You are on page 1of 10

การแก้อสมการ : เพิ่มพูนประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ทาง Moodle

หน้าที่ 1

 การแก้อสมการ
อสมการ (Inequality) คือ ประโยคสัญลักษณ์ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของจํานวน โดยมีสัญลักษณ์
< (น้อยกว่า) > (มากกว่า) ≤ (น้อยกว่าหรือเท่ากับ) ≥ (มากกว่าหรือเท่ากับ) ≠ (ไม่เท่ากับ) บอก
ความสัมพันธ์ระหว่างจํานวน
เซตคําตอบของอสมการใน x หมายถึง เซตที่มีสมาชิกเป็นจํานวนจริง โดยที่จํานวนเหล่านี้เมื่อนํามา
แทน x แล้ว ทําให้อสมการเป็นจริง
การแก้ อ สมการ คื อ การหาเซตคํ า ตอบของอสมการ การแก้ อ สมการจึ ง นิ ย มใช้ ส มบั ติ 2 ข้ อ
ดังต่อไปนี้
1. การบวกทั้งสองข้างของอสมการด้วยจํานวนจริง
2. การคูณทั้งสองข้างของอสมการด้วยจํานวนจริงบวก
ถ้าจะใช้สมบัติอื่นต้องระมัดระวังให้ดี เป็นต้นว่าการคูณทั้งสองข้างของอสมการด้วยจํานวนจริงลบ
การกลับตัวเศษเป็นตัวส่วน การยกกําลังสองทั้งสองข้าง ต้องระมัดระวังการเปลี่ยนเครื่องหมายของการไม่
เท่ากัน

♠ อสมการเชิงเส้น
ตัวอย่าง จงแก้อสมการ 9x –2 < - 20
วิธีทํา 9x –2 < - 20
(นํา 2 มาบวกทั้งสองข้าง); 9x –2 + 2 < - 20 + 2
9x < - 18
1 9x 18
(นํา คูณกันทั้งสองข้าง) ; < −
9 9 9
∴ x < -2
ดังนั้น ค่าของ x ที่สอดคล้องอสมการที่กําหนดเป็นจํานวนจริงที่น้อยกว่า -2
เซตคําตอบของอสมการ คือ {x|x < -2}

♠ อสมการกําลังสองและมากกว่าสอง
เรามีวิธีการในการแก้อสมการ คือ เราจะจัดให้พจน์ทั้งหมดที่ไม่เป็นศูนย์อยู่ทางซ้ายของอสมการ ให้
ทางขวาเป็นศูนย์ (ให้สอดคล้องกับสมบัติการไม่เท่ากัน) แล้วพิจารณาว่าแยกตัวประกอบได้หรือไม่ ถ้า
แยกตัวประกอบได้ ให้พิจารณาเครื่องหมายของแต่ละพจน์ ขอให้ลองพิจารณาตามตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่าง จงแก้อสมการ x2 – 20 < x


