You are on page 1of 12

See discussions, stats, and author profiles for this publication at: https://www.researchgate.

net/publication/273132726

:
230
(Case Study of Rock Foundation Subjected to Uplift...

Conference Paper · May 2011

CITATIONS READS

0 822

2 authors, including:

Thaweesak Pitikhunpongsuk
Kasetsart University
13 PUBLICATIONS   6 CITATIONS   

SEE PROFILE

All content following this page was uploaded by Thaweesak Pitikhunpongsuk on 05 March 2015.

The user has requested enhancement of the downloaded file.


การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครังที 16 มหาวิทยาลัยมหิดล 18 - 20 พฤษภาคม 2554

การออกแบบฐานรากบนชันหิ นรับแรงยกตัว: กรณี ศึกษาฐานรากเสาสายส่งไฟฟ้ า


ขนาดแรงดัน 230 เควี บนชันหิ นปูนสันเขาในโครงการสายส่งเทิ นหิ นบุญ
Case Study of Rock Foundation Subjected to Uplift Loading: 230 kV Transmission Tower
Foundation on Lime Stone Ridge in Theun Hinboun Expansion Project

ดร.ทวีศกั ดิO จิ รธนถาวร1 และ รัฐพงษ์ ศรุติรตั นวรกุล2


1
อาจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ fengtwj@ku.ac.th
2
วิศวกรโยธา บริษทั พาวเวอร์กริด อินเตอร์เนชันแนล จํากัด rattapong@powgrid.com

บทคัดย่อ
บทความนี6นําเสนอ หลักการออกแบบฐานรากเสาสายส่งไฟฟ้าแรงสูงและสิง? ทีจ? ําเป็ นต้องตรวจสอบใน
การออกแบบเสาสายส่งฯ ทีต? งั 6 อยู่บนชัน6 หิน สายส่งฯ จัดเป็ นโครงสร้างสาธารณู ปโภคทีส? ําคัญ โดย
ส่วนใหญ่จะติดตัง6 ไว้บนภูเขาซึง? มีหนิ เป็ นวัสดุฐานราก กรณีศกึ ษาทีน? ําเสนอในบทความนี6 เป็ นตัวอย่าง
ฐานรากเสาสายส่งฯ แบบ DT4-K จํานวน 7 เสา ซึ?งตัง6 อยู่ภายในพืน6 ทีโ? ครงการสายส่งฯ เทินหินบุญ
ประเทศลาว ฐานรากตัวอย่างนี6เป็ นฐานรากสําหรับเสาสายส่งฯ ขนาดแรงดัน 230 กิโลโวลต์ ตัง6 อยู่บน
ชัน6 หินปูนบริเวณสันเขา (limestone ridge) ซึง? ลักษณะทางกายภาพจากการสังเกตมีลกั ษณะเป็ นหินผุ
จากการทดสอบพบว่าหินมีกาํ ลังรับแรงแบกทานสูงสุด (Ultimate bearing capacity) เท่ากับ 150 ตัน/
ตร.ม. แรงกระทําต่อเสาซึง? คิดค่าขยายแรง (overload factor) ขนาด 1.25 แล้ว คิดเป็ นแรงยกตัว 400
ตัน แรงกด 365 ตัน และแรงเฉือนแนวราบทีห? วั เสา เท่ากับ 20 ตัน ฐานรากทีใ? ช้มขี นาด 4.50 เมตร x
4.50 เมตร หนา 0.80 เมตร ระดับใต้ฐานอยู่ทค?ี วามลึก 3.80 เมตร โครงสร้างฐานรากเพื?อต้านทานต่อ
แรงยกตัวคือเหล็กข้ออ้อยขนาด 28 มิลลิเมตร (DB28) จํานวน 49 เส้น ซึง? ยึดอยู่ใต้ฐานราก ทําหน้าที?
เป็ นถ่ายแรงลงสู่ชนั 6 หินเพื?อต้านทานต่อการยกตัวของฐานราก ความยาวของตะขอ (anchor bars) ฝงั
ลงในชัน6 หิน เท่ากับ 2.80 เมตร บทความนี6 กล่าวถึง สิง? ทีค? วรพิจารณาในเรื?องแรงยกตัวทีก? ระทําต่อ
ฐานรากเป็ นหลัก

ABSTRACT
This paper presents a conceptual design for transmission tower foundation and relevant
engineering factors required to be checked in the design for the foundations on rocks.
Transmission line is a very important infrastructure. It is normally placed on mountainous
areas where rock is the foundation material. A case study for typical design of rock foundation
is presented herein. Seven foundations were constructed and have been used for the
foundations of 230 kV transmission tower type DT4-K in Thuen Hinboun Expansion Project
(THXP) in Lao PDR. These foundations were located on limestone ridge at which its ultimate

1
การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครังที 16 มหาวิทยาลัยมหิดล 18 - 20 พฤษภาคม 2554

bearing capacity was found not less than 150 tons/sq.m. Design loads, including overload
factor of 1.25, at the top of foundation pedestal were 400 tons in uplift and 365 tons in
compression. Resultant horizontal shear force was 20 tons. 4.50 m x 4.50 m square
foundations with 0.80 m thick were designed in this case. Depth of the foundation was 3.80 m
below the ground surface. 49 bars of DB-28mm were used as anchors into rock resisting
uplift loading. The embedded length of the steel anchors was 2.80 m. This paper mainly
discusses the case of uplift resistance of the foundation.

