You are on page 1of 18

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง
แนวทางการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครู โดยใช้เทคนิค GPAS 5 Steps
รายวิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)

โดย
นางสาวสุกัญญา รอดระกำ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง แนวทางการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครู
โดยใช้เทคนิค GPAS 5 Steps รายวิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
ผู้วิจัย นางสาวสุกัญญา รอดระกำ
ปีการศึกษา 2565
*****************************************************************************
การศึกษาครั้งนี้เป็นแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ
มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่ อศึกษาสภาพการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครู โดยใช้
เทคนิค GPAS 5 Steps รายวิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2. เพื่อกำหนดแนวทางการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครู โดยใช้
เทคนิค GPAS 5 Steps รายวิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ
1. ครูผู้สอนวิชาพระพุทธศาสนาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
จำนวน 4 คน
2. นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) จำนวน 152 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่
1. แบบสอบถามสภาพการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครู โดยใช้
เทคนิค GPAS 5 Steps รายวิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2. แบบสัมภาษณ์แนวทางการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครู โดยใช้
เทคนิค GPAS 5 Steps รายวิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ
1. ค่าร้อยละ
2. ค่าเฉลี่ย (Mean)
3. ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการ
สอนของครู โดยใช้ เทคนิค GPAS 5 Steps รายวิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้ นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ
ดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และกำหนดแนวทางการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอน
ของครู โดยใช้เทคนิค GPAS 5 Steps รายวิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบดินทร
เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) โดยสรุปประเด็นสำคัญในการอภิปรายผลตามวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้
1. การศึกษาสภาพการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครู โดยใช้
เทคนิ ค GPAS 5 Steps รายวิ ช าพระพุ ท ธศาสนา ระดั บ ชั ้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ท ี ่ 2 โรงเรี ย นบดิ น ทรเดชา
(สิงห์ สิงหเสนี) มีการปฏิบัติในระดับมากทุกด้าน ทั้งนีเ้ นื่องมาจากธรรมชาติที่สำคัญอย่างยิ่งของกลุ่มสาระการ
เรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เห็นได้ชัดเจนอยู่ 3 กรณี คือ 1) เป็นวิชาที่กว้างครอบคลุมศาสตร์
หลายแขนง 2) เป็นวิชาที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเนื้อหาองค์ความรู้ให้ทันสมัยทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา
และ 3) มีความรู้กว้างขวางโดยผ่านการใช้แหล่งข้อมูลในการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้ง
เนื้อหาและการข้ามเวลาซึ่งเหมาะอย่างยิ่ งในการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้แก่ผู้เรียนได้นําความรู้ไป
พัฒนาตนเองและใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
2. การกำหนดแนวทางการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการ
จัดการเรียนการสอนของครู โดยใช้ เทคนิค GPAS 5 Steps รายวิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
2 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ทางคุณธรรมจริยธรรม
ภาพรวมจะเห็นได้ว่าครูจำนวนไม่น้อยยังมีความรู้ความเข้าใจในการกำหนดวัตถุประสงค์ทางคุณธรรมจริยธรรม
ไม่เพียงพอ ควรพัฒนาครูให้มีการอบรมและพัฒนาอย่างสม่ำ เสมอเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจในด้านจิตวิทยา
ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม จากผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่าครู
ส่วนใหญ่มีการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการที่หลากหลายสอดแทรกกับ
เนื้อหา และออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสม ด้านการวัดและประเมินผลผู้เรียนจากกิจกรรมการเรียนการสอน
ครูเป็นผู้ประเมินเป็นหลักส่วนใหญ่ใช้แบบทดสอบแบบสังเกตพฤติกรรมเดี่ ยวและกลุ่ม และประเมินผลจาก
ชิ้นงาน
1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
มีคำกล่าวว่าการเป็น “ครู”มีหน้าที่สอนคน ไม่ใช่เฉพาะ “สอนหนังสือ” ซึ่งหมายความว่าคนที่เป็น
“ครู” มีหน้าที่อบรมสั่งสอนคุณธรรม จริยธรรมให้นักเรียนเป็นคนดี ในการจัดการเรียนการสอน นอกจากครู
จะต้องสอนเนื้อหาสาระวิชาต่างๆ ให้แก่นักเรียนแล้ว หน้าที่อีกอย่างหนึ่งของครูก็คือการอบรม สั่งสอน
คุณธรรม จริยธรรมต่างๆ ให้แก่นักเรียน การสอนคุณธรรม จริยธรรมนั้น ครูสามารถสอนได้ทุกที่ ทุกเวลา
โดยเฉพาะในขณะที่ จ ั ด กิจ กรรมการเรี ย นรู้ ครูควรสอนคุ ณธรรม จริ ยธรรมควบคู่ กั บเนื้ อหาสาระด้ ว ย
เพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าและความสำคัญของการมีคุณธรรม จริยธรรม ดังที่ อาภรณ์ ใจเที่ยง ( 2552:128)
กล่าวว่าเป็นหน้าที่ของครูทุกคนในการอบรมบ่มนิสัยนักเรียน ควบคู่กับการให้ความรู้ ที่เรียกว่า “ความรู้
คู่คุณธรรม” ในการสอนทุกครั้งครูควรสอดแทรกคุณธรรมหรือคุณค่าความเป็นคนให้แก่นักเรียนไม่ใช่มุ่งแต่
ให้นักเรียนได้รับความรู้เท่านั้น เพราะคุณธรรมเป็นสิ่งบ่งบอกถึงคุณค่าของความเป็นคน การสอนให้นักเรียน
มีความรู้คู่คุณธรรมจะตรงกับหลักปรัชญาของโรงเรียนและความหมายของหลักสูตร คื อ การจัดประมวล
