You are on page 1of 41

๗.

๓ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๓ ถึงวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔


ต่อเนื่องกัน จำเลยที่ ๑ ได้บังอาจกระทำผิดกฎหมายต่างกรรมต่าง
วาระกัน โดยการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้
เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ
หน้าที่โดยทุจริต และ อันเป็ นการกระทำความผิดอาญาทุจริตและ
ประพฤติมิชอบ กล่าวคือ
๗.๓.๑ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๓ จำเลยที่ ๑ ในฐานะผู้
ว่าการ รฟม. ได้ออกคำสั่งของ รฟม. ให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร
สำหรับการคัดเลือกเอกชน เล่มที่ ๑ ข้อแนะนำผู้ย่ น
ื ข้อเสนอ
(Request for Proposal : RFP No.๑) เดิมในข้อ ๒๙ ในพิจารณา
ข้อเสนอซองที่ ๒ ข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอซองที่ ๓ ข้อเสนอ
ด้านการลงทุนและผลตอบแทน รวมกันมีคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
แบ่งสัดส่วนเป็ นคะแนนซองที่ ๒ ข้อเสนอด้านเทคนิค ๓๐ คะแนน
และคะแนนข้อเสนอซองที่ ๓ ข้อเสนอด้านการลงทุนและผล
ตอบแทน ๗๐ คะแนน นำคะแนนซองที่ ๒ และซองที่ ๓ ของผู้ย่ น
ื ข้อ
เสนอรวมกัน ผู้ย่ น
ื ข้อเสนอรายใดที่ได้คะแนนรวมสูงสุดจะเป็ นผู้ที่
ผ่านการประเมินสูงสุด ปรากฏตามเอกสารสำหรับการคัดเลือก
เอกชนเพิ่มเติม ครัง้ ที่ ๑ (RFP Addendum No.๑) เอกสารท้าย
คำฟ้ องหมายเลข ๒๑ การออกคำสั่งของจำเลยที่ ๑ เป็ นการออกคำ
สั่งตามมติของจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ ซึ่งเป็ นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามคำฟ้ องข้อ ๗.๒ แต่จำเลยที่ ๑ กลับมีเจตนาทุจริตไปร่วมสมคบ
คิดกับจำเลยที่ ๒ ถึง ๗ โดยแบ่งหน้าที่กันทำตามอำนาจหน้าที่ของ
แต่ละคน โดยให้จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ ใช้อำนาจอำนาจหน้าที่ของตนใน
ฐานะคณะกรรมการคัดเลือก ทำการลงมติแก้ไขหลักเกณฑ์ในการ
พิจารณาคัดเลือก โดยจำเลยที่ ๑ ใช้อำนาจหน้าที่ของตนเองในฐานะ
ผู้ว่าการ รฟม. นำเรื่องการแก้ไขหลักเกณฑ์เข้าในการประชุมคณะ
กรรมการคัดเลือก และเข้ากำกับ ควบคุม ชีน
้ ำคณะกรรมการคัด
เลือก ได้ลงมติเห็นชอบแก้ไขหลักเกณฑ์ จากนัน
้ จึงออกคำสั่งให้นำมติ
นี ้ บังคับใช้เป็ นหลักเกณฑ์ใหม่ในการคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนใน
โครงการพฤติการณ์และการกระทำของจำเลยที่ ๑ ในการออกคำสั่ง
ในทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็ นกระทำที่ร้อ
ู ยู่แล้วว่า คำสั่ง
ของจำเลยที่ ๑ เป็ นการออกคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้นำ
หลักเกณฑ์ใหม่ที่แก้ไขนี ้ มาเปิ ดโอกาสให้จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ ในฐานะ
คณะกรรมการคัดเลือก ได้ใช้ดุลพินิจอย่างไม่มีข้อจำกัด ให้คะแนน
ตามอำเภอใจหรือเลือกปฏิบัติไม่พิจารณาในข้อควรพิจารณา หรือไม่
ใช้หลักเกณฑ์สากลให้เป็ นไปโดยชอบตามประกาศเชิญชวน และ
เอกสารคัดเลือกเอกชน (RFP No.๑) เอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข
๑๑ และ ๑๓ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การประเมินใหม่นี ้ จึง
เป็ นการกระทำอันเป็ นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนรายหนึ่งรายใด
ที่มีคุณสมบัติเฉพาะทางเทคนิคในการก่อสร้างงานวิศวกรรมโยธาทาง
ลอดใต้ดินและลอดแม่น้ำเจ้าพระยาในโครงการฝั่ งตะวันตกทัง้ สาย
อีกทัง้ จำเลยที่ ๑ ในฐานะผู้ว่าการ รฟม. มีอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วย
กฎหมายโดยตรงที่จะยับยัง้ ไม่นำมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลย
ที่ ๒ ถึงที่ ๗ ออกประกาศใช้บังคับในการคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วม
ลงทุนในครัง้ นี ้ แต่จำเลยที่ ๑ ก็ไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของตนให้
เป็ นไปโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อยุติและยับยัง้ การนำมติที่ไม่ชอบด้วย
กฎหมายไปใช้เป็ นหลักเกณฑ์การประเมิน แต่จำเลยที่ ๑ กลับร่วม
กับจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ สมคบคิดแบ่งหน้าที่กันทำ โดยร่วมเป็ นตัวการ
ในการกระทำความผิด การกระทำของจำเลยที่ ๑ จึงเป็ นการละเว้น
การปฏิบัติหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยทุจริต ทำให้เกิด
ความเสียหายต่อโจทก์และรัฐ
๗.๓.๒ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลากลางวันและอยู่
ระหว่างเวลาที่ รฟม. (ผู้ถูกฟ้ องคดีที่ ๒ ในคดีปกครองของศาล
ปกครองกลาง) จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองกลางในการทุเลา
การบังคับใช้หลักเกณฑ์การร่วมลงทุนของ รฟม. ซึ่งผ่านความเห็น
ชอบของคณะกรรมการคัดเลือก ที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลง
เอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครัง้ ที่ ๑ ที่ให้ใช้การประเมินซอง
ที่ ๒ ข้อเสนอทางเทคนิค และซองที่ ๓ ข้อเสนอด้านการลงทุนและ
ผลตอบแทน รวมกันแล้วแบ่งสัดส่วนเป็ นคะแนนซองที่ ๒ จำนวน
๓๐ คะแนน และคะแนนซองที่ ๓ จำนวน ๗๐ คะแนน ในการดำเนิน
การของโครงการฯนี ้ ไว้เป็ นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา
หรือคำสั่งเป็ นอย่างอื่น ปรากฏตามสำเนาคำสั่งศาลปกครองกลาง
เอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข ๒๓ แต่ปรากฏว่า จำเลยที่ ๑ ในฐานะ
ผู้ว่าการ รฟม. ได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อ
ให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และรัฐ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการ
ปฏิบัติ โจทก์เป็ นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด มี
วัตถุประสงค์ประกอบกิจการระบบรถไฟฟ้ าขนส่งมวลชน ระบบขนส่ง
มวลชนทางบก สิทธิบริหารพื้นที่ ให้เช่า โฆษณาและอื่น ๆ มีนายคีรี
กาญจนพาสน์ นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา นายกวิน กาญจนพาสน์
นายอนันต์ สันติชีวะเสถียร นางวรวรรณ ธาราภูมิ นายวศิน
วัฒนวรกิจกุล นายชิตชนก เขมาวุฒานนท์ นายมนู อรดีดลเชษฐ์
นายพีรพงศ์ จิระเสวีจินดา เป็ นกรรมการ โดย นายคีรี กาญจน
พาสน์ หรือนายกวิน กาญจนพาสน์ หรือ นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา
กรรมการสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกัน และประทับตราสำคัญ
ของบริษัทมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ ปรากฏตามสำเนา
หนังสือรับรอง เอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข ๑
ในการฟ้ องและดำเนินคดีนี ้ โจทก์มอบอำนาจให้ นายสุรพงษ์
เลาหะอัญญา หรือ นายณัฐศักดิ ์ ชัยชนะ หรือ นายกิตจา ศรีเจริญ
หรือ นายยอดชาย ศีลนำสุข เป็ นผู้รับมอบอำนาจในการยื่นฟ้ องและ
ดำเนินคดีจนถึงที่สุด ปรากฏตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจของโจทก์
เอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข ๒
ขณะเกิดเหตุ
จำเลยที่ ๑ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ การรถไฟฟ้ าขนส่งมวลชน
แห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็ นผู้แทนของ รฟม. หน่วยงานเจ้าของ
โครงการรถไฟฟ้ าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มี
อำนาจหน้าที่บริหารกิจการของ รฟม. ให้เป็ นไปตามข้อบังคับและ
นโยบายที่คณะกรรมการ รฟม. กำหนด มีฐานะเป็ นเจ้าพนักงานตาม
ประมวลกฎหมายอาญา ตามพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้ าขนส่ง
มวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๔๓ มาตรา ๒๔, ๓๐ ประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๑๖) และเป็ นเจ้าพนักงานของรัฐ ตามพ
ระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้ องกันและปราบปราม
การทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔
จำเลยที่ ๒ ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการการรถไฟฟ้ าขนส่งมวลชน
แห่งประเทศไทย (วิศวกรรมและก่อสร้าง) ได้รับการแต่งตัง้ ให้ทำ
หน้าที่ประธานคณะกรรมการคัดเลือก ตามพระราชบัญญัตก
ิ ารร่วม
การลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.๒๕๖๒ (พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ
พ.ศ.๒๕๖๒) มาตรา ๓๖ จำเลยที่ ๒ จึงเป็ นเจ้าพนักงานตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๑๖) ประกอบพระราชบัญญัติการ
รถไฟฟ้ าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๔๓ มาตรา ๓๐ และ
เป็ นเจ้าพนักงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า
ด้วยการป้ องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔
หรือเป็ นพนักงาน ตามพระราชบัญญัตวิ ่าด้วยความผิดของพนักงาน
ในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.๒๕๐๒ มาตรา ๓
จำเลยที่ ๓ รับราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมการขนส่งทางราง
ซึ่งกรมการขนส่งทางรางเป็ นส่วนราชการสังกัดกระทรวงคมนาคม
ตามพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๘)
พ.ศ. ๒๕๖๒ จำเลยที่ ๓ ได้รับการแต่งตัง้ ให้ทำหน้าที่คณะกรรมการ
คัดเลือก ผู้แทนกระทรวงคมนาคม ตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ
พ.ศ.๒๕๖๒ มาตรา ๓๖ จำเลยที่ ๓ จึงเป็ นเจ้าพนักงานตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๑๖) และเป็ นเจ้าพนักงานของรัฐ ตามพ
ระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้ องกันและปราบปราม
การทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔ หรือเป็ นพนักงาน ตามพระราช
บัญญัตวิ ่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ
พ.ศ.๒๕๐๒ มาตรา ๓
จำเลยที่ ๔ เป็ นข้าราชการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด ดำรง
ตำแหน่งอธิบดีอัยการ สำนักงานนโยบาย ยุทธศาสตร์และงบ
ประมาณ ตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ
พ.ศ. ๒๕๕๓ จำเลยที่ ๔ ได้รับการแต่งตัง้ ให้ทำหน้าที่คณะกรรมการ
คัดเลือก ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ
พ.ศ.๒๕๖๒ มาตรา ๓๖ จำเลยที่ ๔ จึงเป็ นเจ้าพนักงานตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๑๖) และเป็ นเจ้าพนักงานของรัฐ ตามพ
ระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้ องกันและปราบปราม
การทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔ หรือเป็ นพนักงาน ตามพระราช
บัญญัตวิ ่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ
พ.ศ.๒๕๐๒ มาตรา ๓
จำเลยที่ ๕ รับราชการตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานคณะ
กรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(ผอ.สคร.) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการ
นโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เป็ นส่วนราชการสังกัดกระทรวงการคลัง
มีฐานะเป็ นหน่วยงานระดับกรม ตามพระราชบัญญัติปรับปรุง
กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.๒๕๔๕ และตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ
พ.ศ.๒๕๖๒ มาตรา ๒๑ (๔) กำหนดให้ สคร. มีหน้าที่ให้ความเห็น
คำแนะนำ หรือวางแนวทางปฏิบัติแก่หน่วยงานต่าง ๆ เกี่ยวกับการ
ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ฯ นี ้ และมีฐานะเป็ นกรรมการและเลขานุการของ
คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
Committee Public Private Partnership (คณะกรรมการ PPP)
จำเลยที่ ๕ ได้รับการแต่งตัง้ ให้ทำหน้าที่คณะกรรมการคัดเลือก ผู้
แทน สคร. ตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ พ.ศ.๒๕๖๒ มาตรา ๓๖
จำเลยที่ ๕ จึงเป็ นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑
(๑๖) และเป็ นเจ้าพนักงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้ องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.
