ จะใช้
ออกซิเจนน้อยลง
4. ทักษะและประสิทธิภาพของกล้ามเนือ้ ในการท�ำงาน (Economy of Muscular Activity)
กล้ามเนือ้ ใช้ในการเคลือ่ นไหวด้วยทักษะทีถ่ กู หลักจะสิน้ เปลืองพลังงานน้อยกว่า แต่มปี ระสิทธิภาพ
มากกว่า ดังนั้น ผู้ที่ผ่านการฝึกด้วยทักษะที่ถูกต้องมาก่อน การเคลื่อนไหวจึงมีประสิทธิภาพดีกว่า
และมีการสงวนพลังงานได้มากกว่าผู้ที่เคลื่อนไหวด้วยทักษะที่ไม่ถูกต้อง
3. การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
จากหลักการที่ว่า วิธีจะสร้างความแข็งแรง (Muscular Strength) ได้นั้นจะต้อง
ให้กล้ามเนื้อท�ำงานต่อสู้กับแรงต้านหรือน�้ำหนักที่สูงขึ้น แบบค่อยๆ เพิ่มน�้ำหนัก เป็นเวลา
นานพอสมควร ซึ่ ง วิ ธี ก ารฝึ ก เพื่ อ พั ฒ นาความแข็ ง แรงนั้ น มี ห ลายวิ ธี แต่ ทุ ก วิ ธี ยึ ด หลั ก การ
อันเดียวกัน คือ ให้ออกแรงสูก้ บั แรงต้านทานเป็นส�ำคัญแล้วจึงค่อยๆ เพิม่ แรงต้านทาน หรือเรียกว่า
หลักโอเวอร์โลด (Overload Principle) โดยให้กล้ามเนื้อท�ำงานเลยขีดความสามารถปกติ

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 47
(Normal Capacity) เล็กน้อย การท�ำงานของกล้ามเนื้อในลักษณะดังกล่าวจะท�ำให้ร่างกาย
เกิดการสับสนในช่วงระยะแรกๆ (2-3 วันแรก) หลังจากนั้นร่างกายจะมีการปรับตัวให้เข้ากับ
สถานการณ์ โดยทั่วไปการปรับตัวนี้จะใช้เวลาประมาณ 25-30 วัน และเมื่อร่างกายมีการปรับตัว
จะท�ำให้ขีดของความสามารถปกติเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นั่นคือร่างกายมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น
ในปัจจุบันการฝึกเพื่อพัฒนาความแข็งแรงจะใช้การฝึกแบบไอโซเมตริก (Isometric Exercise)

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความแข็งแรง
จากการศึกษาและวิจัยของนักสรีรวิทยาของการออกก�ำลังกาย พบว่า ความแข็งแรง
ของกล้ า มเนื้ อ จะอยู ่ ร ะหว่ า ง 3-10 กิ โ ลกรั ม ต่ อ ขนาดพื้ น ที่ ห น้ า ตั ด 1 ตารางเซนติ เ มตร
(เฉลีย่ 6.3 กิโลกรัม) และไขมันทีแ่ ทรกตามกล้ามเนือ้ ยังเป็นตัวกีดขวางต่อการท�ำงานของกล้ามเนือ้
ดังนั้นแม้ว่าพื้นที่หน้าตัดของกล้ามเนื้อ 2 มัดจะเท่ากัน แต่ถ้ามีปริมาณของไขมันแทรกอยู่ต่างกัน
จะมีผลท�ำให้มีความแข็งแรงต่างกัน นอกจากนั้นยังมีปัจจัยในด้านอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อความแข็งแรง
ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1. การเรียงตัวของใยกล้ามเนื้อ จากการศึกษาเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ พบว่า
การเรียงตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อมีหลายลักษณะ และแต่ลักษณะมีผลต่อความแข็งแรงไม่เหมือนกัน
เช่น กล้ามเนื้อที่มีเส้นใยเรียงตัวขนานไปกับความยาวของกล้ามเนื้อ จะมีก�ำลังในการหดตัว
หรือมีความแข็งแรงน้อยกว่ากล้ามเนื้อที่มีเส้นใยเรียงตัวแบบขนนก
2. ความเมื่อยล้า กล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานมากและนานจะก่อให้เกิดอาการเมื่อยล้า
ซึ่งมีผลท�ำให้ความแข็งแรงลดลง
3. อุณหภูมกิ ารหดตัวของกล้ามเนือ้ จะเร็วและรุนแรงทีส่ ดุ หากอุณหภูมปิ กติของร่างกาย
ต�่ำกว่าอุณหภูมิของกล้ามเนื้อเล็กน้อย แต่ถ้าอุณหภูมิต่างกันมากเกินไปกลับจะเป็นอุปสรรคต่อ
การท�ำงานของกล้ามเนื้อ เพราะเอนไซม์ต่างๆ ไม่สามารถท�ำหน้าที่ได้อย่างปกติ ซึ่งหากอุณหภูมิ
สูงเกินไปอาจมีการท�ำลายโปรตีนในกล้ามเนื้อ
4. ระดับการฝึกกล้ามเนือ้ ทีไ่ ด้รบั การฝึกเป็นประจ�ำ ย่อมมีก�ำลังในการหดตัวได้สงู กว่า
กล้ามเนือ้ ทีไ่ ม่ได้รบั การฝึก แต่ทงั้ นีต้ อ้ งฝึกแบบไม่หกั โหมจนกระทัง่ เกิดอาการซ้อมเกิน (Over Training)
เพราะนอกจากจะมีผลเสียต่อสุขภาพและสมรรถภาพทางกายโดยส่วนรวมแล้ว ยังท�ำให้เกิดความเบือ่ หน่าย
ต่อการฝึกอีกด้วย
5. การพักผ่อน หากการออกก�ำลังกายด�ำเนินไปรวดเดียวเป็นเวลานานโดยไม่มี
การหยุดพัก จะท�ำให้ประสิทธิภาพในการหดตัวของกล้ามเนือ้ ค่อยๆ ลดลง เนือ่ งจากแหล่งพลังงาน
ที่จ�ำเป็นส�ำหรับการท�ำงานเริ่มลดลง ขณะเดียวกันของเสียเริ่มมีมากขึ้น ดังนั้น หากมีเวลาให้
ระบบไหลเวียนเลือดโดยการหยุดพัก เพื่อก�ำจัดของเสียออกจากกล้ามเนื้อ จะท�ำให้ก�ำลังในการหดตัว
ของกล้ามเนื้อรักษาระดับความแข็งแรงไปได้อีกนาน
48 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
6. อาหาร อาหารมื้อหนักควรจะรับประทานก่อนการออกก�ำลังกายหรือเล่นกีฬา
ประมาณ 2-3 ชัว่ โมง แต่ถา้ หากปล่อยให้ทอ้ งว่างอยูน่ านจะท�ำให้พลังงานส�ำรองของร่างกายหมดไป
ท�ำให้ความแข็งแรงของกล้ามเนือ้ ลดลงไปด้วย ดังนัน้ ก่อนหรือระหว่างการออกก�ำลังกายอาจรับประทาน
อาหารที่ย่อยได้ง่าย แต่ไม่ถึงกับอิ่มหรือแน่นท้อง
7. อายุและเพศ โดยทั่วไปความแข็งแรงจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วงร้อยละ 10-20
ของความแข็งแรงปกติ และความแข็งแรงสูงสุดจะอยูใ่ นช่วงอายุ 20-30 ปี ต่อจากนัน้ ความแข็งแรง
จะค่อยๆ ลดลง โดยจะเริม่ ทีข่ า ล�ำตัว และแขน ความแข็งแรงของคนอายุ 65 ปี จะมีความแข็งแรงสูงสุด
ประมาณร้อยละ 80 ของความแข็งแรงสูงสุดที่เคยมีอยู่ในช่วงอายุ 20-30 ปี
ส�ำหรับเรื่องเพศนั้น การวิ่งเร็วและการกระโดด เด็กชายและเด็กหญิงที่มีอายุไม่เกิน 12 ปี
จะใกล้เคียงกัน เมือ่ อายุอยูใ่ นช่วง 13-18 ปี พัฒนาการในด้านความแข็งแรงของเพศชายจะสูงกว่า
สิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระหว่างอายุ 6-20 ปี คนเราจะมีความสูงเพิ่มขึ้นประมาณ 1 ใน 3
ของความสูงเดิม แต่ความแข็งแรงเพิ่มขึ้นประมาณ 4 ใน 5 ในช่วงเวลาเดียวกัน และโดยเฉลี่ย
กล้ามเนื้อของเพศหญิงจะมีความแข็งแรงประมาณ 2 ใน 3 ของเพศชาย ทั้งนี้เนื่องจากแตกต่าง
ในด้านโครงสร้างของร่างกายเป็นส�ำคัญ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคล่องตัว
1. การประสานงานของระบบกล้ามเนือ้ ระบบประสาท ผูท้ มี่ คี วามคล่องตัวสูง การท�ำงาน
ของระบบทั้งสองจะต้องท�ำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การจัดกิจกรรมให้ร่างกาย
ได้ฝึกจนเกิดทักษะและความช�ำนาญ เป็นผลส่งเสริมและพัฒนาความคล่องตัวได้
2. ระยะเวลาที่ใช้ฝึกซ้อม หมายถึง การจัดช่วงระยะเวลาของการฝึกปฏิบัติกิจกรรม
ให้อวัยวะต่างๆ ได้ท�ำงานมากกว่าปกติ เพื่อผลในการพัฒนาการท�ำงาน ทั้งนี้จะต้องพิจารณาถึง
ความแตกต่างระหว่างบุคคลทางด้านร่างกาย เพราะจะต้องระมัดระวังมิให้มกี ารฝึกซ้อมทีย่ าวนาน
หรือเข้มข้นจนอยู่ในภาวะซ้อมเกิน ซึ่งจะมีผลเสียต่อสมรรถภาพทางกายมากกว่า
3. รูปร่างของร่างกาย ผู้ที่มีรูปร่างผอมสูง อ้วนเตี้ย มักจะมีความคล่องตัวน้อยกว่า
คนที่มีรูปร่างปานกลาง เนื่องจากมีข้อจ�ำกัดทางด้านระบบการเคลื่อนไหว แต่ก็มีข้อยกเว้น
เพราะความคล่องตัวนี้ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีกหลายประการ
4. น�้ำหนักของร่างกาย ผู้ที่มีน�้ำหนักตัวเกินปกติจะมีผลโดยตรงต่อความคล่องตัว
เพราะน�้ำหนักจะเป็นตัวเพิ่มแรงเฉื่อย ท�ำให้กล้ามเนื้อต้องท�ำงานหนักขึ้น มีผลต่อการสิ้นเปลือง
ของพลังงาน การเคลื่อนไหวของร่างกายจึงเชื่องช้า
5. อายุในวัยเด็กจะมีการพัฒนาในด้านความคล่องตัวจนถึงอายุ 12 ปี แล้วจะค่อยๆ ลดลง
อย่างช้าๆ จนถึงวัยผู้ใหญ่

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 49
6. เพศ ถ้ า เปรี ย บเที ย บระหว่ า งเพศชายกั บ เพศหญิ ง จะพบความแตกต่ า งของ
สมรรถภาพทางกายทุกประเภท ทั้งโดยแท้ (สมรรถภาพที่แสดงออกจริง) และโดยเทียบส่วน
(เทียบจากน�ำ้ หนักตัวต่อกิโลกรัม) ข้อที่เห็นได้ชัดเจน คือ โครงสร้างของร่างกายของเพศหญิงด้อยกว่า
น�้ำหนักเฉลี่ยน้อยกว่าปริมาณของกล้ามเนื้อเมื่อเทียบส่วนแล้วน้อยกว่า ด้วยเหตุนี้ความคล่องตัว
ของเพศหญิงจึงสู้เพศชายไม่ได้
7. ความเมื่อยล้า เนื่องจากความคล่องตัวต้องอาศัยการท�ำงานของกล้ามเนื้อเป็นกลุ่มๆ
ดังนัน้ หากกล้ามเนือ้ กลุม่ ทีม่ หี น้าทีท่ �ำงานเกิดความเมือ่ ยล้าจากการท�ำงาน จะมีผลโดยตรงต่อระบบ
การสัง่ งาน คือ ระบบประสาท และจะส่งผลถึงความคล่องตัวด้วย ซึง่ นอกจากจะท�ำให้ประสิทธิภาพ
ของความคล่องตัวด้อยลงแล้วยังก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อกลุ่มที่มีอาการเมื่อยล้า
และยังต้องท�ำงานได้ง่ายอีกด้วย
4. การเสริมสร้างความอ่อนตัว
ความอ่อนตัว (Flexibility) หมายถึง ความสามารถในการเคลือ่ นไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ได้ตามพิกัดของข้อต่อนั้นๆ (Range of motion at a joint)
ความอ่อนตัวจะถูกจ�ำกัดโดยปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ คือ
1) ความยืดหยุ่นตัวต่อพังผืดและเอ็นที่พาดผ่านข้อต่อส่วนนั้น
2) ความยืดหยุ่นตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อที่อยู่โยงรอบข้อต่อส่วนนั้น
3) ลักษณะโครงสร้างของกระดูกและข้อต่อส่วนนั้น
4) ผิวหนังของร่างกาย
สนธยา สีละมาด (2547 : 432) ได้กล่าวถึงการยืดเหยียด (Stretching) หมายถึง
กระบวนการยืดยาวออกของกล้ามเนื้อ การยืดเหยียดกล้ามเนื้อสามารถปฏิบัติได้หลากหลายวิธี
ขึ้นอยู่กับ จุดมุ่งหมาย ความสามารถและสภาพการฝึกซ้อม ซึ่งการยืดเหยียดกล้ามเนื้อจะมีเทคนิค
พื้นฐานอยู่ 5 ประเภทคือ
1) การยืดเหยียดกล้ามเนื้ออยู่กับที่ (Static stretching)
2) การยืดเหยียดกล้ามเนื้อจากแรงภายใน (Active stretching)
3) การยืดเหยียดกล้ามเนื้อจากแรงภายนอก (Passive stretching)
4) การยืดเหยียดกล้ามเนื้อด้วยการเคลื่อนไหว (Ballistic stretching)
5) การยื ด เหยี ย ดกล้ า มเนื้ อ แบบกระตุ ้ น การรั บ รู ้ ข องระบบประสาทกล้ า มเนื้ อ
(Proprioceptive Neuromuscular Facilitation)
ความสามารถในการอ่อนตัวคือ ความสามารถของข้อต่อต่างๆ ทีเ่ คลือ่ นไหวได้อย่างกว้างขวาง
และการเคลือ่ นไหวใดๆ ถ้าไม่ได้กระท�ำบ่อยๆ หรือไม่คอ่ ยได้มโี อกาสใช้ขอ้ ต่อบริเวณนัน้ ๆ มีผลท�ำให้
กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณนั้นเสียความสามารถในการยืดตัว (Stretch) ท�ำให้การอ่อนตัว
ไม่ดไี ปด้วย และท�ำให้มไี ขมันสะสมอยูใ่ นเนือ้ เยือ่ เพิม่ ขึน้ เท่ากับเป็นการลดประสิทธิภาพของการอ่อนตัว

50 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
โดยทั่วไปผู้ที่มีสมรรถภาพทางกายดีมักจะมีความอ่อนตัวดี และความอ่อนตัวดีจะต้อง
ปราศจากข้อจ�ำกัดดังต่อไปนี้
1. การบาดเจ็บหรืออาการของโรคที่ท�ำให้ข้อต่อ รวมทั้งกระดูกอ่อนที่หุ้มอยู่ส่วนปลาย
ของกระดูกเสื่อมสภาพ
2. มีสารที่เป็นอันตรายปรากฏอยู่ที่ข้อต่อ
3. การอักเสบของเนื้อเยื่อหุ้มข้อต่อ
4. น�้ำหล่อลื่นในข้อต่อแห้งหรือมีน้อยเกินไป
ภาวะเหล่านี้จะเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวของข้อต่อ แม้ในคนปกติที่ไม่มีโรค
การเคลือ่ นไหวของข้อต่อก็ถกู จ�ำกัดด้วยลักษณะของกระดูกและชนิดของข้อต่อ ความยาวของกล้ามเนือ้
และเอ็น และคุณสมบัติของเยื่อหุ้มข้อต่อ
การบริหารร่างกายเพื่อเพิ่มมุมของการเคลื่อนไหว อาจท�ำได้โดยอาศัยความยาวและ
ความยืดหยุน่ ของกล้ามเนือ้ และเอ็น แต่ผลทีเ่ กิดขึน้ ในช่วงแรกอาจจะอยูไ่ ด้ไม่นาน จึงต้องท�ำการบริหาร
ซ�้ำบ่อยๆ การอบอุ่นร่างกายและการยืดเหยียดกล้ามเนื้อทุกครั้งจะช่วยให้เกิดการอ่อนตัวของข้อต่อ
ได้เป็นอย่างดี สิ่งส�ำคัญก็คือ ต้องเคลื่อนไหวแบบช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป และหยุดเมื่อมีความรูส้ กึ เจ็บ
จากการยืดกล้ามเนือ้ แต่ให้คงท่ายืดนัน้ ไว้ประมาณ 8-10 วินาที แล้วให้ท�ำซำ �้ 5-6 ครัง้ และต้องกระท�ำ
ทุกวัน เนื่องจากความอ่อนตัวจะคงอยู่ได้ประมาณ 8-10 สัปดาห์เท่านั้น
5. การเสริมสร้างความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ
ความสามารถในการใช้พลังงานแบบแอโรบิก (Aerobic) เป็นปัจจัยที่ส�ำคัญที่ก่อให้
เกิดความอดทน เพราะการใช้พลังงานแบบนี้จะใช้แหล่งพลังงานที่ได้จากสารอาหารทั้ง 3 ชนิด
คื อ คาร์ โ บไฮเดรต ไขมั น และโปรตี น เมื่ อ ไปท�ำปฏิ กิ ริ ย ากั บ ออกซิ เจนแล้ ว จะสลายตั ว ให้
คาร์บอนไดออกไซด์ น�้ำ และพลังงานออกมา
พลังงานนี้นับว่าเป็นส่วนส�ำคัญ เพราะร่างกายมีความจ�ำเป็นจะต้องใช้อยู่ตลอดเวลา
ไม่ว่าจะอยู่ในขณะพัก ท�ำงานหรือปฏิบัติกิจกรรมใดๆ และเป็นพลังงานที่จะต้องใช้เสริมพลังงาน
ชนิดอื่นๆ เมื่อหมดลงและสามารถใช้ได้นานเกิน 1 นาที
การเสริมสร้างความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ มีแบบฝึกดังต่อไปนี้
1. การฝึกแบบหนักสลับเบา (Interval Training)
ลักษณะของการฝึกแบบหนักสลับเบา เป็นวิธีที่ใช้ฝึกความอดทนที่ดีวิธีหนึ่งและ
เป็นที่ยอมรับกันมาก ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้
1. จะต้องก�ำหนดระยะทางและความเร็วเอาไว้อย่างแน่นอน
2. ระยะเวลาและกิจกรรมที่จะมีในช่วงหลังต้องก�ำหนดไว้อย่างแน่นอน เช่น พักเป็นเวลา
เท่าไร ระหว่างพักต้องท�ำอะไรบ้าง

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 51
3. จ�ำนวนเที่ยวที่ใช้ฝึก ถูกก�ำหนดไว้แน่นอน
4. วันที่จะท�ำการฝึกถูกก�ำหนดไว้แน่นอน เช่น สัปดาห์หนึ่งจะฝึกกี่ครั้ง ส�ำหรับ
การพักในขณะฝึก ไม่ควรพักจนร่างกายฟื้นตัวสู่สภาพปกติ แต่ให้ชีพจรลดลงเหลือประมาณ
120-130 ครั้ง/นาที แล้วให้เริ่มฝึกต่อ
2. การฝึกแบบฟาร์ทเลค (Fartlek)
เป็นวิธีการที่คล้ายๆ กับการฝึกแบบหนักสลับเบา ซึ่งวิธีการแบบนี้ได้เริ่มขึ้นที่ประเทศ
สวีเดน แล้วแพร่หลายไปสู่ประเทศต่างๆ ลักษณะเด่นของการฝึกแบบนี้ก็คือ อัตราความเร็วของ
การวิ่งมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการของผู้วิ่ง สถานที่ฝึกมักจะใช้สภาพภูมิประเทศ
ที่เป็นธรรมชาติจริงๆ เช่น มีเนินขึ้นๆ ลงๆ แต่การฝึกแบบนี้มีข้อจ�ำกัดอย่างเดียวก็คือ ต้องวิ่งให้ถึง
จุดหมายภายในเวลาที่ก�ำหนด จากการวิ่งตามสภาพภูมิประเทศเชื่อว่าจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้วิ่ง
ไม่เกิดความเบื่อหน่าย นับว่าเป็นผลดีต่อการฝึกความอดทนเป็นอย่างยิ่ง
3. การฝึกแบบโอเรียนเทียริ่ง (Orienteering)
เป็นวิธีการฝึกความอดทนคล้ายๆ กับแบบฟาร์ทเลค ในแง่ที่ว่าสามารถด�ำเนินไปได้
ในสภาพภูมิประเทศต่างๆ ร่วมกับวิธีสะกดรอยของลูกเสือ เช่น มีการค้นหาจุดหมายระหว่างทาง
จึงเป็นวิธีที่สนุกสนาน มีผลท�ำให้สามารถท�ำงานได้นานขึ้น
4. การฝึกแบบวงจร (Circuit Training)
การฝึกแบบวงจรจะต้องใช้ทา่ บริหารร่างกายร่วมกับการใช้นำ�้ หนัก (Weight Training)
บางครัง้ อาจรวมกิจกรรมทางยิมนาสติกเข้าไปด้วย แต่ทงั้ นีจ้ ะต้องมีการวางแผนเพือ่ ทีจ่ ะได้พจิ ารณา
ถึงองค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย ซึ่งการฝึกนั้นจะถูกจัดไว้เป็นสถานีและมีการหมุนเวียน
ฝึกไปจนครบทุกสถานี โดยยึดหลักทีว่ า่ จะต้องออกก�ำลังกายตามสถานีตา่ งๆ ด้วยเวลาทีด่ ขี นึ้ เรือ่ ยๆ
หรือท�ำงานได้มากกว่าในเวลาเท่ากัน
5. การฝึกแบบเน้นระยะ (Duration Method)
เป็นการฝึกแบบผสมผสานระหว่างการฝึกแบบฟาร์ทเลคกับแบบหนักสลับเบา เป็นทีน่ ยิ มใช้
ในการฝึกนักกีฬาทีใ่ ช้ความอดทนและมีวนิ ยั เพราะจะต้องกระท�ำเป็นระยะเวลานานโดยไม่มกี ารพัก
ความเร็วอาจเปลีย่ นแปลงได้ ความหนักของงานขึน้ อยูก่ บั สมรรถภาพของแต่ละบุคคล แต่ระยะเวลา
ไม่ควรต�ำ่ กว่า 30 นาที การฝึกแบบเน้นระยะนีท้ �ำให้สมรรถภาพการจับออกซิเจนดีขนึ้ เพราะมีการท�ำงาน
ต่อเนือ่ งเป็นระยะเวลานานจึงเป็นการใช้พลังงานแบบใช้ออกซิเจน โดยมีการเปลีย่ นแปลงความหนักเบา
ของงานท�ำให้ร่างกายเกิดเป็นหนี้ออกซิเจน
6. การฝึกแบบต่อเนื่องในเวลายาวนานโดยรักษาความเร็วคงที่
การฝึกวิธีนี้วัดความหนักเบาของงานอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งควรให้อัตราการเต้น
ของหัวใจในขณะออกก�ำลังกายอยู่ระหว่าง 150-170 ครั้ง/นาที

52 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
7. การฝึกแบบเปลี่ยนสลับความเร็ว
การฝึกชนิดนี้เน้นที่ความเร่ง คือ การเปลี่ยนแปลงความเร็ว ความหนักของงาน
จะเพิม่ ขึน้ จนร่างกายเกิดเป็นหนีอ้ อกซิเจนในช่วงเวลาสัน้ ๆ เช่น วิง่ เร็วเต็มที่ 60 เมตร แล้ววิง่ 100 เมตร
ด้วยความเร็ว 4 เมตร/วินาที ท�ำให้ชีพจรเต้นถึง 140 ครั้ง/นาที และวิ่ง 500 เมตร ด้วยความเร็ว
5 เมตร/ นาที ท�ำให้ชีพจรเต้นถึง 180 ครั้ง/นาที สลับกันไป เป็นต้น

หลักการบริหารร่างกายส�ำหรับกีฬาวอลเลย์บอล
การบริหารร่างกายมีความจ�ำเป็นมาก เพราะท่าบริหารนั้นจะช่วยกระตุ้นการท�ำงานของ
กล้ามเนือ้ มัดต่างๆ เพือ่ เตรียมความพร้อมในการใช้งานหนักๆ ต่อไป นักกีฬาทีเ่ กิดการบาดเจ็บบ่อยๆ
สาเหตุใหญ่กค็ อื การบริหารร่างกายไม่ดพี อ และท่าบริหารจะเป็นท่าทีเ่ สริมสร้างสมรรถภาพทางกาย
ให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
นักกีฬาวอลเลย์บอลนอกจากจะมีความสมบูรณ์ทางด้านจิตใจแล้ว จะต้องเป็นผู้ที่
สมรรถภาพทางด้านร่างกายดีด้วย กล่าวคือ มีความแข็งแรง มีความอ่อนตัว สามารถเคลื่อนไหว
ร่างกายได้อย่างกระฉับกระเฉง และรวดเร็วว่องไวในการเล่นเป็นอย่างดี ดังนัน้ การฝึกเพือ่ ให้รา่ งกาย
แข็งแรงสมบูรณ์อาจท�ำได้โดยการบริหารร่างกายแบบมือเปล่าหรือจะใช้อุปกรณ์ประกอบใน
การบริหารร่างกายด้วยก็ได้ซึ่งผลที่จะได้รับก็คือ การมีสมรรถภาพทางด้านร่างกายดี

การอบอุ่นร่างกาย
การอบอุ่นร่างกาย คือ การเตรียมร่างกายด้วยการออกก�ำลังกายเบาๆ เพื่อน�ำไปสู่
การออกก�ำลังที่หนักขึ้นต่อไป
การอบอุ่นร่างกายนับว่ามีความจ�ำเป็นอย่างยิ่งส�ำหรับการออกก�ำลังกาย มีนักกีฬา
จ�ำนวนมากที่ได้รับอันตรายจากการฉีกขาดของกล้ามเนื้อหรือข้อต่อต่างๆ เคลื่อน ทั้งนี้สาเหตุ
อาจเกิดจากการอบอุ่นร่างกายไม่เพียงพอ การอบอุ่นร่างกายจึงเท่ากับเป็นการเตือนให้กล้ามเนื้อ
พร้อมที่จะท�ำงานและเมื่อกล้ามเนื้อท�ำงานก็จะสามารถท�ำได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
1. ท�ำให้การประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อและประสาทและระหว่างกล้ามเนื้อด้วยกัน
ให้เป็นไปอย่างถูกต้องและราบรื่น
2. การปฏิ บั ติ ต ามเทคนิ ค จะช่ ว ยเพิ่ ม อุ ณ หภู มิ ใ นกล้ า มเนื้ อ ท�ำให้ ก ล้ า มเนื้ อ หดตั ว
ได้ประสิทธิภาพสูง
3. ช่วยปรับปรุงการหายใจและการไหลเวียนของเลือดให้เข้าใกล้ระยะคงที่ เป็นการย่น
ระยะการปรับตัวในระหว่างการฝึกซ้อมหรือแข่งขัน

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 53
วิธีการอบอุ่นร่างกาย
การอบอุ่นร่างกายจะได้ผลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับวิธีการอบอุ่นร่างกายดังนี้
1. เลือกกิจกรรมที่ท�ำให้ร่างกายค่อยๆ ปรับตัวเข้ากับสภาพที่ร่างกายต้องท�ำงานหนัก
2. ท่าที่ใช้อบอุ่นร่างกายต้องง่าย ผู้เล่นไม่ต้องใช้ทักษะหรือการตัดสินใจที่ยุ่งยาก
3. การอบอุน่ ร่างกายนัน้ จะต้องไม่ท�ำให้เกิดความเมือ่ ยล้า เพราะการอบอุน่ ร่างกายทีด่ จี ะ
ท�ำให้ร่างกายสดชื่น
4. การอบอุ่นร่างกายจะต้องไม่ใช้ระยะเวลานานเกินไป
5. การเปลี่ยนท่าทางการอบอุ่นร่างกายบ่อยๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เล่น
6. วิธีอบอุ่นร่างกายควรแตกต่างไปตามสภาพความสมบูรณ์ทางกายของผู้เล่น ผู้เล่น
ที่เหนื่อยง่ายควรอบอุ่นช้าๆ ใช้เวลาน้อย
7. การอบอุ่นร่างกายต้องท�ำให้ครบทุกส่วนของร่างกาย ตั้งแต่เท้า ข้อเท้า ขา ข้อเข่า
หลัง ท้อง ด้านข้างล�ำตัว อก หัวไหล่ คอ แขน ข้อมือ และนิ้วมือ

การผ่อนคลายร่างกายหลังจากเสร็จสิ้นเกมการเล่น
ขณะฝึกซ้อมหรือแข่งขัน กล้ามเนือ้ จะเกร็งตัวและหดตัว ท�ำให้เกิดการเมือ่ ยล้าหรือเจ็บปวด
จ�ำเป็นต้องมีการผ่อนคลาย โดยการท�ำให้กล้ามเนื้อมัดที่หดตัวยืดออก ถ้าปล่อยให้กล้ามเนือ้ หดตัว
อยูเ่ สมอไม่มกี ารยืดออกจะมีผลท�ำให้แรงสปริงของกล้ามเนือ้ น้อยลง บางครัง้ การฝึกความแข็งแรงมากๆ
แต่ความแข็งแรงกลับลดลง เพราะความอ่อนตัวของร่างกายมีไม่เพียงพอการท�ำให้กล้ามเนือ้ ทีห่ ดตัวยืดออก
ท�ำได้ทั้งอยู่กับที่และเคลื่อนที่
แบบอยูก่ บั ทีจ่ ะใช้การกดนิง่ หรือค้างไว้ จุดทีย่ ดื กล้ามเนือ้ คือ หัวไหล่ สะโพก เข่า ข้อเท้า
ส่วนวิธีผ่อนคลายแบบเคลื่อนที่ ควรท�ำช้าๆ เช่น การวิ่ง การกระโดด การเหวี่ยงแขน การก้ม
และเหยียดตัว หรือให้เล่นเกมที่มีลักษณะผ่อนคลาย
นอกจากนีย้ งั ใช้วธิ กี ารนวด โดยนวดเบาๆ สลับหนัก คือ มีเบาบ้าง หนักบ้าง แขนและล�ำตัว
จะใช้ทุบด้วยมือก็ได้ ส่วนเอวและสะโพกอาจใช้เหยียบเบาๆ สลับกดหนักๆ เป็นต้น

54 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
การบริหารกายก่อนและหลังการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
บริหารกายท่าที่ 1
ให้ ผู ้ บ ริ ห ารยื น โดยอาศั ย ก�ำแพงหรื อ ผนั ง 1
เป็ น หลั ก ยื น เท้ า น�ำเท้ า ตาม แขนทั้ ง สองพั บ ศอก
แนบชิดติดก�ำแพงหรือผนัง โดยหน้าผากอยู่หลังมือ
ทั้งสอง เท้าหน้างอเท้าหลังตรง จากนั้นให้โยกสะโพก
ถ่ายน�้ำหนักตัวไปยังเท้าหน้าตามศรชี้ แล้วนิ่งอยู่นาน
25 วินาที ซึ่งจะท�ำให้กล้ามเนื้อส่วนน่องและหลัง แสดงลักษณะการบริหารกล้ามเนื้อ
ได้เหยียดยืดออก (ดังภาพ) ส่วนน่อง และหลัง

บริหารกายท่าที่ 2
ให้ ผู ้ บ ริ ห ารนั่ ง เหยี ย ดขาออก ยกขาข้ า ง
2
หนึ่งขึ้นใช้มือจับข้อเท้าไว้แล้วค่อยๆ หมุนข้อเท้าบิด
เข้าหาตัว และบิดข้อเท้าออก ท�ำ 15 ครั้ง ในแต่ละ
ทิศทาง (ดังภาพ) แสดงลักษณะการบริหารกล้ามเนื้อ
ส่วนข้อเท้าและสะโพก
บริหารท่าที่ 3
ให้ ผู ้ บ ริ ห ารนั่ ง ลงกั บ พื้ น หั น ฝ่ า เท้ า หากั น
แบะเข่าทั้งสองออก ให้เข่าทั้งสองติดพื้น ใช้มือทั้งสอง 3
กุ ม ฝ่ า เท้ า แล้ ว ก้ ม ตั ว ลงพยายามก้ ม ให้ ม ากที่ สุ ด
และให้เข่าทัง้ สองแนบติดกับพืน้ ให้นงั่ นิง่ กับอยู่ 30 วินาที
จะท�ำให้กล้ามเนือ้ ขาท่อนบนและกล้ามเนือ้ หลัง รวมทัง้ แสดงลักษณะการบริหารกล้ามเนื้อขาท่อนบน
ข้อต่อต่างๆ เหยียดออกด้วย (ดังภาพ) และกล้ามเนื้อหลัง รวมทั้งข้อต่อต่างๆ

บริหารกายท่าที่ 4
ให้ผู้บริหารนั่งพับเพียบแล้วหงายเหยียดตัว 4
ออกไปด้านหลัง โดยใช้มือทั้งสองวางที่พื้นอยู่ใกล้
สะโพกเพื่ อ พยุ ง ตั ว ไว้ ซึ่ ง จะท�ำให้ ก ล้ า มเนื้ อ ส่ ว นขา
ล�ำตัว และแขนเหยียดออก ให้ปฏิบัติข้างละ 20 วินาที
แสดงลักษณะการบริหารกล้ามเนื้อ
(ดังภาพ) ส่วนขา ลำ�ตัว และแขน
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 55
บริหารกายท่าที่ 5
ให้ ผู ้ บ ริ ห ารนั่ ง เหยี ย ดขาข้ า งหนึ่ ง ออกไป
ส่วนขาข้างที่เหลือให้งอชิดล�ำตัว ใช้มือทั้งสองจับข้อเท้า 5
ข้างที่ขาเหยียดออก แล้วค่อยๆ ก้มตัวลงให้มากที่สุด
ปฏิบัตินิ่งอยู่ 30 วินาที จะท�ำให้กล้ามเนื้อส่วนหลัง
ต้นขา แขน และล�ำตัวเหยียดออกไป (ดังภาพ)
แสดงลักษณะการบริหารกล้ามเนื้อ
ส่วนหลัง ต้นขา แขน และลำ�ตัว
บริหารกายท่าที่ 6
ให้ ผู ้ บ ริ ห ารนั่ ง เหยี ย ดขาทั้ ง สองข้ า งออก
แล้วโน้มล�ำตัวไปข้างหน้าให้มากทีส่ ดุ โดยใช้มอื ทัง้ สอง 6
ช่วงพยุงไว้ ปฏิบตั นิ งิ่ อยู่ 30 วินาที จะท�ำให้กล้ามเนือ้
ส่วนหลังและต้นขาเหยียดออก (ดังภาพ)

แสดงลักษณะการบริหารกล้ามเนื้อ
ส่วนหลังและต้นขา
บริหารกายท่าที่ 7
ให้ผู้บริหารนั่งหันฝ่าเท้าเข้าหากัน ให้ส้นเท้า
เข้าใกล้ล�ำตัวมากที่สุด แล้วค่อยๆ เอนตัวนอนหงาย
พยายามแบะหัวเข่าออกโดยที่เท้าทั้งสองยังชิดกัน 7
ปฏิบตั นิ งิ่ อยู่ 30 วินาที จะท�ำให้กล้ามเนือ้ ต้นขาเหยียด
ยืดออกไป (ดังภาพ) แสดงลักษณะการบริหารกล้ามเนื้อต้นขา

บริหารกายท่าที่ 8
ให้ผู้บริหารนอนราบกับพื้นชันเข่าทั้งสองขึ้น
มือทั้งสองประสานไว้ที่ท้ายทอย ยกศีรษะและส่วน
หัวไหล่ให้พ้นจากพื้นเล็กน้อย แล้วปฏิบัตินิ่งไว้นาน 8
5 วินาที ให้ปฏิบัตินิ่งไว้นาน 5 วินาที ให้ปฏิบัติ 3 ครั้ง
จะท�ำให้กล้ามเนือ้ ต้นคอและกล้ามเนือ้ หน้าท้องหดตัว แสดงลักษณะการบริหารกล้ามเนื้อ
และเหยียดออกขณะนอนราบ (ดังภาพ) ต้นคอ และกล้ามเนื้อหน้าท้อง

56 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
บริหารกายท่าที่ 9
ให้ผู้บริหารนอนหงายราบกับพื้น มือทั้งสอง 9
ประสานไว้ที่ท้ายทอย ตั้งเข่าทั้งสองขึ้นยกขาข้างหนึ่ง
วางบนขาอีกข้างหนึง่ ลักษณะเดียวกันกับไขว่หา้ ง แล้ว
ใช้ขาข้างทีอ่ ยูบ่ นกดขาอีกข้างหนึง่ ลงสูพ่ นื้ โดยส่วนล�ำตัว
นอนหงายราบกับพืน้ เหมือนเดิม ปฏิบตั นิ งิ่ ไว้ 30 วินาที
จะท�ำให้กล้ามเนื้อบริเวณสะโพกต่อเนื่องจนถึงต้นขา
แสดงลักษณะการบริหารกล้ามเนื้อ
ท่อนบนทีถ่ กู ต้องทับเหยียดออก (ดังภาพ) บริเวณสะโพกและต้นขาท่อนบน

บริหารกายท่าที่ 10
ให้ผบู้ ริหารนอนหงายราบกับพืน้ งอเข่าข้างหนึง่
90 องศา พับข้ามขาอีกข้างหนึ่งไปวางกับพื้นที่อยู่ 10
ด้านตรงข้าม ใช้แขนทีอ่ ยูต่ รงข้ามกับเข่า เข้าหาส่วนแขน
โดยพยายามให้ ล�ำตั ว และขาตั้ ง ตรงแนบชิ ด ติ ด พื้ น
ให้มากที่สุด ส่วนของสะโพกและขาที่งอเท่านั้นจะบิด
และเหยียดออกปฏิบตั นิ งิ่ ไว้ขา้ งละ 20 วินาที จะท�ำให้ แสดงลักษณะการบริหารกล้ามเนื้อ
กล้ามเนือ้ บริเวณสะโพกหลังช่วงล่างและต้นขาท่อนบน บริเวณสะโพกหลังช่วงล่างและต้นขาท่อนบน
เหยียดออก (ดังภาพ)

บริหารกายท่าที่ 11
ให้ผู้บริหารนอนหงายเหยียดตัวราบกับพื้น
ให้เหยียดแขนทั้งสองข้างเหนือศีรษะให้มากที่สุดพร้อม 11
กับเหยียดล�ำตัวและขาทัง้ สองข้างออกไปให้มากทีส่ ดุ ด้วย
ในท่างุ้มปลายเท้า จะท�ำให้กล้ามเนื้อแขน ล�ำตัวและ
ส่วนกล้ามเนื้อขาเหยียดออก (ดังภาพ) แสดงลักษณะการบริหารกล้ามเนื้อแขน ลำ�
ตัว และส่วนกล้ามเนื้อขา
บริหารท่าที่ 12
ให้ผบู้ ริหารนัง่ บนส้นเท้าข้างหนึง่ และเข่าอีก 12
ข้างหนึง่ ชันเข่าขึน้ มือทัง้ สองวางทางด้านหน้าเพือ่ พยุงตัว
พยายามโน้มตัวถ่ายน�้ำหนักตัวไปทางด้านหน้า โดยมิให้
ก้นยกขึ้นพ้นจากส้นเท้า ปฏิบัตินิ่งไว้ข้างละ 10 วินาที
จะท�ำให้กล้ามเนือ้ ช่วงเอ็นร้อยหวายและกล้ามเนือ้ ส่วนหลัง แสดงลักษณะการบริหารกล้ามเนื้อ
เหยียดยืดออก (ดังภาพ) ช่วงเอ็นร้อยหวายและกล้ามเนื้อส่วนหลัง

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 57
บริหารกายท่าที่ 13
ให้ผู้บริหารแยกเท้าออกให้มากที่สุด บิดล�ำตัว 13
ไปทางขาข้างใดข้างหนึง่ แล้วย่อเข่าด้านนัน้ ลง ถ่ายน�ำ้ หนัก
ตัวลงตรงกลาง โดยขาหลังเหยียดออกไป ปฏิบัตินิ่งไว้
25 วินาที จะท�ำให้กล้ามเนื้อต้นขา หัวเข่าและสะโพก
ได้เหยียดออก (ดังภาพ) แสดงลักษณะการบริหารกล้ามเนื้อ
ต้นขา หัวเข่า และสะโพก

บริหารกายท่าที่ 14
ให้ผู้บริหารนั่งคุกเข่ามือดันพื้น ลักษณะเดียว 14
กับท่าคลานของเด็ก โดยหันปลายนิ้วมือเข้าหาล�ำตัว
แล้วถ่ายนำ�้ หนักตัวไปทางด้านหลัง ทัง้ นีส้ ว่ นก้นจะต้อง
ไม่ชดิ ติดขาท่อนล่าง ให้ปฏิบตั นิ งิ่ ไว้ 20 วินาที จะท�ำให้
แสดงลักษณะการบริหารกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อส่วนแขนและล�ำตัวเหยียดออก (ดังภาพ) ส่วนแขนและลำ�ตัว

บริหารกายท่าที่ 15 15
ให้ผู้บริหารนั่งคุกเข่า ลักษณะแขนข้างหนึ่ง
พับรองรับศีรษะไว้ แขนทีเ่ หลืออีกข้างให้ยนื่ ออกไปข้างหน้า
แล้วถ่ายนำ�้ หนักตัวไปทางด้านหลัง ทัง้ นีส้ ว่ นก้นจะต้อง
ไม่ชดิ ติดขาท่อนล่างให้ปฏิบตั นิ งิ่ ไว้ 10 วินาที ในแต่ละข้าง แสดงลักษณะการบริหารกล้ามเนื้อ
จะท�ำให้ ก ล้ า มเนื้ อ ส่ ว นแขนและล�ำตั ว เหยี ย ดออก ส่วนแขนและลำ�ตัว, ไหล่
(ดังภาพ)

16
บริหารกายท่าที่ 16
ให้ผู้บริหารนั่งยองๆ โดยให้ขาและเข่าแยก
ออกให้มากที่สุด แขนทั้งสองอยู่ระหว่างเข่าทั้งคู่ช่วย
ในการแยกเข่าออกจากกัน ปฏิบัตินิ่งไว้ 30 วินาที
แสดงลักษณะการบริหารกล้ามเนื้อ
จะช่วยเหยียดยืดกล้ามเนื้อส่วนขาท่อนบนและท่อนล่าง ส่วนขาท่อนบนและท่อนล่าง หัวเข่า
หัวเข่า ข้อเท้า และเอ็นร้อยหวาย (ดังภาพ) ข้อเท้า และเอ็นร้อยหวาย

58 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
บริหารกายท่าที่ 17 17
ให้ผู้บริหารยืนแยกเท้าให้ห่างกันพอสมควร
แล้วย่อเข่าให้นำ�้ หนักตัวถ่ายลงทีข่ าทัง้ สองข้าง แขนทั้ง
สองแนบชิดติดล�ำตัวตามสบาย ปฏิบัตินิ่งไว้ 30 วินาที
จะช่วยเหยียดยืดกล้ามเนื้อส่วนหัวเข่า (ดังภาพ)

แสดงลักษณะการบริหาร
ส่วนหัวเข่า
บริหารกายท่าที่ 18 18
ให้ผบู้ ริหารยืนแยกเท้าห่างพอสมควร แล้วค่อยๆ
ก้มตัวลงใช้ฝ่ามือทั้งสองแตะที่ปลายเท้าทั้งคู่ โดยเข่า
ทั้งสองไม่งอ ปฏิบัตินิ่งไว้ 20 วินาที จะท�ำให้กล้ามเนื้อ
ส่วนขา กล้ามเนือ้ หลังและแขนเหยียดออกไป (ดังภาพ)
แสดงลักษณะการบริหารกล้ามเนื้อ
ส่วนขา กล้ามเนื้อหลัง และแขน

บริหารกายท่าที่ 19
19
ให้ผู้บริหารยืนตรง ยกเท้าข้างใดข้างหนึ่งขึ้น
วางบนรั้วหรือโต๊ะ โดยหันด้านข้างให้กับรั้วหรือโต๊ะ
แล้วค่อยๆ เอียงตัวพับไปทางปลายเท้าที่ยกขึ้น ปฏิบัติ
นิ่งนานไว้ 20 วินาที จะท�ำให้กล้ามเนื้อล�ำตัวด้านข้าง
และส่วนขาด้านหลังเหยียดยืดออกไป (ดังภาพ) แสดงลักษณะการบริหารกล้ามเนื้อ
ลำ�ตัวด้านข้างและส่วนขาด้านหลัง

บริหารกายท่าที่ 20
ให้ผบู้ ริหารยกแขนทัง้ คูเ่ หยียดขึน้ เหนือศีรษะ
โดยให้มือทั้งสองประสานกัน ลักษณะหงายฝ่ามือขึ้น 20
ปฏิบัตินิ่งไว้ 20 วินาที หัวไหล่และส่วนล�ำตัวเหยียด
ยืดขึ้น (ดังภาพ) แสดงลักษณะการบริหารกล้ามเนื้อ
แขน หัวไหล่ และส่วนลำ�ตัว

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 59
บริหารกายท่าที่ 21
ให้ ผู ้ บ ริ ห ารยกแขนขึ้ น ด้ า นหลั ง ศี ร ษะ
พั บ ศอกลง ใช้ มื อ อี ก ข้ า งหนึ่ ง จั บ ที่ ศ อกของแขน
ที่พับศอก จากนั้นค่อยๆ กดข้อศอกของแขนข้างนั้น 21
ลงไปทางด้านหลังศีรษะ ปฏิบตั นิ งิ่ ไว้ 10 วินาที จะท�ำให้
กล้ามเนื้อด้านข้างล�ำตัว ช่วงหัวไหล่ แขนท่อนบน แสดงลักษณะการบริหารกล้ามเนื้อ
ด้านข้างลำ�ตัว ช่วงหัวไหล่ แขนท่อนบน
และศอกเหยียดยืดออก (ดังภาพ) และศอก

บริหารกายท่าที่ 22
ให้ผู้บริหารยืนหันหลังให้ผนัง ใช้มือข้างใด 22
ข้างหนึ่งจับที่ผนัง ส่วนแขนอีกข้างหนึ่งไขว้หลังไว้
แล้ ว หั น หน้ า และบิ ด ล�ำตั ว ไปด้ า นตรงข้ า มกั บ มื อ ที่
จับผนัง ปฏิบตั นิ งิ่ ไว้ 15 วินาที จะท�ำให้กล้ามเนือ้ หัวไหล่
แขนที่ เ หยี ย ดและล�ำตั ว ด้ า นข้ า งเหยี ย ดยื ด ออกไป หัวแสดงลั กษณะการบริหารกล้ามเนื้อ
ไหล่ แขนที่เหยียด และลำ�ตัวด้านข้าง
(ดังภาพ)

