You are on page 1of 228

วัสดุงานช่างอุตสาหกรรม

รหัสวิชา 2100-1002
ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556
สำ�นักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ISBN 978-974-370-628-8

เรียบเรียงโดย

รังสรรค์​ นาทอง

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2558


จัดทำ�โดย
บริษัท พัฒนาวิชาการ (2535) จำ�กัด
875, 877 ซอยอ่อนนุช 10 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
โทรศัพท์ 0-2311-0981-4 โทรสาร 0-2311-5837 (อัตโนมัติ)
Website : www.pattanawichakarn.com
E-mail : contact@pattanawichakarn.com
90.-
รหัสสินค้า : 2100100200

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2537

art .indd 1 16/2/2558 14:02:58


art .indd 2 16/2/2558 14:02:58
คำ�นำ�
หนังสือเรียนวิชาวัสดุงานช่างอุตสาหกรรม รหัส 2100-1002 เป็นเอกสารที่เขียนขึ้น
ครบถ้วนและถูกต้องตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พ.ศ.2556 ของสำ�นักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
หนังสือเรียนวิชาวัสดุงานช่างอุตสาหกรรมเล่มนี้ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ที่สำ�คัญ
ทั้งหมด 11 หน่วย คือ
หน่วยที่ 1 วัสดุโลหะ
หน่วยที่ 2 วัสดุอโลหะ
หน่วยที่ 3 วัสดุโลหะผสม
หน่วยที่ 4 อิทธิพลของธาตุท่ีมีต่อโลหะผสม
หน่วยที่ 5 วัสดุเชื้อเพลิง
หน่วยที่ 6 สารหล่อลื่นและวัสดุหล่อเย็น
หน่วยที่ 7 วัสดุก่อสร้าง
หน่วยที่ 8 วัสดุสังเคราะห์
หน่วยที่ 9 วัสดุงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
หน่วยที่ 10 การกัดกร่อนและการป้องกัน
หน่วยที่ 11 การตรวจสอบวัสดุเบื้องต้น
หนังสือเรียนวิชาวัสดุงานช่างอุตสาหกรรมเล่มนี้สำ�เร็จขึ้นมาได้เพราะได้รับคำ�แนะนำ�จาก
ผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ หากหนังสือเล่มนี้มีข้อผิดพลาด
ประการใด ผู้เขียนยินดีน้อมรับและจะนำ�ไปปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป

รังสรรค์ นาทอง

art .indd 3 16/2/2558 14:02:58


หลักสูตรรายวิชา
2100-1002 วัสดุงานช่างอุตสาหกรรม 2-0-2

จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้
1. รู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานในการจำ�แนก ชนิด คุณลักษณะ สมบัติ มาตรฐาน
การใช้งานของวัสดุงานช่างอุตสาหกรรม
2. สามารถเลือกวัสดุอุตสาหกรรมมาใช้และการจัดเก็บได้ตรงตามมาตรฐาน
3. มีเจตคติและตระหนัก เห็นคุณค่าของวัสดุ และนำ�มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สมรรถนะรายวิชา
1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการพื้นฐานในการจำ�แนก ชนิด ลักษณะ สมบัติ มาตรฐาน
การใช้งานวัสดุอุตสาหกรรม
2. เลือกใช้วัสดุอุตสาหกรรมได้ตรงตามลักษณะงาน

คำ�อธิบายรายวิชา
ศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะ ชนิด มาตรฐาน กรรมวิธีการผลิต การใช้งาน การจัดเก็บ
การเลือกวัสดุในงานอุตสาหกรรม ประกอบด้วย โลหะ อโลหะ โลหะผสม อิทธิพลของธาตุที่มีต่อ
โลหะผสม วัสดุเชื้อเพลิงและสารหล่อลื่น วัสดุหล่อเย็น วัสดุก่อสร้าง วัสดุสังเคราะห์ วัสดุงานไฟฟ้า
และอิเล็กทรอนิกส์ การกัดกร่อนและการป้องกัน หลักการตรวจสอบวัสดุเบื้องต้น

art .indd 4 16/2/2558 14:02:58


ตารางวิเคราะห์หลักสูตร
รหัส 2100-1002 วิชา วัสดุงานช่างอุตสาหกรรม
ชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชา/กลุ่มวิชา  ........................................

พุทธิพิสัย (80%)
พฤติกรรม

ทักษะพิสัย (10%)
จิตพิสัย (10%)
การสังเคราะห์
การวิเคราะห์

การประเมิน
ชื่อหน่วย

การนำ�ไปใช้
ความเข้าใจ
ความรู้

รวม
1. วัสดุโลหะ 4 1 2 - - - 1 1 9
2. วัสดุอโลหะ 4 1 2 - - - 1 1 9
3. วัสดุโลหะผสม 4 2 2 - - - 0.5 0.5 9
4. อิทธิพลของธาตุที่มีต่อโลหะผสม 4 2 2 - - - 0.5 0.5 9
5. วัสดุเชื้อเพลิง 4 1 2 - - - 1 1 9
6. สารหล่อลื่นและวัสดุหล่อเย็น 4 1 2 - - - 1 1 9
7. วัสดุก่อสร้าง 4 1 2 - - - 1 1 9
8. วัสดุสังเคราะห์ 4 1 2 - - - 1 1 9
9. วัสดุงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 4 1 2 - - - 1 1 9
10. การกัดกร่อนและการป้องกัน 4 1 2 - - - 1 1 9
11. การตรวจสอบวัสดุเบื้องต้น 4 1 3 - - - 1 1 10
รวม 44 13 23 - - - 10 10 100

หมายเหตุ การสอบปลายภาคเรียนสำ�หรับรายวิชานี้อาจจะมีหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับผู้สอน

art .indd 5 16/2/2558 14:02:58


สารบัญ
หน่วยที่ 1 วัสดุโลหะ.................................................................................................................. 1
ความหมายของวัสดุโลหะ..............................................................................................................2
คุณสมบัติของโลหะโดยทั่วไป.........................................................................................................2
ชนิดของวัสดุโลหะ........................................................................................................................2
กรรมวิธีการผลิตโลหะ...................................................................................................................3
การนำ�วัสดุโลหะไปใช้งาน2�����������������������������������������������������������������������������������������������������������27
มาตรฐานของวัสดุโลหะ...............................................................................................................28
การจัดเก็บวัสดุโลหะ....................................................................................................................35
คำ�ศัพท์ท้ายหน่วยที่ 13����������������������������������������������������������������������������������������������������������������36
สรุปสาระการเรียนรู้หน่วยที่ 1.......................................................................................................37
แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 1.............................................................................................38
กิจกรรมการเรียนรู้หน่วยที่ 1........................................................................................................40

หน่วยที่ 2 วัสดุอโลหะ.............................................................................................................. 41
ความหมายและชนิดของวัสดุอโลหะ.............................................................................................42
วัสดุอโลหะประเภทยางธรรมชาติ.................................................................................................43
วัสดุอโลหะประเภทเซรามิก.........................................................................................................46
วัสดุอโลหะประเภทหนัง..............................................................................................................49
วัสดุอโลหะประเภทแก้ว...............................................................................................................51
วัสดุอโลหะประเภทใยหิน.............................................................................................................55
คำ�ศัพท์ท้ายหน่วยที่ 25����������������������������������������������������������������������������������������������������������������58
สรุปสาระการเรียนรู้หน่วยที่ 2.......................................................................................................59
แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 2.............................................................................................60
กิจกรรมการเรียนรู้หน่วยที่ 2........................................................................................................62

หน่วยที่ 3 วัสดุโลหะผสม......................................................................................................... 63
ความหมายของโลหะผสม............................................................................................................64
ชนิดของโลหะผสม......................................................................................................................64
ข้อดีและข้อเสียของโลหะผสม......................................................................................................64
โลหะหนักผสม............................................................................................................................65
โลหะเบาผสม..............................................................................................................................70
คำ�ศัพท์ท้ายหน่วยที่ 37����������������������������������������������������������������������������������������������������������������75
สรุปสาระการเรียนรู้หน่วยที่ 3.......................................................................................................75
แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 3.............................................................................................76
กิจกรรมการเรียนรู้หน่วยที่ 3........................................................................................................78

หน่วยที่ 4 อิทธิพลของธาตุที่มีต่อโลหะผสม............................................................................... 79
ความหมาย ชนิด และสมบัติของธาตุ...........................................................................................80

art .indd 6 16/2/2558 14:02:59


วัตถุประสงค์ในการนำ�ธาตุต่าง ๆ มาผสมในเนื้อเหล็ก8������������������������������������������������������������������84
อิทธิพลของธาตุที่มีต่อโลหะผสมต่าง ๆ .....................................................................................84
คำ�ศัพท์ท้ายหน่วยที่ 49����������������������������������������������������������������������������������������������������������������92
สรุปสาระการเรียนรู้หน่วยที่ 4.......................................................................................................93
แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 4.............................................................................................94
กิจกรรมการเรียนรู้หน่วยที่ 4........................................................................................................96

หน่วยที่ 5 วัสดุเชื้อเพลิง.......................................................................................................... 97
ความหมายและชนิดของวัสดุเชื้อเพลิง.........................................................................................98
เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง................................................................................................................99
เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว.............................................................................................................101
เชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ....................................................................................................................104
คำ�ศัพท์ท้ายหน่วยที่ 51��������������������������������������������������������������������������������������������������������������108
สรุปสาระการเรียนรู้หน่วยที่ 5.....................................................................................................109
แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 5...........................................................................................110
กิจกรรมการเรียนรู้หน่วยที่ 5......................................................................................................112

หน่วยที่ 6 สารหล่อลื่นและวัสดุหล่อเย็น.................................................................................. 113


สารหล่อลื่น...............................................................................................................................114
วัสดุหล่อเย็น.............................................................................................................................119
คำ�ศัพท์ท้ายหน่วยที่ 61��������������������������������������������������������������������������������������������������������������121
สรุปสาระการเรียนรู้หน่วยที่ 6.....................................................................................................121
แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 6...........................................................................................122
กิจกรรมการเรียนรู้หน่วยที่ 6......................................................................................................124

หน่วยที่ 7 วัสดุก่อสร้าง.......................................................................................................... 125


ความหมายและชนิดของวัสดุก่อสร้าง.........................................................................................126
ปูนซีเมนต์................................................................................................................................126
คอนกรีต..................................................................................................................................130
อิฐ...........................................................................................................................................132
เหล็กกล้าก่อสร้างทั่วไป..............................................................................................................135
ไม้............................................................................................................................................136
ทราย .......................................................................................................................................139
วัสดุมุงหลังคา...........................................................................................................................141
คำ�ศัพท์ท้ายหน่วยที่ 71��������������������������������������������������������������������������������������������������������������143
สรุปสาระการเรียนรู้หน่วยที่ 7.....................................................................................................143
แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 7...........................................................................................144
กิจกรรมการเรียนรู้หน่วยที่ 7......................................................................................................146

หน่วยที่ 8 วัสดุสังเคราะห์...................................................................................................... 147


ความหมายและชนิดของวัสดุสังเคราะห์.....................................................................................148
พลาสติก..................................................................................................................................148

art .indd 7 16/2/2558 14:02:59


ยางสังเคราะห์...........................................................................................................................156
สี .............................................................................................................................................157
กาวหรือวัสดุประสาน.................................................................................................................159
คำ�ศัพท์ท้ายหน่วยที่ 81��������������������������������������������������������������������������������������������������������������162
สรุปสาระการเรียนรู้หน่วยที่ 8.....................................................................................................163
แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 8...........................................................................................164
กิจกรรมการเรียนรู้หน่วยที่ 8......................................................................................................166
หน่วยที่ 9 วัสดุงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์............................................................................ 167
ความหมายและชนิดของวัสดุงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์...........................................................168
ตัวนำ�ไฟฟ้า1������������������������������������������������������������������������������������������������������������������������������168
ฉนวนไฟฟ้า..............................................................................................................................178
วัสดุต้านทานไฟฟ้า...................................................................................................................180
วัสดุกึ่งตัวนำ�1����������������������������������������������������������������������������������������������������������������������������180
วัสดุแม่เหล็ก.............................................................................................................................181
คำ�ศัพท์ท้ายหน่วยที่ 91��������������������������������������������������������������������������������������������������������������182
สรุปสาระการเรียนรู้หน่วยที่ 9.....................................................................................................183
แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 9...........................................................................................184
กิจกรรมการเรียนรู้หน่วยที่ 9......................................................................................................186
หน่วยที่ 10 การกัดกร่อนและการป้องกัน. ............................................................................... 187
ความหมายและชนิดของการกัดกร่อน........................................................................................188
การกัดกร่อนที่เกิดจากปฏิกิริยาไฟฟ้า–เคมี.................................................................................189
การกัดกร่อนที่เกิดจากการเสียดสีของผิว. ..................................................................................190
การกัดกร่อนที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีโดยตรง................................................................................191
ลักษณะการผุกร่อนของโลหะ.....................................................................................................191
กระบวนการเคลือบสำ�หรับป้องกันการกัดกร่อน1�������������������������������������������������������������������������194
การป้องกันการกัดกร่อน............................................................................................................199
คำ�ศัพท์ท้ายหน่วยที่ 102������������������������������������������������������������������������������������������������������������202
สรุปสาระการเรียนรู้หน่วยที่ 10...................................................................................................203
แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 10.........................................................................................204
กิจกรรมการเรียนรู้หน่วยที่ 10....................................................................................................206
หน่วยที่ 11 การตรวจสอบวัสดุเบื้องต้น. ................................................................................. 207
ความหมายและชนิดของการตรวจสอบวัสดุ. ..............................................................................208
การตรวจสอบวัสดุแบบทำ�ลาย2���������������������������������������������������������������������������������������������������208
การตรวจสอบวัสดุแบบไม่ทำ�ลาย2�����������������������������������������������������������������������������������������������210
คำ�ศัพท์ท้ายหน่วยที่ 112������������������������������������������������������������������������������������������������������������215
สรุปสาระการเรียนรู้หน่วยที่ 11...................................................................................................216
แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 11.........................................................................................217
กิจกรรมการเรียนรู้หน่วยที่ 11....................................................................................................219
บรรณานุกรม......................................................................................................................... 220

art .indd 8 16/2/2558 14:02:59


หน่วยที่ 1 วัสดุโลหะ  1

หน่วยที่

1 วัสดุโลหะ
สาระการเรียนรู้
1. ความหมายของวัสดุโลหะ
2. คุณสมบัติของโลหะโดยทั่วไป
3. ชนิดของวัสดุ
4. กรรมวิธีการผลิตโลหะ
5. การนำ�วัสดุโลหะไปใช้งาน
6. มาตรฐานของวัสดุโลหะ
7. การจัดเก็บวัสดุโลหะ

สมรรถนะการเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของวัสดุโลหะได้
2. บอกคุณสมบัติของโลหะโดยทั่วไปได้
3. บอกชนิด กรรมวิธีการผลิต และการนำ�วัสดุโลหะไปใช้งานได้
4. บอกมาตรฐานของวัสดุโลหะได้
5. บอกวิธีการจัดเก็บวัสดุโลหะได้

art 1.indd 1 16/2/2558 14:04:27


2

หน่วยที่ 1 วัสดุโลหะ
ความหมายของวัสดุโลหะ
วัสดุโลหะ หมายถึง ธาตุที่ถลุงจากแร่แล้ว เช่น เหล็ก ทองแดง ทองคำ� ฯลฯ วัสดุโลหะ
เมื่ อ ถลุ ง จากแร่ ใ นตอนแรกนั้ น ส่ ว นใหญ่ จ ะเป็ น โลหะเนื้ อ ค่ อ นข้ า งบริ สุ ท ธิ์ มั ก มี เ นื้ อ อ่ อ นและ
ไม่แข็งแรงเพียงพอที่จะนำ�มาใช้ในงานอุตสาหกรรมโดยตรง ส่วนมากจะนำ�ไปปรับปรุงคุณสมบัติ
ก่อนนำ�ไปใช้งาน

คุณสมบัติของวัสดุโลหะโดยทั่วไป
คุณสมบัติของวัสดุโลหะโดยทั่วไป มีดังนี้
1. เป็นตัวนำ�ความร้อนและไฟฟ้าได้ดี
2. มีความคงทนถาวรตามสภาพ
3. มีความเหนียวและมีความแข็งแรง
4. มีผิวมันแวววาวและสะท้อนแสงได้ดี
5. มีการขยายตัวเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
6. เป็นของแข็งที่อุณหภูมิปกติ ยกเว้นปรอท
7. เมื่อเคาะมีเสียงดังกังวาน
8. มีจุดหลอมเหลวสูงกว่าวัสดุชนิดอื่น
9. มีความคงทนถาวร ไม่ผุพังหรือเสื่อมสลายได้ง่าย

ชนิดของวัสดุโลหะ
วัสดุโลหะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. วัสดุโลหะเหล็ก (Ferrous Metals)
วั ส ดุ โ ลหะเหล็ ก หมายถึ ง โลหะที่ มี พื้ น ฐานเป็ น เหล็ ก ประกอบอยู่ ที่ มี ม ากมาย
หลายชนิด จะมีความหนาแน่นมากกว่า 4g/cm3 คือโลหะหนัก ได้แก่่ เหล็กเหนียว เหล็กหล่อ
เหล็กกล้า ฯลฯ เป็นวัสดุโลหะที่ใช้กันมากที่สุดในวงการอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีความ
แข็งแรงสูง สามารถปรับปรุงคุณภาพและเปลี่ยนแปลงรูปทรงได้หลายวิธี
2. วัสดุโลหะประเภทไม่ใช่เหล็ก (Non-fereous Metals)
วัสดุโลหะประเภทไม่ใช่เหล็ก หมายถึง โลหะที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหล็กเลยใน
ขณะที่เป็นโลหะบริสุทธิ์ จะมีความหนาแน่นน้อยกว่า 4g/cm3 คือโลหะเบา ได้แก่ ทองแดง (Cu),
อะลูมิเนียม (A1), สังกะสี (Zn), และดีบุก (Sn) และโลหะผสมอื่น ๆ ซึ่งพวกโลหะเหล่านี้มี
ความสามารถในการเป็นตัวนำ�ไฟฟ้า สามารถทำ�ให้อ่อน ดัด หรืออัดรีดขึ้นรูปได้ และบางทีก็จะ
มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กได้ดีแต่วัสดุโลหะประเภทนี้ไม่ใช่เหล็ก บางชนิดราคาสูงกว่าเหล็กมาก จึง

art 1.indd 2 16/2/2558 14:04:27


หน่วยที่ 1 วัสดุโลหะ  3

ต้องกำ�หนดใช้กับงานอุตสาหกรรมบางประเภทที่เหมาะสมเท่านั้น เช่น ทองแดงให้กับงานไฟฟ้า


ดีบุกใช้กับงานที่ต้องการความทนต่อการกัดกร่อนเป็นสนิม อะลูมิเนียมใช้กับงานที่ต้องการน้ำ�
หนักเบา เป็นต้น
กรรมวิธีการผลิตโลหะ
กรรมวิธีการผลิตโลหะจะดำ�เนินการได้เป็น 2 ขั้นตอน
1. การผลิตโลหะจากแร่ จะเป็นการผลิตโดยใช้ความร้อน สารเคมี และไฟฟ้า เรียก
ว่า โลหะปฐมภูมิ (Primary Metals) โลหะทีเ่ ราแยกมาจากแร่ในบางครัง้ อาจจยังบริสทุ ธิไ์ ม่เพียงพอ
แก่ความต้องการใช้งานในสภาพที่แตกต่างกัน จึงจำ�เป็นต้องนำ�มาผ่่านกระบวนการทำ�ให้บริสุทธิ์
คือ การทำ� Refining โดยใช้กรรมวิธีสุญญากาศ โดยใช้ก๊าซออกซิเจนทำ�การ Oxidation การทำ�
Electrolytic Refining และการทำ� Electroslag Refining ฯลฯ แล้วทำ�การหล่อหลอมให้ออกมา
เป็นแท่งโลหะ หรือเป็นแผ่น เพื่อนำ�ไปแปรรูปเป็นรูปทรงอื่น ๆ ต่อไป
2. การแปรรูป โลหะที่ผ่านการผลิตออกมาเป็นแท่ง จะเป็นวัตถุดิบเพื่อนำ�ไปแปรรูป
ต่อไป ซึ่งประเภทของกรรมวิธีในการผลิตแบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้
1) งานหล่อโลหะผลิตภัณฑ์
2) งานขึ้นรูปโลหะ
3) งานทางด้านเครื่องมือกล
4) งานอบชุบโลหะ
5) งานตกแต่งผิวสำ�เร็จ

รูปที่ 1.1 การทำ� Refined Steel

art 1.indd 3 16/2/2558 14:04:28


4

เหล็กดิบ
เหล็กดิบ (Pig Ilon) เป็นเหล็กทีไ่ ด้จากการนำ�สินแร่เหล็กมาทำ�การถลุง โดยการให้ความร้อน
แก่สินแร่โลหะเหล็ก ซึ่งการจะได้โลหะเหล็กมานั้นจะต้องผ่านกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน โดย
เริิ่มตั้งแต่การถลุงสินแร่เหล็ก การปรับปรุงส่วนผสมของเหล็กดิบ และการนำ�เหล็กดิบไปแปรรูป
เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นโลหะที่สำ�คัญต่ออุตสาหกรรมชนิดต่าง ๆ นอกจากนั้นมีการนำ�มาผลิต
ชิ้นงานต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย และมีการใช้งานมากที่สุดในงานทางด้านวิศวกรรม เช่น งานทาง
ด้านการก่อสร้าง งานทางด้านการผลิตยานพาหนะ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อการใช้งานต่อไป
ลักษณะของเหล็กดิบ
เหล็กดิบนั้นผลิตได้จากสินแร่ที่ขุดได้จากพื้นโลก สินแร่ที่ขุดได้นั้นจะอยู่ในลักษณะเป็นของ
ประสมคือ จะประกอบด้วยสารต่าง ๆ เช่น หิน ดินทราย และสารอื่น ๆ
การถลุงเหล็ก
อุปกรณ์ที่สำ�คัญในการถลุงเหล็กดิบคือ เตาสูง (Blast Furnace) ในประเทศไทยขณะนี้
มีอยู่ที่จังหวัดสระบุรี เป็นของบริษัท นวโลหะไทย จำ�กัด มีทั้งหมด 3 เตา แต่ละเตามีกำ�ลังผลิต
200 ตันต่อวัน
วัตถุดิบที่ใช้
1. สินแร่
สินแร่เหล็ก (Iron Ores) หรือเหล็กแร่ จะพบว่าอยู่ในรูปของสารประกอบของเหล็ก
ออกไซด์คาร์บอเนต และซัลไฟต์ อาจมีอยู่บ้างเป็นส่วนน้อยที่พบแร่เหล็กอยู่ในรูปเหล็กบริสุทธิ์
เช่น ลูกอุกกาบาตที่ตกมายังโลก โดยจะมีสารมลทินปะปนอยู่ ซึ่งสารมลทินเหล่านี้ ได้แก่ ดิน ทราย
หิน คาร์บอน ซิลิคอน แมงกานีส กำ�มะถัน ฟอสฟอรัส เป็นต้น
ชนิดของสินแร่เหล็ก
1) สินแร่เหล็กแมกนีไทต์ (Magnetite) เป็นสินแร่เหล็กแบบเฟอร์โรโซเฟอร์ออกไซด์
ของเหล็ก (Ferrosoferric Oxide) มีสูตรเคมีคือ Fe3O4 มีแร่เหล็ก 45-70% จะมีสีดำ�
2) สินแร่ฮีมาไทต์ (Haematite) เป็นสินแร่เฟอร์ริคออกไซด์ (Fereic Oxide)
มีสูตรทางเคมีคือ Fe2O3 มีแร่เหล็ก 40-65% ลักษณะมีสีแดง
3) สิ น แร่ ไ ลมอไนต์ (Limonite) เป็ น สิ น แร่ ใ นรู ป ของเหล็ ก ออกไซด์ กั บ น้ำ �
มีสูตรเคมีคือ Fe2O3H2O มีเหล็กประมาณ 20-45% ลักษณะมีสีน้ำ�ตาล
4) สินแร่ไพไรต์ (Iron Pyrite) เป็นสินแร่ที่อยู่ในรูปเหล็กไพไรต์ มีสูตรเคมีคือ Fes2
มีปริมาณเหล็ก 60-65% ลักษณะมีสีน�้ำตาลมีอยู่ทั่วไป

art 1.indd 4 16/2/2558 14:04:28


หน่วยที่ 1 วัสดุโลหะ  5

5) สิ น แร่ เ หล็ ก ซิ เ อร์ ไรต์ (Siderite) เป็ น สิ น แร่ ใ นรู ป ของเหล็ ก คาร์ บ อเนต
มีสูตรเคมีคือ FeCO3 มีปริมาณเหล็ก 25-40% ลักษณะมีสีน�้ำตาล
2. ถ่านโค้ก (Coke)
เป็นเชื้อเพลิงหลักในการถลุงเหล็ก ถ่านโค้กที่เหมาะสมสำ�หรับถลุงสินแร่ควรเป็น
ถ่านโค้กมีจำ�นวนของกำ�มะถันน้อยเพราะกำ�มะถันจะเป็นตัวที่ทำ�ให้เหล็กดิบเปราะ
การผลิ ต ถ่ า นโค้ ก ถ่ า นโค้ ก เป็ น สารสั ง เคราะห์ ที่ ไ ด้ จ ากการนำ � เอาถ่ า นหิ น ไปเข้ า
กระบวนการกลั่นทำ�ลายคือนำ�เอาถ่านหินไปบรรจุในที่จำ�กัดมิให้อากาศเข้าได้ แล้วให้ความร้อนจน
ถ่านหินร้อนแดง พวกสารไฮโดรคาร์บอนในถ่านหินจะระเหยออกเป็นแก๊ส หลังจากนั้นเทถ่านหินที่
ร้อนแดงลงไปในน้ำ�ทันที จะได้ถ่านโค้ก ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนรูพรุนทั้งก้อน ถ่านโค้กจะมีคาร์บอน
สูงถึง 89-99%
3. หินปูน (Limestone)
มีชื่อทางเคมีว่า แคลเซ่ียมคาร์บอเนต (CoCo3) เป็นวัตถุที่ส�ำคัญในการถลุงเหล็กดิบ
อีกอย่างหนึ่ง ในการผลิตเหล็กดิบต้องใส่หินปูนลงไปด้วย เพื่อท�ำหน้าที่เป็นฟลักซ์ (Flux) แยก
สารเจือปนในสินแร่เหล็กออก นอกจากนั้นยังเป็นตัวท�ำให้สารเจือปนบางชนิดในสินแร่เหล็กที่มีจุด
หลอมตัวสูงหลอมตัวต�่ำลง สารเจือปนจะรวมตัวกับฟลักซ์ได้ขี้ตะกรัน (Slag) ลอยตัวอยู่เหนือ
ผิวน�้ำเหล็ก

สิ่งสกปรก + หินปูน = ขี้ตะกรัน

4. ลมร้อน
เป็นวัตุดิบที่สำ�คัญอีกอย่างหนึ่ง เป็นตัวช่วยให้การเผาไหม้ในเตาลมที่พ่นเข้าไปในเตา
นั้นจะต้องอุ่นให้ร้อนเสียก่อนเพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้แก่เตา เป็นการประหยัดเชื้อเพลิง โดยลมร้อนนั้น
ได้จากเตาลม
กระบวนการผลิตเหล็กดิบ
วัตถุดิบที่สำ�คัญสำ�หรับการผลิตเหล็กทั้งหลายคือ เหล็กดิบเป็นผลผลิตที่ได้มาจากเตา
สูง หรือเรียกว่า เตาบลาสต์เฟอร์เนซ (Blast Furnace) โดยการหล่อหลอมแร่เหล็ก กับถ่านหลอม
เหล็ก กับถ่านและหินปูน คุณภาพของเหล็กดิบที่ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของสินแร่ที่นำ�มาใช้หล่อหลอม

art 1.indd 5 16/2/2558 14:04:28


6

เตาสูง
ปล่องควัน

เครื่องทำ�ลมร้อน
ชาร์จ
ก๊าซเสีย

โซนอุ่นสินแร่

โค้กตัว โซนรีดักชั่น
ประสมเพิ่ม
ลมร้อน
โซนหลอมละลาย

ทางไหล โค้ก
ก๊าซร้อน น้ำ�เหล็ก
ลม ตัวประสมเพิ่ม
ลมภายนอก

รูปที่ 1.2 ลักษณะเตาลมพ่นหรือเตาสูง


อัตราส่วนของวัตถุดิบที่ใช้ในการถลุงเหล็กดิบ
ในการถลุงเหล็กดิบให้ได้ปริมาณ 1,000 kg หรือ 1 ตัน จะต้องมีอตั ราส่วนของวัตถุดบิ
ดังนี้
1. สินแร่เหล็ก ประมาณ 2,000 kg
2. ถ่านโค้ก ประมาณ 1,000 kg
3. หินปูน ประมาณ 500 kg
วิธกี ารถลุงเหล็กแบบเหล็กดิบ
แร่เหล็ก หินปูน และถ่านโค้ก จะถูกป่นทางด้านบนของเตาเรียงแยกกันมาเป็นชั้น ๆ ความ
ร้อนในการถลุงได้มาจากการเผาไหม้ของถ่านโค้ก โดยมีลมร้อนเป่ามาจากด้านล่างของเตาเพื่อ
ช่วยการเผาไหม้ หินปูนจะรวมตัวกับสารมลทินและสิ่งสกปรกต่าง ๆ เกิดเป็นฟองขี้ตะกรัน (Salg)
ส่วนเนื้อเหล็กจะหลอมละลายรวมตัวกับคาร์บอนในถ่านโค้กแล้วจมลงด้านล่างของเตา โดยมีขี้
ตะกรันลอยอยู่ด้านล่างของเตา โดยมีขี้ตะกรันลอยอยู่ด้านบนของโลหะหลอมละลาย เมื่อโลหะ

art 1.indd 6 16/2/2558 14:04:28


หน่วยที่ 1 วัสดุโลหะ  7

หลอมตัวมีปริมาณมากถึงจำ�นวนหนึ่งจะมีการเปิดรูตรงที่ขี้ตะกรันลอยอยู่เพื่อให้โลหะทิ้งออกไป
จึงเปิดรูด้านล่างให้น้ำ�เหล็กไหลออกมาเข้าแบบพิมพ์ที่รองรับไว้ เมื่อน้ำ�เย็นตัวลงในแบบพิมพ์จะได้
เหล็กที่เรียกว่า เหล็กดิบ
แท่งเหล็กดิบประกอบด้วยเนือ้ เหล็กผสมกับคาร์บอนประมาณ 4.5% นอกจากนีย้ งั มีสารอืน่ ๆ
ปะปนอยู่ด้วย เช่น ซิลิคอน กำ�มะถัน ฟอสฟอรัส และแมงกานีส
กระบอกอัด
ให้เป็นก้อนกลม

หินแร่เหล็ก เตาสูง
วิธีบดให้เป็นผงละเอียด

หินปูน เศษเหล็กหรือสินแร่เหล็ก เตาพ่นลม


ที่เครื่องผลิต
เตาพ่นลม
ถ่านหิน
เตาอบถ่านหิน ตะกรัน
เตาโอเพ่นฮาร์ท
(เตากระทะ)
เตาอบถ่านหิน เบ้าผสม
ในช่วงการผลิต น้ำ�เหล็ก

เตาไฟฟ้าเตาพ่นลม
รูปที่ 1.3 กระบวนการผลิตเหล็กดิบจากสินแร่ด้วยเตาสูง
1. การถลุงแร่เหล็กแบบเหล็กพรุน (Spongge Iron) วิธีการผลิตเหล็กพรุน
กระทำ�ได้โดยบดแร่เหล็กให้เป็นก้อนเล็ก ๆ ผสมกับสารลดออกซิเจนแล้วเผาในเตาปิด โดยใช้
ความร้อนต่ำ�กว่าจุดหลอมละลายเหล็ก สารลดออกซิเจนดังกล่่าวอาจใช้ถ่านโค้ก ก๊าซธรรมชาติ
ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจนหรือน้ำ�มันเตาก็ได้ ผลผลิตที่ได้จะแข็งเป็นก้อนพรุน
คล้ายฟองน้ำ�หรือหินลาวาภูเขาไฟ เมื่อนำ�ไปบดให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่งแล้วใช้แม่เหล็กดูดจะทำ�ให้
ได้เหล็กพรุนมีปริมาณเหล็กสูง 80-90% และสามารถนำ�เหล็กพรุนไปใช้ผลิตเหล็กกล้าแทนเหล็ก
ดิบที่ได้ถลุงจากเตาลมพ่นได้

art 1.indd 7 16/2/2558 14:04:28


8
สายพานลำ�เลียงดินแร่
ก๊าซธรรมชาติ
หอความร้อน
น้ำ�
เครื่องทำ�ก๊าซเย็น กรวย
ก๊าซมีเทน

น้ำ� เครื่อง
ก๊าซไฮโดรเจน ปฏิกรณ์
และคาร์บอนมอนอกไซด์
ก๊าซธรรมชาติ
หรือก๊าซที่ได้จากเครื่องปฏิกรณ์
เหล็กพรุน
น้ำ�เหล็กพรุนที่ไปเข้าเตาไฟฟ้า

รูปที่ 1.4 กระบวนการถลุงแร่เหล็กเพื่อผลิตเหล็กพรุน


โลหะเหล็ก
โลหะเหล็ก (Ferrous Metals) ที่ได้จากการถลุงสามารถแบ่งออกเป็นเหล็กชนิดต่าง ๆ
ตามจำ�นวนเปอร์เซ็นต์คาร์บอนที่อยู่ในเนื้อเหล็กกล้าและเหล็กหล่อ
เหล็กกล้า
เหล็กกล้า (Steels) เหล็กทีผ่ า่ นการเพิม่ ธาตุโลหะอืน่ ๆ เข้าไปเพือ่ ปรับคุณสมบัตขิ อง
เหล็กเป็นโลหะผสมมีปริมาณคาร์บอนประมาณ 0.2-2.04% คาร์บอนเป็นวัสดุผสมที่ลดต้นทุน
แต่มกี ารใช้ธาตุอน่ื ๆ ผสมด้วย เช่น แมงกานีส โครเมียม วาเนเดียม ทังสเตน คาร์บอน และอืน่ ๆ
การเปลีย่ นปริมาณธาตุโลหะเป็นตัวกำ�หนดคุณภาพทัง้ ด้านความแข็ง การขึน้ รูป การรีด และความตึง
ของเหล็กกล้า
ชนิดของเหล็กกล้า
เหล็กกล้าแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ เหล็กกล้าคาร์บอน (Carbon Steel) และเหล็กกล้าผสม
(Alloy Steel)
1. เหล็กกล้าคาร์บอน (Carbon Steel)
เหล็กกล้าคาร์บอน เป็นเหล็กกล้าที่มีธาตุคาร์บอนผสมอยู่ และจะมีธาตุอื่น ๆ ปนอยู่
บ้างแต่น้อย เหล็กกล้าคาร์บอนยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1) เหล็กคาร์บอนต�่ำ (Low Carbon Steel) เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนผสมอยู่
ประมาณ 0.05-0.035% เป็นเหล็กกล้าที่อ่อน ไม่สามารถท�ำการชุบแข็งได้ มีความแข็งแรงต�่ำ
สามารถรีดหรือตีขนึ้ รูปได้งา่ ย เช่น เหล็กเส้น เหล็กแผ่นใช้ท�ำเหล็กโครงสร้างรูปทรงต่าง ๆ งานย�ำ้
หมุดท�ำนอต และสลักเกลียวท�ำแผ่นเหล็กบาง

art 1.indd 8 16/2/2558 14:04:28


หน่วยที่ 1 วัสดุโลหะ  9

2) เหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง (Medium Carbon Steel) เป็นเหล็กที่มีปริมาณ


คาร์บอนอยู่ประมาณ 0.30-0.55% เป็นเหล็กกล้าทีม่ คี วามแข็งแรงสูงกว่าเหล็กคาร์บอนต�ำ ่ สามารถ
ท�ำการอบชุบความร้อนได้ ใช้ท�ำชิน้ ส่วนของเครือ่ งจักรกลทัว่ ไปใช้ท�ำรางรถไฟ ท�ำเพลาเฟืองทัว่ ๆ
ไป หัวค้อน ลวดปริง
3) เหล็กกล้าคาร์บอนสูง (High Carbon Steel) เป็นเหล็กกล้าที่มีปริมาณ
คาร์บอนอยู่ระหว่าง 0.5% มีความแข็งแรงและมีความแข็งหลังการชุบสูง สามารถท�ำการอบชุบ
ความร้อนให้คณ ุ สมบัตคิ วามแข็งเพิม่ ขึน้ ได้ ใช้ท�ำพวกเครือ่ งมือเครือ่ งใช้ตา่ ง ๆ โดยส่วนใหญ่จะใช้
ท�ำเครือ่ งมือตัดชนิดต่าง ๆ เช่น ดอกสว่าน สกัด กรรไกร มีดกลึง ใบเลือ่ ย เครือ่ งมือช่าง งานไม้ทกุ
ชนิด ใบมีดโกน
2. เหล็กกล้าผสม (Alloy Steel)
เหล็กกล้าผสม เป็นเหล็กกล้าคาร์บอนทีม่ ธี าตุอนื่ ผสมอยูอ่ ย่างเจาะจงเพือ่ วัตถุประสงค์
ในการปรับปรุงคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น ความสามารถในการชุบแข็ง (Hard Enability) ความ
ต้านทานการกัดกร่อนคุณสมบัติการน�ำไฟฟ้าและคุณสมบัติทางแม่เหล็กเป็นต้นธาตุผสมลงไป
เช่น โครเมียม นิกเกิล โมลิบดินัม วาเนดียม โคบอลต์ แมงกานีส และซิลิคอน โดยแมงกานีส
และซิลิคอนจะต้องมีปริมาณมากพอสมควรจึงจะจัดได้ว่าเป็นเหล็กกล้าผสม เพราะในเหล็กกล้า
คาร์บอนก็มีปริมาณทั้งธาตุทั้งสองผสมอยู่พอสมควร
กรรมวิธีการผลิตเหล็กกล้า
กรรมวิธีการผลิตเหล็กกล้า เป็นการน�ำเอาเหล็กดิบจากเตาสูงมาท�ำการลดสารมลทิน
(Impurity) ต่าง ๆ ออกจากเนื้อเหล็กดิบจนหมด แล้วจึงเติมสารเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติให้ได้ตาม
ที่ต้องการไปลงในน�้ำเหล็ก
1) เหล็กดิบ (Pig Iron) ซึ่งจะได้จากเตาสูงซึ่งจะอยู่ในรูปแท่งวัตถุดิบ หรือน�้ำ
เหล็กดิบหลอมละลายจากเตาสูง
2) เศษเหล็กกล้า (Steel Scrap) ใส่เข้าไปเพื่อประหยัดเหล็กดิบ แต่กรรมวิธีการ
ผลิตบางชนิดไม่ต้องเติมเศษเหล็ก
3) สารเติมเพื่อปรับปรุงคุณภาพเหล็กกล้า ซึ่งเป็นสารที่ช่วยให้คุญสมบัติของ
เหล็กกล้าที่ผลิตได้ให้มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ
1. การผลิตเหล็กกล้าแบบเบสเซเมอร์ (Bessemer Process) เป็นเตาที่มีปาก
กล่องเอียง ตัวเตาหมุนได้ ใต้เตาจะมีท่อลมเอาไว้ส�ำหรับพ่นลมที่มีความดันสูงผ่านน�้ำเหล็กที่อยู่
ในเตา และน�้ำเหล็กที่ใช้จะต้องเป็นน�้ำเหล็กที่หลอมเหลวและร้อนจัดใส่ในเตาแล้วใช้ลมร้อนเป่า
หรือให้อากาศเข้าไป

art 1.indd 9 16/2/2558 14:04:28


10

ท่อออกซิเจนที่เคลื่อนลงได้
เครื่องจับฝุ่น

ก๊าซที่เผาไม่หมด

อิฐทนไฟ

เหล็กกำ�ลังหลอมเหลว เพลา

เพลา
ขี้เหล็ก
ช่องลม
ลม
น้ำ�เหล็ก
(ก) เตาเบสเซเมอร์ (ข) เตาออกซิเจน
รูปที่ 1.5 การผลิตเหล็กกล้าแบบเบสเซเมอร์
2. การผลิตเหล็กกล้าแบบโทมัส (Thomas Process) เตาโทมัสมีลกั ษณะคล้ายกับ
เตาเบสเซเมอร์วัตถุดิบที่ใส่ลงไปในเตา ได้แก่ เหล็กดิบที่มีธาตุฟอสฟอรัสผสมอยู่มาก และหินปุน
หรือแร่โคโลไมต์
3. การผลิตเหล็กกล้าแบบแอลดี (LD Process) เป็นเตาที่ต้องเป่าออกซิเจน
เข้าไปในเตาเพื่อเป็นการเพิ่มอุณหภูมิของน้ำ�เหล็กและสามารถเติมสารผสมที่ต้องการได้
4. การผลิตเหล็กกล้าแบบโอเพนฮาร์ท (Openheart Process) เป็นเตาที่มี
ลักษณะเหมือนรูปกระทะ เหนือขอบเตามีท่อแก๊สข้างซ้าย 2 ท่อ และข้างขวา 2 ท่อ ต่อมาจากเตา
อิฐร้อนใต้กระทะท่อแก๊สซ้ายขวา จะผลัดกันส่งแก๊สเข้าออกเพื่อพาความร้อนของน้ำ�เหล็กที่กำ�ลัง
ร้อนแดงไปเป็นความร้อนที่ใช้ในการหลอมน้ำ�เหล็กที่บริเวณใต้กระทะ

ประตูบรรจุเศษเหล็ก
น้ำ�โลหะ

ก๊าซ อากาศ เตาเผาอากาศและก๊าซ


ในขณะถูกเผาให้ร้อนด้วยก๊าซ

ไป
อากาศ ปล่องไฟ

ลิ้นเปิดปิด

รูปที่ 1.6 การผลิตเหล็กกล้าแบบโอเพนฮาร์ท

art 1.indd 10 16/2/2558 14:04:29


หน่วยที่ 1 วัสดุโลหะ  11

5. การผลิตเหล็กกล้าด้วยเตาไฟฟ้า (Electrical Furnace Process) เตาไฟฟ้า


จะใช้ สำ � หรั บ ผลิ ต เหล็ ก กล้ า ผสม เพราะว่ า เหล็ ก ชนิ ด นี้ มี ธ าตุ บ างชนิ ด ที่ เ ติ ม ลงไปและมี จุ ด
หลอมละลายสูงมาก ให้ความร้อนจากอากาศร้อน หรือจากเชื้อเพลิงอื่น ซึ่งอาจทำ�ให้เหล็กไม่
หลอมละลายจึงต้องใช้กระแสไฟฟ้ามาเป็นเชือ้ เพลิง ซึง่ เตาไฟฟ้าทีใ่ ช้ในการผลิตแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ
1) เตาอาร์ค (Arc Furnace)
2) เตาเหนี่ยวนำ� (Induction Furnace)
3) เตาสุญญากาศ (Vacuum Furnace)
เหล็กหล่อ (Cast Iron)
ความหมายและคุณสมบัติของเหล็กหล่อ
ความหมายของเหล็กหล่อ
เหล็กหล่อ หมายถึง เหล็กที่มีคาร์บอนประสมอยู่มากกว่า 2% ขึ้นไป ในวงการ
อุตสาหกรรมจะผลิตเหล็กหล่อที่มีคาร์บอนอยู่ระหว่าง 2-4.8% นอกจากนั้นจะเป็นส่วนประสม
ของสารอืน่ ๆ เช่น ซิลคิ อน 1-3% แมงกานีส 0.4-1%, กำ�มะถัน 0.1-0.35% และฟอสฟอรัส 0.05-1%
เหล็กหล่อสามารถแบ่งได้ 6 ชนิดดังนี้
1. เหล็กหล่อสีเทา (Gray Cast Iron) หรือเหล็กหล่อธรรมดา มีสัญลักษณ์
GG เป็นเหล็กหล่อทั่ว ๆ ไป ซึ่งเกิดจากการหลอมเหล็กดิบสีเทา เศษเหล็กเหนียวถ่านโค้ก หินปูน
มีธาตุต่าง ๆ ประสมอยู่ เช่น คาร์บอน 2-4% ซิลิคอน 1.8-2.5% แมงกานีส 0.5-0.8% กำ�มะถัน
0.3%
2. เหล็กหล่อสีขาว (White Cast Iron) เป็นเหล็กหล่อที่ทีคาร์บอนผสมอยู่
ในรูปของเหล็กคาร์ไบต์หรือซีเมนไทต์ (Fe 3C) ทำ�ให้เหล็กหล่อมีคุณสมบัติแข็งและเปราะแตก
ได้ง่าย เมื่อหักดูรอยแตกหักจะเห็นเป็นสีขาวจึงเรียกว่าเหล็กหล่อสีขาว ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะการ
เปลี่ยนแปลงสภาวะของเหล็กหล่อจากสภาพหลอมเหลว เป็นสภาวะของแข็งจะเป็นอย่างรวดเร็ว
เหล็กหล่อส่วนมากใช้ทำ�ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่คงทนต่อการเสียดสี จานเจียระไน เพชร พลอย อุปกรณ์
การผลิตซีเมนต์ อิฐ เป็นต้น
3. เหล็กหล่ออบเหนียว (Malleable Cast Iron) เป็นเหล็กที่มีความเหนียว
และทนต่อแรงกระแทกได้ดี และมีสมบัติคล้ายคลึงกับเหล็กกล้า มีความยืดหยุ่น เหล็กหล่อ
อบเหนียวจะมีความเค้นแรงดึงสูงกว่าเหล็กหล่อสีเทาและเหล็กหล่อสีขาว แต่ต่ำ�กว่าเหล็กหล่อ
แกรไฟต์ก้อนกลมเล็กน้อย
4. เหล็กหล่อแกรไฟต์ก้อนกลม (Spheroidal Cast Iron) ที่เรียกว่าเหล็ก
หล่อแกรไฟต์เนื่องจากคุณลักษณะของแกรไฟต์ที่ตกผลึกในเนื้อของเหล็กหล่อจะมีลักษณะเป็น
ก้อนกลม ทำ�ให้เหล็กหล่อชนิดนี้มีคุณสมบัติที่เหนียว รับแรงกระแทกได้ดีกว่าเหล็กหล่อสีเทาเป็น

art 1.indd 11 16/2/2558 14:04:29


12

อย่างมาก การเกิดแกรไฟต์ก้อนกลมเกิดจากการที่ได้ผสมโลหะซีเรียม หรือโลหะแมกนีเซียมลงไป


ในเหล็กหล่อ ทำ�ให้ธาตุคาร์บอนที่มีอยู่ในเหล็กหล่อแตกตัวออกมารวมกลุ่มกัน ในรูปลักษณะของ
แกรไฟต์ก้อนกลม
5. เหล็กหล่อทนการเสียดสี (Abrasion Resistance Cast Iron) เป็นเหล็ก
หล่อที่ผสมโลหะโครเมียม นิกเกิล และโมลิบดีนัม จึงทำ�ให้เหล็กหล่อมีความแข็งแรงสูง รอยแตกจะ
เป็นสีขาวคล้ายกับเหล็กหล่อสีขาว เหล็กหล่อทนการเสียดสี จะใช้กับงานที่มีการเสียดสีสูง เช่น การ
บดของแข็งต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมเซรามิก อุตสาหกรรมการทำ�สี เป็นต้น
6. เหล็กหล่อทนการกัดกร่อน (Corrosion Resistance Cast Iron) เป็น
เหล็กหล่อที่นิยมใช้งานเกี่ยวกับน้ำ�ทะเล บ่อน้ำ�มัน อุตสาหกรรมการผลิตน้ำ�กรด ทั้งอินทรีย์และ
อนินทรีย์ งานปั๊ม งานท่อ และข้อต่อท่อต่าง ๆ ที่มีรูปร่างสลับซับซ้อน
การใช้งานของเหล็กแต่ละชนิด
การนำ�เอาเหล็กหล่อไปใช้งานทางด้านวิศวกรรมและในด้านอุตสาหกรรม เหล็กหล่อแต่ละ
ชนิดมีคุณสมบัติในการนำ�ไปใช้งานที่แตกต่างกัน

ชนิดของเหล็กหล่อ การใช้งาน
1. เหล็กหล่อสีเทา ทำ�ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ เช่น ก้านสูบ และแท่นฐานเครื่องจักรกลต่าง ๆ
2. เหล็กหล่อสีขาว ทำ�ลูกโม่ย่อยหิน ทำ�ล้อรถไฟ ทำ�ลูกปืนล้อ ทำ�สารเจียระไนเพชรพลอย ทำ�แม่พิมพ์
3. เหล็กหล่อเหนียว ทำ�ชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ ใช้ในเครื่องมือการเกษตร ทำ�ชิ้นส่วนของเครื่องจักร
4. เหล็กหล่อพิเศษโนดูลา ทำ�ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ เช่น เพลาข้อเหวี่ยง เครื่องมือการเกษตร ชิ้นส่วนเรือเดินทะเล
5. เหล็กผสม ทำ�โม่บดหิน ใช้ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ทำ�เซรามิก อุตสาหกรรมเหมืองแร่
6. เหล็กเหนียวหล่อ ใช้กับงานที่ทีการเสียดสีสูง เช่น ทำ�แผ่นเหล็ก ขุดดินของรถไถ

กรรมวิธีการผลิตเหล็กหล่อ
เหล็กหล่อเป็นเหล็กที่มีเปอร์เซ็นต์คาร์บอนต่ำ�กว่าเหล็กดิบ ดังนั้น วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
เหล็กหล่อ ได้แก่ เหล็กดิบและเศษเหล็ก จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
1.  ปริมาณเหล็กหล่อที่ต้องการ
2.  คุณภาพเหล็กหล่อที่ต้องการ
3.  การลงทุนในการสร้างเตา
4.  เชื้อเพลิงที่จะนำ�มาใช้
5.  ลักษณะการทำ�งานของเตา

art 1.indd 12 16/2/2558 14:04:29


หน่วยที่ 1 วัสดุโลหะ  13

ประเภทของเตาที่ใช้ในการผลิตเหล็กหล่อ
เตาที่ใช้ในการผลิตเหล็กหล่อสามารถแยกได้ 4 ชนิด คือ
1.  เตาคิวโพลา (Cupola Furnace)
2.  เตาอากาศ (Air Furnace)
3.  เตาไฟฟ้า (Electric Furnace)
4.  เตาอินดักชั่น (Induction Furnace)
2. วัสดุโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก (Non-Ferrous Metals)
หมายถึ ง วั ส ดุ โ ลหะที่ ไ ม่ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ งกั บ เหล็ ก เลยในขณะที่ เ ป็ น โลหะบริ สุ ท ธิ์
เช่น ดีบุก อะลูมิเนียม สังกะสี ตะกั่ว ทองแดง ทองคำ�เงิน ทองคำ�ขาว แมกนีเซียม พลวง ฯลฯ
โลหะที่ไม่ใช่เหล็กนี้ บางชนิดราคาสูงกว่าเหล็กมาก จึงต้องกำ�หนดใช้กับงานทางอุตสาหกรรม
บางประเภทที่เหมาะสมเท่านั้น
วัสดุโลหะที่ไม่ใช่เหล็กแบ่งออกตามความหนาแน่นได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือ
2.1 โลหะหนัก (Heavy Metal) คือ โลหะที่มีความหนาแน่นมากกว่า 4 กก./ดม3
ขึ้นไป ทนต่อการกัดกร่อนได้ดี มีการบิดตัวน้อย และเป็นตัวนำ�ไฟฟ้าได้ดี เช่น
2.1.1 ทองแดง (Copper) คือ ธาตุลำ�ดับที่ 29 สัญลักษณ์ Cu เป็นโลหะ
แร่ที่มีความสำ�คัญในการผลิตโลหะทองแดง ซึ่งส่วนมากจะเป็นแร่ประเภทซัลไฟต์ มี 2 ชนิดแร่
คือ แร่ทองแดงคาลโคไซต์ (Chalcocite) (Cu2S) มี Cu ประมาณ 79.8% และแร่ทองแดง
คาลโคไพไรต์ (Chalcopyrite) (Cu FeS2) มี Cu ประมาณ 34.5% นอกจากแร่ซัลไฟต์แล้วยัง
มีแร่ทองแดงออกไซด์ (Cu2O) แต่ปริมาณที่พบมีน้อย แร่ทองแดงอีกชนิดหนึ่งที่เป็นแร่ทองแดง
คาร์บอเนต CuCO3 (OH2) เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า Malachite มีสีเขียวสวยงามมาก สำ�หรับ
ประเทศไทยนั้นแร่ทองแดงพบที่จังหวัดเลย หนองคาย ขอนแก่น นครราชสีมา ตาก อุตรดิตถ์ แพร่
น่าน ลำ�ปาง ลำ�พูน เพชรบูรณ์ ลพบุรี ฉะเชิงเทรา และกาญจนบุรี แต่ยังไม่มีการผลิต
กรรมวิ ธี ใ นการผลิ ต ทองแดงที่ ผ ลิ ต ขึ้ น ได้ ม ากกว่ า 2.5 ล้ า นปอนด์ ต่ อ ปี
ในสหรัฐอเมริกานั้น ส่วนใหญ่ถลุงมาจากแร่คาลโคไพไรต์ ซึ่งเป็นของผสมระหว่าง CuS กับ FeS ที่
มีทองแดงเป็นองค์ประกอบอยู่น้อยกว่า 0.5% โดยมวล เพื่อที่จะถลุงเอาทองแดงที่มีอยู่ในปริมาณ
น้อยออกจากแร่คาลโคไพไรต์ จึงต้องอาศัยวิธีโลหะวิทยาหลายขั้นตอน รวมถึงขั้นตอนที่ทำ�ให้ได้
ทองแดงบริสุทธิ์ถึง 99.99%
คุณลักษณะ ทองแดงเป็นโลหะค่อนข้างอ่อน มีสีน้ำ�ตาลแดง สามารถตีแผ่เป็นแผ่น
และดึงเป็นเส้นได้ หรือทำ�ให้เป็นรูปต่าง ๆ ได้ง่าย เป็นธาตุที่นำ�ความร้อนและนำ�ไฟฟ้าได้ดี มี
จุดหลอมเหลวและจุดเดือดค่อนข้างสูง หลอมละลายที่ 1,083 องศาเซลเซียส ทำ�ปฏิกิริยากับธาตุ
อโลหะบางชนิดเกิดเป็นสารประกอบได้

art 1.indd 13 16/2/2558 14:04:29


14
การนำ�ไปใช้งาน
1. เนื่องจากเป็นโลหะอ่อน จึงจัดเป็นรูปร่างต่างๆ ได้ง่าย นำ�ไฟฟ้าได้ดี ประโยชน์
ส่วนใหญ่จึงใช้ในแง่ของงานด้านไฟฟ้า เช่น ทำ�สายไฟฟ้าอุปกรณ์และเครื่องมือไฟฟ้าต่าง ๆ
หม้อน้ำ�รถยนต์
2. โลหะผสมของ Cu มีส่วนสำ�คัญต่องานต่างๆ มากมาย เช่น โลหะผสม Cu-
Zn เรียกว่า ทองเหลือง ใช้ประโยชน์สำ�หรับทำ�กลอนประตู ปลอกกระสุนปืน กุญแจ กระดุม และ
ใบพัดเรือ เป็นต้น
โลหะผสม Cu-Sn เรียกว่า ทองสัมฤทธิ์ ใช้ทำ�ลานนาฬิกา ปืนใหญ่ ทำ�ระฆัง
โลหะผสม Cu-Al จัดว่าเป็นทองสัมฤทธิ์อีกประเภทหนึ่ง ถ้ามี Al 25% จะมีสีคล้าย
ทองจึงใช้ทำ�ทองเทียมได้ โลหะผสม Co 75% Ni 25% ใช้ทำ�เหรียญกษาปณ์
3. สารประกอบของทองแดงถ้ า มี ป ริ ม าณมาก จะเป็ น พิ ษ ต่ อ สิ่ ง มี ชี วิ ต
ดังนั้น จึงใช้สารประกอบของทองแดงบางชนิด เช่น คอปเปอร์ (II) ออกไซด์ ทำ�ยาฆ่าแมลงและ
ฆ่าเชื้อรา
4. ร่ า งกายของมนุ ษ ย์ ก็ ต้ อ งการทองแดงเพื่ อ ใช้ ใ นกระบวนการทางชี ว เคมี
เฉพาะอย่าง ซึ่งถ้าขาดธาตุทองแดง อาจทำ�ให้เกิดความบกพร่องในการสังเคราะห์ไขมันบางชนิด
รวมทั้งทำ�ให้เกิดโรคโลหิตจาง เพราะร่างกายดูดซึมเหล็กไม่ได้
2.1.2 ทองคำ� (Gold) คือ ธาตุลำ�ดับที่ 79 มีสัญลักษณ์ Au ทองคำ�เป็น
โลหะแข็งสีเหลือง เกิดเป็นธาตุอิสระในธรรมชาติ ไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยา และทนทานต่อการขึ้นสนิม
ได้ดีเลิศ
กรรมวิธีการผลิตทองคำ� ขั้นแรกทองคำ�ที่ไม่บริสุทธิ์ถูกทำ�ลายด้วยสารผสมระหว่าง
กรดไนตริกและกรอไฮโดรคลอริก จากนั้นจึงผสมลงในพาราฟินดัดแปร ซึ่งทำ�ให้ทองคำ�แยกชั้น
ออกจากสิ่งเจือปน จากนั้นพาราฟินถูกนำ�ไปผสมกับน้ำ�บริสุทธิ์ ทำ�ให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
และได้ผงทองคำ�ในที่สุด ทองบริสุทธิ์ 99.999% พร้อมที่จะหลอมเหลวแบบเพื่อทำ�เป็นทองคำ�
แท่ง
คุ ณ ลั ก ษณะ ทองคำ � เป็ น โลหะที่ อ่ อ นและเหนี ย ว ทองคำ � หนั ก 1 ออนซ์
สามารถทำ�ให้เป็นเส้นยาวได้ถึง 50 ไมล์ และสามารถตีแผ่ทองคำ�ให้เป็นแผ่นบางขนาด 0.00005
นิ้ว (หรืออาจบุเป็นแผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า 0.0001 มิลลิเมตร) นอกจากนี้ ทองคำ�ยังเป็น
โลหะที่ไม่ละลายในกรดชนิดใด แต่สามารถละลายได้อย่างช้าๆ ในสารละลายผสมระหว่างกรดดิน
ประสิวและกรดเกลือ
ทองคำ� เรียกโดยย่อว่า ทอง ทองคำ � มี จุ ด หลอมเหลวที่ 1,064 องศาเซลเซี ย ส
จุดเดือดที่ 2,701 องศาเซลเซียส มีความถ่วงจำ�เพาะ 19.3 และมีน้ำ�หนักอะตอม 196.67
ลักษณะที่พบเป็นเกล็ด เม็ดกลม แบน หรือรูปร่างคล้ายกิ่งไม้ รูปผลึกแบบลูกเต๋า (Cube) หรือ
ออกตะฮีดรอน (Octahedron) หรือโดเดคะฮีดรอน (Dodecahedron)

art 1.indd 14 16/2/2558 14:04:29


หน่วยที่ 1 วัสดุโลหะ  15

การนำ�ไปใช้งาน
1. วงการอุตสาหกรรมเครื่องประดับอัญมณี ทองคำ�ได้ครอบครองความเป็นหนึ่ง
ในฐานะโลหะที่ใช้ทำ�เป็นเครื่องประดับที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะมีความเหนียวและอ่อน
นิ่ม สามารถนำ�มาทำ�ขึ้นรูปได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถนำ�กลับมาใช้ใหม่ได้โดยการทำ�ให้บริสุทธิ์
(Purified) ด้วยการหลอมได้อีกนับครั้งไม่ถ้วน มีส่วนทำ�เป็นฐานเรือนรองรับอัญมณีจากรูปแบบ
ขั้นพื้นฐานของงานทองที่ง่ายที่สุด ไปสู่เทคนิคการทำ�ทองด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง 
2. ความมั่ น คงทางเศรษฐกิ จ การคลั ง เป็ น โลหะสื่ อ กลางแห่ ง การแลกเปลี่ ย น
เงินตรา เพราะทองคำ�มีมูลค่าในตัวเอง ผิดกับเงินตราสกุลต่าง ๆ อาจเพิ่มหรือลดได้ ทองคำ�นำ�มา
ใช้เป็นเครื่องมือในการเก็งกำ�ไรของตลาดการค้า และมีการจัดทำ�เป็นเหรียญกระษาปณ์ทองคำ�หรือ
แสตมป์ทองคำ� ซึ่งผลิตโดยรัฐบาลหรือหน่วยงานเอกชนในวาระโอกาสพิเศษต่าง ๆ
3. ทองคำ � ในอุ ต สาหกรรมอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ นำ � มาใช้ ใ นวงการอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์
และการสื่อสารโทรคมนาคม เช่น สวิตช์โทรศัพท์ที่ใช้เป็นแผงตัด การใช้ลวดทองคำ�ขนาดจิ๋ว
เชื่อมต่อวัสดุกึ่งตัวนำ�และทรานซิสเตอร์ การใช้ลวดทังสเตนและโมลิบดีนัมเคลือบทองคำ� ใช้ใน
อุตสาหกรรมหลอดสุญญากาศ ใช้ตาข่ายทองคำ�เพื่อป้องกันการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าใน
ระบบการสื่อสารการบินพาณิชย์ เป็นต้น
4. ประโยชน์ในการคมนาคมและการสื่อสารโทรคมนาคม ทองคำ �มีคุณสมบัติ
ในการสะท้อนรังสีอินฟราเรดได้ดี ทองคำ�จึงนำ�มาใช้กับดาวเทียม ชุดอวกาศและยานอวกาศ เพื่อ
ป้องกันการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ที่มากเกินไป และป้องกันการจับตัวเป็นน้ำ�แข็ง หรือการทำ�ให้
เกิดฝ้าหมอกมัวของกระจกด้านนอกของเครื่องเป็นสีน้ำ�ตาลหรือบรอนซ์จาง ๆ ชิ้นส่วนประกอบ
สำ�คัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ก็มีทองคำ�เป็นส่วนประกอบอยู่
5. ประโยชน์ ใ นวงการแพทย์ แ ละทั น ตกรรม การแพทย์ ส มั ย ใหม่ มี ก าร
ทดลองใช้ ท องคำ � เพื่ อ การบำ � บั ด รั ก ษาโรคภั ย นำ � มาใช้ ใ นการต่ อ สู้ กั บ โรคมะเร็ ง ในรายที่ มี
อาการหนัก แพทย์จะฉีดสารละลายของทองคำ�กัมมันตรังสี แต่ปริมาณทองที่ใช้ในการแพทย์นั้น
เล็กน้อยและไม่มีความสำ�คัญอะไรนัก ราคายังแพงอีกด้วย การใช้ทองคำ�ในการแผ่รังสี การ
สอดทองคำ�ใส่ในกล้ามเนื้อเพื่อให้มีกำ�ลังต่อสู้กับความเจ็บป่วย และใช้เป็นปัจจัยหนึ่งในการ
แยกวิเคราะห์ปอดและตับ
2.1.3 เงิน (Silver) คือ ธาตุลำ�ดับที่ 47 สัญลักษณ์ Ag เป็นโลหะสีขาว
เงินเนื้อค่อนข้างอ่อน ถือว่าเป็นโลหะที่มีค่าเป็นอันดับสองรองจากทองคํา
กรรมวิธีผลิต ประเทศเม็กซิโกเป็นแหล่งผลิตเงินส่งออกมากที่สุดโดยประมาณ 15%
ของเงินที่ผลิตได้ในตลาดโลก

art 1.indd 15 16/2/2558 14:04:29


16

คุ ณ ลั ก ษณะ เงิ น จะแข็ ง กว่ า ทองเล็ ก น้ อ ย มี ลั ก ษณะทึ บ ถ้ า นํา เงิ น ไปขั ด เงาจะมี
ประกายเป็นเงาวับ เป็นสื่อนํากระแสไฟฟ้าได้ดีที่สุดมากกว่าโลหะชนิดอื่น เพราะมีสมบัติการนำ�
ความร้อนและไฟฟ้าได้ดีมาก โครงสร้างเป็นผลึกรูปทรงลูกบาศก์ ค่าความแข็ง 2.5 ค่าความถ่วง
จำ�เพาะ 10.53 น้ำ�หนักอะตอม 107.86 มีจุดหลอมเหลวที่ 961 องศาเซลเซียส มีจุดเดือดที่
2,162 องศาเซลเซียส เงินคุณภาพดีต้องมีแร่เงินบริสุทธิ์ 99.99%
การนำ�ไปใช้งาน
1. มนุ ษ ย์ นำ � เงิ น มาใช้ ไ ด้ ห ลากหลายประเภท เช่ น เครื่ อ งประดั บ ที่ ใ ช้ เ งิ น
หรือที่เรียกว่า สเตอร์ลิงซิลเวอร์ (Sterling Silver) จะมีโลหะเงินอยู่ 92.5% ที่เหลือ 7.5%
จะเป็นแร่ชนิดอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นแร่ทองแดง ในวงการเครื่องประดับจำ�เป็นต้อง
ใช้เงิน 92.5% ในการผลิตสินค้า สาเหตุเนื่องมาจากเงินแท้ 100% จะมีความอ่อนตัว ไม่แข็งแรง
ทนทาน ดังนั้น จึงต้องใช้โลหะเงินผสมในการทำ� โดยปัจจุบันนี้ เงิน 92.5% เป็นมาตรฐานสากล
ทั่วโลกในการทำ�เครื่องประดับ  
2. ใช้ ทํา เครื่อ งดนตรี ท่ีใ ห้ เ สี ย งไพเราะและมี ร าคาแพง ใช้ ทำ� เหรี ย ญตราต่ า ง ๆ
แม้ แ ต่ ก ารถ่ า ยภาพยั ง ใช้ แร่ เ งิ น ในอุ ต สาหกรรมฟิ ล์ ม ถ่ า ยภาพหรื อ ถ่ า ยหนั ง มี ก ารใช้ ซิ ล เวอร์
ไนเตรท (Silver Nitrate) ในการทําฟิล์มและกระดาษพิมพ์ภาพ ใช้ซิลเวอร์ไอโอไดด์ (Silver)
โปรยลงบนก้อนเมฆเพื่อทําฝนเทียม
2.1.4 สังกะสี (Zinc) คือ ธาตุลำ�ดับที่ 30 สัญลักษณ์ Zn เป็นโลหะที่มี
การผลิตและนำ�มาใช้ประโยชน์เมื่อประมาณ 600 ปีมาแล้ว โดยช่วงแรกจะมีการใช้กันมาก
ในแถบประเทศอินเดียและจีน โดยมีการผลิตเครื่องใช้ที่ทำ�จากโลหะสังกะสีผสม และนำ�สังกะสี
ออกไซด์มาผสมถ่านหินเพื่อใช้ทำ�เครื่องปั้นดินเผา
กรรมวิ ธี ก ารผลิ ต ทองคำ � สำ � หรั บ กระบวนการผลิ ต โลหะสั ง กะสี ที่ เ ป็ น ต้ น แบบ
ของเทคโนโลยีการถลุงสังกะสีในปัจจุบัน ถูกคิดค้นในปี ค.ศ. 1738 โดยวิลเลียม แชมเปียน ทำ�ให้
มีการใช้สังกะสีอย่างแพร่หลายและถือเป็นโลหะที่มีปริมาณการใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 4 ในปัจจุบัน
รองจากเหล็ก อะลูมิเนียม และทองแดง
คุ ณ ลั ก ษณะ มี จุ ด หลอมเหลวต่ำ � มี ค วามเหนี ย วน้ อ ยและเปราะเพราะมี ร ะบบ
ผลึ ก เป็ น รู ป หกเหลี่ ย ม อั ต ราการยื ด ตั ว น้ อ ย และมี คุ ณ สมบั ติ ต้ า นทานการกั ด กร่ อ นได้ ดี
นอกจากนี้ยังสามารถก่อให้เกิดพิษได้เนื่องจากรวมตัวกับออกซิเจนเป็นสังกะสีออกไซด์ได้ง่าย
ซึ่งเป็นควันสีขาวที่มีอันตราย
การนำ�ไปใช้งาน สังกะสีนำ�ไปใช้ประโยชน์หลายด้านตามลักษณะการนำ�ไปใช้ได้ดังนี้
1. ใช้เคลือบผิวเหล็กเพื่อป้องกันการเกิดสนิมและการผุกร่อน โดยสังกะสีจะทำ�
หน้าที่ป้องกัน 2 ขั้นตอน คือ ขั้นแรกจะทำ�หน้าที่ป้องกันผิวเหล็กไม่ให้สัมผัสกับอากาศหรือสาร
อย่างอื่น และหากเกิดรอยขีดข่วนหรือผุกร่อนจนถึงผิวเหล็กแล้ว สังกะสีจะทำ�หน้าที่ในขั้นต่อไป

art 1.indd 16 16/2/2558 14:04:29


หน่วยที่ 1 วัสดุโลหะ  17

รูปของการกัดกร่อนแกลเวนิค (Galvanic Action) คือโลหะสังกะสี ซึ่งมีคุณสมบัติทางเคมีไฟฟ้า


(Electrochemical Activity) สูงกว่าเหล็กจะทำ�ตัวเป็นขั้วบวกและดึงออกซิเจนมาทำ�ปฏิกิริยา
เกิดเป็นสนิมแทนเหล็ก ทำ�ให้ผิวเหล็กไม่ผุกร่อนแม้ผิวเหล็กจะสัมผัสถูกอากาศ การใช้งานด้านนี้
มีสัดส่วนมากที่สุดโดยคิดเป็นประมาณ 45-50% ของการบริโภคสังกะสีทั้งหมด
2. ใช้ทำ�ทองเหลืองโดยผสมกับโลหะทองแดง และอาจมีโลหะอื่น ๆ ผสมเพิ่ม
คุณสมบัติเป็นการเฉพาะต่อการใช้งาน เช่น ตะกั่ว อะลูมิเนียม ดีบุก พลวง แมงกานีส ฯลฯ
3. สังกะสีออกไซด์ใช้ในอุตสาหกรรมยาง เซรามิก ยา สีสะท้อนแสง สังกะสีซัลเฟต
(Zinc Sulfate) ใช้ในการผลิตสารทำ�ใยสังเคราะห์เรยอน (Rayon) และสังกะสีคลอไรด์ (Zinc
Choride) ใช้ทำ�น้ำ�ยาดับกลิ่นปาก ยาฆ่าเชื้อ และยารักษาเนื้อไม้ไม่ให้ผุและติดไฟง่าย
4. สังกะสีฝุ่น (Zinc Dust) ใช้ในการผลิตสารเคมีที่ใช้ในการพิมพ์และย้อมผ้า
ใช้ผสมกับอะลูมิเนียมผงเพื่อแก้น้ำ�กระด้าง ใช้เป็นสารผลิตก๊าซในคอนกรีตทำ�ให้ได้รูพรุน ใช้เป็น
สารเร่งในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ช่วยให้เกิดการคายไฮโดรเจนในการทำ�สบู่จากขี้ผึ้งพาราฟิน
5. ใช้ทำ�โลหะผสมสำ�หรับงานหล่อ (Die Casting) เนื่องจากมีจุดหลอมเหลวต่ำ�
จึงให้มีคุณสมบัติที่ดีคือขึ้นรูปได้ง่าย นอกจากนี้ยังคงทน กลึง และไสตกแต่งง่าย มีสีสันสวยงาม
โลหะผสมที่สำ�คัญ เช่น อะลูมิเนียม แมกนีเซียม ทองแดง สำ�หรับผลิตภัณฑ์ที่ทำ�ด้วยโลหะสังกะสี
ผสมมีมากมาย เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ ลูกบิดประตู ของเล่นเด็ก เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องมือกล
อุปกรณ์สำ�นักงาน และท่อน้ำ�
2.1.5 ดีบุก (Tin) คือ ธาตุลำ�ดับที่ 50 สัญลักษณ์ Sn เป็บโลหะ ลักษณะ
เป็นของแข็งสีขาวคล้ายกับโลหะ เงิน เนื้ออ่อน มีการนำ�ดีบุกมาใช้ประโยชน์เป็นเวลานานแล้ว
เนื่องจากดีบุกสามารถผสมเป็นเนื้อเดียวกับทองแดงได้ดี การใช้งานในช่วงแรกจึงเป็นการผลิต
โลหะผสมระหว่างดีบุกกับทองแดงหรือที่เรียก ว่าโลหะสัมฤทธิ์ (Bronze) ซึ่งมีการค้นพบมาตั้งแต่
ประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสตกาล
กรรมวิธีการผลิตดีบุก วิธีการถลุงแร่ดีบุกมีขั้นตอนดังนี้ โดยนำ�สินแร่ดีบุก (SnO2
ปนกับทราย SiO2 เป็นสารปนเปื้อน) ผสมกับถ่านโค้กและหินปูนด้วยอัตราส่วน 20 : 4 : 5 โดย
มวลใส่ในเตาถลุงแบบนอน โดยใช้น�ำ้ มันเตาหรือใช้กระแสไฟฟ้าเป็นแหล่งให้ความร้อน
คุณลักษณะ ดีบุกมีน้ำ�หนักอะตอม 118.71 มีจุดหลอมเหลวที่ 232 องศาเซลเซียส
มีจุดเดือดที่ 2,602 องศาเซลเซียส จัดเป็นโลหะที่มีลักษณะเด่นคือ มีความอ่อนตัวสูง มีความ
ต้านทานต่อการกัดกร่อนสูง และมีคุณสมบัติด้านหล่อลื่นดี
การนำ�ไปใช้งาน โลหะดีบุกเป็นโลหะอ่อน จึงไม่ใช้ดีบุกในการผลิตชิ้นส่วนจักรกล
แต่ ด้ วยมี ค วามทนทานต่ อ การกั ด กร่ อ นของกรดและสารละลายต่า ง ๆ ทนต่ อ การเป็ น สนิ ม
มีความเงางาม สวยงาม และไม่ก่อให้เกิดสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย จึงนิยมใช้ในการ
เคลือบแผ่นเหล็ก เพื่อผลิตเป็นภาชนะบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม ดีบุกเมื่อรีดเป็นแผ่นบาง ๆ

art 1.indd 17 16/2/2558 14:04:29


18

สามารถนำ � ไปใช้ ห่ อ สิ่ ง ของต่ า ง ๆ เพื่ อ ป้ อ งกั น ความชื้ น ได้ ดี นอกจากนี้ โ ลหะดี บุ ก ยั ง มี
คุ ณ สมบั ติ ใ นการผสมเป็ น เนื้ อ เดี ย วกั บ โลหะอื่ น ได้ ดี จึ ง สามารถผลิ ต เป็ น โลหะดี บุ ก ผสมที่ มี
คุณสมบัติเหมาะสมกับการใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่น โลหะดีบุกผสมตะกั่ว พลวง หรือสังกะสี
ที่ใช้ในการผลิตโลหะบัดกรีสำ�หรับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์ โลหะดีบุก
ผสมตะกั่วเพื่อใช้ผลิตหม้อน้ำ�รถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ฯลฯ
2.1.6 ตะกั่ว (Lead) คือ ธาตุลำ�ดับที่ 82 สัญลักษณ์ Pb เป็นโลหะสีขาว
แถมน้ำ�เงินเกิดขึ้นตามธรรมชาติในเปลือกโลกตะกั่วในพื้นดินอาจเกิดตามธรรมชาติหรืออาจเกิด
จากภาวะมลพิษดินที่มีสภาพเป็นกรด จะมีสารตะกั่วน้อยกว่าดินที่เป็นด่าง เนื่องจากอินทรียสาร
ในดินอาจทำ�ปฏิกิริยากับสารตะกั่วที่มีอยู่ สารตะกั่วที่อยู่ในรูปสารประกอบอนินทรีย์ เช่น ไนเตรต
คลอเรต และสารประกอบอินทรีย์ซึ่งใช้เป็นสารเติมในน้ำ�มันเชื้อเพลิง เช่น เบนซิน สารตะกั่ว
ในบรรยากาศมาจากตะกั่วที่ใช้ผสมในน้ำ�มันเบนซินเพื่อใช้ในการจุดระเบิดของน้ำ�มัน เมื่อน้ำ�มัน
เผาไหม้ในรถยนต์ สารตะกั่วจะออกมากับไอเสีย สารประกอบตะกั่วในน้ำ�มันสามารถแพร่กระจาย
ไปได้ไกลหลายกิโลเมตร และอาจทำ�ให้สิ่งแวดล้อมในบริเวณที่อยู่ห่างไกลความเจริญเกิดการ
ปนเปื้อนได้ นับจากนั้นก็ได้มีการใช้ประโยชน์จากโลหะตะกั่วอย่างแพร่หลายจนจัดเป็นโลหะ
ที่มีการใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 5 รองจากเหล็ก อะลูมิเนียม ทองแดง และสังกะสี
กรรมวิธีการผลิตตะกั่ว แร่ตะกั่วในประเทศไทยผลิตได้ 2 ชนิด สารประกอบของ
ตะกั่ ว ในรู ป ของตะกั่ ว คาร์ บ อนเนตและตะกั่ ว ซั ล ไฟต์ แ หล่ ง แร่ ต ะกั่ ว สามารถพบได้ ใ นจั ง หวั ด
กาญจนบุรี ยะลา เพชรบุรี เลย ราชบุรี ลำ�ปาง เพชรบูรณ์ และแพร่ ส่วนใหญ่เป็นแหล่งแร่ที่เกิดเป็น
สายเล็ก ๆ แทรกอยู่ในหิน ส่วนแหล่งแร่ใหญ่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและมีการผลิตแร่ออกจำ�หน่าย
จะอยู่ในอำ�เภอทองผาภูมิ และอำ�เภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นแหล่งแร่ตะกั่วซัลไฟต์เป็น
ส่วนใหญ่
การผลิตแร่ตะกั่วซัลไฟต์จะใช้กระบวนการทำ�เหมืองโดยการขุดเจาะซึ่งจะได้แร่ตะกั่ว 8.8%
หลังผ่านกรรมวิธีล้างแร่ แต่งแร่ ลอยแร่ โดยใช้น้ำ�ยาเคมี จะได้หัวแร่ตะกั่วซัลไฟต์ 65% ซึ่ง
ส่งออกต่างประเทศทั้งหมด เนื่องจากไม่มีโรงถลุงแร่ตะกั่วซัลไฟต์ในประเทศ ส่วนหางของแร่จะตก
ตะกอนช้า ๆ ในน้ำ�ทิ้ง สำ�หรับการผลิตตะกั่วคาร์บอเนต จะเป็นการทำ�เหมืองโดยวิธีเหมืองหาบ มี
แหล่งผลิตใหญ่อยู่ในอำ�เภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งจะผลิตหัวแร่ตะกั่วส่งโรงงานถลุงแร่
ตะกั่วที่ตั้งอยู่ในอำ�เภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ปัญหาการปนเปื้อนของสารตะกั่วในลำ�ห้วยคลิตี้
เกิดจากโรงงานแต่งแร่ตะกั่วของเหมืองแร่บ่องาม ซึ่งเป็นแร่ตะกั่วคาร์บอน
คุณลักษณะ ตะกั่วมีลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน ละลายตัวง่าย โดยมีน้ำ�หนัก
อะตอม 207.2 มีจุดหลอมเหลวที่ 327 องศาเซลเซียส มีจุดเดือดที่ 1,749 องศาเซลเซียส

art 1.indd 18 16/2/2558 14:04:29


หน่วยที่ 1 วัสดุโลหะ  19

การนำ � ไปใช้ ง าน โลหะตะกั่ ว ส่ ว นใหญ่ จ ะใช้ ใ นอุ ต สาหกรรมทำ � แบตเตอรี่ ร ถยนต์


