You are on page 1of 6

นายทีปกร เทียนเจริญ

รหัสนักศึกษา : ๕๘๑๐๗๒๐๔

พระพิฆเนศศิลปะชวาตะวันออกที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

ประติมากรรมพระพิฆเนศแกะสลักลอยตัวจากหินภูเขาไฟ ศิลปะชวาตะวันออก โดยพระบาทสม-


เด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้นามาจากจันทิสิงหสาหรี เมืองสิงหสาหรี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อ
วันที่ ๒๒ กฎกดาคม ๒๕๓๙ จากนายเยเนราลผู้สาเร็จราชกาลชาวฮอลลันดา๑ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ร่วมกับ
ศิลปะชวาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
รูปแบบประติมากรรมพระพิฆเนศประกอบด้วยส่วนเศียรที่เป็นช้าง และส่วนลาตัวเป็นมนุษย์รูป
ร่างอวบอ้วน โดยพระเศียรสวมชฎามงกุฎประดับตาบสามเหลี่ยม สวมใส่ตุ้มหูที่ทาจากหัวกะโหลกมนุษย์
ลาตัวสวมเสื้อแขนสั้น คาดวาสตยัชโญปวีต และอุธรพันธะ พระกรทั้งสี่ถือของแต่ละอย่าง ประทับนั่งราบ
สายเข็มขัดห้อยตกลงมาสองเส้น นั่งบนฐานที่ล้อมรอบด้วยหัวกะโหลก ประติมากรรมสลักยึดติดกับแผ่น
หิน ด้านหลังแผ่นหินสลักเป็นรูปพระอาทิตย์ และพระจันทร์เสี้ยวโดยพระจันทร์ถูกแขนบดบัง
พระเศียรที่เป็นช้างสวมมงกุฎแบบชฎามงกุฎ โดยการเกล้ามวยผมและคาดกระบังหน้าทับ เหนือ
กระบังหน้าประดับตาบสามเหลี่ยมจานวน ๕ ตาบ การประดับตาบเช่นนี้ได้รับอิธิพลต่อเนื่องมาจากศิลปะ
ชวาภาคกลางอันเป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดขึ้นในศิลปะชวา ทีพัฒนามาจากศิลปะอินเดียแบบปาละ๒ ตรง
กลางของตาบสามเหลี่ยมประดับด้วยรูปหัวกะโหลก ในส่วนของการประดับกะโหลกนั้น เคยมีเกิดขึ้น
มาแล้วในประติมากรรมพระพิฆเนศของชวาภาคกลาง โดยชวาภาคกลางจะประดับไว้เหนือจันทร์เสี้ยว แต่

๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, ระยะทางเที่ยวชวากว่าสองเดือน/พระบาทสมเด็จพระจุลจอม-
เกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระนิพนธ์ เมือ่ รัตนโกสินทรศก115, กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์โสภณพรรณธนากร, ๒๔๖๘, หน้า ๓๗๕-
๓๘๓

เชษฐ์ ติงสันชลี, ศิลปะประเทศไทย ภายใต้แรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดียแบบปาละ, นนทบุรี:โรงพิมพ์มติ-
ชลปากเกร็ดม, ๒๕๕๘, หน้า ๒๑๖.
เมื่อเข้ามาสู่ชวาภาคตะวันออกจึงได้เพิ่มการประดับเข้าไปมากกว่าเดิมตามคติพระพิฆเนศแบบตันตระ๓
การประดับหัวกะโหลกไว้บนชฎามงกุฎนี้อาจบ่งบอกถึงความเป็นบุตรแห่งพระศิวะ๔ ทีต่ าบสามเหลี่ยมยัง
ได้ประดับซ้อนชั้นกันขึ้นอีกชั้นหนึ่งเป็นสองชั้น โดยความพิเศษของเทวรูปองค์นี้คือตาบชั้นที่สอง ประดับ
รอบชฎามงกุฎโดยเราจะเห็นได้จากตาบสามเหลี่ยมครึ่งอันที่โผล่พ้นออกมาจากแผ่นหลัง ต่างจากประติ-
มากรรมที่พบที่สิงหะส่าหรีอีกองค์๕ ซึ่งประดับเพียง ๕ ตาบเท่านั้น๖,๗
พระกรทั้งสี่ถือของแตกต่างกัน พระกรซ้ายถือถ้วยขนมทาจากหัวกะโหลก พระกรขวาถืองาช้าง
พระขวาบนถือลูกประคา แต่พระกรซ้ายบนได้หักหายไป สันนิษฐานว่าถือขวาเนื่องจากเห็นส่วนของใบมีด
ขวานที่สลักติดอยู่กับแผ่นหินที่ยื่นออกมา และรูปแบบการถือของสี่อย่างนี้ เป็นรูปแบบปกติที่พบในประติ-
มากรรมพระพิฆเนศชวาภาคกลาง และภาคตะวันออก
สิ่งที่ทาให้พระพิฆเนศที่จัดแสดงในประเทศไทย บ่งชี้ได้ว่าเป็นศิลปะที่ทาขึ้นในสมัยชวาตะวันออก
คือการที่เทวรูปสวมเสื้อแขนสั้น และชายเสื้อสั้น ซึ่งเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นในศิลปะชวาตะวันออก และไม่พบ

