You are on page 1of 20

ชุดข้อมูลพืน้ ทีต่ น้ แบบดีเด่นแห่งชาติด้านการแพทย์แผนไทย

การแพทย์พนื้ บ้าน และการแพทย์ทางเลือก

ปี 2561

โดย กลุ่มงานสนับสนุนเขตสุขภาพ กองวิชาการและแผนงาน


กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
การจัดทาข้อมูลพื้นที่ต้นแบบดีเด่นแห่งชาติด้านการแพทย์แผนไทย
การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก ปี 2561

วัตถุประสงค์
เพื่อให้เกิดแนวทางในการพัฒนาสถานบริการสาธารณสุขของรัฐให้มีความโดดเด่นในการบริหาร และ
การให้บริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในสถานบริการ ๔ ประเภท คือ สานักงานสาธารณสุข
จังหวัด โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล อีกทั้ง
ยังเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานด้านการแพทย์แผนไทยและการ แพทย์ทางเลือกของบุคลากรด้านการแพทย์
แผนไทยในส่ วนกลางและภู มิ ภาค และสามารถน าไปพัฒ นางานการแพทย์แผนไทยใน สถานบริก ารให้ มี
ประสิทธิภาพ และประชาชนเข้าถึงและได้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานที่มีคุณภาพ
มาตรฐานเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

การเก็บข้อมูล
1. การประกวดพื้นที่ต้นแบบดีเด่นฯ เพื่อคัดเลือกหน่วยงานบริการสาธารณสุขของรัฐที่มีความโดด
เด่น ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก ปี 2561
2. การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลการดาเนินงานของหน่วยงานบริการสาธารณสุขที่ได้รับการคัดเลือกให้
เป็นพื้นที่ต้นแบบดีเด่นฯ

การดาเนินงาน
1. ประกวดพื้นที่ต้นแบบดีเด่นแห่งชาติด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้ าน และการแพทย์
ทางเลือก
2. รวบรวมข้อมูลในการนาเสนอของพื้นที่ต้นแบบดีเด่นฯ
3. ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลการดาเนินงานของหน่วยงานบริการสาธารณสุขที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น
พื้นที่ต้นแบบดีเด่นฯ
4. สรุปข้อมูลของพื้นที่ต้นแบบดีเด่นฯ
5. เผยแพร่ข้อมูลของพื้นที่ต้นแบบดีเด่นฯ ลง website
พื้นที่ต้นแบบดีเด่นแห่งชาติด้านการแพทย์แผนไทย
การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก
ประจาปี 2561
ระดับเพชร
ชื่อหน่วยงาน : โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี (เขตสุขภาพที่ 6)
รางวัล : พื้นที่ต้นแบบดีเด่นแห่งชาติ ด้า นการแพทย์แ ผนไทย การแพทย์ พื้นบ้า น การแพทย์ ทางเลือก
ระดับเพชร
ประเภท : โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป
จุดเด่นของหน่วยบริการ
โรงพยาบาลพระปกเกล้ามีบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยทั้งหมด 21 คน ประกอบด้วย นายแพทย์
สุชาติ ตันตินิรามัย เป็นหัวหน้ากลุ่มงานแพทย์แผนไทย พยาบาลวิชาชีพ 2 คน และแพทย์แผนไทย 8 คนและ
ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย รพ.พระปกเกล้าได้รับรางวัลด้านการแพทย์แผนไทยมากมาย ควรมีการต่อยอดงานวิจัย
จากการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและนามาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เน้นการตอบสนองต่อความต้องการของพื้นที่
และประชาชนโดยมีการบูรณาการแพทย์พื้นบ้านจากหลายแห่งมาใช้ในหน่วยบริการ
• ด้านบริหาร
• การประชุมคณะกรรมการการบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา
• การประชุมคณะกรรมการพัฒนางานแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
• ผู้บริหารโรงพยาบาลให้การสนับสนุนงานแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกเป็นอย่างมาก
• การ Training need สาหรับบุคลากรและมีการอบรมเพิ่มศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
• เป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 12 สถาบันการศึกษา
• ด้านบริการ
- ให้บริการครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ เวชกรรมไทย นวดไทย เภสัชกรรมไทยและผดุงครรภ์ไทย
- OPD คู่ขนาน และมีพยาบาลคัดกรอง
- IPD ร่วมกับสหวิชาชีพ
- ยาทดแทนทั้งหมด 7 รายการ แต่ยังคงยาแผนปัจจุบันไว้ใช้คู่ขนานไปกับยาสมุนไพร
- เด่นเรื่องการรักษาโรคสะเก็ดเงินและตับแข็ง
- คลินิกเฉพาะโรค ได้แก่ CVA (โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ) ,ระบบทางเดินหายใจส่วนต้น,โรคข้อ
เข่าเสื่อม,โรคตับแข็ง,โรคไมเกรนและโรคสะเก็ดเงิน
- การทางานเชิงรุกร่วมกับสหวิชาชีพ
• ด้านวิชาการ
- งานวิจัยเรื่องข้อเข่าเสื่อม
- มีตาราสะเก็ดเงินแจกจ่ายให้กับเครือข่าย
- การท า CPG 21 โรค / CPG การใช้ยาทดแทน 7 รายการ และ CPG การส่ง ต่อ ผู้ป่ วย
ร่วมกับเครือข่าย
• ด้านภาคีเครือข่าย
- มีแผนงานโครงการบูรณาการทั้งในเชิงร่วมดาเนินงานและสนับสนุนงบประมาณจากชุมชน
เทศบาลท้องถิ่นจันทบุรี
- มีอสม. จิตอาสาที่ได้รับการอบรมในโครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัคร สสจ.จันทบุรีในการ
ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
ภาพกิจกรรม
ชื่อหน่วยงาน : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลปากอ่าง จังหวัดกาแพงเพชร (เขตสุขภาพที่ 3)
รางวัล : พื้นที่ต้นแบบดีเด่นแห่งชาติด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือก
ระดับเพชร
ประเภท : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล/สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี
จุดเด่นของหน่วยงาน

• ด้านบริหาร
มีประชากรในเขตรับผิดชอบทัง้ หมด 5,748 คน มีแพทย์แผนไทย 1 คน มีการจัดทาแผน
บูรณาการงานแพทย์แผนไทยเข้าไปในทุกงาน มีการจัดสิ่งแวดล้อมภูมิทัศน์ทที่ างานให้น่าอยู่ มีการ
ติดตามประเมินผลและปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง มีการวิเคราะห์ปญ ั หา
ด้านสุขภาพของชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตาบลอ่างทอง เทศบาลตาบล
คลองแม่ลาย อสม. ผู้นาหมู่บ้าน ผู้นาชุมชน วัด และโรงเรียน
• ด้านบริการ
เปิดให้บริการ 2 ส่วน ได้แก่ คลินิกแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้าน และสปาเพื่อสุขภาพ
(สปาอารมณ์ดี) มีการจัดบริการครบทัง้ 4 ด้าน และมีบริการรักษาเฉพาะโรค ได้แก่ โรคข้อเข่าเสื่อม
โรคต้อ โรคเบาหวาน โรคไมเกรน โรคอัมพฤกษ์-อัมพาต มีการปรุงยาสาหรับผู้ป่วยเฉพาะราย ในกลุม่
อาการโลหิตสตรีบารุงร่างกาย แก้ปวดเมือ่ ย ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบน้า
เหลือ เป็นต้น มีการนาการแพทย์พื้นบ้านมาให้บริการในหน่วยบริการ ได้แก่ การรักษาโรคต้อด้วย
หนามหวาย รักษาด้วยการพ่น เป่า ในการรักษาโรคงูสวัด ตาแดง ขยุ้มตีนหมา เป็นต้น การกวาดยา
