You are on page 1of 11

เอมีล เดอร์ไคฮ์ม (Émile Durkheim)

อภิชาติ แสงสว่าง
6536236

เอมีล เดอร์ไคฮ์ม (Émile Durkheim) เป็ นชาวฝรั่งเศส เกิด 15


เมษายน ค.ศ. 1858 ที่เมืองเอปิ นาล ในเขตชนบททางตะวันออกของ
ฝรั่งเศส และเติบโตในครอบครัวที่เคร่งศาสนา บิดาเป็ นหมอสอนศาสนา
ให้กับชาวยิว กลุ่มอนุรักษ์นิยม เดอร์ไคฮ์มเสียชีวิตเมื่ออายุได้เพียง 59 ปี
อันเนื่องมาจากความโศกเศร้าจากการเสียชีวิตของลูกชายของเขาใน
สงคราม

ผลงานชิน
้ สำคัญ

- THE DIVISION OF LABOUR IN SOCIETY (การแบ่งแยกแรงงาน


ในสังคม)
- THE RULES OF SOCIOLOGICAL METHOD (กฎเกณฑ์เกี่ยวกับ
วิธีการทางสังคมวิทยา)
- SUICIDE: A STUDY IN SOCIOLOGY (การฆ่าตัวตาย)
- THE ELEMENTARY FORMS OF THE RELIGIOUS LIFE (แบบ
ฟอร์มเบื้องต้นเกี่ยวกับชีวิตทาง -ศาสนา)

ทฤษฎีสังคมวิทยายุคคลาสสิค
โดยส่วนใหญ่ทฤษฎีสังคมวิทยามักเป็ นทฤษฎีที่ใช้ในการอธิบาย
สังคมในยุคนัน
้ ๆ เช่น ทฤษฎีสังคมวิทยาในยุคคลาสสิค เกิดเหตุการณ์
สำคัญอย่างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในยุโรป เช่น การปฏิวัติฝรั่งเศส
การปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็ นต้น

การแบ่งพื้นฐานการวิจัยแบ่งออกเป็ น 2 แบบใหญ่ๆ

- แนวคิดปฏิฐานนิยม การใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ มีการวัด การ


ประเมิน ตามกรอบความคิดทฤษฎี มีความเป็ นวิทยาศาสตร์
- แนวคิดปรากฏการณ์นิยม ให้ความสำคัญกับมนุษย์ ปั จเจก อัต
ลักษณ์ อธิบายด้วยการตีความเป็ นหลักด้วยหลักการ องค์ความรู้
ทฤษฎี เพื่อนำเสนอผล นำไปสู่การวิจัยเชิงคุณภาพ

เดอร์ไคฮ์มเป็ นนักคิด นักวิชาการที่อยู๋ในกลุ่มโครงสร้างหน้าที่นิยม


กระบวนการวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ โครงสร้างในสังคมแบ่งเป็ นกลุ่มๆ มี
ความหลากหลายของกลุ่ม โดยมีจุดยึดเหนี่ยวที่แตกต่างกันออกไป

ข้อเท็จจริงทางสังคม (SOCIAL FACT)

เดอร์ไคฮ์ม มอง "ข้อเท็จจริงทางสังคม" คือสิ่งที่อยู่ภายนอกตัว


ปั จเจก แต่มีอำนาจบังคับพฤติกรรม
ของปั จเจก เป็ นความเชื่อ เป็ นวิธีการปฏิบัติที่เหมือน ๆ กันของกลุ่มคน
เป็ นสิง่ ที่ปัจเจกต้องกระทำตาม และ
เป็ นสิง่ ที่มีอยู่แล้วก่อนที่ปัจเจกจะแสดงพฤติกรรมนัน
้ เพื่อให้บรรลุเป้ า
หมายอย่างใดอย่างหนึ่ง การปฏิบัตินน
ั้
จะมีลักษณะเหมือน ๆ กันทัง้ สังคม และทุกคนยอมรับได้ โดยเดอร์ไคฮ์ม
ได้แบ่งข้อเท็จจริงทางสังคมออกเป็ น 2 ประเภท คือ
1. ข้อเท็จจริงทางสังคมที่เป็ นวัตถุ (Material Social Fact) ซึง่
สามารถสังเกตได้ในโลกสังคมที่อยู่ภายนอกตัวบุคคล เช่น รัฐบาล
กฎหมาย การตัง้ ถิ่นฐาน การกระจายตัวทางประชากร สถาปั ตยกรรม วิธี
การสื่อสาร ฯลฯ
2. ข้อเท็จจริงทางสังคมที่ไม่ใช่วัตถุ (Non - Material Social
Fact) เป็ นกระบวนการทางความคิดที่อยู่นอกพื้นฐานจิตใจซึ่งแต่ละ
บุคคลซึมซับมากจากสภาพแวดล้อมทางสังคมที่อาศัยอยู่ เช่น มโนธรรม
ร่วม กระแสสังคม
Social fact เกิดขึน
้ จาก 2 องค์ประกอบ คือ