KEYWORDS: Transmission line tower, rock foundations, anchor foundations, foundation


against uplift

1. บทนํา (Introduction)
หลักการออกแบบฐานรากบนชัน6 หิน (Foundations on rocks) ซึง? นําเสนอในบทความนี6เพือ? ลดช่องว่าง
ทางความรูใ้ นสาขาวิชาวิศวกรรมธรณีเทคนิคเกีย? วกับกาารออกแบบฐานราก เหตุผลสําคัญทีไ? ม่ค่อย
พบเห็นบทความเกีย? วกับฐานรากบนชัน6 หิน เนื?องจาก หิน มีความแข็งแรงสูงกว่า ดิน มาก (Wiley,
1992; Goodman, 1989) ดังนัน6 จึงมีผสู้ นใจอยากเรียนรูแ้ ละให้ความสําคัญในการออกแบบฐานรากบน
ดิน (Foundations on soils) ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิง? ฐานรากประเภทเสาเข็มในชัน6 ดินอ่อน
(สุขสันติ x, 2552) สําหรับฐานรากบนชัน6 หิน ทีพ? บทัวไป
? มักตัง6 อยู่ในพืน6 ทีช? นบทและ/หรือบนภูเขา เช่น
ฐานรากเขื?อ น(วรากร, 2546), ฐานรากสะพาน ซึ? ง โครงสร้ า งเหล่ า นี6 ต ั ง6 อยู่ บ นชัน6 หิน โดย
อาศัยความแข็งแรงทางด้านกําลังรับแบกทานหรือแรงอัดของหินเป็ นหลัก อย่างไรก็ตาม โครงสร้างทีม? ี
ความสูงมากต้องรับแรงลมสูงๆ แต่น6ําหนักของตัวของโครงสร้างน้อย ส่งผลให้แรงลัพธ์เป็ น แรงยกตัว
ที?ถ่ า ยลงสู่ฐ านราก เช่น ฐานรากเสาสายส่ งไฟฟ้ าแรงสูง (Transmission tower) ฐานรากเสา
โทรคมนาคม (Telecomunication tower) ฐานรากโครงหลังคา ทีค? วามชันของหลังคามากกว่า 18
องศา (มนัส, 2539) เป็ นต้น บทความนี6นําเสนอตัวอย่างออกแบบฐานรากบนชัน6 หิน โดยกรณีศกึ ษา
การออกแบบฐานรากเสาสายส่งขนาดแรงดัน 230 กิโลโวลต์ ซึง? ตัง6 อยู่บนชัน6 หินปูนผุ ในโครงการสาย
ส่งเทินหินบุญ ประเทศลาว โดยกล่าวถึงการการออกแบบฐานรากซึง? ต้านทานต่อแรงยกตัวเป็ นหลัก

2. วัตถุประสงค์ (Objectives)
เพื?อเข้าใจพฤติกรรมการรับแรงโดยทัวไปของฐานรากเสาสายส่
? งไฟฟ้าแรงสูง ประกอบด้วย แรงกด
แรงยกตัว และแรงเฉือนแนวราบเนื?องจากแรงลม บทความกล่าวเน้นความเข้าใจถึงข้อควรพิจารณาใน
การเลือกใช้ฐานรากตะขอยึดเพือ? ต้านทานการพลิกควํ?าเนื?องจากการยกตัวทีก? ระทําต่อฐานรากบน ซึง?
ตัง6 อยูบ่ นชัน6 หิน (Uplift foundation on rocks)

2
การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครังที 16 มหาวิทยาลัยมหิดล 18 - 20 พฤษภาคม 2554

3. สายส่งไฟฟ้ าแรงสูง
โดยทัวไป ? สายส่งฯ มีขนาดแรงดันทางไฟฟ้า 22 ถึง 500 กิโลโวลต์ (แรงดันไฟฟ้าสําหรับทีอ? ยู่อาศัย
เท่ากับ 220 โวลต์) เสาสายส่งฯ มีลกั ษณะเป็ นโครงสร้างเหล็ก ซึง? มีน6ําหนักเบา, ก่อสร้างง่าย และมี
ความสูงมากเมือ? เทียบกับการใช้เสาไฟฟ้าคอนกรีต ปจั จุบนั สายส่งฯ จัดเป็ นโครงสร้างสาธารณูปโภค
พืน6 ฐานทีม? คี วามสําคัญอย่างยิง? เนื?องจากประเทศไทยมีความต้องการใช้ไฟฟ้าอย่างมาก หน่ วยงานรัฐ
ทีร? บั ผิดชอบเกีย? วกับการก่อสร้างสายส่งฯ โดยตรง ได้แก่ การไฟฟ้าฝา่ ยผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
การไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค (กฟภ.) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน (พพ.) เป็ นต้น
การก่อสร้างในโครงการสายส่งฯ นัน6 นอกจากจะต้องให้ความสําคัญกับงานทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า
แล้ว โครงสร้างเหล็กและฐานรากของเสาสายส่งฯ ซึง? เกีย? วข้องโดยตรงกับงานทางด้านวิศวกรรมโยธา
ก็มคี วามสําคัญอย่างยิง? เช่นกัน เนื?องจากส่วนต่างๆ ของโครงสร้างเสาสายส่งฯ จะเป็ นทีส? าํ หรับติดตัง6
อุปกรณ์ ต่างๆ ทางไฟฟ้า ซึง? หากเกิดความเสียหายต่อเสา เช่น การพลิกควํ?าของเสา เป็ นต้น อาจ
ส่งผลกระทบต่อการจ่ายกระแสไฟฟ้าจากสถานีไฟฟ้าย่อย (electrical generating substation) ไปยัง
บ้านเรือน ตัวอย่างเสาสายส่งฯ และองค์ประกอบหลักของเสา แสดงดังรูปทีd 1 และ รูปทีd 2 ตามลําดับ

