You are on page 1of 10

Collected by Trakarnsak

แนวทางการเขียนตอบข้อเขียนกฎหมายปกครองข้อ 2
ไม่จำเป็นต้องจำ แค่ให้รู้แนวทางในการเขียนเฉยๆ
ตัวอย่างกรณีที่อยู่ในอำนาจศาลปกครองพิจารณาโดยภาพรวม
1.ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครอง
การที่ ... (ระบุชื่อเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งฯ ในคำถาม แล้วอธิบายว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตามบทนิยามมาตรา 5 พ.ร.บ.
วิธีปฏิบัติฯ 2539 หรือไม่) เป็น .. (บุคคล-คณะบุคคล-นิติบุคคล-เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) ซึ่งใช้อำนาจหรือ
ได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางปกครองของรัฐในการดำเนินการตามกฎหมายมีคำสั่ง ... (มีคำสั่งในในคำถาม) เป็น
การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ
เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหน้าที่ของ ... (ระบุชื่อผู้ฟ้องในคำถาม)
จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามพ.ร.บ. วิธีปฏิบัติฯ 2539 มาตรา 5 .... (ระบุชื่อเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งฯ ในคำถาม)
เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางปกครองตาม พ.ร.บ. จัดตั้งฯ 2542 มาตรา 3 การที่ ......
(ระบุชื่อผู้ฟ้องในคำถาม) ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่ง ... (คำสั่งในคำถาม) เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงาน
ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายในการออกคำสั่งทางปกครองตามพ.ร.บ.
จัดตั้งฯ 2542 มาตรา 9 (1) อยู่ในอำนาจศาลปกครองพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 9 ดังนั้น ...... (ระบุชื่อผู้
ฟ้องในคำถาม) ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากคำสั่งทางปกครองดังกล่าว มีอำนาจฟ้อง
ขอให้เพิกถอนคำสั่ง ...... (คำสั่งในคำถาม)ต่อศาลปกครองได้ตามพ.ร.บ. จัดตั้งฯ 2542 มาตรา 9 (1) , 42
ประกอบมาตรา 72 (1)
2.ฟ้องขอให้ชดใช้เงิน (กรณีหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐกระทำละเมิด)
... (ระบุชื่อหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกฟ้อง) เป็น ....(อธิบายว่าเป็นหน่วยทางปกครองประเภท
ใดหรือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือไม่ เช่น ระบุว่าเป็นหน่วยงานทีไ่ ด้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือ
ให้ดำเนินกิจการทางปกครอง หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของหน่วยงาน
ทางปกครองฯ) ตามพ.ร.บ. จัดตั้งฯ 2542 มาตรา 3 กรณีที่ ...(ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุแห่งการฟ้องร้อง)
เป็นการกระทำละเมิดของ ... (ระบุชื่อหน่วยงานปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกฟ้อง) อันเป็นคดีพิพาท
เกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่
ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา 9 (3) จึงเป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาล
ปกครอง ... (ระบุชื่อผู้ฟ้องคดี) ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการกระทำของละเมิดของหน่วยงานทาง
ปกครอง (หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ) มีอำนาจฟ้อง .... (ระบุชื่อหน่วยงานของรัฐที่ถูกฟ้อง) ให้ใช้เงินเกี่ยวกับการ
กระทำละเมิดดังกล่าวต่อศาลปกครองได้ตามพ.ร.บ. จัดตั้งฯ 2542 มาตรา 9 (3) , 42 ประกอบมาตรา 72 (3)
Collected by Trakarnsak

ส่วน .. (ระบุชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐกรณีที่คำถามมีประเด็นในเรื่องฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐให้รับผิดด้วย) เป็น


เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้น .. (ระบุชื่อผู้ฟ้องคดี) ต้องฟ้อง .... (ระบุชื่อหน่วยงาน
ของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของสังกัด) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดต่อ .. (ระบุชื่อผู้ฟ้องคดี) ผู้เสียหายในผลแห่ง
ละเมิดที่ .. (ระบุชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกฟ้อง) เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำการดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ความรับ
ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
3.ฟ้องเรื่องสัญญาทางปกครอง
... (ระบุชื่อหน่วยงานที่ถูกฟ้อง) เป็น ..... (ระบุว่าเป็นหน่วยงานทางปกครองประเภทใดตามมาตรา 3 พ.ร.บ.
จัดตั้งฯ) เป็นหน่วยงานที่ใช้อำนาจทางปกครองหรือได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนิน
กิจการทางปกครองตามมาตรา 3 พ.ร.บ. จัดตั้งฯ สัญญา... (ระบุรายละเอียดสัญญาในคำถาม) ระหว่าง ...
(ระบุชื่อผู้ฟ้องคดี) กับ ... (ระบุชื่อหน่วยงานที่ถูกฟ้อง) เป็นสัญญาที่มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทานหรือสัญญาที่
ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติหรือเป็น
สัญญาที่ทำให้บริการสาธารณะบรรลุผลหรือเป็นสัญญาจัดให้มีเครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นต่อการจัดทำ
บริการสาธารณะ (ให้เลือกเอาสัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่ตรงกับสัญญาในคำถาม) จึงเป็นสัญญาทางปกครองที่
อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา 9 (4) เมื่อ ... (ระบุชื่อผู้ฟ้องคดี) มีข้อโต้แย้ง
เกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตามมาตรา 42 จึงมีอำนาจฟ้อง ... (ระบุชื่อหน่วยงานที่ถูกฟ้อง) ให้รับผิดเกี่ยวกับ
สัญญาทางปกครองดังกล่าวต่อศาลปกครองได้ตามมาตรา 9 (4) ประกอบ มาตรา 72 (3)

ตัวอย่างกรณีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองพิจารณาโดยภาพรวม
1.กรณีฟ้องอันเนือ่ งมาจากการกระทำโดยไม่ชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ
แม้ .... (ระบุชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยของรัฐที่ถูกฟ้องในคำถาม) จะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเป็น
หน่วยงานทางปกครองตามมาตรา 3 พ.ร.บ. จัดตั้งฯ แต่การที่ ... (ระบุชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยของรัฐที่
ถูกฟ้องในคำถาม) ..... (ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุฟ้องร้องในคำถาม) เหตุแห่งการฟ้องร้องคดีนี้ มิใช่เป็นคดี
พิพาทที่เกิดจากหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือละเลย
ต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล้าช้าเกินสมควร หรือการกระทำ
ละเมิดหรือมีความรับผิดอย่างอื่นอันเกิด จากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือ
คำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล้าช้าเกิน
สมควร หรือเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตามมาตรา 9 (1) (2) (3) (4) จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณา
Collected by Trakarnsak

พิพากษาของศาลปกครอง ดังนั้น ... (ระบุชื่อผู้ฟ้องคดี) ไม่มีอำนาจฟ้อง ... (ระบุชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วย


ของรัฐที่ถูกฟ้องในคำถาม) ต่อศาลปกครอง
2.ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง
แม้ .... (ระบุชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยของรัฐที่ถูกฟ้องในคำถาม) จะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเป็น
หน่วยงานทางปกครองตามมาตรา 3 พ.ร.บ. จัดตั้งฯ แต่สัญญา .. (ระบุสัญญาในคำถาม) ระหว่าง . (ระบุชื่อผู้
ฟ้องคดี) กับ ... (ระบุชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยของรัฐที่ถูกฟ้องในคำถาม) เป็นนิติสัมพันธ์ในการทำนิติ
กรรมทางแพ่งทั่วไปและ มีลักษณะมุ่งผูกพันตนด้วยใจสมัครบนพื้นฐานแห่งความเสมอภาค ไม่มีลักษณะเป็น
สัญญาสัมปทานหรือสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จาก
ทรัพยากรธรรมชาติหรือเป็นสัญญาที่ทำให้บริการสาธารณะบรรลุผลหรือเป็นสัญญาจัดให้มีเครื่องมือที่สำคัญ
และจำเป็นต่อการจัดทำบริการสาธารณะ จึงไม่เป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา 3 ที่อยู่ในอำนาจพิจารณา
พิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา 9 (4) ดังนั้น คดีระหว่าง ...... (ระบุชื่อผู้ฟ้องคดี) กับ ... (ระบุชื่อ
เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยของรัฐที่ถูกฟ้องในคำถาม) อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ข้อสังเกต
1.การอ้างกฎหมายในข้อสอบไม่ว่าวิชาใดควรที่จะอ้างชื่อเต็มของกฎหมายที่เดียวในข้อสอบและหลังจากนั้น
หากมีการอ้างกฎหมายอีกก็ให้อ้างเฉพาะเลขมาตราเท่านั้น เพราะถือว่าเป็นการอ้างมาตราในกฎหมายที่ระบุใน
ตอนแรกแล้ว เช่น ตอนแรกระบุชื่อกฎหมายเต็มว่า .......... ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธี
พิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 ต่อจากนั้นก็ระบุเฉพาะเลขมาตรา เช่น ......... ตามมาตรา 42 ,
........ ตามมาตรา 72
2.การเขียนข้อสอบกฎหมายนั้น ควรเขียนคำตอบแบบไล่สาย เช่น ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและ วิธี
พิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2542 ควรอธิบายบทนิยามตามมาตรา 3 ก่อน แล้วไล่ไปเป็นมาตรา 9 ประกอบ
มาตรา 72 และมาตรา 42 (มาตรา 9 (1)+มาตรา 72 (1) , มาตรา 9 (2)+มาตรา 72 (2) , มาตรา 9 (3)(4)+
มาตรา 72 (3))
Collected by Trakarnsak