สาหรับบรรเทาอาการเจ็บคอ ไอมีเสมหะ และการอาบน้ามนต์ ในผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต
• ด้านวิชาการ
− นวัตกรรม ยาพอกสมุนไพรรักษาแผลโรคมะเร็งเต้านม ยาประกอบด้วย ใบย่านาง+ทองพันชั่ง+
ใบขี้เหล็ก+ขมิ้นอ้อย+น้าปูนใส หมักไว้ 7 วัน แล้วนาส่วนน้ามาชุบผ้าก๊อซ นามาพอกบริเวณแผล
พบว่าก้อนมะเร็งกดตัวลดลงมากกว่าครั้งแรกทีผ่ ู้ป่วยมารักษา
− นวัตกรรม นวดเท้าผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยเยาวชนจิตอาสา เพื่อเพิ่มระบบการไหลเวียนโลหิต
และน้าเหลืองทีเ่ ท้าบรรเทาอาการชาของผู้ป่วยเบาหวาน
− นวัตกรรม บ่งต้อด้วยหนามหวาย ช่วยรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนทางตา คือโรคต้อลม ต้อ
เนื้อ ต้อกระจก และอาการพร่ามัว แสบตา คันตา โดยองค์ความรู้การแพทย์พื้นบ้าน
− นวัตกรรม น้าสมุนไพรใส่แผล ในการดูแลผูป้ ่วยติดเตียงทีเ่ ป็นแผลกดทับ โดยการใส่น้ามัน
สมุนไพรเพชรมนตรี
− นวัตกรรม การตรวจร่างกายค้นหาโรคมะเร็งและการใช้สมุนไพรปรับสมดุลด้วยศาสตร์การแพทย์
แผนไทย โดยการให้รับประทานยาสมุนไพรปรับสมดุล 4 หม้อติดต่อกัน พบว่าผูป้ ่วยมีแนวโน้ม
เป็นโรคมะเร็งลดลง
− นวัตกรรม โหราศาสตร์ดูแลผู้ป่วยซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย โดยการใช้หลักโหราศาสตร์พยากรณ์ให้
ผู้ป่วยรูส้ ึกผ่อนคลาย พบว่าผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ หลักงจาก 3 เดือนถัดมา
− นวัตกรรม อบสมุนไพร 5 สูตร เพื่อการรักษาสุขภาพและความงาม ได้แก่
o สูตรนารายณ์คลายจักร สาหรับล้างสารพิษตกค้างในกระแสเลือด
o สูตรปราบชมพูทวีป สาหรับแก้หอบหืด ภูมิแพ้
o สูตรปฐมจินดา สาหรับหญิงหลังคลอดที่ไม่ได้รบั การฟื้นฟูหลังคลอดเป็นเวลานาน และมี
อาการหนาวสะท้าน
o สูตรวสาสูญ สาหรับลดไขมันส่วนเกิน
o สูตรบุปผาอัปสร สาหรับบารุงผิวพรรณ
− นวัตกรรมน้าพุทธมนต์บาบัดโรค ในผูป้ ่วยระยะสุดท้ายของชีวิต ผู้ป่วยทางใจ และผู้ป่วยจากสิง่
เหนือธรรมชาติ
• ด้านภาคีเครือข่าย
− มีเครือข่ายร่วมกับองค์การบริหารส่วนตาบลอ่างทองและเทศบาลคลองลาย
− มีเป็นแหล่งอบรมให้แก่บุคลากรแพทย์แผนไทยจากหน่วยงานต่างๆ
− มีการประสานงานกับอสม. เพื่อร่วมเยี่ยมบ้านพร้อมกับทีมสหวิชาชีพ
− มีกิจกรรมบาบัดยาเสพติด ร่วมกับผูร้ ับบริการและโรงเรียนอ่างทองพัฒนา
− มีการนาศาสตร์การแพทย์พื้นบ้านเข้ามาให้บริการในระบบสุขภาพ
ภาพกิจกรรม
พื้นที่ต้นแบบดีเด่นแห่งชาติด้านการแพทย์แผนไทย
การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก
ประจาปี 2561
ระดับประเทศ
ชื่อหน่วยงาน : สานักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย (เขตสุขภาพที่ 8)
รางวัล : พื้นที่ต้นแบบดีเด่นแห่งชาติ ด้า นการแพทย์แ ผนไทย การแพทย์ พื้นบ้า น การแพทย์ ทางเลือก
ระดับประเทศ
ประเภท : สานักงานสาธารณสุขจังหวัด
จุดเด่นของหน่วยบริการ
• ด้านบริหาร
- ผู้บ ริห ารระดับ จัง หวัดและหน่วยบริก ารให้ความส าคัญ และร่วมสนับ สนุนการจัดบริก าร
การแพทย์แผนไทยฯ
- ดาเนิน งานด้านการแพทย์แผนไทยร่วมกั บ ภาคีเครือข่ายที่ เกี่ ยวข้อง เช่น เกษตรจัง หวัด
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มเกษตรกร อาสาสมัครสาธารณสุข และชมรมผู้สูงอายุ
- จัดบริการการแพทย์แผนไทยในแหล่งท่ องเที่ยวด้วยการนวดไทยและจาหน่ายผลิตภัณ ฑ์
สมุนไพร
