You are on page 1of 9

IAA's Trainees 5 กรกฎาคม 2558

RISK ON vs RISK OFF


Greece Debt Crisis : Bail-Out & Bail-in, Exit or Dead-end?

Image by twitter : @bsindia

วิกฤตหนี้ของกรีซ : อุ้มต่อหรือจะถึงทางตัน ?

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีประเด็นร้อนที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจและจับตามองถึงผลลัพธ์ที่จะออกมา
นั่นคือ ประเด็นวิกฤตหนี้ของกรีซ ซึ่งในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ประเด็นปัญหาสภาวะหนี้ของประเทศกลุ่มสหภาพ
ยุโรป โดยเฉพาะ สเปน โปรตุเกส อิตาลี ไอร์แลนด์ และกรีซ หรือกลุ่ม PIIGS ส่อเค้ารุนแรงขึ้นและมีแนวโน้ม
ว่าอาจจะมีบางประเทศที่ต้องยอมผิดนัดชำระหนี้และถึงกับล้มละลายและต้องออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพ
ยุโรปได้ โดยในช่วงปลายปี 2553 (2010) หนึ่งในประเทศที่มีปัญหาหนี้มากที่สุดคือกรีซ ซึ่งในช่วงนั้นความ
เชื่อมั่นจากเจ้าหนี้เริ่มลดน้อยลงในขณะที่อันดับเครดิตของประเทศถูกปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเส้นอัตรา
ผลตอบแทนพันธบัตรของกรีซ สะท้อนถึงความกังวลจากทั้งเจ้าหนี้และนักลงทุน โดย หรืออัตตราผลตอบแทน
พันธบัตรอายุ 10 ปี พุ่งขึ้นมากกว่า 35% ในช่วงปลายปี 2554 (2011) (ดูกราฟ 1 – เส้นอัตราผลตอบแทน
พันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี) ส่งผลให้ต้นทุนทางด้านการกู้ยืมของกรีซเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากโดยปริยาย และมีผล
ต่อเครดิตในการกู้ยืมเงินของรัฐบาลเพื่อที่จะเอาเม็ดเงินก้อนใหม่มา Refinance หนี้ก้อนเดิม จนทำให้กรีซ
ต้องพึ่งพาเงินกู้ยืมจาก EU และ IMF เพื่อพยุงวิกฤตหนี้ของประเทศตั้งแต่ปี 2553 (2010) และต่อด้วยการกู้
ยืมชุดใหม่ในปีถัด ๆ ไป

Greece Debt Crisis 1


IAA's Trainees 5 กรกฎาคม 2558

จากเหตุการณ์ด้านวิกฤตหนี้ของกรีซดังกล่าว สมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน หรือ IAA


โดยทีมงาน IAA’s Trainees Gen#1 ได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข่าวต่างๆ และรวมถึง
การวิเคราะห์ เพื่อเชื่อมต่อลำดับภาพเหตุการณ์ปัญหาเศรษฐกิจของกรีซ ซึ่งมีความซับซ้อนและ
แฝงด้วยปัจจัยและมุมมองต่างๆ หลายด้านมานำเสนอให้กับสมาชิกและท่านผู้ที่สนใจติดตาม
ได้รับข่าวสารที่เป็นประโยชน์

กราฟ 1 - – เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี
40.0

30.0

20.0

10.0

0.0
3/7/05 2/3/06 1/4/07 12/5/07 11/4/08 10/5/09 9/3/10 8/4/11 7/4/12
% Italy Spain Ireland Greece Portugal

Source : Bloomberg, HSBC

Greece Debt Crisis 2


IAA's Trainees 5 กรกฎาคม 2558

มารู้จัก EURO ZONE !!


