You are on page 1of 2

Wood Pellet : อนาคตใหม่ของเศษไม้ยางพารา ?

จุฑาภรณ์ คชสารทักษิณ
กุมภาพันธ์ 2558
ก่อนอื่นเรามาทาความรู้จักกับเชื้อเพลิงไม้อัดแท่ง (Wood Pellet) กันก่อน เชื้อเพลิงไม้อัดแท่ง
เป็นเชื้อเพลิงประเภทหนึ่งที่ผลิตจากขี้เลื่อยหรือเศษไม้นามาบดให้เป็นผงละเอียด จากนั้นนาไปอบแห้ง
เพื่อลดค่าความชื้น แล้วนามาเข้าเครื่ องอัดโดยใช้แรงดันสูงเพื่อให้สารลิกนินในเนื้อไม้ละลายออกมา
ส่งผลให้ไม้เกาะติดกัน ข้อดีของเชื้อเพลิงไม้อัดแท่ง ได้แก่ ความสะดวกในการขนส่ง การปล่อยขี้เถ้าน้อย
กว่าถ่านหิน การให้พลังงานความร้อนสูง (ประมาณ 4,500 กิโลแคลลอรีต่อกิโลกรัม) และการปล่อยก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซต์ต่า

ในต่างประเทศมีการใช้เชื้อเพลิงประเภทนี้มาหลายสิบปี
แล้ว และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในช่วงเกือบสิบปีที่ผ่านมา โดย
ได้รับแรงผลักดันจากกฎเกณฑ์ของหลายประเทศที่ต้องการเพิ่ม
สั ด ส่ ว นการใช้ พ ลั ง งานหมุ น เวี ย น (Renewable Energy)
ยกตัวอย่างเช่น สหภาพยุโรปที่กาหนดเป้าหมายให้การบริโภค
ทีม่ า : http:// www.charcoal.snmcenter.com/charcoalthai/ พลังงานขั้นสุดท้ายมาจากพลังงานหมุนเวียนร้อยละ 20 ภายใน
charcoal%20woodpellet.php
ปี 2563 เป็นต้น ทั้งนี้ จุดเปลี่ยนสาคัญมาจากพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ต่อท้ายอนุสัญญา
สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ซึ่งกาหนดให้ประเทศที่ลงนามลด
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับระดับในปี 2533

สาหรับทวีปเอเชีย มีการใช้เชื้อเพลิงไม้อัดแท่งทั้งในการผลิตไฟฟ้า และการทาความร้อน (ทั้ง


ภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน) เช่นเดียวกันกับสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป โดยมีจีน เกาหลีใต้
และญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้บริโภคสาคัญ อย่างไรก็ตาม จีนเป็นประเทศที่ผลิตเชื้อเพลิงไม้อัดแท่งเพื่อใช้ใน
ประเทศเป็นส่วนใหญ่ ทาให้มีการนาเข้าจากต่างประเทศต่า

หันกลับมาที่ประเทศไทย ธุรกิจการผลิตเชื้อเพลิงไม้อัดแท่งในไทย ผลิตโดยใช้ขี้เลื่อยและเศษไม้


จากไม้ยางพาราเป็นวัตถุดิบสาคัญ และเป็นธุรกิ จที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา
โดยถู ก มองว่ า เป็ น ธุ ร กิ จ ที่ มี อ นาคต ท าให้ มี ผู้ ป ระกอบการสนใจที่ จ ะลงทุ น มากขึ้ น (ปั จ จุ บั น มี
ผู้ประกอบการประมาณ 20 ราย คาดว่าในปี 2558 จะมีโรงงานเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ) ทั้งนี้ แรงดึงดูดสาคัญ
มาจากความต้องการของประเทศเกาหลีใต้ ที่สั่งซื้อเชื้อเพลิงไม้อัดแท่งจากไทยเป็นจานวนมาก เนื่องจาก
โรงไฟฟ้าซึ่งเป็นภาคส่วนที่ใช้เชื้อเพลิงไม้อัดแท่งมากที่สุดได้รับเครดิตการใช้เชื้อเพลิงชนิดนี้ค่อนข้างสูง
และสูงกว่าเชื้อเพลิงหลายประเภท ซึ่งช่วยให้ดาเนินงานตามเกณฑ์ Renewable Portfolio Standard
(RPS)1 ได้ง่ายขึ้น จากประกอบกับการผลิตในประเทศไม่เพียงพอ (จากรายงานของ Enerone’s พบว่า
ในเดือนพฤศจิกายน 2556 เกาหลีใต้นาเข้าเชื้อเพลิงไม้อัดแท่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 300)

