You are on page 1of 39

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถกับการสร้างความมั่นคงทางการเมือง

พระราชประวัติ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ หรือ สมเด็จพระราเมศวรบรมไตรโลกนาถบพิตร ทรงเป็นพระราชโอรสใน
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา และมีพระราชมารดา
นามว่า เจ้าหญิงสาขา๑ ซึ่งเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ๒ (พ่อเลอไท) แห่งราชวงศ์พระร่วง
พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย
สมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถทรงมีพระนามเดิ ม ว่า “พระราเมศวร”๒ ซึ่งเป็นพระนามก่อนที่ จ ะถู ก
สถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยาในเวลาต่อมา พระองค์ทรงพระราชสมภพที่พลับพลา ประชุมพลที่ทุ่งพระ
อุทัย (ปัจจุบันคือ ทุ่งหันตราด้านทิศตะวันออกของพระนครศรีอยุธยา) ในขณะนั้นสมเด็จพระบรมราชนก ได้เสด็จ
ไปประทับรวมพลในการยาตราทัพไปตีเมืองเขมร โดยมีพระราชชนนี ซึ่งขณะนั้นกาลังทรงพระครรภ์ใกล้มีพระสูติ
กาล ได้เสด็จออกไปส่งเสด็จพระสวามีที่ทุ่งพระอุทัย ได้เกิดทรงเจ็บพระครรภ์และมีพระสูติกาลพระราชโอรส ณ
พลับพลาประชุมพลแห่งนั้น เมื่อปี พุทธสักราช ๑๙๗๔ ดังปรากฏในเรื่อง พระสูติกาลนี้ในลิลิตยวนพ่าย โครงบทที่
๖๑-๖๒ ความว่า
แถลงปางปิ่นภูบาล ปิตุราช
ยังยโสธรคล้อย คลี่พล
แถลงปางพระมาตรไท้ สมภพ ท่านนา
แดนตาบลพระอุทัย ทุ่งกว้าง
แถลงกลางเกลื่อนพลรบ เรืองเดช
เอามิ่งเมืองได้ง้าง แง่บร


ประเสริฐ ณ นคร, “ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเมืองพิษณุโลก”, รวมเรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเมืองพิษณุโลก,
(เชียงใหม่ : ส.ทรัพท์การพิมพ์, ๒๕๓๕), หน้า ๖.
๒ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงมีพระนามเดิมหลายพระนาม ดังปรากฏตามหลักฐานอื่นๆ คือ
๑. ในกฎหมายลั ก ษณะกบฏศึก เรี ย กว่ า สมเด็ จ พระบรมนาถบพิ ต รสิท ธิ สุ น ทรธรรมเดชาฯ ธรรมิ ก มหา
ราชาธิราช
๒. ในกฎมณฑลบาล เรียกว่าสมเด็จพระรามาธิบดีบรมไตรโลกนาถมหามุงกุฏเทพยมนุษย์ยริสุทธิสุริยวงศ์
พุทธธางกูรบรมบพิตร
๓. ในกฎหมายศักดินา เรียกว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถนายกดิลก
๔. ในกฎหมายศักดินาหัวเมือง เรียกว่า สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีบรมไตรโลกนาถ
๕. ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหอวชิรญาณ เรียกว่า สมเด็จพระราเมศวรไตรโลกนาถบพิตร
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาที่ทรงสืบเชื้อสายราชติวงศ์ มา
จาก ๒ ราชวงศ์ที่กาลังเรืองอานาจแข่งขั นบารมีกันอยู่ในขณะนั้นคือ ราชวงศ์สุพรรณภูมิแห่งกรุงศรีอยุธยาและ
ราชวงศ์พระร่วงและกรุงสุโขทัย โดยเหตุการณ์การสร้างสายสัมพันธ์ทางเครือญาติดังกว่านี้เริ่มต้นขึ้นจากความ
พยายามเข้ามาแทรกแซงอานาจทางการเมืองในอาณาสุโขทัยของผู้นาฝ่ายกรุงศรอยุธยา โดยเริ่มเมื่อ สุโขทัย เมื่อ
พระมหาธรรมราชาที่ ๒ พระมหากษัตริย์ผู้ครองกรุงสุโขทัยได้เสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. ๑๙๓๑ และพระยาไสลือไท
ได้เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติทรงพระนามว่าพระมหาธรรมราชาที่ ๓ (พระยาไสลือไท) เสด็จประทับ ณ เมือง
พิษณุโลกตลอดพระชนชีพจนถึงปี พ.ศ. ๑๙๖๒ เมื่อพระองค์สวรรคต กลุ่มญาติวงศ์ในกรุงสุโขทัยได้เกิดจลาจลเกิด
การแย่งชิงราชสมบัติระหว่างเจ้านายเชื้อพระวงศ์ คือการแย่งชิงอานาจ ระหว่างพระยาบาลเมืองกับพระยาราม
เหตุการณ์ครั้งนี้ยุติลงเมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) กษัตริย์อยุธยาที่มีความสัมพันธ์กับ
กลุ่มเจ้าหญิงสุโขทัยได้เสด็จยกทัพจากกรุงศรีอยุธยาขึ้นมาระงับศึก ทรงให้พระยาบาลเมืองผู้พี่เป็นพระมหาธรรม
ราชาที่ ๔ (พระยาบาลเมือง) ครองเมืองสองแคว (พิษณุโลก) และให้พระรามผู้น้องครองเมืองสุโขทัย โดยให้ทั้ง
สองพระองค์มีฐานะเป็นเจ้าเมืองประเทศราชขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา ๓
ต่อมาสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชที่ ทรงมีพระราโชบายที่จะรวมอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่ง
ของอาณาจั กรศรี อยุ ธ ยาโดยอาศัย ความสั มพันธ์ทางเครือญาติ เนื่องจากเมืองพิษณุโ ลกมีความส าคัญมาก
เนื่องจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีความอุดมสมบูรณ์และเป็นศูนย์กลางการค้า การคมนาคมของดินแดนทางเหนือ
จึงทาให้เป็นหมายที่หมายปองของผู้นาแห่งอาณาจักรอยุธยา เมื่ออานาจทางการเมืองของอยุธยาเข้มแข็งกว่าจึงได้
มีความพยายามในการควบคุมและขยายอานาจครอบงาเมืองพิษณุโลกไว้ในอานาจ โดยเริ่มเด่นชัดในรัช สมัย
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ โดยพระองค์ทรงเป็นพระชามาดา (บุตรเขย) ของเมืองพิษณุโลกคือทรงแต่งงาน
กับแม่นางษาขา๔ ราชธิดาพระมหาธรรมราชาที่ ๒ แห่งกรุงสุโขทัย และพระยาบาลเมืองหรือพระมหาธรรมราชา
ที่ ๔ ก็เป็นพระอนุชาในพระมเหสีของพระองค์ ซึ่งเนื้อความตอนหนึ่ง ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเลขที่
๒๒๒ กล่าวว่า
“...อันดับนั้นพระราชเทวีทูลแต่พระบรมราชาธิราชเจ้า ด้วยย่อมหงอกแม่นาง
ษาขามารดาและจะขอชื่อให้ .. สมเด็จผู้เป็นเจ้าก็ประสาทคานหามทองไม้เท้า
ทองและเครื่ อ งราชู ป โภค ให้ น ามกรชื่ อ พระประสิ ท ธิ แม่ น างษาขามารดา
นางพญาและมหาธรรมราชาธิราชนั้น ..”๕


สินชัย กระบวนแสง, ประวัติศาสตร์สุโขทัย, (กรุงเทพ สานักพิมพ์พิฆเณศ, ๒๕๒๐), หน้า ๓๙.

จันทร์ฉาย ภัคอธิคม, ข้อมูลประวัติศาสตร์ในรอบทศวรรษ (พ.ศ.๒๕๒๐ – ๒๕๓๐), บรรณาธิการ (กรุงเทพฯ :
บริษัทประชาชนจากัด, ๒๕๓๑), หน้า ๘๕.

จันทร์ฉาย ภัคอธิคม, ข้อมูลประวัติศาสตร์ในรอบทศวรรษ (พ.ศ.๒๕๒๐ – ๒๕๓๐, หน้า ๘๕.
ข้อความดังกล่าว แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ และพระมหาธรรมราชา
ที่ ๔ ที่พระองค์สถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์สืบต่อจากพระมหาธรรมราชาที่ ๓ พร้อมทั้งพระราชทาน พระสุพรรณบัฏ
และเครื่องราชูปโภค ดังนั้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ยังมิได้ผนวกเมืองพิษณุโลกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ
อาณาจักรอยุธยาอย่างเด็ดขาด เมืองนี้ยังมีสิทธิ์ปกครองตนเองโดยยอมรับอานาจของกรุงศรีอยุธยา

ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (อยุธยา) ราชวงศ์พระร่วง (สุโขทัย)

สมเด็จพระอินทราชาธิราช พระมหาธรรมราชาที่ ๓
(พระอินทราชาธิราช) (พระยาไสลือไท)

เจ้าอ้ายพระยา เจ้ายี่พระยา เจ้าสามพระยา พระธิดา พระยาบาลเมือง พระยาราม


(แม่นางษาขา) (พระมหาธรรมราชาที่ ๔)

พระราเมศวร พระยายุทธิษเฐียร
(สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ)

แผนผังที่ ๓ แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์สุพรรณภูมิกับราชวงศ์พระร่วง

ขณะเดียวกันพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ทรงสถาปนาพระราชโอรสคือพระราเมศวร ซึ่งมีพระชนมายุ ๗


พรรษาในปีพุทธศักราช ๑๙๘๑ ในขณะนั้น ให้ดารงพระยศเป็นสมเด็จพระราเมศวร ทรงได้รับอุปราชาภิเษกให้
ดารงตาแหน่งพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลกด้วยเพื่อให้เป็นที่รับรู้ว่าพระราเมศวรจะต้องเป็นผู้สืบอานาจต่อ
จากพระมหาธรรมราชาที่ ๔ คือ เมื่อมีพระชนมายุเหมาะสมก็จะให้ครองเมืองพิษณุโลกต่อไป นอกจากนี้พระราช
พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเลขที่ ๒๒๒ ยังให้ข้อมูลแตกต่างไปจากพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ กล่าวคือ
มีความหลายตอนที่แสดงให้เห็นว่าภายหลังปีพ.ศ. ๑๙๘๑ แล้วพระมหาอุปราชคือพระราเมศวรยังประทับอยู่ที่กรุง
ศรีอยุธยา เช่น ปีพ.ศ.๑๙๘๒ (จ.ศ.๘๐๑) สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ โปรดฯให้ทาพิธีโสกันต์และพระราชทาน
มณเฑียรเดิมให้เป็นที่ประทับและยังมีหลักฐานจากเอกสารเรื่องจุลยุทธการวงศ์ ผูก ๒ กล่าวว่า เมื่อสมเด็จพระรา
เมศวรเสด็จขึ้นไปเมืองพิษณุโลก ทอดพระเนตรเห็นน้าพระเนตรพระพุทธชินราชตกเป็นโลหิตจึง “...ให้ทาการ
สมโภชพระพุทธชินราชอยู่ ๓ วัน แล้วกลับพระนคร...”๖ จากข้อความนี้แสดงให้เห็นว่าเมื่อพระราเมศวร ได้รับ
การสถาปนาเป็นพระมหาอุปราชแล้วแต่ด้วยยังทรงพระเยาว์มากจึงไม่ได้ประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก
มีการสันนิษฐานว่าในช่วงนี้หัวเมืองฝ่ายเหนือ (อาณาจักรสุโขทัย ) ได้ถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรอยุธยา
เพราะพบหลักฐานจากพระราชพงศาวดารฯกล่าวว่า “ท่านเสด็จไปเมืองพิษณุโลกครั้งนั้นเห็นน้าพระเนตรพระพุทธ
ตกเป็นโลหิต”๗ แสดงว่าพระพุทธชินราชซึ่งเป็นพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองพิษณุโลกทรงเสียใจเพราะ
บ้านเมืองไม่สงบสุขคนไทยรบกันเองจนต้องเสียเมืองให้กับอาณาจักรอยุธยา
ปีพุทธศักราช ๑๙๘๒-๑๙๘๔ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เสด็จกลับไปประทับที่กรุงศรีอยุธยา เพราะ
พบหลักฐานจากพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหอวชิรญาณบันทีกว่าปีพุทธศักราช ๑๙๘๒ (จ.ศ.๘๐๑)
สมเด็จพระบรมราชาที่ ๒ "โปรดให้ทาพิธีโสกันต์และประทานพระนามสมเด็จพระราเมศวรไตรโลกนาถบพิตร...”
และในปีพทุ ธศักราช ๑๙๘๔ (จ.ศ.๘๐๓) สมเด็จพระบรมรชาธิราชที่ ๒ ได้พระราชทานมณเฑียรเดิมแก่สมเด็จพระ
ราเมศวรให้เป็นที่ประทับ ดังนั้นระหว่างปีพุทธศักราช ๑๙๘๑-๑๙๙๔ เจ้าผู้ครองเมืองพิษณุโลกคือ พระยายุธิ
ษเฐียร ๘
ในปีพุทธศักราช ๑๙๙๑ พระชนมายุได้ ๑๗ พรรษา ทรงขึ้นครองราชย์ ณ กรุ งศรีอยุธยาทรงพระนามว่า
“สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ” ทรงครองราชย์สมบัติอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ๑๕ ปี ในระหว่างเสวยราชสมบัติอยู่ที่กรุง
ศรีอยุธยานั้นทางหัวเมืองฝ่ายเหนือเกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นหลายครั้ง เช่น ในปีพุทธศักราช ๑๙๙๔ พระยายุธิ
ษเฐียรไม่พอพระทัยที่สมเด้จพระบรมไตรโลกนาถเคยสัญญาว่าถ้าพระองค์ได้เป็นกษัตริย์จะแต่งตั้งพระยายุธิษฐียร
เป็นอุปราช แต่งกลับแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งเป็นแค่เจัาเมืองพิษณุโลกทานั้น เหตุนี้พระยายุธิษฐียรจึงก่อกบฎรวม
พลไปขึ้นพึ่งพระบารมีของสมเด็จพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนาไทย นอกจากนี้ในปีพุทธศักราช ๒๐๐๓
พระยาเชลียงคิดกบฏได้อพยพประชาชนไปเข้ากับพระเจ้าติโลกราชและในปีพุทธศักราช พ.ศ. ๒๐๐๔ ไดันาทัพ
เมืองเชียงใหม่มาตีเมืองพิษณุโลกและกาแพงเพชร แต่ตีไม่ได้จึงเลิ กทัพกลั บไป และในปีต่อมา ปีพุทธศักราช
๒๐๐๕ เจ้าเมืองบางยาง (นครไทย) อพยพผู้คนไปอาศัยอยู่เมืองนาน สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถด้องให้ พระ
กลาโหมคุมทัพไปตีกลับมาสาเร็จ


สมเด็ จพระวัน รัตน์ วั ด พระเชตุพ น, จุ ล ยุ ท ธการวงศ์ ผูก ๒ (พิ ม พ์ ใ นงานพระราชทานเพลิงศพนายพลโทพระยา
พหลโยธินรามินทรภักดี (นพ พหลโยธิน) พ.ศ.๒๔๖๓), หน้า ๕๘ – ๕๙

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ , อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายนารถ
กระต่ายทอง, ๒๕๑๔, หน้า ๖-๘.

ประเสริฐ ณ นคร, เรื่องเดิม, หน้า ๖.
พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

ทรงย้ายราชธานีมาอยู่ที่เมืองพิษณุโลก
จากเหตุการณ์วุ่นวายทางด้านการเมืองและการสงครามและประกอบกับในช่วงนี้อาณาจักรล้านนามี
อานาจมากได้แพร่อิทธิพลเข้ามาครอบคุมหัวเมืองฝ่ายเหนือด้านทิศตะวันตกของไทยได้สาเร็จและสามารถมาตั้ง
กองบัญชาการอยู่ที่เมืองเชลียง หรือศรีสัชนาลัยในปัจจุบันเหตุนี้ทาให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตัดสิน
พระทัยเสด็จไปประทับครองราชย์ที่เมืองพิษณุโลกเมืองพิษณุโลกจึ งมีฐานะเป็นราชธานีของไทยตั้งแต่พุทธศักราช
๒๐๐๖ ขณะนั้นพระชนมายุ ๓๒ พรรษา พร้อมทั้งทรงเปลี่ยนชื่อเมืองสองแควเป็นเมืองพิษณุโลกอันหมายถึงโลก
ของพระวิษณุหรือพระนารายณ์และมีพระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปสาคัญประจาเมืองอีกด้วย และพระองค์ทรง
แต่งตั้งพระโอรสสมเด็จพระบรมราชาไปครองที่กรุงศรีอยุธยาในตาแหน่งมหาอุปราชต่อมาพระองค์ทรงขับไล่
อิทธิพลของอาณาจักรล้านนาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือได้สาเร็จและภายหลังจึงกลับมามีสัมพันธไมตรีต่อกันสมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถทรงปกครองเมืองพิษณุโลกนานถึง ๒๕ปีพระองค์ทรงเสด็จสวรรคต ที่เมืองพิษณุโลกในปี
พุทธศักราช ๒๐๓๑ พระชนมายุ ๕๗ พรรษา

การดึงเมืองพิษณุโลกเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรอยุธยา
สมัยพระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงมีพระบรมราโชบายที่จะขยายอาณา
เขตของกรุงศรีอยุธยาให้กว้างขวางขึ้น ทั้งนี้ทรงได้ปฏิรูปการปกครองโดยยกเลิกระบบเมืองลูกหลวง เพื่อดึง
อานาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทรงโปรด ฯ เกล้า ให้มีการจัดระบบสังคมในรูปศักดินา โดยแบ่งการปกครองออกเป็นฝ่าย
ทหารและฝ่ายพลเรือนที่เรียกว่า จตุสดมภ์และทรงตรากฎหมายกาหนดศักดินาขึ้นประกาศใช้แทนการปกครอง
ระบอบเวียง วัง คลัง และนา การจัดรูปดังกล่าวทาให้อานาจการปกครองของผู้ครองนครต่าง ๆ ลดลง อาจกล่าว
ได้ว่าอาณาจักรสุโขทัยถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาอย่างแท้จริงในสมัยของสมเด็จพระบรมไตร
โลกนาถ โดยพระองค์ทรงรวมสองอาณาจักรเนื่องจากเหตุผลหลายประการ
ประการแรก เป็นการแสดงความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจและบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระบรม
ไตรโลกนาถที่ทรงขยายเขตของอาณาจักรอยุธยาไปทางเหนือและรวมเอาอาณาจักรสุโขทัยไว้ในพระราชอานาจอัน
เนื่องมาจากแนวความคิดจักพรรดิราช คือมีพระราชาผู้ยิ่งใหญ่เหนือกว่าราชาทั้งปวง๙
ประการที่สองทั้งสองอาณาจักรมีความสัมพันธ์ทั้งทางส่วนตัวและเครือญาติมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลสมเด็จ
พระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง) กาลมาลีปกรณ์ ได้กล่าวกล่าวว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงทาอุบายเอาข้าวของมา