ยูโรโซน(Eurozone)เริ่มจัด
ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2542
(ค.ศ.1999) เป็นกลุ่มประเทศที่ตกลง
จะใช้เงินสกุลยูโร (Euro) เป็นร่วม
กันและเป็นเงินสกุลเดียวที่ชำระหนี้
ไ ด้ ต า ม ก ฎ ห ม า ย โ ด ย ปั จ จุ บั น
ประกอบด้วยประเทศในยุโรป 19
ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม
ไซปรัส เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส
เยอรมนี ไอร์แลนด์ อิตาลี ลิทัวเนีย
ลั ก เ ซ ม เ บิ ร์ ก ลั ต เ วี ย ม อ ล ต า
Image by www.youngmanblog.com เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สโลวาเกีย
สโลวีเนีย สเปน และกรีซ

เงื่อนไขในการเข้าเป็นสมาชิก
ยูโรโซน โดยสังเขป ดังนี้
การรวมกลุ่ม EURO ZONE ทำให้เกิดอะไรขึ้น?
1) สามารถรักษาเสถียรภาพราคา คือ
ก า ร ร ว ม ก ลุ่ ม นี้ ทำ ใ ห้ ป ร ะ เ ท ศ ส ม า ชิ ก ต้ อ ง ใ ช้
อัตราเงินเฟ้อสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ
นโยบายทางการเงิน อัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยน สมาชิกที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำที่สุด 3
ร่วมกัน ในขณะที่แต่ละประเทศสามารถกำหนดนโยบาย ลำดับแรกไม่เกิน 1.5%
การคลังได้เอง เช่น การเก็บภาษี การใช้จ่ายงบประมาณ
ของรัฐ นั่นคือรัฐบาลทำได้แค่เพิ่มหรือลดภาษี กับเพิ่มการ 2) มีระบบการคลังสาธารณะที่ยั่งยืน
คือ ขาดดุลงบประมาณได้ไม่เกิน 3%
ใช้จ่ายของรัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจเท่านั้น ไม่สามารถลด
ของ GDP และหนี้สาธารณะไม่เกิน
ค่าเงินเพื่อทำให้สินค้าที่ผลิตในประเทศถูกลงเมื่อเปรียบ
60% ของ GDP
เทียบกับคู่ค้า (ซึ่งเงื่อนไขของการเข้าเป็นสมาชิกในกลุ่ม
Euro Zone นี่เองที่ขัดแย้งกันในทางปฏิบัติ และเป็นส่วน 3) คงระดับอัตราแลกเปลี่ยนอย่างมี
หนึ่งของวิกฤตหนี้ในยุโรปนี้ เหตุเพราะพื้นฐานของ เสถียรภาพ และกำหนดอัตรา
ดอกเบี้ยระยะยาวที่ใกล้เคียงกัน1
เศรษฐกิจสมาชิกแตกต่างกันอย่างมาก) โดยนโยบายการ
เงินของสมาชิกอยู่ในความรับผิดชอบของธนาคารกลาง
ยุโรป (European Central Bank: ECB) ซึ่งงานหลักของ
ธนาคารกลางยุโรป คือ รักษาเงินเฟ้อให้อยู่ภายใต้การ
ควบคุม

1
เรียบเรียงโดย: สำนักบริหารกิจการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (27 กันยายน 2555

Greece Debt Crisis 3


IAA's Trainees 5 กรกฎาคม 2558

อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขหรือเกณฑ์ดังกล่าวยืดหยุ่นได้บ้าง โดยพิจารณาแนวโน้มในอนาคตว่า


โอกาสที่แต่ละประเทศจะมีโอกาสปรับตัวเข้าสู่เกณฑ์ในที่สุด
หลังจากที่ประเทศในสหภาพยุโรปได้รวมกันจัดตั้ง Euro Zone เมื่อปีพ.ศ. 2542 (ค.ศ.
1999) ประเทศกรีซก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก Euro Zone เมื่อปีพ.ศ.2544 (ค.ศ. 2002) โดยได้ยกเลิก
การใช้สกุลเงินดรัคมา (Drachmas:GRD) ซึ่งเป็นสกุลเงินเดิมของประเทศ และเปลี่ยนมาใช้สกุลเงิน
ยูโร (Euro:EUR) อย่างเป็นทางการ