- ขับเคลื่อนและพัฒนาวิชาการที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการรักษาด้วย
การแพทย์แผนไทย เช่น การทาวิจัย R2R และพัฒนานวัตกรรมต่างๆในการดูแลสุขภาพ
- ปลูกฝังภูมิ ปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน วัฒนธรรม และประเพณีต่างๆสู่
ชุมชนและนักเรียน
- จัดการความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพรในท้องถิ่น วัฒนธรรม และประเพณี เพื่ออนุรักษ์และสืบ
สานภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
- พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยอย่างต่อเนื่อง
• ด้านบริการ
- สนับสนุนให้หน่วยบริการการจัดบริการการแพทย์แผนไทยฯ ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ เวชกรรมไทย
เภสัชกรรมไทย หัตถเวชกรรมไทย และผดุงครรภ์ไทย
- สนับ สนุนให้ห น่วยบริก ารระดับโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน ให้บริการ
คลินิกเวชกรรมไทย OPD คู่ขนาน และคลินิก เฉพาะโรค ได้แก่ ข้อเข่าเสื่อม ภูมิแพ้ท างเดิน
หายใจส่วนต้น และปวดศรีษะไมเกรน
- สนับสนุนการจัดบริการการแพทย์แผนไทยฯ การแพทย์ทางเลือก ร่วมกับสหวิชาชีพ และร่วม
จ่ายยาสมุนไพร Frist line drug
- สนับสนุนให้หน่วยบริการใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบัน ได้แก่ ขมิ้นขัน ฟ้าทะลายโจร
- ออกเยี่ยมบ้านร่วมกับทีมสหวิชาชีพในพื้นที่คลินิกหมอครอบครัว
• ด้านวิชาการ
- จัด ท าแนวทางเวชปฏิบั ติ ก ารดู แลรัก ษา ได้แ ก่ โรคอัม พฤกษ์ อั ม พาต โรคข้อ เข่ าเสื่ อ ม
โรคไมเกรน และโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจส่วนต้น
- จัดการความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพรในท้องถิ่น วัฒนธรรม และประเพณี เพื่ออนุรักษ์และสืบ
สานภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
- ขับเคลื่อนและพัฒนาวิชาการที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการรักษาด้วย
การแพทย์แผนไทย เช่น การทาวิจัย R2R และพัฒนานวัตกรรมต่างๆในการดูแลสุขภาพ
ภาพกิจกรรม
ชื่อหน่วยงาน : โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น (เขตสุขภาพที่ 8)
รางวัล : พื้นที่ต้นแบบดีเด่นแห่งชาติ ด้า นการแพทย์แ ผนไทย การแพทย์ พื้นบ้า น การแพทย์ ทางเลือก
ระดับประเทศ
ประเภท : โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป
จุดเด่นของหน่วยบริการ
• ด้านบริหาร
- มีการทางานเป็นเครือข่าย วัด โรงพยาบาล เทศบาล และชุมชน
- การประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่แพทย์แผนไทยจัดขึ้น เพื่อให้ผปู้ ่วยได้เข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึง
- มีแพทย์สาขาอื่นที่ให้ความสนใจงานแพทย์แผนไทย
- PCC ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล
- นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นเป็นพี่เลี้ยง ร่วมจัดทาแผนการพัฒนางานแผนไทย
- เป็นแหล่งศึกษาดูงานให้กบั แพทย์หลวงแห่งราชวงศ์ภูฏาน
- แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนางานด้านการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
• ด้านบริการ
- มีการจัดบริการ 4 ด้าน ได้แก่ เวชกรรมไทย ผดุงครรภ์ไทย การนวดไทยและเภสัชกรรมไทย
- คลินิกเวชกรรมไทย OPD คู่ขนาน เปิดให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 12.00 น.