ตัวอย่างโจทย์ การเขียนไม่ค่อยละเอียดดูเป็นตัวอย่างคร่าวๆ
ข้อ 1 นายมานะ ได้รับบาดเจ็บจากการใช้สะพานลอยข้ามถนนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ เนื่องจากตรงจุด
ขึ้นลงสะพานลอยดังกล่าวอันเป็นจุดห้ามขายหรือจำหน่ายสินค้า มีพ่อค้าแม่ค้าตั้งวางหาบเร่แผงลอยเป็น
จำนวนมาก ทำให้เหลือทางเดินแคบมากจนเป็นเหตุให้นายมานะก้าวพลาดได้รับบาดเจ็บกระดูกข้อเท้าหักต้อง
เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลา 10 วัน ซึ่งนายมานะเห็นว่าการที่พ่อค้าแม่ค้าตั้งหาบเร่แผงลอยในจุด
ดังกล่าวซึ่งเป็นจุดห้ามขายนั้น เนื่องมาจากกรละเลยต่อหน้าที่ของเทศบาลฯตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้อง
ปฏิบัติซึ่งไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างกวดขันและเคร่งครัดตามกฎหมาย นายมานะจึงมาปรึกษาท่านเพื่อจะฟ้อง
เทศบาลฯ เป็นคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ศาลฯ มีคำสั่งให้เทศบาลฯ ยกเลิกหรีอห้ามการตั้งวางหาบเร่แผง
ลอยขายสินค้าดขวางทางในจุดดังกล่าว รวมทั้งขอให้เทศบาลฯ ชดใช้ค่าเสียหายในการบาดจ็บซึ่งต้อง
รักษาพยาบาลเป็นจำนวนเงินสองหมื่นบาทให้แก่ตนด้วย ดังนี้ท่านจะให้คำปรึกษาแก่นายมานะในกรณี
ดังกล่าวนี้อย่างไร
วินิจฉัย ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 ศาลปกครองมี
อำนาจพิจารณาพิพากษา หรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้
2) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมาย
กำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
3) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของ
รัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย
มาตรา 42 ผู้ใดได้รับความเดือนร้อนเสียหาย จากการกระทำ หรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทาง
ปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
มาตรา 72 ในการพิพากษาคดีปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(2) สั่งให้หัวหน้าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามหน้าที่ภายในเวลาที่ศาล
ปกครองกำหนด
(3) สั่งให้ใช้เงิน
กรณีดังกล่าวไม่อาจถือได้ว่าเทศบาลฯ ได้ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ(ตาม
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ มาตรา 9(2) เพราะจุดขึ้นลงสะพานลอยที่เกิดเหตุดังกล่าว เป็นจุดที่ห้ามมิให้ผู้ใด
ขายหรือจำหน่ายสินค้า และกรณีมิใช่จุดที่ทางเทศบาลฯประกาศกำหนดให้เป็นจุดผ่อนผัน ดังนั้นการที่มีผู้นำ
หาบเร่แผงลอยมาตั้งจึงเป็นการลักลอบกระทำ โดยที่ทางเทศบาลมิได้อนุญาตหรือผ่อนผันให้ดำเนินการขาย
Collected by Trakarnsak