ใช้ เ ป็ น สารประกอบตะกั่ ว สำ � หรั บ ผสมทำ � สี ใช้ ทำ � ลู ก กระสุ น และยุ ท ธภั ณ ฑ์ ใช้ ทำ � ฉากกั้ น
เพื่อป้องกันรังสีต่าง ๆ เช่น รังสีเอกซ์ รังสีบีตา รังสีแกมมา ฯลฯ ใช้เป็นธาตุผสมกับโลหะทองแดง
และเหล็กเพื่อเพิ่มคุณสมบัติด้านการกลึงหรือตัด ซึ่งการนำ�ตะกั่วไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ทั้ง
สภาพโลหะและสารเคมีที่สำ�คัญมีดังนี้
1. แบตเตอรี่ โลหะตะกั่วใช้มากที่สุดในการผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งประกอบด้วยแผ่นขั้ว
และห่วงยึดแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ที่ใช้ในรถยนต์จะมีตะกั่วประมาณ 9-12 กิโลกรัม
          2. เปลือกเคเบิล ใช้ตะกั่วหุ้มสายเคเบิลไฟฟ้าและการสื่อสารที่อยู่ใต้ดินและใต้น้ำ�
เพื่อป้องกันความเสียหายจากความชื้นและการกัดแทะของหนู ซึ่งช่วยลดการขัดข้องในระบบ
ไฟฟ้าและการสื่อสาร
          3. ตะกั่วแผ่น เนื่องจากตะกั่วมีคุณสมบัติต้านทานการกัดกร่อน จึงใช้ตะกั่วแผ่น
เป็นวัสดุก่อสร้างที่สำ�คัญในอุตสาหกรรมเคมีและการก่อสร้างอาคาร แผ่นกั้นรังสีต่าง ๆ รวมทั้ง
การใช้ตะกั่วแผ่นร่วมกับแอสเบสทอสและเหล็กสำ�หรับปูใต้ฐานตึกเพื่อป้องกันการสั่นสะเทือนและ
ควบคุมเสียงสำ�หรับรถไฟใต้ดิน
  4. ท่อตะกั่ว เนื่องจากตะกั่วมีคุณสมบัติต้านการกัดกร่อน ดัดงอง่าย และแปรรูป
ด้วยการอัดรีดง่าย จึงใช้ทำ�ท่อไร้ตะเข็บสำ�หรับอุตสาหกรรมเคมีและระบบท่อส่งน้ำ�
          5. โลหะบั ด กรี จากคุ ณ สมบั ติ จุ ด หลอมเหลวต่ำ � และราคาถู ก จึ ง ใช้ เ จื อ กั บ
ดีบุกเป็นโลหะบัดกรี (อัตราส่วนดีบุกต่อตะกั่ว 60-40 หรือ 70-30) เพื่อเชื่อมชิ้นงานโลหะ
ให้ติดกันโลหะบัดกรีบางชนิดอาจผสมธาตุอื่น เช่น พลวงและเงินเข้าไปเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง
และต้านทานการกัดกร่อน
6. โลหะตั ว พิ ม พ์ ที่ ใช้ ใ นอุ ต สาหกรรมการพิ ม พ์ เป็ น โลหะผสมระหว่ า งตะกั่ ว
พลวง และดี บุ ก โดยตะกั่ ว ช่ ว ยให้ มี จุ ด หลอมตั ว ต่ำ � และหล่ อ ได้ ง่ า ย พลวงช่ ว ยเพิ่ ม ความ
แข็งแรง ต้านทานแรงกดและการสึกหรอ ลดอุณหภูมิหล่อ และลดการหดตัวของตัวพิมพ์
7. โลหะผสมตะกั่ว-ดีบุก (มีดีบุก 8-12%) ใช้ในการเคลือบผิวแผ่นเหล็กเพื่อเพิ่ม
ความแข็งแรงและต้านทานการกัดกร่อน นิยมใช้ท�ำถังบรรจุน�้ำมันรถยนต์ อุปกรณ์กรอง และมุง
หลังคา
8. ฟิวส์ระบบตัดไฟอัตโนมัติ อาศัยคุณสมบัติที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ� จึงทำ�ให้ตะกั่ว
หลอมละลายเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านมากเกินที่กำ�หนดไว้ในระบบ
9. รงควัตถุ ใช้เป็นสีสำ�หรับทาเพื่อป้องกันสนิมให้เหล็กและเหล็กกล้า และใช้ทาสี
เครื่องหมายบนบาทวิถี
2.1.7 นิกเกิล (Nickel) คือ ธาตุลำ�ดับที่ 28 สัญลักษณ์ Ni เป็นโลหะ ลักษณะ
เป็นของแข็ง สีเงิน การใช้งานโลหะนิกเกิลส่วนใหญ่จะใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้าไร้สนิมและ
เหล็กกล้าผสม นอกจากนั้นยังใช้ในงานที่ต้องทนการกัดกร่อนสูง ๆ และใช้เคลือบผิวเหล็ก

art 1.indd 19 16/2/2558 14:04:29


20

กรรมวิธีการผลิตแร่นิกเกิล จะทำ�ปฏิกริยาเคมีกับกำ�มะถันเกิดเป็นแร่มิลเลอร์ไรต์
(Milleritr) ถ้าทำ�ปฏิกิริยาเคมีกับสารหนู (Arsenic) จะเกิดเป็นแร่นิกกอไลต์ (Nicolite) แต่ทำ�
ปฏิกริ ยิ าเคมีกบั ทัง้ สารหนูและกำ�มะถันเป็นก้อนนิกเกิลกลานซ์ (Nikel Glance)
คุณลักษณะ นิกเกิลเป็นโลหะที่มีคุณสมบัติต้านทานการเกิดออกซิเดชันและต้านทาน
การกัดกร่อนสูง มีความเหนียวและอ่อนตัวมาก สามารถขึ้นรูปที่อุณหภูมิต่ำ�ได้ง่าย นอกจากนี้
ยังสามารถละลายกับโลหะอื่นได้ง่ายและให้สารละลายของแข็งที่มีความเหนียว น้ำ�หนักอะตอม
58.69 มีจุดหลอมเหลวที่ 1,455 องศาเซลเซียส มีจุดเดือดที่ 2,913 องศาเซลเซียส
การนำ�ไปใช้งาน
1. ใช้ทำ�มาตรน้ำ� ประตูน้ำ� ท่อสำ�หรับอุปกรณ์ส่งถ่ายความร้อน และวัสดุกรองใน
อุตสาหกรรมเคมีและการกลั่นน้ำ�มัน
          2. ใช้ทำ�โลหะผสมชนิดพิเศษ (Superalloy) ซึ่งต้านทานความเค้นและทนการ
กัดกร่อนที่อุณหภูมิสูงสำ�หรับอุตสาหกรรมอากาศยาน โดยใช้เป็นวัสดุในการผลิตอุปกรณ์รักษา
ระดับความดันอากาศ ชิ้นส่วนต่าง ๆ และเครื่องยนต์ของเครื่องบินไอพ่น 
3. ใช้ เ คลื อ บผิ ว อุ ป กรณ์ ป ระดั บ ยนต์ ต่ า ง ๆ รวมถึ ง เครื่ อ งใช้ ใ นครั ว เรื อ น
เช่น เตาไฟฟ้า หม้อหุงข้าว เตาปิง้ ขนมปัง เครือ่ งเป่าผม ช้อมส้อม จาน ถาด และอุปกรณ์การทำ�
อาหาร ฯลฯ
          4. ใช้ ผ ลิ ต อุ ป กรณ์ ไ ฟฟ้ า เช่ น หลอดสุ ญ ญากาศ หลอดโทรทั ศ น์ และใช้
ทำ�ขั้วแอโนด แคโทด กริด และลวดยึดในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยอาศัยคุณสมบัติการยืดดึง
การต้านแรง และคุณลักษณะการปล่อยอิเล็กตรอน
5. จากคุณสมบัตทิ ส่ี ามารถดูดติดแม่เหล็กของนิกเกิลจึงใช้ในอุปกรณ์ตา่ ง ๆ มากมาย
เช่ น เครื่ อ งแปลงกำ � ลั ง สำ � หรั บ พลั ง งานอั ล ตราโซนิ ก อุ ป กรณ์ ก ารสำ � รวจใต้ น้ำ � ในอุ ต สาหกรรม
การเดินเรือ อุปกรณ์ทำ�ความสะอาดชิ้นงานก่อนเคลือบผิวในอุตสาหกรรมชุบเคลือบโลหะ
6. ใช้ทำ�สปริงแบนในระบบถ่ายทอดโทรศัพท์ ปลั๊กไฟซึ่งทนการกัดกร่อน จอ
แม่เหล็ก แกนเหนี่ยวนำ�ในคลื่นเสียงวิทยุ เครื่องกำ�เนิดไฟฟ้าในมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ และ
มอเตอร์กระแสตรงขนาดใหญ่ นิกเกิลผงที่อัดเป็นแท่งใช้ในแบตเตอรี่ที่มีสารละลายเป็นด่าง
ซึ่งใช้ในเครื่องบิน
7. ในการก่อสร้างมีการใช้นิกเกิลในรูปเหล็กกล้าไร้สนิมเพื่อทำ�อุปกรณ์ประดับ
อาคาร เนื่องจากมีความต้านทานการกัดกร่อน แข็งแรง และให้ความสวยงาม
2.1.8 โครเมียม (Chromium) คือ ธาตุลำ�ดับที่ 24 สัญลักษณ์ Cr เป็นโลหะ
แข็งสีเงิน ในธรรมชาติโครเมียมมักจะอยู่ในรูปของออกไซด์ผสม เช่น ในแร่โครไมต์ ซึ่งสามารถ

art 1.indd 20 16/2/2558 14:04:29


หน่วยที่ 1 วัสดุโลหะ  21

จะมาเตรียมโครเมียมได้โดยรีดิวซ์ด้วยคาร์บอนในเตาไฟฟ้า หลังการรีดิวซ์จะได้โลหะผสมของ
Fe-Cr เรียกว่า ferrochrome ซึ่งมีอัตราส่วนของ Fe : Cr = 1 : 2 โลหะผสมนี้ใช้ผสมในเหล็กกล้า
จะทำ�ให้สมบัติต่าง ๆ ดีขึ้น คือทนทานและแข็งแรง
กรรมวิธีการผลิต การเตรียมโลหะโครเมียมให้บริสุทธิ์ทำ�ได้โดยนำ�แร่โครไมต์มาเผา
ในอากาศจะเกิดปฏิกิริยาได้ไดโพแทสเซียมโครเมียมเมตซึ่งละลายน้ำ � จึงสามารถแยกออกจาก
FeO ได้ หลังจากตกผลึกจะได้ไดโพแทสเซียมโครเมียมเมตที่บริสุทธิ์ นำ�ไปรีดิวซ์ด้วยคาร์บอนและ
อะลูมิเนียมจะได้โลหะโครเมียมที่บริสุทธิ์
คุณลักษณะ มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง เป็นโลหะที่แข็ง มีสีเทาเป็นมันวาว
และทนต่ อ การผุ ก ร่ อ นได้ ดี โลหะโครเมี ย มสามารถทำ � ปฏิ กิ ริ ย ากั บ ธาตุ ไ ด้ จำ � นวนมาก เช่ น
C, N2, H2, I2, F2 ฯลฯ โครเมียมในสารประกอบมีเลขออกซิเดชันได้หลายค่าตั้งแต่ +2 ถึง +6
กรดเบสของสารละลาย
การนำ�ไปใช้งาน
1. ใช้ เ คลื อ บผิ ว ของเหล็ ก และโลหะอื่ น ๆ โดยการชุ บ ด้ ว ยไฟฟ้ า เรี ย กว่ า
การชุบโครเมียม ทำ�ให้ได้ผิวโลหะที่เป็นมันวาวสีเทาเงินและไม่ผุกร่อน
2. ใช้เป็นส่วนประกอบของเหล็กกล้าสำ�หรับทำ�ตู้นิรภัย เครื่องยนต์กลไก เกราะกัน
กระสุน เครื่องบินไอพ่นและจรวด เนื่องจากความแข็งแรงทนทาน เหนียว ถ้ามี Cr 10% ใน Fe
จะได้เหล็กปลอดสนิม
3. สารประกอบหลายชนิดของ Cr ใช้ทำ�รงควัตถุ
4. โลหะเจือ Co กับ Cr ใช้ทำ�กระดูกเทียม ซึ่งมีความแข็งแรงมากและมีปฏิกิริยาต่อ
ร่างกายน้อย
5. การขาดธาตุ Cr จะมีผลเสียต่อร่างกายคือ อาจจะทำ�ให้เป็นโรคเบาหวาน
2.1.9 โมลิบดีนัม (Molybdenum) คือ ธาตุลำ�ดับที่ 42 สัญลักษณ์ Mo เป็น
โลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว
กรรมวิธีการผลิตแร่โมลิบดีนัม เมื่อนำ�แร่นี้มาทำ�ปฏิกิริยากับกรดไนตริกเกิดสาร
สีขาวพิเศษชนิดหนึ่งซึ่งแรกว่าเป็น “Peculiar White Earth” สมบัติเป็นกรดเรียกสารนี้ว่า
กรดโมลิบดิก (Molybdic Acid) ข้อสังเกตที่พบคือนำ�แร่นี้มาเผาจะเกิดควันซัลฟุรัสขึ้น ชื่อว่า
Molybdennite คือซัลไฟด์ของโมลิบดีนัมและสามารถสกัดธาตุโมลิบดีนัมอิสระได้โดยรีดิวซ์ไซด์
ของธาตุนี้ด้วยคาร์บอน
คุณลักษณะ โมลิบดีนัมมีความหนาแน่น 10.2 กก./ดม.3 มีจุดหลอมเหลวที่ 2,622
องศาเซลเซียส เป็นโลหะขาวคล้ายเงิน ไม่แข็งกระด้าง

art 1.indd 21 16/2/2558 14:04:29


22

การนำ�ไปใช้งาน
1. โมลิบดีนัมบริสุทธิ์ใช้มากในการทำ�ที่ยึดของเส้นใยในหลอดไฟฟ้าทุกชนิด หลอด
วิทยุ หลอดรังสีเอกซ์ ใช้ในจุดสัมผัสต่าง ๆ ในทางไฟฟ้า
2. ใช้ผสมกลับเหล็กกล้าชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล็กกล้าผสมนิกเกิลและ
โครเมียม เพราะโมลิบดีนัมจะช่วยทำ�ให้เหล็กกล้ามีความเหนียวมากขึ้น เหมาะสำ�หรับใช้ในที่ที่
มีความกดดันและอุณหภูมิสูง เช่น ใช้ทำ�หม้อน้ำ�สำ�หรับเครื่องไอน้ำ� ในเหล็กกล้าไม่ขึ้นสนิมที่มี
โครเมียม 18% นิกเกิล 4% เมื่อผสมโมลิบดีนัม 2-4% จะช่วยทำ�ให้เหล็กกล้าชนิดนี้ต้านทานการ
ขึ้นสนิมดีขึ้น แม้จะใช้ในที่ที่อุณหภูมิสูงก็ตาม
3. ปัจจุบันใช้โมลิบดีนัมแทนทังสเตนกันมากในการผลิตเหล็กกล้าความเร็วรอบสูง
และผสมในเหล็กหล่อทำ�ให้เหล็กหล่อมีความแข็งและทนต่อการสึกหรอมากขึ้น ตามปกติจะใช้ใน
รูปของเหล็กผสมโมลิบดีนัม (Ferro Molybdenum) เช่นเดียวกับแมงกานีสหรือทังสเตน
4. สารประกอบทางเคมี ข องโมลิ บ ดี นั ม เช่ น โซเดี ย มโมลิ บ เดต (Sodium
Molybdate) มีประโยชน์มากในอุตสาหกรรมหมึกและสีย้อมผ้า
2.1.10 วาเนเดียม (Vanadium) คือ ธาตุลำ�ดับที่ 23 สัญลักษณ์ V เป็นโลหะ
ที่มีสีเทาคล้ายเหล็ก
กรรมวิธีการผลิตแร่วาเนเดียม การให้ความร้อนกับแร่หรือกาวาเนเดียม (กากจาก
กระบวนการต่าง ๆ) กับเกลือแกง (โซเดียมคลอไรด์) หรือโซเดียมคาร์บอเนตที่อุณหภูมิประมาณ
850 องศาเซลเซียส จะทำ�ให้เกิดโซเดียมวาเนเดต (NaVo3) และโซเดียมวาเนเดตนี้ ก็จะถูกนำ�
ไปละลายน้ำ�และทำ�ให้เป็นกรดเพื่อจะทำ�ให้เกิดของแข็งสีแดงซึ่งจะถูกหลอมเหลวเพื่อที่จะทำ�ให้
เกิดวาเนเดียมบริสุทธิ์ ทางเลือกที่เหมาะสมกับปริมาณเล็กน้อยคือการหลอมเหลวกันระหว่าง
วาเนเดียมเพนตะคลอไรด์กับไฮโดรเจนแมกนีเซียม
คุณลักษณะแร่วาเนเดียม เป็นแร่ธาตุวาเนเดียมอะพาไทต์แร่ที่เป็นชนเผ่าที่นำ�แร่ธาตุ
คลอไรด์ฟอสฟอรัสในซีรีส์ Vanadinite วาเนเดียมเป็นกลั่นวัตถุดิบแร่ก็ยังสามารถนำ�ไปสู่การสกัด
แต่แหล่งที่มาของแร่ตะกั่วมากขึ้น สีหลัก Vanadinite แดง, สีเหลือง, สีน้ำ�ตาล, สีเงาสนบางส่วน
จะสว่างขึ้น
การนำ�ไปใช้งาน
1. ในวงการช่าง วาเนเดียมใช้เป็นวัสดุโลหะผสมกับเหล็กไม่เกิน 0.2% จะทำ�ให้
ความเค้นแรงดึงและความเหนียวของเหล็กสูงขึ้น
2. วาเนเดียมเป็นโลหะที่มีกัมมันตภาพทางเคมีมาก และสามารถเปลี่ยนแปลง
วาเลนซีได้ง่าย จึงทำ�ให้วาเนเดียมเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ดี และใช้มากในการผลิตสารเคมีต่าง ๆ
เหล็กที่ใช้ในส่วนที่มีความ ๆ เช่น สลักสูบ ก้านสูบ ข้อเสือรถไฟเพลา และลูกสูบมักใช้เหล็กกล้า
ที่มีวาเนเดียมผสมอยู่ 0.2% แมงกานีส 0.7-0.95% และคาร์บอน 0.4-0.5% เหล็กกล้า

art 1.indd 22 16/2/2558 14:04:29


หน่วยที่ 1 วัสดุโลหะ  23

ผสมโครเมียมและวาเนเดียม ซึ่งมีวาเนเดียมผสมอยู่ 0.15-0.20% ใช้กันแพร่หลายในการทำ�


หม้อน้ำ� ท่อไอน้ำ�ความร้อนสูง แท่งอิเล็กโทรดที่ใช้การเชื่อมโลหะเกียร์ต่าง ๆ เพลารถยนต์
ขาไก่พวงมาลัย เพลาข้อเหวี่ยง และเพลาใบพัด เป็นต้น
3. ในเหล็กกล้าความเร็วสูงทุกชนิด มักจะมีวาเนเดียมผสมอยู่ตั้งแต่ 0.5-2.5%
เพราะจะช่วยให้เหล็กกล้ามีคุณภาพดีขึ้นดังนี้
- บางส่วนของวาเนเดียมจะละลายในเนื้อเหล็ก ทำ�ให้เหล็กกล้ามีกำ�ลังความแข็ง
และอำ�นาจการยืดตัวสูง
- ทำ�ให้เหล็กกล้ามีเกล็ดผลึกละเอียดและสม่ำ�เสมอและลดความโน้มเอียงในการ
เติบโตของเกล็ดผลึกระหว่างการกระทำ�ด้วยความร้อน
- วาเนเดียมจะรวมตัวกับคาร์บอนเป็นคาร์ไบด์ (Carbide) ที่มีเสถียรภาพดี
ทำ�ให้เหล็กกล้ามีความคงทนและแข็งแกร่งขึ้นแม้อุณหภูมิสูง คุณสมบัติก็ไม่เปลี่ยนแปลงไป
4. วาเนเดียมยังมีประโยชน์มากในการผลิตเหล็กกล้าชนิดที่ใช้ทำ�แบบพิมพ์ถาวร
โดยผสมเข้าไปประมาณ 0.25% จะช่วยกำ�จัดสิ่งสกปรกต่าง ๆ ออกจากเหล็กกล้า โดยเฉพาะพวก
ที่ไม่ใช่โลหะ
2.1.11 ปรอท (Mercury) คือ ธาตุลำ�ดับที่ 80 สัญลักษณ์ Hg เป็นโลหะชนิด
เดียวที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิธรรมดา
กรรมวิธีการผลิตปรอท ได้จากหินที่ขุดพบในเหมือง โดยการนำ�หินนั้นมาทำ�ให้
ร้อนด้วยอุณหภูมิ 357 องศาเซลเซียส ปรอทเป็นสารที่มีความหนาแน่นสูงถึงขั้นที่ก้อนตะกอน
หรือเหล็กสามารถลอยอยู่ได้ถึงแม้ปรอทจะมีลักษณะคล้ายตะกั่วและเป็นของเหลวแต่ก็มีน้ำ�หนัก
มากว่าตะกั่ว (มวลอะตอม 200.59) และถึงแม้ปรอทจะเป็นโลหะแต่ก็ไม่ดึงดูดกับแม่เหล็ก
จึงสามารถนำ�ปรอทมาใช้ในอุตสาหกรรมหลาย ๆ ประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องวัดอุณหภูมิ
และความดัด การย้อมสี การผลิตเยื่อกระดาษพลาสติก เภสัชภัณฑ์ อุปกรณ์ในการถ่ายรูป อุปกรณ์
ไฟฟ้า สารฆ่าแมลงและยาฆ่าเชื้อ นอกจากนี้ เนื่องจากว่าปรอทมีจุดเดือดไม่สูงนักจึงได้มีการ
ทดลองนำ�เมอคิวริคออกไซด์มาผลิตเป็นออกซิเจนบริสุทธิ์
คุณลักษณะ ปรอทมีความหนาแน่น 13.6 กก./ดม.3 มีจุดหลอมเหลวที่ -39 องศา
เซลเซียส
การนำ�ไปใช้งาน
1. ปรอทมีสัมประสิทธิ์การขยายตัวมาก จึงเหมาะที่จะนำ�มาใช้ทำ�เทอร์โมมิเตอร์ใน
งานช่างไฟฟ้า และใช้สวิตช์ได้ดี เรียกว่า สวิตช์ปรอท
2. ไอของปรอทเมื่อเติมลงในหลอดไฟจะให้แสงสีเขียวและอัลตราไวโอเลต ใช้ได้ทั้ง
เป็นไฟส่องสว่างและไฟวิทยาศาสตร์ฆ่าเชื้อโรค
3. ใช้ในอุปกรณ์เครื่องไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น หลอดแก้วสุญญากาศหลอดไฟนีออน ทำ�
แบตเตอรี่แห้ง ปลายสวิตช์ไฟฟ้าและเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอีกหลายชนิด

art 1.indd 23 16/2/2558 14:04:29


24

4. ใช้ประโยชน์ในการทำ�เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เช่น ทำ�เครื่องวัดอุณภูมิ เครื่อง


วัดความดันของบรรยากาศ ปั๊มสุญญากาศ และอื่น ๆ อีกมากมาย
5. ดีบุก เงิน และทองที่ละลายในปรอททำ�ให้เกิดโลหะผสมขึ้นเรียกกันทั่วไปว่า
อะมัลกัม (Amalgam) ใช้ประโยชน์ในทางทันตกรรม เช่น ใช้สำ�หรับอุดฟัน
6. สารประกอบของปรอทยังนำ�มาใช้ในอุตสาหกรรมน้ำ�มัน สี อุตสาหกรรมทำ�ผ้า
สักหลาด การถ่ายภาพ และอื่น ๆ
7. ปรอทสามารถรวมตัวกับโลหะอื่นได้เกือบทุกชนิด ยกเว้นเหล็ก นิกเกิล วุลแฟรม
เท่านั้น
2.2 โลหะเบา (Light Metal) คื อ โลหะที่ มี น้ำ � หนั ก อะตอมต่ำ � และมี ค วาม
หนาแน่ น น้ อยกว่า 4 กก./ดม. 3 โลหะเบามั ก จะมี ธาตุ ลิเที ย ม เบริ ลเลี ย ม แมกนี เซี ย ม และ
อะลูมิเนียมรวมอยู่ปกติแล้วโลหะเบาจะเป็นพิษน้อยกว่าโลหะหนัก
คุณลักษณะของโลหะเบา โลหะที่มีน้ำ�หนักอะตอมต่ำ� จุดแบ่งแยกระหว่าง
โลหะหนักกับโลหะเบาอาจมีการแบ่งที่ไม่เหมือนกัน แต่โลหะเบาก็มักจะมีธาตุลิเทียม เบริลเลียม
โซเดียม แมกนีเซียม และอะลูมิเนียมรวมอยู่ด้วย บางครั้งโลหะเบาก็รวมไปถึงโลหะอื่นที่มี
น้ำ�หนักอะตอมน้อยกว่าธาตุนิกเกิล และหลังจากนิกเกิลเป็นต้นไปก็เป็นโลหะหนัก ปกติแล้ว
โลหะเบาจะเป็นพิษน้อยกว่าโลหะหนัก โลหะเบาหลายชนิดจะเป็นพิษเมื่อมีปริมาณมาก
คุณสมบัติของโลหะเบา
1. ทนการผุกร่อน
2. กลึง เจาะ ไส ขึ้นรูปได้ง่าย
3. หล่อลงแบบได้ดี
2.2.1 อะลูมิเนียม  คือ ธาตุลำ�ดับที่ 13 สัญลักษณ์ Al เป็นโลหะ ลักษณะเป็น
ของแข็งสีขาวคล้ายเงิน เป็นโลหะที่สำ�คัญและใช้งานมากที่สุดในจำ�พวกโลหะเบาด้วยกัน
กรรมวิ ธี ก ารผลิ ต อะลู มิ เ นี ย ม นำ � ไปถลุ ง โดยนำ � แร่ บ อกไซด์ ที่ มี สิ น แร่ ป ระมาณ
55-56% มาสกัดเอาอะลูมิเนียม (Alumina) ออกเสียก่อนโดยการป่นแร่ ให้เป็นผงละเอียด
แล้ ว นำ � มาเข้ า เครื่ อ งตุ๋ น กั บ น้ำ � ยาโดไฟอย่ า งเข้ ม ข้ น (NaOh) สารจะถู ก ต้ ม ในหม้ อ พิ เ ศษ
(Autoklaven) ซึง่ ปิดสนิทภายใต้ความกดดันประมาณ 7 บรรยากาศ อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส
ในการนี้สารที่เจือปนอยู่จะถูกแยกออกไปด้วยการกรองและนำ�ไปเผาหรืออบให้แห้งในเตาหมุน
ด้วยอุณหภูมิ 1,300 องศาเซลเซียส ไล่น�ำ้ ทีต่ ดิ อยูใ่ นโมเลกุลของอะลูมนิ าออกก็จะได้อะลูมนิ าบริสทุ ธิ์
หรืออะลูมิเนียมออกไซด์นี้จะถูกแยกด้วยไฟฟ้าในเตาไฟฟ้าอีกในการนี้อุณหภูมิออกไซด์จะต้องอยู่
ในสภาพหลอมเหลว แต่เนื่องจากจุดหลอมเหลวของสารชนิดนี้สูงมาก (2,000 องศาเซลเซียส) จึง
ต้องใช้สารผสมที่เรียกว่าคลีโอไลท์ (Cryolite) ซึ่งมีจุดหลอมเหลวอยู่ประมาณ 900 องศาเซลเซียส

art 1.indd 24 16/2/2558 14:04:29


หน่วยที่ 1 วัสดุโลหะ  25

ปนส่งไปให้อะลูมินาหลอมตัวได้ง่าย การแยกด้วยเตาไฟฟ้าจะใช้อุณภูมิประมาณ 900-950 องศา


เซลเซียส อะลูมิเนียมจะแยกไปจับอยู่ที่ขั้วลบเป็นอะลูมิเนียมบริสุทธิ์ สินแร่บอกไซด์ 4 ตัน จะให้
ผลึกอะลูมินาประมาณ 2 ตัน และจะให้โลหะประมาณ 1 ตัน
การถลุงอะลูมิเนียมด้วยไฟฟ้าต้องใช้กำ�ลังงานไฟฟ้ามากและต้องเป็นกำ�ลัง
ไฟฟ้าราคาถูก กล่าวกันว่าที่ถลุงให้ได้อะลูมิเนียม 1 ตันนั้นต้องใช้ไฟฟ้าจำ�นวน 18,000 กิโลวัตต์
ต่อชั่วโมง เสียเวลาทั้งหมด 120 ชั่วโมง ใช้ไฟฟ้าขนาดแรงดัน 5-6 โวลต์ ปริมาณกระแส 20,000-
70,000 แอมแปร์
คุ ณ ลั ก ษณะ อะลู มิ เ นี ย มมี ค วามหนาแน่ น 2.7 กก/ดม. 3 มี จุ ด หลอมเหลวที่
658 องศาเซลเซียส มีความหนาแน่นน้อย น้ำ�หนักเบา และมีความแข็งแรงต่อน้ำ�หนักสูง ซึ่ง
ความแข็งแรงนี้มีมากกว่าเหล็กกล้า มีความเหนียวมาก สามารถขึ้นรูปด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ ได้ง่าย
มีจุดหลอมตัวต่ำ�ทำ�ให้หล่อหลอมได้ง่าย ค่าการนำ�ไฟฟ้าเป็นร้อยละ 62 IACS (International
Anneal Copper Standard) ซึ่งไม่สูงมากเมื่อเทีียบกับเงินและทอง เป็นโละที่ไม่เป็นแม่เหล็ก
ไม่เกิดการสปาร์ก และถ้าเป็นอะลูมิเนียมบริสุทธิ์ มีดัชนีการสะท้อนแสงกลับสูงมาก ทนทาน
ต่อการผุกร่อน แต่กลับไม่ทนทานต่อการกัดกร่อนของกรดและด่างทั่วไป
การนำ�ไปใช้งาน
1. เนื่องจากอะลูมิเนียมมีน้ำ�หนักเบาจึงนิยมใช้เป็นตัวนำ�ไฟฟ้า ในกรณีที่คิดถึง
เรื่องน้ำ�หนักเบาเป็นเรื่องที่สำ�คัญ
2. เป็นโลหะที่ไม่เป็นพิษต่อร่างกายและมีค่าการนำ�ความร้อนสูง จึงใช้ทำ�ภาชนะหุง
ต้มอาหาร
3. นำ�ไปใช้เป็นชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เครื่องบิน จรวด และขีปนาวุธ
4. ใช้ทำ�ฝาครอบอุปกรณ์ไฟฟ้า หลังคารถโดยสาร แผ่นสะท้อนแสงในการถ่ายภาพ
จานสะท้อนแสงในโคมไฟฟ้า ไฟหน้ารถยนต์ ลวดสายไฟฟ้าแรงสูง
5. ใช้ทำ�เครื่องใช้ เช่น กระป๋อง ถัง หลอดยา หรือทำ�เฟอร์นิเจอร์
6. ใช้ทำ�วัสดุงานก่อสร้าง เช่น ท่อ บันได หน้าต่าง
7. ใช้ทำ�วัสดุที่ใช้สำ�หรับห่อหุ้มสิ่งของ (Aluminium Foil)
8. ใช้เป็นวัสดุผสมลงในโลหะ เช่น ตัวเรือนเสื้อสูบเครื่องยนต์
2.2.2 แมกนีเซียม (Magnesium) คือ ธาตุลำ�ดับที่ 12 สัญลักษณ์ Mg เป็น
โลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน เป็นโลหะที่มีความสำ�คัญและนำ�มาใช้งานทางด้านการค้า
กรรมวิธีการผลิตแมกนีเซียม กระบวนการถลุงแร่แมกนีเซียมที่สำ�คัญทำ�ได้ 2 วิธี คือ
การใช้ความร้อน และการแยกด้วยกระแสไฟฟ้า โดยแต่ละวิธีมีรายละเอียดดังนี้

art 1.indd 25 16/2/2558 14:04:29


26

 วิธีใช้ความร้อน (Thermal Technique)


เริ่มจากการนำ�แร่ในรูปของ MgCo3 ไปเผาเพื่อเปลี่ยนสภาพเป็นแมกนีเซียม
ออกไซด์ จากนั้นจะนำ�ไปผสมกับถ่านโค้กที่ทำ�จากน้ำ�มันดิบแล้วอัดเป็นก้อน แล้วเผาที่อุณหภูมิ
2,500 องศาเซลเซียส ภายในบรรยากาศของก๊าซไฮโดรเจน คาร์บอนจะทำ�ปฏิกิริยาดึงออกซิเจน
มาจากแมกนีเซียมออกไซด์ได้แมกนีเซียมในสภาพเป็นไอกับก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ดัง
สมการ MgO+C Mg +Co จากนั้นจะปล่อยให้ไอแมกนีเซียมออกจากเตาเผาและทำ�ให้เย็นตัว
อย่างรวดเร็วจนถึงอุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส แมกนีเซียมจะกลั่นตัวเป็นผลึกของโลหะ
แมกนีเซียม ซึง่ จะต้องนำ�ไปหลอมต่อในเตาสุญญากาศเพือ่ ผลิตเป็นโลหะแท่ง วิธกี ารใช้ความร้อน
อาจใช้ธาตุซิลิคอนเป็นตัวรีดิวเซอร์ก็ได้ โดยนำ�แร่โดโลไมต์ที่ใช้เป็นวัตถุดิบไปเผาให้แร่เปลี่ยน
สภาพเป็น MgO และ CaO ที่อุณหภูมิ 1,000-1,000 องศาเซลเซียส แล้วนำ�มาผสมกับผงเฟอร์โร
ซิลิคอน ในอัตรา 5:1 อัดให้เป็นก้อน แล้วเผาที่อุณหภูมิ 1,160-1,170 องศาเซลเซียส จะได้
แมกนีเซียมในสภาพก๊าซดังสมการ และปล่อยให้ไอแมกนีเซียมเย็นตัวลงเป็นผงโลหะแมกนีเซียม
แล้วนำ�ไปหลอมเป็นโลหะแท่งต่อไป
 วิธีแยกด้วยกระแสไฟฟ้า (Electrolysis)
การแยกโลหะแมกนีเซียมด้วยกระแสไฟฟ้ามีหลักการคล้ายกับการแยกโลหะ
อะลูมิเนียมด้วยกระแสไฟฟ้าคือ ต้องประกอบด้วยอิเล็กโทรไลต์และวัตถุดิบหรือสารประกอบ
ของแมกนีเซียมทีจ่ ะนำ�มาแยกเอาโลหะแมกนีเซียม โดยวัตถุดบิ ทีใ่ ช้ได้แก่ แร่คาร์นลั ไลต์และน้�ำ ทะเล
ซึ่งเป็นแร่ที่มีองค์ประกอบของแมกนีเซียมคลอไรต์ แต่วัตถุดิบทั้งสองต้องนำ�ไปผ่านกรรมวิธี
เพิม่ ความเข้มข้นของแร่ให้มเี ปอร์เซ็นต์สงู ก่อน อิเล็กโทรไลติกเซลล์ประกอบด้วยถังเหล็ก อิฐทนไฟ
ตรงกลางจะมีแท่งกราไฟต์ทำ�หน้าที่เป็นขั้วแอโนด โดยมีแผ่นเหล็ก 2 แผ่นยื่นลงไปเพื่อทำ�หน้าที่
เป็นขั้วแคโทด มีสายไฟไปต่อกับขั้วลงของแหล่งไฟฟ้า เช่นเดียวกันจะมีสายไฟต่อจากแท่ง
กราไฟต์ไปยังขั้วบวกของแหล่งไฟฟ้า ด้านบนจะมีฝาทำ�ด้วยวัสดุทนไฟปิดสนิทและมีท่อเจาะ
ไว้ เ พื่ อ ระบายก๊ า ซคลอรี น ออกไป สารละลายอิ เ ล็ ก โทรไลต์ ที่ ใช้ ใ นกรรมวิ ธี นี้ จ ะประกอบด้ ว ย
สารประกอบ Mgc กับ KCI ซึ่งจะมีจุดหลอมเหลวประมาณ 700 องศาเซลเซียส เมื่อเพิ่มอุณหภูมิสาร
อิเล็กโทรไลต์จนถึงช่วง 690-720 องศาเซลเซียส จะเกิดการแตกตัวเป็นไอออนของสารประกอบ
คลอไรด์ที่ความแตกต่างศักย์ต่ำ�กว่าโซเดียมและโปรแตสเซียม ไออนของแมกนีเซียมจะวิ่งไปที่ขั้ว
แคโทดส่วนไอออนคลอไรด์จะไปที่ขั้วแอโนดหรือแท่งกราไฟต์ เนื่องจากโลหะแมกนีเซียมมีความ
หนาแน่น 1.47 ในขณะที่สารอิเล็กโทรไลต์มีความหนาแน่น 1.7 ดังนั้น โลหะแมกนีเซียมจะลอย
ขึ้นมาที่ผิวด้านบนบริเวณแผ่นเหล็กแคโทด เมื่อสะสมปริมาณมากขึ้นก็จะดูดโลหะแมกนีเซียม
เพื่อนำ�ไปเทเป็นโลหะแท่งต่อไป อุตสาหกรรมแมกนีเซียมของประเทศไทยในแต่ละปีมีจำ�นวน
ไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตโลหะผสม เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น
อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมหล่อโลหะและอุตสาหกรรมเคมี โดยในปี 2550 มีปริมาณการ
ใช้โลหะแมกนีเซียม 1,110 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 140 ล้านบาท แต่เนื่องจากประเทศไทยยัง

art 1.indd 26 16/2/2558 14:04:29


หน่วยที่ 1 วัสดุโลหะ  27

ไม่มีโรงงานผลิตโลหะแมกนีเซียมทำ�ให้ต้องพึ่งพาการนำ�เข้าจากต่างประเทศทั้งหมด โดยประเทศ
คู่ค้าที่ไทยนำ�โลหะแมกนีเซียมเข้ามากที่สุดคือจีน โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 90% ของการ
นำ�เข้าทั้งหมด
คุ ณ ลั ก ษณะ แมกนี เซี ย มมี ค วามหนาแน่ น 1.74 กก./ดม.3 มี จุ ด หลอมเหลว
ที่ 650 องศาเซลเซียส มีน้ำ�หนักเบา มีคุณสมบัติในการแปรรูปบนเครื่องจักรดีมาก มีความ
แข็งแรงซึ่งขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ ยิ่งบริสุทธิ์มากเท่าใด ความแข็งแรงก็ยิ่งลดลง ด้วยเหตุนี้
แมกนีเซียมทั้งหมดที่นำ�มาใช้จึงอยู่ในรูปของแมกนีเซียมผสม โดยแมกนีเซียมผสมแบ่งออกเป็น
2 ประเภท คือ แมกนีเซียมเหนียวผสมกับแมกนีเซียมหล่อผสม ซึ่งสามารถชุบแข็ง และทนต่อ
การกัดกร่อนของบรรยากาศได้ดี ลุกเป็นไฟได้ง่าย ซึ่งไฟที่เกิดจากแมกนีเซียมนี้ ไม่สามารถดับได้
ด้วยน้ำ� ต้องใช้ทรายดับเท่านั้น
การนำ�ไปใช้งาน
1. แมกนีเซียมผสมสามารถปาดผิวได้ง่ายและขึ้นรูปด้วยการรีด ดึง และตีได้โดย
ง่าย ทำ�เป็นแผ่น เส้น ท่อได้ นำ�ไปใช้ทำ�ดอกไม้ไฟ พลุ และใช้เป็นวัสดุผสมเพื่อป้องกันการเกิด
ออกซิเดชันในโลหะต่าง ๆ เช่น อะลูมิเนียมผสมทองแดงผสม หรือเหล็กหล่อเหนียว ใช้ทำ�หลอด
ไฟวาบ ฯลฯ
2. แมกนีเซียมผสมถ้าถูกน้ำ�จะเกิดการกัดกร่อน และในการประกอบชิ้นส่วนที่ทำ�
จากแมกนีเซียมกับโลหะหนัก จะต้องทาจาระบี ทาสี หรือใช้ถุงพลาสติกหุ้มเป็นฉนวนเอาไว้ ไม่เช่น
นั้นจะเกิดไฟฟ้าต่างศักย์ ทำ�ให้เกิดการกัดกร่อนได้ง่าย

การนำ�วัสดุโลหะไปใช้งาน
การนำ�โลหะชนิดต่าง ๆ ที่นิยมใช้ในปัจจุบันไปใช้งาน มีดังนี้

โลหะ การใช้งาน
อุ ต สาหกรรมการก่ อ สร้ า งอาคาร ถนน สะพาน อุ ต สาหกรรมบรรจุ ภั ณ ฑ์
เหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า และใช้
ผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือนต่างๆ
อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักร อากาศยาน เครื่องจักรกล ใช้ผลิตแม่เหล็กถาวร
โคบอลต์
และเครื่องกรองไอเสีย
อุตสาหกรรมเหล็กแผ่นเคลือบ อุตสาหกรรมฟอกหนัง ใช้ผลิตเทปสเตอริโอ
โครเมียม
วิดีโอ และเป็นส่วนผสมในวัสดุทนไฟ
แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้ ใช้เคลือบผิวสกรูและนอต เป็นสารประกอบ
แคดเมียม
ในการผลิตเม็ดสีแดงและเขียว

art 1.indd 27 16/2/2558 14:04:30


28
การนำ�โลหะชนิดต่าง ๆ ที่นิยมใช้ในปัจจุบันไปใช้งาน มีดังนี้ (ต่อ)
โลหะ การใช้งาน
เงิน ใช้ผลิตเครื่องประดับ กระจกเงา ฟิล์มถ่ายภาพ กระดาษอัดภาพ
อุตสาหกรรมการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ อุตสาหกรรมแก้วกระจก อุตสาหกรรม
ซิลิคอน
ก่อสร้าง ใช้เป็นโลหะผสมในอุตสาหกรรมเหล็กและอุตสาหกรรมอะลูมิเนียม
ใช้ผลิตเหรียญกระษาปณ์ เครื่องใช้ในครัวเรือน และแบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้า
นิกเกิล
ใหม่ได้
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเหล็กแผ่นเคลือบ ใช้ผลิต
ดีบุก
เครื่องใช้ในครัวเรือน บรรจุภัณฑ์ และเครื่องประดับ
อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นฉนวน
ตะกั่ว
ป้องกันรังสี
ทองคำ� ใช้ผลิตเครื่องประดับ ใช้ในงานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
อุตสาหกรรมไฟฟ้า อุตสาหกรรมก่อสร้าง ใช้ผลิตเครื่องใช้ เครื่องประดับ และ
ทองแดง
งานประติมากรรมต่าง ๆ

มาตรฐานของวัสดุโลหะ
ความหมายของมาตรฐาน
“มาตรฐาน” หมายถึ ง สิ่ ง ที่ ถื อ เป็ น หลั ก สำ � หรั บ เที ย บกำ � หนดสิ่ ง ที่ ทุ ก คนยอมรั บ และ
เข้าใจตรงกัน เมื่อนำ�มาใช้กับอุตสาหกรรม ใช้คำ�ว่า“มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” หรือ
มอก. หมายถึง ข้อกำ�หนดทางวิชาการที่สำ�นักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
ได้กำ�หนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับ
การใช้งานมากที่สุด โดยจัดทำ�ออกมาเป็นเอกสารและจัดพิมพ์เป็นเล่ม ภายใน มอก. แต่ละเล่ม
ประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เช่น เกณฑ์ทางเทคนิค คุณสมบัติ
ทีส่ �ำ คัญ ประสิทธิภาพของการนำ�ไปใช้งานคุณภาพของวัตถุทน่ี �ำ มาผลิต วิธกี ารทดสอบ เป็นต้น
ปัจจุบันสินค้าที่ สมอ. กำ�หนดเป็นมาตรฐานปัจจุบันมีอยู่กว่า 2,000 เรื่อง ครอบคลุมสินค้า
ที่ใช้ในชีวิตประจำ�วันหลายประเภท เช่น อาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะวัสดุก่อสร้าง ฯลฯ
ความสำ�คัญของมาตรฐานอุตสาหกรรม
มอก. มีความสำ�คัญและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องในหลายด้านด้วยกันดังนี้
ประโยชน์ต่อผู้ผลิต
1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
2. ลดรายจ่าย ลดเครื่องจักร ลดขั้นตอนการทำ�งานซ้ำ�ซ้อน
3. ช่วยให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพสม่ำ�เสมอ
4. ทำ�ให้สินค้ามีคุณภาพดีขึ้นและมีราคาถูกลง

art 1.indd 28 16/2/2558 14:04:30


หน่วยที่ 1 วัสดุโลหะ  29

5. เพิ่มโอกาสทางการค้า ในการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานราชการที่มีการกำ�หนด
ให้สินค้านั้น ๆ ต้องได้รับ มอก.
ประโยชน์ต่อผู้บริโภค
1. ช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า
2. สร้างความปลอดภัยในการนำ�ไปใช้
3. ในกรณีที่ชำ�รุด สามารถหาอะไหล่ได้ง่าย เพราะสินค้ามีมาตรฐานเดียวกัน ใช้
ทดแทนกันได้
4. วิธีการบำ�รุงรักษาใกล้เคียงกัน ไม่ต้องฝึกใช้สินค้าใหม่ทุกครั้งที่ซื้อ
5. ได้สินค้าคุณภาพดีขึ้นในราคาที่เป็นธรรมและคุ้มค่ากับการใช้งาน
ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจส่วนรวมหรือประโยชน์ร่วมกัน
1. ช่วยเป็นสื่อกลางและเป็นบรรทัดฐานทางการค้า ทำ�ให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคมี
ความเข้าใจที่ตรงกัน
2. ก่อให้เกิดความยุติธรรมในการซื้อขาย
3. ประหยัดการใช้ทรัพยากรของชาติ ทำ�ให้ใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
4. สร้างโอกาสทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย
5. ป้องกันสินค้าคุณภาพต่ำ�เข้ามาจำ�หน่ายในประเทศ
6. สร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศ
หมายเลขมาตรฐานอุตสาหกรรม
หมายเลข มอก. คือ หมายเลขที่กำ�หนดขึ้นเพื่อระบุลำ�ดับที่ของการออกมาตรฐานและปีที่
สมอ. ประกาศเป็นมาตรฐาน ซึ่งจะระบุอยู่บนตัวสินค้า เช่น
เครื่องหมายมาตรฐานที่แสดงว่าสินค้าได้รับมาตรฐานอะไร (ปัจจุบัน สมอ. กำ�หนดออกมา5
แบบ)

มาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ปี พ.ศ. ที่ออกเลข
มอก. 56 - 2533 ลำ�ดับที่ในการออกเลข มอก.
เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป ผลิตโดย

ดังตัวอย่าง มอก. 56-2533 คือ ผลิตภัณฑ์น้ำ�ตาลทราย ซึ่งหากผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรอง


คุณภาพตาม มอก. สามารถแสดงเครื่องหมาย มอก. บนผลิตภัณฑ์นั้นได้
(หมายเลข มอก. มีความสำ�คัญทำ�ให้ทราบว่าสินค้านั้นได้รับใบอนุญาตเมื่อไร ผลิตโดยบริษัทอะไร)

art 1.indd 29 16/2/2558 14:04:30


30

มาตรฐานเหล็กในระบบต่าง ๆ
เนื่องจากแต่ละบริษัทผู้ผลิตเหล็กได้ทำ�การผลิตเหล็กชนิดต่าง ๆ ออกสู่ท้องตลาดเป็น
จำ�นวนมาก แต่ละบริษัทพยายามที่จะผลิตเหล็กให้มีคุณภาพต่าง ๆ กันตามประเภทของการใช้
งาน ดังนั้น จึงเป็นความยากลำ�บากของผู้ใช้ที่จะเลือกใช้เหล็กให้ตรงกับความต้องการของตน จึง
ได้มีการกำ�หนดชนิดและปริมาณส่วนผสมในเนื้อเหล็ก โดยใช้สัญลักษณ์ของธาตุและตัวเลขเป็น
ตัวชี้บอกจำ�นวนปริมาณของส่วนผสมที่มีอยู่ จึงได้เกิดเป็น “มาตรฐานเหล็กอุตสาหกรรม” ขึ้น
ในปัจจุบันมาตรฐานเหล็กอุตสาหกรรมที่นิยมนำ�มาใช้งานกัน มี 3 มาตรฐาน คือ
1. ระบบอเมริกัน AISI (American Iron and Steel Institute)
การกำ�หนดมาตรฐานแบบนี้ ตัวเลขดัชนีจะมีจำ�นวนหลักและตัวชี้บอกส่วนผสมจะ
เหมือนกับระบบ SAE จะต่างกันตรงที่ระบบ AISI จะมีตัวอักษรนำ�หน้าตัวเลข ซึ่งตัวอักษรนี้จะ
บอกถึงกรรมวิธีการผลิตเหล็กว่าได้ผลิตมาจากเตาชนิดใด
ระบบ SAE เป็นมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมยานยนต์ของอเมริกา มาตรฐานของ
ระบบนี้ จะนำ�หน้าด้วยอักษร SAE แล้วตามด้วยตัวเลข 4-5 หลัก  
ชนิดของมาตรฐาน
ตัวเลขหลักที่ 1
ในตัวเลขหลักที่    1   นั้นจะบอกชนิดของเหล็กกล้า มีอยู่ 9 ตัวเลข คือ
เลข 1 หมายถึง  เหล็กกล้าคาร์บอน
เลข 2 หมายถึง  เหล็กกล้านิกเกิล
เลข 3 หมายถึง  เหล็กกล้าผสมนิกเกิลและโครเมียม
เลข 4 หมายถึง  เหล็กกล้าผสมโมลิบดีนัม
เลจ 5 หมายถึง  เหล็กกล้าผสมโครเมียม
เลข 6 หมายถึง  เหล็กกล้าผสมโครเมียมและวาเนเดียม
เลข 7 หมายถึง  เหล็กกล้าผสมทังสเตน
เลข 8 หมายถึง  เหล็กกล้าผสมนิกเกิล โครเมียม และโมลิบดีนัม
เลข 9 หมายถึง  เหล็กกล้าผสมซิลิคอนและแมงกานีส
ตัวเลขหลักที่ 2
           เป็นตัวบอกปริมาณของตัวเลขหลักที่ 1 หรือเป็นตัวบอกปริมาณสารที่ประสม
ในเหล็กกล้า (บอกเป็นเปอร์เซ็นต์)
ตัวเลขหลักที่เหลือ
  ตัวเลขหลักที่เหลือนั้นอาจจะมีอยู่ 2 หลักหรือ 3 หลัก ตัวเลขหลักที่เหลือนี้จะ
เป็นตัวบอกปริมาณของคาร์บอนที่ผสมในเหล็กกล้าโดยจะต้องหารด้วย 100 เสมอ

art 1.indd 30 16/2/2558 14:04:30


หน่วยที่ 1 วัสดุโลหะ  31

ตัวอย่าง SAE 4320  หมายความว่า


                หมายถึง มาตรฐานของเหล็กระบบ SAE
               เลข 4 หมายถึง  เหล็กกล้าผสมโมลิบดีนัม
                เลข 3 หมายถึง  มีโมลิบดีนัมอยู่ 3% SAE  4320
                เลข 20 หมายถึง  มีคาร์บอนอยู่ 0.2%
นอกจากการแบ่งชนิดของเหล็กกล้าตามชนิดและปริมาณของสารที่นำ�มาผสมแล้ว
เหล็กกล้าตามระบบ AISI ยังมีการแบ่งกลุ่มตามลักษณะของกรรมวิธีการชุบแข็งด้วย
ชื่อกลุ่ม สัญลักษณ์
กลุ่มที่ชุบแข็งด้วยน้ำ� W
กลุ่มเหล็กที่ทนต่อแรงกระแทก S
กลุ่มที่ชุบแข็งด้วยน้ำ�มัน O
กลุ่มที่ผลิตโดยกรรมวิธีแปรรูปเย็น (Cold Working) สำ�หรับเหล็กกล้า  
คาร์บอนปานกลางและชุบแข็งโดยปล่อยให้เย็นตัวในอากาศ A
กลุ่มเหล็กกล้าที่ผลิตโดยกรรมวิธีแปรรูปเย็นสำ�หรับเหล็กกล้า  
คาร์บอนสูงและเหล็กกล้าผสมโครเมียมสูง D
กลุ่มเหล็กที่ผลิตโดยกรรมวิธีแปรรูปร้อน (Hot Working ) H
กลุ่มเหล็กกล้ารอบสูง (High Speed Steel) T (ผสมทังสเตนเป็นหลัก)
กลุ่มเหล็กกล้ารอบสูง (High Speed Steel) M (ผสมโมลิบดีนัม)
กลุ่มเหล็กกล้าคุณสมบัติพิเศษ (มีคาร์บอนและทังสเตนเป็นหลัก)  
กลุ่มเหล็กทำ�แม่พิมพ์  

การใช้สัญลักษณ์ดังตัวอย่างข้างต้น เป็นการบอกส่วนผสมในทางเคมี แต่ในบางครั้งจะ


มีการเขียนสัญลักษณ์บอกกรรมวิธีการผลิตไว้ข้างหน้าด้วย เช่น
B = ผลิตจากเตาเบสเซมเมอร์
E = ผลิตจากเตาไฟฟ้าทั่วไป
F = ผลิตจากเตาน้ำ�มัน
I = ผลิตจากเตาไฟฟ้าชนิดเตาเหนี่ยวนำ� (Induction Furnace)
LE = ผลิตจากเตาไฟฟ้าชนิดอาร์ก (Electric Arc Furnace)
M = ผลิตจากเตาซีเมนต์มาร์ตินหรือเตาพุดเดิล
T = ผลิตจากเตาโทมัส

art 1.indd 31 16/2/2558 14:04:30


32

TI = ผลิตโดยกรรมวิธี (Crucible Cast Steel)


W = เผาด้วยอากาศบริสุทธิ์
U = เหล็กที่ไม่ได้ผ่านการกำ�จัดออกซิเจน (Unkilled Steel)
R = เหล็กที่ผ่านการกำ�จัดออกซิเจน (Killed Steel)
RR = เหล็กที่ผ่านการกำ�จัดออกซิเจน 2 ครั้ง
     นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์แสดงคุณสมบัติพิเศษของเหล็กนั้นอีกด้วย เช่น
A = ทนต่อการกัดกร่อน
Q = ตีขึ้นรูปง่าย
X = ผสมสูง
Z = รีดได้ง่าย
2. ระบบเยอรมัน DIN (Deutsch Institute Norms)
การจำ�แนกประเภทของเหล็กตามมาตรฐานเยอรมันจะแบ่งเหล็กออกเป็น 4
ประเภท ดังนี้
2.1 เหล็กกล้าคาร์บอน (Carbon Steel) เหล็กกล้าชนิดนี้สามารถแบ่งตาม
ลักษณะการใช้งานเป็น 2 อย่าง คือ
1. เหล็กที่นำ�ไปใช้งานได้เลยไม่ต้องผ่านกรรมวิธีปรับปรุงคุณสมบัติโดย
ใช้ความร้อน ใช้อักษรนำ�หน้าว่า ST  และตามด้วยตัวเลขซึ่งบอกถึงความสามารถที่จะทนแรงดึง
ได้สูงสุดของเหล็กชนิดนี้ มีหน่วยเป็น กก./มม.
ตัวอย่าง  ST 37  หมายถึง  เหล็กกล้าคาร์บอนที่สามารถทนแรงดึงได้สูงสุด
37 กก./มม.
2. เหล็กที่ต้องนำ�ไปผ่านการปรับปรุงคุณสมบัติโดยใช้ความร้อนก่อนที่
จะนำ�ไปใช้งาน เหล็กชนิดนี้จะนำ�หน้าด้วยอักษร C และตามด้วยตัวเลขที่แสดงปริมาณเปอร์เซ็นต์
ของคาร์บอน  (จะต้องหารด้วย  100  เสมอ)
ตัวอย่าง   C25   หมายถึง  เหล็กกล้าคาร์บอนที่มีคาร์บอนผสมอยู่  0.25%
2.2 เหล็กกล้าผสมต่ำ�  (Low Alloy Steel) การกำ�หนดมาตรฐานของ
เหล็กกล้าผสมต่ำ� จะบอกปริมาณของคาร์บอนที่ผสมอยู่ข้างหน้าแต่ไม่นิยมเขียนกำ�กับไว้ ตัวต่อ
มาจะเป็นชนิดของสารที่เข้าไปผสมจะไม่ใช่จำ�นวนที่แท้จริงการจะทราบ จำ�นวนที่แท้จริงจะต้องนำ�
แฟกเตอร์ (Factor) ของสารที่ผสมแต่ละชนิดไปหารค่าปริมาณของสารชนิดนั้น ๆ มีดังนี้คือ
- Co, Cr, Mn, Ni, St, W           ค่าของ  Factor   ได้แก่    4
-  Al, Cu, Mo, Pb, Ti, V                ค่าของ  Factor ได้แก่    10
- C, N, P, S                                  ค่าของ  Factor ได้แก่    100
- Zn, Sn, Mg, Fe                           ค่าของ  Factor ได้แก่   1

art 1.indd 32 16/2/2558 14:04:30


หน่วยที่ 1 วัสดุโลหะ  33

ตัวอย่าง  20 Mn Cr 54
ปริมาณของโครเมียมที่ผสมอยู่
ปริมาณของแมงกานีสที่ผสมอยู่
                โครเมียม   20  Mn Cr 54
      แมงกานีส
ปริมาณของคาร์บอนที่ประสมอยู่ หมายความว่า เป็นเหล็กกล้าประสมต่ำ�ที่มี
ปริมาณของคาร์บอนประสมอยู่ 0.2% มีแมงกานีสประสมอยู่ 1.2% และมีโครเมียมประสมอยู่ 1%
ตัวอย่าง 25 GrMo 4 หมายความว่า เป็นเหล็กล้าผสมต่ำ�ที่มีปริมาณของ
คาร์บอนประสมอยู่ 0.25% มีโครเมียมประสมอยู่ 1% มีโมลิบดีนัมประสมอยู่เล็กน้อย (โมลิบดีนัม
ไม่มีตัวเลข)
2.3 เหล็กกล้าผสมสูง (High Alloy Steel) การกำ�หนดมาตรฐานของ
เหล็กกล้าผสมสูงนั้น จะใช้อักษรเขียนนำ�หน้าไว้ก่อนแล้วตามด้วยปริมาณของคาร์บอนที่ผสมอยู่
(หารด้วย 100 เสมอ) ตัวต่อมาจะเป็นชนิดของสารที่นำ�ไปผสม ส่วนตัวเลขจะบอกปริมาณของ
สารที่ผสมนั้น ในเหล็กกล้าผสมสูง ไม่ต้องนำ�  Factor ของสารที่ผสมไปหารปริมาณของสารที่ผสม
ตัวอย่าง X 35 NiCr  188
ปริมาณของนิกเกิลที่ประสมอยู่
                ปริมาณของโครเมียมที่ประสมอยู่ X 35 NiCr  188
นิกเกิล
โครเมียม
ปริมาณของคาร์บอนที่ประสมอยู่
                เหล็กกล้าประสมสูง
2.4 เหล็กหล่อ (Cast Iron) เหล็กหล่อแต่ละชนิด จะมีสัญลักษณ์กำ�หนดไว้
ดังนี้
GS =  เหล็กเหนียวหล่อ
GG     = เหล็กหล่อสีเทา
GGG  = เหล็กหล่อแกรไฟต์ก้อนกลม
GT     = เหล็กหล่อเหนียว
GTS   = เหล็กหล่อเหนียวสีดำ�
GH     = เหล็กหล่อแข็ง
GTW = เหล็กหล่อเหนียวสีขาว

art 1.indd 33 16/2/2558 14:04:30


34

การเขียนสัญลักษณ์ของเหล็กหล่อ แยกออกได้ดังนี้
1. เขียนบอกความสามารถที่รับแรงดึงได้สูงสุดของเหล็กหล่อชนิดนี้ มีหน่วย
เป็น กก./มม.
ตัวอย่าง  GS-52  หมายความว่า เป็นเหล็กเหนียวหล่อที่สามารถทนแรงดึงได้
52 กก./มม.
2. เขียนบอกปริมาณของคาร์บอนที่ผสมอยู่ในเหล็กหล่อ โดยหารด้วย 100
เสมอ
ตัวอย่าง  GS-C90 หมายความว่า  เป็นเหล็กเหนียวหล่อมีปริมาณของคาร์บอน
ผสมอยู่ 0.90%
3. ระบบญี่ปุ่น JIS (Japaness Industrial Standards)
การจำ � แนกประเภทของเหล็ ก ตามมาตรฐานญี่ ปุ่ น ซึ่ ง จั ด วางระบบโดยสำ � นั ก งาน
มาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Japaness Industrial Standards, JIS) จะแบ่งเหล็กตามลักษณะ
งานที่ใช้ ตัวอักษรชุดแรกจะมีคำ�ว่า JIS หมายถึง Japaness Industrial Standards ตัวอักษร
สัญลักษณ์ตัวถัดมาจะมีได้หลายตัว แต่ละตัวหมายถึงการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต่าง ๆ
A งานวิศวกรรมก่อสร้างและงานสถาปัตย์ K งานวิศวกรรมเคมี
B งานวิศวกรรมเครื่องกล L งานวิศวกรรมสิ่งทอ
C งานวิศวกรรมไฟฟ้า M แร่
D งานวิศวกรรมรถยนต์ P กระดาษและเยื่อกระดาษ
E งานวิศวกรรมรถไฟ R เซรามิก
F งานก่อสร้างเรือ S สินค้าที่ใช้ภายในบ้าน
G โลหะประเภทเหล็กและโลหะวิทยา T ยา
H โลหะที่มิใช่เหล็ก W การบิน
ถัดจากตัวอักษรจะเป็นตัวเลขซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 ตัว มีความหมายดังนี้
ตัวเลขตัวแรก หมายถึง กลุ่มประเภทของเหล็ก เช่น
0 เรื่องทั่ว ๆ ไป การทดสอบและกฎต่าง ๆ
1 วิธีวิเคราะห์
2 วัตถุดิบ เหล็บดิบ ธาตุผสม
3 เหล็กคาร์บอน
4 เหล็กกล้าผสม

art 1.indd 34 16/2/2558 14:04:30


หน่วยที่ 1 วัสดุโลหะ  35

ตัวเลขตัวที่ 2 จะเป็นตัวแยกประเภทของวัสดุในกลุ่มนั้น เช่น ถ้าเป็นในกรณีเหล็ก จะ


มีดังนี้
1 เหล็กกล้าผสมนิกเกิลและโครเมียม
2 เหล็กกล้าผสมอะลูมิเนียมและโครเมียม
3 เหล็กไร้สนิม
4 เหล็กเครื่องมือ
8 เหล็กสปริง
9 เหล็กกล้าทนการกัดกร่อนและความร้อน       
ตัวเลขที่เหลือ 2 หลักสุดท้าย จะเป็นตัวแยกชนิดของส่วนผสมที่มีอยู่ในวัสดุนั้น เช่น
ถ้าเป็นเหล็กตัวเลข 2 หลักสุดท้ายจะเป็นตัวแยกชนิดเหล็กตามส่วนผสมธาตุที่มีอยู่ในเหล็กชนิด
นั้น ๆ เช่น
01 เหล็กเครื่องมือคาร์บอน
03 เหล็กไฮสปีด
04 เหล็กเครื่องมือผสม

การจัดเก็บวัสดุโลหะ
วัสดุที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพล้วนแล้วในราคาค่อนข้างสูงและ
อาจเสื่อมสภาพได้ หากมีการจัดเก็บที่ผิดวิธี ดังนั้น การจัดเก็บและบำ�รุงรักษาวัสดุที่ถูกต้อง มีวิธี
ดังนี้
1. เก็บไว้ที่เป็นหมวดหมู่
2. จัดหาและหมุนเวียนวัสดุที่ใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพ
3. จัดการป้องกันการสึกหรอ สึกกร่อน หรือเป็นสนิม
4. เตรียมป้องกันเพลิงไหม้
5. ตรวจสอบอายุการจัดเก็บรักษาวัสดุ

art 1.indd 35 16/2/2558 14:04:30


36

คำ�ศัพท์ท้ายหน่วยที่ 1

คำ�ศัพท์ ความหมาย
หมายถึง สิ่งที่ประกอบด้วยสารต่าง ๆ ส่วนวัสดุวิศวกรรม หมายถึงวัสดุที่มี
วัสดุ (Materials) สมบัติหรือลักษณะเฉพาะเพื่อใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยี คำ�ทั้ง
สองนี้ยังไม่มีการแบ่งที่ชัดเจนจึงอาจใช้แทนกันได้
ในเชิงวิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาค้นคว้าความรู้ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับ
Materials
โครงสร้างภายใน สมบัติ และกระบวนการผลิตวัสดุ
ในเชิงวิศวกรรม หมายถึง การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับวัสดุเพื่อเปลี่ยนให้
Materials Engineering
เป็นผลผลิตที่ต้องการของสังคม
Metallic Materials (Metal เป็ น วั ส ดุ ที่ มี ลั ก ษณะเฉพาะคื อ นำ � ความร้ อ นและไฟฟ้ า ที่ ดี เช่ น เหล็ ก
and Metal Alloys) ทองแดง อะลูมิเนียม ฯลฯ
Ferrous Metals โลหะที่มีเหล็กเป็นโลหะพื้นฐานและธาตุอื่นๆ ผสมอยู่ตามชนิดของเหล็ก
Ferrous Metals And โลหะและโลหะผสมที่ ป ระกอบด้ ว ยโลหะเหล็ ก ที่ มี เ ปอร์ เซ็ น ต์ สู ง เช่ น
Alloys เหล็กกล้า เหล็กหล่อ ฯลฯ
Nonferrous Metals โลหะที่มีธาตุอื่นที่ไม่ใช่เหล็กเป็นโลหะพื้นฐาน
Nonferrous Metals And โลหะและโลหะผสมที่ไม่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบหรือมีเหล็กผสมอยู่ค่อน
Alloys ข้างน้อย เช่น อะลูมิเนียม ทองแดง สังกะสี ฯลฯ
วัสดุที่ประกอบด้วยสารประกอบของโลหะและอโลหะโดยทั่วไปเซรามิกมัก
Ceramics Materials
จะมีลักษณะแข็งและเปราะ เช่น แก้ว กระเบื้อง ฯลฯ
หมายถึง วัสดุที่ประกอบด้วยสารประกอบประเภทโมเลกุลยาวของถ่าน
Polymeric Materials ไฮโดรเจน ออกซิเจน และไนโตรเจน สารประกอบพวกนี้มักจะมีสมบัติเป็น
ฉนวน มีทั้งอ่อนและแข็ง เช่น พลาสติก PVC
ที่ประกอบด้วยของผสมหลายชนิดหรือมีวัสดุหลายชนิดผสมกัน เช่น กาว
Composite Materials
Epoxy ไฟเบอร์กลาส ฯลฯ
เป็นวัสดุที่ใช้ในอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย เช่น พวกเซมิคอนดักเตอร์ ซิลิคอน
Electronic Materials
(Si) แกลเลียมอาร์เซไนด์ (Gaas)
คื อ โลหะที่ ไ ม่ ใช่ เ หล็ ก ที่ มี ค วามหนาแน่ น มากกว่ า 5 kg/dm 3 เช่ น
Light Metal
อะลูมิเนียม แมกนีเซียม เบริลเลียม โซเดียม แคลเซียม และลิเทียม
เป็นโลหะที่มีความถ่วงจำ�เพาะมากกว่าน้ำ� 5 เท่าขึ้นไป ได้แก่ ดีบุก สังกะสี
Heavy Metal
ทองแดง ตะกั่ว สารหนู

art 1.indd 36 16/2/2558 14:04:31


หน่วยที่ 1 วัสดุโลหะ  37

สรุปสาระการเรียนรู้หน่วยที่ 1
วัสดุโลหะมีความสำ�คัญต่อชีวิตประจำ�วันอย่างมาก เนื่องจากสภาพปัจจุบันป่าไม้เมืองไทย
มีจำ�นวนลดน้อยลง ไม้ก็เริ่มหายากและมีราคาแพง วัสดุโลหะจึงมีบทบาทนำ�มาใช้แทนไม้ เพื่อทำ�
เป็นเครื่องใช้สอยต่าง ๆ ชิ้นส่วนของเครื่องจักรกล เครื่องอำ�นวยความสะดวกต่าง ๆ วัสดุโลหะ
ที่พบมากในชีวิตประจำ�วัน ได้แก่ เหล็ก อะลูมิเนียม เงิน ทองแดง นิกเกิล โครเมียม ฯลฯ วัสดุ
โลหะที่ใช้ส่วนใหญ่ใช้ทั้งในรูปที่เป็นโลหะชนิดเดียวบริสุทธิ์ เช่น ทองแดงใช้ทำ�สายไฟ อะลูมิเนียม
ใช้ทำ�ภาชนะในครัวเรือนเพราะไม่ขึ้นสนิมง่าย และในรูปที่เป็นโลหะผสม เช่น ทองเหลือง สัมฤทธิ์
เหล็กกล้าผสม ฯลฯ

art 1.indd 37 16/2/2558 14:04:31


38

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 1

ตอนที่ 1 ให้เลือกคำ�ตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. โลหะที่พบมากในชีวิตประจำ�วันคือข้อใด
ก. เหล็ก ข. พลาสติก
ค. ยางพารา ง. ปูนซีเมนต์
2. วัสดุช่างที่เป็นโลหะคือข้อใด
ก. ยาง ข. ถ่านหิน
ค. พลาสติก ง. ทองเหลือง
3. ข้อใดอธิบายความหมายของโลหะได้ถูกต้อง
ก. วัสดุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
ข. วัสดุที่ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่
ค. วัสดุที่ได้จากการถลุงจากสินแร่ต่าง ๆ
ง. วัสดุที่เกิดจากรวมโลหะตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป
4. ข้อใดคือโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก
ก. เหล็กบริสุทธิ์ ข. เหล็กกล้า
ค. เหล็กดิบ ง. ดีบุก
5. โลหะที่ไม่ใช่เหล็กแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ก. 2 ประเภท ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท ง. 5 ประเภท
6. โลหะต่อไปนี้ข้อใดคือโลหะเบา
ก. ทองแดง ข. แร่ตะกั่ว
ค. อะลูมิเนียม ง. เงินเยอรมัน
7. โลหะต่อไปนี้ข้อใดคือโลหะผสม
ก. แร่สังกะสี ข. ทองสัมฤทธิ์
ค. แร่เบริลเลียม ง. แมกนีเซียม
8. ข้อใดอธิบายความหมายของอโลหะได้ถูกต้อง
ก. วัสดุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
ข. วัสดุที่ได้จากการถลุงจากสินแร่ต่างๆ
ค. โลหะมีความหนานแน่นมากกว่า 4 กก./ดม3
ง. วัสดุที่เกิดรวมกันของโลหะตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป

art 1.indd 38 16/2/2558 14:04:31


หน่วยที่ 1 วัสดุโลหะ  39

9. โลหะที่ไม่ใช่เหล็กจำ�พวกโลหะหนัก  มีความหนาแน่นเท่าไร
ก. มากกว่า 2 กก./ดม.3 ข. มากกว่า 4 กก./ดม.3
ค. น้อยกว่า 2 กก./ดม.3 ง. น้อยกว่า 4 กก./ดม.3
10. โลหะที่ไม่ใช่เหล็กจำ�พวกทองแดง คุณสมบัติข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. แข็งเปราะ ข. อ่อนเหนียว
ค. ดึงและรีดได้ ง. นำ�ไฟฟ้าได้ดี

ตอนที่ 2 ตอบคำ�ถามต่อไปนี้
1. คุณสมบัติของโลหะมีอะไรบ้าง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
2. โลหะแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
3. วัตถุดิบที่ใช้ในการถลุงเหล็กดิบมีอะไรบ้าง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
4. อธิบายวิธีการถลุงเหล็กดิบ
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
5. อธิบายวิธีการผลิตเหล็กกล้ามา 1 วิธี
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
6. อธิบายวิธีการผลิตเหล็กหล่อมา 1 วิธี
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................

art 1.indd 39 16/2/2558 14:04:31


40

7. วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเหล็กหล่อมีอะไรบ้าง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
8. คุณสมบัติของเหล็กอ่อนมีอะไรบ้าง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
9. เหล็กกล้าแบ่งออกได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
10. คุณสมบัติของเหล็กหล่อมีอะไรบ้าง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................