อุ ษ ณี ย์ ธงไชย, “ความสั มพั นธ์ ระหว่า งอยุ ธยาแลล้า นนา พ.ศ.๑๘๓๙ – ๒๓๑๐” (วิ ท ยานิ พ นธ์ อักษรศาสตร์
มหาบัณฑิต บันฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๒๖), หน้า ๑๙.
ขายที่เมืองพิษณุโลกแล้วทรงยึดเมืองนี้ไว้และทรงแต่งตั้งให้ขุนหลวงพ่องั่ วปกครอง ต่อมาพระมหาธรรมราชาที่ ๑
(พระเจ้าลิไท) ทรงส่งราชบรรณาการมาถวายแล้วทูลขอเมืองพิษณุโลกคืน พระรามาธิบดีที่ ๑ ก็ประทานคืนให้๑๐
พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระเจ้าลิไท) จึงเสด็จมาประทับที่เมืองพิษณุโลก นับเป็นความสัมพันธ์ส่วนพระองค์
ระหว่างพระมหากษัตริย์ทั้งสองเพราะหลังจากที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง) สวรรคต พระมหาธรรมราชาที่
๑(พระเจ้าลิไท) ก็เสด็จกลับกรุงสุโขทัย อันแสดงให้เห็นว่าหมดพันธะต่อกันแล้ว
ในรัชกาลพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพ่องั่ว) ทรงใช้กาลังยึดเมืองพิษณุโลกหลังการสวรรคตของพระ
มหาธรรมราชาที่ ๑ (พระเจ้าลิไท) เพื่อจะขยายอานาจขึ้นทางเหนือ ๑๑ ในชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวไว้ว่า พระยา
ญาณดิสซึ่งครองราชย์อยู่เมืองกาแพงเพชรได้ส่งมารดามาถวายแด่พระเจ้าอโยชปุระ (พระบรมราชาธิราชที่ ๑) ๑๒
ซึ่งหากหลักฐานนี้ถูกต้องก็หมายความว่าตระกูลสุพรรณภูมิมีความผูกพันทางเครือญาติ กับตระกูลพระร่วงมาตั้งแต่
รัชกาลนี้ ในรัชกาลสมเด็จพระนครินทราชาธิราช ประมาณปีพ.ศ.๑๙๖๒ ได้โปรดฯ ให้เจ้าสามพระยา (พระบรม
ราชาธิราชที่ ๒) ได้ครองเมืองพิษณุโลก และในปีพ.ศ.๑๙๘๑ พระบรมราชาธิราชที่ ๒ โปรดฯ ส่งพระโอรสซึ่ง
ประสูติจากเจ้าหญิงสุโขทัย(พระราชพงศาวดารอยุธยาฉบับ หอพระสมุดวชิรญาณเลขที่ ๒๒๒ กล่าวว่าเป็นพระราช
ธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ ๒) คือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถไปครองเมืองพิษณุโลก
ประการที่สาม ราชวงศ์พระร่วงที่ปกครองอาณาจักรสุโขทัยกาลังอ่อนแอ เนื่องจากแย่งชิงอานาจกันเองจึง
ทาให้อาณาจักรอยุธยามีอานาจเหนืออาณาจั กรสุโขทัยและเมืองพิษณุโลกมาตั้งแต่รัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ ๔
ประกอบกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นเครือญาติที่ใกล้ชิดกันในฐานะเชื้อสายเมืองพิษณุโลก จึงเห็นสมควร
รวมอาณาจักรสุโขทัยเพื่อดึงอานาจเข้าสู่ส่วนกลางที่กรุงศรีอยุธยา โดยอาศัยดังวิธีดังกล่าวต่อไปนี้
๑. ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ โดยการสร้างพันธมิตรแบบเครือญาติผ่านการแต่งงานซึ่งเป็นวิธีที่ทาง
อยุธยาปฏิบัติมาตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระนครินทราชาธิราช ในฐานะที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงมีพระราช
บิดาเป็นกษัตริย์อยุธยาและพระราชมารดาเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์สุโขทัยจึงเป็ นที่ยอมรับของทางอาณาจักร
สุโขทัยเมื่อพระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นมหาอุปราชแห่งเมืองพิษณุโลก ตลอดจนการเสด็จ มาเสวยราชย์ที่เมืองนี้
ในปีพ.ศ.๒๐๐๖
๒. ความสัมพันธ์ทางศาสนา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างความชอบธรรมเพื่อการรวมอาณาจักร
สุโขทัยเข้ามาอยู่ในพระราชอานาจ การที่พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาระบุว่าพระพุทธชินราชมีน้าพระเนตร

๑๐
รัตนปัญญาเถร, ชินกาลมาลีปรณ์ แปลโดย แสงมนวิทูร (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์
แสง มนวิทูร เปรียญ ณ วัดสระเกตุราชวรมหาวิหาร วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๑ ), หน้า ๑๑๑.
๑๑
กลมศิลปากร, พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ (พระนคร:คุรุสภา, ๒๕๑๒), หน้า ๑๑๖ – ๑๑๙.
๑๒
รัตนปัญญาเถร , ชินกาลมาลีปรณ์, หน้า ๑๑๑.
ไหลเป็นโลหิต๑๓ แสดงถึงการที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงอ้างเพื่อแสดงความชอบธรรมทางศาสนาและเมื่อ
พระองค์เสด็จเสวยราชย์ที่เมืองพิษณุโลกแล้วก็ทรงปฏิบัติพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้อุปถัมภ์พุทธศาสนา ทั้ งใน
อาณาจักรสุโขทัยและอยุธยาเช่นเดียวกับพระมหาธรรมราชาที่ ๑ แห่งกรุงสุโขทัย เช่น การบูรณะวัดพระศรีรัตนม
หาธาตุวรมหาวิหาร การสร้างวัดจุฬามณี การออกผนวกตลอดจนการประชุมนักปราชญ์ให้แต่งมหาชาติคาหลวง
ครบ ๑๓ กัณฑ์ เป็นต้น การกระทาดังกล่าวล้วนเป็นการให้ความสาคัญต่อพุทธศาสนาซึ่งชาวสุโขทัยมีความเลื่อมใส
ศรัทธา ฉะนั้นการผนวกอาณาจักรสุโขทัยมาอยู่ในพระราชอาณาจักรอยุธยา ครั้งนี้จึงเป็นที่ยอมรับของชาวสุโขทัย
ทั่วไป
๓. การปฏิรูปการปกครอง เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัตินั้น ปัญหาหลักของ
อยุธยาคือ การจัดสรรกาลั งคนและการกาหนดฐานะของคนในสังคมรวมถึงฐานะของนครที่ ตกเป็นเมืองขึ้นของ
อยุธยา เป้าหมายสาคัญที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมุ่งที่จะปฏิบัติ คือ หัวเมืองต่างๆ ทางเหนือที่จะต้องรวม
อานาจเข้าสู่ศูนย์กลางโดยให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอานาจในการปกครองอย่างแท้จริง ขณะเดีย วกันก็ต้อง
ตัดทอนอานาจของผู้นาระดับท้องถิ่นลง เช่น ทรงออกกฎหมายศักดินา ซึ่งเป็นกฎหมายที่ระบุว่า ฐานะ ตาแหน่ง
และหน้าที่ของผู้นาท้องถิ่นจะต้องผูกพันอยู่กับส่วนกลาง ๑๔
ด้วยเหตุนี้ผู้นาระดับท้องถิ่นที่หมดอานาจได้ทาการต่อต้านโดยเริ่มจากการที่พระยายุธิษเฐียรเจ้าเมือง
พิษณุโลก (สองแคว) หนีไปพึ่งบารมีพระเจ้าติโลกราชและยังนาทัพเชียงใหม่ลงมาตีกาแพงเพชร (ชากังราว) ในปี
พ.ศ.๑๙๙๔๑๕ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๐๐๓ พระยาเชลียง (ศรีสัชนาลัย) ก็คิดกบฏและหนีไปพึ่งบารมีของพระเจ้าติโลก
ราช และในปีพ.ศ. ๒๐๐๔ พระยาเชลียงใต้นาทัพเชียงใหม่มาตีพิษณุ โลกและกาแพงเพชร ต่อมาในปี พ.ศ.๒๐๐๕
เจ้าเมืองนครไทยได้อพยพประชาชนไปพึ่งเจ้าเมืองน่าน แต่พระยากลาโหมสามารถนาคนคืนมาได้๑๖
หลักฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าบรรดาเจ้าเมืองในอาณาจักรสุโขทัยไม่พอใจที่ถูกริดรอด อานาจลง จึงพา
กันแข็งอานาจและหันไปพึ่งพิงอาณาจักรใกล้ เคียง มีผลให้เกิดสงครามระหว่างอาณาจักรอยุธยาและล้านนา โดย
ทางล้านนาได้ยกทัพมารุกรานหัวเมืองทางเหนือเป็นเหตุให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถต้องเสด็จ ไปครองเมือง
พิษณุโลกในปี พ.ศ.๒๐๐๖ ๑๗ เพื่อใช้เมืองพิษณุโลกเป็นฐานในการป้องกันการขยายอานาจของล้านนา พร้อมกับ

๑๓
สมเด็จพระวันรัตน์ วัดพระเชตุพน, จุลยุทธการวงศ์ ผูก ๒ , หน้ า ๗.
๑๔
ศรี ศกั ร วัลลิโภดม, “ที่มาของการปฏิรูปการปกครอง”, ข้ อขัดแย้ งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ไทย,(พระนคร : เมือง
โบราณ, ๒๕๒๔), หน้ า ๘๑ – ๑๐๓.
๑๕
ศรี ศกั ร วัลลิโภดม, “เมืองลูกหลวงกับการปกครองไทยโบราณ” ,ข้ อขัดแย้ งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ไทย(พระนคร
: เมืองโบราณ, ๒๕๒๔), หน้ า ๗๘.
๑๖
กรมสิลปากร, พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ (พระนคร : คุรุสภา, ๒๕๑๒), หน้ า ๗.
๑๗
เรื่ องเดียวกัน, หน้ า ๗.
การออกการออกกฎหมายกาหนดศักดินา ทาให้ราชวงศ์พระร่วงหมดอานาจลงไปและแต่งตั้งเจ้านายจากกรุงศรี
อยุธยามาปกครอง

เมืองพิษณุโลก “เมืองหลวง”ของราชอาณาจักรอยุธยา
เมื่อภายหลังจากที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถต้องเสด็จ ไปครองเมืองพิษณุโลกในปี พ.ศ.๒๐๐๖ เพื่อ
รักษาพระราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาไว้และทรงโปรด ฯ เกล้าให้เปลี่ยนชื่อเมืองสองแควเป็นเมืองพิษณุโลก และ
ยกฐานะเมืองพิษณุโลกเป็นราชธานีและเป็นศูนย์กลางแทนกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลา ๒๕ ปี
เมื่อประทับ ณ เมืองพิษณุโลก ทรงมีพระราชกรณียกิจที่สาคัญทั้งด้านการเมืองทั้งภายในและภายนอก
อาณาจักร
การจัดการการเมืองภายในทรงดาเนินพระบรมราโชบายตามแบบอย่างของพระมหาธรรมราชาที่ ๑
(พระยาลิไท) เช่น โปรด ฯ เกล้าให้บูรณะวัดจุฬามณี เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๐๖ และเสด็จออกผนวชเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๐๘
เป็นเวลานานถึง ๘ เดือน ๑๕ วัน ในครั้งนี้ได้มีข้าราชการบริพารติดตามออกบวชถึง ๒,๓๔๘ คน๑๘ ในปี พ.ศ.
๒๐๒๕ ทรงโปรด ฯ เกล้า ฯ ให้บูรณะวัดพระศรีรัตนมหาธาติ และให้มีการสมโภชถึง ๑๕ วัน พร้อมกันนั้นได้
โปรด ฯ เกล้าให้นักปราชญ์ราชบั ณฑิตแต่งหนั งสื อมหาชาติคาหลวงจบ ๑๓ กัณฑ์บริบูรณ์ด้วย ๑๙ การกระทา
ดังกล่าวชาญวิทย์ เกษตรศิริ ได้วิเคราะห์ถึงพระราชกรณียกิจทางศาสนาว่าเป็นกระบวนการสาคัญของสมเด็จพระ
บรมไตรโลกนาถในการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาณาจักรทั้งสองโดยอาศัยฐานจากพุทธศาสนาเป็น
เครื่องมือในการกล่อมเกลี้ยน้าใจราษฎรทางฝ่ายเหนือ ตลอดจนการบาเพ็ญพระราชกุศลต่างๆทาอย่างยิ่งใหญ่ใน
สายตาของราฎรชาวเมืองพิษณุโลกทาให้เกิดความชื่นชมยินดีเป็นจานวนมากในเขตแดนอาณาจักรสุโขทัยเดิมและ
พากันสรรเสริญพระองค์ว่าเป็นนักปกครองที่ทรงคุณธรรมอันเป็นการกระทาที่ทาให้พระองค์เ ป็นที่ยอมรับในหมู่
ชาวอาณาจักสุโขทัยชนเฉกเช่นเดียวกับอดีตกษัตริย์อาณาจักรสุโขทัยแม้ว่าพระองค์จะเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักร
อยุธยาก็ตาม๒๐

๑๘
สินชัย กระบวนแสง, ประวัติศาสตร์ สุโขทัย (กรุงเทพ สานักพิมพ์พิฆเณศ, ๒๕๒๐), หน้ า ๔๓.
๑๙
เสนอ นิลเดช, สถาปั ต นกรรมแบบพิษ ณุ โ ลก (รายงานสัมมนาประวัติศาสตร์ เมืองพิษณุโลก ครั ง้ ที่ ๑ ณ
วิทยาลัยครูพิบลู สงคราม พิษณุโลก ๒๕-๒๗ มกราคม ๒๕๒๒ กรุงเทพฯ : โรงพิมพฺการศาสนา ๒๕๒๓), หน้ า ๓๓๓-๓๓๕.
๒๐
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, อยุธยาประวัติศาสตร์ และการเมือง (กรุ งเทพฯ : มูลนิธิโครงการตาราสังคมศาสตร์ และ
มนุษยศาสตร์ ๒๕๔๒), หน้ า ๑๘๑-๑๘๔.
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ผู้ยกฐานะเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองของอาณาจักรอยุธยา ตลอดยุคสมัยของพระองค์

แผนที่เมืองพิษณุโลกและเมืองบริวารในตาราพิชัยสงคราม

ความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรอยุธยากับอาณาจักรล้านนา
การจัดการการเมืองภายนอกอาณาจักรโดยเฉพาะสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับอาณาจักรล้านนา
ซึ่งสงครามใหญ่ครั้งนี้ใช้เวลาในการทาสงครามนานถึง ๒๕ ปี สาหตุของความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรอยุธยากับ
ล้านนาเป็นผลกระทบจากการรวมอาณาจักรสุโขทัยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา ทาให้พระเจ้าติโลกราชแห่ง
ล้านนาไม่พอพระทัยเพราะต้องสูญเสียผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการค้า ขณะเดียวกันทรงได้รับการขอความ
ช่วยเหลือจากเจ้าเมืองของอาณาจักรสุโขทัยบางคนที่ถูกลิดรอนอานาจลง รวมทั้งเป็นผลมาจากแนวความคิด
จักรพรรดิราชด้วย จึงเกิดสงครามอันยาวนานระหว่างสองอาณาจักรในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและพระ
เจ้าติโลกราช
สาเหตุของสงครามเนื่องจากการสูญเสียผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่อาณาจักรล้านนาเคยได้จากเมือง
ต่างๆ ของอาณาจักรสุโขทัย เช่น ของป่าและเป็นศูนย์กลางการค้าของเมืองตอนบนไปสู่เมืองท่าตอนล่างและรับ
สินค้าจากเมืองต่างๆ ตอนล่างไปขายยังเมืองตอนบนด้วย อาจกล่าวได้ว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นคู่แข่งทางการค้าที่
สาคัญของอาณาจักรล้านนา ขณะเดียวกันทางอยุธยาก็พยายามคุมการค้าของป่าที่มาจากเมืองทางตอนบนโดยมี
สุ โ ขทัย และเมืองบริ ว ารคอยควบคุมการส่ งของป่าจากเมืองทางตอนบนลงมาอยุธ ยาด้ว ย ๒๑ จากข้อขัดแย้งนี้
อาณาจักรสุโขทัยจึงเป็นปัจจัยสาคัญนาไปสู่สงครามระหว่างอาณาจักรอยุธยากับล้านนา
การที่อาณาจักรอยุธยาเข้ามาครอบครองอาณาจักรสุโขทัยมีผลต่ออาณาจักรล้านนามากเพราะอาณาจักร
สุโขทัยเป็นฐานกาลังอย่างดีของอยุธยาในการเข้าโจมตีอาณาจักรล้านนา โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าติโลกราช ทาง
อยุธยาจะเกณฑ์ทัพจากเมืองต่างๆ ในอาณาจักรสุโขทัยไปรบกับอาณาจักรล้านนา เช่น เมืองพิษณุโลก ตาก และ
กาแพงเพชร เป็นต้น๒๒ อีกประการหนึ่ง การได้รับการร้องขอความช่วยเหลือจาก เจ้าเมืองของอาณาจักร
สุโขทัยที่สูญเสียอานาจก็เป็นสาเหตุสาคัญของสงคราม กล่าวคือ ในระยะที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงได้รับ
การสถาปนาเป็นพระมหาอุปราชแห่งเมืองพิษณุโลกนั้น เจ้านายที่สาคัญคือพระยายุธิษเฐีย รเจ้าเมืองสองแควซึ่ง
เป็นพระญาติทางพระราชมารดานั้น มีข้อความระบุในตานานพื้นเมืองเชียงใหม่ว่า หากพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว
จะให้เป็นพระอุปราชมีอานาจปกครองอาณาจักรครึ่งหนึ่ง ๒๓ แต่เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วก็มิได้ให้อานาจแก่
พระยายุธิษเฐียรตามสัญญา พระยายุธิษเฐียรจึงขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา
นอกจากนี้แนวความคิดพุทธศาสนาลังกาวงศ์ในขณะนั้นมีบทบาทอย่างมากต่อสถาบันกษัตริย์ล้านนา ที่
สาคัญคือการขยายอาณาจักรอันเป็นผลมาจากแนวความคิดจักรพรรดิราช กล่าวคือ พระเจ้าติโลกราชทรงมีความ
เชื่อในเรื่อง “จักรพรรดิราช” อันหมายถึงการมีพระราชาที่ยิ่งใหญ่เหนือกว่าราชาทั้งปวง ทาให้พระองค์ทรง
พยายามขจัดอิทธิพลของเมืองต่างๆ แล้วสถาปนาอานาจและสร้างอาณาจักรของพระองค์ขึ้นมายิ่งใหญ่เหนือราชา

๒๑
อุษณีย์ ธงไชย, “ความสัมพันธ์ ระหว่ างอยุธยาแลล้ านนา พ.ศ.๑๘๓๙ – ๒๓๑๐”, หน้ า ๘๗.
๒๒
อุษณีย์ ธงไชย, “ความสัมพันธ์ ระหว่ างอยุธยาแลล้ านนา พ.ศ.๑๘๓๙ – ๒๓๑๐”, หน้ า ๑๒๔.
๒๓
ตานานพืน้ เมืองเชียงใหม่ , (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ , สานักนายกรัฐมนตรี ,
๒๕๑๔), หน้ า ๕๓.
อื่นๆ๒๔ เหตุผลต่างๆ ดังกล่าวมา ทาให้เป็นชนวนของสงครามอันยาวนานระหว่างอาณาจักรอยุธยาและล้านนา ใน
สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถกับพระเจ้าติโลกราช ดังนี้
ต้นปี พ.ศ.๑๙๙๔ พระยายุธิษเฐียร ไม่พอใจที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมิได้กระทาตามสัญญาที่ให้ไว้
ประกอบกับต้องสูญเสียอานาจความเป็นผู้นาจึงได้เอาใจออกห่างนาไพร่พลไปขออยู่ใต้อานาจของพระเจ้าติโลกราช
และนาทัพล้านนามาตีเมืองกาแพงเพชรทั้งยังยกทัพมาตีเมืองสุโขทัยแต่ทาการไม่สาเร็จต้องยกทัพกลับ๒๕
ในปี พ.ศ.๒๐๐๒ พระเจ้าติโลกราชทรงยกทัพไปล้อมสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถกับพระราชชนนีไว้ใน
เมืองสองแคว ขุนเพชรรัตน์อาสานาพลรบลอบลงเรือหนีวงล้อมไปและทาอุบายตีกลองประหนึ่งว่าทัพหลวงยกหนี
ไปพระเจ้าติโลกราชจึงยกทัพกลับ๒๖
ในปี พ.ศ.๒๐๐๔ พระยาเชลียงนาพระเจ้าติโลกราชยกกองทัพมายึ ดเมืองพิษณุโลกแต่ไม่สามารถเข้าเมือง
ได้จึงยกทัพไปตีเมืองกาแพงเพชรแทน เข้าปล้นเมืองถึง ๗ วันก็ยังยึดเมืองมิได้ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและ
สมเด็จ พระอิน ทราชาธิ ร าชโอรสได้เ สด็ จ ขึ้ น ไปช่ว ยได้ ทัน เมืองกาแพงเพชรจึ งปลอดภัยจากการรุ กรานของ
อาณาจักรล้านนาในครั้งนั้น๒๗
จะเห็นได้ว่าหัวเมืองของอาณาจักรอยุธยา โดยเฉพาะเมืองพิษณุโลกและกาแพงเพชรมีความเข้มแข็ง
สามารถป้องกันตนเองได้จากการรุกรานของอาณาจักรล้านนาจนกระทั่งกองทัพหลวงของอยุธยาขึ้นไปช่วยทันและ
ยังแสดงให้เห็นว่าเมืองทั้งสองมีความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถด้วย จากการที่พระเจ้าติโลกราชทรง
ยกทัพมารุกรานหัวเมืองทางเหนือของอาณาจักรอยุธยาอยู่เสมอ ทาให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถตัดสินพระทัย
ขึ้นไปประทับ ณ เมืองพิษณุโลกเพื่อปกป้องหัวหัวเมืองเหนือไว้ในปีพ.ศ.๒๐๐๖
ในปีนี้เองพระเจ้าติโลกราชได้เสด็จยกทัพมาตีเมืองสุโขทัยอีก สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระ
อินทราชาธิราชเสด็จยกทัพไปต่อต้าน พระเจ้าติโลกราชทรงตีทัพพระยาเถียนแตกและได้ปะทะกับกองทัพของหมื่น
ด้งนครโดยการกระทายุทธหัตถี ช้างของข้าศึกได้เข้าล้อมช้างพระที่นั่งของ พระอินทราชาธิราชและพระองค์ถูก
ปืนยิงที่พระพักตร์ พระเจ้าติโลกราชจึงเลิกทัพกลับไป๒๘ แสดงว่าสงครามในปีพ.ศ. ๒๐๐๖ พระเจ้าติโลกราชยกทัพ
ใหญ่มาทาสงครามยุทธหัตถีกับทางอยุธยา และยึดเมืองเชลียงไว้ได้และทางอยุธยาต้องสูญเสียพระอินทราชาธิราช
ในสงครามอันเป็นเหตุให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงโทมนัสมากจึงเสด็จออกผนวช แล้วให้พระเถระรูปหนึ่ง
ชื่อ โพธิสัมภารเถร ไปขอเมืองเชลียงคืน พระเจ้าติโลกราชให้ประชุมสงฆ์โดยมีพระมหาธรรมรัตนปราสาทเป็น