60 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate

บ ทที่ 4
การฝึกซ้อมด้านร่างกาย
สำ�หรับนักกีฬาวอลเลย์บอล
กีฬาวอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่มีความต้องการความแข็งแรงของร่างกายที่สูงมาก เนื่องจาก
เป็นกีฬาที่มีการใช้พละก�ำลังมากในการกระโดดเพื่อเล่นลูกบอล หากพิจารณาถึงโครงสร้าง
การแข่งขัน เนื่องจากการแข่งขันเป็นการแข่งขันแบบได้เสียกันทุกแต้ม (rallies points) ระบบ
การแข่งขันประเภทนี้มีความส�ำคัญต่อการท�ำคะแนนมาก การเล่นลูกทุกลูกมีผลต่อคะแนนทั้งนั้น
ดังนั้น ความพยายามของทีมจึงมีความจ�ำเป็นที่จะต้องมีความพยายามในการที่จะใช้ทักษะ
เทคนิคและยุทธวิธี รวมทั้งสมรรถภาพทางกายที่ดี ในการที่จะเอาชนะในคะแนนนั้น ประกอบกับ
ช่วงระยะเวลาของการแข่งขัน จากการท�ำวิจัยของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติอยู่ในช่วงเวลา
30-110 นาที จะเห็นได้ว่าช่วงเวลานี้นักกีฬาที่ท�ำการแข่งขันมีความจ�ำเป็นที่จะต้องใช้กล้ามเนือ้
ที่มีคุณภาพสูงสุดในการเล่น ไม่ว่าจะเป็นความแข็งแรง ความเร็ว ความคล่องตัว ความอ่อนตัว
และพละก�ำลัง จึงมีความส�ำคัญและจ�ำเป็นอย่างยิง่ ในการทีจ่ ะท�ำคะแนนแต่ละแต้ม ซึง่ ในการแข่งขัน
ระดับนานาชาติและระดับโลกนั้น การท�ำคะแนนต่อ 1 แต้มอยู่ในช่วง 4-7 วินาที และในช่วงเวลา
4-7 วินาทีนี้นั้น นักกีฬาได้ใช้ขีดความสามารถสูงสุด เพื่อที่จะท�ำคะแนนไม่ว่าจะเป็นทักษะเทคนิค
และยุทธวิธีรวมทั้งสมรรถภาพทางกายที่ดีเยี่ยม และในการเล่นในลูกนั้นคะแนนนั้นๆ จะมีการพัก
ระหว่างคะแนนอยูใ่ นช่วง 10-16 วินาที ดังนัน้ หากพิจารณาในเรือ่ งของโครงสร้างของการแข่งขันแล้ว
จะเห็นว่ากีฬาวอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ท�ำการแข่งขันและพักเป็นช่วงๆ (interval) เมื่อพิจารณา
ดังนีแ้ ล้วจะพบว่าในช่วงทีท่ �ำการแข่งขันในช่วงคะแนน 1 แต้มนัน้ นักกีฬาจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องใช้คณ
ุ ภาพ
ของกล้ามเนือ้ แบบใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจน แต่ในทักษะทุกทักษะของการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
นัน้ เป็นทักษะที่ใช้พลังงานแบบไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic) ทั้งสิ้น ดังนั้น ในการฝึกซ้อมนักกีฬา
จึงควรที่จะพิจารณาถึงธรรมชาติและโครงสร้างของการแข่งขันให้มากที่สุด

ความต้องการทางด้านร่างกายส�ำหรับกีฬาวอลเลย์บอล
- ความทนทาน
- ก�ำลัง (ความแข็งแรงแบบเร็ว)
- ความแข็งแรงสูงสุด
- ความคล่องตัว
- ความเร็ว
- ความอ่อนตัว
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 61
ตารางการวิเคราะห์การแข่งขันนักกีฬาในระดับอายุ 19 ปีขึ้นไป ถึงทีมชาติ

แหล่งพลังงาน 15% คุณภาพของกล้ามเนื้อ 25% เทคนิคและแทคติค 60%

A.A.P. 0-10 วินาที 6% ความแข็งแรงสูงสุด 7% ปฏิกิริยาตอบสนอง 3%

A.A.C. 10-20 วินาที 2% พละกำ�ลัง 150% ความเร็วในการเคลื่อนที่ 7%

A.L.P. 20-60 วินาที ความแข็งแรงแบบทนทาน 5% เทคนิค 10%

A.L.C. 60-120 วินาที ความคล่องตัว 3% เทคนิคส่วนบุคคล 15%

M.A.P. 4-10 วินาที 3% แทคติคของทีม 25%

A.C. 10 วินาที + 4%

A.A.P. = Anaerobic alactic power or speed = การออกก�ำลัง ไม่เกิน 0-10 วินาที


A.A.C. = Specific volleyball endurance = การออกก�ำลัง ไม่เกิน 10-20 วินาที
A.L.P. = Anaerobic lactic power = การออกก�ำลัง ไม่เกิน 20-60 วินาที
A.L.C. = Anaerobic lactic capacity = การออกก�ำลัง ไม่เกิน 60-120 วินาที
M.A.P. = Maximal aerobic power = การออกก�ำลัง ไม่เกิน 4-10 นาที
A.C. = Aerobic capacity = การออกก�ำลัง ไม่เกิน 10 นาทีขึ้นไป

62 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
การฝึกสมรรถภาพทางกายทั่วไป
- ความทนทาน (Endurance)
- ก�ำลัง (ความแข็งแรงแบบเร็ว Strength speed = power)
- ความแข็งแรงสูงสุด (Strength)
- ความคล่องตัว (Agility)
- ความเร็ว (Speed)
- ความอ่อนตัว (Flexibility)
การฝึกซ้อมสมรรถภาพทางกายนัน้ มีวธิ กี ารฝึกเพือ่ พัฒนากล้ามเนือ้ ของนักกีฬาหลายด้าน
ไม่วา่ จะเป็นการฝึกโดยใช้นำ�้ หนัก การฝึกโดยประเภทลูแ่ ละลาน (วิง่ , การเคลือ่ นที,่ การเคลือ่ นไหว
ในลักษณะต่างๆ)

ความทนทาน (Endurance)
การฝึกความทนทานของกล้ามเนื้อในที่นี้ จะกล่าวถึงการฝึกเพื่อให้ร่างกายมีความอดทน
และมีความสามารถในการใช้ออกซิเจนที่ดี ความทนทานของกล้ามเนื้อนี้ได้ใช้ถึง 5% ของคุณภาพ
ของกล้ามเนื้อจาก 25% จากตารางวิเคราะห์การแข่งขันนักกีฬาระดับอายุ 19 ปี จนถึงนักกีฬาทีมชาติ
การฝึกประเภทนี้สามารถกระท�ำได้โดยการวิ่งจับเวลาไม่ต�่ำกว่า 20 นาที หรือการฝึกซ้อมทักษะ
ทีใ่ ช้ออกซิเจนและไม่เกิดการเมือ่ ยล้ามากต่อเนือ่ งกันเป็นเวลานาน หรือการฝึกโดยวิธยี กน�ำ้ หนัก แต่จะใช้
ความหนักประมาณ 30-50% ของขีดความสามารถสูงสุดที่สามารถกระท�ำได้ โดยการฝึกแบบนี้
จะฝึกประมาณ 4-5 ยก ยกละ 20-30 ครั้ง

ก�ำลัง (ความแข็งแรงแบบเร็ว Strength speed = power)


การฝึ ก พละก�ำลั ง ของกล้ า มเนื้ อ เป็ น การฝึ ก ที่ มี ค วามแข็ ง แรงและความเร็ ว ร่ ว มกั น
เพือ่ ให้รา่ งกายมีขดี ความสามารถในการใช้กล้ามเนือ้ ทีม่ ปี ระสิทธิภาพด้านพละก�ำลังเพือ่ การแข่งขัน
และกีฬาวอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่มีความจ�ำเป็นที่จะต้องใช้พละก�ำลังมาก โดยการใช้พละก�ำลังถึง
10% ของคุณภาพกล้ามเนื้อจาก 25% จากตารางวิเคราะห์การแข่งขันนักกีฬาระดับอายุ 19 ปี
จนถึงนักกีฬาทีมชาติ โดยในการฝึกแบบนี้มีหลายวิธีด้วยกัน แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงการฝึกประเภทลู่
โดยการวิง่ 200-400 เมตร และการฝึกโดยวิธกี ารยกน�ำ้ หนักแต่จะใช้ความหนักประมาณ 75-90%
ของขีดความสามารถสูงสุดที่สามารถกระท�ำได้โดยในการฝึกแบบนี้จะฝึกประมาณ 3-5 ยก
ยกละ 3-5 ครั้ง แต่ต้องยกด้วยความเร็ว

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 63
ความแข็งแรงสูงสุด (Maximum Strength)
การฝึกความแข็งแรงเป็นสิ่งที่จ�ำเป็นส�ำหรับกีฬาวอลเลย์บอลเป็นอย่างมาก เนื่องจาก
ธรรมชาติและโครงสร้างของการแข่งขันมีความต้องการทางด้านคุณภาพของกล้ามเนื้อในส่วนของ
ความแข็งแรงเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นจากตารางทีไ่ ด้แสดงไว้ในตารางการวิเคราะห์การแข่งขันนักกีฬา
ในอายุระดับ 19 ปี จนถึงนักกีฬาทีมชาติ ได้ใช้ความแข็งแรงสูงสุดถึง 7% ในการใช้คุณภาพของ
กล้ามเนื้อจาก 25% ในการแข่งขันทั้งหมด โดยการฝึกซ้อมความแข็งแรงสูงสุดนั้นจะท�ำการฝึกโดย
วิธยี กน�ำ้ หนัก โดยใช้ความหนักประมาณ 85-100% ของขีดความสามารถสูงสุดทีส่ ามารถกระท�ำได้
โดยในการฝึกแบบนี้จะท�ำประมาณ 3-5 ยก ยกละประมาณ 1-5 ครั้ง
ความแข็งแรงในที่นี้แบ่งเป็น 3 ประเภท
- ความแข็งแรงสูงสุด
- พลังกล้ามเนื้อ (ความแข็งแรงแบบความเร็ว)
- ความทนทานของกล้ามเนื้อ
การพัฒนาความแข็งแรง
- ใช้น�้ำหนักหรือใช้แรงต้าน
- ใช้จ�ำนวนครั้งในการฝึก
- ใช้จ�ำนวนชุดของการฝึก (จ�ำนวนเซต)
การเพิ่มขีดความสามารถของความแข็งแรง
การเพิ่มขีดความสามารถของนักกีฬานั้น นักกีฬาควรที่จะท�ำการฝึก 2-3 ครั้ง/สัปดาห์
อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ โค้ชสามารถท�ำการเพิ่มขีดความสามารถของนักกีฬาโดย
1. ฝึกโดยวิธีการเพิ่มความเข้มข้น โดยการเพิ่มน�้ำหนักเกิน 100-105% ของขีดความสามารถ
สูงสุดที่กระท�ำได้ แต่ให้คงจ�ำนวนชุด (เซต) ของการฝึกไว้
2. ฝึกโดยวิธกี ารเพิม่ ความเข้มข้น โดยการเพิม่ จ�ำนวนชุด (เซต) ของการฝึกแต่ให้คงความหนัก
ของน�้ำหนัก 70-90% ของขีดความสามารถสูงสุดที่กระท�ำได้ของการฝึกไว้
3. ฝึกโดยวิธกี ารเพิม่ ความเข้มข้น โดยการเพิม่ จ�ำนวนครัง้ ทีส่ ามารถกระท�ำได้ของการฝึก
แต่ให้คงความหนักของน�้ำหนัก 70-90% ของขีดความสามารถสูงสุดที่กระท�ำได้ของการฝึกไว้
การพัฒนาความแข็งแรงสามารถกระท�ำได้โดย
- ความแข็งแรงสูงสุด ฝึกโดยให้งานหนักมากแต่จ�ำนวนครั้งน้อย
- ความแข็งแรงแบบความเร็วฉับพลัน ฝึกโดยให้งานหนักปานกลาง แต่การปฏิบตั ติ อ้ งเร็วทีส่ ดุ
- ความทนทานของกล้ามเนื้อ ฝึกโดยให้งานเบา แต่จ�ำนวนครั้งมาก

64 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
ความคล่องตัว (Agility)
ความสามารถของนักกีฬาในด้านความคล่องตัวนั้น มีความจ�ำเป็นมากที่เกี่ยวข้องใน
การเคลื่อนไหวเพื่อใช้ทักษะอย่างรวดเร็ว เนื่องจากกีฬาวอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่มีความเร็วของ
ลูกบอลสูงมาก นักกีฬามีความจ�ำเป็นที่จะต้องมีความคล่องตัวที่จะเคลื่อนที่ไปเล่นกับลูกบอล
อย่างรวดเร็วและแม่นย�ำ โดยในส่วนของความคล่องตัวนี้จะใช้ถึง 7% ของขีดความสามารถใน
การใช้เทคนิคและแทคติคในการเล่นจาก 60% ในการแข่งขันนักกีฬาในอายุระดับ 19 ปี จนถึง
นักกีฬาทีมชาติ ในทีน่ กี้ ารฝึกความคล่องตัวจะท�ำการฝึกซ้อมโดยการเปลีย่ นแปลงท่าทางอย่างรวดเร็ว
ในการเคลื่อนไหว มีการฝึกทั้งในด้านเทคนิคในทักษะกีฬาวอลเลย์บอลและการฝึกการเคลื่อนไหว
เฉพาะทางโดยจะท�ำการฝึกอยู่ในช่วง 10-20 วินาที และท�ำการพักเป็น 5 เท่าของการฝึก

ความเร็ว (Speed)
กีฬาวอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่มีความต้องการคุณภาพของกล้ามเนื้อในด้านความเร็ว
อยูม่ ากเช่นกัน ความเร็วของกล้ามเนือ้ จะส่งผลต่อการมีความคล่องตัวในการเล่นและการมีปฏิกริ ยิ า
ตอบสนองที่ดี ด้วยเช่นกัน โดยในการฝึกความเร็วของกล้ามเนื้อนั้นสามารถฝึกได้ในประเภทลู่
โดยการวิ่ง 20 เมตร 30 เมตร 50 เมตร 100 เมตร และสามารถฝึกได้โดยการยกน�้ำหนักซึ่งจะใช้
ความหนักในการฝึก 50% ของขีดความสามารถสูงสุดที่สามารถกระท�ำได้โดยท�ำการฝึก 3-5 ยก
ยกละ ประมาณ 10-16 ครั้ง

ความอ่อนตัว (Flexibility)
ความอ่อนตัวเป็นสิง่ ทีจ่ �ำเป็นในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลเช่นกัน เนือ่ งจากกีฬาวอลเลย์บอล
เป็นกีฬาที่มีการเคลื่อนไหวหลายทิศทาง ทั้งด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง และข้างบน ดังนั้น
นักกีฬาวอลเลย์บอลจึงมีความจ�ำเป็นต้องมีความอ่อนตัวที่ดีในการที่จะใช้กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ
ประสานกันเป็นอย่างดี เพื่อที่จะเล่นลูกบอลอย่างมีประสิทธิภาพ ความอ่อนตัวนี้ในการแข่งขัน
มีความจ�ำเป็นที่จะใช้ถึง 3% ของคุณภาพของกล้ามเนื้อจาก 25% ในการแข่งขันในระดับ 19 ปี
จนถึงนักกีฬาทีมชาติ จากตารางที่แสดงการฝึกความอ่อนตัวสามารถกระท�ำได้โดยการฝึกยืดเหยียด
กล้ามเนื้อก่อนและหลังการฝึกซ้อมโดยวิธีการจับคู่หรือฝึกคนเดียว และอาจใช้การฝึกโดยน�้ำหนัก
ช่วยได้แต่ไม่ได้ฝึกโดยวิธีการยกน�้ำหนัก หากเพียงใช้น�้ำหนักช่วยในการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
ส่วนต่างๆ

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 65
กล้ามเนื้อเฉพาะชนิดกีฬาวอลเลย์บอล
กี ฬ าวอลเลย์ บ อลเป็ น กี ฬ าที่ มี ค วามจ�ำเป็ น ที่ จ ะต้ อ งใช้ คุ ณ ภาพของกล้ า มเนื้ อ ที่ ดี
ในหลายๆ ส่วน ดังนี้ ตามรูปที่แสดง
- ข้อเท้า
- น่องขาส่วนล่าง
- เข่า/ต้นขาด้านหน้าและต้นขาด้านหลัง
- ท้องและหลัง
- หัวไหล่
- ท่อนแขนด้านล่าง
- ท่อนแขนด้านบน
- ข้อมือ

66 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับกีฬาวอลเลย์บอล
การเตรียมตัวเข้าสู่การกระโดดตบ ช่วงที่ 1

การเตรียมตัวเข้าสู่การกระโดดตบ ช่วงที่ 2

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 67
การเตรียมตัวเข้าสู่การกระโดดตบ ช่วงที่ 3

การเตรียมตัวเข้าสู่การกระโดดตบ ช่วงที่ 4

68 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
การเตรียมตัวเข้าสู่การกระโดดตบ ช่วงที่ 5

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 69
การเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านร่างกายด้วยวิธีการฝึกด้วยน�้ำหนัก

การฝึกซ้อมเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายด้วยวิธีการฝึกด้วยน�้ำหนักนั้น เป็นการฝึก
ที่เห็นผลได้รวดเร็วถึงขีดความสามารถของคุณภาพของกล้ามเนื้อของนักกีฬา หากแต่การฝึก
ด้วยน�้ำหนักนั้นไม่สามารถที่จะเร่งให้นักกีฬามีขีดความสามารถในการยกน�้ำหนักที่มากมาย
ในระยะเวลาอันสั้น หากแต่จ�ำเป็นที่จะต้องรอคอยเวลาที่นักกีฬามีความสามารถเพิ่มขึ้นเป็น
ล�ำดับจากการฝึกในแต่ละสัปดาห์ โดยทั่วไปหากท�ำการฝึกด้วยน�้ำหนัก 3 ครั้งใน 1 สัปดาห์
หากนักกีฬาท�ำการฝึกอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ จึงจะสามารถเพิ่มน�้ำหนักให้นักกีฬาได้
ซึ่งก็แล้วแต่ความแข็งแรงของร่างกายนักกีฬาเฉพาะส่วนของกล้ามเนื้อของนักกีฬาด้วยเช่นกัน
ส�ำหรับการเพิม่ ความหนักหรือความเข้มข้นโดยการเพิม่ นำ�้ หนักในการฝึกแล้วนัน้ หากเป็นกล้ามเนือ้
มัดใหญ่ๆ ของร่างกายสามารถเพิ่มได้ครั้งละ 5-10 กิโลกรัม เช่น การฝึกส�ำหรับกล้ามเนื้อต้นขา
หากแต่เป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ ก็ไม่สามารถเพิ่มน�้ำหนักได้มาก เช่น กล้ามเนื้อแขน เป็นต้น
หลักการฝึกด้วยน�้ำหนักนั้นก่อนที่จะท�ำการฝึกนักกีฬาในท่าทางการฝึกต่างๆ ได้นั้น
โค้ชจ�ำเป็นที่จะต้องทดสอบขีดความสามารถสูงสุดของนักกีฬาก่อน โดยวิธีหาค่าขีดความสามารถ
สูงสุด แบบการยก 1 ครั้ง (1 RM) ในทุกๆ ท่าที่จะท�ำการฝึกนักกีฬา หลังจากนั้นโค้ชก็น�ำค่าที่ได้
ในแต่ ล ะคนไปท�ำการค�ำนวณหาค่ า เพื่ อ ก�ำหนดความหนั ก (ความเข้ ม ข้ น ในการฝึ ก ต่ อ ไป)
ตามวัตถุประสงค์ของการฝึกในแต่ละช่วงเวลาดังนี้
1. ช่วงการเตรียมทีมช่วงที่ 1
เป็นการฝึกด้วยน�้ำหนัก 2 แบบ
a. การฝึ ก เพื่ อ เสริ ม สร้ า งสมรรถภาพทั่ ว ไป โดยฝึ ก ที่ ค วามหนั ก 30-50% ของ
ขีดความสามารถสูงสุด โดยท�ำการฝึกในช่วงเดือนแรกๆ
b. เป็ น การฝึ ก ความแข็ ง แรงสู ง สุ ด ของร่ า งกาย โดยฝึ ก ที่ ค วามหนั ก 70-90%
ของขีดความสามารถสูงสุด โดยท�ำการฝึกในช่วงที่ร่างกายนักกีฬามีความพร้อมที่จะฝึกได้แล้ว
ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ในช่วงเดือนแรก และจะท�ำการเพิ่มความหนักขึ้นไปเรื่อยๆ หลังจากฝึกไปแล้ว
6-8 สัปดาห์ (การฝึกจะต้องฝึกอย่างน้อย 2-3 ครั้ง/สัปดาห์) โดยทั่วไปหากเป็นการวางแผน
การฝึกซ้อมเป็น 1 ปี แล้วการฝึกในช่วงนี้จะมีระยะเวลาประมาณ 5-6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดี
ในการพัฒนาความแข็งแรงของนักกีฬา

70 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
2. ช่วงการเตรียมทีมช่วงที่ 2
การฝึกซ้อมด้วยน�้ำหนักในช่วงนี้จะเป็นความแข็งแรงแบบเร็ว (พละก�ำลัง) เนื่องจาก
ช่วงนี้เป็นช่วงที่ร่างกายมีความต้องการกล้ามเนื้อที่มีความแข็งแรงและความรวดเร็ว เพราะเป็น
การฝึกซ้อมที่เน้นหนักไปในด้านการพัฒนาเทคนิคและยุทธวิธีการเล่นมากและในการใช้เทคนิค
เหล่านี้เองเป็นช่วงที่ร่างกายต้องการกล้ามเนื้อที่มีคุณภาพทางด้านความเร็วมาก

3. ช่วงการเตรียมทีมช่วงแข่งขัน
การฝึกซ้อมด้วยนำ�้ หนักในช่วงนี้ เป็นการฝึกเพือ่ รักษาสภาพของความแข็งแรงทัง้ แบบสูงสุด
และแบบความเร็วเอาไว้ แต่ปริมาณและความเข้มข้นควรที่จะลดลงตามมาด้วย

4. ช่วงการพักฟื้น
การฝึ ก ซ้ อ มด้ ว ยน�้ ำ หนั ก ในช่ ว งนี้ เ ป็ น การฝึ ก เพื่ อ ปรั บ สภาพของความแข็ ง แรง
หลังจากได้ผ่านการแข่งขันมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยการฝึกจะเป็นไปในรูปแบบเพื่อฟื้นฟู
ความแข็งแรงและพัฒนาไปเป็นการฝึกแบบความแข็งแรงสูงสุด

ใช้ออกซิเจน

ไม่ใช้ออกซิเจน

ความแข็งแรง

ยุทธวิธี

ทักษะ

พัก เตรียมตัวช่วงที่ 1 เตรียมตัว ช่วงแข่งขัน


ช่วงที่ 2

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 71
การฝึกซ้อมด้วยวิธกี ารยกน�ำ้ หนักนัน้ เป็นการพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนือ้ แบ่งเป็น
3 ประเภท ดังนี้
• ความแข็งแรงสูงสุด
• พลังกล้ามเนื้อ (ความแข็งแรงแบบความเร็ว)
• ความทนทานของกล้ามเนื้อ
หลักในการพัฒนาความแข็งแรง
• ใช้น�้ำหนักหรือใช้แรงต้าน
• ใช้จ�ำนวนครั้งในการฝึก
• ใช้จ�ำนวนชุดของการฝึก (จ�ำนวนเซต)

การเพิ่มขีดความสามารถของความแข็งแรง
การเพิ่มขีดความสามารถของนักกีฬานั้น นักกีฬาควรที่จะท�ำการฝึก 2-3 ครั้ง/สัปดาห์
อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ โค้ชสามารถท�ำการเพิ่มขีดความสามารถของนักกีฬาโดย
1. ฝึกโดยวิธีการเพิ่มความเข้มข้น โดยการเพิ่มน�้ำหนักเกิน 100-105% ของขีดความสามารถ
สูงสุดที่กระท�ำได้แต่ให้คงจ�ำนวนชุด (เซต) ของการฝึกไว้
2. ฝึกโดยวิธกี ารเพิม่ ความเข้มข้น โดยการเพิม่ จ�ำนวนชุด (เซต) ของการฝึก แต่ให้คงความหนัก
ของน�้ำหนัก 70-90% ของขีดความสามารถสูงสุดที่กระท�ำได้ของการฝึกไว้
3. ฝึกโดยวิธีการเพิ่มความเข้มข้น โดยการเพิ่มจ�ำนวนครั้งที่สามารถกระท�ำได้ของการฝึก
แต่ให้คงความหนักของน�้ำหนัก 70-90% ของขีดความสามารถสูงสุดที่กระท�ำได้ของการฝึกไว้
การพัฒนาความแข็งแรงสามารถกระท�ำได้โดย
• ความแข็งแรงสูงสุด ฝึกโดยให้งานหนักมาก แต่จ�ำนวนครั้งน้อย
• ความแข็งแรงแบบความเร็วฉับพลัน ฝึกโดยให้งานหนักปานกลาง แต่การปฏิบตั ติ อ้ งเร็วทีส่ ดุ
• ความทนทานของกล้ามเนื้อ ฝึกโดยให้งานเบา แต่จ�ำนวนครั้งมาก

72 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
ตัวอย่างการฝึกด้วยวิธียกน�้ำหนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ปี ค.ศ. 2002 ช่วงที่ 1
การฝึก 5/13/200 ซ้อม จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์
LEG SET, REP, LOAD SET, REP, LOAD SET, REP, LOAD SET, REP, LOAD SET, REP,LOAD
FULL SQUAT 12/50x3, 60x2 12/50x3, 60x2 12/50x3, 60x2
HALF SQUAT 13/70x2, 80x2 13/70x2, 80x2 13/70x2, 80x2
LEG PRESS 1/4 Set 1/4 Set 1/4 Set
SINGLE LEG EXTENSION 15/4 Set 15/4 Set 15/4 Set
LEG EXTENSION 4/4 Set 4/4 Set 4/4 Set
LEG CURL 3/4 Set 3/4 Set 3/4 Set
CALF RAISE 14/80X30, 90X2 14/80x30, 90x2 14/80x30, 90x2
SINGLE LEG PRESS 6/30 Kgx8 Repx3Set
STEP UP 6/10 Kgx8 Repx3 Set 6/10 Kgx8 Repx3 Set
LUNG SIDE 9/20 Kgx10 Repx4 Set 9/20 Kgx10 Repx4 Set
LUNG FRONT 9/20Kgx10 Repx4Set
OUT THIGH T T T
INNER THIGH T T
SHOULDER
BUTTERFLY 11/15, 20, 25, 30 11/15, 20, 25, 30
BLOCK PRESS 2/10x4 2/10x4 2/10x4
UP RIGHT ROW 5/6, 7, 8, 9 Kg 4 Set 5/6, 7, 8, 9 Kg 4 Set 5/6, 7, 8, 9 Kg 4 Set
DIPPING 10/10, 15, 20, 25 Kg 10/10, 15, 20, 25 Kg 10/10, 15, 20, 25 Kg
LATERAL RAISE 11/4 Kgx2 /5 Kg x 2 11/14 Kgx2/5 Kg x 211/14 Kgx2/5 Kg x 2
STATIC DUMBELL 10
ON THE BENCE 10/2.5x10x2, 3x2 10/2.5x10x2, 3x2
EXTERNAL RATAT. ***** ***** *****
DUMBELL ROW 5/6, 7, 8, 9 Kg 5/6, 7, 8, 9 Kg
SUPRASPINATUS THRUM
UP T T T
DOWN T T
ABDORMINAL
CRUNCH 7/20x2 7/20x2 7/20x2
TWISTING CRUNCH 7/20x2 7/20x2 7/20x2
REVERS SIT UP T/20x2 T/20x2
LEG RAISE 4/30x2 4/30x2
LATERAL ROTATION T T T T T
CHEST BACK ARMS
BENCH PRESS 1/15, 20, 25, 30 1/15, 20, 25, 30
อก/หลัง/แขน 2/10, 15, 20, 25 2/10, 15, 20, 25
LAT PULL DOWN 3/20, 25, 30, 35 3/20, 25, 30, 35
BACK EXTENSION 8/20x4 8/2.5, 3, 4, 5 8/20x4 8/2.5, 3, 4, 5 8/20x4
SPIKING PRESS ***** *****
TRICEPT EXT. 7/6, 7, 8, 9 6/5, 6, 7, 8
PULL OVER 9/9, 10, 11, 12 9/8, 9, 10, 10
WRISE CURL 12/20, 25, 30x2 12/20 Kgx4

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 73
ตัวอย่างการฝึกด้วยวิธียกน�้ำหนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ปี ค.ศ. 2002 ช่วงที่ 2
การฝึก 5/13/200 ซ้อม จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์
LEG SET, REP, LOAD SET, REP, LOAD SET, REP, LOAD SET, REP, LOAD SET, REP, LOAD
HALF SQUAT 13/60x2, 80x2 13/60x3, 70x3, 80X2 13/70x2, 80x2
LEG PRESS 1/4 Set 1/4 Set 1/4 Set
SINGLE LEG EXTENSION 15/4 Set 15/4 Set 15/4 Set
LEG EXTENSION 4/4 Set 4/4 Set 4/4 Set
LEG CURL 3/4 Set 3/4 Set 3/4 Set
CALF RAISE 14/80X2, 90X2, 100X1 14/80X2, 90X2, 100X1 14/80X2,90X2, 100X1
SINGLE LEG PRESS 6/30 Kgx8 Repx3Set
STEP UP 6/10 Kgx8 Repx3 Set 6/10 Kgx8 Repx3 Set
LUNG SIDE 9/20 Kgx10 Repx4 Set 9/20 Kgx10 Repx4 Set
LUNG FRONT 9/20Kgx10 Repx4Set
OUT THIGH T T T
INNER THIGH T T
SHOULDER
BUTTERFLY 11/15, 20, 25, 30 11/15, 20, 25, 30
BLOCK PRESS 2/10x4 2/10x42/10x4
UP RIGHT ROW 5/6, 7, 8, 9 Kg 4 Set 5/6, 7, 8, 9 Kg 4 Set 5/6, 7, 8, 9 Kg 4 Set
DIPPING 10/10, 15, 20, 25 Kg 10/10, 15, 20, 25 Kg 10/10, 15, 20, 25 Kg
LATERAL RAISE 11/4 Kgx2/5 Kg x 2 11/14 Kgx2/5 Kg x 2 11/14 Kgx2 / 5 Kg x 2
STATIC DUMBELL 10
ON THE BENCE 10/2.5x10x2, 3x2 10/2.5x10x2, 3x2
EXTERNAL RATAT. ***** ***** *****
DUMBELL ROW 5/6, 7, 8, 9 Kg 5/6, 7, 8, 9 Kg
SUPRASPINATUS THRUM
UP T T T
DOWN T T
ABDORMINAL
CRUNCH 7/20x2 7/20x2 7/20x2
TWISTING CRUNCH 7/20x2 7/20x2 7/20x2
REVERS SIT UP T/20x2 T/20x2
LEG RAISE 4/30x2 4/30x2
LATERAL ROTATION T T T T T
CHEST BACK ARMS
BENCH PRESS 1/15, 20, 25, 30 1/15, 20, 25, 30
INCLINE PRESS 2/10, 15, 20, 25 2/10, 15, 20, 25
LAT PULL DOWN 3/20, 25, 30, 35 3/20, 25, 30, 35
BACK EXTENSION 8/20x4 8/2.5, 3, 4, 5 8/20x4 8/2.5, 3, 4, 5 8/20x4
SPIKING PRESS ***** *****
TRICEPT EXT. 7/6, 7, 8, 9 7/6, 7, 8, 9
BICEPT CURL 6/6, 7, 8, 9 6/5, 7, 8, 9
PULL OVER 9/9, 10, 11, 12 9/8, 9, 10, 10
WRISE CURL 12/20, 25, 30x2 12/20 Kgx4

74 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
ตัวอย่างการฝึกด้วยวิธียกน�้ำหนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ปี ค.ศ. 2002 ช่วงที่ 3
การฝึก 5/13/200 ซ้อม จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์
LEG SET, REP, LOAD SET, REP, LOAD SET, REP, LOAD SET, REP, LOAD SET, REP,LOAD
HALF SQUAT 13/50x3, 60x2 13/50x3, 60x2 13/50x3, 60x2
LEG PRESS 1/4 Set 1/4 Set 1/4 Set
SINGLE LEG EXTENSION 15/4 Set 15/4 Set 15/4 Set
LEG EXTENSION 4/4 Set 4/4 Set 4/4 Set
LEG CURL 3/4 Set 3/4 Set 3/4 Set
CALF RAISE 14/80X2, 90X2, 100X1 14/80X2, 90X2, 100X1 14/80X2, 90X2, 100X1
SINGLE LEG PRESS 6/30 Kgx8 Repx3 Set
STEP UP 6/10 Kgx8 Repx3 Set 6/10 Kgx8 Repx3 Set
LUNG SIDE 9/20 Kgx10 Repx4 Set 9/20 Kgx10 Repx4 Set
LUNG FRONT 9/20 Kgx10 Repx4 Set
OUT THIGH T T T
INNER THIGH T T
SHOULDER
BUTTERFLY 11/15, 20, 25, 30 11/15, 20, 25, 30
BLOCK PRESS 2/10x4 2/10x4 2/10x4
UP RIGHT ROW 5/6, 7, 8, 9 Kg 4 Set 5/6, 7, 8, 9 Kg 4 Set 5/6, 7, 8, 9 Kg 4 Set
DIPPING 10/10, 15, 20, 25 Kg 10/10, 15, 20, 25 Kg 10/10, 15, 20, 25 Kg
LATERAL RAISE 11/4 Kg x2 / 5 Kg x 2 11/14 Kgx2/5 Kg x 2 11/14 Kgx2/5 Kg x 2
STATIC DUMBELL 10
ON THE BENCE 10/2.5x10x2, 3x2 10/2.5x10x2, 3x2
EXTERNAL RATAT. ***** ***** *****
DUMBELL ROW 5/6, 7, 8, 9 Kg 5/6, 7, 8, 9 Kg
SUPRASPINATUS THRUM
UP T T T
DOWN T T
ABDORMINAL
CRUNCH 7/20x2 7/20x2 7/20x2
TWISTING CRUNCH 7/20x2 7/20x2 7/20x2
REVERS SIT UP T/20x2 T/20x2
LEG RAISE 4/30x2 4/30x2
LATERAL ROTATION T T T T T
CHEST BACK ARMS
BENCH PRESS 1/15, 20, 25, 30 1/15, 20, 25, 30
INCLINE PRESS 2/10, 15, 20, 25 2/10, 15, 20, 25
LAT PULL DOWN 3/20, 25, 30, 35 3/20, 25, 30, 35
BACK EXTENSIO 8/20x4 8/2.5, 3, 4, 5 8/20x4 8/2.5, 3, 4, 5 8/20x4
SPIKING PRESS ***** *****
TRICEPT EXT. 7/6, 7, 8, 9 7/6, 7, 8, 9
BICEPT CURL 6/6, 7, 8, 9 6/5, 7, 8, 9
PULL OVER 9/9, 10, 11, 12 9/8, 9, 10, 10
WRISE CURL 12/20, 25, 30x2 12/20 Kgx4

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 75
การฝึกซ้อมด้วยการยกน�้ำหนัก วันจันทร์ พุธ ศุกร์
ขา/หัวไหล่/ท้อง LEGS / SHOULDER / ABDORMINAL

ท่าที่ 1 ท่าที่ 2

ท่าที่ 3

ท่าที่ 4

ท่าที่ 5
ท่าที่ 6

ท่าที่ 7 ท่าที่ 8
76 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
ท่าที่ 9 ท่าที่ 10

ท่าที่ 12
ท่าที่ 11

ท่าที่ 13 ท่าที่ 14

ท่าที่ 15

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 77
การฝึกซ้อมด้วยการยกน้ำ�หนัก วันอังคารและพฤหัสบดี
กล้ามเนื้อหน้าอก/หลัง/แขน CHEST / BACK / ARMS

ท่าที่ 1 ท่าที่ 2

ท่าที่ 3 ท่าที่ 4

ท่าที่ 5 ท่าที่ 6

ท่าที่ 7 ท่าที่ 8

78 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
ท่าที่ 9 ท่าที่ 10

ท่าที่ 11 ท่าที่ 12

ท่าที่ 13 ท่าที่ 14

ท่าที่ 15 ท่าที่ 16

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 79
ตัวอย่างการฝึกซ้อมการยกน้ำ�หนักด้วยท่าทางที่ถูกต้องและท่าทางที่ไม่ถูกต้อง

ตัวอย่างการแบกด้วยท่าที่ถูกต้อง

ตัวอย่างการแบกด้วยท่าที่ผิด

80 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
EXECUTION OF THE MOVEMENT
ตัวอย่างการแบกด้วยท่าที่ถูกต้อง

ตัวอย่างการแบกด้วยท่าที่ผิด

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 81
ข้อแนะน�ำการฝึกซ้อมด้วยการยกน�้ำหนัก
การฝึกซ้อมด้วยวิธกี ารยกน�ำ้ หนักนัน้ เป็นการฝึกเพือ่ เสริมสร้างความแข็งแรงของนักกีฬา
จ�ำเป็นทีจ่ ะต้องมีการใช้นำ�้ หนักเพือ่ เพิม่ ขีดความสามารถในการกระท�ำการยกน�ำ้ หนักในการพัฒนา
คุณภาพกล้ามเนื้อของนักกีฬาให้มีคุณภาพสูงสุดตามที่เกมการแข่งขันต้องการ ฉะนั้น โค้ชควรให้
ความส�ำคัญในการฝึกด้วยการยกน�้ำหนักมากๆ การฝึกการยกน�้ำหนักนั้นเป็นการฝืนแรงต้านและ
เป็นการกระท�ำการเคลือ่ นไหวในลักษณะต่างๆ ด้วยท่าทางการฝึกทีม่ คี วามจ�ำเป็นต่อการเล่นกีฬา
วอลเลย์บอล โค้ชควรที่จะควบคุมดูแลการฝึกการยกน�้ำหนักอย่างใกล้ชิดดังนี้
1. โค้ชจ�ำเป็นที่จะต้องให้ความรู้ถึงประโยชน์ด้วยการฝึกการยกน�้ำหนัก
2. โค้ชควรที่จะสอนการจัดท่าทางการเล่นที่ถูกต้อง
3. นักกีฬาควรจะมีความตั้งใจในการฝึกซ้อมด้วยวิธีการยกน�้ำหนัก ไม่หยอกล้อกันหรือ
คุยกันในเวลาฝึกซ้อม
4. นักกีฬาต้องมีความเอาจริงเอาจังในการฝึกซ้อมการยกน�้ำหนักเพื่อที่จะพัฒนา
ขีดความสามารถของตนเองให้ดีขึ้นๆ ไป
5. โค้ ช ควรที่ ห มั่ น ดู แ ลการฝึ ก ซ้ อ มของนั ก กี ฬ าอย่ า งละเอี ย ดและคอยแนะน�ำ
การปฏิบัติท่าทางที่ถูกต้อง
6. สร้างจินตภาพในการฝึกยกน�้ำหนักด้วยการนึกถึงเป้าหมายที่จะเป็นแชมป์หรือต้องการ
ที่จะชนะคู่แข่งขันในการที่จะฝึกซ้อม
7. ท�ำการฝึกซ้อมตามหลักการและวิธีการฝึก โดยค�ำนึงถึงหลักการ 3 ประการ คือ
หลักของการฝึกเกินปกติ หลักการการผกผัน และหลักการการฝึกเฉพาะประเภทและค�ำนึงถึง
ปริมาณความเข้มข้น การพักระหว่างยก จ�ำนวนเซต
8. ก่อนและหลังที่จะท�ำการฝึกซ้อมด้วยวิธียกน�้ำหนักควรที่จะท�ำการอบอุ่นร่างกายทุกครั้ง
ให้มีความพร้อมที่จะท�ำการฝึกและเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ

82 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate

บ ทที่ 5
วิทยาศาสตร์การกีฬาและเทคโนโลยีทางการกีฬา
กับการพัฒนานักกีฬาวอลเลย์บอล
ด้วยสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทยได้ตระหนักถึงความสำ�คัญและจำ�เป็น
ของการนำ�เอาวิทยาศาสตร์การกีฬาและเทคโนโลยีทางการกีฬามาใช้พัฒนานักกีฬาวอลเลย์บอล
ทีมชาติไทย สมาคมฯ จึงได้สนับสนุนและส่งเสริมให้องค์กรกีฬาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ
วิทยาศาสตร์การกีฬาและเทคโนโลยีทางการกีฬา ทำ�งานร่วมกับสมาคมฯ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
โดยได้รับความร่วมมือด้วยดีจากหน่วยงานต่างๆ ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิ ท ยาลั ย ต่ า งๆ
ในการจัดนักวิทยาศาสตร์การกีฬามาร่วมพัฒนาทีมวอลเลย์บอล ด้านสรีรวิทยา จิตวิทยาการกีฬา
โภชนาการกีฬา เวชศาสตร์การกีฬา นักกายภาพบำ�บัด หมอนวด โดยหน่วยงานราชการที่ทีมงาน
ผู้ฝึกสอนได้ทำ�แผนงานการฝึกซ้อมและแข่งขันในแต่ละปี เพื่อให้การทำ�งานร่วมกันเป็นไปด้วย
ความเรี ย บร้ อ ยและเกิ ด การพั ฒ นาอย่ า งแท้ จ ริ ง นั ก วิ ท ยาศาสตร์ ก ารกี ฬ าดั ง กล่ า วได้ ป ฏิ บัติง าน
อย่างใกล้ชิดกับทีมกีฬามาโดยตลอดในการงานแผนการฝึกซ้อม และแข่ ง ขั น ร่ ว มกั น ทั้ ง ยั ง ได้
มี ก ารวั ด ผลและประเมิ น ผลการทดสอบร่ า งกายอย่ า งต่ อ เนื่ อ งเป็นประจำ �เพื่อปรับปรุงและ
พัฒนาขีดความสามารถทางด้านร่างกายและจิตใจของนักกีฬาให้สูงขึ้นเพื่อการแข่งขันในระดับ
โลก จากกระบวนการทำ � งานและวิ ธี ก ารทำ � งานของฝ่ า ยวิ ท ยาศาสตร์ ก ารกี ฬ าในทุ ก ด้ า น
ส่ ง ผลให้ ที ม งานผู้ ฝึ ก สอนมี ค วามสามารถฝึ ก ซ้ อ มเพื่ อ พั ฒ นาทั ก ษะและเทคนิ ค ได้ ต าม
แผนที่วางไว้ ทำ�ให้การพัฒนาด้านทักษะและเทคนิคได้ตามแผนที่วางไว้ ทำ�ให้การพัฒนาด้านทักษะ
และเทคนิคดีขนึ้ เป็นลำ�ดับจนทำ�ให้ทมี วอลเลย์บอลมีการพัฒนาอย่างต่อเนือ่ งและสามารถเป็นผูน้ �ำ
ในภู มิ ภ าคอาเซี ย นและอยู่ ใ นอั น ดั บ ต้ น ของเอเชี ย ตลอดจนสามารถเข้ า ไปอยู่ ใ นระดั บ 10
ของการแข่งขันในระดับโลกในทีมวอลเลย์บอลหญิง
ในส่วนของเทคโนโลยีทางการกีฬา สมาคมฯ ได้ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์
ในการทำ�สถิติการแข่งขันในระดับชาติและนานาชาติโดยใช้ระบบ VIS (Volleyball Information
System) ซึ่งเป็นระบบเดียวกันกับสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติใช้วัดและประเมินผลการแข่งขัน
เพื่อทราบทักษะการเล่นในแต่ละทักษะว่าใครจะเป็นนักกีฬายอดเยี่ยมในทักษะต่างๆ เช่น เสิร์ฟ
ตบ สกัดกั้น รับเสิร์ฟ รับตบ เซต รวมทั้งผู้เล่น ที่ทำ�คะแนนสูงสุด ซึ่งเป็นแบบมาตรฐานสากล
ทั้งยังได้จัดอบรมบุคลากรในการใช้ระบบนี้อยู่เป็นประจำ�

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 83
ในส่วนของทีมชาติ ได้ใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลการฝึกซ้อมและการแข่งขันเป็นโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ Data Volleyball system, Data Video, Data Training ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้กัน
อย่างแพร่หลายในระดับโลก โดยทีมงานผู้ฝึกสอนได้น�ำเอาโปรแกรมดังกล่าวมาใช้ในขณะฝึกซ้อม
แข่งขัน และหลังแข่งขัน เพื่อวิเคราะห์ทักษะและขีดความสามารถของทีมตนเองเพื่อน�ำไปวางแผน
ปรับปรุงทักษะและเทคนิคการเล่นของนักกีฬาให้ดขี นึ้ ตามล�ำดับ รวมทัง้ ยังใช้เพือ่ วิเคราะห์คแู่ ข่งขัน
เพือ่ ทราบจุดแข็งและจุดอ่อนของทีมคูแ่ ข่งขัน พร้อมทัง้ ยังน�ำไปวางแผนเพือ่ เอาชนะคูแ่ ข่งขันต่อไป

Data Volleyball system

ใช้วิเคราะห์คู่แข่งขันและทีมตนเองได้ผลอย่างละเอียด สามารถน�ำไปใช้ก่อนการแข่งขัน
ระหว่างการแข่งขันและหลังการแข่งขัน

84 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
Data Trainning

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 85
ใช้ในการวางแผนการฝึกซ้อมในแต่ละช่วงของการเตรียมทีม

86 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
ในส่วนของการน�ำเอาวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้ในการเตรียมทีมนักกีฬาวอลเลย์บอล
• สรีรวิทยา
• จิตวิทยาการกีฬา
• เวชศาสตร์การกีฬา
• ชีวกลศาสตร์กับการกีฬา
• โภชนาการการกีฬา
ด้านสรีรวิทยา
ได้มีการวางแผนการฝึกซ้อมร่วมกับผู้ฝึกสอนโดยมีการปฏิบัติสมรรถภาพทางกายทั่วไป
- ความเร็ว
- พลังกล้ามเนื้อ
- ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- ความอดทนของกล้ามเนื้อ
- ความคล่องแคล่วว่องไวของกล้ามเนื้อ
- ความอ่อนตัว
สมรรถภาพร่างกายพิเศษเฉพาะชนิดกีฬาวอลเลย์บอล
• ข้อเท้า
• น่องขาส่วนล่าง
• เข่า/ต้นขาหน้าและต้นขาหลัง
• ท้องและหลัง
• หัวไหล่
• ท่อนแขนด้านล่าง
มีการฝึกการกระโดด Plyometrics เพื่อพัฒนาการกระโดดของนักกีฬา

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 87
มีการท�ำวิจัยการใช้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องในการกระโดดตบบอล เพื่อฝึกซ้อมสมรรถภาพ
ทางร่างกายในการพัฒนากล้ามเนื้อที่ถูกต้อง

88 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
ด้านจิตวิทยาการกีฬา
การวางแผนการฝึกซ้อมร่วมกับผู้ฝึกสอนโดยมีการปฏิบัติ
• การฝึกจินตภาพ
• การฝึกการลดความวิตกกังวล
• การลดความเครียด
• การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
• การตั้งเป้าหมาย
• การฝึกความมุ่งมั่น
• การผ่อนคลายกล้ามเนือ้ Muscle Relaxation เกร็งกล้ามเนือ้ แล้วผ่อนคลายทีละส่วน
สลับกันไป นอนลงพยายามผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
• การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อขั้นสูง Differential Relaxation ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
ในขณะที่แสดงท่าที่ใช้ในการแข่งขัน
• การฝึกสมาธิ Meditation เพิ่มพลังจิตพลังใจให้มีประสิทธิภาพสูง ให้มีจิตใจที่มั่นคง
ในระหว่างการแข่งขัน
ด้านเวชศาสตร์การกีฬา
การวางแผนการฝึกซ้อมร่วมกับผู้ฝึกสอนโดยมีการปฏิบัติงานการป้องกันการบาดเจ็บ
การรักษาการฟื้นฟูหากมีการบาดเจ็บ
การให้ความร่วมมือระหว่างผู้ที่มีความสามารถต่างกันในด้านต่างๆ จะต้องเข้าใจศาสตร์
แขนงอื่นด้วยและต้องมีความเข้าใจกันเป็นอย่างดีและจะดีมากถ้าทุกคนมีความรู้อย่างกว้างขวาง
ด้านการฝึกซ้อมกีฬาหลากหลายประเภท
มีหลายครัง้ ทีเ่ กิดความไม่เข้าใจกันหรือเกิดความล้มเหลวในการให้ความร่วมมือกันระหว่าง
แพทย์และโค้ชประจ�ำทีมว่าจะต้องท�ำงานร่วมมือกันอย่างไร กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือว่าแพทย์
ไม่ เข้ า ใจวิ ธี ก ารช่ ว ยเหลื อ ของโค้ ช และส่ ว นโค้ ช ก็ ไ ม่ รู ้ วิ ธี ที่ จ ะช่ ว ยเหลื อ แพทย์ ใ นด้ า นต่ า งๆ
ถ้าจะให้ดีก็คือแพทย์จะต้องเข้าใจและรู้เรื่องงานของโค้ชเป็นอย่างดีและโค้ชก็จะต้องเข้าใจงาน
ของแพทย์เป็นอย่างดีด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความรู้ด้านพื้นฐานในด้านต่างๆ ของโค้ชหรือแพทย์
เช่น ด้านสรีรวิทยาหรืออื่นๆ

