You are on page 1of 9

รายงาน

เรื่อง ขั้นตอนการส่องตรวจเม็ดเลือดขาว

จัดทาโดย
นางสาวชะวะระริตา กันธุ 65011410090
นางสาววนิดา มาตย์ศาลา 65011410227
นางสาวพนิตพร อุ่นผาง 65011410127
นางสาวกิตติมา อินทนา 65011410070
นางสาวอรพรรณ ตวงครบุรี 65011410239
นางสาวอารญา นามวงษ์ 65011410177
นางสาวนิลาวรรณ ทองเชื้อ 65011410115
นางสาวกัลยา สีพาติ่ง 65011410069
นางสาวนิสราวรรณ ศรีลางค์ 65011410118
นางสาวขวัญกมล ฉิมนอก 65011410074

เสนอ
อ.ดร.กษมา วงษ์ประชุม

รายงานเล่มนีเ้ ป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา จุลชีววิทยาสาหรับงานสาธารณสุข


ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คานา
รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาจุลชีววิทยาสาหรับงานสาธารณสุข โดยมีจุดประสงค์อธิบาขั้นตอน
การส่องตรวจเม็ดเลือดขาว ซึ่งรายงานเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตเรียนรู้ขั้นตอนการส่องตรวจเม็ด
เลือดขาว คณะผู้จัดทาคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดทารายงานเล่มนี้จะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้ที่
สนใจจะศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนการส่องตรวจเม็ดเลือดขาว เป็นอย่างดี

คณะผู้จัดทา

สารบัญ
เนื้อหา หน้า
คานา ก
สารบัญ ข
ขั้นตอน การส่องตรวจเม็ดเลืดขาว 1-2
การย้อมสี Wright’s Stain 3-4
การส่องกล้องจุลทรรศน์ 5-6
เอกสารอ้างอิง 6
1

ปฏิบัติการที่ 13 การส่องตรวจเม็ดเลือดขาว

ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้


1. การเตรียมสเมียร์เลือด (Blood Smear Preparation)
2. การย้อมสี Wright’s Stain
3. การส่องกล้องจุลทรรศน์

1. การเตรียมสเมียร์เลือด (Blood Smear Preparation)


1.1 วัสดุอุปกรณ์
วัสดุอุปกรณ์สาหรับเจาะเลือดปลายนิ้ว
1) สาลีชุบ 70% แอลกอฮอล์
2) Lancet หรือ เข็มเจาะผิวหนัง
3) Capillary Tube (Sodium Heparin : แถบแดง)
4) ถุงมือ
วัสดุอุปกรณ์สาหรับการเตรียมสเมียร์เลือด
1) สไลด์แก้ว
2) ตัวไถสไลด์
1.2 ขั้นตอนการเจาะปลายนิ้ว
1) ใช้สาลีชุบ 70% แอลกอฮอล์เช็ดฆ่าเชื้อผิวหนังบริเวณที่จะเจาะ รอให้แห้ง
2) ใช้ Lancet หรือ เข็มเจาะผิวหนังบริเวณดังกล่าวในทิศทางที่ทาให้รอยแผลที่เกิดขึ้นตั้งฉาก
กับลายนิ้วมือ ลึกประมาณ 2-3 มม. ปล่อยให้เลือดไหลออกมาอิสระ **ห้ามบีบหรือเค้น
บริเวณที่เจาะเพราะอาจทาให้เม็ดเลือดแดงแตก หรือเกิดการปนเปื้อน เนื้อเยื่อและของเหลว
ทาให้ผลผิดพลาด***
3) ใช้ลาลีแห้งเช็ดเลือดหยดแรกทิ้งไปก่อน แล้วจึงเก็บหยดเลือดต่อไป
4) ใช้ Capacity Tube (Sodium Heparin : แถบแดง) วางไว้ใกล้หยดเลือดในตาแหน่ง เป็นมุม
ฉากเพื่อรองรับหยดเลือดที่ไหลออกมา อาจต้องบีบนิ้วเบาๆ เพื่อให้ เลือดไหลอย่างต่อเนื่อง
จนได้ปริมาตรเลือดอย่างน้อย 2 ใน 3 ของหลอด จากนั้น ผสมเลือดไปมา 3-5 ครั้ง
2

1.3 ขั้นตอนการเตรียมสเมียร์เลือด
1.) หยดเลือดจานวน 1 หยด ให้ห่างจากปลายสไลด์แก้วข้างหนึ่งประมาณ 2-3 mm
2.) ใช้ตัวไถทามุมประมาณ 30 - 45 องศา กับสไลด์แก้วโดยวางตาแหน่งตัวไถข้างหน้าหยดเลือด
3.) ลากตัวไถไปข้างหลังเพื่อให้แตะหยดเลือด แล้วลากไปข้างหน้า เพื่อให้ได้ฟิล์มบาง ๆ บนสไลด์แก้ว
ความยาวของฟิล์มประมาณ 300 มิลลิเมตร โดยที่จุดเริ่มต้นของสเมียร์จะหนาและที่ปลายสเมียร์จะ
บางปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง
1 2