รูปที? 1 ตัวอย่างเสาสายส่งฯ ก่อนเข้าสถานีไฟฟ้าย่อยพงสะหวัน ประเทศลาว (PGI, 2008)

4. ฐานรากเสาและพฤติ กรรมการรับนําหนักของเสาและฐานราก
จากรูปทีd 2 จะเห็นได้ว่า ฐานรากจัดเป็ นองค์ประกอบหลักของเสาสายส่งฯ โดยทัวไป ? เสาสายส่งฯ
เหล่านี6ถูกติดตัง6 ไว้ในพื6นทีป? ่าหรือบนภูเขา ซึง? ส่วนใหญ่วสั ดุฐานรากเป็ นหินทีม? คี ่ากําลังแบกทานสูง
มาก จึง ไม่ค่ อ ยประสบป ญ ั หาการพัง ทลายเนื? อ งจากแรงอัด ของหิน ที?ไ ม่ เ พีย งพอ อย่า งไรก็ต าม
เนื?องจากเสาสายส่งฯ เป็ นโครงสร้างเหล็กจึงมีน6ํ าหนักเบาเมื?อเทียบกับเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก และ
โดยทัวไปเสาประเภทนี
? 6มคี วามสูงมาก บางต้นมีความสูงมากกว่า 100 เมตร เสาสายส่งฯ ทีส? งู ทีส? ุดใน

3
การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครังที 16 มหาวิทยาลัยมหิดล 18 - 20 พฤษภาคม 2554

โลก (เมื?อพฤศจิกายน 2553) คือ Yangtze River Crossing Tower มีความสูง 346.5 เมตร (1,137
ฟุต) ตัง6 อยูท่ เ?ี มืองเจียงยิน มณฑลเจียงสู ประเทศจีน ความสูงของเสามากจึงทําให้เกิดแรงประทะจาก
แรงลมในปริมาณสูง (โดยทัวไป ? แรงลมทีใ? ช้ในการออกแบบเท่ากับ 400 กก./ตร.ม.) พฤติกรรมการรับ
แรงลมของเสาสายส่งฯ แสดงดังรูปทีd 3 (PGI, 2008; Ajikawa, 1985)

สายล่อฟ้า (Shield wire)

ฉนวน (Insulator)
สายไฟฟ้า (Conductor)
เสาไฟฟ้า (Tower)

ฐานราก (Foundation)

รูปที? 2 องค์ประกอบหลักของเสาสายส่ง (Ajikawa, 1985)

จากรูปทีd 3 พบว่า แรงลมส่งผลให้เกิดแรงเฉือน (shearing forces) ในแนวราบทีข? า (tower legs) ทัง6


4 จุดของเสา แรงลัพธ์จากแรงลมและนํ6 าหนักของเสากระทําทีข? าเสามีโอกาสเป็ นได้ทงั 6 แรงกดและ
แรงยกตัว ขึ6นอยู่กบั นํ6 า หนักตัว ของเสา ขนาดและทิศ ทางของแรงลม ทัง6 นี6 ผลรวมของแรงยกตัว
เนื?องจากแรงลมทีม? ากเกินไป อาจส่งผลให้เสาเกิดการพลิกควํ?าได้ (Ajikawa, 1985; Kravitz, 1985)
การพลิกควํ?าของเสาต้นแรก ย่อมส่งผลให้เสาใกล้เคียงอาจเกิดการโค่นล้มลงตามไปด้วย เนื?องจากแรง
จากสายส่งทีเ? ชื?อมโยงเสาเอาไว้ดว้ ยกัน และการสูญเสียกําลังในการรับแรงเมื?อเสาต้นแรกล้มลงแล้ว
ส่งผลให้เสาข้างเคียงถูกดึงให้พลิกควํ?าลงได้ ผลกระทบต่อเนื?อง คือ ระบบการจ่ายไฟฟ้า ข้าสู่ชุมชน
ย่อม เกิดปญั หาขัดข้อง
ดังนัน6 ในการออกแบบฐานรากจึงต้องพิจารณาแยกกรณีการรับนํ6าหนักกวิกฤต (Critical load case)
ออกเป็ น 2 กรณี คือ (1) ฐานรากรับแรงกด และ (2) ฐานรากรับแรงยกตัว สําหรับฐานรากเสาสายส่งฯ
ที?ว างบนชัน6 หินไม่พ บปญั หาการพังเนื? องจากกํา ลังรับแรงอัดของหินไม่เ พีย งพอแต่ มกั เกิด ปญั หา
เกีย? วกับการ ถอนขึน ของฐานรากเนื?องจากกําลังรับแรงดึงของฐานรากตะขอยึด (Anchor bars) ทีย? ดึ
อยูใ่ นชัน6 หินมีความแข็งแรงไม่เพียงพอ ตัวอย่างการออกแบบฐานรากเสาสายส่งฯ แสดงในหัวข้อที? 5