กิจกรรมการเรียนรู้หน่วยที่ 1

1. ผู้สอนกล่าวทักทายผู้เรียน พร้อมเช็กชื่อผู้เรียน
2. ผู้สอนแจกหนังสือเรียนและบทเรียนโมดูลให้ผู้เรียนจัดกลุ่ม 3 คน ศึกษาร่วมกัน
พร้อมกับทำ�แบบทดสอบ
3. ผู้สอนอธิบายความหมาย คุณสมบัติ ชนิด กรรมวิธีการผลิต และการนำ�ไปใช้งาน
ของวัสดุ
4. ผู้สอนอธิบายมาตรฐานของวัสดุโลหะ
5. ผู้สอนอธิบายการจัดเก็บวัสดุ
6. ผู้สอนมอบหมายงานให้นักเรียนปฏิบัติงาน ตามหลักการ วิธีการ และกิจนิสัยที่ดีในการ
ปฏิบัติงานโดยให้ผู้เรียนทำ�แบบฝึกหัดทบทวนหรือใบงานภายในห้องเรียน สามารถ
เปิดหนังสือควบคู่ในการตอบคำ�ถามได้
7. ผู้เรียนปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายโดยใช้ใบความรู้หรือเอกสารประกอบการเรียน
อย่างคุ้มค่า เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน และปฏิบัติงานด้วยความ
ซื่อสัตย์ มุ่งมั่น ใช้เหตุผล และสติปัญญาในการวิเคราะห์ปัญหา

art 1.indd 40 16/2/2558 14:04:31


หน่วยที่ 2 วัสดุอโลหะ  41

หน่วยที่

2 วัสดุอโลหะ
สาระการเรียนรู้
1. ความหมายและชนิดของวัสดุอโลหะ
2. วัสดุอโลหะประเภทยางธรรมชาติ
3. วัสดุอโลหะประเภทเซรามิก
4. วัสดุอโลหะประเภทหนัง
5. วัสดุอโลหะประเภทแก้ว
6. วัสดุอโลหะประเภทใยหิน

สมรรถนะการเรียนรู้
1. อธิบายความหมายและชนิดของวัสดุอโลหะได้
2. อธิบายวัสดุอโลหะประเภทยางธรรมชาติได้
3. อธิบายวัสดุอโลหะประเภทเซรามิกได้
4. อธิบายวัสดุอโลหะประเภทหนังได้
5. อธิบายวัสดุอโลหะประเภทแก้วได้
6. อธิบายวัสดุอโลหะประเภทใยหินได้

art 2.indd 41 16/2/2558 14:06:17


42

หน่วยที่ 2 วัสดุอโลหะ
ความหมายและชนิดของวัสดุอโลหะ
ความหมายของวัสดุอโลหะ
อโลหะ คือ วัสดุในงานอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่โลหะ คุณสมบัติหลายอย่างอาจตรงข้ามกับวัสดุ
โลหะโดยสิ้นเชิง ซึ่งนำ�มาใช้ในงานอุตสาหกรรมกันอย่างแพร่หลาย ในอดีตที่ผ่านมาอุปกรณ์ต่าง ๆ
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำ�วัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ภายในบ้าน เสื้อผ้า และสิ่งอำ�นวย
ความสะดวกทั้งหลายได้มาจากวัสดุธรรมชาติแทบทั้งสิ้น แต่นับวันสิ่งเหล่านี้จะค่อย ๆ ลดปริมาณ
ลงไปตามลำ�ดับ เนื่องมาจากอัตราการเพิ่มของประชากรที่ค่อนข้าง สูงทำ�ให้มีความจำ�เป็นที่
จะต้องค้นคว้าหาวัสดุต่าง ๆ มาทดแทน
คุณสมบัติของอโลหะโดยทั่วไป ได้แก่
ทางกายภาพ
1. อโลหะเป็นฉนวนไฟฟ้าหรือกึ่งตัวนำ�ไฟฟ้า (ขณะที่โลหะเป็นตัวนำ�ไฟฟ้า) ยกเว้น
คาร์บอนในรูปแกรไฟต์
2. อโลหะเป็นฉนวนความร้อน
3. อโลหะมีจุดหลอมเหลวได้หลากหลาย  กล่าวคือมีหลายสถานะ (ขณะที่โลหะ
ส่วนใหญ่ที่เป็นสารบริสุทธิ์ มีจุดหลอมเหลวสูง กล่าวคือเป็นของแข็ง ที่ STP ยกเว้นปรอท)
4. ด้านชนิดและปริมาณ อโลหะมีจำ�นวนชนิดน้อยกว่า คือมีเพียง 22 ชนิด (ขณะ
ที่โลหะมีมากกว่า 80 ชนิด) แต่สสารในโลกมีปริมาณธาตุองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นอโลหะ  ทั้ง
เปลือกโลก, บรรยากาศ, พื้นน้ำ� และสิ่งมีชีวิต ล้วนมีธาตุองค์ประกอบเกือบทั้งหมดเป็นอโลหะ
ทางเคมี
1. อโลหะแตกตัวในสารละลาย ให้ประจุลบ
2. โลหะมีคุณสมบัติความวาวและความด้านที่หลากหลาย  (ขณะที่โลหะบริสุทธิ์มี
ความวาวแบบโลหะ)
3. ในการทำ�ปฏิกิริยาออกซิเดชัน-รีดักชัน  อโลหะเป็นตัวออกซิไดซ์ที่ดี กล่าวคือทำ�
หน้าที่รับอิเล็กตรอน (ขณะที่โลหะเป็นตัวรีดิวซ์ที่ดี กล่าวคือทำ�หน้าที่ให้อิเล็กตรอน)
4. ออกไซด์ของอโลหะส่วนใหญ่เป็นกรด
5. อโลหะส่วนมากมีวาเลนซ์เพียง 2 อะตอม (Diatomic) อโลหะที่เหลือมีวาเลนซ์
หลายอะตอม (Polyatomic) อโลหะที่มีวาเลนซ์ 2 อะตอม ได้แก่

art 2.indd 42 16/2/2558 14:06:17


หน่วยที่ 2 วัสดุอโลหะ  43

1) ไฮโดรเจน (Hydrogen - H)
2) คาร์บอน (Carbon - C)
3) ไนโตรเจน (Nitrogen - N)
4) ออกซิเจน (Oxygen - O)
ชนิดของวัสดุอโลหะ
วั ส ดุ ช นิ ด ใหม่ จ ะเกิ ด ขึ้ น จากกรรมวิ ธี ท างเคมี เ ป็ น ส่ ว นใหญ่ ห รื อ ที่ เรี ย กกั น โดยทั่ ว ไปว่ า
วัสดุสังเคราะห์
วัสดุสังเคราะห์ (Synthetic Material) หมายถึง วัสดุที่ประดิษฐ์ขึ้นด้วยกรรมวิธีทาง
เคมี เพื่อให้เป็นสารชนิดใหม่ หรือเพื่อประดิษฐ์วัสดุทดแทนวัสดุที่มีอยู่ตามธรรมชาติ โดยให้มี
คุณสมบัติที่ดีกว่าหรือใกล้เคียงในการนำ�มาใช้ประโยชน์ เช่น ยางเทียม หนังเทียม ฯลฯ
วัสดุธรรมชาติ (Engineering Materials) หมายถึง วัสดุที่ได้จากผลผลิตตามธรรมชาติ
และนำ�มาทำ�เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ประโยชน์โดยทั่วไป เช่น สี ยางธรรมชาติ เซรามิก หนัง
แก้ว ใยหิน ดินขาวเผา ฯลฯ

วัสดุอโลหะประเภทยางธรรมชาติิ
ยางธรรมชาติ (Natural Rubber) เป็นวัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติ คือ ต้นยางพารา
ต้ น กำ � เนิ ด ของยางพาราอยู่ ใ นทวี ป อเมริ ก าใต้ เช่ น ประเทศบราซิ ล สำ � หรั บ ในประเทศไทย
มีปลูกมากในจังหวัดทางภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พัทลุง ฯลฯ และทาง
ภาคตะวันออก เช่น จันทบุรี ระยอง ตราด ปัจจุบันนี้ประเทศไทยสามารถผลิตยางธรรมชาติได้
มากเป็นอันดับ 3 ของโลก ยางที่ผลิตได้จะอยู่ในรูปของยางแผ่นเป็นส่วนใหญ่ ผลพลอยได้
จากยางพาราก็คือ ต้นยางนำ�ไปเผาเป็นถ่าน ทำ�เฟอร์นิเจอร์และเยื่อกระดาษได้ดี ตลอดจนเป็น
การช่วยปลูกป่ารักษาต้นน้ำ�ลำ�ธารอีกด้วย
คุณลักษณะของยาง
ลักษณะของต้นยางพารา เป็นพืชยืนต้นขนาดใหญ่ มีใบเลี้ยงคู่ รากเป็นระบบรากแก้ว
ลำ�ต้นตั้งตรง กิ่งก้านสาขาจะแตกออกมาก เนื้อไม้ของต้นยางจะเป็นไม้เนื้ออ่อนมีสีขาวปนเหลือง
ใบยางพาราเป็นใบประกอบ มีใบย่อยจำ�นวน 3 ใบ ในหนึ่งก้านแตกออกเป็นชั้น ๆ เรียกว่า ฉัตร
ต้นยางพารามีดอกลักษณะเป็นช่อ ซึ่งทั้งดอกตัวเมียและดอกตัวผู้จะอยู่ในช่อเดียวกัน ผสมพันธุ์
แบบเปิด ผลยางมีลักษณะเป็นพู แต่ละพูจะมีเมล็ดอยู่ภายใน เมล็ดมีสีน้ำ�ตาลลายขาวคล้ายเมล็ด
ละหุ่ง ส่วนสำ�คัญมากของต้นยางพาราที่มนุษย์นำ�มาใช้ประโยชน์ คือ น้ำ�ยาง ซึ่งเป็นของเหลว
สีขาวถึงขาวปนเหลือง ขุ่นข้น อยู่ในท่อน้ำ�ยาง ซึ่งเรียงตัวกันอยู่ในส่วนที่เป็นเปลือกของต้นยาง

art 2.indd 43 16/2/2558 14:06:17


44

คุณสมบัติของยาง
1. มีความทนทานต่อแรงดึง (Tensile Strength)
2. มีความทนทานต่อการฉีกขาด (Tear Resistance)
3. มีความทนทานต่อการขัดสี (Abrasion Resistance) สูง
4. มีความยืดยุ่น (Elasticity)
ชนิดของยางธรรมชาติ
1. น้ำ�ยางสด น้ำ�ยางที่กรีดได้จากต้นจะเรียกว่าน้ำ�ยางสดน้ำ�ยางข้น
2. ยางแผ่นผึ่งแห้งยางที่ได้จากการนำ�น้ำ�ยามาจับตัวเป็นแผ่นโดยสารเคมีที่ใช้จะต้อง
ตามเกณฑ์ที่กำ�หนดส่วนการทำ�ให้แห้งอาจใช้วิธีการผึ่งลมในที่ร่ม หรืออบในโรงอบก็ได้แต่ต้อง
ปราศจากควัน
3. ยางเครพ (Crepe Rubber) เป็นยางทีไ่ ด้จากการนำ�เศษยางไปรีดด้วยเครือ่ งรีดยาง
2 ลูกกลิ้ง โดยทั่วไปเรียกว่าเครื่องเครพ
4. ยางแท่ง ส่วนใหญ่จะผลิตในรูปของยางแผ่นรมควัน ยางเครพ หรือน้ำ�ยางข้นซึ่ง
ยางธรรมชาติเหล่านี้จะไม่มีการระบุมาตรฐานการจัดชั้นยางที่ชัดเจนตามปกติจะใช้สายตาในการ
พิจารณาตัดสินชัน้ ยาง ยางแท่งเป็นยางธรรมชาติชนิดแรกทีผ่ ลิตมาโดยมีการควบคุมคุณภาพให้ได้
มาตรฐาน ตลอดจนมีการระบุคุณภาพของยางดิบที่ผลิตได้แน่นอน
5. ยางแท่ ง ความหนื ด คงที่ เ ป็ น ยางที่ ผ ลิ ต ขึ้ น ใช้ ใ นอุ ต สาหกรรมทำ � ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่
ต้องการควบคุมความหนืดของยางทีใ่ ช้ในการแปรรูป เช่น อุตสาหกรรมยางท่อ, อุตสาหกรรมทำ�กาว
6. ยางสกิมเป็นยางธรรมชาติทไ่ี ด้จากการจับตัวของน้�ำ ยางสกิม (Skim Latex)
มาตรฐานของยางธรรมชาติ
ยางธรรมชาติที่ผลิตโดยมีการควบคุมคุณภาพให้ตรงตามมาตรฐานที่กำ�หนด โดยในการ
ผลิตจะนำ�ยางมาทำ�ให้เป็นก้อนเล็ก ๆ (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 มิลลิเมตร) เพื่อให้ง่าย
ต่อการชำ�ระล้างสิ่งสกปรกและง่ายต่อการทำ�ให้แห้งด้วยการอบ หลังจากอบยางให้แห้งด้วยอากาศ
ร้อนแล้วก็จะนำ�ยางแห้งที่เป็นก้อนเล็ก ๆ เหล่านี้ไปอัดให้เป็นแท่งมาตรฐาน 330×670×170
มิลลิเมตร มีน้ำ�หนักประมาณ 33.33 กิโลกรัม การจัดชั้นของยางแท่งจะพิจารณาจากปริมาณสิ่ง
สกปรกที่อยู่ในยางเป็นสำ�คัญ นอกจากนั้นก็อาจพิจารณาตัวแปรอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปริมาณเถ้า
ดัชนีความอ่อนตัว ฯลฯ ปัจจุบนั ประเทศไทยมีมาตรฐานยางแท่งเรียกว่า Standard Thai Rubber
(STR)
กรรมวิธีการผลิตยางธรรมชาติ
น้�ำ ยางพาราได้มาจากการกรีดต้นยางพารา ต้นยางทีจ่ ะกรีดได้นน้ั จะต้องมีอายุอย่างน้อย 4 ปี
แต่โดยทั่วไปจะมีอายุ 6-7 ปี จึงจะกรีดได้ จนกระทั่งมีอายุถึง 30 ปี น้ำ�ยางที่กรีดได้จะมีเนื้อยาง
อยู่ประมาณ 60% การที่จะมีเนื้อยางมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับต้นพันธุ์ของยางที่นำ�มาปลูก อายุของ
ต้นยางรวมไปถึงสภาพดินฟ้าอากาศด้วย

art 2.indd 44 16/2/2558 14:06:18


หน่วยที่ 2 วัสดุอโลหะ  45

ต้นยางพารา กรีดยาง ใส่กรดน้ำ�ส้ม กรดแอซิติก นวด

ผึ่งแดด รีด
ขาย รมควัน
ขั้นตอนการผลิตยางแผ่นรมควัน
เพื่อให้น้ำ�ยางมีความข้นเหนียวมากขึ้น จึงต้องเติมกรดน้ำ�ส้มลงไป แล้วจึงทำ�ให้เป็นแผ่น
จากนั้นจึงนำ�ไปรีดแล้วจึงเพิ่มความร้อนประมาณ 4 องศาเซลเซียส บางแผ่นที่ผ่านการอบจะเป็น
สีคล้ำ�เกือบเป็นสีน้ำ�ตาล เรียกว่า ยางแผ่นรมควัน ซึงจะส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงาน
ผลิตยางรถยนต์ ผลิตรองเท้า สายพานท่อยาง และส่งไปขายยังต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา
ญี่ปุ่น ฯลฯ

แผ่นยาง รีด เข้าโรงงาน ผลิตภัณฑ์ยาง

ขั้นตอนการผลิตยางของโรงงานอุตสาหกรรม
การใช้งานยางธรรมชาติ
ยางดิบที่นำ�ไปทำ�ผลิตภัณฑ์ยางนั้น จะต้องมีกรรมวิธีทางเคมีปรุงแต่งเนื้อยางอีกครั้งหนึ่ง
เช่น ผสมผงคาร์บอนและกำ�มะถัน เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ยางมีคุณสมบัติทนความร้อน ทนต่อการ
สึกหรอ มีความยืดหยุ่น ทนต่อสารเคมี กรรมวิธีการผสมวัสดุลงไปในเนื้อยางเพื่อเพิ่มคุณภาพ
เรียกว่า กรรมวิธีวัลคาไนเซชัน (Vulcanization) ชาลส์ กู๊ดเยียร์ เป็นผู้ค้นพบ
ปัจจุบันได้มีการค้นพบสารเคมีหลายอย่างที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพของยาง เช่น สังกะสี
ออกไซด์หรือแบเรียมซัลเฟต นอกจากนั้นยังได้มีการเสริมเหล็กหรือเชือกเข้าไปในยางเพื่อเพิ่ม
ความแข็งแรงยิ่งขึ้น

art 2.indd 45 16/2/2558 14:06:18


46

ยางเป็นตัวนำ�ไฟฟ้าและความร้อนที่เลว ไม่ทนต่อน้ำ�มัน ดังนั้น เวลาใช้งานจึงต้องหลีกเลี่ยง


และระมัดระวัง เพราะน้ำ�มันจะทำ�ให้ยางเกิดการบวม และทำ�ให้อายุการใช้งานลดลง นอกจากนี้
ยังไม่เหมาะกับงานที่อยู่กลางแดดหรืองานที่อยู่กับความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 75 องศาเซลเซียส
เพราะจะทำ�ให้ยางแห้งกรอบและแตกได้
ยางธรรมชาติที่ใช้แล้วสามารถนำ�มาบดใช้ทำ�ผลิตภัณฑ์ได้อีก แต่คุณภาพจะลดลงไม่เหมือน
กับยางธรรมชาติครั้งแรก
ขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับความร่วมมือจากสำ�นักงานพัฒนาโครงการแห่ง
สหประชาติเพื่อเร่งรัดปรับปรุงงานทางด้านวิชาการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตยางธรรมชาติ
ของประเทศไทย เพราะการนำ�ยางดิบไปทำ�ผลิตภัณฑ์สำ�เร็จรูปของประเทศไทยนั้นยังจะต้องมี
การพัฒนาอีกมาก และถ้าสามารถนำ�ยางธรรมชาติไปทำ�เป็นผลิตภัณฑ์แล้วส่งเป็นสินค้าออก
จะทำ�ให้ได้ราคามากกว่าส่งออกในรูปของยางแผ่นอีกหลายเท่า นอกจากนี้ ต้นยางยังสามารถนำ�ไป
ทำ�อุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูปอบแห้งและทำ�เป็นไม้อัดได้อีกด้วย

วัสดุอโลหะประเภทเซรามิก
เซรามิ ก (Ceramics) เป็ น วั ส ดุ สั ง เคราะห์ ที่ มี ค วามสำ � คั ญ ต่ อ งานอุ ต สาหกรรมทาง
ด้านวิศวกรรมเป็นอย่างมาก เซรามิกได้ถูกพัฒนาและนำ�ไปใช้งานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในงาน
อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และงานอุตสาหกรรมเคมี ได้แก่ ถ้วยชามและเครื่องสุขภัณฑ์
นอกจากนี้ยังมีงานอีกหลายด้านที่เซรามิกได้เข้าไปมีบทบาท เช่น ทำ�อิฐสำ�หรับบุเตาหลอม ทำ�
กระเบื้องสำ�หรับมุงหลังคา ฯลฯ เซรามิกเป็นวัสดุที่ผลิตขึ้นจากดินเหนียวและวัสดุชนิดอื่นซึ่งมี
ทั้งที่เป็นโลหะเช่น อะลูมินา (ออกไซด์ของอะลูมิเนียม) หินเขี้ยวหนุมาน แร่ทัลก์ (แร่ที่นำ�มาใช้
ทำ�แป้งผัดหน้า) แมกนีไทต์ เฟลด์สปาร์ ฯลฯ จากนั้นนำ�ไปอบที่อุณหภูมิสูง
คุณลักษณะของเซรามิก
เซรามิกแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. เซรามิกแบบดั้งเดิม (Traditional Ceramics) ได้แก่ ถ้วย จานชาม สุขภัณฑ์
ลูกถ้วยไฟฟ้า กระเบื้องปูพื้นและบุผนังกระเบื้องหลังคา วัสดุทนไฟ แผ่นรองเผาในเตา อิฐก่อสร้าง
กระถางต้นไม้ โอ่งกระจกและแก้ว ปูนซีเมนต์ ยิปซั่ม ปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น ซึ่งทำ�มาจากวัสดุหลัก
คือดินดำ� ดินขาว หินฟันม้า ทราย หินปูน หินผุ ควอตซ์ และแร่อื่น ๆ
2. เซรามิกสมัยใหม่ (Fine Ceramics/New Ceramics/Advanced Ceramics)
คือเซรามิกที่ต้องใช้วัตถุดิบที่ผ่านกระบวนการมาแล้วให้ได้รับการควบคุมองค์ประกอบทางเคมี
และโครงสร้างจุลภาค (Microstucture) อย่างแม่นยำ� โดยเซรามิกสมัยใหม่อาจแบ่งได้เป็น 3
กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ เซรามิก สำ�หรับงานโครงสร้าง, อิเล็กโทรเซรามิก, เซรามิก สำ�หรับงานทางด้าน
การแพทย์

art 2.indd 46 16/2/2558 14:06:18


หน่วยที่ 2 วัสดุอโลหะ  47

ชนิดของเซรามิก
เซรามิกแบ่งตามคุณสมบัติของเนื้อดินปั้นได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ผลิตภัณฑ์ประเภทเอิร์ทเทินแวร์  (Earthenware) เป็นเครื่องปั้นดินเผาชนิด
เนื้อแน่น เคลือบมันวาว ทึบแสง
2. ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ส โตนแวร์ (Stoneware) เป็ น เครื่ อ งปั้ น ดิ น เผาชนิ ด เนื้ อ แน่ น
แข็งแกร่ง เคลือบเป็นมันทึบแสง
3. ผลิตภัณฑ์พอร์ซเลน (Porcelain) เป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มีเนื้อแน่น แข็งแกร่ง
เคลือบเป็นมัน เนื้อโปร่งแสง เนื้อดินสีขาว เคาะแล้วเสียงดังกังวาน น้ำ�หนักเบา
มาตรฐานของเซรามิก
1. การทดสอบวัตถุดิบ วัตถุดิบที่ใช้ในงานเซรามิกแบ่งเป็นวัตถุดิบที่มีความเหนียว
(Plastic Raw Materrial) และวัตถุดิบที่ไม่มีความเหนียว (Non Plastic Raw-Materrial) ดัง
นั้นการทดสอบสมบัติทางฟิสิกส์ของวัตถุดิบ
2. การทดสอบเนื้อดินปั้น เนื้อดินจะมีหลายชนิด หลายประเภทและมีสมบัติแตก
ต่างกันตามความหมายต้องการเพื่อนำ�ไปใช้ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งหากเป็นการทดสอบ
เนื้อดินปั้นที่อยู่ในรูปน้ำ�ดิน (Slip Body) สิ่งที่ต้องทดสอบคือความถ่วงจำ�เพาะ ความหนืดปริมาณ
สารช่วยกระจายลอยตัว อัตราการหล่อการหดตัวความแข็งแรง การดูดซึมน้ำ�หลังเผา สีหลังเผา
ความเหมาะสมกับเคลือบ และความทนไฟโดยมีลำ�ดับขั้นตอนการทดสอบเนื้อดินปั้นที่อยู่ในรูป
น้ำ�ดิน
3. การทดสอบน้ำ�เคลือบ น้ำ�เคลือบจำ�เป็นต้องทดสอบตั้งแต่หลังบดเสร็จ เพื่อ
ควบคุมละเอียดให้ได้ความต้องการรวมทั้งควบคุมสมบัติของน้ำ�เคลือบด้านความหนาแน่นและ
ความหนืด เพื่อประโยชน์ในการใช้งานและคำ�นึงถึงสมบัติหลังจากการเผา ดังนั้น จึงมีการทดสอบ
น้ำ�เคลือบ คือ ความละเอียดของเคลือบโดยพิจารณาปริมาณกากค้างตะแกรง ความถ่วงจำ�เพาะ
ความหนืด สีหลังเผา ความเหมาะสมกับเนื้อดินปั้นการไหลตัว โดยมีลำ�ดับขั้นตอนการทดสอบ
เคลือบ
4. การทดสอบผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์หลังเผาเคลือบแล้วนอกจากจะพิจารณาถึง
ความสวยงามขนาดและตำ�หนิแล้วการทดสอบสมบัติเฉพาะของผลิตภัณฑ์จำ�เป็นต้องปฏิบัติเพื่อ
ควบคุมคุณภาพและสมบัติของผลิตภัณฑ์โดยผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทจะมีการทดสอบที่แตกต่าง
กันไปตามลักษณะการใช้งาน
5. การทดสอบปูนปลาสเตอร์และแบบพิมพ์ ปูนปลาสเตอร์ที่ใช้ทำ�แบบพิมพ์มี
ความสำ�คัญในงานเซรามิกส์มาก เพราะไม่ว่าจะขึ้นรูปด้วยวิธีแบบหล่อแบบ หรือด้วยใบมีด ก็
จำ�เป็นต้องใช้แบบพิมพ์ปูนปลาสเตอร์ ดังนั้น สมบัติของแบบพิมพ์จึงมีผลโดยตรงต่อปริมาณการ
ผลิตและความสมบูรณ์ของผลิตภัณฑ์

art 2.indd 47 16/2/2558 14:06:18


48

กรรมวิธีการผลิตเซรามิก
วัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิก
วัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิกส์บางอย่างได้มาจากสินแร่ตามธรรมชาติ เช่น ดินต่าง ๆ
(Clays) หินฟันม้า (Feldspar) หินควอตซ์ (Quaetz) และทรายทะเล เป็นต้น
ดินขาว (Kaolin, China Clay) หมายถึง ดินที่มีสีขาวหรือสีจาง ๆ
ดินดำ� (Ball Clay) หมายถึงดินที่มีสีขาว ขาวคล้ำ�จนดำ�สนิท มีแหล่งสะสมในที่ลุ่ม มีเม็ด
ละเอียดมีอินทรียสารเจือปน มีความเหนียวดี ให้ความแข็งแรงมากกว่าดินขาว เมื่อเผาจะมีสีขาว
หรือเหลืองจาง ๆ
การใช้งานเซรามิก
เซรามิกสามารถนำ�มาประยุกต์เพือ่ ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น หม้อ
ไห ถ้วย ชาม เครือ่ งเคลือบดินเผา อิฐ กระเบือ้ งเคลือบ วัสดุประเภทซีเมนต์ แก้ว วัสดุทนไฟ ฯลฯ
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 เป็นต้นมา ได้มีความเจริญก้าวหน้าในกระบวนการผลิต ตลอดจนมีความ
เข้าใจในลักษณะพื้นฐานและกลไกที่ควบคุมคุณสมบัติของเซรามิก ทำ�ให้มีการพัฒนาเซรามิก
ประเภทใหม่ ๆ มากมาย เช่น นำ�ไปผลิตเป็น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ฉนวนไฟฟ้า วัสดุขัดเจียระไน
ชิ้นส่วนยานอวกาศ ภาชนะและเครื่องครัว เครื่องประดับตกแต่ง เครื่องสุขภัณฑ์ ชิ้นส่วนใน
ร่างกายมนุษย์ ฯลฯ
ขั้นตอนการทำ�เซรามิก
1. การเตรียมวัตถุดิบ
2. การขึ้นรูป
การเทแบบมี 2 ลักษณะคือ
1. การเทแบบโดยให้น้ำ�ดินแข็งตัวอยู่ในแบบ เรียก Soild Casting ซึ่งเหมาะกับการ
เทแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความหนาและรูปร่างแปลก ๆ
2. การเทแบบโดยมีการเทน้ำ�ดินที่เหลือทิิ้ง เรียก Drain Casting ซึ่งเหมาะกับ
ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการผนังบางและต้องการความหนาสม่ำ�เสมอ
การจัดเก็บและการดูแลรักษาเซรามิก
วิธีการรักษาชุดเซรามิกอย่างถูกวิธี จะทำ�ให้ชุดถ้วยชามและจานชามเซรามิกคงความดูดีได้
ยาวนาน
โดยหลังการใช้งาน ให้ใช้ผ้าขนหนูนุ่ม ๆ รองที่ก้นอ่างล้างจานเพื่อป้องกันการกระแทก
ใช้น้ำ�อุ่นกับน้ำ�ยาล้างจานแบบอ่อน ๆ ไม่ใส่เครื่องประดับบนมือเพราะจะทำ�ให้ชุดถ้วยชามและ
จานชามเซรามิกเป็นรอยขีดข่วน ใช้ฟองน้ำ�หรือผ้านุ่ม ๆ ถูเบา ๆ ไม่ใช้อะไรที่มีผิวหยาบ บีบ

art 2.indd 48 16/2/2558 14:06:18


หน่วยที่ 2 วัสดุอโลหะ  49

น้ำ�ยาล้างจานลงบนฟองน้ำ�แล้วถูเบา ๆ ที่รอยเปื้อน อาจจะใช้เบกกิงโซดาช่วย ถ้าชุดถ้วยชาม


และจานชามเซรามิกเปื้อนมาก ไม่ใช้น้ำ�ร้อนจัดเกินไปเพราะจะทำ�ลายเคลือบและสีให้เสียหายได้
เมื่อล้างเสร็จแล้วผึ่งลมให้แห้ง หรือใช้ผ้านุ่ม ๆ เช็ดหลาย ๆ ครั้งให้แห้งก็ได้ในการจัดเก็บ ให้ใช้
กระดาษอเนกประสงค์ ลูกไม้กระดาษ หรือผ้าเช็ดปากรองแต่ละชั้น เพื่อป้องกันการขูดขีด ไม่วาง
ถ้วยกาแฟซ้อนกันหรือแขวน ให้คว่ำ�ทีละใบ
ชุดถ้วยชามและจานชามเซรามิกที่เกิดการแตกลายงาเล็ก ๆ ให้แช่น้ำ�นมอุ่น ๆ ทิ้งไว้ข้ามคืน
แล้วล้างในน้ำ�อุ่นกับน้ำ�ยาแบบอ่อน ๆ
รอยขีดข่วนบนชุดถ้วยชามและจานชามเซรามิกที่เกิดจากรอยช้อน ส้อม และมีดขณะทาน
อาหาร ให้ใช้ฟองน้ำ�ชื้น ๆ ชุบเบกกิงโซดา อาจจะใช้ยาสีฟันแบบสีขาวก็ได้
ชุดถ้วยชามและจานชามเซรามิกที่เปื้อนรอยติดแน่น ให้จัดการด้วยการผสมเกลือกับน้ำ�ส้ม
สายชูอย่างละเท่า ๆ กัน แล้วเอาถ้วยชามและจานชามเซรามิกแช่ทิ้งไว้สักครู่ หรือนำ�เบกกิงโซดา
ผสมกับน้ำ� ทาลงบนรอยเปื้อนและขัดเบา ๆ หรือถ้ารอยเปื้อนติดแน่นมาก ให้ลองขัดชุดถ้วยชาม
และจานชามเซรามิกด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
วัสดุอโลหะประเภทหนัง
ผลิตภัณฑ์เครื่องหนังที่สามารถแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ตามคุณภาพหนังที่ใช้ในการผลิต
และฝีมือความละเอียดของการตัดเย็บ โดยวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสามารถแบ่งเป็นวัตถุดิบที่เป็น
หนังแท้และวัตถุดิบที่ไม่ใช่หนังแท้ เช่น PU PVC หรือวัสดุที่ใช้แทนหนังอื่น ๆ ลักษณะของหนังแท้
หนังเทียม หนังแท้ ซึ่งผ่านกระบวนการฟอกมาแล้วซึ่งผลที่ได้จากการฟอกนั้นก็จะได้ตามสภาพ
หนังสัตว์ที่ได้มาฟอก เช่น บริเวณใดมีแผล เมื่อฟอกเสร็จโดยไม่ผ่านกรรมวิธีกลบแผล แผลก็จะ
อยู่ในสภาพใกล้เคียงอย่างเดิม (ต่างกันที่ฝอกกับไม่ฝอกเท่านั้น) ซึ่งหลังการฟอก แผลที่มีอาจเปิด
กว้างขึ้นหรือถูกเจียร-ผ่าออกไปเป็นไปตามขั้นตอนของเครื่องจักร-กรรมวิธีที่ต่าง ๆ กันไปซึ่งหนัง
ที่ได้จะต่างกันออกไป
ชนิดของหนัง
หนังแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. หนังแท้ หมายถึง หนังทีไ่ ด้จากสัตว์ เช่น หนังวัว หนังจระเข้ หรือหนังจากสัตว์ปา่
2. หนังเทียม หมายถึง สารสังเคราะห์ที่ถูกนำ�มาทำ�ให้มีลักษณะคล้ายหนังแท้ ซึ่ง
หนังเทียมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
มาตรฐานของผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง
สินค้าเครื่องหนังซึ่งประกอบด้วย เสื้อผ้า เข็มขัด และสินค้าอื่น ๆ ไม่เพียงแต่คุณภาพสูง แต่
ยังมีความหลากหลายในเรื่องของเผ่าพันธ์ุ ประเภทของหนัง การย้อมสี สารเคมีที่ใช้ในการตกแต่ง
และกิจกรรมทางชีววิทยา

art 2.indd 49 16/2/2558 14:06:18


50

เสือ้ ผ้าหนัง การทดสอบต่าง ๆ เช่น การหลุดลอกจากการซักแห้ง การตกสีจากแสง การยึด


ติดจากการถู สามารถกระทำ�บนเสื้อผ้าสำ�เร็จรูปหรือวัสดุและชิ้นส่วนก่อนที่จะทำ�การผลิตชิ้นส่วน
ต่าง ๆ เช่น ซิป แผ่นรองประกบ และกระดุมควรถูกตรวจสอบสำ�หรับการใช้งาน นอกจากนี้
ควรพิจารณาเรื่องการตรวจสอบเรื่องของการทำ�ความสะอาดบนเสื้อผ้าทั้งตัวด้วย
สินค้าชิ้นเล็ก กระเป๋าถือและกระเป๋าธนบัตร การทดสอบ เช่น ความแข็งแรงของการประกบ
ติดของชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่มุม การยึดติดของห่วงรู ความแข็งแรงของตะเข็บ และการทนต่อการหลุด
ลอกของแผ่นรอง การทนต่อการบิดงอของตัวนอก และอืน่ ๆ สามารถกระทำ�ได้กบั สินค้าหนังชิน้ เล็ก
การทดสอบความแข็งแรงของหูและสายหิ้ว การทนต่อการหลุดลอก การทนต่อการบิดงอ และ
ความแข็งแรงของตะเข็บ ทั้งหมดมีความสำ�คัญอย่างเห็นได้ชัดต่อกระเป๋า เครื่องมือทดสอบการ
ความแข็งแรงที่มีสมรรถนะสูง
กรรมวิธีการผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง
กระบวนการที่สำ�คัญประกอบด้วย อุตสาหกรรมต้นน้ำ� อุตสาหกรรมกลางน้ำ� อุตสาหกรรม
ปลายน้ำ� และการกระจายสินค้า ห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังจำ�แนกได้
เป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่
1. อุตสาหกรรมต้นน้ำ� คือ อุตสาหกรรมผลิตหนังดิบโดยนำ�หนังสัตว์ที่ได้จาก
โรงงานฆ่าสัตว์ผ่านกระบวนการเก็บรักษา เช่นหนังแช่น้ำ�เกลือ หนังหมักเกลือ หนังตากแห้ง และ
หนังอาบน้ำ�ยา
2. อุตสาหกรรมกลางน้�ำ ได้แก่ อุตสาหกรรมฟอกหนังแท้ และการผลิตหนังเทียม
2.1 อุตสาหกรรมฟอกหนังแท้ เกี่ยวข้องกับกระบวนการออกแบบลวดลาย
หนังคัดเลือกวส่วนของหนังสัตว์ดบิ ทีจ่ ะมาทำ�สินค้า เตรียมหนังก่อนฝอก โดยกำ�จัดขนล้าง และแช่
น้�ำ ปูนใส เพ่อื ให้หนังนุม่ และหดตัวจากนัน้ นำ�หนังสัตว์มาผ่านการฟอกย้อมเพือ่ ให้ได้หนังไม่เน่าเสีย
นำ�มาตกแต่งโดยการย้อมสี อบแห้ง ใส้น�ำ้ มันเพือ่ ขัดให้หนังมัน และสุดท้ายทำ�การพ่นสีและและพิมพ์
ลาย เพือ่ ให้ได้เป็นหนังฟอกสำ�เร็จพร้อมขึน้ รูป M
2.2 อุตสาหกรรมผลิตหนังเทียม เกีย่ วข้องกับกระบวนการออกแบบลวดลายหนัง
แล้วใช้พลาสติกประเภทโพลียูเรเทน (Polyurethane : PU) และโพลีไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl
Chloride : PVC) นำ�มาผ่านกระบวนการอบแห้ง ผ่านน้ำ� และย้อมสีทากาวเพื่อให้ได้หนังเทียมที่
ตกแต่งเสร็จ
3. อุตสาหกรรมปลายน้ำ� ประกอบด้วย อุตสาหกรรมรองเท้า และเครื่องหนัง
3.1 อุตสาหกรรมรองเท้า เป็นการผลิตรองเท้าซึ่งมีขั้นตอนหลักคือออกแบบ
รูปทรงและลวดลายรองเท้า เตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์ ประกอบและตอกส้นตกแต่งขั้นสุดท้าย
และตรวจสอบคุณภาพ

art 2.indd 50 16/2/2558 14:06:18


หน่วยที่ 2 วัสดุอโลหะ  51

3.2 อุ ต สาหกรรมเครื่ อ งหนั ง ในการผลิ ต เครื่ อ งหนั ง ขั้ น ตอนการผลิ ต


ประกอบด้วยการออกแบบ การเตรียมงาน โดยการคัดเลือกวัตถุดิบทั้งชิ้นส่วนของหนังและส่วน
ประกอบอื่น ๆ การตัดหนังตามแบบ และประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ตกแต่งขั้นสุดท้ายและตรวจสอบ
คุณภาพ
4. การกระจายสินค้าผ่านช่องทางการจัดจำ�หน่าย โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ประกอบ
การในอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังของไทยรับจ้างผลิตให้แก่ผู้อื่น (Original Equipment
Manufacurring : OEM) โดยเป็นการผลิตตามแบบซึ่งมีบริษัทต่างประเทศเป็นผู้ออกแบบและ
เป็นเจ้าของตราสินค้าต่างประเทศนั้น อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการบางรายออกแบบเอง (Original
Design Manufacurring : ODM) และบางรายมีตราสินค้าของตนเอง (Original Brand
Manufacurring : OBM)
การจัดเก็บและการดูแลรักษาหนัง
ขั้นตอนการทำ�ความสะอาดกระเป๋าหนังกลับ  
1. นำ�น้ำ�อุ่นลงเบา ๆ บริเวณที่สกปรกให้ชุ่ม
2. นำ�สบู่หรือน้ำ�ยาซักแห้ง ลงเบาๆ (ไม่เอาเเปรงถูเพราะจะทำ�ให้หนังกลับเสื่อม
สภาพลง) ให้ใช้นิ้วชี้หรือนิ้วที่ถนัดขยี้กระเป๋าจนสะอาด
3. ใช้น้ำ�อุ่น ๆ ล้างสบู่ออกจนหมด
4. เมื่อขจัดคราบเลอะเทอะออกจนหมดเเล้ว ใช้ผ้าเเห้งที่สะอาดซับออกให้ทั่ว ใช้
กระดาษชำ�ระซับและพอกบริเวนหนังกลับ แล้วนำ�ไปตากแดดจนแห้ง จะมีคราบเหลืองติดกระดาษ
ชำ�ระ
5. เมือ่ หนังกลับบริเวณทีเ่ ราทำ�ความสะอาดเเห้งแล้ว หนังกลับอาจจะมีสภาพทีเ่ เข็ง
กว่าเดิม เเก้ปัญหาโดยใช้ยางลบดินสอที่สะอาดปัดหนังกลับไปทางเดียวกัน หนังกลับจะกลับมา
นุ่มน่าใช้เหมือนเดิม
6. ส่วนบริเวณอื่นๆ สามารถใช้น้ำ�ยาสเตคลีนทำ�ความสะอาดได้

วัสดุอโลหะประเภทแก้ว
แก้ว (Glass) หมายถึง วัสดุสังเคราะห์แข็งที่มีรูปลักษณะอยู่ตัวและเป็นเนื้อเดียว โดยปกติ
แล้วเกิดจากการเย็นตัวลงอย่างฉับพลันของวัสดุหลอมหนืด ซึ่งทำ�ให้การแข็งตัวนั้นไม่ก่อผลึก
เช่น น้ำ�ตาลซึ่งหลอมละลายและถูกทำ�ให้แข็งตัวอย่างรวดเร็ว อาจด้วยการหยดลงบนผิวเย็น
น้ำ�ตาลที่แข็งตัวนี้จะมีลักษณะเป็นเนื้อเดียว ไม่แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่เป็นผลึกซึ่งสามารถ
สังเกตได้จากรอยแตกหักซึ่งมีลักษณะละเอียด

art 2.indd 51 16/2/2558 14:06:18


52

คุณลักษณะของแก้ว
เนื้อแก้วบริสุทธิ์นั้นจะโปร่งใส ผิวค่อนข้างแข็ง ยากแก่การกัดกร่อน เฉื่อยต่อปฏิกิริยา
ทางเคมีและชีวภาพ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทำ�ให้แก้วนั้นมีประโยชน์ใช้งานอย่างกว้างขวาง อย่างไร
ก็ ต าม แก้ ว นั้ น ถึ ง แม้ จ ะแข็ ง แต่ ก็ เ ปราะแตกหั ก ง่ า ย และมี ร อยแตกที่ ล ะเอี ย ดคม คุ ณ สมบั ติ
ของแก้วนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายด้วยการผสมสารอื่นลงในเนื้อแก้ว หรือการปรับสภาพด้วย
การใช้ความร้อน
คุณสมบัติของแก้ว
1. แข็งเปราะ
2. หลอมเหลวได้
3. โปร่งใส
4. ทนความร้อน
5. กันน้ำ�ได้ไม่มีกลิ่น
6. เป็นฉนวนไฟฟ้า
ชนิดของแก้ว
แก้วสามารถแบ่งได้หลายชนิด เช่น แบ่งตามกรรมวิธีการผลิต แบ่งตามองค์ประกอบทาง
เคมี หรือแบ่งตามการใช้งาน แต่โดยส่วนใหญ่เรามักจะบอกประเภทของแก้วตามองค์ประกอบทาง
เคมีดังนี้
1. แก้วโวดาไลม์ (Soda-Lime Glass) ผลิตจากวัตถุดิบหลักคือ ทราย โซดาแอช
หินปูน เป็นแก้วที่พบเห็นได้โดยทั่วไป ได้แก่ แก้วที่เป็นขวด แก้วน้ำ� กระจก เป็นต้น สามารถทำ�ให้
เกิดสีต่าง ๆ ได้โดยการเติมออกไซด์ที่มีสีลงไป
2. แก้ ว บอโรซิ ลิ เ กต (Borosilicate Glass) หรื อ Pyrex เป็ น แก้ ว ที่ มี ก ารเติ ม
บอริคออกไซด์ลงไป ท�ำให้ให้มีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวเนื่องจากความร้อนต�่ำและทนต่อการ
เปลี่ยนแปลงความร้อน แก้วที่ได้สามารถน�ำไปใช้ท�ำเครื่องแก้ววิทยาศาสตร์ท�ำภาชนะแก้วส�ำหรับ
ใช้ในเตาไมโครเวฟ เป็นต้น
3. แก้วตะกั่ว (Lead Glass) หรือแก้วคริสตัลเป็นแก้วที่มีสารผสมของตะกั่วออกไซด์
อยู่มากกว่า 24% โดยน�้ำหนัก จะเป็นแก้วที่มีดัชนีหักเหสูงมากกว่าแก้วชนิดอื่น ท�ำให้มีประกาย
แวววาวสวยงาม และแกะสลักเป็นลวดลายต่าง ๆ ได้ ใช้ท�ำเครื่องแก้วที่มีราคาแพง
4. แก้วโอ-ปอล (Opal Glass) เป็นแก้วที่มีการเติมสารบางตัว เช่น โซเดียมฟลูออไรด์
หรือแคลเซียมฟลูไรด์ท�ำให้มีการตกผลึก หรือการแยกเฟสขึ้นในเนื้อแก้ว ท�ำให้แก้วชนิดนี้มีความ
ขุ่นหรือโปร่งใสเนื่องจากสามารถหลอมและขึ้นรูปได้ง่ายจึงมีต้นทุนการผลิตต�่ำ และสามารถท�ำให้
มีความแข็งแรงทนทานมากขึ้นเมื่อน�ำไปผ่านขบวนการอบ (Tempering) หรือ (Laminating)

art 2.indd 52 16/2/2558 14:06:18


หน่วยที่ 2 วัสดุอโลหะ  53

5. แก้วอะลูมิโนซิลิเกต (Alumino Silicate Glass) มีอะลูมินาและซิลิกาเป็นส่วนผสม


หลัก มีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัว เนื่องจากความร้อนต�่ำและมีจุดอ่อนตัวของแก้ว (Softetning
Point) สูงพอที่จะป้องกันการเสียรูปทรงเมื่อท�ำการอบเพื่อความแข็งแรงให้แก่ผลิตภัณฑ์
6. แก้วอัลคาไลน์-เอิร์ท อะลูมิโนซิลิเกต (Alkaline-Silicate Glass) มีส่วนผสมของ
แคลเซียมออกไซด์ หรือแบเรียมออกไซด์ ท�ำให้มีค่าดัชนีหักเหใกล้เคียงกับแก้วตะกั่ว แต่ผลิตง่าย
กว่าและมีความทนทานต่อกรดและด่างมากกว่าแก้วตะกั่วเล็กน้อย
7. กลาส-เซรามิกส์ (Glass-Ceramics) เป็นแก้วประเภทลิเทียมอะลูมิโนซิลิเกตที่มี
TiO2 หรือ ZrO2 ผสมอยูเ่ ล็กน้อยซึง่ จะท�ำให้เกิดผลึกในเนือ้ แก้ว ซึง่ อาจท�ำให้ให้แก้วมีความทึบแสง
หรื อ โปร่ ง ใสขึ้ น กั บ ชนิ ด ของผลึ ก กลาส-เซรามิ ก ส์ จะทนทานและมี สั ม ประสิ ท ธิ์ ก ารขยายตั ว
เนื่องจากความร้อนต�่ำมากสามารถน�ำไปใช้เป็นภาชนะหุงต้ม หรือเป็นแผ่นบนหุงต้มได้
มาตรฐานของแก้ว
การทดสอบแก้วบรรจุภัณฑ์
กายภาพ
1. มิติต่าง ๆ ขนาดความหนา น้ำ�หนัก ความจุหรือปริมาตร
2. การส่องผ่านของแสง และสีของแก้ว
3. ตำ�หนิที่พบ เช่น ฟองอากาศ
4. ความทนทานต่อความดันภายใน
5. ความแข็งแรง
6. ความทนทานต่อการขีดข่วน
7. อื่น ๆ
กรรมวิธีการผลิตแก้ว
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตแก้ว
ทรายมีชื่อทางวิทยาศาสตร์่ว่า “ซิลิกา” จะต้องมีปริมาณของ Sio2 อย่างน้อย 99.5%
และมีปริมาณของ Fe203 น้อยกว่า 0.04%
โซกาแอช คือ Na2CO3 ในธรรมชาติอยู่ในรูปของ Na2CO3, NaHCO3, 2H2O
หินปูน คือ CaO
หินฟันม้า เป็นสารประกอบที่ประกอบด้วย SiO2 และยังมีปริมาณ AI2O0 ถึงเกือบ
20%
หินโดโลไมต์ เป็นสารที่ประกอบด้วย CaO และ MgO
เศษแก้ว เป็นวัตถุดิบอื่น ๆ ซึ่งช่วยในการหลอม การปรับแต่งสีของขวดแก้ว รวมทั้ง
ปรับแต่งคุณสมบัติด้วย

art 2.indd 53 16/2/2558 14:06:18


54

คุณลักษณะของแก้ว
เนื้อแก้วบริสุทธิ์นั้นจะโปร่งใส ผิวค่อนข้างแข็ง ยากแก่การกัดกร่อน เฉื่อยต่อปฏิกิริยาทาง
เคมีและชีวภาพ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทำ�ให้แก้วนั้นมีประโยชน์ ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง อย่างไร
ก็ตามแก้วนั้นถึงแม้จะแข็งแต่ก็เปราะแตกหักง่าย และมีรอยแตกที่ละเอียดคม คุณสมบัติของแก้ว
สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายด้วยการผสมสารอื่นลงในเนื้อแก้ว หรือการปรับสภาพด้วยการใช้ความ
ร้อน
การใช้งานแก้ว
การใช้งานแก้วแบ่งดังต่อไปนี้
1. แก้วในงานก่อสร้าง (Constructions) เช่น กระจกแผ่น
กระจกลาย อิฐแก้ว (Glass Brock) ฯลฯ ต้องมีความแข็งแรง ความ
โปร่งใสสูง สามารถผลิตในปริมาณมากเพื่อให้คุ้มกับการลงทุน
2. แก้วบรรจุภัณฑ์ (Containers Glass) เช่น ขวด แก้ว
น้�
ำ และภาชนะต่าง ๆ ควรจะมีความทนทานทางกายภาพและทางเคมี
ระดับในระดับหนึ่ง และควรสามารถนำ�กลับมาล้างใช้ได้ใหม่อย่างน้อย
50 ครั้ง
3. แก้วทีผ่ า่ นการแปรรูป (Specialty Glass) เช่น กระจก
นิรภัยชนิดต่าง ๆ กระจกฉนวน กระจกเสริมลวด เป็นการนำ�กระจก
แผ่นแบบ Float มาอบ ดัด ตัดแต่ง ซึ่งจะทำ�ให้ได้กระจกที่มีรูปร่างตาม
ที่ต้องการ มีความทนทานมากขึ้น กระจกนิรภัยจะช่วยป้องกันอันตราย
ที่เกิดจากการแตกได้
4. แก้ ว เครื่ อ งประดั บ ตกแต่ ง (Ornaments Glass &
Figurines Glass) เช่น แก้วคริสตัล ของชำ�ร่วยต่าง ๆ แก้วสลัก
เจียระไน มักเป็นแก้วพวก Borosilicate ซึ่งสามารถนำ�มาเป่าขึ้นรูปได้
ง่าย หรือแก้วผสมตะกั่ว ซึ่งจะทำ�ให้แกะสลักและเจียระไนได้ง่าย
5. แก้ ว ในอุ ป กรณ์ ไ ฟฟ้ า อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ (Electronics
& Electrical Glass) เช่ น หลอดรั ง สี แ คโทด (Cathode-ray
Tubes), ตั ว เก็ บ ประจุ (Capacitors), ตั ว ต้ า นทานกระแส
ไฟฟ้ า (Resistors), ส่ ว นประกอบคอมพิ ว เตอร์ (Computer
Components) ฯลฯ แก้วที่ใช้จะต้องมีค่า Dielectric ที่ดี มีการสูญเสีย
ทางไฟฟ้าน้อยในช่วงอุณหภูมิที่แตกต่างกันสูง หน้าจอทีวี แก้วสำ�หรับ
การป้องกันการแผ่รังสี ก็ควรมีปริมาณตะกั่วที่สูง

art 2.indd 54 16/2/2558 14:06:20


หน่วยที่ 2 วัสดุอโลหะ  55

6. แก้วในงานทางแสง (Optical Glass) เช่น หลอดไฟ ต้องมีความ


ทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและการใช้งานที่อุณหภูมิสูง ทนต่อสภาพดินฟ้า
อากาศ ส่วนเลนส์ ใยแก้วนำ�แสง ต้องใช้วัตถุดิบที่มีความบริสุทธิ์สูง
  7. แก้วในงานอื่น ๆ (Other Glass) เช่น ใยแก้ว โฟมแก้ว วัสดุ
คอมโพสิต ต้องสามารถใช้ในงานที่ต้องการความแข็งแรง ทนต่อการกัดกร่อน
ทนความร้อน และมีความต้านทานไฟฟ้าทีด่ ี ขึน้ อยูก่ บั ประเภทของงานทีจ่ ะนำ�ไปใช้

การจัดเก็บและการดูแลรักษาเครื่องแก้ว

1. ไม่ควรกระทบปากแก้วด้วยโลหะหรือของแข็ง และระมัดระวังเมือ่ รินเครือ่ งดืม่ จากขวด


2. ไม่ควรใช้แก้วตักน้ำ�แข็ง
3. ไม่ควรรวบแก้วเข้าด้วยกัน ควรจัดเก็บโดยตั้งแก้วให้หงายขึ้น
4. ไม่ควรล้างแก้วในอ่างพร้อมกันทีละหลาย ๆ ใบ
5. ไม่ควรวางซ้อนแก้ว (ยกเว้นชนิดที่ซ้อนกันได้) เพราะอาจทำ�ให้แก้วติดกันได้
6. ไม่ควรใส่ช้อน ส้อม มีด หรืออุปกรณ์โลหะอื่นลงในแก้ว

วัสดุอโลหะประเภทใยหิน
ใยหิน (Asbestos) แร่ประเภทซิลิเกต โดยมากเป็นแคลเซียมและแมกนีเซียม ซิลิเกต
มีลักษณะเป็นเส้นเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ใยหินเป็นสารแร่ที่ได้จากการถลุงแร่ใยหินที่ขุดได้
จากเหมืองแร่ใยหิน ในประเทศไทยมีการนำ�เข้าแร่ใยหินจาก รัสเซียและบราซิลเพื่อนำ�มาใช้ใน
อุตสาหกรรม

art 2.indd 55 16/2/2558 14:06:20


56

คุณลักษณะของใยหิน
ใยหิ น เป็ น ใยธรรมชาติ ที่ แ ยกจากหิ น ชนิ ด หนึ่ ง ที่ มี สี เขี ย วที่ เรี ย กว่ า Serpentine หรื อ
Amphibole Rock มีลักษณะเป็นชั้นลื่นเหมือนสบู่
คุณสมบัติของใยหิน
โดยทั่วไปใยหินมีสมบัติแข็งแกร่ง ทนทานอุณหภูมิสูง ทนสภาพกรดด่าง เป็นฉนวนอุณหภูมิ
มีน้ำ�หนักเบา
ชนิดของใยหิน
ใยหินแบ่งออกเป็น 2 ชนิด แตกต่างกันทางรูปลักษณ์ สัณฐาน และสมบัติเฉพาะตัว คือ
1. แอมฟิโบล (Amphiboles) เป็นเส้นใยตรงแข็ง สบายตัวยาก
2. ไครโซไทล์ (Chrysotile) เป็นเส้นใยหงิกงอ อ่อน ถูกทำ�ให้สลายตัว กำ�จัดออกได้ง่ายเมื่อ
เข้าไปอยู่ในทางเดินหายใจและปอดมนุษย์ จากสมบัติที่แตกต่างกันนี้ รัฐบาลของหลายประเทศจึง
อนุญาตให้ใช้แต่แร่ใยหินไครโซไทล์เท่านั้น 
มาตรฐานของใยหิน
มาตรฐาน OSHA ครอบคลุมลูกจ้างที่ทำ�งานในงานก่อสร้าง (29 CFR 1926.1101) รวม
ถึงการแก้ไข, ซ่อมแซมรื้อถอนโครงสร้างที่มีใยหิน ทำ�งานในอู่ต่อเรือ (29 CFR 1915.1001) เช่น
ซ่อมเบรก-คลัทช์ งานผลิตใยหิน รวมผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของใยหิน ฯลฯ
กรรมวิธีการผลิตใยหิน
ฉนวนใยหิน Rockwool จะใช้ห่อหุ้มอุปกรณ์ที่มีความร้อนสูงเพื่อมิให้สูญเสียความร้อนและ
ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งอุณหภูมิที่ฉนวนร็อควูลสามารถใช้ได้คือ ตั้งแต่ 1
องศาเซลเซียสถึง 820 องศาเซลเซียส โดยตัวฉนวนร็อควูลจะช่วยคงสภาพปกติและรักษาอุณหภูมิ
ของอุปกรณ์ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการ
ฉนวนใยหิน Rockwool ผลิตมาจากธรรมชาติ น้ำ�หนักเบากันความร้อนได้สูงดูดซับเสียง
ได้ดีไม่ติดไฟ ไม่ลามไฟ กันน้ำ�ได้ ไม่ดูดซับความชื้นไม่ทำ�ปฏิกิริยากับโลหะ ช่วยประหยัดพลังงาน
มีทั้งแบบแผ่นและแบบม้วนยาว
การใช้งานใยหิน
1. นำ�ไปใช้ประโยชน์เพื่อผลิตวัสดุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความทนทาน และ
มีอายุการใช้งานยาวนาน เช่น ผ้าห้ามล้อ ผิวจานคลัทช์ เสื้อพนักงานดับเพลิง โครงสร้างเรือกลไฟ
เรือดำ�น้ำ� หัวจรวด วัสดุก่อสร้าง เช่น กระเบื้องมุงหลังคา ท่อน้ำ�ขนาดใหญ่ที่องค์การอนามัยโลก
รับรองการผลิตว่าไม่มีอันตรายทั้งต่อผู้ผลิตและผู้ใช้

art 2.indd 56 16/2/2558 14:06:20


หน่วยที่ 2 วัสดุอโลหะ  57

2. แร่ใยหินมีคุณสมบัติที่เป็นฉนวน ทางการก่อสร้างจึงมีการนำ�มาใช้พ่นเคลือบผนัง เสา


บนฝ้าใต้หลังคา ทำ�หน้าที่เป็นฉนวนเพื่อป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ แต่หลังจากนั้น ทางการแพทย์
พบว่า การสูดเอาแร่ใยหินเข้าไปในร่างกายเป็นอันตรายต่อสุขภาพที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งเยื่อหุ้ม
ปอด หลายประเทศจึงยกเลิกห้ามใช้แร่ใยหินในกลุ่มนี้อย่างเด็ดขาด แต่หลายประเทศยังอนุญาตให้
ใช้แร่เส้นใยชนิดอื่นที่มีความปลอดภัยกว่า
การจัดเก็บและการดูแลรักษาใยหิน
-  ผู้ปฏิบัติงานจะต้องสวมหน้ากากกรองหรือเครื่องช่วยหายใจที่มีประสิทธิภาพเพื่อกรอง
เส้นใยหิน
-  สวมอุปกรณ์ป้องกันอื่น ๆ สวมชุดป้องกันร่างกายไม่ให้สัมผัสใยหิน
-  ใส่ถุงมือ
-  อุปกรณ์ป้องกันการสัมผัสใยหินสำ�หรับศีรษะและเท้า (หมวกคลุมผมและถุงเท้า)
-  กระบังหน้า หรือแว่นตานิรภัยแบบป้องกันสารเคมี (Goggles)

art 2.indd 57 16/2/2558 14:06:20


58

คำ�ศัพท์ท้ายหน่วยที่ 2

คำ�ศัพท์ ความหมาย
Synthetic Material เป็ น วั ส ดุ สั ง เคราะห์ ที่ เ กิ ด จากกระบวนการสารเคมี เช่ น พลาสติ ก ใย
สังเคราะห์ ยางสังเคราะห์ โฟม กระเบื้องยาง วัสดุเหล่านี้นำ�มาใช้ทดแทน
วัสดุธรรมชาติ
Engineering Materials เป็นวัสดุธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ไม้ ดิน หิน ทราย ยาง
หนังสัตว์
Primer เป็นสีรองพื้น หมายถึง สีชั้นแรกสุดที่เคลือบติดวัสดุนั้น ๆ เช่น สีรองพื้น
กันสนิม มีหน้าที่กันไม่ให้เกิดสนิมเหล็ก หรือเกิดช้าที่สุด สีรองพื้นปูนใหม่
กันด่าง
Natural Rubber เป็นผลิตภัณฑ์ยางประเภท Hydrocarbon ที่ได้จากยางพารา ทนการ
เสียดสี ทนแรงดึงสูง ยืดหดตัว ทนการฉีกขาดได้ดี มีความสามารถในการ
ยึดติดกับโลหะได้ดี นิยมนำ�มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
Ceramic หมายถึง สิง่ ทีถ่ กู เผา ในอดีตวัสดุเซรามิกทีม่ กี ารใช้งานมากทีส่ ดุ คือ เซรามิก
ดั้งเดิม ทำ�มาจากวัสดุหลักคือดินเหนียว
Leather เป็นหนังซึ่งเป็นวัตถุดิบสำ�คัญในการผลิตเครื่องหนังนั้นมีอยู่หลายประเภท
และหลายคุณภาพ เราอาจจะไม่รู้ว่าในเครื่องหนังนั้น ๆ มิใช่มีเพียงหนังแท้
ที่ได้มาจากหนังสัตว์ แต่ยังมีหนังที่ผลิตจากพลาสติกเข้ามามีส่วนสำ�คัญใน
การผลักดันอุตสาหกรรมเครื่องหนังให้ก้าวเดินไปและเมื่อหนังแท้มีราคา
ค่อนข้างสูงและวัตถุดิบมีน้อย จึงทำ�ให้ทุกวันนี้นิยมใช้หนังเทียมมาทดแทน
หนังแท้
Glass เป็นวัสดุแข็งที่ทำ�จากซิลิกา ที่มีรูปลักษณะอยู่ตัวและเป็นเนื้อเดียว โดย
ปกติแล้วเกิดจากการเย็นตัวลงอย่างฉับพลันของวัสดุหลอมหนืด ซึ่งทำ�ให้
การแข็งตัวนั้นไม่ก่อผลึก
Asbestos เป็นแร่ธรรมชาติที่ปนอยู่ในเนื้อหิน ประกอบด้วยธาตุเหล็ก แมกนีเซียม
ซิลิเกต และธาตุอื่น ๆ มีลักษณะเป็นเส้นใยละเอียด มีคุณสมบัติที่ทนความ
ร้อน ไม่นำ�ความร้อนและไฟฟ้า ทนกรด ด่าง การทำ�ลายของแมลง มีความ
แข็ง เหนียว และยืดหยุ่น
Porcelain ดินขาวทีม่ คี วามบริสทุ ธิส์ งู เผาแล้วได้สขี าวบริสทุ ธิ์ นิยมนำ�มาทำ�ผลิตภัณฑ์
พอร์ชเลน โบนไชนา และผลิตภัณฑ์เซรามิก ที่มีเนื้อสีขาวทุกชนิด มี
คุณสมบัติหดตัวน้อย และมีปริมาณคาร์บอนต่ำ� สามารถอัดเป็นแผ่นได้ง่าย
โดยไม่บิ่นหรือแตกร้าว สีดินจะเป็นสีเหลืองนวล หรือออกแดงเล็กน้อย

art 2.indd 58 16/2/2558 14:06:20


หน่วยที่ 2 วัสดุอโลหะ  59

สรุปสาระการเรียนรู้หน่วยที่ 2
อโลหะเป็นวัสดุจากธรรมชาติและการสังเคราะห์ อาจนำ�มาใช้โดยตรงหรือแปรรูปเพื่อให้
เหมาะกับการใช้งานวัสดุรอบ ๆ ตัวเราที่ใช้ในชีวิตประจำ�วัน โดยมีการนำ�วัสดุทั้งจากธรรมชาติ
และจากการสังเคราะห์มาใช้ประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ มากมาย เช่น ใช้ในการก่อสร้าง ใช้ใน
งานอุตสาหกรรม เราควรได้ศึกษาคุณสมบัติต่าง ๆ ของวัสดุเหล่านั้นเพื่อนำ�ไปใช้งานอย่างมี
ประสิทธิภาพต่อไป

art 2.indd 59 16/2/2558 14:06:20


60

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 2

ตอนที่ 1 ให้เลือกคำ�ตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. อโลหะที่เป็นสารสังเคราะห์ หมายถึงข้อใด
ก. หนัง ข. ยาง
ค. แก้ว ง. ทราย
2. ล้อแม็กรถยนต์เป็นวัสดุช่างที่ทำ�จากอะไร
ก. โลหะพวกเหล็ก ข. โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก
ค. สารสังเคราะห์ ง. สารธรรมชาติ
3. ข้อใดอธิบายความหมายของอโลหะได้ถูกต้อง
ก. วัสดุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
ข. วัสดุที่ได้จากการถลุงจากสินแร่ต่าง ๆ
ค. โลหะที่มีความหนาแน่นมากกว่า 4 กก./ดม.3
ง. วัสดุที่เกิดจากโลหะตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป
4. ข้อใดต่อไปนี้คือวัสดุสังเคราะห์
ก. ใยหิน ข. หนังแท้
ค. เซรามิก ง. ยางธรรมชาติ
5. สีรองพื้นเป็นสีน้ำ�มันที่เรียกว่า
ก. โพลีวีนิลอาซีเตท ข. เมตตาลิค
ค. ไพรเมอร์ ง. ซัลเฟต
6. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของยางธรรมชาติ
ก. เหนียว ข. ทนแรงกระแทก
ค. เป็นฉนวนไฟฟ้า ง. ทนความร้อน
7. สารที่ผสมลงไปในน้ำ�ยางเจือจางเพ่ือทำ�ให้ยางแข็งตัวคือข้อใด
ก. กรดน้ำ�ส้ม ข. ด่างทับทิม
ค. กรดซัลฟิวริก ง. กำ�มะถัน
8. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของเซรามิก
ก. ดินเหนียว ข. ผงตะกั่วแดง
ค. แมกนีไซต์ ง. แร่ทัลก์

art 2.indd 60 16/2/2558 14:06:20


หน่วยที่ 2 วัสดุอโลหะ  61

9. ข้อใดไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ของเซรามิก
ก. ถ้วย, ชาม ข. กระเบื้องมุงหลังคา, ฝ้า
ค. อิฐสำ�หรับบุเตาหลอม ง. ทำ�ชิ้นส่วนเครื่องจักร
10. น้ำ�มันวานิชเมื่อผสมกับผงแม่สีมีคุณสมบัติตามข้อใด
ก. มีความบริสุทธิ์ขึ้น ข. แห้งเร็วขึ้น
ค. ยึดติดกับพื้นผิวได้ดีขึ้น ง. มีความทนต่อแสงแดด

ตอนที่ 2 ตอบคำ�ถามต่อไปนี้
1. อโลหะ คือ
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
2. วัสดุสังเคราะห์ หมายถึง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
3. วัสดุธรรมชาติ หมายถึง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
4. เซรามิกผลิตขึ้นมาจาก
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
5. คุณสมบัติของยาง คือ
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
6. กรรมวิธีการผสมวัสดุลงไปในเนื้อยางเพื่อเพิ่มคุณภาพ เรียกว่า
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................

art 2.indd 61 16/2/2558 14:06:20


62

7. บอกข้อดีของหนังเทียมมาพอสังเขป
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
8. บอกคุณสมบัติของแก้วมา 4 ข้อ
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
9. ใยแก้วมีประโยชน์ใช้ทำ�อะไร
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
10. บอกคุณสมบัติของใยหินมา 3 ข้อ
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................

กิจกรรมการเรียนรู้หน่วยที่ 2

1. ผู้สอนกล่าวทักทายผู้เรียน พร้อมเช็กชื่อผู้เรียน
2. ผู้สอนแจกหนังสือเรียนและบทเรียนโมดูล ให้ผู้เรียนจัดกลุ่ม 3 คน ศึกษาร่วมกัน
พร้อมกับทำ�แบบทดสอบ
3. ผู้สอนอธิบายความหมายและชนิดของวัสดุอโลหะ
4. ผู้สอนอธิบายวัสดุอโลหะประเภทยางธรรมชาติ เซรามิก หนัง แก้ว ใยแก้ว
5. ผู้สอนมอบหมายงานให้ผู้เรียนปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายโดยใช้ใบความรู้หรือ
เอกสารประกอบการเรียนอย่างคุ้มค่า เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือแบ่งบันซึ่งกันและกัน
และปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มุ่งมั่น ใช้เหตุผล และสติปัญญาในการ
วิเคราะห์วิจารณ์

art 2.indd 62 16/2/2558 14:06:20


หน่วยที่ 3 วัสดุโลหะผสม  63

หน่วยที่

3 วัสดุโลหะผสม
สาระการเรียนรู้
1. ความหมายของโลหะผสม
2. ชนิดของโลหะผสม
3. ข้อดีและข้อเสียของโลหะผสม
4. โลหะหนักผสม
5. โลหะเบาผสม

สมรรถนะการเรียนรู้
1. อธิบายความหมาย ชนิด ข้อดีและข้อเสียของวัสดุโลหะหนักผสมได้
2. อธิบายเกี่ยวกับโลหะหนักผสมได้
3. อธิบายเกี่ยวกับโลหะเบาผสมได้

art 3.indd 63 16/2/2558 14:07:15


64

หน่วยที่ 3 วัสดุโลหะผสม
ความหมายของโลหะผสม
โลหะผสม การน�ำโลหะที่มีความหนาแน่นกว่า 4 kg/cm2 ตั้งแต่ 2 ชนิดผสมกันใน
อัตราส่วนที่ก�ำหนดโดยมาตรฐานเพื่อให้ได้โลหะใหม่ซึ่งมีคุณสมบัติไม่เหมือนกับโลหะ
ชนิดของโลหะผสม
1. โลหะหนักผสม หมายถึง โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก น�ำมาผสมกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป โดยมี
ความหนาแน่นมากกว่า 5 kg/cm2 โลหะที่เกิดจากการผสมนี้มีคุณสมบัติดีกว่าโลหะแม่ (โลหะ
เดิม) เช่น ทองแดงผสมเงินเยอรมัน (NS) บรอนซ์ (BZ)
2. โลหะเบาผสม หมายถึง โลหะที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า 4 kg/dm3 โดยทั่วไปได้แก่
อะลูมิเนียม แมกนีเซียม เซอร์โคเนียม และเบริลเลียม
1) โลหะเบาที่สุด คือ แมกนีเซียม (Mg) โลหะชนิดนี้ไม่สามารถใช้งานโดยตรงได้ ถ้า
จะใช้งานต้องน�ำไปผสมกับโลหะอื่น แมกนีเซียมเป็นโลหะที่ติดไฟได้
2) ถ้าโลหะใดที่ผสมแมกนีเซียม เวลากลึงต้องระวังเป็นพิเศษ แมกนีเซียมเป็นโลหะ
ที่ติดไฟได้ ถ้าติดไฟให้ใช้ผงหล่อลมดับไฟห้ามใช้น�้ำ
ข้อดีและข้อเสียของโลหะผสม
ข้อดีของโลหะผสม ข้อเสียของโลหะผสม
1)  มีความแข็ง 1)  จุดหลอมเหลวจะลดลง
2)  มีความแข็งแรง 2)  การนำ�ไฟฟ้าจะลดลง
3)  ทนต่อการสึกหรอ
4)  ปรับปรุงคุณสมบัติได้ตามต้องการ
5)  ทนต่อความเค้นแรงดึง
6)  ใช้งานได้มากกว่า

ข้อควรจำ�
โลหะยิ่งบริสุทธิ์จุดหลอมเหลวยิ่งสูง คุณสมบัติในการนำ�ไฟฟ้ายิ่งดีมากขึ้น

art 3.indd 64 16/2/2558 14:07:15


หน่วยที่ 3 วัสดุโลหะผสม  65

โลหะหนักผสม
1. ทองเหลืองและเงินเยอรมัน
1.1 ทองเหลือง (Messing) เป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงผสมกับสังกะสี
สัญลักษณ์ของทองเหลือง ความบริสุทธิ์ของทองแดงเขียนได้เป็นเกรดตัวอักษร A-F เช่น F-Cu จะ
มีความบริสุทธิ์กว่า A--Cu ทองแดงที่ใช้เป็นอิเล็กโตรลิติกเป็นตัวน�ำไฟฟ้าที่ดี การเขียนสัญลักษณ์
ของทองแดงสามารถเขียนได้ดังนี้
ตัวอย่างที่ 1 MS 60 คือ ทองแดงทีม่ สี ว่ นผสมของทองแดง 60% อีก 40% เป็นสังกะสี (Zn)
ตัวอย่างที่ 2 MS 63 F 48 คือ ทองเหลืองทีม่ ที องแดงผสมอยู่ 63 มีความเค้นแรงดึงต�ำ่ ทีส่ ดุ
48 กก./ตร.มม.
ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งกับความแข็งแรงของทองเหลือง

สัญลักษณ์มาตรฐาน ลักษณะความแข็ง ความเค้นแรงดึง กก.มม.2 อัตรายึดตัว %


MS 60 E 29 อ่อน 29-33 45
MS 60 E 35 กึ่งแข็ง 35-45 25
MS 60 E 41 แข็ง 41-50 18
MS 60 E 52 แข็งสปริง ต่ำ�กว่า 25 5
MS 60 E 37 อ่อน 37-45 28
MS 58 E 44 กึ่งแข็ง 44-54 12
MS 52 E 51 แข็ง 51-63 6

คุณสมบัติ
1. มีสีเหลือง
2. ใช้งานมากที่สุด
3. มี ท องแดงผสม 50% ถ้ า ผสมมากกว่ า นี้ เช่ น มี ท องแดง 70% ขึ้ น ไปจะ
ทำ�ให้เนื้อทองแดงอ่อนมาก เรียกว่า ทอมบัค (Tombak)
4. รีดเป็นแผ่นได้
5. ดึงเป็นเส้นได้
6. การนำ�ไฟฟ้าลดลง
7. ความแข็งเพิ่มขึ้น

art 3.indd 65 16/2/2558 14:07:15


66

ประโยชน์
1. พันทุ่นอาเมเจอร์
2. ใช้ท�ำโลหะงานประณีตต่าง ๆ
3. ชิ้นส่วนเครื่องมือกล
4. นาฬิกา
5. ช้อนส้อม
6. มีดต่าง ๆ
7. ใบจักรเรือ
1.2 ทองเหลืองพิเศษและทองเหลืองบัดกรี
1) ทองอะลูมิเนียม (Cu+Zn+AI-MSAI) มีอะลูมิเนียมผสมอยู่ไม่เกิน 3%
มีความเค้นแรงดึงดี รีดเป็นเส้นได้ยาก ทนต่อการกัดกร่อนดี หล่อขึ้นรูปง่าย ใช้ท�ำใบจักรเรือบัดกรี
ได้และใช้ท�ำอุปกรณ์ในงานเคมี
2) ทองเหลืองแมงกานีส (Cu+Zn+Fe-MSFe) มีแมงกานีสผสมอยู่น้อย
มากท�ำให้แข็งทนต่อความเค้นแรงดึง 60 กก./มม.3 ทนต่อน�้ำทะเล ใช้ท�ำก้านลูกสูบ ก้านลิ้น
ใบจักรเรือ
3) ทองเหลืองเหล็ก (Cu+Zn+Fe-MSFe) มีเหล็กผสมอยู่ 1-3% ช่วยให้
หล่อหลอมได้ง่าย
4) ทองเหลืองตะกั่ว (Cu+Zn+Pb-MSPb) มีตะกั่วปนอยู่ 1-2% ช่วยให้ใช้
กับงานกลึงได้ดีและง่ายขึ้น
1.3 เงินเยอรมัน (NS)
เงินเยอรมันได้จากทองแดงผสมกับสังกะสีนิกเกิล (Cu 40-70%, Zn 20-
45% Ni 10-30%)
คุณสมบัติ
1. มีสีขาวคล้ายเงินมาก
2. ดึงและขึ้นรูปเย็นได้
3. ทนต่อการกัดกร่อน
4. ถ้าผสมตะกั่ว 2% จะทำ�ให้กลึงได้ง่ายขึ้น
ประโยชน์
1. ท�ำเครื่องมือมีคม
2. เครื่องโลหะรูปพรรณต่าง ๆ
3. ชุดเครื่องมือเครื่องเขียนแบบ
4. ชุดเครื่องมืองานประณีต เช่น ช้อน ส้อม
5. กรอบนาฬิกา

art 3.indd 66 16/2/2558 14:07:15


หน่วยที่ 3 วัสดุโลหะผสม  67

2. บรอนซ์และสังกะสี
2.1 บรอนซ์ (BZ) เกิดจากทองแดงผสมสังกะสีประสมดีบุก แบ่งออกเป็นหลาย
ชนิด ได้แก่
1. บรอนซ์อะลูมิเนียม (Cu+Zn+Sn+AI-BZAI) มีความเค้นแรงดึงสูงมาก
(70 กก./มม.2) ทนต่อการกัดกร่อนได้ดี เชื่อมได้ดี บัดกรีอ่อนและแข็งไม่ติด ใ่ช้ท�ำทุ่นอาร์เมเจอร์
ท�ำชุดเฟืองหนอน ท�ำก้านลิ้น
2. บรอนซ์ดีบุก (Cu+Zn+Sn-BZSn) มีดีบุกไม่เกิน 20% มีความแข็งแรงใช้ท�ำ
สปริงล้อตามตัวหนอนในกังหันตะแกรงลวด งานต่อเรือเดินทะเล
3. บรอนซ์ตะกั่ว (Cu+Zn+Sn+Pb-BZPb) มีผิวลื่น รับแสงกดอัดบนผิวตัวมัน
เองใช้ท�ำเป็นวัสดุแบริ่ง
4. บรอนซ์เบริลเลียม (Cu+Zn+Sn+Be-BZBe) มีความยืดหยุ่น ชุบแข็งได้แต่
ต้องเผาให้ร้อน 700º-800ºC แล้วจุ่มในน�้ำ น�ำไปอบเหนียวที่อุณหภูมิ 250-400ºC ในสุญญากาศ
ท�ำสปริงแข็งท�ำจุดแหลมชนกัน ท�ำให้แบริ่งในเครื่องมืออุปกรณ์
5. ทองแดงหล่อ (Cu+Zn+Sn+Pb-BZPb) เป็นบรอนซ์ชนิดหนึ่งมีสีค่อนข้าง
แดง มีคุณสมบัติเป็นวัสดุแบริ่งที่ได้ใช้ท�ำแบริ่งใช้หล่อเป็นตัวหนอนและล้อตามตัวหนอน
2.2 สังกะสีผสมชนิดรีด
สังกะสีผสม (Zn+AI+Mn+Cu) ชนิดรีดมีอะลูมิเนียม 4-12%
คุณสมบัติ
1. เหมาะแก่งานรีด
2. มีความแข็งแรงน้อย
3. มีความเที่ยงขนาดน้อย
ประโยชน์
1. ใช้แทนทองเหลืองได้ดี
2.3 สังกะสีผสมชนิดอัดหล่อ
มีความแข็งแรงและมีความเทีย่ งมากกว่า และผิวงานเรียบร้อยดีกว่าชนิดรีด
คุณสมบัติ
1. มีความแข็งแรงมากกว่าชนิดรีด
2. มีความเที่ยงขนาดมากกว่าชนิดรีด
3. มีผิวงานที่เรียบร้อยดีกว่าชนิดรีด

art 3.indd 67 16/2/2558 14:07:15


68

ประโยชน์
1. ใช้หล่อชิ้นงานที่ยาก ๆ
2. ใช้หล่อชิ้นงานที่ต้องการผิวที่ได้ขนาด
3. ให้ความประณีตมาก
3. ดีบุกผสมและตะกั่วผสม
3.1 ดีบุกผสม
ดีบุกผสม (Sn+Pb+Bi+Cd+Sb) โลหะกลุ่มนี้เป็นโลหะที่มีจุดหลอมเหลวต�่ำ
คุณสมบัติ
1. มีความลื่นตัว
2. มีจุดหลอมเหลวต่ำ�
ประโยชน์
1. ทำ�โลหะบัดกรี
2. อุปกรณ์มิเตอร์วัดน้ำ�
3. ใช้ทำ�มิเตอร์ไฟฟ้า

โลหะบัดกรีชนิดต่าง ๆ
โลหะ มาตรฐาน ส่วนผสม % อุณหภูมิที่น้อยที่สุด ตัวอย่างงาน
โลหะบัดกรี 25 L Sn 25 Sn 25 257 ต้องบัดกรีด้วยเปลวไฟ
Sb 1.7 จากหัวเชื่อม
Pb ที่เหลือ
โลหะบัดกรี 60 L Sn 60 Sn 60 185 บัดกรีลวดลายและงาน
Sb 3.3 บัดกรีเดินสายทั่วไป
Pb ที่เหลือ
ทองเหลืองบัดกรี 63 L Ms 63 Cu 62-64 910 บัดกรีประสานท่อ
Zn 35 บัดกรีตัวถัง
Si 0.2-0.4
เงินบัดกรี 25 L Ag 25 Ag 24-26 780 บัดกรีละเอียดที่ต้องทน
Cu 43 ต่อความร้อนสูง
Zn ที่เหลือ

art 3.indd 68 16/2/2558 14:07:16


หน่วยที่ 3 วัสดุโลหะผสม  69

3.2 ตะกั่วผสม
ตะกั่วผสม (Pb+Sb+Sn+Cu) โลหะตะกั่วผสมที่ส�ำคัญ คือตะกั่วแข็ง (Hard
Lead) มีพลวง Sb 5-25%
คุณสมบัติ
1. ลื่น
2. รับภาระได้สูง (ทนต่อการสึกหรอ)
ประโยชน์
1. ทำ�แบริ่ง
2. ใช้หล่อทำ�ตัวพิมพ์ต่าง ๆ
4. นิกเกิลผสมและโลหะแบริ่ง
4.1 นิกเกิลผสม แบ่งเป็น
1. นิกเกิลผสมทองแดง (Ni+Cu) มีนิกเกิล 70% ทองแดง 30% เป็น
โลหะชนิดใหม่เรียกว่าโมเนล (Monel Metal) เป็นโลหะที่ทนต่อการกัดกร่อน และทนต่ออุณหภูมิ
ต่าง ๆ ได้ดี โลหะนี้ใช้ท�ำอุปกรณ์ไฟฟ้า ท�ำขดลวดต้านทาน แหวนลูกสูบเครื่องยนต์ และบรรทัด
โลหะ
2. นิกเกิลผสมเหล็ก (Ni+Fe) โลหะชนิดนี้เรียกว่า อินเวอร์ สตีล (Invar
Steel) โลหะนี้มีความเค้นแรงดึงสูงถึง 60 กก./ตร.มม. ขยายตัวได้น้อย ถ้านิกเกิล (Ni) ผสมอยู่
เกิน 25% ขึ้นไป เหล็กจะหมดคุณสมบัติแม่เหล็ก ถ้านิกเกิล 30% จะมีความต้านทานสูงใช้
ประโยชน์เหมือนกับนิกเกิลผสมทองแดง
3. นิกเกิลผสมโครเมียม (Ni+Cr) มีนิกเกิล 70-92% F8ig,up, 8-30%
ทนต่อความเร็วสูง ทนต่อกรดได้ดี ถ้าผสมโครเมียม 35% จะขึ้นรูปหรือปาดผิดได้ยาก
4.2 โลหะแบริ่ง (Bearing Metal)
โลหะแบริ่งเป็นโลหะผสม เรียกว่า ไวท์เมทัล (White Metal)
คุณสมบัติ
1. มีความเสียดทานน้อย
2. ลื่น
3. ไม่จับเพลา
4. ไม่กัดเพลา
5. ปรับเข้าศูนย์ได้ง่าย
6. ทนต่อการสึกหรอ
7. ทนการกัดกร่อน

art 3.indd 69 16/2/2558 14:07:16


70

4.3 ไวท์เมตอล (White Metal)


1. โลหะผสมตะกั่ว-พลวง (Pb+Sb) เป็นโลหะผสมตามอัตราส่วน แต่ถ้า
ผสมพลวงมากขึ้นจะมีความแข็งแรงและเปราะ ถ้าประสมพลวงประมาณ 15-20% รับภาระได้มาก
ขึ้น ประโยชน์ใช้ท�ำแบริ่งรองรับกับเพลาหมุน
2. โลหะผสมดีบุก-พลวง-ทองแดง (Sn+Sb+Cul) โดยทั่วไปเรียกโลหะนี้ว่า
โลหะแบบบิต (Babbitt Metal) ราคาแพงกว่าตะกั่วผสมพลวงแต่มีคุณสมบัติดีกว่าเพราะมีดีบุก
ผสมอยู่มาก ช่วยให้ไม่แข็งและมีความเปราะลดลงใช้งานเหมือนกับตะกั่วประสมพลวง
3. บรอนซ์ผสมตะกั่ว (Leaded Bronze) เป็นโลหะที่เกิดจากทองแดง-
ตะกั่ว-ดีบุก-นิกเกิล (Cu+Pb+Sn+Ni) เรียกว่า ไวท์เมตอล มีส่วนผสมของทองแดง 64% ตะกั่ว
30% ดีบุก 5% นิกเกิล 1% มีความแข็งแรงกว่าโลหะแบบชนิด แต่ใช้งานเหมือนกัน
4.4 สาเหตุของการกัดกร่อนและการช�ำรุดของแบริ่ง
1. สาเหตุจากขาดการหล่อลื่น
2. เศษโลหะชิ้นเล็ก ๆ หลุดเข้าไปแล้วเกิดการเสียดสี
3. ใช้งานไม่ถูกต้องกับชนิดของแบริ่ง
4. ความผิดพลาดในการติดตั้ง

โลหะเบาผสม
1. อะลูมิเนียม (Aluninum)
แร่ที่น�ำมาถลุง คือ แร่บอกไซด์ มีสินแร่ประมาณ 55% น�ำแร่มาสกัดเอาอะลูมินัม
(AI2O3) ออกแล้วน�ำแร่ไปผสมโซดาไฟเข้มข้นที่อุณหภูมิ 150-180ºC ที่ความดัน 7 บรรยากาศ
กรองสารละลายออกทิ้งให้เย็น อะลูมินัมจะตกผลึก น�ำผลึกนี้ไปเผาเพื่อไล่ความชื้น ต่อจากนัั้นน�ำ
อะลูมินัมไปถลุงในเตาไฟฟ้าที่อุณหภูมิ 900-950ºC อะลูมิเนียมจะแยกตัวมา โดยจะเกิดอยู่ใน
ขั้วลบ เป็นอะลูมิเนียมบริสุทธิ์
คุณสมบัติ
1. ทนต่อบรรยากาศ
2. น้ำ�หนักเบา
3. นำ�ไฟฟ้าได้
4. นำ�ความร้อนได้ดี
5. เชื่อมและบัดกรีได้
6. ทำ�ให้เป็นผลได้
7. ราคาถูก

art 3.indd 70 16/2/2558 14:07:16


หน่วยที่ 3 วัสดุโลหะผสม  71

ประโยชน์
1. ทำ�แผ่นสะท้อนแสง
2. สร้างยานอวกาศ
3. เป็นวัสดุก่อสร้าง
4. ทำ�ถังรถบรรทุกเคมีภัณฑ์
5. ทำ�สายเคเบิล
6. ทำ�แผ่นฟอยด์
7. ใช้สร้างเครื่องบิน
8. ทำ�ภาชนะอาหาร
9. ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
10. ถังน้ำ�มัน
11. ทำ�คอนแดนเซอร์วิทยุ
2. อะลูมิเนียมผสม
ส่วนใหญ่ผสมแมกนีเซียม ทองแดง ซิลิคอน นิกเกิล และแมงกานีส อะลูมิเนียมผสม
แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1. ชนิดนิ่ม (Gattung)
ก. ประเภท Gattung AI+Cu+Mg (อะลูมิเนียมผสมทองแดงและแมกนีเซียม) ได้
โลหะใหม่ คือดูลาลูมิน (Duralumin) เป็นโลหะผสมของอะลูมิเนียมที่ส�ำคัญ เพราะแข็งแรงเกือบ
เท่าเหล็กแต่เบากว่า ส่วนใหญ่ใช้ท�ำชิ้นส่วนเครื่องบิน และใช้งานที่อัดทาบผิวบนไว้ ป้องกันการ
กัดกร่อนได้ดี ถ้าต้องการน�ำไปกลึงก็ผสมตะกั่วลงไปประมาณ 15%
ข. ประเภท Gattung AI+Mg+Si (อะลูมิเนียมแมกนีเซียมและซิลิคอน) มีความ
แข็งแรงปานกลาง ขัดมันได้ส่วนงามมากใช้ท�ำโครงสร้างชิ้นงานในอุตสาหกรรมเคมี ปาดผิวได้ดี
แต่ต้องเติมตะกั่ว ดีบุก แคดเมียน และบิสมัทลงไป
ค. ประเภท Gattung AI+Mg (อะลูมิเนียมผสมแมกนีเซียม มีความแข็งแรง) ทน
ต่อการกัดกร่อน ทนต่อน�้ำทะเล ขัดขึ้นเงาได้ง่าย เคลือบสีได้
ง. ประเภท Gattung AI+Cu+Ni (อะลูมิเนียมผสมทองแดงประสมนิกเกิล) ตีขึ้น
รูปง่าย ใช้ท�ำฝาสูบ ลูกสูบเครื่องยนต์
2. ชนิดหล่อ (Gattung)
ก. Gattung G AI + Si (อะลูมิเนียมผสมซิลิคอน) เป็นอะลูมิเนียมผสมที่ใช้กับ
งานหล่อชิ้นงานเชื่อมประสานได้ แข็งและสึกหรอยาก
ข. Gattung G AI + Si + Mg (อะลูมิเนียมผสมซิลิคอนประสมแมกนีเซียม) เป็น
อะลูมิเนียมผสมที่เชื่อมประสานได้ แข็งและสึกหรอยาก

art 3.indd 71 16/2/2558 14:07:16


72

3. แมกนีเซียม (Mg)
โลหะแมกนีเซียมเตรียมได้จากน�้ำทะเลและแร่หินปูนโดโลไมต์ (มีลักษณะคล้ายหินปูน
หรือหินอ่อน) แมกนีเซียมในทะเลอยู่ในสภาพของแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ แมกนีเซียมในแร่หิน
ปูนโดโลไมด์เป็นแมกนีเซียมคาร์บอเนต
กรรมวิธีถลุงต้องเปลี่ยนสารแมกนีเซียมทั้ง 2 ให้เป็นแมกนีเซียมออกไซด์ ผสมกับกรดเกลือ
ท�ำปฏิกิริยากลายเป็นแมกนีเซียมคลอไรด์ แล้วน�ำไปแยกตัวด้วยไฟฟ้าได้แมกนีเซียมออกมา
คุณสมบัติ
1. เป็นโลหะที่เบาที่สุด
2. แข็งแรงน้อย ต้องผสมกับโลหะอื่น
3. แมกนีเซียมผสมชุบแข็งได้
4. ไม่ทนต่อการกัดกร่อน
5. ไม่ลุกติดไฟ เปลวไฟพะเนียง
ประโยชน์
1. ผสมกับโลหะอื่น
2. ใช้ทำ�หลอดไฟถ่ายรูป
3. ทำ�ดอกไม้ไฟ
4. แมกนีีเซียมประสม
การใช้งานของแมกนีเซียมผสมคล้ายกับอะลูมิเนียมผสม แต่ปาดผิวได้ง่ายกว่า ผิวจะ
เรียบกว่าโลหะอื่น ๆ แบ่งเป็น 2 ชนิดดังนี้
1. ชนิดนิ่ม ได้แก่
ก. Gattung Mg + Mn (แมกนีเซียมประสมแมงกานีส) แมงกานีสผสมชนิดนี้
เชื่อมได้ใช้กับงานอัดงานตีขึ้นรูป ท�ำถังน�้ำมันบนเครื่องบินมีลักษณะเป็นแผ่น ท่อ แท่ง ภาคตัด
เป็นรูปต่าง ๆ
ข. Gattung Mg + AI (แมกนีเซียมประสมอะลูมิเนียม) มีความแข็งแรงทนทานดี
มาก ใช้เป็นงานหล่อ งานตีขึ้นรูป เป็นเส้นที่มีหน้าตัดต่าง ๆ ได้ใช้ท�ำชิ้นส่วนรถยนต์ ชิ้นส่วน
เครื่องจักร
2.. ชนิดหล่อ ได้แก่
ก. Gattung G Mg + AI +Zn (แมกนีเซียมประสมอะลูมิเนียมผสมสังกะสี) ใช้กับ
งานหล่อ มีอัตรายึดตัวมาก แข็งแรงรับภาระได้สูง ทนต่อแรงกระแทกได้ดี ใช้ท�ำชิ้นส่วนอะไหล่
รถยนต์

art 3.indd 72 16/2/2558 14:07:16


หน่วยที่ 3 วัสดุโลหะผสม  73

5. ไทเทเนียม (Ti)
ไทเทเนียมเป็นธาตุที่มีความหนาแน่นต�่ำ (ประมาณ 60% ของความหนาแน่นของ
เหล็ก) ซึ่งสามารถท�ำให้แข็งแรงได้เพียงพอ โดยกระบวนการเจือและประสิทธิ์ทางความร้อนต�่ำกว่า
เหล็กและน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของอะลูมิเนียม
คุณสมบัติ
1. มีจุดหลอมเหลวสูง (1,727ºC)
2. น้ำ�หนักเบา
3. มีความแข็งแรงสูง
4. ทนต่อการกัดกร่อนได้ดี
5. มีความแข็ง
ประโยชน์
1. ทำ�โครงสร้างจรวด
2. ทำ�โครงสร้างยานอวกาศ
3. ทำ�คีบเทอร์ไบน์ของเครื่องยนต์ไอพ่น
4. ทำ�แผ่นกั้นความร้อน
6. เซอร์โคเนียม (Zr)
เซอร์โคเนียมเป็นโลหะที่มีจุดหลอมเหลว 1852ºC จุดเดือด 4377ºC พบอยู่ในรูปของ
แร่เซอร์คอน (ZrSio4) เกิดตามแหล่งแร่ดีบุก ถลุงโดยน�ำแร่เซอร์คอนไปถลุงในเตาที่อุณหภูมิ 800-
1000ºC โดยใช้คาร์บอนเป็นตัวรีดิวซ์ จะได้โลหะเซอร์โคเนียมที่ไม่บริสุทธิ์ น�ำโลหะไปเผาที่
อุณหภูมิ 500ºC และพ่นก๊าซคลอรีนลงไปตลอดเวลาจะได้ไอของ ZrCI4 เมื่อควบแน่นจะได้ผลึก
ZrCI4 น�ำผลึก ZrCI4 ท�ำปฏิกิริยากับโลหะแมกนีเซียมที่หลอมเหลวในตัว ภายใต้บรรยากาศของ
ก๊าซเฉื่อยจะได้ Zr
7. เบริลเลียม (Be)
เบริลเลียมมีความหนาแน่น 1.85 kg/dm3 จุดหลอมเหลว 1285ºC เป็นโลหะที่มีอัตรา
การยึดตัวน้อยมาก ถ้าใช้เป็นโลหะผสมจะท�ำให้โลหะผสมเหล่านั้นมีความแข็งเพิ่มมากขึ้นข้อระวัง
คือ ไอหรือฝุ่นของเบริลเลียมเป็นพิษต่อร่างกาย เบริลเลียมสามารถน�ำไปใช้เป็นโลหะผสมทองแดง
นอกจากนั้นยังใช้กับงานที่ต้องการความแข็งแรงสูง ทนต่อการกัดกร่อนได้ดี
คุณสมบัติ
1. ยึดตัวได้น้อย
2. น้ำ�หนักเบา
3. ไอหรือฝุ่นเป็นพิษต่อร่างกาย

art 3.indd 73 16/2/2558 14:07:16


74

4. ทนความร้อนได้ 1,285ºC
5. มีความแข็งแรง
6. ทนต่อการกัดกร่อนได้สูง
ประโยชน์
1. ใช้เป็นโลหะผสม
2. ใช้กับงานที่ต้องการความแข็งแรง
3. สร้างยานอวกาศ
4. เป็นวัสดุก่อสร้าง
5. ทำ�ถังรถบรรทุกเคมีภัณฑ์
6. ถังน้ำ�มัน
7. ทำ�โลหะผสม
8. ทำ�คอนเดนเซอร์วิทยุ

art 3.indd 74 16/2/2558 14:07:16


หน่วยที่ 3 วัสดุโลหะผสม  75

คำ�ศัพท์ท้ายหน่วยที่ 3

คำ�ศัพท์ ความหมาย
Alloy โลหะเจือ, โลหะผสม, สารเนื้อเดียวที่ได้จากการผสมโลหะ 2 ชนิดขึ้นไป
เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้สมบัติตามต้องการ เช่น ทองเหลืองเป็นโลหะผสม
ระหว่างทองแดงกับสังกะสี

