You are on page 1of 8

อบรมละครปฏิบัติการสังคม

“Theatre of the Oppressed Introduction”


โดย พี่ฉั่ว ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย
คณะละครขับเคลื่อนสังคมมาร็องดู (Malongdu Theatre)
ระหว่างวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2563
สถานที่ : ห้อง 109 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

พบกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านละครขับเคลื่อนสังคมจากคณะละครที่มีช่ อ
ื เสียงด้าน
การทำละครแนวขับเคลื่อน ประสบการณ์กว่า 10 ปี

มาทำความรู้จักและทดลองฝึ กฝนกระบวนการละครแนวขับเคลื่อนสังคม ซึ่งองค์กร


ยูเนสโก UNESCO รับรองว่าเป็ นเครื่องมือทางการศึกษาที่สามารถเปลี่ยนแปลง
สังคมได้ เทคนิคการละครนีถ
้ ูกเรียกว่า “ละครของผู้ถูกกดขี่” ซึ่งในต่างประเทศมี
ชุมชนนักการละครและนักเคลื่อนไหวทางสังคมที่ฝึกฝนและให้การยอมรับมากกว่า
80 ประเทศทั่วโลก และเปิ ดสอนในมหาวิทยาลัยใหญ่ทั่วโลก
ภายในการอบรม 2 วัน ผู้เข้าร่วมจะได้ทำความรู้จักและเรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดเรื่อง
การศึกษาของผู้ถูกกดขี่จากแนวคิดของ เปาโล แฟรเร นักการศึกษาชื่อดัง ซึ่งส่งผล
ให้เราต้องตกอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่เราต้องสยบยอมต่อความไม่เป็ นธรรมทัง้ หลาย
และถูกทำให้กลายเป็ นผู้ไร้เสียง เราจะได้เรียนรู้กระบวนการที่จะบอกเล่าเรื่องราว
ของการถูกกดขี่โดยใช้ทักษะทางการละครที่ใคร ๆ ก็สามารถเรียนรู้ได้ เพื่อนำเรื่อง
ราวของเรามาทำงานขับเคลื่อนประเด็นสังคมที่เราสนใจ

การอบรมละครปฏิบัติการสังคม (Theatre of the Oppressed


Introduction)
วันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2563
เวลาอบรม
9:30-13:00 น.
13:00-16:00 น.
19:00-21:00 น.

ค่าอบรม : ไม่มี/ตามบริจาค
จำนวนผู้เข้าร่วม : 8-20 คน ไม่จำกัดอายุ เพศ และความสามารถทางด้านร่างกาย

เหมาะสำหรับใคร
 ศิลปิ นที่ทำงานด้านการแสดงผู้สนใจในงานขับเคลื่อนสังคม หรือทำงานเพื่อ
การเปลี่ยนแปลง
 นักกิจกรรมสังคมผู้สนใจนำศิลปะการแสดงไปใช้ในการชวนคิด ชวนคุย หรือ
เสวนาเรื่องประเด็นทางสังคม
 NGO, ภาครัฐ หรือนักวิชาการที่สนใจหรือทำงานใกล้ชิดกับภาคประชาสังคม
และมองหาเครื่องมือใหม่ ๆ
 ครู อาจารย์ หรือนักการศึกษาผู้แสวงหาเครื่องมือแบบมีส่วนร่วมในการ
ทำงานกับนักศึกษาหรือนักเรียน
 ผู้นำชุมชน และพลเมืองซึ่งสนใจทำงานเพิ่มพลังให้กับชุมชน หรือแสวงหา
เครื่องมือแก้ไขความขัดแย้ง หรือแก้ไขปั ญหาชุมชน
 กระบวนกรที่อยากเพิ่มพูนเครื่องมือในการทำงานเสริมสร้างพลังกลุ่ม
 นักแสดง หรือผู้สนใจทั่วไป ที่ต้องการเพิ่มทักษะทางการแสดงละครแบบใหม่

สิ่งที่ผู้อบรมจะได้รับ
 เรียนรู้จักกับ เกมและแบบฝึ กหัดการแสดง เพื่อปลุกประสาทสัมผัสทัง้ 5 และ
การใช้รา่ งกายเพื่อแสดงออก
 เรียนรู้ไวยากรณ์ใหม่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ ละครภาพนิ่ง (Image
Theatre) ซึ่งเป็ นเครื่องมืออันทรงพลังที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก
 ได้ทดลองร่วมกันสร้างสรรค์ละคร “แอนตีโ้ มเดล” (Anti-model) ที่แสดงถึงความ
ขัดแย้งที่ต้องการการร่วมกันแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
 ได้สัมผัสกับกระบวนการ “ละครแทรกสด” หรือ Forum Theatre ซึ่งเป็ นละคร
ประยุกต์ที่นิยมใช้กันทั่วโลก และได้รับการยกย่องจากยูเนสโกว่าเป็ นเครื่องมือที่
สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับเยาวชนได้ดีที่สุดเครื่องมือหนึ่ง