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 89
แพทย์ไม่เพียงแต่ช่วยเหลือเฉพาะความเจ็บป่วยหรืออาการบาดเจ็บ แต่ควรจะช่วยเหลือ
ด้านต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านร่างกายด้วย
ระหว่างจุดเริ่มต้นจนถึงจุดสูงสุดของการฝึกซ้อม นักกีฬาต้องผ่านขั้นตอนการฝึกหลายๆ
ขั้นตอนและรวมถึงขั้นตอนนี้ด้วย คือ

ขั้นตอนที่แพทย์และโค้ชวางแผนโปรแกรมร่วมกันส�ำหรับการฝึกของนักกีฬา

1. การเลือกนักกีฬา
a. คุณภาพแต่ก�ำ เนิด ความร่วมมือ
b. คุณภาพทางด้านร่างกาย ทางด้านการแพทย์
c. คุณภาพทางจิตใจ
2. ความสามารถทางร่างกาย
a. ระดับของสุขภาพ
b. การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
c. การบ่งบอกด้านสรีระทางด้านร่างกาย

3. กระบวนการการวางแผน
ของการเตรียมพร้อม

กระบวนการการพักฟืน้
a. การพัก
4. การฝึกซ้อม b. กายภาพบำ�บัด

อุบตั เิ หตุ การเจ็บป่วย


5. รูปแบบทางด้านทีมกีฬา

การตรวจโรควินจิ ฉัย
6. การแข่งขัน การรักษา
การฟืน้ ฟู

90 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
หากเกิดการบาดเจ็บ แพทย์จ�ำเป็นที่จะต้องหาสาเหตุการบาดเจ็บทางการกีฬา
1. การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาโดยตรง
- สาเหตุภายใน
- การบาดเจ็บจากการกระท�ำของนักกีฬาเอง
- สาเหตุภายนอก
- แรงกระท�ำจากภายนอก/ปะทะจากคู่แข่ง/อุปกรณ์
2. บาดเจ็บเดิม (เรื้อรัง)
3. ความผิดปรกติทางร่างกายที่เป็นอุปสรรคในการเล่นกีฬา (พยาธิสภาพ)
การบาดเจ็บทางการกีฬา
ซ้อมนานเกินไป สภาพร่างกายไม่พร้อมคู่แข่งขันไม่ดี
เกิดอุบัติเหตุระหว่างการแข่งขัน
บาดเจ็บมากหรือน้อย ความรุนแรง กลไกของการเคลื่อนไหว
อาการที่พบ
ปวดบวม/กดแล้วเจ็บ/เขียวช�้ำ/เสียวบริเวณรอบๆ
4. การปฐมพยาบาล 24-72 ชั่วโมงแรก
ใช้หลัก P.R.I.C.E., Prevention ป้องกันเจ็บมากกว่าเดิม Rest พักการเล่น Ice ใช้ความเย็น
Compression ยึดพันให้แน่น Elevation ยกให้สูงกว่าระดับหัวใจ
การท�ำการฟื้นฟูหลังจากบาดเจ็บ
โดยนักกายภาพบ�ำบัดและหมอนวด ได้ท�ำงานต่อเนื่องจากความเห็นของแพทย์ในการ
ท�ำการฟื้นฟูตามโปรแกรมและร่วมมือกับผู้ฝึกสอนเพื่อท�ำให้นักกีฬาสามารถหายจากการบาดเจ็บ
และสามารถกลับไปฝึกซ้อมตามแผนการซ้อมต่อไป
ด้านชีวกลศาสตร์กับการกีฬา (Biomechanics)
การวางแผนท�ำวิจัยการกระโดดเสิร์ฟ ร่วมกับผู้ฝึกสอนโดยมีการปฏิบัติงานวิเคราะห์
กลไกการเคลื่อนไหวของร่างกายมนุษย์ ต�ำแหน่ง/ทิศทาง/ระยะทาง/เวลา/ความเร็ว/ความเร่ง
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของความสามารถของนักกีฬาในการกระโดดเสิร์ฟ และท�ำการแก้ไข
ในการฝึกซ้อมและแข่งขันโดยใช้ความรูท้ างแคลคูลสั /ฟิสกิ ส์ คอมพิวเตอร์/เครือ่ งมือทางเทคโนโลยี
ด้านโภชนาการทางการกีฬา
การวางแผนท�ำงานร่วมกับผู้ฝึกสอนและนักกีฬา โดยความส�ำคัญในการจัดการเรื่อง
โภชนาการ การจัดการเรื่องโภชนาการที่จ�ำเป็นและเหมาะสมกับนักกีฬาในช่วงการเตรียมตัวต่างๆ
การช่วยพัฒนาร่างกายของนักกีฬาโดยได้รับสารอาหารที่จ�ำเป็นและส�ำคัญต่อร่างกาย การให้ความรู้
เรื่องโภชนาการแก่นักกีฬา

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 91
การจัดการเรื่องโภชนาการ
• ช่วงเตรียมตัวช่วงที่ 1 (5-6 เดือน)
• ช่วงเตรียมตัวช่วงที่ 2 (3-4 เดือน)
• ช่วงการแข่งขัน (2-3 เดือน)
การปฏิบัติการจัดการเรื่องโภชนาการ
• ก่อนการฝึกซ้อมและแข่งขัน
• ระหว่างการฝึกซ้อมและแข่งขัน
• หลังการฝึกซ้อมและแข่งขัน
ข้อแนะน�ำอาหารส�ำหรับนักกีฬา
• กินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงและไขมันต�่ำ
• หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานภายใน 1 ชั่วโมง ก่อนฝึกซ้อมและแข่งขัน
• ควรให้เวลาในการย่อยอาหารให้หมดจากกระเพาะอาหาร
• ก่อนการแข่งขัน ควรให้อาหารที่ให้พลังงานพวกคาร์โบไฮเดรต (ย่อยง่าย)
• ระหว่างการฝึกซ้อมและแข่งขันควรให้ดื่มน�้ำให้พอเพียง เพื่อป้องกันการขาดน�้ำท�ำให้
ประสิทธิภาพลดลง
• ระหว่างพักการแข่งขันหากเป็นเกมที่ยาวนานควรให้อาหารและเครื่องดื่มทดแทน
พลังงานที่เสียไป เช่น กล้วย ส้ม น�้ำผลไม้
• หลังแข่งขันมีความจ�ำเป็นอย่างยิ่ง ให้อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงและน�้ำที่สูญเสียไป
ทดแทนเพื่อเตรียมพร้อมในการแข่งขันวันต่อไป

92 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate

บ ทที่ 6
การปฐมพยาบาลการบาดเจ็บจากการกีฬา
การปฐมพยาบาล หมายถึง การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้บาดเจ็บหรือผู้เจ็บป่วยก่อนจะ
ถึงมือแพทย์หรือสถานพยาบาล หรือบางครัง้ การบาดเจ็บนัน้ ไม่รนุ แรงก็อาจไม่ตอ้ งถึงมือแพทย์หรือ
สถานพยาบาลก็ได้ ทัง้ นีเ้ พือ่ ป้องกันหรือลดอันตรายต่อผูบ้ าดเจ็บหรือผูป้ ว่ ยจากการทีอ่ าจเกิดการพิการ
หรือเสียชีวติ ไปอย่างไม่สมควร โดยการใช้เครือ่ งมือทีเ่ ตรียมไว้หรือเครือ่ งมือเท่าทีจ่ ะหาได้ในขณะนั้น
ทัง้ นีก้ ารปฐมพยาบาลทีถ่ กู ต้อง รอบคอบ และเหมาะสม จะท�ำให้ผบู้ าดเจ็บหายจากอาการ
เจ็บป่วยในเวลาอันรวดเร็วและรอดชีวติ ช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา ไม่พกิ าร หรือไม่ได้รบั ความพิการ
เพิม่ ขึน้ นอกจากนีย้ งั ทุเลาจากความเจ็บปวดและทรมานด้วย เรือ่ งการปฐมพยาบาลนีม้ คี วามส�ำคัญ
มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะอุบัติเหตุต่างๆ มีมาก ไม่เพียงเฉพาะแต่การกีฬาเท่านั้น อุบตั เิ หตุอย่างอืน่ ๆ
เราก็ตอ้ งเผชิญอยูเ่ สมอในชีวติ ประจ�ำวัน แต่ถา้ ได้รบั การปฐมพยาบาลบาดเจ็บจากการกีฬาทีด่ ี ปัญหา
เรือ่ งการบาดเจ็บเรือ้ รังหรือประสิทธิภาพในการเล่นกีฬาลดลง ก็จะลดน้อยลงตามไปด้วย

การป้ อ งกั น การบาดเจ็ บ และการปฐมพยาบาลลั ก ษณะต่ า งๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น จาก


การเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ ได้รวบรวมข้อมูลจ�ำนวนการบาดเจ็บในนักกีฬาวอลเลย์บอลไว้ดังนี้
วอลเลย์บอล (Volleyball) ในจ�ำนวนการบาดเจ็บในนักกีฬาวอลเลย์บอล 402 ราย
พบว่า ต�ำแหน่งบาดเจ็บที่มากที่สุด คือ ข้อเข่า พบ 98 ราย (ร้อยละ 24) รองลงมา คือ ข้อเท้า
60 ราย (ร้อยละ 14.9) หลัง 56 ราย (ร้อยละ 13.9) ไหล่ 54 ราย (ร้อยละ 13.4) มือ และนิ้วมือ
38 ราย (ร้อยละ 9.5) และต้นขา ขา ข้อศอก เท้า ฯลฯ ตามล�ำดับ (ดังแผนภูมิ)

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 93
ชนิดของการบาดเจ็บ อัตราของการบาดเจ็บ จำ�นวน
0 20 40 60
หัว, ใบหน้า 1.4 6
คอ 1 4
ไหล่ 13.4 54
แขนท่อนบน 0.9 3
ข้อศอก 2.7 11
แขน 1.2 5
ข้อมือ 4.2 17
มือ, นิ้วมือ 9.5 38
ทรวงอก 0.5 2
หน้าท้อง 0.2 1
หลัง 13.9 56
กระดูกก้นกบ, สะโพก 1.0 4
ต้นขา 5.7 23
เข่า 24.4 98
ขาท่อนล่าง 2.7 11
ข้อเท้า 14.9 60
เท้า, ข้อเท้า 2.2 9
0 20 40 60

แผนภูมิแสดงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายที่บาดเจ็บจากกีฬาวอลเลย์บอล

รอยบุ๋ม
คล�ำพบก้อนเนื้อ ไม่มีรอยช�้ำ

แบบที่ 1 แบบที่ 2 แบบที่ 3

ภาพแสดงให้เห็นจุดที่เกิดการบาดเจ็บ

การปฐมพยาบาลและการรักษา การประคบนำ�้ เย็นหรือใช้ความเย็นทันทีทเี่ กิดการบาดเจ็บ


หยุดการเล่นกีฬา ความเย็นจะท�ำให้เลือดหยุดและลดการบวม ควรประคบวันละ 2 ครั้ง หรือ
มากกว่านั้นได้ตลอด 48 ชั่วโมงแรก ใช้ผ้ายืดพันไว้เพื่อลดการบวมในเวลาต่อมา ห้ามทายาร้อนๆ
และถูนวดเด็ดขาด หลังจาก 48 ชั่วโมงไปแล้ว ค่อยประคบร้อนและนวดเบาๆ ด้วยครีมร้อนๆ
ที่ ส�ำคั ญ คื อ การเริ่ ม บริ ห ารกล้ า มเนื้ อ เบาๆ หลั ง จากการบาดเจ็ บ ประมาณ 3-5 วั น ไปแล้ ว
เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนคือมีแผลเป็นภายในกล้ามเนื้ออันจะน�ำไปสู่การเกิดพังผืด
ท�ำให้การเคลือ่ นไหวและหดยืดตัวของกล้ามเนือ้ แย่ลง มีการเจ็บปวดเรือ้ รังเมือ่ กลับไปเล่นกีฬาใหม่
และมีโอกาสฉีกขาดใหม่ได้อีกง่ายๆ

94 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
ภาวะแทรกซ้อนอืน่ ๆ ทีพ่ บนอกเหนือจากการเกิดแผลเป็น แผลพังผืด ก็มกี ารเกิดกระดูกงอก
ในกล้ามเนื้อ เกิดโพรงถุงน�้ำ เกิดการอักเสบติดเชื้อเป็นหนองจากเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
แต่ทั้ง 3 แบบที่กล่าวมานี้พบได้น้อยกว่าโรคแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อ

การเป็นตะคริว
การเป็นตะคริวเกิดจากกล้ามเนื้อมีอาการเกร็งตัว เนื่องจากความเย็นท�ำให้เลือดไปเลี้ยง
กล้ามเนือ้ บริเวณนัน้ ไม่สะดวก หรือเป็นตะคริวเนือ่ งจากร่างกายเสียเหงือ่ มาก ท�ำให้มกี ารเสียแร่ธาตุ
เกลือแร่ หรือกล้ามเนือ้ นัน้ ท�ำงานหนักจนเกิดภาวะเมือ่ ยล้า อาการทีพ่ บก็คอื มีการหดเกร็งของกล้ามเนือ้
ส่วนใหญ่เป็นที่กล้ามเนื้อขาและกล้ามเนื้อท้อง ขณะเกร็งผู้ป่วยจะรู้สึกปวด ผิวหนังชื้นและเย็น
ตะคริว เป็นการบาดเจ็บกับนักกีฬาที่ไม่สมบูรณ์ หรืออาจมีสาเหตุมาจาก
1. การขาดเลือดไปเลี้ยง เช่น ใช้ถุงเท้ารัดมาก อากาศเย็นจัด
2. การขาดเกลือแร่บางอย่าง เช่น เกลือโซเดียม แคลเซียม โพแทสเซียม สังกะสี
ซึ่งเสียไปกับเหงื่อ
3. จากการถูกกระแทกที่กล้ามเนื้อ
4. การหดตัวของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงจากสาเหตุข้อที่ 1-2 ประกอบ
ตะคริว เมื่อออกก�ำลังกายอย่างเต็มที่ การเปลี่ยนแปลงของเกลือแร่ในเนื้อเยื่อต่างๆ
พบว่ามีสว่ นเกีย่ วข้องกับการเกิดตะคริว เกลือแร่ และอีเล็กโทรไลด์ทมี่ ผี ลกระทบต่อการเกิดตะคริว
ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และเกลือแร่ที่มีปริมาณน้อยบางชนิด
แคลเซี ย ม การควบคุมการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อขึ้นอยู่กับปริมาณของแคลเซียม
ซึง่ สะสมไว้ในเซลล์ของกล้ามเนือ้ ปริมาณแคลเซียมทีต่ ำ�่ จะท�ำให้เกิดอาการตะคริว การกินอาหารที่
มีปริมาณแคลเซียมเพียงพอจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
แมกนีเซียม มีความส�ำคัญต่อการท�ำงานของกล้ามเนื้อ แคลเซียมจะช่วยเรื่องการหดตัว
ของกล้ามเนื้อ ในขณะที่แมกนีเซียมจะช่วยในการยืดตัวของกล้ามเนือ้ ทัง้ แคลเซียมและแมกนีเซียม
จะควบคุมการส่งถ่ายระบบประสาทและการเต้นของหัวใจ หากได้รับแมกนีเซียมไม่เพียงพอจะมี
ผลต่อกล้ามเนื้อ การออกก�ำลังกายมากๆ จะท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณแมกนีเซียม
ในกล้ามเนื้อและเลือด ซึ่งมีผลต่อการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ
โพแทสเซียม เป็นเกลือแร่ที่มีมากในเซลล์กล้ามเนื้อ ท�ำให้การท�ำงานของกล้ามเนื้อ
และหั ว ใจเป็ น ไปตามปกติ คนที่ ข าดโพแทสเซี ย มเป็ น ประจ�ำและออกก�ำลั ง กายหรื อ ท�ำงาน
ในอากาศที่ร้อน ควรจะกินอาหารที่มีโพแทสเซียมเพิ่มขึ้น

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 95
สังกะสี เนื้อเยื่อที่ขาดสังกะสี พบว่า จะมีอนุมูลอิสระมาก ซึ่งท�ำให้เนื้อเยื่อต่างๆ
เสี่ยงต่อการถูกท�ำลาย เกิดการเป็นตะคริวหรือว่าเกิดความอ่อนเพลีย
เพื่อป้องกันการเกิดตะคริว ควรกินอาหารให้มีความหลากหลายและให้ครบ 5 หมู่

การยืดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว (กล้ามเนื้อน่อง)

การปฐมพยาบาล
1. นวดเบาๆ หรือใช้ของร้อนประคบบริเวณที่เป็นตะคริว
2. ช่วยยืดกล้ามเนื้อบริเวณที่เกร็งตัว เช่น ถ้าเป็นน่องให้ยืดกล้ามเนื้อน่อง โดย
จับปลายเท้าดึงขึ้นมาทางหน้าแข้ง ถ้าเป็นกล้ามเนื้อต้นขา ให้เหยียดขาให้ตรง ไม่งอเข่า และ
ยกต้นขาขึ้น ถ้าเป็นที่นิ้วมือ ให้เหยียดนิ้วมือที่งอให้ตรงออก
3. การเป็นตะคริวจากการเล่นกีฬาและเสียเหงื่อมาก จะป้องกันโดยให้นักกีฬา
ได้ รั บ เกลื อ มากเป็ น พิ เ ศษ อาจท�ำได้ โ ดยอาหารมื้ อ ก่ อ นที่ จ ะแข่ ง ขั น ให้ ใ ส่ เ กลื อ ให้ เ ค็ ม หรื อ
รับประทานน�้ำส้มคั้นใส่เกลือมากสักเล็กน้อย สวมเสื้อยืดขณะเล่นกีฬา เพื่อป้องกันมิให้ร่างกาย
เสียเหงื่อเร็วเกินไป

การเป็นลม
อาการเป็นลมเกิดขึน้ ได้เนือ่ งจากเลือดไปเลีย้ งสมองไม่เพียงพอ มักจะเป็นชัว่ คราว อาการ
ที่แสดงออกจึงเป็นอาการทางสมอง เช่น หน้ามืด ใจสั่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้และมีอาการคล้ายๆ ช็อก
แต่ไม่รุนแรงนัก

96 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
สาเหตุของการเป็นลม มีได้หลายอย่าง เช่น อยู่ในที่ร้อนอบอ้าว ผู้คนแออัด อากาศ
ถ่ายเทไม่สะดวก เหล่านี้ท�ำให้เกิดอาการเป็นลมได้ นอกจากนี้ถ้าอยู่กลางแสงแดดนานเกินไป
ร่างกายมีอาการเสียเหงื่ออันเป็นผลให้มีการเสียน�้ำและเกลือแร่อย่างมาก ก็ท�ำให้เกิดอาการ
เป็นลมได้
การปฐมพยาบาล
1. เป็นลมหน้าแดง เกิดจากความร้อน ความร้อนอาจมาจากภายนอก เช่น แสงแดด
หรือมากจากภายในร่างกาย เช่น ขณะจับไข้สูง ให้เช็ดตัวด้วยน�้ำเย็น ให้ดื่มน�้ำเย็น (ห้ามดื่มน�้ำชา
หรือกาแฟ)
2. เป็นลมหน้าขาว เกิดจากเสียเลือด เสียน�้ำ เจ็บปวด หรืออดอาหาร ห่มผ้าให้ความอบอุ่น
ให้ดื่มน�้ำชาหรือกาแฟร้อน
3. เป็นลมหน้าเขียว เกิดจากร่างกายขาดออกซิเจน ให้ท�ำการผายปอด
ตามปกตินักกีฬาวอลเลย์บอลที่แข็งแรงย่อมไม่เป็นลมง่าย ถ้าไม่เล่นหักโหมเกินกว่า
ที่เคยฝึกซ้อม นักกีฬาอาจเป็นลมเพราะใช้ก�ำลังมากเกินไป อาการที่เกิดใจสั่น หน้ามืด คลื่นไส้
ตัวเย็น เหงือ่ ซึม หายใจเร็วไม่สมำ�่ เสมอ ในกีฬาทีอ่ อกก�ำลังกายนานๆ ติดต่อกัน นักกีฬาอาจเป็นลม
เพราะเสียน�ำ้ และเกลือแร่มากเกินไป กรณีอาการจะคล้ายกันแต่ผปู้ ว่ ยจะตัวแห้งและอาจมีไข้ขนึ้ สูง

กระดูกหัก
กระดูกหักเป็นเรือ่ งทีต่ อ้ งส่งให้แพทย์ การปฐมพยาบาล และเคลือ่ นย้ายท�ำแบบเดียวกับข้อหลุด
แต่ถ้ามีกระดูกหักทิ่มออกมานอกเนื้อต้องระวังเป็นพิเศษ ใช้ชะเนาะรัดเหนือบริเวณที่มีเลือดออก
กระดูกหัก (Fracture) หมายถึง ลักษณะอาการของกระดูกหักออกจากกัน Complete
Fracture มีบาดแผลหรือไม่มบี าดแผลก็ได้และอาการของกระดูกทีไ่ ม่หกั ออกจากกัน Incomplete
Fracture จะเป็นแตก เดาะ หรือร้าวก็ตาม และลักษณะกระดูกดังกล่าวไม่สามารถท�ำงานได้เต็มที่
หรือไม่สามารถท�ำงานได้เลย ในบางรายอาจจะหักออกทิ่มเนื้อหรืออวัยวะภายในก็ได้ ลักษณะเหล่านี้
ถือว่ากระดูกหักทั้งสิ้น
การปฐมพยาบาลกระดูกหัก มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. ให้การปฐมพยาบาลอย่างรีบด่วน
2. หากมีอาการเป็นลมหรือช็อก ต้องแก้ไขให้ฟื้นก่อน
3. ถ้ามีอาการตกเลือด ต้องห้ามเลือดด้วยวิธีที่เหมาะสม
4. การจับต้องหรือตรวจดูบริเวณที่หัก ต้องท�ำด้วยความระมัดระวัง
5. ถ้าจ�ำเป็นต้องถอดเสื้อผ้าออก ควรใช้วิธีตัดทิ้ง

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 97
6. หากมีบาดแผล ควรเช็ดล้างให้สะอาด แต่อย่าล้วงเข้าไปในแผล
7. หากจ�ำเป็นต้องเข้าเฝือก ต้องท�ำด้วยความระมัดระวังและรวดเร็ว
8. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ต้องกระท�ำให้ถูกหลักวิธีการ
9. รีบน�ำส่งแพทย์
10. การรักษากระดูกนั้น ต้องรักษาโดยแพทย์ผู้ช�ำนาญทางกระดูกเท่านั้น
ข้อเท้าแพลงหรือข้อเท้าเคล็ด (Sprain) หมายถึง การที่เอ็นยึดข้อต่อได้รับบาดเจ็บ
การบาดเจ็บมีมากหรือน้อยย่อมแตกต่างกันไป สุดแท้แต่ว่าความรุนแรงของภยันตรายที่เกิดขึ้น
โดยเฉพาะประเภทกีฬาต้องใช้เท้าในการเล่น เช่น กระโดด วิ่ง ตะกร้อ ฟุตบอล รักบี้ วอลเลย์บอล
บาสเกตบอล กรีฑา ยิมนาสติก ฯลฯ โดยมีการพลิกของข้อเท้าและกลายมาเป็นข้อเท้าแพลงในทีส่ ดุ
โดยพบมากที่สุดเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ที่ด้านนอกของข้อเท้า
ข้อเท้า ประกอบด้วย กระดูกหลายชิ้น โดยมีเอ็นยึดข้อต่อระหว่างกระดูกแต่ละชิ้น
เพื่อให้คงสภาพเป็นข้อเท้าที่มั่นคงแข็งแรง และป้องกันมิให้กระดูกข้อเท้าแยกออกจากกัน ในขณะ
ที่มีการเคลื่อนไหวภายใต้แรงกระแทก แรงดึง หรือแรงบิดหมุน
การปฐมพยาบาล
การใช้นำ�้ แข็งประคบกับพันด้วยผ้าพัน (Elastic Bandage) แบนเดจจ�ำเป็นส�ำหรับบาดแผล
เช่นนี้ การประคบและพันผ้าต้องท�ำสลับกันในช่วง 24-48 ชัว่ โมงแรกของการบาดเจ็บเพือ่ ระงับเลือด
และน�้ำเหลือง
การบาดเจ็บที่นิ้วหัวแม่มือและข้อมือเกิดจากเทคนิคการฝึกไม่ดี เช่น การกระโดดขึ้นสกัดกั้น
ลูกบอลเหนือตาข่ายท�ำให้นิ้วมือมีโอกาสได้รับบาดเจ็บ ควรใช้เทปเหนียว (Adhesive Tape)
พันยึดบริเวณนิ้ว จึงจะสามารถลดการบาดเจ็บลงได้
การป้องกัน
1. อย่าฝืนเล่นเมื่อสภาพร่างกายไม่พร้อม หรือเล่นมากเกินไป ต้องมีความแข็งแรง อดทน
มีความอ่อนตัวดี
2. เมื่อได้รับบาดเจ็บควรพักให้นานและปฏิบัติตามค�ำแนะน�ำของแพทย์ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้
เป็นเวลานาน
3. จัดหาลูกวอลเลย์บอลทีม่ ขี นาดมาตรฐานและหลีกเลีย่ งการเล่นบอลทีก่ อ่ ให้เกิดอันตราย
เช่น คู่ต่อสู้ตบลูกบอลใส่ตัว
4. เลือกสวมเสื้อผ้าท�ำด้วยวัสดุโปร่ง ถ่ายเทอากาศดี รองเท้าควรใส่ให้ถูกต้องกับ
กีฬาวอลเลย์บอล

98 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
5. สวมสนับเข่าป้องกันอุบัติเหตุที่ข้อเข่า เช่น เข่าเคลื่อน เข่าแพลงหรือควรใช้ผ้ายืด
หรือแผ่นเทปปิดรั้งป้องกันไว้
6. สนามต้องได้มาตรฐาน พื้นสนามระวังอย่าให้ลื่นและบริเวณข้างสนามอย่าให้มี
สิ่งกีดขวาง
7. สถานที่เล่นควรจะมีอากาศถ่ายเทได้ดี เพราะถ้าร้อนอบอ้าวมาก จะท�ำให้เกิดสภาวะ
ต่างๆ ที่เป็นอันตรายตามมาได้ง่าย แสงสว่างต้องสว่างเพียงพอ
ข้อต่อเคล็ด (Sprain) หมายถึง การที่ข้อต่อต่างๆ ได้รับการเคลื่อนไหวมากเกินไป ท�ำให้
เนือ้ อ่อน เยือ่ หุม้ ข้อ เอ็นรอบๆ ข้อ หรือกล้ามเนือ้ บริเวณข้อ มีอาการฉีกขาดหรือช�ำ ้ ท�ำให้เกิดความเจ็บปวด
เรียกว่า “ข้อต่อเคล็ดหรือแพลง” บริเวณที่พบมาก ได้แก่ ข้อเท้า ข้อมือ หัวเข่าและหัวไหล่ เป็นต้น
สาเหตุ
เนื่องจากข้อต่อส่วนนั้นเกิดกระทบกระเทือน ถูกชน ถูกบิด พลิกหรือแพลงอย่างรุนแรง
หรือตกจากที่สูง ท�ำให้เยื่อหุ้มหรือเอ็นรอบๆ ข้อต่อพลิกหรือแพลง ท�ำให้ข้อต่อเคล็ดหรือแพลงได้
(ดังภาพ)
อาการ
1. บริเวณข้อส่วนนั้นจะบวมและมีอุณหภูมิสูงขึ้น
2. มีอาการเจ็บปวด ถ้าเคลื่อนไหวหรือใช้มือกดดูจะยิ่งเจ็บมากขึ้น
3. ในรายทีม่ อี าการรุนแรง ไม่สามารถกระท�ำการเคลือ่ นไหวส่วนนัน้ ได้เลยเพราะจะเจ็บมาก
4. มีอาการชาทั่วบริเวณนั้น ซึ่งแสดงว่าอาจมีเส้นประสาทส่วนนั้นถูกฉีกขาดไปด้วย
การปฐมพยาบาล
1. ให้ข้อต่อส่วนนั้นพักผ่อนให้อยู่นิ่งๆ
2. ยกข้อต่อส่วนนั้นให้สูงขึ้น ถ้าเป็นข้อต่อ ควรห้อยแขนด้วยผ้าคล้องคอ
3. ให้ความร้อนแก่บริเวณนัน้ โดยใช้นำ�้ อุน่ ประคบ จะเป็นถุงนำ�้ ร้อนหรือขวดนำ�้ ร้อนก็ได้
4. นวดเบาๆ โดยใช้น�้ำมันสะโต๊กหรือน�้ำมันระก�ำ หรือขี้ผึ้งบาล์มต่างๆ ก็ได้ เพื่อให้เกิด
ความร้อนทั่วบริเวณนั้น แต่ต้องกระท�ำเบาๆ อย่ารุนแรง แล้วพันส่วนนั้นให้แน่น
5. อาจต้องเข้าเฝือกเพื่อให้ส่วนนั้นพักผ่อนนิ่งที่สุด จะท�ำให้หายเร็ว
6. ควรน�ำส่งโรงพยาบาล เพื่อตรวจฉายรังสีดูว่า มีกระดูกหักด้วยหรือไม่

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 99
การบาดเจ็บที่บริเวณเข่า
“เข่า” มักจะได้รับอันตรายมากที่สุดในผู้เล่นกีฬาวอลเลย์บอล เพราะมีการเคลื่อนไหว
ในลักษณะของการวิ่งกระโดดหรือกระโดดอยู่กับที่ใช้ในการเล่น
ภาวะ “เข่านักกระโดด” หมายถึง การอักเสบอันเป็นผลจากความเสื่อมและมีการฉีก
ยึดของใยบางส่วนของเอ็นกล้ามเนือ้ เหยียดเข่า (Quadriceps Tendon) และเอ็นสะบ้า (Patellar Tendon)
การบาดเจ็บชนิดเรื้อรังนี้จะเกิดขึ้นเนื่องจากกิจกรรมประเภทกระโดด ถีบ ปีน วิ่ง ซึ่งมีความเค้นดึง
เกิดขึ้นอย่างซ�้ำซาก บริเวณของเอ็นที่เสื่อมอาจกลายเป็นเยื่อเมือก (Mucoid Degeneration)
และเปื่อยแบบ Fibrinoid Necrosis ซึ่งจะค่อยๆ แปรสภาพเป็นปมแผลเป็น (Scarred Nodule)
ในเวลาต่อมา
ลักษณะอาการ
มีความเจ็บปวดที่บริเวณกระดูกสะบ้าหรือที่ส่วนหน้าของหัวเข่า ในระยะที่ 1 นักกีฬา
จะรู้สึกปวดตรงต�ำแหน่งที่เสื่อมเฉพาะเมื่อหลังจากการเล่นเท่านั้น ระยะที่ 2 จะมีอาการปวด
ในระหว่างการเล่นและแม้หยุดเล่นก็ยังปวดอยู่อีกพักหนึ่ง แต่ความสามารถในการเล่นก็ยังดีอยู่
ต่อมาในระยะที่ 3 จะมีอาการปวดตลอดโดยจะไม่หยุดเมื่อพักและผลการเล่นจะด้วยกว่าปกติ
ความแข็งแรงของเอ็นยังไม่ฟื้นคืนสู่สภาพปกติ ถ้าเล่นอย่างหักโหมก็อาจท�ำให้เอ็นฉีกขาดได้
ก่อนเล่นจะต้องมีการยืดและอุ่นกายส่วนนี้ให้เต็มที่ และหลังเล่นให้ใช้น�้ำแข็งนวด (Ice Massage)
หรือใช้ผ้าเย็นประคบ
การตรวจของแพทย์
พบต�ำแหน่งทีก่ ดเจ็บ ซึง่ ถ้าให้เกร็งกล้ามเนือ้ เหยียดเข่าฝืนแรงต้านก็จะเกิดอาการเจ็บปวด
มากขึน้ ภาพเอกซเรย์อาจมีรอยกระดูกสลาย (Osteolytic Lesion) โดยเฉพาะอย่างยิง่ ตรงขอบล่าง
ของสะบ้า
แนวการศึกษา
ในระยะที่หนึ่งและที่สอง อาจให้ยาต้านการอักเสบและลดความหักโหม ในการเล่นลง
เพราะยาดังกล่าวมีฤทธิ์ระงับความเจ็บปวด
ในระยะที่สาม ถ้าหากมีอาการปวดแม้ในขณะเดิน อาจต้องพิจารณาผ่าตัดขูดเอา
ส่วนที่เสื่อมออก น่าสังเกตว่าอาการปวดอาจบรรเทาได้ โดยการใช้เข็มแทงซ�้ำๆ ตรงต�ำแหน่งที่ปวด
สัก 20 ครั้ง โดยไม่ต้องฉีดยาเฉพาะที่ใดๆ
เจ็บปวดที่เอ็นร้อยหวาย
อาการเจ็บปวดที่เอ็นร้อยหวายจะเกิดขึ้นกับนักกีฬาที่วิ่งและมีการฝึกซ้อมหนัก อาการ
ที่เกิดจะมีลักษณะดังนี้ จะมีความรู้สึกปวดแสบปวดร้อนบริเวณเอ็นร้อยหวายเมื่อเริ่มเล่นกีฬา

100 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


และเมื่อเล่นหรือวิ่งไปได้สักระยะหนึ่ง อาการเจ็บปวดจะลดลงหรือหายไป แต่เมื่อหยุดวิ่งอาการจะ
กลับมากขึน้ หรือเมือ่ ตืน่ นอนและลุกขึน้ หรือลงจากเตียงในตอนเช้า จะมีอาการเจ็บปวดทีเ่ อ็นร้อยหวาย
และเมื่อใช้ชีวิตประจ�ำวันผ่านไปอาการจะลดน้อยลงไปหรือหายไปเลยในตอนบ่ายๆ อาการเจ็บปวดนี้
จะเป็นที่บริเวณ 4-5 เซนติเมตร เหนือข้อต่อส้นเท้าที่เป็นที่เกาะของเอ็นร้อยหวาย กดเจ็บ
ในรายที่เป็นมากๆ หรือเป็นเรื้อรัง จะคล�ำได้ก้อนเล็กๆ หรือขรุขระและบวมอยู่ตลอดเวลา ท�ำให้
ดูเหมือนน่องโต
การปฐมพยาบาล
เมื่อเกิดอาการขึ้นชนิดเฉียบพลัน ให้หยุดเล่นกีฬาหรือวิ่งในทันที ประคบน�้ำแข็งประมาณ
5-10 นาที ยกเท้าให้อยู่สูง จากนั้นงอหัวเข่าและยืดเอ็นร้อยหวายสักประมาณ 5 นาที ให้ยาแก้ปวด
และยาต้านการอักเสบแล้วแต่อาการ ส่วนใหญ่แล้วจะให้ประมาณ 1-3 สัปดาห์ การให้การรักษาทาง
กายภาพบ�ำบัด เช่น การให้ความร้อนจากแสงอินฟราเรด หรือการให้คลืน่ เหนือเสียง จะท�ำให้หายเร็วขึน้
ห้ามฉีดยาต้านการอักเสบเฉพาะทีบ่ ริเวณนีเ้ ป็นอันขาดถ้ามีลกั ษณะถึงขัน้ ฉีกขาดของเอ็นร้อยหวาย
จ�ำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ต้องเข้าเฝือกไว้ 6 สัปดาห์ จึงจะเริ่มท�ำการบ�ำบัดรักษา
การป้องกัน
1. บริหารกล้ามเนือ้ น่องให้แข็งแรง โดยใช้นำ�้ หนักถ่วงทีเ่ ท้าแล้วกระดกข้อเท้าขึน้ ลงช้าๆ
โดยเริ่มจากน�้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม แล้วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนได้ประมาณ 5-6 กิโลกรัม ให้ท�ำ
ประมาณ 10 ครั้ง เช้าและเย็นเป็นอย่างน้อย สลับกับการยืดกล้ามเนื้อน่องให้ยืดหยุ่นอยู่เสมอ
2. ตรวจดูลักษณะโครงสร้างของร่างกาย ถ้าไม่เป็นปกติก็ต้องปรับให้เกือบเหมือน
หรือเหมือนปกติ เล่นกีฬาหรือวิ่ง วิธีที่ง่ายที่สุด คือ การปรับด้วยรองเท้า เช่น เท้าที่มีอุ้งเท้าโค้งสูง
ให้ใส่รองเท้าที่มีรองอุ้งเท้าสูงทัดเทียมกับอุ้งเท้าของเราและเสริมรองส้นเท้าให้นิ่มมากๆ เพื่อกัน
แรงกระเทือนที่ส้นเท้าขณะวิ่งหรือในรายที่เท้าคว�่ำบิดเข้าในก็ต้องเสริมรองเท้าดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
3. รองเท้าที่ใช้เล่นกีฬาจะต้องมีส้นเท้าที่นิ่มและนอกจากนี้ส่วนที่เสริมหุ้มส้นเท้า
ไม่ควรมี เพราะจะไปท�ำให้มีการเสียดสีกับเอ็นร้อยหวายถึงแม้จะท�ำให้นิ่มเพียงใดก็ตาม

หลักการปฐมพยาบาลภายใน 48 ชั่วโมงแรก
การบาดเจ็บจากการเล่นวอลเลย์บอลในช่วงขณะฝึกซ้อมหรือขณะแข่งขันที่พบบ่อย
กับนักกีฬา คือ การฟกช�้ำ อักเสบ กล้ามเนื้อพลิกหรือข้อเท้าแพลง ซึ่งการบาดเจ็บจะมีตั้งแต่
ระดับฟกช�้ำ เริ่มฉีกขาดบางส่วนและถึงขั้นระดับฉีกขาดหมด การปฐมพยาบาลในช่วงขณะ
ฝึกซ้อมหลังหรือขณะแข่งขันเป็นสิ่งส�ำคัญมาก ไม่ควรรอพบแพทย์โดยที่ไม่ได้ปฐมพยาบาลนักกีฬาด้วย
พบว่าในท้องถิน่ ทุรกันดารนักกีฬาบางคนต้องรอถึง 4 ชัว่ โมง กว่าจะได้เข้าห้องฉุกเฉินเพือ่ พบแพทย์

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 101


เพราะยังมีคนไข้ทอี่ าการหนักกว่ารออยู่ โปรดจ�ำไว้วา่ เมือ่ ใดทีเ่ กิดอาการบวมชำ �้ อักเสบ กล้ามเนือ้ พลิก
หรือข้อเท้าแพลง วิธกี ารรักษาตัวอย่างง่ายๆ คือ P R I C E ซึง่ ก็ไม่ได้แปลว่าข้าว หากแต่เป็นตัวอย่าง
ของ Protection, Rest, Ice, Compression และ Elevation
1. P (Protection) ท�ำการป้องกันส่วนทีบ่ าดเจ็บ โดยการใช้ผา้ พัน หรือการใช้ elastic
bandages หรือการ splint ให้อยู่นิ่งๆ ไม่ขยับส่วนที่บาดเจ็บ
หลักการปฐมพยาบาล ภายใน 48 ชั่วโมงแรก คือ
2. R (Rest) การหยุดพัก หมายถึง การหยุดพักเฉพาะส่วนกล้ามเนื้อนั้นมิให้เคลื่อนที่
หรือเคลื่อนที่แต่น้อย และรวมถึงการหยุดพักการฝึกซ้อมนั้นด้วย ส�ำหรับการหยุดพักเฉพาะส่วน
ขึน้ อยูก่ บั ส่วนทีบ่ าดเจ็บ เช่น ทีแ่ ขนอาจใช้ผา้ คล้องคอ (Sling) ขาอาจใช้ไม้เท้าค�ำ้ ยัน ข้อเท้าพันด้วย
Ankle Plaster Strap เป็นต้น
ส่วนการหยุดพักการฝึกซ้อมนั้น ถ้ามีอาการปวดบวมมากอาจต้องพักโดยสมบูรณ์
แต่หากเล็กน้อยอาจเปลีย่ นเล่นกีฬาอืน่ เพือ่ มิให้ความอดทนลดลง หรือฝึกซ้อมเฉพาะท่าทางไปก่อน
เช่น แกว่งแขนท�ำท่าตบลูกบอล เป็นต้น แต่โดยทัว่ ไปจะใช้หลัก “กฎของ 3” (Rule of Three) คือ
กล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อฟกช�้ำ ควรหยุดพัก 3 วัน
เอ็นยึดข้อต่อ กล้ามเนื้อฉีกขาดบางส่วน ควรหยุดพัก 3 อาทิตย์
กระดูก กล้ามเนื้อฉีกขาดหมด ควรหยุดพัก 3 เดือน
แต่ทั้งนี้มิได้เป็นกฎเกณฑ์เสมอไปขึ้นอยู่กับหลายประการ เช่น กระบวนการซ่อมแซม
ส่วนสึกหรอของแต่ละคนซึ่งไม่เท่ากัน ความร่วมมือในการท�ำกายภาพบ�ำบัด พักเพื่อการแข่งขัน
คราวต่อไปที่ส�ำคัญกว่า ซึ่งแพทย์กีฬาและโค้ชควรปรึกษาด้วยกันทั้งสองฝ่ายอย่างจริงจัง เพื่อผล
แห่งชัยชนะและสุขภาพของนักกีฬาเอง
Rest หยุดพักในทันทีที่รู้สึกปวดเจ็บ หากยังฝืนเล่นต่อไปอาการอักเสบจะรุนแรงมากขึ้น
3. I (Ice) การประคบเย็น มีหลายวิธี เช่น การให้ถุงน�้ำแข็ง สเปรย์ ซิลิโคน-เจล
ควรใช้เวลา 15 นาที แล้วพัก ไม่ควรใช้น�้ำแข็งแตะผิวหนังโดยตรง เพราะจะเกิดภาวะขาดเลือดจาก
เส้นเลือดตีบ การประคบนำ�้ เย็นเป็นวิธแี รกและอันดับแรกทีค่ วรท�ำก่อน นอกจากจะช่วยลดบวมแล้ว
ยังลดความเจ็บปวดด้วยในต่างประเทศมีการใช้สารเคมีพวกแอมโมเนียมไนเตรท ซึ่งสามารถเก็บไว้
ได้โดยไม่จ�ำเป็นต้องแช่เย็น แต่มรี าคาแพงและมีโอกาสเกิดแพ้สารเคมีได้ ในบ้านเราควรใช้ถงุ น�ำ้ แข็ง
น่าจะเป็นวิธีที่ดีและราคาถูกที่สุดด้วย
Ice น�้ำแข็ง ใช้น�้ำแข็งประคบบริเวณที่อักเสบ น�้ำแข็งจะลดอาการบวมช�้ำได้ อย่าใช้
น�้ำแข็งวางที่บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บโดยตรง เพราะน�้ำแข็งอาจจะท�ำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นไหม้
ด้วยความเย็นจัด ควรวางผ้าเช็ดตัวบนบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บก่อน จึงวางน�้ำแข็งทับบนนั้น

102 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


4. C (Compression) การกด จุดประสงค์เพื่อลดอาการปวดบวม อาจใช้ผ้ายืด
พันข้อควรระวัง อย่ารัดมากเกินไป สังเกตได้ว่าปวดมากขึ้นและบวมในส่วนปลายของผ้าที่พัน
อาจมีอาการซีดเซียวได้ ในทีน่ กี้ ารกดรัดอย่าเข้าใจผิดว่าเป็นการนวด (Massage) เพราะเป็นข้อห้าม
ในระยะ 48 ชั่วโมง
Compression การพันรัด ช่วยจ�ำกัดขอบเขตของการบวมช�้ำ ใช้ผ้ายางยืดพันโดยรอบ
ให้ตึงพอประมาณ อย่าพันรัดแน่นจนเลือดไหลเวียนไม่สะดวก หากมีอาการข้อเท้าแพลง อย่าถอด
รองเท้าออก เพราะรองเท้าจะจ�ำกัดการบวมช�้ำได้ส่วนหนึ่ง
5. E (Elevation) การยกส่วนที่บาดเจ็บให้สูงขึ้นจะเป็นการลดอาการบวม เช่น
เจ็บข้อเท้า เวลานอนก็หาหมอนหรือผ้ามารองไว้ใต้ข้อเท้าให้สูงขึ้น เวลานั่งก็หาเก้าอี้อีกตัวมาวางไว้
ให้ยกขาขึ้นไปจะช่วยลดอาการบวมได้

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 103


บ ทที่ 7
ทักษะการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
การเสิร์ฟ (Serving)
วอลเลย์บอลเริ่มการแข่งขันด้วยการเสิร์ฟ การเสิร์ฟครั้งแรกของเซตที่ 1 และเสิร์ฟเซตที่ 5
ผู้ตัดสินที่ 1 จะท�ำหน้าที่เสี่ยงเพื่อให้หัวหน้าทีมที่ชนะการเสี่ยง เลือกเสิร์ฟหรือรับและเลือกแดน
ที่จะลงท�ำการแข่งขัน โดยเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง การเสิร์ฟในการแข่งขันวอลเลย์บอลในปัจจุบัน
นับว่ามีความส�ำคัญมาก เนื่องจากการเล่นวอลเลย์บอลมีระบบการนับคะแนนแบบ Rally Point
ระบบการนับคะแนนแบบใหม่เป็นจุดผกผันที่ส�ำคัญของกีฬาวอลเลย์บอลในเรื่องทักษะการเสิร์ฟ
เทคนิคการเสิรฟ์ เวลาเสิรฟ์ เป็น 8 วินาที และการยกเลิกความพยายามทีจ่ ะน�ำการเสิรฟ์ ซึง่ การเปลีย่ นแปลง
ระบบการนับคะแนนใหม่ ท�ำให้ต้องปรับปรุงเทคนิคการเล่นให้เหมาะสม นักกีฬาต้องปรับตัวให้มี
การเล่นที่แน่นอน ไม่ฆ่าตัวตายนั่นเอง
การเสิร์ฟเป็นยุทธวิธีของการบุกอย่างหนึ่ง ลูกเสิร์ฟที่มีความรุนแรง มีประสิทธิภาพ และ
เสิร์ฟได้ตรงช่องว่างหรือตรงกับผู้เล่นที่มีทักษะการรับลูกเสิร์ฟไม่ดี เป็นเป้าหมายของการเสิร์ฟ
ลูกเสิร์ฟที่มีความรุนแรงและแน่นอน นับว่าเป็นการบุกที่ดี อาจจะได้คะแนนจากการเสิร์ฟ หรือ
เป็นการกดดันทีมคู่ต่อสู้ในการสร้างเกมรุกอีกด้วย

ความหมายของการเสิร์ฟ
ทรงศักดิ์ เจริญพงศ์ (2542 : 8) ได้กล่าวถึงการเสิร์ฟว่า การเสิร์ฟเป็นการน�ำลูกเข้าสู่
การเล่นโดยผู้เล่นต�ำแหน่งหลังขวา ด้วยการตีลูกบอลด้วยมือข้างใดข้างหนึ่งหลังจากผู้เสิร์ฟได้โยน
หรือปล่อยลูกแล้ว การเสิร์ฟโดยทั่วๆ ไปไม่ว่าจะเป็นการยืนเสิร์ฟหรือการกระโดดเสิร์ฟ ผู้เสิร์ฟ
จะต้ อ งเสิ ร ์ ฟ ลู ก ให้ แ ม่ น ย�ำและรุ น แรง ทั้ ง นี้ เ พราะการเสิ ร ์ ฟ จะสามารถท�ำคะแนนให้ กั บ ที ม
ได้อีกวิธีหนึ่ง
อุทัย สงวนพงศ์ และสมบัติ คุณามาศปกรณ์ (2543 : 35-36) ได้กล่าวว่า การเสิร์ฟ
เป็นการรุกวิธหี นึง่ การแข่งขันจะเริม่ จากการเสิรฟ์ เสมอ ลูกเสิรฟ์ ทีม่ พี ลังและมีประสิทธิภาพ สามารถข่ม
คูต่ อ่ สูแ้ ละชิงความเป็นผูค้ มุ เกมการเล่นได้ดว้ ย จุดประสงค์ของการเสิรฟ์ อยูท่ กี่ ารท�ำคะแนนโดยตรง