ประสบการณ์ต่างๆ ให้แก่นักเรียนทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ในทางสร้างสรรค์ทั้งแก่ตนเองและสังคมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
กระบวนการอบรมและเรียนรู้ในปัจจุบันควรมุ่งเน้นคุณค่าในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่
ผู้เรียนที่เป็นเยาวชนกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาโดยเฉพาะระดับมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็ว เป็นช่วงรอยต่อระหว่างวัยรุ่นที่จะก้าวเป็นผู้ใหญ่ในอนาคตอันใกล้ จึงมีการเปลี่ยนแปลงทางด้าน
ร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม ดังนั้นการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเยาวชนในวัยนี้จึงต้องคำนึงถึง
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จะเห็นได้ว่าหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ได้กําหนดให้
พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 8 ประการ ดังนี้ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย
ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ แต่จากการศึกษางานวิจัย
ของ Neeranuch Lualamai (2550:18) การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมยังมีอุปสรรคอยู่มาก คือ ครูไม่เข้าใจ
ว่าคุณธรรมจริยธรรมคืออะไร จึงปลูกฝังได้แต่คุ ณธรรมพื้นฐานทีละตัว เช่น ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ
เป็นต้น แต่ยังไม่สามารถปลูกฝังจริยธรรมนักเรียนในลักษณะรูปแบบหรือการบูรณาการ มีการอบรมสั่ งสอน
ด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม โดยครูส่วนใหญ่เน้นการลงโทษ และการควบคุม และครูไม่รู้หลักการการฝึกอบรม
เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามช่วงวัย และยังมีการเน้นการให้ความรู้ด้านเนื้ อหา เน้นการบอกหนังสือโดย
ละเลยการพัฒนาบุคลิกภาพ และการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีให้แก่เด็ก
ดั ง นั้ น การสอนสอดแทรกหรื อ การสอนบู ร ณาการแบบสอดแทรก (Infusion Instruction)
โดยเทคนิค GPAS 5 Steps เป็นวิธีการหนึ่ งที่ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สามารถการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมเพิ่ มเติมในเนื้อหาหรือความรู้ที่จําเป็นเข้ามาในวิชาที่ ตนเองสอน
เป็นวิธีการที่มีความเหมาะสมต่อการปฏิบัติในรายวิชา เพราะมุ่งเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ตื่ นตัวและเห็น
แก่ประโยชน์ส่วนรวม ครูจึงควรสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอน เพื่อหล่อหลอม
คุณธรรมจริยธรรมนักเรียนให้เป็นคนดีมีคุณภาพอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง สังคม และประเทศชาติ
2. แนวคิดเชิงทฤษฎี
2.1 ความหมายและความสำคัญของคุณธรรมจริยธรรม
คุณธรรม จริยธรรม เป็นสิ่งที่มีในความเป็นมนุษย์ของบุคคลในสังคม เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุข
ซึ่งกล่าวได้ว่า คุณธรรม จริยธรรม มีความสำคัญในการแก้ปัญหาสังคมได้
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (2551 : 7) ได้กล่าวถึงความสำคัญของคุณธรรมและ
จริยธรรม ไว้พอสรุปได้ว่า เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ
จำเป็นต้องมีการปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้งด้านความรู้ และคุณธรรม ซึ่งจำเป็นต้องกระทำตั้งแต่วัย
เด็ก จนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคมในปัจจุบันและอนาคต
ป๋วย อิ้งภากรณ์ (2545 : 3) ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับความสำคัญของคุณธรรม จริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับ
การศึกษาไว้พอสรุปได้ว่า การศึกษาควรมีจุดมุ่งหมาย ต่อไปนี้
1. เพื่อที่จะอบรมนักเรียนให้เป็นมนุษย์ที่ดี มีความซื่อสัตย์สุจริต มีศีลธรรม เป็นพลเมืองดี มีความคิด
ชอบ ทำชอบ ประพฤติชอบ
2. ควรจะอบรมนักเรียน รวมทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัยให้รู้จักใช้ความคิด รู้จักบำรุงสติปัญญาให้เฉียบ
แหลมเพื่อนำมาใช้ประโยชน์แก่ตนและแก่ประชาชน
3. ฝึกนักเรียนให้มีความรู้สำหรับใช้ประกอบอาชีพ โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น
พร้อมได้แสดงทัศนะเพิ่มเติมอีกว่า การศึกษาอบรมดังกล่าวไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในสถานศึกษาเท่านั้น
โดยเฉพาะในหัวข้อที่ 1 ควรจะได้รับการอบรมจากทางบ้าน ข้อนี้สำคัญมาก แม้จะเป็นเรื่องที่รู้ ๆ กันอยู่ แต่
ด้ว ยสมัย ปัจ จุบ ัน พ่อ -แม่ ผู้ป กครอง มักโยนความรับผิดชอบไปให้ค รู อาจารย์ และสถานศึกษา ดังนั้น
สถานศึกษามีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับวิชาการและวิชาชีพตามข้อ 2 และข้อ 3 ผู้ใดได้รับ
การศึกษาในระดับต่ำก็จะได้รับประโยชน์น้อย แต่ถ้าการศึกษาสูงขึ้นไปก็จะได้รับประโยชน์เพิ่มพูนขึ้น แต่หาก
ผู้ใดมีสันดานเลวและบกพร่องในข้อ 1 คือปราศจากความซื่อสัตย์สุจริตและศีลธรรม คุณประโยชน์ที่จะได้รับ
จากข้อ 2 และข้อ 3 ย่อมกลายเป็นโทษ และในบางกรณีย่อมกลายเป็นโทษมหันต์
พระบำรุง ปญฺญาพโล (2555 : 14) ได้กล่าวถึงความสำคัญของคุณธรรมและจริยธรรม ไว้ด้งนี้
คุณธรรมจริยธรรมมีความสำคัญต่อการพัฒนามนุษย์ เพื่อให้มีคุณภาพ ลักษณะอันมาซึ่งความเป็นพลเมืองที่ดี
ความประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีงามตามคำสั่งสอนในศาสนา หรือการประพฤติตามเกณฑ์ที่ถูกต้องทั้งกายวาจา
และใจ อันก่อให้เกิดประโยชน์และความสุขทั้งต่อตนเองและสังคมส่วนร่วม นำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าของ
สังคม เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างคุณธรรมและจริยธรรมให้เกิดมีตัวบุคคลมากที่สุด
คุณธรรม จริยธรรม และที่พึ่งประสงค์ ถือว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนามนุษย์ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่
ในสังคมได้อย่างมีความสุข