๒๔
อุษณีย์ ธงไชย, “ความสัมพันธ์ ระหว่ างอยุธยาแลล้ านนา พ.ศ.๑๘๓๙ – ๒๓๑๐”, หน้ า ๑๔๗.
๒๕
กรมศิลปากร พงศาวดารกรุ งศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ, หน้ า ๖.
๒๖
ประเสริ ฐ ณ นคร, “ตานานสิบห้ าราชวงศ์” ผลงานค้ นคว้ าประวัติศาสตร์ ไทยและเรื่องของเกลือ (ไม่ ) เค็ม
(กรุงเทพฯ : อักษรสมัย, ๒๕๑๔), หน้ า ๕๕.
๒๗
กรมศิลปากร, พงศาวดารกรุ งศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ, หน้ า ๗.
๒๘
เรื่ องเดียวกัน, หน้ า ๘.
ประธาน ปรึกษาเห็นว่าไม่ควรแก่กิจของสมณะจึงไม่อนุญาต พระเถรโพธิสมภารก็กลับไป ๒๙ ข้อความดังกล่าว
สะท้อนให้เห็นว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสเด็จออกผนวชครั้งนั้นนอกจากจะด้วยความศรัทธาในศาสนาแล้ว ยัง
ทรงถือเป็นโอกาสอันดียิ่งในการขอเมืองเชลียงคืนจากพระเจ้าติโลกราช ผู้ทรงมีพระราชศรัทธาในศาสนาพุทธอย่าง
ยิ่งด้วยเช่นกัน
พงศาวดารโยนกกล่าวต่อไปว่าเมื่อพระเจ้าติโลกราชยึดเมืองเชลียงได้แล้วก็เนรเทศพระยาเชลียงให้ไปอยู่
เมืองห้างหลวงและตั้งให้หมื่นด้งนครปกครองเมืองเชลียงแทน หมื่นด้งนครครองเมืองเชลียงอยู่ ๑๔ ปี ก็ถูกพระเจ้า
ติโลกราชสั่งให้ฆ่าเพราะทรงระแวงว่าหมื่นด้งนครจะมาสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ หลังจากนั้นทาง
อาณาจักรล้านนาก็เกิดจลาจลแย่งชิงอานาจกันในราชวงศ์มังราย
พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐกล่าวว่า ปี พ.ศ.๒๐๑๗ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จ ยกทัพ
ไปยึดเมืองเชลียงได้สาเร็จ๓๐ ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าอาณาจักรล้านนาในตอนปลายรัชกาพระเจ้าติโลกราช
มีความไม่มั่นคงทางการเมือง ทาให้เกิดการระแวงสงสัยและแย่งชิงอานาจความเป็นใหญ่ในหมู่พระราชวงศ์ สมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถทรงเห็นเป็นโอกาสอันดีจึงได้ยกทัพไปยึดเมืองเชลียงกลับคืน นอกจากนี้ในหนังสือลิลิตยวน
พ่ายโคลงที่ ๑๕๑ – ๑๕๒ กล่าวข้อความตรงกับพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐว่ากษัตริย์ลาวได้ทราบข่าวสมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถเสด็จยกทัพไปตีเมืองเชลียง จึงได้ยกทัพมาป้องกันเมือง (ในลิลิตยวนพ่ายเรียกเมืองเชลียงว่า
เชียงชื่น) ด้วยพระองค์เอง และให้เจ้าเมืองแช่ห่ม ซึ่งทรงเห็นว่ามีความสามารถในการสงครามมากกว่าหมื่นด้งนคร
มาครองเมืองเชลียงเพื่อให้ช่วยกันต่อต้านทัพของอาณาจักรอยุธยา๓๑
การทาสงครามระหว่างอาณาจักรทั้งสองสิ้นสุดลงด้ วยการที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสามารถ
ปกครองหัวเมืองทางเหนือซึ่งเคยเป็นอาณาจักรสุโขทัยไว้ได้ หลังจากนั้นเอกสารทางเหนือกล่าวว่าในตอนปลาย
รัชกาล พระเจ้าติโลกราชทรงเสียพระสติ โปรดฯให้ประหารพระโอรสเพราะทรงระแวงว่าจะช่วงชิงราชสมบัติจาก
พระองค์ ท่ามกลางความไม่มั่น คงทางการเมืองทาให้ อาณาจักรล้านนาอ่อนแอ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ของ
อาณาจักรล้านนา พระเจ้าติโลกราชจึงขอเป็นไมตรีกับอาณาจักรอยุธยา ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับ
หลวงประเสริฐว่า ศักราช ๘๓๗ มะแมดัก (พ.ศ.๒๐๑๘) มหาราชขอมาเป็นไมตรี๓๒ และในปี พ.ศ.๒๐๓๐ พระเจ้าติ
โลกราชก็เสด็จสวรรคต
ผลกระทบจากสงครามครั้งนี้ทาให้การสงครามระหว่างสองอาณาจักรยุติลงจนสิ้นราชวงศ์มังราย เนื่องจาก
ได้ เ กิ ด จราจลท าให้ ส ถาบั น กษั ต ริ ย์ ไ ม่ มี เ สถี ย รภาพที่ มั่ ง คงตรงกั น ข้ า มกั บ ราชอาณาจั ก รอยุ ธ ยากลั บ มี ค วาม
เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น โดยเฉพาะหัวเมืองเหนือที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงผนวกเข้ามารวมกับอาณาจักร
๒๙
พระยาประกิจกรจักร, พงศาวดารโยนก, (กรุงเทพฯ :สานักพิมพ์แพร่พิทยา , ๒๕๑๕), หน้ า ๓๓๔ – ๓๓๕.
๓๐
กรมศิลปากร, พงศาวดารกรุ งศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ, หน้ า ๘.
๓๑
กรมศิลปากร, ลิลิตยวนพ่ าย (พระนคร : คุรุสภา, ๒๕๑๕), หน้ า ๔๐.
๓๒
กรมศิลปากร, พงศาวดารกรุ งศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ , หน้ า ๙.
อยุธยานั้นทรงเสด็จมาประทับที่เมืองพิษณุโลกและทานุบารุงให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งกว่าสมัยใดๆ เมืองพิษณุโลกมีฐานะ
เป็นราชธานีของไทยเป็นเวลา ๒๕ ปี นอกจากนี้อิทธิพลทางศิลปกรรมแบบสุโขทัยยังได้แพร่เข้าไปยังอาณาจักร
ล้านนาด้วย เช่น ลวดลายปูนปั้นประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมต่างๆ รวมทั้งเทคนิค วิธีการและรูปแบบของเครื่อง
เคลือบดินเผา เป็นต้น ๓๓ อาจกล่าวได้ว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถก็ทรงนาเมืองพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางของ
อาณาจักรอยุธยาเข้าสู่ยุคทองของเมืองพิษณุโลก

การขยายพระราชอานาจของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
การรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือ และการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
การขยายอานาจทางการเมืองของกษัตริย์อยุธยาไปยังดินแดนทางตอนเหนือจาเป็นจะต้องเข้าใจนโยบาย
การขยายอานาจทางการเมืองของผู้นาอยุ ธยาโดยทั่วไปเสียก่อน กษัตริย์อยุธยาก่อนแผ่นดินของสมเด็จพระบรม
ไตรโลกนาถทรงดาเนินนโยบายการขยายอานาจ ๓ วิธีการด้วยกันอันได้แก่ ๑.การใช้กาลังทางทหาร ๒.การสร้าง
ความผูกพันทางเครือญาติ และ ๓. การสร้างความผูกพันส่วนตัวในประเด็นที่เกี่ยวกับการใช้กาลังทางทหารนั้น
หลักฐานมีปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐและฉบับอื่นๆว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ทรง
กระทาสงครามขยายอาณาเขตถึง ๘ ครั้ง ในรัชกาลของพระองค์อย่างไรก็ดีจุดมุ่งหมายสาคัญของการทาสงคราม
นั้นอยู่ที่การขาดกาลังคน ดังนั้นในสงครามใหญ่ๆหลายครั้งจึงมีการกวาดต้อนผู้คนด้วยเช่นสงครามกั บพิษณุโลก
กาแพงเพชร ในปีพ.ศ.๑๙๑๘ สงครามกับกัมพูชาในปี พ.ศ. ๑๙๗๔ และสงครามคราวปราบพม่าในปี พ.ศ. ๑๙๘๗
เป็นต้น๓๔ หลักฐานที่ยกมานี้ได้ช่วยยืนยันว่าหัวเมืองทางเหนือ เช่น พิษณุโลกและกาแพงเพชรนั้นนอกจากจะเป็น
จุดยุทธศาสตร์ที่สาคัญแล้วยังเป็นแหล่งกาลังคนอีกดัวยจึงไม่ใช่ของแปลกที่ทั้งพิษณุโลกและกาแพงเพชรย่อมเป็นที่
หมายปองของกษัตริย์สุโขทัยและอยุธยาโดยไม่จากัดว่าผู้นาของแคว้นทั้งสองมาจากคนตระกูลใด
นอกจากการใช้กาลังทหารแล้วการสร้างความผูกพันทางเครือญาติก็เป็นนโยบายหลักอีกประการหนึ่งที่
กษัตริย์อยุธยานิยมใช้ ประโยชน์จากเจ้าผู้ครองนครใหญ่จะได้จากความผูกพันในลักษณะนี้มีอยู่สองประการด้วยกัน

๓๓
มารุ ต อัมรานนท์ , “ผลกระทบจากสงครามระหว่างสมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถกับ พระเจ้ าติโลกราชที่ มี ต่อ
ศิลปกรรมบางลักษณะของล้ านนา” รายงานผลการสัมมนาประวัติศาสตร์ เมืองพิษณุโลกครั ง้ ที่ ๒ (กรุ งเทพฯ : คุรุสภา,
๒๕๑๗), หน้ า ๑๙๒ – ๑๙๖.
๓๔
"พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ" ประชุมพงศวดรฉบับหอสมุดแห่งชาติเล่ม ๑ (พระนคร : โรงพิมพ์ก้าวหน้า.
๒๕๐๖).หนัา ๑๑๖-๑๑๙.
คือ ประการแรกนั้นเป็นความผูกพันทางเครือญาติโดยเฉพาะญาติทางการแต่งงาน (affinal tic) เท่ากับเป็นการ
สร้างความสัมพันธไมตรีระหว่างผู้ครองแควันและเจ้าผู้ครองแคว้นใหญ่ย่อมจะควบคุมกาลังคนของเจ้าผู้ครองแคว้น
เล็กๆโดยผ่านความผูกพันทางเครือญาติในทางกลับกันเจ้าผู้ครองแคว้นหรือนครเล็กก็สมารถจะพึ่งพาญาติผู้ครอง
แคว้นใหญ่เมื่อมีภัยมาถึงตัวได้ ประโยชน์อีกประการหนึ่งที่เจ้าครองนครใหญ่พึงได้คือการอ้างสิทธิทางการเมือง
เหนือนครเล็กในกรณีได้เกิดทายาทที่มีสายเลือดผสมระหว่างสองนครตัวอย่างเห็นได้ชัดในกรณีที่พระบรมไตร
โลกนาถสามารถอ้างสิทธิเหนือพิษณุโลกซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นสุโขทัย
ความผูกพันเป็นการส่วนตัวเป็นนโยบายทางการเมืองอีกประการหนึ่ งที่กษัตริย์อยุธยาสมัยตันทรงใช้ หาก
เทียบเคียงความผูกพันทางเครือญาติกับความผูกพั นส่วนตัวและความผูกพันทางเครือญาติเป็นประเภทหนึ่งของ
ความผูกพันส่วนตัว กล่าวอีกนัยหนึ่งคือผู้มีความผูกพันโดยส่วนตัวไม่จาเป็นจะต้องเป็นญาติกัน ตัวอย่างเช่น ความ
ผูกพันฐานะสหายสนิทระหว่างพ่อขุนรามคาแหง พญามังรายและพญางาเมืองเป็นต้น ความผูกพันส่วนตัว ยัง
จาแนกได้เป็นสองประเภทคือความผูกพันระหว่างผู้ที่มีฐานะทางการเมืองเสมอหรือใกล้เคียงกันกับความผูกพัน
ระหว่างผู้ที่มีฐานะทางการเมืองต่างกันเช่นความผูกพันระหว่างผู้ครองแคว้นใหญ่ ที่มีอานาจทางการเมืองสูงกว่าเจ้า
ผู้ครองแคว้นเล็กผลจากความผูกพันเป็นการส่วนตัวทาให้เกิดความไว้ว างใจกันและสามารถยุติข้อบาดหมางซึ่งแค
วันแต่ละแคว้นเคยมีต่อกันได้ระยะหนึ่ง แต่เมื่อไรที่ผู้นาแคว้นที่เป็นที่ไว้วางใจของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายลงความขัด
แย้ระหว่างแคว้นก็สามารถปะทุขึ้นอีกได้ซึ่งจะเห็นได้ในกรณีสงครามระหว่างสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ กับ
กษัตริย์สุโขทัย (มหาธรรมราชาที่ ๒ พ.ศ.๑๙๑๓ /๑๔-๑๙๔๑)หลงการสวรรคตของพระเจ้าลิไท
การขยายอานาจของอยุธยาสู่หัวเมืองทางเหนือก่อนสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ดังได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้นว่าพิษณุโลกเป็นจุดยุทธศาสตร์สาคัญของดินแดนทางเหนือดังนั้นตลอดความ
เป็นมาในประวัติศาสตร์พิษณุโลกจึงตกเป็นที่หมายปองของผู้นาแคว้นใหญ่ๆเช่น สุโขทัย อยุธยา และเชียงใหม่ โดย
เริ่มต้นจากการช่วงชิงพิษณุโลกของพ่อขุนรามคาแหงจากผู้นาตระกูลผาเมือง และตามด้วยการชิงเมืองเดียวกันนี้
เองของพระเจ้ารามาธิบดีอู่ทองจากพระเจ้าลิไทจนเป็นเหตุให้พระเจ้าลิไทต้องส่งบรรณาการให้พระเจ้าอูทองเพื่อ
ขอเมืองพิษณุโลกคืน ต่อมาในปีพ.ศ.๑๙๑๘ พระบรมราชาธิราชที่ ๑ ทรงเสด็จไปยึดเมืองพิษณุโลกและประมาณปี
พ.ศ.๑๙๖๒ สมเด็จพระอินทราชา ทรงล่งเจ้าสามพระยาไปครองพิษณุโลกท้ายที่สุดเจ้าสามพระยา (พระบรม
ราชาธิราชที่ ๒) ส่งโอรสของพระองค์ซึ่งเกิดจากเจ้าหญิงองค์หนึ่งของสุโขทัยคือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถไปอยู่
ในพิษณุโลก นอกจากพิษณุโลกแล้วกาแพงเพชรยังเป็นเมืองสาคัญอีกเมืองหนึ่งที่เป็นที่หมายปองของกษัตริย์
อยุ ธ ยาเฉพาะในรั ชกาลของพระบรมราชาที่ ๑ เมืองกาแพงเพชรถูกอยุธยารุกรานถึงสี่ครั้งในปี พ.ศ.๑๙๑๖,
๑๙๑๘, ๑๙๒๑ และ ๑๙๓๑ อาจกล่ า วได้ ว่ า จากรั ช กาลของพระรามาธิ บ ดี ที่ ๑ เป็ น ต้ น มา พิ ษ ณุ โ ลกและ
กาแพงเพชรเป็นเมืองกันชนระหว่างแคว้นที่เป็นศูนย์อานาจเดิมดือสุโขทัยกับศูนย์อานาจใหม่ที่กาลังขยายตัวขึ้น
ทางลุ่มน้าเจ้าพระยาตอนล่างคืออยุธยา
อยุธยาได้เริ่มขยายอานาจขึ้นไปทางเหนือในรัชกาลพระเจ้ ารามาธิบดีที่ ๑ ดังความในตานานชินกาลมาลี
ปรกรณ์ที่ว่า
“…พระเจ้ ารามาธิบดีกษัตริย์อโยชชปุระเสด็จมาจากแคว้นกั ม โพช
(ลพบุรี) ทรงยึดเมืองชัยนาท(พิษณุโลก)นั้นโดยทาเป็นทีว่าเอาช้างมาขายครั้น
ยึดได้แล้วทรงตั้งมหาอามาตย์ของพระองค์ชื่อว่า วัตติเดช (ขุนหลวงพะงัว) ซึ่ง
ครองเมืองสุวรรณภูมิให้มาครองเมืองชัยนาทส่วนพระองค์เสด็จกลับไปอโยช
ชปุระต่อแต่นั้นมา พระเจ้าธรรมราชาก็ส่งราชบรรณาการเป็นอันมากไปถวาย
พระเจ้ า รามาธิ บ ดี ทู ล ขอเมื อ งชั ย นาทนั้ น คื น ฝ่ า ยพระเจ้ า รามาธิ บ ดี ก็ ท รง
ประทานคืนแก่พระเจ้าธรรมราชา วัตติเดชอามาตย์ก็กลับไปเมืองสุวรรณภูมิอีก
พระเจ้าธรรมราชาครั้นได้เมืองชัยนาทคืนแล้วทรงตังพระมหาเทวีผู้เป็นพระ
กนิษฐา-ของพระองค์ให้ครองสมบัติในเมืองสุโขทัยทรงตั้งอามาตย์ชื่อ ติปัญญา
ให้ครองราชสมบัติในเมืองกาแพงเพชร...เมือพระเจ้ารามาธิบดีผู้เป็นใหญ่แก่
แคว้นกัมโพชและอโยชชปุระสวรรคตแล้ววัตติ เดชอามาตย์จากเมืองสุวรรณภูมิ
ยืดแคว้นกัมโพชได้ครั่นพระเจ้าธรรมราชาเมืองชัยนาทสวรรคตแล้ววัตติเดช
อามาตย์มาจากอโยชชปุระยืดเมืองชัยนาท...และมหาอามาตย์ชื่อพรหมไชยก็ยึด
เมืองสุโขทัยได้...”๓๕
หลักฐานข้างต้นยังช่วยให้ความกระจ่างว่าเหตุที่พระเจ้ารามาธิบดีที่ ๑ ไม่รุกรานแควันสุโขทัยบ่อยครั้งก็
เพราะพระเจ้าลิไทได้ยอมอ่อนน้อมต่อพระองค์แล้ว ส่วนความผูกพันระหว่างพระเจ้าลิไทกับพระเจ้ารามาธิบดีและ
พระบรมราชาเป็นความผูกพันส่วนตัวที่ต่างฝ่ายต่างให้ความไว้วางใจกัน ทั้งนี้เห็นได้ในกรณีที่สมเด็จพระบรมราชา
เข้ า ยึ ด พิ ษ ณุ โ ลกหลั ง จากที่ พ ระเจ้ า ธรรมราชาสวรรคตแล้ ว อย่ า งไรก็ ดี ห ลั ก ฐานข้ างต้ นยั งช่ ว ยยื น ยัน ให้ เห็ น
ความสาคัญของพิษณุโลกว่าไม่ได้ถูกพระเจ้ารามาธิบดีที่ ๑ มองข้ามไปแต่อย่างไร ความสาคัญของพิษณุโลกดูจะ
เพิ่มมากขึ้นในฐานะนครกันชนระหว่างแคว้นสุโขทัยและอยุธยาการที่พระเจ้าลิไทลงมาครองพิษณุโลกอยู่ถึง ๗ ปี
นั้นเท่ากับเป็นการใช้พิษณุโลกเป็นฐานป้องกันการขยายอานาจของอยุธยาในทางกลับกันการที่พระบรมราชาทรง
ยึดพิษณุโลกคืนหลังจากการสวรรคตของพระเจ้าลิไทก็เป็นไปได้ว่าพระองค์ไม่ได้มีความผู กพันโดยส่วนตัวและ