จากกราฟเส้นอัตราผลตอบแทนของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปด้านล่างแสดงให้เห็นว่า
(กราฟ 2– เส้นอัตราผลตอบแทนของกลุ่ม Euro Zone) พื้นฐานทางเศรษฐกิจและต้นทุนทางการกู้ยืม
ของกรีซอยู่สูงกว่าประเทศสมาชิกอื่นอยู่มาก จนเมื่อกรีซเข้าร่วมเป็นสมาชิกในปีพ.ศ.2544 (ค.ศ. 2002)
ทำให้ได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกลุ่ม Euro Zone และสามารถออกตราสารหรือทำการกู้ยืมได้ด้วย
ต้นทุนที่ต่ำ แต่หากมองย้อนกลับไปก่อนการเข้าร่วมสหภาพยุโรปนั้น จะเห็นได้ว่าพื้นฐานทางด้าน
เศรษฐกิจของกรีซนั้นย่ำแย่มาก่อนหน้า และการเข้าร่วมกลุ่มสหภาพยุโรปนั้นทำให้กรีซได้ประโยชน์ทาง
ด้านต้นทุนทางการเงินในช่วง 10 ปี (พ.ศ.2542-2552) (ค.ศ.1999-2009) ซึ่งในช่วงระยะเวลานี้ กรีซไม่
สามารถแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจของตนเองได้ ไม่สามารถบริหารงบประมาณและรายรับ
รายจ่ายได้ตามแผน ในขณะเดียวกันมูลหนี้ของกรีซได้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2

กราฟ 2 – แสดงเส้นอัตราผลตอบแทนของกลุ่ม Euro Zone (ตั้งแต่ 1993-2012หรือ


พ.ศ.2536-2555)

Source : ECB

2
IAA's Analysis

Greece Debt Crisis 3


4
IAA's Trainees 5 กรกฎาคม 2558

ย้อนรอยความเป็นมาก่อนวิกฤตหนี้สินกรีซ

นับตั้งแต่สมัยฟื้นฟูประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2517 หลังโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการทหารฝ่ายขวา มาเป็น


รัฐบาลประชาธิปไตย และ ในช่วงเปลี่ยนผ่านขั้วการเมืองกรีซนั้น รัฐบาลต้องการนำประชากรส่วนที่เอียง
ซ้ายและเคยถูกตัดสิทธิต่าง ๆ กลับเข้าสู่เศรษฐกิจกระแสหลัก ซึ่งหนึ่งในมาตรการที่นำมาใช้คือ ประชานิยม
ต่างๆ เช่น หาเงินทุนให้ภาคธุรกิจ สร้างอาชีพ เพิ่มค่าแรง เพิ่มบำนาญ ดูแลผู้สูงอายุรวมทั้งมาตรการทาง
สังคมอื่นๆ

นับจากปี 2517 รัฐบาลกรีซดำเนินนโยบายการคลังขาดดุลมาตลอด และตั้งแต่ปี 2536 สัดส่วนหนี้


สาธารณะของกรีซเพิ่มขึ้นถึง 100 % ต่อจีดีพี (และเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องในปีถัดไป (โปรดดูกราฟ 3 และ 4
ประกอบ – กราฟประกอบเพิ่มเติมจากบทความเดิมของผู้เขียน เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ) นอกจาก
จัดทำงบประมาณขาดดุลต่อเนื่องจนหนี้สาธารณะพอกพูนแล้ว การที่กรีซเป็นเจ้าภาพ กีฬาโอลิมปิกในปี
2547 “ Athens Games 2004” ที่ใช้เงินสูงถึง 1.2 หมื่นล้านยูโร จัดทุกอย่างใหญ่โต แต่ขาดทุนย่อยยับ ก็
เป็นอีกจุดที่ทำให้กรีซกลายเป็นลูกหนี้มีปัญหา3

กราฟ 3 – ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของกรีซ (หรือ GDP)

