You are on page 1of 23

โครงร่างการวิจัย

โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวีณ ศรีราชา
1.ผูว
้ ิจัย
1.1 ผู้วิจัยหลัก (Principle investigator)
(ภาษาไทย) แพทย์หญิงจิรัศยา ด่านก้าวหน้า
(ภาษาอังกฤษ) Jiratsaya Dankawna, M.D.
ตำแหน่งแพทย์ประจำบ้าน สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวีณ ศรีราชา
เบอร์โทรศัพท์ 0845342294
1.2 ที่ปรึกษาโครงการ (Advisor)
(ภาษาไทย) นายแพทย์จันทรวัฒน์ นีละศรี
(ภาษาอังกฤษ) Chanthawat Neelasri, M.D.
ตำแหน่งอาจารย์แพทย์ฝ่ายสูติ-นรีเวชกรรม
เบอร์โทรศัพท์ 0815302461
1.3 ที่ปรึกษาโครงการร่วม (Co-Advisor)
(ภาษาไทย) ด็อกเตอร์ช่ น
ื ฤทัย ยี่เขียน
(ภาษาอังกฤษ) Chuenrutai Yeekian, Ph.D.
ตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์แพทย์ศาสตร์ศึกษาชัน
้ คลินิก ด้านวิจัย
เบอร์โทรศัพท์ 0818624534

2.ชื่องานวิจัย

1
ปั จจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของหญิงตัง้ ครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์
ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ในช่วงการระบาดของ
COVID-19
Factors affecting quality of life among pregnant women
who received antenatal care at Queen Savang Vadhana
Memorial Hospital during COVID‐19 pandemic

3. ความสำคัญที่มาและปั ญหา
องค์การอนามัยโลกได้ออกประกาศเตือนถึงการระบาดของโรคปอด
อักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ในเดือนธันวาคม พ.ศ.
2562 ต่อมาได้มีการรายงานว่าเชื้อไวรัสโคโรนาที่ได้ค้นพบสายพันธุ์ใหม่ หรือ
Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus (SARS-CoV-2) นัน

เป็ นเชื้อต้นกำเนิดของการก่อโรค โดยองค์การอนามัยโลก กำหนดเรียกโรค
ทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นีว้ ่า Coronavirus
disease 2019 หรือ COVID-19 หลังจากนัน
้ ก็ได้มีการแพร่ระบาดของการ
ติดเชื้อ COVID-19 นีไ้ ปยัง ทวีป และประเทศอื่นๆทั่วโลกโดยได้มีการรายงาน
(1)
การพบผู้ป่วยรายแรกในประเทศไทยในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563
การติดเชื้อ COVID-19 จะส่งผลให้เกิดอาการในระบบทางเดินหายใจ
สามารถทำให้เกิดปอดอักเสบรุนแรง หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงอาจนำไปสู่
การเสียชีวิตได้ และการแพร่กระจายเชื้อที่ง่ายและรวดเร็ว ผ่านการสูดละออง
จากสารคัดหลัง่ ที่มีเชื้อไวรัสปะปนจากผู้ติดเชื้อที่จามหรือไอออกมา หรือ
สัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้ อนไวรัสจากผู้ติดเชื้อ จึงทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อและเสีย
(2)
ชีวิตมากขึน
้ อย่างรวดเร็วในประเทศไทยและทั่วโลก การระบาดของ

2
COVID-19 จึงมีผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนทั่วโลก ทัง้ ด้าน
ร่างกายและจิตใจ
หญิงตัง้ ครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและภูมิคุ้มกัน ทำให้จัดว่า
เป็ นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และมีอาการที่รุนแรง การวิจัยของต่าง
ประเทศพบว่าการระบาดของการติดเชื้อ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อ
ร่างกาย จิตใจ การนอนหลับ และการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็ นปั จจัยสำคัญที่
(3-5)
สามารถส่งผลให้คณ
ุ ภาพชีวิตของหญิงตัง้ ครรภ์แย่ลงได้
ปั จจุบันการศึกษาปั จจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของหญิงตัง้ ครรภ์ในช่วง
การระบาดของ COVID-19 นัน
้ มีผู้ศึกษาค่อนข้างน้อย และยังไม่มีการศึกษา
ในประเทศไทย ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาคุณภาพชีวิตของหญิงตัง้
ครรภ์ในช่วงการระบาดของ COVID-19 รวมถึงปั จจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อ
เป็ นแนวทางในการวางแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และให้การช่วยเหลือ
หญิงตัง้ ครรภ์ให้เหมาะสมและสอดคล้องในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-
19 ในสถานการณ์ปัจจุบัน