Ns เป็นเงินเยอรมัน สัญลักษณ์ Ns เป็นโลหะผสมระหว่างทองแดง 40-70%


สังกะสี 20-45% นิกเกิล 10-30% มีสีคล้ายเงิน ผลิตครั้งแรกในประเทศ
เยอรมนี จึงเรียกว่า “เงินเยอรมัน” มีคุณสมบัติแข็ง คม ทนอุณหภูมิสูง ทน
การกัดกร่อน ดึง รีด ขึ้นรูปได้ง่าย นิยมใช้ทำ�เครื่องมือที่มีคมและส่วนผสม
ของลวดเชื่อม เป็นต้น

Bz บรอนซ์ (Bronze) สัญลักษณ์ BZ เป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับโลหะ


อื่นโดยมีทองแดงเป็นโลหะหลักอยู่ระหว่าง 60-98% โลหะอื่นที่นำ�มาผสม
ได้แก่ อะลูมิเนียม ดีบุก นิกเกิล ซิลิคอน ฟอสฟอรัส แมงกานีส หรืออาจ
เป็นสังกะสีเพียงบางส่วน การผสมอาจใช้โลหะผสมมากกว่า 1 ชนิดก็ได้

Zinc Alloy เป็นสังกะสีผสม เกิดจากโลหะผสมที่มีสังกะสีเป็นองค์ประกอบหลัก แบ่ง


เป็น 2 กลุ่มคือ สังกะสีผสมหล่อและสังกะสีผสมใช้แรงขึ้นรูป กลุ่มสังกะสี
ผสมหล่อใช้การหล่อขึ้นรูป โดยอาจใช้แบบหล่อทรายหรือหล่อฉีดเข้าแม่
พิมพ์ มักเป็นโลหะผสมสังกะสีกับอะลูมิเนียม ซึ่งมีสมบัติที่ดีเหมาะสำ�หรับ
งานหล่อ ส่วนสังกะสีผสมใช้แรงขึ้นรูปส่วนใหญ่ เป็นสังกะสีผสมแคดเมียม
สังกะสีผสมตะกั่ว และสังกะสีผสมทองแดง ซึ่งสังกะสีที่ผสมไปในโลหะดัง
กล่าว จะช่วยเพิ่มสมบัติที่ดีต่าง ๆ เช่น ความต้านทานการกัดกร่อน ความ
เหนียว และความแข็งแรงของโลหะผสมให้สูงขึ้น

สรุปสาระการเรียนรู้หน่วยที่ 3

วัสดุโลหะผสม เป็นวัสดุโลหะที่นำ�โลหะตั้งแต่ 2 อย่างมาหลอมละลายในเนื้อเดียวกัน การ


ผลิตโลหะผสมปัจจุบันได้พัฒนาไปมาก โดยทำ�ให้มีคุณสมบัติเหมาะสมตรงตามความต้องการ
ของงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ

art 3.indd 75 16/2/2558 14:07:16


76
แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 3

ตอนที่ 1 ให้เลือกคำ�ตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. โลหะผสมแบ่งได้กี่ชนิด
ก. 2 ข. 3
ค. 4 ง. 5
2. โลหะหนักผสมจะมีความหนาแน่นมากกว่าเท่าไร
ก. 3 กก. /ซม.3 ข. 4 กก. /ซม.3
ค. 5 กก. /ซม.3 ง. 6 กก. /ซม.3
3. สารใดเป็นสารเนื้อเดียว
ก. ข้าวเหนียวน้ำ�กะทิ  ข. เกลือปนน้ำ�ตาล
ค. พริกป่นปนเกลือ ง. ผงเหล็กในกองเหล็ก
4. ข้อใดเป็นสารเนื้อผสม
ก. น้ำ�ตาลทราย  น้ำ�  อากาศ ข. น้ำ�ส้มสายชู  ด่างทับทิม  น้ำ�หอม
ค. ทองเหลือง  เกลือแกง  ดีบุก ง. น้ำ�ปนน้ำ�มัน  พริกป่นปนน้ำ�ปลา  พริกน้ำ�ส้ม
5. โลหะผสมจัดเป็นข้อใด
ก. สารละลาย ข. สารประกอบ
ค. ของผสม ง. ธาตุ
6. โลหะผสมระหว่างทองคำ�กับทองแดงเรียกว่าอะไร
ก. ทองเหลือง  ข. ทองสัมฤทธิ์
ค. นาก ง. ทองดอกบวบ
7. ทองเหลืองเป็นโลหะผสมของข้อใด
ก. ทองเหลืองกับดีบุก ข. ทองเหลืองกับอะลูมิเนียม 
ค. ทองแดงกับสังกะสี ง.   ทองแดงกับเหล็ก
8. ข้อใดเป็นคุณสมบัติของดีบุกผสม
ก. มีความแข็งแรงสูง ข. มีความลื่นตัว
ค. มีความแข็ง ง. ทนต่อแรงกระแทก
9. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของแมกนีเซียม
ก. มีความแข็งแรงน้อย ข. ไม่ทนต่อการกัดกร่อน
ค. ผสมโลหะอื่นได้ ง. มีความแข็งสูง
10. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของไทเทเนียม
ก. มีจุดหลอมเหลวต่ำ� ข. น้ำ�หนักเบา
ค. มีความแข็งแรงสูง ง. ทนต่อการกัดกร่อน

art 3.indd 76 16/2/2558 14:07:16


หน่วยที่ 3 วัสดุโลหะผสม  77

ตอนที่ 2 ตอบคำ�ถามต่อไปนี้
1. อธิบายความหมายของโลหะผสมมาพอสังเขป
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
2. โลหะผสมสามารถจำ�แนกได้กี่ชนิด อะไรบ้าง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
3. โลหะหนักผสม หมายถึง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
4. โลหะหนักผสมมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
5. เงินเยอรมันสามารถใช้ทำ�อุปกรณ์อะไรบ้าง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
6. โลหะเบาผสมหมายถึง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
7. อธิบายกรรมวิธีการผลิตอะลูมิเนียมผสมอย่างถูกต้อง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
8. แมกนีเซียมผสมมีคุณสมบัติอย่างไร
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
9. แมกนีเซียมผสมชนิดนิ่มสามารถนำ�ไปใช้ทำ�อะไรได้บ้าง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
10. โลหะยิ่งบริสุทธิ์จุดหลอมเหลว ................... กว่าโลหะผสม

art 3.indd 77 16/2/2558 14:07:16


78

กิจกรรมการเรียนรู้หน่วยที่ 3

1 ผู้สอนกล่าวทักทายผู้เรียน พร้อมเช็กชื่อผู้เรียน
2. ผู้สอนแจกหนังสือเรียนและบทเรียนโมดูล ให้ผู้เรียนจัดกลุ่ม 3 คน ศึกษาร่วมกัน
พร้อมกับทำ�แบบทดสอบ
3. ผู้สอนอธิบายความหมาย ชนิด ข้อดี และข้อเสียของวัสดุโลหะหนักผสม
4. ผู้สอนอธิบายโลหะหนักผสม และโลหะเบาผสม
5. ผู้สอนมอบหมายงานให้ผู้เรียนปฏิบัติงาน ตามหลักการ วิธีการ และกิจนิสัยที่ดี
ในการปฏิบัติงานโดยให้ผู้เรียนทำ�แบบฝึกหัดทบทวนหรือใบงานภายในห้องเรียน
สามารถเปิดหนังสือควบคู่ในการตอบคำ�ถามได้
6. ผู้เรียนปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายโดยใช้ใบความรู้หรือเอกสารประกอบการเรียน
อย่างคุ้มค่า เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน และปฏิบัติงานด้วยความ
ซื่อสัตย์ สุจริต มุ่งมั่น ใช้เหตุผล และสติปัญญา

art 3.indd 78 16/2/2558 14:07:16


หน่วยที่ 4 อิทธิพลของธาตุที่มีต่อโลหะผสม  79

หน่วยที่

4 อิทธิพลของธาตุที่มีต่อโลหะผสม

สาระการเรียนรู้
1. ความหมาย ชนิด และสมบัติของธาตุ
2. วัตถุประสงค์ในการนำ�ธาตุต่าง ๆ มาผสมในเนื้อเหล็ก
3. อิทธิพลของธาตุที่มีต่อโลหะผสมต่าง ๆ

สมรรถนะการเรียนรู้
1. อธิบายความหมาย ชนิด และสมบัติของธาตุได้
2. บอกวัตถุประสงค์ในการนำ�ธาตุต่าง ๆ มาผสมในเนื้อเหล็กได้
3. อธิบายอิทธิพลของธาตุที่มีต่อโลหะผสมต่าง ๆ ได้

art 4.indd 79 16/2/2558 14:08:24


80

หน่วยที่ 4 อิทธิพลของธาตุที่มีต่อโลหะผสม
ความหมาย ชนิด และสมบัติของธาตุ
ความหมายของธาตุ
ธาตุ (Element) หมายถึง สารเนื้อเดียวล้วนซึ่งประกอบด้วยบรรดาอะตอมที่มีโปรตอน
จำ�นวนเดียวกันในนิวเคลียส มีสถานะต่าง ๆ ทั้งของแข็ง ของเหลว และก๊าซ จัดเป็นสารบริสุทธิ์ที่
ไม่สามารถแยกสลายเป็นสารอื่นได้โดยวิธีทางเคมี
ชนิดของธาตุ
ธาตุแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ ธาตุที่เป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ
1. ธาตุโลหะ (Metal) เป็นธาตุที่เกิดจากอะตอมชนิดเดียวกันรวมกันเป็นโครงผลึก ส่วน
ใหญ่มีสถานะเป็นของแข็ง ผิวมันวาว เหนียว เมื่อดึงจะเป็นเส้น ถ้าทุบจะเป็นแผ่นบาง ๆ ได้ เป็น
กลุ่มธาตุที่เป็นตัวนำ�ไฟฟ้าและนำ�ความร้อนได้ดี ส่วนใหญ่มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง ยกเว้น
โลหะที่มีสถานะเป็นของเหลวคือปรอท

ลำ�ดับ ชื่อภาษาไทย ชื่อภาษาอังกฤษ สัญลักษณ์ทางเคมี


1 พลวง Antimony Sb
2 อะลูมิเนียม Aluminium Al
3 บิสมัท Bismuth Bi
4 โบรอน Boron B
5 แคดเมียม Cadmium Cd
6 โครเมียม Chromium Cr
7 โคบอลต์ Cobalt Co
8 ทองแดง Copper Cu
9 ทอง Aurum Au
10 เหล็ก Iron Fe
11 ตะกั่ว Lead Pb
12 แมกนีเซียม Magnesium Mg
13 แมงกานีส Manganese Mu
14 โมลิบดีนัม Molybdenum Mo

art 4.indd 80 16/2/2558 14:08:24


หน่วยที่ 4 อิทธิพลของธาตุที่มีต่อโลหะผสม  81

ลำ�ดับ ชื่อภาษาไทย ชื่อภาษาอังกฤษ สัญลักษณ์ทางเคมี


15 นิกเกิล Nickel Ni
16 ทองคำ�ขาว Platinum Pt
17 เงิน Silver Ag
18 แทนทาลัม Tantalum Ta
19 เทลลูเรียม Tellurium Te
20 ดีบุก Tin Sn
21 ไทเทเนียม Titanium Ti
22 สังกะสี Zinc Zn
23 ปรอท Mercury Hg
24 ยูเรเนียม Uranium U
25 วาเนเดียม Vanadium V

2. ธาตุอโลหะ (Non-metal) เป็นธาตุที่ประกอบด้วยอะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน ที่มี
สถานะเป็นทั้งของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ถ้ามีสถานะเป็นของแข็งจะเปราะ ผิวไม่มันวาว ส่วน
ใหญ่มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ� ยกเว้นธาตุคาร์บอนที่มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง เป็น
กลุ่มธาตุที่ไม่นำ�ไฟฟ้า
ลำ�ดับ ชื่อภาษาไทย ชื่อภาษาอังกฤษ สัญลักษณ์ทางเคมี
1 คาร์บอน Carbon C
2 คลอรีน Chlorine Cl
3 ฟอสฟอรัส Phosphorus P
4 ออกซิเจน Oxygen O
5 ไฮโดรเจน Hydrogen H
6 ไนโตรเจน Nitrogen N
7 กำ�มะถัน Sulphur S
8 ซิลิคอน Silicon Si
 
3. ธาตุกึ่งโลหะ (Metalloid) เป็นธาตุที่มีคุณสมบัติทั้งโลหะและอโลหะ มีสมบัติบาง
ประการคล้ายโลหะ เช่น นำ�ไฟฟ้าได้บ้างที่อุณหภูมิปกติ และนำ�ไฟฟ้าได้มากขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
เป็นของแข็ง มันวาวสีเงิน จุดเดือดสูง แต่เปราะง่ายคล้ายอโลหะ

art 4.indd 81 16/2/2558 14:08:24


82

สมบัติของธาตุ
สมบัติของธาตุในแง่ของความเป็นมันวาว การนำ�ความร้อน การนำ�ไฟฟ้า ความเปราะ (หรือ
ความเหนียว) จุดหลอมเหลว จุดเดือด รวมทั้งสมบัติความเป็นกรด-เบสของออกไซด์ ซึ่งใช้เป็น
เกณฑ์สำ�หรับการแบ่งธาตุออกเป็นโลหะและอโลหะ
ตารางเปรียบเทียบสมบัติของโลหะและอโลหะ
สมบัติของโลหะ สมบัติของอโลหะ
1. มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง ยกเว้น 1. ที่ อุ ณ หภู มิ ห้ อ งมี ไ ด้ ทุ ก สถานะ ทั้ ง ของแข็ ง
ปรอทซึ่งเป็นของเหลว ของเหลวและก๊าซ
2. เมื่อขัดจะมีความมันวาว 2. เมื่อขัดจะไม่มีความมันวาว
3. นำ � ไฟฟ้ า และนำ � ความร้ อ นได้ ดี แต่ ก ารนำ � 3. ไม่นำ�ไฟฟ้าและความร้อน ยกเว้นบางตัว เช่น
ไฟฟ้าจะลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น แกร์ไฟต์นำ�ไฟฟ้าได้
4. เคาะจะมีเสียงกังวาน 4. เคาะจะไม่มีเสียงกังวาน
5. แข็งและเหนียว สามารถตีแผ่ให้เป็นแผ่นหรือ 5. ส่วนมากเปราะ ไม่สามารถจะทำ�ให้เป็นแผ่นหรือ
ดึงเป็นเส้นได้ เป็นเส้นได้
6. มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง 6. ส่วนมากมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ�
7. มีความหนาแน่นและความถ่วงจำ�เพาะสูง 7. ส่วนมากมีความหนาแน่นและความถ่วงจำ�เพาะ
ต่�ำ
8. เป็นพวกชอบให้อิเล็กตรอน ทำ�ให้เกิดเป็น 8. เป็ น พวกชอบรั บ อิ เ ล็ ก ตรอน ทำ � ให้ เ กิ ด เป็ น
ไอออนบวก ไอออนลบ
9. เกิดเป็นสารประกอบ เช่น ออกไซด์ คลอไรด์ 9. เกิดเป็นสารประกอบ เช่น ออกไซด์ คลอไรด์
ซัลไฟด์ และไฮไดรด์ได้ ซัลไฟด์ และไฮไดรด์ได้
10. ส่ ว นใหญ่ จ ะทำ � ปฏิ กิ ริ ย ากั บ กรดเจื อ จางให้ 10. ไม่ทำ�ปฏิกิริยากับกรดเจือจาง
ก๊าซไฮโดรเจน

โลหะมีสมบัติบางอย่างคล้ายกับสารประกอบไอออนิก เช่น เป็นของแข็ง มีจุดหลอมเหลว


สูง และมีสมบัติเฉพาะตัวของโลหะ เช่น นำ�ไฟฟ้า นำ�ความร้อน รีดเป็นแผ่น ดึงเป็นเส้น รวมทั้ง
สะท้อนแสงได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบการนำ�ไฟฟ้าของโลหะกับสารไอออนิกจะพบว่า
ต่างกันมาก สารไอออนิกที่หลอมเหลวจะมีการนำ�ไฟฟ้าได้น้อยกว่าโลหะมาก แม้ว่าจะมีอุณหภูมิ
สูง การที่โลหะเป็นพวกชอบให้อิเล็กตรอน เพราะมีพลังงานไอออไนเซชันต่ำ� แต่พวกอโลหะ
มีพลังงานไอออไนเซชันและอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูง จึงเป็นพวกชอบรับอิเล็กตรอน

art 4.indd 82 16/2/2558 14:08:24


หน่วยที่ 4 อิทธิพลของธาตุที่มีต่อโลหะผสม  83

นอกจากสมบัติเกี่ยวกับความเป็นโลหะแล้ว ยังมีสมบัติอื่น ๆ อีกบางประการเพื่อใช้


ประกอบการจัดธาตุออกเป็นหมวดหมู่ สถานะ สี ความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา จุดหลอมเหลว
และความหนาแน่น ดังนี้
ตารางแสดงสมบัติบางประการของ 20 ธาตุแรก เรียงตามมวลอะตอม
ลักษณะที่ ความเป็น ความว่องไวใน
ธาตุ สัญลักษณ์ มวลอะตอม mp (0C) d (g/cm3)
อุณหภูมิปกติ โลหะ-อโลหะ การเกิดปฏิกิริยา
ไฮโดรเจน H 1.008 ก๊าซไม่มีสี -259 0.07* อโลหะ มาก
ฮีเลียม He 4.003 ก๊าซไม่มีสี -272 0.15* โลหะ ไม่เกิด
ลิเทียม Li 6.94 ของแข็งสีเงิน 180 0.53 โลหะ มาก
เบริลเลียม Be 9.01 ของแข็งสีเงิน 1280 1.45 โลหะ ปานกลาง
โบรอน B 10.81 ของแข็งสีดำ� 2030 2.34 กึ่งโลหะ ปานกลาง
คาร์บอน C 12.01 ของแข็งสีดำ� 3730 2.26 อโลหะ น้อย
ไนโตรเจน N 14.01 ก๊าซไม่มีสี -210 0.81* อโลหะ ปานกลาง
ออกซิเจน O 16.00 ก๊าซไม่มีสี -219 1.15* อโลหะ มาก
ก๊าซสีเหลือง
ฟลูออรีน F 19.00 -220 1.51* อโลหะ มาก
อ่อน
นีออน Ne 20.18 ก๊าซไม่มีสี -249 1.20* อโลหะ ไม่เกิด
โซเดียม Na 22.99 ของแข็งสีเงิน 98 0.97 โลหะ มาก
แมกนีเซียม Mg 24.31 ของแข็งสีเงิน 650 1.74 โลหะ มาก
อะลูมิเนียม Al 26.98 ของแข็งสีเงิน 660 2.70 โลหะ ปานกลาง
ซิลิคอน Si 28.09 ของแข็งสีเทา 1410 2.33 กึ่งโลหะ ปานกลาง
ฟอสฟอรัส P 30.97 ของแข็งสีขาว 44 1.82 อโลหะ มาก
ของแข็ง
กำ�มะถัน S 32.06 113 1.96 อโลหะ ปานกลาง
สีเหลือง
คลอรีน Cl 35.45 ก๊าซสีเขียวอ่อน -101 1.56* อโลหะ มาก
โพแทสเซียม K 39.10 ของแข็งสีเงิน 64 0.86 โลหะ มาก
อาร์กอน Ar 39.95 ก๊าซไม่มีสี -189 1.40 อโลหะ ไม่เกิด
แคลเซียม Ca 40.08 ของแข็งสีขาว 838 1.55 โลหะ มาก
mp = จุดหลอมเหลว d = ความหนาแน่น * = ความหนาแน่นขณะเป็นของเหลว

นอกจากนีย้ งั มีสมบัตเิ กีย่ วกับความมันวาว การนำ�ความร้อน การนำ�ไฟฟ้า และความเหนียว


ของธาตุบางชนิด ดังนี้

art 4.indd 83 16/2/2558 14:08:24


84

ตารางแสดงสมบัติอื่น ๆ บางประการของธาตุบางชนิด

ธาตุ ความมันวาว การนำ�ความร้อน การนำ�ไฟฟ้า ความเหนียว

Al เป็นมันวาว นำ�ได้ดี นำ�ได้ดี เหนียว


Mg เป็นมันวาว นำ�ได้ดี นำ�ได้ดี เหนียว
C (แกรไฟต์) ไม่มันวาว นำ�ได้ดี นำ�ได้ดี เปราะ
S ไม่มันวาว ไม่นำ� ไม่นำ� เปราะ
P ไม่มันวาว ไม่นำ� ไม่นำ� เปราะ

วัตถุประสงค์ในการนำ�ธาตุต่าง ๆ มาผสมในเนื้อเหล็ก
1. เพื่อให้สามารถทนต่อแรงกระแทกได้สูง
2. เพื่อรักษาความแข็งของผิวให้ทนต่อการสึกหรอหรือการตัด
3. เพื่อเพิ่มความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
4. เพื่อเพิ่มสมบัติทางเชิงกลในการใช้งานที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำ�
5. เพื่อเพิ่มความแข็งแรงในการรับภาระ (Load)
6. เพื่อรักษาความสามารถในการแปรรูปบนเครื่องจักรได้ดี
7. เพือ่ เพิม่ สมบัตทิ างเชิงกล ตลอดจนการควบคุมองค์ประกอบซึง่ มีผลต่อความสามารถ
ในการชุบแข็ง และเพิ่มความเหนียว

อิทธิพลของธาตุที่มีผลต่อโลหะผสมต่าง ๆ
อิทธิพลของธาตุที่มีต่อเหล็กดิบ
เหล็กดิบจะมีความแข็งและเปราะ ดังนั้นจึงมีความแข็งแรงและมีความเหนียวไม่มากนัก ทน
ต่อแรงกระแทกได้น้อย เหล็กดิบส่วนมากจะถูกนำ�ไปหล่อเป็นเหล็กชนิดต่าง ๆ เช่น เหล็กหล่อ
และเหล็กกล้า
อิทธิพลของธาตุที่ประสมอยู่ในเหล็กดิบ ธาตุชนิดต่าง ๆ ที่ประสมอยู่ในเหล็กดิบจะทำ�ให้
เหล็กดิบมีสมบัติดังนี้
1. คาร์บอน (Carbon : C) คาร์บอนมีอิทธิพลต่อจุดหลอมเหลวของเหล็ก คือ จะทำ�ให้
จุดหลอมเหลวต่ำ�ลงจึงทำ�ให้เหล็กหลอมได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังทำ�ให้เหล็กแข็งขึ้นจนสามารถชุบ
แข็งได้ความเหนียวและอัตราการขยายตัวลดลง สมบัติในการตีขึ้นรูปและการเชื่อมประสานลดลง

art 4.indd 84 16/2/2558 14:08:25


หน่วยที่ 4 อิทธิพลของธาตุที่มีต่อโลหะผสม  85

2. ซิลิคอน (Silicon : Si) ซิลิคอนในเนื้อเหล็กจะรวมตัวกับคาร์บอน เกิดเป็น


ซิลิคอนคาร์ไบด์ ซึ่งมีความแข็งมาก ดังนั้นเหล็กที่มีซิลิคอนผสมอยู่มากเกินไปจะมีความเปราะ
และแตกหักง่าย สมบัติในการเชื่อมประสานและปาดผิวลดลง แต่ทำ�ให้มีความคงทนต่อการ
กัดกร่อนได้ดี
3. แมงกานีส (Manganese : Mn) แมงกานีสที่ผสมอยู่ในเหล็กดิบจะทำ�ให้เหล็กมี
ความแข็งและทนต่อการสึกหรอได้ดี และมีจุดหลอมเหลวเพิ่มขึ้นด้วย
4. ฟอสฟอรัส (Phoshorus : P) ฟอสฟอรัสถ้ามีมากในสินแร่เหล็กจะทำ�ให้การถลุง
ยากขึ้น และถ้ามีมากในเนื้อเหล็กจะทำ�ให้เปราะหักง่ายที่อุณหภูมิเย็น แต่ถ้ามีน้อยจะช่วยให้
สามารถหล่อได้บาง ๆ หลอมไหลได้ง่ายและสะดวกในการเทลงแบบ
5. กำ�มะถัน (Sulphur : S) กำ�มะถันถ้ามีมากในเนื้อเหล็กจะทำ�ให้เหล็กเปราะหักง่าย
ณ ที่อุณหภูมิสูง ๆ ทำ�ให้การหลอมไหลยากจนไม่สะดวกที่จะเทลงแบบ ดังนั้น การนำ�ไปใช้งานที่
อุณหภูมิสูงจึงไม่ดี
อิทธิพลของธาตุที่มีผลต่อเหล็กหล่อ
เหล็กหล่อมีอยู่หลายชนิดซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นชนิดหรือกลุ่มใหญ่ๆ ได้หลายกลุ่ม โดย
แบ่งออกตามลักษณะการรวมตัวกันของคาร์บอนและโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลัก
อิทธิพลของธาตุที่ผสมอยู่ในเหล็กหล่อ อยู่ในเหล็กหล่อจะทำ�ให้เหล็กดิบมีสมบัติดังนี้
1. คาร์บอน (Corbon : C) เหล็กหล่อที่มีส่วนผสมของคาร์บอนมากจะมีความแข็งมาก
แต่จะมีจุดหลอมละลายต่ำ� โดยจะดูอุณหภูมิ อัตราส่วนผสม และปริมาณคาร์บอนโดยน้ำ�หนัก
2. ซิลิคอน (Silicon : Si) เป็นตัวช่วยให้เกิดแกรไฟต์ในเหล็กหล่อ ถ้าเหล็กหล่อมี
ซิลิคอนผสมอยู่มากจะเป็นเหล็กหล่อสีเทา
3. กำ�มะถัน (Sulphur : S) มีผลต่อเหล็กหล่อ คือ เป็นตัวกันไม่ให้คาร์บอนรวมตัวกัน
อยู่ในรูปของแกรไฟต์ ทำ�ให้เกิดแกรไฟต์ได้น้อย เหล็กหล่อที่มีกำ�มะถันผสมอยู่มากจะเป็นเหล็ก
หล่อสีขาว
4. แมงกานีส (Manganese : Mn) ถ้ารวมตัวกับกำ�มะถันจะได้แมงกานีสซัลไฟต์
ซึ่งแมงกานีสซัลไฟต์นี้เป็นตัวช่วยให้คาร์บอนแยกตัวออกมารวมกันอยู่ในรูปของแกรไฟต์ แต่
ตัวแมงกานีสเองมีคุณสมบัติช่วยให้คาร์บอนรวมกับเหล็กในรูปของซีเมนไตต์ (Cementite) และ
รักษาโครงสร้างได้
5. ฟอสฟอรัส (Phoshorus : P) ไม่มีผลในการรวมตัวของคาร์บอนในเหล็กหล่อ
ฟอสฟอรัสจะช่วยให้น้ำ�เหล็กไหลได้ง่าย โดยจะรวมกับเหล็กเป็น ฟอสไฟด์ (Phosphide) ซึ่งมีจุด
หลอมละลายต่ำ� Fe – Fe3C – Fe3P มีจุดหลอมละลายประมาณ 960 องศาเซลเซียส

art 4.indd 85 16/2/2558 14:08:25


86
อิทธิพลของธาตุที่มีเหล็กหล่อผสม
เหล็กหล่อผสมหรือเหล็กหล่อพิเศษเป็นเหล็กหล่อที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้มีคุณสมบัติตามที่
ต้องการ เหล็กหล่อชนิดนี้มีอยู่หลายประเภทขึ้นอยู่กับสารหรือโลหะที่ผสมในเนื้อเหล็กหล่อ แบ่ง
ตามการใช้งานได้ 3 ประเภท คือ เหล็กหล่อผสมทนการเสียดสี เหล็กหล่อผสมทนต่อความร้อน
และเหล็กหล่อผสมทนต่อการกัดกร่อน
อิทธิพลของธาตุที่ผสมอยู่ในเหล็กหล่อผสมจะทำ�ให้เหล็กหล่อผสมมีสมบัติดังนี้
1. โครเมียม (Chromium : Cr) จะรวมตัวกับคาร์บอนในเหล็กหล่อกลายเป็น
โครเมียมคาร์ไบด์ ทำ�ให้เหล็กหล่อมีสมบัติทนต่อการเสียดสีได้สูง มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
2. แมงกานีส (Manganese : Mn) จะรวมตัวกับคาร์บอนเกิดเป็นคาร์ไบด์ ทำ�ให้
เหล็กแข็งขึ้น แต่ถ้ามีมากจะทำ�ให้เหล็กหล่อเปราะ
3. ทองแดง (Copper : Cu) จะช่วยให้เกิดโครงสร้างที่แข็งแรงในเหล็กหล่อ แต่ถ้ามี
มาก (มากกว่า 2%) จะทำ�ให้ความสามารถในการทนต่อแรงดึงลดลง
4. ฟอสฟอรัส (Phosphorus : P) จะเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนจากกรดเกลือ
กรดกำ�มะถัน และกรดแอซีติก แต่ถ้ามีมากจะทำ�ให้เหล็กหล่อเปราะ มีความเค้นแรงดึงต่ำ�
5. นิกเกิล (Nickel : Ni) ทำ�ให้เหล็กหล่อไม่เป็นสนิมและยังช่วยให้เกิดแกรไฟต์ด้วย
6. โมลิบดีนัม (Molybdenum : Mo) ทำ�ให้เหล็กหล่อทนต่อการพองตัวที่อุณหภูมิสูง
และทำ�ให้ชุบแข็งได้ดียิ่งขึ้น
อิทธิพลของธาตุที่มีต่อเหล็กกล้า
เหล็กกล้าทั้งหมดจะมีวัสดุธาตุอื่นผสมอยู่ในเนื้อเหล็กที่มีคาร์บอน ส่วนผสมโดยทั่วไป
ที่ผสมเรียกว่า ธาตุที่มาผสม (Alloying Element) ธาตุที่นำ�มาผสมอาจมีเล็กน้อย แต่ส่งผลที่
ยิ่งใหญ่ในด้านคุณสมบัติของเหล็กกล้าดังนี้
1. คาร์บอน (Carbon : C) เป็นธาตุที่สำ�คัญที่สุด จะต้องมีผสมอยู่ในเนื้อเหล็ก
มี คุ ณ สมบั ติ ทำ � ให้ เ หล็ ก แข็ ง เพิ่ ม ขึ้ น หลั ง จากนำ � ไปอบชุ บ ตั ว กั บ เนื้ อ เหล็ ก เป็ น สารที่ เรี ย กว่ า
มาร์เทนไซต์ (Martensite) และซีเมนไตต์ (Cementite) นอกจากนั้น คาร์บอนยังสามารถ
รวมตัวกับเหล็กและธาตุอื่น ๆ กลายเป็นคาร์ไบด์ (Carbide) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความต้านทาน
ต่อการสึกหรอของเหล็ก อย่างไรก็ตาม คาร์บอนจะลดความยืดหยุ่น ความสามารถในการตีขึ้นรูป
และความสามารถในการเชื่อม และไม่มีต่อความต้านทานการกัดกร่อน
2. อะลูมิเนียม (Aluminium : Al) เป็นธาตุที่นิยมใช้เป็นตัวไล่ก๊าซออกซิเจนและ
ไนโตรเจนมากที่สุด ซึ่งผสมอยู่เล็กน้อยในเหล็ก จะมีผลทำ�ให้เนื้อละเอียดขึ้น เมื่อใช้ผสมลง
ในเหล็กที่จะนำ�ไปผ่านกระบวนการอบชุบแข็ง โดยวิธีไนไตรดิง (Nitriding) ทั้งนี้ เนื่องจาก
อะลูมิเนียมสามารถรวมตัวกับไนโตรเจน เป็นสารที่แข็งมาก ใช้ผสมลงในเหล็กทนความร้อน
บางชนิด เพื่อให้ต้านทานต่อการตกสะเก็ด (Scale) ได้ดีขึ้น 

art 4.indd 86 16/2/2558 14:08:25


หน่วยที่ 4 อิทธิพลของธาตุที่มีต่อโลหะผสม  87

3. โบรอน (Boron : B) ช่ ว ยเพิ่ ม ความสามารถชุ บ แข็ ง แก่ เ หล็ ก ที่ ใช้ ทำ � ชิ้ น ส่ ว น
เครื่องจักรทั่วไป จึงทำ�ให้ใจกลางของงานที่ทำ�ด้วยเหล็กชุบผิวแข็งมีความแข็งสูงขึ้น โบรอน
สามารถดูดกลืนนิวตรอนได้สูง จึงนิยมเติมในเหล็กที่ใช้ทำ�ฉากกั้นอุปกรณ์นิวเคลียร์ 
4. เบริลเลียม (Beryllium : Be) สปริงนาฬิกาซึ่งต้องต่อต้านอำ�นาจแม่เหล็กและ
รับแรงแปรอยู่ตลอดเวลานั้นทำ�จากทองแดง ผสมเบริลเลียม (Beryllium-Coppers Alloys)
โลหะผสมนิกเกิล-เบริลเลียม (Ni-Be Alloys) แข็งมาก ทนการกัดกร่อนได้ดี ใช้ทำ�เครื่องมือผ่าตัด
5. แคลเซียม (Calcium : Ca) แคลเซียมจะใช้ในลักษณะแคลเซียมซิลิไซด์ (CaSi)
เพื่อลดออกซิเดชัน (Deoxidation) นอกจากนั้น แคลเซียมยังช่วยเพิ่มความต้านทานการเกิด
สเกลของวัสดุที่ใช้เป็นตัวนำ�ความร้อน
6. ซีเรียม (Cerium : Ce) เป็นตัวลดออกซิเจนและกำ�มะถันได้ดี ช่วยปรับปรุง
คุณสมบัติด้าน Hot Working ของเหล็กกล้า และปรับปรุงความต้านทานการเกิดสเกลของเหล็ก
ทนความร้อน 
7. โคบอลต์ (Cobalt : Co) ไม่ทำ�ให้เกิดคาร์ไบด์ แต่สามารถป้องกันไม่ไห้เหล็กเกิด
เนื้อหยาบที่อุณหภูมิสูง ดังนั้น จึงช่วยปรับปรุงให้เหล็กมีความแข็งแรงที่อุณหภูมิสูง ด้วยเหตุนี้
จึงใช้ผสมในเหล็กขึ้นรูปงานร้อน เหล็กทนความร้อน และเหล็กไฮสปีด ธาตุโคบอลต์เมื่อได้รับ
รังสีนิวตรอนจะเกิดเป็น โคบอลต์ 60 ซึ่งเป็นสารกัมมันตภาพรังสีอย่างรุนแรง ดังนั้น จึงไม่ควร
เติมโคบอลต์ลงในเหล็กที่ใช้ทำ�เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู
8. โครเมียม (Chromium : Cr) ทำ�ให้เหล็กอบชุบได้ง่ายขึ้น เพราะลดอัตราการ
เย็นตัววิกฤติลงอย่างมาก สามารถชุบในน้ำ�มันหรืออากาศได้ เพิ่มความแข็งให้เหล็ก แต่ลด
ความทนทานต่อแรงกระแทก (Impact) ลงโครเมียมที่ผสมในเหล็กจะรวมตัวกับคาร์บอนเป็น
สารประกอบพวกคาร์ไบด์ซึ่งแข็งมาก ดังนั้น จึงทำ�ให้เหล็กทนทานต่อแรงเสียดสี และบริเวณที่เป็น
รอยคมหรือความคมไม่ลบง่าย ทำ�ให้เหล็กเป็นสนิมได้ยาก เพิ่มความแข็งแรงของเหล็กที่ใช้งานที่
อุณหภูมิสูง เพิ่มความทนทานต่อการกัดกร่อนของสารต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
9. ทองแดง (Copper : Cu) เพิ่มความแข็งแรง ถ้ามีทองแดงผสมอยู่ในเหล็กแม้เพียง
เล็กน้อย เหล็กจะไม่เกิดสนิมเมื่อใช้งานในบรรยากาศ ทองแดงจะไม่มีผลเสียต่อความสามารถ
ในการเชื่อมของเหล็กแต่อย่างใด
10. แมงกานีส (Manganese : Mn) ใช้เป็นตัวไล่กำ�มะถัน (S) ซึ่งเป็นตัวที่ไม่ต้องการ
ในเนื้อเหล็กจะถูกกำ�จัดออกในขณะหลอม ทำ�ให้เหล็กอบชุบแข็งง่ายขึ้น เนื่องจากเป็นตัวลด
อัตราการเย็นตัววิกฤติ (Critical Cooling Rate) ทำ�ให้เหล็กทนทานต่อแรงดึงได้มากขึ้น
เพิ่มสัมประสิทธิ์การขยายตัวของเหล็กเมื่อถูกความร้อน แต่จะลดคุณสมบัติในการเป็นตัวนำ�ไฟฟ้า
และความร้อน นอกจากนั้นแมงกานีสยังมีอิทธิพลต่อการขึ้นรูปหรือเชื่อม เหล็กกล้าคาร์บอนที่มี
ปริมาณแมงกานีสเพิ่มขึ้นจะทนต่อการเสียดสีได้ดีขึ้นมาก

art 4.indd 87 16/2/2558 14:08:25


88

11. โมลิบดีนัม (Molybdenum : Mo) ปกติจะใช้ผสมรวมกับธาตุอื่น ๆ เป็นตัว


ลดอัตราการเย็นตัววิกฤติ ทำ�ให้อบชุบง่ายขึ้น ป้องกันการเปราะขณะอบคืนตัว ทำ�ให้เหล็กมี
เนื้อละเอียด เพิ่มความทนทานต่อแรงดึงแก่เหล็กมากขึ้น สามารถรวมตัวกับคาร์บอนเป็นคาร์ไบด์
ได้ง่ายมาก ดังนั้น จึงปรับปรุงคุณสมบัติในการตัดโลหะ (Cutting) ของเหล็กไฮสปีดได้ดีขึ้น
เพิ่มความต้านทานต่อการกัดกร่อน (Corrosion Resistance) แก่เหล็ก อย่างไรก็ตาม เหล็กที่มี
โมลิบดีนัมสูงจะตีขึ้นรูปยาก
12. ไนโตรเจน (Nitrogen : N) ขณะทำ�ไนไตรดิง (Nitriding) ไนโตรเจนจะรวมตัวกับ
ธาตุบางชนิดในเหล็ก เกิดเป็นสารประกอบไนไตรต์ ซึ่งทำ�ให้ผิวงานมีความแข็งสูงมาก ต้านทาน
การสึกหรอได้ดีเยี่ยม
13. นิกเกิล (Nickel : Ni) เป็นตัวที่เพิ่มความทนทานต่อแรงกระแทกของเหล็ก ดังนั้น
จึงใช้ผสมในเหล็กที่จะนำ�ไปชุบแข็งที่ผิว ใช้ผสมกับโครเมียมทำ�ให้เหล็กทนทานต่อการกัดกร่อน
ได้ดี ไม่เป็นสนิมง่าย ทนความร้อน
14. ออกซิเจน (Oxygen : O) ออกซิเจนเป็นอันตรายต่อเหล็ก ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิด
ส่วนผสม รูปร่าง และการกระจายตัวของสารประกอบที่เกิดจากออกซิเจนนั้น ออกซิเจนทำ�ให้
คุณสมบัติเชิงกล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความต้านทานแรงกระแทกลดลง (ตามแนวขวาง) และเปราะ
ยิ่งขึ้น
15. ตะกั่ว (Lead : Pb) เหล็กฟรีแมชชีนนิง (Free Machining) มีตะกั่วผสมอยู่
ประมาณ 0.20-0.50% โดยตะกั่วจะเป็นอนุภาคละเอียด กระจายตัวอย่างสม่ำ�เสมอภายใน
เนื้อเหล็ก เมื่อนำ�ไปกลึงหรือตัดแต่งด้วยเครื่องมือกลทำ�ให้ขี้กลึงขาดง่าย จึงทำ�ให้ตัดแต่งได้ง่าย
ตะกั่วไม่มีผลกระทบต่อคุณสมบัติเชิงกลของเหล็ก
16. ฟอสฟอรัส (Phosphorus : P) และกำ�มะถัน (Sulphur : S) เป็นตัวทำ�ลาย
คุ ณ สมบั ติ ข องเหล็ ก แต่ มั ก ผสมอยู่ ใ นเนื้ อ เหล็ ก โดยไม่ ไ ด้ ตั้ ง ใจ ต้ อ งพยายามให้ มี น้ อ ยที่ สุ ด
เท่าที่จะเป็นไปได้ มักจะเรียกสารเหล่านี้ว่า สารมลทิน เหล็กเกรดสูงจะต้องมีฟอสฟอรัสไม่เกิน
0.03-0.05% ส่วนกำ�มะถันจะทำ�ให้เหล็กเกิด Red Shortness จึงแตกเปราะง่าย โดยทั่วไป
จึงจำ�กัดปริมาณกำ�มะถันในเหล็กไม่เกิน 0.025 หรือ 0.03% ยกเว้น เหล็กฟรีแมชชีนนิง
(Free Machining) ที่เติมกำ�มะถันถึง 0.30% เพื่อให้เกิดซัลไฟต์ขนาดเล็กกระจายทั่วเนื้อเหล็ก
ทำ�ให้ขี้กลึงขาดง่าย จึงตัดแต่งด้วยเครื่องมือกลได้ง่าย
17. ซิลิคอน (Silicon : Si) ซิลิคอนจะปรากฏในเหล็กทุกชนิด เนื่องจากสินแร่เหล็ก
มักมีซิลิคอนผสมอยู่ด้วยเสมอ ซิลิคอนไม่ใช่โลหะ แต่มีสภาพเหมือนโลหะ ใช้เป็นตัวทำ�ให้เกิด
ปฏิกิริยาออกซิไดซิง ทำ�ให้เหล็กแข็งแรงและทนทานต่อการเสียดสีได้ดีขึ้น เพิ่มค่าแรงดึงที่จุดคราก
ของเหล็กให้สูงขึ้นมาก ดังนั้น จึงใช้ผสมในการทำ�เหล็กสปริง ช่วยทำ�ให้เหล็กทนทานต่อการตก
สะเก็ดที่อุณหภูมิสูงได้ดี จึงใช้ผสมในเหล็กทนความร้อน เหล็กกล้าที่มีซิลิคอนสูงจะมีเกรนหยาบ

art 4.indd 88 16/2/2558 14:08:25


หน่วยที่ 4 อิทธิพลของธาตุที่มีต่อโลหะผสม  89
18. ไทเทเนียม (Titanium : Ti) ไทเทเนียมเป็นโลหะที่แข็งมาก ทำ�ให้เกิดคาร์ไบด์ได้ดี
เป็นธาตุผสมที่สำ�คัญในเหล็กสเตนเลส เพื่อป้องกันการผุกร่อนตามขอบเกรน นอกจากนั้น
ไทเทเนียมยังช่วยทำ�ให้เหล็กมีเกรนละเอียด
19. วาเนเดียม (Vanadium : V) ทำ�ให้เหล็กทนต่อความร้อนได้ดี เพิ่มความแข็งแรง
ให้ กั บ เหล็ ก โดยไม่ ทำ � ให้ คุ ณ สมบั ติ ใ นการเชื่ อ มและการดึ ง เสี ย ไป ทำ � ให้ เ หล็ ก มี เ นื้ อ ละเอี ย ด
รวมตัวกับคาร์บอนที่เป็นคาร์ไบด์ได้ง่าย จึงทำ�ให้ทนทานต่อการสึกกร่อน มักจะผสมในเหล็ก
ขึ้นรูปร้อนและเหล็กไฮสปีด
20. ทังสเตน (Tungsten : W) สามารถรวมตัวกับคาร์บอนเป็นคาร์ไบด์ที่แข็งมาก
จึงทำ�ให้เหล็กที่ผสมทังสเตนมีความแข็งมากหลังจากผ่านการอบชุบ จึงใช้ทำ�พวกเครื่องมือคม
ต่าง ๆ ทำ�ให้เหล็กเหนียวขึ้น และป้องกันไม่ไห้เหล็กเกิดเนื้อหยาบ เนื่องจากการที่เกรนขยายตัว
เพิ่มความทนทานต่อการเสียดสีของเหล็ก ดังนั้น จึงนิยมเติมทังสเตนในเหล็กไฮสปีดและเหล็กที่
ต้องอบชุบแข็งโดยทั่วไป
อิทธิพลของธาตุคาร์บอนที่มีต่อเหล็กกล้าคาร์บอน
เหล็กกล้าคาร์บอนเป็นเหล็กกล้าที่มีส่วนผสมของคาร์บอนเป็นหลักโดยจะมีเปอร์เซ็นต์
คาร์บอนไม่เกิน 1.7% และมีธาตุอื่นผสมอยู่ด้วย เช่น ซิลิคอน ฟอสฟอรัส กำ�มะถัน และ
แมงกานีส ซึ่งธาตุเหล่านี้มีปริมาณน้อยมาก จะติดมากับเนื้อเหล็กตั้งแต่เริ่มการผลิตเหล็กจาก
สินแร่ เหล็กชนิดนี้เป็นวัสดุช่างชนิดเดียวที่มีคุณสมบัติทางความแข็งแรง  (Strength)  และ
ความอ่อนตัว (Ductility) ที่เปลี่ยนแปลงได้กว้างมากตามปริมาณของคาร์บอนที่มีอยู่ในเหล็ก
ทำ�ให้เหมาะที่จะเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของลักษณะงาน บางครั้งเรียกว่า “Mild Steel”
นอกจากนี้ยังแยกอออกตามปริมาณคาร์บอนที่อยู่ได้ 3 ชนิดคือ
1. เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ� (Low Carbon Steel) เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ�เป็นเหล็กกล้า
ที่นำ�มาใช้งานทั่วไป จึงมีการนำ�มาใช้มากที่สุด คาร์บอนที่ผสมอยู่ในเนื้อเหล็กมีผสมอยู่ประมาณ
0.05-0.35% เมื่อธาตุคาร์บอนมีผสมอยู่น้อยทำ�ให้เหล็กมีความแข็งและความแข็งแกร่งไม่มาก
มีคุณสมบัติเหนียว สามารถนำ�ไปกลึง กัด ไส เจาะได้ง่าย นอกจากนี้ สามารถรีด หรือตีเป็นแผ่น
ได้ง่ายเหมาะกับงานที่ไม่ต้องการความเค้นแรงดึงสูงนัก ไม่สามารถนำ�มาชุบแข็งหรือชุบผิวแข็งได้
แต่ถ้าต้องการชุบแข็งต้องใช้วิธีเติมคาร์บอนที่ผิวก่อนเพราะมีคาร์บอนน้อย

โครงสร้างจุลภาคเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ� ลวดที่ผลิตจากเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ�
AISI/SAE 1010

art 4.indd 89 16/2/2558 14:08:25


90

2. เหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง (Medium Carbon Steel) เหล็กกล้าคาร์บอน


ปานกลางเป็นเหล็กกล้าที่มีความแข็งแรงและความเค้นแรงดึงมากกว่าเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ�
โดยมีส่วนผสมของคาร์บอนอยู่ในเนื้อเหล็กประมาณ  0.30-0.55% เมื่อผ่านการปรับสภาพทาง
ความร้อนแล้วจะค่อนข้างแข็งและแกร่ง แต่จะมีความเหนียวน้อยกว่า นอกจากนี้ยังให้คุณภาพ
ในการแปรรูปที่ดีกว่าและยังสามารถนำ�ไปชุบผิวแข็งได้ เหมาะกับงานที่ต้องการความเค้นดึง
ปานกลาง ต้องการป้องกันการสึกหรอที่ผิวหน้า และต้องการความแข็งแรง แต่มีความแข็งบ้าง
พอสมควร

โครงสร้างทางจุลภาคของเหล็กกล้า เฟืองบายศรีและเฟืองเดือยหมู
คาร์บอนปานกลาง ที่ผลิตจากเหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง

3. เหล็กกล้าคาร์บอนสูง (High Carbon Steel) เหล็กกล้าคาร์บอนสูงเป็นเหล็กกล้า


ที่มีคาร์บอนผสมอยู่สูง คือมีคาร์บอนอยู่ในเนื้อเหล็กมากกว่า 0.50%  หรืออาจมีมากกว่า 1%
ชนิดนี้เป็นเหล็กที่มีความแข็งแรงและความเค้นแรงดึงสูงเนื่องจากมีเปอร์เซ็นต์คาร์บอน  0.5-1.5%
สามารถทำ�การชุบแข็งให้เปลี่ยนแปลงได้ แต่เมื่อชุบแข็งแล้วจะเปราะ เหมาะสำ�หรับงานที่ต้องการ
ความต้านทานต่อการสึกหรอ ถ้าผ่านการปรับสภาพทางความร้อนจะทำ�ให้มีความแข็งแกร่ง
ที่สูงมาก        

โครงสร้างทางจุลภาคของเหล็กล้าคาร์บอนสูง มีดดาบซามูไรคาตานะของญี่ปุ่น
ที่ผลิตจากเหล็กกล้าคาร์บอนสูง

art 4.indd 90 16/2/2558 14:08:25


หน่วยที่ 4 อิทธิพลของธาตุที่มีต่อโลหะผสม  91

ตารางตัวเลขท้าย 2 ตัว หรือ 3 ตัวเป็นการแสดงถึงเปอร์เซ็นต์การผสมของคาร์บอน


ในเนื้อเหล็ก
ตัวอย่างเหล็กกล้าคาร์บอน
ตัวเลขบ่งชี้ชนิดเหล็กกล้า ส่วนประสมของคาร์บอน
1040 0.40%
1018 0.18%
8660 0.60%
50100 1.00%

อิทธิพลของธาตุที่มีต่อเหล็กเครื่องมือ
เหล็กกล้าเครื่องมือ คือ เหล็กกล้าที่ใช้สำ�หรับทำ�เครื่องมือขึ้นรูปโลหะเป็นส่วนใหญ่ เช่น
แบบหล่อโลหะในกระบวนการอัดฉีดโลหะร้อน (Die Casting)  แม่พิมพ์สำ�หรับตีขึ้นรูป หรือ
ตัดวัสดุต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงเหล็กโลหะนอกกลุ่มเหล็กและพลาสติก  เหล็กกล้าเครื่องมือจัดเป็น
เหล็กกล้าที่มีคาร์บอนและธาตุผสมอื่น ๆ ในปริมาณสูง เพื่อให้มีความสามารถในการชุบแข็งสูง
และเพื่อสร้างคาร์ไบด์ เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติต้านทานการสึกหรอ

art 4.indd 91 16/2/2558 14:08:25


92

คำ�ศัพท์ท้ายหน่วยที่ 4
คำ�ศัพท์ ความหมาย
หมายถึง สารบริสุทธิ์เนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบของสารเพียงอย่างเดียว ไม่
สามารถนำ�มาแยกสลายให้กลายเป็นสารอื่น ๆ ได้โดยวิธีการทางเคมี ใน
Element ปัจจุบันธาตุมีมากกว่า 110  โดยแต่ละธาตุมีปริมาณที่แตกต่างกัน ซึ่งจะอยู่
ในสภาพอิสระเป็นรูปอะตอมหรือโมเลกุลก็ได้ เช่น อะลูมิเนียม เป็นธาตุที่มี
เพียงอะตอมของธาตุอะลูมิเนียมเพียงชนิดเดียวเท่านั้น
หมายถึ ง เหล็ ก กล้ า ที่ มี เ ฉพาะเหล็ ก คาร์ บ อนเป็ น ส่ ว นผสมเท่ า นั้ น
Plain Carbon Steel
อาจมี Mn ปริมาณเล็กน้อย นอกเหนือจากนี้คือสารมลทิน
เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ� เป็นเหล็กที่มีคุณสมบัติเหนียว แต่ไม่แข็งแรงนัก
Low Carbon Steel
สามารถนำ�ไปกลึง กัด ไส เจาะได้ง่าย
เหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง เป็นเหล็กที่มีความแข็งแรงและความเค้น
Medium Carbon Steel
แรงดึงมากกว่าเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ� แต่จะมีความเหนียวน้อยกว่า
เหล็กกล้าคาร์บอนสูง เป็นเหล็กที่มีความแข็งแรง ความแข็งและความเค้น
High Carbon Steel
แรงดึงสูง
คือ ของผสมโลหะตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปผสมกัน อาจเป็นได้ทั้งโลหะผสม
Alloying Elements
กับโลหะ โลหะผสมกับอโลหะ
เหล็กหลอทนการเสียดสี เปนเหล็กหลอที่ผสมโลหะโครเมียม  นิกเกิล  และ
Abrasion Resistance Cast
โมลิบดีนัม  จึงทําใหเหล็กหลอมีความแข็งสูง รอยแตกจะเปนสีขาวคลายกับ
Iron
เหล็กหลอสีขาว เหล็กหลอทนการเสียดสีจะใชกับงานที่มีการเสียดสีสูง
เหล็กหลอทนการกั ด กร อ น ซึ่ ง เป นเหล็ ก หล อ ที่ นิยมใช ง านเกี่ ยวกั บ น้ำ �
Corrosion Resistant Iron ทะเล  บอน้ำ�มัน  อุตสาหกรรมการผลิตน้ำ�กรด  ทั้งอินทรียและอนินทรีย 
งานปมงานทอและขอตอทอตาง ๆ ที่มีรูปรางสลับซับซอน

art 4.indd 92 16/2/2558 14:08:25


หน่วยที่ 4 อิทธิพลของธาตุที่มีต่อโลหะผสม  93

สรุปสาระการเรียนรู้หน่วยที่ 4
ธาตุต่าง ๆ ที่อยู่ในโลหะมีหลายชนิด แต่ละชนิดนั้นมีอิทธิพลทำ�ให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ โดย
มีผลทำ�ให้โลหะหลายชนิดมีสมบัติดีขึ้นหรือเลวลง เพื่อให้สามารถเลือกใช้โลหะได้หลากหลายและ
ตรงกับความต้องการใช้งานมากที่สุด

art 4.indd 93 16/2/2558 14:08:25


94

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 4

ตอนที่ 1 ให้เลือกคำ�ตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. V หมายถึงอะไร
ก. วาเนเดียม ข. โครเมียม
ค. ปรอท       ง. ยูเรเนียม
2. Mn  หมายถึงอะไร
   ก. แมกนีเซียม  ข.  แมงกานีส
ค. โมลิบดีนัม     ง. ไทเทเนียม
3. Ti  หมายถึงอะไร
ก.  แมกนีเซียม     ข. แมงกานีส
ค.  โมลิบดีนัม ง. ไทเทเนียม
4. Mg หมายถึงอะไร
ก.  แมกนีเซียม ข.  แมงกานีส
ค.  โมลิบดีนัม ง. ไทเทเนียม
5. Mo หมายถึงอะไร
ก.  แมกนีเซียม ข.  แมงกานีส
    ค.  โมลิบดีนัม  ง. ไทเทเนียม
6.  Sb   หมายถึงอะไร
    ก.  ตะกั่ว  ข. ดีบุก
ค. เงิน ง. พลวง
7. Cu หมายถึงอะไร
  ก. ทองแดง   ข. ทอง
ค. เงิน          ง. ทองคำ�ขาว
8. ธาตุที่ผสมในเหล็กกล้าเพื่อป้องกันการกัดกร่อนคือข้อใด
  ก. โมลิบดีนัม  ข. โครเมียม
ค. ทังสเตน      ง. วาเนเดียม
9.  สมบัติของธาตุใดช่วยการชุบแร่เหล็กให้แข็งขึ้น
ก. Pb     ข.  Cu
ค. C     ง. Sn
10. เป็นคุณสมบัติแม่เหล็กต้องผสมธาตุใด
    ก. Ni      ข. C
ค. Mn ง. Cr

art 4.indd 94 16/2/2558 14:08:25


หน่วยที่ 4 อิทธิพลของธาตุที่มีต่อโลหะผสม  95

ตอนที่ 2 ตอบค�ำถามต่อไปนี้
1. อธิบายอิทธิพลของคาร์บอนที่มีผลต่อเหล็กดิบ
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
2. อธิบายอิทธิพลของซิลิคอนที่มีผลต่อเหล็กหล่อ
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
3. อธิบายอิทธิพลของโครเมียมที่มีผลต่อเหล็กหล่อผสม
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
4. อธิบายวัตถุประสงค์ในการผสมธาตุลงในเนื้อเหล็ก
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
5. อธิบายอิทธิพลของทังสเตนเมื่อผสมลงในเหล็กกล้า
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
6. เมื่อผสมซิลิคอนลงในเนื้อเหล็ก ท�ำให้คุณสมบัติลดลงอย่างไรบ้าง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
7. เหล็กกล้าคาร์บอนต�่ำ มีคาร์บอนผสมไม่เกินเท่าไร
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
8. เมื่อผสมแมงกานีสมากเกินไป จะมีผลเสียอย่างไร
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
9. เหล็กที่มีโครเมียมและนิกเกิลผสมมากจะส่งผลกับเหล็กอย่างไร
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
10. ธาตุใดเมื่อผสมลงในเหล็กท�ำให้คุณสมบัติการเชื่อมลดลง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................

art 4.indd 95 16/2/2558 14:08:26


96

กิจกรรมการเรียนรู้หน่วยที่ 4

1 ผู้สอนกล่าวทักทายผู้เรียน พร้อมเช็กชื่อผู้เรียน
2. ผู้สอนแจกหนังสือเรียนและบทเรียนโมดูล ให้ผู้เรียนจัดกลุ่ม 3 คน ศึกษาร่วมกัน
พร้อมกับทำ�แบบทดสอบ
3. ผู้สอนอธิบายความหมาย ชนิด และสมบัติของธาตุ
4. ผูส้ อนอธิบายวัตถุประสงค์ของการนำ�ธาตุตา่ ง ๆ มาผสมในเนือ้ เหล็กและอิทธิพลของธาตุ
ที่มีต่อโลหะผสมต่าง ๆ
5. ผู้สอนมอบหมายงานให้ผู้เรียนปฏิบัติงาน ตามหลักการ วิธีการ และกิจนิสัยที่ดี
ในการปฏิบัติงานโดยให้ผู้เรียนทำ�แบบฝึกหัดทบทวนหรือใบงานภายในห้องเรียน
สามารถเปิดหนังสือควบคู่ในการตอบคำ�ถามได้
6. ผู้เรียนปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายโดยใช้ใบความรู้หรือเอกสารประกอบการเรียน
อย่างคุ้มค่า เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน และปฏิบัติงานด้วยความ
ซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมั่น ใช้เหตุผล และสติปัญญา

art 4.indd 96 16/2/2558 14:08:26


หน่วยที่ 5 วัสดุเชื้อเพลิง 97

หน่วยที่

5 วัสดุเชื้อเพลิง
สาระการเรียนรู้
1. ความหมายและชนิดของวัสดุเชื้อเพลิง
2. เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง
3. เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว
4. เชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ

สมรรถนะการเรียนรู้
1. อธิบายความหมายและชนิดของวัสดุเชื้อเพลิงได้
2. บอกเชื้อเพลิงที่เป็นของแข็งได้
3. บอกเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวได้
4. บอกเชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซได้

art 5.indd 97 16/2/2558 14:11:01


98

หน่วยที่ 5 วัสดุเชื้อเพลิง
เชื้ อ เพลิ ง เป็ น ทรั พ ยากรที่ มี ค วามสำ � คั ญ และมี ส่ ว นช่ ว ยพั ฒ นาประเทศเป็ น อย่ า งมาก
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่กำ�ลังพัฒนา มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมอย่าง
รวดเร็ว มีการนำ�เชื้อเพลงมาใช้งานมากขึ้น เช่น ในงานอุตสาหกรรม การคมนาคมขนส่งและนำ�
มาใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ เชื้อเพลิงเป็นทรัพยากรที่มีค่าและมีอยู่อย่างจำ�กัด การนำ�มาใช้งานจึงต้อง
ประหยัดและใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ความหมายและชนิดของวัสดุเชื้อเพลิง
ความหมายของเชื้อเพลิง
เชื้อเพลิง (Fuel) หมายถึง วัสดุที่มีองค์ประกอบของธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจน เชื้อเพลิง
เมื่อเผาไหม้จะทำ�ปฏิกิริยาทางเคมีกับออกซิเจน ทำ�ให้เกิดพลังงาน สามารถนำ�ไปใช้ประโยชน์ได้
เชื้อเพลิงบางอย่างสามารถนำ�มาใช้งานได้ทันที บางอย่างต้องนำ�ไปผ่านกระบวนการแปรสภาพ
ก่อนจึงจะสามารถนำ�มาใช้ประโยชน์ได้
ชนิดของเชื้อเพลิง
เชื้อเพลิงที่นำ�มาใช้กันอยู่ทั่วไปสามารถแยกตามลักษณะได้ 3 ชนิด คือ ของแข็ง ของเหลว
และก๊าซ
1. เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง (Solid Fuel)
เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1.1 ถ่านไม้ (Charcoal)
1.2 ถ่านหิน (Coal)
1.3 หินน้ำ�มัน (Oil Shale)
1.4 วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร
2. เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว (Liquid Fuel)
เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
2.1 น้ำ�มันเบนซิน (Gasoline Oil)
2.2 น้ำ�มันก๊าด (Kerosene Oil)
2.3 น้ำ�มันดีเซล (Diesel Oil)
2.4 น้ำ�มันเตา (Heavy Fuel or Furnace Oil)

art 5.indd 98 16/2/2558 14:11:02


หน่วยที่ 5 วัสดุเชื้อเพลิง 99

เชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ (Gas Fuel)


เชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1. ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas)
2. ก๊าซที่ได้จากการกลั่นน้ำ�มันดิบ (Liquid Petroleum Gas)
3. โพรดิวเซอร์ก๊าซ (Producer Gas)
4. ก๊าซชีวภาพ (Bio-Gas)
5. ก๊าซอะเซทิลีน (Acetylene Gas)
6. ก๊าซเตาสูง (Blast Furnace Gas)

เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง
เป็นเชื้อเพลิงที่มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิปกติ ประกอบด้วยธาตุที่สำ�คัญ คือ คาร์บอน
ไฮโดรเจน ไนโตรเจน และกำ�มะถัน เมื่อทำ�ปฏิกิริยาเคมีกับออกซิเจนจะเกิดการเผาไหม้ ให้พลังงาน
ความร้อน นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า มนุษย์รู้จักการนำ�เชื้อเพลิงแข็งมาใช้งานก่อนเชื้อเพลิง
ชนิดอื่น เพราะเป็นเชื้อเพลิงที่นำ�มาใช้งานได้ทันที ไม่ต้องนำ�มาผ่านกรรมวิธีในการปรับปรุงหรือ
แปรสภาพก่อนใช้งาน เชื้อเพลิงแข็งมีหลายชนิด เป็นเชื้อเพลิงที่มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิ
ได้แก่
1. ถ่านไม้ (Charcoal) เป็นเชื้อเพลิงที่ได้มาจากไม้ยืนต้นและซากพืชที่แห้งไม่ว่า
จะเป็นใบ ลำ�ต้น ราก เช่น ไม้เบญจพรรณ ไม้โกงกาง ต้นสะแกนำ�มาใช้ได้ทันที ไม่ต้องนำ�ไปผ่าน
กระบวนการในการแปรรูป เช่น อุตสาหกรรมย้อมผ้า หุงต้มอาหาร ผลิตได้โดยการนำ�ไม้ไปเผา
ในเตาเพื่อสร้างถ่านไม้ซึ่งสามารถใช้ทดแทนถ่านหินได้รวมทั้งทำ�เป็นคบเพลิงและเติมเชื้อเพลิง
Minecart และหลอมวัตถุ

รูปที่ 5.1 ซากไม้ที่แห้ง รูปที่ 5.2 ถ่านไม้ใช้หุงต้มอาหาร

art 5.indd 99 16/2/2558 14:11:02


100

2. ถ่านหิน (Coal) นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าเกิดจากซากพืชและพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ตาย


ทับถมกันในบริเวณนั้น ภายใต้อุณหภูมิและความกดดันเป็นระยะเวลานับล้านปี เกิดการจับตัวเป็น
ของแข็ง สามารถนำ�มาจุดติดไฟให้พลังงานความร้อนได้ ถ่านหินมีหลายชนิดคือ

พีต (Peat) เกิดจากซากพืชพวกตะไคร่ มอสส์ และพรรณไม้อื่น ๆ มี


คาร์บอนประมาณ 60% มีความชื้นสูง เมื่อแห้งจะติดไฟได้ดี

ลิกไนต์ (Lignite) เป็นถ่านหินสีน้ำ�ตาลเข้มจนถึงดำ� เนื้อแข็ง มี


คาร์บอนประมาณ 55-65% เมื่อนำ�มาเผาไหม้จะให้ความร้อนประมาณ
8,300 BTU4/ปอนด์ พบที่ ต.คลองขนาน อ.เมือง จ.กระบี่ และ
อ.แม่เมาะ จ.ลำ�ปาง ซึ่งนำ�มาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า

บิทูมินัส (Bituminous) มีสีน้ำ�ตาล มีคาร์บอนประมาณ 80-90%


เมื่อนำ�มาเผาไหม้จะให้ความร้อนประมาณ 10,500 BTU/ปอนด์ พบที่
ต.ดงดำ� อ.ลี้ จ.ลำ�พูน และ ต.แม่ตื่น อ.แม่ระมาด จ.ตาก

แอนทราไซต์ (Anthracite) เป็นถ่านหินสีด�ำ เสื้อแข็งวาว มีคาร์บอน


ประมาณ 86% ขึ้นไป ติดไฟยาก เมื่อติดไฟแล้วเปลวไฟสีน�้ำเงิน ไม่มี
ควัน ให้ค่าความร้อนสูงที่สุดในบรรดาถ่านหิน คือ ประมาณ 15,500
BTU/ปอนด์ พบที่ ต.นาด้วง จ.เลย

3. ถ่ า นโค้ ก (Coke) เนื่ อ งจากถ้ า นำ � ถ่ า นหิ น ไป


ใช้เป็นเชื้อเพลิงจะเกิดปัญหากัับสภาพแวดล้อม เนื่องจาก
จะเกิ ด ก๊ า ซซั ล เฟอร์ ไ ดออกไซด์ จ ากการเผาไหม้ จึ ง มี ก าร
แก้ ปั ญ หาโดยการผลิ ต ถ่ า นโค้ ก ขึ้ น มาใช้ ง านแทนถ่ า นหิ น
ถ่านโค้กทำ�ได้โดยการนำ�เอาถ่านหินมาเผาให้ร้อนในเตาที่
ปิดมิดชิด เมื่อถ่านหินได้รับความร้อนจะคายก๊าซเชื้อเพลิง
ออกมา เรียกว่า โพรดิวเซอร์ก๊าซ (Producer Gas) และ รูปที่ 5.3 ถ่านโค้ก (Coke)
จะคายก๊ าซซัล เฟอร์ไ ดออกไซด์ออกมาด้ ว ย ถ่ า นหิ นที่ อ ยู่ ภ ายในเตาจะนำ � ไปทำ � ให้ เย็ นตั ว ลง
เรียกว่า ถ่านโค้ก มีลักษณะเป็นก้อนได้โดยไม่ทำ�ให้สภาพแวดล้อม เป็นพิษ

art 5.indd 100 16/2/2558 14:11:02


หน่วยที่ 5 วัสดุเชื้อเพลิง 101

4. หินน้ำ�มัน (Oil Shale) มีลักษณะคล้ายหินดินดาน


สีน้ำ�ตาล มีอินทรียสารที่เรียกว่า เคโรเจน (Kerogen) เป็นสาร
น้ำ � มั น แทรกอยู่ ใ นเนื้ อ นำ � ไปจุ ด ติ ด ไฟได้ ค ล้ า ยถ่ า นหิ น และ
สามารถนำ � มากลั่ น เป็ น เชื้ อ เพลิ ง เหลวได้ แต่ ต้ อ งใช้ ค่ า ใช้ จ่ า ย
สูงมาก จึงไม่คุ้มกับการลงทุน พบที่ อ.แม่สอด อ.แม่ระมาด รูปที่ 5.4 หินน้ำ�มัน (Oil Shale)
อ.อุ้มผาง จ.ตาก
5. วัสดุเหลือจากการเกษตร เช่น แกลบ กะลามะพร้าว
เปลือกถั่ว ซังข้าวโพด ขี้เลื่อย เมื่อนำ�มาอัดให้เป็นแท่งจะสามารถ
ให้พลังงานความร้อนได้สูงมาก ซึ่งสามารถนำ�มาใช้งานเป็นเชื้อ
เพลิงหุงต้มในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี
รูปที่ 5.5 ถ่านจากวัสดุเหลือจากการเกษตร
เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว
เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวได้จากน้ำ�มันดิบหรือน้ำ�มันปิโตรเลียม น้ำ�มันดิบเกิดจากซากพืช
ซากสัตว์ที่ตายทับถมกันเป็นเวลานับล้านปี มีชั้นหินปกคลุมชั้นน้ำ�มันดิบ ซึ่งเป็นสารประกอบ
ไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดรวมกัน โดยมีองค์ประกอบทั่ว ๆ ไป คือ คาร์บอน 83-87% ไฮโดรเจน
11-15% ออกซิเจน 5% กำ�มะถัน 6% ไนโตรเจน 0.05% ในการนำ�น้ำ�มันดิบหรือน้ำ�มันปิโตรเลียม
มาใช้ต้องมาผ่านกรรมวิธีการกลั่น
การกลั่น หมายถึง การแปรสภาพน้ำ�มันดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์สำ�เร็จรูป เช่น ก๊าซหุงต้ม
น้ำ�มันเบนซิน น้ำ�มันเครื่องบิน น้ำ�มันก๊าด น้ำ�มันดีเซล น้ำ�มันเตา และน้ำ�มันหล่อลื่น เคมีภัณฑ์
ต่าง ๆ
ในกระบวนการกลั่ น น้ำ � มั น ดิ บ อาศั ย หลั ก การของจุ ด เดื อ ดที่ ไ ม่ เ ท่ า กั น ของผลิ ต ภั ณ ฑ์
แต่ละชนิด แยกผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ออกจากกัน จากนั้นนำ�มากรองและแปรสภาพให้เหมาะสมกับ
การใช้งาน บางครั่งอาจเติมสารอื่น ๆ ลงไปอีกเพื่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่กลั่นได้
ในการแยกผลิตภัณฑ์เริ่มจากจุดเดือดต่ำ�ไปหาจุดเดือดสูงดังนี้
1. อุณหภูมิ 30-70º องศาเซลเซียส ได้ก๊าซหุงต้ม
2. อุณหภูมิ 40-200º องศาเซลเซียส ได้น้ำ�มันเบนซิน
3. อุณหภูมิ 150-300º องศาเซลเซียส ได้น้ำ�มันก๊าด
4. อุณหภูมิ 300-350º องศาเซลเซียส ได้น้ำ�มันดีเซล
5. อุณหภูมิ 350º องศาเซลเซียสขึ้นไปได้น้ำ�มันเตา
6. ที่เหลือเป็นยางมะตอยหรือขี้ผึ้ง

art 5.indd 101 16/2/2558 14:11:03


102

หน่วยแยกก๊าซ หน่วยบำ�บัดก๊าซ ก๊าซเชื้อเพลิง

หน่วยผลิตกำ�มะถัน กำ�มะถันเหลว
รถขนส่งน้ำ�มันดิบ
หน่วยกำ�จัดกำ�มะถัน

หน่วยผลิตแนฟทา LPG
หน่วยผลิตน้ำ�มันเบนซิน

หน่วยผลิตน้ำ�มันเครื่องบิน น้ำ�มันเบนซิน
ถังรับน้ำ�มัน
หน่วยกลั่นน้ำ�มันดิบ
หน่วยผลิตน้ำ�มันดีเซล น้ำ�มันเครื่องบิน

หน่วยบำ�บัดก๊าซ
รถไฟขนส่งน้ำ�มันดิบ หน่วยผลิตไฮโดรเจน
น้ำ�มันดีเซล
หน่วยผลิตกำ�มะถัน

เรือขนส่งน้ำ�มันดิบ หน่วยกลั่นสุญญากาศ
หน่วยแตกโมเลกุล
น้ำ�มันเตา

รูปที่ 5.6 กระบวนการกลั่นน้ำ�มันปิโตเลียม


1. น้ำ�มันเบนซิน (Gasoline) น้ำ�มันเบนซิน เป็นเชื้อเพลิงสำ�หรับเครื่องยนต์เบนซิน ได้
จากการกลั่นน้ำ�มันดิบในโรงกลั่นน้ำ�มัน และอาจผสมสารเพิ่มคุณภาพ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้
งาน เช่น สารเพิ่มค่าออกเทน สารเคมีป้องกันสนิม สารเคมีช่วยทำ�ความสะอาดคาร์บูเรเตอร์ ซึ่ง
น้ำ�มันเบนซินที่ผลิตขึ้นแต่ละบริษัทจะมีการผสมสารเคมีเพิ่มคุณภาพแตกต่างกัน ซึ่งเป็นความลับ
ทางการค้า
คุณสมบัติทั่วไปของน้ำ�มันเบนซิน
1.1 มีค่าออกเทนนัมเบอร์สูง ไม่ทำ�ให้เกิดอาการน็อกในขณะเผาไหม้
1.2 มีอัตราการระเหยที่ดี ระเหยเป็นไอที่อุณหภูมิปกติ
1.3 เก็บไว้ได้นานได้นาน ไม่สลายหรือแปรสภาพ
1.4 ไม่มียางหรือกำ�มะถันในน้ำ�มัน เพราะจะทำ�ให้เกิดการกัดกร่อนในเครื่องยนต์
และอุดตัน
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 รัฐบาลกำ�หนดให้น้ำ�มันเบนซินที่มีจำ�หน่ายใน
ประเทศไทยจะต้องเป็นน้ำ�มันที่ไม่ผสมสารตะกั่วในน้ำ�มัน และเรียกชื่อน้ำ�มันตามค่าออกเทน คือ
น้ำ�มันเบนซิน ออกเทน 87 สีเขียว
น้ำ�มันเบนซิน ออกเทน 91 สีแดง
น้ำ�มันเบนซิน ออกเทน 95 สีเหลือง

art 5.indd 102 16/2/2558 14:11:03


หน่วยที่ 5 วัสดุเชื้อเพลิง 103

2. น้ำ�มันก๊าด (Kerosene) น้ำ�มันก๊าดเป็นที่รู้จักกันมานาน เป็นเชื้อเพลิงที่ให้แสงสว่าง


ตามครัวเรือน ในปัจจุบันการนำ�น้ำ�มันก๊าดมาใช้เพื่อแสงสว่าง มีปริมาณลดลงตามความเติบโต
ของการใช้กระแสไฟฟ้า อย่างไรก็ดีน้ำ�มันก๊าดก็ยังมีบทบาทสำ�คัญในแง่ที่เป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด มี
กำ�มะถันต่ำ� ซึ่งเป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมบางประเภท
คุณสมบัติทั่วไปของน้ำ�มันก๊าด
2.1 จุดควันหรือจุดให้ควัน คือความสูงของเปลวไฟในตะเกียงมาตรฐานก่อนเริ่มเกิด
ควันจุดให้ควันสูง หมายถึง น้ำ�มันก๊าดให้แสงสว่างได้ดีโดยไม่มีควัน
2.2 จุบวาบไฟไม่ต่ำ�นัก เพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ใช้และการเก็บรักษา น้ำ�มันก๊าดจึงจัด
เป็นน้ำ�มันประเภทกึ่งอันตราย ต้องเก็บในถังใต้ดิน
2.3 ปริมาณกำ�มะถันต่ำ�เพื่อมิให้ปล่องตะเกียงเกิดเป็นฝ้าขาวและมิให้เป็นอันตรายแก่
ผู้ใช้ในกรณีที่สูดหายใจเอากำ�มะถันออกไซด์เข้าไป
2.4 การกลั่นหรือช่วงจุดเดือดที่เหมาะ ช่วยให้น้ำ�มันระเหยไปตามไส้ตะเกียง จุดไฟได้
ง่ายและไม่มีส่วนหนัก ๆ มากเกินไป จะระเหยช้า
2.5 สีน้ำ�เงิน ถูกเติมเพื่อป้องกันการนำ�ไปปลอมปนกับน้ำ�มันเบนซินหรือน้ำ�มันดีเซล
3. น้�ำ มันดีเซล (Diesel Fuel) น้�ำ มันดีเซลเป็นผลิตภัณฑ์เชือ้ เพลิงทีไ่ ด้จากการกลัน่ น้�ำ มัน
ดิบ สามารถนำ�มาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำ�หรับเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งเครื่องยนต์ดีเซลจะมีหลักการทำ�งาน
แตกต่างจากเครื่องยนต์เบนซิน การจุดระเบิดของเครื่องยนต์ดีเซลใช้ความร้อนซึ่งเกิดขึ้นจาก
การอัดอากาศภายในกระบอกสูบ จากนั้นหัวฉีดจะฉีดน้ำ�มันเป็นละอองเข้าไปในกระบอกสูบและ
เกิดการจุดระเบิดขึ้น

รูปที่ 5.7 ลักษณะการทำ�งานของเครื่องยนต์ดีเซล


ชนิดน้ำ�มันดีเซลแบ่งออกไป 2 ประเภท คือ
1. น้ำ�มันดีเซลหมุนเร็ว (Automotive Diesel Oil) เป็นน้ำ�มันที่มีค่าซีเทนอย่างต่ำ�
47 นำ�ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงกับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีความเร็วรอบเกิน 1,000 รอบต่อนาที
2. น้ำ�มันดีเซลหมุนช้า (Industrial Diesel Oil) เป็นน้ำ�มันที่มีค่าซีเทนอย่างต่ำ� 45
นำ�ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงกับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีความเร็วรอบต่ำ�กว่า 1,000 รอบต่อนาที

art 5.indd 103 16/2/2558 14:11:03


104

คุณสมบัติทั่วไปของน้ำ�มันดีเซล
1. เมื่อเผาไหม้หมดไม่ควรมีกากเปลือก
2. ระเหยได้ดีพอสมควร
3 มีความหนืดพอเหมาะ
4. มีค่าซีเทนนัมเบอร์ไม่ต่ำ�กว่า 45
5. ไม่กัดกร่อนหรือทำ�ให้ห้องสูบเกิดการสึกหรอ
สีของน้ำ�มันดีเซล
โดยธรรมชาตินำ�้ มันดีเซลมีสีชาอ่อน แต่บางครั้งสีอาจจะเปลี่ยนไปบ้าง เนื่องจาก
การเลือกใช้น้ำ�มันดิบจะต่างกันในกระบวนการกลั่น ซึ่งอาจทำ�ให้น้ำ�มันดีเซลมีสีอ่อนหรือเข้มไป
แต่คุณสมบัติในการเผาไหม้ยังคงเดิม ในกรณีที่สีของน้ำ�มันดีเซลเปลี่ยนแปลงไปมาก เช่น เป็นสี
เขียวหรือสีดำ�คล้ำ� ควรสงสัยการปลอมปนโดยน้ำ�มันก๊าด (สีน้ำ�เงิน) น้ำ�มันเตา หรือน้ำ�มันเครื่อง
ใช้แล้ว (สีดำ�)
4. น้ำ�มันเตา (Fuel Oils) น้ำ�มันเตาเป็นผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงที่มีองค์ประกอบหนัก ได้
จากตอนล่างของหอกลั่นอันเป็นส่วนที่เหลือตกค้างอยู่และไม่สามารถระเหยในหอกลั่นบรรยากาศ
แม้ว่าน้ำ�มันเตาจะเป็นพวกกากน้ำ�มันเหลือจากการกลั่นและมีสิ่งตกค้างต่าง ๆ ปนอยู่มากก็ตาม
น้ำ�มันเตาก็ยังเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่ออุตสาหกรรมการผลิตกระแสฟ้าและการคมนาคม
ขนส่งเนื่องจากเป็นน้ำ�มันเชื้อเพลิงที่มีราคาถูกที่สุด
คุณสมบัติทั่วไปของน้ำ�มันดีเซล
1. น้ำ�มันท่ีได้จากส่วนที่มีจุดเดือดสูงสุดของน้ำ�มันดิบ หรือ Condensate
2. เป็นน้ำ�มันเชื้อเพลิงที่มีความหนาแน่นมวลสูง
3. มีค่ากำ�มะถันต่ำ�กว่ามาตรฐาน
4. ความหนืดต่ำ�
5. เผาไหม้ดี มีเขม่าควันน้อย
6. เป็นน้ำ�มันที่มีราคาถูก ใช้งานง่าย ให้ความร้อนสูง ขึ้นอยู่กับความหนืดและ
ประเภทของเตาและหัวฉีด
7. ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า และเรือเดินสมุทร

เชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ
เชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ หมายถึง ก๊าซทุกชนิดที่ทำ�ปฏิกิริยากับออกซิเจนแล้วเกิดการเผาไหม้
ทำ�ให้ได้พลังงานความร้อนที่สามารถนำ�ไปใช้ประโยชน์ได้ เชื้อเพลิงก๊าซส่วนใหญ่เป็นสารประกอบ
ไฮโดรคาร์บอน เชื้อเพลิงก๊าซที่สำ�คัญคือ

art 5.indd 104 16/2/2558 14:11:03


หน่วยที่ 5 วัสดุเชื้อเพลิง 105

1. ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas)


เป็นเชื้อเพลิงที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติที่อยู่เหนือน้ำ�มันดิบ แบ่งออกได้ 2 ชนิด
1. ก๊าซธรรมชาติแห้ง (Dry Natural Gas) ประกอบด้วยก๊าซมีเทน มีสถานะ
เป็นไอที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ นำ�ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม โรงงาน
ผลิตกระแสไฟฟ้า
2. ก๊าซธรรมชาติชื้น (Wet Natural Gas) ประกอบด้วยโพรเทนและบิวเทน
ก๊าซชนิดนี้จะนำ�ไปใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงสำ�หรับเครื่องยนต์และเป็นเชื้อเพลิงหุงต้มในครัวเรือน
ก๊าซธรรมชาติ
Natural Gas

ก๊าซอีเทน ก๊าซโพรเพน ก๊าซมีเทน


Ethane Propane Methane ก๊าซอื่น ๆ

ก๊าซเชื้อเพลิง โพรไพลีน ปุ๋ยเคมี ก๊าซเชื้อเพลิงใช้ใน


เหลว LPG Propylene โรงไฟฟ้า โรงงาน
อุตสาหกรรม
หุงต้ม
รถยนต์ พลาสติกพอลิโพรไพลีน
Polypropylene (PP)
เอทิลีน ฟิล์มถ่ายภาพ
Ethylene สกอตเทป

โพลิเอทอลีน วีซีเอ็ม
Polyethylene (PE) VCM

พลาสติกพอลิเอทิลีน พลาสติกพอลิเอทิลีน พลาสติก พลาสติก


ความหนาแน่นสูง ความหนาแน่นต่ำ� พอลิไวนิลคลอไรด์ พอลิไวนิลแอซีเตต
High Density Low Density Polyvinyl Chloride Polyvinyl Acetate
Polyethylene (HDPE) Polyethylene (LDPE) (PVC) (PVA)
ตะกร้า ถุงพลาสติก ท่อน้ำ� สี
ของเล่น หลอดกาแฟ กระเบื้องยาง กาว
ชิ้นส่วนรถยนต์ แผ่นพลาสติกยางใส ขวดขุ่น เฟอร์นิเจอร์
ถุงพลาสติกชนิดหนา รองเท้า ชิ้นส่วนรถยนต์
เสื้อฝน
โฟมสีขาว
เฟอร์นิเจอร์ พลาสติกพอลิสไตรีน
ปลั๊กไฟฟ้า (PS)
บรรทัด
แผนภูมิแสดงผลผลิตของก๊าซธรรมชาติ

art 5.indd 105 16/2/2558 14:11:03


106

2. ก๊าซที่ได้จากการกลั่นน้ำ�มันดิบ (Liquid Petroleum Gas)


เป็นก๊าซที่ได้จากการกลั่นน้ำ�มันดิบ เรียกย่อว่า ก๊าซ L.P.G. โดยทั่วไปจะถูกจัดเก็บ
อยู่ในของเหลวบรรจุในถังเหล็กขนาดต่าง ๆ กันเพื่อนำ�ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำ�หรับหุงต้ม นอกจากนี้ยัง
ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นเชื้อเพลิงแทนถ่านหิน หรือน้ำ�มันซึ่งมีราคาแพงกว่าอีกด้วย
3. โพรดิวเซอร์ก๊าซ (Producer Gas)
เป็นก๊าซเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการใช้ถ่านหินคุณภาพสูง นำ�มาใส่ในเตาปิดมิดชิด
แล้วให้อากาศร้อนไหลผ่านถ่านหินในเตา อากาศร้อนจะทำ�ปฏิกิริยากับคาร์บอนในถ่านหินแล้ว
ให้โพรดิวเซอร์ก๊าซออกมา ซึ่งนำ�ไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทำ�ปูนซีเมนต์ ทำ�แก้ว ทำ�เซรามิก
เป็นต้น
4. ก๊าซชีวภาพ (Bio Gas)
เป็นก๊าซที่เกิดจากการหมักและการย่อยสลายของสารอินทรีย์ เช่น มูลสัตว์ต่าง ๆ
และวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร วัชพืช ก๊าซที่ได้จากการหมัก คือ ก๊าซมีเทน ซึ่งสามารถนำ�ไป
ประยุกต์ทำ�เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มในครัวเรือนได้
5. ก๊าซอะเซทิลีน (Acetylene Gas)
ก๊าซอะเซทิลนี (C2H4) ได้จากการนำ�เอาน้�ำ หยดลงบนก้อนแคลเซียมคาร์ไบด์ นำ�ไปใช้
ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงใช้สำ�หรับงานเชื่อมประสานโลหะ ใช้เป็นเชื้อเพลิงให้แสงสว่าง และยังนำ�มา
ใช้ประโยชน์ในการบ่มผลไม้ด้วย
การเก็บรักษาวัสดุเชื้อเพลิง
ในการเก็บรักษาวัสดุเชื้อเพลิงถือว่ามีความสำ�คัญมากในการนำ�ไปใช้งาน สามารถ
พิจารณาได้ดังนี้
การเก็บรักษาวัสดุเชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง
ในการเก็บรักษาถ่านหิน มีหลักเกณฑ์ที่สำ�คัญที่สำ�คัญคือ
1. ไม่กองถ่านหินให้กองโตเกินไป
2. ไม่กองถ่านหินสูงมากจนเกินไปเพราะจะทำ�ให้ความร้อนออกได้
3. ไม่กองหินใกล้สิ่งที่ร้อน เช่น ปล่องไฟ
4. ถ้าจะเก็บถ่านหินเป็นเวลานาน ๆ ควรอัดผิวรอบกองถ่านหินให้แน่นกันอากาศ
เข้าไป หรืออาจใช้น้ำ�มันดิบปกปิดผิว
5. หมั่นตรวจอุณหภูมิของถ่านหินอยู่เสมอ พยายามอย่าให้ร้อนเกิน 50ºC
6. ถ่านหินที่ขุดได้ใหม่ ๆ ต้องตากทิ้งไว้ 2-3 สัปดาห์

art 5.indd 106 16/2/2558 14:11:03


หน่วยที่ 5 วัสดุเชื้อเพลิง 107

การเก็บรักษาวัสดุเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว
ในการเก็บรักษาวัสดุเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว มีหลักเกณฑ์สำ�คัญคือ
1. ต้องบรรจุอยู่ในถังเก็บมิดชิด
2. สถานที่เก็บวัสดุเชื้อเพลิงต้องเป็นที่โล่ง และต้องไม่ติดกับที่อยู่อาศัย
3. ควรมีอุปกรณ์ในการดับเพลิงสำ�หรับดับน้ำ�มันโดยเฉพาะอยู่ใกล้ ๆ ที่เก็บนั้น
4. สถานที่ตั้งถังเก็บวัสดุเชื้อเพลิงห้ามไม่ให้มีการสุมไฟเข้าใกล้โดยมีระยะอย่างน้อย
50 เมตร
5. มีสัญญาณบอกเหตุเตือนภัยไว้ใกล้ ๆ ที่เก็บวัสดุเชื้อเพลิง
6. ควรมีเครื่องหมายบอกให้รู้ว่าเป็นที่เก็บเชื้อเพลิงไวไฟ

art 5.indd 107 16/2/2558 14:11:03


108

คำ�ศัพท์ท้ายหน่วยที่ 5
คำ�ศัพท์ ความหมาย
เป็นเชื้อเพลิงแข็ง เกิดจากเชื้อเพลิงจำ�พวกไม้ เศษไม้ หรือฟืน ถ่านฟางข้าว
ฯลฯ จะประกอบด้วยเซลลูโลส ที่เป็นส่วนประกอบ 40-60% จะมี
Solid Fuel
ความชื้ น ต่ำ � เมื่ อ ถู ก เผาไหม้ จะให้ ค วามร้ อ นแตกต่ า งกั น ไปตามสภาพ
ความชื้นและประเภทของพืชแต่ละชนิด
Liquid Fuel คือ เชื้อเพลิงเหลวที่เกิดจากเชื้อเพลิงชีวภาพเป็นของเหลว
คือก๊าซเชื้อเพลิง ซึ่งประกอบด้วยไฮโดรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์เป็น
ส่วนใหญ่ ก๊าซเชื้อเพลิงที่ได้จะถูกนำ�มาทำ�ให้สะอาดโดยการกำ�จัดมลพิษ
Fuel Gas
ก่อน ก๊าซที่ได้นี้สามารถนำ�มาใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสารตั้งต้นในการ
สังเคราะห์แอมโมเนีย เมทานอล หรือก๊าซไฮโดรเจน
คือถ่านไม้ เกิดจากการนำ�ไม้ไปเผาในเตาเพื่อสร้างถ่านไม้ซึ่งใช้ทดแทน
Charcoal
ถ่านหินได้
เป็ น ถ่ า นหิ น คื อ หิ น ตะกอนชนิ ด หนึ่ ง ซึ่ ง สามารถติ ด ไฟได้ แ ละมี ส่ ว น
Coal ประกอบที่เป็นสารประกอบของคาร์บอนไม่น้อยกว่า 50%  โดยน้ำ�หนัก
หรือ 70% โดยปริมาณ
คือ ส่วนผสมปริมาณเล็กน้อยเท่านั้นที่ผสมอยู่ในน้ำ�มัน ซึ่งมีผลกับค่า
Gasoline Oil
ออกเทน เรียกว่า “น้ำ�มันเบนซิน” หรือน้ำ�มันก๊าซโซลีน (Gasoline)
น้ำ�มันก๊าดมีชื่อทางเคมีว่า คีโรซีน เป็นที่รู้จักกันดี เพราะใช้เป็นเชื้อเพลิงใน
Kerosene Oil
ตะเกียงและเป็นตัวทำ�ละลาย เช่น ละลายสี
คือ น้ำ�มันเชื้อเพลิงสำ�หรับเครื่องยนต์ดีเซล เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์
Diesel Oil น้ำ�มันดิบที่ได้จากโรงกลั่น ซึ่งเป็นน้ำ�มันที่เรียกว่า น้ำ�มันใส หรือ Distillate
Fuel มีช่วงจุดเดือดประมาณ 180-370 องศาเซลเซียส
คือ เชื้อเพลิงน้ำ�มันเตา เป็นเชื้อเพลิงที่สำ�คัญที่สุดในอุตสาหกรรม เพราะ
Heavy Fuel or Furnace Oil ราคาถูก ใช้ง่าย ให้ความร้อนสูง ไม่มีขี้เถ้า ในบรรดาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จาก
น้ำ�มันปิโตรเลียม น้ำ�มันเตามีราคาต่ำ�สุด
คือ ก๊าซชีวภาพชนิดหนึ่ง กำ�เนิดจากการทับถมของซากสิ่งมีชีวิตทั้งพืช
และสั ต ว์ เ ป็ น เวลานั บ หลายล้ า นปี โดยจะแปรสภาพเป็ น ก๊ า ซและน้ำ � มั น
Natural Gas
จึ ง จั ด เป็ น สารประกอบไฮโดรคาร์ บ อนชนิ ด หนึ่ ง โดยทั่ ว ๆ ไปจะ
ประกอบด้วยก๊าซมีเทน (Methane, CH4) ประมาณ 70% ขึ้นไป
คื อ แก๊ ส หุ ง ต้ ม เป็ น แก๊ ส ผสมระหว่ า งโพรเพน (C 3H 8) และบิ ว เทน
Acetylene Gas (C4H10) ส่วน Acetylene (C2H2) ไม่ใช้หุงต้ม แต่จะใช้ในอุตสาหกรรม
ปิโตรเคมีซะส่วนใหญ่
Blast Furnace Gas เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง เป็นเชื้อเพลิงที่มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิปกติ

art 5.indd 108 16/2/2558 14:11:03


หน่วยที่ 5 วัสดุเชื้อเพลิง 109

สรุปสาระการเรียนรู้หน่วยที่ 5

ต้นกำ�เนิดพลังงานที่ใช้สำ�หรับงานอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ประมาณ 90% ได้มาจากการ


เผาไหม้ของเชื้อเพลิง เช่น การให้ความร้อน การผลิตกระแสไฟฟ้า การทำ�งานของเครื่องจักรกล
และเครื่องยนต์ ฯลฯ เชื้อเพลิงที่ให้พลังงานมีทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ แหล่ง
กำ�เนิดของเชื้อเพลิงส่วนใหญ่ได้มาจากธรรมชาติ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงก่อให้เกิดความร้อน
และมลพิษในอากาศ เพราะฉะนั้นการใช้เชื้อเพลิงจึงควรคำ�นึงถึงความประหยัด การใช้อย่างคุ้มค่า
เกิดประโยชน์สูงสุด และต้องให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

art 5.indd 109 16/2/2558 14:11:03


110
แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 5

ตอนที่ 1 ให้เลือกคำ�ตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดไม่ใช่ประเภทของเชื้อเพลิง
ก. เชื้อเพลิงแข็ง ข. เชื้อเพลิงเหลว
ค. เชื้อเพลิงปิโตรเลียม ง. เชื้อเพลิงก๊าซ
2. เชื้อเพลิงแข็งต่อไปนี้  ข้อใดให้ค่าความร้อนสูงและมีราคาแพง
ก. ฟืน ข. ถ่านหินลิกไนต์
ค. ถ่านหินบิทูมินัส ง. ถ่านหินแอนทราไซต์
3. หินน้ำ�มันพบมากที่สุดที่จังหวัดใดของประเทศไทย
ก. ตาก ข. ลำ�พูน
ค. ลำ�ปาง ง. พะเยา
4.  ยางมะตอยที่ใช้ราดถนนเป็นกากที่เหลือจากการกลั่นน้ำ�มันดิบประเภทใด
ก. พาราฟิน เบส ข. แอสฟัลต์ เบส
ค. แอลฟา เบส ง. เดลตา เบส
5.  น้ำ�มันเบนซินพิเศษไร้สารตะกั่ว มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร
ก. ก๊าซโซฮอล์ ข. เบนซินธรรมดา
ค. เบนซินไร้สารตะกั่ว ง. น้ำ�มันก๊าด
6.  ค่าออกเทนนัมเบอร์ ใช้เรียกแทนคุณสมบัติข้อใด
ก. น้ำ�มันดีเซล ข. น้ำ�มันก๊าด
ค. น้ำ�มันเบนซิน ง. น้ำ�มันเตา
7.  การเก็บรักษาเชื้อเพลิงก๊าซข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. เก็บให้ห่างความร้อนและเปลวไฟ ข. เก็บในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก
ค. ป้องกันการล้มกระแทก ง. เก็บใกล้ถังก๊าซออกซิเจน
8. วัสดุเชื้อเพลิงหรือเชื้อเพลิงหมายถึงข้อใด
ก. มีธาตุคารบอนกับไฮโดรเจน ข. มีธาตุไฮโดรเจนกับออกซิเจน
ค. มีธาตุคารบอนกับออกซิเจน ง. มีธาตุออกซิเจนกับกาซมีเทน
9. เชื้อเพลิงแบงออกเปนกี่ชนิด
ก. 2 ชนิด ข. 3 ชนิด
ค. 4 ชนิด ง. 5 ชนิด
10. สีของน้ำ�มันกาดที่ไดจากการกลั่นคืออะไร
ก. ปราศจากสี ข. ไมมียางหรือกํามะถัน
ค. ความหนืด ง. น้ำ�มันเบนซิน

art 5.indd 110 16/2/2558 14:11:04


หน่วยที่ 5 วัสดุเชื้อเพลิง 111

ตอนที่ 2  คำ�ชี้แจง : ตอบคำ�ถามต่อไปนี้


1. วัสดุเชื้อเพลิงหรือเชื้อเพลิงหมายถึง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
2. เชื้อเพลิงแบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
3. กระบวนการกลั่นน้ำ�มันดิบหรือน้ำ�มันปิโตรเลียมออกมาเป็นผลิตภัณฑ์อาศัยหลักการใด
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
4. การกลั่นน้ำ�มัน หมายถึง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
5. ค่าออกเทน คือ
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
6. สีของน้ำ�มันก๊าดที่ได้จากการกลั่น คือ
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................

art 5.indd 111 16/2/2558 14:11:04


112

7. บอกคุณสมบัติของน้ำ�มันดีเซลที่ดีมา 3 ข้อ
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
8. บอกคุณสมบัติทั่วไปของน้ำ�มันเบนซินมา 3 ข้อ
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
9. ก๊าซชีวภาพ คือ
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
10. บอกการเก็บรักษาวัสดุเชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซมา 3 ข้อ
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................

กิจกรรมการเรียนรู้หน่วยที่ 5

1 ผู้สอนกล่าวทักทายผู้เรียน พร้อมเช็กชื่อผู้เรียน
2. ผู้สอนแจกหนังสือเรียนและบทเรียนโมดูล ให้ผู้เรียนจัดกลุ่ม 3 คน ศึกษาร่วมกัน
พร้อมกับทำ�แบบทดสอบ
3. ผู้สอนอธิบายความหมาย และชนิดของวัสดุเชื้อเพลิง
4. ผูู้สอนอธิบายเชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ
5. ผู้สอนมอบหมายงานให้ผู้เรียนปฏิบัติงาน ตามหลักการ วิธีการ และกิจนิสัยที่ดีในการ
ปฏิบัติงานโดยให้ผู้เรียนทำ�แบบฝึกหัดทบทวนหรือใบงานภายในห้องเรียน สามารถ
เปิดหนังสือควบคู่ในการตอบคำ�ถามได้
6. ผู้เรียนปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายโดยใช้ใบความรู้หรือเอกสารประกอบการเรียน
อย่างคุ้มค่า เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน และปฏิบัติงานด้วยความ
ซื่อสัตย์ สุจริต มุ่งมั่น ใช้เหตุผล และสติปัญญา

art 5.indd 112 16/2/2558 14:11:04


หน่วยที่ 6 สารหล่อลื่นและวัสดุหล่อเย็น 113

หน่วยที่

6 สารหล่อลื่นและวัสดุหล่อเย็น

สาระการเรียนรู้
1. สารหล่อลื่น
2. วัสดุหล่อเย็น

สมรรถนะการเรียนรู้
1. อธิบายสารหล่อลื่นได้
2. อธิบายวัสดุหล่อเย็นได้

art 6.indd 113 16/2/2558 14:11:40


114

หน่วยที่ 6 สารหล่อลื่นและวัสดุหล่อเย็น
สารหล่อลื่น
ความหมายของสารหล่อลื่น
การหล่อลื่น คือ การลดแรงเสียดทานหรือลดความฝืดระหว่างผิวหน้าของวัตถุที่เคลื่อนที่
เสียดสี หรือสัมผัสกัน โดยการใช้ฟิล์มน้ำ�มันเข้าไปแทรกอยู่ระหว่างผิวหน้าของวัตถุทั้งสอง โดย
ปกติวัตถุใด ๆ ก็ตามตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป และมีการเคลื่อนที่เสียดสีกัน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบเคลื่อนที่
ไป-กลับในแนวดิ่ง หรือเคลื่อนที่เสียดสีกันแบบหมุนรอบตัวเอง หรือเคลื่อนที่กันแบบกระแทกกัน
ซึ่งก่อให้เกิดกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้    

เสียงดัง  เกิดความร้อน  การหลอมละลาย  การสึกหรอ

สารหล่อลื่น  หมายถึง สารหรือวัสดุที่ใช้การหล่อลื่นชิ้นส่วนของเครื่องจักรกล ซึ่งอาจจะอยู่


ในรูปของของแข็ง ของแข็งที่บดเป็นผง ของเหลว  และก๊าซ  แต่สารหล่อลื่นที่นิยมใช้กันอย่างกว้าง
ขวางจะอยู่ในลักษณะของของเหลว เช่น น้ำ�มันหล่อลื่น หรือสารที่มีลักษณะเหนียว เช่น จาระบี
ต้นกำ�เนิดของสารหล่อลื่น มาจากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้
1. พืช สกัดมาจากเมล็ดพืช เช่น น้ำ�มันพืช น้ำ�มันละหุ่ง น้ำ�มันปาล์ม น้ำ�มันมะพร้าว
น้ำ�มันมะกอก ฯลฯ
2. สัตว์ ในสมัยโบราณใช้ทำ�เพลาเกวียน จักรเย็บผ้า ปืน โดยได้มาจากไขวัว ไขวาฬ น้ำ�มัน
หมู และขี้ผึ้ง
3. ผลิตภัณฑ์น้ำ�มันจากปิโตรเลียม เป็นวัสดุที่ได้จากการกลั่นน้ำ�มันปิโตรเลียม มี
คุณภาพดี นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน เช่น น้ำ�มันเครื่อง จาระบี น้ำ�มันหล่อลื่น ฯลฯ
4. แร่ ใ ต้ พื้ น ดิ น เป็ น วั ส ดุ อื่ น ๆ ที่ ไ ด้ จ ากโมลิ บ ดี นั ม ไดซั ล ไฟด์ (Molybdenum
Disulfide) แกรไฟต์ และน้ำ�มันสบู่
ชนิดของสารหล่อลื่น
สารหล่อลื่นแบ่งตามสถานะในการใช้งานได้ 3 ชนิด คือ
1. สารหล่อลื่นชนิดของเหลว ที่พบและใช้กันทั่ว ๆ ไป คือ น้ำ�มันชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำ�มัน
พืชหรือสัตว์ และน้ำ�มันที่ได้จากการกลั่นน้ำ�มันดิบหรือน้ำ�มันปิโตรเลียม
2. วัตถุหล่อลื่นประเภทกึ่งเหลว เช่น จาระบี
3. วัสดุหล่อลื่นชนิดของแข็ง เช่น ผงแกรไฟต โมลิบดีนัม

art 6.indd 114 16/2/2558 14:11:40


หน่วยที่ 6 สารหล่อลื่นและวัสดุหล่อเย็น 115
สารหล่อลื่นชนิดของเหลว
วัสดุหล่อลื่นชนิดเหลวที่พบและนิยมใช้กันทั่วไปคือ น้ำ�มันชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำ�มันพืช
น้ำ�มันสัตว์ และน้ำ�มันที่ได้จากการกลั่นน้ำ�มันดิบ หรือน้ำ�มันปิโตรเลียม มีอยู่หลายชนิดและหลาย
เกรดตามความหนืด
น้ำ�มันหล่อลื่น (Lubricating Oil) เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม
มีอยู่มากมายหลายชนิด ซึ่งถ้าแบ่งตามสถานะจะแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด คือ ก๊าซ ของเหลว
สารกึง่ แข็ง และของแข็ง สารหล่อลืน่ ทีเ่ ป็นของเหลวจะนิยมใช้กนั มากทีส่ ดุ รองลงมาก็คอื สารกึง่ แข็ง
ลักษณะของน้ำ�มันหล่อลื่น ลักษณะเป็นของเหลว มีหน้าที่หล่อลื่นชิ้นส่วนของ
เครื่องยนต์และเครื่องจักรกลที่มีลักษณะปิด ประกอบด้วยส่วนสำ�คัญ 2 ส่วนคือ น้ำ�มันหล่อลื่นพื้น
ฐาน Base Oil และสารเพิ่มคุณภาพ Additive
ชนิดของน้ำ�มันหล่อลื่น
1. น้�ำ มันหล่อลืน่ พืน้ ฐาน (Base Oil) ทีม่ ใี ช้ในปัจจุบนั คือน้�ำ มันพืชน้�ำ มันจากสัตว์
น้ำ�มันแร่ และน้ำ�มันสังเคราะห์ โดยส่วนใหญ่จะใช้น้ำ�มันแร่มาผลิตเป็นน้ำ�มันหล่อลื่นสำ�เร็จรูป
เพราะมีคุณภาพดีและราคาถูก ส่วนน้ำ�มันพืชหรือสัตว์เป็นน้ำ�มันที่มีราคาถูก
2. สารเพิ่มคุณภาพ (Additive) เครื่องจักรกลและเครื่องยนต์ในปัจจุบัน ได้รับการ
ออกแบบให้มีขนาดเล็กลง ทำ�งานเร็วขึ้น และภาระน้ำ�หนักก็สูงขึ้น น้ำ�มันหล่อลื่นในเครื่องจักร
และเครื่องยนต์ดังกล่าวต้องประสบกับสภาวะด้านอุณหภูมิ และสภาวะน้ำ�หนักสูง น้ำ�มันหล่อลื่น
พื้นฐานล้วน ๆ มักจะยังมีคุณภาพดีไม่เพียงพอที่จะทำ�หน้าที่ต่าง ๆ ให้ได้ครบถ้วน โดยมีอายุ
การใช้งานที่ยื่นนานตามสมควร ดังนั้นจึงต้องมีการเติมสารเพิ่มคุณภาพในปริมาณที่พอดีเพื่อเพิ่ม
คุณสมบัติในด้านเคมีและกายภาพของน้ำ�มันพื้นฐานให้ดี เหมาะสมกับงานที่ต้องการ สารเพิ่มคุณ
ภาพมีิอยู่มากมายหลายชนิดและประเภท แต่ที่มีใช้กันมาก ได้แก่ สารต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน
สารป้องกันการสึกหรอ สารป้องกันสนิม สารป้องกันฟอง สารรับแรงกดสูง สารเพิ่มดัชนีความ
หนืด สารชะล้างกระจายสิ่งสกปรก สารเพิ่มความด่าง ฯลฯ
มาตรฐานของน้ำ�มันหล่อลื่น
1. แบ่งตามสภาพความหนืดหรือข้นใส
ความหนืดถูกกำ�หนดค่ามาตรฐานโดยสมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย (Society
of Automotive Engineers Thailand) มีชื่อย่อว่า TSAE โดยกำ�หนดค่าไว้เป็นเบอร์ (NO.) ดังนี้
เบอร์ การใช้งาน
No.10 ความหนืดน้อยมาก ใช้สำ�หรับหล่อลื่นชิ้นส่วนที่หมุนรอบสูง ๆ รับภาระน้อย เช่น จักรเย็บผ้า
No.20W/50 ความหนืดอยู่ในช่วง 20-50 เป็นน้ำ�มันหล่อลื่นชนิดพิเศษ (ผสมประเภทโพลิเมอร์) ณ
อุณหภูมิต่ำ� มีความหนืดเท่ากับ No.20 ถ้าอุณหภูมิปกติจะมีความหนืดเท่ากับ No. 50
No.30 มีความหนืดปานกลาง ใช้ในการหล่อลื่นเครื่องจักรทั่วไป
No.40 มีความหนืดปานกลาง ใช้สำ�หรับเครื่องยนต์ดีเซลทั่วไป
No.90 ความหนืดสูงใช้หล่อชุดเฟืองทดของเครือ่ งจักรใหญ่ทร่ี บั ภาระมาก หรือใช้กบั เฟืองท้ายรถยนต์

art 6.indd 115 16/2/2558 14:11:40


116

2. แบ่งตามสภาพการใช้งาน
ตามมาตรฐานของสถาบันปิโตรเลียมของอเมริกา API (American Petroluam
Institute) ใช้ระบุประเภทเครื่องยนต์ และสมรรถนะในการป้องกันชิ้นส่วนของเครื่องยนต์
1. สำ�หรับเครื่องยนต์เบนซินใช้อักษร “S” (Spark Ignition) เช่น SA SD
SF SG SH SI SJ SL SM SN
2. เครื่องยนต์ดีเซลใช้อักษร “C” (Compress Ignition) เช่น CD CB...
CF4 บางครั้งเราอาจเห็นทั้ง “S” และ “C” มาด้วยกัน เช่น SG/CH4 หมายถึง น้ำ�มันเครื่องนี้
เหมาะสำ�หรับการใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน แต่ก็สามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้ในระยะสั้น หรือ
CH4/SG ก็จะกลับกันกับกรณีข้างต้นคือเหมาะสำ�หรับการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล แต่ก็สามารถใช้
กับเครื่องยนต์เบนซินได้ในระยะสั้น
กรรมวิธีการผลิต การผลิตน้ำ�มันหล่อลื่นแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการ
ผลิตน้ำ�มันหล่อลื่นพื้นฐาน และขั้นตอนการผลิตน้ำ�มันหล่อลื่นสำ�เร็จรูป
1. กระบวนการผลิตน้ำ�มันหล่อลื่นพื้นฐาน
เป็ น ส่ ว นที่ แ ยกออกมาจากหอกลั่ น น้ำ � มั น ดิ บ โรงกลั่ น ทั่ ว ไปจะใช้ น้ำ � มั น
ประเภท Paraffin Base และ Naphtha Base เป็นวัตถุดิบในการผลิตหลังจากกลั่นแยกเอา
น้ำ�มันเชื้อเพลิงต่าง ๆ ออกไปแล้ว ส่วนที่เหลือจะนำ�ไปกลั่นต่อในหอกลั่นสุญญากาศ (Vacuum
Tower) เพื่อให้ส่วนที่เป็นน้ำ�มันหล่อลื่นพื้นฐานกลั่นแยกออก หลังจากนั้นจะนำ�มากำ�จัดสิ่งที่ไม่
ต้องการออก เพื่อทำ�ให้น้ำ�มันหล่อลื่นบริสุทธิ์และมีคุณภาพดีขึ้น
2. น้ำ�มันหล่อลื่นสำ�เร็จรูป
เป็ น การผสมระหว่ า งน้ำ � มั น หล่ อ ลื่ น พื้ น ฐานกั บ สารเพิ่ ม คุ ณ ภาพเพื่ อ ให้
คุณสมบัติตามต้องการ เหมาะสมกับสภาพการใช้งานต่าง ๆ
ส่วนน้ำ�มันสำ�หรับงานพิเศษ จะทำ�หน้าที่พิเศษ เช่น เป็นฉนวนไฟฟ้าใน
หม้อแปลง ใช้เคลือบผิวโลหะป้องกันสนิม เป็นตัวนำ�ความร้อน ฯลฯ
การใช้งาน นำ�ไปใช้หล่อลื่นชิ้นส่วนของเครื่องยนต์และเครื่องจักรกลที่มีลักษณะปิด
เช่น ภายในห้องเพลาข้อเหวี่ยง ห้องเกียร์ และเฟืองท้าย
สารหล่อลื่นประเภทกึ่งของแข็ง
หล่อลื่นที่เป็นของกึ่งของแข็ง (Semi-Solid) ได้แก่ ประเภทจาระบี เหมาะสำ�หรับ
ใช้ในการหล่อลืน่ ในทีท่ น่ี �ำ้ มันไม่สามารถลืน่ ได้อย่างสมบูรณ์ เช่น ตลับลูกปืนบางชนิดเฟืองเปิด ฯลฯ
การใช้จาระบีอาจมีปัญหาคือเรื่องการกระเด็น ฝุ่นเจือปนลงในจาระบี ซึ่งทำ�ให้การหล่อลื่นมี
ประสิทธิภาพลดลง แต่ข้อดีของจาระบีก็คือจะจับติดกับชิ้นส่วนได้ดี ไหลตัวได้ยากเมื่อเทียบกับ
น้ำ�มัน

art 6.indd 116 16/2/2558 14:11:40


หน่วยที่ 6 สารหล่อลื่นและวัสดุหล่อเย็น 117

จาระบี (Grease)  คือ ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นที่มีลักษณะกึ่งของแข็งและกึ่งของเหลว


เป็นส่วนผสมของน้ำ�มันหล่อลื่นพื้นฐาน สารเพิ่มคุณภาพทางเคมีและสบู่ น้ำ�มันหล่อลื่นพื้นฐาน
ที่ใช้ทำ�จาระบีมักเป็นพวกที่มีดัชนีความหนืดสูง เพื่อให้สามารถใช้ได้ทั้งอุณหภูมิสูงและต่ำ�ในบางที่
ที่ไม่สามารถใช้น้ำ�มันหล่อลื่นได้ เช่น แบริงหรือลูกปืนบางชนิด  ลูกหมากปีกนก คันชักคันส่ง
หูแหนบ  ฯลฯ เพราะอาจเกิดปัญหาเรื่องการรั่วไหล ฝุ่นหรือสิ่งสกปรกแทรกเข้าไปเจือปน ฯลฯ
ทำ�ให้การหล่อลื่นไม่ได้ผล จึงจำ�เป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นอื่นที่มีสภาพความคงตัว มีคุณสมบัติ
ในการจับติดชิ้นส่วนที่ต้องการได้ดีกว่าน้ำ�มันหล่อลื่น
ชนิดของสารที่ใช้ คุณสมบัติของจาระบี
1. จาระบีชนิดผสมสบู่
1) สบู่แคลเซียม ทนน้ำ� ราคาถูก ไม่ทนความร้อน
2) สบู่โซเดียม ทนความร้อน ไม่ทนน้ำ� เกิดสนิมได้ง่าย
3) สบู่อะลูมิเนียม มีความเหนียมเกาะติดดี ทนน้ำ� ไม่ทนความร้อน
4) สบู่ลิเทียม ทนน้ำ�และทนความร้อนสูง
5) สบู่ลิเทียมคอมเพล็กซ์
2. จาระบีชนิดที่ไม่ผสมสบู่ ทนความร้อนสูง
1) จาระบีซิลิกา ทนความร้อน ไม่ทนน้ำ� เกิดสนิมได้ง่าย
2) จาระบีผสมดินเหนียว เนื้อละเอียด ทนความร้อน ไม่ทนน้ำ�
คุณลักษณะของจาระบี
จาระบีโดยทั่ว ๆ ไปเป็นสารประกอบของน้ำ�มันหล่อลื่นพื้นฐาน สารอุ้มน้ำ�มัน
และสารเพิ่มคุณภาพน้ำ�มันทั้ง 3 อย่างนำ�มาประกอบกัน มีลักษณะเป็นกึ่งของเหลวที่เรียกว่า
จาระบี
1. น้ำ�มันหล่อลื่นพื้นฐานที่ใช้ทำ�จาระบี ได้แก่ น้ำ�มันแร่ น้ำ�มันสังเคราะห์ โดย
ทั่วไปแล้วจะใช้เป็นน้ำ�มันแร่ ส่วนน้ำ�มันสังเคราะห์จะใช้ในอุณหภูมิสูงและมีราคาแพง
2. สารเพิ่มคุณภาพ ซึ่งเป็นสารเพิ่มคุณภาพทางด้านป้องกันสนิม สารรับแรงกด
สูง สารขับน้ำ� สารเกาะเหนียว เป็นต้น
3. สารอุ้มน้ำ�มัน เป็นสารที่มีผลทางด้านอุณหภูมิการใช้งานของจาระบี ส่วนใหญ่
จะเป็นสบู่ ซึ่งผลิตง่าย คุณภาพดี ราคาถูก ส่วนสารชนิดอื่น ได้แก่ สารอินทรีย์ ได้แก่ ดินเหนียว
เบนโทไนท์ หรือสารอินทรีย์ ได้แก่ โปลียูเรีย เป็นต้น
มาตรฐานจาระบี
1. ความอ่ อ นแข็ ง (Consistency) จาระบี ช นิ ด เดี ย วกั น อาจมี ค วามอ่ อ น
แข็งต่างกัน ขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์ของสบู่และความหนืดของน้ำ�มันพื้นฐาน ทางสถาบันจาระบี
ในสหรัฐอเมริกา (National Lubricating Grease Institute : NLGI) ได้กำ�หนดความอ่อนแข็ง

art 6.indd 117 16/2/2558 14:11:40


118

ของจาระบีออกเป็น 9 ระดับ ทดสอบได้โดยการปล่อยเครื่องมือรูปกรวยปลายเแหลมให้ปักจมลง


ในเนือ้ จาระบีเป็นเวลา 5 วินาทีทอ่ี ณ
ุ หภูมิ 25 องศาเซลเซียส และวัดระยะจมโดยวัดเป็นหน่วย 1/10
มิลลิตร ดังตารางด้านล่าง จาระบีทม่ี รี ะดับความแข็งหรือเลขทีต่ �ำ่ ทีส่ ดุ จะเป็นจาระบีเนือ้ อ่อนทีส่ ดุ

เบอร์ความแข็งจาระบี ระยะจม (1/10 มม.)


NGLI Grade PenTration ที่ 25 องศาเซลเซียส
000 445-475
00 400-430
0 355-385
1 310-340
2 265-295
3 220-250
4 175-250
5 130-160
6 85-115
2. ความคงทนต่ออุณหภูมิ (Temperrature Stability) ความสามารถในการ
คงสภาพทั้งโครงสร้างและความอ่อนแข็งของจาระบีเมื่อได้รับอุณหภูมิ 125 องศาเซลเซียส
3. จุดหยด (Dropping Point) จุดหยดเป็นจุดที่บ่งบอกถึงอุณหภูมิสูงสุด
ที่จาระบีทนได้ ซึ่งก็คืออุณหภูมิที่จาระบีหมดความคงตัวและจะเยิ้มไหลกลายเป็นของเหลว
4. การแยกตัวของน้ำ�มัน (Separations) เปอร์เซ็นต์ของน้ำ�มันที่จะแยกจาก
จาระบีภายใต้สภาวะคงที่ เช่น ขณะเก็บรักษา
5. ความคงทนต่อแรงเฉือน (Shear Stability) ความสามารถที่จะทนต่อ
การเปลี่ยนแปลงความอ่อนแข็งเมื่อได้รับแรงเฉือนเครื่องจักร ภายใต้แรงเฉือนที่สูงโครงสร้างของ
จาระบีมักจะเปลี่ยนแปลงไปทำ�ให้ความแข็งลดลง
วิธีการผลิตจาระบี
เริ่มต้นนำ�เอาไฮดรอกไซด์ของโลหะ (ด่าง) มาผสมกับไขสัตว์หรือน้ำ�มันพืชให้เป็นสบู่
เสียก่อน แล้วจึงผสมน้ำ�มันพืชฐานกับสบู่ขั้นต่อไปก็เติมสารเพิ่มคุณภาพต่าง ๆ ตามแต่ต้องการ
ปกติแล้วกระบวนการทั้งหมดจะทำ�ในภาชนะอันเดียว เรียกว่า Kettle เป็นถังเหล็กมีลักษณะกลม
สูง ตอนล่างเป็นกรวยภายใน มีเครื่องกวนซึ่งหมุนอยู่ในแนวตั้งเครื่องกวนให้น้ำ�และสบู่เคล้าด้วย
กัน ภายใต้อุณหภูมิที่กำ�หนด ทำ�ให้ได้ผลิตภัณฑ์จาระบี

art 6.indd 118 16/2/2558 14:11:40


หน่วยที่ 6 สารหล่อลื่นและวัสดุหล่อเย็น 119

สารเพิ่ม
ไขมัน ด่าง สบู่ คุณภาพ น้ำ�มัน

ถังกวน

การผลิตจาระบี จาระบี
รูปที่ 6.1 ขั้นตอนการผลิตจาระบี
การใช้งาน งานที่ต้องใช้จาระบีมีดังนี้
1. เครื่องจักรที่ทำ�งานไม่ต่อเนื่อง หรือเครื่องจักรที่ถูกเก็บไว้เป็นเวลานาน ๆ เพราะ
ชั้นฟิล์มหล่อลื่นของจาระบีจะช่วยรักษาชิ้นส่วนเคลื่อนที่ของเครื่องจักรเอาไว้
2. เครื่องจักรที่ผู้ใช้ไม่สะดวกที่จะใส่น้ำ�มันหล่อลื่นได้บ่อย ๆ หรือใส่น้ำ�มันหล่อลื่น
ได้ยาก เช่น ในตำ�แหน่งที่คับแคบและเข้าถึงได้ยาก
3. เครื่องจักรที่ทำ�งานในสภาวะหนัก เช่น อุณหภูมิสูง ความดันสูง แรงสั่นสะเทือน
มาก หรือเครื่องจักรความเร็วรอบต่ำ�แต่โหลดหนัก ๆ
4. ชิ้นส่วนหรือเครื่องจักรเก่า เพราะจาระบีจะช่วยลดช่องว่างของชิ้นส่วนที่มีการ
เคลื่อนที่ของเครื่องจักรให้น้อยลง ช่วยยืดอายุของเครื่องจักรเก่าซึ่งเคยใช้น้ำ�มันเป็นสารหล่อลื่นมา
ก่อน และจาระบียังช่วยลดเสียงดังรบกวนที่เกิดจากการเสียดสีของเครื่องจักรเก่าด้วย
วัสดุหล่อเย็น
ความหมายของน้ำ�มันหล่อเย็น
น้ำ�มันหล่อเย็น หมายถึง น้ำ�มันที่ผลิตขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์หลัง คือ ระบายความร้อนที่เกิด
ขึ้นระหว่างการผลิตด้วยเครื่องมือตัด เช่น งานกลึงโลหะ งานตัด งานเจียระไน งานกัด ส่วนจุด
ประสงค์รอง คือหล่อลื่น และชะล้างสิ่งสกปรกป้องกันสนิม ส่วนใหญ่คือน้ำ�มันหล่อเย็น
หน้าที่น้ำ�มันหล่อเย็น
1. ระบายความร้อนที่เกิดขึ้นกับการตัดเฉือนเนื้อวัสดุออกจากชิ้นงานและระบาย
ความร้อนที่เกิดจากแรงเสียดทานของเศษชิ้นงานกับคมเครื่องมือ
2. หล่อลื่นเพื่อลดแรงเสียดทานที่เกิดขึ้น
3. ชะพาเศษชิ้นงาน และเศษเครื่องมือให้ออกจากบริเวณตัดเฉือน
4. ป้องกันสนิมชิ้นงานและคมเครื่องจักร

art 6.indd 119 16/2/2558 14:11:41


120

ชนิดและการใช้งานของน้ำ�มันหล่อเย็น
น้ำ�มันหล่อเย็นแบ่งชนิดตามการใช้งานได้ 2 ชนิด คือ
1. ชนิดผสมกับน้ำ� มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่าน้ำ�มันสบู่ทำ�จากสารสังเคราะห์หรือ
แร่น้ำ�มัน ผสมกับตัวทำ�ละลายและสารเพิ่มคุณภาพ เช่น การป้องกันสนิม สารป้องกันการเกิดฟอง
สารฆ่าเชื้อ จุลินทรีย์ ใช้สำ�หรับงานตัดเฉือนโดยทั่ว ๆ ไป เช่น งานกลึง ตัด เจาะ ไส กัด เป็นต้น วิธี
การผสมกับน้ำ�ควรใช้น้ำ�สะอาดใส่ลงในอ่างหรือภาชนะผสมตามอัตราส่วนโดยทั่วไปจะประมาณ
3-5% แล้วจึงค่อย ๆ เทน้ำ�มันสบุ่ตามอัตราส่วนลงในน้ำ�
2. ชนิดน้ำ�มันล้วน ๆ น้ำ�มันชนิดนี้จะใช้ในกรณีหล่อเย็นวัสดุที่มีความเหนียว
หรือแข็งมาก ๆ โดยทั่วไปจะเป็นน้ำ�มันแร่กลั่นอย่างดีผสมน้ำ�มันจากพืชหรือสัตว์ เพื่อช่วยการ
หล่อลื่น สารช่วยเพิ่มคุณภาพในการช่วยรับแรงกด การเลือกใช้ควรคำ�นึงชนิดของโลหะเพราะ
สารช่วยเพิ่มคุณภาพบางชนิดอาจทำ�ให้มีของโลหะเปลี่ยนไปโดยดูคู่มือการใช้ตามที่บริษัทผู้ผลิต
กำ�หนด
การเก็บรักษาวัสดุหล่อลื่น/หล่อเย็น
1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผิวหนัง เพราะสัมผัสบ่อย ๆ หรือนาน ๆ อาจก่อให้
เกิดมะเร็งผิวหนังได้
2. หลีกเลี่ยงการสูดดมเข้าสู่ปอด อาจก่อให้เกิดการวิงเวียนปวดศีรษะ คลื่นไส้
อาเจียน อ่อนเพลีย ง่วงนอน หรือขั้นรุนแรงอาจเกิดอาการขาดออกซิเจนทำ�ให้เสียชีวิตได้
3. การเก็บน้ำ�มันควรเก็บไว้ในร่มที่สามารถป้องกันแดดและฝน ระบายอากาศได้
ดี ถ้าอากาศอบอ้าวอาจทำ�ให้น้ำ�มันเสื่อมคุณภาพลงได้
4. หลีกเลี่ยงการล้างมือโดยน้ำ�มันก๊าดหรือเบนซินควรใช้สบู่แทน
5. หลีกเลี่ยงการดดูน้ำ�มันโดยสายยางโดยใช้ปากดูด
6. เครื่องจักรกลควรมีฝาครอบกันสารหล่อลื่นหรือหล่อเย็นกระเด็นขณะเครื่อง
จักรทำ�งาน

art 6.indd 120 16/2/2558 14:11:41


หน่วยที่ 6 สารหล่อลื่นและวัสดุหล่อเย็น 121

คำ�ศัพท์ท้ายหน่วยที่ 6

คำ�ศัพท์ ความหมาย
เป็นวัตถุดิบหลักในผลิตน้ำ�มันหล่อลื่นที่สำ�คัญและจำ�เป็นในการลดแรง
เสียดทานของเครื่องจักรและเครื่องยนต์ น้ำ�มันหล่อลื่นส่วนใหญ่ประกอบ
Lube Base Stock
ด้ ว ยน้ำ � มั น หล่ อ ลื่ น พื้ น ฐานประมาณ 90% ส่ ว นที่ เ หลื อ เป็ น สำ � รองเพิ่ ม
คุณภาพหรือสำ�รองเติมแต่ง
คือ ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นที่มีลักษณะกึ่งของแข็งและกึ่งของเหลว เป็นส่วนผสม
Grease
ของน้ำ�มันหล่อลื่นพื้นฐาน สารเพิ่มคุณภาพทางเคมีและสบู่

สรุปสาระการเรียนรู้หน่วยที่ 6
การทำ�งานของเครื่องจักร เครื่องยนต์ หรือชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่มีการเคลื่อนไหว มีการเสียดสี
ส่วนใหญ่จะเกิดความร้อนและมีการสึกหรอในการใช้งาน จึงจำ�เป็นต้องนำ�สารหล่อลื่นมาช่วยลด
ความร้อนและการสึกหรอ ส่วนวัสดุหล่อเย็นนั้นใช้เพื่อลดอุณหภูมิการทำ�งานระหว่างคมมีดกับ
ชิ้นงาน ลดการสึกหรอ และทำ�ให้ชิ้นงานมีผิวเรียบ

art 6.indd 121 16/2/2558 14:11:41


122

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 6

ตอนที่ 1 ให้เลือกคำ�ตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของน้ำ�มันหล่อเย็น
        ก. ระบายความร้อน ข. ระบายอากาศ
       ค. หล่อเย็น ง. ป้องกันสนิม
2. EP หมายถึง
ก. สารต้านแรงกดสูง  ข. สารลดแรงเสียดทาน
ค. สารต้านการสึกหรอ ง. สารต้านการเกิดสนิม
3. Anti-Wear-Additive  หมายถึง             
  ก. สารต้านแรงกดสูง  ข. สารลดแรงเสียดทาน
ค. สารต้านการสึกหรอ ง. สารต้านการเกิดสนิม
4. น้ำ�มันหล่อเย็นมีกี่ประเภท
ก. 5 ข. 6
    ค. 7   ง. 8
5. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของสารหล่อลื่น
ก.  ลดความเสียดทาน ข. ป้องกันสนิม
ค. ลดความร้อน ง. ลื่นติดผิวของวัสดุได้ดี
6.  แกรไฟต์และส่วนผสมของแกรไฟต์จัดเป็นสารหล่อลื่นประเภทใด
ก. ของเหลว ข. กึ่งของแข็ง
ค. ของแข็ง ง. ก๊าซ
7.  ความหนืดของน้ำ�มันเกรด  SAE  30  นิยมใช้เป็นอะไร
ก. น้ำ�มันเกียร์ ข. น้ำ�มันเครื่อง
ค. น้ำ�มันเฟืองท้าย ง. น้ำ�มันเบรก
8.  สารข้อใดเมื่อปะปนเข้าไปกับน้ำ�มันหล่อลื่นอาจทำ�ให้น้ำ�มันหล่อลื่นเสื่อมคุณภาพได้
ก. เขม่า ข.  น้ำ�มันแร่
ค.  น้ำ�มันสังเคราะห์ ง.  น้ำ�มันดิบ
9.  สารข้อใดเมื่อปะปนมากับน้ำ�มันหล่อลื่นถ้าถูกตีปั่นกับน้ำ�มันจะทำ�ให้น้ำ�มันเกิดการขุ่นขาว
ก.  น้ำ�มัน ข.  เขม่า
ค.  ฝุ่นผง ง.  น้ำ�
10.  การเก็บตัวอย่างน้ำ�มันหล่อลื่นใช้แล้วเพื่อการวิเคราะห์เป็นหน้าที่ของใคร
ก.  ตัวแทนจำ�หน่ายน้ำ�มัน ข. บริษัทผู้ผลิตน้ำ�มัน
ค. ผู้ใช้น้ำ�มัน ง. ถูกทุกข้อ

art 6.indd 122 16/2/2558 14:11:41


หน่วยที่ 6 สารหล่อลื่นและวัสดุหล่อเย็น 123
ตอนที่ 2 ตอบคำ�ถามต่อไปนี้
1. อธิบายความหมายของวัสดุหล่อเย็น
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
2. บอกหลักการใช้งานวัสดุหล่อเย็น
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
3. บอกความจำ�เป็นของการนำ�วัสดุหล่อเย็นไปใช้งาน
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
4. บอกหลักการเลือกวัสดุหล่อเย็นไปใช้งานมา 3 ข้อ
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
5. บอกชนิดของวัสดุหล่อเย็นมา 3 ข้อ
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
ตอนที่ 3 บอกชื่อโลหะต่อไปนี้ให้ถูกต้องและตรงกับคุณสมบัติที่กำ�หนดให้
ลำ�ดับ ลักษณะการหล่อลื่น S – Service
1 เหมาะสำ�หรับเครื่องยนต์ทำ�งานเบาและปานกลาง
2 เป็นเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพต่ำ� เหมาะสำ�หรับเครื่องยนต์ทำ�งานเบาและ
ปานกลาง แต่มีการเติมสารป้องกันการกัดกร่อน
3 เป็ น เชื้ อ เพลิ ง ที่ มี คุ ณ สมบั ติ ใ นการชำ � ระล้ า งกระจายเขม่ า และตะกอนที่
อุณหภูมิสูง
4 เป็นเชื้อเพลิงที่มีคุณสมบัติในการชะล้างสูง กระจายเขม่า และตะกอนใน
อุณหภูมิสูง
5 เป็นเชื้อเพลิงที่มีคุณสมบัติในการป้องกันการสึกหรอ
6 มีการเติมสารป้องกันการกัดกร่อนในแบริง
7 เหมาะสำ�หรับเครื่องยนต์ดีเซลธรรมดา
8 เหมาะสำ�หรับเครื่องยนต์ที่ติดตั้งเทอร์โบชาร์จเจอร์
9 ป้องกันสิ่งสกปรกที่เกาะตามลูกสูบ
10 เป็นเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพสูง

art 6.indd 123 16/2/2558 14:11:41


124

กิจกรรมการเรียนรู้หน่วยที่ 6

1 ผู้สอนกล่าวทักทายผู้เรียน พร้อมเช็กชื่อผู้เรียน
2. ผู้สอนแจกหนังสือเรียนและบทเรียนโมดูล ให้ผู้เรียนจัดกลุ่ม 3 คน ศึกษาร่วมกัน
พร้อมกับทำ�แบบทดสอบ
3. ผู้สอนอธิบายเกี่ยวกับสารหล่อลื่นและวัสดุหล่อเย็น
4. ผู้สอนมอบหมายงานให้ผู้เรียนปฏิบัติงาน ตามหลักการ วิธีการ และกิจนิสัยที่ดี
ในการปฏิบัติงานโดยให้ผู้เรียนทำ�แบบฝึกหัดทบทวนหรือใบงานภายในห้องเรียน
สามารถเปิดหนังสือควบคู่ในการตอบคำ�ถามได้
5. ผู้เรียนปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายโดยใช้ใบความรู้หรือเอกสารประกอบการเรียน
อย่างคุ้มค่า เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน และปฏิบัติงานด้วยความ
ซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมั่น ใช้เหตุผล และสติปัญญา

art 6.indd 124 16/2/2558 14:11:41


หน่วยที่ 7 วัสดุก่อสร้าง 125

หน่วยที่

7 วัสดุก่อสร้าง
สาระการเรียนรู้
1. ความหมายและชนิดของวัสดุก่อสร้าง
2. ปูนซีเมนต์
3. คอนกรีต
4. อิฐ
5. เหล็กกล้าก่อสร้างทั่วไป
6. ไม้
7. ทราย
8. วัสดุมุงหลังคา

สมรรถนะการเรียนรู้
1. อธิบายความหมายและชนิดของวัสดุก่อสร้างได้
2. อธิบายเกี่ยวกับปูนซีเมนต์ได้
3. อธิบายเกี่ยวกับคอนกรีตได้
4. อธิบายเกี่ยวกับอิฐได้
5. อธิบายเหล็กกล้าก่อสร้างทั่วไปได้
6. อธิบายเกี่ยวกับไม้ได้
7. อธิบายเกี่ยวกับทรายได้
8. อธิบายเกี่ยวกับวัสดุมุงหลังคาได้

art 7.indd 125 16/2/2558 14:12:12


126

หน่วยที่ 7 วัสดุก่อสร้าง
ปัจจุบันสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นด้วยฝีมือมนุษย์ทุกวันนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนอง
ความต้องการของมนุษย์เป็นจำ�นวนมากพร้อมอำ�นวยความสะดวกสบายเทคโนโลยีที่ทันสมัยสมัย
ซึ่งนับได้ว่าเป็นความจำ�เป็นพื้นฐานที่มนุษย์ขาดได้นั่นคือ ที่อยู่อาศัยและเครื่องนุ่งห่ม
ความหมายและชนิดของวัสดุก่อสร้าง
วัสดุก่อสร้าง
สิง่ ก่อสร้างต่าง ๆ ได้ถกู ออกแบบในลักษณะ รูปร่าง ขนาด และรูปแบบทีแ่ ตกต่างกันออก
ไป ทัง้ นี้ ขึน้ อยูก่ บั ความต้องการของผูอ้ ยูอ่ าศัย รูปแบบทีท่ นั สมัยอยูต่ ลอดเวลา รูปแบบทีส่ วยงาม
และราคาทีเ่ หมาะสม สิง่ ก่อสร้างเหล่านีไ้ ด้ถกู สร้างขึน้ โดยวัสดุกอ่ สร้างหลายชนิด เช่น เหล็ก ไม้ ฯลฯ
ดังนั้น จึงจำ�เป็นต้องมีการศึกษาถึงวัสดุก่อสร้างเพื่อเป็นพื้นฐานในการไปใช้งานและศึกษาต่อใน
ระดับสูงต่อไป
วัสดุก่อสร้าง งานช่างที่สำ�คัญสำ�คัญอีกประการหนึ่งก็คืองานก่อสร้าง วัสดุที่ใช้ในงาน
ก่อสร้างได้ถูกผลิตขึ้นมาเป็นจำ�นวนมากเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ดังนั้น จึงมี
ความจำ�เป็นที่จะต้องศึกษาถึงวัสดุก่อสร้างเหล่านี้
ชนิดของวัสดุก่อสร้าง
เนื่องจากวัสดุก่อสร้างมีเป็นจำ�นวนมาก จึงแบ่งประเภทออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. วัสดุก่อสร้างทั่วไป ได้แก่ ไม้ หิน ทราย กรวด อิฐ คอนกรีต ปูนซีเมนต์
2. วัสดุมุงหลังคา ได้แก่ สังกะสี กระเบื้องมุงหลังคา
3. วัสดุปูพื้น ได้แก่ ปาร์เกต์ กระเบื้องปูพื้น

ปูนซีเมนต์ (Cement)
ปูนซีเมนต์ คือ วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างชนิดหนึ่ง
คุณลักษณะ
ลักษณะเป็นผง เมื่อผสมคลุกกับน้ำ�แล้วทิ้งไว้จะเกิดปฏิกิริยาเคมี เป็นผลให้เกิดการก่อตัว
และแข็งตัวได้ องค์ประกอบเคมีที่สำ�คัญ คือ แคลเซียมซิลิเกต แคลเซียมอะลูมิเนตและแคลเซียม
อะลูมิโนเฟอร์ไรต์
ชนิดปูนซีเมนต์
ปูนซีเมนต์ แบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ ดังนี้
1. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (Portland Cement) เป็นปูนซีเมนต์ที่มีลักษณะพิเศษ คือ
แข็งตัวในน้ำ�ได้ ปูนซีเมนต์ชนิดนี้ทำ�มาจากการเผาส่วนผสมซึ่งส่วนใหญ่เป็นปูนขาว ดินเหนียว

art 7.indd 126 16/2/2558 14:12:13


หน่วยที่ 7 วัสดุก่อสร้าง 127

ซึ่งมีซิลิกา อะลูมินา และเหล็กออกไซด์อยู่ จนกลายเป็นปูนเม็ด จากนั้นนำ�ไปบดให้ละเอียด


พร้อมทั้งเติมยิปซัม (Gypsum) เพื่อทำ�ให้เป็นปูนซีเมนต์ที่ผลิตแข็งตัวช้าลง ถ้าหากไม่เติมยิปซัม
ปูนซีเมนต์ที่ผลิตได้จะแข็งตัวเร็วมากจนไม่สามารถนำ�ไปใช้งานได้
2. ปูนซีเมนต์ธรรมชาติ (Natural Cement) เป็นปูนซีเมนต์ที่รับกำ�ลังได้ต่ำ�กว่า
ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ทั้งนี้ เพราะส่วนผสมเป็นหินที่ได้จากธรรมชาติ ทำ�ให้ส่วนผสมที่มีอยู่ในหิน
ไม่แน่นอน
3. ปูนซีเมนต์ปอซโซลาน (Pozzolan Cement) เป็นปูนซีเมนต์ที่เกิดจากส่วนผสม
ของปูนขาวและกากจากเตาเผาเหล็กหรือ Puzzolan ซึ่งเกิดตามธรรมชาติ รวมกับพวกหินที่เกิด
จากภูเขาไฟมาผสมแล้วบดให้ละเอียด ในสมัยโบราณชาวโรมันได้ใช้ปูนซีเมนต์ชนิดนี้ในการ
ก่อสร้าง ปูนซีเมนต์ชนิดนี้มีคุณภาพด้อยกว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์
4. ปูนซีเมนต์อลูมินัส (Aluminous Cement) เป็นปูนซีเมนต์ที่เมื่อผสมกับน้ำ�
แล้วจะเกิดความร้อนมาก แต่จะแข็งตัวได้เร็ว ซึ่งผลิตได้โดยเอาแร่บ็อกไซต์ (Bauxite) ผสมกับ
ปูนขาวแล้วนำ�ไปเผา จากนั้นนำ�มาบดให้ละเอียดจะได้ผงปูนซีเมนต์ คอนกรีตที่เกิดจากปูนซีเมนต์
อะลูมินัส เมื่อปล่อยไว้ 24 ชั่วโมง จะรับกำ�ลังได้เท่ากับคอนกรีตซึ่งเกิดจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์
ทิ้งไว้ 3 เดือน
5. ปูนซีเมนต์ซิลิกา (Silica Cement) เป็นปูนซีเมนต์ซึ่งเกิดจากการผสมทรายละเอียด
เข้าไปประมาณ 25% เพื่อให้ราคาถูกลง เหมาะกับการใช้งานที่ไม่ต้องรับแรงมากนัก เช่น ปล่อง
ถังส้วม ท่อระบายน้ำ�
มาตรฐานข้อกำ�หนดคุณภาพปูนซีเมนต์
ปู น ซี เ มนต์ ที่ ผ ลิ ต ออกมานั้ น จะต้ อ งให้ คุ ณ ภาพตามมาตรฐานที่ กำ � หนดไว้ แ ละต้ อ งมี
คุณภาพสม่ำ�เสมออีกด้วยซึ่งกำ�หนดไว้ใน Specification ของประเทศต่าง ๆ เช่น ASTM,
BIS ฯลฯ ซึ่งข้อกำ�หนดที่สำ�คัญที่ควรทราบคือ
1. คุณสมบัติทางกายภาพ
1.1 พื้นผิวจำ�เพาะ (Finess Specific Surface) หมายถึง ความละเอียดของ
ปูนซีเมนต์โดยวัดพื้นผิวของซีเมนต์ 1 กรัม มีพื้นที่ผิวรวมกันได้กี่ตารางเซนติเมตร สำ�หรับ
Portland Type I จะมีความละเอียด 2800-3000 cm2/g, Type III 4000-48000 cm2/g ค่า
ความละเอียดยิ่งมาก ค่า Compressive Sttength ก็ยิ่งมากขึ้นด้วย และการเกิดปฏิกิริยากับน้ำ�จะ
เร็วขึ้น ทำ�ให้เวลาในการก่อตัว (Setting Time) เร็วขึ้นด้วย
1.2 ความอยู่ตัว (Soundness) เป็นการทดสอบการขยายตัวของปูนซีเมนต์โดย
ใช้ Autoclave เพื่อดูว่าปูนซีเมนต์มีการขยายตัวกี่เปอร์เซ็นต์ ถ้ามีการขยายตัวมาก (เนื่องจากมี
MgO สูง) จะมีผลทำ�ให้คอนกรีตเกิดการแตกร้าว

art 7.indd 127 16/2/2558 14:12:13


128
1.3 ระยะเวลาก่อตัว (Tim of Setting) เป็นการหาระยะเวลาการก่อตัวของ
ปูนซีเมนต์เมื่อผสมกับน้ำ� ถ้าใช้เวลาน้อยเกินไป แสดงว่าปูนแข็งตัวเร็ว จะทำ�ให้การเทคอนกรีตลง
ในแบบไม่ทัน ถ้าใช้เวลามากเกินไปก็จะแข็งตัวช้า
1.4 ปริมาณอากาศในมอร์ตาร์ (Air Conten of Mortar) จำ�นวนปริมาณของ
อากาศที่อยู่ในมอร์ตาร์ จะทำ�ให้เกิดช่องว่างอยู่ภายใน ถ้ามากจะทำ�ให้ค่าแรงอัดลดลง
1.5 ปริมาณความร้อน (Heat of Hydration) เป็นปริมาณความร้อนที่เกิดขึ้น
เนื่องจากปูนซีเมนต์ทำ�ปฏิกิริยากับน้ำ�ถ้าปริมาณความร้อนที่เกิดขึ้นมีค่าสูงจะทำ�ให้คอนกรีตมี
อุณหภูมิสูงด้วย ซึ่งเป็นผลให้เกิดการขยายตัวทำ�ให้คอนกรีตแตกร้าวได้
1.6 การก่อตัวผิดปกติ (False Set) คือการที่ปูนซีเมนต์ผสมกับน้ำ�แล้วเกิดการ
แข็งตัวเร็วผิดปกติ ไม่สามารถที่จะเทลงแบบได้ ทั้งนี้ เกิดจากระหว่างที่บดซีเมนต์มีความร้อนเกิด
ขึ้นสูง หรือเก็บปูนซีเมนต์ไว้ในที่ที่อุณหภูมิสูง ทำ�ให้ยิปซั่มที่ใส่ไว้สำ�หรับควบคุมเวลาการก่อตัว
ของปูนซีเมนต์ต้องสูญเสียน้ำ�ไปเนื่องจากความร้อน (Dehydration) ทำ�ให้คุณสมบัติของยิปซั่ม
ในการควบคุม Setting Time เสียไป
1.7 ค่าแรงอัดในมอร์ตาร์ Compressive Strength of Mortra เป็นการหาค่า
แรงอัดของปูนซีเมนต์ในมอร์ตาร์ ที่อายุ 1 วัน, 3 วัน, 7 วัน, และ 28 วัน เพื่อเป็นตัวบ่งชี้ถึง
คุณภาพของปูนซีเมนต์ในด้านการรับแรงอัด และบ่งบอกถึงระยะเวลาของการถอดแบบอีกด้วย
2. คุณสมบัติทางเคมี
2.1 Main Oxide ได้แก่ SiO2, AI2O3, Fe2O3 และ CaO แสดงส่วน
ประกอบของสารประกอบซีเมนต์ โดยเป็นตัวบ่งชี้ถึงประเภทของปูนซีเมนต์ ซึ่งจะมีปริมาณของ
สารประกอบที่แตกต่างกันออกไป
C3S ให้แรงอัดในทุกระยะ โดยเฉพาะระยะแรกให้แรงอัดมาก และให้แรงอัด
เพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังจาก 28 วัน
C2S ให้แรงอัดระยะยาว แรงอัดที่เกิดขึ้นในระยะ 7 วันมีค่าต่ำ� หลังจาก 1
เดือนไปแล้วจึงจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
C3A ให้แรงอัดเล็กน้อยระยะ 1-3 วัน แต่จะช่วยแรงอัตราการให้แรงอัดระยะ
แรกของ C3S ให้เร็วขึ้น
C4AF เป็นสารประกอบที่ทำ�ให้ปูนซีเมนต์มีสีเข้ม และทนต่อการกัดกร่อน
ของ Sulphate
2.2 Sulphur Trioxed (SO3) ได้จากเชื้อเพลิงที่ใช้เผาปูนซีเมนต์, วัตถุดิบ และ
ยิปซัมที่ใส่ในปูนซีเมนต์ (CaSO4.2H2O) ซึ่งเป็นสาร Active สำ�หรับการควบคุมระยะเวลาในการ
ก่อตัว ถ้ามีมากจะเกิดการขยายตัว ทำ�ให้คอนกรีตแตกร้าว และทำ�ให้ปูนซีเมนต์เกิด False Set
แต่ถ้ามีน้อยจนเกินไปจะทำ�ให้เกิด Falsh Set ทำ�ให้ปูนซีเมนต์แข็งตัวอย่างรวดเร็วเมื่อทำ�ปฏิกิริยา
กับน้ำ�
2.3 Insoluble Residue เป็นค่าที่บ่งบอกถึงสิ่งเจือปนต่าง ๆ ที่ไม่ละลายใน
กรด ด่าง เช่น ทราย ดิน ที่ปะปนอยู่ในซีเมนต์ ถ้ามีมากจะมีผลทำ�ให้กำ�ลังอัดลดลง

art 7.indd 128 16/2/2558 14:12:13


หน่วยที่ 7 วัสดุก่อสร้าง 129

กระบวนการผลิตแบบแห้ง กระบวนการผลิตแบบเปียก
หินปูน ดินดาน ดินเหนียว หินชอล์ก

เครื่องย่อยวัตถุดิบขั้นต้น เครื่องย่อย

ที่เก็บวัตถุดิบ

เครื่องย่อยวัตถุดิบขั้นสอง หม้อบดละเอียดเปียก

ยุ้งเก็บวัตถุดิบ

หม้อบดละเอียดวัตถุดิบ ผ่านตะแกรงละเอียด

ยุ้งผสมวัตถุดิบ

ยุ้งเก็บวัตถุดิบ
ถังเก็บน้ำ�โคลน
ยุ้งเก็บวัตถุดิบผสม

เครื่องทำ�เม็ด

เตาเผา ยิปซัม

หม้อลดอุณหภูมิปูนเม็ด เครื่องย่อย

ยุ้งเก็บปูนเม็ด ที่เก็บยิปซัม

หม้อบดปูนซีเมนต์

ที่บรรจุปูนซีเมนต์

ไดอะแกรมแสดงกรรมวิธีการผลิตปูนซีเมนต์
ที่มา : http://sungkomonline.com/file/Webboard_ans.php?webID=11&pageID=3questionID=2

art 7.indd 129 16/2/2558 14:12:13


130

การเตรียมการ เมื่อปูนขาว หินปูน และดินเหนียวอยู่ในสัดส่วนที่ถูกต้อง ก็จะนำ�มา


เตรียมการ ส่วนมากจะเติมดินเหนียวเพิ่มเข้าด้วยกันกลายเป็นผงดิบละเอียด (ผ่านการบด) ใน
ระหว่างที่ผ่านกรรมวิธีนี้ ผงดิบจะเป่าด้วยก๊าซให้แห้ง ค่าความแปรปรวนของผงวัตถุดิบที่ผสมกัน
ก็จะถูกเจือเพิ่มเติมในไซโล (Silo) ที่คั่นอยู่
การบด ปูนเม็ดจะเข้าเครื่องบดให้ละเอียดโดยการผสมยิปซัมหรือยิปซัมเทียม 5% ลงไป
ทำ�ให้การเริ่มจับตัวช้าลง ซีเมนต์ที่บดละเอียดจะผ่านการแยกด้วยอากาศ แล้วถูกนำ�ไปเป่าในไซโล
ทำ�ให้ซีเมนต์ร่อนตัว จากนั้นนำ�ไปบรรจุในกระสอบ 50 กก. เพื่อจำ�หน่ายต่อไป
การจัดเก็บ การเก็บรักษาซีเมนต์ ต้องเก็บในที่แห้งและสามารถป้องกันความชื้นได้ ถ้า
ซ้อนกันมาก ๆ ให้สลับกันโดยเรียงทับให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้ลมพัดผ่านได้
คอนกรีต (Concrete)
คอนกรี ต คื อ วั ส ดุ ผ สมของซี เ มนต์ ทราย หิ น และน้ำ � มาผสมคลุ ก เคล้ า เข้ า กั น
ในอัตราส่วนที่พอเหมาะ เพื่อให้ได้เนื้อคอนกรีตที่สม่ำ�เสมอ ก่อนที่จะผสมต้องตรวจดูวัสดุผสม
ให้สะอาด และต้องระวังในส่วนผสมปริมาณวัสดุให้ถูกต้อง
คุณลักษณะ
รับแรงอัดได้สูง แต่รับแรงดึงได้ต่ำ� (ประมาณ 10% ของแรงอัด) ถ้าต้องการให้คอนกรีต
รั บ แรงดึ ง ได้ ม าก ต้ อ งมี ก ารเสริ ม วั ส ดุ อื่ น เพิ่ ม เข้ า ไป โดยจะเรี ย กว่ า คอนกรี ต เสริ ม แรงหรื อ
คอนกรีตเสริมเหล็ก (เสริมแรงด้วยเหล็ก) ซึ่งจะช่วยรับแรงดึงภายในคอนกรีตได้ดี งานโครงสร้าง
อาคารส่วนใหญ่มักใช้คอนกรีตเสริมแรงแทนที่คอนกรีตเปลือย
ชนิดของคอนกรีต
คอนกรีตสามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดดังนี้
1. คอนกรีตสด คือ คอนกรีตที่คงสภาพเหลวอยู่ช่วงเวลาหนึ่งก่อนแข็งตัวในเวลา
ต่อมา และมีความข้นเหลวเหมาะสมที่จะนำ�ไปใช้งานหล่อเป็นคอนกรีตแข็งตัวแล้วที่มีรูปร่างและ
คุณสมบัติตามต้องการได้
2. คอนกรีตที่แข็งตัว คือ คุณสมบัติของคอนกรีตที่แข็งตัวมีหลายประการ ที่สำ�คัญ
ที่สุดคือ กำ�ลัังของคอนกรีต (Strength) คือ อัตราส่วนน้ำ� ถ้าใช้น้ำ�ผสมคอนกรีตมาก กำ�ลังของ
คอนกรีตจะน้อย การที่กำ�ลังของคอนกรีตที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั้นเป็นผลมาจากปฏิกิริยาระหว่างน้ำ�
กับซีเมนต์ น้ำ�จึงมีความจะเป็นอย่างมากต่อกำ�ลังของคอนกรีต
มาตรฐานคอนกรีต
คอนกรีตตามมาตรฐานกรมโยธาธิการ
1. คอนกรีต ค.1 (Strength) 180 กก./ตร.ซม.
-  ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ 304 กก.