จัดนิพจน์ให้อยู่ข้างเดียวกัน จะได้ x2 – x - 20 < 0
แยกตัวประกอบพหุนาม จะได้ (x + 4)(x – 5) <0
จากตัวประกอบที่แยกได้ เราต้องพิจารณาหาค่า x ที่ทําให้สอดคล้องตามอสมการ คือ
เครื่องหมายของวงเล็บ (x + 4) และ (x – 5) ต้องมีเครื่องหมายต่างกัน
การแก้อสมการ : เพิ่มพูนประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ทาง Moodle
หน้าที่ 2
การพิจารณาเครื่องหมายแต่ละพจน์
ในการตรวจสอบแต่ ล ะตัว ประกอบว่า ค่ า นั้น จะเป็น บวก หรื อ ลบ หรื อ ศูนย์ เมื่ อ ใด จุ ดที่ แ ต่ ล ะตั ว
ประกอบเป็นศูนย์ เรียกว่า จุดวิกฤต (Critical Point) และเรียกค่านี้ว่า ค่าวิกฤต (critical value)
เริ่มต้นนี้ เราจะวิเคราะห์เครื่องหมายของวงเล็บ (x + 4) ก่อน
ค่าวิกฤต x + 4 จะเป็นบวกเมื่อ x + 4 จะเป็นลบเมื่อ
x+4=0 x+4>0 x+4<0
x=4 x > -4 x < -4
นําค่าวิกฤตมาลงในเส้นจํานวน
- +
-4
จึงสรุปได้ว่า x +4 จะเป็นบวกเมื่อ x มากกว่า -4
จะเป็นลบเมื่อ x น้อยกว่า -4
จะเป็นศูนย์เมื่อ x เท่ากับ - 4
ในทํานองเดียวกัน พิจารณาเครื่องหมายของ (x – 5)
ค่าวิกฤต x – 5 จะเป็นบวกเมื่อ x – 5 จะเป็นลบเมื่อ
x-5=0 x– 5 > 0 x–5 <0
x=5 x>5 x <5
นําค่าวิกฤตมาลงในเส้นจํานวน
- +
5
จึงสรุปได้ว่า x -5 จะเป็นบวก เมื่อ x มากกว่า 5
จะเป็นลบ เมื่อ x น้อยกว่า 5
จะเป็นศูนย์เมื่อ x เท่ากับ 5
เนื่องจากสองวงเล็บนี้ต่างแสดงเครื่องหมายและคูณกัน ดังนั้น เราจึงนํามาพิจารณาร่วมกันเมื่อนํามา
คูณกันแล้ว
เครื่องหมายของ x + 4 - + +
เครื่องหมายของ x – 5 - - +
เครื่องหมายของ (x + 4)(x – 5) + - +
-4 5
สังเกตว่า เครื่องหมายของสองวงเล็บคูณกัน เครื่องหมายจะเปลี่ยนไป เมื่อพิจารณาจากอสมการ เรา
จะพบว่า อสมการน้อยกว่าศูนย์ แสดงว่าอสมการนี้แสดงค่าลบ ดังนั้น เราจึงตอบค่าช่วงเปิด คือ (-4, 5)
เขียนกราฟแสดงคําตอบได้เป็น

-4 5

ข้อสังเกตที่ต้องนํามาปฏิบัติได้
- กรณีที่อสมการ เป็นเครื่องหมายที่ มากกว่าหรือเท่ากับ ให้เราตอบในช่วงปิด เพราะว่าเรารวมค่าที่มี
โอกาสจะเป็นศูนย์ด้วย
การแก้อสมการ : เพิ่มพูนประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ทาง Moodle
หน้าที่ 3
วิธีของช่วง (The Method of Intervals)
Consider the sign of the expression f(x) = (x -a1)(x -a2) ... (x -an) where a1 < a2 < ... < an.

On the real number line, mark points a1, a2, ..., a n. Start with a positive sign for x > an; -ve for
an -1 < x < an; and then alternating +ve and -ve signs. The logic is that when x> an; all factors x
-a1, x -a2, ..., x -a n are +ve and hence f(x) is +ve; when an-1 < x < an, only one factor x -an is
-ve, and so f(x) is -ve, and so on.

จากวิธขี องช่วง สรุปได้ดังต่อไปนี้


1. หาจุด x ที่ทําให้ (x – a1)(x – a2)(x – a3)…(x – an) = 0 จะได้ x = a1, a2, a3, …, an
2. นําค่า a1, a2, a3, …, an กําหนดลงบนเส้นจํานวน ซึ่งค่าเหล่านีจ้ ะแบ่งเส้นจํานวนเป็นช่วงๆ (ให้เรา
เรียงจากน้อยไปหามากบนเส้นจํานวน)
3. ใส่เครือ่ งหมาย + และ - สลับกัน โดยเริ่มที่บวกก่อนทางด้านช่องขวาสุด
4. เลือกช่วงทีม่ ีเครื่องหมายตามที่โจทย์ต้องการไปตอบ
ตัวอย่าง จงแก้อสมการ x2 – 2x – 3 ≤ 0
วิธีทํา แยกตัวประกอบ จะได้ (x -3)(x + 1) ≤ 0
จากวิธีของช่วง จะได้
+ - +
-1 3
ดังนั้น เซตคําตอบคือ [-1, 3]
ตัวอย่าง จงแก้อสมการ x(x + 2)(x + 1)(3x − 5) < 0
5
วิธีทํา สมการนี้ได้แยกตัวประกอบแล้ว ได้ค่าวิกฤตเป็น = - 1 , - 2 , 0 ,
3