๒๕๖๑ มาตรา ๔ หรือเป็ นพนักงาน ตามพระราชบัญญัตวิ ่าด้วยความ
ผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.๒๕๐๒ มาตรา

จำเลยที่ ๖ ได้รับการแต่งตัง้ จาก รฟม. โดยจำเลยที่ ๑ ให้เป็ น
คณะกรรมการคัดเลือก มีฐานะเป็ นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม
พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ พ.ศ.๒๕๖๒ มาตรา ๓๖ จำเลยที่ ๖ จึงเป็ น
เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๑๖) และเป็ น
เจ้าพนักงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
การป้ องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔ หรือ
เป็ นพนักงาน ตามพระราชบัญญัตวิ ่าด้วยความผิดของพนักงานใน
องค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.๒๕๐๒ มาตรา ๓
จำเลยที่ ๗ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ ายพัฒนาโครงการ
รถไฟฟ้ า รฟม. ได้รับการแต่งตัง้ ให้ทำหน้าที่คณะกรรมการคัดเลือก
มีฐานะเป็ นกรรมการและเลขานุการ ตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ
พ.ศ.๒๕๖๒ มาตรา ๓๖ จำเลยที่ ๗ จึงเป็ นเจ้าพนักงานตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๑๖) ประกอบพระราชบัญญัติการ
รถไฟฟ้ าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๔๓ มาตรา ๓๐ และ
เป็ นเจ้าพนักงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า
ด้วยการป้ องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔
หรือเป็ นพนักงาน ตามพระราชบัญญัตวิ ่าด้วยความผิดของพนักงาน
ในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.๒๕๐๒ มาตรา ๓
ความเป็ นมาโครงการรถไฟฟ้ าสายสีส้ม บางขุนนนท์ – มีนบุรี
(สุวินทวงศ์)
ข้อ ๒. เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๔ คณะรัฐมนตรี ได้มีมติ
โดยสรุปอนุมัติให้ รฟม. ดำเนินการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณ
ประจำปี ส่วนที่เหลือจากโครงการอื่น เพื่อนำไปใช้ในการจ้างที่
ปรึกษาดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้ าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน – มีนบุรี
(รฟม. เป็ นหน่วยงานเจ้าของโครงการ) ต่อมา รฟม. จึงได้วา่ จ้างกลุ่ม
บริษัทที่ปรึกษา Bangkok Mass Transit Orange Line
Consultants (BMTO) (กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา) ให้เป็ นผู้ดำเนินการ
ศึกษาและวิเคราะห์โครงการฯ เพื่อให้จัดทำรายงานการศึกษาและ
วิเคราะห์โครงการฯ เป็ นเอกเทศ ตามพระราชบัญญัติการให้เอกชน
ร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๖ มาตรา ๒๔ โดยกลุ่มบริษัทที่
ปรึกษานีไ้ ด้ใช้เวลาในการศึกษาและวิเคราะห์โครงการฯเป็ นเวลา ๗
ปี เสร็จสมบูรณ์ เมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๑ ซึ่งมีทงั ้ การศึกษาราย
ละเอียดเกี่ยวกับโครงการและความเหมาะสมทางเทคนิค ซึ่งมีแนว
เส้นทางโครงการ แนวคิดในการกำหนดแนวเส้นทางแนวและอื่นๆ ซึ่ง
รวมถึงแนวเส้นทางที่จะต้องลอดอุโมงค์ผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาและ
พื้นที่เสี่ยงและอ่อนไหว ผลกระทบต่อโครงการในการใช้ที่ดิน และ
ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องและแนวทางการบริหารความเสี่ยงของโครงการ
อีกทัง้ ยังมีแนวทางการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในโครงการฯ
ปรากฏในข้อ ๖.๔.๔ โดยสรุปใจความได้ว่า “...ที่ปรึกษาฯ พิจารณา
แล้วเห็นว่า การประกวดข้อเสนอโดยใช้รูปแบบการลงทุนแบบ PPP
Net Cost ระยะเวลาดำเนินงาน ๓๐ ปี รวมก่อสร้างงานโยธาส่วน
ตะวันตก เป็ นประโยชน์ต่อภาครัฐสูงสุด โดยในการคัดเลือกเอกชน
ร่วมลงทุนควรกำหนดให้เอกชนแยกเสนอมูลค่าผลตอบแทนแก่รัฐ
หรือเงินที่ต้องการให้รัฐสนับสนุนเป็ น ๒ ส่วนคือ ส่วนที่ ๑ งานลงทุน
จัดหาระบบรถไฟฟ้ าและให้บริการเดินรถไฟฟ้ า ส่วนที่ ๒ ค่าลงทุน
งานโยธาฝั่ งตะวันตกรวมถึงเพดานอัตราดอกเบีย
้ ที่เอกชนจะให้รัฐ
ชำระคืนโดยกำหนดเงื่อนไขการชำระคืนที่เป็ นประโยชน์แก่ภาครัฐ
เพื่อให้คณะกรรมการคัดเลือกสามารถประเมินข้อเสนอในแต่ละส่วน
ได้อย่างครบถ้วน ทัง้ นีโ้ ดยผูย
้ ่น
ื ข้อเสนอที่ขอรับเงินสนับสนุนรวมทัง้
สองส่วนจากภาครัฐเมื่อคิดเป็ นมูลค่าปั จจุบัน (NPV) ต่ำที่สด
ุ จะ
เป็ นผู้ชนะการคัดเลือก...” ปรากฏตามสำเนารายงานการศึกษาและ
วิเคราะห์โครงการฯ เอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข ๓
ข้อ ๓. การดำเนินโครงการฯ หลังจากนัน
้ รฟม. ในฐานะหน่วย
งานเจ้าของโครงการฯ ได้ดำเนินการเสนอโครงการฯ ตามขัน
้ ตอน
ของกฎหมาย เพื่อขอรับความเห็นชอบตามลำดับชัน
้ เรื่อยมา ซึ่งเป็ น
ไปตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ พ.ศ.๒๕๕๖ จนเมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม
๒๕๖๒ คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
ตาม พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ พ.ศ.๒๕๖๒ Committee Public
Private Partnership (คณะกรรมการ PPP) โดย จำเลยที่ ๕ ใน
ฐานะกรรมการและเลขานุการ และ ในฐานะ ผอ.สคร. ได้มีหนังสือที่
กค ๐๘๒๐.๑/๔๕๙๙ เสนอเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติ
โครงการรถไฟฟ้ าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
ตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ พ.ศ.๒๕๖๒ มาตรา ๒๙ โดยระบุราย
ละเอียดของหลักการ ขอบเขต และเงื่อนไขในการคัดเลือกเอกชน
ร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าว มีสาระสำคัญโครงการฯ ส่วนตะวันตก
โดยสรุปใจความว่า “…ในหัวข้อที่ ๔ ข้อ ๔.๖.๑ รายงานการศึกษา
และวิเคราะห์โครงการฯ ได้เปรียบเทียบระหว่าง กรณีการให้
เอกชนร่วมลงทุน (Public Private Partnership : PPP) กับ
กรณีการให้รัฐลงทุน (Public Sector Comparator : PSC) เมื่อ
พิจารณาจากรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการที่การ
รถไฟฟ้ าแห่งประเทศไทยได้ จัดทำขึน
้ แล้ว เห็นว่า การให้เอกชน
ร่วมลงทุนโดยใช้รูปแบบ PPP Net Cost ระยะเวลาการดำเนิน
งาน ๓๐ ปี รวมก่อสร้างงานโยธาของโครงการส่วนตะวันตก ซึ่ง
เป็ นประโยชน์ตอ
่ ภาครัฐสูงสุด โดยผู้ย่ น
ื ข้อเสนอที่ขอรับเงิน
สนับสนุนรวมทัง้ สองส่วนจากภาครัฐ เมื่อคิดมูลค่าปั จจุบน
ั (NPV)
ต่ำสุด จะเป็ นผู้ชนะการคัดเลือกฯ...” และในหัวข้อ ๗.๒.๕ ๖) ซึ่ง
สรุปใจความได้ว่า “…การดำเนินการเปิ ดประมูลโครงการให้เป็ นรูป
แบบ International Competitive Bidding โดยกำหนดเงื่อนไขของ
การประมูลให้เหมาะสม เป็ นธรรม และกำหนดเงื่อนไขในการจัด
ประกวดผลตอบแทน ทัง้ นี ้ ให้นำความเห็นเกี่ยวกับเงื่อนไขการ
ประมูลตามความเห็น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ สำนักงบประมาณ และสำนักงานอัยการสูงสุดมาประกอบ
การพิจารณาด้วย...” ปรากฏตามสำเนาหนังสือที่ กค
๐๘๒๐.๑/๔๕๙๙ ฉบับลงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๒ เอกสารท้าย
คำฟ้ องหมายเลข ๔
ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๓ คณะรัฐมนตรีประชุมแล้ว
มีมติอนุมัติดำเนินโครงการฯนี ้ ตามที่ คณะกรรมการ PPP เสนอ และ
ให้กระทรวงคมนาคม รฟม. ซึ่งเป็ นหน่วยงานเจ้าของโครงการฯ และ
คณะกรรมการคัดเลือกตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ พ.ศ.๒๕๖๒
มาตรา ๓๖ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบ
ประมาณไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง และให้ถือปฏิบัติ
ให้ถูกต้องตามข้อกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
อย่างเคร่งครัด รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือที่ นร
๐๕๐๕/๓๕๘๐ ฉบับลงวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๓ เอกสารท้าย
คำฟ้ องหมายเลข ๕
เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการรถไฟฟ้ าสายสีส้ม ช่วง
บางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ให้ รฟม. ดำเนินการแล้ว
โครงการนีจ
้ ึงเป็ นโครงการที่จะต้องดำเนินโครงการตาม พ.ร.บ.การ
ร่วมลงทุนฯ พ.ศ.๒๕๖๒ หมวด ๔ ส่วนที่ ๒ การคัดเลือกเอกชน
เป็ นการเฉพาะ และต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ภายใต้มติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้ดำเนินโครงการฯ และตาม
ประกาศคณะกรรมการ PPP ดังนัน
้ รฟม. จึงมีหน้าที่ต้องรับฟั ง
ความคิดเห็นของภาคเอกชน เพื่อนำมาประกอบการจัดทำร่าง
ประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่าง
สัญญาร่วมลงทุน รวมทัง้ แต่งตัง้ คณะกรรมการคัดเลือกเพื่อมาทำ
หน้าที่ให้ความเห็นชอบร่างเอกสารดังกล่าว และดำเนินการคัดเลือก
ภาคเอกชนเพื่อร่วมลงทุนโครงการฯ นี ้ ซึ่งเป็ นไปตาม พ.ร.บ.การร่วม
ลงทุนฯ พ.ศ.๒๕๖๒ มาตรา ๓๕, ๓๖
ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ การรถไฟฟ้ าขนส่ง
มวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย จำเลยที่ ๑ จึงมีคำสั่งที่
๖๗/๒๕๖๓ แต่งตัง้ คณะกรรมการคัดเลือก ที่มีองค์ประกอบของ
คณะกรรมการคัดเลือก ดังนี ้ ๑. รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้ าขนส่ง
มวลชนแห่งประเทศไทย(วิศวกรรมและก่อสร้าง) ประธานกรรมการ
