You are on page 1of 68

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ เล่ม ๒

ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)


ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ผู้เรียบเรียง
เฉลิมพงศ์ วรวรรโณทัย
วรกฤษณ์ ศุภพร

ผู้ตรวจ
อรพรรณ สุวรรณเสน
ศิริชัย เพชรชู
ภานุมาส มหาทรัพย์สกุล

บรรณาธิการ
อภิชาติ ทวีบุตร
ไกรวิชญ์ เหล่าปรีดา

พิมพ์ครั้งที่ ๑ : ๒๕๖๒
ISBN : 978-616-8172-11-7

จัดพิมพ์และจ�ำหน่ายโดย
บริษัทเลิร์น เอ็ดดูเคชั่น จ�ำกัด
254 อาคารวิทยกิตติ์ ชั้น 13 ถนน พระราม 1
แขวง ปทุมวัน เขต ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ : 0-2251-6842-4
โทรสาร : 0-2251-6841
Website : www.learneducation.co.th

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับเพิ่มเติม) พ.ศ. ๒๕๕๘


หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ เล่ม ๒ ได้เรียบเรียงเนื้อหา
สาระให้มีความสอดคล้องตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับ
ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ส�ำหรับให้
สถานศึกษาใช้ประกอบการเรียนการสอนและใช้เป็นแนวทางในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่
ผูเ้ รียน เพือ่ น�ำไปสูก่ ระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประยุกต์ใช้ในชีวติ ประจ�ำวัน โดยหนังสือเล่มนี้
มีการจัดเรียงล�ำดับหน่วยการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงเป็นไปในทิศทางเดียวกันและล�ำดับเนื้อหา
มีความต่อเนือ่ ง เรียงจากง่ายไปยาก ซึ่งประกอบด้วยส่วนของเนื้อหา แบบฝึกหัด กิจกรรมการเรียนรู้
มีการวัดผลและประเมินผล เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ การคิดแก้ปัญหา เสริมสร้างทักษะและ
กระบวนการทางคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
คณะผู้จัดท�ำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน และเป็น
ส่วนส�ำคัญในการพัฒนาเยาวชนให้มีความรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน
ขอขอบคุณคณะครู ตลอดจนหน่วยงานและบุคลากรทุกท่านที่มีส่วนในการจัดท�ำหนังสือเล่มนี้ไว้
ณ โอกาสนี้ หากมีข้อบกพร่องหรือข้อเสนอแนะประการใด ทางคณะผู้จัดท�ำยินดีน้อมรับค�ำติชม
เพื่อน�ำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น

คณะผู้จัดท�ำ
คำ�ชี้แจงในการใช้หนังสือ
หนังสือเรียนรายวิชาพืน้ ฐาน คณิตศาสตร์เล่มนีถ้ กู ออกแบบมาให้แต่ละหน่วยการเรียนรู้
มีส่วนทำ�ให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ความคิดทางคณิตศาสตร์ที่ดีและชัดเจนมากขึ้น
ซึ่งสามารถแยกอธิบายได้ดังนี้

·´Êͺ¤ÇÒÁ¾ÃŒÍÁ
แบบทดสอบความรู้ที่จำ�เป็น เพื่อประเมินความพร้อมก่อนเข้าสู่บทเรียน

¡Å‹Í§¤ÇÒÁÃÙŒ
สรุปแนวทางการให้นิยาม สมบัติ ทฤษฎี สัจพจน์ และขั้นตอนวิธีการต่างๆ

ความรู้เสริมและเกร็ดความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน

โจทย์ที่ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติตาม หลังจากศึกษาตัวอย่าง
คำ�ชี้แจงในการใช้หนังสือ
แบบฝึกหัด
แบบฝึกหัดที่แทรกระหว่างเนื้อหา เพื่อทดสอบความรู้ ความเข้าใจเนื้อหาที่เรียนและ
ช่วยเน้นประเด็นสำ�คัญ โดยมีการระบุระดับความยากง่ายของแบบฝึกหัดแต่ละข้อดังนี้
* ง่าย
** ปานกลาง
KLIST
*** ยาก
T E SCTHEC

·บ·Ç¹µัÇàͧ
รวบรวมกระทู้ทบทวนตัวเอง (Journal Writing Task) เพื่อวัดว่า
ได้เรียนรู้อะไรจากบทเรียนบ้าง

คำ�ถามหรือกิจกรรมเสริม เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนนำ�เรื่องที่ได้เรียนรู้ไปคิดเพิ่มเติม
ต่อยอดหรือประยุกต์ใช้นอกชั่วโมงเรียน

·ดÊÍบ·ŒÒÂห¹‹ÇÂกÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ
แบบทดสอบทบทวนความรู้หลังบทเรียน เพื่อให้ผู้เรียนประเมินว่าส่วนใดที่ทำ�ได้ดีและ
ส่วนใดที่ยังต้องพัฒนา
d
c

¢ŒÍÊͺ»ÃÐÅͧÂØ·¸
b
a d
c d
1 a b c c d d 6 a a bb b dc d
c
6

1 a ba b c c d d
7

7 a ab c d
22 a b b cc dd c d
8

c b d
8 a ba c
33 aa c
d
b
9

d d
44 a a bb c c d 9 a b a c
10

b c d
d c d
5 5a a b c a b
b c d 10
ab
6 a6

รวบรวมแนวข้อสอบที่ใกล้เคียงกับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) และข้อสอบแข่งขันจากสนามสอบต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคุ้นเคย
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
การแปลงทางเรขาคณิต ความเท่ากันทุกประการ
สาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้
ทดสอบความพร้อม 4 ทดสอบความพร้อม 64
การแปลงทางเรขาคณิต 5 ความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิต 65
การเลื่อนขนาน 6 ความเท่ากันทุกประการของส่วนของเส้นตรง 66
การสะท้อน 17 ความเท่ากันทุกประการของมุม 68
การหมุน 32 ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม 72
ความสัมพันธ์ของการเลื่อนขนาน การสะท้อน รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กัน 78
และการหมุน 46 รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ
การประยุกต์ของการเลื่อนขนาน การสะท้อน ด้าน-มุม-ด้าน 78
และการหมุน 52 รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ
การสร้างเทสเซลเลชัน 52 มุม-ด้าน-มุม 83
การหาพื้นที่ 54 รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ
ทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู ้ 57 ด้าน-ด้าน-ด้าน 88
ข้อสอบประลองยุทธ์ 59 รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ
มุม-มุม-ด้าน 92
การน�ำไปใช้ 98
ทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู ้ 105
ข้อสอบประลองยุทธ์ 108
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
ทฤษฎีบทพีทาโกรัส การให้เหตุผลทางเรขาคณิต
สาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้
ทดสอบความพร้อม 111 ทดสอบความพร้อม 147
ทฤษฎีบทพีทาโกรัส 112 การแบ่งส่วนของเส้นตรง 149
บทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส 127 การแบ่งส่วนของเส้นตรงโดยการแบ่งครึ่ง 149
การน�ำไปใช้ 132 การแบ่งส่วนของเส้นตรงโดยการสร้างมุมแย้ง 153
ทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู ้ 141 การแบ่งครึ่งมุม 163
ข้อสอบประลองยุทธ์ 144 การสร้างเส้นตั้งฉาก 166
การสร้างเส้นตั้งฉากจากจุดภายนอกมายัง
เส้นตรงที่กำ�หนด 166
การสร้างเส้นตั้งฉากที่จุดจุดหนึ่งบนเส้นตรง
ที่กำ�หนด 169
การสร้างเส้นขนาน 172
การสร้างรูปเรขาคณิต 176
การสร้างรูปสามเหลี่ยม 176
การสร้างรูปสี่เหลี่ยม 183
การสร้างวงกลมล้อมรูปสามเหลี่ยม 188
การสร้างวงกลมแนบในรูปสามเหลี่ยม 195
ทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู ้ 205
ข้อสอบประลองยุทธ์ 209
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
พื้นที่ผิวและปริมาตรของปริซึมและทรงกระบอก สถิติ 2
สาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้
ทดสอบความพร้อม 213 ทดสอบความพร้อม 251
ปริซึม 214 การนำ�เสนอข้อมูล 252
พื้นที่ผิวของปริซึม 215 แผนภาพจุด 252
ปริมาตรของปริซึม 220 แผนภาพต้น-ใบ 258
ทรงกระบอก 230 ตารางแจกแจงความถี่ 266
พื้นที่ผิวของทรงกระบอก 232 ฮิสโทแกรม 272
ปริมาตรของทรงกระบอก 234 ค่ากลางของข้อมูล 278
ทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู ้ 243 ค่าเฉลี่ยเลขคณิต 278
ข้อสอบประลองยุทธ์ 247 มัธยฐาน 287
ฐานนิยม 290
การเลือกใช้ค่ากลางที่เหมาะสมกับข้อมูล 293
ความสัมพันธ์ระหว่างค่ากลางของข้อมูลและ
การกระจายของข้อมูล 296
การนำ�สถิติไปใช้ในชีวิตจริง 303
ทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู ้ 308
ข้อสอบประลองยุทธ์ 311

แหล่งอ้างอิง
บรรณานุกรม
NOTE
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
การแปลงทางเรขาคณิต
สาระการเรียนรู้

การแปลงทางเรขาคณิต
1. การแปลงทางเรขาคณิต
การเลื่อนขนาน
การสะท้อน
การหมุน

2. ความสัมพันธ์ของการเลื่อนขนาน การสะท้อน และการหมุน


การเลื่อนขนานกับการเลื่อนขนาน
การสะท้อนกับการสะท้อน

3. การประยุกต์ของการเลื่อนขนาน การสะท้อน และการหมุน


การสร้างเทสเซลเลชัน
การหาพื้นที่

ตัวชี้วัด
ค 2.2 ม.2/3 เข้าใจและใช้ความรู้เกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหา
ในชีวิตจริง

จุดประสงค์การเรียนรู้
• นักเรียนสามารถอธิบายความหมายของการแปลงทางเรขาคณิตได้
• นักเรียนสามารถสร้างรูปและหาพิกัดของรูปที่ได้จากการแปลงทางเรขาคณิตที่ก�ำหนดให้ได้
• นักเรียนสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของการแปลงทางเรขาคณิตแบบต่าง ๆ ได้
• นักเรียนสามารถสร้างเทสเซลเลชันพร้อมกับอธิบายขั้นตอนการสร้างได้
• นักเรียนสามารถน�ำความรู้เกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตไปใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาได้
การแปลงทางเรขาคณิต
การแปลงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนหรือเคลื่อนย้ายต�ำแหน่งของวัตถุ โดยอาจมีการเปลี่ยนแปลง
ขนาดหรือรูปร่างให้ตา่ งไปจากเดิมหรือไม่กไ็ ด้ ตัวอย่างการแปลงทีส่ ามารถพบเห็นได้ทวั่ ไป เช่น รถยนต์ทเี่ ลือ่ น
เข้าไปจอดในช่องจอดรถ เงาสะท้อนของต้นไม้ในน�้ำ และการหมุนของเข็มนาฬิกา ดังรูป

[1] [2]
รูปที่ 1 รถยนต์ในช่องจอดรถ รูปที่ 2 เงาสะท้อนในน�้ำ รูปที่ 3 นาฬิกา

เมื่อกล่าวถึงการแปลง จะเรียกรูปเริ่มต้นก่อนการแปลงว่า รูปต้นแบบ (pre-image) และเรียกรูปที่ได้


หลังจากการแปลงว่า ภาพที่ได้จากการแปลง (image)
สิ่งส�ำคัญอย่างหนึ่งของการแปลง คือ จุดทุกจุดบนรูปต้นแบบ จะต้องมีการส่งไปยังจุดบนภาพที่ได้
จากการแปลงทุกจุด จุดต่อจุด สามารถแสดงเป็นรูปได้ดังนี้