4.วัตถุประสงค์ของการวิจัย/กรอบแนวคิด
4.1 วัตถุประสงค์หลัก
เพื่อศึกษาปั จจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของหญิงตัง้ ครรภ์ในประเทศไทย ใน
ช่วงการระบาดของ COVID-19
4.2 กรอบแนวคิด

3
ปั จจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต
- อายุ
- อายุครรภ์ (ไตรมาส)
- จำนวนบุตร
คุณภาพชีวิต: ดี ปานแก
- ดัชนีมวลกาย
- วุฒิการศึกษา
- การประกอบอาชีพ
- การได้รับคำปรึกษาจากบุคคล
รอบข้าง

5. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

“คุณภาพชีวิต” หมายถึง การรับรู้ถึงสถานะของบุคคลนัน


้ ๆ และชีวิต
ภายใต้กรอบของวัฒนธรรม และค่านิยม โดยจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเป้ าหมาย
(6)
ในชีวิต ความคาดหวัง มาตรฐานและสิง่ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสังคม ปั จจุบันมี
แบบวัดคุณภาพชีวิตหลากหลายรูปแบบที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก เช่น SF-
12, SF-36, และ WHOQOL-100 เป็ นต้น
ในงานวิจัยนีผ
้ ู้วิจัยเลือกใช้ WHOQOL-BREF- THAI ซึ่งเป็ น
แบบสอบถามคุณภาพชีวิตแบบย่อ ซึง่ พัฒนาจากแบบสอบถามคุณภาพชีวิต
WHOQOL-100 ขององค์การอนามัยโลก แปลและทดสอบใช้โดยสุวัฒน์ มหัต
(7)
นิรันดร์กุลและคณะ โดยแบบสอบถามคุณภาพชีวิตฉบับภาษาไทยนี ้ มีการ
ทดสอบค่าความเที่ยงตรง เท่ากับ 0.6515 และค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ
(Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.8406 เมื่อได้เปรียบเทียบกับ
WHOQOL-100 แบบสอบถามคุณภาพชีวิต WHOQOL-BREF- THAI
นอกจากจะสามารถวัดระดับคุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวมแล้ว ยัง
สามารถวัดคุณภาพชีวิตในองค์ประกอบทัง้ 4 ด้าน ได้แก่ สุขภาพกาย ด้าน
(6)
จิตใจ สัมพันธภาพทางสังคมและในด้านของสิ่งแวดล้อม
4
ในสภาวะปกติมีการศึกษาปั จจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของ
(8)
หญิงตัง้ ครรภ์มากมาย โดยในประเทศไทย Jantacumma et al พบว่าการ
ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลรอบข้าง ส่งผลทำให้ชีวิตหญิงตัง้ ครรภ์ดีขน
ึ ้ ซึ่ง
(9)
สอดคล้องกับงานวิจัยของ Nguyen et al ซึง่ ทำการศึกษาในช่วงการแพร่
ระบาดของ COVID-19 ในเวียดนาม พบว่าการได้รับการสนับสนุนจาก
ครอบครัวมีผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขน
ึ ้ นอกจากนี ้ ปั จจัยอื่นๆ ได้แก่ อายุ
มารดา ระดับการศึกษาของมารดา สภาวะที่มีงานทำและมีรายได้ เป็ นปั จจัย
ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของหญิงตัง้ ครรภ์ซึ่งสอดคล้องกับหลายงานวิจัยในต่าง
(10) (11) (12)
ประเทศของ Elsenbruch et al , Ramírez-Vélez , Wang และ
(13)
Abbaszadeh et al ที่ทำการศึกษาในประเทศเยอรมัน บราซิล ไต้หวัน
และ อิรัก ตามลำดับ
นอกจากปั จจัยพื้นฐานของหญิงตัง้ ครรภ์แล้ว ปั จจัยทางด้านสุขภาพยัง
(14)
มีความสำคัญ ดังงานวิจัยของ Olsson et al พบว่าอาการปวดหลังส่งผล
ให้คณ
ุ ภาพของหญิงตัง้ ครรภ์แย่ลง เช่นเดียวกับอาการแสบร้อนกลางอก
(15)
อาการกรดไหลย้อน จากงานวิจัยของ Dall'alba et al และ อาการคลื่นไส้
(16)
อาเจียน จากงานวิจัยของ Lacasse et al แต่หากหญิงตัง้ ครรภ์นน
ั ้ มีการ
ออกกำลังกายเป็ นประจำจะส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขน
ึ ้ ตามรายงานวิจัยของ
(14) (17)
Olsson et al และ Haas et al
ในช่วงการระบาดของ COVID-19 มีการศึกษาคุณภาพชีวิตของหญิงตัง้
(18)
ครรภ์ในประเทศเอธิโอเปี ยจำนวน 384 คนโดย Dule et al พบว่าหญิงตัง้
ครรภ์ที่อยู่ในช่วงวัยกลางคน และมีอายุครรภ์อยู่ในในช่วงไตรมาสที่สอง มีค่า
(17) (19)
เฉลี่ยคุณภาพชีวิตสูงที่สุด ซึ่งขัดแย้งกับงานวิจัย ของ Lagadec et al