๒. ผู้แทนกระทรวงคมนาคม กรรมการ ๓. ผู้แทนสำนักงานอัยการ
สูงสุด กรรมการ ๔. ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบาย
รัฐวิสาหกิจ กรรมการ ๕. ผู้แทนสำนักงบประมาณ ๖. นายวิทยา ยา
ม่วง กรรมการ ๗. นายอัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต กรรมการ
และ ๘. ผู้อำนวยการฝ่ ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้ า กรรมการและ
เลขานุการ ปรากฏตามสำเนาคำสั่งการรถไฟฟ้ าขนส่งมวลชนแห่ง
ประเทศไทย ที่ ๖๗/๒๕๖๓ เอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข ๖
การดำเนินการของ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือก ต้องเป็ น
ไปตาม มติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติโครงการ, ตาม พ.ร.บ.การร่วมลง
ทุนฯ พ.ศ.๒๕๖๒ และตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วม
ลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.๒๕๖๓ (คณะกรรมการ PPP) รวม
๓ ฉบับ ได้แก่ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการรับฟั งความคิดเห็นของ
ภาคเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๓, เรื่อง รายละเอียดของร่างประกาศเชิญ
ชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และสาระสำคัญของร่าง
สัญญาร่วมลงทุน พ.ศ. ๒๕๖๓ และ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธก
ี าร และ
เงื่อนไขในการคัดเลือกเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๓ เอกสารท้ายคำฟ้ อง
หมายเลข ๗ ถึง ๙ กล่าวคือ ให้ รฟม. จัดทำร่างประกาศเชิญชวน
ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน โดย
จัดให้มีการรับฟั งความคิดเห็นของภาคเอกชนที่เกีย
่ วข้องและต้อง
นําความคิดเห็นดังกล่าวไปพิจารณาประกอบการจัดทำเอกสารร่าง
ประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือก และร่างสัญญา
ร่วมลงทุน เพื่อเสนอให้คณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาให้ความ
เห็น และเมื่อคณะกรรมการคัดเลือก ให้ความเห็นชอบร่างฯดังกล่าว
แล้ว ให้ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือก ดำเนินการคัดเลือกเอกชน
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามประกาศคณะกรรมการ
นโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.๒๕๖๓ (คณะ
กรรมการ PPP) กำหนดต่อไปตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ
พ.ศ.๒๕๖๒ หมวด ๔ ส่วนที่ ๒ เรื่อง การคัดเลือกเอกชน มาตรา
๓๒,๓๕ และมาตรา ๓๙
รฟม. จึงได้ประกาศรับฟั งความคิดเห็นของภาคเอกชนประกอบ
การพิจารณาจัดทำร่างประกาศเชิญชวน และร่างเอกสารสำหรับการ
คัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน ผ่านทางเว็บไซต์
www.mrta.co.th ซึ่ง บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิง้ จำกัด (มหาชน)
ได้ทำแบบสอบถามความคิดเห็น เสนอให้พิจารณาซองที่ ๒ ที่ ๓ แยก
กัน โดยจะเปิ ดข้อเสนอซองที่ ๓ เฉพาะผู้ย่ น
ื ข้อเสนอรายที่ผ่านการ
ประเมินซองที่ ๒ แล้วเท่านัน
้ เพื่อให้การคัดเลือกเอกชนเป็ นไปในรูป
แบบ International Competitive Bidding ตามที่คณะรัฐมนตรีได้
มีมติเห็นชอบไว้ ซึ่งหลังจากผ่านการรับฟั งความคิดเห็นของภาค
เอกชน ตามประกาศของคณะกรรมการ PPP พ.ศ.๒๕๖๓ แล้ว และ
คณะกรรมการคัดเลือก ได้ร่วมกันเห็นชอบร่างประกาศเชิญชวน และ
ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน เพื่อ
ดำเนินการคัดเลือกเอกชนต่อไป รายละเอียดปรากฏตาม
แบบสอบถามการรับฟั งความคิดเห็นของภาคเอกชน เอกสารท้าย
คำฟ้ องหมายเลข ๑๐
เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓ รฟม. ได้ออกประกาศเชิญชวนที่
ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการคัดเลือกตาม มาตรา ๓๘ (๑)
โดยมีสาระสำคัญของขอบเขตโครงการ วัตถุประสงค์ ขอบเขตของ
งาน ระยะเวลาที่ผู้ร่วมลงทุนต้องปฏิบัติตามโครงการ การจัดเก็บราย
ได้ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการ และข้อตกลงเกี่ยวกับการส่ง
เสริมการลงทุน รวมทัง้ คุณสมบัติของผู้ย่ น
ื ข้อเสนอในด้านต่าง ๆ และ
ข้อกำหนดอื่น ๆ โดยเฉพาะได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการ
คัดเลือก วิธก
ี ารและหลักเกณฑ์ในการตัดสินไว้ตาม ข้อ ๙ ซึ่งสรุป
สาระสำคัญได้ว่า ให้จัดทำข้อเสนอแบ่งเป็ น ๔ ซอง ซองที่ ๑ ข้อเสนอ
ด้านคุณสมบัติ ซองที่ ๒ ข้อเสนอด้านเทคนิค ซองที่ ๓ ข้อเสนอด้าน
การลงทุนและผลตอบแทน ซองที่ ๔ ข้อเสนออื่น ๆ โดยจะทำการ
พิจารณาทีละซองข้อเสนอเป็ นลำดับ ซึ่งเมื่อพิจารณาซองแต่ละลำดับ
ผ่านแล้ว จึงจะได้รับสิทธิในการพิจารณาซองลำดับถัดไป สำหรับใน
การพิจารณาซองที่ ๓ ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน ผูท
้ ี่
ยื่นข้อเสนอที่มี NPV ของประโยชน์สท
ุ ธิ (เงินตอบแทนที่ผู้ย่ น
ื ข้อ
เสนอจะให้แก่การรถไฟฟ้ าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
หักด้วยจำนวนเงินสนับสนุนที่ผู้ย่ น
ื ข้อเสนอจะขอรับจากการ
รถไฟฟ้ าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ) สูงที่สด
ุ จะเป็ นผู้
ผ่านการประเมินสูงสุด โดยกำหนดเวลาการจำหน่ายเอกสาร
ประกอบการจัดทำข้อเสนอ (ซองข้อเสนอ) ให้กับผู้ย่ น
ื ข้อเสนอตัง้ แต่
วันที่ ๑๐ ถึงวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๓ และกำหนดการรับซองข้อ
เสนอวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๓ เวลา ๙.๐๐ ถึง ๑๕.๐๐ น. (ปิ ดรับ
ซอง) ปรากฏตามสำเนาประกาศประกาศเชิญชวน เอกสารท้าย
คำฟ้ องหมายเลข ๑๑
ข้อ ๔. ข้อกำหนดตามประกาศเชิญชวนข้างต้น ได้นำมากำหนด
ไว้ในเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for proposal -
RFP) ซึ่ง รฟม. โดยจำเลยที่ ๑ ได้ประกาศขายเอกสารสำหรับการคัด
เลือกเอกชน (RFP) ระหว่างวันที่ ๑๐ - ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๓ โดยมี
เอกชนที่สนใจเข้าซื้อเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน จำนวน ๑๐
ราย ดังนี ้
๑. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BEM

๒. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)


BTSC ( โจทก์คดีนี ้ )
๓. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิง้ ส์ จำกัด (มหาชน) BTS Group

๔. บริษัท ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด


(มหาชน)
๕. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (ผู้
ยื่นข้อเรียกร้อง)
๖. บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
๗. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
๘. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

๙. ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด


๑๐. บริษัท วรนิทัศน์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด
โจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนของผู้ย่ น
ื ข้อเสนอ ตามข้อ ๓. ของ
ประกาศเชิญชวน เอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข ๑๐ โดยเมื่อวันที่
๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓ โจทก์ได้ทำการซื้อซองข้อเสนอราคาชุดละ
๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ปรากฏตามสำเนาใบเสร็จรับ
เงินค่าธรรมเนียมซื้อเอกสารคัดเลือกเอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข
๑๒
อนึ่ง เอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for
proposal - RFP) จะประกอบด้วยกันเอกสารทัง้ หมด ๕ เล่ม ได้แก่
เล่มที่ ๑ ข้อแนะนำผู้ย่ น
ื เล่มที่ ๒ ร่างสัญญาร่วมลงทุน เล่มที่ ๓ ข้อ
กำหนดของการรถไฟฟ้ าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย( รฟม.) เล่มที่
๔ ข้อกำหนดทางเทคนิค และ เล่มที่ ๕ แบบรูป
ซึ่งในส่วนของวิธีการและเกณฑ์ในการประเมินข้อเสนอการร่วม
ลงทุนจะอยู่ในเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน เล่มที่ ๑ ข้อแนะนำ
ผู้ย่ น
ื ข้อเสนอ ข้อ ๒๙. และ ข้อ ๓๓.๒ มีสาระสำคัญว่า การพิจารณา
ซองที่ ๑ ข้อเสนอด้านคุณสมบัติ ผู้ย่ น
ื ข้อเสนอจะต้องมีคุณสมบัติ
ตามที่ได้กำหนดไว้ และเป็ นการประเมินแบบ ผ่าน/ไม่ผ่าน ซึ่งต้องมี
ความครบถ้วนและความถูกต้องของเอกสาร มิฉะนัน
้ จะถือว่าไม่ผ่าน
เกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอซองที่ ๑ และจะไม่เปิ ดข้อเสนอซองที่ ๒
แต่ถ้าผู้ย่ น
ื ข้อเสนอผ่านการตรวจสอบแล้ว ก็จะได้รับการพิจารณาใน
ข้อเสนอในซองที่ ๒ ต่อไป
ส่วนการพิจารณาข้อเสนอซองที่ ๒ ข้อเสนอด้านเทคนิค จะ
เป็ นการประเมินข้อเสนอแบบคะแนนคิดเป็ นร้อยละเต็มร้อยละ ๑๐๐
แบ่งออกเป็ น ๕ หมวด โดยผู้ย่ น
ื ข้อเสนอจะต้องได้รับคะแนนการ
ประเมินในแต่ละหมวดไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ และได้รับคะแนนการ
ประเมินรวมของทุกหมวดไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ ของคะแนนรวม
ทัง้ หมด มิฉะนัน
้ จะถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอซองที่ ๒
และจะไม่เปิ ดข้อเสนอซองที่ ๓
ส่วนการพิจารณาข้อเสนอซองที่ ๓ ข้อเสนอด้านการลงทุนและ
ผลตอบแทน จะประเมินข้อเสนอของผู้ย่ น
ื ข้อเสนอที่มี NPV ของผล
ประโยชน์สท