1. โครงสร้าง สิ่งที่เป็ นรูปธรรมที่มีผลในกำหนดพฤติกรรม ประกอบด้วย

1.1 กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ

1.2 องค์กร หน่วยงานที่ทำหน้าที่ใช้กฎหมาย กฎระเบียบ หรือข้อ


บังคับต่าง ๆ

2. พลัง สิ่งที่เป็ นนามธรรมซึ่งมีผลในการยึดเหนี่ยวความเป็ นปึ กแผ่นของ


สังคม ประกอบด้วย

2.1 ศาสนา ความเชื่อของสังคมมนุษย์

2.2 วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่ปฏิบัติกันมา

กฎหมาย
โครงสร้าง
สำนึกร่วม/ องค์กร
มโนธรรม
ร่วม ศาสนา
พลัง
เดอร์ไคฮ์มมองว่า องค์ประกอบของโครงสร้างและพลัง มีจุดร่วมกัน
คือ สำนึกร่วมหรือมโนธรรมร่วม ซึ่งหากไม่มีสิ่งนี ้ เดอไคม์มองว่าจะ
ทำให้สังคมเกิดความแตกแยก ไม่มีบรรทัดฐาน

การแบ่งแยกแรงงานในสังคม (THE DIVISION OF LABOR IN


SOCIETY)

ผลงานชิน
้ นีเ้ ป็ นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเดอร์ไคฮ์ม โดยมีจุดมุ่ง
หมายที่จะตอบคำถามที่ว่าอะไรยึดโยงส่วนต่าง ๆ ของสังคมเข้าด้วยกัน
หรืออีกนัยหนึ่งอะไรยึดโยงปั จเจกบุคคลหลาย ๆ คนเข้าเป็ นสังคม เดอร์
ไคฮ์มใช้ความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงทางสังคมที่เป็ นวัตถุ (Material
social fact) กับข้อเท็จจริงทางสังคมที่ไม่ใช่วัตถุ (Non-material social
fact ในการตอบคำถามนี ้ โดยใช้วิธีสร้างแบบในอุดมคติของสังคมสอง
ประเภทขึน
้ มาศึกษา ได้แก่แบบอุดมคติของสังคมบรรพกาล (traditional
society) กับแบบอุดมคติของสังคมสมัยใหม่ (modern society)

สังคมบรรพกาล

มีลักษณะเป็ นสังคมขนาดเล็ก เป็ นสังคมเกษตรกรรม แต่ละคนใน


สังคมมีหน้าที่การทำงานเหมือน ๆ กันทุกคนจึงมีสถานภาพทางสังคมที่
เหมือน ๆ กัน และมีจุดยึดเหนี่ยวกันด้วยขนบธรรมเนียมประเพณี ด้วย
ศาสนา มีลักษณะของสังคมแบบองค์รวม

สังคมสมัยใหม่
มีลักษณะที่สำคัญคือมีระบบการแบ่งแยกแรงงานที่ชัดเจนสมาชิกใน
สังคมแบบนีท
้ ำงานที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงมากขึน
้ จนกลายเป็ นผู้ที่มี
ความชำนาญพิเศษในแต่ละด้าน เป็ นสังคมที่ต้องพึง่ พาอาศัยซึ่งกันและ
กัน มีความซับซ้อนของสังคมมากขึน

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนผ่านสังคมบรรพกาลสู่สังคมสมัยใหม่ไม่ใช่
เรื่องของเวลาแต่เป็ นเรื่องของบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไปจึงทำให้ใน
ปั จจุบันเองยังคงมีการซ้อนทับกันอยู่ของสังคมบรรพกาลและสังคมสมัย
ใหม่ ตัวอย่างเช่น การดำนาซึ่งมีตงั ้ แต่อดีตจนถึงปั จจุบันก็ยังมีการทำอยู่

รูปแบบพฤติกรรมทางสังคม

- ไร้บรรทัดฐาน เกิดจากความไม่สอดคล้องของพฤติกรรม ความ


แปลกแยกที่เกิดขึน
้ ภายในสังคม
- การถูกบังคับครอบงำ เป็ นสิง่ ที่ติดตัวมาตัง้ แต่เกิด เช่น ทุกคนต้อง
เสียภาษีเพื่อความเท่าเทียม
- ขาดการประสานงาน การเลือกคนไม่ตรงกับงาน

Anomie (ภาวะไร้บรรทัดฐาน)