P P l

รูป ก รูป ข

จากรูป ถ้าก�ำหนดให้รูป ก เป็นรูปต้นแบบ และรูป ข เป็นภาพที่ได้จากการแปลง จะได้ว่า แต่ละจุด P


บนรูป ก จะมีจุด Pl บนรูป ข เพียงจุดเดียวเป็นจุดที่ได้จากการแปลง

3
การแปลงทางเรขาคณิต
·´Êͺ¤ÇÒÁ¾ÃŒÍÁ
1. Y
A

2
B

D
X
-4 -2 O 2 4
C
-2

-4
จากกราฟ จงตอบคำ�ถามต่อไปนี้
1) จงเขียนพิกัดของจุด A, B, C และ D
2) จงเขียนกราฟแสดงจุดต่อไปนี้บนแกนคู่เดียวกัน
E(3, 2), F(2, -3), G(0, 1), H(-5, 0), I(-3, -1) และ J(0, -2)

2. จงเขียนกราฟเส้นตรงของสมการต่อไปนี้
1) y = x 2) y = -x 3) y = x - 2 4) y = -(x + 1)

4
1. การแปลงทางเรขาคณิต
ในทางคณิตศาสตร์มีการกล่าวถึงการแปลงของรูปเรขาคณิตที่รูปร่างและขนาดของภาพที่ได้จาก
การแปลงไม่ต่างไปจากรูปต้นแบบ โดยเรียกการแปลงนั้นว่า การแปลงทางเรขาคณิต (geometric
transformation)
พิจารณาการจับคู่ระหว่างจุดแต่ละจุดในรูปต้นแบบกับภาพที่ได้จากการแปลง ดังรูปที่ 4-6
E El

D Dl
รูปต้นแบบ ภาพ
รูปต้นแบบ ภาพ รูปต้นแบบ ภาพ
รูปที่ 4 การแปลงทางเรขาคณิตของจุด รูปที่ 5 การแปลงทางเรขาคณิต รูปที่ 6 การแปลงทางเรขาคณิต
ของส่วนของเส้นตรง ของส่วนโค้ง

จากรูปที่ 4 ก�ำหนดให้จุด A เป็นรูปต้นแบบ เมื่อเลื่อนจุด A ไปทางขวา ท�ำให้เกิดจุด Al ซึ่งเป็น


ภาพที่ได้จากการแปลงรูปต้นแบบ กล่าวได้ว่า จุด A และจุด Al เป็นจุดที่สมนัยกัน
จากรูปที่ 5 ก�ำหนดให้ BC เป็นรูปต้นแบบ มีจดุ B และจุด C เป็นจุดปลาย เมือ่ เลือ่ น BC ไปทางขวา
ท�ำให้เกิด Bl Cl ซึ่งเป็นภาพที่ได้จากการแปลงรูปต้นแบบ โดยมีจุด B และจุด Bl เป็นจุดที่สมนัยกัน จุด C
และจุด Cl เป็นจุดที่สมนัยกัน และกล่าวได้ว่า BC สมนัยกันกับ Bl Cl
จากรูปที่ 6 ก�ำหนดให้สว่ นโค้ง ED เป็นรูปต้นแบบ มีจดุ E และจุด D เป็นจุดปลาย เมือ่ เลือ่ นส่วนโค้ง
ED ไปทางขวา ท�ำให้เกิดส่วนโค้ง El Dl ซึ่งเป็นภาพที่ได้จากการแปลงรูปต้นแบบ โดยมีจุด D และจุด Dl
เป็นจุดที่สมนัยกัน จุด E และจุด El เป็นจุดที่สมนัยกัน และกล่าวได้ว่า ส่วนโค้ง ED สมนัยกันกับ ส่วนโค้ง
El Dl

¡Å‹Í§¤ÇÒÁÃÙŒ
การจับคู่ระหว่างจุดในรูปต้นแบบไปยังภาพที่ได้จากการแปลงทางเรขาคณิต เช่น
จากจุด A ในรูปต้นแบบถูกส่งไปเป็นจุด Al ในภาพที่ได้จากการแปลง
กล่าวได้ว่า จุด A กับจุด Al เป็นจุดที่สมนัยกัน

ต่อไป จะกล่าวถึงการแปลงทางเรขาคณิต 3 แบบ ได้แก่ การเลื่อนขนาน การสะท้อน และการหมุน


ซึ่งภาพที่ได้จากการแปลงทางเรขาคณิตทั้ง 3 แบบนี้จะมีรูปร่างและขนาดเดียวกันกับรูปต้นแบบ หรือกล่าว
ได้ว่า เป็นรูปทีเ่ ท่ากันทุกประการ

5
การแปลงทางเรขาคณิต
1.1 การเลื่อนขนาน
นักเรียนสามารถเห็นการเคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรงได้ในชีวิตประจำ�วัน เช่น การเคลื่อนที่ของรถยนต์
บนพืน้ ราบ การเดินขึน้ บันได ดังรูป ลักษณะการเคลือ่ นทีเ่ ช่นนีเ้ ปรียบเสมือนการเลือ่ นขนาน (translation)

รูปที่ 6 การเคลื่อนที่ของรถยนต์บนพื้นราบ รูปที่ 7 การเดินขึ้นบันได

ให้นักเรียนพิจารณา iABC และ iAlBlCl


Al Bl

A ภาพที่ได้จากการเลื่อนขนาน
B
รูปต้นแบบ
Cl
1
C 4

จากรูป เมื่อก�ำหนดให้ iABC เป็นรูปต้นแบบ ซึ่งมีจุด A, B และ C เป็นจุดยอด และ iAlBlCl เป็น
ภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานรูปต้นแบบ ซึ่งมีจุด Al , Bl และ Cl เป็นจุดยอด จะได้ว่า จุด A, B และ C
สมนัยกับจุด Al , Bl และ Cl ตามล�ำดับ และ iABC กับ iAlBlCl เป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีขนาดและ
รูปร่างเหมือนกัน จะเห็นว่า iAlBlCl เกิดจากการเลื่อนจุดทุกจุดบน iABC ไปทางขวา 4 หน่วย และ
เลื่อนขึ้นไปข้างบน 1 หน่วย ซึ่งเป็นตัวอย่างของการก�ำหนดทิศทางและระยะทางของการเลื่อนขนาน
จากรูปจะเห็นว่า ลูกศรมีขนาดและทิศทางเดียวกันทั้ง 3 เส้น
ทิศทางและระยะทางที่ก�ำหนดในการเลื่อนขนาน เรียกว่า เวกเตอร์ของการเลื่อนขนาน นักเรียน
สามารถเขียนลูกศรแทนเวกเตอร์ของการเลือ่ นขนานได้ โดยเขียนลูกศรระหว่างจุดทีส่ มนัยกันจากรูปต้นแบบ
ไปยังภาพที่ได้จากการเลื่อนขนาน

6
การบอกทิศทางและระยะทางของการเลื่อนขนานมักใช้เวกเตอร์ของการเลื่อนขนานเป็นตัวก�ำหนด
ดังรูป
1.5 ซม.
3 ซม.
2.5 ซม. 2 ซม.

ข้างบน 2.5 เซนติเมตร ทางซ้าย 3 เซนติเมตร ทางขวา 1.5 เซนติเมตร ข้างล่าง 2 เซนติเมตร

¡Å‹Í§¤ÇÒÁÃÙŒ
การเลื่อนขนานเป็นการแปลงทางเรขาคณิตที่มีการเลื่อนจุดทุกจุดของรูปต้นแบบ
ไปบนระนาบตามแนวเส้นตรงในทิศทางเดียวกันและเป็นระยะทางเท่ากันตามที่ก�ำหนด

ตัวอย่างที่ 1 ก�ำหนด iABC เป็นรูปต้นแบบ จงสร้างภาพทีไ่ ด้จากการเลือ่ นขนาน iABC


ไปทางขวาเป็นระยะทาง 6 เซนติเมตร
B

6 ซม.
C

วิธีท�ำ จากจุด A, B และ C เลื่อนขนานไปทางขวา 6 เซนติเมตร


จะได้จุด Al , Bl และ Cl ตามล�ำดับ
ลาก AlBl, BlCl และ Cl Al
จะได้ iAlBlCl เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนาน iABC ไปทางขวา 6 เซนติเมตร ดังรูป
B 6 ซม. Bl

C
6 ซม.
Cl
6 ซม.
A ตอบ
Al

7
การแปลงทางเรขาคณิต

ก�ำหนด dABCD เป็นรูปต้นแบบ จงเขียนภาพที่ได้ A B


จากการเลื่อนขนานไปข้างบนเป็นระยะทาง 3 เซนติเมตร
3 ซม.
D C

จากตัวอย่างที่ 1 เมื่อเลื่อนขนาน iAlBlCl ไปทางซ้าย 6 เซนติเมตร iAlBlCl จะซ้อนทับ iABC


พอดี จะเห็นว่าจุดทุกจุดบนรูปต้นแบบต่างเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกันและเป็นระยะทางเท่ากัน
นักเรียนสามารถหาภาพที่ได้จากการเลื่อนขนาน เมื่อก�ำหนดรูปต้นแบบและเวกเตอร์ของการ
เลือ่ นขนาน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 2 จงเขียนภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานรูปต้นแบบตามเวกเตอร์ของการเลื่อนขนาน
ที่ก�ำหนดให้

วิธีท�ำ จากเวกเตอร์ของการเลื่อนขนานที่ก�ำหนด จะได้ภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานรูปต้นแบบตาม


เวกเตอร์ของการเลื่อนขนานที่ก�ำหนด ดังรูป

ภาพที่ได้จากการเลื่อนขนาน

รูปต้นแบบ
ตอบ

8

จงเขียนภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานรูปต้นแบบตามเวกเตอร์ของการเลื่อนขนานที่ก�ำหนดให้

ในทางกลับกัน นักเรียนสามารถหาเวกเตอร์ของการเลื่อนขนานเมื่อก�ำหนดรูปต้นแบบและภาพที่ได้
จากการเลื่อนขนานได้เช่นกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 3 ก�ำหนดรูป A เป็นรูปต้นแบบ และรูป Al เป็นภาพทีไ่ ด้จากการเลือ่ นขนาน


จงหาเวกเตอร์ของการเลื่อนขนาน

Al

วิธีท�ำ จากรูป ลากส่วนของเส้นตรงเชื่อมระหว่างจุดที่สมนัยกันคู่ใดคู่หนึ่งของรูป A กับรูป Al


จะได้เวกเตอร์ของการเลื่อนขนานรูป A ทีม ่ ที ศิ ทางเดียวกันและเป็นระยะทางเท่ากัน เท่ากับ
3 เซนติเมตร ดังรูป
3 ซม.