+ - + - +
-2 -1 0 5
3
5
เซตคําตอบของอสมการคือ (−2 , -1 ) ∪ (0 , )
3

♠ อสมการตรรกยะ (Rational Inequalities)


อสมการอตรรกยะเป็นอสมการที่อยู่ในรูปเศษส่วนโดยมีพจน์ที่ไม่ทราบค่าว่าจะเป็นบวก หรือลบ หรือ
ศูนย์เมื่อใด ดังนั้น เราจะไม่ใช้วิธีการคูณทแยง แต่เราอาจแก้อสมการได้ 2 วิธี คือการใช้วิธีของช่วง คือเรา
ต้องให้ความสําคัญกับส่วนของเศษส่วน ให้นิพจน์ที่ไม่ทราบค่าไม่เป็นศูนย์ (ค่าวิกฤตต้องไม่ทําให้เป็นศูนย์)
และอีกวิธีคือ เราจะยกกําลังสองของพจน์เป็นส่วนแล้วคูณทั้งอสมการ (เพื่อทําให้มีการตัดทอนไปหนึ่งครั้ง
และมีค่าให้นํามาคิดหนึ่งครั้ง) แต่อย่าลืมตั้งเงื่อนไขไว้เบื้องต้นว่า ค่าวิกฤตนั้นต้องไม่เป็นศูนย์
การแก้อสมการ : เพิ่มพูนประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ทาง Moodle
หน้าที่ 4
1 1
ตัวอย่าง จงแก้อสมการ <
x 2
1 1
วิธีทํา จาก <
x 2
1 1
- < 0
x 2
2−x
< 0
2x
2−x 2
( )(2x ) < 0(2x2) เมื่อ x ≠ 0
2x
(2 – x)x < 0
-x(x – 2) < 0
x(x-1) >0
ใช้วิธีการของช่วง

+ - +
0 1
ดังนั้น เซตคําตอบของอสมการคือ (-∞, 0) ∪ (2, ∞)
ขอให้สังเกตว่า การใช้วิธีการของช่วงกับการคูณด้วยพจน์ที่ยกกําลังสองก็ให้ความหมายเท่ากัน
x 2
ตัวอย่าง จงแก้อสมการ ≥
x+2 x−1
วิธีทํา จากอสมการที่กําหนดให้ จะได้
x 2

x+2 x−1
x 2
− ≥0
x+2 x−1
x(x − 1) − 2(x + 2)
≥0
(x + 2)(x − 1)
x2 − x − 2x − 4
≥0
(x + 2)(x − 1)
x2 − 3x − 4
≥0
(x + 2)(x − 1)
(x + 1)(x − 4)
≥0
(x + 2)(x − 1)
จากวิธีการของช่วง จะได้ค่าวิกฤตเป็น -2, -1, 1, 4 (x + 2, x – 1 ต้องไม่เป็นศูนย์)
+ - + - +

-2 1 4

เซตคําตอบของอสมการคือ ( −∞, - 2 ) ∪ ⎡⎣−1 , 1) ∪ ⎡⎣4, − ∞ )