- มีการคัดกรองผู้ป่วยและส่งต่อผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ
- IPD ร่วมกับสหวิชาชีพ
- ให้คาแนะนามาดาหลังคลอด นวด ประคบสมุนไพร เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลของน้านม
- ประคบสมุ นไพรกั บ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและ
กระตุ้นการทางานของกล้ามเนื้อ
- การรักษาโรคด้วยศาสตร์การแพทย์ทางเลือก (แพทย์แผนจีน)
- มีการใช้ยาทดแทน จานวน 5 รายการ ได้แก่ ขมิ้นขัน ฟ้าทะลายโจร มะขามแขก ยาแก้ไอ
มะขามป้อม และน้ามันไพล
- มีแนวทางการปฏิบัติเพื่อใช้ยาพัฒนาจากสมุนไพรเป็นลาดับแรก
- มีการจัดบริการคลินิกเฉพาะโรค ได้แก่ คลินิกข้อเข่าเสื่อม คลินิกภูมิแพ้ทางเดินหายใจ คลินิค
หลอดเลือดสมองและคลินิกปวดศรีษะไมเกรน
- ออกเยี่ยมบ้านร่วมกับทีมสหวิชาชีพในพื้นที่คลินิกหมอครอบครัว
• ด้านวิชาการ
- จัดทาแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษา ได้แก่ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคข้อเข่าเสื่อม โรคไม
เกรน และโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจส่วนต้น
- นวัตกรรมการแกะต้อรักษาโรคตาต้อ
- นวัตกรรมทองพันชั่งครีม ใช้สาหรับการนวดเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
- นวัตกรรม OA-TTAM KKH Model โปรแกรมสุขภาพในการดูแลผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมใน
ชุมชน ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน
- นวัตกรรม Mittraphap NCD TTAM model โปรแกรมในการส่งเสริมการใช้สมุนไพรแบบ
ยั่งยืน และดูแลสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรัง (NCD) ในชุมชน ด้วยศาสตร์ก ารแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ผสมผสาน
- นวัตกรรมยาพอกสมุนไพร “แก่นนคร” “ตารับสมุนไพรลดปวด”
- นวัตกรรมยาพอกเข่าสมุนไพร “สูตรชานุรักษ์”
ภาพกิจกรรม
ชื่อหน่วยงาน : โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร (เขตสุขภาพที่ 8)
รางวัล : พื้นที่ต้นแบบดีเด่นแห่งชาติด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือก
ระดับประเทศ
ประเภท : โรงพยาบาลชุมชน
จุดเด่นของหน่วยบริการ

• ด้านบริหาร
มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลทัง้ หมด 14 แห่ง และมีแพทย์แผนไทยประจาครบ 14
แห่ง (100%) โดยมีการจัดทาแผนพัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งแพทย์แผนไทย หมอพื้นบ้าน จิตอาสา
และผู้ช่วยแพทย์แผนไทย ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องทุกปี โดย
ใช้ FTE และกรอบของกระทรวงสาธารณสุขมาเป็นแนวทางในการจัดหาบุคลากร
• ด้านบริการ
มีการจัดบริการ OPD คู่ขนานแพทย์แผนปัจจุบัน การจัดบริการคลินิกเฉพาะโรค 8 โรค