ถ้าถามว่า ธุรกิจเชื้อเพลิงไม้อัดแท่งจะเป็นธุรกิจที่อยู่รอดในระยะยาวได้หรือไม่ หรือจะเป็นเพียง


ธุรกิจตามกระแสที่มาแล้วก็ไปในที่สุด กุญแจที่จะไขโจทย์นี้ได้คงเป็นเรื่องของอุปสงค์ (Demand) เป็น
สาคัญ ดังนั้น นอกเหนือจากการพึ่งพิงความต้องการจากตลาดต่างประเทศแล้ว ควรมีการส่งเสริมการใช้
เชื้อเพลิ งไม้อัดแท่งภายในประเทศควบคู่กันไปด้วย เพื่อสร้างอุปสงค์ ที่ยั่งยืน นอกจากนี้ เพื่อให้การ
ประกอบธุรกิจนี้ประสบผลสาเร็จ ยังมีอีก 3 ปัจจัยที่ควรให้ความสาคัญ ได้แก่
1. วัตถุดิบ ผู้ประกอบการควรมีแหล่งวัตถุดิบที่เพียงพอและต่อเนื่อง เนื่องจากการรักษาระดับ
ความร้อ นของเครื่อ งจัก ร ทาให้ ต้อ งเดินเครื่อ งติ ดต่อ กันเป็นเวลานาน จึ งต้อ งการวัต ถุ ดิบที่มากพอ
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังอาจประสบปัญหาการแย่งซื้อวัตถุดิบไม้สับ (Woodchip) หรือขี้เลื่อยกับ
โรงไฟฟ้าชีวมวลได้
2. คุณสมบัติเครื่องจักร เชื้อเพลิงชีวมวลแต่ละชนิดมีคุณสมบัติทางอินทรีที่แตกต่างกัน จึง
ต้องการเครื่องจักรที่มีคุณสมบัติต่างกันด้วย ดังนั้น เครื่องจักรที่นาเข้าอาจไม่ส ามารถใช้งานได้ทันที
ผู้ประกอบการจึงจาเป็นต้องมีองค์ความรู้ในการปรับแก้เครื่องจักร โดยเฉพาะ หัวอัด เพื่อให้สามารถใช้
งานกับวัตถุดิบของตนได้ดี
3. การควบคุมต้นทุน ธุรกิจเชื้อเพลิงไม้อัดแท่งมีอัตรากาไรสุทธิไม่สูงนัก ประกอบกับราคา
ขายเชื้อเพลิงอัดแท่งไม่สามารถปรับเพิ่มได้มาก เพราะมีสินค้าทดแทนอยู่หลายชนิด ดังนั้น การควบคุม
ต้นทุน ซึ่งรวมถึงต้นทุนการขนส่งจึงเป็นสิ่งสาคัญ

หากผู้ ป ระกอบการลงทุ น หลั ง จากพิ จ ารณาปั จ จั ย ทุ ก ด้ า นอย่ า งรอบคอบแล้ ว เชื่ อ แน่ ว่ า


อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงไม้อัดแท่งในประเทศไทยจะสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

1
Renewable Portfolio Standard (RPS) หมายถึง มาตรฐานที่กาหนดสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนเมื่อเทียบกับการใช้พลังงานทั้งหมด สาหรับเกาหลีใต้ รัฐบาล
กาหนดให้โรงไฟฟ้าของรัฐ 14 แห่ง และโรงไฟฟ้าเอกชนที่มีกาลังการผลิตมากกว่า 500 เมกะวัตต์ ต้องปฏิบัติตาม RPS โดยกาหนดอัตราส่วนเท่ากับร้อยละ 3.5 ในปี
2558 และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเท่ากับร้อยละ 10.0 ในปี 2565 นอกจากนี้ มีการกาหนดน้าหนักเพื่อใช้ในการคานวณ Renewable Energy Credit (REC) ซึ่งเป็นเครดิตที่
ได้รับจากการใช้พลังงานหมุนเวียนแต่ละประเภท สาหรับเชื้อเพลิงไม้อัดแท่งจัดอยู่ในประเภทเชื้อเพลิงชีวมวลที่ทาจากไม้ (Wood Biomass Full Firing) ซึ่งได้รับ
น้าหนักเท่ากับ 1.5 (น้าหนักต่าสุดและสูงสุดเท่ากับ 0.25 และ 2.0 ตามลาดับ) โดยเครดิตดังกล่าวสามารถซื้อขายเพื่อใช้นับรวมใน RPS ได้

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จาเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

You might also like