104 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


ท�ำลายยุทธวิธีการรุกของฝ่ายตรงข้าม ลดภาระการตั้งรับของฝ่ายตน สร้างโอกาสที่ได้เปรียบ
ในการตอบโต้ลกู เสิรฟ์ ทีด่ ี สามารถท�ำความหนักใจให้ฝา่ ยตรงข้าม อันเป็นการท�ำลายขวัญและจิตใจ
ของคู่แข่งขัน ท�ำให้เกิดความรวนเร ขาดความสัมพันธ์ในการรุกได้ทางหนึ่งด้วย ผู้เล่นจึงควรหา
ความช�ำนาญโดยการฝึกหัดเสิร์ฟด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งที่เหมาะสมและดีที่สุดหรือตามความถนัด
ของผู้เล่นแต่ละคน

การปฏิบัติในการเสิร์ฟ
ศรีเกษม อุ่นประดิษฐ์ และคณะ (2532 : 56) ได้กล่าวถึงการปฏิบัติในการเสิร์ฟไว้ดังนี้
1. ผู้เล่นต้องเสิร์ฟลูกบอลตามล�ำดับที่ส่งในใบส่งต�ำแหน่งระหว่างท�ำการแข่งขัน
โดยหมุนตามเข็มนาฬิกา
2. เมื่อชุดที่เสิร์ฟได้คะแนน ให้ผู้เสิร์ฟคนเดิมเป็นผู้เสิร์ฟต่อ
3. เมื่อชุดที่เสิร์ฟท�ำเสีย ให้ฝ่ายตรงข้ามได้เสิร์ฟ
4. ผู้เสิร์ฟต้องอยู่ในพื้นที่ของเขตเสิร์ฟ
5. ผู้เสิร์ฟต้องท�ำการเสิร์ฟภายในเวลา 8 วินาที
6. การเสิร์ฟถือว่าสมบูรณ์เมื่อผู้เสิร์ฟเสิร์ฟด้วยมือข้างเดียว หรือส่วนใดส่วนหนึ่ง
ของแขนหลังจากโยนหรือปล่อยลูกบอลก่อนลูกบอลจะถูกพื้น
7. ในขณะที่ฝ่ายตนเองก�ำลังท�ำการเสิร์ฟ ห้ามผู้เล่นท�ำการก�ำบังฝ่ายตรงข้าม

หลักส�ำคัญในการเสิร์ฟ
อุทัย สงวนพงศ์ และสมบัติ คุณามาศปกรณ์ (2543 : 36-37) ได้กล่าวถึงหลักส�ำคัญ
ในการเสิร์ฟ มีดังนี้
1. ท่าทางในการเสิร์ฟ
2. ต�ำแหน่งการยืน
3. การโยนลูกบอล
4. การเหวี่ยงแขน
5. จุดที่มือกระทบลูกบอล

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 105


ต�ำแหน่งการยืน
ก่อนที่จะเริ่มเสิร์ฟทุกครั้ง ผู้เล่นต้องยืนตามจุดหรือต�ำแหน่งที่เคยฝึกซ้อมมา มีผู้เล่น
จ�ำนวนมากทีข่ าดความสังเกตในเรือ่ งนี้ พอจับลูกบอลเข้ามายืนในเขตเสิรฟ์ ก็เสิรฟ์ ลูกไปตามใจตนเอง
การยืนห่างจากเส้นหลังใกล้หรือไกลเพียงใด ยืนห่างจากมุมสนามมากน้อยเพียงใด ก็ตอ้ งยืนทีจ่ ดุ นัน้
ตลอดทุกครั้งที่ท�ำการเสิร์ฟ เพราะจะท�ำให้ความแรง ความเร็ว และทิศทางของลูกบอลเป็นไปตาม
เป้าหมายที่ต้องการและท�ำให้การเสิร์ฟมีผลเสียน้อยด้วย
การโยนลูกบอล
ความสูงขณะโยนลูกบอลขึ้นต้องสม�่ำเสมอ เช่น ความสูงจากมือที่โยนประมาณ 3-4 ช่วง
ของลูกบอล ก็จะต้องโยนลูกบอลให้มีความสูงเช่นนี้ตลอดไป เพราะการโยนลูกสูงบ้างต�่ำบ้างท�ำให้
แรงที่ใช้ตีและทิศทางของลูกขาดความแม่นย�ำ นอกจากนี้การโยนลูกใกล้ตัวบ้างหรือห่างตัวบ้าง
เอียงไปซ้ายบ้าง ขวาบ้างก็ย่อมมีผลต่อการตีลูกบอลด้วย
การเหวี่ยงแขน
การเสิรฟ์ ให้ลกู บอลพุง่ ไปตามทิศทางและมีความแรงตามทีต่ อ้ งการ ขึน้ อยูก่ บั การเหวีย่ งแขนด้วย
ผู้เสิร์ฟเคยเหวี่ยงแขนในลักษณะใด มือห่างจากลูกบอลเท่าไร จะต้องท�ำอย่างนั้นทุกครั้งที่เสิร์ฟ
จึงต้องฝึกฝนการเหวี่ยงแขนให้คล้ายกับเครื่องจักรที่มีจังหวะการท�ำงานอย่างสม�่ำเสมอ
จุดที่มือกระทบลูกบอล
ลักษณะของมือและจุดที่มือกระทบลูกบอลต้องเหมือนกันทุกครั้งที่ตีลูกบอลในท่านั้นๆ ด้วย
เช่น การแบมือตีด้านหลังตรงส่วนกึ่งกลางของลูกบอล ก็ต้องท�ำในลักษณะเช่นนี้ตลอดทุกลูกเสิร์ฟ
เพราะการออกแรงและจุดที่ตีลูกบอลแตกต่างกันก็ย่อมท�ำให้ทิศทางของลูกบอลที่พุ่งออกไป
แตกต่างกันด้วย

ลักษณะของมือที่ใช้สัมผัสลูกบอล
เสงี่ยม พรหมบัญพงศ์ และสุชาติ ทวีพรปฐมกุล (2537 : 77-79) ได้สรุปลักษณะของมือ
ที่ใช้สัมผัสลูกบอลไว้ดังนี้
1. ลักษณะก�ำมือ หงายฝ่ามือหรือตั้งขึ้น
2. แบบมือด้านข้าง
3. แบบฝ่ามือนับหัวแม่มืออยู่กลางฝ่ามือ หงายฝ่ามือหรือตั้งขึ้น
4. นิ้วมือเรียงชิดกันหรือกางนิ้วมือออก หงายฝ่ามือหรือตั้งขึ้น

106 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


การเสิร์ฟมือล่าง การเสิร์ฟมือบน

ลักษณะของการเสิร์ฟ
ทรงศักดิ์ เจริญพงศ์ (2533 : 61-66) ได้แบ่งลักษณะการเสิร์ฟออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. การเสิร์ฟลูกมือล่าง (Under Hand Service)
1.1 การเสิร์ฟลูกมือล่างด้านหน้า
1.2 การเสิร์ฟลูกมือล่างด้านข้าง
2. การเสิร์ฟลูกมือบน (Overhand Service)
2.1 การเสิร์ฟลูกมือบนด้านหน้า
2.2 การเสิร์ฟลูกมือบนด้านข้าง
2.3 การกระโดดเสิร์ฟ

หลักการเสิร์ฟลูกมือล่าง
อุทัย สงวนพงศ์และสมบัติ คุณามาศปกรณ์ (2543 : 40) ได้กล่าวถึงหลักการเสิร์ฟ
ลูกมือล่างไว้ดังนี้
1. ผู้เสิร์ฟยืนในเขตเสิร์ฟ หันหน้าเข้าหาตาข่าย แยกเท้าห่างกันประมาณ 1 ช่วงไหล่
เท้าซ้ายอยู่หน้า (ถ้าเสิร์ฟด้วยมือขวา)
2. ถือลูกบอลด้วยมือซ้าย ยกลูกบอลไว้ระดับหน้าท้อง งอข้อศอกและโน้มตัวไป
ข้างหน้าเล็กน้อย เหวี่ยงแขนขวามาข้างหลังจนสุด พร้อมกับโยนลูกบอลขึ้นตรงๆ ไม่ควรโยนลูก
สูงกว่าระดับไหล่
3. จังหวะทีล่ กู บอลเริม่ ตกให้เหวีย่ งแขนขวากลับมาข้างหน้า ตีลกู บอลบริเวณส่วนหลัง
ด้านล่างของลูกบอล ขณะที่แขนขวาเหวี่ยงจากข้างหลังมาข้างหน้า ควรย่อเข่าเพื่อช่วยแรงส่งด้วย

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 107


4. ลักษณะของมือที่ตีลูกบอลอาจใช้การแบมือ ก�ำหมัด สันมือ ตีลูกบอลก็ได้ แต่แขน
ทีเ่ หวีย่ งไปตีลกู บอลต้องเหยียดตึง เมือ่ ตีลกู บอลไปแล้วให้เหวีย่ งแขนตามลูกบอล เพือ่ ช่วยบังคับลูก
ให้ไปในทิศทางที่ต้องการ
ส�ำหรั บ การเสิ ร ์ ฟ ลู ก มื อ ล่ า งอาจจะหั น ด้ า นข้ า งเข้ า หาตาข่ า ยก็ ไ ด้ มี ห ลั ก การเสิ ร ์ ฟ
เช่นเดียวกับการเสิร์ฟลูกมือล่างหันหน้าเข้าหาตาข่าย แต่การยืนของผู้เสิร์ฟจะหันไหล่ซ้ายเข้าหา
ตาข่าย


ค ข ก ค

ต�ำแหน่งที่ตีลูกบอลในการเสิร์ฟลูกมือล่างมีส่วนที่จะท�ำให้ลูกบอลตกใกล้หรือไกล
ได้เหมือนกัน
ถ้ า หากตี ต รงกึ่ ง กลางให้ ลู ก บอล (ก) ลู ก บอลแทบจะไม่ ห มุ น ขณะเคลื่ อ นที่ ไ ป
กลางอากาศก่อนลูกจะตก ลูกบอลอาจส่ายได้
ถ้าเสิร์ฟใต้ลูกค่อนมาทางข้างหลัง (ข) และดึงมือขึ้น ลูกจะหมุนไปข้างหน้า
ถ้าเสิร์ฟใต้ลูกค่อนมาทางข้างหลัง (ค) คล้ายเสยมือขึ้น ลูกบอลจะหมุนกลับหลัง
ถ้าออกแรงเสิร์ฟเท่ากันแต่ต�ำแหน่งที่ตีลูกบอลต่างกัน ท�ำให้ระยะทางและทิศทางการตก
ของลูกแตกต่างกันได้ (ดังภาพ)

108 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


การเสิร์ฟลูกมือล่าง (Under Hand Service)
ทรงศักดิ์ เจริญพงศ์ (2533 : 61) ได้กล่าวว่า วิธีการเสิร์ฟลูกมือล่างที่ง่ายที่สุด
ซึ่งมีลักษณะของมือขณะสัมผัสลูกบอลอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1. สัมผัสตรง
2. สัมผัสโดยให้ลูกบอลหมุนเข้าหาตัว
3. สัมผัสบอลให้ลูกบอลหมุนออกจากตัว (ดังภาพ)

แสดงลักษณะของมือขณะสัมผัสลูก 3 ลักษณะ
ทิศทางของลูกบอลและการเคลื่อนไหวของลูกบอล

1. วิธีเสิร์ฟลูกมือล่างด้านหน้า
ชนินทร์ ยุกตะนันทน์ (2532 : 24-25) ได้ล�ำดับขัน้ ตอนวิธเี สิรฟ์ ลูกมือล่างด้านหน้า ดังนี้
1.1 ในกรณีที่ผู้เล่นถนัดขวา ให้ก้าวเท้าซ้ายอยู่หน้าเท้าขวาเล็กน้อย ถือลูกบอลไว้ด้วย
มือซ้าย และยืนไปทางข้างหน้าด้านขวาของร่างกาย เพือ่ ให้ลกู บอลอยูใ่ นแนวเดียวกันกับมือข้างขวา
ที่จะเหวี่ยงตีลูกบอล

แสดงลักษณะการก้าวเท้า การถือลูกบอล
และการเหวี่ยงแขนของการเสิร์ฟลูกมือล่างลูกมือล่าง

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 109


ลักษณะการก้าวเท้า การถือลูกบอล
1.2 โยนลูกบอลขึ้นด้วยมือซ้ายเบาๆ ไม่สูงมากนัก (เพราะกติกาไม่อนุญาตให้ผู้เสิร์ฟ
ตีลกู บอลทีอ่ ยูใ่ นมือ) ก�ำมือขวาหลวมๆ หรือจะแบมือก็ได้ และใช้สนั มือตีลกู บอลเป็นจุดสัมผัสลูกบอล
โดยการเหวี่ยงมือจากข้างหลัง

แสดงลักษณะการโยนลูกบอล การตีลูกบอล
1.3 การเสิร์ฟลักษณะนี้จะยืนหันหน้าเข้าหาตาข่ายหรือหันข้างเข้าหาตาข่ายก็ได้

แสดงลักษณะการยืนหันหน้าเข้าหาตาข่ายและการสัมผัส (การตีลูกบอล)
1.4 การส่งแรง (Follow Thorough) ผู้เสิร์ฟต้องก้าวเท้าถ่ายน�้ำหนักตัวไปที่เท้าหน้า
และการเหวี่ยงแขนไปตามแรงส่งไปข้างหน้า

แสดงลักษณะการส่งแรง (Follow Thorough)

110 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


2. วิธีเสิร์ฟลูกมือล่างด้านข้าง
เสงี่ยม พรหมบัญพงศ์ และสุชาติ ทวีพรปฐมกุล (2537 : 80) ได้กล่าวถึงวิธีเสิร์ฟ
ลูกมือล่างด้านข้างไว้ดังนี้
1. ยืนเตรียมพร้อม โดยหันด้านข้างเข้าสนามหรือหันด้านซ้ายเข้าหาตาข่าย ก้าวเท้าซ้าย
ไปข้างหน้าขนานกับเส้นหลัง เท้าขวาอยู่ด้านหลัง
2. มือซ้ายชูลูกบอลเหยียดตรงไปข้างหน้า แขนขวาเหยียดตรงอยู่ข้างหลังระดับต�่ำ
กว่าไหล่เล็กน้อย
3. การส่งลูกบอลให้ยอ่ ตัวโยนบอลขึน้ เหวีย่ งแขนขวามาตีลกู บอลโดยบิดตัวทางซ้าย
มือหรือทิศทางที่จะส่งลูกไป
4. การตีบอลให้ใช้สันมือหลังหัวแม่มือตีปะทะบอลไป
หมายเหตุ วิธกี ารเช่นเดียวกับการเสิรฟ์ มือล่างหันหน้าต่างกัน ตรงการหันด้านข้างเข้าหา
สนามหรือตาข่ายเท่านั้น

แสดงลักษณะการเสิร์ฟลูกมือล่างด้านข้าง
ความผิดพลาดที่พบในการเสิร์ฟลูกมือล่าง
ศรีเกษม อุ่นประดิษฐ์ และคณะ (2532 : 59) ได้กล่าวถึงความผิดพลาดที่พบในการเสิร์ฟ
ลูกมือล่างไว้ดังนี้
1. จังหวะของการเหวี่ยงแขนตีกระทบลูกบอลไม่ดี เนื่องจากความลังเลไม่แน่ใจตนเอง
2. ต�ำแหน่งการยืนไม่ถูกต้อง
3. การขาดสมรรถภาพของแขนที่เหวี่ยงตีกระทบลูกบอล
4. การโยนบอลไม่ได้จังหวะ ไม่สัมพันธ์กับการเหวี่ยงแขนตีกระทบลูกบอล

หลักการเสิร์ฟลูกมือบนด้านหน้า
อุทัย สงวนพงศ์ และสมบัติ คุณามาศปกรณ์ (2543 : 40) ได้กล่าวถึงหลักการเสิร์ฟลูกมือ
บนด้านหน้าไว้ดังนี้
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 111
1. ยืนในเขตเสิรฟ์ หันหน้าเข้าหาตาข่าย ถือลูกบอลด้วยมือทัง้ สองข้าง ถ้ายืนเสิรฟ์ อยูก่ บั ที่
ให้ยืนเท้าแรกประมาณ 1 ช่วงไหล่ หรือเท้าซ้ายอยู่หน้า ถ้าตีลูกบอลด้วยมือขวา ถ้าหากมีก้าวเท้า
ก่อนเสิร์ฟ ก้าวสุดท้ายควรเป็นเท้าซ้ายอยู่หน้า งอเข่าทั้งสองข้างเล็กน้อย น�้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าหลัง
2. ตามองไปยังเป้าหมายที่จะเสิร์ฟลูกบอลไป โยนลูกบอลขึ้นตรงๆ ถ้ายืนเสิร์ฟอยู่กับที่
แต่ถา้ เคลือ่ นทีเ่ สิรฟ์ จะโยนลูกขึน้ ไปข้างหน้าเล็กน้อยความสูงจากมือทีโ่ ยนประมาณ 3-4 ช่วงของลูกบอล
3. ขณะโยนลูกบอลให้ยกแขนขวา ยกศีรษะ แอ่นท้อง บิดล�ำตัวไปทางขวาเล็กน้อย
ขณะตีลูกบอลให้ถ่ายน�้ำหนักตัวจากเท้าขวามาเท้าซ้าย ห่อหน้าอก แขม่วท้อง ใช้เท้ายัน
พื้นขึ้นเล็กน้อย หมุนตัวจากทางขวาไปทางซ้ายเล็กน้อย แขนขวาเหยียดขึ้นหัวไหล่ ใช้ฝ่ามือตีตรงกลาง
ส่วนหลังของลูกบอล
ลักษณะของนิ้วมือขณะเสิร์ฟลูกมือบนด้านหน้า อาจจะแบมือโดยนิ้วทั้งห้าชิดกัน ก�ำมือ
หรือแบมือนิ้วทั้งห้าแยกกัน ซึ่งการแบมือนิ้วแยกนี้สามารถสะบัดข้อมือไปทางซ้ายหรือทางขวา
และตีด้านข้างของลูกบอลเพื่อให้ลูกหมุนขณะเสิร์ฟได้อีกด้วย


บริเวณที่มือถูกลูกบอล
ขณะเสิร์ฟลูกมือบนด้านหน้า

แสดงลักษณะบริเวณที่มือถูกลูกบอลขณะเสิร์ฟลูกมือบนด้านหน้า

การเสิร์ฟลูกมือบนด้านหน้า (Overhand Service)


ชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ และทรงศักดิ์ เจริญพงศ์ (2537 : แผ่นภาพโฆษณาทักษะการเสิรฟ์ )
ได้เรียบเรียงวิธีการเสิร์ฟลูกมือบนด้านหน้าไว้ดังนี้

1. ยืนด้วยเท้าทั้งสอง หันหน้าไปทางทิศทางเป้าหมาย
ถือลูกบอลไว้ในฝ่ามือที่ไม่ใช่ตีลูกบอล

แสดงลักษณะการเตรียมพร้อมในการเสิร์ฟมือบนด้านหน้า

112 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


2. ขณะที่ โ ยนลู ก ขึ้ น ให้ เ หยี ย ดตั ว ขึ้ น ให้ ดู เ หมื อ นว่ า
เป็นการยกลูกบอล

แสดงลักษณะการโยนลูกขึ้น

3. ดึ ง แขนและศอกที่ ใช้ ตี ลู ก บอลไปข้ า งหลั ง ลู ก บอล


จะต้องโยนขึ้นไปข้างหลังเล็กน้อยและอยู่ด้านหน้าของผู้เสิร์ฟ

แสดงลักษณะการดึงแขนและข้อศอกที่จะใช้ตีบอลไปข้างหน้า

4. ดึงศอกให้ไปอยู่ด้านหลังหู ตามองที่ลูกบอล

แสดงลักษณะการดึงแขนและข้อศอกที่จะใช้ตีบอลไปข้างหน้า


5. เหวี่ยงแขนที่ตีลูกบอลไปข้างหน้าให้เร็วๆ ถ่ายน�้ำหนัก
ไปที่เท้าหน้า ตีลูกบอลด้วยการเกร็งฝ่ามือ

แสดงลักษณะการดึงศอกให้ไปอยู่ด้านหลังหู ตามองที่ลูกบอล

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 113


6. หลังจากตีลูกไปแล้ว ปล่อยให้แขนเหวี่ยงไปข้างหน้า
โดยไม่ต้องออกแรงหยุดปล่อยแขนที่ไม่ได้ตีลูกบอลลงข้างตัว

แสดงลักษณะการส่งแรงหลังจากการตีลูกบอล

หลักการเสิร์ฟลูกมือบนด้านข้าง
อุทัย สงวนพงศ์ และสมบัติ คุณามาศปกรณ์ (2543 : 41) ได้กล่าวถึงลักษณะการเสิร์ฟ
ลูกมือบนด้านข้างไว้ดังนี้
1. ลักษณะการยืนเหมือนกับการเสิร์ฟลูกมือบนด้านหน้า แต่หันไหล่ซ้ายเข้าหาตาข่าย
ท�ำมุมกับตาข่ายประมาณ 45 องศา
2. โยนลูกบอลด้วยมือซ้ายให้ลกู ไปทางไหล่ซา้ ยเล็กน้อย ความสูงจากมือทีโ่ ยนประมาณ 3-4 ช่วง
ของลูกบอล พร้อมกับเหยียดแขนขวาไปข้างหลัง เงยหน้ามองลูกบอล
3. จังหวะที่ตีลูกบอลให้เหวี่ยงแขนขวาขึ้นมา พร้อมกับบิดล�ำตัวมาทางซ้าย เท้าขวายันพื้น
หมุนตัวอย่างเร็วเข้าหาสนาม ถ่ายน�้ำหนักตัวเข้าสู่เท้าซ้าย เหยียดแขนขวาตรงและต้องเหวี่ยงโค้ง
ขึ้นไปข้างหน้า
ลักษณะของมือขณะเสิร์ฟลูกมือบนด้านข้าง ซึ่งจุดที่สัมผัสลูกจะอยู่ตรงด้านหลังของลูก
ค่อนข้างมาข้างล่างเล็กน้อย ถ้าจุดที่ตีลูกบอลเลยกึ่งกลางของลูกขึ้นมาข้างบน จะท�ำให้เสิร์ฟลูก
ไม่ข้ามตาข่ายแต่ถ้าตีด้านล่างของลูกจะท�ำให้ลูกพุ่งขึ้นสูง อาจจะออกนอกสนาม

แสดงลักษณะของมือขณะเสิร์ฟลูกมือบนด้านข้าง ซึ่งจุดที่สัมผัสลูกจะอยู่ด้านหลังของลูก

114 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


การเสิร์ฟลูกมือบนด้านข้าง
ชาญฤทธิ์ วงษ์ ป ระเสริ ฐ และทรงศั ก ดิ์ เจริ ญ พงศ์
(2537 : แผ่นภาพโฆษณาทักษะการเสิรฟ์ ) ได้เรียบเรียงวิธกี ารเสิรฟ์
ลูกมือบนด้านข้างไว้ดังนี้

1. หันหน้าโดยเอาด้านข้างเข้าหาตาข่าย ถือลูกบอลในระดับเอว
แสดงลักษณะการเตรียมพร้อมในการเสิร์ฟมือบนด้านข้าง

2. ดึงแขนที่ใช้ตีลูกบอลไปด้านหลังเฉียดสะโพก บิดล�ำตัว
ท่อนบนเล็กน้อยเพื่อให้เพิ่มแรงมากขึ้น ตามองที่ลูกบอล

แสดงลักษณะดึงแขนที่ใช้ตีลูกบอลไปด้านหลัง

3. ถ่ายน�ำ้ หนักตัวไปยังเท้าหน้า เหยียดแขนทีใ่ ช้ตลี กู บอล


และเหวี่ยงขึ้นด้านบน


แสดงลักษณะการถ่ายน�้ำหนักตัวและการเหยียดแขนที่ใช้ตีลูกบอล

4. ตีลูกบอลขณะที่ลูกบอลอยู่เหนือไหล่และค่อนไปทาง
ด้านหน้าเล็กน้อย เก็บแขนข้างทีไ่ ม่ได้ตลี กู บอลดึงกลับหลังให้ตา้ น
กับล�ำตัว

แสดงลักษณะการตีลูกบอลขณะที่ลูกบอลอยู่เหนือหัวไหล่
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 115
5. หลังจากการตีลูกบอลปล่อยให้แขนเหวี่ยงไปข้างหน้า
โดยไม่ต้องออกแรงหยุดปล่อยแขนที่ไม่ได้ตีลูกบอลลงข้างตัว

แสดงลักษณะการส่งแรงหลังจากการตีลูก

การกระโดดเสิร์ฟ (Jumping Service)


การกระโดดเสิร์ฟ เป็นเทคนิคการเล่นที่น�ำมาใช้กันมากในปัจจุบัน การเสิร์ฟถือว่า
เป็นการรุกครั้งแรกของทีม ผู้เล่นที่สามารถกระโดดเสิร์ฟได้ดีมีประสิทธิภาพ รุนแรงและแม่นย�ำ
ย่อมได้เปรียบคู่ต่อสู้ในเกมการแข่งขัน มีวิธีปฏิบัติ ดังนี้
1. การยืนเตรียมพร้อมภายในเขตเสิร์ฟ 9 เมตร
2. โยนลูกบอลขึ้นข้างหน้า การโยนต้องโยนให้สูงเพื่อมีจังหวะในการกระโดดเสิร์ฟได้รุนแรง
3. การกระโดดและลอยตัว ลักษณะการกระโดดและลอยตัวปะทะเช่นเดียวกับการกระโดดตบ
ลูกบอลหน้าตาข่าย
4. การปะทะหรือสัมผัสลูกบอล ส่วนใหญ่ผู้เสิร์ฟมักปะทะหรือสัมผัสลูกบอลด้านบน
ของลูก เนื่องจากผู้กระโดดเสิร์ฟจะกระโดดได้สูง แต่ไม่สามารถบังคับลูกบอลได้เหมือนการตบลูก
หน้าตาข่าย

116 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


แบบฝึกเพื่อการเสิร์ฟ

แบบฝึกที่ 1 นักกีฬาจับบอลคนละลูกเมื่อผู้ฝึกสอนให้สัญญาณนักกีฬาทุกคนก็ปฏิบัติพร้อมกัน
แล้วแต่ว่าผู้ฝึกสอนจะสั่งให้ปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างไร

แบบฝึกที่ 2 นักกีฬาเข้าแถวตอนที่เขตเสิร์ฟถือบอลคนละลูกให้นักกีฬาเสิร์ฟบอลไปทางตรงไปลง
แดนตรงข้าม แล้ววิ่งไปรับลูกจากการเสิร์ฟของฝ่ายตรงข้ามน�ำกลับไปต่อท้ายแถวตนเองต่อไป

แบบฝึกที่ 3 นักกีฬาถือบอลคนละลูกเข้าแถวที่เขตเสิร์ฟก�ำหนดเขตที่ลูกบอลจากการเสิร์ฟจะตก
ณ มุมหลังสนามทั้งสองในแดนตรงข้าม นักกีฬาต้องพยายามเสิร์ฟบอลให้ข้ามตาข่ายไปตกยังเขต
ที่ก�ำหนดให้ไป แล้ววิ่งไปเก็บบอลเอง กลับมาเสิร์ฟต่อไป
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 117
แบบฝึกที่ 4 นักกีฬาถือบอลคนละลูกเข้าแถวตอนที่เขตเสิร์ฟก�ำหนดเขตที่ลูกบอลจากการเสิร์ฟ
จะตกที่ต�ำแหน่งของผู้เล่นกองหลังทั้งสนามในแดนตรงข้ามนักกีฬาต้องเสิร์ฟบอลให้ข้ามตาข่ายไป
ยังเขตก�ำหนดแล้ววิ่งไปเก็บบอลกลับมาเสิร์ฟต่อไป

แบบฝึกที่ 5 นักกีฬาเข้าแถวตอน 3 แถวที่เส้นหลังคนหัวแถวทั้งสามเสิร์ฟลูกพร้อมกันให้ลูกข้าม


ตาข่ายไปตกในเขตก�ำหนดเดียวกัน นักกีฬาคนใดเสิร์ฟลูกไม่ลงในเขตก�ำหนดต้องเป็นคนวิ่งไปเก็บ
ลูกทั้งหมดกลับมา

แบบฝึกที่ 6 นักกีฬาเข้าแถวตอนที่เขตเสิร์ฟและต้องเสิร์ฟลูกไปลงในพื้นที่แดนหลังด้านตรงข้าม
ทางซีกซ้ายหรือขวา แล้วแต่ค�ำสั่งของผู้ฝึกสอนซึ่งจะสั่งในขณะที่นักกีฬาโยนบอลขึ้นเพื่อจะเสิร์ฟ
และลูกบอลก�ำลังลอยอยู่กลางอากาศ

118 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


การเล่นลูกสองมือล่าง (Underhand)
ความหมายการเล่นลูกสองมือล่าง
ทรงศักดิ์ เจริญพงศ์ กล่าวว่าการเล่นลูกสองมือล่างหรือลูกอันเดอร์ว่า เป็นวิธีการเล่นลูก
โดยใช้แขนท่อนล่างของทั้งสองมือบังคับหรือส่งลูกบอลให้ไปยังทิศทางหรือต�ำแหน่งที่ต้องการ
การเล่นแบบนี้เป็นปัจจัยส�ำคัญของการเล่นวอลเลย์บอลอีกอย่างหนึ่ง เพราะพื้นฐานการเล่นทีม
ที่ดีนั้น ผู้เล่นจะต้องเล่นลูกสองมือล่างได้ดีก่อน เนื่องจากเป็นเทคนิคหรือวิธีการรับลูกที่มาจาก
ฝ่ายตรงข้ามในลักษณะทีค่ อ่ นข้างแรง เช่น ลูกเสิรฟ์ หรือลูกตบ หรือลูกทีม่ าลักษณะตำ
�่ แต่ในบางโอกาส
การเล่นลูกสองมือล่างนี้อาจจะต้องใช้มือเดียวก็ได้ตามแต่โอกาสที่จะเกิดขึ้น
อาภรณ์ ธรรมนิยม (2530 : 56) ได้กล่าวถึงความส�ำคัญของการเล่นลูกสองมือล่างไว้ว่า
การเล่นลูกสองมือล่างเป็นทักษะทีส่ �ำคัญทีใ่ ช้มากทีส่ ดุ ในการเล่นวอลเลย์บอล ทีมใดมีความสามารถ
ในการเล่นลูกสองมือล่างได้สูง สามารถรับลูกบอลอาการรุนแรงของฝ่ายตรงข้ามได้มีประสิทธิภาพ
จะมีโอกาสเอาชนะฝ่ายตรงข้ามได้ไม่ยากนัก

การเตรียมพร้อมการเล่นลูกสองมือล่าง
อุทัย สงวนพงศ์ (ม.ป.ป. : 8) ได้กล่าวถึงการเตรียมพร้อมการเล่นลูกสองมือล่างไว้ดังนี้
1. ยืนหันหน้าเข้าหาลูกบอล
2. แยกเท้าทั้งสองออกกว้างกว่าช่วงไหล่เล็กน้อย
3. ผู้เล่นที่ยืนด้านซ้ายของสนามเท้าซ้ายอยู่หน้าเท้าขวา
4. ผู้เล่นที่ยืนด้านขวาของสนามเท้าขวาอยู่หน้าเท้าซ้าย
5. ผู้เล่นที่ยืนกลางสนามให้วางเท้าเสมอกัน
6. ยกส้นเท้าเล็กน้อย
7. งอเข่าทั้งสองหัวเข่าล�้ำปลายเท้าเล็กน้อย
8. โน้มตัวไปข้างหน้าทิ้งน�้ำหนักตัวลงบนหัวแม่เท้าที่อยู่หน้า
9. ยกมือทั้งสองอยู่ระดับหน้าท้อง
10. ตามองลูกบอลตลอดเวลา
ชนิ น ทร์ ยุ ก ตะนั น ทน์ (2532 : 52) ได้ ก ล่ า วถึ ง ลั ก ษณะท่ า ทางการเตรี ย มพร้ อ ม
เพื่อเล่นวอลเลย์บอล
1. อยูใ่ นลักษณะการทรงตัว ย่อเข่าให้กม้ ตำ�่ ลง โดยให้ล�ำตัวตัง้ ตรง อย่าให้ล�ำตัวลำ�้ หน้า
หรือโล้ไปข้างหน้ามาก

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 119


2. ลักษณะของเท้าทัง้ สอง ยืนคูข่ นานกัน ห่างกันประมาณช่วงไหล่หรือจะยืนให้เท้าใด
เท้าหนึง่ อยู่หน้าอีกเท้าหนึ่งก็ได้ (ขึ้นอยู่กับความถนัด)
3. ให้น�้ำหนักตัวอยู่บนเท้าทั้งสอง ถ้ายืนลักษณะเท้าใดเท้าหนึ่งอยู่หน้า ให้น�้ำหนักตัว
ลงทีเ่ ท้าหน้าซึ่งใช้เป็นหลัก
4. การยืนต้องยืนด้วยปลายเท้าเสมอ เพือ่ ความคล่องตัวในการเคลือ่ นที่ สามารถกระท�ำ
ได้อย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกกันว่าลักษณะพร้อมในการเคลื่อนที่
การยืนอยู่ในท่าเตรียม โดยยืนให้เท้าทั้งสองข้างแยกจากกัน แต่ปลายเท้าทั้งสองข้าง
หันเข้าหากันเล็กน้อย จะท�ำให้เท้าไม่ตายและช่วยเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น การหดหัวแม่มือแล้วแขนจะตึง
แนบชิดกัน

วิธีการเล่นลูกสองมือล่าง
วิธีการเล่นลูกสองมือล่างไว้เป็นข้อๆ ดังนี้
1. เคลื่อนที่เข้าหาลูกบอล
2. หยุดและย่อเข่าลงให้ต�่ำพอประมาณ พร้อมกับประสานมือ
3. ขณะที่ลูกบอลก�ำลังตกลงมานั้น เหยียดแขนให้ตึง พร้อมกับยกแขนและเหยียดเข่า
ขึ้นปะทะกับลูก
4. ในขณะทีแ่ ขนสัมผัสลูกบอล อย่ายกแขนสูงเกินไป ควรท�ำมุมประมาณ 70-80 องศากับพืน้
วิธีการเล่นลูกสองมือล่างไว้เป็นข้อๆ ดังนี้
1. เคลื่อนที่ไปด้านหน้าหรือด้านข้างเพื่อรับลูกบอล
2. แขนจะต้องเหยียดตึงและอยู่ในระดับต�่ำใกล้ลูกบอล การที่จะให้แขนตึงก็เพียงแต่
กดปลายหัวแม่มือลง แขนจะตึงเอง
3. แขนกระทบลูกและส่งแขนไปตามทิศทางที่ต้องการ
4. การเคลื่อนรับลูกบอลระดับต�่ำผู้เล่นจะต้องย่อตัวและแขนให้อยู่ใต้ลูกบอล
5. เมื่อลูกบอลอยู่ระดับต�่ำมากก็จ�ำเป็นจะต้องนั่งชันเข่ารับลูกบอล
6. การเคลือ่ นทีไ่ ปด้านข้างเพือ่ รับลูกบอล ถ้าลูกบอลอยูไ่ กลตัวต้องการเคลือ่ นทีร่ วดเร็ว
โดยใช้วิธีการไขว้เท้า และระยะใกล้ใช้วิธีการสไลด์เท้า
7. จุดส�ำคัญของการเคลือ่ นที่ คือจะต้องเคลือ่ นทีใ่ ห้ลกู บอลอยูต่ รงกลางล�ำตัว เพือ่ ท�ำให้
การรับลูกได้ง่ายขึ้น

120 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


ลักษณะของมือขณะสัมผัสลูกบอล
การเล่นลูกสองมือล่างต้องค�ำนึงถึงการจับมือหรือการให้นิ้วหัวแม่มือชิดกัน มือทั้งสอง
สัมผัสกันแนบแน่นเพื่อให้แขนทั้งสองเสมอกัน ท�ำให้ควบคุมลูกเป็นไปตามทิศทางที่ต้องการได้ง่าย
วิธีที่จะท�ำให้มือทั้งสองข้างแนบชิดกัน มี 3 ลักษณะ ดังนี้
1. โดยวิธีซ้อนมือ
2. โดยวิธีโอบหมัด
3. โดยวิธีก�ำหมัดทั้งสองข้างชิดกัน
สรุปลักษณะของมือขณะสัมผัสลูกบอล จะมีการจับมือเพื่อให้แขนทั้งสองส่วนของมือ
และมือเรียงชิดติดกัน เมื่อเวลาสัมผัสลูกบอลแล้วสามารถควบคุมทิศทางของลูกบอลไปในทิศทาง
ที่ต้องการได้ ดังนั้นลักษณะของมือขณะสัมผัสลูกบอลจึงมี 3 วิธี คือ

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 121


การเล่นลูกสองมือล่าง (Underhand)
1. วิ ธี ซ ้ อ นมื อ เป็ น วิ ธี ที่ นิ ย มเล่ น กั น มาก โดยเอามื อ หนึ่ ง ไปวางซ้ อ นทั บ อี ก มื อ หนึ่ ง
แล้วให้นิ้วหัวแม่มือชิดติดกัน

1
แสดงลักษณะของมือขณะสัมผัสลูกบอลวิธีซ้อนมือ

2. วิธโี อบหมัด ใช้มอื ใดมือหนึง่ ก�ำหมัดแล้วใช้อกี มือหนึง่ โอบหมัด นิว้ หัวแม่มอื ทัง้ สองชิดติดกัน

แสดงลักษณะของมือขณะสัมผัสลูกบอลวิธีโอบหมัด

3. วิธีก�ำมือทั้งสองข้างชิดกัน โดยก�ำมือทั้งสองแล้วน�ำมาชิดกัน พยายามให้นิ้วหัวแม่มือ


ทั้งสองข้างเสมอกัน

แสดงลักษณะของมือขณะสัมผัสลูกบอลวิธีก�ำมือทั้งสอง

122 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


การสัมผัสลูกบอลในการเล่นลูกสองมือล่าง
ชนินทร์ ยุกตะนันทน์ (2532 : 16) ได้กล่าวถึงการสัมผัสลูกบอลไว้ว่า
1. ใช้บริเวณแขนท่อนล่างจากข้อมือขึ้นไปประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือบริเวณข้อมือ
ที่ผูกนาฬิกา
2. ขณะที่จะสัมผัสลูกบอลให้เกร็งแขนทั้งสองเล็กน้อย โดยให้แขนทั้งสองเหยียดตึง
ย่อตัวลงพอประมาณ เท้าทั้งสองมีหลักที่มั่นคง
3. ขณะทีแ่ ขนทัง้ สองสัมผัสลูกบอลให้ยกล�ำตัวขึน้ พร้อมกับยกแขนทัง้ สองขึน้ เล็กน้อย
เป็นการส่งลูกบอลไปในทิศทางที่ต้องการ ท�ำหลายๆ ครั้งจะรู้น�้ำหนักของลูกบอลและสามารถส่ง
ลูกบอลไปในระยะทางที่ต้องการได้
อุทัย สงวนพงศ์ (2543 : 29) ได้กล่าวถึงการสัมผัสลูกบอลไว้ว่า บริเวณที่ถูกลูกบอลคือ
บริเวณท่อนแขนด้านหน้าทั้งสองแขนพร้อมๆ กัน ตั้งแต่เหนือข้อมือขึ้นมาประมาณ 10 เซนติเมตร

แสดงการสัมผัสลูกบอลในการเล่นลูกสองมือล่าง

วิธีการเล่นลูกสองมือล่าง
ทรงศักดิ์ เจริญพงศ์ ได้เรียบเรียงไว้ดังนี้

1. การย่อเข่าลงท่าเตรียมพร้อม แยกเท้าออก
ให้มากกว่าช่วงไหล่เล็กน้อย เท้าขวาอยู่หน้า ยกส้นเท้า
เล็กน้อย

แสดงลักษณะการย่อเข่าลง

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 123


2. ตามองที่ เ ป้ า หมาย พยายามให้ ลู ก บอล
อยู ่ ห น้ า ล�ำตั ว ระหว่ า งเท้ า ทั้ ง สอง ตามองที่ เ ป้ า หมาย
ที่จะส่งไป ถ้าเป้าหมายอยู่ทางขวาของสนาม ผู้รับต้อง
พยายามก้าวเท้าซ้ายก่อน เพื่อเป็นการถ่ายน�้ำหนักตัวไปสู่
เท้าขวาในทิศทางเดียวกับเป้าหมาย
แสดงลักษณะตามองที่เป้าหมาย

3. การแยกเท้าออกให้กว้างขณะเตรียมจะส่งลูก
เท้ า ทั้ ง สองต้ อ งแยกออกให้ ก ว้ า งและมี ค วามมั่ น คง
ยกส้นเท้าซ้ายขึน้ เล็กน้อย และพร้อมจะเคลือ่ นทีไ่ ปข้างหน้า
ตามทิศทางของลูกบอล

แสดงลักษณะการแยกเท้าออกให้กว้าง

4. การก้ า วเท้ า ไปหน้ า ลู ก ถ้ า จ�ำเป็ น ต้ อ งใช้


การส่งลูกจากด้านข้าง จะต้องพยายามรับลูกบอลก่อนที่
ลูกจะเคลื่อนที่เลยไปทางด้านข้างหรือด้านหลัง เท้าจะต้อง
ก้าวไปอยู่ในต�ำแหน่งหน้าลูกบอลเพื่อให้แขนสามารถรับ
และควบคุมลูกให้ไปยังเป้าหมายได้
แสดงลักษณะการก้าวเท้าไปหน้าลูก

5. การอยู่ด้านหลังลูกบอล ผู้รับจะต้องเคลื่อนที่
ไปรับลูกบอลก่อน ก้มตัว ย่อเข่า เท้าทั้งสองพร้อมที่จะเหยียด
ขึ้นตามลูกบอล แขนอยู่ห่างจากล�ำตัวประมาณ 45 องศา
กับพื้น และยกแขนขึ้นท�ำมุม 60 องศาขณะถูกลูก

แสดงลักษณะการอยู่ด้านหลังลูกบอล
124 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
6. แขนทั้ ง สองชิ ด กั น ขณะที่ ถู ก ลู ก บอลแขน
ต้องชิดติดกัน โดยจับมือทัง้ สองเข้าด้วยกันบีบบริเวณข้อศอก
เข้าหากัน ห่อไหล่เข้าหากันเล็กน้อย ใช้บริเวณแขนด้านใน
ถูกลูกบอลเพื่อการกระดอนที่ดี

แสดงลักษณะแขนทั้งสองชิดกัน

7. การยกไหล่ ขึ้ น ขณะส่ ง ลู ก ไหล่ ต ้ อ งยกขึ้ น


เหยียดเท้าหลังขึ้น ถ่ายน�้ำหนักตัวไปตามทิศทางที่ลูกบอล
กระดอนออกไป

แสดงลักษณะการยกไหล่ขึ้น

แบบฝึกการเล่นลูกสองมือล่าง
แบบฝึกที่ 1

วิธีปฏิบัติ 1. แบ่งนักกีฬาออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งยืนเป็นแถวสลับฟันปลา มือถือบอล


ยื่นออกข้างหน้าระดับเข่า
2. ให้นักกีฬากลุ่มที่ไม่มีบอลเคลื่อนที่ไปท�ำท่าเล่นลูกสองมือล่างกับนักกีฬา
ที่ยืนถือลูกสลับฟันปลาทีละลูกจนครบทุกลูกแล้ววิ่งกลับไปต่อท้ายแถวเริ่มใหม่

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 125


แบบฝึกที่ 2

วิธีปฏิบัติ 1. นักกีฬายืนเป็นแถวหน้ากระดานสองแถวห่างกัน 4 เมตร


2. ให้นักกีฬาแถวหนึ่งซึ่งมีบอลยื่นบอลออกข้างหน้าระดับเข่า แล้วให้นักกีฬา
แถวทีไ่ ม่มบี อลซึง่ ยืนเป็นคูก่ นั วิง่ เข้ามาท�ำท่าเล่นลูกสองมือล่างกับบอลทีย่ นื่ อยูน่ นั้ แล้วถอยหลังกลับ
ที่เดิมอย่างรวดเร็ว ปฏิบัติต่อเนื่องลูกบอลประมาณ 10 ครั้ง แล้วสลับกัน

แบบฝึกที่ 3

วิธีปฏิบัติ 1. นักกีฬาจับคู่กันยืน 1 คน นั่ง 1 คน คนนั่งถือลูกบอล


2. ให้คนนั่งยื่นบอลออกข้างหน้า คนยืนรีบวิ่งไปท�ำท่าเล่นลูกสองมือล่างกับ
บอลที่ถูกยื่นออกมานั้น คนนั่งก็หงายหลังไปแล้วรีบลุกขึ้นนั่งใหม่ จะลุกขึ้นหันหน้าไปทางใดก็ได้
แล้วยื่นบอลซ�้ำอีกคนยืนต้องรีบวิ่งไปท�ำท่าเล่นลูกสองมือล่างกับบอล ที่ถูกยื่นออกมาใหม่อย่าง
รวดเร็ว

แบบฝึกที่ 4

วิธีปฏิบัติ 1. นักกีฬาทั้งหมดยืนถือบอลอยู่ในสนาม

126 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


2. ให้นักกีฬาตีบอลด้วยวิธีเล่นลูกสองมือส่งบอลขึ้นในแนวดิ่ง แล้วรีบนอนหงาย
ท�ำลุก-นัง่ 1 ครัง้ แล้วรีบวิ่งไปตีบอลอีกโดยให้โอกาสบอลตกกระทบพื้นได้ 2 ครั้ง

แบบฝึกที่ 5

วิธีปฏิบัติ 1. นักกีฬาจับคู่ยืนหันหน้าเข้าหากันห่างกัน 5 เมตร แต่ละคู่มีบอล 1 ลูก


2. ให้นักกีฬาที่มีบอลขว้างบอลลงพื้น เมื่อบอลกระดอนไปที่ใดก็ให้นักกีฬา
อีกคนหนึ่งที่เป็นคู่กันวิ่งไปเล่นลูกสองมือล่างส่งบอลกับมาให้คนขว้างให้ได้

แบบฝึกที่ 6

วิธปี ฏิบตั ิ 1. นักกีฬาเข้าแถวตอนนอกสนาม น�ำเก้าอี้ 4 ตัวไปวางทีม่ มุ สนาม ทัง้ 4 ดังรูป


2. ผู้ฝึกสอนยืนบนที่สูงส่งลูกมายังต�ำแหน่งกลางหลังให้นักกีฬาวิ่งเข้าไปเล่น
ลูกสองมือล่าง ส่งบอลไปในต�ำแหน่งกลางหน้า แล้วรีบวิ่งไปแตะเก้าอี้ตัวใดตัวหนึ่งแล้วกลับมารับ
ลูกต่อไปให้ทัน ปฏิบัติต่อเนื่อง 4 ครั้ง 4 มุม แล้วเปลี่ยนคนต่อไป

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 127


การเซต (Setting)
การเซตเป็นการเล่นบอลด้วยมือทั้งสองข้างพร้อมกันหรือมือข้างเดียว โดยมีเป้าหมาย
ส�ำคัญในการเล่นเพื่อส่งบอลไปให้คนตบ การเซตมักจะใช้การเล่นครั้งที่ 2 ในจ�ำนวน 3 ครั้ง
ผู้เล่นฝ่ายหนึ่งมีสิทธิ์เล่นได้ก่อนลูกนั้นจะถูกส่งไปฝ่ายตรงข้าม การเซตนับเป็นทักษะที่ยากที่สุด
ในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล การเซตก็นับเป็นอาวุธส�ำคัญในการท�ำคะแนนของทีมด้วย การที่ทีม
จะประสบผลส�ำเร็จหรือไม่ ในการแข่งขันอาศัยความสามารถในการเซตเป็นเครือ่ งบ่งชีไ้ ด้ 60-70%
เนื่องจากการเซตเป็นทักษะที่ฝึกหัดยากและอาจเกิดการผิดกติกาได้ง่าย ถ้าหากยังฝึกหัดได้ไม่ดี
เท่าที่ควร ดังนั้น จึงไม่ค่อยมีผู้สนใจฝึกหัดเซต ท�ำให้การเล่นวอลเลย์บอลของนักวอลเลย์บอลชาวไทย
โดยทั่วไปยังไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร มาตรฐานการเล่นจึงไม่สามารถทัดเทียมกับประเทศเพื่อนบ้าน
ใกล้เคียงได้
ส่วนประกอบของการเซต
1. การทรงตัว ให้ยนื เท้าน�ำเท้าตาม โดยจะใช้เท้าใดน�ำ
ก็ได้ ช่วงห่างระหว่างเท้าทัง้ สองประมาณ 1 ช่วงไหล่ หย่อนเข่าลง
เล็กน้อย หน้าเงยมองลูก มือทั้งสองยกขึ้นระดับอก อยู่ด้านหน้า