art 7.indd 130 16/2/2558 14:12:13


หน่วยที่ 7 วัสดุก่อสร้าง 131

-  ทรายหยาบ 0.43 ลูกบาศก์เมตร


-  หิน 1-2 0.85 ลูกบาศก์เมตร
-  น้ำ� 180 ลิตร
2. คอนกรีต ค.2 (Strength) 240 กก./ตร.ซม.
-  ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ 336 กก.
-  ทรายหยาบ 0.60 ลูกบาศก์เมตร - หิน 1-2 1.09 ลูกบาศก์เมตร
-  น้ำ� 180 ลิตร
3. คอนกรีต ค.3 (Strength) 300 กก./ตร.ซม.
-  ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ 367 กก.
-  ทรายหยาบ 0.66 ลูกบาศก์เมตร
-  หิน 1-2 0.92 ลูกบาศก์เมตร
-  น้ำ� 180 ลิตร
4. คอนกรีต ค.4 (Strength) 350 กก./ตร.ซม.
-  ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ 420 กก.
-  ทรายหยาบ 0.50 ลูกบาศก์เมตร
-  หิน 1-2 0.98 ลูกบาศก์เมตร
-  น้ำ� 180 ลิตร
กรรมวิธีการผลิต
ส่วนผสมของคอนกรีต
1. โดยชั่งน้ำ�หนักให้ผลที่ถูกต้อง
2. โดยใช้ปริมาตรถังตวงต่าง ๆ จะให้ผลได้คลาดเคลื่อนไม่แน่นอน
ตามอัตราส่วน ดังนี้
ปูนซีเมนต์ 1 ทราย 1 หิน 2 สำ�หรับงานที่ต้องการการรับแรงมาก
ปูนซีเมนต์ 1 ทราย 2 หิน 4 สำ�หรับงานทั่ว ๆ ไป
ปูนซีเมนต์ 1 ทราย 3 หิน 5 สำ�หรับงานฐานรากอาคาร
การผสมคอนกรีต
การที่จะผสมให้ได้คอนกรีตที่ดีนั้น ควรปฏิบัติดังนี้
1. ปริมาณและคุณภาพของวัสดุต่าง ๆ สำ�หรับส่วนผสมครั้งหนึ่ง ๆ ควรจะสม่ำ�เสมอกัน
2. ผสมให้วัสดุที่นำ�มาผสมกันเป็นเนื้อสม่ำ�เสมอที่สุด กระจายส่วนผสมของปูนซีเมนต์ให้
เข้ากัน คลุกกับส่วนผสมอื่น ๆ อย่างทั่วถึง
3. ผสมด้วยเวลาที่เหมาะสม ไม่ควรต่ำ�กว่า 1 นาที และไม่ควรเกิน 5 นาที โดยต้องดูชนิด
และขนาดของเครื่องผสม

art 7.indd 131 16/2/2558 14:12:13


132

4. ก่อนผสมต้องตรวจดูเครื่องยนต์ว่าสามารถทำ�งานได้เรียบร้อย
5. ไม่ควรให้สูญเสียวัสดุในระหว่างการเทส่วนผสมลงในเครื่องผสม
6. ปริมาณน้ำ�ที่จะใส่ลงไป ควรพิจารณาเพิ่มหรือลดตามความเหมาะสม
7. ไม่ควรนำ�น้ำ�ที่มีอุณหภูมิเกินกว่า 60 องศาเซลเซียส มาใช้ผสมคอนกรีต
การบ่มคอนกรีต เมื่อผสมคอนกรีตได้ 30 นาที คอนกรีตเริ่มแข็งตัว อากาศยิ่งร้อนหรือมี
ลมพัดผ่านคอนกรีตยิ่งเสียน้ำ�เร็ว เพราะความชื้นในคอนกรีตระเหยได้เร็ว ทำ�ให้คอนกรีตกำ�ลังตก
และหดตัว อาจแตกร้าวภายหลัง ต้องทำ�ให้คอนกรีตสูญเสียความชื้นช้าที่สุด จะทำ�ให้คอนกรีตรับ
กำ�ลังได้ด้วยวิธีบ่มคอนกรีต คือ
1. ใช้วัสดุเปียกชื้นคลุม ใช้ผ้าใบ กระสอบ ขี้เลื่อย ฟาง โดยฉีดน้ำ�ให้ชุ่มแล้วปิดให้อุ้มน้ำ�ไว้
2. การขังน้ำ� โดยนำ�ดินเหนียวกั้นน้ำ�ไว้โดยรอบบริเวณที่บ่ม เช่น สนามดาดฟ้า พื้น
อิฐ (Bricks)
อิฐ คือ วัสดุก่อสร้างที่มีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยม ใช้ในการก่อผนัง กำ�แพง หรือผนัง
บ้านพักอาศัย ในสมัยโบราณ อิฐจะทำ�ด้วยดินเหนียวผสมแกลบนำ�ไปอัดให้เป็นแผ่น จากนั้นนำ�
ไปตากให้แห้ง เมื่อแห้งดีแล้วจึงนำ�ไปเผาเพื่อให้ใช้งานได้คงทนยิ่งขึ้น แต่ในปัจจุบันได้มีการนำ�เอา
ซีเมนต์มาทำ�เป็นอิฐที่เรียกกันทั่วไปว่า อิฐบล็อก นอกจากนี้ยังมีการทำ�อิฐดินซีเมนต์ ซึ่งมีส่วน
ผสมของลูกรังกับซีเมนต์ จึงนับได้ว่ามีการพัฒนาการทำ�อิฐมาเป็นลำ�ดับ
อิฐก่อสร้าง อิฐเป็นวัตถุที่ทำ�มาจากดินเหนียว ทำ�ขึ้นเพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้างมาตั้งแต่
สมัยโบราณประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว อียิปต์เป็นชาติแรกที่นำ�ดินเหนียวมาทำ�เป็นแท่งสี่เหลี่ยม
แล้วผึ่งแดด ใช้ทำ�เป็นอิฐ ต่อมาพวกบาบิโลเนียคิดค้นขึ้นใหม่ โดยนำ�อิฐมาเผาไฟเพื่อให้คงทน
ยิ่งขึ้น ดินเหนียวที่นำ�มาใช้ทำ�อิฐนั้นต้องมีส่วนผสมของทรายและแมงกานีสผสมอยู่ในดินเหนียว
ในอัตราที่เหมาะสมจึงจะทำ�ให้อิฐไม่เปราะและแตกร้าวได้ง่าย
คุณลักษณะของอิฐ
อิฐ เป็นวัสดุพื้นฐานสำ�หรับการก่อสร้างอาคารทั่วไป อิฐแบบธรรมดาผลิตจากส่วนผสมของ
ดินเหนียว ทรายแกลบ และน้ำ� สำ�หรับอิฐพิเศษเพิ่มวัสดุเพิ่มเพื่อการใช้งานเฉพาะด้าน
ชนิดและการใช้งาน
1. อิ ฐ มอญ เป็ น อิ ฐ ที่ นิ ย มใช้ กั น มาก มี ร าคาถู ก เหมาะสำ � หรั บ ก่ อ กำ � แพงหรื อ
ก่อผนังที่ต้องการฉาบปูนทับผิวอีกครั้ง ลักษณะเป็นอิฐที่มีผิวขรุขระไม่เรียบร้อยนัก บางชนิดที่
ผิวทำ�เป็นรอยเส้นไว้บนแผ่นอิฐเพื่อเป็นที่ยึดเกาะของปูนก่อ บางชนิดทำ�เป็นรูไว้ในแผ่นอิฐตลอด
ความยาวเพื่อให้มีน้ำ�หนักเบา

art 7.indd 132 16/2/2558 14:12:13


หน่วยที่ 7 วัสดุก่อสร้าง 133

2. อิฐบางบัวทอง (บ.บ.ท.) บ.ป.ก. (บางปะกง) เป็นอิฐที่ใช้ดินเหนียวบดละเอียด


เข้ าอั ด แน่ น ด้วยเครื่องจัก ร ภายในแผ่น อิ ฐมี เนื้ อ แน่ น ผิ ว หน้ า เรี ย บ และมี ร่ อ งสำ � หรั บ ให้ ปู น
ก่ อ ยึ ด เกาะ บางแห่ ง ผู้ ผ ลิ ต ได้ ปั๊ ม ตั ว อั ก ษรที่ แ ผ่ น อิ ฐ เพื่ อ การโฆษณาของโรงงานที่ ผ ลิ ต ด้ ว ย
อิฐชนิดนี้เรียกว่า อิฐประดับ สำ�หรับใช้ก่อโชว์แนวไม่ต้องฉาบปูน มีขนาดใหญ่กว่าอิฐมอญ
3. อิ ฐ เคลื อ บ (Grazed Brick) เป็ น อิ ฐ ที่ ข ณะเผามี ค วามร้ อ นสู ง แล้ ว ใช้ ส าร
บางอย่างใส่ลงไปในเตาเผา เช่น เกลือ ก็จะทำ�ให้สารนั้นไปเคลือบผิวของอิฐ หรือบางชนิดก็นำ�อิฐ
มาพ่นด้วยสาร เช่น เกลือ ให้เคลือบผิวก่อนแล้วจึงนำ�ไปเผา
4. อิฐเคลือบสี (Enamelled Brick) โดยการทาสีเคลือบลงบนแผ่นอิฐแล้วนำ�ไปเผา
มีคุณสมบัติกันน้ำ�ได้ มีประโยชน์ใช้งานตกแต่งและใช้ในส่วนที่ต้องการทำ�ความสะอาดบ่อย ๆ
เช็ดล้างออกได้ง่าย ทั้งยังช่วยสะท้อนแสงสว่างภายในอาคาร มีสีขาวนวล สีดำ� สีเขียว และสีอื่น ๆ
5. อิฐทนไฟ (Fire Blocks) ทำ�จากดินเหนียวทนไฟ มีคุณภาพต้านทานความร้อนได้ดี
ใช้ก่อเตาไฟหรือก่อผนังที่ต้องการให้ต้านทานความร้อนสูง ๆ
6. อิฐแก้ว (Glass Blocks) เป็นอิฐที่ทำ�ด้วยแก้ว ภายในช่องว่างบรรจุอากาศอยู่เพื่อใช้
ประโยชน์ในกรณีที่ต้องการให้แสงสว่างเข้ามาในอาคาร แต่ไม่ต้องการให้มีการถ่ายเทอากาศวัตถุที่
ใช้ประสานในการก่อนั้น ควรเป็นวัสดุพิเศษที่ทำ�โดยเฉพาะเป็นผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ
มาตรฐานที่ดีของอิฐ
1. มีผิวเรียบสม่ำ�เสมอ คือ ไม่บิดงอ หรือแตกร้าวเมื่อเผาสุก
2. เคาะฟังเสียงดูมีเสียงแกร่งดังคล้ายโลหะ
3. แผ่นอิฐสุกและมีสีสม่ำ�เสมอเท่ากันทุกแผ่น
4. มีความเหนียว ไม่แตกง่าย และมีน้ำ�หนักเบา
5. มีความแข็งแรงทนทาน รับน้ำ�หนักได้มาก
6. มีรูปร่างเรียบร้อยดี ไม่แอ่นบิดหรือมีขอบขรุขระมาก
7. เหลี่ยมและมุมของแผ่นอิฐต้องได้ฉาก
8. มีขนาดและน้ำ�หนักเท่ากันทุกก้อน (โดยเฉลี่ย)
9. ไม่ดูดน้ำ�เกิน 10% ของน้ำ�หนักอิฐเมื่อแช่น้ำ�ไว้ 24 ชั่วโมง
10. มีเนื้อแน่น เมื่อหักออกไม่มีรูพรุนและแตกร้าว
11. ต้านทานแรงอัดสูงสุดได้ไม่น้อยกว่า 20 กก./ชม.
(ข้อกำ�หนดมาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์)
กรรมวิธีการผลิต การทำ�อิฐมีขั้นตอนในการดำ�เนินการดังนี้
1. การเตรียมดิน นำ�ดินเหนียวมาบดหรือนวดจนทำ�ให้ดินอ่อนนุ่ม ถ้าเป็นอิฐที่ต้องการ
ให้มีน้ำ�หนักเบา เช่น อิฐมอญ ให้ใช้แกลบหรือขี้เถ้าผสมลงไปในดินเหนียวให้เข้ากันดีจนดินเหนียว
ผสมอ่อนนุ่มดี สามารถปั้นหรืออัดเป็นแผ่นแล้วคงรูปได้ ตามชนิดของอิฐนั้น ๆ
วัสดุที่ใช้ทำ�อิฐ ได้แก่ ดินเหนียว มีหลายชนิด ดังนี้

art 7.indd 133 16/2/2558 14:12:13


134

1. ดินเหนียวปูน (Marl) เป็นดินเหนียวที่มีปูนผสมอยู่มาก โดยลักษณะเป็นดินขาว


หรือหินปูน เมื่อทำ�อิฐแล้วจะมีสีเหลืองหรือสีอื่น ๆ
2. ดินเหนียวปนทราย (Loan) มีทรายผสมอยู่มาก ทรายนี้ถ้าผสมไม่เกินร้อยละ 25
จะช่วยให้อิฐคงรูปอยู่ได้ ถ้าเกินไปกว่านั้นจะทำ�ให้อิฐเปราะ อ่อนแอ และไม่แข็งแรง
3. ดินเหนียวแก่ (Shale) เป็นดินเหนียวซึ่งกองอยู่เป็นเวลานาน มีคุณภาพคล้ายหิน
ดินชนิดนี้มักทำ�ให้อิฐเป็นสีแดง
4. ดินเหนียวทนไฟ (Fire Clay) คือ ดินเหนียวที่มีคุณภาพต้านทานความร้อนได้สูง
ใช้ทำ�อิฐทนไฟ เศษเหล็กมักทำ�ให้อิฐแข็งมีกำ�ลังและมีสีแดง
2. การทำ�เป็นแผ่นอิฐ มีวิธีทำ� คือ
1) การทำ�ด้วยมือ โดยใช้แบบพิมพ์ตามขนาดเท่าแผ่นอิฐที่ต้องการ โดยใช้ดิน
เหนียวผสมทรายหรือแกลบที่เตรียมไว้อัดลมในแบบพิมพ์ให้แน่น แล้วปาดผิวหน้าแผ่นอิฐให้เรียบ
และถอดไม้ออก จะได้แผ่นอิฐตามต้องการ จากนั้นนำ�แผ่นอิฐไปวางในที่เรียบ เพื่อป้องกันการ
บิดงอ ทำ�การผึ่งให้แห้งแล้วนำ�เข้าเตาเผา
2) การทำ�อิฐด้วยเครื่องจักร นอกจากผลิตได้รวดเร็วแล้วยังเป็นขนาดที่ได้มาตรฐาน
ที่เครื่องจักรมีบ่อสำ�หรับใส่ดินผสมต่อเนื่องกับท่อให้ดินออก เมื่อดินเหนียวผสมถูกบดอัดออก
จากบ่อแล้วไหลออกไปตามท่อ ระหว่างที่ดินเหนียวผ่านออกไปตามท่อก็จะถูกตัดให้ได้ขนาด
ความยาวตามที่กำ�หนดด้วยเส้นลวดขนาดเล็ก (ขนาดความโตของท่อภายในมีขนาดความหนา
ความกว้าง และความยาวตามขนาดของอิฐที่ต้องการ) เมื่อได้แผ่นอิฐแล้วก็นำ�ไปวางเรียงไว้ในที่
เรียบเพื่อทำ�การผึ่งให้แห้งต่อไป
3) การผึ่งให้แห้ง เมื่อได้แผ่นอิฐออกจากแบบพิมพ์แล้วให้นำ�อิฐไปวางเรียงไว้ใน
โรงผึ่ง ในขณะที่วางเรียงแผ่นอิฐต้องทำ�อย่างระมัดระวัง เพราะอิฐยังเปียกอยู่อาจทำ�ให้บิดงอได้
ง่าย ต่อจากนั้นก็ผึ่งทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วจึงนำ�ไปเข้าเตาเผาต่อไป
4) การเผาอิฐ เมื่ออิฐแห้งพอที่จะนำ�ไปเผาได้ ให้นำ�อิฐไปเรียงเป็นแถวและวางซ้อน
กันเป็นชั้น ๆ สลับกันในเตาเผาโดยให้มีช่องว่างระหว่างแถวไว้เพื่อให้ความร้อนกระจายไปถึง
อิฐทุกก้อนในเตาเผา ให้เพิ่มความร้อนทีละน้อยจนถึงความร้อนสูงสุด (ความร้อนระหว่าง 9,822 -
1,204 องศาเซลเซียส) เผาอยู่นานประมาณ 2-3 สัปดาห์ ลดความร้อนให้ต่ำ�ลงตามลำ�ดับจนเย็น
จึงนำ�อิฐออกจากเตาเผา นำ�ไปใช้งานก่อสร้างต่อไป
สีของอิฐ เกิดได้จากชนิดของแร่ธาตุที่ผสมอยู่ในดินเหนียวดังนี้
1. เกิดจากส่วนผสมของดินทีม่ ธี าตุเหล็ก เมือ่ เผาแล้วเกิดเป็นสีเหลืองเข้ม สีแดง สีสม้
2. เกิดจากส่วนผสมของดินที่มีธาตุแมงกานีส เมื่อเผาสุกแล้วเกิดเป็นสีน้ำ�เงิน และ
ถ้าเผาด้วยความร้อนสูงจะกลายเป็นสีดำ�
3. ส่วนผสมของอิฐที่มีแป้งและชอล์ก เมื่อเผาสุกแล้วเป็นสีขาว

art 7.indd 134 16/2/2558 14:12:13


หน่วยที่ 7 วัสดุก่อสร้าง 135

4. ส่วนผสมของดินที่มีธาตุแมงกานีสและธาตุเหล็กรวมกัน เมื่อเผาสุกแล้วทำ�ให้เกิด
สีเหลืองแก่
5. สีอาจเกิดจากการได้รับความร้อนต่างกัน เช่น ได้รับความร้อนสูงสีจะแก่กว่า
ได้รับความร้อนน้อยสีจะอ่อน
ตารางขนาดของอิฐชนิดต่าง ๆ
ชนิดของอิฐ หนาเป็นเซนติเมตร กว้างเป็นเซนติเมตร ยาวเป็นเซนติเมตร
อิฐมอญ 5.0 9.0 20.0
อิฐประดับ (บ.บ.ท.) 7.0 11.0 23.0
อิฐเคลือบอังกฤษ 7.5 11.0 22.5
อิฐเคลือบอเมริกา 5.6 10.3 20.9
อิฐทนไฟ 7.5 11.3 22.5
อิฐแก้ว 8.0 19.0 19.0
หมายเหตุ 1. อิฐมอญมีขนาดไม่มาตรฐาน ผู้ ใช้ ควรตรวจสอบขนาดจากโรงงานผู้ ผ ลิ ต ให้
แน่นอนก่อนที่จะใช้
2. การนำ�อิฐไปใช้ ต้องเลือกชนิดของอิฐให้เหมาะสมกับลักษณะของงานที่จะทำ�
เหล็กกล้าก่อสร้างทั่วไป (Structural Steels)
เหล็กกล้าก่อสร้างทั่วไป คือ เหล็กที่มีธาตุคาร์บอนเจืออยู่ร้อยละ 0.15-1.5 สมบัติของ
เหล็กกล้าแตกต่างกันไปตามจำ�นวนร้อยละของธาตุคาร์บอนและของโลหะอื่นที่เจือปนอยู่ ทั้งยัง
ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่ใช้ในการเตรียมเหล็กกล้านั้น ๆ
คุณลักษณะของเหล็กกล้า
เป็นโลหะผสมที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นเหล็กมีปริมาณคาร์บอนอยู่ระหว่าง 0.2-
2.04% โดยน้ำ�หนักขึ้นกับคุณภาพ คาร์บอนเป็นวัสดุผสมที่ลดต้นทุนของเหล็กแต่ก็มีการใช้ธาตุ
อื่น ๆ เช่น แมงกานีส โครเมียม วานาเดียมและทังสเตน คาร์บอนและธาตุอื่น ๆ เป็นตัวทำ�ให้แข็ง
ชนิดของเหล็กกล้า
1. เหล็ก กล้า คาร์บอน (Carbon Steel) คื อ เหล็ ก กล้ า ที่ มี ก ารเพิ่ ม ธาตุ คาร์ บ อน
(สัญลักษณ์ทางเคมี : C) เข้าไป เพื่อเพิ่มคุณสมบัติทางกลให้กับเหล็กกล้า
2. เหล็กกล้าประสม (Alloy Steel) เหล็กที่ผสมธาตุต่าง ๆ นอกเหนือไปจากธาตุ
คาร์บอนและธาตุบางตัวที่ติดมาเนื่องจากกรรมวิธีถลุง (Mn, Si, S และ P) การผสมธาตุต่าง ๆ
ลงไปในเหล็กก็เพื่อเป็นการปรับปรุงคุณสมบัติหลาย ๆ ประการที่เหล็กคาร์บอนให้คุณสมบัติ

art 7.indd 135 16/2/2558 14:12:13


136

เหล่านั้นอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ�ไม่สามารถใช้งานได้ดี ถึงแม้ว่าการผสมธาตุต่าง ๆ ลงไปในเหล็กจะทำ�ให้


เหล็กกล้ามีราคาสูงขึ้นก็ตาม ความมุ่งหมายของการผสมธาตุ
มาตรฐานของเหล็กกล้า
การกำ�หนดคุณภาพเหล็กกล้าที่ผลิตในประเทศไทย จะกำ�หนดด้วยคุณสมบัติทางกล
ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) แสดงไว้ในตารางนี้

การทดสอบดัดโค้งเย็น
แรงเค้นตัว แรงเค้นดึง
ความยืด เส้นผ่าน
จำ�นวน สูงสุด
ผลิตภัณฑ์ ชั้นคุณภาพ ไม่ต่ำ�กว่า มุมดัด ศูนย์กลาง
กก./มม. 2
กก./มม.2 โค้ง
ร้อยละ ภายในของ
(ไม่น้อยกว่า) (ไม่น้อยกว่า) เย็น
ส่วนโค้ง
เหล็กเส้นกลม SR 24 24 39 21 180 ํ 1.5 เท่าของเส้น
ผ่ า นศู น ย์ ก ลาง
ระบุ
เหล็กข้ออ้อย SD 30 30 49 17 180 ํ 4 เท่ า ของเส้ น
ผ่านศูนย์
กลางระบุ
SD 35 35 50 20 180 ํ 4 เท่ า ของเส้ น
ผ่ า นศู น ย์ ก ลาง
ระบุ
SD 40 40 57 18 180 ํ 4 เท่ า ของเส้ น
ผ่ า นศู น ย์ ก ลาง
ระบุ

ไม้ (Wood)
ไม้สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ได้แก่ ใช้เป็นเชื้อเพลิง เช่น ถ่านหรือฟืน ใช้ในงาน
ศิลปะ ทำ�เฟอร์นิเจอร์ ทำ�อาวุธ และประโยชน์ที่สำ�คัญคือใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ไม้ยังคงเป็นส่วน
ประกอบสำ�คัญในการก่อสร้าง ตั้งแต่มนุษย์เริ่มสามารถสร้างบ้านที่อยู่อาศัย หรือเรือ โดยเรือ
แทบทุกลำ�ในช่วงปี 80 ทำ�มาจากไม้แทบทั้งสิ้น ซึ่งในปัจจุบันบ้านที่ทำ�จากไม้เริ่มมีจำ�นวนลดลง
เนื่ อ งจากมี ก ารนำ � วั ส ดุ อื่ น มาใช้ ใ นการสร้ า งแทน แต่ ว่ า ไม้ ยั ง คงมี ส่ ว นสำ �คั ญ ในด้ า นการเสริ ม
โครงสร้าง หรือเป็นวัสดุเสริม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสร้างหลังคา และขอประดับนอกบ้าน ไม้ที่
ใช้ในงานก่อสร้างรู้จักกันในชื่อไม้แปรรูป

art 7.indd 136 16/2/2558 14:12:13


หน่วยที่ 7 วัสดุก่อสร้าง 137

คุณลักษณะ
ลักษณะส่วนประกอบของไม้มีดังนี้
1. ใจกลาง (Pith) อยู่ศูนย์กลางหน้าตัดลำ�ต้น มีลักษณะเป็นรูเล็ก ๆ ถ้าต้นไม้ใหญ่ขนาด
ของรูจะโตเป็นโพรง ใจกลางของไม้จะไม่แข็งแรง
2. แก่นไม้ (Heartwood) อยู่ในส่วนกลางห่างจากใจกลาง คือ ส่วนที่เป็นเนื้อไม้ เป็น
ส่วนที่แข็งแรงที่สุด เป็นส่วนที่นำ�ไปใช้งาน
3. กระพี้ (Sapwood) อยู่ห่างจากหน้าตัดลำ�ต้น เนื้อไม้ส่วนนี้อ่อนไม่ทนต่อการใช้งาน
แมลงเจาะกินง่าย
แก่นไม้
4. วงปี (Growth Ring) เป็นส่วนที่อยู่ รัศมี ทางลำ�เลียงลำ�ต้น
ใจกลาง
รอบ ๆ เป็นวง ๆ แสดงถึงการเจริญเติบโตของต้นไม้ได้ กระพี้
ถ้าจะนับอายุของต้นไม้ดจู ากวงปี 1 วง เท่ากับ 1 ปี
5. ทางลำ�เลียงต้น (Cambium) คือวงปี
นอกสุดของลำ�ต้น เป็นส่วนลำ�เลียงน้ำ�และอาหาร
ไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของลำ�ต้น
6. เปลือกไม้ (Bark) เป็นส่วนที่มองเห็น ส่วนประกอบของไม้
เปลือกไม้
เพราะอยู่ส่วนนอกของลำ�ต้น
7. รัศมี (Ray) เป็นเส้นตัดผ่านวงปีไปยังเปลือกไม้
ชนิดของไม้
1. ไม้เนื้อแข็ง คือ ไม้ที่มีค่าความแข็งในการตัดได้สูงกว่า 1,000 กิโลกรัม ต่อตาราง
เซนติเมตร มีความทนทานตามธรรมชาติเกิน 6 ปี มีอยู่ประมาณ 10 ชนิด ได้แก่ ไม้เต็ง ไม้รัง
ไม้แดง ไม้ตะเคียนทอง ไม้ตะแบก ไม้สัก ไม้เคี่ยม ไม้มะค่า ไม้ประดู่ (ขาดไป 1 ชนิด)
2. ไม้เนื้อแข็งปานกลาง สามารถทนแรงตัดได้ 600-1,000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
มีความทนทานตามธรรมชาติ 2-6 ปี มีอยู่ประมาณ 6 ชนิด ได้แก่ ไม้ยาง ไม้กระบอก ไม้ชุมแพรก
ไม้นินทรี มะม่วงป่า ไม้กระท้อน
3. ไม้เนื้ออ่อน ทนต่อแรงตัดได้ไม่เกิน 600 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีความ
ทนทานตามธรรมชาติไม่เกิน 2 ปี ที่นิยมใช้มีประมาณ 4 ชนิด ได้แก่ ไม้สยาขาว ไม้ก้านเหลือง
ไม้มะยมป่า ไม้มะพร้าว
มาตรฐานของไม้
ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของกระทรวงอุตสาหกรรมหรือ มอก.ในปัจจุบัน
1. มอก.421-2525 หมายถึง ไม้แปรรูปแล้วข้อกำ�หนดของอุตสาหกรรมหรือ มอก.
ในปัจจุบันมีดังนี้
2. มอก.422-2525 หมายถึง ไม้สักแปรรูป

art 7.indd 137 16/2/2558 14:12:13


138

3. มอก.423-2525 หมายถึง ไม้กระยาเลยแปรรูป


4. มอก.424-2525 หมายถึง ไม้แปรรูปสำ�หรับงานก่อสร้างทั่วไป
5. มอก.497-2526 หมายถึง ไม้แปรรูปอบ
6. มอก.516-2527 หมายถึง ไม้อัดน้ำ�ยา CCA
กรรมวิธีการผลิตไม้แปรรูป
การผลิตไม้แผ่นแปรรูปที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นการแปรรูปไม้ยางพาราเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจาก
ยังไม่มีแหล่งไม้ท่อนชนิดอื่นในปริมาณมากพอสำ�หรับใช้งานในเชิงอุตสาหกรรม
กระบวนการผลิตไม้ยางพาราแปรรูปเริ่มจากการตัดโค่นต้นยางพาราที่หมดอายุการให้น้ำ�
ยางจากสวนยางเพื่อขนส่งไปแปรรูปต่อในโรงเลื่อยทั้งในละแวกใกล้เคียงหรือในพื้นที่อื่นขึ้นกับ
เงื่อนไขการซื้อขายไม้โรงเลื่อยจะทำ�การซอยไม้ยางพาราให้ได้ขนาดตามที่ต้องการก่อนนำ�ไปอัดยา
ถนอมเนื้อไม้ และอบเพื่อไล่ความชื้นจากนั้นจะนำ�ไม้ที่ได้มาจัดวางเรียงบนพาเลทเพื่อส่งมอบให้
กับลูกค้าในสายโซ่การผลิตในลำ�ดับต่อไป

สารเคมี พลังงาน

ตัดฟัน ซอย อัดน้ำ�ยา อบ ไม้แปรรูป


ไม้ซุง ไม้ท่อน ไม้แผ่น
อาบน้ำ�ยา
HS 4403 HS 4403 HS 4407
HS 4407
เศษไม้ ปีกไม้
ขี้เลื่อย เศษไม้
ขี้เลื่อย

การใช้งาน แบ่งตามลักษณะของไม้ที่มีความสำ�คัญทางเศรษฐกิจ ดังนี้


1. ไม้สัก ง่ายต่อการเลื่อย ไส สักทอง มีลวดลายสวยงาม ราคาแพง ใช้ทำ�เครื่องเรือน
หน้าต่าง ประตู ฯลฯ
2. ไม้ตะเคียนทอง มีความแข็งแรงทนทาน ใช้ทำ�วงกบประตูหน้าต่าง
3. ไม้ยาง มีมากในประเทศไทย เลื่อย ไสง่าย ราคาถูก ใช้ทำ�ฝาบ้าน
4. ไม้เต็ง มีความแข็งแรง เลื่อย ไส ตอกตะปูยาก ถูกความร้อนจะแตกง่าย ใช้ทำ�คาน เสา
เครื่องมือ
5. ไม้แดง มีสีแดง ลวดลายสวยงาม เลื่อย ไส ตอกตะปูยาก ใช้ทำ�เสาคาน บันไดคาน
6. ไม้อินทนิล มีสีแดง น้ำ�ตาล ชมพูอ่อน หาซื้อยาก ใช้งานก่อสร้างเหมือนไม้สัก
7. ไม้ตะแบก มีความมันวาวในเนื้อไม้ เนื้อแข็ง ใช้ในงานก่อสร้าง ทำ�พื้นบ้านและใช้งาน
กสิกรรม
8. ไม้ประดู่ มีสีแดงอมเหลือง ใช้ทำ�เครื่องเรือน โต๊ะ เก้าอี้

art 7.indd 138 16/2/2558 14:12:14


หน่วยที่ 7 วัสดุก่อสร้าง 139

การเลือกใช้และการเก็บรักษาไม้
1. ความต้องการเลือกไม้ใช้งาน
1) ไม้แปรรูปได้ง่ายด้วยเครื่องมือธรรมดาได้ เช่น เลื่อย กบ สิ่ว
2) น้ำ�หนักเบาแข็งแรง รับน้ำ�หนักได้
3) อบ อาบน้ำ�ยา ทำ�ให้เนื้อไม้ทนทาน อายุการใช้งานนาน
4) อาคารบ้านเรือนที่ทำ�ด้วยไม้ป้องกันความร้อนได้ดี เพราะไม้เป็นฉนวนความร้อน
5) ไม้มีหลายประเภทมีลวดลายสวยงาม เลือกใช้ได้ตามเหมาะสม
6) ไม้นอกจากการใช้ในการก่อสร้างแล้วยังใช้งานอื่น ๆ ได้อีกมาก เช่น โครง
ประกอบยานพาหนะ เรือ รถบรรทุก ฯลฯ
2. วิธีการเลือกใช้ไม้ มีดังนี้
1) ไม่หดตัวง่าย ต้องใช้ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้สัก ไม้มะค่า
2) พิจารณารอยตำ�หนิ ตาไม้ รอยแตกร้าว ควรหลีกเลี่ยงน้อยที่สุด
3) พิจารณาคุณสมบัตเิ นือ้ ไม้ให้เหมาะสมกับงาน เช่น ความสวยงาม เลือ่ ยยากหรือไม่
แมลงเจาะง่ายหรือไม่ ตอกตะปูง่ายหรือยาก
4) ราคา
3. สาเหตุทำ�ให้ไม้ผุพัง
1) ความชื้นในเนื้อไม้
2) การใช้ไม้แปรรูปขณะที่ไม้ยังเปียกอยู่ อาจทำ�ให้เกิดเชื้อรา หรือเมื่อไม้แห้งจะ
หดตัวลง
3) มีปลวก แมลง กินและทำ�ลายเนื้อไม้
4. การป้องกันไม่ให้ไม้ผุพังเร็ว
1) ทำ�ให้เนื้อไม้แห้ง ตากไม้ให้แห้ง 1-2 ปี ไม้จะทนทาน ลงทุนน้อย
2) อบไม้ด้วยไอน้ำ�อากาศร้อน 3-5 วัน
3) อาจใช้น้ำ�ยาป้องกันปลวกหรือเชื้อรา เป็นวิธีรักษาเนื้อไม้ได้ดีที่สุด

ทราย
ทราย คือ ส่วนเล็ก ๆ ที่แตกแยกออกมาจากหินและเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ขนาดของ
ทรายจะโตไม่เกิน 2 มม. ถ้าขนาดโตกว่านั้นเรียกว่า กรวด
คุณลักษณะการแบ่งทรายออกเป็น 4 ชนิด คือ
1. ทรายบก พบบนบกห่างจากทะเลและไม่มีความเค็มติดอยู่
2. ทรายแม่น้ำ�
3. ทรายทะเล พบตามชายทะเล หรือบนบกห่างทะเล แต่มีความเค็มอยู่
4. ทรายที่เกิดจากการย่อยเป็นก้อนเล็ก ๆ

art 7.indd 139 16/2/2558 14:12:14


140

ชนิดของทรายที่นิยมใช้งานก่อสร้าง
1. ทรายหยาบ เป็นทรายเม็ดใหญ่ มีเหลี่ยม แง่มุมแข็งแรง ใช้เป็นส่วนผสมของคอนกรีต
ที่ต้านกำ�ลังมาก เช่น ฐานราก โครงสร้างอาคาร ฯลฯ
2. ทรายกลาง เป็นทรายที่มีขนาดปานกลาง ใช้สำ�หรับปูนก่อ เช่น ก่อกำ�แพงอิฐ ฯลฯ
3. ทรายละเอียด เป็นทรายที่มีขนาดละเอียดมาก ใช้สำ�หรับผสมปูนฉาบ ทำ�บังประกอบ
ลวดลาย
กระบวนการผลิต
กระบวนการผลิตทรายหรือวิธีการในการผลิตทรายมี 2 รูปแบบ ดังนี้
1. กระบวนการผลิตทรายแม่น้ำ� ขั้นตอนในการผลิตทรายแม่น้ำ�โดยทั่วไปในพื้นที่
ภาคเหนือประกอบด้วย การดูดทรายขึ้นมาจากแหล่งทราย อันได้แก่ แม่น้ำ�หรือบริเวณที่มีตะกอน
ทรายตกทับถมซึ่งการดูดทรายแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือการดูดทรายอยู่กับที่ในกรณีที่ลำ�น้ำ�มี
พื้นที่ไม่กว้างมากนักและปริมาณทรายมากเพียงพอรวมทั้งมีอัตราการดูดทรายต่ำ�และการดูดทราย
โดยย้ายไปตามลำ�น้ำ�ในบริเวณพื้นที่ที่ขออนุญาตดูดทรายซึ่งส่วนใหญ่จะมีพื้นที่กว้างหรือมีความ
หนาของชั้นทรายน้อยโดยในการดูดทรายจะใช้เรือที่ติดตั้งเครื่องจักรปั๊มดูดน้ำ�แบบหอยโข่งต่อกับ
ท่อดูดทราย ดูดเอาน้ำ�และทรายขึ้นมาผ่านเครื่องแยกและดักขนาดทรายไปยังเรือบรรทุกทรายที่รอ
รับอยู่และขนส่งทรายมาขึ้นท่าทรายตามแหล่งต่าง ๆ

การดูดทรายโดยเรือบักขนทรายในตัวการดูดโดยเรือบักขนรถบรรทุกรับทรายกลางน้ำ�
2. กระบวนการผลิ ต ทรายบก เริ่ ม จากการเปิ ด หน้ า ดิ น จนถึ ง ชั้ น ทรายโดยใน
ระยะแรกใช้รถแบ็กโฮขุดตักหน้าดินและเมื่อเปิดพื้นที่ลงไปแหล่งทรายจะมีสภาพเป็นแหล่งน้ำ�ขัง
เนื่องจากน้ำ�ใต้ดิน ดังนั้น จึงใช้เรือที่ติดตั้งเครื่องดูดทรายโดยใช้ท่อดูดทรายยื่นลงไปดูดทรายที่พื้น
บ่อทรายดูด ทรายที่มีน้ำ�ปนไปตามท่อส่งผ่านเข้าเครื่องแยกและคัดขนาดทรายเพื่อแยกกรวดทิ้ง
รวมทั้งทำ�ความสะอาดก่อนถ่ายลงบ่อทรายซึ่งส่วนใหญ่จะแยกเป็นกองทรายหยาบทรายละเอียด
และทรายถม ส่วนน้ำ�ขุ่นข้นที่มากับทรายตลอดจนกรวดและเศษดินจะไหลลงบ่อพักตะกอน โดย

art 7.indd 140 16/2/2558 14:12:14


หน่วยที่ 7 วัสดุก่อสร้าง 141

ระบบน้ำ�ในบ่อทรายส่วนใหญ่จะเป็นระบบปิดกล่าว คือน้ำ�ที่ผ่านบ่อพักตะกอนไหลวนลงบ่อทราย
อีกครั้งยกเว้นในบางช่วงที่มีระดับน้ำ�ลึกมากเกินไปสำ�หรับการดูดทรายจะดูดน้ำ�ระบายจากบ่อ
ทรายจนถึงระดับที่ท่อทรายสามารถทำ�งานได้
การใช้ทราย
การใช้ประโยชน์ทรายภายในประเทศส่วนมากใช้เป็นวัสดุก่อสร้างประมาณร้อยละ 80% ของ
ปริมาณการใช้ทรายทั้งหมด ที่เหลืออีก 15% ใช้ในการอุตสาหกรรม และ 5% เพื่อการใช้ประโยชน์
อย่างอื่น คุณสมบัติของทรายเพื่อการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ สามารถสรุปได้ดังนี้
1. ทรายก่อสร้าง เป็นวัสดุประกอบที่มีประโยชน์ในงานก่อสร้างหลาย ๆ ด้าน ได้แก่
งานคอนกรีต งานปูนก่อ งานปูนฉาบ เป็นต้น
2. ทรายถม ปกติทรายที่ใช้ในการถมที่มักไม่กำ�หนดมาตรการที่เข้มงวดยกเว้นใน
งานถมที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษเช่นการก่อสร้างสนามบิน ซึ่งต้องการวัสดุที่ระบายน้ำ�ได้ดี
3. ทรายเพื่อใช้ในการอุตสาหกรรม ส่วนมากใช้ในการทำ�แก้วและกระจกต่าง ๆ
นอกจากนั้น มีการนำ�ไปใช้ทำ�แบบหล่อหรือแบบพิมพ์ ใช้ในการกรอง การขัดสีหรือขัดมัน การฉาบ
ผิว ใช้ในอุตสาหกรรมทำ�สี ทำ�อิฐ และอื่น ๆ
การเก็บรักษาทราย
ทรายเมื่อถูกดูดขึ้นมาจากแม่น้ำ�หรือบ่อทราย นำ�ขึ้นผ่านสายพานลำ�เลียงใส่รถบรรทุกที่รอ
รับเพื่อนำ�ไปจำ�หน่าย ส่วนที่ยังไม่ได้จำ�หน่ายต้องกองไว้ในบริเวณที่แห้ง
วัสดุมุงหลังคา
วัสดุที่ใช้มุงหลังคามีหลายชนิดและหลายขนาดต่าง ๆ กัน ทั้งที่ผลิตจากในประเทศและต่าง
ประเทศ ซึ่งวัสดุเหล่านี้มีวิธีการมุงต่าง ๆ กันเพื่อให้ได้ประโยชน์ในการป้องกันการรั่วไหลของน้ำ�
ฝน ป้องกันแดดและความชื้นได้ดี
ลักษณะของวัสดุมุงหลังคา
วัสดุหลังคามีตั้งแต่หลังคามุงจาก แป้นเกล็ดไม้กระเบื้องหลังคาดินเผาหางว่าวหรือหางมน
กระเบื้องหลังคาคอนกรีตรุ่นก่อนที่มีลักษณะเป็นแผ่นคอนกรีตบาง แบน รูปสี่เหลี่ยมเปียกปูน
แผ่นเหล็กชุบสังกะสีรูปลอน กระเบื้องใยหินซึ่งมีชื่อเรียกตามลักษณะลอนต่าง ๆ เช่น กระเบื้อง
ลอนใหญ่ กระเบื้องลอนคู่ กระเบื้องคอนกรีตที่นิยมเรียกทับชื่อยี่ห้อว่า CPAC-MONIER ทั้ง ๆ ที่
มีมากมายหลายยี่ห้อ เช่น V-CON ตราเพชร กระเบื้องคอนกรีตอัดแรงขึ้นรูปแบบกระเบื้องหลังคา
เซรามิกแผ่นเคลือบสังกะสีและสี ที่เรียกกันทั่วไปว่า Metal Sheet กระเบื้องใยหินเลียนแบบแป้น
เกล็ดไม้ เป็นต้น

art 7.indd 141 16/2/2558 14:12:14


142

ชนิด
1. วัสดุมุงที่ทำ�จากพืชธรรมชาติ เช่น จาก แฝก หญ้าคา ฯลฯ
2. วัสดุมุงที่ทำ�จากดินเผา เช่น กระเบื้องดินเผาต่าง ๆ มีทั้งชนิดเคลือบผิวมันและไม่
เคลือบผิว
3. วัสดุมุงที่ทำ�จากปูนซีเมนต์ผสมทราย เช่น กระเบื้องซีเมนต์ต่าง ๆ
4. วัสดุมุงที่ทำ�จากปูนซีเมนต์ผสมใยหิน เช่น กระเบื้องที่ทำ�เป็นแผ่นใหญ่ ๆ มีหลายสี
5. วัสดุมุงที่ทำ�จากพลาสติก เช่น Filon Plastic Panel, Perspex, S–Lon
6. วัสดุมุงที่ทำ�จากโลหะ เช่น สังกะสีลูกฟูก ฯลฯ
ตัวอย่างขนาดของสังกะสีลูกฟูก ตรา 3 มงกุฎ
เบอร์ ขนาดกว้าง ความยาว
35 2½ ฟุต 5-12 ฟุต
33 2½ ฟุต 5-12 ฟุต
32 2½ ฟุต 5-10 ฟุต
31 2½ ฟุต 5-10 ฟุต
31 3 ฟุต 6-10 ฟุต
30 3 ฟุต 6-10 ฟุต
28 2½ ฟุต 5-10 ฟุต
35 3 ฟุต 6-10 ฟุต

art 7.indd 142 16/2/2558 14:12:14


หน่วยที่ 7 วัสดุก่อสร้าง 143

คำ�ศัพท์ท้ายหน่วยที่ 7

คำ�ศัพท์ ความหมาย
หมายถึง วัสดุผงละเอียดสีเทาหรือเทาเข้ม เมื่อผสมน้ำ�จะสามารถใช้เป็น
Cement
วัสดุประสานยึดวัสดุประเภทอิฐ หิน และทราย เข้าด้วยกัน
คอนกรีตประกอบด้วยปูนซีเมนต์ หิน ทราย และน้ำ� โดยนำ�ส่วนผสม
Concrete
ต่าง ๆ เหล่านี้มาผสมกัน
เป็นเหล็กกล้าที่ใช้ในงานก่อสร้าง ทำ�เป็นโครงสร้างของอาคารต่าง ๆ เป็น
Structural Steels
เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ�ถึงปานกลาง
ทำ�ด้วยดินเหนียวผสมแกลบนำ�ไปอัดให้เป็นแผ่น จากนั้นนำ�ไปตากให้แห้ง
Bricks
เมื่อแห้งดีแล้วจึงนำ�ไปเผาเพื่อให้ใช้งานได้คงทนยิ่งขึ้น
Wood เป็นวัสดุแข็งที่ทำ�จากแก่นลำ�ต้นของต้นไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น
หมายถึง หินในลักษณะเป็นมวลของแข็งที่ประกอบขึ้นด้วยแร่ชนิดเดียวกัน
Rock
หรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ
ดินที่มีอนุภาคแซนด์ตั้งแต่ 70% ขึ้นไปโดยน้ำ�หนัก และเคลย์ประมาณ
Sand
15% โดยน้ำ�หนัก มีลักษณะเป็นทราย มีเนื้อหยาบ
ซีเมนต์เพสต์ผสมกับทรายเรียกว่า มอร์ตาร์ (Mortar) คุณสมบัติของมวล
Cement Paste
รวมที่สำ�คัญคือ มีความแข็งแรง การเปลี่ยนแปลงปริมาตรต่ำ�
เป็นกระบวนการผลิตและเสริมแรงให้ชิ้นส่วนหรือองค์อาคารคอนกรีตให้
Prestressed Concrete
สามารถรับน้ำ�หนักได้สูงมากขึ้น
ดูลักษณะที่เป็นเมล็ดกลม ๆ ไม่หลอมละลายและไม่ละะลายน้ำ� ลักษณะ
Bauxite
ที่เด่นก็คือเหมือนดินหรือหินที่เรียกกันว่า ศิลาแลง

สรุปสาระการเรียนรู้หน่วยที่ 7
วัสดุก่อสร้างเป็นสิ่งจำ�เป็นที่ผู้เรียนสาขาวิชาการก่อสร้างต้องมีความรู้เกี่ยวกับรายละเอียด
ของวัสดุก่อสร้างแต่ละชนิดในเรื่องขนาด คุณสมบัติ การเก็บรักษา และสามารถที่จะเลือกใช้หรือ
ประยุกต์ใช้วัสดุก่อสร้างแต่ละประเภทเพื่อให้เกิดประโยชน์และประหยัดมากที่สุด มีอายุการใช้งาน
ที่คุ้มค่าต่อการลงทุน

art 7.indd 143 16/2/2558 14:12:14


144
แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 7
ตอนที่ 1 ให้เลือกคำ�ตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดไม่ใช่วัสดุก่อสร้าง
ก. อิฐมอญ ข. ทรายหยาบ
ค. ปูนซีเมนต์ ง. น้ำ�
2. ส่วนใดของไม้ที่ใช้ในงานก่อสร้าง
ก. กิ่ง ข. ลำ�ต้น
ค. กระพี้ ง. เปลือกใน
3. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เหมาะสำ�หรับนำ�มาใช้กับงานใด
ก. งานหล่อเสา ข. งานฉาบปูน
ค. งานกรุกระเบื้อง ง. งานก่ออิฐ
4. ไม้ที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
ก. สีเข้ม ข. แห้งและไม่ชื้น
ค. น้ำ�หนักเบา ง. เลื่อยง่าย
5. ถ้าต้องการทดสอบคุณภาพของทรายอย่างง่ายควรใช้วิธีใด
ก. ใช้มือบี้ดู ข. ดูด้วยตาเปล่า
ค. ดูความชื้น ง. ร่อนผ่านตะเเกรง
6. ส่วนผสมที่นำ�มาผสมกับอิฐที่ทำ�ด้วยมือเพื่อทำ�ให้อิฐที่เผาไม่แตกร้าวและรับความร้อน
ทั่วทั้งก้อนคือข้อใด
ก. ปูนขาว ข. ดินสอพอง
ค. แกลบ ง. ดินเหนียว
7. อิฐทนไฟนำ�มาใช้ในงานก่อสร้างใดบ้าง
ก. เมรุเผาศพ ข. ผนังห้อง
ค. กำ�แพงวัด ง. บ่อปลา
8. การทำ�แบบหล่อเสาควรใช้ไม้อะไร
ก. ไม้แดง ข. ไม้สัก
ค. ไม้กะบาก ง. ไม้เต็ง
9. ข้อใดไม่ใช่ส่วนผสมของคอนกรีต
ก. ทรายแม่น้ำ� ข. ทรายบก
ค. หิน ง. ปูนซีเมนต์
10. สัญลักษณ์ของเหล็กเส้นตรงคือ
ก. RS ข. RB
ค. BR ง. PS

art 7.indd 144 16/2/2558 14:12:14


หน่วยที่ 7 วัสดุก่อสร้าง 145
ตอนที่ 2 ตอบคำ�ถามต่อไปนี้
1. วัสดุกอสรางหมายถึง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
2. วัสดุกอสรางแบงออกได้.............ประเภท ไดแก่
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
3. บอกชื่อปูนซีเมนตอยางนอย 3 ชนิด
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
4. คอนกรีตมีส่วนผสมอะไรบ้าง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
5. คอนกรีตมีคุณลักษณะอย่างไร
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
6. ทรายที่ใชในงานกอสรางมี..............ชนิด ไดแก่
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
7. ทรายตางจากกรวด คือ
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
8. วัสดุมุงหลังคาที่ทําจากธรรมชาติ ไดแก
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
9. ยกตัวอยางวัสดุมุงหลังคาจากพลาสติกมา 3 ชนิด
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
10. ยกตัวอย่างวัสดุมุงหลังคาที่ทำ�จากโลหะมา 3 ชนิด
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................

art 7.indd 145 16/2/2558 14:12:14


146

กิจกรรมการเรียนรู้หน่วยที่ 7

1 ครูผู้สอนกล่าวทักทายผู้เรียน พร้อมเช็กชื่อผู้เรียน
2. ผู้สอนแจกหนังสือเรียนและบทเรียนโมดูล ให้ผู้เรียนจัดกลุ่ม 3 คน ศึกษาร่วมกัน
พร้อมกับทำ�แบบทดสอบ
3. ผู้สอนอธิบายความหมายและชนิดของวัสดุก่อสร้าง
4. ผู้สอนอธิบายปูนซีเมนต์ คอนกรีต อิฐ เหล็กกล้าก่อสร้างทั่วไป ไม้ ทราย วัสดุ มุง
หลังคา
5. ผู้สอนมอบหมายงานให้ผู้เรียนปฏิบัติงาน ตามหลักการ วิธีการ และกิจนิสัยที่ดีในการ
ปฏิบัติงานโดยให้ผู้เรียนทำ�แบบฝึกหัดทบทวนหรือใบงานภายในห้องเรียน สามารถ
เปิดหนังสือควบคู่ในการตอบคำ�ถามได้
6. ผู้เรียนปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายโดยใช้ใบความรู้หรือเอกสารประกอบการเรียน
อย่างคุ้มค่า เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน และปฏิบัติงานด้วยความ
ซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมั่น ใช้เหตุผล และสติปัญญา

art 7.indd 146 16/2/2558 14:12:14


หน่วยที่ 8 วัสดุสังเคราะห์ 147

หน่วยที่

8 วัสดุสังเคราะห์
สาระการเรียนรู้
1. ความหมายและชนิดของวัสดุสังเคราะห์
2. พลาสติก
3. ยางสังเคราะห์
4. สี
5. กาว (วัสดุประสาน)

สมรรถนะการเรียนรู้
1. อธิบายความหมายและชนิดของวัสดุสังเคราะห์ได้
2. อธิบายเกี่ยวกับพลาสติกได้
3. อธิบายเกี่ยวกับยางสังเคราะห์ได้
4. อธิบายเกี่ยวกับสีได้
5. อธิบายเกี่ยวกับกาว (วัสดุประสาน) ได้

art 8.indd 147 16/2/2558 14:12:52


148

หน่วยที่ 8 วัสดุสังเคราะห์
ปั จ จุ บั น อุ ต สาหกรรมแขนงต่ า ง ๆ มี ก ารเจริ ญ เติ บ โตและแข่ ง ขั น กั น อย่ า งมาก เช่ น
อุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยมีการนำ�วัสดุสังเคราะห์มาใช้ทำ�
ส่วนประกอบมากขึ้น เพื่อพัฒนาทั้งรูปร่างและคุณสมบัติ ให้มีคุณภาพดีขึ้น
ความหมายและชนิดของวัสดุสังเคราะห์
ความหมายของวัสดุสังเคราะห์
วัสดุสังเคราะห์ หมายถึง วัสดุที่เกิดจากการนำ�แร่ธาตุ และสารเคมีมาผ่านกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์โดยการทำ�ปฏิกิริยาทางเคมี เพื่อให้เกิดเป็นวัสดุ ซึ่งวัสดุที่ได้จากการสังเคราะห์จะมี
คุณสมบัติเฉพาะตัว เช่น น้ำ�หนักเบา มีความแข็งแรงสูง คงทนต่อการกัดกร่อน คงทนต่ออุณหภูมิ
คงทนต่อสารเคมี และนำ�มาใช้ในอุตสาหกรรมทุกแขนงในปัจจุบัน
วัสดุธรรมชาติ หมายถึง วัสดุทไ่ี ด้จากผลผลิตตามธรรมชาติ และนำ�มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ตา่ ง ๆ
ที่ใช้ประโยชน์โดยทั่วไป เช่น ยางธรรมชาติ หนังแท้ ใยหิน ฯลฯ
ประวิติความเป็นมาของพลาสติกในปี พ.ศ.2382 ชาร์ล กู๊ดเยียร์ ได้ค้นพบกรรมวิธีผลิตยาง
แข็งจากยางธรรมชาติ เพื่อนำ�มาใช้ในการทำ�รองเท้ายาง ยางที่ผลิตได้ในระยะแรก ๆ นั้น จะมีความ
หยุ่นน้อย ทนต่อการฉีกขาดได้ไม่ดีนัก ทำ�ให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้ในขณะนั้นคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร เช่น
เซลลูลอยด์ (Celluloid) หรือ Cellulose Nitrate โดยการนำ�เอาไพรอกซีน ซึึ่งได้จากฝ้ายกับกรด
ไนตริกมาผสมกับการบูรทำ�เป็นลูกบิลเลียดแทนลูกบิลเลียดแบบเดิมซึ่งทำ�ด้วยงาช้าง หลังจากนั้น
ต่อมาได้มีการค้นพบพลาสติกขึ้นมาอีกหลายชนิด
ชนิดของวัสดุสังเคราะห์
วัสดุสังเคราะห์มีหลายชนิด ได้แก่
1. พลาสติก
2. ยางสังเคราะห์
3. สี
4. กาว (วัสดุประสาน)
พลาสติก (Plastic)
พลาสติก เป็นวัสดุสังเคราะห์ และเป็นวัสดุช่างที่นิยมนำ�มาใช้งานอุตสาหกรรมต่าง ๆอย่าง
กว้างขวาง เนื่องจากพลาสติกมีคุณสมบัติบางอย่างเป็นเลิศ เช่น ไม่เกิดการกัดกร่อน แข็งแรง
เป็นฉนวนไฟฟ้า ทนต่อสารเคมี เหนียว พลาสติกส่วนใหญ่ได้จากสารประกอบไฮโดรคาร์บอนซึ่ง
ประกอบด้วยคาร์บอนไฮโดรเจน ออกซิเจน และคลอรีน ซึ่งได้มาจากผลพลอยได้จากการกลั่น
น้ำ�มันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และยังมีพลาสติกบางอย่างที่ได้จากผลิตผลทางการเกษตร

art 8.indd 148 16/2/2558 14:12:52


หน่วยที่ 8 วัสดุสังเคราะห์ 149

พลาสติกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่


1. เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastics) หมายถึง พลาสติกที่นำ�ไปทำ�ผลิตภัณฑ์
เครื่องใช้ต่าง ๆ แล้วเมื่อนำ�ไปใช้งานแล้วเกิดชำ�รุด หมดสภาพการใช้งานแล้วสามารถนำ�กลับมา
หลอมละลายขึ้นเป็นรูปผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ พลาสติกชนิดนี้มีอยู่หลายชนิดคือ
1.1 เซลลูโลซิก เป็นพลาสติกที่ได้จากเยื่อเซลลูโลส (Cellulose Fiber)
ฝ้าย (Cotton) และพืชชนิดอื่น ๆ เป็นพลาสติกที่มีความแข็งแรง ทนความร้อน เป็นฉนวนไฟฟ้า
เซลลูโลซิกที่นำ�มาใช้งานมีหลายชนิด คือ
1.1.1  เซลลูโลสไนเตรต (Cellulose Nitrate) ค้นพบและนำ�มาใช้ในปี
ค.ศ. 1869 ใช้ทำ�ลูกบิลเลียด ฟันปลอม ส้นรองเท้า ลูกปิงปิง น้ำ�ยาเคลือบผ้า (Fabric Coating)
1.1.2  เซลลูโลสอะซีเทต (Cellulose Acetate) ค้นพบในปี ค.ศ. 1927
ใช้ทำ�เทปบันทึกเสียง ฟิล์มถ่ายภาพ และของเด็กเล่น
1.1.3  เซลลูโลสอะซีเทต บิวทะเรต (Cellulose Acetate Butyrate) ค้น
พบในปี ค.ศ. 1938 ใช้ทำ�พวงมาลัยรถยนต์ ตู้วิทยุ ด้ามเครื่องมือ
1.2 อะซีทัล (Acetals) เป็นพลาสติกที่ค้นพบในปี ค.ศ. 1906 เป็นพลาสติก
ที่แข็งแรงทนทานรับแรงได้ดี ลื่นคล้ายเทียนไข นำ�มาใช้งานด้านวิศวกรรมทำ�ชิ้นส่วนที่ต้อง
เคลื่อนไหวต่าง ๆ ชิ้นส่วนของเครื่องจักรกล เครื่องยนต์ต่าง ๆ เช่น เฟือง แบริ่ง บูช ลูกกลิ้ง ซึ่งจะ
มีผลทำ�ให้เครื่องจักรกลทำ�งานได้นุ่มนวลและเสียงเงียบลง ลดปัญหาเกี่ยวกับการหล่อลื่นชิ้นส่วน

รูปที่ 8.1 การนำ�เอาอะซีทัลมาผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ


1.3 โพลิเอมาย (Polyamides) พลาสติกชนิดนี้อาจเรียกว่า ไนลอน (Nylon)
ค้นพบและนำ�มาใช้งานอุตสาหกรรมในปี ค.ศ.1933 เป็นพลาสติกที่น้ำ�หนักเบา รับแรงอัดได้ดี
ทนความร้อน ทนการขีดข่วน เป็นฉนวนไฟฟ้า นำ�มาทำ�เป็นเส้นใย ใช้เป็นถุงเท้า เอ็นตกปลา ขน
แปรงสีฟัน

art 8.indd 149 16/2/2558 14:12:53


150

1.4 โพลิโอเลฟิน (Polylefins) ที่นำ�มาใช้งานมีหลายชนิดคือ


1.4.1  โพลิโพรพิลิน (Polypropylene) ค้นพบในปี ค.ศ. 1957 มี
คุณสมบัติคล้ายโพลิเอทิน แต่มีความแขงแรงทนทานมากกว่า นำ�มาใช้ทำ�ถุงบรรจุภัณฑ์อาหาร
ชนิดร้อน แถบพลาสติกมัดของ เชือกปอพลาสติกกล่องแบบเตอรี่ หมวกกันน็อก
1.5 ไวนิล (Vinyl) พลาสติกชนิดนี้ค้นพบและนำ�มาใช้งานในปี ค.ศ. 1933
ไวนิลที่นำ�มาใช้งานมีหลายชนิดคือ
1.5.1  Polyvinyl Acetate (PVA) เป็นพลาสติกที่นำ�มาใช้ทำ�สี เรียกว่า สี
น้ำ�พลาสติกและนำ�มาทำ�กาวเรียกว่า Latex
1.5.2  Polyvinyl Choloride (PVC) ทนต่อสารเคมี เหนียวทนทาน นำ�
มาทำ�ท่อน้ำ� และฉนวนไฟฟ้า
1.5.3  Polyvinyl Choloride Acetate เป็นพลาสติกที่อ่อนเนื้อเหนียว
ฉีกขาดยาก นำ�มาทำ�พลาสติกแผ่นผืน เป็นวัสดุกันฝน
1.6 อะครีลิก (Acrylics) เป็นพลาสติกที่นำ�มาใช้งานในอุตสาหกรรม ในปี
ค.ศ 1936 เป็นพลาสติกที่มีเนื้อใสทนต่อแสงอัลตราไวโอเลต เป็นฉนวนไฟฟ้า นำ�ไปทำ�ป้าย
โฆษณาต่าง ๆ เลนส์แว่นตา เฟอร์นิเจอร์ พลาสติกสำ�หรับอัดกรอบพระ เป็นต้น
1.7 โพลิสไตรีน (Polystyrene) เป็นพลาสติกที่นำ�มาใช้งานอุตสาหกรรม
ในปี ค.ศ. 1938 เป็นพลาสติกที่น้ำ�หนักเบาเป็นฉนวนไฟฟ้า ทนต่อความร้อนได้ดีพอสมควร มี
เนื้อใส นำ�มาใช้ทำ�กล่องบรรจุต่าง ๆ เช่น กล่องลูกกวาด ไม้บรรทัด ตะเกียบ ของเด็กเล่นต่าง ๆ
และนำ�มาใช้ผลิตเป็นโฟม ใช้ทำ�กล่องบรรจุกันกระแทก เป็นฉนวนกันความร้อน กันเสียง และใช้
ตัดเป็นตัวหนังสือสำ�หรับตกแต่ง เป็นต้น
1.8 ฟลูออโรคาร์บอน (Fluorocarbons) เป็นพลาสติกที่คิดค้นเมื่อปี ค.ศ.
1943 เป็นพลาสตติกที่มีคุณสมบัติ คือ เป็นฉนวนเคลือบภายในภาชนะ เช่น หม้อกระทะ เพื่อ
ป้องกันการติดผิวภาชนะ ทำ�ปะเก็น (Gasket) สำ�หรับเครื่องจักร เครื่องยนต์ ทำ�แหวนลูกสูบ
(Piston Ring) วาล์ว (Valve)
1.9 โพลิ น คาร์ บ อเนต (Polycarbonate) เป็ น พลาสติ ก ที่ นำ � มาใช้ ง าน
อุตสาหกรรม ในปี ค.ศ. 1957 ซึ่งเป็นพลาสติกใส มีความแข็งแรงมากที่สุด ทนความร้อน และสาร
เคมีได้ดี นำ�มาใช้ทำ�ขวดนมเด็กชนิดดี เครื่องใช้ไฟฟ้า ด้ามเครื่องมือต่าง ๆ แว่นตากันแดด และ
ตัวกล้องถ่ายภาพ เป็นต้น
1.10 ไอโอโนเมอร์ (Ionomer) เป็นพลาสติกที่ค้นพบ และนำ�มาใช้ในปี ค.ศ.
1964 เป็นพลาสติกที่ใส และเหนียวทนต่อกรดและด่างได้ดี สามารถเชื่อมให้ละลายติดกันด้วย
ความร้อน นำ�มาใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุต่าง ๆ เช่น ขวดบรรจุของเหลว เครื่องมือ ลูกกอล์ฟ

art 8.indd 150 16/2/2558 14:12:53


หน่วยที่ 8 วัสดุสังเคราะห์ 151

1.11 โพลิซัลโฟน (Polysulphone) เป็นพลาสติกที่ค้นพบเมื่อปี ค.ศ.1965


เป็นพลาสติกที่ทนความร้อนได้สูง ทนแรงดึงแรงอัดได้สูง ทนต่อกรดด่าง และเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี
มาก นำ�มาใช้ทำ�ฝาครอบ หรือตัวเครื่อง และอุปกรณ์ไฟฟ้า และยังนำ�มาทำ�น้ำ�ยาเคลือบผิวไฟฟ้า
(Wire Coating)
1.12 โพลิสเอสเทอร์ (Polyester) เป็นพลาสติกชนิดเทอร์โมพลาสติก ที่มีชื่อ
เหมือนกับพลาสติกเทอโมเซตติงมีความดเหนียวทนความร้อนได้ดี แข็งแรงทนทานมาก นำ�ไปใช้
ทำ�ชิ้นส่วนของรถยนต์ เช่น กันชนรถยนต์ ขวดบรรจุน้ำ�มัน นำ�มาทำ�เส้นใยทอผ้า เป็นต้น
2. เทอร์โมเซตติง (Thermosetting) เป็นพลาสติกที่ได้รับความร้อนในครั้งแรก
จะอ่อนตัว สามารถนำ�มาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แล้วจะแข็งตัวคงสภาพ ไม่สามารถนำ�กลับ
หลอมละลายได้ใหม่ พลาสติกประเภทนี้มีอยู่หลายชนิด ได้แก่
2.1 ฟินอลิก (Phenolic) พลาสติกที่ค้นพบ และนำ�มาใช้งานในปี ค.ศ. 1909
โดยมีชื่อเรียกทางการค้าว่าเบเกอร์ไลต์ เป็นพลาสติกที่มีความแข็งแกร่งทนต่อความร้อนได้ดี และ
เป็นฉนวนไฟฟ้า นำ�ไปใช้ผลิตเป็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้า เช่น โครงตู้วิทยุ โครงตู้โทรทัศน์ ฝาครอบจาน
จ่ายรถยนต์ หูหม้อ หูกระทะไฟฟ้า ด้ามจับเตารีด และยังนำ�มาทำ�กาวสังเคราะห์สำ�หรับผลิตไม้อัด
ชนิดกันน้ำ�

รูปที่ 8.2 การนำ�เอาฟินอลิกมาผลิตจานจ่ายเครื่องยนต์


2.2 อะมิโน (Amino) เป็นพลาสติกที่รับแรงอัดและแรงบิดได้ดีมาก ทนต่อ
อุณหภูมิได้สูง มีเนื้อแข็งทนต่อการขูดขีดได้ดี อะมิโนแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
2.2.1  ยูเรีย (Urea) นำ�มาใช้งานในปี ค.ศ. 1929 โดยนำ�มาทำ�กาว
สังเคราะห์สำ�หรับประสานไม้อัดประเภทต่าง ๆ เช่น ไม้อัดแผ่นเรียบ ชิิปบอร์ด อุปกรณ์ไฟฟ้า และ
น้ำ�ยาเคลือบผิว
2.2.2  เมลามีน (Melamine) นมาใช้งานในปี ค.ศ. 1939 โดยนำ�มา
ผลิตเป็นภาชนะต่าง ๆ เช่น จาน ชาม แก้ว ถาด และนำ�มาทำ�แผ่นโฟรไมกา (Formica) เป็นต้น

art 8.indd 151 16/2/2558 14:12:53


152

2.3 ซิ ลิ โ คน (Silicone) เป็ น พลาสติ ก ที่ นำ � มาใช้ ใ นอุ ต สาหกรรมในปี


ค.ศ. 1903 นำ�มาใช้ทั้งรูปของเหลว และแบบคงรูป ทนต่อคาวามร้อนและเย็นได้ดี เป็นฉนวนไฟฟ้า
นำ�มาใช้ทำ�ยางขอบกระจก ยางปูพื้นกันลื่น ทำ�แบบหล่อ ซิลิโคนเหลวนำ�มาใช้ทำ�เครื่องสำ�อาง
กาวประสานรอยตู้กระจกเลี้ยงปลา เป็นต้น
2.4 โพลิ น ยู เ ลเทน (Polyuretheane) เป็ น พลาสติ ก ที่ นำ � มาใช้ ง าน
อุตสาหกรรมในปี ค.ศ. 1954 เป็นพลาสติกที่ทนการสึกกร่อนได้ดี เหนียว ทนต่อสารเคมี เป็น
ฉนวนไฟฟ้าที่ดี นำ�มาใช้ทำ�หนังเทียม น้ำ�ยาเคลือบผิววัสดุ และยังนำ�มาทำ�โพม ซึ่ง 2 ชนิดคือ
2.4.1  โฟมชนิดอ่อนตัว (Flexible Foam) หรือฟองน้ำ� ใช้ทำ�เบาะ
รถยนต์ เบาะเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ที่นอนฟองน้ำ�
2.4.2  โฟมชนิดแข็งตัว (Rigid Foam) ใช้ฉีดเข้าภายในปีกเครื่องบิน
ท้องเรือผนังห้องเย็น เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และเป็นฉนวนกันความร้อน
2.5 อีพอกซี (Epoxy) เป็นพลาสติกที่นำ�มาใช้งานปี ค.ศ. 1974 เป็นฉนวน
ไฟฟ้าที่ดี ทนต่อความร้อนได้สูงในรูปของเหลวนำ�มาใช้ทำ�กาวสังเคราะห์สำ�หรับติดโลหะ ซึ่งมี
คุณสมบัติเกาะได้ดีมาก สามารถนำ�มาเป็นไฟเบอร์กลาสชนิดใช้เป็นส่วนของเครื่องบิน และรถยนต์
การขึ้นรูปพลาสติก
ผลิตภัณฑ์พลาสติกจะขึ้นรูปโดยไม่มีการตัดเฉือน (Non-cutting) พลาสติกอ่อน
(Thermoplastic) เช่น อ่างน้ำ� ขวดพลาสติกต่าง ๆ จะผลิตโดยการหล่อแบบฉีด (Inection
Mould) เป่าในแบบขึ้นรูปและวัสดุกึ่งสำ�เร็จรูป เช่น เป็นแผ่น แผ่นบาง (Foil) รูปพรรณต่าง ๆ
และท่อ จะผลิตโดยการอัดรีด (Extrusion Press) และรีดม้วนหลายครัง้ (Calendering) ขึน้ รูปได้

พลาสติกหลอม

ลูกรีดเหล็กกล้า


แผ่นพลาสติกบาง
รูปที่ 8.3 เครื่องรีดแผ่นพลาสติกให้บาง (แหล่งที่มา : จากหนังสือในบรรณานุกรมลำ�ดับที่ 17)

art 8.indd 152 16/2/2558 14:12:53


หน่วยที่ 8 วัสดุสังเคราะห์ 153

เม็ดพลาสติก

ปากนำ�ร่องสำ�หรับรูปทรงต่าง ๆ กระบอกอัด
เกลียวตัวหนอน น้ำ�หล่อเย็น

รูปที่ 8.4 เครื่องอัดรีดพลาสติก


ก. กรรมวิธีผลิตแบบคาเลนเดอริง (Calendering)
พลาสติกแผ่นบาง (Foil) จะผลิตโดยวิธีนี้ โดยชุดคาเลนเดอริงจะเป็นลูกกลิ้ง
3-4 ลูก ที่ถูกทำ�ให้ร้อนเพื่อที่จะรีดพลาสติต PVC ให้เป็นแผ่นบางลงได้ตามขนาดที่ต้องการ
ข. กรรมวิธีแบบอัดรีด (Extrusion Press)
สามารถผลิตพลาสติกรูปพรรณ (Profile) แท่ง ท่อ แผ่นบาง ๆ การผลิตทำ�โดย
มีเกลียวตัวหนอนที่หมุนอยู่ หมุนขับพลาสติตผงจากกรวยผ่านกระบอกสูบที่ถูกทำ�ให้ร้อน เพื่อให้
พลาสติกละลายแล้วอัดเคลื่อนด้วยเกลียวไปยังรูด้านซ้ายสุด ผ่านปากนำ�ร่อง (Orfice) จะมีรูปร่าง
คล้ายรูปพรรณที่ต้องการผลิต

ก๊าซที่ได้จากการแครงกิง, น้ำ�มันดิบ,
น้ำ�มันดิบ ถ่านโค้ก, ก๊าซใช้ในการเผา ถ่านหิน

เอทิลีน อะเซทิลีน เบนโซล์ ฟิโนลิก

สไตรีน กรดเกลือ เอทิลแอกอฮอล์

กรดไฮโรไซยานิก
โพลีเมทิลเมทา
โพลีเอทิลีน โพลิสไตริน ไครเลต โพลีเอไมด์
(PE) (PS) (PMMA) (PA)

รูปที่ 8.5 แผนภูมทิ ม่ี าของพลาสติกอ่อน 5 ประเภท (แหล่งทีม่ า : จากหนังสือในบรรณานุกรมลำ�ดับที่ 17)

art 8.indd 153 16/2/2558 14:12:53


154

เม็ดพลาสติก กรวยใส่
แบบทำ�ดัวยเหล็ก

เกลียวตัวหนอน ตัวทำ�ความร้อน กระบอกอัด

รูปที่ 8.6 เครื่องฉีดพลาสติกแบบใช้เกลียวตัวหนอน


ตารางที่ 8.1 แสดงข้อแตกต่างของพลาสติกอ่อนแต่ละชนิด
ประเภท ความต้าน อุณหภูมิใช้ ทนต่อ ไม่ทนต่อ คุณสมบัติ ข้อสังเกตเมื่อ
โพลิเมอร์ แรงดึง งาน (ºC) อย่างอื่น ทดสอบด้วยเปลว
(N/mm2) ไฟ
โพลีเอทิลีน (PE) 17-18 -50 ถึง ด่ า ง, กรดอย่ า ง น้�ำ มัน ของเหลวและ เมื่อละลายมีเปลว
ชนิดแข็ง +100 อ่อน, สารซักฟอก, และจาระบีที่ใช้ ก๊าซซึมผ่านได้ สีนำ�้ เงิน, กลิ่น
น้ำ�มันที่ใช้บริโภค ทางช่าง เป็นฉนวนไฟฟ้า เหมือนพาราฟิน,
โพลีเอทิลีน (PE) 9-10 -50 ถึง +80 ดับเปลวไฟได้ง่าย
ชนิดอ่อน (ยืดหยุ่น)

โพลีไวนิลคลอไรด์ 45-60 -30 ถึง +80 กรด, ด่าง, เบนซิน, เบนโซ, เชื่อมให้ติด เปลวจะสว่าง, ดับ
(PVC) ชนิดแข็ง น้ำ�มัน, สารซักฟอก อะซีโดน กันได้ ปาดผิว เปลวได้ยาก, จะ
และสารละลาย ได้, ขึ้นรูปเมื่อ ไหม้ดำ�, มีกลิ่นฉุน
อื่น ๆ ร้อนได้ เหมือนกรดเกลือ
โพลีไวนิลคลอไรด์ เป็นลักษณะ +30 กรด, สบู่, แอลกอฮอล์, เชื่อมให้ติดกัน เปลวสว่าง, มีเขม่า,
(PVC) ชนิดอ่อน สปินสปริง สารซักฟอก อะซีโตน, ได้ใช้กับโรงงาน กลิ่นฉุนเหมือน
เบนซิน, ผลิตพลาสติก กรดเกลือ
เบนโซ อ่อน
โพลีเมทิลเมทาไคร 70-80 -30 ถึง +80 ด่าง, กรดที่เจือจาง, แอลกอฮอล์, แตกสลายยาก, เปลวสีเหลือง, เปลว
เลต น้ำ�มัน เบนซิน เบนโซ, ไม่แตกกระจาย, มีกลิ่นเหมือนผลไม้,
(PMMA) อะซีโตน ปาดผิวได้, ไม่มีควัน
หรืออะคริลิกกลาส โปร่งแสง
โพลิสไตริน (PS) 45-60 -35 ถึง +70 ด่าง, น้ำ�มัน, กรด อีเทอร์, ฉนวนไฟฟ้า, เปลวสว่าง, ดับได้
หลายชนิด อย่างอ่อน, เบนซิน, มีฟองเมื่อถูก ง่าย, มีควันมาก,
แอลกอฮอล์ เบนโซ ความร้อน, เป็น กลิ่นเหมือนผลไม้
ฉนวนกันความ
ร้อนและเสียง
โพลีเอไมด์ (PA) 50-70 -305 ถึง เบนซิ น , เบนโซ, กรด, ด่าง ทนความเค้น, เปลวสีน้ำ�เงินมีขอบ
หรือไนลอน +100 น้ำ�มัน, จาระบี ทนการสึกหรอ สีเหลือง
ดี, เชื่อม
ประสานได้,
ปาดผิวได้, น้ำ�
จับเกาะติดได้

art 8.indd 154 16/2/2558 14:12:53


หน่วยที่ 8 วัสดุสังเคราะห์ 155

เกลือแกง (NaCI) หินปูนเผา ถ่านหิน น้ำ� (H2O)

น้ำ�
เครื่องบด เครื่องบด

ภาชนะผสม
สารละลาย NaCI ภาชนะบด หินปูน 100
แผงเซลไฟฟ้า ถ่านโค้ก
คลอรีน (CI2) CO (นำ�ไปใช้เป็น
ก๊าซทำ�ความร้อน)
ไฮโดรเจน H2 เตาคาร์ไบด์ CaC2 เหลว
หัวเผา ทำ�ให้เย็นด้วยลม
CaO + sC + CaC2 + CO
ก๊าซไฮโดรคลอไรด์ เครื่องบด
เครื่องทำ�ความเย็น กรดเกลือเจือจาง Carbide (ก้อน)
น้ำ�
น้ำ�หล่อเย็น Acetylene
คอนเดนเซอร์
ก๊าซ C2H2
เศษโคลน
น้ำ�หล่อเย็น CaO
กรดเกลือเข้มข้น
ถังภาชนะก๊าซอะเซทิลีน
CaC2 + H2O  CaO + C2H2

Catalytic ด้วย

ไวนิลคลอไรด์
โพลีเมอไรเซชันในหม้อต้ม
Autoclave

ผง PVC
รูปที่ 8.7 ตัวอย่างการเกิดโมเลกุลใหญ่โดยผ่านการโพลีเมอร์ไรเซชัน (Polymerization)

art 8.indd 155 16/2/2558 14:12:54


156
ยางสังเคราะห์ (Synthetic Rubber)
เนื่องจากในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ยางธรรมชาติเกิดขาดแคลนอย่างมาก ทั้งในยุโรป
และอเมริกาจึงมีการผลิตยางสังเคราะห์ขึ้นมาใช้งานมากขึ้น ซึ่งผลิตขึ้นจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
และได้จากการทำ�ปฏิกิริยากันของสารเคมี ซึ่งยางสังเคราะห์บางชนิดก็มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับยาง
ธรรมชาติ บางชนิดมีคุณสมบัติเฉพาะ เช่น เนื้อเหนียว ยืดหยุ่น ทนต่อสารเคมี ทนต่ออุณหภูมิ
และน้ำ�มันแร่ ยางสังเคราะห์ที่สำ�คัญ คือ
3.1 ยาง GR-S (Goverment Rubber-Styrene) ผลิตขึ้นจากถ่านหิน
หินปูน เกลือและน้ำ� มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับยางธรรมชาติมาก ก่อนที่จะนำ�ไปใช้งานต้องผ่าน
กรรมวิธี Valcanization เป็นยางที่นำ�ไปผลิตยางรถยนต์
3.2 ยางบูนา (Buna Rubber) เป็นยางสังเคราะห์ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
3.2.1  Buna-S มีคุณสมบัติเนื้อแน่น ก๊าซซึมผ่านได้ยาก ทนต่อการ
สึกหรอ ทนต่อแรงดันและการเสียดสี ใช้ทำ�ยางสายพานลำ�เลียง
3.2.2  Buna-N มีคุณสมบัติทนต่อสารเคมีต่าง ๆ และน้ำ�มันแร่ ใช้ทำ�
ท่อส่งน้ำ�มันเครื่องในเครื่องยนต์ และท่อไฮดรอลิก
3.3 ยางบูทิล (butyl Rubber) เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากปิโตรเลียม
มีคุณสมบัติทนทานต่อน้ำ�มันแร่และสารเคมี ใช้ทำ�ท่อระบายน้ำ�มันในเครื่องยนต์
3.4 ยางไทไอโค (Thioko Rubber) เป็นยางสังเคราะห์ของสารอินทรีย์
ไพลีซัลไฟต์ มีคุณสมบัติทนทานต่อน้ำ�มันแร่และสารเคมีใช้ทำ�ท่อระบายน้ำ�มันในเครื่องยนต์
3.5 ยางซิ ลิ โ คน (Silicone Rubber) เป็ น ยางสั ง เคราะห์ ที่ ผ ลิ ต จาก
ซิลิโคน ออกซิเจน ไฮโดรเจน และคาร์บอน มีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้ดีแม้อยู่ในอุณหภูมิสูงหรือต่ำ�
ทนสารละลายกรดและน้ำ�มันแร่ ใช้ทำ�ท่อยางแผ่นปะเก็น เพื่อป้องกันรั่วซึมของน้ำ�มัน ฉนวนหุ้ม
สายเคเบิล
3.6 ยางไนตริล เป็นยางสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติทนต่อน้ำ�มันปะเก็น
ตารางที่ 8.2 เปรียบเทียบคุณสมบัติของยางธรรมชาติกับยางเทียม

ยางธรรมชาติ ยางเทียม
1.  ยืดหยุ่นดี 1.  ยืดหยุ่นสู้ยางธรรมชาติไม่ได้
2.  ทนต่อแรงดึงได้สูง 2.  ทนต่อแรงดึงได้น้อยกว่า
3.  ทนต่อการสึกหรอฉีกขาดดีกว่า 3.  ทนต่อการสึกหรอได้น้อย
4  ไม่ทนต่อน้ำ�มันแร่ 4  ทนต่อน้ำ�มันแร่และสารละลายอีกหลายประเภท
5.  ไม่ทนต่อไขมัน 5.  ทนต่อไขมัน
6.  ทนความร้อนได้ไม่สูงนัก 6.  ทนต่อความร้อนสูงกว่า บางชนิดสูงถึง 200º
7.  ทนต่อการรั่วซึมของก๊าซไม่ดี 7.  ทนต่อการรั่วซึมของก๊าซได้ดีกว่ายางธรรมชาติ
8.  ราคาถูก 8.  ราคาแพง
9.  คุณสมบัติไม่แน่นอน 9.  คุณสมบัติแน่นอนคงทน มีประโยชน์ต่อการคำ�นวนส่วนผสม

art 8.indd 156 16/2/2558 14:12:54


หน่วยที่ 8 วัสดุสังเคราะห์ 157

ข้อควรระวังในการเก็บรักษายางธรรมชาติและยางเทียม
1. เก็บรักษาให้ห่างจากเปลวไฟ หรือความร้อน
2. เก็บยางไม่ให้กระทบกับสารทองแดงและสารแมงกานีส ยางจะแตกตัวเสือ่ มคุณภาพ
3. คลุกผิวยางด้วยแป้ง เมื่อต้องการเก็บยางนาน ๆ
4. ควรเก็บไว้ในอุณหภูมิปกติ (20-25ºC) และมีอากาศถ่ายเทได้ดี
5. เก็บไว้ให้หา่ งจากน้�ำ มันแร่ เช่น น้�ำ มันเบนซิน น้�ำ มันก๊าด เพราะน้�ำ มันทำ�ให้ยางบวม
6. ควรเก็บยางให้ห่างจากสารเคมีต่าง ๆ เพราะอาจทำ�ให้ยางเสื่อมคุณภาพ

สี (Paint)
สีเป็นวัสดุที่สำ�คัญไม่น้อยในวงการอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง เพื่อให้ดูสวยงามและลด
การกัดกร่อน ทนต่อแดดและฝน ป้องกันการทำ�ลายของแมลงบางชนิด เป็นต้น สีที่ทาหรือพ่นลง
ไปบนวัสดุใด ๆ จะปรากฏเป็นฟิล์มเคลือบทับผิวนั้น ๆ ไว้เป็นการปกปิดผิวมิให้กระทบกับอากาศ
และผิวงานแบบสนิทไม่ให้หลุดล่อนได้ง่าย
สีแต่ละประเภทจะมีสารต่าง ๆ ในเนื้อของสีต่างกัน ในการใช้งาน สี ที่ ใช้ ใ นงาน
อุตสาหกรรมแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท คือ
1. สีน้ำ�มัน (Oil Paint) เป็นสีที่นิยมใช้งานกันมานานแล้ว ทาและพ่นได้ง่ายบน
พื้นผิวทั้งที่เป็นโลหะและอโลหะ สีน้ำ�มันมีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี ้
1.1 ผงสีพื้น (Base) เป็นผงวัสดุที่ทําให้เนื้อสีเกาะติดแน่นกับผิวงาน โดย
ทั่วไปจะเป็นผงตะกั่วขาว ตะกั่วแดง สังกะสีออกไซด์ เหล็กออกไซด์
1.2 ผงแม่สี (Pigment) เป็นผงสีที่จะไปเคลือบผงสีพื้นให้เกิดสีตามต้องการ
ส่วนใหญ่ได้มาจากธาตุต่าง ๆ เช่น สีดําได้จากแกรไฟต์ สีเขียวได้จากคอปเปอร์ซัลเฟต สีน้ำ�เงิน
ได้จากโคบอลต์ เป็นต้น
1.3 น้ำ�ยาซักแห้ง (Direr) เป็นน้ำ�ยาที่ช่วยให้น้ำ�ยาละลายสีระเหยหรือแห้ง
เร็วขึ้น เพราะน้ำ�ยาละลายสีนั้นแห้งช้ามาก ส่วนมากทํามาจากสารละลายตะกั่วแดงแมงกานีส
ไดออกไซด์หรือสังกะสีซัลเฟต
2. สีเคลือบ (Enamel Paint) เป็นสีที่ผสมผงแม่สีกับน้ำ�มันวานิช มีความคงทน
ต่อรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นพิเศษ ใช้สําหรับพ่นสีรถยนต์ มีทั้งชนิดแห้งเร็วและแห้งช้า บางชนิด
จะต้องอบด้วยอุณหภูมิสูงหลังการพ่นเพื่อให้สีติดแน่นกับโลหะ บางชนิดจะมีโลหะที่บดเป็น
ผงละเอียดผสมอยู่ด้วยเพื่อทําให้สีนั้นมีความแวววาว ที่มีวางขายตามท้องตลาดในชื่อที่เรียกกัน
โดยทั่วไปว่า “สีเมทัลลิค” (Metalic Paint) ซึ่งสีชนิดนี้มีความไวไฟมาก ในขณะที่ผสมหรือพ่นสี
ประเภทนี้ห้ามสูบบุหรี่หรือปฏิบัติงานเชื่อมโลหะอยู่ในบริเวณเดียวกัน

art 8.indd 157 16/2/2558 14:12:54


158
วิธีผสมชนิดนี้ให้ลดความเข้มลงมาด้วยน้ำ�มันสน หรือน้ำ�มันก๊าดชนิดไม่มีกลิ่น และ
มีจุดเดือดประมาณ 130-160 องศาเซลเซียส
3. สีพลาสติกหรือสีน้ำ� (Water or Plastic Emulsion Paint) เป็นสีผสม
พลาสติกชนิดโพลีไวนีอาซีเตต หรือพีวีเอ (Polyvinylacetate : PVA) ซึ่งละลายได้ในน้ำ�
มีคุณสมบัติเหมือนกาวเกาะติดวัสดุต่าง ๆ ที่ไม่ใช้โลหะได้ดีมาก จะแข็งตัวภายใน 2 ชั่วโมง
การผสมสีหรือการทําให้เจือจางทําได้ด้วยน้ำ�และล้างออกได้ด้วยน้ำ�จะใช้ทาหรือพ่นก็ได้มีใช้
ทั้งชนิดใช้ภายในและภายนอกอาคาร
4. สีน้ำ�ปูน (Thined-hydrated Lines) เป็นสีที่ทํามาจากปูนขาวน้ำ�ผสมกาว
และน้ำ�ข้าวทิ้งไว้ค้างคืน เพื่อให้ส่วนผสมละลายเข้ากันจึงนํามาใช้งาน ในปัจจุบันมีการผสมสี
ลงไปด้วย ส่วนมากผู้ผลิตจะผลิตออกมาเป็นผงบรรจุใส่ถังส่งออกจําหน่ายในท้องตลาด เวลาใช้
จึงนํามาผสมน้ำ�และสีที่ต้องการ
การทาสีและพ่นสี เพื่อให้เกิดความสวยงามและคงทน การทาสีและพ่นสีจะต้องทำ�
ด้วยความปราณีต เรียบร้อย ไม่รีบร้อน โดยเริ่มทำ�ให้ดีตั้งแต่การเตรียมพื้นผิวงาน คือการทำ�ความ
สะอาดผิวงานให้เรียบร้อยก่อนทาสีหรือพ่นสี ทำ�ได้ 3 วิธี คือ
1. โดยแปรงลวด
2. โดยใช้กระดาษทราย
3. โดยใช้ทรายพ่น