ตามทัศนะของเดอร์ไคฮ์ม เป็ นสภาวะทางสังคมที่มีการล่มสลาย


หรือการหายไปของ บรรทัดฐานและค่านิยมที่เคยมีร่วมกันในสังคม
แนวคิดที่คิดว่าเป็ น "ความไร้ระเบียบ" เกิดขึน
้ ระหว่างและตามช่วงเวลา
ของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงต่อโครงสร้างทางสังคม
เศรษฐกิจ หรือการเมืองของสังคม

Sucide (การฆ่าตัวตาย)

เดอร์ไคฮ์มให้ความสนใจที่ "การแพร่กระจาย" ของปรากฎการณ์


การฆ่าตัวตายใน "ประชากรกลุ่มหนึ่งๆ หรือสังคมหนึ่งๆ"เพื่ออธิบาย
ลักษณะและสาเหตุทางสังคมของการฆ่าตัวตายจนกลายเป็ นแม่แบบวิธี
การศึกษาปรากฎการณ์ทางสังคม กล่าวคือ เดอร์ไคฮ์มไม่ได้สนใจถึง
เหตุผลในการฆ่าตัวตายแต่มีความสนใจการฆ่าตัวตายในสังคมที่แตกต่าง
กัน

ประเภทของการฆ่าตัวตาย

1. เนื่องจากการยึดถือตัวตน ไม่มค
ี วามรู้สึกผูกพันกับหน่วยสังคมที่
ใหญ่กว่า คำนึงถึงแต่ตัวเองเป็ นหลักไม่ได้สนใจสภาพแวดล้อมทาง
สังคมจนผิดหวัง ไม่ได้รับการตอบสนองท้อแท้กับความเป็ นจริงที่ไม่
ได้เป็ นไปตามที่คาดหวัง
2. เนื่องจากการยึดถือหมู่คณะ ปั จเจกถูกกลุ่มหรือสังคมกดดันกลาย
เป็ นส่วนหนึ่งของกลุ่มอย่างสมบูรณ์ โดยไม่ได้คำนึงถึงสิทธิตนเอง
เช่น สังคมอินเดียในอดีต ภรรยาต้องฆ่าตัวตายตามสามีที่เสียชีวิต
3. เนื่องจากภาวะไร้บรรทัดฐาน ปั จเจกรู้สึกเคว้งคว้าง เป็ นทุกข์ไม่
สามารถตอบสนองความต้องการที่สำคัญในชีวิตจากสภาวะที่ไม่มี
แนวทางชัดเจนเป็ นหลักในกระทำหรือไม่มีการกำกับควบคุมที่
ชัดเจน เช่น ภาวะเศรษฐกิจซบเซา โรงงานถูกปิ ด
4. เนื่องจากกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดมาก ปั จเจกถูกควบคุมบังคับให้ปฏิบัติ
ตามกฎระเบียบของกลุ่มที่เข้มงวดมากจนรู้สึกว่าถูกขัดขวาง
อารมณ์ ความรู้สึก ความต้องการ

รูปแบบเบื้องต้นของชีวิตทางศาสนา (THE ELEMENTARY FORM


OF RELIGIOUS LIFE]

เดอร์ไคฮ์มต้องการจะค้นหาว่าอะไรคือองค์ประกอบร่วมเชิง
ประจักษ์ (the real) หรือลักษณะทางสังคมที่เป็ นสากลของศาสนาทุก
ศาสนา กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเขาต้องการค้นหาทฤษฎีที่ใช้อธิบายลักษณะ
พื้นฐานทางสังคมของศาสนาทุกศาสนานั่นเองโดยวิธีการค้นหาสามัญ
ลักษณะที่มีอยู่ในศาสนาทุกศาสนานัน
้ ต้องใช้วิธีกลับไปคันหาที่รูปแบบ
ดัง้ เดิมที่สุดของศาสนา (the mostprimitive form) ที่ดำรงอยู่ในสังคม
บรรพกาล ด้วยวิธีนเี ้ ท่านัน
้ จึงจะหารูปแบบของศาสนาต้นแบบที่ชัดเจน
ที่สุด โดยไม่ถูกรบกวนด้วยปั จจัยแทรกซ้อนอื่น ๆ ในทัศนะของเดอร์ไคส์ม
แล้วรูปแบบของศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดคือการนับถือโทเทม

โทเทม

เดอร์ไคฮ์มได้ทำการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิเกี่ยวข้องกับลัทธิการ
นับถือโทเทมในชนเผ่าอะบอริจิน ซึ่งเป็ นชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในแถบ
ทวีปออสเตรเลียและชาวอินเดียนแดงซึ่งเป็ นชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ใน
แถบทวีปอเมริกาเหนือ โดยพบว่าโทเทมมีหน้าที่หลักอยู่ 3 ประการ คือ