2. การวางมือ เมื่อลูกเคลื่อนมาได้ระยะ ให้ยกมือ


ทั้ ง สองขึ้ น มาวางไว้ เ หนื อ หน้ า ผากโดยให้ ห ่ า งจากหน้ า ผาก
ประมาณ 20 เซนติเมตร ศอกทั้งสองข้างวางออกด้านข้าง
เป็นมุม 45 องศา ยกขึน้ ในระดับหัวไหล่ ตามองลอดช่องระหว่าง
มือทั้งสอง มือทั้งสองกางนิ้วออกพอประมาณ ท�ำมือทั้งสอง
ให้คล้ายลักษณะมีลูกบอลอยู่ในมือไม่เกร็งนิ้วหรือฝ่ามือ

3. การส่งแรง เมื่อลูกบอลเคลื่อนมาเกือบถึงมือให้
ผ่อนมือตามลูกลงมาเล็กน้อย ให้บอลสัมผัสมือและนิ้วให้มาก
ที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ เพื่อโอกาสในการบังคับลูก เมื่อมือเริ่มสัมผัส
กับลูกบอลให้เกร็งมือและนิ้วต้านน�้ำหนักของลูกไว้ ถึงตอนนี้
มือทั้งสองจะมีระยะห่างจากหน้าผากประมาณ 10 เซนติเมตร
ให้ใช้แรงส่งจากนิว้ -ข้อมือ-ศอก-หัวไหล่-เข่า และข้อเท้า รวมเป็น
แนวเดียว ส่งลูกออกไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

128 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


การเซตบอลไปข้างหลัง
การเซตบอลไปข้างหลังจ�ำเป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องแอ่นหลัง
แล้วดันสะโพกขึ้นไปข้างหน้าขณะที่มือจะถูกบอล เท้าหลัง
จะต้องก้าวไปข้างหน้า พร้อมกับยกข้อศอกตามบอลทีเ่ ซตออกไป
โดยหงายข้อมือไปข้างหลัง และฝ่ามือหงายขึ้นเพดาน

การเซตบอลที่จะเซตไปด้านหน้าและหลัง
การเซตบอลทีจ่ ะท�ำให้ผสู้ กัดกัน้ ดูไม่ออกว่าจะเซตบอล
ไปทางทิศไหน จะต้องย่อเข่าทั้งสองข้างลง แต่ล�ำตัวต้องตรง
ซึ่งสามารถเซตบอลไปในทิศทางใดก็ได้

การเซตบอลทีจ่ ะเปลีย่ นทิศทางของบอลได้อย่างฉับพลัน


สังเกตการณ์ยกข้อศอก การกางนิว้ มือ รวมทัง้ ทรวดทรง
ของล�ำตัวผู้เล่นต้องเริ่มจากการย่อตัวแล้วยืดตัวขึ้นสูง เมื่อเซต
บอลและสามารถเปลี่ยนทิศทางได้ทันที
เป็นการเล่นบอลทีต่ วั เซตต้องใช้เทคนิคหลอกทีมตรงข้าม
ไม่ให้อา่ นทิศทางของบอลได้ ไม่วา่ จะเป็นการยืนเซตหรือกระโดด
เซตก็ตาม
จุดส�ำคัญคือ ต้องเคลื่อนที่ให้บอลอยู่ตรงใบหน้า ล�ำตัว
ต้องตรงลักษณะอย่างนีจ้ ะท�ำให้ทมี ตรงข้าม มองไม่ออกว่าตัวเซต
จะเซตบอลไปทางไหน
ส�ำหรั บ ตั ว เซตเอง เมื่ อ อยู ่ ใ นลั ก ษณะดั ง กล่ า วแล้ ว
จะสามารถเปลี่ยนทิศทางของบอลไปข้างหน้า ข้างหลัง ทางซ้าย
หรือขวา ได้ง่ายมาก โดยเพียงขยับมือเท่านั้น

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 129


การกระโดดเซตบอล
การกระโดดเซตบอลในลักษณะนี้ใช้หลักการเดียวกับ
หลักการที่กล่าวมาคือ การยกมือขึ้น กางนิ้วออก ล�ำตัวตั้งตรง
และขาต้องงอ เพื่อให้สามารถเพิ่มก�ำลังได้มากขึ้น เมื่อต้องการ
จะเซตบอลไปให้ไกลๆ

การเซตบอลที่อยู่ห่างจากตาข่าย
เมือ่ ผูเ้ ล่นเคลือ่ นทีเ่ ข้าหาบอลทีอ่ ยูห่ า่ งจากตาข่ายเล็กน้อย
ผู้เล่นต้องเคลื่อนที่อยู่ใต้บอลแล้วจึงเซตบอล
การเซตเป็นหัวใจและกุญแจส�ำคัญทีจ่ ะน�ำทีมไปสูช่ ยั ชนะ
ปกติแล้วผู้เล่นในรูปควรเซตบอลไปทางไหล่ขวาเพื่อประสานกับ
ตัวตบกลางหน้า แต่ในรูปนี้น่าจะเป็นการเซตบอลให้ผู้เล่นแดนหลัง
ท�ำการรุก
จึงจ�ำเป็นต้องศึกษาเรือ่ งนีก้ นั เป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิง่
ก็คอื ท่าทางอย่างไรทีเ่ ซตบอลแล้วทีมตรงข้ามจะอ่านทิศทางไม่ได้
เช่น ในขั้นพื้นฐานล�ำตัวต้องตั้งตรง
แต่ส�ำหรับการเซตที่สูงขึ้น ท่าทางต้องเปลี่ยนไปบ้าง
เช่น ล�ำตัวควรเอนไปข้างหลังเล็กน้อย

การเตรียมพร้อมที่จะเซต โดยล�ำตัวเอนไปด้านหลังเล็กน้อย
ท่านี้เป็นท่าที่พร้อมจะเซตบอลไปในทิศทางใดก็ได้อีก
ท่าหนึ่ง เริ่มจากการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วไปอยู่ใต้บอล แล้วเอน
ส่วนบนของล�ำตัวไปด่านหลังเล็กน้อย
บอลต้องอยู่ตรงหน้าผากจึงจะเป็นจุดที่ดีที่สุดเพราะ
จะท�ำให้สามารถเซตบอลไปข้างหน้าหรือข้างหลังก็ได้ทมี ตรงข้าม
จะไม่สามารถหาทิศทางของบอลได้เลย

130 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


การเซตบอลอย่างกะทันหัน
ได้ ศึ ก ษาท่ า ทางการเซตบอลที่ ดี กั น มามากแล้ ว ที นี้
ลองมาดูท่าเซตบอลที่ไม่ดีกันบ้าง ต้องท�ำความเข้าใจกันว่าผู้เล่นนี้
เล่นระดับชาติ ที่ผ่านเกมส�ำคัญๆมาอย่างโชกโชน ทั้งเวิร์ลด์คัพ
เวิร์ลด์แชมเปี้ยนชิพ และโอลิมปิกเกมส์
แต่ต้องมาอยู่ในท่าทางที่ไม่ถูกต้อง น่าจะเป็นเพราะ
เพื่อนร่วมทีมส่งบอลแรกให้ไม่ดีมากกว่า
ทีนี้จะดูกันว่าท่านี้ท�ำไมไม่ดี ที่ไม่ดีก็เพราะว่าบอลอยู่
ด้านหน้าของล�ำตัว ท�ำให้ส่วนบนของล�ำตัวเอนไปข้างหน้า
การเซตบอลจะต้ อ งเซตไปทางด้ า นหน้ า เท่ า นั้ น
หากเซตกลับหลังก็เป็นการพาบอล (Hold Ball) จึงท�ำให้
ที ม ตรงข้ า มอ่ า นทิ ศ ทางของบอลได้ แ ละจะท�ำการสกั ด กั้ น
ได้อย่างง่ายดายด้วย
ทีถ่ กู ต้องแล้วผูเ้ ล่นต้องเคลือ่ นทีอ่ ยูใ่ ต้บอลอย่างรวดเร็ว
และเซตขณะบอลอยู่เหนือหน้าผากถ้าท�ำได้

ตัวอย่างท่าทางการเซตบอลที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง
โดยสรุปแล้วขั้นตอนในการเซตขั้นพื้นฐานที่ถูกต้องก็คือ
ท่าทีต่ วั เซตจะสามารถเซตบอลไปในทิศทางใดก็ได้โดยต้องเคลือ่ นที่
ไปอยู่ใต้บอล ให้บอลอยู่ตรงหน้าผาก ล�ำตัวส่วนบนต้องเอนไป
ข้างหลังเล็กน้อย (รูปขวามือ)
ถ้าบอลอยูด่ า้ นหน้า หรือด้านหลังของล�ำตัวมากเกินไป
การเซตบอลจะท�ำได้เฉพาะทิศทางเดียวเช่นถ้าบอลอยู่ด้านหน้า
มากล�ำตัวส่วนบนจะเอนไปข้างหน้า จึงเซตบอลไปข้างหน้า
ได้เท่านั้น
ในท�ำนองเดี ย วกั น ถ้ า บอลอยู ่ ด ้ า นหลั ง มากล�ำตั ว
ส่วนบนจะเอนไปข้างหลังและจะเซตบอลไปข้างหลังได้เท่านั้น
(รูปซ้ายมือ) ถ้าพยายามฝืนเปลี่ยนทิศทางก็จะเป็นลักษณะพาบอล
(Hold ball)
ดังนั้นทีมตรงข้ามจะอ่านทิศทางของบอลได้ง่ายและ
ดักท�ำการสกัดกั้นจนท�ำให้ตบบอลได้ยาก

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 131


การปรับจังหวะในการเซตบอลให้สมั พันธ์กบั การเคลือ่ นที่
ของตัวตบ
ทักษะทีส่ �ำคัญทีส่ ดุ อย่างหนึง่ ของตัวเซตก็คอื การเซตบอล
ให้สัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของตัวตบ ตัวเซตจะต้องสามารถ
เร่งเซตบอลให้เร็วขึ้น โดยการกระโดดขึ้นไปหาบอล หรือรอเวลา
เซตบอลให้ช้าโดยการย่อตัวลงมา
นอกจากนั้นจะต้องสามารถเซตบอลให้สูง ต�่ำ ช้า และ
เร็วได้อกี ด้วย เพือ่ ให้ตวั ตบเคลือ่ นทีเ่ ข้าตบบอลได้ดที สี่ ดุ เช่นในรูป
ตัวเซตก�ำลังปรับจังหวะในการเซตให้สัมพันธ์กับตัวตบหมายเลข 9
ที่ก�ำลังเคลื่อนที่ไปตบทางด้านหลังของตัวเซต

การเตรียมพร้อมเซตบอลไปในทิศทางใดก็ได้
จากท่าเตรียมพร้อมในรูป ท�ำให้ผสู้ กัดกัน้ ของทีมตรงข้าม
ต้องอยู่ใกล้ๆ ตัวเซตเพราะไม่สามารถอ่านทิศทางการเซตบอล
ของตัวเซตได้ จากนั้นตัวเซตก็พร้อมที่จะเซตบอลในจุดที่ตัวตบ
จะท�ำการตบได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

การคุกเข่าเซตบอล
ถ้าบอลแรกถูกส่งมาในระดับต�่ำมาก ปรกติแล้วจะต้องใช้
มือล่าง (Under Hand) ส่งบอลให้เพื่อนร่วมทีมตบซึ่งเหมือนกับ
แก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าแบบขอไปที
ถ้าสามารถเคลือ่ นทีอ่ ย่างรวดเร็วไปอยูใ่ ต้บอลทีล่ อยมา
ในระดับต�ำ ่ คุกเข่าลง และเอนส่วนบนของล�ำดัวยไปด้านหลังเล็กน้อย
ก็จะสามารถเซตบอลในระดับตำ�่ ไปในทิศทางใดก็ได้ เช่น ท่าเซตบอล
ไปด้านหลังและคุกเข่า

การกระโดดเซตบอลไปด้านหลัง
ตัวเซตจะกระโดดพร้อมทั้งเอนตัวไปด้านหลังเล็กน้อย
เซตบอลไปยั ง ด้ า นหลั ง โดยไม่ ใ ห้ ผู ้ ส กั ด กั้ น ของที ม ตรงข้ า ม
คาดคะเนทิศทางของบอลได้

132 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


การกระโดดเซตบอลไปด้านหลัง
กระโดดเซตบอลไปทางด้านหลังนั้นต้องให้ลูกบอล
คล้อยไปทางด้านหลังของหน้าผาก เมื่อกระโดดขึ้นไปแล้ว
เอนส่วนบนของล�ำตัวไปด้านหลังเล็กน้อยพร้อมกับแหงนคอขึ้น
บอลจะได้ลอยอยู่เหนือหน้าผากพอดี แล้วจึงเซตบอล
ไปข้างหลังด้วยการขยับข้อมือ
เมื่อพิจารณากันให้ดีแล้วจะพบว่าท่ากระโดดเซตบอล
ไปทางด้านหลังของผู้เล่นทั้งสองคนไม่ได้แตกต่างกัน

การเซตบอลให้ตบ

ต้องให้ความสนใจกับการเซตเป็นพิเศษ เพราะการเซตเป็นกุญแจส�ำคัญที่สุดที่จะน�ำทีม
ไปสู่ชัยชนะ
ต่อไปนี้จะเป็นการเซตบอลให้ตบแบบที่เรียกกันว่า “เซตบอลเร็ว” (Quick Setting)
เพื่อให้เพื่อนร่วมทีม “ตบบอลเร็ว” (Fast Spiking) ทั้งระยะใกล้และห่างจากตัวเซต

การเซตบอลให้เพื่อนร่วมทีมตบบอลเร็วในระยะห่างจากตัวเซต
การเซตให้ตวั ตบ ตบบอลเร็วทุกรูปแบบจะได้ผลดีและหลอกทีมตรงข้ามให้ท�ำการสกัดกัน้
ได้ยากต้องอาศัยการส่งบอลแรกที่ดีคือ
บอลแรกต้องส่งเข้าข้างตาข่ายให้ตัวเซตกระโดดเซต เพราะจะท�ำให้ผู้สกัดกั้นของ
ทีมฝ่ายตรงข้ามกังวลใจว่าตัวเซตจะตบบอลเองหรือไม่

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 133


ในรูปนี้เป็นการกระโดดเซตให้ลูกพุ่งไปอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เพื่อนร่วมทีมตบบอลเร็ว
ในระยะที่ห่างจากตัวเซต
การเซตเช่นนี้ จะต้องหงายข้อมือกลับเข้าหาตัวให้เต็มที่และเซตบอลด้วยการเคลื่อนไหว
ข้อมือที่ดีด้วย เพื่อใช้ในการบังคับบอลให้พุ่งไปเร็ว ช้า ไกล หรือใกล้ได้
ขอให้สังเกตข้อมือของตัวเซต ขณะกระโดดขึ้นเซตบอล ในรูปนี้ให้ได้
การเซตบอลเร็วให้เพือ่ นร่วมทีมตบในระยะใกล้ๆ กับตัวเซต
การเซตบอลเร็วแบบนีก้ เ็ ช่นเดียวกันคือ บอลแรกทีส่ ง่ มา
ควรอยูใ่ นระดับทีต่ วั เซตต้องกระโดดเซตเพือ่ หลอกล่อการสกัดกัน้
ของทีมตรงข้ามได้ด้วย
การเซตบอลเร็วแบบนี้ จะต้องยืดแขนออกให้สุดแล้ว
เซตบอลด้วยการเคลื่อนไหวของข้อมือเท่านั้น โดยต้องควบคุม
ความสูง และความเร็วของบอลให้สัมพันธ์กับจังหวะการเข้าตบ
ของตัวตบด้วย

การเซตบอลเร็วให้เพือ่ นร่วมทีมตบในระยะใกล้
กับตัวเซตอีกท่าหนึ่ง
การตบบอลเร็วทีจ่ ะหลอกล่อหรือตบจริงๆ ให้ได้ผลนัน้
ส�ำคัญอยู่ที่ลักษณะการกระโดดของตัวตบบอลเร็ว กล่าวคือ
ตัวตบจะต้องกระโดดขึ้นก่อนที่ตัวเซตจะเซตบอลห่าง
จากตัวเซตประมาณ 1 เมตร ลอยตัวรออยู่ในอากาศเพื่อตบบอล
ทีต่ วั เซตส่งมาให้ การลอยตัวรออยูก่ ลางอากาศ จะท�ำให้ผสู้ กัดกัน้
ของทีมตรงข้ามจ�ำเป็นต้องคอยสกัดกัน้ ตัวตบบอลเร็วตลอดเวลา
อย่างน้อย 1 คน

ตัวเซตจะส่งบอลให้ตบบอลเร็วในระยะใกล้ตัวหรือไม่
ยินยอมขึ้นอยู่กับไหวพริบของตัวเซตที่จะสังเกตการสกัดกั้นของ
ทีมตรงข้ามว่าจะอ่อน ณ จุดไหน แต่ถ้าตัวตบบอลเร็วไม่ลอยตัว
รออยู่ก่อนทีมตรงข้ามจะสามารถท�ำการสกัดกั้นได้ 2 หรือ 3 คน
พร้อมๆ กัน โดยดูจากบอลที่ตัวเซตส่งออกไป ไม่ต้องเสียคนที่จะ
คอยคุมตัวตบบอลเร็ว

134 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


ความสัมพันธ์ในการตบบอลเร็วระยะใกล้กับตัวเซต
ของตัวเซตและตัวตบ
ตั ว ตบจะกระโดดออกห่ า งจากตั ว เซตเล็ ก น้ อ ย
ลอยตั ว ขึ้ น ในขณะที่ ตั ว เซตก�ำลั ง จะเซตบอลและจะตบบอล
ที่พุ่งมาอย่างรวดเร็วขณะที่บอลยังลอยตัวไม่สูง
การตบบอลเร็วเช่นนี้ ทั้งตัวเซตและตัวตบต้องมี
ความสัมพันธ์ในเรื่องของจังหวะ การเซต การกระโดด และ
การตบอย่างดียิ่ง
การเล่นบอลเร็วอย่างนี้ นิยมเรียกกันว่า “บอลเร็วเอ”
ซึ่งเป็นพื้นฐานของบอลเร็วแบบอื่นๆ ที่จะได้กล่าวถึงกันต่อไป

ขอชี้แจงท�ำความเข้าใจเรื่องของ “บอลเร็ว” ดังนี้


บอลเร็ว เอ. คือ การเซตบอลเร็วให้ตัวตบท�ำการตบในระยะใกล้ตัวเซตและอยู่หน้า
ของตัวเซต
บอลเร็ว บี. คือ การเซตบอลเร็วให้ตวั ตบท�ำการตบในระยะห่างจากตัวเซตออกไปเล็กน้อย
คือห่างจากตัวเซตมากกว่าบอล เอ. และการเซตบอลเร็ว บี. จะสูงกว่าบอลเร็ว เอ. เล็กน้อยด้วย
โดยอยู่หน้าตัวเซตเช่นกัน
บอลเร็ว ซี. เป็นการเซตแบบเดียวกับบอลเร็ว เอ. แต่อยู่ด้านหลังของตัวเซต
บอลเร็ว ดี. เป็นการเซตแบบเดียวกับบอลเร็ว บี. แต่อยู่ด้านหลังของตัวเซตเช่นเดียวกับ
บอลเร็ว ซี.
ดังนัน้ การเซตบอลเร็วให้ท�ำการรุกแบบผสม (Combinaion Attack) นัน้ โดยพืน้ ฐานแล้ว
จะประกอบด้วยด้านหน้าและหลังของตัวเซต
ด้านหน้า คือ บอลเร็ว เอ. บี. หรือหัวเสา
ด้านหลัง คือ บอลเร็ว ซี. ดี. หรือหัวเสา
ลักษณะการ 2 แบบทีก่ ล่าวถึงนีเ้ ป็นลักษณะการรุกขัน้ พืน้ ฐานเท่านัน้ เพราะการรุกแบบผสม
ยังมีอีกหลายอย่างที่จะกล่าวถึงในภายหลัง
ถึงตอนนี้คงต้องดูรูปประกอบ การเซตบอลเร็ว บี. ซี. และดี. ต่อจากการเซตบอลเร็ว เอ.
ซึง่ ได้กล่าวไปแล้ว อย่างไรก็ตามหากกล้ามเนือ้ ไม่แข็งแรงพอ อย่าพึงฝึกการรุกทีพ่ ดู ถึงต่อไปนีเ้ ด็ดขาด

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 135


การเซตบอลเร็ว บี.
ตัวเซต จะเคลือ่ นทีไ่ ปอยูใ่ ต้บอล
รอตัวที่ตบเพื่อให้จังหวะในการเซตบอล
สัมพันธ์กับตัวตบแล้วจึงเซตบอลอย่าง
รวดเร็วในระดับที่ไม่สูงนัก
ส�ำหรับตัวตบต้องกระโดดขึ้น
ในขณะทีต่ วั เซตท�ำการเซต ซึง่ จะเป็นการ
กระโดดช้ากว่าการตบบอลเร็ว เอ. ที่ตัวตบ ต้องลอยตัวขึ้นก่อนตัวเซตท�ำการเซตบอล ในรูปที่ 3
จะเห็นว่าตัวตบกระโดดขึ้นไปแล้วหยอดด้วยปลายนิ้ว

การเซตบอลเร็ว ซี.
ยุทธวิธีการรุกแบบนี้ตัวตบจะกระโดดจากด้านหลัง
ของตัวเซต พร้อมกับทีต่ วั เซตจะเซตบอลให้ การตบบอลเร็ว ซี. นี้
ตัวตบต้องกระโดดก่อนที่ตัวเซตจะเซตบอล

การเซตบอลเร็ว ดี.
การเซตรูปนี้สามารถท�ำการรุกได้ท้ังการตบบอล ซี.
และดี. ผสมกันไป ผูส้ กัดกัน้ ของทีมตรงข้ามในต�ำแหน่งกลางหน้า
จะท�ำการสกัดกั้นได้ยาก
ในรูปจะเห็นว่า ผู้สกัดกั้นต�ำแหน่งกลางหน้าคาดว่า
ทีมตรงข้ามจะรุกโดยการตบบอลเร็ว ซี. จึงพร้อมจะกระโดดขึ้น
สกัดกั้นแต่ทีมตรงข้ามตบบอลเร็ว ซี. จึงพร้อมจะกระโดดขึ้น
สกัดกั้น แต่ทีมตรงข้ามกับตบบอลเร็ว ดี. โดยมีผู้เล่น หมายเลข 8
กระโดดหลอกเหมือนกับจะตบด้วยบอลเร็ว ซี.

136 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


การเซตบอลเร็วที่อยู่ห่างจาก
ตาข่าย
ถ้ า บอลแรกลอยอยู ่ ห ่ า งจาก
ตาข่าย ตัวเซตต้องเคลื่อนที่ไปอยู่ใต้บอล
อย่างรวดเร็วให้บอลอยู่เหนือไหล่ขวา
(ถ้าทิศทางกลับกันต้องอยูเ่ หนือไหล่ซา้ ย)
หมุนตัวไปยังทิศทางทีต่ อ้ งการจะเซตบอล
ไปแล้วจึงท�ำการเซต

การเซตบอลให้ผู้เล่นต�ำแหน่ง
หน้าซ้ายท�ำการตบ
ผู ้ เ ล่ น ต�ำแหน่ ง หน้ า ซ้ า ยหรื อ
ต�ำแหน่งที่ 4 ปกติแล้วจะเป็นตัวตบหลัก
ของทีม และจะยืนห่างตัวเซตมากเป็นตัว
ตบทีต่ อ้ งมีล�ำหักล�ำโค่น เพราะเป็นตัวตบ
ที่ท�ำคะแนนให้กับทีม โดยมีตัวตบบอล
เร็วหลอกให้ แต่ต้องอาศัยการเซตบอล
ที่แม่นย�ำจึงจะท�ำให้การตบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ให้สังเกตลักษณะข้อมือของตัวเซต เมื่อเซตบอลตัวเซตที่ดีข้อมือต้องยืดหยุ่นได้อย่างดียิ่ง
เพราะต้องใช้ข้อมือดึงดูดบอล เร่งความเร็วของบอล และปรับทิศทางของบอลให้สัมพันธ์กับจังหวะ
ของตัวตบโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเซตบอลให้ตัวตบที่ต�ำแหน่งหน้าซ้ายซึ่งอยู่ห่างจากตัวเซต


การกระโดดเซตด้วยมือเพียงข้างเดียว
เมื่ อ ถู ก ส่ ง มาในระดั บ สู ง ใกล้ ต าข่ า ยจนท�ำการเซต
สองมือไม่ได้ ตัวเซตต้องพยายามเซตด้วยมือเพียงข้างเดียว
โดยหน้าฝ่ามือมาทางแดนของตัวเอง แล้วเซตบอลด้วยการดีดนิ้ว
อย่างเดียว การเซตบอลด้วยมือเดียวถือว่าเป็นทักษะชั้นสูงสุด
ของตัวเซต

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 137


การหยอดโดยวิธีหยอดบอลด้วยปลายนิ้ว
ตัวเซตในปัจจุบันมักจะมีรูปร่างสูง เป็นผู้เล่นที่ถนัด
มือซ้าย เพราะขณะที่หันหน้าเซตบอลไปให้ผู้เล่นต�ำแหน่งหน้า
ซ้ายตบ ตัวเซตประเภทนี้ จะมีโอกาสตบบอลตามน�้ำหรือหยอด
ด้วยปลายนิ้วมือข้างซ้ายได้ โดยทีมตรงข้ามมักจะหลงทาง
อยู่เสมอ



การหยอดโดยการเซตบอลด้วยปลายนิ้ว
ตัวเซตมักจะหยอดบอลเบาๆ ลงในแดนของทีมตรงข้ามด้วยการเซตบอลยุทธวิธแี บบนีไ้ ด้ผลดี
และเป็นการหลอกทีมตรงข้าม ซึ่งคิดว่าตัวเซตจะเซตบอลให้ตัวตบ

138 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


แบบฝึกเพื่อการเซต
แบบฝึกที่ 1

วิธีปฏิบัติ 1. นักกีฬายืนจับคูก่ นั เป็นแถว 2 แถว ห่างกัน 5 เมตร แถวหนึง่ ถือบอลยืน่ ออก


ข้างหน้าระดับอก
2. ให้นกั กีฬาแถวทีไ่ ม่มบี อลวิง่ ไปย่อตัวเซตลูกในมือของคูข่ องตนเองแล้วถอย
กลับที่เดิม ปฏิบัติต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว 10 ครั้ง แล้วเปลี่ยนกัน

แบบฝึกที่ 2

วิธีปฏิบัติ 1. นักกีฬายืนจับคู่กัน คนหนึ่งถือบอล


2. ให้นักกีฬาที่ถือบอลยื่นบอลออกข้างหน้าระดับอกในทิศทางต่างๆ รอบตัว
นักกีฬาอีกคนที่ไม่มีบอล ต้องพยายามเคลื่อนที่เข้าไปเซตลูกที่ยื่นออกมานั้นอย่างรวดเร็ว ปฏิบัติ
ต่อเนื่อง 10 ครั้ง แล้วเปลี่ยนกัน

แบบฝึกที่ 3

วิธีปฏิบัติ 1. นักกีฬาเข้าแถวตอนด้านใดด้านหนึ่งในสนาม ผู้ฝึกสอนโยนบอลไปใน


ต�ำแหน่งกลางหน้า ให้นักกีฬาในแถววิ่งไปเซตลูกในระดับการตบต่างๆ ส่งไปยังริมสนาม ด้านหน้า
คนละลูกแล้ววิ่งไปต่อท้ายแถวต่อไป หรือ
2. ถ้าวิ่งไปไม่ทันก็ให้นักกีฬาตั้งบอลขึ้นเพื่อการตบโดยวิธีเล่นลูกสองมือล่าง
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 139
แบบฝึกที่ 4

วิธีปฏิบัติ 1. นักกีฬาเข้าแถวตอน ดังรูป ผู้ฝึกสอนโยนบอลไปในต�ำแหน่งกลางหน้า


ให้นักกีฬาในแถววิ่งไปเซตลูกส่งออกด้านหลังในระดับการตบต่างๆ ส่งไปยังริมสนามด้านหลัง
คนละลูกแล้ววิ่งไปต่อท้ายแถวต่อไป หรือ
2. ผูฝ้ กึ สอนใช้วธิ สี ง่ ลูกหมุนในทิศทางต่างๆ ให้นกั กีฬาวิง่ ไปเซตลูกเพือ่ การตบ
ในระดับต่างๆ ส่งไปยังต�ำแหน่งการตบต่างๆ

แบบฝึกที่ 5

วิธีปฏิบัติ 1. นักกีฬาเข้าแถวตอนที่ริมขวาของสนามในแดนตนเอง ผู้ฝึกสอนยืนบนที่สูง


นักกีฬาคนหนึ่งอยู่ต�ำแหน่งหน้าซ้าย
2. ผู้ฝึกสอนตบบอลข้ามตาข่ายไปให้นักกีฬาที่ต�ำแหน่งหน้าซ้าย รับลูกส่งมา
ต�ำแหน่ง กลางหน้าให้นักกีฬาหัวแถววิ่งไปเซตลูกสูงเพื่อการตบส่งไปยังต�ำแหน่งหน้าซ้าย
3. คนเซตลูกแล้ววิ่งไปคอยรับลูกตบ คนรับลูกตบแล้ววิ่งไปรบลูกจากการเซต
น�ำไปส่งให้ผู้ฝึกสอนแล้วไปต่อท้ายแถว ปฏิบัติต่อเนื่องเรื่อยไป

แบบฝึกที่ 6

วิธีปฏิบัติ 1. นักกีฬาเข้าแถวตอน ดังรูป มีนักกีฬาคนหนึ่งคอยรับลูกเสิร์ฟ


2. ผูฝ้ กึ สอนเสิรฟ์ บอลข้ามตาข่ายมาให้นกั กีฬารับลูกเสิรฟ์ ส่งไปต�ำแหน่งกลางหน้า
ให้นักกีฬาคนหัวแถวรีบวิ่งไปเซตบอลข้ามศีรษะของตนเอง เพื่อการตบส่งไปต�ำแหน่งหน้าขวา
3. คนเซตผลัดกันเซตคนละลูก คนรับลูกเสิร์ฟรับ 10 ครั้ง แล้วเปลี่ยนคนต่อไป
140 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
การตบ (Spiking)
การเล่นกีฬาวอลเลย์บอลมีทักษะพื้นฐานที่ผู้เล่นจะต้องฝึกฝนเพื่อให้เกิดความช�ำนาญ
การตบ (Spiking) เป็นทักษะพื้นฐานที่มีความส�ำคัญอย่างยิ่ง เพราะการตบถือว่าเป็นการรุกที่มี
ประสิทธิภาพมากที่สุด การแข่งขันวอลเลย์บอลคะแนนที่ได้จากการแข่งขัน ส่วนมากเกิดจากการตบ
ด้วยเหตุนี้ทีมตรงข้ามจึงต้องป้องกันการตบด้วยทักษะต่างๆ เช่น การสกัดกั้น และการรับลูกตบ
รูปแบบต่างๆ การตบเป็นการรุกได้ทงั้ ผูเ้ ล่นแดนหน้าและผูเ้ ล่นแดนหลัง การแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล
ในปัจจุบันทีมที่มีรูปแบบการตบที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพจะได้เปรียบคู่ต่อสู้ อีกทั้งการตบ
ที่รุนแรง ยังสามารถควบคุมเกมรุกของฝ่ายตรงข้ามได้อีกด้วย เนื่องจากการตบที่รุนแรงจะท�ำให้
คู่ต่อสู้ไม่สามารถโต้ตอบด้วยเกมการรุกที่รุนแรงได้ หรืออาจจะเสียคะแนนจากการรุกนั้นได้
ทรงศักดิ์ เจริญพงศ์ กล่าวว่า การตบเป็นทักษะที่ใช้ในการรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
ทั้งนี้ผู้ตบจะต้องมีความสามารถในการกระโดดได้สูงทรงตัวได้ดี ใช้แขนและข้อมือในการตบลูก
ได้อย่างรุนแรง ในปัจจุบันถ้าทีมใดมีการรุกจากการตบที่ไม่รุนแรงเมื่อใด ฝ่ายตรงข้ามจะสามารถ
รุกกลับได้โดยง่าย การตบจะต้องมีความสัมพันธ์อย่างดีระหว่างตัวเซตกับตัวตบ ดังนั้นการตบจะมี
ประสิทธิภาพดีหรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับตัวเซตเช่นกัน

หลักส�ำคัญของการตบลูกบอล
ศรีเกษม อุ่นประดิษฐ์ กล่าวว่า ทักษะของการตบลูกบอล เป็นทักษะของการรุก เมื่อเป็น
เกมรุกในขณะที่ผู้เล่นสามารถกระโดดได้สูงที่สุดบริเวณเหนือตาข่าย ผู้เล่นตบหรือตีลูกบอลอย่างแรง
เพื่อให้ลูกบอลตกลงพื้นสนามของฝ่ายตรงข้าม มีผู้ศึกษาว่าความเร็วของลูกบอลเคลื่อนที่ 160
กิโลเมตรต่อชั่วโมง นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นได้ทดสอบจับเวลาจากการตบลูกบอลของนักกีฬาชั้นดี
ปรากฏความเร็วตบลูกบอลจนกระทัง่ กระทบเส้นหลังของพืน้ สนาม ใช้เวลาเพียง 0.33 วินาทีเท่านัน้
คิดเป็นความเร็วเฉลีย่ 90 กิโลเมตรต่อชัว่ โมง การตบลูกบอลถือว่าเป็นครัง้ สุดท้ายในการเล่นลูกบอล
เพื่อเป็นการรุก ดังนั้นการที่ทีมจะชนะการเล่นหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับรุกด้วยการตบ การตบลูกบอลนั้น
ต้องการผู้เล่นที่มีความสามารถในการกระโดดในแนวดิ่ง และต้องการผู้เล่นที่สูงใหญ่อีกด้วย

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 141


ทักษะการตบลูกบอล ประกอบด้วย
1. ท่าเตรียม นักกีฬาที่จะตบลูกบอลจะต้องยืนเตรียมพร้อมที่จะวิ่งเข้ากระโดดตบ
ในลักษณะเท้าน�ำเท้าตาม ประมาณระยะก้าวในการวิ่งประกอบการวางเท้า ถ้าผู้ตบถนัดขวา
ระยะทางในการวิ่งเข้ากระโดดตบ 3 ก้าว ให้นักกีฬายืนท่าเตรียมพร้อมในลักษณะเท้าน�ำเท้าตาม
โดยมีเท้าข้างที่ไม่ถนัด คือ เท้าซ้ายอยู่หน้าและถ่ายน�้ำหนักตัวลงที่เท้าซ้าย เพื่อเตรียมพร้อมที่จะ
วิง่ เข้าตบ ก้าวที่ 1 ด้วยเท้าขวาต่อไปแต่ถา้ นักกีฬาถนัดซ้ายและระยะทางในการวิง่ 3 ก้าว ก็ให้นกั กีฬา
เอาเท้าขวาน�ำ ถ่ายนำ�้ หนักตัวลงเท้าขวาเพือ่ เตรียมพร้อมจะเริม่ วิง่ เข้าตบ ก้าวที่ 1 ด้วยเท้าซ้ายต่อไป
ในระยะเตรียมตัว นอกจากการยืนเท้าน�ำเท้าตามแล้ว นักกีฬาจะต้องหย่อนเข่าข้างหน้า
ลงเล็กน้อย สายตามองลูกบอลที่จะถูกส่งมาเพื่อทราบและถ้าเป็นไปได้อาจมีการช�ำเลืองมองฝ่ายรับ
บ้างเล็กน้อย เพื่อใช้องค์ประกอบในการเลือกทิศทางในการตบ
2. การวิ่งเข้าตบลูกบอล เนื่องจากการตบลูกวอลเลย์บอลต้องอาศัยการกระโดด
อย่างเต็มที่ การทีน่ กั กีฬาจะยืนอยูก่ บั ทีแ่ ล้วกระโดดขึน้ ตบเฉยๆ ไม่ชว่ ยให้นกั กีฬากระโดดได้สงู เท่าทีค่ วร
ฉะนั้น จึงต้องใช้การวิ่งเพื่ออาศัยแรงจากการวิ่งเข้าช่วยในการกระโดด การวิ่งเข้าตบลูกจะใช้
การวิ่งไปกับพื้น ไม่ใช่วิ่งยกเท้าสูงและในขณะวิ่งล�ำตัวจะตั้งเกือบตรง ทั้งนี้ เพราะหน้าจะต้องเงย
มองลูกบอลอยูต่ ลอดเวลา การวิง่ นีจ้ ะสัมพันธ์กบั การเหวีย่ งแขนและในขณะวิง่ ช่วงก้าวสุดท้ายและ
รองสุดท้ายถ้าผูต้ บเข้าวิง่ ตบลูกโดยใช้ระยะทางในการวิง่ 3 ก้าว ก้าวที่ 2 และก้าวที่ 3 จะสัมพันธ์กบั
การเหวีย่ งแขนเป็นอย่างมาก เพราะในการวิง่ ก้าวที่ 2 นัน้ ผูต้ บจะต้องเหวีย่ งแขนออกข้างหน้าเล็กน้อย
และในการวิ่งก้าวที่ 3 ซึ่งเป็นก้าวสุดท้ายนั้น แขนทั้งสองของผู้ตบจะต้องเหวี่ยงไปข้างหน้า
เพือ่ เตรียมเปลีย่ นทิศทางการเคลือ่ นไหว จากแนวขนานพืน้ เป็นแนวดิง่ กับพืน้ นัน้ แขนทัง้ สองจะถูกเหวีย่ ง
กับมาข้างหน้าและเลยขึน้ ไปเหนือระดับไหล่ดา้ นหน้า เพือ่ ช่วยส่งแรงในการกระโดดและการทรงตัว
กลางอากาศประสานงานกับการส่งแรงของขาทั้งสองข้าง
ในการวิ่งตบลูกโดยทั่วไปการก้าวเท้าแต่ละข้างล้วนมีความส�ำคัญเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็น
การวิ่งเข้าตบโดยใช้ช่วงก้าวกี่ก้าวก็ตาม เพราะถ้านักกีฬาก้าวเท้าผิดข้าง จะท�ำให้จังหวะใน
การกระโดดเสียไป
3. การเหวีย่ งแขน เนือ่ งจากการกระโดดทีต่ อ้ งการความสูงและการทรงตัวทีด่ กี ลางอากาศ
การเหวี่ยงแขนจึงเป็นกิจกรรมช่วยเสริมการกระโดดตบได้เป็นอย่างดี การเหวี่ยงแขนที่ได้จังหวะ
สัมพันธ์กบั การกระโดด จะช่วยให้นกั กีฬากระโดดได้สงู ทรงตัวกลางอากาศได้ดี และสามารถลอยตัว
อยู่กลางอากาศได้นาน การเหวี่ยงแขนต้องท�ำพร้อมกันทั้งสองแขนในขณะส่งตัวขึ้นจากพื้นเพื่อให้ได้
แรงส่งมากๆ และการรักษาสมดุลการลอยตัวในอากาศ หรืออาจจะช่วยให้ร่างกายเคลื่อนที่ไปใน
ต�ำแหน่งที่ต้องการได้จากท่าเตรียมกระโดด แขนจะอยู่ด้านหลังเพื่อเตรียมเหวี่ยงออกหน้า

142 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


4. การลอยตัวกลางอากาศ เมือ่ วอลเลย์บอลกระโดดขึน้ จากพืน้ แล้ว ช่วงเวลาในการลอยตัว
อยูใ่ นอากาศ คือ ช่วงเวลาทีส่ �ำคัญในการท�ำคะแนนเป็นอย่างยิง่ นักกีฬาจะใช้กลวิธใี ดๆ ในการท�ำคะแนน
ไม่วา่ จะเป็นการตบ การหยอด การเคาะเบาๆ ล้วนต้องอาศัยเวลาส�ำคัญนี้ นักกีฬาใดสามารถลอยตัว
กลางอากาศได้นานก็นับว่าได้เปรียบ เพราะมีช่วงเวลาท�ำคะแนนมาก
การลอยตัวได้นานนัน้ มีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1) สามารถกระโดดได้สูง
2) เวลากระโดดขึ้นจากพื้นแล้วต้องไม่เกร็งตัว จะต้องปล่อยร่างกายให้ผ่อนคลาย
การเกร็ ง กล้ า มเนื้ อ จากการกระโดด แล้ ว จึ ง ช่ ว ยเกร็ ง กล้ า มเนื้ อ เพื่ อ การตบลู ก อี ก ครั้ ง หนึ่ ง
เมื่อตัวเริ่มตกสู่พื้น
3) ต้องลอยตัวในลักษณะตัวเกือบนิ่ง ไม่ดิ้น ไม่กระตุกแขนขา หรือโยกตัวขณะลอยตัว
อยู่ในอากาศ
5. การลงสู่พื้น เมื่อตบลูกเสร็จเรียบร้อยแล้ว การกลับลงสู่พื้นก็เป็นวิธีที่ส�ำคัญเช่นกัน
เพราะถ้าผู้เล่นลงสู่พื้นได้อย่างถูกวิธีก็สามารถรักษาความปลอดภัยให้กับตนเองได้ และยังสามารถ
เล่นลูกต่อไปได้อย่างรวดเร็ว
การลงสู่พื้นที่ถูกวิธีคือ ให้ผู้เล่นลงสู่พื้นด้วยปลายเท้าทั้งสองเกือบพร้อมกันในลักษณะ
ทั้งย่อเข่างอ แล้วเตรียมพร้อมที่จะเล่นลูกหรือเคลื่อนไหวต่อไปได้ทันที
อุทัย สงวนพงศ์ และสมบัติ คุณามาศปกรณ์ กล่าวว่า การตบลูกบอลโดยทั่วไป จะมีหลักการ
ที่ส�ำคัญอยู่ 5 ประการคือ
1. ท่าเตรียม
2. การวิ่ง
3. การกระโดด
4. การเหวี่ยงแขน
5. การลงสู่พื้น
การตบที่ประสบผลส�ำเร็จต้องมาจากการรับลูกจังหวะแรก และการส่งลูกจังหวะสอง
ที่สัมพันธ์กัน
1. ท่าเตรียม
ท่าทางการเตรียมพร้อมที่จะตบลูกบอล โดยยืนแยกเท้าทั้งสองออกตามธรรมชาติ
งอเข่าทั้งสองเล็กน้อย โล้ตัวไปข้างหน้าพอสมควร ตามองที่ลูกบอลตลอดเวลา เตรียมพร้อมที่จะวิ่ง
ไปยังทิศทางต่างๆ

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 143


2. การวิ่ง
การวิง่ เป็นการเพิม่ แรงให้กระโดดได้สงู ขึน้ และเป็นการเลือกจุดและจังหวะของการกระโดด
ทีเ่ หมาะสม ก่อนทีจ่ ะออกวิง่ ผูต้ บต้องคิดคาดคะเนตัง้ แต่เมือ่ เห็นเพือ่ นร่วมทีมรับลูกบอลจังหวะแรก
ที่ส่งไปยังคนเซต โดยค�ำนวณระยะทาง ทิศทาง ความเร็ว ความโค้งและจุดตกของลูกบอลจาก
การเซตลูกจังหวะสอง เมื่อคาดคะเนสิ่งต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ก็พร้อมที่จะออกวิ่ง
การวิ่งเร็วหรือช้า จ�ำนวนก้าวมากหรือน้อยเพียงใดก็ตาม แต่จุดมุ่งหมายเพื่อวิ่งไปกระโดดขึ้น
ดังนั้นถ้าจังหวะของการวิ่งไม่ดี จะท�ำให้การกระโดดไม่ดีตามไปด้วย จังหวะและทิศทางของการวิ่ง
ขึ้นอยู่กับความเร็ว ความช้าและความสูงของลูกบอลด้วย เนื่องจากความเร็วในการวิ่งของแต่ละคน
แตกต่างกัน ผู้ที่เคลื่อนไหวช้า ควรออกวิ่งให้เร็ว คนที่เคลื่อนไหวเร็ว อาจเริ่มวิ่งช้าๆ ก่อน

แสดงลักษณะการวิ่งเพื่อเข้าตบลูกบอล
การตบแบบวิ่งสองก้าว
การตบลูกแบบวิ่งสองก้าว มักจะใช้ในการตบลูกเร็ว ผู้ตบจะยืนอยู่บริเวณเส้นรุกถ้าตบลูก
ด้วยมือขวา จะเริม่ ก้าวเท้าซ้ายยาวๆ เป็นก้าวแรก พร้อมกับย่อตัวต�ำ่ ลงเพือ่ ให้เกิดแรงส่งขณะกระโดด
แล้วก้าวเท้าขวาตามเป็นก้าวทีส่ อง ปลายเท้าขวาอาจจะเสมอหรือเหลือ่ มกับปลายเท้าซ้ายเล็กน้อย
การตบแบบวิ่งสามก้าว
การตบแบบวิง่ สามก้าวนี้ ถ้าตบลูกบอลด้วยมือขวาจะเริม่ ก้าวแรกด้วยเท้าขวาและก้าวเท้า
ซ้ายตามเป็นก้าวที่สอง ก้าวที่สามจะก้าวเท้าขวายาวๆ ขณะลอยตัวกระโดดขึ้นตบให้ลากเท้าซ้าย
ตามเท้าขวาเล็กน้อย
การตบที่วิ่งมากกว่าสามเก้า
การตบที่ผู้ตบต้องวิ่งมากกว่าสามก้าวซึ่งอาจจะวิ่งถึง 7-8 ก้าว จะใช้ส�ำหรับการตบ
ลูกยาวหรือลูกโด่งสูง การวิ่งก้าวแรกๆ จะสั้น แต่ก้าวสุดท้ายต้องก้าวยาว การที่ก้าวแรกๆ สั้นๆ
เพราะเป็นการสร้างความเร็วในการกระโดด ถ้าก้าวแรกยาวจะไม่สามารถสร้างความเร็วในก้าวต่อไป
ก้าวสุดท้ายให้ก้าวยาวเพราะเป็นจุดของจังหวะการกระโดด หากก้าวสั้นอีกอาจจะเสียจังหวะ
หรือชนตาข่ายได้
144 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
3. การกระโดด
จุดมุง่ หมายของการกระโดดเพือ่ สร้างความสูง สิง่ ทีจ่ ะช่วยให้เกิดแรงส่งให้ลอยตัวสูงขึน้ อีก
ก็คือ การเหวี่ยงแขน สปริงข้อเท้า การยืดล�ำตัว มุมของเข่า คือ ก่อนการกระโดดเข่าต้องงอเล็กน้อย
โน้มตัวไปข้างหน้า เหวีย่ งแขนทัง้ สองไปข้างหน้าเหยียดตัวขึน้ พร้อมกับใช้แรงสปริงจากข้อเท้ากระโดดขึน้
การกระโดดใช้ทั้งปลายเท้าและส้นเท้า การกระโดดด้วยปลายเท้าใช้เมื่อตบลูกเร็วหรือลูกสั้น
หรือลูกใกล้ตาข่าย ส่วนการกระโดดด้วยส้นเท้าการลอยตัวจะสูงกว่า จึงใช้ตบลูกไกลหรือลูกห่างตาข่าย
4. การเหวี่ยงแขน
การเหวีย่ งแขนนอกจากจะช่วยให้มแี รงส่งตัวลอยขึน้ แล้ว ยังช่วยให้การทรงตัวดี โดยบังคับ
ไม่ให้ตัวพุ่งไปข้างหน้าและช่วยให้ลอยตัวอยู่กลางอากาศได้นาน
การเหวี่ยงแขนให้ก�ำมือหลวมๆ กางแขนออกเล็กน้อย อย่าเหวี่ยงแขนไปข้างหลังมากเกินไป
เพราะจะท�ำให้การเหวี่ยงแขนไปข้างหน้าช้าลงและจะเหวี่ยงแขนทั้งสองข้างขึ้นอย่างรวดเร็ว
โดยเหยียดแขนซ้ายไปข้างหน้าเหมือนกับจะจับลูกบอลให้ข้อศอกขวาอยู่หลังใบหูขวา แอ่นล�ำตัว
ไปข้างหลังแขนขวาเหยียดตรงไปตบลูกบอลด้วยฝ่ามือและข้อมือของแขนขวา โดยหักข้อศอก
ขณะเหวี่ยงล�ำตัวโค้งไปข้างหน้า ขณะจะตบลูกบอลให้เหวี่ยงแขนทั้งสองข้างขึ้นอย่างรวดเร็ว
โดยเหยียดแขนซ้ายไปข้างหน้าเหมือนกับจะจับลูกบอลให้ข้อศอกขวาอยู่หลังใบหูขวา เหยียดแขน
ตรงไปตบลูกบอลด้วยฝ่ามือและหักข้อมือลง ลักษณะของแขนที่ตบจะเหยียดตึง ข้อมือจะต้องสะบัด
ลงเหมือนกับการใช้แส้ตีวัวหรือตีม้า การตบนอกจากการยกแขนและเหวี่ยงแขนอย่างถูกต้องแล้ว
ยังต้องใช้ข้อมือด้วย