A
3 ซม.
3 ซม. Al

3 ซม.
ตอบ

9
การแปลงทางเรขาคณิต

ก�ำหนดรูป A เป็นรูปต้นแบบ และรูป Al เป็นภาพทีไ่ ด้จากการเลือ่ นขนาน


จงหาเวกเตอร์ของการเลื่อนขนาน A

Al

นักเรียนเคยทราบมาแล้วว่า พิกัดของจุดต่าง ๆ ในระบบพิกัดฉากแทนด้วย (x, y) นักเรียนสามารถ


เลื่อนขนานจุดต่าง ๆ ได้โดยใช้เวกเตอร์ของการเลื่อนขนานและสามารถบอกพิกัดของจุดต่าง ๆ ที่ได้จาก
การเลื่อนขนานได้เช่นกัน

ตัวอย่างที่ 4 จงเลื่อนขนานจุด P(-4, 1) และจุด Q(1, 3) ตามแนวแกน X ไปทางขวา 1 หน่วย และ


ตามแนวแกน Y ไปข้างล่าง 3 หน่วย และหาพิกัดของภาพที่ได้จากการเลื่อนขนาน
วิธีท�ำ จากโจทย์ เลื่อนขนานจุด P ตามแนวแกน X ไปทางขวา 1 หน่วย และตามแนวแกน Y
ไปข้างล่าง 3 หน่วย จะได้จุด Pl (-3, -2)
และ เลือ่ นขนานจุด Q ตามแนวแกน X ไปทางขวา 1 หน่วย และตามแนวแกน Y
ไปข้างล่าง 3 หน่วย จะได้จุด Ql(2, 0) ดังรูป
Y
Q(1, 3)
2
P(-4, 1)
Ql (2, 0) X
-6 -4 -2 0 2 4

-2
Pl (-3, -2)

ตอบ

10
จงเลื่อนขนานจุด A(2, -2) และจุด B(-1, -2) ตามแนวแกน X ไปทางซ้าย 2 หน่วย และตามแนวแกน Y ไปข้างบน
4 หน่วย และหาพิกัดของภาพที่ได้จากการเลื่อนขนาน
Y

X
-6 -4 -2 0 2 4
-2
B(-1, -2) A(2, -2)

เพื่อให้เข้าใจการเลื่อนขนานบนแกนพิกัดฉากยิ่งขึ้น นักเรียนอาจใช้ความรู้เกี่ยวกับคู่อันดับและกราฟ
มาช่วยในการหาพิกัดของภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานได้ ดังนี้
เวกเตอร์ของ จุดที่ได้จาก
จุดต้นแบบ การเลื่อนขนาน การเลื่อนขนาน
เลื่อนตามแนวแกน X ไปทางขวา 3 หน่วย Al (1 + 3, -2)
A(1, -2)
หรือ Al(4, -2)
เลื่อนตามแนวแกน X ไปทางซ้าย 2 หน่วย Bl (3 - 2, 3)
B(3, 3)
หรือ Bl(1, 3)
เลื่อนตามแนวแกน Y ไปข้างบน 1 หน่วย Cl (-2, 0 + 1)
C(-2, 0)
หรือ Cl(-2, 1)
เลื่อนตามแนวแกน Y ไปข้างล่าง 3 หน่วย Dl (2, -1 - 3)
D(2, -1)
หรือ Dl(2, -4)
เลื่อนตามแนวแกน X ไปทางซ้าย 2 หน่วย Ml (-3 - 2, -2 + 1)
M(-3, -2)
แล้วเลื่อนตามแนวแกน Y ไปข้างบน 1 หน่วย หรือ Ml(-5, -1)
เลื่อนตามแนวแกน X ไปทางขวา 2 หน่วย Nl (-4 + 2, 5 - 3)
N(-4, 5)
แล้วเลื่อนตามแนวแกน Y ไปข้างล่าง 3 หน่วย หรือ Nl(-2, 2)
เลื่อนตามแนวแกน X ไปทางขวา 1 หน่วย Ol (0 + 1, 0 + 1)
O(0, 0) แล้วเลื่อนตามแนวแกน Y ไปข้างบน 1 หน่วย หรือ Ol(1, 1)

11
การแปลงทางเรขาคณิต
Y

4
Bl B

Nl
2
Cl Ol

C
X
O
-4 -2 2 4
Ml D
A Al
M
-2

-4 Dl

โดยทั่วไป เมื่อกำ�หนดพิกัดของรูปต้นแบบ ทิศทางและขนาดของการเลื่อนขนาน นักเรียนจะสามารถ


หาพิกัดของภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานโดยไม่จำ�เป็นต้องเขียนรูป ด้วยวิธีการดังนี้

¡Å‹Í§¤ÇÒÁÃÙŒ
กำ�หนดให้ (x, y) เป็นพิกัดของจุดบนรูปต้นแบบ a และ b เป็นจำ�นวนจริงบวกใดๆ
เมื่อเลื่อนจุดตามแนวแกน X ไปทางขวา a หน่วย จะได้พิกัดใหม่เป็น (x + a, y)
เมื่อเลื่อนจุดตามแนวแกน X ไปทางซ้าย a หน่วย จะได้พิกัดใหม่เป็น (x - a, y)
เมื่อเลื่อนจุดตามแนวแกน Y ไปข้างบน a หน่วย จะได้พิกัดใหม่เป็น (x, y + a)
เมื่อเลื่อนจุดตามแนวแกน Y ไปข้างล่าง a หน่วย จะได้พิกัดใหม่เป็น (x, y - a)
เมือ่ เลือ่ นจุดตามแนวแกน X ไปทางขวา a หน่วย แล้วเลือ่ นตามแนวแกน Y ไปข้างบน b หน่วย
จะได้พิกัดใหม่เป็น (x + a, y + b)
เมือ่ เลือ่ นจุดตามแนวแกน X ไปทางขวา a หน่วย แล้วเลือ่ นตามแนวแกน Y ไปข้างล่าง b หน่วย
จะได้พิกัดใหม่เป็น (x + a, y - b)
เมือ่ เลือ่ นจุดตามแนวแกน X ไปทางซ้าย a หน่วย แล้วเลือ่ นตามแนวแกน Y ไปข้างบน b หน่วย
จะได้พิกัดใหม่เป็น (x - a, y + b)
เมือ่ เลือ่ นจุดตามแนวแกน X ไปทางซ้าย a หน่วย แล้วเลือ่ นตามแนวแกน Y ไปข้างล่าง b หน่วย
จะได้พิกัดใหม่เป็น (x - a, y - b)

12
ตัวอย่างที่ 5 จงหาพิกัดของจุดที่ได้จากการเลื่อนขนานจุด A(1, 5) และจุด B(-2, -3) ด้วยการเลื่อน
ตามแนวแกน X ไปทางซ้าย 3 หน่วย และตามแนวแกน Y ไปด้านบน 4 หน่วย
วิธีท�ำ จาก A(1, 5) จะได้ Al (1 - 3 , 5 + 4) = Al (-2, 9)
จาก B(-2, -3) จะได้ Bl (-2 - 3, -3 + 4) = Bl (-5, 1) ตอบ

จงหาพิกัดของจุดที่ได้จากการเลื่อนขนานจุด A(-7, 0) และจุด B(5, -3) ตามแนวแกน X ไปทางขวา 7 หน่วย และ


ตามแนวแกน Y ไปด้านบน 4 หน่วย

ตัวอย่างที่ 6 ถ้าการเลื่อนขนานจุด C(-3, 4) ท�ำให้ได้จุด Cl (5, 1) จงหาเวกเตอร์ของการเลื่อนขนาน


วิธีท�ำ เนื่องจาก -3 + 8 = 5
และ 4 - 3 = 1
จะได้ (-3 + 8, 4 - 3) = (5, 1)
จะได้ว่า เวกเตอร์ของการเลื่อนขนานจุด C(-3, 4) ไปเป็นจุด Cl (5, 1) เป็นการเลื่อนตามแนว
แกน X ไปทางขวา 8 หน่วย และเลื่อนตามแนวแกน Y ไปด้านล่าง 3 หน่วย ตอบ

ถ้าการเลื่อนขนานจุด D(1, -2) ท�ำให้ได้จุด Dl (-3, 7) จงหาเวกเตอร์ของการเลื่อนขนาน

13
การแปลงทางเรขาคณิต
แบบฝึกหัด 1.1
1. (*) จงเขียนภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานรูปต้นแบบตามเวกเตอร์ที่ก�ำหนดให้
1) A B

2) A B

F C
E

2. (*) จงเขียนภาพทีไ่ ด้จากการเลือ่ นขนานรูปต้นแบบตามแนวแกน X ไปทางซ้าย 3 หน่วย


และตามแนวแกน Y ไปด้านบน 3 หน่วย
Y

X
A

14
3. (*) จงเขียนเวกเตอร์ของการเลือ่ นขนานจากรูปต้นแบบและภาพทีไ่ ด้จากการเลือ่ นขนานทีก่ ำ�หนดให้
1)

รูปต้นแบบ ภาพที่ได้จากการเลื่อนขนาน

2)

ภาพที่ได้จากการเลื่อนขนาน

รูปต้นแบบ
4. (**) จงเติมข้อความที่เป็นค�ำตอบให้สมบูรณ์
ข้อ จุดต้นแบบ เวกเตอร์ของการเลื่อนขนาน จุดที่ได้จากการเลื่อนขนาน
ตามแนวแกน X ไปทางขวา 1 หน่วย และ
1) A(2, 3)
ตามแนวแกน Y ไปด้านบน 4 หน่วย

2) D(0, 1) ตามแนวแกน Y ไปด้านบน 1 หน่วย

3) E(5, 1) El (8, 0)
ตามแนวแกน X ไปทางซ้าย 4 หน่วย และ
4) Fl (0, 0)
ตามแนวแกน Y ไปด้านล่าง 4 หน่วย
ตามแนวแกน X ไปทางขวา a หน่วย และ
5) I(a, b)
ตามแนวแกน Y ไปด้านบน b หน่วย
ตามแนวแกน X ไปทางซ้าย c หน่วย และ
6) J(a + c, b)
ตามแนวแกน Y ไปด้านบน c หน่วย

15
การแปลงทางเรขาคณิต
5. (**) กำ�หนด dAl Bl Cl Dl เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนาน dABCD ดังรูป
Y

A
4
E

B D 2

Al
X
-6 -4 -2 C 0 2 4 6
El

-2 Dl
Bl

-4 Cl

1) จงหาเวกเตอร์ของการเลื่อนขนาน
2) ถ้า E เป็นจุดกึ่งกลางของ AB มีพิกัด (-5, 3) จงหาพิกัดของ El

6. (**) กำ�หนด AB มีจดุ A(-1, -1) และจุด B(3, -2) เป็นจุดปลาย เลือ่ นขนาน AB จนได้จดุ Al(2, -2)
จงหา
1) เวกเตอร์ของการเลื่อนขนาน
2) พิกัดของจุด Bl

16
1.2 การสะท้อน
นักเรียนสามารถเห็นการแปลงที่มีลักษณะเป็นภาพที่เสมือนภาพจริง เช่น เงาของวัตถุทเี่ กิดขึน้ บน
ผิวน�ำ้ หรือบนกระจก ซึง่ ภาพทีไ่ ด้จากการแปลงจะมีรปู ร่างและขนาดเท่ากันกับรูปต้นแบบเสมอ การแปลง
ในลักษณะนีเ้ รียกว่า การสะท้อน (reflection)

รูปที่ 8 ภาพสะท้อนของโบสถ์ Karlskirche รูปที่ 9 ภาพสะท้อนในกระจก

เมื่อลากเส้นตรง L ในรูปที่ 8 จะเห็นว่าลักษณะ


ของโบสถ์ที่อยู่ข้างบนเส้นตรง L กับภาพของเงาใน
L น�้ำที่อยู่ข้างล่างของเส้นตรง L มีขนาดและรูปร่าง
เหมือนกัน อาจกล่าวได้ว่า เงาในน�้ำเป็นภาพที่ได้
จากการสะท้อนโดยมีโบราณสถานเป็นวัตถุต้นแบบ
และมีเส้นตรง L เป็น เส้นสะท้อน

L
A Al

ภาพที่ได้จากการสะท้อน
B Bl
รูปต้นแบบ
D Dl

C Cl

จากรูป ก�ำหนดให้ iABC เป็นรูปต้นแบบ ซึ่งมีจุด A, B และ C เป็นจุดยอด และ iAlBlCl


เป็นภาพที่ได้จากการสะท้อนรูปต้นแบบ ซึ่งมีจุด Al, Bl และ Cl เป็นจุดยอด โดยจุด Al, Bl และ Cl
สมนัยกับจุด A, B และ C ตามล�ำดับ จะได้ว่า iABC กับ iAlBlCl เป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีขนาดและ
รูปร่างเหมือนกัน เมือ่ ลากส่วนของเส้นตรงเชือ่ มระหว่างจุดทีส่ มนัยกัน จะมีเส้นตรง L ทีต่ งั้ ฉากและแบ่งครึง่
ส่วนของเส้นตรงทุกเส้น เรียกเส้นตรง L ดังกล่าวว่า เส้นสะท้อน
ก�ำหนดให้จุด D เป็นจุดต้นแบบ และอยู่บนเส้นตรง L เมื่อสะท้อนจุด D ข้ามเส้นตรง L จะได้ว่า
จุด Dl เป็นจุดที่ได้จากการสะท้อนและเป็นจุดเดียวกันกับจุด D