๓ Brown, Robert L, Gansa in Southeast Asia art : Indian connections and indigenous

developments. A note on the recently discovered Gansa image from Palembang, Sumatra, S.L. : s.n.,
19 - ?, P. 26
๔ Alice Getty, Ganesa : A monograph on The Elephant-Faced God, New Delhi : Nunshiram

Monoharlal, 1971, P51.


๕ Brown, Robert L, Gansa in Southeast Asia art : Indian connections and indigenous

developments. A note on the recently discovered Gansa image from Palembang, Sumatra, S.L. : s.n.,
19 - ?, P. 25.

Alice Getty, Ganesa : A monograph on The Elephant-Faced God, New Delhi : Nunshiram
Monoharlal, 1971, Pl. 30(a).


พระพิฆเนศที่พบในจันทิสิงหส่าหรีอีกองค์ประดับตาบสามเหลี่ยมทัง้ สองชั้นเช่นกัน และตาบจะอยูเ่ รียงใน
ระนาบแกนตั้งเดียวกันทั้ง ๕ ตาบใหญ่เล็กสลับกัน แต่ในประติมากรรมที่จัดแสดงในประเทศไทย จะพบตาบครึ่งส่วนบน
ชั้นที่ ๒ ทั้งสองฝั่งจึงมีตาบทั้งหมด ๗ ตาบบนชั้นที่ ๒ แต่ในชั้นที่หนึ่งเหนือกระบังหน้า กลับไม่พบส่วนที่เป็นตาบโผล่พ้น
ออกมา ในระนาบแกนตั้งเดียวกันกับตาบชั้นที่ ๒
ในศิลปะประเทศอื่น๘ อีกทั้งการสวมเสื้อยังเป็นความพิเศษเนื่องด้วย ประติมากรรมพระพิฆเนศองค์อื่นที่
ร่วมสมัยกันต่างไม่สวมใส่เสื้อผ้า๙ การสวมเสื้อผ้าที่มีลวดลายเดียวกับผ้านุ่ง จะพบในประติมากรรมเทวรูป
สตรีศิลปะชวาตะวันออกที่พบในจันทิสิงหสาหรี ซึ่งแตกต่างจากประติมากรรมสตรีในศิลปะชวาที่เปลือย
ท่อนบนอันเป็นลักษณะเฉพาะขอประติมากรรมในจันทินี้๑ ๐

ท่านั่งจะสังเกตว่ามีการชันเข่าขวาขึ้นเล็กน้อย ต่างจากประติมากรรมพระพิฆเนศที่โบโร ในเขต


บริตาที่นั่งราบ หัวเข่าทั้งสองราบติดพื้น๑ จึงอาจเป็น๑ไปได้ว่าเทวรูปนั่งอยู่ในรูปของลีลาสนะ แต่ไม่ชัดเจน
เนื่องจากหน้าท้องที่ใหญ่จึงไม่สามารถสอดเท้าซ้ายไว้ใต้ขาขวา และไม่สามารถห้อยเท้าขวาเนื่องจากนั่งอยู่
บนฐานเตี้ย เช่นเดียวกับประติมากรรมพระพิฆเนศที่พบในจันทิสิงหสาหรีเช่นกัน๑ ๒

ในส่วนชองฐานทาเป็นหัวกะโหลก ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะที่เกิดขึ้นในศิลปะชวาตะวันออก๑ โดย ๓

ในการทาประติมากรรมประทับบนฐานหัวกะโหลกนี้นั้น มีหลากหลายข้อสันนิษฐานเช่น การพบการทา


ประติมากรรมพระพิฆเนศในบริเวณที่เป็นถนน หรือบริเวณแอ่งน้า ที่สร้างในสถานที่เช่นนี้อาจเพื่อปกป้อง
นักเดินทางจากอันตราย หรือผีร้าย และแทนสัญลักษณ์ของความอันตรายด้วยหัวกะโหลก จึงได้ประทับนั่ง
เหนือหัวกะโหลก๑ หรือข้อสัน๔นิษฐานที่ว่า วรรณกรรมในสมัยราชวงศ์สิงหสาหรีชื่อ Nagara-Kertagama

๘ Alice Getty, Ganesa : A monograph on The Elephant-Faced God, New Delhi : Nunshiram

Monoharlal, 1971, Pl. 29-32.