แสดงลักษณะท่าทางของแขนในการตบลูกบอล

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 145


5. การลงสู่พื้น
เนื่องจากขณะตบลูกบอลจะยกไหล่ขวาขึ้นสูงกว่าไหล่ซ้าย (ผู้ตบลูกบอลด้วยมือขวา)
ดังนั้น ขณะลงสู่พื้นเท้าซ้ายมักจะลงสู่พื้นก่อน ท�ำให้เท้าซ้ายต้องรับน�้ำหนักมากเกินไปจึงท�ำให้
ข้อเข่าได้รับบาดเจ็บ จึงควรฝึกหัดลงสู่พื้นด้วยเท้าคู่ และลงสู่พื้นด้วยปลายเท้าในลักษณะทิ้งย่อ
คือ เอนปลายเท้าลงสูพ่ นื้ พร้อมกับงอเข่าพับตัวลงเล็กน้อย เมือ่ ลงสูพ่ นื้ แล้วให้อยูใ่ นท่าเตรียมพร้อม
ที่จะเล่นลูกบอลได้ต่อไป การเหวี่ยงแขนและการลงสู่พื้นด้วยเท้าเดียวอย่างนี้ไม่ถูกต้องอาจได้รับ
บาดเจ็บที่หัวไหล่และหัวเข่าได้
หลักส�ำคัญของการตบลูกบอลไว้ดังนี้
1. การเคลือ่ นทีเ่ ข้าหาบอลและกระโดดเพือ่ ท�ำการตบ การเคลือ่ นทีเ่ ข้าหาบอล (Approaching
and take off) เป็นจุดที่ส�ำคัญที่สุดในการตบ
1.1 การก้าวเท้าเข้าบอล
โดยปกติแล้วการก้าวเท้าเข้าหาบอล 2 ก้าวสุดท้ายของผู้เล่นที่ตบด้วยมือขวา
จะก้าวด้วยเท้าขวาตามด้วยเท้าซ้ายและถีบตัวขึ้นจากพื้น การก้าวเท้าแบบนี้จะท�ำให้ตบบอลได้ใน
จุดที่สูงขึ้น ควบคุมการทรงตัวได้ง่าย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีผลดีในการปรับจังหวะการถีบตัว
ขึ้นจากพื้น

แสดงลักษณะการก้าวเท้าเข้าหาบอล

1.2 การวิ่งเข้าหาบอลด้วยความเร็วเต็มที่
ทักษะการตบบอลเปลี่ยนทิศทาง เช่น วิ่งเข้าหาบอลเป็นแนวเฉียงกับสนาม
แต่เปลี่ยนทิศทางตบบอลเป็นแนวตรงต้องอาศัยการก้าวเท้าให้ยาวเต็มที่ เมื่อเริ่มต้นวิ่งเข้าหาบอล
แล้วใช้ 2 ก้าวสุดท้ายปรับจังหวะในการถีบตัวขึ้นจากพื้นพร้อมทั้งบิดล�ำตัวเพื่อเปลี่ยนทิศทางจาก
แนวเฉียงเป็นแนวตรง

146 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


แสดงลักษณะการวิ่งเข้าหาบอลด้วยความเร็วเต็มที่
2. การถีบตัวจากพื้นและการกระโดด (Take off and Jump)
เป็นการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องกันมาก และเป็นจุดส�ำคัญที่สุดที่จะท�ำให้ผู้เล่นกระโดด
ได้สูงสุดผู้เล่นหลายๆ คนมีกล้ามเนื้อดีมาก แต่จังหวะการเคลื่อนไหวต่อเนื่องระหว่างการถีบตัว
จากพื้นและการกระโดดไม่ดี จึงเป็นเหตุให้กระโดดได้ไม่สูงสุด
ดังนัน้ เทคนิคการฝึกตบบอลจะต้องเป็นไปอย่างถูกต้อง ตัง้ แต่การเคลือ่ นทีเ่ ข้าหาบอล
(Approaching) การถีบตัวจากพื้น (Take off) การกระโดด (Jump) การเหวี่ยงล�ำตัวและแขน
(Arms and Back Swing)
หากการเคลื่อนไหวจุดใดจุดหนึ่งขาดความต่อเนื่อง จะท�ำให้ประสิทธิภาพในการตบ
ลดลงกว่าที่ควรจะได้รับ
2.1 มุมในการย่อตัวเพื่อกระโดดตบบอล
ผู้เล่นจะกระโดดได้ไม่สูง ถ้าการย่อตัวต�่ำมากเกินไปหรือน้อยเกินไปในขณะที่ก้าวเท้า
ก้าวสุดท้ายเพือ่ ถีบตัวขึน้ จากพืน้ การย่อตัวทีถ่ กู ต้อง สะโพกและหัวเข่าต้องงอเป็นมุม 90-100 องศา
สรุปแล้ว ข้อส�ำคัญในการกระโดดจะอยู่ที่ 2 ก้าวสุดท้ายและการย่อตัว เพราะ
จะช่วยในการปรับจังหวะ เปลี่ยนทิศทาง และช่วยให้กระโดดได้สูง

แสดงลักษณะมุมในการย่อตัวเพื่อกระโดดตบบอล
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 147
2.2 การก้าวเท้าลักษณะหันปลายนิ้วเท้าเข้าหากัน
การก้าวเท้ามีลักษณะหันปลายนิ้วเท้าเท้าทั้งสองข้างเข้าหากันเล็กน้อย ทั้งนี้เพื่อให้
พลังของกล้ามเนื้อขาทั้งหมดมีศูนย์รวมที่หัวเข่าและจะท�ำให้กระโดดได้สูงสุด
ถ้าปลายนิ้วเท้าหันออกจากกันขณะก้าวเท้า ศูนย์พลังจะกระจายออกกระโดดได้
สูงสุดน้อยลง
เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่นในรูปสุดท้ายเป็นรูปที่ส�ำคัญ มิฉะนั้นแล้วฝึกซ้อมกันหนักเพียงใด
ก็จะไม่ได้รับผลส�ำเร็จสูงสุด

แสดงลักษณะการก้าวเท้าลักษณะหันปลายนิ้วเท้าเข้าหากัน

3. การเหวี่ยงแขนและล�ำตัวเพื่อตบบอล การฝึกเหวี่ยงแขนและล�ำตัวนี้ สามารถช่วยให้


ตบบอลได้รุนแรง และตบได้ในจุดที่สูงสุด จุดส�ำคัญที่จะตบบอลได้ในจุดสูงสุดก็คือ จังหวะสุดท้าย
ในการเหวียงแขนและล�ำตัว การตบบอลข้อศอกและล�ำตัวจะต้องเหยียดตรงขณะที่ฝ่ามือลูกบอลพอดี
3.1 การเหวี่ยงแขน

แสดงลักษณะการเหวี่ยงแขนเพื่อการตบ

148 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


3.2 การใช้แรงเหวี่ยงของล�ำตัว
เมือ่ บอลทีเ่ ซตมาให้ตบห่างจากตาข่าย ลอยมาช้าและสูง ผูเ้ ล่นสามารถใช้แรงเหวีย่ ง
ของล�ำตัวช่วย โดยง้างข้อศอกให้กว้าง ยืดหน้าอก แอ่นหลัง แล้วตบบอล ขาข้างขวาที่งอ 90 องศา
จะเหยียดออกเพื่อท�ำการตบเพื่อช่วยสร้างพลังในการตบให้รุนแรงยิ่งขึ้น

แสดงลักษณะการใช้แรงเหวี่ยงของล�ำตัว

3.3 การเหวี่ยงแขนเพื่อให้ตบบอลได้ในจุดสูงสุด
การเหวี่ยงแขนตบบอล จังหวะที่ฝ่ามือจะถูกบอล ข้อศอกต้องตั้งสูง แขนเหยียดตรง
จุดที่ฝ่ามือถูกบอลต้องถูกที่กึ่งกลางของบอลพอดี ถ้าศอกไม่ตั้ง แขนไม่เหยียดตรง จุดที่ตบบอล
จะอยู่ระดับต�่ำ

แสดงลักษณะการเหวี่ยงแขนเพื่อให้ตบบอลได้ในจุดสูงสุด

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 149


การตบลูกในลักษณะต่างๆ
วิธีการตบลูกบอลสูง (หัวเสา)
การตบลูกบอลสูง (หัวเสา) เป็นกลยุทธ์หลักของเกมการรุกประจ�ำของทุกทีม อีกทัง้ ทุกทีม
จะต้องมีผู้เล่นที่ตบลูกบอลสูงเป็นหลักของทีมอีกด้วย การตบลูกบอลสูงจะกระท�ำตรงต�ำแหน่งที่ 4
คือ หน้าซ้าย
ชาญฤทธิ์ วงศ์ประเสริฐ หลักการตบลูกบอลสูง มีดังนี้
1. การเคลือ่ นทีเ่ ข้าหาบอล โดยมองดูลกู บอลทีเ่ ซตมาจากตัวเซต ซึง่ ไปอยูใ่ นต�ำแหน่งสูงสุด
ดังนี้

แสดงลักษณะการเคลื่อนที่ขณะลูกบอลอยู่ในต�ำแหน่งสูงสุด

2. การเคลือ่ นทีเ่ ข้าหาบอล โดยมองดูลกู บอลทีเ่ ซตมาจากตัวเซต ซึง่ ไปอยูใ่ นต�ำแหน่งสูงสุด


ดังนี้

แสดงลักษณะการก้าวเท้าก่อนก้าวสุดท้าย

150 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


3. การกระโดดหลังจากเหยียดเข่าและล�ำตัวอย่างแรง แล้วยกแขนทัง้ สองขึน้ โดยงอข้อศอก
ของแขนที่จะตบลูกบอล และตึงไปด้านหลังของไหล่ด้านนั้น

แสดงลักษณะการกระโดดและดึงแขนไปด้านหลัง

4. การตบโดยลดแขนข้างที่ไม่ได้ตบลูกบอลลง เริ่มเหวี่ยงแขน บิดแขนที่ตบลูกบอลให้


ข้อศอกอยู่ชิดหู ไหล่ และแขนข้างที่ตบลูกจะต้องเหยียดให้เต็มที่ ตบลูกบอลที่อยู่ด้านหน้าของไหล่
ที่ตบลูกด้วยการสะบัดมือลง ส่วนอีกแขนหนึ่งที่อยู่ต�่ำกว่าให้ชิดล�ำตัว

แสดงลักษณะการตบลูกบอลโดยตบลูกบอลด้านหน้าหัวไหล่

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 151


วิธีการตบลูกเร็ว (Quick Spike)
การตบลูกเร็ว (Quick Spike) เป็นกลยุทธ์ของการรุกที่ถือว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุด
ด้วยเหตุผลเป็นการรุกทีเ่ ร็วฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถตัง้ รับหรือสกัดกัน้ ได้ทนั เหมาะส�ำหรับทีมทีม่ ผี เู้ ล่น
มีความคล่องตัวสูง สามารถสร้างเกมรุกได้ทันทีเมื่อรับบอลแรกส่งให้ตัวเซต เซตลูกให้ผู้ตบๆ ลูกเร็ว
เกมรุกจะเร็วมาก ท�ำให้ทีมฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถป้องกันหรือโต้ตอบด้วยการรุกที่มีประสิทธิภาพได้
มีดังนี้

1. ตัวเซตปรับจังหวะเพือ่ การเซต โดยปรับเปลีย่ น


ท่าทางของตัวเซตของตัวตบจะต้องเข้าหาอย่างรวดเร็ว
จับจังหวะเพื่อการกระโดด

แสดงลักษณะการเคลื่อนที่เข้าตบลูกบอล

2. การกระโดดขึ้นก่อนที่ตัวเซตจะถูกลูกบอล
จากนั้นตัวเซตๆ ลูกไปข้างหน้าในจุดที่สัมผัส

แสดงลักษณะการกระโดดขึ้นก่อนที่ตัวเซตจะถูกบอล


3. ในจังหวะสูงสุดของการกระโดดให้ตบบริเวณ
บนสุ ด ของลู ก บอล ด้ ว ยการเหวี่ ย งแขนอย่ า งเร็ ว และ
หักข้อมือลง

แสดงลักษณะจังหวะสูงสุดของการกระโดด

152 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


4. การตบลูกบอล บิดตัวไปทางด้านตรงข้าม
เพื่อเปลี่ยนแนวทางในการตบ

แสดงลักษณะการตบและการบิดตัว
วิธีการตบเพื่อการรุกในแบบต่างๆ
วิธีการตบเพื่อการรุกในแบบต่างๆ ดังนี้
1. การตบลูกสูง ตัวเซตจะอยู่บริเวณกึ่งกลางตาข่ายหรือค่อนข้างไปทางด้านข้างเล็กน้อย
แล้วเซตบอลให้สูงไปที่บริเวณปลายสุดของตาข่ายด้านหน้า เพื่อให้ผู้ตบสามารถตบได้

แสดงลักษณะการเคลื่อนที่เข้าตบลูกสูง

2. การตบลูกเร็วด้านหน้าหรือเรียกว่า A-Quick
เป็ น การตบที่ ผู ้ เซตและผู ้ ต บต้ อ งมี ค วามสั ม พั น ธ์ กั น มาก
โดยผู ้ เซตจะพยายามเซตลุ ก ให้ ขึ้ น จากมื อ เพี ย งเล็ ก น้ อ ย
เพื่อให้ผู้ตบๆ ด้วยความรวดเร็ว

แสดงลักษณะการตบลูกเร็ว
ด้านหน้า (A-Quick)
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 153
3. การตบลูกเร็วด้านหลัง ใช้วิธีการเหมือนกับ
การตบลูกเร็วด้านหน้า แต่ต่างกันที่ผู้เซตลุกไปด้านหลัง
เล็กน้อย ผู้ตบต้องกระโดดให้ไปทางด้านหลังผู้เซต

แสดงลักษณะการตบลูกเร็วด้านหลัง

4. การตบลูกระยะกลางด้านหน้า หรือเรียกว่า
B-Quick เป็นการตบลูกที่ความสูงปานกลาง ซึ่งผู้เซต
จะเซตลู ก ไปทางด้ า นหน้ า สู ง ประมาณ 1-1 ½ เมตร
ผู้ตบสามารถตบในทิศทางต่างๆ ได้

แสดงลักษณะการตบลูกระยะกลาง
ด้านหน้า B-Quick

5. การตบลูกระยะกลางด้านหลัง ท�ำเช่นเดียว
กั บ การตบลู ก เร็ ว ด้ า นหลั ง แต่ ต ่ า งกั น ที่ ร ะยะความสู ง
ของลูกบอลนั้นจะสูงกว่าเล็กน้อย

แสดงลักษณะการตบลูกระยะกลางด้านหลัง

154 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


วิธีการตบเพื่อการรุกในแบบต่างๆ ดังนี้
1. การตบลูกสูง ผู้เล่นต�ำแหน่งซ้ายหรือต�ำแหน่งที่ 4 ปกติแล้วจะเป็นตัวตบหลักของทีม
และจะยืนห่างจากตัวเซตมาก เป็นตัวตบที่ต้องมีล�ำหักล�ำโค่น เพราะเป็นตัวตบที่ท�ำคะแนน
ให้กับทีมโดยมีตัวตบบอลเร็วหลอกให้ แต่ต้องอาศัยการเซตที่แม่นย�ำ จึงจะท�ำให้การตบท�ำได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ
ให้สังเกตลักษณะข้อมือของตัวเซตเมื่อเซตบอล ตัวเซตที่ดี ข้อมือต้องยืดหยุ่นได้อย่างดียิ่ง
เพราะต้องใช้ข้อมือดึงดูดบอล เร่งความเร็วของบอลและปรับทิศทางของบอลให้สัมพันธ์กับจังหวะ
ของตัวตบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเซตบอลให้ตัวตบที่ต�ำแหน่งหน้าซ้ายอยู่ห่างจากตัวเซต

แสดงการเซตบอลให้ผู้เล่นต�ำแหน่งหน้าซ้าย ท�ำการตบลูกสูง
2. การตบบอลเร็ว เอ. (A-Quick) ตัวตบจะกระโดดห่างจากตัวเซตเล็กน้อยลอยตัวขึ้น
ในขณะที่ตัวเซตก�ำลังจะเซตบอลและจะตบบอลที่พุ่งมาอย่างรวดเร็ว ขณะที่บอลยังลอยไม่สูง
การตบบอลเร็วเช่นนี้ ทัง้ ตัวเซตและตัวตบต้องมีความสัมพันธ์ในเรือ่ งของจังหวะการเซต
การกระโดดและการตบอย่างดียิ่ง
การเล่นบอลเร็วแบบนี้ นิยมเรียกกันว่า “บอลเร็ว เอ.” ซึ่งเป็นพื้นฐานของบอลเร็ว
แบบอื่นๆ ที่จะได้กล่าวถึงกันต่อไป
บอลเร็ว เอ. (A-Quick) คือ การเซตบอลเร็วให้ตัวตบในระยะใกล้กับตัวเซตและอยู่หน้า
ของตัวเซต


แสดงความสัมพันธ์ในการตบบอลเร็ว เอ. (A-Quick)
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 155
3. การตบบอลเร็ว บี. (Quick) คือ การเซตบอลเร็วให้ตัวตบท�ำการตบในระยะห่าง
จากตัวเซตออกไปอีกเล็กน้อย คือ ห่างจากตัวเซตมากกว่าบอลเร็ว เอ. และการเซตบอลเร็ว บี.
จะสูงกว่าบอลเร็ว เอ. เล็กน้อยด้วย โดยอยู่หน้าตัวเซตเช่นกัน
ตัวเซตจะเคลื่อนที่ไปอยู่ใต้บอล รอตัวที่จะตบเพื่อให้จังหวะในการเซตบอลสัมพันธ์กับ
ตัวตบ แล้วจึงเซตบอลอย่างรวดเร็วในระดับที่ไม่สูงนัก
ส�ำหรับตัวตบที่ต้องกระโดดขึ้นในขณะที่ตัวเซตท�ำการเซต ซึ่งจะเป็นการกระโดดช้ากว่า
การตบบอลเร็ว เอ. ที่ตัวตบต้องลอยตัวขึ้นก่อน ตัวเซตท�ำการเซตบอล จะเห็นว่าตัวตบกระโดดขึ้น
ไปแล้วหยอดด้วยปลายนิ้ว

แสดงความสัมพันธ์การตบบอลเร็ว บี. (B-Quick)



4. การตบบอลเร็ว ซี. (C-Quick) คือ การเซตแบบเดียว
กับบอลเร็ว เอ. แต่อยู่ด้านหลังของตัวเซต ยุทธวิธีการรุกแบบนี้
ตัวตบกระโดดจากด้านหลังของตัวเซต พร้อมกับที่ตัวเซตจะเซตบอล
ให้การตบบอลเร็ว ซี. นี้ ตัวตบต้องกระโดดก่อนทีต่ วั เซตจะเซตบอล

5. การตบบอลเร็ว ดี. (D-Quick) คือ การเซตแบบเดียว
กับบอลเร็ว บี. แต่อยู่ด้านหลังของตัวเซตเช่นเดียวกับบอลเร็ว ซี. แสดงลักษณะการตบบอลเร็ว ซี
การเซตรูปนี้จะสามารถท�ำการรุกได้ทั้งการตบบอล ซี. (C-Quick)
และตบบอล ดี. ผสมกันไปผู้สกัดกั้นของทีมตรงข้ามในต�ำแหน่ง
กลางหน้าจะท�ำการสกัดกั้นได้ยาก
ในภาพจะเห็นว่า ผู้สกัดกั้นต�ำแหน่งกลางหน้าคาดว่า
ทีมตรงข้ามจะรุกโดยการตบบอลเร็ว ซี. จึงพร้อมจะกระโดดขึ้น
สกั ด กั้ น แต่ ที ม ตรงข้ า มกลั บ ตบด้ ว ยบอลเร็ ว ดี . โดยมี ผู ้ เ ล่ น
หมายเลข 8 กระโดดหลอกเหมือนกับจะตบด้วยบอลเร็ว ซี.

แสดงลักษณะการตบบอลเร็ว ดี
(D-Quick)
156 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
แบบฝึกเพื่อการตบ
แบบฝึกที่ 1


วิธีปฏิบัติ 1. นักกีฬายืนเข้าแถวขนานตาข่าย 2 ด้าน จับบอลคนละลูก
2. ให้นกั กีฬาโยนลูกขึน้ และตบบอลให้ลกู บอลหมุนลงพุงเข้าหาตาข่ายเพือ่ ฝึกหัด
บังคับทิศทางและการหมุนของลูกบอล
แบบฝึกที่ 2


วิธีปฏิบัติ 1. นักกีฬาจับคู่กัน ยืนเป็นแถวหน้ากระดาน 2 แถว แถวหนึ่งมีบอล
2. ให้นักกีฬาที่มีบอลชูลูกขึ้นสูงสุดแขนด้วยมือทั้งสอง แล้วนักกีฬาที่ไม่มีบอล
ยืนท�ำท่าเงื้อมือจะตบลูก
3. เมื่อผู้ฝึกสอนให้สัญญาณให้นักกีฬาที่ยืนเงื้อมือ ตบลูกที่อยู่ในมือของคู่
โดยพร้อมเพรียงกัน
แบบฝึกที่ 3

วิธีปฏิบัติ 1. นักกีฬาย่อตัวมือแตะพื้นที่เส้นบนข้างทั้งสอง หันหน้าเข้าสนาม


2. เมื่ อ ผู ้ ฝ ึ ก สอนให้ สั ญ ญาณ ให้ นั ก กี ฬ าทุ ก คนก้ า วเท้ า ออกหน้ า 1 ก้ า ว
พร้อมกับรวบเท้าท�ำท่ากระโดดตบลูกในอากาศ 1 ครั้ง แล้วกลับเข้าที่เดิม

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 157


แบบฝึกที่ 4

วิธีปฏิบัติ 1. นักกีฬาวิ่งเหยาะๆ บนเส้นรอบสนาม


2. เมื่อผู้ฝึกสอนให้สัญญาณให้ผู้เล่นรวบเท้าท�ำท่ากระโดดขึ้นตบลูกในอากาศ
1 ครั้งแล้ววิ่งต่อ
แบบฝึกที่ 5

วิธปี ฏิบตั ิ 1. ให้นกั กีฬาเคลือ่ นไหว 1 ก้าว 2 ก้าว และ 3 ก้าว แล้วกระโดดตบมือเปล่า หรือ
2. ให้นักกีฬาถือบอลคนละลูกกระโดดในท่าตบลูกแล้วใช้วิธีขว้างบอล 2 มือ
ข้ามตาข่ายไปลงแดนตรงข้าม
3. ให้นักกีฬาถือบอลกระโดดชูบอลเหนือตาข่ายแล้วปล่อยมือทั้งสองออกจาก
ลูกพร้อมกับสะบัดมือตบบอลข้ามตาข่ายไปอย่างรวดเร็ว
แบบฝึกที่ 6


วิธีปฏิบัติ 1. ให้นกั กีฬาโยนบอลโด่งไปหน้าตาข่าย แล้ววิง่ ไปกระโดดหยอดบอลข้ามตาข่าย
ไปหรือ
2. ให้นกั กีฬาโยนบอลโด่งไปหน้าตาข่าย แล้ววิง่ ไปกระโดดตบลูกข้ามตาข่ายไปหรือ
3. ให้นักกีฬาโยนบอลโด่งในระดับต่างๆ แล้ววิ่งไปตบลูกให้ข้ามตาข่ายไปลง
สนามด้านตรงข้ามในทิศทางต่างๆ แล้วแต่จะก�ำหนด
158 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
แบบฝึกที่ 5

วิธีปฏิบัติ 1. ให้นักกีฬาแต่ละแถววิ่งกระโดดท�ำตบลูกหน้าตาข่ายพร้อมๆ กัน แล้วถอยกลับ


ที่เดิมอย่างรวดเร็ว หรือ
2. ให้นักกีฬาแถวหนึ่งท�ำท่ากระโดดตบลูกอีกแถวหนึ่งย่อตัวท�ำท่ารับลูกสอง
มือล่าง แถวที่กระโดดแล้วรีบถอยกลับที่เดิมอีกแถวหนึ่งวิ่งเข้าท�ำท่ากระโดดตบบ้างสลับกัน
แบบฝึกที่ 6

วิธีปฏิบัติ 1. นักกีฬาเข้าแถวตอน 3 แถว และมีนักกีฬา 3 คน ยืนอยู่ใกล้ตาข่าย ดังรูป


ให้นักกีฬาในแถวโยนบอลให้นักกีฬาที่อยู่หน้าตาข่ายๆ รับลูกได้แล้วก็โยนบอลขึ้นในระดับต่างๆ
เพื่อให้นักกีฬาเจ้าของวิ่งเข้าไปกระโดดตบลูกข้ามตาข่ายไปลงแดนตรงข้าม
2. คนตบลูกแล้ววิ่งไปแทนที่คนโยน คนโยนแล้ววิ่งไปเก็บลูกไปต่อท้ายแถว
หมุนเวียนกันเรื่อยไป (ตบ 1 ครั้ง โยน 1 ครั้ง แล้วเก็บลูกไปตบใหม่)

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 159


การสกัดกั้นหรือการบล็อก (Blocking)
การสกัดกัน้ หรือการบล็อก (Blocking) นับว่าเป็นทักษะการเล่นส่วนบุคคลทีม่ คี วามส�ำคัญมาก
ทักษะหนึ่ง เนื่องด้วยการสกัดกั้นหรือการบล็อก เป็นทั้งการป้องกันการรุกของฝ่ายตรงข้าม
โดยผูเ้ ล่นแดนหน้าแล้ว การสกัดกัน้ หรือการบล็อกทีม่ ปี ระสิทธิภาพก็อาจจะเป็นการรุกได้โดยทันที
ที่การสกัดกั้นแล้วลูกบอลตกลงบนพื้นของฝ่ายตรงข้าม การสกัดกั้นหรือการบล็อกอนุญาตให้ผู้เล่น
ยื่นมือไปแดนของคู่ต่อสู้ แต่ต้องไม่รบกวนหรือเล่นลูกบอลก่อนที่คู่ต่อสู้จะเล่นบอล

ความหมายของการสกัดกั้นหรือการบล็อก (Blocking)
กรมพลศึกษา ให้ความหมายการสกัดกัน้ ไว้วา่ การสกัดกัน้ คือ วิธกี ารป้องกันการรุกของคูต่ อ่ สู้
ที่ถือว่าดี และมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยอาจท�ำเพียงคนเดียวหรือเป็นกลุ่มก็ได้
การเตรียมพร้อมในการสกัด
ท่าเตรียมพร้อมของผูเ้ ล่นในการเตรียมตัวเพือ่ การสกัดกัน้ นัน้ จะย่อตัวลงเล็กน้อย มือทัง้ สองข้าง
พร้อมทีจ่ ะเหยียดขึน้ สูง สายตาจ้องจับทีฝ่ า่ ยตรงข้าม ถ้าลูกฝ่ายตรงข้ามรุกด้วยบอลเร็วก็ตอ้ งพร้อม
ที่จะกระโดดได้ทันที โดยมือทั้งสองยกเตรียมพร้อมอยู่ข้างใบหู เพื่อเอื้อมไปสกัดกั้นบอล
การสกัดกั้นจะได้ผลหรือไม่นั้นจ�ำเป็นต้องอาศัยการก้าวเท้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งปกติแล้ว
ถ้าเป็น 1-2 ก้าว จะใช้วิธีการก้าวขึ้นไปด้านหน้า (Side Step) แต่ถ้าเกิน 2 ก้าว ควรใช้วิธีหันกลับตัว
วิ่งและหยุดเท้าเพื่อกระโดดสกัดกั้นและถอยหลังออกจากตาข่ายให้ได้อย่างรวดเร็ว ในลักษณะ
เป็นแนวเฉียงโดยใช้การก้าวเท้าแบบไขว้เท้า
วอลเลย์บอลที่ดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้ในปัจจุบันเป็นเพราะดูมัน ทันใจ และ
สถานการณ์ทเี่ ปลีย่ นไปอย่างรวดเร็ว บางครัง้ จากได้เปรียบเป็นเสียเปรียบ แต่บางครัง้ จากเสียเปรียบ
เป็นได้เปรียบในชั่วพริบตาเดียว เทคนิคที่ท�ำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ก็คือ การสกัดกั้น
จะได้ให้บ่อยๆ เมื่อทีมที่ท�ำการรุก (Attacking) ต้องผิดหวังทั้งที่ขณะผู้เล่นกระโดดขึ้นตบ
ทุกคนคิดว่าฝ่ายรับไม่มีทางจะรับได้ แต่ชั่วเสี้ยวของวินาที สถานการณ์อาจเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งสกัดกั้นการตบไว้ได้อย่างที่เรียกกันว่า “ไม่รู้ว่าใครตบใคร” เป็นเหตุให้ฝ่ายหัวเราะ
ต้องกลายเป็นฝ่ายร้องไห้อยู่บ่อยๆ และเป็นที่ยอมรับว่า การสกัดกั้นท�ำให้รับกลายเป็นรุกและ
รุกกลายเป็นรับได้ในพริบตา

การสกัดกั้นจึงเป็นเทคนิคที่น่าสนใจฝึกเป็นอย่างยิ่งเช่นเดียวกับการเสิร์ฟ เพราะดูแล้ว
เป็นเทคนิคธรรมดาๆ แต่ความจริงแล้วเป็นกุญแจส�ำคัญที่จะน�ำทีมไปสู่ชัยชนะได้อย่างง่ายๆ

160 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


การเคลื่อนที่ในการสกัดกั้น
การสกัดกั้นจะต้องเคลื่อนที่ไปช่วยกันสกัดกั้น 3 แบบ คือ
1. แบบสไลด์เท้า การเคลื่อนที่แบบสไลด์เท้าใช้เคลื่อนที่ระยะสั้นๆ โดยการก้าวเท้าไปข้างๆ
แล้วลากอีกเท้าหนึ่งตาม เช่น เคลื่อนที่ไปทางขวา ให้ก้าวเท้าขวาไปข้างๆ 1 ก้าว แล้วลากเท้าซ้าย
ตามเท้าขวา พร้อมกับถีบตัวขึ้นบล็อก

5 6 3 4 1 2
แสดงลักษณะการเคลื่อนที่แบบสไลด์เท้า

2. แบบก้าวไขว้เท้า การเคลื่อนที่แบบก้าวไขว้เท้านี้ใช้บล็อกเมื่อลูกบอลอยู่ไม่ไกลตัว
สมมุติว่าจะบล็อกทางขวามือให้บิดล�ำตัวไปทางขวามือเล็กน้อย พร้อมกับถ่ายน�้ำหนักตัวไปยังเท้า
ขวาแล้วก้าวเท้าซ้ายไขว้หน้าเท้าขวา 1 ก้าว แล้วก้าวเท้าขวาตามไป ขณะที่ก้าวเท้าซ้ายลงสู่พื้น
ให้บิดปลายเท้าเข้าหาตาข่าย พร้อมกับก้าวเท้าขวาตามในลักษณะเท้าขนานกันเพื่อหันหน้าเข้าหา
ตาข่าย
6 5 4 3 2 1

แสดงลักษณะการเคลื่อนที่แบบก้าวไขว้เท้า
3. แบบวิ่ง การเคลื่อนที่แบบวิ่งใช้ส�ำหรับการเคลื่อนที่ไปบล็อกไกลจากตัวผู้บล็อก
ถ้าวิ่งเฉียงขนานกับตาข่าย เมื่อถึงต�ำแหน่งที่จะบล็อกก็ปิดปลายเท้าของก้าวสุดท้ายให้ปลายเท้าชี้
เข้าหาตาข่ายแล้วกระโดดขึ้นบล็อก แต่ถ้าวิ่งเร็วมากจนไม่สามารถบิดปลายเท้าเข้าหาตาข่ายได้ทัน
ล�ำตัวก็จะเฉียงเข้าหาตาข่าย ในช่วงจังหวะทีก่ ระโดดขึน้ ไปแล้วจึงบิดตัวกลาอากาศ เพือ่ ให้เป็นท่าทาง
ในการบล็อกที่ถูกต้อง
1 3 5

2 4 6
แสดงลักษณะการเคลื่อนที่แบบวิ่ง

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 161


ชาญฤทธิ์ วงประเสริฐ กล่าวว่า การเคลื่อนไปข้างๆ เพื่อท�ำการสกัดกั้นว่า การเคลื่อนที่ไป
ด้านข้างขณะยืนอยู่ชิดกับตาข่าย สามารถเคลื่อนที่ได้ 3 แบบ คือ
1. ถ้าเป็นระยะใกล้ๆ ควรเคลื่อนที่วิธีก้าวเท้าไปด้านข้าง (Side Steps)

2 1 4 3 6 5

แสดงลักษณะก้าวเท้าไปข้างหน้า (Side Steps)

วิธีการสกัดกั้นหรือการบล็อก (Blocking)
ทรงศักดิ์ เจริญพงศ์ กล่าวถึงวิธีการสกัดกั้นหรือการบล็อก (Blocking) ไว้ดังนี้

1. การมองเพื่อสกัดกั้น ล�ำดับการมองขณะท�ำการ
สกัดกัน้ ตามองทีต่ วั ตบและเปลีย่ นมาทีต่ วั เซต แขนเหยียดขึน้
ด้านหน้าชิดกับตาข่าย

แสดงลักษณะการมองเพื่อการสกัดกั้น


2. การเตรียมพร้อม ท่าเตรียมพร้อมยกมือขึน้ เข่างอ
เล็กน้อยพร้อมที่จะเคลื่อนที่เท้าแยกออก ยืนห่างจากตาข่าย
ประมาณ 1 ช่วงแขน ให้ไหล่ทั้งสองขนานกับตาข่าย

แสดงลักษณะการยืนเตรียมพร้อม

162 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


3. ถ้าต้องเคลือ่ นทีเ่ ป็นระยะไกล กล่าวคือ ต้องก้าวเท้ากัน
หลายก้าว การเคลื่อนที่โดยวิธีการไขว้เท้า (Cross Step)
3 5
1

2 4 6
แสดงลักษณะเคลื่อนที่แบบก้าวไขว้เท้า (Cross Step)

4. การหมุนตัวกลับและวิง่ ไปยังด้านนัน้ ๆ (Turn to the


Side and Run) เป็นการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว โดยหมุนตัวไป
ด้านข้างและวิ่ง แล้วจึงหันตัวกลับเข้าหาตาข่ายด้วยการหยุดเท้า
แล้วสกัดกั้น
1 3 5

2 4 6

แสดงลักษณะการเคลื่อนที่หมุนตัวกลับและวิ่งไปด้านข้าง
5. พร้อมทีจ่ ะเคลือ่ นทีห่ ลังจากเคลือ่ นทีไ่ ปยังต�ำแหน่งแล้ว
ผูส้ กัดกัน้ ต้องอ่านรูปแบบการรุกและพร้อมทีจ่ ะกระโดด ตาดูทมี่ อื
ของตัวเซต ถ้าเป็นการตบลูกเร็ว มือต้องยกสูงตลอด

แสดงลักษณะพร้อมที่จะเคลื่อนที่

6. การย่อเข่าลงให้มาก เมื่อเคลื่อนที่ไปถึงต�ำแหน่งแล้ว
ผู้สกัดกั้นต้องพร้อมที่จะกระโดดให้เร็วที่สุด ตามองที่ตัวตบ
ย่อเข่าลงให้มากเพื่อให้มีแรงส่งมาก

แสดงลักษณะการย่อเข่าลง
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 163
7. การยกแขนขึ้ น เหยี ย ดขาขึ้ น แขนเริ่ ม ยกขึ้ น
เพื่ อ พร้ อ มที่ จ ะเหยี ย ดไปที่ ด ้ า นหน้ า ล�ำตั ว พยายามรั ก ษา
การทรงตัวให้ดี

แสดงลักษณะการยกแขนขึ้น

8. ไหล่ขนานตาข่าย เข่าและศอกเริ่มเหยียด โดยใช้


ข้อเท้าดันพื้น ไหล่ยังคงขนานตาข่ายแขนทั้งสองข้างอยู่หน้า
ล�ำตัวและใบหน้า

แสดงลักษณะไหล่ขนานตาข่าย

9. การเหยียดแขนและขา การเหยียดแขนให้ขึ้นไป
เหนือตาข่าย แขนอยู่หน้าล�ำตัวเพื่อยื่นเข้าหาตาข่ายได้อย่าง
รวดเร็วทุกส่วนของร่างกายต้องเหยียดให้มา

แสดงลักษณะการเหยียดแขนและขา

10. การเหยียดศอกต้องพยายามเหยียดแขนให้ล�้ำแนว
ตาข่ายเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามข้อศอกเหยียดให้สูงกว่า
ตาข่าย ตาดูที่ตัวตบ

แสดงลักษณะการเหยียดศอก
164 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
11. การเหยียดแขนชิดตาข่าย แขนและมือต้องกว้าง
น้อยกว่าลูกบอล หักข้อมือลงเพื่อให้ลูกกระดอนลงพื้น แขนทั้งสอง
อยู่ชิดตาข่ายเท่าที่จะท�ำได้

แสดงลักษณะการเหยียดแขนชิดตาข่าย

12. การยื่นปลายแขน เหยียดไหล่และยื่นปลายแขน


เข้าไปเหนือตาข่าย มือและนิ้วเกร็งแขนตึง

แสดงการยื่นปลายแขนเข้าไปเหนือตาข่าย
13. การยื่นมือไปที่ลูก แขนต้องใกล้ตาข่าย ศีรษะ
ตั้งตรง ตามองที่ตัวตบ เหวี่ยงแขนขึ้นเป็นจังหวะเดียวกับการยื่นมือ
ไปหาตาข่าย

แสดงการยื่นมือไปที่ลูก

แสดงลักษณะการสกัดกั้นหรือการป้องกันของผู้เล่นแถวหน้า 3 คน

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 165


ชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ กล่าวว่า ลักษณะการสกัดกัน้ แบบต่างๆ
ดังนี้
1. ท่าทางของผูส้ กัดกัน้ ต�ำแหน่งและการเคลือ่ นที่ (Blockers
Posture, Position and Movements)
1.1 ต�ำแหน่งและท่าทางของผูส้ กัดกัน้ ผูส้ กัดกัน้ ต้องยกมือ
ทั้งสองข้างขึ้นมาระดับหัวไหล่หัวเข่าย่อลงเล็กน้อย และพุ่งความสนใจ
ไปยังการเคลือ่ นไหวของตัวตบทีมตรงข้าม เมือ่ ทีมตรงข้ามจะเริม่ ท�ำการรุก แสดงลักษณะตำ�แหน่ง
ผูส้ กัดกัน้ ต้องอยูใ่ นลักษณะย่อตัวลงตำ�่ พร้อมจะกระโดด โดยสะเอวและ และท่าทางของผู้สกัดกั้น
หัวเข่างอท�ำมุมเกือบ 100 องศา เพือ่ ให้ลอยตัวได้สงู ทีส่ ดุ เมือ่ กระโดดขึน้ ไป

1.2 ต�ำแหน่งของผู้เล่นแถวหน้า 3 คน
ในการสกัดกัน้ ถ้าทีมตรงข้ามมักจะท�ำการรุกด้วยการตบ
บอลเร็วจากต�ำแหน่งกลางหน้า ผู้สกัดกั้นทั้ง 3 คน ต้อง
ยืนใกล้ๆ กันทีต่ �ำแหน่งกลางหน้ามุง่ ความสนใจไปทีผ่ เู้ ล่น
ทีมตรงข้าม ซึ่งเคลื่อนที่ท�ำการตบท่าทางของตัวเซต
และการเคลื่อนที่ของตัวตบบอลเร็วต�ำแหน่งกลางหน้า
เพื่อคาดการณ์ว่าทีมตรงข้ามจะใช้รูปแบบใดในการรุก แสดงลักษณะของผู้เล่นแถวหน้า
3 คน ในการสกัดกั้น
1.3 มุมในการย่อตัวก่อนกระโดด สกัดกัน้ เพือ่ กระโดดให้สงู ในการสกัดกัน้ ผูเ้ ล่นต้อง
ย่อตัวให้สะเอวและหัวเข่าท�ำมุมทีเ่ หมาะสม แล้วจึงถีบตัวขึน้ อย่างรวดเร็ว ทุกส่วนของล�ำตัวยืดตรง
สะเอวและหัวเข่าควรท�ำมุมประมาณ 100 องศา เช่นเดียวกับการกระโดดตบบอลยกข้อศอกขึ้น
ข้างล�ำตัว และเหวี่ยงแขนขึ้นเพื่อท�ำการกระโดด

แสดงลักษณะมุมในการย่อตัวก่อนกระโดด สกัดกั้นเพื่อกระโดดให้สูงในการสกัดกั้น

166 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


2. การเอื้อมมือข้ามตาข่ายเข้าไปสกัดกั้น
2.1 ใช้การสกัดกั้นเป็นการรุก ตัวผู้สกัดกั้นเอื้อม
มือเข้าไปในแดนของทีมตรงข้ามได้บอลจะสะท้อนกลับจากมือ
เป็นมุมแคบๆ ฝ่ายตรงข้ามจะรับบอลได้ยากมาก การเอื้อมมือ
เข้ า ไปสกั ด กั้ น ในแดนของที ม ตรงข้ า มได้ จ ะมี ผ ลดี ม ากกว่ า
การเหยียดแขนขึ้นสกัดกั้นในแดนของตนเอง
แสดงลักษณะใช้การสกัดกั้นเป็นการรุก

2.2 การสกัดกั้นเพื่อให้บอลสะท้อนกลับลงบน
พื้นสนาม การสกัดกั้นให้บอลที่ทีมตรงข้ามตบมาสะท้อนกลับ
ลงบนพื้นสนาม ต้องดึงสะโพกออกจากตาข่าย แต่เอื้อมมือ
ข้ามตาข่ายเข้าไปในแดนตรงข้าม พยายามท�ำมือให้เป็นรูป
ของหลังคา

แสดงลักษณะสกัดกั้นเพื่อให้บอล
สะท้อนกลับลงบนพื้นสนาม
3. การสกัดกั้น
3.1 การสกัดกั้นและการดักทิศทางของบอลที่ตบมา การสกัดกั้นที่ดีต้องอาศัย
การกระโดดสูงเท่าๆ กับการดักทิศทางของบอล จากรูปนี้จะเห็นได้ว่าผู้สกัดกั้นสองคนจับตา
อยู่ที่ตัวตบและดักทิศทางของบอลที่ตบมา

แสดงลักษณะการสกัดกั้นและการดักทิศทางของบอลที่ตบมาสนาม

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 167


3.2 การโยกตั ว ในอากาศ
ขณะท�ำการสกั ด กั้ น การสกั ด กั้ น ผู ้ เ ล่ น
จะกระโดดเหยียดแขนสูงขึ้นไปในอากาศ
ถ้ า มี ช ่ อ งว่ า งระหว่ า งผู ้ ส กั ด กั้ น สองคน
จะต้องพยายามปิดช่องว่างโดยการโยกตัว
เข้าหากัน การสกัดกั้นเป็นการเคลื่อนที่
หลังจากการกระโดดผู้สกัดกั้นต้องปรับ
ต�ำแหน่งของตนเองขณะลอยตัวในอากาศ แสดงลักษณะการโยกตัวในอากาศขณะทำ�การสกัดกั้น
ตามทิศทางของตัวตบ
3.3 การสกัดกัน้ ซ้อนกันของผูเ้ ล่นสองคน ถ้าผูเ้ ล่นสองคน
ท�ำการสกัดกั้นทิศทางของบอลที่ถูกตบมาได้อย่างถูกต้อง แต่มือของ
ผูเ้ ล่นสกัดกัน้ ซ้อนกันดังในภาพ ท�ำให้การสกัดกัน้ แคบลง ดังนัน้ ผูส้ กัดกัน้
สองคนต้องร่วมกันก�ำหนดศูนย์กลางของการสกัดกัน้ เพือ่ ควบคุมพืน้ ที่
สนามได้มากที่สุด

แสดงลักษณะการสกัดกั้นซ้อนกันของผู้เล่นสองคน

3.4 การสกัดกั้นเกิดช่องว่างของผู้เล่นสองคน ถ้าบอล
ผ่านช่องว่างระหว่างผู้สกัดกั้นสองคน ถือว่าเป็นความผิดพลาดของ
ผูเ้ ล่นกองหน้าทีไ่ ม่กระโดดขึน้ สกัดกัน้ ให้ชดิ กับผูส้ กัดกัน้ หลักหมายเลข 6
ยังดีที่ผู้สกัดกั้นหลักในรูปนี้สกัดกั้นได้ตรงกับทิศทางของบอลพอดี
จึงท�ำการสกัดกั้นได้ส�ำเร็จ
แสดงลักษณะการสกัดกั้นเกิดช่องว่างของผู้เล่นสองคน
4. การสกัดกั้นสามคน
ถ้าตัวตบทีมตรงข้ามตบดีมาก หรือสามารถอ่านทิศทาง
การส่งบอลของตัวเซตได้ถกู ต้องก็จ�ำเป็นทีผ่ เู้ ล่นสามคนท�ำการสกัดกัน้
พร้อมกัน อย่างไรก็ตามการสกัดกั้นสามคน ท�ำให้เหลือผู้ตั้งรับบอล
เพียงสามคน อาจท�ำให้การรับมีประสิทธิภาพน้อยลง

แสดงลักษณะการสกัดกั้นสามคน

168 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


แบบฝึกการสกัดกั้น
แบบฝึกที่ 1

วิธปี ฏิบตั ิ 1. นักกีฬายืนเข้าแถวหน้ากระดาน 3 แถว หันหน้าไปทางผูฝ้ กึ สอนทีแ่ ดนตรงข้าม


2. ผู้ฝึกสอนให้จังหวะการเคลื่อนที่ประกอบทักษะการสกัดกั้น (ซ้าย-กระโดด,
ขวา-กระโดด, หน้า-กระโดด) ให้นักกีฬาปฏิบัติพร้อมกันทั้งหมด
แบบฝึกที่ 2


วิธีปฏิบัติ 1. นักกีฬาจับคู่กัน นั่ง-ยืน ยกมืออยู่ในท่าเตรียมสกัดกั้น
2. เมื่อผู้ฝึกสอนให้สัญญาณ ให้นักกีฬาคนหนึ่ง (นั่ง-ยืนหรือกระโดด ยื่นมือ
ท�ำท่าสกัดกั้น ตรงหน้า, ซ้ายหรือขวา นักกีฬาอีกคนหนึ่งต้องพยายามปฏิบัติตามให้ถูกทิศทางโดยเร็ว
เป็นการฝึกการคาดคะเนทิศทางของคู่ต่อสู้
แบบฝึกที่ 3


วิธีปฏิบัติ 1. นักกีฬาเข้าแถวตอนนอกสนาม คนละด้าน
2. ให้นกั กีฬาหัวแถวแต่ละด้าน เดินไปทีห่ น้าตาข่ายท�ำการกระโดดสกัดกัน้ แล้ว
เคลื่อนที่พร้อมกัน 3 จุด หน้าตาข่าย แล้ววิ่งไปต่อท้ายแถวต่อไป

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 169


แบบฝึกที่ 4


วิธีปฏิบัติ 1. นักกีฬาเข้าแถวตอน 4 แถว ดังรูป
2. ให้นักกีฬาหัวแถวแต่ละแถว กระโดดสกัดกั้นกับนักกีฬาที่อยู่ตรงข้ามตนเอง
ด้านตรงข้ามอยู่กับที่ 1 ครั้ง แล้วเคลื่อนไหวไปต�ำแหน่งกลางหน้า กระโดดสกัดกั้นพร้อมกัน
ทั้ง 4 คน อีก 1 ครั้งแล้วกลับไปต่อท้ายแถวตนเอง
แบบฝึกที่ 5

วิธปี ฏิบตั ิ 1. นักกีฬาเข้าแถวตอนสองแถว ผูฝ้ กึ สอนยืนบนทีส่ งู หน้าตาข่ายในแดนตรงข้าม