17
การแปลงทางเรขาคณิต
การสะท้อนรูปเรขาคณิตเป็นการแปลงทางเรขาคณิตอีกแบบหนึ่ง ซึ่งมีข้อก�ำหนดดังนี้

¡Å‹Í§¤ÇÒÁÃÙŒ
การสะท้อนรูปเรขาคณิตที่มีเส้นตรง L ที่ตรึงเส้นหนึ่งเป็นเส้นสะท้อน แต่ละจุด P บนรูปต้นแบบ
จะมีจุด Pl เป็นภาพที่ได้จากการสะท้อน โดยที่
1) ถ้าจุด P ไม่อยู่บนเส้นตรง L แล้ว เส้นตรง L จะแบ่งครึ่งและตั้งฉากกับ PPl
2) ถ้าจุด P อยู่บนเส้นตรง L แล้ว จุด P และจุด Pl เป็นจุดเดียวกัน

นักเรียนสามารถหาภาพที่ได้จากการสะท้อน เมื่อก�ำหนดรูปต้นแบบและเส้นสะท้อน ดังตัวอย่าง


ต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 7 จงเขียนภาพที่ได้จากการสะท้อนรูปต้นแบบ ABC ผ่านเส้นสะท้อน L ที่ก�ำหนดให้

วิธีท�ำ ลาก AP ตั้งฉากกับเส้นตรง L ที่จุด P แล้วต่อออกไปถึงจุด Al โดยให้ AP = Al P


ในท�ำนองเดียวกัน ลาก BQ และ CR ตัง้ ฉากกับเส้นตรง L ที่จุด Q และจุด R ตามล�ำดับ
แล้วต่อออกไปถึงจุด Bl และจุด Cl ตามล�ำดับ โดยท�ำให้ BQ = BlQ และ CR = Cl R
ลาก AlBl, BlCl และ Cl Al
จะได้รปู AlBlCl ซึง่ เป็นภาพทีไ่ ด้จากการสะท้อนรูปต้นแบบ ABC ผ่านเส้นสะท้อน L ดังรูป

A P Al
รูปต้นแบบ ภาพที่ได้จากการสะท้อน
B Q Bl
R
C Cl

L
ตอบ

18
จงเขียนภาพที่ได้จากการสะท้อนรูปต้นแบบ ABC B
A
ผ่านเส้นสะท้อน L ที่ก�ำหนดให้

C L

ตัวอย่างที่ 8 จงเขียนภาพที่ได้จากการสะท้อนรูปต้นแบบ ABC ผ่านเส้นสะท้อน L ที่ก�ำหนดให้


A

C B

วิธีท�ำ ลาก AP ตั้งฉากกับเส้นตรง L ที่จุด P แล้วต่อออกไปถึงจุด Al โดยให้ AP = Al P


ในท�ำนองเดียวกัน ลาก BQ และ CR ตัง้ ฉากกับเส้นตรง L ที่จุด Q และจุด R ตามล�ำดับ
แล้วต่อออกไปถึงจุด Bl และจุด Cl ตามล�ำดับ โดยท�ำให้ BQ = BlQ และ CR = Cl R
ลาก AlBl, BlCl และ Cl Al
จะได้รปู AlBlCl ซึง่ เป็นภาพทีไ่ ด้จากการสะท้อนรูปต้นแบบ ABC ผ่านเส้นสะท้อน L ดังรูป
A
รูปต้นแบบ
C B P
Q
Bl
R
Al

ภาพที่ได้จากการสะท้อน
L
Cl
ตอบ

19
การแปลงทางเรขาคณิต

จงเขียนภาพที่ได้จากการสะท้อนรูปต้นแบบ ABC
ผ่านเส้นสะท้อน L ที่ก�ำหนดให้

ตัวอย่างที่ 9 จงเขียนภาพที่ได้จากการสะท้อนรูปต้นแบบ ABCDE จากเส้นสะท้อน L ที่ก�ำหนดให้

วิธีท�ำ เนื่องจากจุด A และจุด B อยู่บนเส้นสะท้อน


จะได้ว่า A = Al และ B = Bl
จุด Cl, Dl และ El หาได้ในท�ำนองเดียวกันกับตัวอย่างที่ 7
จะได้ว่า รูป AlBlClDlEl เป็นภาพที่ได้จากการสะท้อนรูปต้นแบบ ABCDE
ตามเส้นสะท้อน L ดังรูป

ตอบ

B
จงเขียนภาพที่ได้จากการสะท้อนรูปต้นแบบ ABCD A

ผ่านเส้นสะท้อน L ที่ก�ำหนดให้ L
D C

20
ในท�ำนองเดียวกัน นักเรียนสามารถหาเส้นสะท้อนได้เมือ่ ก�ำหนดรูปต้นแบบและภาพทีไ่ ด้จากการสะท้อน
ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 10 จงหาเส้นสะท้อนเมื่อก�ำหนดรูป ABCD เป็นรูปต้นแบบ และรูป Al Bl Cl Dl


เป็นภาพที่ได้จากการสะท้อนรูป ABCD

วิธีที่ 1 สังเกตว่าจุด A กับจุด Al เป็นจุดที่สมนัยกัน ลาก AAl และหาจุด P ซึ่งเป็นจุดกึ่งกลาง


ของ AAl สร้างเส้นตรง L ที่ตั้งฉากกับ AAl และผ่านจุด P
จะได้ว่า เส้นตรง L เป็นเส้นสะท้อนที่ต้องการ ดังรูป

ตอบ

วิธีที่ 2 สังเกตว่าจุด A กับจุด Al และจุด D กับจุด Dl เป็นจุดที่สมนัยกัน


ลาก AAl และ DDl และหาจุด P และจุด Q ซึง่ เป็นจุดกึง่ กลางของ AAl และ DDl ตามล�ำดับ
สร้างเส้นตรง L ที่ผ่านจุด P และจุด Q
จะได้ว่า เส้นตรง L เป็นเส้นสะท้อนที่ต้องการ ดังรูป


ตอบ

21
การแปลงทางเรขาคณิต

จงหาเส้นสะท้อนเมื่อก�ำหนดรูป ABCD เป็นรูปต้นแบบ A Al

และรูป Al Bl Cl Dl เป็นภาพที่ได้จากการสะท้อน B Bl
รูป ABCD
C Cl
D Dl

เมื่อก�ำหนดจุดต้นแบบในระบบพิกัดฉากและเส้นสะท้อนขึ้นมาเส้นหนึ่ง นักเรียนสามารถหาพิกัดของ
จุดที่ได้จากการสะท้อนได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 11 ก�ำหนดจุด A(1, 3) เป็นรูปต้นแบบ จงหาพิกัดของจุด Al, Am และ An เมื่อ


1) จุด Al เป็นจุดที่ได้จากการสะท้อนจุด A โดยมีเส้นสะท้อนเป็นแกน X
2) จุด Am เป็นจุดที่ได้จากการสะท้อนจุด A โดยมีเส้นสะท้อนเป็นแกน Y
3) จุด An เป็นจุดที่ได้จากการสะท้อนจุด A โดยมีเส้นสะท้อนเป็นกราฟเส้นตรง y = x
Y

y=x
4
A(1, 3)

0 X
-4 -2 2 4

-2

-4

22
วิธีท�ำ 1) จุด Al ได้จากการสะท้อนจุด A(1, 3) โดยมีเส้นสะท้อนเป็นแกน X
จะมีพิกัดที่หนึ่งเป็นจ�ำนวนเดียวกัน เพราะอยู่ห่างจากแกน Y เป็นระยะที่เท่ากัน
และมีพกิ ดั ทีส่ องเป็นจ�ำนวนตรงข้ามกัน เพราะอยูค่ นละข้างของแกน X เป็นระยะทีเ่ ท่ากัน
จะได้พิกัดของจุด Al เป็น (1, -3)
2) จุด Am ได้จากการสะท้อนจุด A(1, 3) โดยมีเส้นสะท้อนเป็นแกน Y
จะมีพิกัดที่หนึ่งเป็นจ�ำนวนตรงข้ามกัน เพราะอยูค ่ นละข้างของแกน Y เป็นระยะทีเ่ ท่ากัน
และมีพิกัดที่สองเป็นจ�ำนวนเดียวกัน เพราะอยู่ห่างจากแกน X เป็นระยะที่เท่ากัน
จะได้พิกัดของจุด Am เป็น (-1, 3)
3) ลากเส้นตรง L ผ่านจุด A ให้ตงั้ ฉากกับเส้นสะท้อน y = x จากนัน้ หาจุด An บนเส้นตรง L
ที่ท�ำให้จุด A และจุด An อยู่ห่างจากเส้นสะท้อน y = x เท่ากัน
จะได้พิกัดของจุด An เป็น (3, 1) ดังรูป
Y

y=x
4
Am (-1, 3) A(1, 3)

2
An (3, 1)

0 X
-4 -2 2 4

-2 L

Al (1, -3)
-4
ตอบ

23
การแปลงทางเรขาคณิต

ก�ำหนดจุด A(3, -2) เป็นรูปต้นแบบ จงหาพิกัดของจุด Al , Am และ An เมื่อ


1) จุด Al เป็นจุดที่ได้จากการสะท้อนจุด A โดยมีเส้นสะท้อนเป็นแกน X
2) จุด Am เป็นจุดที่ได้จากการสะท้อนจุด A โดยมีเส้นสะท้อนเป็นแกน Y
3) จุด An เป็นจุดที่ได้จากการสะท้อนจุด A โดยมีเส้นสะท้อนเป็นกราฟเส้นตรง y = x
Y

y=x
4

0 X
-4 -2 2 4

-2 A(3, -2)

-4

เพื่อให้เข้าใจการสะท้อนบนแกนพิกัดฉากยิ่งขึ้น นักเรียนอาจใช้ความรู้เกี่ยวกับคู่อันดับและกราฟ
มาช่วยในการหาพิกัดของภาพที่ได้จากการสะท้อนโดยมีแกน X แกน Y และเส้นตรง y = x เป็น
เส้นสะท้อน ดังนี้
จุดต้นแบบ เส้นสะท้อน จุดที่ได้จากการสะท้อน
A(1, -2) แกน X Al (1, 2)
B(3, 3) แกน X Bl (3, -3)
C(-2, 0) แกน Y Cl (2, 0)
D(3, 4) แกน Y Dl (-3, 4)
E(-3, -2) เส้นตรง y = x El (-2, -3)
F(-1, 2) เส้นตรง y = x Fl (2, -1)

24
Y

Dl D y =x
4
B

F Al
2

C Cl
X
-4 -2 0 2 4
A Fl

E
-2
Bl
El
-4

โดยทั่วไป เมื่อกำ�หนดพิกัดของรูปต้นแบบและเส้นสะท้อนเป็นแกน X แกน Y หรือเส้นตรง y = x


นักเรียนจะสามารถหาพิกัดของภาพที่ได้จากการสะท้อนโดยไม่จำ�เป็นต้องเขียนรูปได้ดังนี้

¡Å‹Í§¤ÇÒÁÃÙŒ
กำ�หนดให้ (x, y) เป็นพิกัดของจุดบนรูปต้นแบบ
เมื่อสะท้อนจุดข้ามแกน X จะได้พิกัดใหม่เป็น (x, -y)
เมื่อสะท้อนจุดข้ามแกน Y จะได้พิกัดใหม่เป็น (-x, y)
เมื่อสะท้อนจุดข้ามเส้นตรง y = x จะได้พิกัดใหม่เป็น (y, x)