๓๕
รัตนปัญญา แต่ง, แสง มนวิทูร แปล, ชินกาลมาลีปกรณ์ (พระนคร : โรงพิมพ์บารุงนุกูลกิจ, ๒๕๑๘), หน้า ๑๑๑.
ความไว้วางใจต่อกษัตริย์สุโขทัยองค์ใหม่พระองค์จึงประสงค์จะยึดพิษณุโลกเป็นฐานเพื่อจะขยายอานาจขึ้นไปทาง
เหนือต่อไป หากเทียบเคียงหลักฐานในชินกาลมาลีปกรณ์ควบคู่ไปกับพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐก็
พอจะอนุมานได้ว่า พระเจ้าลิไทสวรรคตในปีพ.ศ.๑๙๑๓ หรือ ๑๙๑๔ และพระบรมราชา ทรงเสด็จไปตีพิษณุโลก
ในปีพ.ศ.๑๙๑๔ ดังความที่ว่า “เสด็จไปเอาเมืองเหนือและได้เมืองเหนือทั้งปวง” เหตุการณ์ที่แควันสุโขทัยหลังจาก
ที่พระเจ้าลิไทสวรรคตแล้วคงจะไม่มีความสงบเรียบร้อยนัก ซึ่งเปิดโอกาสให้เจ้านครต่างๆที่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของ
สุโขทัยพยายามจะดิ้นรนเป็นอิสระตัวอย่างเช่น ติปัญญาอามาตย์ (พระยาญาณดิลกเจ้านครกาแพงเพชรได้กาหนด
นโยบายการเมืองของตนเองโดยหันไปผูกไมตรีกับทางอยุธยาและได้ยกมารดาของตนเองให้เป็นสนมพระบรมราชา
เป็นที่แน่นอนว่าการกระทาของติปัญญาย่อมนาความไม่พอใจมาให้พระมหาธรรมราชาที่ ๒ (ซึ่งยากจะระบุเป็นที่
แน่นอนว่าคือใคร) จึงเป็นเหตุให้พระองค์ส่งคนของพระองค์ไปยึดกาแพงเพชรคืนจากติปัญญา หลักฐานทียืนยันว่า
ติปญั ญาได้สญู เสียความเป็นผูน้ าของนครกาแพงเพชรไปมีปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐว่า ในปี
พ.ศ.๑๙๑๖ ที่พระบรมราชาเสด็จขึ้นไปตีกาแพงเพชรนั้นเจ้าเมืองกาแพงเพชรขณะนั้นคือพระยาใสแก้วและพระยา
คาแหง ย่อมเป็นไปได้ว่าการที่พระมหาธรรมราชาที่ ๒ ส่งคนของตนไปยึดกาแพงเพชรนั้นย่อมนาความไม่พอใจมา
ให้กับพระบรมราชาเป็นอย่างมากและด้วยเหตุนี้เองที่ทาให้พระบรมราชาเสด็จขึ้นไปดีกาแพงเพชรถึงสี่ครั้งใน
รัชกาลของพระองค์
การขยายอานาจของอยุธยาขึ้นไปยังหัวเมืองทางเหนือในระยะต้นจึงไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของความแตกต่าง
ของนโยบายการขยายอานาจทางการเมืองของตระกูลอู่ทองและพรรณบุรีอย่างที่เข้าใจ แต่เป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน
กว่านั้นมากกว่าการสวรรคตของพระเจ้าลิไท ประกอบกับการดาเนินนโยบายทางการเมืองของติปัญญารวมถึงการ
ตอบโต้ของพระมหาธรรมราชาที่ ๒ ล้ ว นเป็นปัจจัยภายนอกที่ผ ลักดันให้ พระบรมราชาขยายอานาจขึ้นไปยัง
พิษณุโลกและกาแพงเพชรนอกจากนี้หลักฐานจากชินกาลมาลีปกรณ์ยังเปิดเผยให้เห็นว่าไม่ใช่ตระกุลอู่ทองหากแต่
เป็นตระกูลสุพรรณบุรี ที่มีความผูกพันทางเครือญาติกับผู้นาทางเหนือ
หลังจากที่พระบรมราชาธิราชที่ ๑ สวรรคตแล้ว (พ.ศ.๑๙๓๑) ไม่มีหลักฐานอะไรยืนยันเป็นที่แน่นอนว่า
อยุธยายกทัพขึ้นไปรุกรานหัวเมืองทางเหนืออีก อย่ างไรก็ดีมีหลักฐานยืนยันว่าในปี พ.ศ.๑๙๔๐อยุธยาได้ประกาศ
กฎหมายลักษณะโจรขึ้นใช้ในสุโ ขทัยซึ่งคาดว่าควรเป็นฝีมือของคนในตระกูลสุพรรณบุรีซึ่งอาจเป็นสมเด็จพระ
อินทราชาธิราช (พ.ศ.๑๙๕๒-๑๙๖๗) ก็ได้ ต่อมาในปีพ.ศ.๑๙๖๒ พระมหาธรรมราชา (บรมบาล) ของสุโขทัย
สวรรคต เป็นเหตุให้เกิดการแย่งชิงอานาจกันในหมู่ผู้นาหัวเมืองทางเหนือคือพระยาบาลเมืองและพระยาราม ซึ่ง
เปิดโอกาสให้พระอินทราชาเข้าแทรกแซง โดยการขึ้นไปไกล่เกลี่ยข้อบาดหมางของพระอินทราชานั้น เป็นการขึ้น
ไปของญาติผู้ใหญ่เพราะพระอิน ทราชาเป็นพระนัดดาของพระบรมราชาที่ ๑ ซึ่งมีมเหสีองค์หนึ่งเป็นเจ้าหญิง
กาแพงเพชร พระอินทราชายังได้โปรดให้โอรสองค์หนื่งของพระองค์คือเจัา สามพระยาไปครองเมืองพิษณุโลก ซึ่ง
อาจตีความได้ว่าก่อนรัชกาลพระอินทราชานั้นพิษณุโลกคงถูกสุโขทัยยึดคืนมาได้จากอยุธยาดังความในจารึกหลักที่
๔๖ ที่กล่าวว่า พ.ศ.๑๙๔๓ ศรีธรรมราชมาคากับพระมหาธรรมราชา “อานาจท้าวห้าวหาญนาพ (ล) รบราคธรณี
ดล...ผลาญปรปักษ์ศัตรูขอพระบางเป็ นแดนเก่าแสนสองหนองห้วยและแพร่ ๓๖ นอกจากจะส่งเจ้าสามพระยาไป
ครองพิษณุโลกแล้วพระอินทราชายังโปรดให้เจ้าสามพระยาอภิเษกสมรสกับ จ้าหญิงองค์หนึ่งของแคว้นสุโขทัยเพื่อ
เพิ่มความชอบธรรมในการครองพิษณุโลกของพระโอรสต่อมา ในปีพ.ศ.๑๙๘๑ หลั งจากที่เจ้าสามพระยาขึ้น
ครองราชแล้ว พระองค์ทรงโปรดให้พระโอรสคือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นไปพิษณุโลกในฐานะที่สมเด็จพระ
บรมไตรโลกนาถเป็นโอรสอันเกิดจากจ้าหญิงสุโขทัยจะเห็นได้ว่าหลังรัชกาลพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ลงมากษัตริย์
อยุธยาทรงนิยมใช้ความผูกพันทางเครือญาติเป็นนโยบายหลักในการขยายอานาจขึ้นไปหัวเมื องทางเหนือ แต่
นโยบายดังกล่าวก็ต้องพึ่งพาความมั่นคงทางกาลังทัพเพื่อสนับสนุนในทางอ้อมด้วยเช่นกัน

การปฏิรูปการปกครองของสมเด็จพระบรมไตรลกนาถและการรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือ
ในสมัยอยุธยาตอนตันกษัตริย์ต้องเผชิญกับปัญหากาหาดแคลนกาลังคนในการขยายอาณาเขตแต่ในสมัย
พระบรมไตรโลกนาถปัญหาหลักของอยุธยาคือการจัดสรรกาลังคนและกาหนดฐานะของคนในสังคมรวมถึงฐานะ
ของนครที่ตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาและเป้าหมายสาคัญที่สมเด็จพระบรมไตรลกนาถมุ่งจะปฏิรูปคือเหล่าหัวเมือง
ทางเหนือส่วนจุดมุ่งหมายสาคัญของการปฏิรูปท้องถิ่นนั้นอยู่ที่การรวมอานาจเข้าสู่ศู นย์กลางและตัดทอนอานาจ
ของผู้นาระดับท้องถิ่นลงไปความพยายามที่จะสร้างอยุธยาให้เป็นศูนย์อานาจเห็นได้จากการออกกฎหมายศักดินา
กฎหมายดังกล่าวเท่ากับเป็นการผูกขาดฐานะตาแหน่งและหน้าที่ของผู้นาท้องถิ่นว่าจะต้องผูกพันกับส่วนกลาง ๓๗
ดัวยเหตุนี่ความชอบธรรมในการสืบทอดอานาจทางการเมืองของผู้นาระดับท้องถิ่นจึงถูกทาลายลงด้วยกฏเกณฑ์
ใหม่ที่กษัตริย์อยุธยาออกมาเป็นกฎหมาย อย่างไรก็ดีนโยบายทางการเมืองของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถก็ไม่ได้
สาเร็จผลสมความมุ่งหมายดัวยสาเหตุสองประการคือการต่อต้นจากผู้นาท้องถิ่นและการแทรกแซงของล้านนาไทย
การปฏิรูปการปกครองของพระบรมไตรโลกนาถ ยังสร้างความไม่พอใจให้กับผู้นาท้องถิ่นที่ถูกริดรอน
อานาจโดยเริ่มจากการที่ยุธิษฐียรเจ้าเมืองพิษณุโลก(สองแควหนีไปพึ่งบารมีพระเจ้าติโลกราชและยังนาทัพเซียง
ใหม่ลงมาดีกาแพงเพชร (ชากังราว) ในปี พ.ศ.๑๙๙๔๓๘ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๐๐๓ พระยาเชลียง (ศรีสัชนาลัย) ก็คิด

๓๖
“จารึกหลัที่ ๔๖”, ประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๓, (พระนคร : โรงพิมพ์สานักทาเนียบนายกรัฐมนตรี, ๒๕๐๘), หน้า ๗๑-
๗๓.
๓๗
ศรีตักรโภคม. “ที่มาของการปฏิรูปการปกครอง”,ข้อขัดแย้งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย. (พระนคร :
เมืองโบราณ, ๒๕๒๔). หน้า ๘๑-๑๐๓.
๓๘
ศรีศักร วัลลิโภดม."เมืองลูกหลวงกับการปกครองไทยโบราณ". เรืองเดิม,หน้า ๗๘.
กบฏและหนีไปพึ่งบารมีติโลกราชอีก ในปีต่อมาพระยาเชลียงได้นาทัพเชียงใหม่มาตีพิษณุโลกและกาแพงเพชร
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๐๐๕ เมืองนครไทยได้อพยพขึ้นไปเมืองน่านแต่พระยากลาโหมสามารถนาคนคืนมาได้ ๓๙ อย่างไร
ก็ดีการขัดขืนของเหล่าผู้นาท้องถิ่นก็ไม่อาจจัดเป็น ปัญหาหลักของการปฏิรูปหากปราศจากการแทรกแซงของพระ
เจ้าติโลกราช
เมื่อเวลาล่วงเลยมาถึงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สุโขทัยได้สูญเสียฐานะความเป็นแคว้นสาคัญของ
ทางเหนือลงขณะที่ล้านาไทยได้เพิ่มความเข้มแข็งและขยายบทบาททางการเมืองมากขึ้นด้วยเหตุนี้เองล้านนาไทย
จึงกลายมาเป็นคู่และอุปสรรคสาคัญของการปฏิรูปการปกครองของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถการขยายบทบท
ทางการเมืองของล้านนาไทยโดยการยกทัพมารุกรานหัวเมืองทางเหนือเป็นเหตุให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถต้อง
ขึ้นไปครองพิษณุโลกในปีพ.ศ.๒๐๐๖ เพื่อใช้พิษณุโลกเป็นฐานทัพในการป้องกันการขยายอานาจของพระเจ้าติโลก
ราช จากจุดนี้เองที่ช่วยยืนยันว่าพิษณุโลกจัดเป็นนครกันชนและนครหน้าด่านที่สาคัญ การขึ้นไปครองพิษณุโลก
ของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนั้น ใกล้เคียงกับครั้งที่พระเจ้าลิไทลงมาประทับที่พิษณุโลกเพื่อกันการขยายอานาจ
ของอยุธยา อย่างไรก็ดีถึงแม้การปฏิรูปการปกครองของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในระยะแรกจะไม่ได้ผลแด่เมื่อ
สงครามกับเชียงใหม่ได้ยุติลงการปฏิรูปของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถก็รบรื่นขึ้น ๔๐ ผลกระทบสาคัญของการ
ปฏิรูปการปกครองนั้นอยู่ที่การเปลี่ยนรูปแบบการสืบทอดอานาจทางการเมืองซึ่งผู้นาทางเหนือปฏิบัติสืบทอดกัน
มาไม่ว่าจะเป็นการใช้กาลังเข้าแย่งชิงอานาจกันเองหรือการอ้างสิทธิในฐานะที่เป็นญาติกับผู้นาที่ตายลงเดิมทีผู้นา
อยุธยาใช้วิธีการเดียวกันกับที่ผู้นาทางเหนือใช้ในการสืบทอดอานาจคือใช้ทั้งกาลังและความผูกพันทางเครือญาติ
แต่มาในสมัย สมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้ทรงสร้างกฎเกณฑ์ก ารสืบทอดอานาจใหม่โดยการออก
กฎหมายที่เปิดโอกาสให้กษัตริย์อยุธยาเข้าแทรกแซงและผูกขาดการเมืองระดับท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่และชอบธรรม
การปฏิรูปการปกครองของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงเท่ากากับเป็นการทาลายวัฒนธรรมทางการเมืองของ
เหล่าผู้นาทางเหนือลงอย่างลิ้นเชิง๔๑ ในระยะแรกการต่อต้านของฝ่ายผู้เสียผลประโยชน์บังเกิดผล เพราะได้รับการ
สนับสนุนจากพระเจ้าติโลกราช แต่เมื่อเชียงใหม่ยุติการสนับสนุนเหล่าผู้นาท้องถิ่นก็หมดโอกาสจะแข็งข้อเป็นเหตุ
ให้การปฏิรูปของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ผลมากขึ้นในตอนปลายรัชกาลและสมัยต่อมา
การปกครองในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

๓๙
ตานานพื้นเมืองเชียงใหม่ (พระนคร : โรงพิมพ์สานักทาเนียบนายกรัฐมนตรี.๒๕๐๔).หน้า ๕๓-๕๔.
๔๐
“พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ”, เรื่องเดิม, หน้า ๑๑๙-๑๒๐.
๔๑ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๒๐.
ราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นสมัยที่บ้านเมืองมีความเป็นปึกแผ่น
มั่นคงและมีอารยธรรมเจริญรุ่งเรืองในทุกๆด้าน ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมรชาธิราช (เจ้าสามพระยา) พระราช
บิดาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ยกทัพไปตี กรุงยโสธรนครธมของขอมได้สาเร็จ และได้กวดต้อนทรัพย์สิน
ผู้คน ตลอดจนนักปราชญ์ราชบัณฑิตจากราชธานีขอมมายังกรุงศรีอยุธยายิ่งเป็นปัจจัยสาคัญทาให้เกิดการพัฒนา
อารยธรรมไทยในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้นการเมืองการปกครองและในรัชกาลนี้เองทางกรุงศรีอยุธยา
ได้ผนวกราชอาณาจักรสุโขทัยเข้ากับราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาแต่ร่วมกันยังไม่เหนียวแน่นมันคงจนก่อให้เกิดการ
ชักนากองทัพจากราชอาณาจักรล้านนายกมาตีหัวเมืองสาคัญของกรุงศรีอยุธยาคือพิษณุโลกและกาแพงเพชร
ยังผลให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถต้องย้ายราชธานีมาตังมันยันศึกที่เมืองพิษณุโลกเป็นเวลา ๒๕ ปีและได้ทรง
ดาเนินพระราโชบายประสานสัมพันธ์ระหว่างผู้คนของราชอาณาจักรสุโขทัยกับราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาให้กลม
เกลียวเป็นอันหนี่งอันเดียวกัน ในเวลาเดียวกันก็ได้นาเอาอารยธรรมอันรุ่งเรืองของสุโขทัยมาเสริมสร้างความเจริญ
ของกรุงศรีอยุธยา อาทิ พุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมต่างๆ
ปกครองในรั ช สมัย ของสมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถเป็นระบบการปกครองที่พระองค์ทรงนาเอาลัทธิ
เทวราช๔๒ จากอาณาจักรขอมและลัทธิธรรมราชา ๔๓ ของอาณาจักรสุโขทัยมาปรับปรุงพัฒนาการปกครองแบบ
จตุสดมภ์ที่เคยมีมาก่อนแล้ว ตั้งแต่ส มัย พระเจ้าอู่ทองผู้ ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาระบบการปกครองของไทย
หลังจากที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปรับปรุงได้ถูกใช้เ ป็นแบบอย่างเรื่อยมา มีการปรับปรุงแก้ไขบ้างในรัช
สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ สมเด็จพระนเรศวร และพระนารายณ์มหาราชแต่หลักการสาคัญๆก็ยังคงใช้ปกครอง
ประเทศมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงดาเนินการปฏิรูปการปกครองตามแบบ
ตะวันตกจึงนับได้ว่าพระราชกรณียกิจด้านการปกครองของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นประโยชน์ต่ อประเทศ
ไทยอย่างยิ่ง

๔๒ ลั ท ธิ เ ทวราชเป็ น แบบการปกครองที่ เ กิ ด ขึ้ น ในราชวงศ์ คุ ป ตะของอิ น เดี ย จากนั้ น แพร่ ข ยายไปยัง