source : www.tradingeconomics.com

กราฟ 4 – อัตราส่วนหนี้สินต่อ GDP ของกรีซ

source : www.tradingeconomics.com

3ทางสายเปลี่ยนประเทศไทย (5) : มหากาพย์หนี้กรีซภาพหลอนโดย จิตติศักดิ์ นันทพานิช

Greece Debt Crisis 5


IAA's Trainees 5 กรกฎาคม 2558

ภาวะผ่อนคลายชั่วคราวของกรีซ - หลังจากปีพ.ศ.2544 (2001) กรีซได้เข้ารวมกลุ่ม Euro


Zone และเปลี่ยนมาใช้สกุลเงินยูโร จึงทำให้กรีซสามารถกู้ยืมเงินได้สะดวกมากขึ้น สามารถออก
พันธบัตรรัฐบาลในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ เพราะนักลงทุนเชื่อมั่นในเงินยูโร โดยตั้งแต่กรีซได้เป็น
สมาชิก Euro Zone รัฐบาลกรีซก็ใช้เงินอย่างสุรุ่ยสุร่าย ขึ้นเงินเดือนให้ข้าราชการสูงๆ มี
โครงการต่างๆ มากมาย เพราะหาเงินได้ง่ายๆ ด้วยการก่อหนี้ ค่าใช้จ่ายภาครัฐจึงสูงมาก ในขณะ
ที่รายได้จากการเก็บภาษีไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ดังนั้นการบริหารงบประมาณรายรับที่ไม่เป็นไป
ตามเป้าและรายจ่ายที่ไม่สามารถรัดเข็มขัดได้ รวมถึงการประเมินมูลหนี้ที่ผิดพลาด ทำให้กรีซเริ่ม
มีปัญหาหนี้ภาครัฐที่พอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ

ด้วยความที่นักลงทุนให้ความเชื่อมั่น นอกจากนี้วิกฤติเศรษฐกิจโลกในปี
กับเงินยูโร ทำให้ค่าเงินยูโรแข็งค่าซึ่งโดย 2551 ที่เกิดจากซัพไพรม์ (Sub-Prime) ใน
ธรรมชาติแล้วจะส่งผลให้ความสามารถในการ สหรัฐอเมริกา ทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น รัฐ
ส่งออกของประเทศสมาชิกลดลง (เพราะของ มีภาระจ่ายดอกเบี้ยมากขึ้น และเมื่อค่าเงินยูโร
จะแพงเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้า) ซึ่งกรีซที่ แ ข็ ง ค่ า สิ น ค้ า นำ เ ข้ า ก็ ดู เ ห มื อ น ร า ค า ถู ก
กำลังประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ควรที่จะ อุตสาหกรรมในประเทศก็แข่งขันยาก ประกอบ
ลดค่าเงิน (ให้เป็นไปตามกลไกตลาด) เพื่อ กับกรีซพึ่งพารายได้จากการบริการเดินเรือและ
เพิ่มความสามารถในการแข่งขันในสินค้าหรือ การท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยมีแรงงานถึง 60%
บริการที่ส่งออก แต่ในความเป็นจริงแล้วกรีซ อยู่ในภาคบริการ เมื่อเศรษฐกิจโลกทรุดตัว
ไม่สามารถทำอะไรกับค่าเงินได้ จะลดก็ไม่ได้ การค้าโลกลดลงเป็นอย่างมาก อุตสาหกรรม
เพราะเป็นเงินสกุลร่วมที่ใช้ร่วมกันใน Euro เดินเรือและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของกรีซก็ถูก
4
Zone อีกทั้งการดำเนินนโยบายการเงินการ กระทบด้วย
คลังของกรีซก็ไม่คล่องตัวเท่าที่ควร

แล้วกรีซมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ?
ในปีพ.ศ.2552 การขาดดุล ก า ร ล ด ค่ า จ้ า ง ภ า ค เ อ ก ช น เ ป็ น เ ห ตุ ใ ห้
การคลังของกรีซอยู่ที่ 12.7% ของ GDP ซึ่ง ประชาชนนัดหยุดงานทั่วประเทศเพื่อประท้วง
สูงกว่าระดับที่เหมาะสมที่ทางกลุ่มสหภาพ ต่อการลดค่าใช้จ่ายและการเพิ่มภาษี 
ยุโรปกำหนดไว้ถึงประมาณ 4 เท่าตัว  จาก
ในปีเดียวกันนี้ก็ได้มีการบรรลุข้อ
การขาดดุลภาครัฐของรัฐบาลนั้นส่งผลให้หนี้
ต ก ล ง กู้ ยื ม ร ะ ห ว่ า ง ก รี ซ กั บ ก ลุ่ ม ท ร อ
ของภาครัฐของกรีซเพิ่มสูงขึ้นถึง 112.6%
ยกา(Troika) ซึ่งได้แก่ สหภาพยุโรปกองทุน
ของ GDP ในปี 2552 ซึ่งสูงกว่าระดับที่เหมาะ
การเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคาร
สมที่ทางกลุ่มสหภาพยุโรปกำหนดไว้ถึง
กลางแห่งยุโรป (ECB) ซึ่งข้อตกลงดังกล่าว
ประมาณเกือบ 2 เท่าตัว
ประกอบด้วยเงินกู้ทันที 45,000 ล้านยูโรที่จะ
ในปีพ.ศ.2553 รัฐสภากรีซผ่านร่างรัฐ ได้รับในปี 2553 และเงินกู้อื่น ๆ ที่จะได้รับใน
บัญญัติคุ้มครองเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าจะช่วย ภายหลัง ซึ่งคิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 110,000
ลดรายจ่ายภาครัฐลงถึง 48,000 ล้านยูโร ล้านยูโร  โดยมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงถึง 5%
โดยการดำเนินมาตรการหลายอย่าง รวมทั้ง