การแก้อสมการ : เพิ่มพูนประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ทาง Moodle
หน้าที่ 5
♠ อสมการอตรรกยะ (Irrational Inequalities)
เป็นอสมการที่นิพจน์ที่ไม่ทราบค่าอยู่ภายใต้เครื่องหมายกรณฑ์ เราสามารถหาเซตคําตอบได้โดยการ
ยกกําลังสองทั้งสองข้าง ให้เป็นจํานวนเต็มบวกหรือเต็มศูนย์ โดยอสมการใหม่ต้องสมมูลกับอสมการเก่า การ
ยกกําลังทั้งสองข้างของอสมการด้วยจํานวนเต็มบวกคี่ จะได้อสมการที่สมมูลกับอสมการขั้นต้น ถ้ายกกําลัง
สองทั้งสองข้างของอสมการด้วยจํานวนเต็มบวกคู่ จะได้อสมการซึ่งสมมูลกับอสมการขั้นต้นถ้าทั้งสองข้าง
มากกว่าหรือเท่ากับศูนย์ แต่ก่อนอื่นให้เราพิจารณาเงื่อนไขค่าที่อยู่ในกรณฑ์ให้มากว่าหรือเท่ากับศูนย์ และ
พิจารณาเพิ่มเติมถ้ากรณฑ์เป็นส่วน ส่วนต้องไม่เท่ากับศูนย์
2x − 1 1
ตัวอย่าง จงแก้อสมการ <
2 x −2
วิธีทํา ก่อนอื่นพิจารณาเงื่อนไขที่เป็นเทอมของตัวแปรทีอ่ ยู่ในกรณฑ์
2x − 1 ; 2x – 1 ≥0
1
x≥
2
x−2; x -2>0
x>2
จัดอสมการโดยอาจจะไม่ให้อยู่ในกรณฑ์ โดยการยกกําลังสองทั้งสองข้าง
2x − 1 1
<
2 x −2
2x − 1 1
<
2 x−2
จัดให้อยู่ข้างเดียวกัน จะได้
2x − 1 1
- < 0
2 x−2
(2x − 1)(x − 2) − 2
< 0 ;x≠2
2(x − 2)
2x2 − 5x
< 0
2(x − 2)
x(2x − 5)
< 0
2(x − 2)
5
จากวิธีของช่วง จะได้ค่าวิกฤตเป็น 0,2, ;x≠2
2
- + - +
0 2 5
2

Intersect กับเงื่อนไขแรก จึงได้ว่า


5
ดังนั้น เซตคําตอบคือ (2, )
2
การแก้อสมการ : เพิ่มพูนประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ทาง Moodle
หน้าที่ 6
ข้อควรทราบเกี่ยวกับการแก้อสมการ
- อสมการที่เป็นเลขยกกําลัง เช่น (x – a)2(x – b)3(x + c) > 0 กรณีที่เป็นกําลังคู่ ให้เราตัดการ
พิจารณาทิ้งได้เลยเพราะเสมือนว่า หารด้วยกําลังคู่ตลอด ยกเว้นกรณีที่มีตัวหาร ยังคงต้องนํามาพิจารณา
ไม่ให้ตัวหารเป็นศูนย์ หากว่ากรณีกําลังเป็นกําลังคี่ ก็ให้นํามาพิจารณาโดยลดทอนกําลังเป็นหนึ่งแล้ว
นํามาคิด และแก้อสมการต่อไป
- กรณีทีเป็นอสมการสองชั้น เช่น x < y < z ให้หาแยกกรณีก่อน แล้วนําแต่ละกรณีมา Intersect กัน

แบบฝึกหัด
จงแก้อสมการต่อไปนี้
1. 3x + 1 < 2x – 1
2. 4y + 7 > 2(y + 1)
3. 2(3x – 1) > 3(y – 1)
4. 4 – (3 – x) < 3x – (3 – 2x)
5. x2 – x – 6 ≤ 0
6. 2x2 + 7x + 3 ≥ 0
7. 6x – x2 ≥ 5
8. 2x < 3 – x2
9. x2 + 2x < 15
10. 3x2 + 2 ≥ 7x
11. x3 – 3x2 ≤ 10x
12. x3 – x2 – x + 1 ≥ 0
13. x3 – x > 2x2 – 2
14. x(x2 + 4) < 5x2
x2 + 12
15. >7
x
x2 + 6
16. ≤5
x
(x − 1)(x + 3)
17. −2 ≤ 0
x
2x − 3
18. >0
(x + 2)(x − 5)
6
19. >1
x−1
2x − 4
20. <1
x−1
6
21. ≤x+1
x−4
8
22. ≥x
x+2
การแก้อสมการ : เพิ่มพูนประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ทาง Moodle
หน้าที่ 7
5−x
23. <1
x2 − 3x + 2
x+6
24. <6
x(x + 1)
1 1
25. ≥
x+1 x+4
1 1
26. ≥
x+2 2x − 3
x 1
27. >
x+2 x
x+1 1
28. <
2x − 3 x−3
(x + 3x − 10)(x2 + x − 6)
2
29. ≥0
x2 + 2x − 15
(2x2 + x − 1)(3x2 − 5x)
30. ≤0
3x2 − 2x − 1
31. 0 ≤ x2 + 1 ≤ 5
2 3
32. ≤x≤
x −1 x−2
2x + 1
33. 1 ≤ ≤3
x−4
(1 − x)(1 + 2x)
34. >0
x+1
2x + 1
35. >0
(x − 4)2 (x − 3)3
x+3
36. ≤0
(x + 2)2 (x − 7)9
8x2 − 11x − 10
37. ≥0
(x + 4)(x2 − 2x − 63)
18 − 15x
38. 2 > x −6
x + 2x − 3
4 2
39. ≥
x−2 x+1
40. 2x2 + 7x + 3 < 7
41. −x(x2 + x − 2) < 2x
42. x2 − 8x + 12 > x − 4
การแก้อสมการ : เพิ่มพูนประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ทาง Moodle
หน้าที่ 8