2. ให้นักกีฬาหัวแถวทั้งสองกระโดดสกัดกั้นลูกจากการตบของผู้ฝึกสอนพร้อมกัน
แล้ววิ่งไปต่อท้ายแถวตนเอง
แบบฝึกที่ 6

วิธปี ฏิบตั ิ 1. นักกีฬาถือบอลทีแ่ ถวตอนดังรูป โดยมีนกั กีฬาทีจ่ ะฝึกการสกัดกัน้ ยืนหน้าตาข่าย


ด้านตรงข้าม ผู้ฝึกสอนยืนในต�ำแหน่งกลางหน้า
2. นักกีฬาคนหัวแถวส่งบอลให้ผู้ฝึกสอนเซตลูกสูง แล้ววิ่งเข้าตบลูก นักกีฬา
ที่ฝึกการสกัดกั้นก็กระโดดการสกัดกั้นลูกไว้ ให้คนตบๆ บอลใส่มือผู้สกัดกั้นแล้วเก็บบอลไปต่อท้ายแถว
เตรียมตบต่อไป

170 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


ผู้เล่นตัวรับอิสระหรือลิโบโร่ (The Libero)
ลิโบโร่ หรือผูเ้ ล่นตัวอิสระ ส�ำหรับนักกีฬาวอลเลย์บอลในปัจจุบนั ลิโบโร่ ถือว่าเป็นต�ำแหน่ง
ที่มีบทบาทส�ำคัญต�ำแหน่งหนึ่ง เพราะหลังจากที่กติกาการนับแต้มได้เปลี่ยนมาเป็นระบบ Rally-Point
ท�ำให้ทีมต่างๆ นั้น ต้องใส่ใจในรายละเอียดในการท�ำแต้ม และการป้องกันการเสียแต้มมากขึ้น
ดังนัน้ ลิโบโร่จะมีอทิ ธิพลในการทีจ่ ะท�ำให้แท็คติค และยุทธวิธใี นการเล่นของทีมประสบความส�ำเร็จ
มากขึ้น
ลิโบโร่ เป็นผู้เล่นที่ช่วยให้ยุทธวิธีในการรุกมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในเรื่องของการท�ำการรุก
ครั้งแรกในประเทศไทย จะใช้ศัพท์ท�ำการรุกครั้งแรกว่า k 1 หรือ c 1 คือเริ่มจากการรับลูกเสิร์ฟ
เข้าหาตัวเซต ตัวเซตตั้งบอลให้ตัวตบ ตัวตบ ตบบอลลงฝั่งตรงข้าม นี่คือ k 1 หรือ c 1 (Complex1)
ถ้าตบไปแล้วติดบล็อกลงมาฝั่งเรา หรือตบไปแล้วคู่ต่อสู้รับได้แก้ไขกลับมา บอลลงมาฝั่งเรา ก็ต้อง
ใช้ k 2 หรือ c 2 ต่อไป
ส�ำหรับกีฬาวอลเลย์บอล แพ้ชนะขึ้นอยู่กับการท�ำ k 1 มากกว่า k 2 ในหนึ่งเซต ต้องใช้
k 1 ประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ ในจ�ำนวนแต้ม 25 แต้ม ดังนั้นในการฝึกซ้อมต้องท�ำการฝึกซ้อม
k 1 ให้มีความช�ำนาญ โดยผู้เล่นที่จะมีบทบาทส�ำคัญก็คือลิโบโร่ เพราะ k 1 จะสมบูรณ์แบบหรือไม่
ก็อาจจะขึ้นอยู่กับการรับบอลเสิร์ฟเป็นหลักส�ำคัญ
จากการวิจยั ธรรมชาติของกีฬาวอลเลย์บอลในระดับสูงในปัจจุบนั พบว่า เปอร์เซ็นต์ ในการ
รับบอลของลิโบโร่นั้น จะรับบอลเสิร์ฟ ประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ ในการรับบอลตบนั้น มีเพียง
7-8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น สาเหตุเป็นเพราะว่ายุทธวิธีในการรุกในปัจจุบันมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นักกีฬาก็มปี ระสิทธิภาพในการเล่นมากขึน้ ดังนัน้ เปอร์เซ็นต์ในการออกแบบการฝึกซ้อมนักกีฬาระดับสูง
ควรออกแบบฝึกมาให้ลิโบโร่ท�ำการรับบอลเสิร์ฟมากกว่ารับบอลตบ ทั้งนี้จะไม่รวมถึงนักกีฬา
วอลเลย์บอลระดับกลางและไม่ระดับล่าง เพราะนักกีฬาระดับกลางและระดับล่างต้องเรียนรูท้ กั ษะ
ทั้งหมดให้ละเอียดก่อน

ลักษณะพิเศษของผู้เล่นลิโบโร่
- เป็นผู้ที่มีสภาพร่างกายแข็งแรง
- มีความคล่องตัวสูง
- มีปฏิภาณไหวพริบดี (ปฏิกิริยาตอบสนอง)
- มีความเข้าใจในเกมกีฬาวอลเลย์บอลเป็นอย่างดี
- มีความสามารถด้านทักษะกีฬาวอลเลย์บอลที่ดี โดยเฉพาะการรับบอลและการเซต
- มีสภาพจิตใจที่แข็งแกร่ง มีความมั่นคงในอารมณ์ไม่หงุดหงิดง่าย
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 171
- มีความมุ่งมั่นสูง
- มีสภาวะผู้น�ำ
- เป็นผู้ประสานงานที่ดี
- ถ้ามีรูปร่างสูงยาวจะได้เปรียบมาก

หน้าที่ของลิโบโร่
ผู้เล่นที่เป็นลิโบโร่ ส่วนใหญ่จะรับบอลที่มาจากการเสิร์ฟและมาจากการรุกของคู่ต่อสู้
ดังนัน้ ลิโบโร่ตอ้ งเป็นผูส้ งั เกตการณ์ทดี่ ี จึงจะสามารถท�ำหน้าทีไ่ ด้โดยสมบูรณ์ ซึง่ ลักษณะทีจ่ ะต้องสังเกต
ในการรับบอล มีดังนี้
การรับบอลเสิร์ฟ
- สังเกตผู้ที่จะท�ำการเสิร์ฟ ว่าใช้วิธีการเสิร์ฟแบบใด กระโดดเสิร์ฟ หรือยืนเสิร์ฟ ฯลฯ
- ทิศทางของบอลมาทางใดมากที่สุด
- คนเสิร์ฟมีสภาพจิตใจเป็นอย่างไร แต้ม 23 : 23, 24 : 24 ที่ผ่านมาเขาเสิร์ฟอย่างไร
กี่เปอร์เซ็นต์
- มีการเสิร์ฟสั้น-ยาวไปหลังบ้างหรือเปล่า ถ้ามี เสิร์ฟตอนสถานการณ์อย่างไร เป็นต่อ
หรือเป็นรอง
- คุณภาพของการเสิร์ฟเป็นอย่างไร เสียบ่อยหรือไม่ เฉลี่ยออกมากี่เปอร์เซ็นต์ในแต่ละ
สถานการณ์
- มีการเสิร์ฟใส่ตัวตีบอลหลักของเราที่อยู่แดนหน้าหรือไม่
การรับบอลตบ
- ต้องทราบข้อมูลของตัวตบบอลว่าท�ำหน้าทีต่ บบอลอะไรลูกเร็ว หรือลูกโค้งหน้าตาข่าย
- ตัวตบตบบอลหลากหลายทิศทางหรือไม่ หรือชอบตบบอลทางเดียว
- ตัวตบมีสภาพจิตใจเป็นอย่างไร มุง่ มัน่ ตลอดเวลาหรือไม่ เวลาตบติดบล็อกแสดงอาการกลัว
ออกมาให้เห็นหรือเปล่า แต้มเท่าๆ กันใกล้จะเกม ตัวเซตยกให้ตัวนี้ตีบ่อยหรือไม่
- เวลาบล็อก ตัวตบตัวนี้ชอบตีหรือหยอด
- ต้องทราบความสามารถของบล็อกในแต่ละหน้าของทีมเรา
- ต้องทราบว่าคนใดบล็อกก่อน คนใดบล็อกดี
- มีการประสานงานที่ดีในทีมรับสามคนแดนหลัง ใครจะขึ้นไปรองหยอด ใครจะถอย
ต้องท�ำจนเป็นอัตโนมัติ
- มีการอ่านเกมการบล็อกที่ดี ถ้ามีช่องว่างระหว่างบล็อกต้องทราบโดยอัตโนมัติทันทีว่า
จะต้องท�ำอย่างไร

172 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


หลักการฝึกซ้อมลิโบโร่
- ฝึกให้ลิโบโร่เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง ในการฝึกรับบอลทุกๆ ช่วงของการฝึกซ้อม
โค้ชต้องพยายามหาวิธกี ารฝึกให้ผเู้ ล่นลิโบโร่เกิดความเชือ่ มัน่ ในตนเองให้ได้ เพราะถ้าฝึกให้นกั กีฬา
เกิดความเชื่อมั่นในตัวเองได้เท่ากับว่าประสบความส�ำเร็จไปแล้ว 75 %
- ฝึกเทคนิคในการรับบอลในช่วงต้นๆ ชั่วโมงของการฝึกซ้อม
- ฝึกความมุ่งมั่น จดจ่อในเกมส์ในช่วงท้ายชั่วโมงของการฝึกซ้อม
- ฝึกการเคลือ่ นทีข่ องตัวลิโบโร่ในทุกๆ ทิศทางทีเ่ ข้ารับบอลตามระบบการตัง้ รับบอลเสิรฟ์
และบอล defence
- แก้ไขข้อผิดพลาดในการเคลื่อนของเท้าในการรับบอลให้เข้าเป้าหมายอย่างจริงจัง
อย่าปล่อยปะละเลย
- พยายามรักษาลักษณะท่าทาง ล�ำตัว รูปแบบการรับบอลให้เข้าเป้าหมาย
- ฝึกซ้อมเกมการแข่งขันให้เหมือนสถานการณ์จริง
วิธีการออกแบบการฝึก
- ออกแบบฝึกในการรับบอลเสิร์ฟ
- ออกแบบฝึกในการรับบอลตบ
- ออกแบบฝึกในการรองรับบอลตบ
รับบอลเสิร์ฟตรงหน้า แบบเคลื่อนที่ไปรับ

- โค้ชเป็นผู้โยนบอลจากง่ายไปยาก
C
- ลิโบโร่ออกจากตำ�แหน่ง 5, 6 หรือ 1
มารับบอลเข้าจุด
- ความเร็วเริ่มจากง่ายไปหายาก
- หลังจากนัน้ โค้ชเปลีย่ นตำ�แหน่งถอยไป
ให้เหมือนการเสิร์ฟจริง

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 173


แบบฝึกในการรับบอลเสิร์ฟด้านข้างล�ำตัว
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นบ่อยในระหว่างการท�ำแข่งขัน บอลที่มาทางข้างล�ำตัวจะมีความเร็ว
และแรงคนรับมักจะวางมือไม่ทันหรือช้าไปท�ำให้บอลนั้นไม่เข้าเป้าหมาย ดังนั้น ต้องฝึกให้ลิโบโร่
คิดถึงจุดที่สัมผัสบอลให้ทันเวลา โดยหันมือหรือล�ำตัวชี้ไปทางเป้าหมายให้ได้และใช้การยืดหยุ่น
ของล�ำตัวช่วงบนผ่อนแรงบอลที่มาด้วยความเร็วและแรง

C - โค้ชเสิร์ฟบอลให้รับข้างลำ�ตัวซ้าย-ขวา
เริ่มจากง่ายไปหายาก
- หลังจากนัน้ โค้ชถอยไปยืนบนโต๊ะเสิรฟ์ บอล
C มาในระยะประมาณ 3.5-4 เมตร ฝึกให้
ลิโบโร่เคลื่อนที่ไปรับข้างลำ�ตัว ซ้าย-ขวา
- ฝึกรับตำ�แหน่ง 5, 6, 1 ให้เข้าจุดตัวเซต
L

ลักษณะในการเตรียมพร้อมที่จะรับบอลของตัวลิโบโร่คือ
- ต้องยืนอยู่ในต�ำแหน่งเตรียมพร้อม
- ท่าทางการรับต้องยืนบนเท้าทั้งสองข้าง ไม่เอนไปด้านใดด้านหนึ่ง
- กางแขนออกข้างล�ำตัว ยืดอก งอเข่าเล็กน้อย ไม่ย่อลงไปมาก เพราะยากแก่การรุก
ขึ้นไปเล่นบอล
- ก่อนมือสัมผัสบอลตัวต้องหยุดทุกครั้ง ไม่ใช่สัมผัสบอลแล้วตัวยังไม่หยุดนิ่งเลย
ฝึกรับบอลสองมือบน
กีฬาวอลเลย์บอลในปัจจุบนั กติกาอนุญาตให้ลกู แรกนัน้ สามารถทีจ่ ะเล่นลูกสองมือบนได้
โดยไม่ผดิ กติกา ดังนัน้ การรับบอลเสิรฟ์ แบบสองมือบนจึงมีความส�ำคัญมากในการรับเสิรฟ์ แบบ Float serve
วิธีการฝึก
- ให้ลโิ บโร่ยนื ห่างจากตาข่ายประมาณ 4-5 เมตร โค้ชตบบอลมาตรงหน้าของลิโบโร่ให้ลโิ บโร่
ใช้สองมือ บนส่งบอลเข้าจุดที่ตัวเซตยืน
- ในการฝึกให้ฝึกจากง่ายไปหายาก
- ความแรงของบอลทีม่ าจากการท�ำ Float serve จะไม่มคี วามรุนแรงเหมือนการกระโดดเสิรฟ์

174 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


ฝึกรับบอลในสถานการณ์ต่างๆ
- บอลที่มาจากการเสิร์ฟด้วยความรุนแรง
- บอลที่ตกลงตรงจุดเกรงใจ
- บอลทีจ่ ะต้องรับจังหวะสอง (บอลเสียจังหวะ เช่น บอลอาจจะถูกตาข่ายระหว่างแข่งขัน
หรือบอลที่คนเสิร์ฟกระโดดขึ้นเสิร์ฟด้วยความรุนแรงแต่ไม่เสิร์ฟกลับตีเบาๆ หยอดลงมา)

รูปแบบการตั้งรับเสิร์ฟของลิโบโร่
ในการตั้งโซนการรับบอลเสิร์ฟ ลิโบโร่ต้องรับผิดชอบพื้นที่ในการรับบอลเสิร์ฟมากกว่า
ผู้เล่นคนอื่นๆ ทั้งนี้ก็เพื่อจะกดดันคนเสิร์ฟ เพราะโดยปกติคนเสิร์ฟจะเสิร์ฟบอลหนีผู้เล่นที่เป็น
ลิโบโร่ ดังนั้นถ้าลิโบโร่บีบพื้นที่ให้ผู้เล่นคนอื่นรับผิดชอบพื้นที่น้อยลงท�ำให้คนเสิร์ฟนั้นต้องเสิร์ฟลง
ผูเ้ ล่นคนอืน่ ด้วยความยากล�ำบาก เพราะถ้าเสิรฟ์ ไม่ตรงบอลอาจจะออกข้างสนามก็ได้ หรือถ้าเสิรฟ์
ไม่ดีก็เข้าต�ำแหน่งลิโบโร่
4
5 รูปแบบการเสิร์ฟแสดงพื้นที่รับผิดชอบ
ของลิโบโร่
3 2
- ตำ�แหน่งตัวเซตอยู่ตำ�แหน่ง 5
L 1 - ลิโบโร่เข้าไปแทนตำ�แหน่ง 6

รูปแบบการรับบอลเสิร์ฟ เมื่อลิโบโร่เข้ามาแทนต�ำแหน่ง 1 ตัวเซตอยู่ต�ำแหน่ง 6


2

4 3
6
5 L

รูปแบบการรับบอลเสิร์ฟ เมื่อลิโบโร่เข้ามาแทนต�ำแหน่ง 5 และตัวเซตอยู่ต�ำแหน่ง 1


4

3 2 1
L
6

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 175


การรับบอลตบ
ในการรับบอลทีม่ ปี ระสิทธิภาพของผูเ้ ล่นทีเ่ ป็นลิโบโร่นนั้ นอกจากจะขึน้ อยูก่ บั การสังเกต
ผู้เล่นที่ท�ำการรุกของฝ่ายตรงข้ามแล้ว ยังขึ้นอยู่กับระบบการบล็อกของฝ่ายเรา ดังนั้นผู้เล่นลิโบโร่
ต้องอ่านเกมการแข่งขันให้ละเอียดถี่ถ้วน จนสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าลักษณะการเซตของ
คู่ต่อสู้แบบนี้จะบล็อกกี่คน หนึ่งคน สองคน หรือสามคน

4 3 2

5 1

L

- ในการสกัดกั้นคนเดียว ลิโบโร่ต้องรู้ว่าคนบล็อกของเราจะบล็อกตรงไหน จะคลุมด้านซ้าย
หรือด้านขวาด้วยการสื่อสารหรือนัดแนะกันก่อนที่จะท�ำการบล็อก

4 3 2

5 1

การตั้งรับแดนหลังเมื่อมีการสกัดกั้นคนเดียว

3 2 3 2
4 4

5 1 5 1

L L

176 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


การตั้งรับแดนหลังเมื่อมีการสกัดกั้นสองคน

3 2 3 2

4 4
5 1 5 1
L L

การตั้งรับเมื่อตัวสกัดกั้นตรงกลางไม่สามารถไปช่วยตัวริมท�ำการสกัดกั้นได้ทัน

3 2
4

5
1
L

การทีล่ โิ บโร่ทำ� หน้าทีไ่ ด้ประสบความส�ำเร็จในการรับบอลจากการรุกของคูต่ อ่ สูค้ อื


- ท�ำอย่างไรก็ได้ให้บอลสัมผัสมือขึ้นมาโดยไม่จ�ำเป็นต้องให้ตัวเซตก็ได้ ถ้าบอลมาด้วย
ความเร็วและแรง
- สามารถท�ำการต่อบอลให้เพื่อนตบได้
- สามารถเปลี่ยนต�ำแหน่งจาก 6 เป็น 5 หรือต�ำแหน่ง 1 ก็ได้ เพื่อกดดันตัวตบให้ตบหนี
ต�ำแหน่งลิโบโร่ในการตั้งรับ

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 177



บ ทที่ 8
มินิวอลเลย์บอล
มินิวอลเลย์บอล การเริ่มเล่นกีฬาวอลเลย์บอลที่ได้รับรองและสนับสนุนโดยสหพันธ์
วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) โดยเป็นเกมการเล่นส�ำหรับเด็กที่มีอายุเริ่มเล่นระหว่าง 9-10 ปี
ไปจนถึง 12-13 ปี ทัง้ นี้ โดยกฎ กติกาและระเบียบการเล่นทีแ่ น่นอนชัดเจน โดยสมาคมวอลเลย์บอล
จะก�ำหนดอายุทแี่ ตกต่างกันของการแข่งขันในระดับใดระดับหนึง่ ในระดับโรงเรียน เช่น อายุไม่เกิน
12 ปี เป็นต้น โดยแข่งขันเพื่อพัฒนานักกีฬาในระดับต่างๆ ของประเทศนั้นๆ

การเล่นมินิวอลเลย์บอลในโรงเรียน
ปรัชญาการสอนมินิวอลเลย์บอล คือ การเริ่มต้นสู่เกมการเล่นวอลเลย์บอลอย่างถูกต้อง
“เราจะปลูกฝังการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลอย่างไร” ค�ำตอบง่ายๆ คือ ท�ำการพัฒนาเกมการเล่น
และพัฒนาการสอนวอลเลย์บอลให้แก่เด็กที่เริ่มเล่นวอลเลย์บอลให้มีขีดความสามารถในการเล่น
กีฬาวอลเลย์บอลดีขึ้นเรื่อยๆ อย่างเป็นล�ำดับ โดยให้ทักษะที่ถูกต้องนั้นติดตัวไปและไม่ให้กลับไป
เหมือนเดิม (การเล่นโดยใช้ทักษะที่ไม่ถูกต้อง) ฉะนั้น ทั้งครูและนักเรียนจะต้องมีเวลาที่ง่าย
และสะดวกต่อกันและกันในการฝึก
วิธีเริ่มต้นใหม่ส�ำหรับการสอนและการเล่นวอลเลย์บอล
• การใช้แบบการเรียนพลศึกษาในชั้นเรียนระดับประถมศึกษา
• ใช้เทคนิคการเล่นที่เข้าใจง่าย
• พัฒนาและเล่นง่าย
• มุ่งเน้นในเรื่องการเรียนรู้เพื่อใช้ในการมีส่วนร่วมในการเล่น

มินิวอลเลย์บอล
เป็นกีฬาที่สามารถเล่นได้ทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย โดยท�ำการแข่งขันเป็น 2 ฝ่าย (สองทีม)
ในสมัยเมื่อก่อน อาจจะใช้กติกาการเล่นแบบข้างละ 2-4 คน โดยใช้ความกว้างของสนาม
4.5-6 เมตร และความยาว 9-12 เมตร และใช้ความสูงของตาข่าย 1.9-2.0 เมตร

178 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


ปัจจุบันประเทศไทยมีการจัดการแข่งขันมินิวอลเลย์บอลชิงแชมป์ประเทศไทย โดยใช้
กติกาและผู้เล่นที่ท�ำการแข่งขันเหมือนเช่นกติกาการแข่งขันสากล เพียงแต่แตกต่างกันที่ความสูง
ของตาข่ายเท่านั้นเอง
วัตถุประสงค์ของการแข่งขัน คือ ความพยายามของนักกีฬาทีจ่ ะต้องส่งลูกบอลข้ามตาข่าย
ไปลงสนามฝ่ายตรงข้าม ในขณะที่นักกีฬาฝ่ายตรงข้ามก็เตรียมพร้อมที่จะท�ำเช่นเดียวกัน
เริ่มต้นการเล่น
1. เริ่มต้นโดยการเสิร์ฟบอลจากเส้นหลังของฝ่ายตนข้ามตาข่ายไปให้ฝ่ายตรงข้ามและ
ฝ่ายตรงข้ามสามารถเล่นลูกได้ 3 ครัง้ หากแต่เพียงไม่สามารถเล่นติดต่อกันเกิน 1 ครัง้ ในคนๆ เดียว
(ต้องเล่นลูกบอลเพื่อให้คนอื่นเล่นต่อจากตน แล้วจึงจะสามารถเล่นลูกบอลได้อีกครั้ง) เพื่อส่งบอล
ข้ามตาข่ายมายังฝ่ายแรก
2. ทีมที่ชนะในคะแนนนั้นคือ ทีมที่สามารถส่งลูกบอลไปยังแดนฝ่ายตรงข้ามได้ส�ำเร็จ
ก็จะเป็นฝ่ายได้เสิร์ฟลูกต่อไป โดยท�ำการหมุนต�ำแหน่งตามเข็มนาฬิกาเพื่อไปเสิร์ฟลูกเหมือนใน
ข้อ 1. (หากทีมที่เสิร์ฟเป็นฝ่ายที่ชนะในคะแนนนั้น ก็ให้ท�ำการเสิร์ฟต่อโดยนักกีฬาคนเดิม
ยังไม่ต้องหมุนต�ำแหน่ง)
3. การนั บ คะแนนก็ นั บ แต้ ม ไปจนถึ ง 25 คะแนน ที ม ใดมี ค ะแนนถึ ง 25 คะแนน
ก่อนเป็นฝ่ายชนะในเซตนัน้ (หากทีมทัง้ 2 มีคะแนนเท่ากัน ทีค่ ะแนน 24 เท่ากัน ให้แข่งขันกันจนกว่า
จะมีคะแนนห่างกัน 2 คะแนน เช่น 26 : 24 หรือ 27: 25 ฯลฯ ให้ถือว่าทีมใดมีคะแนนมากกว่า
2 คะแนนเป็นฝ่ายชนะ
4. หากการแข่งขันเป็นแบบ 2 ใน 3 ทีม ที่เป็นฝ่ายชนะ 2 เซต เป็นฝ่ายชนะ
a. เช่น ในเซตที่ 1 ทีม ก. ชนะทีม ข. 25 : 20
b. เช่น ในเซตที่ 2 ทีม ก. ชนะทีม ข. 25 : 20
i. ผลการแข่งขัน คือ ทีม ก. เป็นฝ่ายชนะทีม ข. 2 : 0 เซต
แต่หากทีม ก. เป็นฝ่ายชนะในเซตที่ 1 และแพ้ในเซตที่ 2 ให้ท�ำการแข่งขันในเซตที่ 3
ซึ่งจะท�ำการแข่งขัน 15 คะแนน หากทีมใดมีคะแนนชนะที่ 15 คะแนนก่อน จึงจะเป็นฝ่ายชนะ
หรือหากทีมทั้ง 2 ทีม มีคะแนนเท่ากันที่ 14 : 14 ให้ท�ำการแข่งจนกว่าจะมีทีมใดทีมหนึ่งมีคะแนน
น�ำอยู่ 2 คะแนน จึงจะเป็นฝ่ายชนะ เช่น ทีม ก. เป็นฝ่ายชนะ ทีม ข. ด้วยคะแนน 16 : 14 หรือ
17 : 15 หรือ 18 : 16 ฯลฯ
ผลการแข่งขัน คือ ทีม ก. เป็นฝ่ายชนะ ทีม ข. 2 : 1 เซต

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 179


เทคนิคการฝึกสอนผู้เล่นมินิวอลเลย์บอล
(Coaching Techniques for the Mini Volleyball Players)
1. การอบอุ่นร่างกายก่อนการแข่งขัน
1.1 ไม่บริหารร่างกายมากเกินไป ควรบริหารร่างกายเบาๆ เพื่อเพิ่มอัตราการเต้น
ของหัวใจให้อยู่ประมาณ 120 ครั้งต่อนาที
1.2 เลือกวิธีซึ่งจะท�ำให้ร่างกายอยู่ในสภาพผ่อนคลายไม่ตึงเครียด
2. หัวข้อส�ำคัญในการฝึกสอนก่อนเริ่มการแข่งขัน
2.1 ให้ค�ำแนะน�ำที่มีประโยชน์ในการสร้างความมั่นใจต่อการแข่งขันให้มากยิ่งขึ้น
2.2 ชี้ให้เห็นถึงลักษณะต่างๆ ของทีมตรงข้าม
ก. ใครเป็นตัวตบหลักของทีมตรงข้าม เขาจะตบจากจุดไหน ทิศทางและจังหวะ
ในการกระโดดเป็นอย่างไร
ข. ใครเป็นผู้เสิร์ฟดีที่สุดของทีมตรงข้าม, เสิร์ฟอย่างไร และเสิร์ฟไปทางไหน
ค. การเล่นลูกหยอดและทิศทางของลูกหยอด
ง. หลั ก ในการเล่ น ของผู ้ เ ล่ น ตั ว รั บ อิ ส ระเป็ น อย่ า งไร เป็ น ตั ว เซตหรื อ ตั ว รั บ
หรือเล่นได้ทุกอย่าง
จ. รูปแบบในการรุกและรับของทีมตรงข้ามที่ใช้เป็นประจ�ำในการแข่งขัน
2.3 อธิบายแผนการต่อไปนี้ในการแข่งขัน
ก. รูปแบบในการรุก เช่น ใครควรเป็นตัวตบหลักในทีมของตนเอง
ข. รูปแบบในการรับลูกเสิร์ฟ (เป็นแบบ 1-5 หรือ 0-6 รูปตัว W หรือรูป M)
ค. รูปแบบในการรับลูกตบ (รูปแบบ 2-1-3 หรือ 2-2-2 หรือ 2-5)
ง. ลักษณะการสกัดกัน้ แบบใดทีค่ วรน�ำมาใช้ ควรตัง้ ใจสกัดกัน้ ผูเ้ ล่นฝ่ายตรงข้ามคนไหน
จ. ควรเสิรฟ์ บอลไปทีไ่ หน, ใครเป็นตัวรับลูกเสิรฟ์ ทีอ่ อ่ นทีส่ ดุ ในจ�ำนวนผูเ้ ล่น 6 คน
ของทีมตรงข้าม
3. การคาดการจังหวะในการแข่งขัน
ก่อนเริ่มการแข่งขันควรคาดการณ์ถึงความก้าวหน้าต่อไปนี้ในการแข่งขัน ตัวอย่างเช่น
พยายามใช้เทคนิคที่เคยฝึกซ้อมตามจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เล่นแต่ละคนเล่น แต่จาก 8-10 คะแนน
ถ้าเป็นไปได้ควรใช้เทคนิคในการหยอดและในช่วงสุดท้าย 20-25 คะแนน ควรเซตบอลให้ตวั ตบหลัก
ท�ำการตบเป็นส่วนใหญ่

180 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


4. จุดต่างๆ ที่ต้องตรวจสอบในการแข่งขัน
4.1 ผู้เล่น เล่นได้ตามจังหวะเดิมและได้ผลตามที่ฝึกซ้อมเป็นประจ�ำทุกวันหรือไม่
4.2 ลักษณะและการเคลื่อนที่ของผู้เล่นเป็นอย่างไร, ผู้เล่นอยู่ในลักษณะย่อตัวลงต�่ำ
และเคลื่อนที่ได้รวดเร็วหรือไม่
4.3 ผู้เล่นเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วจนลูกบอลอยู่ตรงด้านหน้าของล�ำตัวหรือไม่
4.4 ผู้เล่นกระโดดถูกจังหวะหรือไม่ รูปแบบของการตบและต�ำแหน่งของการกระโดด
เป็นอย่างไร
4.5 การคาดการณ์ทิศทางของลูกที่ตบมา และจังหวะในการสกัดกั้นเป็นอย่างไร
4.6 ผูเ้ ล่นเสิรฟ์ ลูกบอลจะไปยังผูร้ บั ลูกเสิรฟ์ ทีอ่ อ่ นทีส่ ดุ ของทีมตรงข้ามได้ถกู ต้องหรือไม่
4.7 ผู้เล่นรักษารูปแบบการเล่นเป็นทีมได้เหมาะสมหรือไม่
4.8 การเล่นโดยรวมๆ ของทีมเป็นอย่างไร
4.9 ผู้เล่น เล่นได้ดีเหมือนซ้อมหรือไม่
4.10 จิตใจของความเป็นนักสู้ของผู้เล่นเป็นอย่างไร
4.11 ผู้เล่นมีการตัดสินใจที่ดีหรือเยือกเย็นหรือไม่
4.12 ผูเ้ ล่น เล่นโดยมีการคาดการณ์และสังเกตเทคนิคการเล่นของฝ่ายตรงข้ามออกหรือไม่
5. การนึกถึงสถานการณ์อันคับขันที่สุดของทีมตนเองระหว่างการแข่งขัน
5.1 ต้องเตรียมแก้ไขสภาพอันคับขันทีส่ ดุ ในการแข่งขันอยูต่ ลอดเวลา (เมือ่ ตกเป็นฝ่าย
แพ้อย่างยับเยิน)
5.2 การรับลูกเสิร์ฟบ่อยๆ
5.3 การเสิร์ฟเสียเอง เพราะสภาพความเครียดทางจิตใจ
5.4 ตัวตบของทีมตรงข้ามตบได้หนักมากอย่างไม่คาดคิดมาก่อน
5.5 ทีมตรงข้ามใช้เทคนิคการเล่นซึ่งเป็นแผนการที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน
5.6 ผู้เล่นได้รับบาดเจ็บหรืออยู่ในสภาพที่เล่นไม่ได้โดยไม่คาดคิดมาก่อน
5.7 จิตใจของผู้เล่นเครียดมากเกินไปเพราะต้องการชัยชนะ
5.8 เกิดปัญหาทางจิตใจระหว่างผู้เล่นด้วยกันเอง
6. ควรขอเวลานอกเมื่อไหร่
6.1 เมื่อทีมของท่านเสียจังหวะในการเล่นที่เคยเล่นได้ตามปกติ, ฝ่ายตรงข้ามควบคุม
การเล่นได้ดีและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
6.2 การประสานงานในการเล่นไม่ดี
6.3 ตัวตบหลักขาดความแน่นอนและท�ำคะแนนไม่ได้
6.4 ทีมตรงข้ามใช้เทคนิคและแผนการเล่นที่ไม่คาดคิดมาก่อน

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 181


6.5 เพื่อแนะน�ำเทคนิคขั้นสุดท้ายที่จะแก้ไขสถานการณ์
6.6 เพื่อเปลี่ยนแผนการเล่น
6.7 สภาพจิตใจของผู้เล่นในทีมไม่มั่นคง
6.8 เมื่อผู้เล่นขาดความตั้งอกตั้งใจในการแข่งขัน
6.9 เพื่อท�ำให้ทีมตรงข้ามเสียจังหวะและสภาพที่ดีในการแข่งขัน
7. ควรเปลี่ยนตัวผู้เล่นเมื่อไหร่
7.1 เพื่อเอาผู้เล่นส�ำรองที่เสิร์ฟดีกว่าลงไปเสิร์ฟแทนผู้เล่น 6 คนแรก
7.2 เพื่อเอาตัวรับที่ดีกว่าลงไปแทนผู้เล่น 6 คนแรก
7.3 เพือ่ ให้ผเู้ ล่นทีม่ คี วามสามารถเป็นพิเศษในเทคนิคการเล่นอย่างใดอย่างหนึง่ ลงเล่น
7.4 หลังจากที่ขอเวลานอกหมดไปแล้ว 2 ครั้ง
8. จะใช้เวลาพักระหว่างเซตอย่างไร
8.1 ชี้ให้เห็นถึงการเล่นที่ได้ผลดีในเซตที่ผ่านมา
8.2 ถ้าเป็นฝ่ายแพ้ในเซตที่ผ่านมา ต้องชี้ให้เห็นถึงเหตุผลที่ท�ำให้แพ้อย่างชัดเจน
และแนะน�ำเทคนิคที่ใช้ในเซตต่อไป
8.3 ให้ก�ำลังใจผู้เล่นเพื่อเล่นเซตต่อไป
8.4 ต้องไม่ให้ผู้เล่นยอมแพ้ พยายามให้ผู้เล่นท�ำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดในการเล่น
ทุกลูก แล้วเขาอาจจะได้รับผลส�ำเร็จเอง
9. ภายหลังการแข่งขัน
9.1 ชมความพยายามที่ผู้เล่นได้แสดงออกระหว่างการแข่งขัน
9.2 ชีใ้ ห้เห็นถึงเทคนิคทีไ่ ด้รบั ผลส�ำเร็จ และเทคนิคทีผ่ ดิ พลาดเพือ่ เตรียมการฝึกซ้อมต่อไป
9.3 ผ่อนคลายและพักผ่อนเพื่อการแข่งขันครั้งต่อไป

182 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


การฝึกซ้อมทักษะเด็กอายุ 12-14 ปี

1. การเสิร์ฟ (Serve)
• ทักษะที่น�ำมาใช้
• พืน้ ฐาน : การเสิรฟ์ มือบน (Tennis Serve) หรือการเสิรฟ์ มือล่างด้านข้าง (Side arm Serve)
(หากเป็นไปได้ควรให้เริ่มฝึกในสนามก่อน/ก�ำหนดเขตการเสิร์ฟ)
กุญแจส�ำคัญในการสอน
- ท่าเตรียมพร้อม
- การโยนลูกบอล
- การยกแขนให้สูงเพื่อปะทะลูกบอล
- การถ่ายน�้ำหนัก
- จุดที่สัมผัสลูกบอล (มือกับบอล)
- การเสิรฟ์ มือบน = แบมือให้เต็มทีส่ มั ผัสบอลเต็มฝ่ามือโดยพยายามไม่ให้สมั ผัสนิว้ มือทัง้ 5
- การเสิร์ฟมือล่าง = ก�ำมือให้แน่นหงายมือขึ้นสัมผัสลูกเต็มมือที่ก�ำไว้
• ยุทธวิธีที่น�ำมาใช้
- พืน้ ทีเ่ ป้าหมาย : ข้างซ้ายหรือข้างขวาของสนามใกล้ตาข่ายหรือไกลตาข่ายท้ายสนาม
จุดที่ 1/2/3/4
- ลักษณะเฉพาะของเป้าหมาย : ไม่เสีย
• คาดหวังผล : 60%

3 2 1 4

4 1 2 3

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 183


2. การเซตบอล (Set)
• ทักษะที่น�ำมาใช้
• พื้นฐาน
- ส่งลูกบอลเหนือศีรษะ
- ส่งบอลให้สูงและแรงเต็มที่ไปยังด้านข้างสนาม
- ส่งบอลระดับกลางไปกลางสนาม
กุญแจส�ำคัญในการสอน
- ต�ำแหน่งของมืออยู่เหนือหน้าผากห่างจากหน้าผากประมาณ 5-8 เซนติเมตร
ก่อนที่จะสัมผัสลูกบอล
- เคลื่อนมือทั้งสองข้างเข้าหาลูกบอลโดยให้ลูกบอลอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้างห่างจาก
หน้าผากประมาณ 10-15 เซนติเมตร/รับบอลโดยให้บอลอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง/ใช้ปลายนิ้วทั้ง 5
สัมผัสบอล โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เป็นฐาน
- จัดนิ้วมือให้เป็นรูปสามเหลี่ยมโดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เป็นฐาน/นิ้วที่เหลือกางออก
งุม้ ปลายนิว้ เล็กน้อย โดยทีส่ ายตาสามารถมองผ่านช่องสามเหลีย่ มของนิว้ หัวแม่มอื และนิว้ ชีไ้ ด้
- จัดท่าทางให้สมดุล มีความมั่นคง มีท่าทางที่สบายผ่อนคลายไม่เกร็ง
- ลูกบอลสัมผัสมือเหนือหน้าผากและสัมผัสบอลโดยใช้ปลายนิ้ว โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและ
นิว้ ชีเ้ ป็นฐานรองรับลูก ส่วนนิว้ ทีเ่ หลือให้ใช้ประคองลูกบอลให้สมดุลและผลักบอลออกไปข้างหน้าด้านบน
- สามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าและข้างบน (กระโดดเซต) เพื่อเล่นลูกได้
• ยุทธวิธีที่น�ำมาใช้
- ระบบการเล่นยังไม่ก�ำหนดลักษณะพิเศษเฉพาะ
• ความคาดหวังผล
- สามารถเซตบอลได้อย่างถูกวิธีเข้าเป้าหมาย 60-80%

184 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


3. การส่งลูก (Pass)
• ทักษะที่น�ำมาใช้
• พื้นฐาน : ส่งบอลด้วยท่อนแขนด้านล่าง (forearm pass)
กุญแจส�ำคัญในการสอน
- การยืนให้เท้ากว้างเสมอความกว้างของช่วงไหล่-ย่อเข่า, สะโพกอยูใ่ นต�ำแหน่งเดียวกับเท้า
- หันหัวแม่เท้าโค้งงอเข้าหากัน เปิดส้นเท้าขึ้นเล็กน้อย โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
จับมือประสานกันให้แน่น
- แขนเหยียดตึงจัดแขนทั้งสองให้อยู่ในโคนขาด้านใน
- เล่นลูกบอลให้บอลกระทบโดนทีท่ อ่ นแขนด้านล่างทัง้ สองข้างเท่าๆ กัน/ใกล้ๆ บริเวณ
โคนขาด้านใน
- สัมผัสลูกบอลให้มั่นคง/ยกตัวส่งแรงดันบอลไปด้านหน้า
• ยุทธวิธีที่น�ำไปใช้
- ฝึกซ้อมปรับรูปแบบการเล่นลง : เล่นแบบ 4 on 4 ในสนามขนาดเล็ก
- เล่นระบบ 6-6 : ตั้งรับเสิร์ฟรูปแบบ “W” (รับ 5 คน) โดยใช้ตัวเซตอยู่หน้าตาข่าย
แบบแผนและรูปแบบการรับเสิร์ฟ
• ความคาดหวังผล : 60%
รูปแบบการรับเสิร์ฟแบบ 5 คน รับเสิร์ฟรูป (W Form) และ (M Form)
เหมาะส�ำหรับทีมที่พึ่งเล่นใหม่ๆ และยังมีพื้นฐานการเคลื่อนที่รับเสิร์ฟยังไม่ดีนัก
จึงจ�ำเป็นต้องช่วยกันรับเสิร์ฟก่อนเป็นอันดับแรกของหัวใจของปรัชญาการท�ำเปลี่ยนเสิร์ฟ และ
การเสิร์ฟของฝ่ายตรงข้ามมีทิศทางที่ไม่แน่นอน ฉะนั้น การรับเสิร์ฟแบบนี้จึงเป็นที่นิยมในทีม
ที่เพิ่งจะหัดเล่นวอลเลย์บอลใหม่ๆ และคู่แข่งขันมีทิศทางการเสิร์ฟที่ไม่แน่นอนในต�ำแหน่งนั้น

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 185


4. การรุก (ATTACK)
• ทักษะที่น�ำมาใช้
• พื้นฐาน : การตบบอล (SPIKE)
- ตบบอลในต�ำแหน่งที่ 4 โค้งหน้า
- ตบบอลในต�ำแหน่งที่ 3 กลางหน้า
- ตบบอลในต�ำแหน่งที่ 2 โค้งหลัง
กุญแจส�ำคัญในการสอน
- ใช้พลังเคลื่อนที่เข้าไปใกล้/ท�ำมุมกับตาข่าย
- ก้าวสุดท้ายห่างจากตาข่ายประมาณ 1 เมตร
- ใช้พลังขาทัง้ หมดกระโดดขึน้ ข้างไปบนโดยเหวีย่ งแขนทัง้ 2 ข้าง ช่วยในการกระโดดขึน้
- ข้อศอก ยกสูงเหนือหัวไหล่แล้วโน้มตัวไปด้านข้างล�ำตัวและเอียงหลัง
- มีปฏิกิริยาในการใช้แขนอย่างรวดเร็วในการตบ
- ตบบอลเหนือศีรษะด้านหน้า หวดตีลกู บอลอย่างแรงโดยใช้ขอ้ มือบังคับทิศทางทีต่ ไี ป
ทักษะอื่นที่เสริมเพิ่มเติม
• ทักษะอื่นที่เสริมเพิ่มเติม : การหยอดบอลโดยใช้ปลายนิ้ว Tip ball
• ยุทธวิธีที่น�ำไปใช้
- ระบบการเล่นยังไม่ก�ำหนดลักษณะพิเศษเฉพาะแต่นักกีฬาสามารถตบบอลได้ใน
ต�ำแหน่งที่ตนเองอยู่หน้าตาข่ายในต�ำแหน่งที่ 4, 3, 2 โดยสามารถตบบอลได้ดังนี้
- ตบบอลในต�ำแหน่งที่ 4 โค้งหน้า
- ตบบอลในต�ำแหน่งที่ 3 กลางหน้า
- ตบบอลในต�ำแหน่งที่ 2 โค้งหลัง
• ความคาดหวังผล
• สามารถเคลื่อนที่และก้าวเท้าเข้าตบบอลได้อย่างถูกวิธีและเข้าเป้าหมาย 60-80%

186 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


5. การป้องกันแดนหลัง
• ทักษะที่น�ำมาใช้
• พืน้ ฐาน : การใช้ทอ่ นแขนด้านล่าง ในการควบคุมลูกบอลหลังจากเคลือ่ นทีไ่ ปข้างหน้า/หลัง
หรือด้านข้างเคลื่อนที่โดยใช้การไขว้ขาหรือสไลด์
กุญแจส�ำคัญในการสอน
- ลูกบอลอยู่ในแนวพื้นที่ของท่าทางในการรับตบ
- ยืนฐานให้กว้างและให้จุดศูนย์ถ่วง (บริเวณต�่ำกว่าสะดือประมาณ 1 ฝ่ามือ) อยู่ใน
ต�ำแหน่งที่ค่อนข้างต�่ำ/หัวเข่าห่างจากพื้นประมาณ ½ ของท่ายืนปรกติ
- สัมผัสบอลระหว่างท่าทางการยืนรับ/ลูกบอลอยู่บนท่อนแขนด้านล่างเหนือเข่า
• ยุทธวิธีที่น�ำมาใช้
- (การเตรียมตัวป้องกันแดนหลัง) Reading การอ่านระบบการรุกของคู่แข่งขัน
- ต�ำแหน่งตัวเซตในสนามและท่าทางการเตรียมตัวที่จะเซตของฝ่ายตรงข้าม
- ระบบการเล่นของฝ่ายตรงข้าม
- การสกัดกั้นของฝ่ายเราระบบ 2 คน หรือ 1 คน
- ใช้ระบบ 4 คนป้องกันแดนหลัง
• ความคาดหวังผล (ช่องเตรียมตัวที่ 1/40-60% ช่วงเตรียมตัวที่ 2/60-80% ช่วงแข่งขัน
80-100%)

การรับบอลตบแบบสองมือล่างด้านข้างล�ำตัว

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 187


การพัฒนาเทคนิคของนักกีฬาวอลเลย์บอล
บทบาททีส่ �ำคัญของโค้ช ควรมีการพัฒนาเทคนิคของผูเ้ ล่น ซึง่ การพัฒนานีค้ วรได้จากการ
วิเคราะห์ และวิธีการพัฒนาที่เป็นระบบจึงบรรลุผลส�ำเร็จ โค้ชควรจะเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้
- ขั้นตอนการพัฒนาเทคนิคของนักกีฬาวอลเลย์บอล
- กิจกรรมและข้อก�ำหนดแต่ละขั้นตอน
- บทบาทของโค้ชในและขั้นตอน
ประสิทธิภาพเทคนิคของนักกีฬาจะเกิดขึ้นระหว่างการแข่งขันซึ่งเปรียบได้กับนักดนตรี
หรือช่างฝีมือ เพราะความช�ำนาญหรือเทคนิคที่มีประสิทธิภาพนั้นเกิดหลังจากการฝึก อาจกล่าวได้วา่
เทคนิคทีม่ ปี ระสิทธิภาพนัน้ คือการเคลือ่ นไหวได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์เฉพาะหน้าที่ ก�ำหนดไว้
จะเห็นได้จากความต่อเนื่องในการเคลื่อนไหว การก�ำหนดจ�ำนวนฝึกที่ถูกต้อง และผลส�ำเร็จภายใต้
เงื่อนไขที่โค้ชก�ำหนด เทคนิคการเคลื่อนไหวที่มีประสิทธิภาพในการแข่งขันนั้นเป็นปัจจัยที่เกิดจาก
การฝึกการบรรลุผลส�ำเร็จในการพัฒนาเทคนิคให้มปี ระสิทธิภาพนัน้ นักกีฬาจะได้รบั อิทธิพลจากโค้ช
โค้ชควรค�ำนึงถึงบทบาทการให้ความช่วยเหลือนักกีฬาและศักยภาพของโค้ชในการช่วยให้
ผู้เล่นเอาชนะอุปสรรคหรือสถานการณ์ที่ซับซ้อน เพื่อปรับปรุงความสามารถ วิธีการปฏิบัติส�ำหรับ
วัตถุประสงค์ขึ้นอยู่กับการเอาใจใส่และการประยุกต์หลักการดังต่อไปนี้
• การพัฒนาเทคนิคของนักกีฬาต้องพิจารณาถึงความเข้าใจ ความก้าวหน้า และความต่อเนือ่ ง
ของแก่นแท้ของเทคนิคการเล่น
• การฝึ ก ทั ก ษะและการพั ฒ นาคุ ณ ลั ก ษณะขึ้ น อยู ่ กั บ กายภาพที่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั น
อย่างใกล้ชิดส�ำหรับการแข่งขัน
• การใช้ทฤษฎีและตัวอย่างประกอบแต่ละขัน้ ตอน ในบทนีไ้ ด้ก�ำหนดขัน้ ตอนการพัฒนา
เทคนิคที่สมบูรณ์ส�ำหรับนักวอลเลย์บอล การสร้างเงื่อนไขและเป้าหมายของโค้ช ด�ำเนินการดังต่อไปนี้
• การสอนวิธีการเคลื่อนไหว
• ความคุ้นเคยในการเคลื่อนไหว
• การพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับกลวิธีที่จะน�ำไปสู่ความส�ำเร็จ
• การบูรณาการผู้เล่นและทักษะเข้าสู่ระบบการเล่น
• การตรวจสอบประสิทธิภาพของผู้เล่นและทักษะในรูปของการแข่งขัน

188 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


โค้ชควรคาดหวังผลของเทคนิคที่มีประสิทธิภาพ นั้นคือ ความสามารถในการแข่งขัน
นอกจากนั้นการวางแผนเพื่อพัฒนาต้องรวมถึงองค์ประกอบดังต่อไปนี้
• ระดับของการบรรลุผลส�ำเร็จในการพัฒนาของนักกีฬา ความสามารถทางด้านกายภาพ
และความสามารถในการเคลื่อนไหว
• ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา และเป้าหมายของแต่ละบุคคล เช่น ความต้องการการท�ำงาน
ความต้องการเพื่อปรับปรุง และต้องการการยอมรับ เป็นต้น

การสอนกลวิธีการเคลื่อนไหว
การเริ่มต้นการฝึกนั้น นักกีฬาควรเลียนแบบต้นแบบให้ใกล้เคียงมากที่สุด ซึ่งโดยปกตินั้น
ต้ น แบบควรจะเป็ น โค้ ช หรื อ นั ก กี ฬ าที่ ป ระสบความส�ำเร็ จ และมี ค วามช�ำนาญในกี ฬ าชนิ ด นี้
เพือ่ สาธิตการปฏิบตั เิ ทคนิคต่างๆ นอกจากนีน้ กั กีฬาต้องมีความแม่นย�ำทางด้านทักษะ กระบวนการ
คิดเกีย่ วกับทิศทางการเคลือ่ นไหว การใช้ทศั นูปกรณ์ การใช้รปู ในการอธิบาย ยกตัวอย่างภาพยนตร์
หรือการสังเกตการณ์เล่นของนักกีฬาก็เป็นอีกวิธีที่สามารถดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างดี อย่างไร
ก็ตามสิ่งส�ำคัญอีกประการหนึ่งคือ นักกีฬาควรจดจ�ำองค์ประกอบที่จ�ำเป็นในแต่ละขั้นตอนการฝึก
อีกด้วย ซึง่ รายละเอียดจะกล่าวภายหลัง หลังจากนักกีฬาได้ฝกึ ทักษะและมีความก้าวหน้าประมาณ
70 เปอร์เซ็นต์ หรือมากกว่านั้นท�ำให้เห็นว่าการพัฒนานั้นเป็นระบบนั้นจะมีส่วนผลักดันให้นักกีฬา
ได้ฝกึ ทักษะการเคลือ่ นไหวเฉพาะส่วนกลายเป็นการฝึกทักษะโดยการบูรณาการเคลือ่ นไหวความเข้าใจ
ทางด้านลักษณะทางกายภาพ และหลักการของการเคลื่อนไหวของร่างกายส�ำหรับการสอนให้มี
ประสิทธิภาพโค้ชจะสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับความถูกต้องและความเป็นไปได้ในการฝึก
นักกีฬาได้วางต�ำแหน่งครัง้ แรกภายใต้เงือ่ นไขทีก่ �ำหนดอย่างง่ายและเป็นเงือ่ นไขทีเ่ กิดขึน้
ในการแข่งขัน
ประการแรก โค้ชควรใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ วัสดุ อุปกรณ์ที่เหมาะสมเพื่อช่วยในการเรียนรู้
เกี่ยวกับทักษะในการเคลื่อนไหว ตัวอย่างเช่น การวาดจังหวะการก้าว การใช้บอลที่มีหลายขนาด
เพื่อให้ผู้เล่นคุ้นเคยกับการสัมผัสบอลที่ต่างกัน
ประการทีส่ อง นักกีฬาควรฝึกจากทักษะง่ายๆ ในการปรับให้เข้ากับสถานการณ์เพือ่ เอาชนะ
อุปสรรคภายในข้อบังคับของขั้นตอนในการฝึก
สิง่ เหล่านีเ้ หมารวมถึงความสมบูรณ์ในการฝึกแต่ละขัน้ ตอนส�ำหรับหลักเบือ้ งต้นในการวาง
ต�ำแหน่งทิศทางการเคลื่อนไหว การเคลื่อนที่ และการก�ำหนดจังหวะของการเคลื่อนไหว

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 189


การเล่นวอลเลย์บอลในสวนสาธารณะ
(Park Volleyball)
แปลและเรียบเรียงโดย เรืออากาศโทชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ

วอลเลย์ บ อลในสวนสาธารณะมี จุ ด มุ ่ ง หมายอยู ่ ที่ ผู ้ เ ล่ น โดยไม่ จ�ำกั ด เพศและอายุ


การมีโอกาสได้ร่วมเล่นส�ำคัญกว่าชัยชนะ (ถึงแม้ว่าคะแนนยังเป็นส่วนส�ำคัญของการเล่น)
วอลเลย์ บ อลในสวนสาธารณะใช้ ก ติ ก าง่ า ยๆ และผู ้ เ ล่ น ไม่ ต ้ อ งใช้ เ ทคนิ ค ระดั บ สู ง
จึงเป็นการเล่นที่จะน�ำเข้าสู่การแข่งขันวอลเลย์บอลได้ นอกจากนั้นแล้วเนื่องจากครึ่งหนึ่งของ
การเล่นวอลเลย์บอลทั่วโลกเป็นการเล่นกลางแจ้งไม่มีหลังคา วอลเลย์บอลในสวนสาธารณะ
จึงมีแนวโน้มสูงที่จะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายใน 5 ทวีป
ถึงแม้วา่ วอลเลย์บอลในสวนสาธารณะเป็นกิจกรรมพักผ่อนในยามว่าง แต่กส็ ามารถน�ำไป
ใช้จัดการแข่งขันในระดับสูงได้เช่นกัน

กติกาพื้นฐาน
• การแข่งขันเป็นการเล่นข้างละ 4 คน แต่ละทีมจะมีผู้เล่นส�ำรองกี่คนก็ได้ แล้วแต่จะ
ตกลงกัน
• การแข่งขันจะแบ่งเป็น 4 ระดับอายุ

อายุ ประเภท ความสูงตาข่าย ขนาดสนาม


9-12 ปี ชาย-หญิง/ผสมชาย-หญิง 215 ซม. 7 X 14 ม.
13-14 ปี ชาย/ผสม ชาย-หญิง 230 ซม. 7 X 14 ม.
หญิง 224 ซม. 7 X 14 ม.
15-17 ชาย/ผสม ชาย-หญิง 230 ซม. 7 X 14 ม.
หญิง 224 ซม. 7 X 14 ม.
18 ปีขึ้นไป ชาย 243 ซม. 8 X 16 ม.
ผสม ชาย-หญิง 230 ซม. 8 X 16 ม.
หญิง 224 ซม. 8 X 16 ม.