ได้แก่ โรคอัมพฤกษ์-อัมพาต โรคข้อเข่าเสื่อม โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจส่วนต้น โรคไมเกรน โรคสะเก็ด
เงิน โรคสตรีวัยทอง โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง พร้อมทัง้ มีการประเมินผลการรักษาที่
น่าเชื่อถือ การจัดบริการผูป้ ่วยในทั้ง 4 ตึก ได้แก่ ตึกผู้ป่วยชาย ตึกผู้ป่วยหญิง ตึกเด็ก และตึกคลอด
โดยแพทย์แผนไทยขึ้นราวน์วอร์ดร่วมกับแพทย์และทีมสหวิชาชีพ มีการปรึกษาแนวทางการรักษาที่
เน้นการแพทย์แผนปัจจุบันผสมผสานกับการแพทย์แผนไทย
มีแหล่งวัตถุดิบสมุนไพรทีส่ ามารถตรวจสอบได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP และ
โรงงานผลิตยาสมุนไพรที่ได้รับรองมาตรฐาน GMP/WHO (จะพัฒนาเป็นมาตรฐาน PICS และ
HALAL ต่อไป) มีการผลิตทั้งยาแคปซูล ยาเม็ด ยาลูกกลอน ยาผง ยาน้า ยาประคบ ยาต้มสมุนไพร
ยาทาภายนอก ยาชง สารสกัด และผลิตภัณฑ์เครือ่ งสาอาง ซึ่งมีการกระจายยาทั้งในและนอก CUP
ภายในเขตและนอกเขตทั่วประเทศ ซึ่งมีการใช้ยาแผนไทยในบัญชียาหลักแห่งชาติในโรงพยาบาล 72
รายการ และรพ.สต. 45 รายการ มีการใช้ยาปรุงเฉพาะราย 8 อาการ 200 ชนิด โดยใช้ยาสมุนไพร
ทดแทนยาแผนปัจจุบันจานวน 24 รายการ นอกจากนีย้ ังมีการเผายา พอกยา สุมยา และการแช่ยา
• ด้านวิชาการ
− แหล่งฝึกอบรม และแหล่งฝึกประสบการณ์นกั ศึกษาแพทย์แผนไทย 10 มหาวิทยาลัย และ
นักศึกษาเภสัช 8 มหาวิทยาลัย
− การจัดทาแนวทางการรักษาด้านการแพทย์แผนไทยฯร่วมกันระหว่างกลุม่ งานแพทย์แผนไทย ทีม
แพทย์ และสหวิชาชีพ ในคลินิกเฉพาะโรค 8 โรค (ดังรายงานข้างต้น)
มีการนานวัตกรรม และงานวิจัยไปใช้ในการแก้ปญ ั หาสุขภาพของพื้นทีจ่ ริง ได้แก่
− นวัตกรรม ตารับยาปรุงเฉพาะรายโรคผิวหนังแก้ผื่นคัน และสะเก็ดเงิน โดยผลิตเป็นยาต้ม
สมุนไพร ยาทา สบู่ และสเปรย์ โดยจะพัฒนาเป็นสารสกัดสาหรับอาบเพื่อสะดวกต่อการใช้ต่อไป
− นวัตกรรม การส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบันแบบสมเหตุผล (Rational
Herbal Medicine Use : RHMU) เพื่อลดปัญหาการจ่ายยาสมุนไพรซ้าซ้อนกับยาแผนปัจจุบัน
และส่งเสริมการใช้สมุนไพรโดย
o มีนโยบายการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรอย่างถูกต้อง เหมาะสม สมเหตุสมผล
o ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์
สุขภาพ
o ประชาสัมพันธ์ให้ความรูผ้ ่านโปรแกรม LINE
o แผ่นประชาสัมพันธ์รายการยาที่ห้ามใช้ในผูป้ ่วยโรคตับ โรคไต
o ภาพพักหน้าจอกระตุ้นการเรียนรู้ใช้ยาสมุนไพร
o ฉลากยาช่วยการใช้ยาสมุนไพร
o ระบบเตือนการใช้ยาสมุนไพรในผูป้ ่วยที่ได้รบั ยาวาร์ฟาริน
o การส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ (ASU : URI & AGE) ได้แก่