กรมวิชาการ (2539 : 15) ได้อธิบาย คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม มีบทบาทสำคัญในชีวิตมนุษย์
หลายประการเช่น
1. ทำหน้าทีเ่ ป็นบรรทัดฐานหรือมาตรฐานของพฤติกรรมทั้งหลาย เป็นตัวกำหนดการแสดงออกว่าควร
ทำหรือไม่ควรทำ ซึ่งจะช่วยกำหนดจุดยืนในเรื่องต่าง ๆ และช่วยประเมินการปฏิบัติของตัวเราและ
บุคคลอื่น
2. ทำหน้าที่เป็นแบบแผนสำหรับการตัดสินใจและแก้ไขข้อขัดแย้งต่าง ๆ ทำให้เขาเลือกทางใดทาง
หนึ่งเพื่อแก้ไขปํญหา เช่น การตัดสินใจปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตแทนที่จะเลือกในทางช่วยเหลือพวก
พ้องหรือปฏิบัติในทางที่ไม่สุจริต
3. ทำหน้าที่เป็นแรงจูงใจหรือผลักดันของบุคคล เช่น คนที่นิยมชมชอบการมีอายุยืนยาว มีสุขภำดี จะ
ผลักดันให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
จริยธรรมนับว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญของมนุษย์ทุกคนและทุกวิชาชีพ หากบุคคลใดหรือวิชาชีพใดไม่มี
จริยธรรมเป็นหลักยึดเบื้องต้นแล้วก็ยากที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จแห่งตนและวิชาชีพนั้น ๆ ที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ
การขาดจริยธรรมทั้งในส่วนบุคคลและในวิชาชีพ อาจมีผลร้านต่อตนเอง สังคมและวงการวิชาชีพในอนาคตอีก
ด้วย ดังจะพบเห็นได้จากการเกิดวิกฤติศรัทธาในวิชาชีพหลายแขนงในปัจจุบัน ทั้งในวงการวิชาชีพครู แพทย์
ตำรวจ ทหาร นักการเมือง ฯลฯ จึงมีคำกล่าวว่าเราไม่สามารถสร้างครูดีบนพื้นฐานของคนไม่ดี และไม่สามารถ
สร้างแพทย์ ตำรวจ ทหา นักการเมือง และนักธุรกิจที่ดีได้ ถ้าบุคคลเหล่านั้นมีพื้นฐานทางนิสัยและความ
ประพฤติที่ไม่ดี
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) (2531 : 3) กล่าวว่า น้ำและอากาศเป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่ว ๆ ไปเป็น
สิ่งจำเป็นต่อชีวิต เพราะ ถ้าขาดน้ำเพียงวันเดียวคนก็แทบตาย ยิ่งขาดอากาศประเดี๋ยวเดียวก็อาจตายหรือไม่ก็
เป็นอัมพาตไป จริยธรรมหล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์และสังคของเราอยู่โดยไม่รู้ตัว แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่อย่าง
หนึ่งระหว่างน้ำและอากาศ กับศาสนาและจริยธรรม คือน้ำและอากาศนั้นคนขาดไปแล้วก็รู้ตัวเองว่าตัวเองขาด
อะไรและต้องการอะไร แต่ศาสนาและจริยธรรมนั้น มีลักษณะประณีตและเป็นนามธรรมมาก จนกระทั่งแม้ว่า
คนจะขาดสิ่งเหล่านี้จนถึงขั้นมีปัญหาเกิดขึ้นแล้วก็ยังไม่รู้ว่าขาดอะไร ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องสร้างความเข้าใจ และ
ชี้แจงอย่างต่อเนื่องให้ตระหนักเห็นคุณค่าและความสำคัญ
ยนต์ ชุมจิต (2546 : 264) ได้อธิบายว่า คุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรมก่อให้เกิดประโยชน์หรือมี
ความสำคัญทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ประโยชน์ตน ทำให้ตนเองมีชีวิตที่สงบร่มเย็น ไม่ต้องเดือดเนื้อร้อนใจ ไม่ต้อง
อยู่อย่างหวาดระแวง เพราะตนเองไม่ได้เบียดเบียนผู้ใด มีแต่จะสร้างประโยชน์สุขให้แก่สังคมและผู้อื่น ทำให้
ตนเองมีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตส่วนตัวและการงานอาชีพ มีความมั่นคงและก้าวหน้า ได้รับการยกย่อง
สรรเสริญเทิดทูนบูชาจากบุคคลทั่วไป ครอบครัวอบอุ่น มีความสุข มีฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคง ประโยชน์ต่อ
สังคมและประเทศชาติ ประโยชน์ต่อสถาบัน เช่น สถาบันครอบครัวของตนได้รับการยกย่องสรรเสริญจาก
บุคคลทั่วไป สถาบันการศึกษาหรือสถาบันที่ประกอบอาชีพธุรกิจมีชื่อเสียง ทำให้บุคคลอื่นศรัทธาเลื่อมใส
สถาบันหรือหน่วยงานที่ตนเองสังกัดมีความเจริญก้า วหน้า ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ทั้งนี้
เพราะสมาชิกทุกคนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรมอันดีงาม ประโยชน์ต่อชุมชน เช่น สังคมได้รับ
ความสงบสุข เพราะทุกคนเป็นคนที่มีคุณธรรม และสังคมได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องรวดเร็ว เพราะสมาชิก
ทุกคนต่างกระทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มความสามารถ ประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง เช่น สถาบันชาติ ศาสน์
กษัตริย์ มีความมั่นคง เพราะประชาชนมีความจงรักภักดีและเห็นความสำคัญของสถาบันดังกล่าวอย่างแท้จริง
และขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติมีความมั่ นคงถาวร เพราะทุกคนมีความรู้ความ
เข้าใจอย่างถ่องแท้ และเต็มใจยึดถือปฏิบัติตาม
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2540 : 1) ได้ศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะทางจิตใจที่จะ
นำไปสู่พฤติกรรมที่ช่วยสร้างเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนให้มีความเก่ง ความดี และมี
ความสุข ซึ่งเกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดโดยเน้นจริยธรรมเป็นสำคัญ เพื่อหาแนวทางในการปลูกฝัง
ค่านิยมและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับเยาวชนและสังคมไทยโดยมุ่งเน้นให้เยาวชนมีคุณลักษณะ ที่พึง
ประสงค์ 5 ประการ ได้แก่
1.ความสนใจใฝ่รู้และสร้างสรรค์ เป็นคุณลักษณะทางจิตใจและพฤติกรรมที่แสดงถึงความ
กระตือรือร้นสนใจใฝ่คิดค้นเสาะแสวงหาความรู้ด้านต่าง ๆ
2.ความมีน้ำใจ เป็นคุณลักษณะทางจิตใจและพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรู้สึกที่ดีที่บุคคลกระทำ
เพื่อผู้อื่นและสังคม ความมีน้ำใจเป็นคุณลักษณะที่เด่นของคนไทยที่ปรากฏอย่างเด่นชัดในสังคมชนบท
ความมีน้ำใจ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเอื้ออาทรต่อกันทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่น่าอยู่ การเปลี่ยนแปลง
ของสังคมเมืองที่เน้นเศรษฐกิจทำให้วิถีชีวิตของคนมีความเร่งรีบและต่อสู้มากขึ้น ซึ่งมีผลต่อการแสดงออกต่อ
กันด้านความมีน้ำใจและปรากฏชัดมากขึ้นในสังคมอุตสาหกรรม หากสังคมไม่ให้ความสนใจในการส่งเสริมด้าน
ความมีน้ำใจอาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ความมีน้ำใจมีพื้นฐานมาจากการรู้จักช่วยเหลือ รับผิดชอบต่อ