อาณาจักรไศแลนทรแห่งชวาและขอมต่อมาได้แผ่ขยายเข้ามายังกรุงศรีอยุ ธ ยาตามความในโองการแช่งน้ าได้
ชี้ให้เห็นถึงการประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกก็คือยกพระมหากษัตริย์ขึ้นเป็นพระเจ้า เชิญเทพเจ้าให้แบ่งภาคมา
สิงสถิตย์ในวงศ์พระมหากษัตริย์ ลัทธินี้มีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบให้ยิ่งใหญ่ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
๔๓ ลัทธิธรรมราชา
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงรับแบบอย่างมาจากสุโขทัย และนามาผสมผสานกับ
ลัทธิเทวราช พระมหากษัตริย์ด้องประกอบด้วยทศพิธราชธรรม เป็นเอกอัครศาสนู ปถัมภกพุทธศาสนา พระองค์
ทรงมีพระราชศรัทธาอย่างมากจึงเสด็จออกผนวกในระหว่างครองราชย์เป็นเวลา ๘ เดือน ๑๕ ค่า
การบริหารราชการแผ่นดินในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
๑.กาหนดยศฐาบรรดาศักดิ์ของข้าราชการ ออกเป็น ๔ ประการ เช่น
ยศ หมายถึงฐานะหรือชั้นของข้าราชการได้แก่ เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น พัน ทนาย จหมื่น
เป็นต้น
ราชทินนาม คือ นามที่ได้รับพระราชทานต่อยศ เช่น มหาเสนาบดีวิริยภักคีจักรีศรีองครักษ์ ยมราช พล
เทพ พิเรนทรเทพ เป็นตัน
ตาแหน่ง คือ ชื่อหน้าทีของข้าราชการ เช่น สมุหกลาโหม เสนาบดี เจ้าเมือง ยกบัดร สัสดี เป็นตัน
ศักดินา หมายถึง การกาหนดสิทธิและอานาจของข้าราชการและประชาชนใครจะมีศักดิ์มีอานาจมากกว่า
ใครก็วัดกันที่ศักดินาโดยกาหนดออกมาเป็นมาตราอย่างเดียวกับการวัดที่นาคือการวัดออกมาเป็นนา เช่น ทาสมี
ศักดินา ๕.นา ไพร่ ๒๕ นา พระยา ๑๐,๐๐๐ นา เป็นต้น
การกาหนดบรรดาศักดิ์ทั้ง ๔ ประการ คือ ยศ ราชทินนาม ตาแหน่ง และตักตินา ของผู้ที่จะดารงตาแหน่ง
นั้นไว้แน่นอน ดังตัวอย่าง
ตาแหน่งสมุหกลาโหม มียศเป็นเจ้าพระยา มีราชทินนามว่า มหาเสนาบดีวิริยภักดี มีศักดินา ๑๐,๐๐๐ นา
ตาแหน่งเจ้าเมืองพิษณุโลก มียศเป็นเจ้าพระยา มีราชทินนามว่า สุรสีห์ มีศักดินา ๑๐,๐๐๐ นา
ตังนั้นข้าราชการซึ่งดารงตาแหน่งหนึ่งก็จะมียศมีราชทินามอย่างหนึ่งเมื่อได้เลื่อนตาแหน่งก็จะมียศมีราช
ทินนามและมีศักตินาตามที่กาหนดไว้สาหรับตาแหน่งใหม่นั้น แต่ทั้งนี้ก็มีบางกรณีที่ข้าราชการที่ได้รับการเลื่อนยศ
เลื่อนตาแหน่งแล้วแต่ยังใช้ราชทินนามเติม อนึ่งสาหรับยศนั้นในสมัยกรงศรีอยุธยาตอนตันคงมีเพียงชันพระยาหรือ
ออกญา ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายจึงเพิ่มยศเป็นเจ้าพระยาและในสมัยกรุงธนบุรีเพิ่มยศสูงถึงชั้นสมเด็จ
เจ้าพระยา
๒.การปรับปรุงการบริหารส่วนกลาง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงรวบรวมงานของกรมต่างๆเข้า
ด้วยกันและจัดตั้งกรมใหม่ที่สาคัญมี ๖ กรมดังนี้๔๔
๒.๑ กรมกลาโหม มีหน้าที่บังคับบัญชาฝ่ายทหารทั้งราชอาณาจักร อาทิ ควบคุมบัญชีไพร่พล รวบรวม
อาวุธยุทโธปกรณ์ เสบียงอาหาร สัตว์พาหนะไว้ใช้ยามสงคราม และมีอานาจหน้าที่ตัดสินคดีความของรา ษฎรที่
สังกัดกรมกลาโหมด้วย

๔๔ "พระไวยการนาทหารทั่วเยือง", กฏหมายตราสามดวง เล่ม ๑, (พระนครองค์การคุรุสภา, ๒๕๑๕),


หน้า ๒๗๙-๓๑๔.
ขุน นางผู้ บั งคับ บั ญชากรมกลาโหม มีตาแหน่งเรียกว่าสมุห กลาโหม มีบรรดาศักดิ์เป็นจ้าพระยามหา
เสนาบดีวิริยภักดีถือศักตินา ๑๐,๐๐๐ นา มีตราประจาตาแหน่งคือ ตราราชสีห์ มีกรมกองย่อยในสังกัดคือ
กองทัพบก ผู้ที่ดารงตาแหน่ง แม่ทัพมีบรรดาศั กดิ์เป็น พระยาสีหราชเดโช ถือศักดินาด ๑๐,๐๐๐ นา
กองทัพเรือ ผู้ที่ดารงตาแหน่งแม่ทัพ มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสีหราชเดชชัยท้ายน้า หรือรียกว่าพระยา
ท้ายน้า ถือศักดินา ๑๐,ooo นา
กรมอาสาซ้าย มีพระพิไชยสงคราม เป็นเจ้ากรม ถือศักดินา ๕,ooo นา
กรมอาสาขวามี พระรามคาแหง เป็นเจ้ากรม ถือศักดินา ๕๐๐๐ นา
กรมเขนทองขวา มีพระพิไชยรณฤทธิ์ เป็นเจ้า กรมถือศักดินา ๕,๐๐๐ นา
กรมขนทองซ้าย มีพระวิชิตณรงค์ เป็นเจ้ากรม ถือศักดินา ๕,ooo นา
กรมทวนทองขวาา มีพระมหาสงครามสงครามเป็นเจ้ากรม ถือศักดินา ๑,๖๐๐ นา
กรมทวนทองซ้าย มีพระอนุรักษ์โยธาเป็นเจ้ากรม ถือศักดินา ๑,๖๐๐ นา
นอกจากกรมทั้ง ๘ นี้ซึ่งเรียกรวมๆกันว่า กรมอาสาแปดเหล่า แล้วในเวลาต่อมายังมีกรมกองอื่นๆเพิ่มเข้า
มาเช่น กรมพระตารวจ กรมกองมอญ กองอาสาจาม กองอาสาปืนไฟ กรมรักษาพระองค์ กรมสนม กรมช่างสิบหมู่
เป็นต้น
๒.๒ กรมมหาดไทย มีหน้าที่บังคับบัญชาราชการด้านพลเรือน ได้แก่ ควบคุมจตุ สดมภ์ทั้ง ๔ กรม และ
กรมย่อยๆอื่นๆ ควบคุมเจ้าเมือง ควบคุมบัญชีไพร่พลฝ่ายพลเรือนทั่วราชอาณาจักรตัดสินคดีความที่เกิดขึ้นในส่วน
พลเรือน และทาหน้าที่คล้ายศาลอุทธรณ์อีกด้วย
๒.๓ กรมนครบาล ได้แก่ กรมเวียงเดิม เสนาบตีกรมนครบาลมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยายมราชอินทราธิบดี
ถือศักตินา ๑๐,๐๐๐ นา มีตราพระยายมราชขี่สิงห์เป็นตราประจาตาแหน่ง มีกรมกองในสังกัดคือ กองกระเวนขวา
และกระเวนซ้าย
๒.๔ กรมธรรมาธิกรณ์ ได้แก่ กรมวังเติม มีหน้าที่เหมือนกรมวังในสมัยอยุธยาตอนต้นแต่มีกรมกองใน
บังคับบัญชาเพิ่มขึ้น เสนาบตีกรมธรรมาธิกรณ์มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาธรรมาธิบดี ถือศักตินา ๑๐,๐๐๐ นา มีกรม
ย่อยที่สังกัดกรมวัง คือ กรมมณเฑียร กรมแสงสรรพยุทพลับพลาไชย กรมฉางข้าวบาดร กรมสวนหลวง กรมธรรม
การ กรมสังฆการี กรมจางวางขวา กรมจางวางซ้าย กรมภูษมาลา เป็นต้น
๒.๕ กรมโกษาธิบดี ได้แก่กรมคลังเดิมมีหน้าที่ควบคุมดูแลพระราชทรัพย์ ต่อมาไต้เป็นกรมที่รับผิดชอบ
การค้าและการติดต่อกับต่างประเทศ ตัดสินความที่เกี่ยวกับการคลัง เช่น ยักยอกภาษีอากรการลักลอบนาสินค้า
ด้องห้ามไปขายตลอดจนเรื่องวิวาทระหว่างคนไทยกับชาวต่างชาติ เสนาบดีกรมพระคลัง มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา
โกษาธิบดีหรือพระยาพระคลัง ถือ ศักตินา ๑๐,๐๐๐ นา ตราประจาตาแหน่งคือตราบัวแก้ว มีกรมกองย่อยสังกัด
ในกรมพระคลัง คือ กรมพระคลังสินค้า กรมท่าขวา กรมท่าซ้าย
๒.๖ กรมเกษตราธิการ ได้แก่ กรมนาเติมเสนาบดีกรมเกษตราธิก ารมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพลเทพราช
เสนา ถือศักดินา ๑๐,๐๐๐ นา มีตราประจาตาแหน่งถึง ๙ ตรา เช่น ตราพิทยาธรถือดอกจงกลนี ใช้ประทับตราตั้ง
ขุนนางกรมนา ตราพระพิรุณขี่นาค ใช้ประทับคาสั่งไปทาการวัดน้า ตราพระกาฬขี่นาค ใช้สาหรับนาข้าราชการ
กรมนาไปประหารชีวิต เป็นต้น
นอกจากส่วนราชการที่สังกัดกรมทั้งหก ซึ่งมีขุนนางชั้นเสนาบดีบังคับบัญชาแล้ว ยังมีกรมกองอื่นๆที่อยู่ใน
บั ง คั บ บั ญ ชาของพระมหากษัต ริ ย์ โ ดยตรงอี ก เช่ น กรมสุ รั ส วดี ทาหน้า ที่ รวบรวมและเก็ บ รัก ษาบัญ ชีไ พร่พล
กรมสรรพากรนอก กรมสรรพากรใน กรมคชบาล กรมอัศวราช กรมล้อมพระราชวัง กรมลูกขุน กรมอาลักษณ์ กรม
พระคลังวิเศษ กรมตารา กรมราชพิธี กรมโหรา กรมมหาดเล็ก กรมสนมทหารขวา กรมสนมทหารข้าย กรมพระ
ตารวจ ฯลฯ
๓. การปรับปรุงการปกครองหัวเมืองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้จัดแบ่งการปกครองหัวเมือง
ออกเป็น ๓ ส่วนคือ
๓.๑ หัวเมืองชั้นใน เดิมหัวเมืองชั้นในมีอานาจมากเกินไปทาให้เกิดรบราฆ่าฟันแย่งชิงราชสมบัติพระองค์
จึงยกเลิกประเพณีการแต่งตั้งเจ้านายออกไปปกครอง ทรงยกเลิกเมืองลูกหลวงและเมืองหลานหลวงเสีย แล้ว
แต่งตั้งขุนนางออกไปปกครอง โดยมีตาแหน่งเป็นผู้รั้งเมือง มีศักดินาเพียง ๑,๐๐๐ นา และให้ปกครองโดยขึ้นต่อ
เสนาบดีที่เมืองหลวง ทาให้ทางเมืองหลวงสามารถควบคุมหัวเมืองชันในได้อย่างใกล้ชิดและเป็นการป้องกันไมให้
เป็นกบฏต่อเมืองหลวงด้วย
๓.๒ หัวเมืองชั้นนอก หรือหัวเมืองเจ้าพระยามหานคร ได้เก่หัวเมืองที่อยู่ห่างไกลเมืองหลวงออกไปมาก
ทรงจัดส่งเจ้านายและขุนนางออกไปและให้มีอานาจหน้าที่แบบนครรัฐหรือแบบกึ่งอิสระ ความสาคัญของหัวเมือง
ชั้นนอก คือจะเป็นเมืองสาคัญในการป้องกันการรุกรานจากศัตรู พระมหากษัตริย์จึงทรงแต่งตั้งพระราชโอรส
ออกไปปกครอง
๓.๓ หัวเมืองประเทศราช ได้แก่ หัวเมืองขึ้น หรือหัวเมืองประเทศราช ทรงมอบให้ทายาทของอาณาจักร
นั้นๆปกครองสืบต่อกันไปทั้งนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากอยุธยา หรือบางครั้งเมืองประเทศราชเหล่านั้นด้องส่ง
ราชบุตรราชธิดา ราชบริพารมาเป็นตัวประกันเพื่อป้องกันมิให้เมืองประเทศราชแยกตัวเป็นอิสระ
การสงครามในรัชสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
โดยทั่วไปเมื่อเอ่ย ถึงพระนามของสมเด็ จพระบรมไตรโลกนาถมักจะคิดถึงเรื่องพระราชกรณียกิจ ของ
พระองค์ในเชิงเรื่องศาสนา (การทรงผนวช สร้างวัดจุฬามณี การปกครอง (ระบบสั่ งเกณฑ์) กฎหมาย (ศักดินา)
มากกว่าพระราชกรณียกิจอื่นๆซึ่งที่จริงสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถยังมีพระราชกรณียกิจที่สาคัญยิ่งอีกประการ
หนึ่งคือ “การสงคราม” ซึ่งกระทาอยู่โดยตลอดในช่วงต้นของรัช กาลกับทั้งดินแดนในภาคใต้แหลมมลายูและ
ภาคเหนือในเขตภาคเหนือตอนล่างและล้านนาไทยเข้าทานองทาศึกเสือเหนือใต้นั้นเอง
พระหาชกรณียกิจการสงครามนี้มีบทประพันธ์เฉลิมพระเกียรติของพระองค์ท่านไว้ใน “ลิลิตยวนพ่าย”
เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนาไทยยกทัพลงมาชิงหัวเมืองฝ่ายเหนือหลายครั้ง สมเต็จพระบรมไตร
โลกนาถทรงท าสงครามจนสามารถรั ก ษาหั ว เมื อ งฝ่ า ยเหนือ ไว้ ไ ด้ ในลิ ลิ ต ยวนพายไม่ ปรากฏชื่อ ผู้ แ ต่ ง และปี
พุทธศักราชที่แต่งแต่โดยทั่วไปเข้าใจว่าคงแต่งในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ซึ่งทรงเสวยราชสมบัติอยู่ระหว่างปี
พุทธศักราช ๒๐๓๔-๒๐๗๒ ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาแทบทุกฉบับกล่าวถึงสงครามระหว่างกรุงศรี
อยุธยา (สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) กับล้านนาไทย (พระเจ้าติโลกราช) ไว้ไม่กี่ครั้ง แต่ทางพงศาวดารโยนกซึ่งเป็น
พงศาวดารของล้านนาไทยกล่าวถึงว่ามีหลายครั้งทั้งที่พระเจ้าติโลกราชยกลงมาโจมตีและสมเด็จพระบรมไตร
โลกนาถยกขึ้นไปโจมตีจึงสมดังที่ในลิลิดยวนพ่ายส่วนหนึ่งได้ประพันธ์เฉลิมพระยศของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ไว้ว่า
พระทรงธรรมมิศรแม้ พระธรรม
พระแกว่นกลไกรสร แกว่นกล้า
พระญาณพ่างพนนแสง แสงรอบ เรืองแฮ
พระกษมาเสทอหล้า สี่แดนฯ
พระคุณพระครอบฟ้า ดินขาม
พระเกียรติพระไกรแผน ผ่านฟ้า
พระฤทธิพ่างพระราม รอนราพ ได้แฮ
พระก่อพระเกื้อหล้า หลากสวรรค์
พระศักดานุภาพแกล้ว การรงค รวจแฮ
สบสาตราคมสรรพ ถ่องถ้วน
วรรเพชญแกว่นการทรง สรรพศาสตร
สบสิพาคมล้วน เลอศถมา
(ลิลิตญวนพ่าย : ๑๕-๑๖)
พระราชกรณียกิจการสงคราม
ในสมัย สมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถเท่าที่ ไ ด้ค้น หลั กฐานเกี่ยวกับ พระราชกรณีย กิจการสงครามจาก
พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่างๆล้าปรากฏดังนี้
ตีเมืองมะละกา พ.ศ.๑๙๘๔ ความในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาทุกฉบับกล่าวตรงกันว่าไปตีมะละกาในปี
พ.ศ.๑๙๘๔ และสมเด็จกรมพระยาดารงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ในพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าเมืองมะ
ละกาเป็นเมืองขึ้นของไทยมาแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองที่แต่งทัพไปตีนั้นเห็นจะด้วยเจ้าเมืองมะละกาที่นับถืออิสลามไป
คบคิดกับ พวกแขกอาหรั บ หรือแขกชาวอิน เดียที่ไปมาค้าขายและชอบพอกับเจ้าเมืองมะละกาด้ว ยถือศาสนา
เดียวกันตั้งแข็งเมืองเอาใจออกห่างกรุงศรีอยุธยาและมีอยู่ในตานานของโปรตุเกสว่ าไทยยกกองทัพไปดีเมืองมะละ
กาเมื่อก่อนโปรตุเกสมาถึงแต่ไม่ได้บอกว่าแพ้ชนะหรือไม่อย่างไร๔๕
หลักฐานทางไทยว่าไปดีครั้งเดียวแต่จากหลักฐานจีนว่าไทยยกทัพไปรุกรานหลายครั้งเช่นสมัยพระเจ้า
ปรเมศวร พ.ศ.๑๙๘๕ ส่งทูตไปจีนเพื่อให้พระจักรพรรดิราชวงศ์เหม็งสนับสนุนในการต่อต้านอิทธิพลจากไทย และ
ปีพ.ศ.๑๙๘๗ พระเจ้าศรีมหาราชากษัตริย์มะละกาเสด็จไปจีนเพี่อทูลขอมิให้ไทยรุกราน ๔๖ และระหว่างปีพ.ศ.
๑๙๘๘-๑๙๘๙ ไทยยกกองทัพไปตีทั้งทางบกและทางทะเลแต่ก็เอาชนะไม่ได้จนถึงปีพ.ศ.๒๐๐๑ จึงได้ทาสัญญา
สงบศึกกับไทย๔๗ ทาให้สงครามยุติลงและสมัยโปรตุเกส มาตีมะละกาได้ในปีพ.ศ.๒๐๕๔ ก็ได้แต่งทูตมาขอเมืองมะ
ละกาซึ่งทางราชสานักไทยก็ยกเมืองให้ดังประสงค์
ตีเมืองศรีสพเถิน พ.ศ.๑๙๘๕ พงศาวดารว่าแต่งทัพไปดีเมืองศรีสพเถินและทัพหลวงเสด็จหนุนขึ้นไปตั้งที่
บ้านโคน๔๘ พงศาวดารไทยไม่ได้บอกสาเหตุการยกไปดีและผลแพ้ชนะไว้ แต่พงศาวดารโยนก๔๙ กล่าวถึงสาเหตุของ
สงครามครั้งนี้ว่าเกิดจากพระยาติโลกราชให้หมื่นโลกสามล้าน (โลกนคร) นาไพร่พลไปตีเมืองฝาง ท้าวช้อยเจ้าเมือง
หนีไปเมืองเทิง หมื่นโลกสามล้านยกทัพตามไปทันสู้รบกันจนท้าวช้อยเสียชีวิต หมื่นเทิงสามขนานเจ้าเมื องเทิงลอบ
มีหนังสือมาถึงกรุงศรีอยุธยาขอถึงพระบรมเดชานุภาพสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงเสด็จยกทัพหลวงขึ้นไปตั้งอยู่
ณ เมืองเชียงทอง ทัพหน้าไปตั้งที่สบตืน (สบเถิน) กองทัพเชียงใหม่ยกมาตั้งรับที่ตาบลท่าวัว จับกุมตัวหมื่นเทิงสาม
ขนานมาพิจารณาและรับว่าเป็นต้นเหตุชักศึก กรุงศรีอยุธยาขึ้นมาจึงฆ่าเสียแล้วยกทัพลงมาตั้งที่เมืองลาพูนทัพทั้ง
สองฝ่ายประจันหน้ากันอยู่ ทางล้านนาไทยใช้อุบายให้ทหารปลอมเป็นเชลยเกี่ยวหญ้าช้างและก่อเหตุในตอน