4
การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครังที 16 มหาวิทยาลัยมหิดล 18 - 20 พฤษภาคม 2554

5. ตัวอย่างฐานรากเสาสายส่ง 230 kV ในโครงการ THXP


5.1 ฐานรากและนําหนักกระทํา
ฐานรากทีน? ํามาใช้เป็ นตัวอย่างในการศึกษาครัง6 นี6ตงั 6 อยู่บนภูเขา วัสดุฐานรากในบริเวณนี6เป็ นหินปูน
สันเขา (Limestone ridge) ซึง? มีลกั ษณะกายภาพเป็ นหินผุ ฐานรากนี6รองรับเสาสายส่งฯแบบ DT4-K
จํานวน 7 ต้น ในโครงการก่อสร้าง THXP ฐานรากทีใ? ช้น6ีมขี นาด 4.50 เมตร x 4.50 เมตร หนา 0.80
เมตร ระดับใต้ฐานอยู่ทค?ี วามลึก 3.80 เมตร โครงสร้างทีใ? ช้ตา้ นทานแรงยกตัว คือ กลุ่มเหล็กข้ออ้อย
ขนาด 28 มิลลิเมตร (DB28) จํานวน 49 เส้น ทําหน้าทีเ? ป็ นตะขอเหล็กยึดเข้าสูช่ นั 6 หิน เพือ? ถ่ายแรงลงสู่
ชัน6 หิน ความยาวของเหล็กตะขอทีฝ? งั ลงในชัน6 หินเท่ากับ 2.80 เมตร ฐานรากและแรงกระทําต่อฐาน
รากแสดงดังรูปทีd 4 ทิศทางของแรงกระทํา Qz, Tu, Ht และ Hl ทีเ? กิดขึน6 ตามแนวขาเสา (pedestal)
เมื?อทําการแตกแรงให้ทศิ ทางของแรงอยู่ในแนวราบและแนวดิง? จะได้แรงกระทําทีห? วั เสาทีใ? ช้ในการ
ออกแบบ ประกอบด้วย แรงยกตัว (Tv) 400 ตัน แรงกด (Qv) 365 ตัน แรงเฉือนเนื?องจากลม (H) 20
ตัน

ปี กสําหรับโยงสาย
ส่งไฟฟ้าแรงสูง
แรงลม รับแรงกด

รับแรงยกตัว

ทิศทางแรงลม รับแรงยกตัว

รูปที? 3 เสาสายส่งไฟฟ้าแรงสูงเมือ? ถูกปะทะโดยแรงลม

5.2 การตรวจสอบขนาดฐานรากเมืdอรับแรงกด
รูปทีd 5 แสดงแบบจําลองฐานรากเพื?อใช้ในการศึกษาการออกแบบเมื?อฐานรากรับแรงกด การรวมกัน
ของแรงกดและแรงเฉือนทีห? วั เสา ส่งผลให้เกิดแรงเยือ6 งศูนย์ (eccentricity) ต่อฐานราก โดยมีผลให้เกิด
การกระจายของหน่ วยแรงดันสูงสุด (σmax) และตํ?าสุด (σmin) ใต้ฐานราก ซึง? การพิจารณาเสถียรภาพ
พิจารณากรณีทไ?ี ด้คา่ อัตราส่วนปลอดภัยตํ?าสุด นันคื
? อกรณีทเ?ี กิดหน่ วยแรงสูงสุดต่อหิน (กล่าวคือ F.S.
= σult/σmax) ในกรณีฐานรากนี6 หน่วยแรงประลัยของหิน (σult) มีคา่ 150 ตัน/ตร.ม. หน่วยแรงสูงสุดที?

5
การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครังที 16 มหาวิทยาลัยมหิดล 18 - 20 พฤษภาคม 2554

เกิดขึน6 (σmax) ประมาณ 30 ตัน/ตร.ม. ดังนัน6 คิดเป็ นค่าอัตราส่วนปลอดภัยต้านทานต่อกําลังแบกทาน


เท่ากับ 5.0 เท่า ซึง? จัดว่าเป็ นค่าทีส? งู มาก

5.3 การตรวจสอบขนาดฐานรากเมืdอรับแรงยกตัว
รูปทีd 6 แสดงแบบจําลองฐานรากเพื?อใช้เพื?อใช้ในการศึกษาการออกแบบเมื?อฐานรากรับแรงยกตัว
องค์ประกอบหลัก ทีจ? ําเป็ นต้องทําการตรวจสอบในกรณีฐานรากรับแรงยกตัว (Thomlinson, 1975;
PGI, 2009) ได้แก่ 1) การตรวจสอบความสามารถในการรับแรงดึงของตะขอยึด, 2) การตรวจสอบ
ความสามารถในการยึดเกาะของตะขอเหล็กในชัน6 หิน, 3) การตรวจสอบนํ6าหนักของหินทีต? ้านทาน
การยกตัวโดยรวม

P = 0.50 เมตร, E = 3.00 เมตร,


S = 0.80 เมตร, D = 3.80 เมตร,
L = , 2.80 เมตร, Leff = 2.50 เมตร
B1 = 5.40 เมตร, x = 0.65 เมตร,
h = 6.30 เมตร