ตนเองและการรู้จักเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น รู้สึกเห็นอกเห็นใจอันจะนำมาซึ่งการช่วยเหลือรับผิดชอบต่อ
ตนเองและการรู้จักเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น รู้สึกเห็นอกเห็นใจอันจะนำมาซึ่งการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น
รู้จักแบ่งปันและให้ ตลอดจนเสียสละโดยไม่หวังผลตอบแทน ความมีวินัย เป็นคุณลักษณะทางจิตใจและ
พฤติกรรมที่จ ะช่ว ยให้ส ามารถควบคุมตนเองและปฏิบัติตนตามระเบียบเพื่อประโยชน์ส ุขของส่ว นร่ ว ม
นักจิตวิทยาและนักสังคมวิทยาเชื่อว่าวินัยมีพื้นฐานมาจากวัยแรกของชีวิต มีการเรียนรู้ การเลียนแบบและการ
ฝึกฝนจากบุคคลและสังคมแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน กับการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนเกิด การซึมซับคุณธรรมขึ้น
ภายใน ทำให้เกิดพฤติกรรมจริยธรรมและคุณธรรมของบุคคล ความเป็นไทย เป็นคุณลักษณะทางจิตใจและ
พฤติกรรมที่แสดงถึงการเห็นคุณค่าภาคภูมิใจและสำนึกในความเป็นไปที่มีวัฒนธรรมพร้อมที่จะปฏิบัติ ปกป้อง
อนุรักษ์และสืบทอด อีกทั้งเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ แต่เนื่องจากความเปลี่ยนแปลง
ของสังคมยุคโลกไร้พรมแดน ความเป็นไทยจะยังคงอยู่ยาวนานเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาและอนุรักษ์
ความเป็นไทย จึงต้องช่วยกันปลูกฝังสิ่งที่ดีงามด้านความเป็นไทยสู่จิตใจของเด็กและเยาวชน การบริโภคด้วย
ปัญญาในวิถีชีวิตไทย เป็นการวิเคราะห์และไตร่ตรอง ตัดสินใจเลือกรับหรือกระทำสิ่งใดด้วยความรู้และเข้าใจ
ในประโยชน์และคุณค่าที่แท้จริง การศึกษาไทยควรเน้นในเรื่องการบริโภคด้วยปัญญา แต่ความก้าวหน้าทาง
วัตถุชนิดที่มนุษย์ไม่อาจควบคุมให้อยู่ในหลักการแห่งความพอดีเป็นความเสื่อมทางจิตใจ พฤติกรรมของมนุษย์
ที่แสดงออกมาจึงมีลักษณะของการสร้างความเสื่อมแก่สภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือธรรมชาตินำไปสู่
ความวิปริตของดินฟ้าอากาศ ทุกชีวิตในโลกจึงไร้ความปลอดภัยเพราะความเจริญทางด้านวัตถุแต่ขาดความ
เจริญทางด้านจิตใจ
พระมหาอาจริยพงษ์ (2554 : 15) ได้กล่าวถึงความสำคัญของคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึง
ประสงค์ ไว้ว่า ถือเป็นเครื่องชี้วัดความเจริญและความเสื่อมของสังคม ความสำคัญของคุณธรรมทำให้เกิด
จริยธรรม และค่านิยมที่เหมาะสมส่งผลให้เกิดการปฏิบัติที่ถูกต้องและดีงาม ทำให้เกิดความสุขและความพึง
พอใจกับตนเองและทำให้เกิดความสันติสุขต่อสังคม คุณธรรม สามารถที่จะปลูกฝังกันได้ ซึ่งเมื่อบุคคลเกิด
คุณธรรมอย่างหนึ่งก็จะส่งผลให้เกิดคุณธรรมด้านอื่น ๆ ตามมา คุณธรรม จริยธรรมมีอยู่กับสังคมทุกระดับ เพื่อ
ผลักดันให้สังคมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย แต่คุณธรรม จริยธรรม ของแต่ละสังคมและแต่ละชุมชนก็อาจจะมี
ความแตกต่างกันตามความเชื่อ กาลเวลา ค่านิยม ศาสนา อาชีพ และชนชั้น ดังนั้น คุณธรรม จริยธรรม จึงมี
ลักษณะเป็นพลวัตร มีความเป็นอนิจลักษณะ พร้อมที่จะปรับตนเองให้เข้ากับบริบทของสังคมและชุมชน
ตลอดเวลา
สมเดช สีแสง (2538 : 230) ได้สรุปความสำคัญของคุณธรรมไว้ดังนี้ คุณธรรมเป็นปัจจัยสำคัญที่จะ
เสริมสร้างความสงบสุขและความเจริญให้แก่บุคคลเป็นส่วนตัวและแก่ประเทศชาติเป็นส่วนร่วม ดังในพระบรม
ราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อ
วันที่ 8 กรกฏาคม 2520 ว่า “การที่จะทำงานให้สัมฤทธิ์ผลที่พึงปรารถนา คือ ที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
ด้วยนั้น จะอาศัยความรู้แต่เพียงอย่างเดียวมิได้ จำเป็นต้องอาศัยความสุจริตความบริสุทธิ์ใจ และความถูกต้อง
เป็นธรรมประกอบด้วย เพราะเหตุว่าความรู้นั้นเป็นเสมือนเครื่องยนต์ที่ทำให้ยวดยานเคลื่อนไปได้ประการเดียว
ส่วนคุณธรรมดังกล่าวเป็นเสมือนหนึ่งพวงมาลัยหรือหางเสือ ซึ่งเป็นปัจจัยที่นำพาให้ยวดยานดำเนินไปถูกทาง
ด้วย ความสวัสดี คือ ปลอดภัยจนบรรลุถึงจุดหมายที่พึงประสงค์ ” ที่ว่าคุณธรรมเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะ
เสริมสร้างความสงบสุขและความเจริญให้แก่บุคคลเป็นส่วนตัวนั้นก็เพราะว่า คุณธรรมเป็นเครื่องช่วยให้แต่ละ
คนประสบความสุขความเจริญในหลาย ๆ ทาง เช่น
1.คุณธรรมเป็นเครื่องธำรงศักดิ์ของความเป็นมนุษย์ เราไม่คุณค่าของมนุษย์เป็นตัวเงิน
แต่จะตีค่ากันด้วยคุณธรรม ผู้มีคุณธรรมจะเป็นผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นคนดี เป็นคนมีค่ามาก ส่วนผู้ไร้
คุณธรรมอาจจะถูกประณามว่า “เหมือนมิใช่คน” เป็นคนมีค่าน้อย
2. คุณธรรมเป็นเครื่องเสริมบุคลิกภาพ เช่น “ความซื่อตรง” ทำให้คนมีความสมบูรณ์ในความคิด
และการกระทำ เพราะไม่มีความขัดแย้งกันระหว่างความคิด คำพูด และการกระทำ
3. คุณธรรมเป็นเครื่องเสริมมิตรภาพ เช่น “ความจริงใจ” ทำให้ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นเป็นไป
อย่างราบรื่น คนไม่จริงใจย่อมไม่ได้รับความไว้วางใจ จึงทำให้เสียผลประโยชน์ที่ควรจะได้
4. คุณธรรมเป็นเครื่องสร้างความสบายใจ ซึ่งนอกจากจะสบายใจเพราะการทำแต่สิ่งที่ถูกต้องที่ควร
แล้วยังสบายใจที่ไม่ต้องระแวงระวังในอันตรายที่จะมีมาอีกด้วย เพราะผู้มีคุณธรรมจะเป็นผู้ประพฤติแต่ในทาง
ที่ถูกต้องและไม่ทำผิด
5. คุณธรรมเป็น เครื่องส่งเสริมความสำเร็จและความมั่นคงปลอดภัยในการประกอบอาชีพและ
ดำรงชีวิต
กล่าวได้ว่า คุณธรรม และจริยธรรม มีความสำคัญ เป็นมาตรฐานกำหนดแสดงออกว่าควรทำหรือไม่
ควรทำ ช่วยในการตัดสินใจปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตแทนการปฏิบัติในทางทุจริต ทำให้ตนเองมีความ
สงบสุข มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต ซึ่งคุณธรรม จริยธรรมจะอยู่กับสังคมทุกระดับ เพื่อผลักดันให้สังคมมีความ
สงบสุข และคุณธรรม จริยธรรมของแต่ละสังคม อาจจะมีความแตกต่างกัน ตามความเชื่อ ค่านิยม ศาสนา
อาชีพ ชนชั้น คุณธรรม จริยธรรมมีความเป็นพลวัตร
2.2 แนวทางการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม

ผู้สอน สอดแทรกคุณธรรม/
จริยธรรม

วิธีการสอดแทรก
คุณธรรม จริยธรรม

เก่ง

นักเรียน ดี

มีความสุข

ภาพที่ 1 แนวทางการจัดการสอน สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม

บทบาท หมายถึง พฤติกรรมของบุคคลที่ผู้อื่นคาดหวังว่าจะต้องแสดงออกให้สอดคล้องเหมาะสมกับ


ตำแหน่งหน้าที่การงานบทบาททั่วไปของบุคคล
บทบาทครู ครูเป็นผู้หล่อหลอมให้ลูกศิษย์เป็นคนเก่ง คนดี มีสรรพวิชาสำหรับการประกอบอาชีพ
รู้เท่าทันสิ่งรอบตัว มีจิตใจที่ดีงาม รู้จักผิดชอบชั่วดี มีการใช้วิจารณญาณในการคิดวิเคราะห์ และตัดสินใจใน
สิ่งที่ถูกต้องบนบรรทัดฐานทางศีลธรรมของสังคมไทยและสังคมโลก
วิธีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
1. สร้างการเรียนรู้แบบกัลยาณมิตร ครูมีความใกล้ชิดกับนักเรียน บรรยากาศในการเรียนการสอน
นักเรียนรู้สึกได้ว่าครูให้ ความรัก ความห่วงใย เป็นที่ปรึกษาที่ดี แนะนำในสิ่งที่ถูกต้อง ให้ขวัญกำลังใจ
1. กระทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี ครูวางตัวได้เหมาะสมกับบทบาทและสถานภาพของครู
2. มีการอบรมสั่งสอนอย่างถูกวิธี โดยมุ่งเน้นวิธีสอนตามแนวทางของนักจิตวิทยามานุษยนิ ยม
(Humanistic Psychology) ได้แก่
- เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- เน้นความสำคัญของกระบวนการ (Process) ของการเรียนรู้
- บรรยากาศการเรียนการสอนอบอุ่น
- ส่งเสริมให้นักเรียนอยากรู้อยากเรียน
3. สร้างกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ครูควรมีกิจกรรมใช้สื่อ และ อุปกรณ์ ที่หลากหลายใน
การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งการวัดและประเมินผลที่ไม่ควรวัดเฉพาะความรู้ควรมี
การประเมินการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้วย
ปัญหาในการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
1. ครูส่วนใหญ่ยังใช้วิธีการสอนแบบบรรยายมากกว่าวิธีอื่น
2. ขาดการจัดกิจกรรมประกอบการเรียนการสอนและการใช้อุปกรณ์การสอน
3. ครูส่วนใหญ่ขาดการอบรมวิธีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
4. ครูยังขาดเนื้อหาด้านคุณธรรม จริยธรรม
5. การวัดผลมุ่งการให้คะแนนมิได้ให้ความสนใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ข้อควรคำนึงถึงในการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
การพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม ซึ่งต้องพัฒนาคนทั้ง 3 ด้าน พร้อมกันคือ ด้านพฤติกรรม ด้านจิตใจ
และด้านปัญญา
2.3 แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ GPAS 5 steps
GPAS คือ กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ ซึ่งเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการเรียนรู้แบบ Active
Learning โดยเป็นการเรียนรู้ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community :
PLC) ซึ่ง GPAS นั้นนับว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักเรียนมี วิธีการเรียน ซึ่งจะช่วยผู้เรียนสามารถนำไปเรียนรู้
ด้วยการปฏิบัติจริงได้ จึงนับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มพูนทักษะในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน และทำให้
ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น รวมถึงช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
GPAS นับเป็นขั้นตอนและจุดเน้นในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนนั้น สามารถที่จะสร้างองค์ความรู้
ได้ด้วยตนเอง และสามารถที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติจริงในการแก้ปัญหาสำหรับสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งสิ่งที่ได้
จากกระบวนการเหล่านี้ จะตกผลึกภายในตัวของผู้เรียน และแปรเปลี่ยนเป็นตัวตนและบุคลิกภาพของผู้เรียน
อันจะสะท้อนออกมาในรูปแบบของผลงานต่าง ๆ โดยประกอบด้วยโครงสร้างทักษะกระบวนการคิด 5 ขั้นตอน
ที่มีความสำคัญ อันได้แก่
1. G การรวบรวมและเลือกข้อมูล (GATHERING)
เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถรวบรวมและเลือกเฟ้นข้อมูลสำคัญที่จะนำมาใช้ในการพัฒนานวัตกรรมหรือ
ดำเนินโครงการต่าง ๆ ซึ่งในขั้นนี้ครูผู้สอนจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ที่จะการรวบรวมข้อมูลผ่านประสาท
สัมผัส ตามเป้าหมาย โดยมีการเลือกเฟ้นข้อมูลที่สอดคล้อง มีการบันทึ กข้อมูล และสามารถที่จะดึงข้อมูลเดิม