 การแก้อสมการโดยอาศัยวงเล็บ
วงเล็บเปรียบเสมือนลูกกุญแจที่จะช่วยไขปัญหาในการแก้อสมการให้ง่ายขึ้น โดยมีหลักการคือ เราจะ
พิจารณาเครื่องหมายของวงเล็บว่าจะเป็นบวก เป็นลบ และเป็นศูนย์เมื่อใด
วงเล็บมี 3 ลักษณะ คือ
- วงเล็บที่มีโอกาสเป็นได้ทั้งบวก ลบ และศูนย์ เช่น x – 3, (x – 4)3, x3 – 8 ฯลฯ
- วงเล็บที่มีโอกาสเป็นได้ทั้งบวก และศูนย์ เช่น (x + 1)10, (x – 2)500 ฯลฯ
- วงเล็บที่มีโอการเป็นบวกเพียงอย่างเดียว เช่น 4x2 + 5, (3x – 2)4 + 8 ฯลฯ
เพื่อความเข้าใจ ขอให้ดูตัวอย่างต่อไปนี้
(2x − 3)(x2 + 1)
ตัวอย่างที่ 1 จงแก้อสมการ >0
(x6 + 8)
วิธีทํา เนื่องจากว่า x2 + 1 > 0 และ x6 + 8 > 0 อยู่แล้ว ไม่นํามาพิจารณา
ดังนั้น จะได้วา่ 2x – 3 > 0
3
x >
2
ดังนั้น เซตคําตอบคือ ⎜⎛ , ∞ ⎟⎞
3
⎝ 2 ⎠
ตัวอย่างที่ 2 จงแก้อสมการ (4x − 3)7 (3x2 + 6) ≤ 0
วิธีทํา เนื่องจากว่า (4x – 3)7 = (4x – 3)6(4x – 3)
ซึ่ง (4x – 3)6 ≥ 0 และ 3x2 + 6 > 0 อยู่แล้ว ไม่นํามาพิจารณา
ดังนั้น จะได้วา่ 4x - 3 ≤ 0
3
x ≤
4
ดังนั้น เซตคําตอบคือ ⎛⎜ −∞, ⎤⎥
3
⎝ 4⎦

(x − 5)5(x2 − 1)(x2 − 4)
ตัวอย่างที่ 3 จงแก้อสมการ ≥0
(x + 2)7
(x − 5)(x − 1)(x + 1)(x − 2)(x + 2)
วิธีทํา แยกตัวประกอบ และพิจารณาค่า จะได้วา่ ≥0
(x + 2)
ข้อสังเกต
ในการแก้อสมการ ถ้ามีพจน์ที่สามารถตัดทอนได้ เราจะทําการตัดทอนพหุนามได้เลยในขั้นต้น แต่
เมื่อนําไปพิจารณาตามวิธีของช่วง ให้เรานําค่าวิกฤตตัวที่ตัดทอนไปพิจารณาหลังจากดําเนินการตามวิธีของ
ช่วงแล้ว โดยให้พิจารณาตามเงื่อนไข
จากเงื่อนไข จะได้ว่า x ≠ 2 นําไปคิดตามวิธีของช่วง จะได้
+ - + - +