190 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


• สนามขนาด 7 X 14 เมตร และสามารถปรับเป็นขนาดอื่นๆ เช่น 6 X 12 เมตร,
8 X 16 เมตร, หรือ 9 X 18 เมตร เพื่อปรับการเล่นตามสภาพของพื้นที่
• ลูกบอลจะเป็นลูกวอลเลย์บอลปกติ หรือลูกที่เบากว่าส�ำหรับผู้ที่เริ่มต้นเล่น หรือเบากว่า
แต่ใหญ่กว่าส�ำหรับเด็กๆ
• การตัดสิน โดยพื้นฐานแล้วผู้เล่นจะต้องตัดสินกันเอง หรือใช้ผู้ตัดสินเพียง 1 คน
ในการเล่นแบบแข่งขัน
• การเริ่มต้นเล่นเริ่มโดยการเสิร์ฟ (การใช้มือตีลูกไปยังแดนของทีมตรงข้าม) จากด้านหลัง
ของเส้นท้ายสนาม (หรือเสิร์ฟจากบริเวณใกล้ตาข่าย ถ้าท�ำความตกลงกันก่อนการแข่งขัน
• แต่ละทีมเล่นลูกได้ 3 ครั้ง เพื่อส่งลูกกลับไปยังแดนตรงข้าม (Blocking) ไม่นับรวมด้วย
และผู้เล่นคนเดียวกันจะเล่นลูก 2 ครั้งติดต่อกันไม่ได้
• ส่งเสริมให้การเล่นลูกแต่ละครัง้ เล่นกันได้นานๆ จะหยุดการเล่นลูกเมือ่ กระท�ำผิดกติกา
อย่างชัดเจนเท่านั้น เฉพาะการตบลูกเท่านั้นที่ต้องถูกตามกติกา “การตีลูกที่ชัดเจน”
• จะใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเล่นลูกก็ได้ แต่ต้องเป็นการถูกลูกบอลหรือตีลูกบอล
• เมื่อฝ่ายรับการเสิร์ฟชนะการเล่นลูก ผู้เล่นคนใหม่จะต้องท�ำการเสิร์ฟตามล�ำดับการ
เสิร์ฟของเซตนั้น
• เมื่อ “ลูกตาย” จะเปลี่ยนตัวผู้เล่นส�ำรองกี่คนก็ได้
• การแข่งขันเป็นแบบได้-เสีย คะแนนทุกครั้งที่เล่นลูก (การเล่นลูกแต่ละครั้งจะต้องได้
1 คะแนน) และจบเซตที่ 25 คะแนน (ทีมชนะต้องได้คะแนนมากกว่าทีมแพ้อย่างน้อย 2 คะแนน
โดยไม่มีการจ�ำกัดคะแนน) จ�ำนวนเซตที่แข่งขันแล้วแต่ตกลงกัน โดยผู้จัดการแข่งขันหรือผู้เล่น
ถ้าได้เซตเท่ากันจะแข่งขันเซตตัดสิน 15 คะแนน (ทีมชนะต้องได้คะแนนมากกว่าทีมแพ้อย่างน้อย
2 คะแนน โดยไม่มีการจ�ำกัดคะแนน)

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 191



บ ทที่ 9
การเล่นทีม (Team)
วอลเลย์บอลเป็นกีฬาประเภททีม โดยมีผเู้ ล่นในสนามทีมละ 6 คน และผูเ้ ล่นส�ำรองอีก 6 คน
จุดประสงค์ในการเล่นวอลเลย์บอลทีส่ �ำคัญ คือ พยายามให้ลกู บอลข้ามตาข่ายตกในแดนของคูต่ อ่ สู้
ไม่ว่าจะเกิดจากการเสิร์ฟ การตบ การสกัดกั้น การหยอด ฯลฯ ซึ่งผู้เล่นทั้ง 6 ต�ำแหน่งในสนาม
จะต้องน�ำทักษะส่วนบุคคลน�ำมาใช้ในการเล่นทีม เพือ่ ผสมผสานความสัมพันธ์ในทีม และยังเป็นการน�ำ
ศักยภาพที่ดีที่สุดของตนเองมาใช้ในการเล่นทีม
การเล่นกีฬาวอลเลย์บอล นอกจากจะน�ำทักษะพื้นฐานมาประกอบในการเล่นทีมแล้ว
ผูเ้ ล่นต้องมีความเข้าใจองค์ประกอบในการเล่นทีม เช่น ต�ำแหน่งผู้เล่น การหมุนต�ำแหน่ง การยืน
ในการรับลูกเสิร์ฟ การรุก และการสกัดกั้น ฯลฯ นอกจากนี้ผู้เล่นยังต้องน�ำเทคนิคต่างๆ ในการเล่น
และความรู้จากกติกาแข่งขันน�ำมาประกอบในการเล่นทีมอีกด้วย

ต�ำแหน่งของผู้เล่นกีฬาวอลเลย์บอล
ผู้เล่นกีฬาวอลเลย์บอลจะต้องมีความรู้พื้นฐานเรื่องต�ำแหน่งของผู้เล่น เพื่อเป็นความรู้
ประกอบในการเล่นทีม ต�ำแหน่งของผู้เล่นทั้ง 6 คน ในสนาม มีคุณสมบัติของผู้เล่นตามการหมุน
อีกด้วย กล่าวคือ เป็นผู้เล่นแดนหน้า 3 คน และเป็นผู้เล่นแดนหลัง 3 คน ตามที่กติกาก�ำหนด
ต�ำแหน่งผู้เล่น คน ในสนามประกอบด้วย
ต�ำแหน่งที่ 1 เรียกว่า หลังขวา หรือ ต�ำแหน่งเสิร์ฟหลังขวา
ต�ำแหน่งที่ 2 เรียกว่า หน้าขวา
ต�ำแหน่งที่ 3 เรียกว่า กลางหน้า
ต�ำแหน่งที่ 4 เรียกว่า หน้าซ้าย
ต�ำแหน่งที่ 5 เรียกว่า หลังซ้าย
ต�ำแหน่งที่ 6 เรียกว่า กลางหลัง

4 3 2

5 6 1

แสดงลักษณะการยืนตำ�แหน่งในสนาม
192 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
ชนินทร์ ยุกตะนันทน์ กล่าวถึงต�ำแหน่งผู้เล่น ในการแข่งขันผู้เล่นทุกคนจะต้อง
เข้าใจต�ำแหน่งหน้าที่ของตนเองเป็นอย่างดี เพราะตามกติกาการแข่งขัน ผู้เล่นซึ่งประกอบด้วย
6 ต�ำแหน่ง จะยืนผิดต�ำแหน่งกันไม่ได้ โดยก�ำหนดต�ำแหน่งไว้ดังต่อไปนี้
ต�ำแหน่งที่ 1 คือผู้เล่นแดนหลังจะต้องยืนอยู่หลังต�ำแหน่งที่ 2 และอยู่ข้างขวามือ
ของต�ำแหน่งที่ 6
ต�ำแหน่งที่ 2 คือผู้เล่นแดนหน้าจะต้องยืนอยู่หน้าต�ำแหน่งที่ 1 และอยู่ข้างขวามือ
ของต�ำแหน่งที่ 3
ต�ำแหน่งที่ 3 คือผู้เล่นแดนหน้าจะต้องยืนอยู่หน้าต�ำแหน่งที่ 6 และอยู่ข้างขวามือ
ของต�ำแหน่งที่ 4 และอยู่ทางซ้ายมือของต�ำแหน่งที่ 2
ต�ำแหน่งที่ 4 คือผู้เล่นแดนหน้าจะต้องยืนอยู่หน้าต�ำแหน่งที่ 5 และอยู่ทางซ้ายมือ
ของต�ำแหน่งที่ 3
ต�ำแหน่งที่ 5 คือผู้เล่นแดนหลังจะต้องยืนอยู่หลังต�ำแหน่งที่ 4 และอยู่ทางซ้ายมือ
ของต�ำแหน่งที่ 6
ต�ำแหน่งที่ 6 คือผู้เล่นแดนหลังจะต้องยืนอยู่หลังต�ำแหน่งที่ 3 อยู่ทางขวามือ
ของต�ำแหน่งที่ 5 และอยู่ทางซ้ายมือของต�ำแหน่งที่ 1

4 3 2

5 6 1

แสดงลักษณะต�ำแหน่งการยืนของผู้เล่นในสนาม

หน้าที่ของผู้เล่นทั้งหกคน
ก่อนที่จะพิจารณารูปแบบของการเล่นทีมผู้ฝึกสอนควรทราบขีดความสามารถของ
ผู้เล่นของตนในแต่ละคนทั้ง 3 อย่าง คือ ความสามารถทางด้านร่างกาย, คุณภาพทางจิตใจ
และความสามารถทางด้านเทคนิคการเล่น (ทักษะ 8 อย่าง คือ 1.การเสิร์ฟ, 2.การรับเสิร์ฟ,
3.เซตบอล, 4.ตบบอล, 5.การสกัดกั้น, 6.การตบ, 7.การรองบอล, 8.การควบคุมบอล เมื่อเราทราบ
ความสามารถของนักกีฬาแต่ละคนแล้ว สิง่ ทีจ่ ะท�ำต่อไปก็คอื การจัดวางต�ำแหน่งของผูเ้ ล่นในสนาม
โดยทั่วไปการจัดต�ำแหน่งผู้เล่นในสนามจะมีการแบ่งแยกต�ำแหน่งส�ำคัญดังนี้

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 193


• ตัวตบหลัก (Ace Spikers) ผูเ้ ล่นต�ำแหน่งนีเ้ ป็นผูเ้ ล่นทีม่ คี วามสามารถในการตบบอลทีด่ ,ี
มีทา่ ทางทีด่ แี ข็งแรง, มีรา่ งกายทีแ่ ข็งแรง, สามารถประสบความส�ำเร็จในการตบบอลไม่ตำ�่ กว่า 50%
ในนักกีฬาผู้ชายและไม่น้อยกว่า 40% ในนักกีฬาผู้หญิง ในเกมการแข่งขัน
• ตัวตบบอลเร็ว (Quick Spikers) เป็นผู้เล่นที่สามารถตบบอลได้เร็วในบอล A. B. C. D.
หรือตบบอลสั้นในการรุกแบบผสมกับตัวเซต
• ตัวเซต (Setter) เป็นผูเ้ ล่นทีส่ ามารถตัง้ บอลให้ตวั ตบ ตบบอลได้ในทุกต�ำแหน่งสามารถ
ควบคุมบอลและจังหวะการปล่อยบอลให้ตัวตบได้สามารถปล่อยบอลให้ตบบอลเร็วได้
• ผูเ้ ล่นทุกต�ำแหน่ง (All round Players) เป็นผูเ้ ล่นทีม่ ขี ดี ความสามารถในการใช้กลเม็ด
เคล็ดลับ (เทคนิค) ในการเล่นได้หลายอย่าง กล่าวคือ การตั้งบอล, การสกัดกั้น, การตบ, การเสิร์ฟ,
การรับตบ, การรับเสิร์ฟ
• ผู้เล่นต�ำแหน่งตรงข้ามกับตัวเซต (Combined Setter Attacker) เป็นผู้เล่นที่อยู่ใน
ต�ำแหน่งตรงข้ามกับตัวเซตในขณะทีต่ วั เซตอยูแ่ ดนหลังและสามารถตบบอลได้ในขณะทีอ่ ยูแ่ ดนหน้า
• ผู้เล่นตัวรับอิสระ (Liberow Players) เป็นผู้เล่นที่มีความสามารถในการรับที่ดีโดยเฉพาะ
การรับเสิร์ฟและรับตบ

วิธีการหมุนต�ำแหน่งเพื่อท�ำการเสิร์ฟ
ในขณะแข่งขัน การเล่นทีมๆ ที่ได้รับลูกเสิร์ฟชนะการเล่นหรือฝ่ายเสิร์ฟท�ำเสียฝ่ายรับจะได้
สิทธิ์การเสิร์ฟ ผู้เล่นฝ่ายที่ได้เสิร์ฟจะต้องหมุนไปตามเข็มนาฬิกาก่อน 1 ต�ำแหน่ง แล้วจึงออกไปเสิร์ฟ
ยกเว้นการเสิร์ฟเริ่มเล่นทุกเซต ผู้เล่นต�ำแหน่งที่ 1 สามารถท�ำการเสิร์ฟได้เลยไม่ต้องหมุนส่วนฝ่าย
ตรงข้ามเมื่อได้สิทธิ์การเสิร์ฟ จะต้องหมุนก่อน 1 ต�ำแหน่ง จึงจะเสิร์ฟได้

4 3 1

6 6 1

แสดงลักษณการหมุนตำ�แหน่งเพื่อทำ�การเสิร์ฟ
ดังนัน้ การหมุนต�ำแหน่งแต่ละครัง้ จะกระท�ำได้ตอ่ เมือ่ มีการเปลีย่ นเสิรฟ์ ซึง่ ล�ำดับการหมุน
ต�ำแหน่งนี้ต้องคงอยู่ตลอดการแข่งขันในเซตนั้นๆ และก่อนจะเริ่มเซตใหม่ ล�ำดับการหมุนต�ำแหน่ง
ของผู้เล่นอาจจะเปลี่ยนไปก็ได้ แต่ต้องแจ้งในใบบันทึกต�ำแหน่งการแข่งขันให้ถูกต้อง

194 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


การตั้งรับลูกเสิร์ฟ
ชนินทร์ ยุกตะนันทน์ ได้กล่าวถึงการตัง้ รับลูกเสิรฟ์ ไว้ดงั นี้ การตัง้ รับจากการเสิรฟ์ มีวธิ กี ารตัง้ รับ
จากการเสิร์ฟหลายๆ วิธี ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่น ถ้าผู้เล่นมีความคล่องตัวสูง
วิธีการตั้งรับก็เป็นไปแบบหนึ่ง ผู้เล่นมีความคล่องตัวน้อย วิธีการตั้งรับก็จะเป็นไปอีกแบบหนึ่ง
รูปแบบการตั้งรับการเสิร์ฟโดยทั่วไปจะมี 4 แบบ
• การตั้งรับลูกเสิร์ฟแบบรูปตัว M
• การตั้งรับลูกเสิร์ฟแบบรูปตัว W
• การตั้งรับลูกเสิร์ฟแบบรูปตัว U
• การตั้งรับลูกเสิร์ฟแบบรูปตัว
1. การตั้งรับลูกเสิร์ฟแบบรูปตัว M การตั้งรับแบบนี้นิยมใช้ส�ำหรับทีมที่เริ่มฝึกหัด
เริ่มแข่งขันโดยใช้ผู้เล่นแดนหลัง 3 คน เป็นผู้รับลูกเสิร์ฟ เหมาะส�ำหรับทีมที่มีความคล่องตัวน้อย
และรับลูกเสิรฟ์ จากฝ่ายตรงข้ามทีเ่ สิรฟ์ ลูกบอลได้แรงใกล้เส้นหลัง ผูเ้ ล่นทีจ่ ะรับลูกเสิรฟ์ ยังไม่มนั่ ใจ
ในตนเองมากนักการประสานงานในทีมจะยังไม่ค่อยดี

3
4 2
5 6 1

แสดงลักษณะการตั้งรับลูกเสิร์ฟแบบรูปตัว M

จากภาพ แสดงลักษณะการตั้งรับลูกเสิร์ฟแบบรูปตัว M โดยต�ำแหน่งที่ 3 เป็นตัวเซตบอล
ลักษณะนี้ผู้เซตจะยืนอยู่ต�ำแหน่งกลางหน้า การยืนรับจึงง่ายที่สุด ผู้รับลูกเสิร์ฟจึงเป็นหน้าที่ของ
ผู้เล่น 3 คน คือ ต�ำแหน่ง 1, 6 และ 5 ซึ่งเป็นผู้เล่นในแดนหลัง
2. การตัง้ รับลูกเสิรฟ์ แบบรูปตัว W การตัง้ รับแบบนีเ้ หมาะสมกับทีมทีม่ คี วามคล่องตัวพอสมควร
มีเวลาฝึกซ้อมมากพอสมควร และผู้เล่นในทีมแดนหลังมีความสามารถในการเล่นลูกสองมือล่างดี
และมีความมั่นใจในตนเอง

5 3 2
6 1

แสดงลักษณะการตั้งรับลูกเสิร์ฟแบบรูปตัว w
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 195
จากภาพ แสดงลักษณะการตั้งรับลูกเสิร์ฟแบบรูปตัว W โดยต�ำแหน่งที่ 4 เป็นตัวเซต
ซึ่งเป็นผู้เล่นต�ำแหน่งหน้าซ้ายจะยืนใกล้ตาข่ายแดนหน้า ผู้เล่นต�ำแหน่งที่ 2, 3, 5 จะรับลูกเสิร์ฟ
ที่ตกใกล้ตาข่าย และผู้เล่นต�ำแหน่งที่ 1 และ 6 ซึ่งเป็นผู้เล่นแดนหลังจะรับลูกเสิร์ฟที่มีความรุนแรง
ลอยมาในแดนหลัง
3. การตั้งรับลูกเสิร์ฟแบบรูปตัว U หรือแบบครึ่งวงกลมนี้ ปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมาก
เหมาะส�ำหรับทีม่ ผี เู้ ล่นมีความคล่องตัวสูง มีสมรรถภาพทางกายทีด่ แี ละมีการฝึกซ้อมทีมมาเป็นอย่างดี
แต่การตั้งรับแบบนี้จริงๆ แล้ว รูปแบบบางต�ำแหน่งก็จะไม่มีเป็นครึ่งวงกลมที่ชัดเจน ต้องค�ำนึงถึง
การยืนที่ถูกต�ำแหน่งเป็นหลัก

4
5 2
3 1
6

แสดงลักษณะการตั้งรับลูกเสิร์ฟแบบรูปตัว U
จากภาพ แสดงลักษณะการตั้งรับลูกเสิร์ฟแบบรูปตัว U โดยต�ำแหน่งที่ 5 เป็นผู้เซตและเล่น
อยูต่ �ำแหน่งหลังซ้าย ยืนอยูใ่ กล้ต�ำแหน่งที่ 4 ผูเ้ ล่นต�ำแหน่งที่ 2 และ 4 จะรับลูกเสิรฟ์ ทีต่ กใกล้ตาข่าย
และผู้เล่นต�ำแหน่งที่ 1, 3, และ 6 จะรับลูกเสิร์ฟที่มีความรุนแรงลอยมาในแดนหลัง
4. การตั้งรับลูกเสิร์ฟแบบรูปตัว U (เกือกม้าคว�่ำ) ใช้ผู้เล่นแถวหน้า ใช้ผู้เล่นแถวหน้า 3 คน
ให้ผู้เล่นกลางหน้ายืนสูงขึ้นไปเล็กน้อย ตัวเซตซึ่งเป็นผู้เล่นแดนหลัง ยืนที่คู่ของเขา

4 3 2
6
5 1

แสดงลักษณะการตั้งรับลูกเสิร์ฟแบบรูปตัว
จากภาพ แสดงลักษณะการตั้งรับลูกเสิร์ฟแบบรูปตัว (เกือกม้าคว�่ำ) โดยต�ำแหน่งที่ 6
เป็นตัวเซตและอยูต่ �ำแหน่งกลางหลัง ยืนอยูใ่ กล้ต�ำแหน่งที่ 3 ซึง่ เป็นคูก่ นั ผูเ้ ล่นต�ำแหน่งที่ 2, 3 และ 4
จะรับลูกเสิรฟ์ ทีต่ กใกล้ตาข่าย และผูเ้ ล่นต�ำแหน่ง 1, 5 จะรับลูกเสิรฟ์ ทีม่ คี วามรุนแรงลอยมาในแดนหลัง

196 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


ทรงศักดิ์ เจริญพงศ์ (2542 : 49) ได้กล่าวถึงการตั้งรับลูกเสิร์ฟไว้ดังนี้ ปัจจุบันมีวิธีการ
ยืนรับลูกเสิรฟ์ โดยใช้ตวั รับอิสระ (Libero) เป็นตัวรับ ทัง้ นีเ้ พราะตัวรับอิสระนีแ้ ต่ละทีมจะเลือกผูเ้ ล่น
ทีม่ คี วามสามารถพิเศษในการรับ ดังนัน้ เพือ่ ให้ตวั เล่นอิสระลงไปรับลูกเสิรฟ์ นัน้ ผูฝ้ กึ สอนจะเปลีย่ นตัว
กับผู้เล่นในต�ำแหน่งแดนหลังและรูปแบบต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว โดยต้องพิจารณาว่าแบบใดเป็นแบบ
ที่เหมาะสมกับทีมของตนเองมากที่สุด
การเลือกตัวรับอิสระของทีมมีความจ�ำเป็นและส�ำคัญเป็นอย่างมาก เพราะตัวรับอิสระนี้
จะสามารถเปลี่ยนสถานการณ์จากการตั้งรับเป็นการเปิดเกมรุกได้ ดังนั้น ผู้ฝึกสอนจึงควรเลือกหา
ตัวรับอิสระที่มีคุณสมบัติดังนี้
• เป็นผู้เล่นที่เพื่อนร่วมทีมยอมรับ
• มีความสามารถรับลูกได้อย่างดี
• มีความคล่องแคล่วว่องไวสูง สามารถรับลูกได้ทุกลักษณะ
• มีความสามารถในการอ่านเกมรุกของคู่ต่อสู้ได้อย่างดี แต่อย่างไรก็ตามรูปแบบและ
พื้นฐานการรับลูกเสิร์ฟขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง
• พื้นที่ๆ รับผิดชอบ
• วิธีการรับ จะต้องขึ้นอยู่กับ
2.1 ลักษณะการเคลื่อนที่ของตัวเซต
2.2 เป้าหมายของการรับ
2.3 ตัวผู้เสิร์ฟ
• รูปแบบของการเคลื่อนไหว
• บริเวณพื้นที่ที่ซ้อนกัน
• การควบคุมพื้นที่
• พื้นที่ๆ เสิร์ฟยาก
เกี่ยวกับระบบพื้นฐานในการเล่นแบบต่างๆ เช่น ระบบ 3-3, 4-2, หรือ 6-2 ผู้ฝึกสอน
จะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับระบบการตั้งรับ เพื่อให้เกิดการได้เปรียบให้มากที่สุด แต่หลักส�ำคัญคือ
จะต้องรับลูกบอลแล้วส่งไปที่บริเวณระดับสูงสุดของตาข่าย
ในการรับลูกเสิร์ฟจะมีการสับเปลี่ยนต�ำแหน่งกัน ทั้งนี้เพื่อเหตุผลต่างๆ ในการรุกต่อไป
แต่การสับเปลี่ยนต�ำแหน่งนั้นจะต้องพิจารณาถึง
• พื้นที่เป้าหมายในการรับลูกเสิร์ฟ
• รูปแบบและเป้าหมายในการรุก
• พิจารณาถึงผู้เล่นที่ถนัดมือขวากับมือซ้าย
• ตัวเซต 1 คน หรือ 2 คน

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 197


• ระดับความสามารถของทีม
• ระดับความสามารถของการรุกพิเศษ
• ช่วงระยะของลูกบอลที่มีผลต่อการสับเปลี่ยนต�ำแหน่ง

หลักการยืนรับลูกเสิร์ฟ
อุทัย สงวนพงศ์ และสมบัติ คุณามาศปกรณ์ กล่าวถึงหลักการรับลูกเสิร์ฟ นอกจาก
มี ท ่ า เตรี ย มพร้ อ มที่ ถู ก ต้ อ งแล้ ว ยั ง มี อี ก สิ่ ง หนึ่ ง คื อ มุ ม การยื น ของผู ้ เ ล่ น ในสนามที่ เ กี่ ย วกั บ
มุมตกกระทบกับมุมสะท้อน เพื่อให้มุมรับลูกแรกส่งไปถึงคนเซตได้ดีจึงควรยืนดังนี้
• ผู้เล่นที่ยืนด้านซ้ายของสนามให้ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปข้างหน้า หัวไหล่ซ้ายหันไปทาง
เสาตาข่ายด้านซ้ายมือ
• ผู้เล่นที่ยืนด้านขวาของสนามให้ก้าวเท้าขวาเฉียงไปข้างหน้า หัวไหล่ขวาหันไปทาง
เสาตาข่ายด้านขวามือ
• ผู้เล่นยืนกลางสนามให้ยืนแยกเท้า ปลายเท้าทั้งสองเสมอกัน

แสดงลักษณะพื้นที่เส้นทึบเป็นบริเวณที่การเสิร์ฟลูกลงบริเวณนั้นได้น้อย

การรับบอลเสิร์ฟ (Service Reception)


ชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ (ม.ป.ป. : 31) ได้กล่าวถึงการรับบอลเสิร์ฟไว้ดังนี้

1. ท่าพื้นฐานในการรับบอลเสิร์ฟ เมื่อเตรียมรับบอลเสิร์ฟ
ต้องเคลือ่ นทีไ่ ปให้ตรงบอลอย่างรวดเร็ว ตาจ้องจับทีบ่ อล รอจนบอล
มาใกล้พอสมควรจึงใช้แขนรับบอลออกไป

แสดงลักษณะท่าพื้นฐานในการรับบอลเสิร์ฟ

198 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


2. การรับบอลเสิร์ฟขณะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เคลื่อนที่
ไปอยู่ตรงบอลอย่างรวดเร็ว ตาจับอยู่ที่บอล รอจนบอลเข้ามาใกล้
จึงควบคุมโดยการกดข้อมือลง เหยียดข้อศอก แล้วยกขึ้นรับบอล
ต้องมองที่บอลจนกว่าบอลจะกระทบแขน
แสดงลักษณะการรับบอลเสิร์ฟขณะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า

3. การรับบอลเสิร์ฟโดยก้าวเท้าไปด้านข้าง ถ้าบอลออกมา
ด้านข้างลำ�ตัว ให้กา้ วเท้าไปด้านข้างจนบอลตรงลำ�ตัวและจึงรับบอล

แสดงลักษณะการรับบอลเสิร์ฟโดยก้าวเท้าไปด้านข้าง

4. การรับบอลเสิร์ฟในระดับสูง ถ้าบอลลอยมาสูงกว่า
ที่คาดเอาไว้ ตรงหน้าอกต้องเหยียดและยกศอกขึ้นเพื่อรับบอล
และป้องกันไม่ให้บอลกระทบหน้าอก

แสดงลักษณะการรับบอลเสิร์ฟในระดับสูง

5. การย่ อ ตั ว ลงต�่ ำ เพื่ อ รั บ บอลเสิ ร ์ ฟ เมื่ อ บอลลอยมา


ในระดับต�่ำด้านหน้าของล�ำตัว ผู้เล่นจะต้องงอหัวเข่าย่อตัวนั่งลง
ให้ตำ�่ ทีส่ ดุ รอจนบอลลอยตำ�่ ลงมาใกล้แขน สายตาจ้องจับทีบ่ อลตลอด
เวลาจนบอลอยูใ่ นระยะห่างจากแขนพอเพียงทีจ่ ะควบคุมทิศทางและ
ระยะทางได้ดี (ประมาณ 1 ฟุต) จึงเหวีย่ งแขนขึน้ รับบอลออกไป

แสดงลักษณะการย่อตัวลงต�่ำเพื่อรับบอลเสิร์ฟ

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 199


6. การรับบอลเสิร์ฟด้านข้างล�ำตัว ถ้าผู้เล่นไม่สามารถ
เคลื่ อ นที่ ไ ปรั บ บอลเสิ ร ์ ฟ โดยให้ บ อลตรงด้ า นหน้ า ล�ำตั ว ได้ ทั น
บอลจะลอยผ่านด้านข้างล�ำตัว ผู้เล่นจะต้องรับบอลโดยเหวี่ยงแขน
เป็นแนวทแยงเยื้องไปข้างหน้า เพื่อรับบอลให้ลอยกลับไปยังตัวเซต

แสดงลักษณะการรับบอลเสิร์ฟด้านข้างลำ�ตัว

7. การรับบอลเสิร์ฟด้านข้างล�ำตัว ผู้เล่นรับบอลเสิร์ฟ
ทางด้านซ้ายโดยเหวีย่ งตัวไปทางขวาและควรก้าวเท้าซ้ายไปหน้าเท้าขวา
1 ก้าว เพื่อหน้าจะได้หันเข้าหาตัวเซต

แสดงลักษณะการรับบอลเสิร์ฟด้านข้างลำ�ตัว

8. การรับบอลเสิรฟ์ ด้านข้างล�ำตัว ในขณะเคลือ่ นทีไ่ ปด้านข้าง


จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าผูเ้ ล่นรับบอลเสิรฟ์ ด้านข้างล�ำตัว โดยก้าวเท้า
ไปด้านข้างเป็นเส้นทแยงมุม 45 องศา ถ้าก้าวเท้าไปด้านข้างตรงๆ
บอลจะลอยออกไปนอกสนาม เมื่อเหวี่ยงแขนรับบอล แทนที่จะลอย
กลับไปหาตัวเซตดังนัน้ การก้าวเท้าและวางแขนดักบอลเป็นแนวทแยง
มุม 45 องศา จึงเป็นเรื่องที่จ�ำเป็นในการรับบอลเสิร์ฟที่ลอยมายัง
ด้านข้างล�ำตัว เพราะเป็นมุมที่จะท�ำให้ทิศทางของบอล ลอยกลับไปยัง
ตัวเซตที่รออยู่บริเวณตาข่ายได้
แสดงลักษณะการรับบอลเสิร์ฟด้านข้างลำ�ตัว

200 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


การพิจารณาการรับเสิร์ฟขึ้นอยู่กับลักษณะและความสามารถของผู้เสิร์ฟ ตามรูป
จุดตกของบอลใกล้, กลางสนาม, ไกลท้ายสนาม และออกนอกสนาม (ลูกบอลข้ามหัวไหล่
ผู้เล่นท้ายสนามห่างจากสนามประมาณ 1 เมตร)

การเสิร์ฟแบบไกล (Deep service)


การพิจารณาการรับเสิร์ฟควรที่จะพิจารณาลักษณะการเสิร์ฟและความสามารถของ
ผูเ้ สิรฟ์ ว่าได้ท�ำการเสิรฟ์ แบบใด จุดตกของบอลอยูใ่ กล้ ไกล ความเร็วของลูกบอลเร็วหรือช้า ดังรูป
ทิศการเสิร์ฟ

ผู้เล่นทั้ง 5 คน จะยืนอยู่บริเวณกลางสนามจนถึงท้ายสนาม
การรับเสิร์ฟแบบใกล้ (Short or Long Service)
การพิจารณาการรับเสิร์ฟควรที่จะพิจารณาลักษณะการเสิร์ฟว่าได้ท�ำการเสิร์ฟแบบใด
จุดตกของบอลอยู่ไกล้ ไกล ควาวเร็วของลูกบอลเร็วหรือช้า ดังรูป
ทิศการเสิร์ฟ

ผู้เล่นทั้ง 5 คน จะยืนอยู่บริเวณหน้าเส้นเขตรุกจนถึงกลางสนาม
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 201
รูปแบบการรุกของทีม
การรุกเป็นการเล่นที่คาดหวังที่จะท�ำคะแนน ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับการตบบอลไปยัง
ฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้ได้คะแนนตามกฎ กติกา ในการรุกด้วยการตบนั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน ทั้งนี้
ขึน้ อยูก่ บั ระดับความสามารถของทีม ส่วนมากส�ำหรับเด็กทีเ่ พิง่ เริม่ หัดเล่นใหม่ๆ มักจะมีรปู แบบทีง่ า่ ยๆ
ไม่สลับซับซ้อนมากนัก
ตัวอย่างการตบบอลสูงที่ตัวเซตส่งมาให้ในต�ำแหน่ง 4, 3, 2 (ซ้าย, กลาง, ขวา)

การหยอดบอล (Tip ball) (Soft Spikes)


ส�ำหรับการตบบอลแบบเบาหรือการหยอดบอลแล้วนัน้ ส่วนใหญ่จะกระท�ำก็ตอ่ เมือ่ การรับบอล
ให้ตัวเซตไม่ดีหรือตัวเซตส่งบอลให้ตัวตบไม่ดี แต่หากทีมที่มีเทคนิคการเล่นที่ดีอาจจะใช้เทคนิค
การหยอดนี้ เพื่อน�ำบอลลงสู่พื้นที่ว่างของฝ่ายตรงข้าม (Weak Area) ท�ำให้ได้คะแนน อาจจะเห็น
การเล่นลักษณะนี้มากในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลชายหาด ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะประเภทในร่ม
ดังรูปใช้ในกรณีที่ตัวเซตอยู่ในแดนหลังต�ำแหน่งที่ 1 (หลังด้านขวา)

รูปแบบของการรับบอลตบ
การรับตบเป็นทักษะที่ส�ำคัญอีกทักษะหนึ่งในการเล่นวอลเลย์บอลเป็นทีม ซึ่งเป็นทักษะ
ทีป่ อ้ งกันการเสียคะแนนให้คตู่ อ่ สู้ และส่วนใหญ่ทกั ษะนีจ้ ะอยูใ่ นกระบวนการการท�ำคะแนน (Points Phase)
ซึ่งเริ่มจากการเสิร์ฟ-สกัดกั้น-รับตบ-เตรียมตัวเข้าสู่การรุกกลับ (Counter Attack) เซตบอล-
ตบบอล-รองบอล
202 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
หากกระบวนการท�ำคะแนนนี้มีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถได้แต้มจากการเสิร์ฟ แต่หาก
การเสิร์ฟยังไม่ส�ำเร็จสิ่งที่จะต้องท�ำก็คือการท�ำการสกัดกั้น ซึ่งการสกัดกั้นนี้เองจะมีความสัมพันธ์
เกี่ยวข้องกับรูปแบบการยืนรับตบ เพื่อรับบอลและควบคุมบอลได้ง่ายจนสามารถท�ำการรุกกลับ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ในการรับตบนั้นนักกีฬาทุกคนในทีมจะต้องท�ำงานเกี่ยวข้องกับการเล่น
ดังต่อไปนี้
• การสกัดกั้น
• การรับบอลหยอด
• การรับบอลตบไกลหลังตัวสกัดกั้นหรือการรับบอลหยอด
(C การรับบอลตบไกลหลังตัวสกัดกั้นหรือการรับบอลหยอด)

รูปแบบการสกัดกั้นและรับตบ 3 แบบ โดยการตบบอลจากต�ำแหน่ง 4, 3, 2 คน


ตัวอย่างการรับตบโดยมีการสกัดกั้น 2 คน ในการตบบอลที่ต�ำแหน่ง 4

การรับตบโดยการสกัดกั้น 2 คน กับการตบบอลที่ต�ำแหน่ง 3 (กลางหน้า) และต�ำแหน่ง 2


(หน้าขวา)

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 203


แบบการเข้ารองบอลจากการตบของฝ่ายตนเอง

ในขณะที่ผู้เล่นฝ่ายตนเองคนใดวิ่งเข้ากระโดดตบลูก เล่นคนอื่นๆ ทุกคนต้องช่วยกัน


เคลือ่ นไหวเข้าไปเตรียมพร้อมทีจ่ ะรองรับบอลปะทะมือผูส้ กัดกัน้ ฝ่ายตรงข้ามแล้วกระดอนกลับมา

เข้าตบตำ�แหน่งหน้า-ซ้าย เข้าตบตำ�แหน่งกลางหน้า เข้าตบตำ�แหน่งหน้า-ขวา


4 3 3
3 2 2
6 4 6
5 2 6 4 1
5 1 1 5
1

การรองบอลแบบ 3 : 2 มีผู้รองรับบอลระยะใกล้ 3 คน ระยะไกล 3 คน

เข้าตบตำ�แหน่งหน้า-ซ้าย เข้าตบตำ�แหน่งกลางหน้า เข้าตบตำ�แหน่งหน้า-ขวา


4 3 3 2
3 4 2
5 2 4 1
5 6
1 1 5
6 6

การรองบอลแบบ 2 : 3 มีผู้รองรับบอลระยะใกล้ 2 คน ระยะไกล 3 คน


• = ต�ำแหน่งของคน*/ตบ

204 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


เกมน�ำทางเข้าสู่การเล่นทีม
เนตบอลเกม (เกมขว้างและจับบอล)
เริ่มเล่นเกมโดยขว้างบอลข้ามตาข่ายไปยังฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายตรงข้ามขว้างบอลกลับหลัง
จากจับบอล 1 ครั้ง และใช้ทักษะวอลเลย์บอล 1 ครั้ง จึงข้ามบอลกลับไปยังฝ่ายตรงข้าม ตามรูป

การน�ำทางเข้าสู่การเล่นเกม
วอลเลย์เทนนิส ใช้สนาม 4-6 เมตร ความสูงของตาข่าย 2 เมตร เริ่มเล่นเกมโดยส่งบอล
ข้ามตาข่ายไปฝ่ายตรงข้ามโดยใช้ทักษะการเล่นลูกสองมือบน ให้ลูกบอลกระทบพื้น 1 ครั้งก่อน
แล้วจึงเล่นลูกด้วยทักษะการเล่นลูกสองมือบนหรือสองมือล่าง เมื่อเล่นลูกแล้วจึงวิ่งไปอ้อมหลัง
เพื่อนร่วมทีม ตามรูป

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 205


บรรณานุกรม
ชนินทร์ ยุกตะนันทน์. คู่มือการเรียนการสอนวอลเลย์บอลระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ การศาสนา, 2532.
ชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ. แบบฝึกทักษะการเล่นวอลเลย์บอล. กรุงเทพฯ : สมาคมวอลเลย์บอล, ม.ป.ป
ทรงศักดิ์ เจริญพงศ์. คู่มือการเล่นวอลเลย์บอล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรไทย, 2533.
ธรรมนูญ ทองสงฆ์ และเดชา เกียรติศิริ. คู่มือฝึกวอลเลย์บอลขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์พิฆเนศ,
2526
ปราโมทย์ พงษ์ไชย และคณะ. คู่มือการสอนวอลเลย์บอล. สุพรรณบุรี : วิทยาลัยพลศึกษา
จังหวัดสุพรรณบุรี, ม.ป.ป.
ปรีชา วุทธิเสน. วอลเลย์บอล 80. กรุงเทพฯ : ภาควิชาพลศึกษา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ พลศึกษา, 2523.
ปัญจะ จิตโสภี. ตำ�ราและกติกาวอลเลย์บอล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เลิศศิลป์, 2526.
พยุงศรี ปราณิตพลตรัง. เอกสารประกอบการสอน วิชาวอลเลย์บอล. เชียงใหม่ : วิทยาลัยพลศึกษา
จังหวัดเชียงใหม่, 2540
พรสวรรค์ สระภักดิ์. การฝึกและการจัดการกีฬาวอลเลย์บอล. ชุมพร : วิทยาลัยพลศึกษา
จังหวัดชุมพร.
พลศึกษา, กรม. ประวัติการศึกษา. กรุงเทพฯ : ฝ่ายวิชาการ กองกีฬา กรมพลศึกษา, 2534.
วีระพงษ์ บางทำ�ไม้. วอลเลย์บอลขั้นพื้นฐาน. องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย : โรงพิมพ์
เอช-เอน, 2527.
ศรีเกษม อุ่นประดิษฐ์ และคณะ. วอลเลย์บอล. สุพรรณบุรี : วิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี,
2532.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. หนังสืออ่านเพิ่มเติมพลศึกษาวอลเลย์บอล ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์, 2529.
สุเนต นวกิจกุล. การสร้างสมรรถภาพทางกาย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2524.
เสงี่ยม พรหมปัญพงศ์ และสุชาติ ทวีพรปฐมกุล. หนังสือคู่มือการพลานามัย 5 (พ.305 วอลเลย์บอล).
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2537.
อาภรณ์ ธรรมนิยม. วอลเลย์บอลขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาพลานามัย คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง, 2530.
อุทัย สงวนพงศ์ และสมบัติ คุณามาศปกรณ์. คู่มือการฝึกกีฬาบอลขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์อาร์ตโปรเกรต, 2543.
การกีฬาแห่งประเทศไทย. คู่มือประกอบหลักสูตรผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล. ระดับชาติขั้นต้น.
กรุงเทพฯ :
กองพัฒนาบุคลากร สำ�นักพัฒนาบุคลากรกีฬา. โรงพิมพ์อาร์ตโปรเกรต, 2547.
Federation International. De Volleyball Caoch Digest Lausan Snitzerland. 1997.

206 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate


คณะกรรมการจัดทำ�คู่มือผู้ฝึกสอน
กีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
ที่ปรึกษา
นางแสงจันทร์ วรสุมันต์ อธิบดีกรมพลศึกษา
นายพัฒนาชาติ กฤดิบวร รองอธิบดีกรมพลศึกษา
นายชลิต เขียวพุ่มพวง รองอธิบดีกรมพลศึกษา

คณะผู้จัดท�ำ
นางแสงจันทร์ วรสุมันต์ ประธานกรรมการ
นายสิทธิศักดิ์ ด�ำรงสกุล รองประธานกรรมการ
นายสมพร โสตถิสุพร กรรมการ
ร.ท.อนุสรณ์ บัณฑิต กรรมการ
น.อ.ชูเกียรติ ไทยใหญ่ กรรมการ
นายสมโภชน์ ยิ้มพลอย กรรมการ
นายนิทัศน์ ปฐมภาคย์ กรรมการ

ผู้เรียบเรียง
นางสุพิทย์ วีระใจ ผูอ้ �ำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรการพลศึกษาและการกีฬา
นายสมพร โสตถิสุพร ผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอลสมาคมฯ
ร.ท.อนุสรณ์ บัณฑิต ผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอลสมาคมฯ
น.อ.ชูเกียรติ ไทยใหญ่ ผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอลสมาคมฯ
ร.ท.จักรสุวรรณ โตเจริญ ผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอลสมาคมฯ
นางบงกชรัตน์ โมลีี หัวหน้ากลุ่มวิชาการและมาตรฐานวิชาชีพ

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 207


ชื่อหนังสือ คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate
ปีที่พิมพ์ 2555
จำ�นวน 1,000 เล่ม

ออกแบบ นายเกียรติศักดิ์ บุตรศาสตร์


บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำ�กัด
248/47 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ
เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700
โทรศัพท์ 0 2424 1963, 0 2424 5600 โทรสาร 0 2435 2794

พิมพ์ที่ สำ�นักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์


2/9 ซอยกรุงเทพฯ-นนทบุรี 31 เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
โทรศัพท์ 0 2910 7001-2 โทรสาร 0 2585 6466

208 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate

You might also like