มาใช้ได้
2. P การจัดกระทำข้อมูล (PROCESSING)
คือการจัดข้อมูล ให้เ กิด ความหมายผ่านการเลื อ กเฟ้น เพิ่มคุณค่า คุณธรรม ค่านิยม ออกแบบ
สร้างสรรค์ และตัดสินใจเลือกเป้าหมายแนวทางที่นำไปสู่ความสำเร็จได้ โดยครูผู้สอนจะต้องออกแบบกิจกรรม
การสอนให้ผู้เรียนอย่างหลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนแยกแยะหรือเฟ้นหาข้อมูลที่จำเป็นได้ เช่น การจำแนก
เปรียบเทียบ การเชื่อมโยง และไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล เป็นต้น
3. A การประยุกต์ใช้ความรู้ (APPLYING)
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ขั้น คือ ขั้นแรก (Applying 1) เป็นขั้นที่ผู้เรียนร่วมกัน วางแผนและลงมือทำ
รวมถึงตรวจสอบแก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ไปสู่ระดับของนวัตกรรม ส่วนขั้นสอง (Applying 2) คือ
ขั้นที่ผู้เรียนสามารถสรุปเป็นความรู้ระดับต่าง ๆ จนถึงระดับหลักการ และสามารถนำเสนอได้อย่างมีแบบแผน
โดยการดำเนินการนั้น ครูผู้สอนจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเลือกข้อมูลที่สอดคล้อง รู้จักความรู้ที่ได้อย่าง
สร้างสรรค์ ขยายขอบเขตความรู้ การวิเคราะห์การสังเคราะห์ ตัดสินใจ และการนำความรู้ไปปรับใช้ ตลอดจน
มีการวิเคราะห์วิจารณ์และแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม
4. S การกำกับตนเอง หรือ การเรียนรู้ได้เอง (SELF–REGULATING)
เป็นการประเมินภาพรวมของนวัตกรรมหรือโครงการเพื่อกำกับความคิดและขยายค่านิยมสู่สังคมและ
สิ่งแวดล้อมให้กว้างขวางขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยครูผู้สอนจะต้องดำเนินการเพื่อให้
ผู้เรียนนั้น มีการตรวจสอบและควบคุมกระบวนการการคิดของตัวเอง การสร้ างค่านิยมการคิดของตัวเอง และ
การสร้างนิสัยการคิดที่เป็นรูปแบบของตัวเอง เป็นต้น
จากการศึกษาความหมายของGPASพบว่า GPAS เป็นกระบวนการคิดขั้นสูง นักเรียนได้ช่วยกันสร้าง
องค์ความรู้ด้วยตนเอง และทำให้ผู้เรียนปฏิบัติได้จริง

3. วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพือ่ ศึกษาสภาพการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครู โดยใช้เ ทคนิค
GPAS 5 Steps รายวิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
2. เพื่อกำหนดแนวทางการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครู โดยใช้
เทคนิค GPAS 5 Steps รายวิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิง
หเสนี)

4. นิยามศัพท์เฉพาะ
คุณธรรม หมายถึง ความดีงามที่ถูกปลูกฝังขึ้นในจิตใจ มีความกตัญญู ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สามัคคี
มีวินัย มีน้ำใจ และ เป็นสุภาพชน เป็นต้น จนเกิดจิตสำนึกที่ดี รู้สึกรับผิดชอบ ชั่ว ดี เกรงกลัวต่อการกระทำ
ความชั่ว โดยประการต่างๆ เมื่อจิตเกิดคุณธรรมขึ้นแล้ว จะทำให้เป็นผู้ มีจิตใจดี และคิดแต่สิ่งที่ดี จึงได้ชื่อว่า
“เป็นผู้มีคุณธรรม”
จริยธรรม หมายถึง การประพฤติปฏิบัติ การกระทำดี ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในจิตใจ ปรากฏเป็นความ
ดีงาม ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ เมื่อความดีงาม มีความกตัญญู ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สามัคคี มีวินัย
มีน้ำใจ และ เป็นสุภาพชน เป็นต้น ถูกแสดงออกทางจรรยา มารยาท การประพฤติปฏิบัติ และการกระทำที่ดี
ตามคุณธรรมที่มีในจิตใจนั้น จึงได้ชื่อว่า “เป็นผู้มีจริยธรรม”
การสอนสอดแทรก (Infusion Instruction) หมายถึง การเพิ่มเติมเนื้อหา สาระ ของวิชาอื่นๆ ที่
จำเป็นเข้าไปในการสอนของอีกวิชาหนึ่ง เป็นการวางแผนการสอน และสอนโดยครูเพียงคนเดียว ในที่นี้คือการ
เพิ่มเติมหรือสอดแทรกเนื้อหาสาระคุณธรรมจริยธรรมเข้าไปใน การสอนรายวิชาสังคมศึกษา
เทคนิคการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Step คือ แนวการจัดการเรียนการสอน โดยใช้วิธีการสืบสอบหรือ
วิธีสอนแบบโครงงาน ประกอบด้วย "การตั้งคำถาม การแสวงหาสารสนเทศ การสร้างความรู้ การสื่อสารและ
การตอบแทนสังคม"
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หมายถึง บุคคลที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หมายถึง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง ภายใต้สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2