Anchor bars

รูปที? 4 ฐานรากและแรงกระทํา (PGI, 2009)

5.3.1 ตรวจสอบความสามารถในการรับแรงดึงของตะขอยึด
ผลรวมระหว่างแรงยกตัว (Tv) และแรงแนวราบ (H) ส่งผลให้เกิดแรงกระทําเยือ6 งศูนย์ กล่าวคือ เสมือน
ว่ามีโมเมนต์กระทําต่อฐานราก แรงดึงสูงสุดทีถ? ่ายสูต่ ะขอยึด (Anchors) อยู่แถวนอกสุด อย่างไรก็ตาม
ในเวลาต่างกัน Anchor ต้นเดียวกันอาจรับทัง6 แรงกดและแรงดึง ขึน6 อยู่กบั ทิศทางของแรงลม (Bowles,
1988; วรากร, •‚ƒ„; สุขสันติ x, 2552) ตัวอย่างฐานรากนี6ตา้ นการยกตัวโดยใช้ตะขอยึดขนาด DB 28
SD 40 มีพน6ื ทีห? น้าตัดเท่ากับ6.15 ตร.ซม. กําลังรับแรงดึงปลอดภัยในการใช้งาน (Working tensile
strength, fs) เท่ากับ 1700 กก/ตร.ซม. แรงดึงสูงสุดใน Anchor (Tmax) มีค่าเท่ากับ 9300 กิโลกรัม คิด
เป็ น Tensile stress สูงสุดทีเ? กิดขึน6 เท่ากับ 1510 กก/ตร.ซม.

6
การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครังที 16 มหาวิทยาลัยมหิดล 18 - 20 พฤษภาคม 2554

รูปที? 5 แบบจําลองฐานรากสําหรับการศึกษากรณีฐานรากรับแรงกด (ปรัปปรุงจาก PGI, 2009)

ปริ ม าณหิน รู ป ปิ ร า
มิด หัว ตัด ทํ า หน้ า ที?
ต้านทานแรงยกตัว

รูปที? 6 แบบจําลองฐานรากสําหรับการศึกษากรณีฐานรากรับแรงยกตัว (ปรัปปรุงจาก PGI, 2009)

5.2.2 ตรวจสอบความสามารถในการยึดเกาะของตะขอเหล็กในชันหิ น
รูปทีd 7 แสดงแบบจําลองเพือ? ศึกษาการยึดเกาะของตะขอเหล็กกับชัน6 หิน ฐานรากตัวอย่างนี6 ใช้ซเี มนต์
เป็ นสารยึดเกาะระหว่างตะขอเหล็กกับชัน6 หิน เพื?อให้การถ่ายแรงเข้าสู่ชนั 6 หินเกิดขึน6 ได้อย่างสมบูรณ์
ทัง6 นี6 ความยาวของส่วนยึด (grout) ทีใ? ช้ หรือ Lg ต้องเพียงพอ เพื?อให้การยึดเกาะระหว่างตะขอเหล็ก
กับซีเมนต์ยดึ และ ระหว่างหินกับซีเมนต์ยดึ เพียงพอในการถ่ายแรงจากตะขอยึดเข้าสู่ชนั 6 หิน หน่ วย
แรงยึดเกาะสูงสุดทีเ? กิดขึน6 และหน่วยแรงทีย? ดึ เกาะยอมให้ หาได้โดยสมการที? (1) ถึง (6)
Ab = πdanc (Lg) (1)
Ab’ = πdhole (Lg) (2)
σb = Tmax/Ab (3)

7
การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครังที 16 มหาวิทยาลัยมหิดล 18 - 20 พฤษภาคม 2554

σb’ = Tmax/Ab’ (4)


Ua = 6.39 f c ' /danc (5)
Ua ’ = 0.1qu (6)

เมือ? Tmax = แรงดึงสูงสุดในตะขอยึด


Ab = พืน6 ทีย? ดึ เหนี?ยวระหว่างตะขอยึดและ grouting cement
Ab’ = พืน6 ทีย? ดึ เหนี?ยวระหว่างหินและ grouting cement
danc = เส้นผ่านศูนย์กลางของตะขอยึด
dhole = เส้นผ่านศูนย์กลางของรูเจาะในหินทีใ? ช้ฝงยึ ั ดกับตะขอยึด
Lg = ความยาวของซีเมนต์ทใ?ี ช้ยดึ เกาะ
σb = หน่วยแรงทีเ? กิดขึน6 ในการยึดเกาะระหว่างตะขอและซีเมนต์ยดึ เกาะ
σb’ = หน่วยแรงทีเ? กิดขึน6 ในการยึดเหนี?ยวระหว่างหินและซีเมนต์ยดึ เกาะ
Ua = หน่วยแรงทีย? อมให้ในการยึดเหนี?ยวระหว่างตะขอและซีเมนต์ยดึ เกาะ
Ua ’ = หน่วยแรงทีย? อมให้ในการยึดเหนี?ยวระหว่างหินและซีเมนต์ยดึ เกาะ
f c’ = กําลังอัดประลัยของซีเมนต์ยดึ เกาะทีใ? ช้
qu = กําลังรับแรงอัดแกนเดียวของหิน