๙ Ibid.

๑ ๐ with Marijke J. Klokke and Lydia Kieven, Photographs by Rio Helmi,


Ann R. Kinney
Warshiping Siva and Buddha : The Temple art of East Java, Honolulu:University of Hawai’I Press, P.
137-149.
๑ Ibid. 158. ๑

๑ Alice Getty,๒ Ganesa : A monograph on The Elephant-Faced God, New Delhi : Nunshiram
Monoharlal, 1971, Pl. 30(a).
๑ Ibid. P.58-59.

๑ ๑ ๔ ๔
Brown, Robert L, Gansa in Southeast Asia art : Indian connections and indigenous
developments. A note on the recently discovered Gansa image from Palembang, Sumatra, S.L. : s.n.,
19 - ?, P. 27.
ทีกล่าวว่า “พระพิฆเนศปรากฎกายมาเพื่อขจัดอุปสรรค”๑ และนอกจากนั ๕ ้นความเชื่อที่ว่าเทพเจ้าช้าง คือ

ผู้ปกป้องรักษาถนนหนทาง แต่ยังคงมีอีกข้อสันนิษฐานหนึ่งที่ต่างออกไปว่า เป็นไปได้ไหมที่จะเชื่อมโยงกับ


ประวัตติศาสตร์ของลัทธิลามะของทิเบตที่มีการทาพิธีบูชาเหนือสุสาน๑ ๖
ซึ่งอาจจะเชื ่อโยงกับแนวคิดที่
กล่าวว่าการประดับกะโหลกนั้นมาจากแนวคิดของตันตระที่เข้ามาในชวาภาคตะวันออก๑ ๗

ด้วยหัวกะโหลกนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนอุปสรรค และพระพิฆเนศที่มักทาไว้ตามสถานที่ต่างๆ
ที่ไม่ใช่ศาสนาสถาน เพื่อช่วยขจัดอุปสรรคและผีร้าย ทั้งยังเป็นที่เคารพบูชาแก่นักเดินทางอีกด้วย และเป็น
แบบเฉพาะที่เกิดขึ้นมาในชวาภาคตะวันออก จึงอาจกล่าวได้ว่าประติมากรรมพระที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ-
สถานแห่งชาตินั้น เป็นประติมากรรมที่เกิดขึ้นในศิลปะชวาภาคตะวันออก จากการสวมใส่เสื้อแขนสั้นพิมพ์
ลาย ทั้งยังสวมเครื่องประดับที่เป็นหัวกะโหลก และประทับนั่งบนฐานหัวกะโหลก รวมถึงหลักฐานเอกสาร
การพบและนาเข้ามาของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าครั้งเสด็จชวาเมื่อพ.ศ.๒๔๓๙

๑ ๕
Robert L. Brown อ้างจาก Theodore G. Th. Pigeaud, Java in the 14th Centurary : A study in
cultural History III, The Hague : Martinus Nijhoff, 1960, P.3 and Pigeaud’s discussion in IV,P. 131.
๑ Robert L. ๖Brown อ้างจาก Theodore G. Th. Pigeaud, Java in the 14th Centurary : A study in

cultural History III, The Hague : Martinus Nijhoff, 1960, P.3 and Pigeaud’s discussion in IV,P. 131.
๑ อ้างแล้ว ๗
ประติมากรรมพระพิฆเนศจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

ศิลปะชวาภาคตะวันออก
บรรณานุกรม
Alice Getty, Ganesa : A monograph on The Elephant-Faced God, New Delhi : Nunshiram
Monoharlaadl, 1971.
Ann R. Kinney with Marijke J. Klokke and Lydia Kieven, Photographs by Rio Helmi,
Warshiping Siva and Buddha : The Temple art of East Java, Honolulu:University of
Hawai’I Press, 2003.
Brown, Robert L, Gansa in Southeast Asia art : Indian connections and indigenous
developments. A note on the recently discovered Gansa image from Palembang,
Sumatra, S.L. : s.n., 19 -?.
Theodore G. Th. Pigeaud, Java in the 14th Centurary : A study in cultural History III, The
Hague : Martinus Nijhoff, 1960.
เชษฐ์ ติงสันชลี, ศิลปะประเทศไทย ภายใต้แรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดียแบบปาละ, นนทบุรี:โรงพิมพ์
มติชนปากเกร็ด, ๒๕๕๘.
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, ระยะทางเที่ยวชวากว่าสองเดือน/พระบาทสมเด็จพระจุล-
จอม-เกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระนิพนธ์ เมื่อรัตนโกสินทรศก115, กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์โสภณพรรณธ-
นากร, ๒๔๖๘.

You might also like