5. วิธีดาเนินการ
5.1 ประชาการ
5.1.1 ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนบดินทรเด (สิงห์ สิงหเสนี)
จำนวน 20 คน
5.1.2 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) จำนวน 642 คน
5.2 กลุ่มตัวอย่าง
5.2.1 ครูผู้สอนวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) จำนวน 4 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ
เจาะจง (Purposive sampling)
5.2.2 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) จำนวน 152 คน โดย
การเปิดตารางการหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างของ เครซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970)
5.3 ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ
- การเรียนการสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้เทคนิค GPAS 5 Steps
ตัวแปรตาม
- สภาพการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอน โดยใช้
เทคนิค GPAS 5 Steps
- ปัญหาการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอน โดยใช้
เทคนิค GPAS 5 Steps
กรอบแนวคิด
ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม
การเรียนการสอน
สอดแทรกคุณธรรม - สภาพการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการ
จริยธรรม โดยใช้ จัดการเรียนการสอน โดยใช้เทคนิค GPAS 5 Steps
เทคนิค GPAS 5
Steps
แนวทางการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม
ในการจัดการเรียนการสอน โดยใช้เทคนิค GPAS 5 Steps

5.4 แผนการดำเนินการวิจัย
การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดแผนการดำเนินการวิจัย ไว้ดังนี้
เดือนปี กิจกรรม หมายเหตุ
พ.ค. 65 ศึกษาแนวทางการเรียนการสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการ
จัดการเรียนการสอน
มิ.ย.65 รวบรวมข้อมูลแนวคิดและทฤษฎีจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและ
ออกแบบเครื่องมือ
ก.ค. 65 ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ

ส.ค. 65 เก็บรวบรวมแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง

ก.ย. 65 วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูล

5.5 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 156 คน
โดยผู้วิจัยได้มีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้
1. ติดต่อประสานงาน ครูและนักเรียนโรงเรียนบดินทรเดชา โดยนำแบบสอบถามไปให้ด้วยตนเอง
และนัดวันเก็บข้อมูล
2. เก็บรวบรวมแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง
3. นำแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมาตรวจสอบความสมบูรณ์ พร้อมนำแบบสอบถามมาทำการลง
รหัส เพื่อนำไปประเมินผลของข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์
5.6 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล
5.6.1 ค่าร้อยละ
5.6.2 ค่าเฉลี่ย (Mean)
5.6.3 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
6. ผลการวิจัย
แนวทางการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครูมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่ม
สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สามารถสรุปตามวัตถุประสงค์การวิจัย ได้ดังนี้
5.1 สภาพการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครูมัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมมี 4 ด้าน ดังนี้

ตารางที่ 1 แสดงสภาพการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครู โดยใช้เทคนิค


GPAS 5 Steps รายวิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
สภาพการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม ระดับ
̅
X S.D. ลำดับ
ในการจัดการเรียนการสอน การปฏิบัติ

1. ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ทางคุณธรรม 3.80 0.61 มาก 2


จริยธรรม

2. ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดแทรก 3.82 0.64 มาก 1


คุณธรรมจริยธรรม

3. ด้านการวัดและประเมินผลผู้เรียนจากกิจกรรมการ 3.67 0.80 มาก 3


เรียนการสอน

4. ด้านปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน 3.65 0.73 มาก 4

รวม 3.78 0.70 มาก

จากตารางที่ 1 พบว่า สภาพการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรีย นการสอนของครู โดย


ใช้เทคนิค GPAS 5 Steps รายวิช าพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธ ยมศึ ก ษาปีท ี่ 2 โรงเรียนบดินทรเดชา
(สิงห์ สิงหเสนี) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม
มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ทางคุณธรรมจริยธรรมและ ด้านการวัดและ
ประเมินผลผู้เรียนจากกิจกรรมการเรียนการสอนตามลำดับ
5.2 แนวทางการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครู โดยใช้เทคนิค GPAS
5 Steps รายวิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ผู้วิจัย
ดำเนิน การวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทั้ง 3 แหล่ง ได้แก่ (1) ผลการวิเคราะห์เอกสารแนวทางการ
สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครูมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม
ศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (2) ผลการศึกษาสภาพปัญหาการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการ
เรียนการสอนของครูมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และ (3) จัด
ประชุมกลุ่มโดยผู้เชี่ ยวชาญจำนวน 4 ท่าน เพื่อรับฟังความคิดเห็น และสรุปเป็นแนวทางการสอดแทรก
คุณธรรมจริยธรรมในการเรียนการสอนของครูมัธยมศึกษา ปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม สรุปภาพรวมออกเป็นประเด็น แต่ละด้านได้ดังนี้
5.2.1 ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ทางคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้เทคนิค GPAS 5 Steps
ครูต้องกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ทางคุณธรรมจริยธรรมด้วยตนเอง จากการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้
และตัวชี้วัดการเรียนรู้ของสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้ นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่
สามารถสอดแทรกคุณธรรมจริย ธรรมที่ต้องการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิง
พฤติกรรมของเนือ้ หาที่จัดการเรียนการสอน
5.2.2 ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้เทคนิค GPAS 5
Steps มีขั้นตอนดังนี้ (1) ครูนําเข้าสู่บทเรียนด้วยข่าวคลิปวีดีโอสั้นๆ บทบาทของตัวละครจากโทรทัศน์ หรือ
ภาพยนตร์ รูปภาพ เป็นต้น ซักถามเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือประเด็นทางสังคมที่ เกี่ยวข้องกับบทเรียน เพื่อ
เชื่อมโยงกับคุณธรรมจริยธรรมที่ต้องการสอดแทรกให้กับผู้เรียน (2) ครูใช้กลวิธีการสอนที่หลากหลายในการ
สอดแทรกเนื้อหา โดยสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้ชัดเจน ยกตัวอย่างให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่สอน เน้นการ
วิเคราะห์ปัญหาสถานการณ์ หรือใช้ปัญหาเป็นฐาน ให้ผู้เรียนได้อภิปรายกลุ่ม ไม่มุ่งเน้นการแข่งขัน ให้ผู้เรียน
ตัดสินใจด้วยตนเองและวิเคราะห์คาดการณ์ผลที่ จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจเลือก รวบรวมปัญหาจากข้อมูล
และพิจารณาจากข้อเท็จจริง เป็นการสร้างจิตสํานึกอย่างสม่ ำเสมอ และเหตุผลที่ดีในการประพฤติตนให้เป็น
คนดีตามหลักจริยธรรม หลักการและเหตุผล ผู้เรียนนําเสนอเหตุผลและการตัดสินใจในการเลือกตามมติของ
กลุ่ม หรือของตนเอง เปิดโอกาสให้เพื่อนร่วมชั้นได้ถกเถียง เสนอแนะทางเลือกประกอบการตัดสินใจ เพื่อรับ
ฟังความคิดเห็นของสมาชิกคนอื่น (3) จดบันทึกผลความคิดเห็นทางเลือก เพือ่ นํามาปรับใช้ในชีวิตประจําวัน