ุ ธิ (เงินตอบแทนที่ผู้ย่ น
ื ข้อเสนอจะให้แก่ รฟม. หัก
ด้วยจำนวนเงินสนับสนุนที่ผู้ย่ น
ื ข้อเสนอจะขอรับจาก รฟม.) สูง
ที่สุดจะเป็ นผู้ผ่านการประเมินสูงสุด (ซึ่งเป็ นไปตามผลรายงานการ
ศึกษาและวิเคราะห์โครงการ ตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ
พ.ศ.๒๕๕๖ ที่ คณะกรรมการ PPP โดยจำเลยที่ ๕ ในตำแหน่ง
กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ PPP ได้เสนอโครงการต่อ
คณะรัฐมนตรีจนมีมติอนุมัติโครงการตามที่เสนอ) โดยในการยื่นซอง
ข้อเสนอการร่วมลงทุนจะอยู่ในข้อ ๖. ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาให้
เอกชนยื่นข้อเสนอได้ในวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๓ เวลา ๙.๐๐
นาฬิกา ถึง ๑๕.๐๐ นาฬิกา
ปรากฏตามสำเนาเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน เล่มที่ ๑
(RFP No.1) ข้อแนะนำผู้ย่ น
ื ข้อเสนอ เอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข
๑๓
โจทก์กับเอกชนรวม ๑๐ รายดังกล่าวข้างต้น จึงเป็ นผู้มีสิทธิย่ น

ข้อเสนอต่อ รฟม. ในวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๓ ตามขัน
้ ตอนการคัด
เลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนในโครงการฯ นีต
้ ่อไป
ข้อ ๕. ภายหลังจากมีการปิ ดการจำหน่ายเอกสารสำหรับการ
คัดเลือกเอกชน (วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๓) ไปแล้ว
เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๓ โจทก์ทราบข่าวว่า จะมีการ
พิจารณาเปลี่ยนแปลง แก้ไข หลักเกณฑ์ วิธีการประเมินข้อเสนอที่
ประกาศไว้แล้ว ซึ่งถือเป็ นสาระสำคัญในการประมูลคัดเลือกเอกชน
เพื่อเข้าร่วมทุนกับรัฐในโครงการนี ้ โดยฝ่ ายกฎหมายของโจทก์เห็นว่า
น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อโจทก์ทราบว่า จะมีการพิจารณาแก้ไข หลักเกณฑ์ วิธีการ
การประเมินข้อเสนอของเอกสารสำหรับคัดเลือกเอกชน เล่มที่ ๑
(RFP No.๑) ตามเอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข ๑๓ จนกระทั่ง รฟม.
และคณะกรรมการคัดเลือก ได้มีมติและคำสั่งให้แก้ไขหลักเกณฑ์ดัง
กล่าวแล้ว
โดยระหว่างวันที่ ๒๐ ถึงวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๓ โจทก์ได้ทำ
หนังสือโต้แย้งคัดค้าน ทัง้ ก่อนการประชุมแก้ไข และภายหลังมีมติ
แก้ไขหลักเกณ์ดังกล่าวแล้ว แต่ไม่เป็ นผล และต่อมาเมื่อวันที่ ๑๐
และ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๓ โจทก์จึงทำหนังสือขอความเป็ นธรรมถึง
จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๗ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโครงการนี ้ ปรากฏ
ตามสำเนาหนังสือของโจทก์ เอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข ๑๔ ถึง
หมายเลข ๑๙ แต่โจทก์ก็ไม่ได้รับคำชีแ
้ จงใด และความเป็ นธรรมใน
เรื่องนี ้ ในที่สุดโจทก์ได้ทูลเกล้าถวายฎีกาเพื่อขอความเป็ นธรรมใน
เหตุนแ
ี ้ ล้ว รายละเอียดข้อเท็จจริงจะได้นำเสนอต่อศาลในชัน

พิจารณาต่อไป
โจทก์ได้ทราบความจริงในเรื่องนี ้ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๓
ว่า การรถไฟฟ้ าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้มีการ
ประกาศเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในการประเมินข้อเสนอใหม่ มีสาระ
สำคัญในข้อ ๒๙ และ ๓๓.๒ ว่า ให้พิจารณาคะแนนด้านเทคนิคและ
การลงทุนและผลตอบแทนร่วมกัน โดยกำหนดสัดส่วนการให้คะแนน
ด้านเทคนิคเป็ นร้อยละ ๓๐ คะแนน ด้านการลงทุนและผลตอบแทน
เป็ นร้อยละ ๗๐ คะแนน โดยด้านการลงทุนและผลตอบแทนนี ้ แบ่ง
เป็ น ๒ หมวด (๑) ความน่าเชื่อถือและครบถ้วนถูกต้อง ๑๐ คะแนน
(๒) ผลตอบแทนทางการเงิน ๖๐ คะแนน หากผู้ย่ น
ื ข้อเสนอรายใด
ผ่านการประเมินสูงสุดจะได้รับการประเมินให้เป็ นผู้ชนะการคัดเลือก
โดยกำหนดวันยื่นซองข้อเสนอใหม่เป็ นวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๓
เวลา ๙.๐๐ นาฬิกา ถึง ๑๕.๐๐ นาฬิกา ปรากฏตามสำเนาหนังสือที่
รฟม๐๐๗(คกก)/สม/ว ๑๙ และ เอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน
เพิ่มเติมครัง้ ที่ ๑ (RFP Addendum No. ๑) เอกสารท้ายคำฟ้ อง
หมายเลข ๒๐ และ ๒๑
การแก้ไขหลักเกณฑ์การประเมินดังกล่าว ขัดต่อหลักการที่คณะ
รัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ดำเนินโครงการฯ ตามที่ คณะกรรมการ PPP
เสนอ ในหลักการที่ รัฐต้องได้รับผลประโยชน์ตอบแทนทางการเงินที่
ดีที่สุดหรือมีการขอรับเงินสนับสนุนทางการเงินจากภาครัฐน้อยที่สุด
(NPV ต่ำสุด จะเป็ นผู้ชนะการคัดเลือกฯ) และเป็ นการเปลี่ยนแปลง
หลักเกณฑ์อันเป็ นสาระสำคัญในการพิจารณาการคัดเลือก วิธีการ
และหลักเกณฑ์ในการตัดสิน ตามประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุน
ระหว่างรัฐและเอกชน ข้อ ๙ เอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข ๑๑ ซึ่ง
ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการคัดเลือกและประกาศใช้แล้ว
ตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ พ.ศ.๒๕๖๒ มาตรา ๓๘ (๑)
การกระทำของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๗ ในการออกคำสั่งและมีมติที่
ไม่ชอบด้วยกฎหมายนัน
้ ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๓ โจทก์
จึงยื่นฟ้ องคดีปกครอง กับ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือก (จำเลย
ที่ ๒ ถึงที่ ๗ ในคดีนี)้ ต่อศาลปกครองกลาง เป็ นคดีหมายเลขดำที่
๒๒๘๐/๒๕๖๓ เพื่อให้ ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง
เพิกถอนมติในการออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน เพิ่มเติม
ครัง้ ที่ ๑ (RFP Addendum No. ๑) และโจทก์ได้ย่ น
ื คำร้อง ขอทุเลา
การบังคับตามมติที่เห็นชอบเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิธีการประเมินข้อ
เสนอของคณะกรรมการคัดเลือก ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม
๒๕๖๓ ศาลปกครองกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับ โดยเห็น
ว่า “...กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการแข่งขันราคาอย่างเป็ นธรรม คำสั่ง
แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติม
ครัง้ ที่ ๑ จึงเป็ นคำสั่งที่น่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับความไม่ชอบด้วย
กฎหมาย...” ซึ่งศาลปกครองกลางได้วินิจฉัยว่า หลักเกณฑ์การคัด
เลือกเอกชนนัน
้ ต้องดำเนินการให้เป็ นไปตามประกาศของ คณะ
กรรมการ PPP กล่าวคือ ต้องพิจารณาคัดเลือกโดยระบุหลักเกณฑ์
วิธีการในการตัดสินให้ชัดเจนเป็ นคะแนนในแต่ละด้านไป การ
กำหนดหลักเกณฑ์คราวแรกได้ดำเนินการมาโดยชอบ และได้มีการ
ประกาศใช้บังคับหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว และตาม พ.ร.บ.การร่วมลง
ทุนฯ พ.ศ.๒๕๖๒ มาตรา ๓๘ ก็มิได้บัญญัติให้คณะกรรมการคัดเลือก
แก้ไขหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือก ซึ่งเป็ นอำนาจของคณะ
กรรมการ PPP แต่อย่างใด จึงให้ทุเลาในการใช้หลักเกณฑ์ใหม่ใน
การดำเนินการคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนโครงการฯ ไว้เป็ นการ
ชัว่ คราว จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็ นอย่างอื่น ปรากฏ
ตามสำเนาคำฟ้ องคดีปกครองและสำเนาคำสั่งเกี่ยวกับวิธก
ี ารชัว่ คราว
เอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข ๒๒ และ ๒๓
วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ รฟม. ได้มีหนังสือแจ้งโจทก์ ความ
ว่า “…ด้วยศาลปกครองกลาง มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามหลัก
เกณฑ์การร่วมลงทุนของคณะกรรมการคัดเลือกฯ ซึ่งผ่านความเห็น
ชอบของ รฟม. ในการแก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารสำหรับ
การคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครัง้ ที่ ๑ ไว้เป็ นการชัว่ คราวจนกว่าจะมี
คำพิพากษาหรือคำสั่งเป็ นอย่างอื่น และ รฟม. ได้อุทธรณ์คำสั่งดัง
กล่าวแล้ว โดยยังคงกำหนดการยื่นข้อเสนอการร่วมลงทุนโครงการ
เป็ นวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ตามทีก
่ ำหนดไว้ในเอกสารสำหรับ
การคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครัง้ ที่ ๑ (RFP Addendum No. ๑)
ปรากฏตามสำเนาหนังสือที่ รฟม ๐๐๗(คกก)/สม/ว ๓๒ เอกสารท้าย
คำฟ้ องหมายเลข ๒๔
ในวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ โจทก์ได้ร่วมกับ บริษัท บีทีเอส
กรุ๊ป โฮลดิง้ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ชิโน - ไทย เอ็นจิเนียริ่ง
แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ยื่นข้อเสนอต่อการรถไฟฟ้ า
ขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในนาม กิจการร่วมค้า บีเอ
สอาร์ (BSR Join Venture) ตามวันเวลาดังกล่าว ปรากฏว่า มี
เอกชนยื่นข้อเสนอการร่วมลงทุน ๒ ราย คือ กิจการร่วมค้า BSR กับ
บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM
ต่อมา เมื่อถึงกำหนดเปิ ดซองข้อเสนอการร่วมลงทุน ในวันที่
๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ กลับไม่ทำการเปิ ดซอง
ข้อเสนอของผู้ย่ น
ื ข้อเสนอทัง้ ๒ ราย เพื่อดำเนินการคัดเลือกต่อไป