3 4
3

ลักษณะสเมียร์เลือดที่ดี
▪ สเมียร์เลือดควรมีความยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร มีบริเวณหนาตรงต้นสเมียร์และค่อยๆ บางใน
ส่วนปลายและความกว้างของสเมียร์เลือดต้องแคบกว่าความกว้างของแผ่นกระจกที่ใช้ทาสเมียร์เลือด
เพื่อให้สามารถนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาวได้ทั่วทั้งสเมียร์เลือด
▪ บริเวณปลายสุดของสเมียร์เลือดควรเป็นเส้นตรง และลักษณะของสเมียร์เลือดต้องเรียบ ไม่เป็นคลื่น
หรือมีช่องว่าง ไม่หนา หรือบางจนเกินไป
▪ เมื่อมองดูด้วยตาเปล่า สเมียร์เลือดจะติดสีชมพูอมม่วง และเมื่อมองดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ เม็ดเลือด
แดงติดสีชมพู นิวเคลียสของเม็ดเลือดขาวจะติดสีม่วงเข้ม แกรนูลของนิวโตรฟิลติดสีชมพูอมม่วง
แกรนูลของอิโอสิโนฟิลติดสีส้มหรือแดง เกล็ดเลือดเห็นได้ชัดเจนและติดสีชมพูอมแดง พื้นระหว่างเม็ด
เลือดใสไม่มีสีและไม่มีตะกอน

2. การย้อมสี Wright’s Stain

1.1 หลักการ
ส่วนของเม็ดเลือดที่มีสภาพเป็นกรดเมื่อย้อมด้วย wright stain จะถูกจับด้วยส่วนที่เป็นด่าง
ของสี(basic dyes) ทาให้ส่วนนั้นติดสีําเงิ
น้ นหรือม่วง เช่น ส่วนนิวเคลียสของเม็ดเลือดขาว เป็นต้น
ส่วนของเม็ดเลือดที่มีสภาพเป็นด่าง เมื่อย้อมแล้วจะจับกับส่วนที่เป็นกรดของสี (acid dyes) ทาให้
ส่วนนั้นๆติดสีแดง ชมพูเช่น granule ของเม็ดเลือดขาวชนิด eosinophile เป็นต้น
การตรวจสเมียร์เลือด (Blood smear) สามารถช่วยวินิจฉัยโรคทางโลหิตวิทยา ใช้เพื่อ
การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (Complete blood count) มะเร็งเม็ดเลือดขาว โลหิตจาง ดูความ
ผิดปกติของรูปร่างและจานวนของเม็ดเลือดต่าง ๆ รวมทั้ง Malaria Microflaria การดูลักษณะความ
แตกต่างของเชื้อเพื่อจาแนกสปีซีส์ของเชื้อในเบื้องต้นได้

1.2 วัสดุอุปกรณ์สาหรับการย้อมสี Wright’s Stain


1. ) สเมียร์เลือด (ที่แห้งดีแล้ว)
2. ) Absolute methanol
3. ) Wright’s stain
4. ) Phosphate buffer
4

1.3 ขั้นตอนการย้อมสี Wright’s Stain


1. )เมื่อสเมียร์เลือดแห้งสนิทแล้วจึงนามาย้อม
2. ) Fix สเมียร์เลือด ใน Absolute methanol เป็นเวลา 1 นาที
3. ) หยดสีWright’s stain ให้ท่วมสเมียร์เลือด ทิ้งไว้เป็นเวลา 3 นาที (ระยะ fixation)
4. ) หยด Phosphate buffer ลงบนสไลด์ให้ปริมาณเท่ากับสี หลังจากนั้นเป่าให้สีและ buffer ผสมกันดี
ด้วยลูกยาง จะเห็นฝ้าของสี (metallic sheen) เกิดขึ้น ทิ้งไว้เป็น เวลา 5 นาที (ระยะย้อม)
5. ) ล้างด้วยน้ํากลั่น หรือน้ําประปา จนน้ําที่ไหลผ่านสเมียร์เลือดไม่มีสี
6. ) เช็ดด้านหลังสไลด์ให้สะอาดปราศจากคราบสี
7. ) ชันสไลด์ไว้ให้สเมียร์แห้ง
8. ) นาไปส่องกล้องจุลทรรศน์
5

3. การส่องกล้องจุลทรรศน์

1. ) เริ่มส่องกล้องที่กาลังขยาย 10x
▪ พิจารณาภาพรวมของสเมียร์เลือด และประเมินการติดสีของเม็ดเลือด
▪ พิจารณาว่ามีตะกอนสีหรือไม่
▪ พิจารณาการกระจายตัวของเม็ดเลือดขาวว่าสม่ําเสมอหรือไม่
▪ พิจารณาการกระจายตัวของเม็ดเลือดแดง (Rouleaux formation, agglutination)
▪ เลือกบริเวณที่เป็น Standard area

2. ) ส่องกล้องที่กาลังขยาย 40x
▪ พิจารณาว่ามีเม็ดเลือดขาวชนิดใดบ้าง และให้กะประมาณจานวนเม็ดเลือดขาวคร่าวๆ
6

3. ) ส่องกล้องที่กาลังขยาย 100X (บริเวณ Standard area)


▪ ให้นับแยกชนิดเม็ดเลือดขาว (Wbc differential count) จานวน 100 เซลล์ และรายงานผล

เอกสารอ้างอิง
1. สุภินันท์ สเป็ค-สายเชื้อ,โลหิตวิทยา,2534 คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2. เซลล์เม็ดเลือดแนวทางการวินิจฉัยโรคจากสเมียร์เลือด สานักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
3. บังอร ตัณฑ์เกยูร: บทที่ 2 การเตรียมสเมียร์เลือดและการย้อมสีสเมียร์เลือด : สุนารี องค์เจริญใจ,
กฤษณา ปทีปโชติวงศ์ บรรณาธิการ.เทคนิคพื้นฐานทางโลหิต
วิทยา ( Basic Hematological Techniques) : ภาควิชาจุลทรรศนศาสตร์คลีนิก คณะเทคนิคการแพทย์
มหาวิทยาลัยมหิดล

You might also like