7. อภิปรายผล
7.1 การศึกษาสภาพการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครู โดยใช้
เทคนิค GPAS 5 Steps รายวิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิง
หเสนี) มีการปฏิบัติในระดับมากทุกด้าน ทั้งนี้เนื่องมาจากธรรมชาติที่สำคัญอย่างยิ่งของกลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เห็นได้ชัดเจนอยู่ 3 กรณี คือ 1) เป็นวิชาที่กว้างครอบคลุมศาสตร์หลาย
แขนง 2) เป็นวิชาที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเนื้อหาองค์ความรู้ให้ทันสมัยทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลาและ
3) มีความรู้กว้างขวางโดยผ่านการใช้แหล่งข้อมูลในการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้ งเนื้อหา
และการข้ามเวลาซึ่งเหมาะอย่างยิ่ งในการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้แก่ผู้เรียนได้นําความรู้ไปพัฒ นา
ตนเองและใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
7.2 การกำหนดแนวทางการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอดแทรกคุณธรรม
จริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครู โดยใช้เทคนิค GPAS 5 Steps รายวิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ทางคุณธรรม
จริยธรรม ภาพรวมจะเห็นได้ว่าครูจ ำนวนไม่น้อยยังมีความรู้ความเข้าใจในการกำหนดวัตถุประสงค์ท าง
คุณธรรมจริยธรรมไม่เพียงพอ ควรพัฒนาครูให้มีการอบรมและพัฒนาอย่างสม่ำ เสมอเพื่อเพิ่มความรู้ความ
เข้าใจในด้านจิตวิทยา ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้เทคนิค
GPAS 5 Steps จากผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่าครูส่วนใหญ่มีการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการ
เรียนการสอนด้วยวิธีการที่หลากหลายสอดแทรกกับเนื้อหา และออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสม ด้านการวัดและ
ประเมินผลผู้เรียนจากกิจกรรมการเรียนการสอน ครูเป็นผู้ประเมินเป็นหลักส่วนใหญ่ใช้แบบทดสอบแบบ
สังเกตพฤติกรรมเดี่ยวและกลุ่ม และประเมินผลจากชิ้นงาน

8. ข้อเสนอแนะ
8.1 เพือ่ ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ครู ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรนํา
แนวทางการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมที่กล่าวมาข้างต้นไปปรับใช้กับกิจกรรมเสริมหลักสูตร และครอบครัว
เพือ่ ให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
8.2 กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ สามารถนําแนวทางการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมโดยใช้เทคนิค
GPAS 5 Steps มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับรายวิชาของตนได้

9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
9.1 ผลของการวิจัยครั้งนี้ จะเป็นประโยชนสำหรับผู้บริหารการศึกษา ครู และผู้ ที่มีส วนเกี่ยวของ
เพื่อใชเปนแนวทางในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน การปลูกฝง และสงเสริมจริยธรรมใหแกนักเรียน
เพื่อใหผูสําเร็จการศึกษาเปนผูที่เพียบพรอมไปดวยคุณธรรมจริยธรรมอันดีงาม และเป็นทีต่ องการของสังคม
9.2 เพื่อเปนแนวทางในการสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมของครูผู้สอนในรายวิชาอื่นๆ ต่อไป

10. เอกสารอ้างอิง
กรมวิชาการ.(2539).คู่มือการสร้างเครื่องวัดคุณลักษณะด้านจิตพิสัย.กรุงเทพ:โรงพิมพ์คุรุสภา.
ป๋วยอิ้ง ภากรณ์.(2545).ทัศนะว่าด้วยการศึกษา.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลดีมทอง.
พระบำรุง ปัญฺญาพโล (โพธิ์ศรี).(2555).ปัจจัยที่มีผลต่อการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา
วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เขตบางกอกใหม่ กรุงเทพมหานคร.ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การ
บริหารการศึกษา)มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทพเวท์ (ประยุทธ์ ปยุตโต).(2531).ธรรมมะกับการศึกษาของไทย.กรุงเทพมหานคร:คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระมหาอาจริยพงษ์ คำตั๋น.(2554).การปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียน
โรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตจังหวัดนครปฐม.ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยนต์ชุมจิต.(2546).การศึกษาและความเป็นครูไทย.(พิมพ์ครั้งที่2).กรุงเทพมหานคร:โอเดียนสโตร์.
สมเดช มีแสง.(2538).คู่มือการปฏิบัติราชการและเตรียมสอบผู้บริหารการศึกษา.สำนักงานคณะกรรมการ
ประถมศึกษาแห่งชาติ.อุทัยธานี:ม.ป.พ.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.(2540).คู่มือการจัดกิจกรรมและพัฒนาจิตพิสัยในระบบการเรียน
การสอนระดับประถมศึกษา.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์การศาสนา.

*****************

You might also like