4
รายงานผลการศึกษาวิจัยเรื่อง “วิกฤติเศรษฐกิจกรีซ” โดยกลุ่มงานวิจัยข้อมูลเศรษฐกิจการค้า
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ(ศวศ.) กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์

Greece Debt Crisis 65


IAA's Trainees 5 กรกฎาคม 2558

กราฟ 5 – สถานะหนี้ของกรีซ และประเภทหนี้ปี 2013

ในปีพ.ศ.2554 กรีซก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ และคาดว่าจะไม่สามารถชำระหนี้


ได้ทันกำหนด ส่งผลให้ธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ ในยุโรปโดยเฉพาะในเยอรมนีและฝรั่งเศส
ซึ่งถือพันธบัตรหรือตราสารหนี้ของกรีซ นอกเหนือจากการเป็นเจ้าหนี้เงินกู้ตรงผ่านโปรแกรมการให้
เงินกู้ต่างๆ เป็นมูลค่าสูงได้รับผลกระทบตามไปด้วย (นับเป็นสองประเทศเจ้าหนี้รายใหญ่ของกรีซ)
ในปีพ.ศ.2555 จากการที่กรีซไม่สามารถแก้ไขปัญหาและส่งผลกระทบต่อประเทศใน Euro
Zone ทำให้รัฐบาลกรีซได้รับการอนุมัติเงินช่วยเหลือระยะสองมูลค่า 130,000 ล้านยูโร และเจ้าหนี้
เอกชนก็ลดหนี้ลง (Hair-cut) ให้ร้อยละ 53.5 โดยครั้งนี้รัฐบาลของประเทศสมาชิกอียู พยายามดึง
ธนาคารและสถาบันการเงินเอกชนเข้ามาร่วมรับภาระด้วย และกำหนดให้รัฐบาลกรีซต้องดำเนิน
นโยบายรัดเข็มขัดด้านการเงินและการคลังอย่างจริงจัง

และในปลายปีเดียวกันนี้ กรีซได้เสนอร่างกฎหมายจัดเก็บภาษีเพิ่มอีก 2,500 ล้านยูโร
(ประมาณ 100,000 ล้านบาท)ระหว่างปี 2556-2557 ภายใต้เงื่อนไขรับความช่วยเหลือจากต่าง
ประเทศ โดยร่างกฎหมายจัดเก็บภาษีเพิ่มเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการตัดลดค่าใช้จ่าย มูลค่า 13,500
ล้านยูโร (ราว 540,000 ล้านบาท) เป็นเวลา 2 ปี เพื่อให้สามารถรับความช่วยเหลืองวดใหม่จาก
สหภาพยุโรป (EU) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
โดยธนาคารกลางกรีซ ประเมินว่า การลดค่าใช้จ่ายและขึ้นภาษีจะทำให้เศรษฐกิจกรีซปีหน้า
ถดถอยเป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน เศรษฐกิจจะหดตัวรวมร้อยละ 24 โดยกรีซจะต้องดำเนินมาตรการต่างๆ
เพื่อให้ได้เงินกู้ก้อนใหม่ 14,700 ล้านยูโร (ราว 588,000 ล้านบาท) ภายในสิ้นเดือนมีนาคม (2556)
เพื่อเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้และการประสบภาวะล้มละลาย

Greece Debt Crisis 7


IAA's Trainees 5 กรกฎาคม 2558

ในปีพ.ศ.2556 เจ้าหนี้กลุ่มทรอยกา (TROIKA) ระบุว่า การกอบกู้เศรษฐกิจของกรีซดำเนินไป