ั าใต้
ตะขอเหล็กยึดฝงเข้
ฐานคอนกรีต

Anchor
L
Lg Grout
หินฐานราก

รูปที? 7 แบบจําลองเพือ? ศึกษาการยึดเกาะของตะขอเหล็กกับชัน6 หิน

ตัวอย่างทีใ? ช้ในการศึกษาครัง6 นี6 ใช้ความยาวของซีเมนต์ทใ?ี ช้ในการยึดเกาะ (Lg) เท่ากับความยาว


ทัง6 หมดของตะขอยึด (L) กล่าวคือ Lg เท่ากับ L จากสมการที? (1) ถึง (4) คํานวณได้ว่าหน่ วยแรงยึด
เหนี?ยวระหว่างตะขอเหล็กและซีเมนต์ยดึ เกาะ (σb) และหน่ วยแรงทีเ? กิดขึน6 ในการยึดเหนี?ยวระหว่าง
หินและซีเมนต์ยดึ เกาะ (σb’) มีคา่ เท่ากับ 3.80 กก/ตร. ซม. และ 1.90 กก/ตร. ซม. ตามลําดับ
หน่วยแรงยึดเกาะทีย? อมให้ (Ua) สําหรับ σb มีคา่ เท่ากับ 33 กก/ตร. ซม. ซึง? หาได้โดยสมการที? (5) ซึง?
เป็ นพิจารณาในลักษณะเดียวกับการยึดเกาะของเหล็กทีฝ? งั อยู่ในคอนกรีต (วิวฒ ั น์, 2528) ส่วนหน่ วย

8
การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครังที 16 มหาวิทยาลัยมหิดล 18 - 20 พฤษภาคม 2554

แรงยึดเกาะทีย? อมให้ (Ua’) สําหรับ σb’ มีค่าเท่ากับ 2.50 กก/ตร. ซม. ซึง? หาได้โดยสมการที? (6) โดย
เป็ นพิจารณาโดยการใช้แรงเฉือนที?ยอมให้ทร?ี อยต่อระหว่างซีเมนต์ยดึ และชัน6 หิน ซึ?ง Goodman
(1989) แนะนําว่า แรงเฉือนทีร? อยต่อระหว่างซีเมนต์ยดึ และชัน6 หินนี6 มีค่าประมาณ 10% ของกําลังรับ
แรงอัดแกนเดียวของหินนัน6 ๆ ดังนัน6 พบว่าการยึดเกาะระหว่างเหล็กตะขอและชัน6 หินเพียงพอ หน่ วย
แรงทีย? อมให้สาํ หรับยึดเกาะแสดงดังสมการที? (5) และ (6) อย่างไรก็ตาม ในการออกแบบฐานราก มี
ความจําเป็ นต้องพิจารณาความยาวของเหล็กทีฝ? งั ในฐานคอนกรีต (dowel bar) ด้วย ซึ?งเกีย? วข้อง
โดยตรงกับเรือ? งการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็จจึงไม่ได้กล่าวรายละเอียดในทีน? 6ี

5.3.3 ตรวจสอบนําหนักของหิ นทีd ใช้ต้านทานการยกตัวโดยรวม


เมื?อพิจารณาแล้วว่า เหล็กตะขอทีฝ? งั ลงในชัน6 หินมีความยาวเพียงพอในการถ่ายแรงลงสู่ชนั 6 หินแล้ว
เมือ? แรงยกตัวทีก? ระทําต่อฐานราก (Tv = 400 ตัน) จะสามารถดึงให้ฐานรากถอนตัวออกจากชัน6 หินได้
นัน6 ต้องมีค่ามากกว่าผลรวมของนํ6 าหนักหิน (รูปกรวยหัวตัด) และนํ6 าหนักฐานคอนกรีต (ดูรปู ทีd 6)
การศึกษาครัง6 นี6พบว่า ปริมาตรหินทีต? า้ นการยกตัว คิดเป็ นปริมาตร เท่ากับ 214 ลบ.ม. หินมีหน่ วย
นํ6าหนัก 2,000 กก/ลบ.ม. ดังนัน6 นํ6าหนักหินทีต? า้ นการยกตัว มีค่าประมาณ 427 ตัน และนํ6าหนักฐาน
รากคอนกรีต เท่ากับ 43 ตัน ดังนัน6 นํ6 าหนักทัง6 หมดซึ?งต้านทานการยกตัว มีค่าเท่ากับ 470 ตัน
อัตราส่วนความปลอดภัยในการยกตัว คิดเป็ นเพียง 1.20 เท่า ซึ?งจะเห็นว่า อาจเป็ นค่า F.S. ที?
ค่อนข้างตํ?า แต่จดั ว่าเป็ นค่าทีย? อมรับได้เนื?องจากค่า F.S. นี6เป็ นค่าทีต? า้ นการพังโดยใช้น6ําหนักรวม ซึง?
ฐานรากยกตัวในบางกรณีไม่ได้คํานึงถึงส่วนนี6 เนื?องจากถือว่าหน่ วยแรงยึดตามข้อที? 5.3.2 เป็ นตัว
ควบคุมการออกแบบแล้ว