25
การแปลงทางเรขาคณิต
ตัวอย่างที่ 12 ก�ำหนดจุด A(1, -2) เป็นรูปต้นแบบ จุด Al เป็นจุดที่ได้จากการเลื่อนขนานจุด A ตาม
แนวแกน X ไปทางซ้าย 2 หน่วย และตามแนวแกน Y ไปด้านบน 3 หน่วย และจุด Am เป็นจุดที่ได้
จากการสะท้อนจุด Al โดยมีเส้นสะท้อนเป็นแกน X จงหาพิกัดของจุด Am
วิธีท�ำ เนื่องจากจุด Al เป็นจุดที่ได้จากการเลื่อนขนานจุด A(1, -2) ตามแนวแกน X ไปทางซ้าย 2
หน่วย และตามแนวแกน Y ไปด้านบน 3 หน่วย
จะได้พิกัดของจุด Al เป็น (1 - 2, -2 + 3) = (-1, 1)
เนื่องจากจุด Am เป็นจุดที่ได้จากการสะท้อนจุด Al (-1, 1) โดยมีเส้นสะท้อนเป็นแกน X
ดังนั้นจุด Am มีพิกัด (-1, -1) ตอบ

ก�ำหนดจุด B(3, 1) เป็นรูปต้นแบบ จุด Bl เป็นจุดที่ได้จากการเลื่อนขนานจุด B ตามแนวแกน X ไปทางซ้าย


2 หน่วย และตามแนวแกน Y ไปด้านล่าง 3 หน่วย และจุด Bm เป็นจุดที่ได้จากการสะท้อนจุด Bl โดยมีเส้น
สะท้อนเป็นแกน Y จงหาพิกัดของจุด Bm

เคยสงสัยหรือไม่ว่า เพราะเหตุใดรถพยาบาล (AMBULANCE) จึงต้อง


เขียนตัวหนังสือขนาดใหญ่ ๆ ในลักษณะดังนี้

เหตุผลก็คือ เมื่อผู้ใช้รถบนถนนใช้กระจกมองหลังในขณะขับรถจะเห็น
เป็ น ค� ำ ว่ า AMBULANCE ซึ่ ง เข้ า ใจได้ ใ นทั น ที ว ่ า เป็ น รถพยาบาลและ
ต้องรีบหลีกทางให้ รูปที่ 11 รถพยาบาล

26
ส�ำหรับการสะท้อนผ่านเส้นตรงอื่น ๆ ที่ขนานกับแกน X หรือแกน Y นักเรียนสามารถหาพิกัดของ
ภาพที่ได้จากการสะท้อนโดยการหาระยะระหว่างจุดต้นแบบและเส้นสะท้อน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 13 จงหาพิกัดของจุดที่ได้จากการสะท้อนจุด P(3, 2) ผ่านเส้นตรงต่อไปนี้


1) x = 1 Y

2) y = -1 x= 1

Pl (-1, 2) P(3, 2)
??

??
2 2 3
0 1
-1 y= -1
3

Pm (3, -4)
วิธีท�ำ 1) เนื่องจากจุด P(3, 2) อยู่ห่างจากเส้นตรง x = 1 ไปทางขวา
และอยู่ห่างกันเป็นระยะทาง 3 - 1 = 2 หน่วย
จะได้ว่า จุด Pl ต้องอยู่ห่างจากเส้นตรง x = 1 ไปทางซ้าย เป็นระยะทาง 2 หน่วย
ดังนั้น จุด Pl มีพิกัด (-1, 2) ตอบ
2) เนื่องจากจุด P(3, 2) อยู่ห่างจากเส้นตรง y = -1 ไปข้างบน
และอยู่ห่างกันเป็นระยะทาง 2 - (-1) = 3 หน่วย
จะได้ว่า จุด Pm ต้องอยู่ห่างจากเส้นตรง y = -1 ไปข้างล่าง เป็นระยะทาง 3 หน่วย
ดังนั้น จุด Pm มีพิกัด (3, -4) ตอบ

จงหาพิกัดของจุดที่ได้จากการสะท้อนจุด A(-3, 2) ผ่านเส้นตรงต่อไปนี้


1) x = -1
2) y = 3

27
การแปลงทางเรขาคณิต
แบบฝึกหัด 1.2
1. (*) จงเขียนภาพที่ได้จากการสะท้อนรูปต้นแบบจากเส้นสะท้อนที่ก�ำหนดให้
1) รูปต้นแบบ
A B

D C

เส้นสะท้อน

2) A

รูปต้นแบบ
B

เส้นสะท้อน

28
3)
A

D
รูปต้นแบบ
E

เส้นสะท้อน

2. (*) จงเขียนเส้นสะท้อนจากรูปต้นแบบและภาพที่ได้จากการสะท้อนที่ก�ำหนดให้
1)

รูปต้นแบบ ภาพที่ได้จากการสะท้อน

29
การแปลงทางเรขาคณิต
2)
ภาพที่ได้จากการสะท้อน

รูปต้นแบบ

3)
รูปต้นแบบ

ภาพที่ได้จากการสะท้อน

30
3. (**) จงหาพิกัดของจุดที่ได้จากการสะท้อนจุดต้นแบบต่อไปนี้ผ่านแกน X
1) (1, 3) 4) (0, 2)
2) (-1, 3) 5) (-2, -3)
3) (3, -2) 6) (-4, -4)

4. (**) จงหาพิกัดของจุดที่ได้จากการสะท้อนจุดต้นแบบในข้อ 3. ผ่านแกน Y


5. (**) จงหาพิกัดของจุดที่ได้จากการสะท้อนจุดต้นแบบในข้อ 3. ผ่านกราฟเส้นตรง y = x
6. (**) ก�ำหนดรูปต้นแบบ ABC และเส้นสะท้อนดังภาพ
เส้นสะท้อน Y

4
B

A
2

X
-6 -4 -2 0 2 4

C -2

1) จงเขียนภาพที่ได้จากการสะท้อนรูปต้นแบบผ่านเส้นสะท้อนที่ก�ำหนดให้ และหาพิกัดของ
จุด Al, Bl และ Cl ที่ได้จากการสะท้อน
2) จงหาพิกัดของจุด Am, Bm และ Cm ของภาพที่ได้จากการสะท้อนรูปต้นแบบผ่านแกน Y

31
การแปลงทางเรขาคณิต
1.3 การหมุน
นักเรียนสามารถเห็นการเคลื่อนที่เป็นแนวส่วนโค้งของวงกลมได้ในชีวิตประจ�ำวัน เช่น การเคลื่อนที่
ของกระเช้าในชิงช้าสวรรค์ การเคลือ่ นทีข่ องใบพัดในพัดลม การเคลือ่ นทีข่ องเข็มนาฬิกา เป็นต้น ลักษณะ
การเคลื่อนที่เช่นนี้เปรียบเสมือนการหมุน (rotation)

O A

A'

รูปที่ 12 พัดลม รูปที่ 13 ชิงช้าสวรรค์ รูปที่ 14 นาฬิกา

การหมุนของรูปเรขาคณิต เป็นการแปลงทางเรขาคณิตแบบหนึ่งที่จุดทุกจุดของรูปต้นแบบเคลื่อนที่
ไปเป็นมุมขนาดเดียวกันรอบจุดคงที่ เรียกจุดคงที่นั้นว่า จุดหมุน ภาพที่ได้จากการหมุนจะมีรูปร่างและ
ขนาดเท่ากันกับรูปต้นแบบเสมอ
จากรูปการหมุนของเข็มนาฬิกา ก�ำหนดจุด O เป็นจุดหมุนของเข็มนาฬิกา เมื่อเข็มนาฬิกาเคลื่อนที่
ปลายเข็มนาฬิกาด้านหนึ่งจะเคลื่อนที่จากต�ำแหน่ง A ไปยังต�ำแหน่ง Al และปลายเข็มนาฬิกาอีกด้าน
หนึ่งยังถูกตรึงอยู่ที่จุด O

ทิศทางตามเข็มนาฬิกามีทิศทางวนขวา
- + ตามลักษณะการหมุนของเข็มนาฬิกา
ทิศทางทวนเข็มนาฬิกามีทิศทางวนซ้าย
ทิศทางตามเข็มนาฬิกา ทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ซึ่งตรงกันข้ามกับทิศทางหมุนของเข็มนาฬิกา

32
B C

รูปต้นแบบ
Al Bl
A
x
x x ภาพที่ได้จากการหมุน
D
O Dl

Cl

จากรูป ก�ำหนดให้ iABC เป็นรูปต้นแบบ ซึ่งมีจุด A, B และ C เป็นจุดยอด และ iAlBlCl เป็น
ภาพทีไ่ ด้จากการหมุนรูปต้นแบบรอบจุดหมุน O เป็นมุมทีม่ี ขี นาด x ในทิศตามเข็มนาฬิกา ซึง่ มีจดุ Al,
Bl และ Cl เป็นจุดยอด โดยจุด A, B และ C สมนัยกับจุด Al , Bl และ Cl ตามล�ำดับ และ iABC
กับ iAlBlCl เป็นรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ เมื่อลากส่วนของเส้นตรงเชื่อมระหว่างจุดบน
รูปต้นแบบกับจุด O และลากส่วนของเส้นตรงเชื่อมระหว่างจุดบนภาพที่ได้จากการหมุนกับจุด O จะได้
ว่าจุดที่สมนัยกันมีระยะห่างจากจุดหมุนเท่ากันทุกคู่
เมื่อก�ำหนดให้จุด D เป็นจุดต้นแบบ และเป็นจุดเดียวกันกับจุดหมุน O เมื่อหมุนจุด D รอบจุดหมุน
O จะได้จุด Dl เป็นจุดที่ได้จากการหมุนและเป็นจุดเดียวกันกับจุด D
โดยทั่วไป การหมุนมีข้อก�ำหนดดังนี้

¡Å‹Í§¤ÇÒÁÃÙŒ
การหมุน เป็นการแปลงทางเรขาคณิตที่มีจุดตรึง O จุดหนึ่งเป็นจุดหมุน แต่ละจุด P บนระนาบ
มีจดุ Pl เป็นภาพทีไ่ ด้จากการหมุนจุด P รอบจุด O ตามทิศทางทีก่ ำ� หนดด้วยมุมทีม่ ขี นาด k โดยที่
1) ถ้าจุด P ไม่ใช่จุด O แล้ว OP = OPl และขนาดของ POP t l เท่ากับ k
2) ถ้าจุด P เป็นจุดเดียวกับจุด O แล้ว จุด P และจุด Pl เป็นจุดเดียวกัน

Pl P

33
การแปลงทางเรขาคณิต
ตัวอย่างที่ 14 จงหาจุด Pl จากการหมุนจุดต้นแบบ P ที่ก�ำหนดให้รอบจุดหมุน O เป็นมุมขนาด
30 องศา ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
O P

วิธที ำ� ลาก OP แล้วสร้าง POP


t l ให้มขี นาด 30 องศา ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา โดยให้ OP = OPl
จะได้วา่ จุด Pl เป็นจุดทีไ่ ด้จากการหมุนจุดต้นแบบ P รอบจุดหมุน O เป็นมุมขนาด 30 องศา
ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ดังรูป
Pl


30 ํ

O
P ตอบ

M
จงหาจุด Ml จากการหมุนจุดต้นแบบ M ที่ก�ำหนดให้รอบจุดหมุน O
เป็นมุมขนาด 45 องศา ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา O

ตัวอย่างที่ 15 จงหาภาพที่ได้จากการหมุน AB รอบจุดหมุน O เป็นมุมขนาด 90 องศา ในทิศทาง


ตามเข็มนาฬิกา
A

34
t l ให้มขี นาด 90 องศา ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา โดยให้ OA = OAl
วิธีท�ำ ลาก OA แล้วสร้าง AOA
ลาก OB แล้วสร้าง BOB t l ให้มขี นาด 90 องศา ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา โดยให้ OB = OBl
ลาก Al Bl
เนื่องจาก จุดที่สมนัยกันมีระยะห่างจากจุด O เท่ากันทุกคู่
และขนาดของมุมที่ใช้หมุนจุดบนรูปต้นแบบแต่ละมุมมีขนาดเท่ากันเท่ากับ 90 องศา
จะได้ว่า Al Bl เป็นภาพที่ได้จากการหมุน AB รอบจุดหมุน O เป็นมุมขนาด 90 องศา
ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ดังรูป
Al