5
ซึ่งศึกษาคุณภาพชีวิตของหญิงตัง้ ครรภ์ในสภาวะปกติ พบว่าค่าคุณภาพชีวิต
(18)
ของหญิงตัง้ ครรภ์สูงสุดในช่วงแรกของการตัง้ ครรภ์
จากปั จจัยต่างๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงเลือกนำมาศึกษาปั จจัยที่
ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของหญิงตัง้ ครรภ์ในช่วงการระบาดของ COVID-19 ซึง่
เป็ นสถานการณ์ที่เป็ นปั ญหาในทั่วทัง้ โลกรวมถึงประเทศไทยในปั จจุบัน

6. ขอบเขตของงานวิจัย
การวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional
descriptive study) ศึกษาปั จจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของหญิงตัง้ ครรภ์ใน
ช่วงการระบาดของ COVID-19 โดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิต
WHOQOL-BREF-THAI ทำการศึกษาในหญิงตัง้ ครรภ์ความเสี่ยงต่ำที่เข้ารับ
การฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ระหว่างวันที่
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565

7. การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย
หญิงตัง้ ครรภ์ความเสี่ยงต่ำ คือ หญิงตัง้ ครรภ์ที่ไม่ได้มีโรคประจำตัว
หรือมีภาวะที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหญิงตัง้ ครรภ์และทารก ทัง้ ระยะตัง้
ครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
ผลจากงานวิจัยจะเป็ นประโยชน์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถหาปั จจัย และ
มาตรการในการส่งเสริมให้สตรีครรภ์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขน
ึ ้ ได้ ใน
สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19

6
9. ระเบียบวิธีวิจัย
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
9.1.1 ประชากร
ประชากร คือ หญิงตัง้ ครรภ์อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี และเป็ น
ครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่ำ
9.1.2 กลุ่มตัวอย่าง
หญิงตัง้ ครรภ์ที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี และเป็ นครรภ์ที่มีความ
เสี่ยงต่ำที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ใน
ช่วงเวลาที่ศึกษาและเต็มใจเข้าร่วมโครงการวิจัย
9.2 การคำนวณขนาดตัวอย่าง
ในปี งบประมาณ 2564 มีหญิงตัง้ ครรภ์มารับบริการฝากครรภ์จำนวน
2
้ าดประมาณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร s = X NP (1-
8,779 ราย การศึกษานีค
2 2 (20)
P) ÷ d (N-1) + X P (1-P) ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 401 ราย โดยที่
s = จำนวนกลุ่มตัวอย่าง
2
X = ค่า Chi-square ที่ค่าระดับขัน
้ ความเสรี (degree of
freedom) = 1 ซึง่ เท่ากับ 3.841
N = จำนวนประชากร
P = สัดส่วนของประชากรที่คาดประมาณให้เป็ นค่าสูงสุดที่ร้อยละ
50 หรือเท่ากับค่า 0.50
d = ค่าระดับขัน
้ ของความถูกต้อง (degree of accuracy) กำหนด
ให้เท่ากับ 0.05
2
จำนวนกลุ่มตัวอย่าง = (3.841) × (8779 × 0.50) ×
(1-0.50)

7
2 2
((0.05) × (8779-1)) + ((3.841) × 0.50 × (1-
0.50))
9.3 วิธีการคัดเลือกตัวอย่าง
9.3.1 เกณฑ์การคัดเลือกเข้า (Inclusion criteria)
- หญิงตัง้ ครรภ์ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี
- หญิงตัง้ ครรภ์ความเสี่ยงต่ำและ ไม่มีโรคประจำตัว
- สามารถให้ข้อมูลในการตอบแบบสอบถามได้

9.3.2 เกณฑ์การคัดเลือกออก (Exclusion criteria)