อย่างเชื่องช้าและไม่แน่นอน โดยในการประชุมของกลุ่มรัฐมนตรีคลังยูโรโซนที่กรุงบรัสเซลล์ มีข้อ
ตกลงการมอบเงินช่วยเหลือกรีซจำนวน 2,500ล้านยูโร จากกองทุนช่วยเหลือยูโรโซน กับอีก 1,500
ล้านยูโรจากธนาคารกลางยุโรป จากนั้นภายในเดือนตุลาคมจะมีการโอนเงินจากกองทุนช่วยเหลือยูโร
โซน และ ECB แหล่งละ 500 ล้านยูโร ส่วน IMF จะมอบเงินกู้งวดแรก 1,800 ล้านยูโร จากทั้งหมด
6,800 ล้านยูโร
โดยในขณะนั้น มีเจ้าหน้าที่รัฐหลายพันคนรวมตัวชุมนุมประท้วงแผนการปรับลดเจ้าหน้าที่รัฐ
ตามเงื่อนไขเงินกู้ของทรอยกา เนื่องจากเห็นว่ากรีซมีอัตราว่างงานมากเกือบร้อยละ 30 และมาตรการ
รัดเข็มขัดโดยการปลดเจ้าหน้าที่รัฐจะเป็นการซ้ำเติมปัญหาและทำให้คนยากจนลงไปกว่าเดิม

ในปีพ.ศ.2557 กรีซและเจ้าหนี้ก็ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ ทั้งนี้ รัฐบาลกรีซต้องชำระ


หนี้พันธบัตรมูลค่า 1,850 ล้านยูโร (ราว 79,000 ล้านบาท) ภายในต้นเดือนมกราคมปี2558

ในดือนมกราคม 2558 นายอเล็กซิส ซิปราส ผู้นำพรรคไซริซา (Syriza) ได้ขึ้นมาดำรงตำแหน่ง


นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของกรีซ โดยนโยบายของพรรคไซริซาคือ จะต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัด ซึ่งเป็น
เงื่อนไขที่ชาวกรีกต้องแบกรับ แลกกับเงินกู้ช่วยเหลือจากนานาชาติ ซึ่งอาจทำให้เกิดความขัดแย้งใน
อนาคตระหว่างกรีซกับกลุ่มเจ้าหนี้ได้

เดือนกุมภาพันธ์ 2558 มีการประชุมระหว่างรัฐมนตรีคลังของกรีซกับประเทศยูโรโซน แต่ก็ไม่มี


ความคืบหน้าใด

เดือนมีนาคม 2558 ทางการสหภาพยุโรปได้เปิดการหารือกับนายกรัฐมนตรีกรีซ เกี่ยวกับการ


จัดการปัญหาหนี้ของกรีซ โดยสมาชิกอียูหลายประเทศรวมทั้งเยอรมนียืนกรานหนักแน่นว่ากรีซจะต้อง
ทำตามเงื่อนไขของอียูอย่างเคร่งครัด โดยอียูได้ตัดสินใจขยายเวลาเงินกู้มูลค่า 240,000 ล้านยูโรให้
กับกรีซ ซึ่งยอมยืดกำหนดเวลาชำระหนี้ของกรีซออกไปอีก 4 เดือน (จากที่ครบกำหนดในเดือนพ.ค.
เป็นวันที่ 30 มิ.ย.2558)

เดือนพฤษภาคม 2558 กรีซกับเจ้าหนี้ยังไม่สามารถตกลงกันได้เรื่องเงินกู้มูลค่า 7,200 ล้าน


ยูโร ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายของแพ็กเกจเงินช่วยเหลือ 240,000 ล้านยูโร โดยเจ้าหนี้ปฏิเสธที่จะอนุมัติเงิน
ก้อนดังกล่าว

เมื่อต้นเดือนมิถุนายน เจ้าหนี้เสนอแผนปฏิรูปให้กรีซ คือ ลดการใช้จ่ายในส่วนต่างๆ ลง และ


ขึ้นภาษีเพื่อหารายได้เข้ารัฐ แต่นายกรัฐมนตรีกรีซก็ยังไม่ยอมรับข้อเสนอของเจ้าหนี้ ในวันที่ 27
นายกรัฐมนตรีกรีซประกาศใช้มาตรการลงประชามติซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 5 ก.ค. นี้ เพื่อพิจารณาว่า กรีซ
ควรรับข้อเสนอให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อกู้วิกฤตหนี้หรือไม่ ซึ่งหากว่ากรีซทำตามเเผนปฎิ
รูปการเงิน กลุ่มเจ้าหนี้ทั้งสหภาพยุโรปและ ECB จะยืดเวลาช่วยเหลือไปอีก 5 เดือน เเละกลุ่มเจ้าหนี้ก็
พร้อมที่จะขยายวงเงินช่วยเหลือทางเศรษฐกิจงวดต่อไปเป็น 15,000 ล้านยูโร โดยพร้อมอนุมัติเงิน
ทันที 1,800 ล้านยูโร แต่นายกฯกรีซยังยืนยันไม่ทำตามข้อเสนอ เเม้จะต้องชำระหนี้กว่า 1,600 ล้าน
5
ยูโรให้กับ IMFภายในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ก็ตาม

5ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ คอลัมน์ “ย้อนรอย วิกฤตการณ์มหากาพย์ "ปัญหาหนี้กรีซ" สะเทือน


เศรษฐกิจโลก (29 มิถุนายน 2558)”

Greece Debt Crisis 8


7
IAA's Trainees 5 กรกฎาคม 2558

Greece Referendum : โหวต “Yes” or “No” ?

ผลโหวตจะเป็นตัวชี้อนาคตของกรีซในระยะยาวข้างหน้า
สถานการณ์ล่าสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2558 รัฐบาลกรีซยังไม่ชำระหนี้ให้กับ IMF และจะรอผลการ
ลงประชามติการโหวตรับเงื่อนไขในการปฏิรูปเศรษฐกิจหรือไม่ ในวันอาทิตย์ที่ 5 ก.ค.นี้ ข้อเสนอใน
การปฏิรูปเศรษฐกิจที่เจ้าหนี้ยื่นให้กรีซ เช่น

• ปรับลดค่าใช้จ่ายลงอีก โดยการปรับลดเงินบำเหน็จบำนาญและค่าจ้างในภาครัฐ เจ้าหนี้


ต้องการให้กรีซตัดงบที่ใช้จ่ายไปกับสิทธิประโยชน์พิเศษที่รัฐจ่ายให้แก่ผู้รับบำเหน็จบำนาญ
บางกลุ่มที่มีรายได้น้อย

• ให้กรีซขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ครอบคลุมภาคธุรกิจต่างๆ ให้กว้างมากยิ่งขึ้น โดยขึ้นภาษียา


รักษาโรค ค่าไฟฟ้า โรงแรมและภัตตาคาร

• ให้กรีซแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน

ทำไมการช่วยเหลือจาก IMF และเจ้าหนี้อื่น ๆ จึงยังไม่สำเร็จ...? กรีซมีทางออกอย่างไรในการหลุด


พ้นจากภาวะวิกฤตนี้ ล่าสุดมีข่าวว่าทางเยอรมนีเสนอให้กรีซ ออกจากการเป็นสมาชิก Euro Zone
ได้ชั่วคราว ซึ่งอาจจะเป็นทางเลือกหนึ่ง หากเจ้าหนี้ต่างๆ ไม่เพิ่มเงินกู้รอบใหม่ให้กรีซ หรือไม่ยอม
Bail-out แล้ว ส่วนทางเลือกที่เป็นข้อเสนอจากทางนายกรัฐมนตรีกรีซ คือ การขอลดหนี้ (Hair-cut)
ลง 30% และการหยุดพักชำระหนี้ชั่วคราว (หรือระยะยาว) ก็อาจจะเป็นอีกทางเลือกด้วย ที่จะช่วยให้
กรีซได้ปรับตัวกับด้าน รายรับ-รายจ่ายอีกรอบ แต่ก็คงต้องมีข้อพิจารณาอื่นๆ ประกอบอีกมากมาย
และไม่น่าจะผ่านความเห็นของบรรดาเจ้าหนี้ต่าง ๆ อย่างง่ายดายด้วย หลังจากเจ้าหนี้ได้บทเรียนของ
การทำ Hair Cut หรือ Bail-in มาแล้ว IAA จะนำเรื่องราวมาเล่าที่น่าสนใจให้สมาชิกและท่านผู้อ่าน
ในฉบับต่อไป

ขอขอบพระคุณสำหรับแหล่งที่มาของข้อมูลต่าง ๆ และคอลัมนิสต์ทุกท่าน สำหรับบทความที่เป็นประโยชน์


และทำให้ IAA สามารถรวบรวมข้อมูล ประเด็นและสาระที่น่าสนใจไว้ในสรุปรายงานนี้

Greece Debt Crisis 9


7

You might also like