ยาอามฤควาที ยาปราบชมพูทวีป และยาเหลืองปิดสมุทร
o การส่งเสริมการจาหน่ายยาสมุนไพรประจาบ้านทดแทนยาอันตรายในร้านชา
• ด้านภาคีเครือข่าย
− ทาข้อตกลง MOU กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ด้านเวชสาอาง)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ยาตารับ) และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ยาใช้ภายนอก)
− นาหมอพื้นบ้านเข้าร่วมในทีมหมอครอบครัว เช่น หมอพิธีกรรม หมอยาสมุนไพร หมอเป่า เป็นต้น
− พัฒนาเครือข่ายชุมชนให้สามารถใช้สมุนไพรในการรักษาอาการเจ็บป่วยเบือ้ งต้น สามารถผลิต
วัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพ มีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดี
− มีเครือข่ายจิตอาสาร่วมให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยฯทัง้ ในและนอกหน่วยบริการ
ภาพกิจกรรม
ชื่อหน่วยงาน : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลเชิงทะเล จังหวัดภูเก็ต (เขตสุขภาพที่ 11)
รางวัล : พื้นที่ต้นแบบดีเด่นแห่งชาติด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือก
ระดับประเทศ
ประเภท : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล/สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี
จุดเด่นของหน่วยบริการ

• ด้านบริหาร
มีประชากรในเขตรับผิดชอบทัง้ หมด 11,544 คน มีแพทย์แผนไทย 1 คน ผู้อานวยการ
รพ.สต. มีใบประกอบโรคศิลปะหัตถเวชกรรมไทยและเภสัชกรรมไทย ซึ่งเป็นผู้ช่วยแพทย์แผนไทยใน
การให้บริการ มีการดาเนินงานแพทย์แผนไทยแบบบูรณาการ ร่วมกับทีมหมอครอบครัวและภาคี
เครือข่าย มีการจัดลาดับความสาคัญของปัญหาในพื้นที่ และวิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็ง ขององค์กร มี
การจัดสรรพื้นทีส่ าหรับการให้ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย เช่นสวนสมุนไพรแนวตั้ง ตามกลุ่ม
อาการ 10 ระบบ สวนสมุนไพรตามโครงสร้างของร่างกาย สวนหิน ตีนเล
• ด้านบริการ
มีบริการคลินิกแพทย์แผนไทยทุกวัน ครบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเวชกรรมไทย ด้านเภสัช
กรรมไทย ด้านผดุงครรภ์ไทย และด้านหัตถเวชกรรมไทยรวมทั้งยังมีการใช้ยาปรุงเฉพาะราย มีการ
ออกเยี่ยมบ้านในวันพุธ และพฤหัสบดี มีระบบ OPD คู่ขนานโดยมีการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างแพทย์แผน
ปัจจุบันกับแพทย์แผนไทย รวมทัง้ มีคลินกิ ครบวงจร มีแผนงานจัดตั้งศูนย์บริการยาปรุงเฉพาะราย
ภายในปี 2564 มีระบบการส่งต่อผู้ป่วยภายใน CUP ผ่านช่องทาง เช่น line เป็นต้น และมีการ
ติดตามผู้ป่วยติดบ้าน โดยการประสานงานกับ อสม.ด้านการแพทย์แผนไทย
มีการสั่งจ่ายยาปรุงเฉพาะรายในหลายกลุ่มอาการ/โรค เช่น ภูมิแพ้ หอบหืด โรคกระเพาะ