***************************************************************************
*************************************
กระบวนกรอบรม

ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย
จบการศึกษา ป. โท ด้านการละครจากอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

ผู้ก่อตัง้ คณะละครมาร็องดู คณะละครของผู้ถูกกดขี่คณะแรกของประเทศไทย ผู้แปล


หนังสือ
Theatre of the Oppressed (การละครของผู้ถูกกดขี่) จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
สวนเงินมีมา 2562
เขาศึกษาละครของผู้ถูกกดขี่จาก Jana Sansakriti ประเทศอินเดีย, Theatre for
Living ของ David Dimond,
Adrian Jackson, Julian Boal, Kok Hengleun แห่ง DramaBox สิงคโปร์,
Barbara Santos แห่ง KURINGA,
Luc Opdebeec, Uri Noi-meir และ Gopal Aryal
คณะละครขับเคลื่อนสังคมมาร็องดู

คณะละครขับเคลื่อนสังคมมาร็องดู เป็ นคณะละครแรกของประเทศไทย ที่ใช้


กระบวนการละครที่เรียกว่า “ละครของผู้ถูกกดขี่” เพื่อใช้ในกระบวนการทำละคร
ทัง้ ในแง่แนวคิดและการปฏิบัติ ก่อตัง้ ขึน
้ เมื่อปี พ.ศ. 2556

คำว่า “มาร็องดู” มีความหมายในทางเชื้อเชิญให้ผช


ู้ มเข้ามามีส่วนร่วม ตาม
แนวคิด “ปั ญญาปฏิบัติ” (praxis) ของ เปาโล แฟรเร (Paolo Freire) นักการศึกษา
ผู้มีช่ อ
ื เสียงของโลก ซึ่งแต่งหนังสือชื่อ “การศึกษาของผู้ถูกกดขี่” ซึ่งเปลี่ยนแปลง
แนวความคิดเรื่องการศึกษาเพื่อรับใช้ทุนให้กลายเป็ นการศึกษาเพื่อการปลดปล่อย
และเพื่อสร้างอิสรภาพและเสรีภาพของโลก แนวความคิดนีเ้ องที่ทำให้นักการละคร
ที่มีช่ อ
ื ว่า ออกัสโต บูอาล ชาวบราซิล เกิดความคิดที่จะสร้างการละครแนวใหม่ โดย
อิงจากแนวความคิดดังกล่าว จนในที่สุดเกิดเป็ นกระบวนการละครซึ่งถูกจัดว่า
เป็ นการเคลื่อนไหวทางสังคมโดยใช้ละครที่สำคัญยิ่งในยุคปั จจุบัน การละครชนิด
ใหม่นถ
ี ้ ูกเรียกว่า “การละครของผู้ถูกกดขี่” ซึ่งถือกำเนิดในช่วงปี 1960s และ
ปั จจุบัน มีนักการละครและนักกิจกรรมทั่วโลกฝึ กฝนตามแนวทางของละครของผู้ถูก
กดขี่
ในประเทศไทย มาร็องดู มีเป้ าหมายที่จะนำปรัชญาและองค์ความรู้ด้านการ
ละครของผู้ถูกกดขี่มาเผยแพร่ เพื่อให้เป็ นทางเลือกสำหรับนักการละครทั่วไปที่
ต้องการทำงานด้านสังคมโดยเฉพาะผู้ที่ประสงค์จะทำงานให้มากไปกว่างานด้าน
สังคมสงเคราะห์ แต่มีเป้ าหมายที่จะเรียกร้องความเป็ นธรรมให้กับผู้ถูกกดขี่ และ
ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างอำนาจและลดการเอารัดเอาเปรียบ
กันในสังคมในระยะยาว
พื้นที่การทำงานของมาร็องดู มีทงั ้ การทำงานกับชุมชนที่เชื้อเชิญเราเข้าไปร่วมทำ
ละคร การจัดอบรมความรู้ด้านการละครของผู้ถูกกดขี่ และการทำงานในแง่ผู้
เชี่ยวชาญกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อนำเสนอในงานประชุมวิชาการต่าง

ปั จจุบันมาร็องดู มีสมาชิกหลักอยู่จำนวน 6 ท่าน และมีอาสาสมัครที่ทำงานกับ
เราประมาณ 30 ท่าน บางส่วนของประเด็นงานที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องได้แก่ การเข้า
ถึงการบริการสาธารณะของผู้พิการ, สิทธิและสวัสดิการผู้สูงอายุ, สิทธิของผู้ป่วย
ระยะสุดท้าย, คนไร้บ้านและประเด็นการไล่ร้อ
ื รวมทัง้ การคอรัปชันเรื่องสวัสดิการ
สังคมของคนไร้บ้าน, การทำลายทรัพยากรธรรมชาติโดยการให้สัมปทานเหมือง,
ประเด็นเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศ และการเหยียดเพศสภาวะ เป็ นต้น

You might also like