หรือจำหน่ายสินค้า นายมานะจึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย เนื่องมาจากการละเลยหรืองดเว้น


กระทำการของเทศบาลฯ (ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ มาตรา 42)
ดังนั้นนายมานะจึงไม่อาจฟ้องเทศบาลฯ เป็นคดีต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งให้
เทศบาลฯยกเลิก การตั้งหาบเแผงลอยในจุดดังกล่าว (ตามมาตรา 72 (2)) และไม่อาจฟ้องเทศบาลฯ เป็นคดีต่อ
ศาลปกครองเรียกค่าเสียหายจากการบาดเจ็บได้ (ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ มาตรา9(3) มาตรา 72(3))
สรุป นายมานะจึงไม่อาจฟ้องเทศบาลฯ เป็นคดีต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งให้เทศบาลฯ
ยกเลิก การตั้งหาบเแผงลอยในจุดดังกล่าว (ตามมาตรา 72 (2)) และไม่อาจฟ้องเทศบาลฯ เป็นคดีต่อศาล
ปกครองเรียกค่าเสียหายจากการบาดเจ็บได้ (ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ มาตรา9(3) มาตรา 72(3))
ข้อ 2 องค์การบริหารส่วนตำบลได้สร้างถนนเข้าหมู่บ้านระยะทาง 800 เมตร ต่อมานายสมชายฯ ได้แจ้งกับ
องค์การบริหรส่วนตำบลเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550 ว่าส่วนหนึ่งของถนนได้รุกล้ำเข้าไปในที่ของตนเป็นเนื้อที่
25 ตารางวา และการสร้างถนดังกล่าวทำให้ตัวบ้านของตนทรุดและแตกร้าวคิดค่าเสียหาย 300,000 บาท
องค์การบริหารส่วนตำบลได้ตอบนายสมชายฯ ไปเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2550 ว่าที่ดินที่ทำถนนทั้งหมดนั้น
เป็นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลส่วนบ้านที่ชำรุดเสียหายนั้นได้ให้วิศวกรไปตรวจสอบค่าเสียหายแล้ว
องค์การบริหารส่วนตำบลชดใช้ค่าบ้านชำรุดและเสียหายได้เพียง 100,000 บาท วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551
นายสมชายฯ มาหาท่านท่านจะแนะนำในกรณีดังกล่าวอย่างไร จงอธิบายและยกหลักกฎหมายประกอบให้
ชัดเจน
ธงคำตอบ
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคแรก (1) (2) และ (3)
บัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำนใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่
หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบชั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้
สำหรับการกระทำนั้นหรือโดยไม่สุจริตหรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการ
สร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น หรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(2) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมาย
กำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้า เกินสมควร
(3) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของ
Collected by Trakarnsak

รัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎคำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อ