อาหาร ไมเกรน เครียด นอนไม่หลับ ลมพิษ ผื่นคัน เบาหวาน เป็นต้น มีคลินิกข้อเข่าเสือ่ ม โดยยา 2
สูตรการรักษา โดยสูตรแรกเป็นยาพอกสาหรับคนเชื้อสายมุสลิม ซึ่งไม่มสี ่วนผสมของแอลกอฮอล์ อีก
สูตรนามาจากคัมภีร์ใช้สาหรับคนเชื้อสายอื่น
• ด้านวิชาการ
− หมอไทยเชิงรุก 5 in 1 คือ การดูแลประชาชนครอบคลุมทุกกลุ่มวัย ทัง้ 5 กลุ่มวัย ในการลง
เยีย่ มบ้านผู้ป่วยแต่ละครั้ง ทาให้ประชาชนรู้จักบทบาทของแพทย์แผนไทยมากขึ้น
− นวัตกรรม ชุดพกพายาทาพระเส้น สืบเนื่องจากพื้นทีม่ ักพบปัญหาอาการปวดตามข้อเข่า ข้อเท้า
ข้อมือ ข้อนิ้วและกล้ามเนื้อ จึงเลือกตารับยาทาพระเส้นจากตารายาโอสถพระนารายณ์ ซึ่งมี
วิธีการเตรียมไม่ยงุ่ ยาก และใช้ได้จริง แล้ววัดค่า Pain Score พบว่าสามารถลดความปวดได้ตั้งแต่
ครั้งแรกที่ใช้
− นวัตกรรม ตีนเล สปาเท้า บรรเทาอาการชาในผู้ป่วยเบาหวาน นาไปใช้กับผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับ
การคัดกรองภาวะแทรกซ้อนของเท้า (คัดกรองผู้ทมี่ ีปัญหาการรับสัมผัสความรู้สึกของเท้า โดยการ
ใช้ monofilament) แล้วทาสปาเท้าให้ผู้ป่วย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ติดต่อกัน 4 ครั้ง มีขั้นตอน ดังนี้
แช่เท้า พอกเท้า ขัดเท้า กดจุดสะท้อนเท้า และประคบเท้า พบว่าอาการชาเท้าของผู้ป่วยดีขึ้น
− นวัตกรรม แผ่นประคบเย็นบรรเทาอาการปวดแสบร้อนจากอุบัติเหตุที่ไม่มีแผลเปิดและจากแมลง
กัดต่อย เนื่องจากมักพบอุบัติเหตุบ่อยครั้งในพื้นที่ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นนอกจากให้
คาแนะนาและประคบเย็นแล้ว ยังมีการจ่ายแผ่นเจลประคบเย็นให้คนไข้กลับไปประคบเองที่บ้าน
ซึ่งค่อนข้างสิ้นเปลือง จึงคิดค้นนวัตกรรมแผ่นประคบเย็นผักบุ้งทะเลขึ้น เพราะผักบุ้งทะเลหาได้
ง่ายในท้องถิ่น พบว่าสามารถลดอาการปวดได้ดีและลดค่าใช้จ่ายได้ มีการขยายผลนาไปใช้กับรพ.
สต. ใกล้เคียงและ ไลฟ์การ์ด รวมทั้งเครือข่ายโรงเรียน
− วิถีคนเชิงเล เป็นอีกนวัตกรรมที่บรู ณาการส่งเสริมภูมิปญ ั ญาและสมุนไพรในท้องถิ่น เป็นเส้นทาง
การปั่นจักรยานท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีจุดเช็คอินจานวน 10 จุด ในตาบลเชิงทะเล
• ด้านภาคีเครือข่าย
− มีเครือข่ายจิตอาสาด้านการแพทย์แผนไทยของรพ.สต.เชิงทะเล จานวน 6 เครือข่าย ได้แก่
o เครือข่ายจิตอาสาหมอพื้นบ้าน
o เครือข่ายจิตอาสา อาสาสมัครสาธารณสุข ตาบลเชิงทะเล
o เครือข่ายจิตอาสา หมอนวดชายทะเล
o เครือข่ายจิตอาสา ผู้นาศาสนา
o เครือข่ายจิตอาสา ร้านนวด สปา ผ่อนคลาย
− มีปราชญ์ชาวบ้าน ในพื้นที่ คือ บ้านสุชาติ ภูวรัตน์ ผู้เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน
(อสม.) ณ ตาบลเชิงทะเล
ภาพกิจกรรม

You might also like