โดยอ้างว่า รอคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลปกครองสูงสุดเกี่ยวกับคำสั่ง
ทางปกครอง แต่ปรากฏว่า ในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ รฟม. โดย
จำเลยที่ ๑ และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ทำการประชุมแล้วมีมติ
ยกเลิกประกาศเชิญชวน ฉบับลงวันที่ ๓ กรกฏคม ๒๕๖๓ ในทันที
ซึ่งมีผลให้การดำเนินการคัดเลือกที่ผ่านมา ถูกยกเลิกไปทัง้ หมด ราย
ละเอียดปรากฏตามสำเนาประกาศ เรื่องยกเลิกประกาศเชิญชวนการ
ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการรถไฟฟ้ าสายสีส้มฯ เอกสาร
ท้ายคำฟ้ องหมายเลข ๒๕
การกระทำอันเป็ นความผิดคดีทุจริตและประพฤติมิชอบและ
พฤติการณ์การกระทำความผิดพร้อมพยานหลักฐานที่จะดำเนิน
กระบวนพิจารณาคดีนต
ี ้ ่อไป มีดังนี ้
ข้อ ๗. ระหว่างวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๓ ถึงวันที่ ๓
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลากลางวัน ต่อเนื่องกัน จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๗ ได้
บังอาจร่วมกันกระทำความผิดกฎหมายอาญา ต่างกรรมต่างวาระ
ดังนี ้
๗.๑ เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๓ เวลากลางวัน จำเลยที่ ๑
ในฐานะผู้ว่าการ รฟม. มีอำนาจหน้าที่บริหารกิจการของ รฟม. ซึ่ง
เป็ นหน่วยงานเจ้าของโครงการตาม พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ
พ.ศ.๒๕๖๒ ให้เป็ นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับและนโยบายที่คณะ
กรรมการการรถไฟฟ้ าขนส่งมวลชนแห่ประเทศไทย ตามพระราช
บัญญัตก
ิ ารรถไฟฟ้ าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๔๓
มาตรา ๒๔ และเป็ นผู้บังคับบัญชาจำเลยที่ ๒ ซึ่งทำหน้าที่ประธาน
คณะกรรมการคัดเลือกและ จำเลยที่ ๗ ทำหน้าทีก
่ รรมการและ
เลขานุการในคณะกรรมการคัดเลือก มีอำนาจในการพิจารณาคุณ
และโทษกับจำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๗ ได้บังอาจใช้อำนาจใน
ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิ
ชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการ
ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต โดยร่วมกับจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ ร่วมประชุม
แก้ไขหลักเกณฑ์ในการประเมินข้อเสนอตามเอกสารสำหรับการคัด
เลือกเอกชน เล่มที่ ๑ (RFP No.๑) ใหม่ กล่าวคือ
ตามวันเวลาเกิดเหตุข้างต้น จำเลยที่ ๑ ไม่มีอำนาจหน้าที่ใน
ฐานะคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา ๓๖ แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลง
ทุนฯ พ.ศ.๒๕๖๒ ได้บังอาจเสนอเรื่องการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เอกสาร
สำหรับการคัดเลือกเอกชน เล่มที่ ๑ ข้อแนะนำผู้ย่ น
ื ข้อเสนอ ซึ่งผ่าน
การเห็นชอบของคณะกรรมการคัดเลือกแล้ว โดยจำเลยที่ ๑ ทราบดี
ว่าไม่สามารถกระทำได้ตามกฎหมาย ทัง้ บังอาจเข้าร่วมประชุมกับ
คณะกรรมการคัดเลือก (ประกอบด้วย จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ และ
นางสาวกนกรัตน์ ขุนทอง กรรมการผู้แทนสำนักงบประมาณ) จำเลย
ที่ ๑ กระทำการในลักษณะเข้าไปกระทำการกำกับ ควบคุม สั่งการใน
ที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือก โดยจำเลยที่ ๑ ได้ให้นำข้อเรียก
ร้องของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) นำ
เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือก เพื่อให้มีการปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์วิธก
ี ารประเมินข้อเสนอ ในเอกสารสำหรับ
การคัดเลือกเอกชน (Request for proposal : RFP) เล่มที่ ๑ ข้อ
แนะนำผู้ย่ น
ื ข้อเสนอ ตามข้อเรียกร้องของเอกชนรายนี ้ เพื่อให้แก้ไข
เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ วิธก
ี ารประเมินข้อเสนอที่กำหนดไว้ ตาม
ประกาศเชิญชวนฯ ข้อ ๙ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการคัดเลือก วิธี
การและหลักเกณฑ์ในการตัดสิน ตามเอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข
๑๑ และ เอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for
proposal : RFP) เล่มที่ ๑ (ข้อแนะนำผู้ย่ น
ื ข้อเสนอ) ข้อ ๒๙ (การ
ประเมินข้อเสนอ) และ ๓๓.๒ ตามเอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข ๑๓)
เพื่อให้คณะกรรมการคัดเลือกพิจารณา โดย จำเลยที่ ๑ ทราบดีแล้ว
ว่า ตนเองในฐานะผู้ว่าการ รฟม. ไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายทีจ
่ ะ
นำเสนอข้อเรียกร้องของเอกชนรายนี ้ เสนอต่อที่ประชุมคณะ
กรรมการคัดเลือก โดยจำเลยที่ ๑ ในฐานะผู้ว่าการ รฟม. และจำเลย
ที่ ๒ ถึงที่ ๗ ในฐานะคณะกรรมการคัดเลือก ก็ทราบดีอีกว่า ข้อเรียก
ร้องของเอกชนรายนี ้ ได้พ้นกำหนดเวลาทีก
่ ฎหมายเปิ ดโอกาสให้
รฟม. หน่วยงานเจ้าของโครงการ รับฟั งความคิดเห็นของภาคเอกชน
ที่เกีย
่ วข้อง (Opinion Hearing) และ รฟม. ได้รับฟั งความคิดเห็น
จากเอกชนตามกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว เมื่อวันที่ ๒๗
พฤษภาคม ๒๕๖๓ จำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๗ และนางสาวกนกรัตน์
ขุนทอง ซึ่งทำหน้าที่คณะกรรมการคัดเลือก มีมติเห็นชอบในร่าง
ประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่าง
สัญญาร่วมลงทุน จนนำมาประกาศใช้ในการคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วม
ลงทุนในโครงการฯ นี ้ ตามขัน
้ ตอนของกฎหมายแล้ว ซึ่งต่อมา รฟม.
ได้ประกาศขายซองเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน โดยโจทก์กับ
เอกชนรวม ๑๐ ราย ได้ทำการซื้อซองเอกสารแล้ว จนปิ ดการรับซอง
และกำหนดวันยื่นซองข้อเสนอในวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๓ และ
จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ รวมถึงนางสาวกนกรัตน์ ขุนทอง ในฐานะ
กรรมการคัดเลือกก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ไปตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ
พ.ศ.๒๕๖๒ มาตรา ๓๙ แล้ว ดังนัน
้ จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๗ จึงต้อง
ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดยดำเนินการคัดเลือกเอกชนตามหลักเกณฑ์และ
วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการ PPP กำหนดไว้ ตาม พ.ร.บ.การ
ร่วมลงทุนฯ พ.ศ.๒๕๖๒ มาตรา ๓๒ วรรคสอง
การกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ ๑ ในการนำ
เสนอข้อเรียกร้องเอกชนรายนี ้ เป็ นการสมคบคิดกันเพื่อให้จำเลยที่ ๒
ถึงที่ ๗ นำข้อเรียกร้องของเอกชนรายนีเ้ ข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุม
โดยจำเลยทุกคนรู้อยู่แล้วว่า ไม่มีอำนาจตามกฎหมายทีจ
่ ะนำข้อเรียก
ร้องนีม
้ าพิจารณาอีก จนจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ ได้มีมติคณะกรรมการคัด
เลือก ให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์วธิ ีการประเมินข้อเสนอฯ
ตามข้อเรียกร้องของเอกชนรายนี ้ ได้ในที่สุด จึงเป็ นการปฏิบัติหน้าที่
ในฐานะคณะกรรมการคัดเลือกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โดยต่อมา
โจทก์ได้ย่ น
ื ฟ้ องคดีปกครองต่อศาลปกครองกลาง เพื่อเพิกถอนคำสั่ง
และมตินี ้ โดยศาลมีคำสั่งรับคำฟ้ องไว้พิจารณาและมีคำสั่งให้ทุเลา
การบังคับ ห้ามใช้มติหรือคำสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ใหม่นี ้
จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็ นอย่างอื่น โดยศาลปกครอง
กลาง ให้เหตุผลอันสำคัญในคำสั่งการทุเลาการบังคับคดีนโี ้ ดยเห็นว่า
“...การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน
(RFP) แม้ ผู้ถูกฟ้ องคดีทงั ้ สองมีอำนาจที่จะกระทำได้ แต่ต้องไม่เกิน
ขอบอำนาจหน้าทีข
่ องผู้ถูกฟ้ องคดีทงั ้ สอง ตามประกาศคณะ
กรรมการดังกล่าว ประกอบกับการแก้ไขหลักเกณฑ์ครัง้ นีส
้ ืบเนื่องมา
จากมีข้อเรียกร้องจาก บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (ม
หาชน) เอกชนผู้ซ้อ
ื ซองอีกรายที่มีสิทธิทจ
ี่ ะเข้าแข่งขันในการเสนอ
ราคาในครัง้ นี ้ ในชัน
้ นี ้ จึงเห็นว่า กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการแข่งขัน
ราคาอย่างเป็ นธรรม การแก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการ
คัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครัง้ ที่ ๑ โดยใช้การประเมินซองที่ ๒ และซอง
ที่ ๓ รวมกันแบ่งสัดส่วนเป็ นคะแนนซองที่ ๒ จำนวน ๓๐ คะแนน
และคะแนนซองที่ ๓๐ จำนวน ๗๐ คะแนน จึงเป็ นคำสั่งที่น่าจะมี
ปั ญหาเกีย
่ วกับความไม่ชอบด้วยกฎหมาย.......” ปรากฏตามคำฟ้ อง
และคำสั่งศาลปกครองกลาง เอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข ๒๒ และ
๒๓ นัน
้ การกระทำของจำเลยที่ ๑ จึงเป็ นการปฏิบัติหน้าที่หรือ
ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่ง
ผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตและประพฤติมิ
ชอบ
๗.๒ เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๓ เวลากลางวัน ขณะเกิดเหตุ
จำเลยที่ ๒ ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการคัดเลือก และจำเลยที่ ๓