A
B

Bl


O ตอบ

B
จงหาภาพที่ได้จากการหมุน AB รอบจุดหมุน O
เป็นมุมขนาด 60 องศา ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา

O
A

35
การแปลงทางเรขาคณิต
ตัวอย่างที่ 16 จงหาภาพที่ได้จากการหมุนรูปต้นแบบ ABC รอบจุดหมุน O เป็นมุมขนาด 45 องศา
ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
A

C B

t l ให้มีขนาด 45 องศา ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา โดยให้ OA = OAl


วิธีท�ำ ลาก OA แล้วสร้าง AOA
ลาก OB แล้วสร้าง BOB t l ให้มีขนาด 45 องศา ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา โดยให้ OB = OBl
ลาก OC แล้วสร้าง COC t l ให้มีขนาด 45 องศา ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา โดยให้ OC = OCl
ลาก AlBl, BlCl และ Cl Al
เนื่องจาก จุดที่สมนัยกันมีระยะห่างจากจุด O เท่ากันทุกคู่
และขนาดของมุมที่ใช้หมุนจุดบนรูปต้นแบบแต่ละมุมมีขนาดเท่ากันเท่ากับ 45 องศา
จะได้ว่า รูป AlBlCl เป็นภาพที่ได้จากการหมุนรูปต้นแบบ ABC รอบจุดหมุนขนาด O เป็นมุม
ขนาด 45 องศา ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ดังรูป
A

Bl

Al 45 ํ
45 ํ
O
45 ํ
C B


Cl ตอบ

36
จงหาภาพที่ได้จากการหมุนรูปต้นแบบ ABC รอบจุดหมุน O เป็นมุมขนาด 90 องศา ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
A

C O

จากตัวอย่างที่ 16 นักเรียนจะสังเกตได้วา่ จุดคูท่ สี่ มนัยกันจะอยูห่ า่ งจากจุดหมุนเป็นระยะทางทีเ่ ท่ากัน


เมื่อลาก AAl , BBl และ CCl จะได้ว่า iAOAl , iBOBl และ iCOCl เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
ที่มีจุด O เป็นมุมยอด ดังรูป
A

Bl

Al 45 ํ
45 ํ
O
45 ํ
C B

Cl

พิจารณารูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว AOAl เมื่อลากเส้นตรงเส้นหนึ่งแบ่งครึ่งและตั้งฉากกับ AAl


จะได้ว่าเส้นตรงดังกล่าวจะลากผ่านจุด O ตามสมบัติของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่ว่า เส้นตรงที่แบ่งครึ่ง
และตั้งฉากกับฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วจะผ่านจุดยอด ซึ่งเป็นจุดหมุมนั่นเอง
A

Al O

นักเรียนสามารถน�ำสมบัติข้างต้นไปใช้ในการหาจุดหมุนเมื่อก�ำหนดรูปต้นแบบกับภาพที่ได้จาก
การหมุน ดังตัวอย่างต่อไป

37
การแปลงทางเรขาคณิต
ตัวอย่างที่ 17 ก�ำหนด AlBl เป็นภาพที่ได้จากการหมุน AB จงหาจุดหมุน
A

Al
B

Bl
วิธีท�ำ ลาก AAl และ BBl โดยมีจุด P และจุด Q เป็นจุดกึ่งกลางตามล�ำดับ
สร้างเส้นตรง M ที่ตั้งฉากกับ AAl และผ่านจุด P
สร้างเส้นตรง N ที่ตั้งฉากกับ BBl และผ่านจุด Q
ให้จุด O เป็นจุดตัดของเส้นตรง M และเส้นตรง N
เนือ่ งจาก เส้นตรง M แบ่งครึง่ และตัง้ ฉากกับ AAl และเส้นตรง N แบ่งครึง่ และตัง้ ฉากกับ BBl
จะได้ว่าจุดหมุนอยู่บนเส้นตรง M และ N
เนื่องจากเส้นตรง M และ N ตัดกันที่จุด O
ดังนั้น จุด O เป็นจุดหมุนที่ต้องการ ดังรูป
M

Al
B

Q
O


Bl ตอบ

38
ก�ำหนดรูป AlBlCl ได้จากการหมุนรูปต้นแบบ ABC จงหาจุดหมุน
Bl C

Cl

Al A

เมื่อก�ำหนดจุดหมุนเป็นจุดก�ำเนิด (0, 0) และขนาดของการหมุนเป็น 90 องศา นักเรียนสามารถหา


พิกัดของจุดที่ได้จากการหมุนได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 18 ก�ำหนดจุด P(1, 2) เป็นจุดต้นแบบ จงหาพิกัดของจุดที่ได้จากการหมุนจุด P รอบจุด


ก�ำเนิด ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา 3 ครั้ง ครั้งละ 90 องศา
วิธีท�ำ ก�ำหนดจุด P(1, 2) เป็นรูปต้นแบบ
หมุนจุด P รอบจุดก�ำเนิดไป 90 องศา ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา จะได้จุด Pl (2, -1)
หมุนจุด Pl รอบจุดก�ำเนิดไป 90 องศา ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา จะได้จุด Pm (-1, -2)
หมุนจุด Pm รอบจุดก�ำเนิดไป 90 องศา ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา จะได้จุด Pn (-2, 1)
Y

P(1, 2)
Pn (-2, 1)
X
O
Pl (2, -1)
Pm (-1, -2)

ตอบ

39
การแปลงทางเรขาคณิต

ก�ำหนดจุด P(-2, 5) เป็นจุดต้นแบบ จงหาพิกัดของจุดที่ได้จากการหมุนจุด P รอบจุดก�ำเนิด 3 ครั้ง ในทิศทางตาม


เข็มนาฬิกา ครั้งละ 90 องศา

เพือ่ ให้เข้าใจการหมุนบนแกนพิกดั ฉากยิง่ ขึน้ นักเรียนอาจใช้ความรูเ้ บือ้ งต้นเกีย่ วกับคูอ่ นั ดับและกราฟ


มาช่วยในการหาพิกัดของภาพที่ได้จากการหมุนรอบจุดกำ�เนิด (0, 0) ด้วยขนาดของมุม 90, 180 และ
270 องศา ดังนี้
ขนาดและทิศทาง
จุดต้นแบบ จุดที่ได้จากการหมุน
ของการหมุนรอบจุดกำ�เนิด
90 องศา ในทิศทาง
A(1, -2) Al (-2, -1)
ตามเข็มนาฬิกา
180 องศา ในทิศทาง
B(3, 3) Bl (-3, -3)
ตามเข็มนาฬิกา
270 องศา ในทิศทาง
C(-2, 0) Cl (0, -2)
ตามเข็มนาฬิกา
90 องศา ในทิศทาง
D(3, 4) Dl (-4, 3)
ทวนเข็มนาฬิกา
180 องศา ในทิศทาง
E(-3, -2) El (3, 2)
ทวนเข็มนาฬิกา
270 องศา ในทิศทาง
F(-1, 2) Fl (2, 1)
ทวนเข็มนาฬิกา

40
Y

D
4
Dl B

F
2
El

Fl
C
X
-4 -2 0 2 4
Al A
E
-2
Cl
Bl

-4

โดยทั่วไป เมื่อกำ�หนดพิกัดของรูปต้นแบบและกำ�หนดขนาดและทิศทางของการหมุนรอบจุดกำ�เนิด
เป็นมุมทีม่ ขี นาด 90, 180 และ 270 องศา นักเรียนจะสามารถหาพิกดั ของภาพทีไ่ ด้จากการหมุนโดยไม่จำ�เป็น
ต้องเขียนรูป ด้วยวิธีการดังนี้

¡Å‹Í§¤ÇÒÁÃÙŒ
กำ�หนดให้ (x, y) เป็นพิกัดของจุดบนรูปต้นแบบ
เมื่อหมุนจุดต้นแบบรอบจุดกำ�เนิดเป็นมุมที่มีขนาด 90, 180 และ 270 องศา
จะได้พิกัดของจุดที่ได้จากการหมุน ดังนี้

ขนาดและทิศทางของ 90° 180° 270°


การหมุนรอบจุดกำ�เนิด
ตามเข็มนาฬิกา (y, -x) (-x, -y) (-y, x)

ทวนเข็มนาฬิกา (-y, x) (-x, -y) (y, -x)

การหมุนจุดใด ๆ ในทิศทางตามเข็มนาฬิกาหรือทวนเข็มนาฬิกาเป็นมุม 360 องศา จะท�ำให้จุดที่ได้


จากการหมุนเป็นจุดเดียวกันกับจุดต้นแบบ กล่าวคือ มีพิกัดเดียวกันกับจุดต้นแบบ

41
การแปลงทางเรขาคณิต
ตัวอย่างที่ 19 จงหาพิกัดของจุดที่ได้จากการหมุนจุด P(-2, 3) รอบจุดก�ำเนิดเป็นมุม 90 และ 180
องศาในทิศทางตามเข็มนาฬิกา
วิธีท�ำ (x, y) หมุนรอบจุดก�ำเนิดเป็นมุม 90 และ 180 องศา ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา
จะได้ (y, -x) และ (-x, -y) ตามล�ำดับ
ดังนั้น P (-2, 3) หมุนรอบจุดก�ำเนิดเป็นมุม 90 และ 180 องศา ในทิศทางตามเข็มนาฬิกาจะได้
Pl (3, 2) และ Pm (2, -3) ตามล�ำดับ ตอบ

จงหาพิกัดของจุดที่ได้จากการหมุนจุด P(3, -4) รอบจุดก�ำเนิดเป็นมุม 90 และ 180 องศา ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา

ส�ำหรับการหมุนรอบจุดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่จุดก�ำเนิดด้วยมุมที่มีขนาด 90, 180 และ 270 องศา นักเรียน


สามารถใช้หลักการของการหมุนในการหาพิกัดของจุดที่ได้จากการหมุน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 20 จงหาพิกัดของจุดที่ได้จากการหมุนจุด P(3, 1) รอบจุดหมุนต่อไปนี้


1) จุด (1, 1) ในทิศทางตามเข็มนาฬิกาด้วยมุมที่มีขนาด 180 องศา
2) จุด (-1, -2) ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาด้วยมุมที่มีขนาด 90 องศา
Y

Pm (-4, 2)
2
(1, 1) P(3, 1)
Pl (-1, 1)
-4 -2 0 2 4

(-1, -2) -2
วิธีท�ำ ก�ำหนดจุด P(3, 1) เป็นรูปต้นแบบ
1) หมุนจุด P รอบจุด (1, 1) ในทิศทางตามเข็มนาฬิกาด้วยมุมที่มีขนาด 180 องศา
จะได้จุด Pl (-1, 1) เป็นจุดที่ได้จากการหมุน
2) หมุนจุด P รอบจุด (-1, -2) ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาด้วยมุมที่มีขนาด 90 องศา
จะได้จุด Pm (-4, 2) เป็นจุดที่ได้จากการหมุน ตอบ

42
จงหาพิกัดของจุดที่ได้จากการหมุนจุด A(2, 3) รอบจุดหมุนต่อไปนี้
1) จุด (2, -1) ในทิศทางตามเข็มนาฬิกาด้วยมุมที่มีขนาด 90 องศา
2) จุด (-1, -2) ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาด้วยมุมที่มีขนาด 180 องศา

แบบฝึกหัด 1.3
1. (*) จงหาภาพที่ได้จากการหมุนรูปต้นแบบรอบจุดหมุน O ตามขนาดและทิศทางของการหมุน
ที่ก�ำหนดให้ต่อไปนี้
1) หมุนตามเข็มนาฬิกา 90 องศา
D E
รูปต้นแบบ
F A