หน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรและมาตรา 42 วรรค 2
บัญญัติว่า ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับการแก่ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่อง
ใดไว้โดยเฉพาะ การฟ้องคดีปกครองในเรื่องนั้นจะกระทำได้ต่อเมื่อมีการดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการ
ดังกล่าว และได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้นหรือมิได้มีการสั่งกรภายในเวลาอันสมควรหรือภายในเวลาที่
กฎหมายนั้นกำหนด
วินิจฉัย
ข้อพิพาทระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบล กับนายสมชาย มีอยู่ 2 ประเด็น ได้แก่
ประเด็นที่ 1 นายสมชายอ้างว่าที่ดินที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้สร้างถนนเข้าหมู่บ้านนั้นมีที่ดิน
จำนวนเนื้อที่ 25 ตารางวาเป้นของตน แต่องค์การบริหารส่วนตำบลก็อ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินขององค์การ
บริหารส่วนตำบล ประเด็นพิพาทที่กิดขึ้น จึงเป็นเรื่องของการโแยงกรรมสิทธิ์ในที่ดินเนื้อที่ 25 ตารางวานั้นว่า
เป็นของใคร คดีพิพาทดังกล่าวจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องของกรรมสิทธิ์ในที่ดินไม่ใช่คดีพิพาทตามมาตรา 9
(1) (2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ดังนั้นคดีพิพทดังกล่าวจึงไม่อยู่ในอำนาจของศาล
ปกครองที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษา จึงต้องนำคดีดังกล่าวไปฟ้องศาลยุติธรรมคือศาลแพ่ง จะฟ้องศาล
ปกครองไม่ได้
ประเด็นที่ 2 การที่องค์การบหารส่วนตำบลได้สร้างถนนเข้าหมู่บ้าน และการสร้างถนนดังกล่าวทำให้
ตัวบ้านของนายสมชายทรดและแตกร้าวนั้น การกระทำดังกล่าวขอองค์การบริหารส่วนตำบล ถือว่าเป็นการ
กระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายขององค์การบริหารส่วนตำบล
ตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นตามมาตรา 9 (3 ) แห่งพรราชบัญญัติจัดตั้งศาล
ปกครองฯ จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ดังนั้นจึงต้องนำคดีพิพาทดังกล่าวไป
ฟ้องศาลปกครองภายในอายุความ 1 ปีแต่เนื่องจากนายสมชายได้เรียกร้องให้องค์การบริหารส่วนตำบลชดใช้
ค่าเสียหาย 300,000 บาท แต่องค์การบริหารส่วนตำบลตอบกลับมาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายได้เพียง 100,000
บาท ซึ่งการกำหนดค่าเสียหายขององค์การบหารส่วนตำบลดังกล่าวถือว่าเป็นคำสั่งทางปกครอง ดังนั้นถ้านาย
สมชายไม่พอใจกับค่าเสียหายที่องค์การบริหส่วนตำบลชดใช้ให้ นายสมชายจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 42 วรรค
2 ก่อน คือ จะต้องอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองนั้นก่อนที่จะนำคดีพาทนั้นไปฟ้องศาลปกครอง
สรุป เมื่อนายสมชายมาหาข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะแนะนำกรณีดังกล่าวแก่นายสมชาย ตามเหตุผลและหลัก
กฎหมายดังกล่าวข้างต้น
Collected by Trakarnsak

ตัวอย่างการเขียนจากฎีกา
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 (และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง
ฉบับที่ 9 พ.ศ.2560) มาตรา 42 วรรคแรก กำหนดว่า ผู้ใดได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะ
เดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องจากการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของหน่วยงานทาง
ปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดที่อยู่ในเขตอำนาจ
ศาลปกครองตามมาตรา 9 และแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนหรือความเสียหายหรือยุติข้อโต้แย้งนั้น ต้องมี
คำบังคับตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 72 ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
การฟ้องคดีหน่วยงานทางปกครอง ไม่ว่าจะเป็น กระทรวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
และมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา หรือ
หน่วยงานอื่นของรัฐ ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครอง หรือให้ดำเนิน
กิจการทางปกครอง หรือจะใช้สิทธิทางศาลปกครองเพื่อฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐได้นั้น มิได้หมายความว่า ผู้ที่
ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหาย กรณียื่นเรื่องร้องเรียนการดำเนินการ
จัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย ที่จะเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล
ปกครองเสมอไป ดังปรากฏใน คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 43/2559 ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา ดังนี้
คดีนี้ผู้ฟ้องยื่นฟ้ององค์การบริหารส่วนตำบล ธ. กรณีผู้ฟ้องขอให้ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ธ.ตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง จำนวน 3 โครงการ เนื่องจากมีเหตุอันควรสงสัยว่าการจัดจ้างไม่โปร่งใสและส่อ
ไปในทางทุจริต กล่าวคือ การกำหนดระยะเวลาในการขายเอกสารประกวดราคา ไม่เป็นไปตามระเบียบ
กระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ปัจจุบันหน่วยงานของรัฐทุกแห่งใช้ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ
ภาครัฐ พ.ศ. 2560)[1] มีข้อสงสัยว่าไม่มีการขุดลอกคลองจริง รวมทั้งการจัดทำก็เป็นไปในลักษณะเร่งรีบจน
ผิดสังเกต โดยขอให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ธ.สอบสวนหาผู้กระทำผิด นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ธ. ได้แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบว่า ทั้ง 3 โครงการได้ปฏิบัติตามหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนมาก ที่
0808.2/ว 1994 ลงวันที่ 30 กันยายน 2553 และประกาศกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เรื่องหลักเกณฑ์
การจัดซื้อจัดจ้างโดยการประมูลด้วยระบบอิเลคทรอนิคส์ (ฉบับที่ 2) ข้อ 5 และข้อ 10 ซึ่งเป็นการปฏิบัติโดย
ถูกต้องตามระเบียบทุกประการ ผู้ฟ้องคดีเห็นว่านายกองค์การบริหารส่วนตำบล ธ.ชี้แจงไม่ตรงประเด็น จึงมี
หนังสือแจ้งให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ธ. ตรวจสอบว่าโครงการขุดลอกคลองสาธารณะประโยชน์ทั้ง 2
โครงการ เป็นการดำเนินการซ้ำซ้อนกับโครงการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม ซึ่งการดำเนินการใน
ช่วงเวลาเดียวกัน และการประมาณราคาค่าก่อสร้างในโครงการจ้างเหมาขุดลอกสิ่งปฏิกูลท่อระบายน้ำ คสล.
ไม่ถูกต้องเนื่องจากมีการเพิ่มค่า Factor F ให้กับผู้รับจ้างทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่งานก่อสร้างอาคาร งานทาง งานท่อ
Collected by Trakarnsak