6. วิ จารณ์ และข้อเสนอแนะ
เสาสายส่งไฟฟ้า แรงสูงมีความสํา คัญอย่างยิง? ในป จั จุบ ัน เนื?องจากประเทศไทยมีการพัฒ นาอย่า ง
ต่อเนื?อง การเพิม? ขึน6 ของจํานวนประชากรส่งผลโดยตรงต่อการใช้ไฟฟ้าทีเ? พิม? มากขึน6 อย่างไรก็ตาม
งานก่อสร้า งสายส่งฯ จัด เป็ น งานเฉพาะทางซึ?งเกี?ย วข้องกับ ทัง6 งานทางด้า นวิศ วกรรมไฟฟ้ า และ
วิศวกรรมโยธา
บทความนี6สรุปหลักการและสิง? ทีจ? ําเป็ นต้องตรวจสอบในการออกแบบฐานรากเสาสายส่งฯ โดยแยก
กรณีของแรกระทําต่อฐานรากเป็ น 2 กรณี คือ 1) ฐานรากรับแรงกดและ 2) ฐานรากรับแรงยกตัว
? ไม่พบปญั หาการพังจากแรงกด อันเนื?องมาจากกําลัง
สําหรับเสาสายส่งฯ ทีต? งั 6 อยูบ่ นชัน6 หิน โดยทัวไป
แบกทานของหินทีไ? ม่เพียงพอ ปญั หาทีส? าํ คัญอย่างยิง? คือเมื?อแรงลัพธ์กระทําต่อฐานรากเสาเป็ นแรง
ยกตัว ซึ?งอาจส่งผลต่ อเนื? องให้เ สาเกิด การพลิกควํ? า ได้ และส่งผลกระทบวงกว้า ง ในการจ่ า ย
กระแสไฟฟ้าสูช่ มุ ชนได้
ตัวอย่างทีใ? ช้ในศึกษาครัง6 นี6 หินฐานรากสําหรับเสาสายส่งฯ มีกาํ ลังแบกทานประลัย (ultimate bearing
capacity) ประมาณ 150 ตัน/ตร.ม. ในขณะทีห? น่วยแรงกดสูงสุดกระทําที? Toe ของฐานราก เท่ากับ 30
ตัน/ตร.ม. ดังนัน6 คิดเป็ นค่าอัตราส่วนปลอดภัย (Factor of Safety) เท่ากับ 5.00 เท่า ซึง? เป็ นค่า
อัตราส่วนความปลอดภัยทีส? งู มาก โดยทัวไปใช้ ? F.S. = 2.50 สําหรับกรณีฐานรากรับแรงกด

9
การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครังที 16 มหาวิทยาลัยมหิดล 18 - 20 พฤษภาคม 2554

ในกรณีทฐ?ี านรากรองรับแรงยกตัว ขนาด 400 ตัน และแรงเฉือนทีห? วั เสาเท่ากับ 20 ตัน โครงสร้างทีใ? ช้


ต้านทานการยกตัวขึน6 ของฐานราก คือ เหล็กข้ออ้อย จํานวน 49 เส้น ฝงปลายหนึ ั ?งเข้าใต้ฐานคอนกรีต
และอีกปลายหนึ?งฝงั ลงในชัน6 หิน ความยาวของเหล็กตะขอจากใต้ฐานเท่ากับ 2.80 เมตร เหล็กตะขอ
เหล่านี6จะยึดเกาะกับชัน6 หิน และถ่ายแรงลงสู่ชนั 6 หิน เมื?อพิจารณาแล้วว่าการยึดเกาะระหว่างเหล็ก
ตะขอและชัน6 หิน เพียงพอ ในขณะทีฐ? านรากรับแรงยกตัว ผลรวมของนํ6 าหนักหินรูปกรวยหัวตัดและ
นํ6าหนักของฐานคอนกรีต จะทําหน้าทีต? า้ นทานการยกตัวของฐานราก
จากตัวอย่างการศึกษาครัง6 นี6 แรงยกตัว (Tv) มีคา่ เท่ากับ 400 ตัน ในขณะทีผ? ลรวมของนํ6าหนักหินและ
ฐานรากทีต? า้ นทานการยกตัว มีคา่ เท่ากับ 470 ตัน ซึง? คิดเป็ นอัตราส่วนความปลอดภัยต้านทานการยก
ตัวของฐานราก เท่ากับ 1.20 เท่า เท่านัน6 ซึง? อาจถือได้ว่าเป็ นค่าอัตราส่วนความปลอดภัยทีค? ่อนข้าง
ตํ?า แต่จดั ว่าเป็ นค่าทีย? อมรับได้ หากตรวจสอบแล้วว่าหน่วยแรงยึดเกาะของ Anchor เพียงพอ อย่างไร
ก็ตาม อาจแก้ไขปญั หาได้โดยตรง โดยการฝงระดั ั บฐานรากให้ลกึ มากขึน6 หรือเพิม? ความยาวของเหล็ก
ั น6 หินให้มากขึน6 เพือ? ทีจ? ะให้คา่ นํ6าหนัก ของหินทีต? า้ นทานการยกตัวโดยรวมเพิม? ขึน6
ตะขอยึดทีฝ? งในชั
ในกรณีทเ?ี สามีความสูงมากๆ ข้อแนะนําเพิม? เติมเกีย? วกับการพิจารณาเรือ? งการยึดเกาะของเหล็กตะขอ
ในชัน6 หินนัน6 ในทางปฏิบตั แิ ล้วเราอาจเลือกใช้สารเคมีเฉพาะสําหรับการยึดเกาะระหว่างเหล็กตะขอ
และชัน6 หินซึง? ทําหน้าทีค? ล้ายกาว ทีป? ระสานระหว่างเหล็กตะขอและชัน6 หิน นอกจากนี6ในกรณีทแ?ี รงดึง
เกิดขึน6 ในตะขอเหล็กมากๆ นัน6 เราอาจแก้ไขปญั หาได้โดยการเลือกใช้เหล็กทีม? กี ําลังรับแรงดึงสูงๆ
เช่น เหล็กอัดแรง (pre-stressed steel) มาทําเป็ นเหล็กตะขอยึดเข้าสูช่ นั 6 หิน