ถึงที่ ๗ ทำหน้าที่กรรมการในคณะกรรมการคัดเลือก ตาม พ.ร.บ.การ
ร่วมลงทุนฯ พ.ศ.๒๕๖๒ มาตรา ๓๖ มีหน้าที่และอำนาจตามมาตรา
๓๘ (๑) พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสาร
สำหรับการคัดเลือกเอกชนและร่างสัญญาร่วมลงทุน (๒) กำหนดค่า
ธรรมเนียมการขายเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน ค่าธรรมเนียม
การประเมินข้อเสนอ และค่าธรรมเนียมการลงนามในสัญญาร่วมทุน
(๓) กำหนดหลักประกันซองและหลักประกันสัญญาร่วมลงทุน (๔)
เจรจาและพิจารณาคัดเลือกเอกชนให้เข้าร่วมโครงการร่วมลงทุน (๕)
เจรจาร่างสัญญาร่วมลงทุน (๖)ขอให้หน่วยงานเจ้าของโครงการ
เอกชนหรือหน่วยงานของรัฐที่เกีย
่ วข้องกับโครงการ ชีแ
้ จงแสดงความ
เห็น หรือจัดส่งข้อมูลหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง (๗) พิจารณาดำเนินการ
อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกเอกชนของโครงการร่วมลงทุนตามที่
เห็นสมควร
จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ ได้บังอาจร่วมกันสมคบคิดกับจำเลยที่ ๑
ตามคำฟ้ องข้อ ๗.๑ ร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิ
ชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือร่วมกันปฏิบัติหรือ
ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จึงเป็ นกระทำผิดกฎหมายอาญา
อันเป็ นการกระทำความผิดอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ กล่าว
คือ
ผลสืบเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยที่ ๑ ตามคำฟ้ อง
ข้อ ๗.๑. ตามวันเวลาดังกล่าวข้างต้น จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ กระทำโดย
มิชอบอันเป็ นการเอื้อประโยชน์ให้กับ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อป
เมนต์ จำกัด (มหาชน) และหรือเอกชนรายอื่นผู้ย่ น
ื ข้อเสนอในโครง
การฯนี ้ ให้ได้รับประโยชน์จากการแก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลง
เอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครัง้ ที่ ๑ (RFP
Addendum No.๑) โดยตามวันเวลาเกิดเหตุ จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗
และนางสาวกนกรัตน์ ขุนทอง กรรมการผู้แทนสำนักงบประมาณ ใน
ฐานะคณะกรรมการคัดเลือก ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการคัด
เลือก เพื่อพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์วิธก
ี ารประเมินข้อเสนอการ
ร่วมลงทุนในเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน เล่มที่ ๑ ข้อแนะนำผู้
ยื่นข้อเสนอ (RFP No.๑) ตามข้อเรียกร้อง ของบริษัท อิตาเลียนไทย
ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) โดยตามวันเวลาดังกล่าวข้างต้น
จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ (ยกเว้น นางสาวกนกรัตน์ ขุนทอง) ได้ลงมติเห็น
ชอบให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์วธิ ีการประเมินข้อเสนอฯ
ตามข้อเรียกร้องของเอกชนรายนี ้ โดยร่วมกันลงมติแก้ไขเพิ่มเติมและ
เปลี่ยนแปลงเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเล่มที่ ๑ ข้อแนะนำ
ผู้ย่ น
ื ข้อเสนอ โดยใช้หลักเกณฑ์วธิ ีการประเมินข้อเสนอใหม่ ให้ใช้วธิ ี
การประเมินข้อเสนอซองที่ ๒ ข้อเสนอทางด้านเทคนิค มาคิดคะแนน
รวมกับ ซองที่ ๓ ข้อเสนอทางด้านการเงิน โดยกำหนดสัดส่วนการให้
คะแนน ๓๐/๗๐ หากผู้ย่ น
ื ข้อเสนอผ่านการประเมินสูงสุด ก็จะได้รับ
การประเมินให้เป็ นผู้ชนะการคัดเลือก (รายละเอียดในรายงานการ
ประชุมและมติคณะกรรมการในครัง้ นี ้ โจทก์จะได้ออกหมายเรียกจาก
รฟม. ในชัน
้ ไต่สวนมูลฟ้ องต่อไป)
การกระทำของจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ ไม่มีกฎหมายให้อำนาจคณะ
กรรมการคัดเลือก ในการพิจารณาเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์
วิธีการประเมินข้อเสนอฯ นีไ้ ด้ เนื่องจากข้อเรียกร้องของเอกชนรายนี ้
เป็ นการกระทำอันมีลักษณะเสนอความคิดเห็นของเอกชนเพียงราย
เดียว ซึ่งถือว่าเป็ นขัน
้ ตอนการรับฟั งความคิดเห็นของภาคเอกชนที่
เกี่ยวข้อง (Opinion Hearing) ซึ่งขัน
้ ตอนนีไ้ ด้ผ่านขัน
้ ตอนตาม
บทบัญญัติของ พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ พ.ศ.๒๕๖๒ มาตรา ๓๒ วรรค
สอง มาตรา ๓๕ วรรคสอง วรรคท้ายมาแล้ว จนเมื่อวันที่ ๒๗
พฤษภาคม ๒๕๖๓ คณะกรรมการคัดเลือก ได้พิจารณาให้ความเห็น
ชอบร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนและ
ร่างสัญญาร่วมลงทุน จนได้จัดทำเอกสารประกาศเชิญชวน เอกสาร
สำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุนตาม พ.ร.บ.การ
ร่วมลงทุนฯ พ.ศ.๒๕๖๒ โดยกำหนดค่าธรรมเนียมการขายเอกสาร
สำหรับการคัดเลือกเอกชน ให้เป็ นไปตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ
พ.ศ.๒๕๖๒ มาตรา ๓๘ (๑)(๒) แล้ว ซึ่งมีการประกาศขายซอง
เอกสารและปิ ดการขายซองเอกสารและกำหนดเจรจาและพิจารณา
คัดเลือกเอกชนให้เข้าร่วมโครงการร่วมลงทุนแล้ว อีกทัง้ ไม่มี
บทบัญญัติกฎหมายใดให้อำนาจคณะกรรมการคัดเลือก กระทำการ
พิจารณาเปลี่ยนแปลง แก้ไข หลักเกณฑ์วธิ ีการประเมินข้อเสนอการ
ร่วมลงทุนในเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเล่มที่ ๑ (RFP No.๑)
ข้อแนะนำผู้ย่ น
ื ข้อเสนอ ได้ เว้นแต่ จะเข้าองค์ประกอบของ ประกาศ
คณะกรรมการ PPP เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัด
เลือกเอกชน พ.ศ.๒๕๖๓ ข้อ ๙ ส่วนในบทบัญญัติตามมาตรา ๓๘
(๗) ก็ให้อำนาจคณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาดำเนินการอื่น ๆ ที่
เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกเอกชนของโครงการร่วมลงทุนตามที่เห็น
สมควรเท่านัน
้ ซึ่งเป็ นการพิจารณาดำเนินการอื่น ๆ อันมิใช่สาระ
สำคัญ ของกระบวนการคัดเลือกเอกชน
ดังนัน
้ จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ ในฐานะคณะกรรมการคัดเลือก จึง
ไม่มีอำนาจหน้าที่ ตามพ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ พ.ศ.๒๕๖๒ มาตรา
๓๘ ในการพิจารณาเปลี่ยนแปลง แก้ไข หลักเกณฑ์วิธก
ี ารประเมินข้อ
เสนอการร่วมลงทุนในเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเล่มที่ ๑ ข้อ
แนะนำผู้ย่ น
ื ข้อเสนอ นีไ้ ด้ เพราะการพิจารณาเปลี่ยนแปลง แก้ไข
หลักเกณฑ์วธิ ีการประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุนซึ่งถือเป็ นสาระ
สำคัญ ปรากฏอยู่ในรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ ที่จัดทำ
ขึน
้ โดยผ่านขัน
้ ตอนการจัดทำและเสนอโครงการตาม พ.ร.บ.การร่วม
ลงทุนฯ พ.ศ.๒๕๕๖ มาอย่างถูกต้องแล้ว อีกทัง้ คณะกรรมการ PPP
โดยจำเลยที่ ๕ ได้เสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี และเป็ น
หลักเกณฑ์วธิ ีการประเมินข้อเสนอที่ผ่านการรับฟั งความคิดเห็นของ
ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาจาก รฟม.จนคณะ
กรรมการคัดเลือกพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเผยแพร่ประกาศ
เชิญชวนตามกฎหมายเสร็จสิน
้ แล้ว ซึ่งมีเพียง ประกาศคณะกรรมการ
PPP เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธก
ี าร และเงื่อนไขในการคัดเลือกเอกชน
พ.ศ.๒๕๖๓ ข้อ ๙ เพียงข้อเดียวเท่านัน
้ ทีจ
่ ะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
แต่อย่างไรก็ตาม การแก้ไขหลักเกณฑ์ วิธก
ี ารประเมินข้อเสนอต้องมี
การนำเสนอต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทัง้ หมดตามขัน
้ ตอน เพื่อ
ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในการเปลี่ยนแปลง แก้ไข หลักเกณฑ์
ดังกล่าวนีก
้ อ
่ น จึงจะกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การกระทำ
ของจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ ที่ลงมติแก้ไขหลักเกณฑ์ฯ ดังกล่าวนี ้ สืบ
เนื่องมาจากข้อเรียกร้องของเอกชนรายหนึ่งที่ย่ น
ื หนังสือขอให้
เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในการพิจารณาประเมินข้อเสนอ ที่นอกจาก
จะไม่มีกฎหมายให้อำนาจกระทำแล้ว ยังมีพฤติการณ์ชใี ้ ห้เห็นว่า
จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ ได้เร่งรีบดำเนินการทันที โดยไม่คำนึงถึงว่าบริษัท
เอกชนอื่น ๆ ซึ่งเป็ นผู้มีส่วนได้เสียในโครงการฯ นี ้ ทัง้ การแก้ไข
เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ใหม่ ต้องถือว่าเป็ นความเห็นซึ่งไม่ได้ผ่านการ
รับฟั งความคิดเห็นของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องตามกฎหมาย ตาม
พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ พ.ศ.๒๕๖๒ มาตรา ๓๕ แต่กลับนำความเห็น
ของบริษัทเอกชนรายนีเ้ พียงรายเดียว ขึน
้ มาพิจารณาแล้วมีมติแก้ไข
เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ใหม่ ซึ่งเกี่ยวกับการลงมตินต
ี ้ ามข้อเรียกร้อง
ของเอกชนรายนี ้ โดยข้อเท็จจริงแล้ว โจทก์ได้ทำหนังสือสอบถาม
และคัดค้านถึง จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๗ แล้วหลายครัง้ ปรากฏตามหนังสือ
ของโจทก์ เอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข ๑๔ ถึง ๑๗ รวมถึงมีข้อโต้
แย้งคัดค้านของกรรมการคัดเลือก ผู้แทนสำนักงบประมาณในที่