เหลี่ยม หรืองานชลประทาน ต่อมานายกองค์การบริหารส่วนตำบล ธ. ได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบว่า


การดำเนินโครงการดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น โดยขอให้
ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง
(1) ให้วินิจฉัยว่านายกองค์การบริหารส่วนตำบล ธ. ละเลยต่อหน้าที่หรือเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการ
ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์การบริหารส่วนตำบล ธ. และประชาชน
(2) ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ธ. มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีดังกล่าวภายใน 30 วัน
และแจ้งผลให้ผู้ฟ้องคดีทราบ
ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดี
ออกจากสารบบความ
ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองชั้นต้นที่ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้มี
คำวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง
(2) บัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทาง
ปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
ล่าช้าเกินสมควร และมาตรา 42 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า ผู้ใดได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะ
เดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงาน
ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดที่อยู่ในเขต
อำนาจศาลปกครองตามมาตรา 9 [2]และการแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนหรือความเสียหายหรือยุติข้อ
โต้แย้งนั้น ต้องมีคำบังคับตามที่กำหนดในมาตรา 72[3] ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
ศาลปกครองสูงสุด ได้วินิจฉัยว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นราษฎรหมู่ที่ 3 ตำบล ธ.
อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ได้มีหนังสือลงวันที่ 10 มิถุนายน 2556 ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีตรวจสอบการจัดจ้าง
ขององค์การบริหารส่วนตำบล ธ. จำนวน 3 โครงการ คือ (1) โครงการขุดลอกคลองสาธารณประโยชน์ หมู่ที่ 2
จากประตูน้ำบึงกุ่มถึงสุดเขตติดต่อตำบลถนนขาด (2) โครงการขุดลอกคลอกสาธารณประโยชน์ หมู่ที่ 2 จาก
บ้านนาย พ. ถึงประตูน้ำบึงกุ่ม และ (3) โครงการจ้างเหมาขุดลอกสิ่งปฏิกูลท่อระบายน้ำ คสล.พร้อมบ่อพัก
คสล. หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 5 ตำบล ธ. เนื่องจากมีเหตุอันควรสงสัยว่า การจัดจ้างไม่โปร่งใสและ
ส่อไปในทางทุจริต โดยขอให้ผู้ถูกฟ้องคดียกเลิกการประกวดราคาทั้งสามโครงการและดำเนินการแต่งตั้ง
คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิด ผู้ถูกฟ้องคดีได้มีหนังสือถึงผู้ฟ้องคดีชี้แจงว่า ทั้งสามโครงการได้
ปฏิบัติตามระเบียบทุกประการแล้ว แต่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า ผู้ถูกฟ้องคดีชี้แจงไม่ตรงประเด็น จึงมีหนังสือแจ้งให้ผู้
ถูกฟ้องคดีตรวจสอบกรณีดังกล่าว แต่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ชี้แจงแต่อย่างใด ต่อมาผู้ฟ้องคดีมีหนังสือขอทราบความ
คืบหน้า ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีได้แจ้งว่าการดำเนินการโครงการดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมา
Collected by Trakarnsak