7. บทสรุป
ฐานรากบนชัน6 หิน จัดเป็ นฐานรากทีไ? ม่พบโดยทัวไป ? แต่สาํ หรับงานเฉพาะบางอย่าง เช่น ฐานรากเสา
สายส่งไฟฟ้าแรงดันสูง จัดว่าเป็ นเรือ? งทัวไปที
? พ? บได้เสมอเนื?องจากโครงสร้างสาธารณูปโภคประเภทนี6
ส่วนใหญ่ตงั 6 อยูบ่ นภูเขา ซึง? วัสดุฐานรากเป็ นหิน ฐานรากประเภทนี6ไม่คอ่ ยประสบกับปญั หา เรื?องกําลัง
รับแรงแบกทานหรือกําลังอัดไม่เพียงพอ แต่มกั พบปญั หาเกีย? วกับการถอนตัวและพลิกควํ?าของเสา อัน
เนื?องมาจากแรงยกตัว ดังนัน6 การออกแบบฐานรากโดยการใช้ “Rock Anchors” จึงมีความจําเป็ น
ตัวอย่างทีใ? ช้เป็ นกรณีศกึ ษาครัง6 นี6พบว่า อัตราส่วนปลอดภัยทางด้านกําลังรับแรงแบกทานสูงถึง 5 เท่า
ในขณะทีอ? ตั ราส่วนความปลอดภัยในการยกตัว มีค่าเท่ากับ 1.20 ซึง? เป็ นค่าความปลอดภัยทีค? ่อนข้าง
ตํ?า แต่ถอื ว่าเป็ นค่าทีย? อมรับได้หากตรวจสอบแล้วพบว่าหน่ วยแรงยึดเกาะของ Anchor เพียงพอ ค่า
ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการออกแบบฐานรากเสาสายส่งฯ นัน6 ต้องให้ความสําคัญอย่างยิง? กับการยกตัว
ขึน6 ของฐานรากเนื?องจากแรงลม ซึง? อาจส่งผลต่อเนื?องไปสูก่ ารพลิกควํ?าของเสา

8. กิ ตติ กรรมประกาศ
ขอขอบคุณ บริษทั พาวเวอร์กริด อินเตอร์เนชันแนล ? จํากัด ทีเ? อือ6 เฟื6 อข้อมูลและอนุ ญาตให้ใช้ผลงาน
บางส่วนของบริษทั เพื?อการเผยแพร่ และขอขอบคุณ บริษทั SWECO ประเทศสวีเดน ผูต้ รวจสอบ
รายการคํานวณออกแบบฐานรากที?ใช้เป็ นตัวอย่างกรณีศกึ ษาในบทความนี6 ผู้เขียนขอขอบคุณ
อาจารย์ทกุ ท่านทีป? ระสิทธ์ประสาทวิชาความรูต้ งั 6 แต่อดีตถึงปจั จุบนั

10
การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครังที 16 มหาวิทยาลัยมหิดล 18 - 20 พฤษภาคม 2554

9. เอกสารอ้างอิ ง
มนัส อนุศริ ิ (2539), “การออกแบบโครงสร้างไม้และเหล็ก,” สํานักพิมพ์ ซีเอ็ดยูเคชัน,? 302 หน้า
วรากร ไม้เรียง (2546), “วิศวกรรมเขือ? นดิน,” สํานักพิมพ์ ไลบรารี? นายน์, 312 หน้า
วิวฒ
ั น์ ธรรมาภรณ์พลิ าศ (2528). “คอนกรีตเสริมเหล็ก,” มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 186 หน้า
สุขสันติ x หอพิบลู สุข (2552), “วิศวกรรมฐานราก,” บริษทั สํานักพิมพ์ทอ้ ป จํากัด, 356 หน้า
Ajikawa Iron Works & Construction Co., Ltd. (1985), “Design Manual for Transmission Line
Tower and Foundation – Chapters 1 and 18”
Bowles J.E. (1988), “Foundation Analysis and Design 4th ed.,” McGraw-Hill, 1004 หน้า
Goodman, R.E. (1989), “Introduction to Rock Mechanics 2nd ed.,” John Wiley & Sons, 562
หน้า
Kravitz R.A. (1985), “Design Manual for Transmission Line, Tower and Foundation - Chapter
18”
PGI – Powergrid International Co. Ltd. (2008). แฟ้มข้อมูลโครงการที? P0819 – Phonsavanh –
Xam Nuea 115 kV Transmission Project.
PGI – Powergrid International Co. Ltd. (2009). แฟ้มข้อมูลโครงการที? P0910 – Theun Hinboun
Spotting RCR.
Tomlinson M.J. (1975), “Pile Design and Construction Practice 3rd ed.,”, E & FN Spon, 337
หน้า
Wiley D.C. (1992), “Foundations on Rock,” London Pitman, 400 หน้า

11

View publication stats

You might also like