- ขอถอนตัวจากการวิจัย
9.4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและการแปลผล
9.2.1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและปั จจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต
ประกอบด้วย อายุ อายุครรภ์ (ไตรมาจำนวนบุตร ดัชนีมวลกาย วุฒิการ
ศึกษา การประกอบอาชีพ การได้รับคำปรึกษาจากบุคคลรอบข้าง การออก
กำลังกาย อาการแสบร้อนกลางอกหรือกรดไหลย้อนและอาการปวดหลัง
9.2.2. แบบสอบถามวัดระดับคุณภาพชีวิต WHOQOL-BREF- THAI
ประกอบไปด้วย 26 ข้อคำถาม ซึ่งมีจำนวนมีความหมายทางบวก 23 ข้อ
และจำนวนข้อคำถามที่มีความหมายทางลบ 3 ข้อ คือข้อ 2 9 11
กลุ่มที่ 1 ข้อความทางลบ 3 ข้อ แต่ละข้อให้คะแนนดังต่อไปนี ้ ตอบ
ไม่เลย ให้ 5 คะแนน ตอบ เล็กน้อย ให้ 4 คะแนน ตอบ ปานกลาง ให้ 3
คะแนน ตอบ มาก ให้ 2 คะแนน และตอบ มากที่สุด ให้ 1 คะแนน
กลุ่มที่ 2 ข้อความทางบวก 23 ข้อ แต่ละข้อให้คะแนนดังต่อไปนี ้
ตอบ ไม่เลย ให้ 1 คะแนน ตอบ เล็กน้อย ให้ 2 คะแนน ตอบ ปานกลาง ให้
3 คะแนน ตอบ มาก ให้ 4 คะแนน และตอบ มากที่สุด ให้ 5 คะแนน

8
คะแนนคุณภาพชีวิตแปลความหมายดังนี ้
26 – 60 คะแนน คุณภาพภาพชีวิตที่ไม่ดี
61 – 95 คะแนน คุณภาพชีวิตกลาง ๆ
96 – 130 คะแนน คุณภาพชีวิตที่ดี
โดยจากคะแนนคุณภาพชีวิตสามารถแบ่งระดับคะแนนคุณภาพชีวิต
แยกออกเป็ นองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี ้

ตารางที่ 1 เกณฑ์การแปลความหมายคุณภาพชีวิตรายด้านและคุณภาพชีวิต
โดยรวม

องค์ประกอบ การมีคุณภาพ คุณภาพชีวิต คุณภาพ


ชีวิตที่ไม่ดี กลาง ๆ ชีวิตที่ดี
1. ด้านสุขภาพกาย 7 – 16 17 – 26 27 - 35
2. ด้านจิตใจ 6 – 14 15 – 22 23 - 30
3. ด้านสัมพันธภาพ 3–7 8 – 11 12 - 15
ทางสังคม
4. ด้านสิง่ แวดล้อม 8 – 18 19 – 29 30 – 40
5. คุณภาพชีวิตโดย 26 – 60 61 – 95 96 - 130
รวม

องค์ประกอบทางด้านสุขภาพกาย ได้แก่ ข้อ 2,3,4,10,11,12,24


องค์ประกอบทางด้านจิตใจ ได้แก่ ข้อ 5,6,7,8,9,23
องค์ประกอบทางด้านสัมพันธภาพทางสังคม ได้แก่ ข้อ 13,14,25
องค์ประกอบทางด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ข้อ 15,16,17,18,19,20,21,22
ส่วนข้อคำถามที่ 1 และข้อคำถามที่ 26 เป็ นตัวชีว้ ัดที่อยู่ในหมวด
คุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวม

9
10. ขัน
้ ตอนและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
10.1 ขัน
้ ตอนนำอาสาสมัครเข้าทำการวิจัย
ผู้วิจัยหรือผู้ช่วยผู้วิจัยเป็ นผู้ให้ข้อมูลและขอความร่วมมือโดยสมัครใจ
โดยอธิบายถึงวัตถุประสงค์ของงานวิจัย สิทธิของอาสาสมัครและวิธีทำการ
วิจัย ก่อนขอความยินยอมเข้าร่วมงานวิจัย และให้ลงชื่อในใบยินยอมเข้าร่วม
การวิจัย (Inform consent)
10.2 วิธีการสุ่มตัวอย่างและปกปิ ด
การวิจัยนีไ้ ม่มีการสุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง
(Purposive sampling) เป็ นหญิงตัง้ ครรภ์ที่ที่มีความเสี่ยงต่ำที่มาฝากครรภ์ที่
โรงพยาบาลในช่วงเวลาที่ศึกษาและเต็มใจเข้าร่วมโครงการวิจัย
10.3 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
1) เมื่อผูเ้ ข้าร่วมวิจัยลงชื่อยินยอม ผู้วิจัยหรือผู้ช่วยผู้วิจัยจะบันทึก
ข้อมูลลงในแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลมีรายละเอียดดังแนบในภาคผนวก
2) ผู้วิจัยเก็บรวบรวมแบบบันทึก จากนัน
้ นำข้อมูลลงในโปรแกรม
และตรวจสอบความถูกต้อง
ของข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ทางสถิติตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยของ
ข้อมูล หากมีส่วนที่ไม่ครบถ้วนผู้วิจัยและผู้ช่วยเก็บข้อมูลจะได้สอบถามเพิ่ม
เติมทันที

11. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติ
ข้อมูลที่ได้จากแบบบันทึกข้อมูล จะถูกบันทึกลงในโปรแกรม
Microsoft Excel Worksheet และวิเคราะห์โดยโปรแกรม SPSS for

10
windows สถิติแบบบรรยาย ในกรณีที่ข้อมูลมีการกระจายตัวแบบปกติ
(normal distribution) แสดงโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และข้อมูลที่มีการกระจายตัวไม่ปกติ (non-normal distribution)
แสดงโดยใช้ค่ามัธยฐาน วงเล็บด้วยค่าควอไทล์ที่ 1 และควอไทล์ที่ 3
สถิติที่ใช้วิเคราะห์หาระดับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงคุณภาพ
เช่น ปั จจัยที่มีผล คำนวณโดยใช้ risk ratio และค่า 95% Confidence
interval
สถิติที่ใช้วิเคราะห์หาว่าปั จจัยมีผลต่อคุณภาพชีวิตของสตรีตงั ้ ครรภ์ซึ่ง
เป็ น Continuous data ใช้ Multiple linear regression analysis
กำหนดค่าความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05

12. จริยธรรมในการวิจัย
12.1 ระดับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึน
้ การป้ องกันและการแก้ไข
ผู้เข้าร่วมวิจัยไม่มีความเสี่ยงในการทำแบบสอบถาม
12.2 ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าชดเชยการเสียเวลา ค่าตอบแทน: ไม่มี
12.3 การดูแลรักษา และการแก้ปัญหาอื่นๆ ผู้เข้าร่วมวิจัยไม่มีโอกาส
เกิดอาการไม่พึงประสงค์ในการเข้าร่วมงานวิจัย
12.4 มีระบบ Safety monitor และรายงานอาการไม่พึงประสงค์:
ไม่จำเป็ นต้องมี
12.5 มีโอกาสเกิด Conflict of interest หรือไม่: ไม่มี
12.6 การให้อาสาสมัครตอบแบบสอบถามจะทำให้อาสาสมัครเกิด
ความรำคาญหรือไม่
ผู้วิจัยจะขอความร่วมมือในช่วงเวลาที่เหมาะสม เป็ นเวลาที่อาสา
สมัครรอรับการตรวจรักษา

11
12.7 แบบยินยอมอาสาสมัคร (Informed consent form) เป็ น
ภาษาไทย: มีใบยินยอมเข้าร่วมการวิจัย แสดงในภาคผนวก
12.8 รายละเอียดของกระบวนการในการขอความยินยอม
ให้ผู้เข้าร่วมวิจัยอ่านรายละเอียดในเอกสารชีแ
้ จงก่อนลงชื่อในใบ
ยินยอมเข้าร่วมการวิจัย
12.9 มีเอกสารชีแ
้ จงสำหรับอาสาสมัครการวิจัย: ไม่จำเป็ นต้องมี
12.10 ความรู้ที่ได้จากการวิจัยเกิดประโยชน์คุ้มกับความเสี่ยงของ
อาสาสมัคร
ความรู้ที่ได้จากการวิจัยสามารถนำมาปรับใช้เพื่อเพิ่มระดับคุณภาพชีวิต
ของสตรีตงั ้ ครรภ์ในประเทศไทย ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
COVID-19
12.11 การปกป้ องผู้ด้อยโอกาส (Vulnerable subject): ไม่จำเป็ น
ต้องมี
11.12 ระบุงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีการตีพิมพ์หรือข้อมูลที่จะยืนยัน
ความปลอดภัยของการวิจัยในคน: ไม่จำเป็ นต้องมี

13. แผนการดำเนินการวิจัย

การ พ.ศ. 2565


ดำเนิน ม.ค ก. มี.ค เม. พ.ค มิ.ย ก.ค ส.ค ก.ย ต.ค พ.ย ธ.ค
การวิจัย . พ. . ย. . . . . . . . .
เขียน
โครงร่าง
การวิจัย