สีทับหน้า

สีอันเดอร์ไลด์

สีรองพื้น

ผิวงาน

รูปที่ 8.8 ชั้นสีสำ�เร็จ


ทาสีรองพื้น เพื่อป้องกันสนิม ทำ�ให้สีเกาะยึดแน่นกับผิวงานได้ดี ทาสีอันเดอร์ไดต์
เพื่อ
 ปกป้องภาวะภายนอก
 ป้องกันสารเคมีจากพื้นผิวงานออกฤทธิ์กันสีทับหน้า
 เพิ่มแรงเกาะยึดระหว่างสีที่ทา หรือสีที่ติดกับชิ้นงาน
 ทา หรือพ่นสีทับหน้า เพื่อความสวยงาม และป้องกันความชื้น

art 8.indd 158 16/2/2558 14:12:54


หน่วยที่ 8 วัสดุสังเคราะห์ 159

กาวหรือวัสดุประสาน (Adhesive)
หมายถึง วัสดุที่ใช้วัตถุ 2 ชิ้นติดกัน วัสดุประสานมี 2 ประเภท คือ วัสดุประสานธรรมชาติ
(Natural Adhesive) และวัสดุประสานสังเคราะห์ (Synthetic Resin Adhesive) ประโยชน์ของ
การใช้วัสดุประสาน คือ
1. การยึดประสานจะทำ�ผิวให้ผวิ วัสดุเรียบ สวยงาม เช่น เครือ่ งดนตรีประเภท
กีตาร์ ไวโอลิน
2. สามารถยึดประสานวัสดุต่างชนิดกันได้ เช่น หลอดไฟฟ้าแสงสว่าง
3. สามารถทำ�การยึดประสานวัสดุทม่ี ขี นาดเล็กมาก ๆ ได้ เช่น วัสดุประเภท
พลาสติก แก้วยาง
1. วัสดุประสานธรรมชาติ หมายถึง การที่ผลิตขึ้นจากวัสดุธรรมชาติ ซึ่งอาจจะ
ได้จากพืชหรือสัตว์ เช่น
กาวพืช (Vegetable Glue) เป็นกาวที่ผลิตจากแป้ง มีราคาถูก มีความแข็งแรง
ในการประสานไม่มากนัก โดยทั่วไปแล้วนำ�มาใช้ในงานติดประสานกระดาษ
กาวยาง (Rubber Glue) เป็นกาวที่ผลิตจากยางธรรมชาติกับสารละลาย (น้ำ�มัน
เบนซิน) มีความแข็งแรงในการยึดประสานดี โดยทั่วไปแล้วนำ�มาใช้ติดประสานวัสดุที่เป็นกระดาษ
หนัง และยาง
กาวเคซีน (Casein Glue) เป็นกาวที่ได้จากโปรตีนจากถั่ว มีความแข็งแรงใน
การประสานได้ดี นำ�มาใช้งานในการติดประสานไม้อาคารที่ไม่ถูกความชื้น และงานกระดาษ
กาวหนัง เป็นกาวที่ผลิตจากกระดูกและหนังสัตว์ โดยนำ�มาล้างทำ�ความสะอาด
แล้วนำ�มาเคี่ยวจนกาวข้น นำ�มาใช้งานทำ�กระดาษทราย ในปัจจุบันกาวหนังไม่ค่อยนิยมนำ�มาใช้
งาน เนื่องจากมีกลิ่นเหม็น มีความแข็งแรงในการติดประสานไม่ดี
2. วัสดุประสานสังเคราะห์ (Synthetic Resin Adhesives) หมายถึง กาวที่
ได้จากสารเคมีที่สังเคราะห์ให้มีคุณสมบัติในการยึดประสานวัตถุต่าง ๆ ในปัจจุบันกาวสังเคราะห์
ได้รับความนิยมในการนำ�มาใช้งานอย่างมาก เพราะมีความสะดวกในการใช้งาน มีความแข็งแรงใน
การยึดประสานได้ดี ทนต่ออุณหภูมิ ทนต่อความชื้น วัสดุประสานสังเคราะห์สามารถแบ่งออกได้ 2
ประเภท คือ
กาวสังเคราะห์ ชนิดเทอร์โมเซตติง (Thermosetting Type)
1. กาวอีพอกซี (Epoxy) โดยทั่วไปแล้วกาวชนิดนี้จะผลิตมา 2 ส่วน คือเนื้อ
กาวที่ใช้ในการติดประสาน และตัวทำ�ปฏิกิริยาให้แข็งตัว โดยแต่ละส่วนจะบรรจุอยู่ในหลอด เมื่อ
ต้องการใช้งานก็บีบเนื้อกาว และตัวทำ�ปฏิกิริยาออกจากหลอด แล้วนำ�มาผสมกัน แล้วผสมให้ทั้ง
สองส่วนเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นนำ�ไปติดประสานวัสดุที่ต้องการจะให้ติดกัน เมื่อผสมกาว
แล้วควรใช้ภายใน 10-15 นาที เพราะกาวอีจะเริ่มแข็งตัว กาวอีพอกซีเป็นกาวที่มีคุณสมบัติในการ

art 8.indd 159 16/2/2558 14:12:54


160

ติดประสานดีเยีย่ ม มีความแข็งแรงในการยึดติดประสานสูงมาก มีการขยายตัวและหดตัวน้อยมาก


ทนต่อความชืน้ ได้ดี ทนต่ออุณหภูมไิ ด้สงู นำ�ไปใช้งานอุตสาหกรรมอากาศยานและอุตสาหกรรมทัว่ ไป
2. กาวฟิโนลิก (Phenulice) กาวชนิดนี้จะผสมอยู่ในสารละลายเมื่อเรานำ�กาว
ฟิโนลิกไปติดบนวัสดุทท่ี ากาวแล้วนีม้ าติดเข้าด้วยกัน กาวชนิดนีน้ �ำ มาใช้กนั มากในอุตสาหกรรมไม้อดั
3. กาวซิลิโคน (Sillicone) เป็นกาวที่ทนต่อความชื้น และอุณหภูมิสูงได้ดี ใช้ใน
งานอุตสาหกรรมอุปกรณ์ไฟฟ้า
4. กาวรีเซอร์ซินัลเรซิน (Resorcinal Resin) เป็นกาวที่มีคุณสมบัติติดไม้ได้ดี
มาก ใช้ในการผลิตไม้ที่ต้องทนต่ออุณหภูมิและความชื้น
กาวสังเคราะห์พวกเทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic Type)
1. เซลลูโลสดีริเวทีฟ (Cellulose Derivatives) มีคุณสมบัติทนความชื้นได้ดี
เหมาะสำ�หรับใช้งานทั่วไปในงานบ้าน ใช้ติดไม้ กระดาษ
2. อะครีลิก (Acrylics) เป็นกาวโปร่งใส เหมาะสำ�หรับใช้งานติดวัสดุพวกกระจก
เซรามิกกาวพิเศษ มีอยู่มากมายหลายชนิด เช่น กาวพลาสติก กาวติดกระจก กาวติดโลหะ บาง
ชนิดกันน้ำ�ได้ บางชนิดทนความร้อนได้ดี สามารถต่อท่อไอเสียรถยนต์ได้ กาวพิเศษที่มีจำ�หน่าย
ในท้องตลาด ได้แก่
ก. อินสแตนท์ (Instant Glue) เป็นกาวชนิดใส ใช้งานได้สารพัดประโยชน์ แห้ง
เร็ว สามารถติดแก้ว กระเบื้อง โลหะ ยาง ไฟเบอร์กล๊าส ไม่เหมาะกับงานที่ต้องแช่น้ำ� ตากแดดหรือ
วัสดุที่มีรูพรุนมาก ๆ
ข. พลาสติก กลู (Plastic Glue) ผลิตขึ้นมาใช้กับพลาสติกโดยเฉพาะ สามารถ
ติดพลาสติกเข้ากับโลหะ ไม้ หรือแก้วได้
ค. ซุปเปอร์ กลู (Super Glue-Super Cemant) เป็นกาวที่มีความแข็งแรงสูง
มาก ติดแน่นและทนทาน เวลาใช้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ หากเข้าตาจะต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
คุณลักษณะของกาว
ประโยชน์ของกาว
 การติดกาวทำ�ให้วัสดุเรียบ ไม่ต้องมีนอต หรือตะปูโผล่มาให้เห็น และทำ�ให้ดู
สวยงาม
 สามารถติดวัสดุต่างชนิดกันได้

 มีเสียงดังน้อยเมื่อรับแรงกระแทก หรือสั้น

 ทำ�ให้การผลิตและออกแบบในงานอุตสาหกรรมง่าย

 สามารถติดวัสดุที่เปราะบาง หรือมีขนาดเล็กได้ดี

art 8.indd 160 16/2/2558 14:12:54


หน่วยที่ 8 วัสดุสังเคราะห์ 161

วิธีทำ�กาว
1. เอาหนังสัตว์มาแช่ในน้ำ�สะอาดให้อ่อนตัว เพื่อให้ชะล้างของสิ่งสกปรกรวมทั้ง
เกลือให้หมด
2. เอาหนังที่ล้างแล้วแช่ลงในถังน้ำ�ปูนขาว เพื่อให้หนังพองตัวและอ่อนตัวพอที่
ละลายเป็นกาวได้ง่าย ระยะเวลาที่ใช้ในการแช่หนังในน้ำ�ปูนขาวนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของหนังและ
ความร้อน ถ้าแช่ในน้ำ�ปูนขาวน้อยไปจะต้องใช้เวลาและความร้อนมากในการละลาย แต่ถ้าแช่มาก
เกินไปหนังก็จะละลายไปเสียก่อน เพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการแช่ให้เร็วขึ้นควรตัดหนังออก
เป็นชิ้นเล็ก ๆ
3. เอาหนังออกจากที่แช่น้ำ�ปูนขาวล้างด้วยน้ำ�สะอาดหมดด่าง ซึ่งอาจตรวจดูได้โดย
ใช้กระดาษลิตมัส ถ้ามีดา่ งอยูบ่ า้ งเล็กน้อยก็อาจฆ่าได้ดว้ ยกรดอ่อน ๆ เช่น กรดเกลือ กรดซัลฟิวริก
หรือสารส้ม
4. เมื่อล้างสะอาดแล้วก็เอาหนังไปเคี่ยวกับน้ำ� ข้อสังเกตในข้อนี้ คือ การต้องระวังไม่
ใช้ความร้อนสูงเกินไป กาวที่ได้จะมีคุณภาพต่ำ� กาวเคี่ยวอาจทำ�ได้ 2 วิธีคือ
ก. เคี่ยวในถังเปิด (Open Tank) ตัวถังทำ�ด้วยไม้หรือเหล็ก มีท่อไอน้ำ�ขด
อยู่ภายใน เอาหนังใส่เข้าไปในถังแล้วเติมน้ำ�ให้พอดี เปิดน้ำ�ผ่านท่อจนกระทั่งอุณหภูมิในถังต้ม
ประมาณ 80 องศาเซลเซียส ใช้ไม้กวนกระทั่งได้น้ำ�ข้น ๆ จึงลดอุณหภูมิและตักไขมันที่ลอยอยู่
ข้างนอกเป็นก๊อกเอาน้ำ�ที่อยู่ก้นถังออก ส่วนกากที่เหลือต้มต่อไปอีก 2-3 ครั้ง
ข. เคี่ยวในถังปิด (Presseure Tank) โดยมากใช้ต้มกาวจากกระดูก การต้มใช้
ความดัน 10-20 บรรยากาศ
5. เมื่อละลายเป็นกาวใสในข้อ 4 แล้ว ขั้นต่อไปทำ�ให้งวดเข้า ซึ่งควรใช้หม้อต้ม
ระเหยแบบสุญญากาศ และใส่ยากันเสียลงไป เช่น ซิงค์ซัลเฟต เมื่อน้ำ�กาวใสงวดขันได้ที่ก็เทใส่แบบ
สำ�หรับทำ�เป็นกาวแผ่น
6. ถ้าน้ำ�กาวขุ่นจะทำ�ให้ใสโดยใช้สารส้มหรือไข่ขาวเติมลงไปเพื่อให้สิ่งสกปรกรวม
ตัวกันเป็นตะกอนแล้วกรองออก
7. กาวที่อยู่ในแบบข้อ 5 แล้วทำ�ให้แห้งได้โดยใช้กระแสลมร้อนเป่า แต่ต้องระวังถ้า
ลมร้อนมากเกินไปแทนที่กาวจะแห้งกลับทำ�ให้กาวละลายและเยิ้มเหลว
ข้อควรปฏิบัติในการใช้กาว
1. ผิวหน้าที่จะติดกาวต้องเรียบ สะอาด และแห้ง
2. การทากาวควรทาให้เรียบและทาบาง ๆ
3. การใช้กาวชนิดแห้งเร็ว ควรลองทาบบริเวณที่จะติดก่อนเพื่อความแน่ใจ
4. กาวชนิดแห้งช้า ควรต้องมีอปุ กรณ์ยดึ ติดวัสดุให้ตดิ แน่นตลอดเวลาทีก่ าวยังไม่แห้ง
5. ต้องเลือกชนิดของกาวให้เหมาะสมกับวัสดุ
6. กาวบางชนิดเป็นอันตราย ไม่ควรใช้มอื จับหรือสูดดมกลิน่

art 8.indd 161 16/2/2558 14:12:54


162

คำ�ศัพท์ท้ายหน่วยที่ 8

คำ�ศัพท์ ความหมาย
สารประกอบอิ น ทรี ย์ ที่ สั ง เคราะห์ ขึ้ น ใช้ แ ทนวั ส ดุ ธ รรมชาติ บางชนิ ด
Plastic
เมื่อเย็นจะแข็งตัว เมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัว บางชนิดก็แข็งตัวถาวร
เป็ น พลาสติ ก ที่ ใช้ กั น แพร่ ห ลายที่ สุ ด มี ส มบั ติ พิ เ ศษคื อ เมื่ อ หลอมแล้ ว
Thermoplastic
สามารถนำ�มาขึ้นรูปกลับมาใช้ใหม่ได้
พลาสติ ก หรื อ เรซิ่ น เหล่ า นี้ จ ะใช้ ง านหรื อ ผ่ า นขั้ น ตอนขึ้ น รู ป ในรู ป ของ
Thermosetting ของเหลวทีม่ คี วามหนืดต่� ำ สามารถไหลไปตามแบบหรือแม่พมิ พ์ได้ จากนั้น
เรซ่ินจะถูกบ่มโดยความร้อนหรือปฏิกิริยาเคมีทำ�ให้เกิดการแข็งตัว
Styrene-Acrylonitrile เป็นพลาสติกโปร่งใส ใช้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนยานยนต์
Isocyanates สารประกอบกลุ่มไอโซไซยาเนตที่ใช้ในอุตสาหกรรม
ยางประเภทเม็ดต่ำ� 4 แถว ใช้ขับขี่บนถนนทั่วไป และสามารถขับขี่ในสภาพ
Triols
ถนนที่เป็นกรวด ดิน หิน ทราย โคลน ได้ดี
Styrene Butadiene เกิดจากการโคพอลิเมอไรเซชันระหว่างมอนอเมอร์ 2 ชนิด คือ สไตรีนและ
Rubber บิวตาไดอีนแบบอิมัลชัน
คือสารที่มีสมบัติยืดหยุ่นได้ ทำ�ให้เป็นรูปร่างต่าง ๆ ได้ เป็นสารประกอบ
Rubber
พอลิเมอร์
เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ S และเลขอะตอม 16 เป็นอโลหะที่
Sulphur
มีอยู่ทั่วไป ไม่มีรสหรือกลิ่น
สารป้องกันการเสื่อมของยาง คือ สารเคมีที่เติมลงไปในยางเพื่อลดอัตราเร็ว
Antidegradants ในการเสื่อมสภาพของยางอันเนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ออกซิเจน
ความร้อน แสงแดด และโอโซน
เป็นการเติมสารเติมเต็มผิวตามธรรมชาติที่มีความปลอดภัยสูง Collagen
Filler ซึ่งเป็นโปรตีนสำ�คัญของผิวหนัง ซึ่งมีสาร Hyaluronic Acid (HA) เป็น
สารประกอบ
ยางคอมพาวด์ คือยางธรรมชาติที่ผสมสารเคมีเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มคุณสมบัติ
Compound Rubber
บางประการให้เหมาะสมกับการนำ�ไปใช้ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
คือ สารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ และมีมวลโมเลกุลมาก ประกอบ
Polymer ด้วยหน่วยเล็ก ๆ ของสารที่อาจจะเหมือนกันหรือต่างกันมาเชื่อมต่อกัน
ด้วย

art 8.indd 162 16/2/2558 14:12:55


หน่วยที่ 8 วัสดุสังเคราะห์ 163

สรุปสาระการเรียนรู้หน่วยที่ 8
วัสดุในชีวิตประจำ�วันมีทั้งวัสดุธรรมชาติและวัสดุสังเคราะห์ ซึ่งวัสดุสังเคราะห์เป็นวัสดุ
ที่เกิดจากกระบวนการทางเคมีเพื่อให้เกิดสารชนิดใหม่หรือผลิตวัสดุเพื่อนำ�มาใช้ทดแทนวัสดุ
ธรรมชาติที่มีอยู่น้อย ซึ่งมีปริมาณไม่เพียงพอหรือมีคุณภาพที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อ
พัฒนาทั้งรูปร่างและคุณสมบัติของวัสดุสังเคราะห์ให้มีคุณภาพที่ดีมากยิ่งขึ้นและเพื่อนำ�มาใช้งาน
ได้อย่างหลากหลาย โดยวัสดุสังเคราะห์นั้นจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัว เช่น มีน้ำ�หนักเบา มีความแข็ง
แรงสูง คงทนต่อการกัดกร่อน คงทนต่ออุณหภูมิ คงทนต่อสารเคมี และโดยส่วนใหญ่แล้วมักนำ�
วัสดุสังเคราะห์มาใช้ในงานอุตสาหกรรมแทบทุกแขนง

art 8.indd 163 16/2/2558 14:12:55


164
แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 8

ตอนที่ 1 ให้เลือกคำ�ตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของพลาสติก
ก. เป็นฉนวนไฟฟ้า ข. ทนต่อสารเคมี
ค. มีความเหนียว ง. เกิดการกัดกร่อน
2. พลาสติกแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ก. 4 ข. 3
ค. 2 ง. 1
3. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของโพลิเอไมด์
ก. ทนความร้อน ข. แห้งเร็ว
ค. ทนการขีดข่วน ง. เป็นฉนวน
4. ข้อใดคือพลาสติกประเภทไวนิล
ก. PVC ข. PS
ค. PA ง. PE
5. ยาง GR-S ผลิตจากวัสดุอะไร
ก. ถ่านหิน ข. หินปูน
ค. เกลือแกงน้ำ� ง. ถูกทุกข้อ
6. ยางบูทิล เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากอะไร
ก. สารอินทรีย์ ข. ซิลิโคน
ค. พืช ง. ปิโตรเลียม
7. อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษายางเทียมคือข้อใด
ก. 3-10 องศาเซลเซียส ข. 10-15 องศาเซลเซียส
ค. 20-25 องศาเซลเซียส ง. 30-35 องศาเซลเซียส
8. ข้อใดไม่ใช่ส่วนผสมของสีน้ำ�มัน
ก. ทินเนอร์ ข. ผงพื้นสี
ค. ผงแม่สี ง. น้ำ�ยาซักแห้ง
9. สีพลาสติกหรือสีน้ำ� จะใช้เวลาเท่าไรในการแข็งตัว
ก. 1 ชั่วโมง ข. 2 ชั่วโมง
ค. 3 ชั่วโมง ง. 4 ชั่วโมง
10. สีน้ำ� ของผงสีหรือเนื้อสี ทำ�มาจากอะไร
ก. โคบอลต์ ข. ตะกั่ว
ค. แกรไฟต์ ง. ไทเทเนียม

art 8.indd 164 16/2/2558 14:12:55


หน่วยที่ 8 วัสดุสังเคราะห์ 165

ตอนที่ 2 ตอบคำ�ถามต่อไปนี้
1. วัสดุสังเคราะห์ หมายถึง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
2. พลาสติกแบ่งออกได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
3. เทอร์โมพลาสติก หมายถึง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
4. พลาสติกชนิดใดที่ไม่สามารถนำ�มาหลอมละลายใหม่ได้
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
5. โดยทั่วไปยางสังเคราะห์จะมีคุณสมบัติใดบ้าง บอกมา 3 ข้อ
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
6. ประโยชน์ในการใช้สีทางวัสดุมีอะไรบ้าง บอกมา 3 ข้อ
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................

art 8.indd 165 16/2/2558 14:12:55


166

7. สีสามารถแบ่งได้กี่ประเภทอะไรบ้าง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
8. สีแห้งเร็วใช้เวลา ......................... นาที การแห้งจะแห้งจากข้างนอก
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
9. สีแห้งช้า จะแห้งโดยการระเหยและการอบโดยใช้เวลา................ชั่วโมง
10. บอกชนิดของวัสดุสังเคราะห์พวกเทอร์โมเซตติงพลาสติกมา 3 ชนิด
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................

กิจกรรมการเรียนรู้หน่วยที่ 8

1 ผู้สอนกล่าวทักทายผู้เรียน พร้อมเช็กชื่อผู้เรียน
2. ผู้สอนแจกหนังสือเรียนและบทเรียนโมดูล ให้ผู้เรียนจัดกลุ่ม 3 คน ศึกษาร่วมกัน
พร้อมกับทำ�แบบทดสอบ
3. ผู้สอนอธิบายความหมายและชนิดของวัสดุสังเคราะห์
4. ผูู้สอนอธิบายพลาสติก ยางสังเคราะห์ สี และกาว
5. ผู้สอนมอบหมายงานให้ผู้เรียนปฏิบัติงาน ตามหลักการ วิธีการ และกิจนิสัยที่ดี
ในการปฏิบัติงานโดยให้ผู้เรียนทำ�แบบฝึกหัดทบทวนหรือใบงานภายในห้องเรียน
สามารถเปิดหนังสือควบคู่ในการตอบคำ�ถามได้
6. ผู้เรียนปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายโดยใช้ใบความรู้หรือเอกสารประกอบการเรียน
อย่างคุ้มค่า เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน และปฏิบัติงานด้วยความ
ซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมั่น ใช้เหตุผล และสติปัญญา

art 8.indd 166 16/2/2558 14:12:55


หน่วยที่ 9 วัสดุงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 167

หน่วยที่

9 วัสดุงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
สาระการเรียนรู้
1. ความหมายและชนิดของวัสดุงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
2. ตัวนำ�ไฟฟ้า
3. ฉนวนไฟฟ้า
4. วัสดุต้านทานไฟฟ้า
5. วัสดุกึ่งตัวนำ�
6. วัสดุแม่เหล็ก

สมรรถนะรายวิชา
1. อธิบายเกี่ยวกับความหมายและชนิดของวัสดุงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้
2. อธิบายเกี่ยวกับตัวนำ�ไฟฟ้าได้
3. อธิบายเกี่ยวกับฉนวนไฟฟ้าได้
4. อธิบายเกี่ยวกับวัสดุต้านทานไฟฟ้าได้
5. อธิบายเกี่ยวกับวัสดุกึ่งตัวนำ�ได้
6. อธิบายเกี่ยวกับวัสดุแม่เหล็กได้

art 9.indd 167 16/2/2558 14:13:26


168

หน่วยที่ 9 วัสดุงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ความหมายและชนิดของวัสดุงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ความหมายของวัสดุงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
วั ส ดุ ไ ฟฟ้าเและอิเ ล็ก ทรอนิก ส์ หมายถึ ง การเลื อ กใช้ วั สดุ ใ ห้ เหมาะสมและถู ก ต้ อ งกั บ
ลักษณะงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยคำ�นึงถึงคุณสมบัติ ประโยชน์การใช้งานของวัสดุได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ไม่เกิดอันตรายต่อชีวิตและอุปกรณ์อื่น ๆ
ปัจจุบันวัสดุไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้เข้ามาอำ�นวยความสะดวกในชีวิตประจำ�วันอย่าง
มากมาย ในด้านเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องเล่น แต่ถ้าหากไม่เข้าใจการใช้ การบำ�รุงรักษาป้องกัน
จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างไม่รู้ตัว
ชนิดของวัสดุไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
วัสดุไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สามารถแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้
1. ตัวนำ�ไฟฟ้า
2. ฉนวนไฟฟ้า
3. วัสดุต้านทานไฟฟ้า
4. วัสดุกึ่งตัวนำ�
5. วัสดุแม่เหล็ก
ตัวนำ�ไฟฟ้า (Electriccal Conductor)
เป็นวัสดุสื่อไฟฟ้าที่สามารถยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ ได้แก่
1. สายไฟฟ้า
สายไฟฟ้านิยมใช้ทองแดงมาผลิต แต่ถ้าเป็นสายโต ๆ การใช้ทองแดงซึ่งมีราคาแพงกว่าจึง
เลือกใช้อะลูมิเนียมแทน ในประเทศไทยมีบริษัทต่าง ๆ มากมายผลิตสายไฟฟ้ามาขายตามท้อง
ตลาด สายไฟที่ดีจะต้องมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของไทย ทีไอเอส (TIS) ที่สายไฟฟ้า
แต่ละชนิด แต่ละขนาด ตลอดจนชนิดของวัสดุที่หุ้มสายไฟนำ�มาใช้งานต่าง ๆ กัน อย่างไรก็ตาม
การเลือกใช้สายไฟฟ้าภายในบ้านต้องคำ�นึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1.1 ความทนทานของกระแสไฟฟ้าของสายไฟ (แอมแปร์)
1.2 อุณหภูมิที่ใช้งาน
1.3 แรงดันไฟฟ้า (ตามบ้านปกติใช้ 220 โวลต์)
1.4 ตำ�แหน่งที่ใช้งาน (ในอาคาร, นอกอาคาร, ในท่อ)
1.5 ความเหมาะสมในการเลือกไฟมาใช้กับงาน เช่น สายเดี่ยวใช้กับสายเมน หรือ
ปลั๊กสายคู่ใช้กับหลอดไฟ สวิตช์ตัดตอน ปลั๊ก ฯลฯ

art 9.indd 168 16/2/2558 14:13:27


หน่วยที่ 9 วัสดุงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 169

ตารางจำ�นวนกระแสสูงที่ยอมให้ใช้ได้กับสายไฟฟ้าขนาดต่าง ๆ
ขนาดพื้นที่หน้าตัด (มม.2) กระแสสูงสุดสำ�หรับสายหุ้มเดิน กระแสสูงสำ�หรับสายหุ้ม
นอกอาคารและนอกอาคาร หุ้มเดินในท่อหรือในอาคาร
(แอมแปร์) (แอมแปร์)
0.5 - 3
1.0 10 6
1.5 13 8
2.5 19 12
4 27 16
6 36 22
10 51 30

ตารางแสดงค่าจำ�นวนวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ (โดยประมาณ)
ลำ�ดับ ชนิด วัตต์
1. วิทยุ 85
2. วิทยุพร้อมเครื่องเล่นแผ่นเสียง 100
3. โทรทัศน์ 275
4. เตารีดไฟฟ้า 1,000
5. เครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก 1,000
6. พัดลมเพดาน 375
7. พัดลมตั้งโต๊ะ 75
8. จักรเย็บผ้า 75
9. ตู้เย็น 205
10. เตารีดไฟฟ้า 1,200
11. กระทะไฟฟ้า 1,300
12. เครื่องซักผ้า 300

Bangkok Cabel & TIS 11-2518 PVC 0.5 SQ.MM. 250 VOLT 60ºC

อุณหภูมิที่ฉนวนสามารถทนได้ (60ºC)
ค่าแรงเคลื่อนสูงสุดที่ทนได้ - โวลต์ (250 โวลต์)
ขนาดพื้นที่หน้าตัดของตัวนำ�
ชนิดของฉนวนหุ้ม (พี.วี.ซี.)
เดือน-ปีที่ผลิต (เดือน พ.ย.-พ.ศ. 2548)
สัญลักษณ์มาตรฐาน (Thailand Industry Standard)
ตราคุณภาพรองรับ (มอก.)
ชื่อบริษัทผู้ผลิต (Bangkok Cabel)

รูปที่ 9.1 โค้ดสายไฟฟ้า

art 9.indd 169 16/2/2558 14:13:27


170

ตัวอย่าง โค้ดสายไฟฟ้า (เขียนทีต่ วั สาย) Cable TIS 11 - 1975 PVC 2.5 SQMM 250 V. 60ºC
TIS 11 - 1975 มาตรฐานอุตสาหกรรมของไทยตามตัวโคดตัวเลขนี้
PVC ฉนวนหุม้ ทำ�ด้วยพีวซี ี
250 V. ใช้ได้กบั แรงดัน 250 โวลต์
60ºC ทนความร้อนได้ 60º องศาเซลเซียส
2.5 SQMM พ.ท. หน้าตัวตัดนำ�เป็น มม2

รูปที่ 9.2 กรรมวิธีการผลิตสายไฟฟ้า

art 9.indd 170 16/2/2558 14:13:27


หน่วยที่ 9 วัสดุงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 171

2. สวิตช์ไฟฟ้า
เป็นอุปกรณ์ทน่ี �ำ มาใช้ท�ำ หน้าทีเ่ ปิด-ปิดให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านสวิตช์ตอ้ งมีคณ
ุ สมบัติ
คือ
2.1 ต้องเป็นตัวนำ�ไฟฟ้าได้ดี
2.2 ต้องทนต่อความร้อนได้ดี
2.3 ต้องมีความแข็งแรงทนต่อการสึกหรอ
2.4 ทนต่อสารเคมี
2.5 มีความต้านทานคงที่
2.6 ทานต่อการเกิดออกไซด์หรือปราศจากสนิม
โลหะที่ใช้ทำ�วัสดุสวิตช์
ทองแดง เป็นตัวนำ�ทีด่ ที ง้ั ไฟฟ้าและความร้อน การสึกหรอ และการรักษารูปทรงไม่ดนี กั
เมื่อทิ้งไว้นาน ๆ จะเกิดเป็นฟิล์มบาง ๆ ปิดผิวโดยรอบ สวิตช์ที่ได้จากทองแดงมักเป็นสวิตช์แรง
ดันสูง
เงิน เป็นโลหะตัวนำ�ไฟฟ้าและความร้อนได้ดีที่สุด เงินไม่ทนต่อสารประกอบกำ�มะถัน
เพราะกำ�มะถันจะทำ�ให้เงินเป็นซัลไฟต์ซึ่งเป็นตัวนำ�ไฟฟ้าเลว โดยปกติแล้วในการทำ�สวิตช์จะไม่ใช้
เงินทั้งแผ่น แต่จะทำ�เป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วบัดกรีหรืออัดแผ่นบาง ๆ ไว้บางผิวบริเวณหน้าสัมผัส
ตัวอย่างงานที่พบได้แก่ที่รีเลย์ (Relay)
ทอง ทองบริสุทธิ์เป็นตัวนำ�ความร้อนและไฟฟ้าได้ดีมาก ทนต่อสารเคมี แต่ทว่าอ่อน
มาก พับตัวได้ง่ายและไม่ค่อยนำ�มาใช้มากนักเพราะมีราคาแพง
รีเนียม เป็นธาตุที่มีจุดหลอมเหลวสูงมาก ประมาณ 3,170 องศาเซลเซียส ฟิล์มที่
เกิดบนผิวเป็นตัวนำ�ไฟฟ้าที่ดี แต่ธาตุนี้ไม่ค่อยนิยมเนื่องจากมีราคาแพงมาก
วูลเฟรม เป็นตัวนำ�ความร้อนที่ดี แต่ต้องระวังการสปาร์ค (Spark) เพราะจะทำ�ให้
เกิดออกไซด์ จึงจำ�เป็นต้องใช้แรงงานกดที่หน้าสัมผัสมากกว่าปกติ
วัสดุสวิตช์ที่เป็นโลหะ
วัสดุสวิตช์ที่เป็นโลหะประสมมีหลายชนิดตามความเหมาะสมของการใช้งาน เช่น
ทองแดงประสม ที่ ใช้ ทำ � สวิ ต ช์์ บ รอนซ์ เ งิ น มี เ งิ น ประสมประมาณ 2.6% และ
แคดเมียมทำ�ให้แข็งและเป็นสปริงได้ดี เหมาะสำ�หรับทำ�สวิตช์สปริง
เงินประสม เป็นตัวนำ�ไฟฟ้าได้ดีไม่เท่าเงิน วัสดุสวิตช์ทั้งหลายทำ�จากเงินประสม
พลาเดียมมากที่สุด ส่วนสวิตช์ต่อวงจรจะเป็นเงินประสมแคดเมียม
ทองประสม ทองมักประสมกับเงิน ทองแดง นิเกิล โคบอลท์ ทองคำ�ขาว พลาเดียม
ใช้เป็นวัสดุสวิตช์สำ�หรับงานที่มีคุณภาพของวงจรจริง ๆ หรือเป็นงานที่ต้องใช้แรงสัมผัส

art 9.indd 171 16/2/2558 14:13:27


172

สวิตช์ที่ใช้ควบคุมด้วยอุณหภูมิ
สวิตช์จำ�พวกนี้จะใช้โลหะแผ่น 2 ชนิดแตกต่างกัน ข้อสำ�คัญของการทำ�งานก็คือ
สัมประสิทธิ์ของการขยายตัวตามเส้นของโลหะนั้นจะต้องแตกต่างกัน วิธีประกอบแผ่นโลหะทั้ง
สองเข้าด้วยกันอาจใช้วิธีเชื่อมอัดติดกันจนแน่น เมื่อคู่ประกบของโลหะนี้ได้รับความร้อนขึ้น โลหะ
ที่มีสัมประสิทธิ์การขยายตัวตามเส้นมากกว่าจะขยายยาวกว่าโลหะอีกชนิดหนึ่ง ทำ�ให้เกิดการโก่ง
ตัวซึ่งจะนำ�เอาผลอันนี้ไปใช้ในการบังคับการทำ�งานของวงจรให้ปิดเปิดเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง

โลหะ A โลหะ A ขยายตัวมากกว่าเมื่อได้รับความร้อน

โลหะ B

รูปที่ 9.3 โลหะที่ใช้ทำ�เป็นสวิตช์์


วัสดุสวิตช์ที่เป็นโลหะซินเตอร์
1. วูลเฟรมและโมลิบดีนัม มีจุดหลอมเหลวสูงมาก คือวูลเฟรม 3,370 องศา
เซลเซียส โมลิบดีนัม 2,620 องศาเซลเซียส ใช้ขึ้นรูปโดยวิธีซินเตอร์สามารถคงทนต่อการอาร์ค
ไฟฟ้าได้ดี
2. วูลเฟรมประสมกับเงิน ตามปกติจะประสมเงินประมาณ 10-70% วัสดุชนิดนี้
มีคุณสมบัติในการนำ�ไฟฟ้าเท่ากับเงิน ใช้กันมากกับสวิตช์ที่มีการเปิด-ปิดบ่อย ๆ เช่น สวิตช์ไฟ
กะพริบ
3. วูลเฟรมประสมกับทองแดง ใช้กันมากในระบบไฟฟ้าแรงสูง และสวิตช์์ใหญ่ ๆ มี
ทั้งสวิตช์น้ำ�มัน สวิตช์์อากาศ
ตัวอย่างสวิตช์อัตโนมัติที่เรียกว่า เบรกเกอร์ (Circuit Breaker)
เป็ น อุ ป กรณ์ ตั ด วงจรไฟฟ้ า อั ต โนมั ติ ซึ่ ง ค่ อ นข้ า งจะเป็ น ของใหม่ ใ นยุ ค ปั จ จุ บั น
โรงงานผู้ผลิตอุปกรณ์ชนิดนี้ได้แข่งขันและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี การผลิตกันอย่างหนักเพื่อ
ที่จะได้เป็นผู้ครองตลาดการค้าอุปกรณ์ประเภทนี้
Circuit Breaker เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขึ้นเพื่อใช้ทั้งในระบบไฟฟ้าแรงสูงและ
ไฟฟ้าแรงต่ำ�
สวิตช์น้ำ�มัน (Minimum Oil Circuit Breaker) มักใช้ในระบบไฟฟ้าแรงสูง หน้า
สัมผัสจะถูกแช่อยู่ในน้ำ�มัน ซึ่งเป็นตัวช่วยดับประกายไฟ (Arc) ที่เกิดขึ้น ในขณะที่หน้าสัมผัส
กำ�ลังจากกัน น้ำ�มันที่ใช้เป็นน้ำ�มันชนิดเดียวกันกับที่ใช้ในหม้อแปลงน้ำ�มันนั้นเอง

art 9.indd 172 16/2/2558 14:13:27


หน่วยที่ 9 วัสดุงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 173

สวิตช์แบบสุญญากาศ (Vacuum Circuit Breaker) เป็นแบบที่ใช้ในระบบไฟฟ้า


แรงสูงเช่นกัน โดยหน้าสัมผัสของมันจะอยู่ภายในกระบอกสุญญากาศ ซึ่งจะช่วยให้ประกายไฟฟ้าที่
เกิดขึ้นดับได้อย่างรวดเร็ว
สวิตช์แบบก๊าซเฉื่อย (Gas Circuit Breaker) เป็นวิวัฒนาการใหม่ที่ใช้ในวงการ
ผลิตสวิตช์ไฟฟ้าแรงสูงที่สร้างให้หน้าสัมผัสอยู่ในกระบอกบรรจุก๊าซชนิดไม่ติดไฟที่นิยมใช้ใน
ปัจจุบันคือ SF6
สวิตช์แบบใช้อากาศ (Air Circuit Breaker) เป็นแบบที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ใน
ระบบกระแสแรงต่ำ�และสูงปานกลาง ซึ่งผลิตขึ้นมามีขนาดสูงสุดประมาณ 6,000 แอมแปร์
สวิตช์์ทั้ง 4 ชนิดที่กล่าวมานั้น จะต้องมีอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่ง คือ Protective Reley
เป็นตัวจับสภาพของกระแสไฟฟ้าในระบบและควบคุมให้วงจรตัดออก ดังนั้น ความสามารถหรือ
ความเที่ยงตรงตลอดจนความไวในการตัดวงจรจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของ Protective Reley
นั้นด้วย
3. ฟิวส์ (Fuse)
เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านมากเกินไปหรือใช้งานเกินกำ�ลัง วัสดุที่ใช้ทำ�ฟิวส์จะร้อนและ
หลอมละลายขาดออกจากกันโดยปราศจากเปลวไฟ
วัสดุที่ใช้ทำ�ฟิวส์จะทำ�จากโลหะผสมมีจุดหลอมเหลวต่ำ� เช่น ตะกั่ว สังกะสี ดีบุก และ
ทองแดง เป็นต้น ดังแสดงในรูปที่ 9.4
เส้นฟิวส์เป็นฟิวส์เปลือยไม่มีฉนวนหุ้ม มีขั้ว หรืองอเป็นขั้วสำ�หรับใช้สกรูยึด
ฟิวส์ก้ามปู ฟิวส์เส้นทำ�จากตะกั่ว

รูปที่ 9.4 แสดงลักษณะของฟิวส์เส้นและฟิวส์ก้ามปู


การใช้ฟิวส์เส้นหรือฟิวส์ก้ามปูท่ีกล่าวมานั้น ต้องใช้ร่วมกับสะพานไฟหรือคัตเอาต์
(Cut out) สะพานไฟเปรียบเสมือนสะพานข้ามแม่น�ำ้ ทีป่ ดิ เปิดได้ เพราะเมือ่ เปิดสะพานให้เรือขนาด
ใหญ่ผ่านรถยนต์ต่าง ๆ จะไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านจากฝั่งหนึ่งมาอีกฝั่งหนึ่งได้สะพานไฟก็เช่น
เดียวกัน เมือ่ ยกคัตเอาต์ลงวงจรถูกต่อเข้าด้วยกัน กระแสไฟฟ้าก็สามารถไหลผ่านไฟฟ้าไปได้

art 9.indd 173 16/2/2558 14:13:27


174

สะพานไฟฟ้าหรือคัตเอาต์ (Cut-out) นี้เป็นตัวตัดวงจรไฟฟ้าแบบธรรมดาซึ่งนิยม


ใช้ตามอาคารหรือตามที่อยู่อาศัยทั่วไป ดังแสดงในรูปที่ 9.5

ฉนวน (เซรามิก)
เซรามิก
ตัวนำ� (ทองแดง)
ฟิวส์ตะกั่ว
ฟิวส์ตะกั่ว

ไฟฟ้าไม่ผ่าน ไฟฟ้าผ่าน

รูปที่ 9.5 ลักษณะของคัตเอาต์ (Cut-out)


ฟิวส์ปลั๊ก (Plug Fuse) นิยมใช้กันมากตามบ้านพักอาศัย เพราะการเปลี่ยนแปลง
ฟิวส์ทำ�ได้ง่ายและปลอดภัย ถ้าฟิวส์ขาดสังเกตได้ง่าย ปุ่มฟิวส์จะหลุดออกจากแท่งเซรามิกดัง
แสดงในรูปที่ 9.6

ฝาครอบฟิวส์
ปุ่มยึดฟิวส์
แท่งเซรามิก

ฟิวส์ปลั๊ก
ถ้วย

รูปที่ 9.6 ลักษณะของฟิวส์ปลั๊ก


คาร์ทริดจ์ฟิวส์ (Cartridge Fuse) มีอยู่ 2 ชนิด คือ แบบกระบอกหรือแบบเฟอร์
รูล (Ferrule) และแบบใบมีด (Knife Blade Type) เป็นฟิวส์ที่มักใช้ร่วมกับเซฟตีสวิตช์ (Safety
Switch)

แบบเฟอร์รูล แบบหลอดแก้ว
รูปที่ 9.7 ลักษณะของฟิวส์กระบอก

art 9.indd 174 16/2/2558 14:13:27


หน่วยที่ 9 วัสดุงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 175

เซฟตีสวิตช์ หมายถึง สวิตช์ที่อยู่ในภายในกล่องโลหะ ฝาจะเปิดออกได้เมื่อตอนที่


สวิตช์อยู่ในตำ�แหน่ง OFF เท่านั้น

ฟิวส์ใบมีดชนิดเหลี่ยมพร้อมฐานยึด ฟิวส์ใบมีดชนิดกลม
รูปที่ 9.8 ลักษณะของฟิวส์แบบใบมีด
ตัวตัดไฟอัตโนมัติ (Circuit Breaker) หรือเบรกเกอร์ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่
ถูกออกแบบขึ้นมาสำ�หรับตัดต่อวงจรแทนมือ สามารถตัดวงจรโดยอัตโโนมัติเมื่อกระแสไฟฟ้าไหล
ผ่านมากกว่าปกติ ภายในของตัวตัดตอนมีการทำ�งานโดยอาศัยความร้อนหรืออำ�นาจแม่เหล็ก แต่
ตัดตอนที่นิยมใช้กันจะมีทั้งระบบการทำ�งานด้วยอำ�นาจแม่เหล็กและความร้อนอยู่ในตัวเดียวกัน
ซึ่งมีประโยชน์คือ
1. สามารถป้องกันการลัดวงจรด้วยอำ�นาจแม่เหล็ก
2. สามารถป้องกันการใช้งานเกินกำ�ลังโดยอาศัยความร้อน
ตำ�แหน่งของก้านสวิตช์จะมี 3 ตำ�แหน่ง เช่น
เมื่อใช้งานต้องยกสวิตช์ขึ้นไปอยู่ในตำ�แหน่ง “ON” แต่ถ้า On
กระแสไหลผ่านมากเกินไปตัวตัดตอนจะทำ�การตัดวงจร Tripper
ก้านสวิตช์จะเคลื่อนมาอยู่ที่ตำ�แหน่ง “Tripped” เมื่อ Off
ต้องการให้ทำ�งานก็โยกก้านสวิตช์มายังตำ�แหน่ง “OFF”
ตัวตัดตอนอัตโนมัต จะมีขนาดตั้งแต่ 10, รูปที่ 9.9 การทำ�งานของเบรกเกอร์
15, 20, 25 จนถึง 200 แอมแปร์ (Breaker)
สวิตช์อัตโนมัติ (Automatic Switch)
ปัจจุบนั นิยมใช้กนั มาก จึงนำ�มาใช้แทนสะพานไฟ (Cut out)
เมื่อกระแสไฟฟ้าทันที และเมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านมากเกิน
ขนาดที่กำ�หนดไว้ (Over Load) สวิตช์นี้จะตัดวงจร
ไฟฟ้าทันที และเมื่อแก้ไขให้กระแสไฟฟ้าอยู่ในระดับปกติ
แล้ว ก็สามารถกดปุ่มทำ�งาน (ON) วงจรไฟฟ้าจะต่อ
กันใหม่โดยไม่ต้องหาประแจมาเปลี่ยนฟิวส์อีก มีความ
สะดวกปลอดภัย แต่มีราคาสูงกว่าตัวตัดกระแสไฟฟ้า รูปที่ 9.10 ลักษณะการทำ�งานของสวิตช์
ชนิดอื่น ดังแสดงในรูปที่ 9.10 อัตโนมัติ (Automatic Breaker)

art 9.indd 175 16/2/2558 14:13:27


176

4. ถ่านที่ใช้ในงานไฟฟ้า
ถ่านที่ใช้ในการผลิต โดยนำ�ถ่านหินแอนทราไซต์ ถ่านโค้ก และถ่านไม้มาบดเข้าด้วย
กันจนละเอียด ผสมน้ำ�มันดินลงไปเป็นตัวประสาน เสร็จแล้วใช้อัดด้วยเครื่องไฮดรอลิกอัดขึ้นรูป
เป็นแผ่นหรือรูปทรงตามที่ต้องการ แล้วนำ�ไปอบในเตาเพื่อให้น้ำ�มันดินสลายจับตัวเป็นถ่าน แล้ว
ถ่านจะเปลี่ยนอันยรูปเป็นกราไฟต์ได้มาก กราไฟต์ที่ได้จะมีคุณสมบัติเป็นตัวนำ�ไฟฟ้าเรียกว่า กรา
ไฟต์ไฟฟ้า
ถ่านทีใ่ ช้ในงานช่างไฟฟ้า คือแปรงถ่าน ซึง่ เป็นตัวนำ�ไฟฟ้าทีก่ ดอยูบ่ นฟันของคอมมิวเตอร์
ในเครื่องจักรไฟฟ้า
ถ่านชนิดพิเศษ
1. ถ่านที่ใช้ในอาร์คไฟฟ้า ใช้ทำ�สวิตช์เลื่อนในรถไฟหรือรถเครน
2. ถ่านขีดอาร์ค ใช้ทำ�ไฟอาร์ค เช่น ไฟฉายภาพยนต์, ไฟฉายเครื่องบิน
3. ถ่านอิเล็กโทรด ในเตาอาร์คไฟฟ้า เช่น เตาหลอมเหล็กไฟฟ้า
4. ถ่านอาโนดกราไฟต์ ใช้ทำ�ตัวต้านทาน (Register) ใช้กันมากในงานด้านอิเล็ก
ทรอนิกส์
สารกึ่งตัวนำ� ซึ่งใช้ในการทำ�ชิ้นส่วนสำ�คัญของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย เช่น
โทรทัศน์, เครือ่ งรับส่งวิทยุ, และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น สารกึง่ ตัวนำ�ทีใ่ ช้กนั มาก ก็คอื เยอรามาเนียม
และซิลิคอน ซึ่งถ้าหลอมเหลวผสมกับวัสดุประเภทสารหนู พลวง หรือฟอสฟอรัส และได้สารกึ่ง
ตัวนำ�ชนิด “พี” (P-Type) ซึ่งนำ�มาเรียงกัน 3 ตัวตามลำ�ดับที่เหมาะสม จะได้ชิ้นส่วนที่เรียกว่า
“ทรานซิสเตอร์”
ในปัจจุบัน วิวัฒนาการทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ได้เจริญมาก จะสามารถย่อส่วน
ทรานซิสเตอร์แต่ละตัวให้เล็กกว่าหัวเข็มหมุด แล้วประกอบต่อเป็นวงจรสำ�เร็จเรียกว่า วงจรอินติ
เกรดเซอร์กิต (Intergrater Circuit) หรือ IC การประกอบเป็น IC เพื่อใช้งานต่าง ๆ ที่เห็นโดย
ทั่วไป คือ ใช้งานคำ�นวณวงจรนาฬิกา เป็นต้น

รูปที่ 9.11 ภาพลักษณะการแปลงถ่านในมอร์เตอร์สตาร์ต

art 9.indd 176 16/2/2558 14:13:27


หน่วยที่ 9 วัสดุงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 177

5. หลอดไฟฟ้า
หลอดไฟฟ้ า เป็ น อุ ป กรณ์ ที่ ใ ห้ แ สงสว่ า ง เป็ น อุ ป กรณ์ ไ ฟฟ้ า ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพต่ำ �
เนื่องจากใช้พลังงานจ่ายเข้าหลอดไฟเพียง 25% อีก 75% สูญเสียไปในรูปของความร้อน ปัจจุบัน
นี้การเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานแสงโดยตรงยังไม่สามารถทำ�ได้ จึงต้องใช้พลังงานทาง
อ้อม เช่น การใช้พลังงานไฟฟ้าเข้าไปในขดลวดความต้านทาน ทำ�ให้เกิดความร้อนและให้แสง
สว่างออกมา ทำ�ให้เกิดความร้อนและแสงสว่าง เช่น หลอดเผาไส้ (Incandescent Lamp) หลอด
ฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent Lamp)
หลอดเผาไส้ (Incandescent Lamp) เป็นที่นิยมใช้กันมาก ราคาถูก ใช้หลักการ
ทำ�งาน คือเมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไส้หลอดที่มีความต้านทานสูงซึ่งทำ�จากลวดทังสเตน ทำ�ให้
ไส้หลอดร้อนมากขึ้นจนกระทั่งเปล่งแสงออกมา แต่เนื่องจากไส้หลอดอยู่ภายในสุญญากาศหรือ
หลอดบรรจุก๊าซเฉื่อย จึงทำ�ให้ไส้หลอดไม่หลอมละลาย ดังแสดงในรูป 9.12

ผิวหลอด
ก๊าซ หลอดไฟทั่วไป
ไส้หลอด
ฐานไส้หลอด

ฐานรองที่เป็นฉนวน

หลอดไฟสะท้อนแสง

ฐานหลอด
หลอดยาว

แหล่งจ่ายแรงต้นไฟฟ้า ขั้วหลอดแบบเขี้ยว

รูปที่ 9.12 แสดงลักษณะของหลอดเผาไหม้ชนิดขั้วแบบเกลียว และหลอดใช้งานทั่วไป


หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent Lamp) เป็นหลอดเรืองแสงชนิดหนึ่ง
ประกอบด้วยหลอดแก้วรูปร่างกลมยาว บริเวณท้ายจะมีขาหลอดด้านละ 2 ขา ซึ่งต่ออยู่กับ
อิเล็กโทรดที่ทำ�ด้วยเส้นทังสเตนขนาดเล็ก หัวท้ายของหลอดนี้ไม่มีวัสดุใดต่อถึงกันเลย ภายใน
บรรจุด้วยไอปรอทและก๊าซอาร์กอน หรือการผสมระหว่างก๊าซอาร์กอนกับก๊าซนีออน บริเวณ
ด้านในของหลอดจะเคลือบด้วยสารฟอสเฟอร์ (Phosphor) ทำ�หน้าที่เปลี่ยนแสงอัลตราไวโอเลต
(Ultarviolet) ทีเ่ กิดขึน้ ภายในหลอด (มองไม่เห็น) ให้แสงทีส่ ามารถมองเห็นได้ หลอดฟลูออเรสเซนต์
นี้ให้แสงนวลตา มีความสว่างมากกว่าชนิดเผาไส้ 3-4 เท่า มีลักษณะยาว วงกลมและตัวยู ดังแสดง
ในรูปที่ 9.13

art 9.indd 177 16/2/2558 14:13:27


178

โครงสร้างของหลอด
ปรอท 1. หลอดแก้ว
หลอดแก้ว ก๊าซเฉื่อย
2. ฟอสเฟอร์
3. ขั้วหลอด
ขั้วหลอด
ฐาน
4. ฐาน
เคลือบฟอสเฟอร์ หลอดฟลูออเรสเซนต์ 5. ปรอท
ชนิดกลม
6. ก๊าซเฉื่อย

รูปที่ 9.13 โครงสร้างของหลอดฟลูออเรสเซนต์

อิเล็กตรอน

เคลือบฟอสเฟอร์ ไอปรอท

รูปที่ 9.14 การเปล่งแสงของหลอดฟลูออเรสเซนต์


สตาร์ตเตอร์ (Starter) จะทำ�หน้าที่สร้างแรงดันสูงเพื่อให้หลอดเริ่มทำ�งาน และเป็น
ตัวควบคุมกระแสให้ไหลผ่านคงที่ การสร้างแรงดันสูงจะเกิดขึ้นในช่วงโลหะของสตาร์ตเตอร์สัมผัส
กันก่อนที่จะแยกออกจากกัน ทำ�ให้บัลลาสต์เกิดการเหนี่ยวนำ�ตัวเอง เกิดแรงดันไฟฟ้าสูง ทำ�ให้ไอ
ปรอทแตกตัว ความต้านทานลดลง ทำ�ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านหลอดได้ อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่
ภายในหลอดและชนไอปรอททำ�ให้ไอปรอทแตกตัวเป็นรังสีเหนือสีม่วงหรือรังสีอัลตราไวโอเลต
รังสีอัลตราไวโอเลตเมื่อไปกระทบฟอสเฟอร์ เกิดแสงที่ตาสามารถมองเห็นได้
ขดลวด

ขั้วต่อสาย

แกนเหล็ก

รูปที่ 9.15 รูปแสดงโครงสร้างของบัลลาสต์

ฉนวนไฟฟ้า
ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้า (Insulators) ฉนวนไฟฟ้าคือ วัสดุที่ไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้า
ไหลผ่าน หรือไหลผ่านได้ยาก ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความต้านทานมาก

art 9.indd 178 16/2/2558 14:13:28


หน่วยที่ 9 วัสดุงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 179

ฉนวนที่เป็นของแข็ง
1. พลาสติกอ่อน เช่น โพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) ใช้หุ้มสายไฟ
2. พลาสติกแข็ง จำ�พวกเทอร์โมเซตติง ให้หุ้มตลับฟิวส์, เปลือกนอกของปลั๊ก,
สวิตช์, เปลือกแบตเตอรี่รถยนต์
3. เซรามิก ใช้ทำ�ถ้วยเดินสายไฟ หุ้มแกนกลางหัวเทียนแท่นสวิตช์ไฟฟ้ากำ�ลัง
ตลับฟิวส์หลอด ฯลฯ
4. ยาง ใช้หุ้มสายเคเบิลหม้อแบตเตอรี่ขนาดกลางและขนาดใหญ่
5. ไมกา เป็นเกล็ดหินใส ทำ�เป็นแผ่นบาง ใช้ในเตาหุงต้มไฟฟ้า เตารีดไฟฟ้า ฯลฯ
6. แล็กเกอร์ ใช้อาบลวดไฟฟ้า ส่วนใหญ่เห็นได้จากมอเตอร์ไฟฟ้า
ฉนวนที่เป็นของเหลว ได้แก่ น้ำ�มันพาราฟิน ที่ใช้ในหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดใหญ่
นอกจากนี้ทำ�หน้าที่เป็นฉนวนแล้วยังระบายความร้อนด้วย
ฉนวนที่เป็นก๊าซ อากาศแห้งและก๊าซไนโตรเจนเป็นฉนวนในสายไฟฟ้าแรงสูง และ
สายอากาศ สถานีส่งวิทยุการใช้ก๊าซไนโตรเจนอัดเข้าไปเพื่อเป็นฉนวนไฟฟ้า ในเครื่องเอกซเรย์ใน
ก๊าซฟรีออน (Freon) อัดเข้าไปเพื่อทำ�หน้าที่เป็นฉนวนไฟฟ้า

ตารางตัวอย่างฉนวนและการเลือกใช้งาน
ประเภทของฉนวน ตัวอย่างฉนวน ที่ใช้งาน
ฉนวนยาง -  ยางเทียม -  สายโทรศัพท์
-  ยางธรรมชาาติ -  สายแบตเตอรี่ขนาดกลางและใหญ่
ฉนวนอินทรีย์ -  ฝ้ายหรือไหม -  หุ้ ม ภายนอกสายอุ ป กรณ์ ใ ห้ ค วามร้ อ น เช่ น
สายเตารีด เตารีดไฟฟ้า เป็นต้น
ฉนวนสังเคราะห์ -  พีวีซี -  หุ้มสายไฟฟ้าที่ใช้ในอาคารบ้านเรือน
ฉนวนสังเคราะห์ -  พลาสติก -  เปลือกสวิตช์ และปลั๊ก
(เบเกอร์ไลต์) -  เปลือกนอกแบตเตอรี่ขนาดเล็ก
ฉนวนสังเคราะห์ -  แล็กเกอร์, วานิช -  เคลือบลวดทองแดงสำ�หรับพันมอเตอร์
(หุ้มโดยการเคลือบ) หรือหม้อแปลง
ฉนวนอินทรีย์ -  เซรามิก -  ลูกถ้วยตามเสาไฟ
-  หุ้มแกนหัวเทียน
-  ฐานคัตเอาต์ ฐานปลั๊กฟิวส์
ฉนวนสังเคราะห์ -  แอสเบสตอส -  ฉนวนในเตารีดหุ้มสายภายนอกอุปกรณ์
-  ไมกา ความร้อน

art 9.indd 179 16/2/2558 14:13:28


180

ฉนวนความร้อน ต้องมีคณ ุ สมบัตติ า้ นทานความร้อนได้ดี มีจดุ หลอมเหลวสูง ได้แก่


1. แก้วใช้ทำ�หลอดไฟฟ้า
2. ดินขาวเผา ใช้ทำ�ลูกถ้วยไฟฟ้า เตาไฟฟ้า
3. พลาสติก (จำ�พวกเทอโมเซตติง ด้ามจับของอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น หัวแรงไฟฟ้า,
หูกระทะ, หม้อข้าว, หัวจับลวดเชื่อม ฯลฯ)
4. เซรามิก ทนความร้อนได้สูง ทำ�ถ้วยจาน เตาต่าง ๆ ตลอดจนเตาไฟฟ้า ฯลฯ
วัสดุต้านทานไฟฟ้า
วัสดุต้านทานไฟฟ้า (Resistance) วัสดุต้านไฟฟ้า หมายถึง โลหะต้านทานต่อ
การไหลของกระแสไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าได้ไหลผ่านก็จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นที่วัสดุต้านทาน ได้แก่
คอนสแตน(Constantan) โดยเป็นโลหะผสมระหว่างนิกเกิลกับทองแดง นำ�มาใช้ขดลวดในเตารีด
ไฟฟ้าได้ ฝังขดลวดต้านทานไว้ในวัสดุทนไฟ ได้แก่ ไมกา เซรามิก

8125 7250 5120

7135 6110

รูปที่ 9.16 แสดงลักษณะวัสดุต้านทานที่นำ�มาใช้งานไฟฟ้า

วัสดุกึ่งตัวนำ�
วัสดุกง่ึ ตัวนำ� (Semi Conductor) เป็นวัสดุทม่ี คี วามสำ�คัญในการผลิตทรานซิสเตอร์
และวงจรอินติเกรด ซึ่งเป็นชิ้นส่วนสำ�คัญของอุปกรณ์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย
วั ส ดุ ที่ นำ � มาใช้ ใ นการผลิ ต เป็ น วั ส ดุ กึ่ ง ตั ว นำ � ได้ แ ก่ เยอร์ ม าเนี ย มและซิ ลิ ค อน
ถ้าหลอมเหลวเยอร์มาเนียมและซิลิคอนแล้วนำ�ไปผสมกับสารหนู พลวง ฟอสฟอรัส จะได้วัสดุ
กึ่งตัวนำ�ชนิดเอ็น (N) แต่ถ้าผสมกับสารประเภทโบรอิน อะลูมิเนียม แกลเลียม จะได้วัสดุกึ่งสาร
ตัวนำ�พี (P) ถ้านำ�วัสดุกึ่งตัวนำ�ชนิดเอ็นและชนิดพีมาต่อเรียงกัน 3 ตัวตามลำ�ดับที่เหมาะสม จะ
ได้ชิ้นส่วนอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีชื่อเรียกว่า “ไอซี” (IC) ซึ่งประกอบด้วยทรานซิสเตอร์นับ
หมื่นนับพันตัว ซึ่งชิ้นส่วนสำ�คัญที่ใช้กับอุปกรณ์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น เครื่องรับวิทยุ
โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์และเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์

art 9.indd 180 16/2/2558 14:13:28


หน่วยที่ 9 วัสดุงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 181

ประเทศไทยสามารถผลิตวงจรไอซีส่งออกขายต่างประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท
โดยมีบริษัทที่ทำ�การผลิตภายในประเทศหลายบริษัท
คุณภาพของไอซีที่ผลิตได้ในประเทศนั้นนับว่ามีคุณภาพได้มาตรฐานโลกเช่นเดียว
กับนานาประเทศที่เจริญแล้ว

วัสดุแม่เหล็ก
วัสดุแม่เหล็ก (Magnetic) แม่เหล็ก หมายถึงเหล็กที่อำ�นาจสามารถดูดโลหะที่เป็น
เหล็กได้ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
 แม่เหล็กชั่วคราว (Non-permanent Magnetic) แม่เหล็กชั่วคราวทำ�มาจาก
เหล็กอ่อน หรือเหล็กคาร์บอนต่ำ� โดยการนำ�ลวดทองแดงมาพันรอบชิ้นเหล็กแล้วปล่อยกระแส
ไฟฟ้าเข้าไปในขดลวดทอง นำ�ไปใช้ทำ�แท่นแม่เหล็กจับชิ้นงานบนเครื่องเจียระไน กระดิ่งไฟฟ้า
 แม่เหล็กถาวร (Permanent Magnectic) วัสดุท่ใี ช้ทำ�แม่เหล็กชนิดนี้ ได้แก่
โลหะอัลนิโค (Alnico) ซึง่ ได้มาจากโลหะผสมระหว่างโครเมียม นิกเกิล โคบอลต์ และแบเรียมเฟอร์ไรต์
นำ�มาขึ้นรูปโดยกรรมวิธีซินเตอร์ จะได้ออกมาเป็นแม่เหล็กถาวร คงสภาพความเป็นแม่เหล็กสูง
นั่นเอง นำ�มาใช้งาน เช่น แม่เหล็กลำ�โพง ไดนาโมรถจักรยานยนต์และแม็กนีโต ฯลฯ

รูปที่ 9.17 การนำ�แม่เหล็กถาวรมาใช้สร้างลำ�โพง

art 9.indd 181 16/2/2558 14:13:28


182

คำ�ศัพท์ท้ายหน่วยที่ 9
คำ�ศัพท์ ความหมาย
เป็นค่าที่แสดงให้ทราบว่า มีเกลือแร่ละลายอยู่มากน้อยเพียงใด น้ำ�ที่มีการ
นำ�ไฟฟ้าสูง แสดงว่ามีสารประกอบละลายอยู่มาก จึงเป็นสื่อตัวนำ�ไฟฟ้า
Electrical Conductor
ได้ดี  ส่วนน้ำ�ที่มีเกลือแร่ละลายอยู่น้อย จะมีการนำ�ไฟฟ้าต่ำ� เช่น น้ำ�บริสุทธิ์
น้ำ�กลั่น น้ำ�ฝน ฯลฯ
เป็นพอลิเมอร์ที่สำ�คัญที่สุดในกลุ่มไวนิลด้วยกัน มักเรียกกันทั่วไปว่า พีวีซี
เนื้อพีวีซีมักมีลักษณะขุ่นทึบ แต่ก็สามารถผลิตออกมาให้มีสีสันได้ทุกสีเป็น
Polyvinylchloride ฉนวนไฟฟ้าอย่างดี ตัวมันเองเป็นสารที่ทำ�ให้ไฟดับจึงไม่ติดไฟ มีลักษณะ
ทั้งที่เป็นของแข็งคงรูปและอ่อนนุ่มเหนียว เรซิ่นมีทั้งที่เป็นเม็ดแข็งหรือ
อ่อนนุ่มและเป็นผง จึงสามารถนำ�ไปใช้งานได้อย่างกว้างขวาง
ตัวนำ�ส่วนมากทำ�จากทองแดง หุ้มตัวนำ�ด้วยชีลด์ก่อนแล้วจึงหุ้มฉนวนด้วย
Cross linked Polyethylene XLPE และหุ้ ม ด้ วยชี ล ด์ อี ก ครั้ ง และพั น ทั บ ด้ วยเทปทองแดง และหุ้ ม
: XLPE เปลือกนอกด้วย PVC หรือ PE อีกครั้ง จัดเป็นสายที่มีฉนวนแข็งแรง
ทนต่อความชื้น สามารถใช้ฝังดินได้
เป็นสวิตช์ที่พบเห็นทั่วไป และเป็นพื้นฐานของสวิตช์ต่าง ๆ คือจะมีสถานะ
One-Way Switches
การทำ�งานเพียง 2 สถานะ คือเปิดกับปิดเท่านั้น
เป็ น ไฟฟ้ า ลั ด วงจร การที่ ไ ฟฟ้ า ไหลผ่ า นจากสายไฟฟ้ า เส้ น หนึ่ ง ไปยั ง
อีกเส้นหนึ่ง โดยไม่ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดใด ๆ สาเหตุส่วนใหญ่
Short Circuit Current
เกิ ด จากฉนวนของสายไฟฟ้ า ชำ � รุ ด และมาสั ม ผั ส กั น จึ ง มี ค วามร้ อ นสู ง
มีประกายไฟ ทำ�ให้เกิดเพลิงไหม้ได้ถ้าบริเวณนั้นมีวัสดุไวไฟ
ในระบบไฟฟ้า จะเพิม่ ขึน้ ตามปริมาณขนาดก �ำ ลังผลิตไฟฟ้า สำ�หรับการ ขยาย
Short Circuit Current ระบบส่งและจำ�หน่ายไฟฟ้าจะส่งผลให้วงจรไฟฟ้า มีการเชื่อมต่อโครงข่าย
แบบขนาน
มีอยู่ 2 ชนิด คือ แบบกระบอกหรือแบบเฟอร์รูล และแบบใบมีด เป็น
ฟิวส์ที่มักใช้ร่วมกับเซฟตีสวิตช์ ฟิวส์จะมีลักษณะเป็นกระบอกไฟเบอร์ที่มี
Cartridge Fuse หัวและท้ายเป็นโลหะตัวนำ�รูปทรง กระบอกหรือคล้ายใบมีด ภายในบรรจุ
ฟิวส์เส้นกับสิ่งที่ทำ�หน้าที่ระบายความร้อน และทำ�หน้าที่ดับประกายไฟเมื่อ
ฟิวส์ขาด
แถบโลหะที่เป็นวงแหวนหรือลักษณะที่เป็นฝาครอบเพื่อที่จะเพิ่มความ
Ferrule
แข็งแรงให้กับสิ่งที่มีลักษณะเป็นแท่งหรือหลอดที่หุ้ม
หลอดไฟฟ้าที่ไส้หลอดทำ�ด้วยโลหะทังสเตนภายในเป็นสุญญากาศ การใช้
Incandescent Lamp
จะต้องเสียบลงในขั้วหลอด ซึ่งมีทั้งแบบเกลียวและแบบเขี้ยวหลอดไฟฟ้า
คือ ความต้านทาน เป็นการต่อต้านที่สสารมีให้กับการไหลของกระแสไฟฟ้า
Resistance นี่เป็นการนำ�เสนอโดย R อักษรตัวใหญ่ หน่วยมาตรของความต้านทานคือ
โอห์ม

art 9.indd 182 16/2/2558 14:13:28


หน่วยที่ 9 วัสดุงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 183

สรุปสาระการเรียนรู้หน่วยที่ 9

ปัจจุบันงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้เข้ามามีบทบาทสำ�คัญต่อวิถีการดำ�เนินชีวิตของ
มนุษย์ เช่น ใช้ประโยชน์ในงานอุตสาหกรรม การคมนาคมและการติดต่อสื่อสาร ฯลฯ การเลือก
ใช้วัสดุให้เหมาะสมและถูกต้องกับลักษณะงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยคำ�นึงถึงคุณสมบัติและ
ประโยชน์ในการใช้งานของวัสดุให้ตรงกับจุดมุ่งหมาย เหมาะสม และปลอดภัย จึงจะทำ�ให้การ
ใช้งานวัสดุนั้น ๆ มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

art 9.indd 183 16/2/2558 14:13:29


184
แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 9

ตอนที่ 1 ให้เลือกคำ�ตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดคือตัวนำ�ไฟฟ้า
ก. สายไฟฟ้า ข. สวิตช์ไฟฟ้า
ค. ฟิวส์ ง. ถูกทุกข้อ
2. สายไฟฟ้านิยมผลิตมาจากวัสดุใด
ก. เหล็ก ข. ทองแดง
ค. ตะกั่ว ง. พลาสติก
3. ความทนทานของกระแสไฟฟ้ามีหน่วยตามข้อใด
ก. แอมแปร์ ข. โวลต์
ค. โอห์ม ง. กิโลกรัม
4. ข้อใดคือฉนวนไฟฟ้าที่เป็นของแข็ง
ก. เหล็ก ข. สังกะสี
ค. สเตนเลส ง. ยาง
5. โลหะที่นำ�ไฟฟ้าได้ดีที่สุดคือข้อใด
ก. ทองแดง ข. อะลูมิเนียม
ค. เงิน ง. ทังสเตน
6. สายไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศไทยต้องได้มาตรฐานอะไร
ก. TIS ข. TOI
ค. TSI ง. TOP
7. ทรานซิสเตอร์มีคุณสมบัติตามข้อใด
ก. ฉนวนไฟฟ้า ข. วัสดุกึ่งตัวนำ�ไฟฟ้า
ค. ตัวนำ�ไฟฟ้า ง. ตัวต้านทานไฟฟ้า
8. โลหะชนิดใดยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ง่าย
ก. ตะกั่ว ข. เงิน
ค. ไทเทเนียม ง. แมกนีเซียม
9. วัสดุแม่เหล็กแบ่งออกเป็นกี่ชนิด
ก. 1 ชนิด ข. 2 ชนิด
ค. 3 ชนิด ง. 4 ชนิด
10. กระดิ่งไฟฟ้าคือวัสดุชนิดใด
ก. แม่เหล็กชั่วคราว ข. แม่เหล็กถาวร
ค. สารกึ่งตัวนำ� ง. ฉนวนไฟฟ้า

art 9.indd 184 16/2/2558 14:13:29


หน่วยที่ 9 วัสดุงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 185

ตอนที่ 2 ตอบคำ�ถามต่อไปนี้
1. วัสดุไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
2. วัสดุตัวนำ�ไฟฟ้า หมายถึง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
3. การเลือกใช้สายไฟฟ้าภายในบ้านต้องคำ�นึงถึงอะไรบ้าง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
4. พลาสติกประเภทใดที่ไม่สามารถนำ�มาหลอมละลายใหม่ได้
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
5. หน้าที่ของสวิตช์มีอะไรบ้าง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
6. ฟิวส์เป็นวัสดุไฟฟ้าที่ทำ�หน้าที่อะไร
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
7. อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ออกแบบให้สามารถตัดวงจรโดยอัตโนมัติเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านมากกว่า
ปกติ ได้แก่
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................

art 9.indd 185 16/2/2558 14:13:29


186

8. สายไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้านนิยมใช้โลหะใด เพราะเหตุใด
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
9. วัสดุฉนวนไฟฟ้า หมายถึง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
10. ฉนวนไฟฟ้าที่ต้านทานความร้อนได้ดี ได้แก่
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................