C B

2) หมุนทวนเข็มนาฬิกา 180 องศา


A
O

รูปต้นแบบ
C

3) หมุนตามเข็มนาฬิกา 45 องศา
A

O
รูปต้นแบบ
O

B C

43
การแปลงทางเรขาคณิต
2. (*) จงหาจุดหมุนจากรูปต้นแบบและภาพที่ได้จากการหมุนที่กำ�หนดให้
1)
รูปต้นแบบ

ภาพที่ได้จากการหมุน

2)
ภาพที่ได้จากการหมุน

รูปต้นแบบ

3)

รูปต้นแบบ ภาพที่ได้จากการหมุน

44
3. (**) จงหาพิกดั ของจุดทีไ่ ด้จากการหมุนจุดต้นแบบต่อไปนีร้ อบจุดกำ�เนิด ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา
เป็นมุม 90, 180 และ 270 องศา
1) (1, 3) 4) (0, 2)
2) (-1, 3) 5) (-2, -3)
3) (3, -2) 6) (-4, -4)

4. (**) กำ�หนด AB มีจุด A(-1, -1) และจุด B(3, -2) เป็นจุดปลาย หมุน AB รอบจุดกำ�เนิดจนได้
จุด Al (1, -1) จงหา
1) ขนาดและทิศทางของการหมุน
2) พิกัดของจุด Bl

5. (**) จงหาพิกัดของจุดยอดของ dAl Bl Cl Dl ซึ่งได้จากการหมุน dABCD รอบจุด A เป็นมุม


90 องศา ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา

5
4
3
2
1 B
A
X
-2 -1 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
-1 C D
-2
-3

45
การแปลงทางเรขาคณิต
2. ความสัมพันธ์ของการเลือ่ นขนาน การสะท้อน และการหมุน
นักเรียนได้ศึกษาภาพที่ได้จากการเลื่อนขนาน การสะท้อน และการหมุนมาแล้ว ต่อไปนักเรียนจะได้
ศึกษาความสัมพันธ์ของการแปลงทางเรขาคณิตต่อเนื่องกัน 2 ครั้ง กับภาพที่ได้จากการแปลงดังกล่าว
ก�ำหนดรูป Al เป็นภาพที่ได้จากการสะท้อนรูป A ผ่านเส้นสะท้อน M และรูป Am เป็นภาพที่ได้
จากการสะท้อนรูป Al ผ่านเส้นสะท้อน N
1) กรณีที่เส้นสะท้อน M ขนานกับเส้นสะท้อน N

A Al Am

M N

จะเห็นว่ารูป Am เหมือนกับภาพทีไ่ ด้จากการเลือ่ นขนานรูป A ทีม่ รี ะยะของการเลือ่ นขนานเป็น 2 เท่า


ของระยะห่างระหว่างเส้นสะท้อน M และ N
ดังนั้น การสะท้อนรูปต้นแบบผ่านเส้นสะท้อนสองเส้นที่ขนานกัน จะได้ผลลัพธ์เหมือนกับ
การเลื่อนขนาน

ตัวอย่างที่ 1 ก�ำหนด iABC มีจุด A(-6, 5), B(-7, 2) และ C(-5, 1) เป็นจุดยอด
1) จงเขียน iAl Bl Cl ซึ่งเป็นภาพที่ได้จากการสะท้อน iABC ผ่านแกน Y
2) จงเขียน iA m Bm Cm ซึ่งเป็นภาพที่ได้จากการสะท้อน iAl Bl Cl ผ่านเส้นตรง x = 3
3) จงหาเวกเตอร์ของการเลื่อนขนานจาก iABC ไปเป็น iA m Bm Cm
วิธีท�ำ 1) iAl Bl Cl เป็นภาพที่ได้จากการสะท้อน iABC ผ่านแกน Y
เนื่องจาก iABC มีจุด A(-6, 5), B(-7, 2) และ C(-5, 1) เป็นจุดยอด
จะได้จุด Al(6, 5), Bl(7, 2) และ Cl(5, 1) เป็นจุดยอดของ iAl Bl Cl
2) iA m Bm Cm เป็นภาพที่ได้จากการสะท้อน iAl Bl Cl ผ่านเส้นตรง x = 3
เนื่องจากจุด Al(6, 5), Bl(7, 2) และ Cl(5, 1) เป็นจุดยอดของ iAl Bl Cl
จะได้จุด A m (0, 5), Bm (-1, 2) และ Cm (1, 1) เป็นจุดยอดของ iA m Bm Cm

46
3) เนื่องจาก A m (0, 5), Bm (-1, 2) และ Cm (1, 1) เป็นจุดยอดของ iA m Bm Cm
และจุด A(-6, 5), B(-7, 2) และ C(-5, 1) เป็นจุดยอดของ iABC
พิจารณาการเลื่อนขนานจุด A(-6, 5) ไปยังจุด A m (0, 5)
เนื่องจาก -6 + 6 = 0 และ 5 + 0 = 5
จะได้วา่ จุด A m (0, 5) เกิดจากการเลือ่ นขนานจุด A(-6, 5) ตามแกน X ไปทางขวา 6 หน่วย
ดังนั้น เวกเตอร์ของการเลื่อนขนานจาก iABC ไปเป็น iA m Bm Cm เป็นการเลื่อนขนาน
ตามแกน X ไปทางขวา 6 หน่วย
Y

x =3
8

6
A Am A l
4

B
Bm 2 l
B
C l
C
Cm
X
-6 -4 -2 0 2 4 6
ตอบ

ก�ำหนด iABC มีจุด A(-6, 3), B(-4, 3) และ C(-6, 6) เป็นจุดยอด จงสร้างภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานดังต่อไปนี้
1) iAl Bl Cl เป็นภาพที่ได้จากการสะท้อน iABC ผ่านแกน Y
2) iA m Bm Cm เป็นภาพที่ได้จากการสะท้อน iAl Bl Cl ผ่านกราฟเส้นตรง x = 2
3) จงหาเวกเตอร์ของการเลื่อนขนานจาก iABC ไปเป็น iA m Bm Cm

47
การแปลงทางเรขาคณิต
2) กรณีที่ M ไม่ขนานกับ N
M

Al

Am

จะเห็นว่า รูป Am เหมือนกับภาพที่ได้จากการหมุนรูป A ที่มีจุดหมุนเป็นจุดตัดของเส้นสะท้อน


M และ N และมีขนาดของมุมเป็น 2 เท่าของขนาดของมุมระหว่างเส้นสะท้อน M และ N
ดังนัน้ การสะท้อนรูปต้นแบบผ่านเส้นสะท้อนสองเส้นทีไ่ ม่ขนานกันจะได้ผลลัพธ์เหมือนกับ การหมุน

ตัวอย่างที่ 2 ก�ำหนด iABC มีจุด A(-3, 6), B(-4, 3) และ C(-2, 2) เป็นจุดยอด
1) จงเขียน iAl Bl Cl ซึ่งเป็นภาพที่ได้จากการสะท้อน iABC กับเส้นตรง y = x
2) จงเขียน iA m Bm Cm ซึ่งเป็นภาพที่ได้จากการสะท้อน iAl Bl Cl กับเส้นตรง y = -(x + 2)
3) จงหาพิกัดของจุดหมุนจาก iABC ไปเป็น iA m Bm Cm
วิธีท�ำ 1) iAl Bl Cl เป็นภาพที่ได้จากการสะท้อน iABC กับเส้นตรง y = x
เนื่องจาก iABC มีจุด A(-3, 6), B(-4, 3) และ C(-2, 2) เป็นจุดยอด
จะได้จุด Al(6, -3), Bl(3, -4) และ Cl(2, -2) เป็นจุดยอดของ iAl Bl Cl
2) iA m Bm Cm เป็นภาพที่ได้จากการสะท้อน iAl Bl Cl กับเส้นตรง y = -(x + 2)
เนื่องจาก Al(6, -3), Bl(3, -4) และ Cl(2, -2) เป็นจุดยอดของ iAl Bl Cl
จะได้จุด A m (1, -8), Bm (2, -5) และ Cm (0, -4) เป็นจุดยอดของ iA m Bm Cm

48
3) เนื่องจากเส้นตรง y = x ตัดเส้นตรง y = -(x + 2) ที่จุด (-1, -1)
ดังนั้น จุดหมุนจาก iABC ไปเป็น iA m Bm Cm คือ จุด (-1, -1)
Y

A 6
y =x
4
B

y = -(x + 2) 2
C

X
-6 -4 -2 0 2 4 6
(-1, -1)
-2 l
C

A l
-4 C m
l
B

B m
-6

m -8 A
ตอบ

ก�ำหนด iABC มีจุด A(3, 2), B(3, 4) และ C(4, 2) เป็นจุดยอด จงสร้างภาพที่ได้จากการสะท้อนดังต่อไปนี้
1) iAl Bl Cl เป็นภาพที่ได้จากการสะท้อน iABC กับเส้นตรง y = x + 2
2) iA m Bm Cm เป็นภาพที่ได้จากการสะท้อน iAl Bl Cl กับเส้นตรง y = -x
3) จงหาจุดหมุนจาก iABC ไปเป็น iA m Bm Cm

49
การแปลงทางเรขาคณิต
แบบฝึกหัด 2
1. (**) ก�ำหนดให้เส้นตรง L1 ขนานกับเส้นตรง L2 รูป Al เป็นภาพที่ได้จากการสะท้อนรูป A โดย
มีเส้นตรง L1 เป็นเส้นสะท้อน และรูป Am เป็นภาพที่ได้จากการสะท้อนรูป Al โดยมีเส้นตรง L2

เป็นเส้นสะท้อน ดังรูป

L1

Al

L2

Am

จงตอบคำ�ถามต่อไปนี้
1) รูป A กับ รูป Am มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
2) ระยะห่างของการเลื่อนขนานรูป A ไปเป็นรูป Am กับระยะห่างระหว่างเส้นสะท้อน
L1 และ L2 มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

50
2. (**) ก�ำหนดให้เส้นตรง L1 ตัดกับเส้นตรง L2 ทีจ่ ดุ O รูป Al เป็นภาพทีไ่ ด้จากการสะท้อนรูป A โดย
มีเส้นตรง L1 เป็นเส้นสะท้อน และรูป Am เป็นภาพที่ได้จากการสะท้อนรูป Al โดยมีเส้นตรง L2

เป็นเส้นสะท้อน ดังรูป

O
L1

Al

Am
Am

L2

จงตอบคำ�ถามต่อไปนี้
1) รูป A กับ รูป Am มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
2) ขนาดของมุมทีไ่ ด้จากการหมุนรูป A ไปเป็นรูป Am กับขนาดของมุมระหว่างเส้นสะท้อน L1 และ L2
มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

51
การแปลงทางเรขาคณิต
3. การประยุกต์ของการเลื่อนขนาน การสะท้อน และการหมุน
จากความรู้เรื่องการเลื่อนขนาน การสะท้อน และการหมุน นักเรียนสามารถน�ำไปใช้ในสถานการณ์
ต่าง ๆ ได้มากมาย ในที่นี้ จะแนะน�ำการสร้างเทสเซลเลชันและการหาพื้นที่ของรูปเรขาคณิต
3.1 การสร้างเทสเซลเลชัน
เทสเซลเลชัน (tessellation) เป็นค�ำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ หมายถึง กลุ่มรูปแบนราบที่มีขนาดและ
รูปร่างเหมือนกัน เรียงติดต่อกันโดยไม่เกยกันหรือไม่มีช่องว่าง ในชีวิตประจ�ำวันมีการน�ำเทสเซลเลชันไปใช้
ในการออกแบบลวดลายของกระดาษปิดฝาผนังห้องนอนหรือห้องน�้ำ ลวดลายกระเบื้องปูพื้น หรือลวดลาย
ของสิ่งต่าง ๆ โดยการใช้รูปแบนราบที่มีขนาดและรูปร่างเหมือนกันเติมเต็มพื้นที่ให้สวยงาม

[3]