- เป็ นความศักสิทธิ ตัวแทนของพลัง


- เป็ นสัญลักษณ์กลุ่มวงศ์วาน เช่น สัญลักษณ์ที่สลักลงบนวัตถุต่าง ๆ
รอยสัก
- เป็ นการสร้างความผูกพันแบบเครือญาติโดยไม่ใช่กลุ่มคนในสาย
เลือดเดียวกัน เช่น กลุ่มล่าสัตว์ กลุ่มที่ยอมรับโทเทมลักษณะ
เดียวกัน

จากการศึกษาเกี่ยวกับการนับถือโทเทม เดอร์ไคฮ์ม สรุป องค์ประกอบ


ของทุกศาสนามี 3 ประการ

์ ิทธิและความเชื่อในพลังนัน
- พลังศักดิส ้
- การบัติญัติพิธีกรรม หรือการบูชาสัญลักษณ์/ตัวแทนความศักสิทธิ ์
- การจัตระเบียบของกลุ่มคน เช่น การจัดโครงสร้างของกลุ่มที่นับถือ

เดอร์ไคฮ์มสรุปว่า ต้อกำเนิดของศาสนาอยู่ที่สังคมมนุษย์ หรือจิต


วิญญาณของหมู่เหล่า(collective soul) หรือมโนธรรมร่วม (collective
conscience) ซึ่งเป็ นตัวสร้างสำนึกเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของกลุ่มหรือสังคม
นัน
้ รวมถึงค่านิยม บรรทัดฐานและสัญลักษณ์ที่เป็ นเครื่องแสดงถึงความ
เป็ นปี กแผ่นของสังคมด้วย ดังนัน
้ เวลาที่สมาชิกในสังคมทำความเคารพต่อ
สิ่งศักดิส์ ิทธิใ์ นศาสนาของตนเอง นั่นเท่ากับการที่สมาชิกของสังคมนัน

กำลังทำความเคารพต่อสังคมของตนเองนั่นเอง

สังคมกับศาสนา
เดอร์ไคฮ์มมองว่าสังคมและศาสนามีความสัมพันธ์กัน ศาสนาเกิด
ัง ค
ส ม า ส


จากสังคมมนุษย์ เมื่อคนรวมกลุ่มและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และ


พยายามอธิบายศาสนาด้วยแนวคิดปฏิฐานนิยม อย่างเป็ นวิทยาศาสตร์

ศาสนาเป็ นสิ่งประดิษฐ์ทางสังคม สังคมจะสร้างพระเจ้าตามสิ่งที่มนุษย์


ต้องการ สังคมทำให้เกิดศาสนา และศาสนาเองก็ตัวครอบงำสังคม

เดอร์ไคฮ์มถือเป็ นบุคคลสำคัญคนหนึง่ ที่ได้วางรากฐานที่สำคัญของ


วิชาสังคมวิทยาไว้ 2 ประการ

1.ข้อเท็จจริงทางสังคม (SOCIAL FACT)

2.การศึกษาข้อเท็จจริงทางสังคมต้องใช้วิธีการวิจัยเชิงประจักษ์

การศึกษาข้อเท็จจริงทางสังคมจะต้องถูกศึกษาโดยการใช้วิธีการ
ศึกษาอย่างเป็ นวิทยาศาสตร์ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งไม่ใช่การศึกษาโดย
ใช้กระบวนการทางความคิดเพียงอย่างเดียว แต่ต้องใช้ข้อมูลทางสังคมที่
อยู่ภายนอกขอบเขตของความคิดของผูศ
้ ึกษาด้วย โดยผลงานของเดอร์
ไคฮ์ม ชิน
้ สำคัญ ๆ ที่เขาเขียนขึน
้ มาเป็ นการสนับสนุนความเป็ นจริงทาง
ด้านสังคมวิทยา ด้วยการชีใ้ ห้เห็นว่าข้อเท็จจริงทางสังคมมีอิทธิพลต่อ
พฤติกรรมของบุคคล
อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของแนวคิดของเดอร์ไคฮ์มคือการที่เดอร์
ไคฮ์ม มองสังคมเป็ นแบบองค์รวมกล่าวคือ ส่วนใหญ่เป็ นการวิเคราะห์
สังคมแค่เพียงในภาพรวมเท่านัน

เอกสารอ้างอิง
จิราภา วรเสียงสุข. ๒๕๕๗ (พิมพ์ครัง้ ที่ ๒). ทฤษฎีสังคมวิทยายุค
คลาสสิค. กรุงเทพฯ: จิราภา วรเสียงสุข.

You might also like