12
เสนอคณะ
กรรมการ
พิจารณา
จริยธร
รมฯ
เก็บ
ข้อมูล
วิเคราะห์
ข้อมูล
เขียน
รายงาน

14. งบประมาณค่าใช้จ่ายในการวิจัย
14.1 งบประมาณจาก
รายการ งบ
ประมา

1.หมวดค่าตอบแทน
- ผู้ช่วยวิจัย ผู้ช่วยเก็บรวบรวมข้อมูล 5,000
บาท
2.หมวดค่าใช้สอย
2,000
- ค่าถ่ายเอกสาร
บาท
3.หมวดค่าวัสดุ เช่น
2,000
- ค่ากระดาษ ปากกา และวัสดุสำนักงาน
บาท
13
4.หมวดค่าจ้างเหมาบริการ (มากกว่า 1,000 บาท ต้องหักไว้
1,000
ชำระภาษี 3 %) เช่น
บาท
- ค่าถ่ายสำเนารายงาน ค่าเข้าปกเย็บเล่มรายงาน
รวมเป็ นเงินทัง้ สิน
้ 10,000
บาท

หมายเหตุ: งบประมาณในแต่ละหมวดสามารถใช้ทดแทนกันได้
15. เอกสารอ้างอิง
1. สุรัยยา หมานมานะ, โสภณ เอี่ยมศิริถาวร, สุมนมาลย์ อุทยมกุล. (2563) .
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารสถาบันบําราศนรา
ดูร; 1 4(2): 124-33.
2. อนุตรา รัตน์นราทร. (2563). รายงานผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19): ผู้ป่วยรายแรกของประเทศไทยและนอกประเทศจีน. วาร
สารสถาบันบําราศนราดูร, 14(2), 11-18.
3. Dashraath P, Wong JL, Lim MX. Coronavirus disease 2019
(COVID-19) pandemic and pregnancy. American Journal of
Obstetrics and Gynecology. 2020;222(6):521–531.
4. Nik-Azin A, Nainian MR, Zamani M, Bavojdan MR, Rabani-
Bavojdan MA, Rabani-Bavojdan MO. Evaluation of sexual
function, quality of life, and mental and physical health in
pregnant women. Journal of Family & Reproductive
Health. 2013;7(4):171–176.
5. Papastathi C, Disse E, Berthiller J, Laville M, Gouillat CH,
Robert M. Impact of pregnancy on weight loss and quality of

14
life following gastric banding. Obesity
Surgery. 2016;26(8):1843–1850.
6. WHOQOL Group (1995) The World Health Organization Quality
of Life assessment (WHOQOL): position paper from the
World Health Organization. Social Science and Medicine, 41,
1403–1409
7. สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตของ
องค์การอนามัยโลกทุก 100 ตัวชีว้ ัด และ 26 ตัวชีว้ ัด, โรงพยาบาลสวนปรุง
จังหวัดเชียงใหม่, 2540.
8. Jantacumma N, Powwattana A, Lagampan S, Chansatitporn N.
Predictive Model of Quality of Life among Thai Pregnant
Teenagers. PRIJNR [Internet]. 2018 Jan. 1 [cited 2022 Jan.
11];22(1):30-42. Available
from:https://he02.tcithaijo.org/index.php/PRIJNR/article/view/
86391
9. Nguyen L, Nguyen L, Ninh L, Nguyen H, Nguyen A, Dam V et al.
COVID-19 and delayed antenatal care impaired pregnant
women's quality of life and psychological well-being: What
supports should be provided? Evidence from Vietnam.
Journal of Affective Disorders. 2022;298:119-125.
10. Elsenbruch S, Benson S, Rücke M, Rose M, Dudenhausen J,
Pincus-Knackstedt M et al. Social support during pregnancy:
effects on maternal depressive symptoms, smoking and
pregnancy outcome. Human Reproduction. 2006;22(3):869-
877.
15
11. Ramírez Vélez R. Pregnancy and health-related quality of life:
A cross sectional study. Colombia Medica. 2011;:476-481.
12. Wang P, Liou S, Cheng C. Prediction of maternal quality of
life on preterm birth and low birthweight: a longitudinal
study. BMC Pregnancy and Childbirth. 2013;13(1).
13. Abbaszadeh F, Kafaei M, Sarafraz N, Baghery A. P916 Quality
of life in pregnant women: results from Kashan, Iran.
International Journal of Gynecology & Obstetrics.
2009;107:S670-S670.
14. Olsson C, Lena N. Health-related quality of life and physical
ability among pregnant women with and without back pain
in late pregnancy. Acta Obstetricia et
GynecologicaScandinavica. 2004;83(4):351-357.
15. Dall'alba V, Callegari-Jacques SM, Krahe C, Bruch JP, Alves BC,
Barros SG. Health-related quality of life of pregnant women
with heartburn and regurgitation. Arq Gastroenterol. 2015
Apr-Jun;52(2):100-4.
16. Lacasse A, Rey E, Ferreira E, Morin C, Bérard A. Nausea and
vomiting of pregnancy: what about quality of life?. BJOG: An
International Journal of Obstetrics &Gynaecology.
2008;115(12):1484-1493.
17. Haas J, Jackson R, Fuentes-Afflick E, Stewart A, Dean M,
Brawarsky P et al. Changes in the health status of women
during and after pregnancy. Journal of General Internal
Medicine. 2005;20(1):45-51.
16
18. Dule A, Hajure M, Mohammedhussein M, Abdu Z. Health‐
related quality of life among Ethiopian pregnant women
during COVID‐19 pandemic. Brain and Behavior. 2021;11(4).
19. Lagadec N, Steinecker, M, Kapassi A, Magnier AM, Chastang J,
Robert S, Gaouaou N, Ibanez G. (2018). Factors influencing
the quality of life of pregnant women: A systematic
review. BMC Pregnancy and Childbirth, 18(1), 1–14.
10.1186/s12884-018-2087-4
20. Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research
activities. Educational and Psychological Measurement
1970;30(3):607-610.