รูปที่ 15 เทสเซลเลชัน

ให้นักเรียนสังเกตรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานต่อไปนี้

52
จะเห็นว่ารูปสี่เหลี่ยมด้านขนานแต่ละรูปมีขนาดและรูปร่างเหมือนกัน และสามารถเลื่อนขนานจนต่อ
กันได้สนิทพอดี ต่อไปนี้จะน�ำรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างเทสเซลเลชัน โดยใช้
ความรู้เรื่องการเลื่อนขนาน ซึ่งใช้วิธีการดังต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 1 จงสร้างเทสเซลเลชันจากรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานพร้อมกับอธิบายขั้นตอนในการสร้าง

วิธีท�ำ

1) สร้างลวดลายต่าง ๆ บนรูปสี่เหลี่ยม 2) ใช้กรรไกรตัดลวดลายที่ 3) ทำ�การเลื่อนขนานแต่ละชิ้นส่วนที่ตัด


ด้านขนาน โดยต้องให้ลวดลายนัน้ ติดกับ สร้างขึ้นเป็นชิ้นเล็กๆ มาให้แต่ละด้านของชิ้นส่วนทับกับ
ขอบของรูปสี่เหลี่ยม ด้านของรูปสีเ่ หลีย่ มด้านขนานเดิม

6) จะได้ว่าชิ้นส่วนแต่ละชิ้นสามารถนำ�มา 5) ใช้แม่แบบที่ได้ในการสร้างชิ้นอื่น ๆ 4) ใช้เทปกาวต่อแต่ละชิ้นส่วน


ต่อกันได้สนิทพอดี ระบายสีเพื่อความสวยงาม เข้าด้วยกันเพื่อเป็นแม่แบบ

จงสร้างเทสเซลเลชันจากรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานพร้อมกับอธิบายขั้นตอนในการสร้าง

53
การแปลงทางเรขาคณิต
3.2 การหาพื้นที่
นักเรียนสามารถใช้การแปลงทางเรขาคณิตเพื่อหาพื้นที่ของส่วนที่แรเงาได้ ดังนี้

ตัวอย่างที่ 2 จงหาพื้นที่ของส่วนที่แรเงาต่อไปนี้

5
วิธีท�ำ จากรูปเรขาคณิตข้างต้น คาดคะเนได้ว่า เมื่อตัดส่วนที่เป็นรูปสามเหลี่ยมทางขวาแล้วย้ายมา
ประกอบทางซ้าย จะได้เป็นรูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้าทีม่ คี วามกว้าง 4 หน่วย และความยาว 5 หน่วย
ดังรูป

4
4

5 5
ดังนั้น พื้นที่ของส่วนที่แรเงา = พื้นที่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
= ความกว้าง × ความยาว
=4×5
= 20 ตารางหน่วย ตอบ

จงหาพื้นที่ของส่วนที่แรเงาต่อไปนี้ 3 ซม.
1 ซม.
2 ซม.
3 ซม.

54
แบบฝึกหัด 3
1. (*) จงระบุประเภทของการแปลงทางเรขาคณิตของรูปต่อไปนี้ด้วยการแปลงทางเรขาคณิต
เพียงครั้งเดียว
1) 3)

รูปที่ 16 จิ๊กซอว์ รูปที่ 17 ภาพถ่ายทัชมาฮาล


2) 4)

รูปที่ 18 กังหันลม รูปที่ 19 ลายกระเบื้อง

2. (**) จงหาพื้นที่ส่วนที่แรเงาต่อไปนี้
1) 2) 8 หน่วย

5 ซม.

4 ซม.

55
การแปลงทางเรขาคณิต
ST
CKLI
T E SCTHE

·บ·Ç¹µัÇàͧ
• จงยกตัวอย่างการเลื่อนขนาน การสะท้อน และการหมุนในชีวิตประจ�ำวันมาอย่างละ 2 ตัวอย่าง
• จงอธิบายความสัมพันธ์ของการเลื่อนขนาน การสะท้อน และการหมุน
• จงอธิบายหลักการสร้างเทสเซลเลชันมาพอสังเขป

การท�ำกล้องสลับลาย
อุปกรณ์ที่ใช้
1) แผ่นกระจกหรือแผ่นพลาสติกที่สามารถสะท้อนแสงได้ โดยเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เท่ากัน จ�ำนวน 3 แผ่น และ
เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าที่มีด้านแต่ละด้านยาวเท่ากับด้านกว้างของกระจกรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2) กระดาษสีสันสวยงาม
3) กาว
4) กรรไกร

วิธีท�ำ
1) ประกอบแผ่นกระจกหรือแผ่นพลาสติก 3 แผ่นเป็นรูปปริซึมสามเหลี่ยมด้านเท่า และปิดปลายฐานด้านหนึ่งด้วย
แผ่นกระจกหรือแผ่นพลาสติกรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า โดยให้ด้านที่สามารถสะท้อนได้อยู่ภายใน แล้วติดกาว
บริเวณรอยต่อให้สนิท
2) ตัดกระดาษเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงไปภายในรูปทรงข้างต้น
3) ตัดกระดาษเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า และเจาะรูตรงกลาง แล้วน�ำไปปิดปลายฐานของรูปปริซึมอีกด้านหนึ่ง
4) ทดลองดูการสะท้อนของเศษกระดาษสี และแลกเปลี่ยนกันดูกับเพื่อน ๆ

56
·ดÊÍบ·ŒÒÂห¹‹ÇÂกÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ
จงเลือกค�ำตอบที่ถูกต้อง
1. ข้อใดเป็นการเลื่อนขนาน
ก. การเคลื่อนที่ของชิงช้าสวรรค์ ข. การเคลื่อนที่ของลิฟต์
ค. การเดินของเข็มนาฬิกา ง. เงาของต้นไม้ในล�ำธาร

2. ข้อใดไม่ใช่การหมุน
ก. ลูกโป่งที่ก�ำลังปล่อยลม ข. การบิดกลอนประตู
ค. การเคลื่อนที่ของเฟือง ง. การเปิดขวดน�้ำที่เป็นฝาเกลียว

3. เมื่อจุด A(2, 3) ถูกเลื่อนขนานเป็นจุด Al (1, 4) จะได้เวกเตอร์ของการเลื่อนขนานเป็นข้อใด


ก. เลื่อนขนานตามแนวแกน X ไปทางขวา 1 หน่วย และตามแนวแกน Y ไปด้านบน 1 หน่วย
ข. เลื่อนขนานตามแนวแกน X ไปทางขวา 1 หน่วย และตามแนวแกน Y ไปด้านล่าง 1 หน่วย
ค. เลื่อนขนานตามแนวแกน X ไปทางซ้าย 1 หน่วย และตามแนวแกน Y ไปด้านล่าง 1 หน่วย
ง. เลื่อนขนานตามแนวแกน X ไปทางซ้าย 1 หน่วย และตามแนวแกน Y ไปด้านบน 1 หน่วย

4. ข้อใดเป็นการสะท้อน
ก. การเปิดประตูบานเลื่อน ข. การเปิดก๊อกน�้ำ
ค. การเคลื่อนที่ของรถยนต์ ง. เงาของต้นไม้ในสระน�้ำ

5. ถ้าจุด Al เป็นจุดที่ได้จากการสะท้อนจุด A(3, -1) ผ่านแกน Y และจุด Bl เป็นจุดที่ได้จาก


การสะท้อนจุด B(-3, 2) ผ่านแกน X แล้ว ระยะห่างระหว่างจุด Al กับจุด Bl เป็นเท่าใด
ก. 1 หน่วย ข. 2 หน่วย
ค. 3 หน่วย ง. 4 หน่วย

6. ข้อใดไม่ใช่การหมุน
ก. การส่องกระจก ข. การใช้กบเหลาดินสอ
ค. การบิดลูกบิดประตู ง. การเคลื่อนที่ของชิงช้าสวรรค์

57
การแปลงทางเรขาคณิต
7. ข้อใดคือพิกัดของจุดที่ได้จากการหมุนจุด (3, 4) รอบจุด (3, 3) เป็นมุม 180 องศา ในทิศทาง
ตามเข็มนาฬิกา
ก. (3, 3) ข. (3, 2)
ค. (2, 3) ง. (4, 3)

8. ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. ถ้ารูป Al ได้จากการเลื่อนขนานรูป A และรูป Am ได้จากการเลื่อนขนานรูป Al
แล้วจะสามารถเลื่อนขนานรูป A เป็นรูป Am ได้
ข. ถ้ารูป Al ได้จากการเลื่อนขนานรูป A และรูป Am ได้จากการเลื่อนขนานรูป Al
แล้วจะสามารถสะท้อนรูป A เป็นรูป Am ได้
ค. ถ้ารูป Al ได้จากการสะท้อนรูป A และรูป Am ได้จากการสะท้อนรูป Al และเส้นสะท้อน
ทั้งสองเส้นขนานกัน แล้วจะสามารถเลื่อนขนานรูป A เป็นรูป Am ได้
ง. ถ้ารูป Al ได้จากการสะท้อนรูป A และรูป Am ได้จากการสะท้อนรูป Al และเส้นสะท้อน
ทั้งสองเส้นไม่ขนานกัน แล้วจะสามารถหมุนรูป A เป็นรูป Am ได้

9. ถ้าจุด B ได้จากการสะท้อนจุด A(2, -4) โดยมีกราฟเส้นตรง y = x เป็นเส้นสะท้อน และจุด C


ได้จากการหมุนจุด B รอบจุดกำ�เนิดเป็นมุม 90 องศา ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา จงหาว่า
พิกัดของจุด C ตรงกับข้อใด
ก. (2, 4) ข. (4, 2)
ค. (-2, -4) ง. (-4, -2)

10. ถ้าจุด Al (3, -5) ได้จากการหมุนจุด A(5, 3) รอบจุดกำ�เนิด จงหาว่าขนาดและทิศทางของ


การหมุนตรงกับข้อใด
ก. 90 องศา ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ข. 180 องศา ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา
ค. 90 องศา ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ง. 180 องศา ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา

58
d
c

¢ŒÍÊͺ»ÃÐÅͧÂØ·¸
b
a d
c d
1 a b c c d d 6 a a bb b dc d
c
6

1 a ba b c c d d
7

7 a ab c d
22 a b b cc dd c d
8

c b d
8 a ba c
33 aa c
d
b
9

d d
44 a a bb c c d 9 a b a c
10

b c d
d c d
5 5a a b c a b
b c d 10
a b
6 a6

(แนวข้อสอบ O-NET)
1. กำ�หนดให้จุด Al เป็นภาพที่ได้จากการแปลงทางเรขาคณิตของจุด A
Y

A
2

X
-6 -4 -2 2 4
-2
Al

ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนการแปลงทางเรขาคณิตที่ท�ำให้ได้ภาพข้างต้น
ก. หมุนรูปต้นแบบรอบจุดก�ำเนิด เป็นมุม 180 องศาในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
ข. เลื่อนรูปต้นแบบตามแนวแกน Y ลงไป 4 หน่วย แล้วสะท้อนภาพที่ได้โดยมีแกน X
เป็นเส้นสะท้อน
ค. เลื่อนรูปต้นแบบตามแนวแกน X ไปทางซ้าย 6 หน่วย แล้วเลื่อนตามแนวแกน Y
ไปด้านล่าง 4 หน่วย
ง. สะท้อนรูปต้นแบบโดยมีกราฟเส้นตรง y = x เป็นแกนสะท้อน
(แนวข้อสอบ O-NET)
2. จากรูปเรขาคณิตที่ก�ำหนดให้ ประกอบด้วยส่วนของเส้นตรง 2 เส้น ที่มีความยาว 12 เซนติเมตร
และส่วนโค้งทั้งสองเป็นส่วนโค้งที่ยาวเป็น 1 ใน 4 ของวงกลมที่มีรัศมี 12 เซนติเมตร จงหาพื้นที่
ของรูปเรขาคณิตนี้

59
NOTE

You might also like