-2 -1 1 2 5

ดังนั้น เซตคําตอบคือ (−∞, −2) ∪ (2, −1] ∪ [1, 2] ∪ [5, ∞)


การแก้อสมการ : เพิ่มพูนประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ทาง Moodle
หน้าที่ 9
− 5
ตัวอย่างที่ 4 จงแก้อสมการ ≥0
( 3x − 2)2
วิธีทํา เซตคําตอบคือเซตว่าง φ เพราะไม่มจี ํานวนเต็มลบทีม่ ากกว่าจํานวนเต็มบวกและเต็มศูนย์
8
ตัวอย่างที่ 5 จงแก้อสมการ ≥0
4x2 + 9
วิธีทํา เซตคําตอบคือจํานวนจริงใด ๆ ( \ + )
(x − 3)2
ตัวอย่างที่ 6 จงแก้อสมการ 2 >0
x + 4x + 5
วิธีทํา พิจารณา x2 + 4x + 5 พบว่าไม่สามารถแยกตัวประกอบแบบธรรมดาได้ ให้เราแยกตัว
ประกอบในรูปกําลังสองสมบูรณ์ ซึ่งเท่ากับ (x + 2)2 + 1 ดังนั้นวงเล็บนี้ไม่นํามาพิจารณา
ทําให้ได้ว่า พิจารณาเฉาะวงเล็บ (x – 3)2 ซึ่ง (x – 3)2 ∈ \ + , {0}
ดังนั้น ต้องพิจารณาเงื่อนไขไม่ให้ x = 3 นั่นคือ x ≠ 3
ดังนั้น เซตคําตอบคือ \ − {3}
(3x − 5)2
ตัวอย่างที่ 7 จงแก้อสมการ 2 ≤0
x +3
วิธีทํา จากการพิจารณา พบว่า x2 + 3 > 0 และ (3x – 5)2 ≥ 0
แต่จากโจทย์ ต้องการให้น้อยกว่าหรือเท่ากับ
ดังนั้น เงื่อนไขทีเป็นไปได้ คือ 3x – 5 = 0
5
x =
3
ดังนั้น เซตคําตอบคือ ⎧⎨ ⎫⎬
5
⎩3 ⎭
4x2 + 7
ตัวอย่างที่ 8 จงแก้อสมการ <0
(2x2 + 3x + 5)13
4x2 + 7
วิธีทํา ลดทอนวงเล็บ จะได้ว่า 2 <0
2x + 3x + 5
ไม่พิจารณา 4x2 + 7
2
⎡ 3 2 ⎤ 31
วงเล็บ 2x2 + 3x + 5 = ⎢ 2x + ⎥ + >0
⎣ 4 ⎦ 8
ดังนั้น เซตคําตอบคือเซตว่าง φ

ตัวอย่างที่ 9 จงแก้อสมการ x − 2 < 0


วิธีทํา เซตคําตอบคือเซตว่าง φ

ตัวอย่างที่ 10 จงแก้อสมการ 4x + 1 = −2
วิธีทํา เซตคําตอบคือเซตว่าง φ
การแก้อสมการ : เพิ่มพูนประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ทาง Moodle
หน้าที่ 10

แบบฝึกหัดที่ 13

จงแก้อสมการต่อไปนี้
(x + 3)(x + 1)(x − 5)
1. ≤0
(x − 4)2 (x − 2)
(x − 5)5(x + 9)8(x − 10)10
2. ≤0
(x + 7)9 (x + 2)4 (x − 4)100
(x − 3)2 (x + 4)4
3. >0
(x − 7)6
(x + 7)3 (x + 4)4 (x + 2)2
4. ≥0
(x2 − 1)(x2 + 2)
(x2 + 3x − 10)(x2 − x − 12)
5. ≥0
x2 + x − 20
6. (2x + 1)3(x + 1)5 < 0
7. (x − 2)11(x − 3)24 (x − 4)53 ≥ 0
8. (x − 1)4 (x − 2)9 (x − 3)27 (x − 4)100 ≤ 0

You might also like