16. ลงนามรับรองโครงร่างการวิจัย
ผู้วิจัยขอรับรองว่าจะปฏิบัติตามขัน
้ ตอนและวิธีการที่เขียนไว้ในโครงร่าง
การวิจัยฉบับนีอ
้ ย่างเคร่งครัด

ลงชื่อผู้วิจัย...............................................................

17
(แพท
ย์หญิง จิรัศยา ด่านก้าวหน้า)
หน่วยงาน......................................................................................
สถาบัน..........................................................................
วันที่...............เดือน..............พ.ศ. ................

18
ภาคผนวก
แบบฟอร์มการเก็บข้อมูล

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปและปั จจัยด้านสังคมและสุขภาพ


ชื่อ………………………………..……………. อายุ...............ปี HN…….….........…วันที่
เข้ารับการฝากครรภ์......................
Gravida ……Para……..…. Gestational age …..... weeks (corrected
date by ………… at GA….weeks)
น้ำหนัก....................................กิโลกรัม ส่วน
สูง................................เซนติเมตร ดัชนีมวลกาย.....................
วุฒิการศึกษาสูงสุด: ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มัธยมศึกษา ปวช.หรือ
ระดับ ปวส. ปริญญาตรีหรือสูงกว่า
สถานภาพ:โสด สมรส หรือ อยู่ด้วยกัน หย่าร้างหรือแยกกันอยู่
การทำงาน:ประกอบอาชีพไม่ได้ประกอบอาชีพ/ ว่างงาน
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน:ต่ำกว่า 5,000 บาท 5,000-10,000 บาท 10,001-
15,000 บาท 15,000 บาท ขึน
้ ไป
ผู้ที่ปรึกษาเวลามีปัญหา:พ่อหรือแม่ ญาติ หรือพี่ หรือน้อง เพื่อน สามี
หรือแฟน ไม่ได้ปรึกษาใคร
ท่านมีปัญหาด้านการเงินไม่พอใช้จ่าย: ไม่มี  มี

19
ท่านออกกำลังกาย: ไม่ออกกำลังกาย  2 ชั่วโมง/สัปดาห์หรือน้อยกว่า 
มากกว่า 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ท่านมีอาการแสบร้อนกลางอก หรือ อาหารไม่ย่อย: ไม่มี  มี

ส่วนที่ 2 แบบประเมินคุณภาพชีวิต
คำชีแ
้ จง โปรดตอบคำตามโดยทำเครื่องหมาย  ในช่องที่ตรงกับความคิดเห็น
ของท่านมากที่สุด

ข้อ
ที่ ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่เลย เล็ก ปาน มาก มา

1 ท่านพอใจกับสุขภาพของท่านในตอนนีเ้ พียง น้อย กลาง ก


2 การเจ็บปวดตามร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวด

3 ท้ อง ปวดตามตัว ทำให้ท่านไม่สามารถทำใน
ท่านมีกำลังเพียงพอที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ใน

4 แต่ ละวันไหม (ทัง้ เรื่องงาน หรือการดำเนิน


ท่านพอใจกับการนอนหลับของท่านมาก
5 ท่านรู้สึกพึงพอใจในชีวิต (เช่น มีความสุข

6 ความสงบ มีความหวัง) มากน้อยเพียงใด


ท่านมีสมาธิในการทำงานต่าง ๆ ดีเพียงใด
7 ท่านรู้สึกพอใจในตนเองมากน้อยแค่ไหน

20
ข้อ
ที่ ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่เลย เล็ก ปาน มาก มา