กิจกรรมการเรียนรู้หน่วยที่ 9

1 ผู้สอนกล่าวทักทายผู้เรียน พร้อมเช็กชื่อผู้เรียน
2. ผู้สอนแจกหนังสือเรียนและบทเรียนโมดูล ให้ผู้เรียนจัดกลุ่ม 3 คน ศึกษาร่วมกัน
พร้อมกับทำ�แบบทดสอบ
3. ผูส้ อนอธิบายความหมายและชนิดของวัสดุไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
4. ผู้สอนอธิบายตัวนำ�ไฟฟ้า ฉนวนไฟฟ้า วัสดุต้านทานไฟฟ้า วัสดุกึ่งตัวนำ�และวัสดุ
แม่เหล็ก
5. ผู้สอนมอบหมายงานให้ผู้เรียนปฏิบัติงาน ตามหลักการ วิธีการ และกิจนิสัยที่ดี
ในการปฏิบัติงานโดยให้ผู้เรียนทำ�แบบฝึกหัดทบทวนหรือใบงานภายในห้องเรียน
สามารถเปิดหนังสือควบคู่ในการตอบคำ�ถามได้
6. ผู้เรียนปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายโดยใช้ใบความรู้หรือเอกสารประกอบการเรียน
อย่างคุ้มค่า เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน และปฏิบัติงานด้วยความ
ซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมั่น ใช้เหตุผล และสติปัญญา

art 9.indd 186 16/2/2558 14:13:29


หน่วยที่ 10 การกัดกร่อนและการป้องกัน 187

หน่วยที่

10 การกัดกร่อนและการป้องกัน
สาระการเรียนรู้
1. ความหมายและชนิดของการกัดกร่อน
2. การกัดกร่อนที่เกิดจากปฏิกิริยาไฟฟ้า-เคมี
3. การกัดกร่อนที่เกิดจากการเสียดสีของผิว
4. การกัดกร่อนที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีโดยตรง
5. ลักษณะการผุกร่อนของโลหะ
6. กระบวนการเคลือบสำ�หรับป้องกันการกัดกร่อน
7. การป้องกันการกัดกร่อน

สมรรถนะการเรียนรู้
1. อธิบายความหมายและชนิดของการกัดกร่อนได้
2. อธิบายการกัดกร่อนที่เกิดจากปฏิกิริยาไฟฟ้า-เคมีได้
3. อธิบายการกัดกร่อนที่เกิดจากการเสียดสีของผิวได้
4. อธิบายการกัดกร่อนที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีโดยตรงได้
5. อธิบายลักษณะการผุกร่อนของโลหะได้
6. อธิบายกระบวนการเคลือบสำ�หรับป้องกันการกัดกร่อนได้
7. บอกถึงวิธีการป้องกันการกัดกร่อนได้

art 10.indd 187 16/2/2558 14:14:04


188

หน่วยที่ 10 การกัดกร่อนและการป้องกัน
ความหมายและชนิดของการกัดกร่อน
ความหมายของการกัดกร่อน
การกัดกร่อน หมายถึง ภาวะซึ่งวัตถุหรือสิ่งประดิษฐ์ทางด้านวิศวกรรมทำ�ปฏิกิริยากับ
สภาพแวดล้อม อันเนื่องมาจากปฏิกิริยาทางเคมี ซึ่งทำ�ให้คุณสมบัติของโลหะเปลี่ยนแปลงไป เช่น
ความแข็งลดลง การเกิดสนิมของเนื้อเหล็ก ที่ทำ�ให้ให้เกิดการเสื่อมสภาพของวัตถุนั้น ส่งผลให้
ประสิทธิภาพการทำ�งานหรือวัตถุประสงค์การใช้งานลดลง

รูปที่ 10.1 การกัดกร่อน


ชนิดของการกัดกร่อน
ในสภาพแวดล้ อ มโดยทั่ ว ไปสาเหตุ ก ารกั ด กร่ อ นเกิ ด ได้ ห ลายอย่ า ง เช่ น ปฏิ กิ ริ ย าเคมี
ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี หรืออาจเกิดจากปฏิกิริยาทางกายภาพของวัตถุนั้นเอง ลักษณะการกัดกร่อน
ที่พบมีหลายแบบ เช่น แบ่งตามกลไกของการกัดกร่อน แบ่งตามลักษณะทางกายภาพหรือตัวแปร
ที่ส่งผลต่อการกัดกร่อน
1. การกัดกร่อนแบบสม่ำ�เสมอ (Uniform Corrosion) เกิดขึ้นเนื่องจากวัตถุ
สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม โดยอัตราความสูญเสียพื้นผิวของวัตถุบริเวณที่สัมผัส ปัจจัยที่ทำ�ให้เกิดการ
กัดกร่อนต่าง ๆ โดยเฉลี่ยจะใกล้เคียงกัน
2. การกัดกร่อนเนื่องจากความต่างศักย์ (Galvanic Corrosion) เกิดจากวัตถุโลหะ
ที่เป็นตัวนำ�ไฟฟ้าได้ 2 ชนิดที่ต่างกันหรือวัตถุชนิดเดียวกันแต่ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าต่างกัน มา
เชื่อมต่อกันจะเกิดความต่างศักย์ไฟฟ้าขึ้น ทำ�ให้เกิดการไหลของอิเล็กตรอนระหว่างวัตถุทั้งสอง
หากทำ�ให้การสูญเสียอิเล็กตรอนของวัตถุที่มีค่าความต่างศักย์ต่ำ�กว่าและจะถูกกัดกร่อนในที่สุด
3. การกัดกร่อนแบบช่องแคบ (Crevice Corrosion) เกิดจากวัตถุสัมผัสสารละลาย
บางชนิดที่สามารถแตกตัวเป็นประจุไฟฟ้า หรือเกิดจากบริเวณพื้นผิวที่การถ่ายเทของเหลวไม่ดี
ส่งผลต่อการทำ�ปฏิกิริยาออกซิเดชันแตกต่างกัน มักเกิดตามรอยแยกหรือตามซอกต่าง ๆ ของ
วัตถุ

art 10.indd 188 16/2/2558 14:14:04


หน่วยที่ 10 การกัดกร่อนและการป้องกัน 189

4. การกัดกร่อนแบบเป็นหลุม (Pitting) ส่วนมากเกิดจากวัตถุอยู่สัมผัสสารละลาย


พวกคลอไรด์ เช่น น้ำ�ทะเล เมื่อวัตถุถูกกัดกร่อน บริเวณที่ถูกกัดกร่อนจะเป็นรูหรือหลุม อาจถูก
บดบังด้วยตัวกัดกร่อนเอง มักเกิดแบบเฉียบพลันและตรวจพบได้ยาก มีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่
พบในวัตถุโลหะที่สามารถสร้างชั้นป้องกันได้
5. การกัดกร่อนตามขอบเกรน (Intergranular Corrosion) มักเกิดกับเหล็กกล้า
ไร้สนิม ในบริเวณที่มีการเชื่อมต่อ โดยเหล็กจะสูญเสียโครเมียมในรูปคาร์ไบด์ เมื่อเกิดการสูญเสีย
จะขาดโครเมียมในการสร้างการป้องกันเนื้อเหล็ก
6. การผุกร่อนแบบเลือก (Selective Leaching or Dealloying) เกิดวัตถุที่เป็น
โลหะผสมที่ธาตุโลหะหนึ่งเสถียรกว่าธาตุหนึ่ง เมื่อสัมผัสสภาพแวดล้อม เช่น การกัดกร่อนของ
ทองเหลือง โดยทองเหลืองจะสูญเสียสังกะสี เหลือแต่ทองแดงทำ�ให้เป็นรูพรุน รูปทรงของวัตถุ
จะไม่เปลี่ยนแปลง แต่ความแข็งแรงจะลดลง สามารถลดการกัดกร่อนได้โดยเติมดีบุกลงไปใน
ทองเหลืองประมาณ 1%
7. การกัดกร่อนแบบกัดเซาะ (Erosion Corrosion) เกิดจากปฏิกิริยาเคมีและการ
เคลื่อนที่ เช่น การไหลหรือการเคลื่อนที่ของสารละลายหรือของเหลวที่มีผลต่อการกัดกร่อน
8. การกัดกร่อนโดยความเค้น (Stress Corrosion) เกิดจากความเค้นหรือแรงเค้น
ของสภาพแวดล้อม เช่น การตัด การดัด ความร้อนภายนอก การสั่นสะเทือน หรือความเค้นจาก
ภายในของวัตถุที่อาจหลงเหลือจากการขึ้นรูป การเย็นตัวที่ไม่สม่ำ�เสมอ
สาเหตุของการกัดกร่อน
ลักษณะการกัดกร่อนของวัสดุ แบ่งแยกออกได้ 3 สาเหตุ คือ
1. การกัดกร่อนที่เกิดจากปฏิกิริยาไฟฟ้า-เคมี (Electro-chemical Corrosion)
2. การกัดกร่อนที่เกิดจากการเสียดสีของผิว (Abrasive Corrosion)
3. การกัดกร่อนที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีโดยตรง (Direct Chemical Corrosion)

การกัดกร่อนที่เกิดจากปฏิกิริยาไฟฟ้า–เคมี
(Electro-chemical Corrosion)
เกิดจากกำ�เนิดกระแสไฟฟ้าไม่เท่ากัน จะทำ�ให้เกิดการกัดกร่อน กระแสไฟฟ้าจะไหลจาก
ขั้วบวก (+) ไปยังขั้วลบ (-) ดังนั้น จะเกิดอิเล็กตรอนวิ่งสวนทางขั้วลบ (-) ไปยังขั้วบวก (+) ทำ�ให้
ขั้วบวก (+) จะไม่เกิดการกัดกร่อน แต่ขั้วลบ (-) จะถูกกัดกร่อนขึ้นเอง หรือมีศักย์ไฟฟ้าต่ำ�กว่า
ก็จะสึกกร่อนได้เร็ว

art 10.indd 189 16/2/2558 14:14:05


190


รูปที่ 10.2 ปฏิกิริยาไฟฟ้า–เคมีระหว่างทองแดงและสังกะสี

การกัดกร่อนที่เกิดจากการเสียดสีของผิว
(Abrasive Corrosion)
เกิดจากการเสียดสีของผิวงานในขณะที่มีการใช้งาน เพราะในเนื้อโลหะจะมีเม็ดเกรน เช่น
แบริงกับเพลาหมุนเสียดสีกันไป แบริงจะถูกกัดให้สึกกร่อน เพราะว่าโลหะทำ�แบริงจะอ่อนกว่า
เพลา

รูปที่ 10.3 การเสียดสีของผิวโลหะระหว่างเพลากับแบริ่ง

art 10.indd 190 16/2/2558 14:14:05


หน่วยที่ 10 การกัดกร่อนและการป้องกัน 191

การกัดกร่อนที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีโดยตรง
(Direct Chemical Corrosion)
1. เกิดจากก๊าซเป็นสื่อไปทำ�ปฏิกิริยากับผิวโลหะ
2. เกิดจากปฏิกิริยาของสารละลายที่มีฤทธิ์เป็นกรดไปทำ�ปฏิกิริยากับผิวโลหะ
1) นำ�แผ่นเหล็กไปทิ้งไว้ในอากาศ นานวันเข้าแผ่นเหล็กนั้นก็จะเป็นสนิม
ปฏิกิริยาเคมี คือ 2Fe + O22Fe
2) นำ�แผ่นเหล็กไปจุ่มในกรดกำ�มะถัน แผ่นเหล็กโลหะจะโดนกัดกร่อนอย่างรวดเร็ว
ปฏิกิริยาเคมี คือ 2Fe + H2SO4FeSO4+ H2
3. ออกซิเจนเป็นตัวการสำ�คัญที่ทำ�ให้เกิดการผุกร่อนของโลหะเป็นตัวทำ�ปฏิกิริยาทาง
เคมีโดยตรง
4. เมื่อทิ้งไว้ในอากาศก็จะถูกออกซิเจนเข้าไปทำ�ปฏิกิริยาเกิดเป็นออกไซด์ปกคลุมผิว
เอาไว้ แต่ออกไซด์ที่ปกคลุมผิวทองแดงหรืออะลูมิเนียมนั้นมีความแข็งแรงมาก ดังนั้น ออกซิเจน
ในระยะหลัง ๆ ไม่สามารถเข้าทำ�ปฏิกิริยากับผิวได้อีก
5. การกัดกร่อนจะเกิดขึ้นในระยะแรก ๆ เท่านั้น และจะไม่เกิดขึ้นอีกในระยะหลัง ส่วน
เหล็กออกไซด์ไม่แข็งแรง ออกซิเจนเข้าไปทำ�ปฏิกิริยากับผิวเหล็กได้เรื่อยไปจนผุพังไปในที่สุด

ลักษณะการผุกร่อนของโลหะ
การผุกร่อนของโลหะ แบ่งออกเป็นลักษณะใหญ่ ๆ ได้ 2 ลักษณะ คือ

รูปที่ 10.4 ลักษณะการผุกร่อนของโลหะ


1. การกัดกร่อนทั่วไป (Uniform Corrosion) ลักษณะการผุกร่อนของโลหะจะกระจาย
เต็มพื้นที่ผิว เนื้อโลหะจะบางลงจนใช้งานไม่ได้ การผุกร่อนแบบนี้ไม่มีอันตรายร้ายแรงแต่ประการ
ใด เนื่องจากสังเกตเห็นได้ชัดเจนและอาจทำ�การตรวจสอบได้โดยง่าย การผุกร่อนแบบนี้อาจเกิด
ได้ในโลหะ 2 ชนิดที่นำ�มาสัมผัสกัน โดยโลหะที่เป็นแอโนดจะผุกร่อนไป อัตราการผุกร่อน

art 10.indd 191 16/2/2558 14:14:06


192

จะขึ้นอยู่กับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลและพื้นที่แอโนด ถ้าพื้นที่เล็กความหนาแน่นของกระแสไฟฟ้า
จะมาก การผุกร่อนก็เกิดได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้อาจเกิดได้ในโลหะที่มีสิ่งเจือปนต่าง ๆ อยู่มาก
โลหะจะไม่เป็นเนื้อเดียวกันตลอด ทำ�ให้เกิดเป็นเซลล์ไฟฟ้ามีขั้วแอโนดและแคโทดขึ้น โลหะผสม
ที่เนื้อโลหะแยกเป็น 2 เฟส ก็อาจเกิดเป็นเซลล์ไฟฟ้าได้เช่นกัน โลหะส่วนที่เป็นแอโนดจะผุกร่อน
ลงไปเหลือส่วนที่เป็นแคโทดอยู่
ความชื้นในบรรยากาศ

ไฟฟ้าไหล
ซีเมนไตต์ เฟอร์ไวรต์
(Comentite) (Ferrite)
(แอดโนด)
รูปที่ 10.5 การกัดกร่อนทางไฟฟ้าเคมีของ Pearlite
ดังนั้นโลหะผสมที่ต้องการให้มีความต้านทานการกัดกร่อนได้ดี จึงควรจะมีเนื้อเป็นอันหนึ่ง
อันเดียวกันตลอด คือมีเนื้อเป็นเฟสเดียวเท่านั้น
  2. การกัดกร่อนเป็นหลุม (Pitting Corrosions) ลักษณะการผุกร่อนจะเกิดเป็นรูลึก
เข้าไปในเนื้อโลหะ เมื่อมองด้วยตาเปล่าอาจสังเกตไม่พบว่าโลหะผุกร่อนไปมากแล้ว ทำ�ให้เกิด
อันตรายขึ้นได้บ่อย ๆ การเกิด Pitting อาจเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ กัน เช่น เกิดจากการกระจาย
ตัวของออกซิเจนไม่สม่ำ�เสมอ ซึ่งมักจะเกิดในบริเวณน้ำ�นิ่ง โลหะที่อยู่ในบริเวณที่มีออกซิเจน
ละลายอยู่น้อย จะเกิดเป็นแอโนดขึ้นในขณะที่โลหะที่อยู่ในบริเวณที่มีออกซิเจนละลายอยู่มาก
เป็นแคโทดโลหะที่เป็นแอโนดจะถูกกัดลึกเป็นรูลงไป การกัดกร่อนของโลหะดังกล่าวจะเกิดขึ้น
ถึงแม้ว่าโลหะนั้นจะเป็นโลหะบริสุทธิ์ก็ตาม การทดลองการเกิดเซลล์ไฟฟ้าขึ้นเนื่องจากมีความ
แตกต่างของออกซิเจนละลายอยู่ได้

art 10.indd 192 16/2/2558 14:14:06


หน่วยที่ 10 การกัดกร่อนและการป้องกัน 193
อากาศหรือออกซิเจน
ก๊อกสามทาง
ทิศทางการไหลของอิเล็กตรอน

มิลลิแอมมิเตอร์

สารละลายโพแทสเซียมคลอไรด์ แผ่นกั้นที่มีรูพรุน

โลหะ โลหะ

รูปที่ 10.6 การทดลองการเกิดเซลล์ไฟฟ้า เนื่องจากความแตกต่างของออกซิเจน

เมื่อเริ่มทดลองได้จุ่มโลหะ 2 แท่งซึ่งเป็นโลหะชนิดเดียวกันลงใน Electrolyte จะปรากฏว่า


ไม่มีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้น เมื่อเป่าออกซิเจนเข้าไปทางด้านหนึ่งสักครู่ จึงพบว่ามีกระแสไฟฟ้า
เกิ ด ขึ้ น และโลหะที่ อ ยู่ ท างด้ า นที่ ไ ม่ ไ ด้ เ ป่ า ออกซิ เจนเข้ า ไปจะผุ ก ร่ อ นลง เมื่ อ เปลี่ ย นมาเป่ า
ออกซิเจนลงทางด้านนี้บ้าง ก็พบว่ากระแสไหลกลับทิศทาง และโลหะอีกด้านหนึ่งผุกร่อนแทน
และการผุกร่อนจะเกิดเป็นรูลึกเข้าไป เมื่อเนื้อโลหะถูกกัดเป็นรูแล้ว การผุกร่อนต่อมาจะเกิด
อย่างรวดเร็วมาก เนื่องจากภายในรูเล็ก ๆ นั้น ออกซิเจนยิ่งละลายเข้ามาได้น้อยลง และพื้นที่
รูเล็ก ๆ ซึ่งขณะนี้ประพฤติตัวเป็นแอโนดนั้น มีขนาดเล็กกว่าพื้นที่บริเวณปากรูซึ่งเป็นแคโทด
มาก และสนิมที่เกิดยังมาปิดบริเวณปากรูทำ�ให้ออกซิเจนซึมเข้ามาได้ยากขึ้นอีก

สนิมที่เกิด

แคโทด แคโทด

แอโนด
(บริเวณนี้จะสูญเสียเนื้อโลหะ)

รูปที่ 10.7 การกัดกร่อนแบบเป็นรูลึก


นอกจากนี้ การที่อิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte) มีความเข้มข้นแตกต่างกันก็อาจทำ�ให้เกิด
การผุกร่อนของโลหะได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าโลหะนั้นจะมีเนื้อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก็ตาม โลหะ
บริเวณที่มีความเข้มข้นอิเล็กโทรไลต์ต่ำ�จะเป็นแอโนดผุกร่อนไป นอกจากนี้ยังเกิดจากสาเหตุ
อื่น ๆ ได้อีกมาก

art 10.indd 193 16/2/2558 14:14:06


194

กระบวนการเคลือบสำ�หรับป้องกันการกัดกร่อน
1. กระบวนการเคลือบสังกะสีสำ�หรับการป้องกันการกัดกร่อน
  การเคลือบสังกะสีหรือการเคลือบโลหะผสมสังกะสี หรือกระบวนการกัลวาไนซ์
(Zinc Coated, Galvanized) ลงบนผิวหน้าเหล็ก เป็นกระบวนการหนึ่งที่มีการใช้งานกัน
อย่างแพร่หลาย และนิยมใช้ในการป้องกันการกัดกร่อนให้กับโลหะที่นำ�มาเคลือบ โดยปัจจุบัน
กระบวนการเคลือบสังกะสีนำ�มาใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
อุตสาหกรรมก่อสร้าง หรืออุตสาหกรรมชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า 
การเคลือบสังกะสีบนผิวหน้าโลหะสามารถป้องกันการกัดกร่อนให้แก่ชิ้นส่วนโลหะ
ได้ เนื่องจากกระบวนการป้องกันการกัดกร่อนแบบแกลแวนิก (Galvanic Protection) โดย
ชั้นเคลือบสังกะสีจะทำ�หน้าที่เป็นแอโนด (Anode) และถูกกัดกร่อนแทนชั้นเหล็ก เนื่องจาก
ในบรรยากาศปกติทั่วไปสังกะสีมีความเสถียรต่ำ�และไวต่อการกัดกร่อนมากกว่าเหล็ก โดยอายุ
การใช้งานและคุณสมบัติความต้านทานการกัดกร่อนของชั้นเคลือบสังกะสีนั้นขึ้นอยู่กับหลาย
ปัจจัย ได้แก่
1) อิทธิพลความหนาของชั้นเคลือบสังกะสี ความหนาของชั้นเคลือบสังกะสี
มีความสัมพันธ์โดยตรงกับอายุการใช้งานของชิ้นงานที่ผ่านการเคลือบชั้นสังกะสี เนื่องจากชิ้นงาน
ที่ผ่านการเคลือบสังกะสีจะเกิดการกัดกร่อนแบบทั่วผิวหน้า (General Corrosion) ซึ่งเมื่อเกิด
การกัดกร่อนชนิดนี้ ความหนาของชั้นเคลือบจะลดลงแบบสม่ำ�เสมอ และสามารถทำ�นายอายุ
การใช้งานได้ค่อนข้างแม่นยำ� นอกจากนี้ความสม่ำ�เสมอและจุดบกพร่องบนชั้นเคลือบสังกะสี
ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำ�คัญ เนื่องจากบริเวณที่เกิดจุดบกพร่องหรือสารมลทินอื่น อาจทำ�ให้เกิด
การแตกของชั้นเคลือบสังกะสี ทำ�ให้บริเวณดังกล่าวไวต่อการกัดกร่อน 
2) อิทธิพลของส่วนผสมทางเคมีของชั้นเคลือบสังกะสี ปัจจุบัน ชั้นเคลือบสังกะสี
มี ก ารพั ฒ นาปรับปรุงส่วนผสมทางเคมีข องโลหะสี สัง กะสี ที่ ใช้ ใ นการเคลื อ บผิ ว โดยจากเดิ ม
ซึ่งมีการใช้สังกะสีบริสุทธิ์ในการเคลือบผิวหน้า ได้มีการเติมธาตุผสม (Alloying Element)
ต่าง ๆ ลงในสังกะสีที่ใช้ในการเคลือบผิวเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติ ต่าง ๆ เช่น คุณสมบัติความ
ต้านทานการกัดกร่อนหรือความสามารถในการเคลือบให้สูงขึ้น
อิทธิพลของส่วนผสมทางเคมีต่อคุณสมบัติชั้นเคลือบ
ธาตุผสม อิทธิพล
อะลูมิเนียม (Al) เพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน
แมกนีเซียม (Mg) เพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน
นิกเกิล (Ni) เพิ่มความสามารถในการเคลือบผิว (เพิ่มความหนาชั้นเคลือบ)

art 10.indd 194 16/2/2558 14:14:06


หน่วยที่ 10 การกัดกร่อนและการป้องกัน 195
อิทธิพลของส่วนผสมทางเคมีต่อคุณสมบัติชั้นเคลือบ (ต่อ)
ธาตุผสม อิทธิพล
ตะกั่ว (Pb) เพิ่มความเงาให้กับชั้นเคลือบ / ลดความต้านทานการกัดกร่อน /
เหนี่ยวนำ�ให้เกิดการแตกของชั้นเคลือบสังกะสี (Spangle Cracking)
พลวง (Sb) เพิ่มความเงาให้กับชั้นเคลือบ
  3) อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมในสภาพการใช้งาน สิ่งแวดล้อมในการใช้งานโลหะ
เคลือบสังกะสีเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำ�คัญในการกำ�หนดอายุการใช้ของโลหะเคลือบสังกะสี
เนื่ อ งจากสิ่ ง แวดล้ อ มในการใช้ ง านเป็ น ตั ว แปรสำ � คั ญ ในการกำ � หนดอั ต ราการกั ด กร่ อ นของ
ชั้นเคลือบสังกะสี ซึ่งการใช้งานโลหะเคลือบสังกะสีในสิ่งแวดล้อมที่ฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง จะส่งผล
ให้อายุการใช้งานของโลหะเคลือบสังกะสีลดต่ำ�ลง
อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่อคุณสมบัติความต้านทานการกัดกร่อนของชั้นเคลือบสังกะสี
สิ่งแวดล้อม อิทธิพล
เขตอุตสาหกรรมหนัก บริเวณเขตอุตสาหกรรมหนักเป็นบริเวณที่มีการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ ซึ่งมีฤทธิ์
(Heavy Industrial Areas) กัดกร่อนและเป็นบริเวณที่มีโอกาสเกิดฝนกรดสูง ซึ่งสามารถทำ�ให้ชั้นเคลือบ
สั ง กะสี ถู ก กั ด กร่ อ นอย่ า งรวดเร็ ว นอกจากนี้ ยั ง อาจมี ส ารเคมี ที่ มี ฤ ทธิ์
กัดกร่อนตัวอื่น ๆ เจือปนอยู่ในบรรยากาศ
เขตอุตสาหกรรมใหม่ สิ่งแวดล้อมในเขตอุตสาหกรรมใหม่ จะมีลักษณะใกล้เคียงกับเขตอุตสาหกรรม
(Moderately Industries หนัก แต่สิ่งแวดล้อมในเขตอุตสาหกรรมใหม่ จะมีฤทธิ์กัดกร่อนต่ำ�กว่าเขต
Areas) อุตสาหกรรมหนัก เนื่องจากเขตอุตสาหกรรมใหม่มีการจัดการสิ่งแวดล้อม
มี ก ารบำ � บั ด ของเสี ย ตลอดจนมี ก ารปลดปล่ อ ยสารเคมี ที่ มี ฤ ทธิ์ กั ด กร่ อ น
ต่ำ�กว่าบริเวณเขตอุตสาหกรรมหนัก โดยอัตราการกัดกร่อนของชั้นเคลือบ
สังกะสีในเขตอุตสาหกรรมหนักจะใกล้เคียงกับเขตในเมือง
บริเวณชานเมือง บริ เ วณชานเมื อ งหรื อ บริ เ วณที่ มี พื้ น ที่ ที่ อ ยู่ อ าศั ย เป็ น บริ เ วณกว้ า งจะมี
(Suburban Areas) บรรยากาศที่มีฤทธิ์กัดกร่อนต่ำ�กว่าบริเวณเขตอุตสาหกรรมใหม่
บริเวณเขต Temperate เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้กับชายฝั่งทะเล โดยบริเวณดังกล่าวจะได้รับอิทธิพลจาก
Marine คลอไรด์ที่อยู่ในน้ำ�ทะเล และทำ�ให้ชั้นเคลือบสังกะสี เกิดเป็นผลิตภัณฑ์การ
กัดกร่อนเกิดขึ้น (สังกะสีคลอไรด์) ซึ่งผลิตภัณฑ์การกัดกร่อนที่เกิดขึ้น
ดังกล่าวเมื่อถูกชะล้างออกไป จะทำ�ให้ชั้นเคลือบสังกะสีถูกกัดกร่อนมากขึ้น
บริเวณ Tropical Marine เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลเช่นเดียวกับเขต Temperate Marines แต่
บริเวณดังกล่าวอายุการใช้งานของชั้นเคลือบสังกะสีจะสูงกว่า เนื่องจากบริเวณ
Tropical Marine เป็นบริเวณที่อยู่ห่างไกลจากบริเวณเขตอุตสาหกรรมหนัก
บริเวณชนบท (Rural Areas) เป็นบริเวณที่มีการกัดกร่อนของชั้นเคลือบสังกะสีต่ำ�กว่าเขตอื่น ๆ เนื่องจาก
ในบรรยากาศมีปริมาณของซัลเฟอร์และธาตุที่ส่งเสริมการกัดกร่อนต่ำ�

art 10.indd 195 16/2/2558 14:14:06


196

2. กระบวนการเคลือบโลหะสังกะสี
กระบวนการเคลือบสังกะสีลงบนโลหะในอุตสาหกรรมแบ่งได้ 2 กระบวนการหลัก
ดังนี้
1. กระบวนการจุ่มแช่ด้วยความร้อน (Hot Dip Process) เป็นกระบวนการ
เคลือบผิวโลหะสังกะสี ซึ่งมีการใช้กันมามากกว่า 200 ปี โดยกระบวนการดังกล่าวสามารถทำ�ได้
โดยจุ่มเหล็กหรือโลหะที่ต้องการเคลือบลงในอ่างสังกะสีหลอมเหลวที่อุณหภูมิประมาณ 445-454
องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลาประมาณ 3-6 นาที 1 ความหนาของชั้นสังกะสีจะขึ้นอยู่กับระยะเวลา
ที่ใช้ในการจุ่มแช่ ส่วนผสมทางเคมีของอ่างโลหะสังกะสี และสิ่งเจือปนที่อยู่ในเนื้อเหล็ก
เมื่อวิเคราะห์ภาคตัดขวางชั้นเคลือบสังกะสีที่ผ่านการเคลือบผิวด้วยกระบวนการ
จุ่มแช่ด้วยความร้อน จะพบว่า ชั้นเคลือบโลหะสังกะสีประกอบด้วยชั้นเคลือบที่แตกต่างกัน
ทั้งหมด 4 ชั้น ได้แก่ 
1) Eta (100% Zn)
2) Zeta (94% Zn 6% Fe)
3) Delta (90% Zn 10% Fe)
4) Gamma (75% Zn 25% Fe)
โดยชั้นเคลือบที่แตกต่างกันเป็นผลจากการทำ�ปฏิกิริยาระหว่างโลหะสังกะสีกับ
เหล็ก โดยชั้น Gamma ซึ่งเป็นชั้นที่อยู่ใกล้กับเหล็กจะเป็นชั้นที่มีเหล็กเจือปนอยู่มากที่สุด (25
เปอร์เซ็นต์โดยน้ำ�หนัก) และปริมาณของเหล็กในชั้นเคลือบถัดไปจะมีปริมาณลดลงตามลำ�ดับ
โดยชั้น Eta ซึ่งอยู่ชั้นนอกสุดของชั้นเคลือบสังกะสีจะประกอบด้วยโลหะสังกะสี 100 เปอร์เซ็นต์
และปริมาณสังกะสีจะลดลงตามลำ�ดับเมื่อชั้นสังกะสีอยู่ใกล้กับเนื้อเหล็ก โดยชั้นที่อยู่ติดกับ
เนื้อเหล็กหรือชั้น Gamma จะมีปริมาณสังกะสี 25 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำ�หนัก

รูปที่ 10.8 แสดงการเคลือบผิวหน้าชิ้นงานด้วยลักษณะการจุ่มแช่ด้วยความร้อน


(ที่มา : http://www.dalekovod-cincaonica.com/eng/hot-dip-galvanizing.html)

art 10.indd 196 16/2/2558 14:14:06


หน่วยที่ 10 การกัดกร่อนและการป้องกัน 197

รูปที่ 10.9 ภาคตัดขวางแสดงชั้นเคลือบสังกะสีที่ผ่านกระบวนจุ่มแช่ด้วยความร้อน


(ที่มา : http://www.galvanizedrebar.com/coating_properties.htm)

2. กระบวนการเคลือบผิวด้วยไฟฟ้าเคมี (Electroplating Process)

 
รูปที่ 10.10 กระบวนการเคลือบผิวสังกะสีด้วยเทคนิคไฟฟ้าเคมี
(ที่มา : http://www.shqsx.com/yqsb_e.asp)
  การเคลือบผิวโลหะสังกะสีด้วยด้วยกระบวนการไฟฟ้าเคมี เป็นกระบวนการ
เคลื อ บผิ ว โลหะอี ก ชนิ ด หนึ่ ง ซึ่ ง นิ ย มใช้ ใ นอุ ต สาหกรรม เนื่ อ งจากชั้ น เคลื อ บสั ง กะสี ที่ ไ ด้ จ าก
กระบวนการดังกล่าว มีชั้นเคลือบที่สม่ำ�เสมอ ตลอดจนมีความแข็งแรงของ Interface ระหว่าง
ชั้นเคลือบกับโลหะพื้นสูง โดยการเคลือบผิวสังกะสีด้วยกระบวนการไฟฟ้าเคมี สามารถทำ�ได้
โดยนำ�ชิ้นงานที่ต้องการเคลือบจุ่มลงในสารละลายที่มีไอออนของสังกะสีละลายอยู่ เช่น สารละลาย
กรดหรือไซยาไนต์ จากนั้นจ่ายแรงดันไฟฟ้าลบ (ประมาณ 2-6 โวลต์) ให้กับชิ้นงาน (Cathode)
และจ่ายแรงดันไฟฟ้าบวกให้กับโลหะสังกะสีที่ต้องการนำ�ไปเคลือบผิวหน้าชิ้นงาน (Anode) เพื่อ
ทำ�ให้อิออนบวกของสังกะสีเข้ามาเกาะติดที่ชิ้นงาน

art 10.indd 197 16/2/2558 14:14:06


198
Power Supply

-+
A Amperometer

V
Voltmeter

Metal cathode Metal Anode


Metal Solution Metal Solution
Interface Interface
Solution
H2O

รูปที่ 10.11 กระบวนการเคลือบผิวหน้าโลหะด้วยเทคนิคไฟฟ้าเคมี


(ที่มา : http://electrochem.cwru.edu/ed/encycl/art-e01-electroplat.htm)
แม้ว่าชั้นเคลือบสังกะสีที่ได้จากกระบวนการเคลือบผิวด้วยเทคนิคไฟฟ้าเคมี
จะมีความสม่ำ�เสมอตลอดจนมีความแข็งแรงของ Interface ระหว่างชั้นเคลือบกับโลหะพื้น
เมื่อเปรียบเทียบกับชั้นเคลือบสังกะสีที่ผลิตด้วยกรรมวิธีจุ่มแช่ด้วยความร้อน แต่ความหนาของ
ชั้นเคลือบที่ได้จากกระบวนการดังกล่าวจะมีความหนาต่ำ�กว่ามาก (ประมาณ 5-50 ไมครอน)

รูปที่ 10.12 ภาคตัดขวางของชั้นเคลือบสังกะสีที่ได้จากกระบวนการเคลือบด้วยวิธีต่าง ๆ


(ที่มา : : http://www.galvanizeit.org/showContent,289,333.cfm)

art 10.indd 198 16/2/2558 14:14:07


หน่วยที่ 10 การกัดกร่อนและการป้องกัน 199

ลักษณะของชั้นเคลือบสังกะสีที่ได้จากกระบวนการจุ่มแช่ด้วยความร้อน
และกระบวนการไฟฟ้าเคมี
ลักษณะ กระบวนการจุ่มแช่ กระบวนการเคลือบผิว
โดยความร้อน ด้วยไฟฟ้าเคมี
ความหนาของการเคลือบ สูง ต่ำ�
พื้นผิว หยาบ เรียบ
หน้าสัมผัส ไม่ดี ดี
ที่มา : FAMC Laboratory (MTEC)

การป้องกันการกัดกร่อน
1. การเลือกใช้วัสดุ (Material Selection) ที่เหมาะสม เช่น
1) ในกรณีที่ต้องเชื่อมต่อโลหะ 2 ชนิดที่ต่างกัน ควรเลือกโลหะที่มีค่าศักย์ไฟฟ้า
รีดักชันใกล้เคียงกัน เพื่อป้องกันการกัดกร่อนเนื่องจากความต่างศักย์
2) ในกรณีของเหล็กกล้าไร้สนิมที่ใช้งานบริเวณที่ใกล้ทะเล  เราสามารถลดแนวโน้ม
การเกิดการกัดกร่อนแบบหลุมได้โดยเลือกใช้เกรด 316 ที่ผสมโมลิบดีนัมประมาณ 2% แทนเกรด
304
3) ในกรณีของเหล็กกล้าไร้สนิมที่หนาและต้องทำ�การเชื่อม สามารถป้องกันการ
กัดกร่อนตามขอบเกรน (Intergranular Corrosion) ได้โดยเลือกใช้เกรดที่มีคาร์บอนต่ำ� (ไม่เกิน
0.03% เช่น เกรด 316L) หรือเกรดที่ผสม Ti หรือ Nb
4) ใส่ใจเรื่องการเลือกใช้ลวดเชื่อม เพื่อป้องกันการกัดกร่อนบริเวณรอยเชื่อม
2. การออกแบบ (Design) การออกแบบที่เหมาะสม เช่น ออกแบบให้สัดส่วนพื้นที่
ของแอโนดต่อพื้นที่ของแคโทดที่สูงจะลดการกัดกร่อนแบบแกลแวนิก (Galvanic) ได้ดีกว่า
1) ทำ�การเคลือบโดยการพิจารณาอย่างรอบคอบ เช่น การทาสีบนโลหะที่ทนการ
กัดกร่อนน้อย (แอโนด) โดยไม่ทาสีบนโลหะที่ต้านทานการกัดกร่อนมากกว่า (แคโทด) นั้นเป็น
สิ่งที่ไม่ควรทำ�เนื่องจากรูขนาดเล็ก (Pin-holes) ในบริเวณที่ทาสีไม่สมบูรณ์จะทำ�ให้เกิดพื้นที่
แอโนดขนาดเล็ก แต่มีพื้นแคโทดที่มีขนาดใหญ่ จึงเป็นการเร่งการกัดกร่อนเฉพาะบริเวณที่แอโนด
2) ลดการสัมผัสทางไฟฟ้าระหว่างโลหะต่างชนิดกันเพื่อป้องกันการกัดกร่อนแบบ
แกลแวนิก เช่น ใช้ฉนวน (Insulator) คั่น
3) ใช้ปะเก็น (Gasket) ที่เป็นของแข็ง เช่น เทฟลอนแทนวัสดุที่ดูดซับของเหลวได้

art 10.indd 199 16/2/2558 14:14:07


200

4) ออกแบบควบคุ ม การไหลของสารที่ ข นส่ ง ในท่ อ และวาล์ ว ให้ เ หมาะสม โดย


คำ�นึงถึงรูปร่างและลักษณะทางเรขาคณิต หรือการเพิ่มความหนาของวัสดุบริเวณที่ถูกกัดเซาะสูง
เป็นต้น
5) ในกรณีที่ส่งผ่านของเหลวที่มีตะกอนตามท่อโลหะ อาจพิจารณาใช้ตัวกรองเพื่อ
กรองของแข็งออก เพื่อช่วยลดการกัดเซาะ
6) ออกแบบเผื่อให้ชิ้นงานมีความหนามากขึ้น หรือออกแบบให้ชิ้นงานที่เป็นแอโนด
สามารถถอดเปลี่ยนซ่อมบำ�รุงได้ง่าย
7) สำ�หรับเหล็กกล้าไร้สนิมที่ได้สูญเสียโครเมียมไปในรูปของคาร์ไบด์ เช่น ชิ้นงานหนา
ที่ผ่านการเชื่อม การปรับปรุงโดยกระบวนการทางความร้อนเพื่อละลายคาร์ไบด์จะสามารถช่วย
ป้องกันการกัดกร่อนตามขอบเกรนได้
8) สามารถลด Stress Corrosion Cracking ได้โดยการลดความเค้นเหลือค้างใน
ชิ้นงานให้ต่ำ�ลง โดยการอบคลายความเครียด
9) ใช้การเชื่อมแทนการใช้หมุดย้ำ� (Rivet) หรือสลักเกลียว (Bolt) ในการยึดวัสดุ
10) การเชื่อมต่อโลหะ 2 ชนิดที่ต่างกัน ควรเลือกใช้โลหะที่ใช้เชื่อมที่ต้านทานการ
กัดกร่อนสูงกว่าโลหะพื้น (Base Metal) ที่ต้องการยึดต่ออย่างน้อย 1
3. การปรับสภาพแวดล้อม (Modification of Environment) และการบำ�รุงรักษา
โลหะ เช่น
1) การใช้สารยับยั้งการกัดกร่อน (Inhibitor) เติมในสารละลายที่ต้องการใช้ลำ�เลียง
จัดเก็บ หรือใช้ทำ�การผลิต เพื่อลดการกัดกร่อนของอุปกรณ์โลหะที่สัมผัส
2) การศึกษาถึงอิทธิพลของปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการกัดกร่อน เช่น การ
เปลี่ยนสภาพจากแคโทดเป็นแอโนดในระบบสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
3) ทำ�ความสะอาด ตรวจสอบอุปกรณ์ และขจัดตะกอนที่ตกค้างอย่างสม่ำ�เสมอ
4. การเคลือบผิว/ทาสี (Coating/Painting) มีด้วยกันหลายแบบ เช่น การเคลือบ
ผิวเหล็กด้วยสังกะสีหรือดีบุก
5. วิ ธี ก ารทางไฟฟ้ า -เคมี (Electrochemical Methods) วิ ธี Cathodic
Protection โดยการทำ�ให้โครงสร้างที่ต้องการป้องกันเป็นแคโทด ซึ่งอาจทำ�โดยการให้กระแส
ไฟฟ้า (Impressed Current) หรือการใช้แอโนดสิ้นเปลือง (Sacrificial Anode) โดยใช้วัสดุ
ตัวอื่นซึ่งทำ�หน้าที่เป็นแอโนดต่อเข้ากับโลหะที่ต้องการป้องกันเพื่อให้ผุกร่อนแทน

art 10.indd 200 16/2/2558 14:14:07


หน่วยที่ 10 การกัดกร่อนและการป้องกัน 201

แหล่งจ่ายไฟ

แนวระดับพื้น

ท่อเหล็ก แอโนด
กระแส

รูปที่ 10.13 Cathodic Protection ของท่อเหล็กโดยใช้กระแสไฟฟ้า

วิธี Anodic Protection โดยการใช้กระแสไฟฟ้าจากภายนอกทำ�ให้โลหะที่ต้องการ


ปกป้องสร้างชั้นฟิล์มที่เสถียร (Protective Film) ที่ผิวซึ่งจะใช้ได้กับโลหะบางชนิด  ต่างจาก
Cathodic Protection ที่สามารถใช้กับโลหะได้ทุกชนิด

art 10.indd 201 16/2/2558 14:14:07


202

คำ�ศัพท์ท้ายหน่วยที่ 10

คำ�ศัพท์ ความหมาย
เป็นการกัดกร่อนที่เกิดขึ้นเนื่องจากโลหะสัมผัสกับสิ่งแวดล้อม โดยอัตรา
Uniform Corrosion การสูญเสียของเนื้อโลหะที่บริเวณต่าง ๆ จะใกล้เคียงกัน ทำ�ให้สามารถ
วัดอัตราการกัดกร่อน และออกแบบการบำ�รุง รักษาตามช่วงระยะเวลาได้
การกัดกร่อนแบบแกลแวนิกจะรุนแรงที่สุดบริเวณใกล้รอยต่อระหว่างโลหะ
Galvanic Corrosion
ทั้งสอง และอัตราการกัดกร่อนจะลดลงเมื่อระยะห่างจากรอยต่อนั้นเพิ่มขึ้น
เป็นการกัดกร่อนเฉพาะบริเวณ มักเกิดขึ้นบริเวณช่องแคบหรือรอยแยกของ
Crevice Corrosion
โลหะที่สัมผัสกับสารละลายที่สามารถแตกตัวเป็นประจุไฟฟ้า
เป็นการกัดกร่อนเฉพาะที่ การกัดกร่อนแบบนี้ทำ�ให้เกิดความเสียหายได้
Pitting แม้สูญเสียน้ำ�หนักโลหะเพียงเล็กน้อย แต่เป็นอันตรายเพราะมักเป็นการ
เสียหายแบบฉับพลัน
Intergranular Corrosion การกัดกร่อนบริเวณขอบเกรน จะเกิดได้ดีกว่าที่โลหะพื้นเล็กน้อย
Selective Leaching or การผุกร่อนแบบเลือกจะเกิดกับโลหะผสมที่ธาตุหนึ่งเสถียรกว่าอีกธาตุหนึ่ง
Dealloying เมื่อสัมผัสกับบรรยากาศ
เป็นการกัดกร่อนที่เกิดจากทั้งทางเคมีและทางกล เช่น ในท่อส่งสารละลายที่
Erosion Corrosion
กัดกร่อน ซึ่งอาจมีสารแขวนลอยของแข็งผสม
เป็นการกัดกร่อนที่เกิดโดยความเค้นและสภาพแวดล้อมที่กัดกร่อน โดย
Stress Corrosion
สภาพความเค้นของโลหะอาจเกิดจากความเค้นภายในเหลือค้าง
บริเวณด้านที่เกิดการให้อิเล็กตรอนจากปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี โดยปฏิกิริยาที่
Anode
เกิดขึ้นที่ด้านนี้จะเรียกเป็นปฏิกิริยาออกซิเดชัน
บริเวณด้านที่เกิดการรับอิเล็กตรอนจากปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี โดยปฏิกิริยาที่
Cathode
เกิดขึ้นที่ด้านนี้จะเรียกเป็นปฏิกิริยารีดักชัน

art 10.indd 202 16/2/2558 14:14:07


หน่วยที่ 10 การกัดกร่อนและการป้องกัน 203

สรุปสาระการเรียนรู้หน่วยที่ 10

การเกิดการผุกร่อนของโลหะหรือวัสดุช่างจากการใช้ไปเป็นเวลานาน ๆ ถ้าปล่อยไว้อาจจะเกิด
ผลเสียต่อวัสดุนั้นได้ ดังนั้นจึงจำ�เป็นต้องหาทางป้องกันการกัดกร่อน โดยใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติทนต่อ
การกัดกร่อนมาเคลือบผิววัสดุไม่ให้ทำ�ปฏิกิริยากับออกซิเจน ซึ่งสามารถทำ�การป้องกันการกัดกร่อนได้
หลายวิธี เช่น เคลือบหรืออาบผิวของโลหะด้วยน้ำ�มัน เคลือบผิวด้วยสี การเคลือบผิวด้วยโลหะที่ทนต่อ
การกัดกร่อน การเคลือบผิวด้วยปฏิกิริยาทางเคมี การป้องกันการกัดกร่อนจะได้ผลดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับ
การเตรียมผิวงาน ซึ่งผู้ปฏิบัติงานจำ�เป็นต้องศึกษาเพื่อหาวิธีป้องกันต่อไป

art 10.indd 203 16/2/2558 14:14:07


204

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 10

ตอนที่ 1 ให้เลือกคำ�ตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ก๊าซที่ทำ�ให้เกิดการกัดกร่อนคือข้อใด
ก. ก๊าซออกซิเจน ข. ก๊าซไฮโดรเจน
ค. ก๊าซไนโตรเจน ง. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
2. โลหะต่อไปนี้โลหะใดกัดกร่อนมากที่สุด
ก. อะลูมิเนียม ข. เหล็ก
ค. สังกะสี ง. ทองแดง
3. ชิ้นงานประเภทใดที่นิยมอาบผิวด้วยน้ำ�มันเพื่อป้องกันสนิม
ก. ชิ้นงานที่ทำ�จากโลหะ ข. ชิ้นงานกลึง
ค. ชิ้นงานตะไบ ง. ชิ้นงานวัด
4. การรมดำ�นิยมใช้กับข้อใด
ก. ทองแดง ข. อะลูมิเนียม
ค. เหล็ก ง. เงิน
5. โลหะคู่ใดเหมาะที่จะใช้เป็นอิเล็กโทรดในแบตเตอรี่รถยนต์
ก. สังกะสี เหล็ก ข. ตะกั่ว สังกะสี
ค. สังกะสี ทองแดง ง. ตะกั่ว ดีบุก
6. การชุบโลหะชิ้นงาน ก่อนจะชุบโลหะที่ต้องการต้องรองพื้นด้วยโลหะใด
ก. สังกะสี ข. ดีบุก
ค เงิน ง. ทองแดง
7. โลหะที่นิยมนำ�ชิ้นงานไปชุบคือข้อใด
ก. สังกะสี ข. เงิน
ค. โครเมียม ง. ทองแดง
8. โลหะที่นิยมใช้อาบผิวหรือปกปิดผิวโลหะอื่นคือข้อใด
ก. นิกเกิล ข. โครเมียม
ค. สังกะสี ง. ดีบุก
9. โลหะชนิดใดที่มีคุณสมบัติและลักษณะคล้ายเงิน
ก. สังกะสี ข. อะลูมิเนียม
ค. เงินเยอรมัน ง. เหล็กสเตนเลส
10. ข้อใดคือคุณสมบัติของอโลหะ
ก. สภาพผิวมีความมันวาว ข. มีความแข็งแรงทนทาน
ค. เวลาเคาะมีเสียงดังกังวาน ง. มีทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ

art 10.indd 204 16/2/2558 14:14:07


หน่วยที่ 10 การกัดกร่อนและการป้องกัน 205

ตอนที่ 2 ตอบคำ�ถามต่อไปนี้
1. อธิบายความหมายของการกัดกร่อน
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
2. การกัดมีกี่ชนิดอะไรบ้าง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
3. สาเหตุที่ทำ�ให้เกิดการกัดกร่อนมีอะไรบ้าง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
4. อธิบายการกัดกร่อนที่เกิดจากปฏิกิริยาไฟฟ้า-เคมี
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
5. อธิบายการกัดกร่อนเนื่องจากความต่างศักย์
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
6. อธิบายกระบวนการเคลือบโลหะสังกะสี
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
7. อธิบายวิธีการป้องกันการกัดกร่อน
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
8. ชั้นเคลือบโลหะสังกะสีมีกี่ชั้น อะไรบ้าง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
9. การเชื่อมต่อโลหะ 2 ชนิดที่ต่างกัน ควรเลือกใช้โลหะแบบใด
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
10. อธิบายความหมายของ Anode และ Cathode
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................

art 10.indd 205 16/2/2558 14:14:07


206

กิจกรรมการเรียนรู้หน่วยที่ 10

1 ผู้สอนกล่าวทักทายผู้เรียน พร้อมเช็กชื่อผู้เรียน
2. ผู้สอนแจกหนังสือเรียนและบทเรียนโมดูล ให้ผู้เรียนจัดกลุ่ม 3 คน ศึกษาร่วมกัน
พร้อมกับทำ�แบบทดสอบ
3. ผู้สอนอธิบายความหมายและชนิดของการกัดกร่อน
4. ผูู้สอนอธิบายการกัดกร่อนและการป้องกันการกัดกร่อน
5. ผู้สอนมอบหมายงานให้ผู้เรียนปฏิบัติงาน ตามหลักการ วิธีการ และกิจนิสัยที่ดี
ในการปฏิบัติงานโดยให้ผู้เรียนทำ�แบบฝึกหัดทบทวนหรือใบงานภายในห้องเรียน
สามารถเปิดหนังสือควบคู่ในการตอบคำ�ถามได้
6. ผู้เรียนปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายโดยใช้ใบความรู้หรือเอกสารประกอบการเรียน
อย่างคุ้มค่า เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน และปฏิบัติงานด้วยความ
ซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมั่น ใช้เหตุผล และสติปัญญา

art 10.indd 206 16/2/2558 14:14:07


หน่วยที่ 11 การตรวจสอบวัสดุเบื้องต้น 207

หน่วยที่

11 การตรวจสอบวัสดุเบื้องต้น

สาระการเรียนรู้
1. ความหมายและชนิดของการตรวจสอบวัสดุ
2. การตรวจสอบวัสดุแบบทำ�ลาย
3. การตรวจสอบวัสดุแบบไม่ทำ�ลาย

สมรรถนะรายวิชา
1. อธิบายความหมายและชนิดของการตรวจสอบวัสดุได้
2. อธิบายการตรวจสอบวัสดุแบบทำ�ลายได้
3. อธิบายการตรวจสอบวัสดุแบบไม่ทำ�ลายได้

art 11.indd 207 16/2/2558 14:14:41


208

หน่วยที่ 11 การตรวจสอบวัสดุุเบื้องต้น
ความหมายและชนิดของการตรวจสอบวัสดุ
การตรวจสอบวัสดุในงานอุตสาหกรรมมีความสำ�คัญมาก ก่อนที่จะเลือกหรือนำ�วัสดุใด
มาใช้งานนั้น จำ�เป็นจะต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติของวัสดุนั้น ว่ามีคุณสมบัติตามต้องการ
หรือไม่ เช่น การตรวจสอบรอยร้าว การตรวจสอบความเค้น แรงดึง ความแข็ง ฯลฯ
การตรวจสอบวัสดุเบื้องต้น
ในการเลือกวัสดุใดมาใชงาน ควรทราบกอนวาวัสดุนั้นมีคุณสมบัติตามที่ตองการหรือไม
เชน รอยราว รูพรุน ความแข็ง หรือสวนผสมทางเคมี ซึ่งสิ่งเหลานี้สามารถตรวจสอบดวยเครื่องมือ
งาย ๆ ในโรงงาน

รูปที่ 11.1 การตรวจสอบความแข็ง รูปที่ 11.2 การตรวจสอบรอยร้าว


การตรวจสอบวัสดุแบงออกได 2 ชนิด คือ
1. การตรวจสอบวัสดุแบบทําลาย (Destructive Test)
2. การตรวจสอบวัสดุแบบไม่ทําลาย (Non-destructive Test)

การตรวจสอบวัสดุแบบทำ�ลาย
การตรวจสอบวัสดุแบบทำ�ลาย หมายถึง การตรวจสอบที่ชิ้นตรวจสอบ เพื่อให้ทราบว่าวัสดุ
นั้นจะเกิดการแตกหัก เสียหาย หรือเปลี่ยนรูปไปจากเดิม เหมาะสมที่จะนำ�มาใช้งานได้หรือไม่
1. การตรวจสอบด้วยการตะไบ
2. การตรวจสอบด้วยการเผา
3. การตรวจสอบด้วยการเจียระไน
4. การตรวจสอบด้วยการขูด

art 11.indd 208 16/2/2558 14:14:41


หน่วยที่ 11 การตรวจสอบวัสดุเบื้องต้น 209

1. การตรวจสอบด้วยการตะไบ ในกรณีที่ไม่สามารถทดสอบความแข็งของวัสดุงาน
ด้วยเครื่องทดสอบ อันเนื่องมาจากโรงงานฝึกไม่มีเครื่องมือเหล่านี้ใช้ ก็อาจจะประมาณความ
แข็งของวัสดุงานโดยอาศัยปฏิกิริยาของการตะไบบนชิ้นงานได้ ดังตาราง
ค่าความแข็งโดยประมาณจากการตะไบ
ปฏิกิริยาของการตะไบบนชิ้นทดสอบ ค่าความแข็งร็อกเวลล์ HRC ซี
ตะไบโลหะออกได้ง่าย โดยใช้แรงกดเบา ๆ 20
เริ่มตะไบออกยากขึ้น 30
ตะไบตัดด้วยความยาก 40
ตะไบเกือบจะไม่ตัดเนื้อโลหะ 50
ไม่สามารถตะไบตัดงานได้ 70
2. การตรวจสอบด้ ว ยการเผา ในกรณี ที่ ต้ อ งการทราบคุ ณ สมบั ติ ข องวั ส ดุ ด้ า น
ต่าง ๆ เช่น การนำ�ความร้อน การพาความร้อน การขึ้นรูป ความแข็ง และความเปราะภายหลัง
ทำ�การเผา ก่อนนำ�ไปใช้งาน
3. การตรวจสอบโดยการเจียระไน โดยการนำ�เอาชิ้นงานทดสอบที่เป็นเหล็กมาลับกับ
หินเจียระไน จะเกิดประกายเป็นลักษณะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดของส่วนผสม เนื่องจาก
ส่วนผสมของเหล็กเมื่อเสียดสีกับหินเจียระไนจะเกิดความร้อนสูงแล้วเกิดการลุกไหม้ เมื่อกระเด็น
ออกมากระทบกับออกซิเจนภายนอก ทำ�ให้เกิดเป็นสีและประกายในลักษณะต่าง ๆ กันตาม
ปริมาณของส่วนผสม เช่น มีสีขาวเหลือง ประกายแตกน้อย หมายถึง เหล็กอ่อนชุบผิวแข็งหรือ
เหล็กกล้าผสมสูง หรือมีสีส้มประกายขาดเป็นช่วง ๆ มีประกายแตก หมายถึง เหล็กรอบสูง (HSS)
4. การตรวจสอบด้ ว ยการขุ ด เป็ น การตรวจสอบความแข็ ง ของผิ ว โลหะโดยการ
เปรียบเทียบโดยอาศัยหลักการวัสดุที่แข็งย่อมสามารถขูดผิวของวัสดุที่อ่อนได้ เช่น ใบเลื่อยมือ
ทำ�จากเหล็กรอบสูงสามารถขูดเหล็กแผ่นเป็นรอย แต่เมื่อนำ�เหล็กแผ่นไปขูดใบเลื่อยมือที่ทำ�จาก
เหล็กรอบสูง กลับไม่มีรอย แสดงว่าใบเลื่อยมือมีความแข็งมากกว่าเหล็กแผ่น แต่ในบางครั้ง
ก็สามารถบอกถึงชนิดของวัสดุได้โดยการดูสีของวัสดุ เช่น สีแดง อาจเป็นทองแดง สีเหลือง
อาจเป็นทองเหลือง
การทดสอบแบบทำ�ลายที่สำ�คัญและใช้กันมากในอุตสาหกรรม มี 6 วิธี คือ
1. การทดสอบแรงดึง (Tensile Test) เป็นการทดสอบวัสดุที่สำ�คัญที่สุด เพราะ
ในการออกแบบส่วนใหญ่จะใช้ค่าซึ่งได้จากการทดสอบนี้ไปใช้ในการคำ�นวณ เพื่อกำ�หนดขนาด
รูปร่างของชิ้นงาน วัตถุประสงค์ เพื่อหาค่าความต้านแรงดึงสูงสุด ความเค้นคราก และเปอร์เซ็นต์
การยืดตัวของวัสดุ โดยั่วไปจะดึงชิ้นทดสอบจนขาดออกจากกันในขณะเดียวกันก็จะบันทึกแรงที่
ใช้ในการดึงและระยะยืดของชิ้นทดสอบด้วยเครื่องบันทึก

art 11.indd 209 16/2/2558 14:14:41


210

2. การทดสอบความแข็ง (Hardness Test) ค่าความแข็งเป็นสมบัติทางกลที่สำ�คัญ


ค่าหนึ่ง บ่งบอกถึงความสามารถในการต้านทานการเปลี่ยนรูปถาวรของวัสดุ เนื่องจากการกด
หรืออัด มีการทดสอบดังนี้
1) การทดสอบความแข็งของบริเนลล์ (Brinell Hardness Test) ชาวสวีเดน
ใช้ลูกบอลเหล็กกด แล้ววัดเส้นผ่านศูนย์กลางรอยกด
2) การทดสอบความแข็งแบบวิกเกอร์ส (Vickers Microhardness Test) ใช้ตัวกด
ทำ�ด้วยเพชรเจียระไน วัดเส้นทแยงมุมของรอยกด
3) การทดสอบความแข็งแบบร็อกเวลล์ (Rockwell Hardness Test) ชาวเยอรมัน
วัดความลึกของหัวกด ซึ่งทำ�ด้วยเพชรทรงกรวย
4) การทดสอบความแข็งด้วยค้อนกระแทก (Rebound Hammer Test) ใช้ค้อนมือ
100 G ตีแกนสลักที่มีลูกบอลกับวัสดุทดสอบ
5) การทดสอบความแข็งโดยการกระดอนแบบชอร์เชโรสโคป (Shore Scleroscope)
ใช้ตุ้มน้ำ�หนัก 0.2 N ตกจากความสูง 112 Mm กระแทกกับผิวชิ้นทดสอบ วัดความกระดอน
ตุ้มน้ำ�หนัก ถ้าวัสดุทดสอบมีความแข็งสูง ตุ้มน้ำ�หนักก็กระดอนสูง
3. การทดสอบแรงกระแทก (Impact Test) เป็นการใช้แรงกระทำ�เคลื่อนที่ด้วย
ความเร็ ว กระแทกชิ้ น ทดสอบให้ แ ตกหั ก ในเวลาอั น สั้ น เพื่ อ ศึ ก ษาพฤติ ก รรมของวั ส ดุ เ มื่ อ ถู ก
แรงกระแทก ใช้หลักการค้อนเหวี่ยง และชิ้นทดสอบต้องมีร่องบากนิยมใช้แบบชาร์ปี (Impact
Charpy)
4. การทดสอบการล้า (Fatigue Test) หาความต้านล้าของวัสดุ หมายถึง ความ
เค้นสูงสุดแบบเปลี่ยนแปลงที่กระทำ�ต่อชิ้นงานเป็นจำ�นวนครั้งไม่สิ้นสุด โดยชิ้นงานไม่เสียหาย
ถ้ า ความเค้ น ที่ ก ระทำ � ต่ อ ชิ้ น งานมี ค่ า สู ง กว่ า ความเค้ น ล้ า ของวั ส ดุ ก็ จ ะทำ � ให้ ชิ้ น งานแตกหั ก
แบบล้าได้ อาจจะภายในไม่กี่นาที หรือได้รับแรงเป็นระยะเวลานานเป็นปี
5. การทดสอบความแข็งแรงของวัสดุที่อุณหภูมิสูง (Temperature Test) เพื่อหา
ค่าความเค้นครากที่อุณหภูมิสูง
6. การทดสอบการคืบ (Creep Test) คือ การที่วัสดุได้รับความเค้นนำ�ไปสู่การยืดตัว
ค่าความต้านการคืบ (Creep Strength) ที่อุณหภูมิหนึ่ง คือค่าความเค้นสูงสุดเมื่อเริ่มต้นมี
ความคืบและเวลาผ่านไปจนหยุดความคืบ แต่ถ้าความเค้นสูงกว่าค่านี้ จะนำ�ไปสู่การแตกหัก

การตรวจสอบวัสดุแบบไม่ทำ�ลาย
การตรวจสอบวัสดุแบบไม่ทำ�ลาย หมายถึง กรรมวิธีที่ใช้ค้นหารอยบกพร่องหรือความ
ผิดปกติใด ๆ ที่มีอยู่ในชิ้นงาน ทั้งที่เป็นอันตรายต่อการใช้งานหรือไม่เป็นอันตรายต่อการใช้งาน
โดยที่ไม่ทำ�ให้เกิดความเสียหายขึ้นกับชิ้นงานนั้น ซึ่งต่อไปนี้รอยบกพร่องหรือความผิดปกติใด ๆ

art 11.indd 210 16/2/2558 14:14:42


หน่วยที่ 11 การตรวจสอบวัสดุเบื้องต้น 211

ที่กล่าวถึงนี้จะเรียกโดยรวมว่า ความไม่ต่อเนื่อง (Discontinuity) จากความหมายของการ


ตรวจสอบโดยไม่ทำ�ลายนี้ การตรวจสอบโดยใช้สายตา (Visual Inspection) เป็นการตรวจสอบ
แบบไม่ทำ�ลายที่สะดวก รวดเร็ว และประหยัดที่สุด ดังนั้นหากสามารถตัดสินผลของการตรวจสอบ
โดยใช้สายตาได้แล้ว ก็ไม่จำ�เป็นที่จะต้องใช้การตรวจสอบโดยวิธีอื่นอีก แต่อย่างไรก็ตาม ความ
ไม่ต่อเนื่องอาจเกิดในตำ�แหน่งหรือขนาดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จึงได้มีการพัฒนา
วิธีการตรวจสอบแบบไม่ทำ�ลายวิธีต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อช่วยให้สามารถตรวจสอบความไม่ต่อเนื่อง
ดังกล่าวนั้นได้
ความสำ�คัญของการตรวจสอบแบบไม่ทำ�ลาย
ในการออกแบบชิ้ น งานทางด้ า นวิ ศ วกรรม นอกจากต้ อ งออกแบบองค์ ป ระกอบของ
การทำ�งานของชิ้นงานนั้นแล้ว ยังต้องออกแบบให้มีความแข็งแรงและอายุการใช้งานเหมาะสมตาม
ความต้องการของการใช้งานชิ้นงานนั้น ความเสียหายของชิ้นงานก่อนเวลาอันสมควรไม่ควร
เกิดขึ้นจากการใช้งานตามปกติ แต่ในกรณีที่ชิ้นงานนั้นมีความไม่ต่อเนื่องเกิดขึ้น ความไม่
ต่อเนื่องนี้ทำ�ให้ความแข็งแรงของชิ้นงานต่ำ�กว่าที่ได้ออกแบบไว้ ซึ่งก็มีวิธีการแก้ไขโดยการ
ใช้ตัวประกอบความปลอดภัย (Safety Factor) ที่สูงขึ้น เพื่อชดเชยไว้หากเกิดความไม่ต่อเนื่อง
ดั ง กล่ า ว วิ ธี ก ารนี้ มี ข้ อ เสี ย คื อ ชิ้ น งานต้ อ งมี ข นาดใหญ่ ขึ้ น จึ ง สิ้ น เปลื อ งวั ส ดุ แ ละทำ � ให้ ต้ น ทุ น
การผลิตสูงขึ้นตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้ การตรวจสอบแบบไม่ทำ�ลายจึงเข้ามามีบทบาทสำ�คัญ
ในการค้ น หาความไม่ ต่ อ เนื่ อ งก่ อ นการนำ � ไปใช้ ง าน ดั ง นั้ น จึ ง สามารถลดตั ว ประกอบความ
ปลอดภัยในส่วนเผื่อของการเกิดความไม่ต่อเนื่องลงได้
วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบแบบไม่ทำ�ลาย
1. เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์และโครงสร้างต่าง ๆ นั้น จะต้องมี
ความปลอดภัยในขณะที่ใช้งาน ถ้าไม่มีรอยบกพร่องอยู่ก็จะมีความแข็งแรงทางกลเท่าเทียม
กับวัสดุที่ไม่มีรอยบกพร่อง ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วการที่จะให้มีวัสดุที่ไม่มีรอยบกพร่องเลย
ย่อมเป็นไปไม่ได้ ทำ�นองเดียวกันวิธีการผลิตที่จะไม่ก่อให้เกิดรอยบกพร่องเลยก็เป็นไปไม่ได้
ดังนั้น ที่ตัวชิ้นส่วนหรือบริเวณรอยเชื่อมนั้นมีรอยบกพร่องอยู่เท่าใดจะประเมินได้
โดยการตรวจสอบอุปกรณ์หรือโครงสร้างจริงที่จะใช้งาน แล้วตัดสินว่ารอยบกพร่องที่มีนั้นมีความ
ปลอดภัยเพียงพอและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการใช้งานหรือไม่ ข้อมูลที่จะใช้ในการตัดสินใจ
ดังกล่าวจะได้จากการทดสอบโดยไม่ทำ�ลาย
โดยการใช้วิธีการทดสอบแบบไม่ทำ�ลายอย่างเหมาะสม จะสามารถตรวจสอบให้แน่ใจ
ถึงความปลอดภัยและเพิ่มความเชื่อมั่นขึ้นได้ ซึ่งก็เป็นวัตถุประสงค์ที่สำ�คัญประการหนึ่งของการ
ตรวจสอบแบบไม่ทำ�ลาย

art 11.indd 211 16/2/2558 14:14:42


212

2. เพื่อการปรับปรุงเทคนิคการผลิต เช่น เพื่อกำ�หนดวิธีการเชื่อมที่เหมาะสม จะทำ�


การวางแผนการเชื่อมต่าง ๆ แล้วสร้างแผ่นทดสอบโดยเชื่อมตามแผนที่วางไว้ จากนั้นก็ทำ�
การทดสอบโดยไม่ทำ�ลายโดยวิธีการต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่การทดสอบด้วยรังสีจากผลการทดสอบ
ก็ จ ะนำ � มาแก้ ไขปรั บ ปรุ ง วิ ธี ก ารเชื่ อ ม แล้ ว ตั ด สิ น ใจเลื อ กวิ ธี ก ารเชื่ อ มที่ จ ะได้ ร อยเชื่ อ มที่ มี
คุ ณ ภาพตามต้ อ งการ ซึ่ ง วิ ธี ก ารทดสอบโดยไม่ ทำ � ลายนั้ น มี ส่ ว นช่ ว ยในการปรั บ ปรุ ง เทคนิ ค
ในการเชื่อมได้
ปัจจุบันนี้ การทดสอบแบบไม่ทำ�ลายได้มีส่วนช่วยในการปรับปรุงเทคนิคการผลิต
ต่าง ๆ เป็นอย่างมาก เริ่มจากเทคนิคในการเชื่อมเป็นประการแรก ต่อไปในอนาคตการทดสอบ
แบบไม่ทำ�ลายจะยิ่งมีบทบาทสำ�คัญ โดยมีส่วนในการช่วยพัฒนาปรับปรุงเทคนิคการผลิตต่าง ๆ
มากยิ่งขึ้น
3. เพื่อลดต้นทุนการผลิต ในการทำ�การทดสอบแบบไม่ทำ�ลายนั้น จะเพิ่มค่าใช้จ่าย
ในการทดสอบขึ้น และอาจคิดว่าค่าใช้จ่ายในการผลิตจะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าทำ�การทดสอบแบบไม่ทำ�ลาย
ในระหว่างกระบวนการผลิตอย่างเคร่งครัด จะทำ�ให้ไม่มีการส่งผ่านผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเสียไป
ยังกระบวนการต่อไปโดยไม่รู้ล่วงหน้า ลดการสูญเสียในขั้นตอนต่อ ๆ ไปได้ ซึ่งทำ�ให้สามารถลด
ต้นทุนการผลิตโดยรวมลงไป
การตรวจสอบแบบไม่ทำ�ลายมีหลายวิธี มีรายละเอียดดังนี้
1. การทดสอบด้วยรังสี (Radiographic Test) ใช้เพื่อตรวจหารอยบกพร่องหรือ
ตำ�หนิในชิ้นงาน เช่น โพรงหรือฟองอากาศ การฝังตัวของขี้ลวดเชื่อม (Slag-inclusion) การซึม
ลึกไม่เพียงพอของงานเชื่อม  
1) การทดสอบด้วยรังสีโดยใช้เครื่อง X-ray เหมาะกับชิ้นงานที่ต้องการภาพถ่ายที่มี
ความคมชัด รวมถึงความไวในการตรวจสอบสูงและมีความปลอดภัยสูงสุด
2) การทดสอบด้วยรังสีโดยใช้สาร Selenium 75 (Se-75) คุณภาพของภาพถ่าย
จะใกล้เคียงคุณภาพของภาพที่ได้จาก X-ray แต่เครื่องมีขนาดและน้ำ�หนักน้อยกว่าและเคลื่อน
ย้ายสะดวก   เหมาะกับงานในที่คับแคบ งานที่สูง หรือพื้นที่ทำ�งานที่การใช้สารรังสีมีผลต่อระบบ
ควบคุมอัตโนมัติ
3) การทดสอบด้วยรังสีโดยใช้สาร Iridium 192 (Ir 192) รังสีมีอำ�นาจทะลุทะลวง
สูง เหมาะกับชิ้นงานที่มีความหนาเทียบเท่าเหล็ก 6 มม. ขึ้นไป
2. การทดสอบด้วยคลื่นความถี่สูง (Ultrasonic Test) เป็นการตรวจสอบด้วยคลื่น
ความถี่ ใช้ตรวจสอบชิ้นงานที่ต้องการตรวจสอบดูการชำ�รุดภายในรอยแตกร้าว การพรุน การผุ
กร่อน การมีสารมลทินแปลกปลอมแทรกอยู่ โดยการปล่อยคลื่นเข้าไปทางปลายข้างหนึ่งของชิ้น
ตรวจสอบ เมื่อคลื่นเดินทางไปกระทบจุดขว้างจะสะท้อนกลับ

art 11.indd 212 16/2/2558 14:14:42


หน่วยที่ 11 การตรวจสอบวัสดุเบื้องต้น 213

1) การหาความหนาของวั ส ดุ โ ดยใช้ ค ลื่ น ความถี่ สู ง (Ultrasonic Thickness


Measurement) ใช้หาความหนาที่เหลืออยู่ภายหลังการใช้งานของภาชนะบรรจุแรงดัน เช่น ถัง
LPG NGV ถังบรรจุสารเคมี เนื่องจาก ถังหรืออุปกรณ์ดังกล่าวเมื่อใช้ไปนานๆ หรือถูกสารเคมี
ที่กัดกร่อนสูงจะบางลงจนไม่สามารถรับแรงหรือภาระต่าง ๆ ตามที่ได้ออกแบบไว้ ณ ตอนเริ่ม
สร้างได้
2) การหาความสมบู ร ณ์ ข องโลหะโดยคลื่ น ความถี่ สู ง   (Ultrasonic Flaw
Detector) เป็นการใช้คลื่นความถี่สูงในการตรวจความสมบูรณ์ของเนื้อโลหะภายหลังการขึ้นรูป
ด้วยการเชื่อม (Welding) การหล่อ (Casting, Foundry) ของถังและเครื่องจักรอุปกรณ์ สามารถ
ตรวจหาตำ�หนิที่มีลักษณะระนาบ (Planar Defect) เช่น การหลอมละลายไม่สมบูรณ์และรอยร้าว
ได้ดี
3. การทดสอบด้วยสนามแม่เหล็ก (Magnetic Particle Test) เป็นการหารอยร้าว
บนพื้นผิวของวัสดุที่เป็นโลหะประเภทเหล็ก โดยอาศัยการเหนี่ยวนำ�จากไฟฟ้ากระแสตรง (DC
Current) หรือไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Current) บริเวณที่จะทดสอบให้เป็นแม่เหล็ก และทำ�การ
โรยผงเหล็กย้อมสีขนาดเล็กลงบนบริเวณที่ทดสอบ หากมีรอยแตกร้าวขนาดเล็กบนผิวชิ้นงาน
จะมีสนามแม่เหล็กรั่วในบริเวณดังกล่าวและดึงดูดผงเหล็กให้เกาะกันเป็นแนว เส้นที่เห็นได้อย่าง
เด่นชัด โดยมีแบบที่เห็นด้วยตาเปล่าและแบบที่ใช้แสง Black Light
   4. การทดสอบด้วยสารแทรกซึม (Penetrant Test) เป็นการหารอยแตกร้าวบน
พื้นผิวทุกชนิดที่ผิวหน้าเรียบ ไม่เป็นรูพรุน เหมาะกับการตรวจรอยแตกร้าวของภาชนะแรงดัน
หรือสารเคมีที่ไม่ได้ทำ�จากเหล็กคาร์บอน (Ferrous Steel) เช่น ถังสเตนเลส การทดสอบ
อาศัยหลักการ ทาหรือพ่นของเหลวย้อมสีที่มีคุณสมบัติแทรกซึมเข้าไปในรอยร้าวหรือรูเล็ก ๆ ได้ดี
จากนั้นจะใช้สารเคมีหรือน้ำ�ยาที่มีคุณลักษณะคล้ายกระดาษซับ โรยบริเวณที่จะทำ�การการทดสอบ
หากมีรอยแตกร้าวจะเกิดเป็นเส้นหรือแนวให้เห็นอย่างเด่นชัด 
  5. การทดสอบหาส่วนผสมทางเคมี (Positive Material Identification Test) เป็น
การตรวจสอบเพื่อบอกชนิดส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Composition) ของวัสดุ
6. การทดสอบหารอยรั่วในวัสดุเคลือบผิว (Holiday Detector/Pinhole Test)
เป็นการตอบสอบเพื่อหารอยรั่วหรือความไม่สมบูรณ์ของการทาสี เคลือบผิวเทป (Coating) ฯลฯ
บนชิ้นงาน ซึ่งอาจเป็นผลทำ�ให้น้ำ�และความชื้นซึมผ่านผิวเคลือบนั้นและเกิดสนิมได้
   7. การทดสอบหาค่าความแข็ง (Hardness Test) เป็นการทดสอบความแข็งของ
โลหะภายหลังการแปรรูปเพื่อประเมินสภาพการใช้งานของชิ้นงาน
8. การทดสอบด้ ว ยวิ ธี สุ ญ ญากาศ (Vacuum Test) เป็ น วิ ธี ก ารทดสอบหาจุ ด
รั่วซึมของพื้นผิว สามารถทดสอบหาการรั่วซึมได้ทั้งพื้นถังและหลังคาถังเก็บผลิตภัณฑ์ (Storage
Tank)

art 11.indd 213 16/2/2558 14:14:42


214

9. การทดสอบหาค่าความเป็นแม่เหล็ก (Magnetic Field and Permeability


Measurements) เป็นวิธีการตรวจสอบที่ใช้ได้กับวัสดุที่สามารถทำ�ให้เกิดอำ�นาจแม่เหล็กได้
เท่านั้น เมื่อสร้างสนามแม่เหล็กให้กับชิ้นงานพบว่าบริเวณที่มีความไม่ต่อเนื่องจะเกิดการรั่ว
ของเส้นแรงแม่เหล็ก จึงสามารถดูดผงแม่เหล็กขนาดเล็กให้เข้ามารวมตัวกันในบริเวณที่มีความ
ไม่ต่อเนื่อง ทำ�ให้สามารถตรวจสอบความไม่ต่อเนื่องได้ 
10. การตรวจสอบโดยใช้ ภ าพถ่ า ยรั ง สี (Radiographic Test, RT) เป็ น การ
ตรวจสอบหารอยบกพร่องภายในชิ้นงานจากภาพถ่ายรังสี โดยใช้รังสีผ่านชิ้นงานไปยังฟิล์มที่อยู่
อีกด้านหนึ่งของชิ้นงาน จากการที่ชิ้นงานสามารถดูดซับรังสีได้แตกต่างกันตามความหนาของ
ชิ้นงาน การที่มีความไม่ต่อเนื่องอยู่ในชิ้นงานเปรียบเสมือนชิ้นงานบางกว่าบริเวณรอบข้าง จึงเกิด
ความแตกต่างของความเข้มของฟิล์ม ทำ�ให้สามารถตรวจสอบความไม่ต่อเนื่องในชิ้นงานได้
หลักการในการตรวจสอบโดยใช้ภาพถ่ายรังสี
แหล่งกำ�เนิดรังสี

ปริมาณของรังสี-ความหนาแน่นของวัตถุ
ชิ้นงาน

ฟิล์ม ฟิล์ม

ฟองอากาศ

ลักษณะรอยบกพร่องที่ถูกตรวจพบ
บันทึกไม่สมบูรณ์

รูปที่ 11.3 การตรวจสอบโดยใช้ภาพถ่ายรังสี


11. การวัดความหนาแบบต่อเนื่องของท่อ (Thickness Profile Measurement)
เป็นเครื่องมือสำ�หรับตรวจวัดความหนาแบบต่อเนื่องของอุปกรณ์ท่อทั้งชนิด Ferrous Metal
และ Non-ferrous Metal โดยใช้หลักการคลื่นเสียงแสดงผลในการตรวจสอบเป็นภาพแผ่นคลี่
(C-Scan) ของท่อได้ทันทีในขณะตรวจสอบ และใช้สีแสดงระดับความหนาหรือแสดงผลเป็น
ตัวเลขได้ นอกจากนั้นยังสามารถระบุจุดที่ต้องการวัดความหนาได้
12. การตรวจสอบสภาพผนังท่อโดยใช้ Bore Scope/Video Scope 
13. การตรวจวัดอุณหภูมิโดยภาพถ่ายรังสีอินฟราเรด (Infrared Thermal Image
Camera) ในการตรวจสอบวั ส ดุ แ ต่ ล ะครั้ ง เป็ น การตรวจสอบหาความบกพร่ อ งของชิ้ น งาน
หรือคุณสมบัติของชิ้นงานอย่างไม่สามารถระบุค่าได้ ผู้ทำ�การตรวจสอบจะต้องมีความรู้ ทักษะ
ประสบการณ์ ตลอดจนการตัดสินใจว่า วัสดุที่นำ�มาใช้หรือที่ผลิตมีคุณสมบัติตามต้องการหรือไม่

art 11.indd 214 16/2/2558 14:14:42


หน่วยที่ 11 การตรวจสอบวัสดุเบื้องต้น 215

คำ�ศัพท์ท้ายหน่วยที่ 11
คำ�ศัพท์ ความหมาย
เป็นรูปแบบหนึ่งของการทดสอบเพื่อใช้หาความสัมพันธ์ระหว่างความเค้น
Tensile Testing กับความเครียดที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถหาค่าสมบัติ
ทางกลหลายค่าที่จำ�เป็นต่อการออกแบบทางกล
ความตานทานตอแรงกด การขัดสีและการกลึงของวัสดุ ดังนั้น การทดสอบ
ความแข็งจึงสามารถทําไดหลายวิธี แตในเชิงโลหะวิทยา การวัดความแข็ง
Hardness Test
จะเปนการทดสอบความสามารถของโลหะในการตานทานตอการแปรรูป
ถาวร เมื่อถูกแรงกดจากหัวกดกระทําลงบนชิ้นงานทดสอบ
Impact Testing การทดสอบเพื่อศึกษาความสามารถในการรับแรงกระแทกของวัสดุ
วัสดุส่วนใหญ่เมื่ออยู่ภายใต้แรงที่มากระทำ�  แม้ว่าจะต่ำ�กว่าพิกัดยืดหยุ่น
Creep หากทิ้งไว้นาน ๆ แล้ว  ก็อาจเกิดการเปลี่ยนรูปอย่างถาวรหรือแบบพลาสติก
ได้  ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่ใช้
เกิดจาการรวมตัวของสารที่ไม่ใช่โลหะฝังอยู่ในแนวเชื่อมหรือระหว่างแนว
เชื่อม กับโลหะชิ้นงาน จะพบได้ในงานเชื่อมไฟฟ้า อันเป็นผลมาจากความ
Slag-Inclusion
ผิดพลาดทางด้านเทคนิคการเชื่อม หรือการออกแบบที่ไม่ถูกต้องหรือชิ้น
งานสกปรก
การหารอยตำ�หนิภายในวัสดุ โดยใช้สารกัมมันตรังสีและใช้แผ่นฟิล์ม บันทึก
Radiographic Test
ข้อมูล ตัวอย่างงานที่ใช้วิธีการนี้ ได้แก่ งานท่อแก๊ส งานถังสเฟียร์ งานท่อ
การใช้ ค ลื่ น ความถี่ สู ง ตรวจสอบความสมบู ร ณ์ ข องเนื้ อ โลหะภายหลั ง
การขึ้นรูปด้วยการเชื่อม (Welding)  และการหล่อ (Casting, Foundry)
Ultrasonic Test
ของวัสดุสามารถตรวจหาตำ � หนิ ที่มี ลั ก ษณะระนาบ (Planar Defect)
เช่น การหลอมละลายไม่สมบูรณ์, รอยร้าวของฟองอากาศได้ดี
วิ ธี ก ารทดสอบโดยใช้ ผ งแม่ เ หล็ ก และขบวนการเหนี่ ย วนำ � ให้ เ กิ ด สนาม
แม่เหล็ก ซึ่งใช้ตรวจสอบเป็นการหารอยร้าวบนพื้นผิวของวัสดุที่เป็นโลหะ
Magnetic Particle Test
ประเภทเหล็ก  โดยอาศัยการเหนี่ยวนำ�บริเวณที่จะทดสอบให้เป็นแม่เหล็ก
 และทำ�การโรยผงเหล็กย้อมสีขนาดเล็กลงบนบริเวณที่ทดสอบ 
กระแสตรงเป็นกระแสไฟฟ้าที่ไหลทิศทางเดียว โดยปกติแล้วกระแสไฟฟ้าจะ
Dc Current
ไหลจากจุดที่มีศักย์ไฟฟ้า สูงกว่าไปยังจุดที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำ�กว่า
กระแสไฟฟ้าที่ไหลกลับไปกลับมา เกิดจากแรงเคลื่อนไฟฟ้าสลับ เมื่อเขียน
Ac Current
กราฟของกระแสไฟฟ้ากับเวลาจะได้รูปคลื่นของกระแสไฟฟ้า
Hardness Test เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและทดสอบค่าความแข็ง
การทดสอบด้วยภาพถ่ายรังสี วิธีการทดสอบโดยการฉายรังสี คือ การตรวจ
Radiographic Testing, Rt
หารอยตำ�หนิภายในวัสดุ โดยใช้สารกัมมันตรังสี และใช้แผ่นฟิล์มบันทึกข้อมูล

art 11.indd 215 16/2/2558 14:14:42


216

สรุปสาระการเรียนรู้หน่วยที่ 11

ก่อนที่จะเลือกวัสดุไปใช้งานในกรณีที่ไม่มีเอกสารหรือค่ากำ�หนดบ่งชี้ จำ�เป็นต้องมีการตรวจสอบ
คุณสมบัติของวัสดุด้วยวิธีพื้นฐานง่าย ๆ เช่น การดูสี ดูผิว น้ำ�หนัก การตรวจสอบบนโต๊ะงาน การขูด
การตะไบ การเจียระไน การใช้แม่เหล็กดูด รวมทั้งการตรวจสอบหาจุดบกพร่องรอยแตกร้าวด้วยวิธี
ต่ า ง ๆ เพื่ อ ให้ ส ามารถรู้ ช นิ ด และคุ ณ สมบั ติ พื้ น ฐานของวั ส ดุ นั้ น และสามารถนำ � ไปใช้ ง านได้ อ ย่ า ง
เหมาะสม

art 11.indd 216 16/2/2558 14:14:42


หน่วยที่ 11 การตรวจสอบวัสดุเบื้องต้น 217
แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 11

ตอนที่ 1 ให้เลือกคำ�ตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. เมื่ อ นำ � เหล็ ก ไปเจี ย ระไน ประกายไฟมี สี ข าวเหลื อ งและประกายแตกน้ อ ย แสดงว่ า เป็ น
เหล็กอะไร
ก. เหล็กรอบสูง ข. เหล็กเครื่องมือ
ค. เหล็กกล้าแมงกานีส ง. เหล็กกล้าผสมสูง
2. การตรวจสอบแบบเส้นแรงแม่เหล็ก ไม่สามารถหาคุณสมบัติด้านใด
ก. รอยแตก ข. รอยตำ�หนิ
ค. ความแข็ง ง. จุดยุบของวัสดุ
3. การตรวจสอบแบบจุ่มสารเคมี สามารถตรวจสอบคุณสมบัติด้านใด
ก. ความแข็ง ข. ส่วนผสมทางเคมี
ค. จุดชำ�รุดบนผิวงาน ง. ความเหนียว
4. วิธีใดเป็นการตรวจสอบวัสดุเพื่อหาส่วนผสมทางเคมี
ก. แบบเผา ข. แบบเจียระไน
ค. แบบขูด ง. แบบคลื่นความถี่
5. การตรวจสอบวัสดุเบื้องต้นมีกี่ชนิด
ก. 2 ชนิด ข. 3 ชนิด
ค. 4 ชนิด ง. 5 ชนิด
6. การตรวจสอบแบบเส้นแรงแม่เหล็ก ไม่สามารถหาคุณสมบัติด้านใด
ก. รอยแตก ข. รอยตำ�หนิ
ค. ความแข็ง ง. จุดยุบของวัสดุ
7. การตรวจสอบแบบจุ่มสารเคมี สามารถตรวจสอบคุณสมบัติด้านใด
ก. ความแข็ง ข. ส่วนผสมทางเคมี
ค. จุดชำ�รุดบนผิวงาน ง. ความเหนียว
8. การทดสอบด้วยสารแทรกซึมนิยมใช้กับวัสดุใด
ก. เหล็ก ข. การทาสี
ค. ท่ออะลูมิเนียม ง. ถังสเตนเลส
9. วิธีใดเป็นการตรวจสอบวัสดุเพื่อหาความแข็ง
ก. แบบเอ็กซ์เรย์ ข. แบบสังเกต
ค. แบบการตะไบ ง. แบบจุ่มสารเคมี
10. การตรวจสอบแบบเส้นแรงสนามแม่เหล็ก นิยมตรวจสอบกับวัดสุใด
ก. ทองแดง ข. เหล็ก
ค. อะลูมิเนียม ง. สังกะสี

art 11.indd 217 16/2/2558 14:14:42


218

ตอนที่ 2 ตอบคำ�ถามต่อไปนี้
1. การตรวจสอบของวัสดุ แบ่งออกได้กี่ประเภทอะไรบ้าง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
2. การตรวจสอบวัสดุแบบทำ�ลาย หมายถึง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
3. การตรวจสอบวัสดุแบบไม่ทำ�ลาย หมายถึง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
4. การตรวจสอบด้วยตะไบ อาจประมาณความแข็งของวัสดุงานโดยอาศัย
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
5. ค่าความแข็งของตะไบ มีค่าความแข็งอยู่ประมาณ ................................... HRC
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
6. การตรวจสอบโดยการเจียระไน นิยมเจียระไนเพื่อดูสิ่งใดบ้าง
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
7. การตรวจสอบด้วยการขูด เป็นการตรวจสอบเพื่อหาคุณสมบัติด้านใด
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
8. การตรวจสอบวัสดุแบบไม่ทำ�ลายที่มีการลงทุนต่ำ� คือการตรวจสอบของวัสดุแบบ
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................

art 11.indd 218 16/2/2558 14:14:42


หน่วยที่ 11 การตรวจสอบวัสดุเบื้องต้น 219

9. การตรวจสอบด้วยการเอกซเรย์ สามารถตรวจสอบวัสดุเพื่อหาสิ่งใด
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................
10. การตรวจสอบแบบเส้นแรงสนามแม่เหล็ก เหมาะสำ�หรับใช้ตรวจสอบเพื่อหาสิ่งใด
.......................................................................................................................................
.......................................................................................................................................

กิจกรรมการเรียนรู้หน่วยที่ 11

1 ผู้สอนกล่าวทักทายผู้เรียน พร้อมเช็กชื่อผู้เรียน
2. ผู้สอนแจกหนังสือเรียนและบทเรียนโมดูล ให้ผู้เรียนจัดกลุ่ม 3 คน ศึกษาร่วมกัน
พร้อมกับทำ�แบบทดสอบ
3. ผู้สอนอธิบายความหมายและชนิดของการตรวจสอบวัสดุ
4. ผูู้สอนอธิบายการตรวจสอบวัสดุแบบทำ�ลายและไม่ทำ�ลาย
5. ผู้สอนมอบหมายงานให้ผู้เรียนปฏิบัติงาน ตามหลักการ วิธีการ และกิจนิสัยที่ดี
ในการปฏิบัติงานโดยให้ผู้เรียนทำ�แบบฝึกหัดทบทวนหรือใบงานภายในห้องเรียน
สามารถเปิดหนังสือควบคู่ในการตอบคำ�ถามได้
6. ผู้เรียนปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายโดยใช้ใบความรู้หรือเอกสารประกอบการเรียน
อย่างคุ้มค่า เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน และปฏิบัติงานด้วยความ
ซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมั่น ใช้เหตุผล และสติปัญญา

art 11.indd 219 16/2/2558 14:14:42


220 บรรณานุกรม

บรรณานุกรม
คะนึง คำ�พุฒ. วัสดุช่าง. สมุทรปราการ: บริษัทศูนย์บริการศึกษาภัณฑ์, ม.ป.ป.
ชาญวุฒิ ตั้งจิตวิทยา. วัสดุในงานวิศวกรรม. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2541.
ดอกธูป พุทธมงคง. วัสดุช่าง. กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์พิทักษ์อักษร, 2532.
ทวี อิ่มพิทักษ์. วัสดุช่างอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ, ม.ป.ป.
เทพนารินทร์ ประพันธ์พัฒน์. วัสดุอุตสาหกรรม. ปทุมธานี : สกายบุ๊กส์, 2545.
นริศ สุวรรณางกูร. วัสดุช่างอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: เอมพันธ์, 2550.
บรรเลง ศรนิล. ตารางงานโลหะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขต
พระนครเหนือ, ม.ป.ป.
บุญธรรม ภัทราจารุกุล. วัสดุช่าง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2542.
ประกอบ บุญยงค์. โลหะวิทยาประยุกต์. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล, 2537.
ประยูร ทองเกาะ. วัสดุช่างอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ, 2546.
ประยูร ทองเกาะ และคณะ. วัสดุช่างอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, 2549.
ประเวช มณีกุต. วัสดุช่างอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์จิตรวัฒน์, 2541.
ประเสริฐ ก๊วยสมบูรณ์. วัสดุช่าง 1. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ม.ป.ป.
ฝ่ายวิชาการบริษัทสกายบุ๊กส์. วัสดุช่าง. กรุงเทพฯ: สกายบุ๊กส์, 2544.
พงศ์วิทย์ วุฒิวิริยะ. วัสดุช่างอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ, 2545.
พิชิต เลี่ยมพิพัฒน์. พลาสติกวิศวกรรม. กรุงเทพฯ: พาณิชพระนคร (2535), 2538.
ไพฑูรย์ สังข์สวัสดิ์. วัสดุช่างอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: เทคโนโลยีการศึกษา, 2546.
มนตรี บุญชู. วัสดุช่าง (ชพ. 103), กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศรีสยาม, 2527.
มานพ ตันตระบัณฑิตย์. ช่างอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี, 2548.
___________. วัสดุช่างอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: พิมพ์ที่บริษัทประชาชนจำ�กัด, 2537.
วันชัย จันทรวงศ์. วัสดุช่าง 1-2. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ม.ป.ป.
ศิริพร ขอพรกลาง. วัสดุช่างอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: เอ็ม เอ็ดดูเคชั่น, ม.ป.ป.
ศุภกาญจน์ คำ�มณี. การกัดกร่อนของโลหะ. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ, 2543.
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ. การ์ตูนวัสดุ, กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือ สวทช., 2544.
___________. เทคโนโลยีวัสดุ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือ สวทช., ม.ป.ป.
สุภาพ เพิงมาก. เทคนิคงานโลหะ. กรุงเทพฯ: เอ็มแอนด์อีจำ�กัด, 2539.
อรรจน์ ประภาพิทยากร. ที่สุดของวัสดุ. กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์โอเดียนสโตร์ 2531.
อำ�พล ซื่อตรง. วัสดุช่างอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, 2545.

art bana.indd 220 16/2/2558 14:15:30

You might also like