ประชุมคณะกรรมการตามวันเวลาข้างต้นด้วย
การกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ ในการ
ร่วมสมคบคิดกระทำผิด กับจำเลยที่ ๑ นัน
้ นางสาวกนกรัตน์ ขุนทอง
กรรมการคัดเลือกผู้แทนสำนักงบประมาณ (ซึ่งได้รับการแต่งตัง้ เข้ามา
ร่วมเป็ นคณะกรรมการคัดเลือกตาม มาตรา ๓๖ วรรคสอง เนื่องจาก
โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ าสายสีส้มเป็ นโครงการที่ต้องใช้เงินงบ
ประมาณแผ่นดิน ดังนัน
้ ตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ พ.ศ.๒๕๖๒ จึง
กำหนดให้แต่งตัง้ ผู้แทนจากสำนักงบประมาณมาร่วมเป็ นคณะ
กรรมการคัดเลือกด้วย) ได้โต้แย้ง ทักท้วงและคัดค้านการกระทำ
หน้าที่โดยมิชอบของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๗ ตามวันเวลาเกิดเหตุแล้ว แต่
จำเลยทัง้ เจ็ด กลับไม่สนใจและรับฟั ง ทัง้ ไม่มีข้อชีแ
้ จงใด ๆ ที่อ้างอิง
หลักกฎหมายมาหักล้างความเห็นของผู้แทนสำนักงบประมาณ ซึ่งถือ
เป็ นหน่วยงานกลางที่มีความสำคัญระดับประเทศ ที่ความเห็นของ
หน่วยงานนี ้ คณะกรรมการโดยทั่วไปต้องรับฟั งและนำไปพิจารณา
เพื่อดำเนินการการเปิ ดประมูลงานของโครงการให้เหมาะสมเป็ น
ธรรม แสดงให้เห็นถึงเจตนาในการกระทำความผิดของจำเลยทัง้ เจ็ด
อย่างชัดเจน ในความประสงค์ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ วิธี
การประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุนในโครงการนีใ้ ห้ได้โดยเจตนา
ทุจริต เพื่อเป็ นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนบางรายที่ร่วมในการ
ประมูลในโครงการนี ้
ต่อมาผู้แทนสำนักงบประมาณได้ทำหนังสือคัดค้านถึงการ
รถไฟฟ้ าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เจ้าของโครงการ ว่า มติของ
จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๓ และคำสั่งจำเลยที่
๑ ฉบับลงวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๓ ตามเอกสารท้ายคำฟ้ อง
หมายเลข ๑๔ ที่ให้เปลี่ยนแปลง แก้ไข หลักเกณฑ์วธิ ีการประเมินข้อ
เสนอการร่วมลงทุนในเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเล่มที่ ๑
(RFP no.๑) ข้อแนะนำผู้ย่ น
ื ข้อเสนอ นัน
้ จะต้องนำเสนอตามขัน
้ ตอน
เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดัง
กล่าวก่อน คณะกรรมการคัดเลือกจึงจะกระทำได้โดยชอบด้วย
กฎหมาย รายละเอียดปรากฏตามภาพข่าว ฐานเศรษฐกิจ เอกสาร
ท้ายคำฟ้ องหมายเลย ๒๖
การกระทำของจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ ในการลงมติเพื่อแก้ไข หลัก
เกณฑ์วธิ ีการประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุน จึงเป็ นการปฏิบัติหน้าที่
โดยมิชอบ และไม่มีกฎหมายให้อำนาจจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ กระทำได้
และการลงมติดังกล่าวเป็ นการแก้ไขในในสาระสำคัญของหลักเกณฑ์
วิธีการประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน อัน
เป็ นการกระทำทีข
่ ัดต่อ พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ พ.ศ.๒๕๖๒ มาตรา
๓๙ มติคณะรัฐมนตรี และประกาศคณะกรรมการ PPP เรื่อง หลัก
เกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเอกชน พ.ศ.๒๕๖๓ การก
ระทำของจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ เป็ นการกระทำเกินขอบเขตอำนาจ
หน้าที่ตามกฎหมาย จึงเป็ นการกระทำโดยมีเจตนาทุจริตและ
ประพฤติมิชอบ เนื่องจาก เป็ นการแก้ไขข้อเรียกร้องจาก บริษัท
อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ITD เอกชนผู้ซ้อ
ื ซอง ที่
มีสิทธิเข้าร่วมการแข่งขันเสนอราคาในครัง้ นี ้ จึงเป็ นการกระทำโดยมี
เจตนาทุจริต อันเป็ นการกระทำที่เอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนรายหนึ่ง
รายใด ผู้เข้าร่วมแข่งขัน และทำให้โจทก์และรัฐต้องเสียหาย
๗.๓ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๓ ถึงวันที่ ๓ กุมภาพันธ์
๒๕๖๔ ต่อเนื่องกัน จำเลยที่ ๑ ได้บังอาจกระทำผิดกฎหมายต่าง
กรรมต่างวาระกัน โดยการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิ
ชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการ
ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และ อันเป็ นการกระทำความผิดอาญาทุจริต
และประพฤติมิชอบ กล่าวคือ
๗.๓.๑ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๓ จำเลยที่ ๑ ในฐานะผู้
ว่าการ รฟม. ได้ออกคำสั่งของ รฟม. ให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร
สำหรับการคัดเลือกเอกชน เล่มที่ ๑ ข้อแนะนำผู้ย่ น
ื ข้อเสนอ
(Request for Proposal : RFP No.๑) เดิมในข้อ ๒๙ ในพิจารณา
ข้อเสนอซองที่ ๒ ข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอซองที่ ๓ ข้อเสนอ
ด้านการลงทุนและผลตอบแทน รวมกันมีคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
แบ่งสัดส่วนเป็ นคะแนนซองที่ ๒ ข้อเสนอด้านเทคนิค ๓๐ คะแนน
และคะแนนข้อเสนอซองที่ ๓ ข้อเสนอด้านการลงทุนและผล
ตอบแทน ๗๐ คะแนน นำคะแนนซองที่ ๒ และซองที่ ๓ ของผู้ย่ น
ื ข้อ
เสนอรวมกัน ผู้ย่ น
ื ข้อเสนอรายใดที่ได้คะแนนรวมสูงสุดจะเป็ นผู้ที่
ผ่านการประเมินสูงสุด ปรากฏตามเอกสารสำหรับการคัดเลือก
เอกชนเพิ่มเติม ครัง้ ที่ ๑ (RFP Addendum No.๑) เอกสารท้าย
คำฟ้ องหมายเลข ๒๑ การออกคำสั่งของจำเลยที่ ๑ เป็ นการออกคำ
สั่งตามมติของจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ ซึ่งเป็ นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามคำฟ้ องข้อ ๗.๒ แต่จำเลยที่ ๑ กลับมีเจตนาทุจริตไปร่วมสมคบ
คิดกับจำเลยที่ ๒ ถึง ๗ โดยแบ่งหน้าที่กันทำตามอำนาจหน้าที่ของ
แต่ละคน โดยให้จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ ใช้อำนาจอำนาจหน้าที่ของตนใน
ฐานะคณะกรรมการคัดเลือก ทำการลงมติแก้ไขหลักเกณฑ์ในการ
พิจารณาคัดเลือก โดยจำเลยที่ ๑ ใช้อำนาจหน้าที่ของตนเองในฐานะ
ผู้ว่าการ รฟม. นำเรื่องการแก้ไขหลักเกณฑ์เข้าในการประชุมคณะ
กรรมการคัดเลือก และเข้ากำกับ ควบคุม ชีน
้ ำคณะกรรมการคัด
เลือก ได้ลงมติเห็นชอบแก้ไขหลักเกณฑ์ จากนัน
้ จึงออกคำสั่งให้นำมติ
นี ้ บังคับใช้เป็ นหลักเกณฑ์ใหม่ในการคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนใน
โครงการ
พฤติการณ์และการกระทำของจำเลยที่ ๑ ในการออกคำสั่งใน
ทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็ นกระทำที่ร้อ
ู ยู่แล้วว่า คำสั่ง
ของจำเลยที่ ๑ เป็ นการออกคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้นำ
หลักเกณฑ์ใหม่ที่แก้ไขนี ้ มาเปิ ดโอกาสให้จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ ในฐานะ
คณะกรรมการคัดเลือก ได้ใช้ดุลพินิจอย่างไม่มีข้อจำกัด ให้คะแนน
ตามอำเภอใจหรือเลือกปฏิบัติไม่พิจารณาในข้อควรพิจารณา หรือไม่
ใช้หลักเกณฑ์สากลให้เป็ นไปโดยชอบตามประกาศเชิญชวน และ
เอกสารคัดเลือกเอกชน (RFP No.๑) เอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข
๑๑ และ ๑๓ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การประเมินใหม่นี ้ จึง
เป็ นการกระทำอันเป็ นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนรายหนึ่งรายใด
ที่มีคุณสมบัติเฉพาะทางเทคนิคในการก่อสร้างงานวิศวกรรมโยธาทาง
ลอดใต้ดินและลอดแม่น้ำเจ้าพระยาในโครงการฝั่ งตะวันตกทัง้ สาย
อีกทัง้ จำเลยที่ ๑ ในฐานะผู้ว่าการ รฟม. มีอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วย
กฎหมายโดยตรงที่จะยับยัง้ ไม่นำมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลย
ที่ ๒ ถึงที่ ๗ ออกประกาศใช้บังคับในการคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วม
ลงทุนในครัง้ นี ้ แต่จำเลยที่ ๑ ก็ไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของตนให้
เป็ นไปโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อยุติและยับยัง้ การนำมติที่ไม่ชอบด้วย
กฎหมายไปใช้เป็ นหลักเกณฑ์การประเมิน แต่จำเลยที่ ๑ กลับร่วม
กับจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ สมคบคิดแบ่งหน้าที่กันทำ โดยร่วมเป็ นตัวการ
ในการกระทำความผิด การกระทำของจำเลยที่ ๑ จึงเป็ นการละเว้น
การปฏิบัติหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยทุจริต ทำให้เกิด
ความเสียหายต่อโจทก์และรัฐ
๗.๓.๒ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลากลางวันและอยู่
ระหว่างเวลาที่ รฟม. (ผู้ถูกฟ้ องคดีที่ ๒ ในคดีปกครองของศาล
ปกครองกลาง) จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองกลางในการทุเลา
การบังคับใช้หลักเกณฑ์การร่วมลงทุนของ รฟม. ซึ่งผ่านความเห็น
ชอบของคณะกรรมการคัดเลือก ที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลง
เอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครัง้ ที่ ๑ ที่ให้ใช้การประเมินซอง
ที่ ๒ ข้อเสนอทางเทคนิค และซองที่ ๓ ข้อเสนอด้านการลงทุนและ
ผลตอบแทน รวมกันแล้วแบ่งสัดส่วนเป็ นคะแนนซองที่ ๒ จำนวน
๓๐ คะแนน และคะแนนซองที่ ๓ จำนวน ๗๐ คะแนน ในการดำเนิน
การของโครงการฯนี ้ ไว้เป็ นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา
หรือคำสั่งเป็ นอย่างอื่น ปรากฏตามสำเนาคำสั่งศาลปกครองกลาง
เอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข ๒๓ แต่ปรากฏว่า จำเลยที่ ๑ ในฐานะ
ผู้ว่าการ รฟม. ได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อ
ให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และรัฐ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการ
ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตและประพฤติมิชอบกล่าวคือ
โดยจำเลยที่ ๑ ในฐานะผู้ว่าการ รฟม. ในฐานะตัวแทนของผู้ถูก
ฟ้ องคดีที่ ๒ ของศาลปกครองกลาง ซึ่งเป็ นคู่ความในคดีปกครอง
มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งทุเลาการบังคับคดีของศาลปกครอง
กลาง ที่ห้ามมิให้นำหลักเกณฑ์ใหม่ (RFP Addendum No. ๑) มาใช้
บังคับเพื่อทำการคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าวนี ้
ต่อไป จนกว่าศาลปกครองกลางจะคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็ นอย่าง
อื่น ซึ่งเป็ นตามพระราชบัญญัติจัดตัง้ ศาลปกครอง และวิธีพิจารณา
คดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๗๐ แต่จำเลยที่ ๑ ในฐานะผู้ว่าการ
รฟม. กลับปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครอง
กลางและบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวข้างต้น โดยออก
ประกาศยกเลิก ประกาศเชิญชวน อันเป็ นการกระทำที่มีเจตนาเพื่อ
หลีกเลี่ยงขัดขวางมิให้เป็ นไปตามคำสั่งศาลปกครองกลาง และ
จำเลยที่ ๑ ไม่มีอำนาจในการยกเลิกประกาศเชิญชวน เนื่องจาก เหตุ
ต่าง ๆ ที่เกิดขึน
้ จนนำมาสู่การฟ้ องร้องในศาลปกครองกลาง ล้วนเป็ น
เหตุมาจากการที่จำเลยที่ ๑ ถึง ๗ ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย มีเจตนาที่
จะเปลี่ยนแปลง หลักเกณฑ์ วิธก
ี ารประเมินข้อเสนอ เพื่อให้ได้
ประโยชน์ตามที่จำเลยที่ ๑ กับพวกต้องการเมื่อไม่เป็ นไปตามเจตนา
โดยทุจริตแล้ว จึงใช้วิธก
ี ารยกเลิก ซึ่งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้
อำนาจไว้ คือการยกเลิกประกาศเชิญชวน ถือเป็ นการใช้อำนาจโดย
ไม่สุจริต ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์แห่งรัฐ
การกระทำของจำเลยที่ ๑ ในการออกคำสั่งยกเลิกประกาศเชิญ
ชวน ตามเอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข ๒๕ จึงเป็ นการกระทำโดยมิ
ชอบด้วยกฎหมาย อันมีลักษณะล้มการประมูลโครงการนีโ้ ดยมีเจตนา
ทุจริต เพื่อมิให้มีการดำเนินการขัน
้ ตอนการคัดเลือกเอกชนร่วมการ
ลงทุนให้ดำเนินการต่อไปตามขัน
้ ตอนและหลักเกณฑ์เดิมที่ออกโดย
ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และเป็ นการกระทำโดยเจตนาเพื่อขัดขวางมิ
ให้มีการแข่งขันราคาอย่างเสรีและเป็ นธรรมในการคัดเลือกเอกชน
เพื่อร่วมลงทุนกับรัฐในโครงการนี ้ การกระทำของจำเลยที่ ๑ จึง
เป็ นการกระทำผิดทุจริตและประพฤติมิชอบ
การกระทำความผิดอาญาของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๗ ตามคำฟ้ อง
ข้อ ๗.๑ ถึง ข้อ ๗.๓ ข้างต้นนัน
้ จึงเป็ นการกระทำที่ไม่ชอบด้วย
กฎหมาย และขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี พระราชบัญญัตก
ิ ารร่วมลงทุน
ระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.๒๕๖๓ และประกาศคณะกรรมการตาม
ประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
พ.ศ.๒๕๖๓ และเป็ นการกระทำโดยทุจริตและประพฤติมิชอบ อัน
เป็ นการเอื้อประโยชน์ให้กับ เอกชนบางรายที่มีสิทธิย่ น
ื ข้อเสนอใน
โครงการนี ้ และหรือเอกชนบางรายที่ได้ร่วมงานในทางธุรกิจกับผู้ย่ น

ข้อเรียกร้อง ที่มีผลงานด้านเทคนิคด้านโยธาในการก่อสร้างโครงการ
รถไฟฟ้ า (โดยเฉพาะการขุดเจาะอุโมงค์ หรือลอดแม่น้ำเจ้าพระยา)
โดยใช้หลักเกณฑ์ทางเทคนิคเพื่อให้คะแนนเป็ นการเฉพาะเจาะจงกับ
เอกชนที่มีผลงานด้านโยธาในการขุดเจาะอุโมงค์หรือลอดแม่น้ำ
เจ้าพระยาเท่านัน
้ ซึ่งเป็ นที่ทราบดีวา่ เอกชนผู้ซ้อ
ื ซองเอกสารคัด
เลือกจำนวน ๑๐ ราย นัน
้ มีเพียงบางรายที่เคยมีผลงานด้านเทคนิค
ในการขุดเจาะอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา และการเปลี่ยนแปลง
แก้ไขหลักเกณฑ์การประเมินข้างต้น เป็ นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย
ที่เปิ ดโอกาสให้จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ ในฐานะคณะกรรมการคัดเลือกใช้
ดุลพินิจอย่างไม่มีข้อจำกัดในการให้คะแนนทางเทคนิค เพื่อประเมิน
การคัดเลือกในครัง้ นีใ้ ห้กับเอกชนรายหนึ่งรายใดที่มีผลงานทาง
วิศวกรรมโยธาในลักษณะเช่นนีโ้ ดยเฉพาะ การกระทำดังกล่าวเป็ น
ไปเพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้หนึ่งผู้ใดให้เป็ นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วย
งานของรัฐ โดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็ นธรรมหรือกีดกันมิ
ให้ผู้หนึ่งผู้ใดมีการเสนอราคาต่อหน่วยของรัฐ อันเป็ นการปฏิบัติหรือ
ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้
ใดหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และทำผู้หนึ่งผู้ใด ผู้ย่ น
ื ข้อ
เสนอด้านการลงทุนและผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุดแก่รัฐในโครง
การฯ นี ้ อาจไม่ได้รับการคัดเลือกให้เป็ นผู้ชนะการคัดเลือก ตามวิธี
การที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการตามรายงานการศึกษาและ
วิเคราะห์โครงการฯ ซึ่งรัฐต้องใช้เงินงบประมาณจำนวนมากเพื่อ
อุดหนุนในโครงการนี ้ อันจะมีผลทำให้ประเทศและประชาชนได้รับ
ความเสียหายในที่สุด
การกระทำความผิดของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๗ ตามฟ้ อง จึงทำให้
โจทก์และรัฐได้รับความเสียหาย กล่าวคือ โจทก์ เป็ นผู้ซ้อ
ื ซองข้อ
เสนอ ตามประกาศเชิญชวนของ รฟม. เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม
๒๕๖๓ เมื่อปิ ดการซื้อซองแล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะ “ผู้มีสิทธิย่ น
ื ซอง
ข้อเสนอ” โดยต่อมา เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ โจทก์ได้ย่ น
ื ข้อ
เสนอการร่วมลงทุนในโครงการฯนี ้ กับ รฟม. จึงมีฐานะเป็ น “ผู้ย่ น
ื ข้อ
เสนอ” ซึ่งจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ มีหน้าที่จะต้องดำเนินการคัดเลือก
เอกชน ไปตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่าง
รัฐและเอกชน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธก
ี าร และเงื่อนไขในการคัดเลือก
เอกชน พ.ศ.๒๕๖๓ ข้อ ๘ (๔) การมีคำสั่งให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการคัดเลือก วิธก
ี ารและหลักเกณฑ์ในการ
ตัดสินใจ และการมีคำสั่งให้ยกเลิกหนังสือเชิญชวน ฉบับลงวันที่ ๓
กรกฎาคม ๒๕๖๓ จึงทำให้โจทก์เสียสิทธิและสิน
้ สภาพของผู้ย่ น
ื ข้อ
เสนอในการคัดเลือกเอกชนในการร่วมโครงการนี ้ และโจทก์ได้รับ
ความเสียหายในการจัดเตรียมโครงการในการร่วมทุนกับรัฐใน
โครงการนี ้ โดยโจทก์มีการวางแผนการลงทุนในด้านวิศวกรรมโยธา
เพื่อก่อสร้างโครงการนีท
้ างฝั่ งตะวันตก จัดหาเงินทุนในการจัดระบบ
การเดินรถไฟฟ้ า รวมถึงแผนงานต่าง ๆ โดยใช้งบประมาณในการ
ลงทุนเพื่อจัดเตรียมแผนการลงทุน การเงิน การบริหารและการ
เดินรถ ซ่อมบำรุงของโครงการเดินรถทัง้ สาย และแผนการจัดเก็บค่า
โดยสาร รายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ เนื่องจาก โครงการฯ นีร้ ัฐ
ไม่มีภาระสนับสนุนด้านการเงินในการสัมปทานในส่วนระบบไฟฟ้ า
และการเดินรถทัง้ หมด โจทก์ต้องสูญเสียงบประมาณและค่าใช้จ่ายใน
การวางแผนงานในระยะยาวเพื่อเสนอการสัมปทานเดินรถเป็ นเวลา
๓๐ ปี โดยมีการลงทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ข้างต้นก่อนซื้อซอง
เอกสาร เป็ นเงินประมาณ ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท รายละเอียดข้อเท็จ
จริงในความเสียหาย โจทก์จะได้นำเสนอในชัน
้ พิจารณาต่อไป
โจทก์จึงเป็ นผู้เสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิดอาญา
ของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๗
เหตุตามฟ้ องข้อ ๗.๑ ถึง ข้อ ๗.๓ ในคดีนี ้ เกิดขึน
้ ณ สำนักงาน
แห่งใหญ่ของการรถไฟฟ้ าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย แขวง
ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
ก่อนฟ้ องคดีนี ้ โจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน หรือ
ร้องทุกข์กล่าวโทษต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อให้ทำการสืบสวน
สอบสวนคดีนี ้ เนื่องจากประสงค์จะฟ้ องคดีเอง
ในการยื่นฟ้ องคดีนี ้ โจทก์ได้บรรยายข้อความที่เป็ นการกล่าวหา
เกี่ยวกับการกระทำอันเป็ นความผิดคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของ
จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๗ และได้ระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่ากระทำความ
ผิดพร้อมคำร้องชีช
้ ่องพยานหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพอที่จะดำเนิน
กระบวนพิจารณาในชัน
้ ไต่สวนมูลฟ้ องและชัน
้ พิจารณาเพื่อให้ศาล
พิพากษาลงโทษจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๗ ตามฟ้ องโจทก์ ตามคำร้องที่ได้
แนบมาพร้อมคำฟ้ องฉบับนีแ
้ ล้ว
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

You might also like