8 น้อย กลาง ก
ท่านยอมรับรูปร่างหน้าตาของตัวเองได้ไหม
9 ท่านมีความรู้สึกไม่ดี เช่น รู้สึกเหงา เศร้า
10 ท่านรู้สึกพอใจมากน้อยแค่ไหนที่สามารถทำ
11 ท่านจำเป็ นต้องไปรับการรักษาพยาบาลมาก
12 ท่านพอใจกับความสามารถในการทำงานได้
13 ท่านพอใจต่อการผูกมิตรหรือเข้ากับคนอื่น
14 ท่านพอใจกับการช่วยเหลือที่เคยได้รับจาก
15 ท่านรู้สึกว่าชีวิตมีความมั่นคงปลอดภัยดีไหม
16 ท่านพอใจกับสภาพบ้านเรือนที่อยู่ตอนนี ้
17 ท่านมีเงินพอใช้จ่ายตามความจำเป็ นมาก
18 ท่านพอใจที่จะสามารถไปใช้บริการ
19 ท่านได้ร้เู รื่องราวข่าวสารที่จำเป็ นในชีวิต
20 ท่านมีโอกาสได้พักผ่อนคลายเครียดมาก
21 สภาพแวดล้อมดีต่อสุขภาพของท่านมาก
22 ท่านพอใจกับการเดินทางไปไหนมาไหนของ
23 ท่านรู้สึกว่าชีวิตท่านมีความหมายมากน้อย
24 ท่านสามารถไปไหนมาไหนด้วยตนเองได้ดี
25 ท่านพอใจในชีวิตทางเพศของท่านแค่ไหน?
(ชีวิตทางเพศ หมายถึง เมื่อเกิดความรู้สึกทาง
เพศขึน
้ แล้วท่าน
26 ท่ามีนคิ
วิธีจัดการทำให้ผ่อนคลายลงได้ รวมถึง การ
ดว่าท่านมีคุณภาพชีวิต (ชีวิตความ
เป็ นอยู่) ในระดับใด

21
ใบยินยอมเข้าร่วมการวิจัย (Consent Form)

โครงการวิจัยเรื่อง ปั จจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของหญิงตัง้ ครรภ์ที่มา


รับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชาในช่วง
การระบาดของ COVID-19
ให้คำยินยอม วัน
ที่........................เดือน....................................พ.ศ........................
ก่อนที่จะลงนามในใบยินยอมให้ทำการวิจัยดังนี ้ ข้าพเจ้าได้รับการ
อธิบายจากผู้วิจัยถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการวิจัยและรายละเอียด
ต่างๆตามที่ระบุในเอกสารข้อมูลสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยซึ่งผู้วิจัยได้ให้
ไว้แก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้าเข้าใจคำอธิบายดังกล่าวครบถ้วนเป็ นอย่างดีแล้ว
และผู้วิจัยรับรองว่าจะตอบคำถามต่างๆ ที่ข้าพเจ้าสงสัยด้วยความเต็มใจ ไม่
ปิ ดบังซ่อนเร้นจนข้าพเจ้าพอใจ
ข้าพเจ้าเข้าร่วมโครงการวิจัยนีโ้ ดยสมัครใจและมีสิทธิที่จะบอกเลิกการ
เข้าร่วมในโครงการวิจัยนีเ้ มื่อใดก็ได้ และการบอกเลิกการเข้าร่วมการวิจัยนี ้
จะไม่มีผลต่อการรักษาโรคที่ข้าพเจ้าจะได้รับต่อไปผู้วิจัยรับรองว่าจะเก็บ
ข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับตัวข้าพเจ้าเป็ นความลับ และจะเปิ ดเผยได้เฉพาะในส่วน
ที่เป็ นสรุปผลการวิจัย การเปิ ดเผยข้อมูลของข้าพเจ้าต่อหน่วยงานต่างๆที่
เกี่ยวข้องต้องได้รับอนุญาตจากข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าได้อ่านข้อความข้างต้นแล้วมีความเข้าใจดีทุกประการและได้ลง
นามในเอกสารแสดงความยินยอมนีด
้ ้วยความเต็มใจกรณีที่ข้าพเจ้าไม่สามารถ
อ่านหรือเขียนหนังสือได้ ผู้วิจัยได้อ่านข้อความในเอกสารแสดงความยินยอม
ให้แก่ข้าพเจ้าฟั งจนเข้าใจดีแล้วข้าพเจ้าจึงลงนามหรือประทับลายนิว้ หัวแม่
มือของข้าพเจ้าในเอกสารแสดงความยินยอมด้วยความเต็มใจ
22
ลงนาม........................................................................ผู้ยินยอม
(....................................................................)
ลงนาม........................................................................พยาน
(.....................................................................)

หมายเหตุ : กรณีที่ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยให้ความยินยอมด้วยการ
ประทับลายนิว้ หัวแม่มือขอให้มีพยานลงลายมือชื่อรับรองด้วย

23

You might also like