ฟ้องต่อศาลโดยขอให้ศาลวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีเป็นการละเลยต่อหน้าที่หรือเป็นเจ้าพนักงาน
ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์การบริหารส่วนตำบล ธ.และ
ประชาชน และให้ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีดังกล่าวภายใน 30 วัน และแจ้งผลให้
ผู้ฟ้องคดีทราบ
กรณีจึงรับฟังได้ว่า ผู้ฟ้องคดีประสงค์จะฟ้องต่อศาลว่าผู้ถูกฟ้องคดีละเลยต่อหน้าที่ไม่ยกเลิกการ
ประกวดราคาจ้างขุดลอกคลองและขุดลอกสิ่งปฏิกูลท่อระบายน้ำตามที่ผู้ฟ้องคดีสงสัยว่าการดำเนินการส่อไป
ในทางทุจริต และไม่แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีดังกล่าว คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงาน
ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
ล่าช้าเกินสมควรตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดี
ปกครอง พ.ศ.2542 ซึ่งอยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะมีสิทธิฟ้องคดี
ต่อศาลปกครองได้นั้น จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการกระทำหรือการงดเว้นการ
กระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยตรงหรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทาง
ปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยตรงหรืออย่างมีนัยสำคัญ การที่ผู้ฟ้องคดีเพียงแต่เห็นว่า โครงการขุดลอก
คลองและท่อระบายน้ำของผู้ถูกฟ้องคดีน่าจะไม่โปร่งใสและส่อไปในทางทุจริต จึงแจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีตรวจสอบ
และให้ยกเลกการประกวดราคา ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีได้ตรวจสอบและแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบแล้วว่าโครงการดังกล่าว
ได้ดำเนินการโดยชอบถูกต้องแล้ว แต่ผู้ฟ้องคดีไม่เห็นด้วยกับคำชี้แจงของผู้ถูกฟ้องคดี จึงนำกรณีดังกล่าวมา
ฟ้องต่อศาล
จึงเห็นได้ว่า แม้ผู้ฟ้องคดีจะอ้างว่าเป็นราษฎรที่มีภูมิลำเนาอยู่ในตำบล ธ. แต่ก็ยังไม่อาจถือได้ว่าผู้
ฟ้องคดีเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายโดยตรงหรืออย่างมีนัยสำคัญในกรณีดังกล่าวที่จะเป็นผู้มีสิทธิ
ฟ้องคดีนี้ต่อศาลได้ เนื่องจากหากโครงการดังกล่าวดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยไม่โปร่งใสหรือมีการทุจริตจริง ผู้
ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงย่อมได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล ธ.ผู้เป็นเจ้าของเงินงบประมาณโครงการ
ดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีจึงเป็นเพียงประชาชนที่ประสงค์จะให้มีการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ
ที่ตนเห็นว่าอาจจะมีการทุจริต จึงมีสิทธิที่จะร้องขอให้หน่วยงานของรัฐผู้มีหน้าที่ตรวจสอบในเรื่องดังกล่าวให้
ดำเนินการตรวจสอบได้เท่านั้น ดังนั้น ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ใช่ผู้มีสิทธิฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครองตามมาตรา 42[4]
วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ นั้น
ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วยเหตุผล
จึงมีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น
Collected by Trakarnsak

จากแนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด ตามคำสั่งที่ 43/2559 ชี้ให้เห็นว่า ผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อ


ศาลปกครองจะต้องเข้าลักษณะตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธี
พิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 นอกจากนี้ยังต้องนำมาตรา 9 และมาตรา 72 มาพิจารณาประกอบกัน ผู้นั้น
จึงจะเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ดังคำวินิจฉัย ศาลปกครองสูงสุด ว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาล
ปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2) บัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจ
พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อ
หน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร และมาตรา 42 วรรค
หนึ่งบัญญัติว่า ผู้ใดได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้
อันเนื่องจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรั ฐ หรือมีข้อ
โต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดที่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองตามมาตรา 9 และการแก้ไข
หรือบรรเทาความเดือดร้อนหรือความเสียหายหรือยุติข้อโต้แย้งนั้น ต้องมีคำบังคับตามที่กำหนดในมาตรา 72
ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

You might also like