๔๕
กรมศิลปากร,พระราชพงศาวดารเล่ม ๑, (กรุงเทพฯะสานักงานคลังวิทยา ๒๕๓๖).หน้า ๔๕๘-๔๕๙.
๔๖
Hall D.G.E ,A History of Southeast Asia, ( Mcmillan Co.,LTD. New York ๑๙๖๔), P ๘๑-๘๔.
๔๗
Moomead F.J. A History of Malaya and Her Neighbor. (Longmans, New York. ๑๙๕๗) P ๑๒๓-อ๒๔.
๔๘
สมเด็จพระนพรัตน์, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา (กรุงเทพฯสานักพิมพ์คลังวิทยา, ๒๕๑๕),หน้า ๑.
๔๙
พระยาประชากิจกรจักร, พงศาดารโยนก.(กมเทพฯ สานักพิมพ์คลังวิทยา..๒๕๑๖),หน้า ๑๒๒-๓๒๕.
กลางคืนเกิดวุ่นวายในค่ายกองทัพแล้วไพร่ล้านนาไทยก็ยกพลเข้าปล้นค่ายทาให้ กองทัพไทยแตกหายกลั บ มา
สรุปว่าสงครามคราวนี้ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาดาเนินการไม่สาเร็จ
สงครามเมืองสองแคว พ.ศ.๑๙๙๐ สงครามคราวนี้เกิดจากพระยาเชลียงก่อการกบฎพาครอบครัวทั้งปวง
ไปขึ้นกับพระเจ้าติโลกราชนาทัพเชียงใหม่ลงมาตีพิษณุโลกเข้าปล้นเมืองแต่ไม่ได้จึงยกไปตีกาแพงเพชรปล้นอยู่ ๗
วันแต่ไม่ได้๕๐ ทางพงศาวดารโยนกว่า พระยายุทิศเจียง ผู้ครองเมืองสองแควมาสวามิภักดิ์เป็นเมืองขึ้นต่อพระเจ้า
เชียงใหม่๕๑ (เรียกพระยาเชลียงเป็นยุทิศเจียง) พระเจ้าติ โลกราชเสด็จยกทัพหลวงไปเมืองสองแควเพื่อจะยืดหัว
เมืองฝ่ายเหนือไปจากอยุธยานาทัพลงไปตั้งอยู่ที่เมืองทุ่งยั้งมีกาลังทัพมา ๕๐.๐๐๐ คนโปรดฯให้หมื่นนครเข้าโจมดี
เมืองเชลียงแต่ไม่ส าเร็ จพอดีกับมีข่าวศึกล้ านช้างยกมาติ ดชายแดนเชียงใหม่พระเจ้าติโลกราชจึงให้ กวาดครัว
พลเมืองชาวสองแควกับพระยายุทิศเจียงเลิกทัพกลับเชียงใหม่แล้วให้พระยายุทิศเจียงไปครองเมืองพะเยาการที่
เชียงใหม่ยกลงมาตีครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งแรกที่ได้ยกกาลังลงมาเพราะในอดีตที่ผ่านมามีแต่ฝ่ายกองทัพอยุธยายกขึ้น
ไปโจมดีโดยตลอดโดยเฉพาะได้โจมดีเชียงใหม่( เมืองหลวงของล้านนาไทย) ถึง ๔ ครั้งคือ ๕๒
ครั้งที่ ๑ .พ.ศ.๑๙๒๓ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (พะงั่ว) เสด็จยกทัพขึ้นไปตีเชียงใหม่และข้าปล้น
เมืองนครลาปางแต่ไม่ได้จึงเสด็จยกทัพกลับ
ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๑๙๒๗ สมเด็จพระราเมศวรยกทัพไปตีเชี ยงใหม่อีกได้เมืองและอพยพครัวเรือนลงมาที่
สวางคบุรี (ในเขตอุตรดิตถ์) และโปรดฯให้นักสร้างขึ้นเป็นพระเจ้าชียงใหม่
ครั้งที่ ๓ พ.ศ.๑๙๗๑ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (สามพระยา) เสด็จยกทัพไปตีเชียงใหม่ทาการปล้น
เมืองแต่ไม่ได้ต่อมาทรงพระประชวรจึงเสด็จยกทัพกลับ
ครั้งที่ ๔ พ.ศ.๑๙๗๓ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (สามพระยา) เสด็จยกทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่อีก
เป็นครั้งที่ ๒ ตีเมืองได้แล้วอพยพผู้คนแสนสองหมื่นคนลงมาด้วย
สงครามเชียงใหม่ พ.ศ.๒๐๐๐ สงครามครั้งนี้ไม่ปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา แต่พงศาวดารโยนก
กล่าวว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถกับพระอินทราชาราชบุตรยกทัพหลวงขึ้นไปดีเมืองเชียงใหม่ทางเมืองลาปาง ๕๓
ไปตั้งทัพหลวงริมแม่น้าราชธานีฝั่งฟากตะวันออก กองทัพพระเจ้า ติโลกราชยกมาตั้งรับทีเชิงดอยบา พร้อมด้วย
กองทัพหัวเมืองทั้งปวง กองทัพทั้งสองฝ่ายเกิดปะทะกัน เกิดชนช้างกันขึ้นระหว่างพระอินทราขากับช้างพระยายุ
ทิศเจียง (เจ้าเมืองพะเยา) รี้พลสองฝ่ายเข้าสัประยุทธกันเป็นโกลาหลช้างทรงของพระอินทราชาถูกรุมด้วยช้าง ๔

๕๐
สมเด็จพระนพรัตน์, เรื่องเดิม. หน้า ๓๒๒-๓๒๕.
๕๑
พระยาประชากิจกรจักร, เรื่องเดิม, หน้า ๒๓๘.
๕๒
กรมศิลปากร, เรื่องเดิม. หน้า ๑๑๕-๑๒๐.
๕๓
พระยาประชากิจกรจัก, เรื่องเดิม, หน้า ๓๒๘.
เชือกของเจ้าแจ้สัก หมื่นจ่าช้อย หมื่นนคร และพระยายุทิศเจียง พระอินทราชาด้องกระสุนปืนเขาที่พระพักตร์ไส
ช้างหนีไปกองทัพไทยจึงเลิกทัพกลับโดยมีกองทัพของล้านนาไทยไล่ติด ตามมาคือกองทัพของหมื่นด้งนครและทัพ
พระยายุทิศเจียง
สงครามชนช้างกันคราวนี้พงศาวดารไทยกล่าวไว้ไม่ตรงกับพงศาวดารโยนกกล่าวคือระบุว่า "พระยาเชลียง
(ยุทิศเจียง) นาทัพเชียงใหม่มาตีพิษณุโลกเข้าปล้นเมืองแต่ไม่ได้จึงนาทัพไปตีกาแพงเพชรเข้าปล้นเมืองถึง ๗ วันแต่
ไม่ได้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถกับสมเด็จพระอินทราชาราชบุตรเสด็จขึ้นไปช่วยเมืองกาแพงเพชรได้ทันสมเด็จ
พระอินทราชาตีทัพพระยาเกียรติแตก ทัพท่านมาปะทะทัพหมื่นนครได้ชนข้างด้วยหมื่นนครและข้าศึกลาวทั้งสี่ช้าง
เข้ารุมเอาช้างพระที่นั่งช้างเดียวครั้งนั้นพระอินทราชาต้องปืนที่พระพักตร์ทัพเชียงใหม่ยกกลับไป๕๔
สงครามเมืองสองแคว พ.ศ.๒๐๐๒ ในปีพ.ศ.๒๐๐๒ พระเจ้าติโลกราชยกทัพหลวงไปล้อมเมืองสองแคว
แต่ขุนศึกของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถคือขุนเพชรรัตน์กับขุนรามตีฝ่ากองทัพที่ล้อมเมืองออกไปได้โดยออกไปตั้ง
ยู่ริมแม่ราชธานี (น้ายม) เมื่อล้อมเมืองไม่สาเร็จพระเจ้าติโลกราชก็ยกทัพกลับไป
สงครามเมืองแพร่ พ.ศ.๒๐๐๓ ในปีพ.ศ.๒๐๐๓ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จยกทัพหลวงขึ้นไปตี
เมืองแพร่โดยทางเขาพึง มีกองทัพของหมื่นดังนครออกมาตั้งรับศึกและต่อมากองทัพพระจ้าติโลกราชก็เสด็จยกทัพ
หลวงหนุนมาช่วยหมื่นดังนคร กองทัพไทยก็เลิกถอยกลับมา พระเจ้าติโลกราชยกทัพหลวงตามลงมาถึงเมืองเชลียง
พระยาเชลียงยอมสวามิภักดิ์ จึงนาทัพเชียงใหม่ตีเมืองสวางคบุรี (บลางพล) เข้าปล้นเมือง ๓ วันมิได้ จึงถอยทัพ
กลับไป จากการที่มีศึกสงครามต่อเนื่องกันอยู่เสมอมาเป็นเหตุให้สมเด็จพระบรมไตรโสกนาถทรงมีพระราชดาริเห็น
ว่าราชการเมืองเหนือหนักแน่น เวลามีข้าศึกมาจะส่งกองทัพกรุงศรีอยุธยามาไม่ทัน จึงเสด็จขึ้นไปเสวยราชย์อยู่
เมืองพิษณุโลกในปี พ.ศ.๒๐๐๖ ดังความในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ กล่าวว่า “ตรัสให้พระเจ้าแผ่นดินเสวย
ราชสมบัติพระนครศรีอยุธยาทรงพระนามสมเด็จบรมราชา คือเอาศรีอยุธยาเป็นเมืองลูกหลวง”๕๕
ในปีพุทธศักราช ๒๐๐๖ พระเจ้าติโลกราชได้ยกกองทัพมาตีกรสุโขทัย"สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรง
ยกทัพออกไปป้องกันเมืองโดยให้พระอินทราชาราชโอรสเป็นทัพหน้า พงศาวดารโยนกกล่าวว่าเป็นสงครามนอง
เลือดซึ่งทาให้พระอินทราชาราชโอรสต้องปืนที่พระพักตร์สิ้นพระชนม์ทันทีทหารทั้ งสองฝ่ายรบกันอีกนานไม่มีใคร
แพ้ใครชนะจึงยุติสงคราม
ปีพุทธศักราช ๒๐๑๑ พระชนมายุ ๓๗ พรรษาเมืองเชียงใหม่เกิดศึกชิงราชสมบัติกันเองสมเด็จพระบรม
ไตรโลกนาถทรงส่งกาลังไปก่อความวุ่นวายจนทาให้เกิดความระสาระสายในอาณาจักรล้านนา

๕๔ กรมศิลปากร, เรื่องเดิม. หน้า ๑๒๒.


๕๕
กรมศิลปากร, เรื่องเดิม. หน้าเดียวกัน.
สงครามเมืองเชียงชื่น พ.ศ.๒๐๑๗ เป็นสงครามครั้งสุดท้ายในรัชกาลสมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถโดยพง
คาวดารกรุงศรีอยุธยาทุกฉบับกาวว่าเสด็จไปเมืองเชลียง ๕๖ พงศาวดารไม่ได้กล่าวว่าไปเพราะอะไร ได้ผลอย่างไร
แต่สมเด็จกรพระยาดารงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ว่า หลังสงครามปีพ.ศ.๒๐๐๖ แล้วทางล้านนาไทยก็เกิดวุ่นวาย
เพราะกรุงศรีอยุธยาแต่งอุบายให้พระภิกษุ องค์หนึ่งขึ้นไปเป็นข้าศึกยุยงพระเจ้าติโลกราชทาให้พระเจ้าติโลกราช
สงสัยว่าท้าวบุญเรืองราชโอรสและหมื่นดังนครจะมาเข้าข้างสมเด็จพระบรมไตรโลกจึงจับท้าวบุญเรืองสาเร็จโทษ
และนาตัวหมื่นด้งนครเจ้าเมืองเชียงชื่นไปลงโทษที่เชียงใหม่ผู้คนทางเชียงชื่นมีสตรีชื่อนางเมือง มาสว ามิภักดิ์ต่อ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและขอทัพขึ้นไปช่วยรักษาเมืองเชียงชื่น แต่ยังไม่ทันที่กองทัพไทยจะขึ้นไปทัพของเมือง
แพร่และเมืองน่านก็ยกมาตีได้เมืองเชียงชื่นก่อน ชาวเซลียงที่ถูกทัพเชียงใหม่กวาดต้อนเอาไปก็พากันหนีมาเข้าข้าง
ฝ่ายไทยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงยกทัพขึ้นไปดีเมืองเชียงชื่น
หลังสงครามคราวนี้แล้ว สงครามระหว่างล้านนาไทยกับกรุงศรีอยุธยาลิ้นสุดลงโดยใน ปีพ.ศ.๒๐๑๘
พระเจ้าติโลกราชก็ได้ส่งทูตมาขอเป็นไมตรี
ในปีพุทธศักราช ๒๐๒๐ ทรงสถาปนาเมืองบางยางเป็นเมืองหน้าด่านใหม่อีกครั้งหนึ่งโดยขึ้นตรงต่อเมือง
พิษณุโลก
ในปีปีพุทธศักราช ๒๐๒๓ ทรงอภิเษกพระยาล้านช้างเป็นเจ้าเมืองล้านช้างแสดงว่าสมเด็จพระบรมไตร
โลกนาถได้ขยายพระราชอานาจไปถึงเมืองเวียงจันทน์และเมืองหลวงพระบาง
ในปีพุทธศักราช ๒๐๓๑ พระชนมายุ ๕๗ พรรษา โปรดให้พระบรมราชายกทัพไปตีเมืองทวายได้สาเร็จ
ผลของการสงครามตามที่ได้กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่ามีผลต่อดินแดนไทยเป็นอย่างมากในแง่ที่ได้ปกป้อง
ดินแดนภาคเหนือตอนล่างไว้โดยรวมอยู่กับราชอาณาจักรกงศรีอยุธยามาโดยตลอดจึงสมตังที่ลิลิตยวนพ่ายได้
พรรณาเฉลิมพระยศไว้ว่า
กษัตริย์สรราชเรื้อง รศธรรม์
บรรหารยศยอยวน พายฟ้า
สมภารปราบปลยกัลป์ ทุกทวีป
ร้อยพิภพเหลื่อมหล้า อยู่เย็น (ลิลิตยวนพายะ ๘๓)

๕๖
พันจันทนุมาส (เจิม), พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา. (กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์คลังวิทยา, ๒๕๑๗), หน้า ๑๔.
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงผนวช
เอกสารที่กล่าวถึงการผนวชของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนอกจากพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาหลายฉบับ
แล้วยังมีศิลาจารึกซึ่งพบที่วัดจุฬามณีจังหวัดพิษณุโลก ๕๗ อีกหลักหนึ่ งที่ให้รายละเอียดมากพอสมควรสิ่ งที่น่า
สังเกตคือศิลาจารึกดังกล่าวทาขึ้นในปี พ.ศ. ๒๒๒๔ ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ พ.ศ.
๒๑๙๙-๒๒๓๑) หลังจากการรวบรวมจดหมายเหตุที่โหรบันทึกไว้มาเรียบเรียงลาดับระยะเวลาซึ่งต่อมาคือเอกสาร
ที่เรียกกันว่าพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ (ต่อไปจะเรียกว่าพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ
เพียงอย่างเดียว) ดังนั้นข้อมูลที่นามาใช้เขียนข้อความที่กล่าวถึงการผนวชของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนาจะมา
จากที่เดียวกันซึ่งห่างจากเหตุการณ์ถึง ๒๑๘ ปี
สภาพการณ์ทั่วไปก่อนออกผนวช
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ครองราชย์พ.ศ. ๑๙๙๑-๒๐๓๑) ออกผนวชเมื่อปี พ.ศ.๒๐๐๘ ขณะที่สงคราม
ระหว่างอาณาจักรอยุธยากับอานจักรล้านนายังไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดความได้เปรียบและ
สภาพการณ์เซิงรกยังคงเป็นของฝ่ายอาณาจักรล้านนาขณะนั้นพระเจ้าติโลกราชกษัตริย์ล้านนา (ครองราชย์ พ.ศ.
๑๙๘๕-๒๐๓o) ยังคงยึดเมืองเชลียงเอาไว้ แล้วแต่งตั้งหมื่นดังนครจ้าเมืองลาปางผู้มีฝีมือในการรบมาเป็นเจ้าเมือง
เชลี ย ง ๕๘ มีการเตรี ย มกาลั งพลเป็ น จ านวนมากทั้งสองฝ่ ายในลั กษณะที่เผชิญ หน้า กัน มีความเป็น ไปได้ ที่ ท าง
อาณาจักรล้านาอาจยกกองทัพลงมาในที่ราบลุ่มตอนบนของแม่ น้าเจ้าพระยาได้ตลอดเวลาในช่วงเวลานั้นมีการรบ
กันหลายครั้งทกครั้งฝ่ายอาณาจักรอยุธยามักเป็นฝ่ายเสียเปรียบจึงเป็นเรื่องน่าพิจารณาว่าขณะที่สถานการณ์ไม่น่า
ไว้วางใจเช่นนั้นเหตุใดสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงตัดสินพระทัยออกผนวชและผนวชอยู่นานถึง ๘ เดือน ๑๕ วัน
ดามทีได้กล่าวไว้ในศิลาจารึก ราวกับบ้านเมืองมิได้อยู่ในวิกฤตการณ์เช่นนั้น
พงศาวดารฉบับหลวงปะเสริฐและตานาน ๑๕ ราชวงศ์๕๙ อาจให้ความกระจ่างในเรื่องนี้บ้างแม้ว่าการเน้น
ความสาคัญของเหตุการณ์ที่นามาบันทึกของเอกสารทั้งสองจะต่างกันตามความคิดที่จะเชิดชูวีรกรรมของฝ่ายตนก็
ตามแต่เนื้อความก็ใกล้เคียงกันโดยสภาพการณ์ทั่วไปแล้วก่อนหน้ารัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถอาณาจักร
สุโขทัยได้ถูกแยกออกเป็น ๔ ส่วนต่างก็มีจ้าเมืองปกครองเป็นอิสระคือเมืองกาแพงเพชร เมืองสุโขทัย เมืองเชลียง

๕๗ ศิลาจารึกหลักนี้สมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพรกรมขุนลพบุรีราเมศร์ (พระอิสริยยศในขณะนั้น ทรงค้นพบที่วัดจุพามณี


ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลกออกไปทางใต้ราว ๑๕ กิโลเมตร เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ เมื่อเสด็จไปตรวจราชการเมืองพิษณุโลก,
ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑ (พิมพ์ครั้งที่ ๒ พระนคร : กองการพิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาล, ๒๔๙๙) หน้า ๑๔๐-๑๕๒.
๕๘ กรมศิลปากร, "พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ", ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓, เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๒๐.

๕๙ กรมศิลปากร"พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ".เรื่องเดียวกัน , หน้า ๑๒.ศาสตราจารย์ดร.ประเสริฐ นคร,"สุโขทัย


อยุธยาและเชียงใหม่ ณ ในตานานสิบห้าราชวงศ์,"สารัตถคดีประเสริฐ ณ นคร"(กรุงเทพ : พิฆเณศ, ๒๕๒๙), หน้า ๑๐๖-๑o๗
และเมืองพิษณุโลก๖๐ อาณาจักรอยุธยาได้ขามามีบทบาทชี้นาทางการเมืองต่ออาณาจักรสุโขทัยอย่างมากในรัชกาล
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (ครองราชย์ พ.ศ.๑๙๖๗-๑๙๙๑) จนประสบความสาเร็จในการผนวกอาณาจักร
สุโขทัยเข้าไว้ได้เด็ดขาดเมื่อปีพ.ศ.๑๙๙๔๖๑ ทาให้อาณาเขตของอาถาจักรอยุธยาและอาณาจักรล้านนา ประชิดกัน
โดยไม่มีอาณาจักรสุโขทัยเป็นรัฐกันชนเช่นเดิมในลักษณะเช่นนี้ทางฝ่ายอาณาจักรล้านาย่อมต้องเข้าใจว่าที่ทางฝ่าย
อาณาจักรอยุธยาผนวกเข้ามาใหม่ก็หละหลวมไม่มีนโยบายที่แน่นอนรวมทั้งเจ้าเมืองทั้ง ๔ เมืองดังกล่าวยังมีความ
ปรารถนาที่จะชิงความเป็นผู้นาหรือได้รับการยกย่องให้ควบคุมอาณาจักรสุโขทัยเดิม รวมทั้งต้องการกลับไปสู่
สถานภาพเดิมก่อนการผนวกของฝ่ายอาณาจักรอยุธยาด้วย จึงทาให้ทางอาณาจักรล้านนามีโอกาสในการแทรกแซง
และยกเมืองบางเมืองซึ่งเป็นเมืองที่มีความสาคัญในเชิงรุกออกมาเพื่อตัดความได้เปรียบของฝ่ายอาณาจักรอยุธยา
กับสามารถชิงพื้นที่ซึ่งมีความสาคัญทางยุทธศาสตร์ไว้ในครอบครองมีลาดับเหตุการณ์ที่น่าสังเกตจากพงศาวดาร
ฉบับหลวงประเสริฐและตานาน ๑๕ ราชวงศ์๖๒ ดังนี้
๑.ปีพ.ศ.๑๙๙๔ พระยายุธิษฐียร๖๓ เจ้าเมืองสองแควพิษณุโลกขอไปขึ้นกับพระเจ้าติโลกราชด้วยเหตุผลที่
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมิได้แต่งตั้งให้ตนเป็นอุปราชตามที่เคยสัญญากันไว้ เพียงแต่แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองสอง

๖๐Vickery Michale, " The 2/ k. 125 Fragment, A Lost Chronical of Ayutthya" , Journal of the siam
Society. Vol.65/1 January, 1977) p44-46.
๖๑ เกี่ยวกับการผนวกอาณาจักรสุโขทัยเข้ากับอาณาจักรอยุธยามีปีที่น่าสนใจอยู่ ๓ ปีคือ พ.ศ.๑๙๘๐ ซึง่
เป็นปีที่พระศรีสุริยพงค์บรมปาลมหาธรรมราชา(พระมหาธรมรชาที่ ๔) ซึ่งครองเมืองพิษณุโลกอยู่สิ้นพระชนม์ทาง
ฝ่ายอยุธยาตั้งให้สมเด็จพระราเมศวรมาครองเมืองพิษณุโลกในฐานะอุปราช (ระหว่าง พ.ศ.๑๙๘๐-๑๙๙๑) อาจถือ
เป็นการผนวกอาณาจักรทั้งสองได้ พ.ศ.๑๙๙๔ พระยายุทธิษฐียรเช้าเมืองพิษณุโลก (ระหว่างพ.ศ.๑๙๙๑ - ๑๙๙๔)
หาไพร่พลที่สวามิภักดิ์ตนไปขึ้นกับอาณาจักรล้านนาทาให้ทางฝ่ายอยุธยาเข้าปกครองและผนวกอาณาจักรสุโขทัย
ได้ และสุดท้ายปีพ.ศ.๒๐๐๖ อันเป็นปีที่พระราชชนนีของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถซึ่งครองเมืองพิษณุโลก
(ระหว่างพ.ศ.๑๙๙๔-๒๐๐๖) สิ้นพระชนม์สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงเสด็จขึ้นมาประทับที่เมืองพิษณุโลก อาจ
ถือเป็นการผนวกอาณาจักรทั้งสองเช่นเดียวกับในบทความนี้ใช้ปีพ.ศ.๑๙๙๔ เป็นปีที่ผนวกดินแดนสุโขทัยและ
อยุธยาเข้าด้วยกัน
๖๒ กรมศิลปากร"พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ",เรืองเดียวกันหน้า ๑๑๙-๑๒๒.
๖๓
พระยายุทธิษฐียรพงศาวดารเรียกพระยาเถียน พระยายุทธิษเจียงหรือพระยาเกียรติเป็นโอรสของพระศรีสุริยพงศ์บรม
ปาลมหาธรรมราชาธิราช (พระมหาธรรมรชาที่ ๔) กษัตริย์สุโขทัยเมื่อครั้งที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถดารงพระยศเป็นพระราเม
ศวรตาแหน่งอุปราชครองเมืองพิษณุโลก (ระหว่างพ.ศ.๑๙๘๑-๑๙๙๑) ภายหลังจากที่พระศรีสุริยพงศ์บรมปาลมหาธรรมราชาธิราช
สิ้นพระชนม์นั้น สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขณะดารงพระยศเป็นพระราเมศวรได้คุยและให้สัญญากับพระยายุทธิษฐียรว่าเมื่อ
พระองค์ได้ขึ้นครองราชย์ที่อยุธยาแล้วจะตั้งให้พระยายุทธิษฐียรเป็นอุปราช แต่ภายหลังจากที่ได้ขึ้นครองราชย์แล้วทรงแต่งตั้งให้
เป็นแค่เจ้าเมืองพิษณุโลกเท่านั้น ไม่ได้ตั้งให้เป็นอุปราชอาจเป็นเพราะทรงเห็น ว่ากษัตริย์สุโขทัยรัชกาลหลังๆได้ มาประทับที่เมือง
พิษณุโลก การตั้งให้เป็นเจ้าเมืองพิษณุโลกเสมือนหนึ่งเป็นการยอมรับ การสืบเซื้อสายของกษัตริย์สุโขทัยด้วย"อีกประการหนึ่งเมื่อ
แควเท่านั้น จากนั้นได้นัดหมายให้พระเจ้าติโลกราชยกกองทัพลงมาเมืองพิษณุโลกตีได้เมืองปากยมขากลับได้น้า
เอาชาวเมืองพิษณุโลกไปด้วยหมื่นคนเศษ
ขณะเดียวกันพระเจ้าติโลกราชโปรดให้เจ้าเมืองลาปางไปตีเมืองเชลียงจนเมืองเซลียงต้องยอมแพ้หลังจาก
เหตุการณ์ครั้งนี้พระยายุทธิษฐียรได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้าติโลกราชให้เป็นเจ้าเมืองพะเยา พงศาวดารฉบับ
หลวงประเสริฐกล่าวถึงเหตุการณ์ในปี พ.ศ.๑๙๙๔ ว่าพระเจ้าติโลกราชยกทัพมาตีเมืองชากังราวได้แล้วยกทัพไปดี
เมืองสุโขทัยแต่ไม่ได้ชัยชนะจึงยกทัพกลับ
๒.ปีพ.ศ.๒๐๐๐ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและพระอินทราชายกกองทัพไปดีเมืองแพร่และเมืองลาปาง
กองทัพของอาณาจักรล้านนามีหมื่นดังนครและพระยายุทธิษ เฐียรบรเป็นแม่ทัพ พระอินทราชา ขุนเพชรรัตน์เจ้า
เมืองกาแพงเพชรและขุนรามอาสาเจ้าเมืองสุโขทัยคุมกาลังเข้าตีทัพพระยายุธิษฐียรแต่ก็พ่ายแพ้เสียกาลังพลไปมาก
พระอินทราชายังถูกปืนที่พระพักตร์ทาให้กองทัพของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถด้องถอยลงมาตั้งอยู่ที่แม่น้ายม
กองทัพอาณาจักรล้านนามิได้ติดตามโจมตีถึงขั้นมีชัยเด็ดขาดเนื่องจากพระเจ้าติโลกราชไต้ห้ามปรามไว้ พงศาวดาร
ฉบับหลวงประเสริฐไม่กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ แต่ได้กล่าวว่าปีพ.ศ.๑๙๙๙ ยกกองทัพไปเมืองสีสบทิน ครั้งนั้ นเสด็จ
หนุนทัพขึ้นไปตั้งทัพหลวงที่ตาบลโคน
๓ ปีพ.ศ.๒๐๐๒ พระเจ้าติโลกราชยกกองทัพขึ้นไปทางเหนือเข้าดีเมืองต่างๆของชาวไทยลื้อมีเมืองสิงเป็น
ต้น สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงยกกองทัพมาเมืองแพร่หมื่ นด้งนครคุมกองทัพมาป้องกันเมืองแพร่ไว้ได้ สมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถต้องถอยทัพกับ ต่อมาไม่นานพระเจ้าติโลกราชยกกองทัพกลับมาจากทางเหนือรวบรวมกาลัง
พลแล้วยกมาล้อมเมืองพิษณุโลกซึ่งขณะนั้นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงหนีออกจากเมืองได้ ส่วนเมืองเชลียง
นั้นได้ยืนยันการสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าติโลกราชอีกครั้ง ทั้งยังนากองทัพอาณาจักรล้นนาเข้าตีเมืองพิษณุโลกอีกแต่
ไม่สาเร็จไปดีเมืองบางพลไม่สาเร็จเช่นกัน
พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐไม่กล่าวถึงเหตุการณ์เหล่านี้ละเอียดนัก เป็นแต่บันทีกว่า พ.ศ.๒๐๐๓ พระ
ยาเชลียงยอมขึ้นกับพระเจ้าติโลกราช พ.ศ.๒๐๐๔ พระยาเชลียงน้าทัพพระเจ้าติโลกราช ปล้นเมืองพิษณุโลกและ
เมืองกาแพงเพชรไม่ได้เมืองต้องถอยกลับไป
๔. ปี พ.ศ.๒๐๐๔ พระเจ้าติโลกราชให้เนรเทศพระยาเชลียงไปเมืองหางเนื่องจากไม่ซื่อสัตย์แล้วโปรดให้
หมื่นด้งนครเจ้าเมืองลาปางเป็นเจ้าเมืองเชลียง จากบันทึกของทั้งสองฝ่ายเห็นได้ว่าในการรบที่กล่าวถึงมาแล้วแม้
ทางอาณาจักรล้านนาจะไม่ได้ชัยชนะเด็ดขาดแต่ก็ยึดพื้นที่คืบหน้าเข้ามามากขึ้นและการรบทุกครั้งไม่มีครั้งใดที่ ทาง
อาณาจักรอยุธยาจะได้เปรียบจนพลิกสถานการณ์ให้ดีขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ายึดครองเมืองเชลียงและ

ครั้งที่พระองค์ดารงพระยศเป็นพระ ราเมศวรก็เคยมาครองเมืองนี้ ในฐานะอุปราช การตั้งให้เป็นจ้าเมืองพิษณุโลกจึง


น่าจะสมเหตุผลตามสัญญาแต่พระยายุทธิษเฐียรไม่พอใจเป็นเหดุให้นาเอาไพร่พลเมืองพิษณุโลกไปขอขึ้นกับล้านนา
แต่งตั้งให้หมื่นดังนครผู้มีฝีมือในการบให้เป็นเจ้าเมืองเชลียงตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๐๐๔ เป็นต้นมายิ่งทาให้สถานการณ์
เคร่งเครียดขึ้นสร้างความกดดันให้ทางฝ่ายอาณาจักรอยุธยาเป็นอย่างมากเพราะเมืองเชลียงกลายเป็นฐานกาลัง
ส่วนหน้าของอาณาจักรล้านนาห่างจากเมืองพิษณุโลกเพียง ๕๐ กิโลเมตรเศษทางอาณาจักรล้านนาสามารถส่ง
กาลั งเพิ่มเติมผลั ดเปลี่ ย นได้ดาย เนื่ องจากติดต่อกับอาณาเขตของตนมี แนวโน้มว่าอาจเคลื่ อนกาลั งลงมาได้
ตลอดเวลา
๕. พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ กล่าวถึงเหตุการณ์ในปีพ.ศ.๒๐๐๕ เมืองนครไทยอพยพครัวไปขึ้นกับ
เมืองน่าน พระยากลาโหมไปตามครัวเมืองนครไทยกลับคืนมาแล้วยกทัพไปยึดเมืองสุโขทัยคืนได้ในปีเดียวกันเลย
อาจเป็นเพราะทางฝ่ายอาณาจักรล้านนายึดครองเมืองสุโขทัยไว้ในระยะสั้นก่อนที่ทางกองทัพอาณาจักรอยุธยาจะ
ยึ ดกลั บ คืน ไปจึ งไม่ กล่ าวถึ งหรื อ ไม่เช่น นั้ น จ้าเมื องสุ โ ขทัย เองคงจะคิ ดไปสวามิภั กดิ์ต่ อ พระเจ้ าติโ ลกราชฝ่ า ย
อาณาจักรอยุธยาจึงปราบเสียก่อน
ปีพ.ศ.๒๐๐๖ เป็นปีที่น่าจะมีสถานการณ์ดึงเครียดมาก และมีความเป็นไปได้ตลอดเวลาที่ทางอาณาจักร
ล้านนาจะจู่โจมเข้าตีเมืองสุโขทัยและเมืองพิษณุโลกในปีนี้เองพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐบันทึกว่าสมเด็จพระ
บรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นไปประทับที่เมืองพิษณุโลก ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร นครเห็นว่าการเสด็จ
ขึ้นมาประทับที่เมืองพิษณุโลกคงเป็นเพราะพระราชชนนีของพระองค์ซึ่งเป็นเจ้านายในราชวงศ์พระร่วงและประทับ
อยู่ที่เมืองพิษณุโลกตลอดเวลาสิ้นพระชนม์ซึ่งก็มีเหตุผลเพียงพอที่จะลดความหวาดระแวงของทางฝ่ายอาณาจักร
ล้านนาที่จะเข้าใจว่าพระองค์เสด็จขึ้นมาเพื่อเตรียมการทาสงครามโจมดีดินแดนที่ทางฝ่ายอาณาจักรล้านนายึ ด
ครองอยู่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถคงจะได้มีพระราชปรารถนาที่จะออกผนวชในตอนนี้และอาจได้แจ้งพระราช
ปรารภนี้ไปยังพระเจ้าติโลกราช พระเจ้าจักรพรรดิกษัตริย์ล้านข้าง (ครองราชย์พ.ศ.๑๙๘๔-๒๐๒๑) และพระนาง
เชงสอบูกษัตริย์หงสาวดี (ครองราชย์พ.ศ.๑๙๙๖-๒๐๑๕) ทรงทราบด้วยทั้งนี้เพื่อผ่อนคลายสถานการณ์ลง เท่ากับ
เป็ น การสงบศึกชั่ ว ระยะหนึ่ งเป็ น การชะลอมิให้ ก องทั พล้ านนารุ กคืบหน้าเข้ามาอี กการใช้นโยบายเช่น นี้ เ ป็ น
ทางเลือกที่สูญเสียน้อยที่สุดจึงได้ทรงแต่งตั้งผู้สาเร็จราชการแทนพระองค์เพี่อยืนยันการผนวชครั้งนี้ พงศาวดาร
ฉบับหลวงประเสริฐบันทึกไว้ว่าได้ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระบรมราชาครองราชย์ที่กรศรีอยุธยาเมื่อปีพ.ศ.๒๐๐๖
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงผนวช
มีเรื่องที่น่าพิจารณาเกี่ยวกับการผนวชของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถคือเพราะเหตุใดพระองค์จึงไม่ผนวช
ที่กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นเมืองหลวงที่อาจประกอบพระราชพิธีให้ยิงใหญ่สมเป็นการผนวชของพระมหากษัตริย์ทั้งยัง
เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของอาณาจักรอยุธยาที่ผนวชขณะที่ยังทรงราชย์สมบัติอยู่ด้วยแต่ถ้าพิจารณาถึง
สถานการณ์ที่ทางฝ่ายอาณาจักรล้านนาซึ่งกาลังได้เปรียบอยู่แล้วจะเห็นได้ว่าการผนวชที่เมืองพิษณุโลกเป็นการ
สงบศึกชั่วคราวโดยคู่กรณีไม่อาจปฏิเสธได้ทั้งยังเป็นการป้องกันไม่ให้กองทัพอาณาจักรล้านนารุกเข้ามาโจมตีเมือง
พิษณุโลกเนื่องจากพระมหากษัตริย์ยังคงอยู่ในสมณเพศที่เมืองนั้น ในทางกลับกันหากพระองค์ เสด็จไปผนวชที่กรุง
ศรีอยุธยาอาจทาให้คิดไปได้ว่าในช่วงเวลาของการผนวชพระองค์อาจทรงรวบรวมกาลังพลขึ้นเพื่อการสงคราม
ในช่วงต่อไป ในขณะที่ทางฝ่ายอาณาจักรล้านนาได้ให้โอกาสโดยไม่ดาเนินการทางทหารในขณะที่ทรงผนวชอยู่
ในประเด็นนี้กองทัพอาณาจักรล้านนาอาจรวบรวมกาลังพลเข้ายึดเมืองพิษณุโลก แล้วเลยลงมายังที่ราบ
ลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาซึ่งมีความเป็นไปได้สูง ดังนั้นการผนวชที่เมืองพิษณุโลกจึงเท่ากับเป็นการประกันการสงบศึกทา
ให้กองทัพอาณาจักรล้านนาไม่มีเหตุที่จะรุก เข้ามาตีเมืองพิษณุโลกหรือพื้นที่ราบลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาตอนบนได้การ
ตัดสินพระทัยออกผนวชของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในขณะที่สถานการณ์รอบข้างตึงเครียดไม่น่าไว้วางใจทาให้
อาจกล่าวได้ว่าการผนวชของพระองค์เป็นไปเพราะสถานการณ์บังคับเนื่องจากทรงต้องการสงบศึกโดยที่คู่กรณีไ ม่
อาจปฏิเสธได้เพื่อปรับเปลี่ยนท่าทีของทางฝ่ายอาณาจักรอยุธยาและประเมินสถานการณ์ทบทวนการต่อสู้ที่ผ่านมา
เพื่อปรับวิธีการใหม่ทาให้ เห็น ได้ชัดเจนว่าตานาน ๑๕ ราชวงศ์หรือพงศาวดารหลายฉบับของล้ านนาที่ บัน ทึก
เหตุการณ์ระหว่าง พ.ศ.๑๙๙๔ - ๒๐๐๖ น่าเชื่อถือได้มาก การปรับเปลี่ยนท่าทีนี้พงศาวดารเชียงใหม่กล่าวว่าภาย
หลังจากที่ผนวชแล้วสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถส่งทูตไปถวายพระราชกุศลต่อพระเจ้าติโลกราชกับทูลขอเมือง
เชลียงคืนจากทางฝ่ายล้านาแต่ถูกปฏิเสธโดยเหตุผ ลที่ว่าไม่ใช่กิจในศาสนา แสดงให้เห็นถึงความกังวลใจของ
พระองค์ในการที่อาณาจักรล้านนายังคงยึดครองเมืองเชลียงและใช้เป็นฐานกาลังส่วนหน้าเป็นอย่างยิ่ง
มีความเป็นไปได้ว่าเมื่อมีพระราชปรารภที่จะออกผนวชส่งไปยังพระเจ้าจักรพรรดิกษัตริย์ล้านช้าง พระเจ้า
ติโลกราช และพระนางเชงสอ กษัตริย์หงสาวดีและทรงยืนยันการผนวชด้วยการเริ่มสร้างวัดจุพามณีขึ้นนั้นเป็ นการ
เริ่มต้นการสงบศึกกับอาณาจักรล้าน ในบันทึกของทั้ งสองฝ่ายไม่ปรากฏว่ามีการสู้รบกันระหว่างอาณาจักรอยุธยา
กับอาณาจักรล้านนา จนกระทั้งถึงปี พ.ศ.๒๐๐๘ ซึ่งเป็นปีที่ออกผนวชในปีนั้นมีผู้ออกบวชโดยเสด็จซึ่งอาจจะไม่ได้
บวชในวัดจุฬามณีพร้อมกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแต่ บวชในอยุธยา, พิษณุโลกอีกถึง ๒,๓๔๘ รูป คนสองพัน
เศษเป็นผู้ที่มาจากสามัญชน หรือมาจากขุนนางไม่มีรายละเอียดกล่าวไว้
แต่ถ้าจะพิจารณาจากสถานการณ์ที่เป็นอยู่ขณะนั้นคนส่วนใหญ่น่าจะเป็นขุนนางข้าราชการทั้งสิ้นเพื่อให้
เห็นว่ามีความจริงใจในการสงบศึกอย่างแท้จริงโดยผู้ที่ มีตาแหน่งที่ทาการรบหรือมีชื่อเสียงทางการรบก็ได้ออกบวช
โดยเสด็จหมดแล้วช่วงเวลา ๘ เดือน ๑๕ วันนับเป็นเวลายาวนานเกินสมควรที่พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระราช
อานาจเด็ดขาดอยู่ในสมณเพศ ช่องว่างของอานาจที่ยาวนานเช่นนี้น่าจะทาให้การปกครองและการบริหารงานไม่
ราบรื่นนักพระราชโอรสซึ่งทรงสาเร็จราชการแทนพระองค์อยู่ทีกรุงศรีอยุธยาและขุนนางข้าราชการจึงอัญเชิญให้
ลาผนวชจากนั้นจึงเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยาการลาผนวชทาให้มองไต้เป็นสองทาง คือเนื่องจากเกิดช่องว่างของ
อานาจที่ยาวนานทาให้ต้องลาผนวชเพื่อควบคมการบริหาร หรือสถานการณ์โตยทั่วไปเปลี่ ยนแปลงทาให้ความตึง
เครียดลดลงและอาจนาความได้เปรียบกลับมาสู่ทางอาณาจักรอยุธยาได้
ศาสนาในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เมืองพิษณุโลกในอดีตเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรื่องทุกๆด้าน ในสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถซึ่ง
พระองค์เสด็จมาประทับอยู่เป็นเวลานานถึง ๒๕ ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒oo๖ - ๒๐๓๑ ในช่วงเวลานี้จึงถือได้ว่าเมือง
พิษณุโลกเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยาพระองค์ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองสองแควเป็นเมืองพิษณุโลกอันหมายถึงโลก
ของพระวิษณุหรือพระนารายณ์และมีพระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปสาคัญประจาเมืองอีกด้วย ก่อนที่สมเด็จพระ
บรมไตรโลกนาถจะเสด็จมาประทับที่พิษณุโลกพระองค์ทรงอุทิศที่ดินในพระราชวังกรุงศรีอยุธยาสร้างวัดพระศรี
สรรเพชญ์ ขึ้ น เพื่ อ ให้ เ ป็ น วั ด อยู่ ใ นท าแพงพระราชวั ง ดั ง ปรากฏหลั ก ฐานในพระราชพงศาวดารฉบั บ พระ
ราชหัตถเลขาความว่า
“...สมเด็จพระราเมศวรเจ้าผู้เป็นพระราชบุตรขึ้นเสวยราชสมบัติทรงพระนามสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ยกวังทาเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์เสด็จมาอยู่ริมน้าจักให้สร้างพระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาทองค์หนึ่ง สร้างพระที
นั่งสรรเพชญ์ปราสาทองค์หนึ่ง..."
นอกจากนี้พระองค์ยังโปรดให้สร้างพระสถูปบรรจุพระธาตุและวัดพระรามขึ้นเพี่ อถวายเป็นราชานุสาวรีย์
แก่สมเด็จพระรามาธิบดี (อู่ทอง) ดังข้อความในพระราชหัตถเลขาว่า
“…แลทีถ่ วายพระเพลิงสมเด็จพระรามาธิบดีที่พระองค์สร้างกรุงนั้นให้สถาปนาพระมหาธาตุและพระวิหาร
เป็นพระอารามให้นามชื่อวัดพระราม จะเห็นได้ว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสต่อ
ศาสนามากเมี่อเสด็จมาเสวยราชสมบัติที่เมืองพิษณุโลก พระองค์ก็ได้บาเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ต่อ
อาณาจักรกรุ งศรี อยุธ ยาไม่เพีย งแต่ป้ องกั นมิให้ ข้าศึกมาบุกรุกหั วเมืองเหนื อเท่านั้นพระองค์ยังทรงทะนุ บารุง
พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยนั้น ตามหลักฐานปรากฏดังนี้หลักฐานในพระราชพงศาวดารกรุงเก่า
ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิดิ์กล่าวถึงการสรังวิหารวัดจุพามณีและการเสด็จออกผนวชว่า "ศักราช ๘๒๖ วอกศก
(พ.ศ.๒๐๐๗) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสร้างพระวิหารวัดจุพามณี"ศักราชศพรกาศก (พ.ศ.๒๐๐๘) สมเด็จพระ
บรมไตรโลกนาถเจ้าทรงผนวช ณ วัดจุฬามณีได้”
“ศักราช ๘๒๗ รกาศก (พ.ศ. ๒๐๐๘) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าทรงผนวช ณ วัดจุฬามณีได้ ๘ เดือน
แล้วลาผนวช”
นอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกรอยพระพุทธบาทจาลองวัดจุพามณีว่า “…ลุศักราช ๘๒๖ (พ.ศ.
๒๐๐๗) ปีวอกนักษัตรอันดับนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีศรีบรมไตรโลกนาถบพิตรเป็นเจ้าให้สร้างอารามจุฬามณีที่จะ
เสด็จออกทรงมหาภิเนษกรมณ์ขณะนั้น เอกราชทั้งสามเมือง คือ พญาล้านช้าง และมหาราชพญาเชียงใหม่ แลพญา
หงสาวดีชมพระราชศรัทธาแต่งเครื่องอัฐบริขารให้มาถวาย”
ลุศักราช ๘๒๗ ปีระกานักษัตร เดือนแปด ชื้นสิบสี่ค่า ครุเทพวาร สมเด็จพระรามารธิบดีศรีบรมไตร
โลกนาถบพิตรเป็นเจ้าเสด็จทรงผนวชแลสมเด็จพระราชเอารสท่านกราบลงกับพระบาทแล้วขึ้นสู่พระราเชนทรยาน
แลท่านก็ให้บวชพระสงฆ์บริวัตรก่อนห้าองค์แล้วท่านจึงทรงเครื่องบรรพชิตแลพระสงฆ์บวชโดยเสด็จทั้งสี่ คณะ
๒๓๕๘ พระองค์ แต่สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีบรมไตรโลกนาถบพิตรเป็นเจ้าทรงผนวชได้แปดเดือนสิบห้าวันครั้นถึง
เดือนห้าสมเด็จพระโอรสท่านแลพฤตามาตย์ทั้งหลายถวายบังคมขออัญเชิญเสด็จลาผนวชช่วยครองราษฎร กรรม
ทั้งปวงท่านก็เสด็จปริวัตรเเล้วก็ล่องลงมายังกรุงพระมหานครศรีอยุธยา"
จากหลักฐานข้างต้นแสดงให้เห็นว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงผนวชที่วัตจุพามณีพร้อมทั้งข้าราช
บริพารบวชโดยเสด็จทั้ง ๔ คณะจานวน ๒๓๙๘ รูปนั้นได้ว่ามีผู้ตามเสด็จออกมาผนวชมากที่สุดและพระองค์เป็น
พระมหากษัตริย์องค์แรกของอยุธยาที่ทรงผนวชขณะที่ยังทรงราชย์อยู่ซึ่งทาให้พระยาล้านช้างคือพระเจ้าจักรพรรดิ
แห่งนครเวียงจันทน์ มหาราชพระยาเชียงใหม่คือพระเจ้าติโลกราช และพระยาหงสาวดีคือพระเจ้าธรรมเจดีย์ครอง
กรุงหงสาวดีทั้ง ๓ พระองค์ชื่นชมในพระราชศรัทธาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงได้ส่งเครื่องอัฐบริขารมา
ถวายพระองค์ทรงผนวชอยู่ที่วัดจุ ฬามณีเป็นเวลา ๘ เดือน ๑๕ วัน แสดงให้ เห็ นว่าในสมัยนั้นพระพุทธศาสา
เจริญรุ่งเรืองมีพุทธศาสนิกชนเลื่อมใสศรัทธาดาเนินรอยตามพระองค์นอกจากนี้ยังโปรดให้พระราชโอรสเสด็จไป
ลังกาเพี่อนิมนต์พระสงฆ์จากลังกามาจาพรรษาที่วัดจุฬามณีดังปรากฏหลักฐานในลิลิตยวนพ่ายตอนหนึ่งว่า
“แถลงปางจอมน้ารถน้อม ใจหวงง
สวะบาปแสวงบุญบท ทีแล้ว
ปางบตรทานเทาลงง กาทวีป
เชอญช่วยสงฆผู้แล้ว เกลศไกล
พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับด้านศาสนาที่สาคัญยิ่งอีกประการหนึ่งคือการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระปรางค์
พระศรีรัตนมหาธาตุซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุพระปรางค์องค์เ ดิมคง
เป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ซี่งสร้างในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทแห่งกรุงสุโขทัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรด
ให้ดัดแปลงเป็นรูปพระปรงค์แบบอยุธยาตอนต้นและได้ทรงจัดงานฉลองอย่างยิ่งใหญ่เป็นเวลานาน ๑๕ วัน ๑๕ คืน
ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนเลยดังหลักฐานในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติกล่าวว่า
"ศกราช ๘๔๔ ขาลศก พ.ศ. ๒๐๒๕) ท่านให้เล่นการมหรสพ ๑๕ วันฉลองพระศรีรัตนมหาธาตุแล้วจึงพระ
ราชนิพนธ์มหาชาติคาหลวงจบบริบูรณ์การที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเป็นธุระในการประพันธ์หนังสือมหา
ชาติดาหลวงซึ่งในพงศาวดารบันทึกว่า"พระราชนิพนธ์"หนังสือทางศาสนาเล่มนี้จึงสาเร็จบริบูรณ์และมีสานวน
โวหารไพเราะสละสลวยจัดเป็นวรรณคดีทางพระพุทธศาสนาที่เป็นแบอย่างในการแต่งในสมัยอยุธยาดังปรากฏใน
หนังสือจินดามณีกล่าวถึงความไพเราะของมหาชาติดาหลวงไว้ดังนี้
“...ในปีขาลจัตวาศกจุลศักราชได้ ๘๔๔ (พ.ศ.๒๐๒๕) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถให้ประชุมพระสงฆ์สบ
สังวาสและนักปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งปวงผูกพระมหาชาติคาหลวงเป็นพิสดารทั้ง ๑๓ กัณฑ์เป็นคาสวดคาหลวง แล
ถอยคาในคาสวดพระบาลีก็ดี ในสวดเนื้อความก็ดี เป็นไพเราะนักหนา แลเรียนยากยิ่งหนักหนา และเพราะกว่าสวด
คาคล้อง แลเพราะกว่าสวดคาจอง ซึงมีมาแต่บุราณ...”
ตังนั้นมหาชาติคาหลวงไม่เพียงแต่เป็นเรื่องราวทางพุทธศาสนาเท่านั้นยังเป็นวรรณคดีที่ยอมรับกันว่าการ
เรียบรียงหรือเปลภาษาบาลีเป็นภาษาไทยที่มีเป็นสานวนโวหารไพเราะถือเป็นแบบอยางที่ดีในการแต่งคาหลวงอีก
ด้วย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงทานุบารุงศาสนาทุกด้าน เช่น ทรงบูรณะวัดต่างๆในจังหวัดพิษณุโลกหลายวัด
ได้แก่ วัดราชบูรณะ วัดนางพญา วัดโพธิญาณ วัดอรัญญิก วัดธรรมจักร วัดชีปะขาวหาย วัดราชคฤห์ และวัดวิหาร
ทอง เป็นต้น นอกจากนี้ยังทรงหล่อรูปพระโพธิสัตว์ทั้ง ๕๕๐ พระชาติอีกด้วย
ศาสนาในเมืองพิษณุโลกในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจริญรุ่งเรืองตลอดระยะเวลา ๒๕ ปีที่เสด็จ
ประทับที่พิษณุโลกนับจนถึงเวลานี้เป็นเวลา ๕๕๔ ปีแล้วศาสนาในเมืองพิษณุโลกก็ยังคงรุ่งรือง เช่นเดียวกับในอดีต
เพราะเมืองพิษณุโลกมีองค์พระพุทธชินราชซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่มีความงามยิ่งกว่าพระพุทธรูปอื่นๆซึ่ง
ยังคงเป็นศูนย์รวมแห่งความเลื่อมใสของประชาชนทั่วทั้งประเทศมาจนทุกวันนี้
พระราชกรณีย กิจ ของสมเด็ จ พระบรมไตรโลกนาถถู กบั น ทึก ไว้ ในประวัติ ศ าสตร์เ มื องพิ ษ ณุโ ลกและ
ประวัติศาสตร์ชาติไทยที่แสดงให้เห็นถึงพระราชปณิธานอันแน่วแน่ของพระองค์ที่จะดารงพระพุทธศาสนาให้คงอยู่
ตลอดไปถาวรวัตถุทั้งหลายที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบันแสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองในอดีตที่ทาให้อาณาประชาราษฎร์
อยู่ร่มเย็นเป็นสุขเพราะมีพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจาชาติควรที่ชาวไทยจะภาคภูมิใจอย่างยิ่ง

กฎหมายในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ตลอดระยะเวลายาวนานถึ ง ๔๑๗ ปี ที่ ก รศรี อ ยุ ธ ยาเป็ น ราชธานี ข องไทยราชอาณาจั ก รอยุ ธ ยามี
พระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถในด้านการปกครองหลายพระองค์ กฎหมายซึ่งเป็นเครื่องมือที่สาคัญอย่าง
หนึ่งในด้านการปกครองได้ถูกบัญญัติขึ้นมาใช้ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นกฎหมายสมัยอยุธยามีทั้งที่บัญญัติขึ้นมาใช้
เองในแต่ละรัชกาลและบางส่วนได้ปรับปรุงหรือพัฒนามาจากกฎหมายดั้งเดิมที่ใช้สืบทอดมาก่อนหน้านั้น เช่น
กฎหมายสมัยสุโขทัยซึ่งปรากฎอยู่ในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย เป็นต้น แต่กฎหมายสมัยก่อนมิได้รวบรวมเป็ นรูป
ประมวลดังเช่นกฎหมายปัจจุบัน
เมื่อถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถอาณาจักรสุโขทัยได้ตกมาเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา
และไทยยังได้ แผ่ขยายอานาจไปถึงนครธมราชธานีของขอม กรุงศรีอยุธยาจึงได้ข้าราชการสุโขทัย ชาวกัมพูชา
เจ้านายและผู้ชานาญการปกครองมาใช้ในราชการจานวนมาก สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึ งทรงรอบรู้ขนบธรม
เนียมประเพณีการปกครองบ้านเมืองของกรุงสุโขทัยและของขอมเป็นอย่างดีและทรงน้ามาปรับปรุงใช้ในการ
ปกครองบ้านเมืองก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทางด้านการปกครองซึ่งถือได้ว่าเป็นการปฏิรูปการ
ปกครองที่สาคัญยิ่งครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของชาติไทยทรงริเริ่มการปกครองบ้านเมืองแบบรวมศูนย์อานาจมา
อยู่ภายใต้พระมหากษัตริย์ ยกเลิกการแต่งตั้งเจ้านายในราชวงศ์ ไปปกครองเมืองลูกหลวงเมืองหลานหลวง แต่งตั้ง
ขุนนางจากส่วนกลางไปปกครองดูแลเมืองต่างๆเจ้าเมืองจึงถูกลดอานาจและสิทธิลงทางด้านการบริหารและการ
ปกครอง เพราะต้องไปสังกัดอยู่กับเสนาบดีฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน รูปแบบการปกครองพระราชอาณาจักรของ
พระองค์มีการสืบทอดต่อมาเป็นเวลาหลายร้อยปี และพึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่ก็มิได้ลบล้าง
รูปแบบตั้งเดิมจนหมดสิ้น
สิ่งต่างๆที่ได้กล่าวมาข้างต้นมีความสาคัญและเกี่ยวข้องกับกฎหมายที่ประกาศใช้ในรัชสมัยของสมเก็จพระ
บรมไตรโลกนาถทั้งสิ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลา ๒๕ปีที่เสด็จมาประทับ ณ พระราชวังจันทน์เมืองพิษณุโลก น่าจะ
เป็นเวลาที่สาคัญในการวางแผนปฏิรูปประเทศและออกกฎหมายไว้ใช้ในบ้านเมืองด้วย กฎหมายสมัยพระบรมไตร
โลกนาถซึ่งปรากฏหลักฐานอยู่ในกฎหมายตราสามดวงที่ชาระในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์มีดังนี้
๑. กฎหมายว่าด้วยการเทียบศักดินา กฎหมายศักดินาไม่ใช่เพิ่งมีในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแต่มี
ใช้มานานก่อนหน้านั้นคือตั้งแด่สมัยน่านจ้าและสุโขทัย โดยปรากฏหลักฐานอยู่ในจดหมายเหตุของจีนและในติ ลา
จารึกสมัยสุโขทัยเมื่อถึงสมัยพระบรมไตรโลกนาถพระองค์ได้ทรงนาเอามาปรับปรุงและกาหนดหลักเกณฑ์ขึ้นใช้
ใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของบ้านเมืองในขณะนั้นในสมัยก่อนพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าของ
ที่ดินทั้งหมดในพระราชอาณาจักร พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการทั้งหลายยังไม่มีเงินเดือนและเงินปีเหมือน
สมั ย ปั จ จุ บั น ที่ น าจึ ง เป็ น สิ่ ง มี ค่ า มากกว่ า อย่ า งอื่ น คื อ เป็ น เสมื อ นรางวั ล แทนเงิ น เดื อ นที่ พ ระมหากษั ต ริ ย์
พระราชทานให้แก่เจ้านาย ขุนนาง ข้าราชการและราษฎรทั่วไปตามเกณฑ์พระราชกาหนดที่อนุญาตให้บุคคลที่มี
ตาแหน่งยศและสถานภาพต่างๆมีที่ ดินได้เท่าที่กาหนดเป็นอย่างสูงจะมีเกินกว่านั้นไม่ได้และเพื่อให้สอดคล้อง กับ
การปฏิรูปการกครองของพระองค์ที่ทรงออกกฎเกณฑ์ใหม่บังคับให้เจ้านายต้องอยู่ภายในพระนคร จึงทรงแต่งตั้งให้
บรรดาเจ้านายมีตาแหน่งยศและศักดินาลดหลั่นกันตามลาดับ เพื่อแสดงถึงฐานะและสิทธิพิเศษต่างๆ ขณะเดียวกัน
ทรงแต่งตั้งให้ขุนนางจากส่วนกลางออกไปปกครองดูแลเมืองต่างๆในฐานะที่แตกต่างกัน เช่นเป็นเจ้าเมือง คณะ
กรมการเมือง เป็นตัน จึงทรงพระราชทานตาแหน่งยศขันราชทินนามและศักดินาให้เหมาะสมแก่ฐานะขนาดและ
ความสาคัญของแต่ละเมือง
ดังนั้นบรรดาเจ้านายขุนนางและข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจึงมี
ทาเนียบนามบอก ตาแหน่ง ยศชั้น ราชทินนาม และมีศักดินากากับเอาไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น ตาแหน่งสมุหกลาโหม
มียศเป็นเจ้าพระยา มีราชทินนามว่า มหาเสนาบดีวิริยภักดี มีศักดินา ๑๐,๐๐๐ นา หรือตาแหน่งเจ้าเมืองพิษณุโลก
มียศเป็นเจ้าพระยา มีราชทินนามว่า สุรสีห์ มีศักดินา ๑๐,๐๐๐ นา
๒. กฎหมายลักษณะอาญาหลวง เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษข้าราชการผู้ประพฤติผิดระเบียบวินัย
ทรยศต่อพระมหากษัตริย์และละเมิดพระราชโองการ พระราชบัญญัติ พระราชเสาวนีย์และเรื่องอื่นๆ ตัวอย่างเช่น
บทที่ ๑ ผู้ใดใจโลภนักมักใหญ่ใฝ่สูงเกินศักดิ์ กระทาให้ลันพันล้าเหลือบรรดาศักดิ์อันท่านให้แก่ตน แลถ้อยคามิควร
เจรจาเอามาเจรจาเข้าในระวางราชาศัพท์ แลสิ่งของมิควรประดับเอามาเป็นเครื่องประดับตน ท่านว่าผู้นั้นทนง
องอาจให้ลงโทษ ๘ สถาน คือ ๑.บันคอริบเรือน๒.เอามะพร้าวห้าวยัดปาก ๓. ริบราชบาดแล้วเอาตัวลงหญ้าช้าง
๔. ไหมจตุรคุณเเล้วเอาตัวออกจากราชการ ๕. ไหมทวีคุณ ๖. ทวนด้วยลวดหนัง ๕๐ ที ๒๕ ที่แล้วใส่ตรุไว้ ๗. จาไว้
แล้วถอดเสียเป็นไพร่ และ ๘. ภาคทัณฑ์ไว้
๓. กฎหมายลักษณะอาญากบฏศึก เป็นกฎหมายที่ใช้ลงโทษผู้ที่กระทาความผิดฐานเป็นกบฏและกระทา
ความผิดในราชการศึกสงครามหรืออาญาศึกนั้นเอง จากกฎหมายลักษณะอาญาหลวงที่กล่าวแล้วจะเห็นว่าความผิด
หลายประเภทมีการลดหย่อนผ่อนโทษให้แก่ผู้กระทาความผิดได้ตามสมควรแก่กรณีแต่ความผิดฐานกระทาการอัน
เป็นกบฏซึ่งมีผลต่อความมั่นคงปลอดภัยของพระราชอาณาจักรและพระเจ้าแผ่นดิน กรณีนี้จะไม่ได้รับการลดหย่อน
ผ่ อนโทษเลย ตัว อย่ างกฎหมายลั กษณะอาญากบฏ ได้แก่ บทที่ ๑ ผู้ ใดใฝ่ ใหญ่เกินตัว มักกบฏประทุษร้ายต่อ
พระองค์ลงจากกาภูฉัตร อนึ่งทารัยพระองค์ตัวโหรายาพิษแลด้วยเครื่องศาสตราสรรพยุทธให้ถึงสิ้นพระชนม อนึ่ง
พระเจ้าอยู่หัวให้ผู้ใดไปรั้งเมืองครองเมืองและมิได้เอาสุวรรณบุปผา แลภัทยาเข้ามาบังคมถวาย แลแข็งเมือง อนึ่ง
ผู้ใดเอากิจการบ้านเมืองแลกาลังเมืองแจ้งให้ข้าศึกฟัง ถ้าผู้ดกระทาดังกล่าวมานี้โทษผู้นั้นเป็นอุกฤษ ๓ สถาน คือ
สถานหนึ่งในริบราชบาทย์ ฆ่าเสียให้สิ้นทั้งโคตร
สถานหนึ่งให้ริบราชบาทย์ ฆ่าเสียเจ็ดโคตร
สถานหนึ่งให้ริบราชบาทย์แล้วฆ่าเสียโครตนั้นอย่าให้เลี้ยงต่อไปอีกเลย เมื่อประหารชีวิตนั้นให้ประหารให้
ได้ ๗ วันจึงให้ลิ้นชีวิต เมื่อประหารนั้นอย่าให้โลหิตและศพดกลงในแผ่นดิน ท่านไห้ใส่แพลอยเสียตามกระแสน้า
ในตอนท้ายของบทที่ ๑ นี้ ยั งได้กล่ าวถึงความผิ ดโทษฐานเป็นกบฎดังระบุ ไว้ข้า งต้นว่าไม่ อาจน าเอา
บาเหน็จความดีมาลดหย่ อนผ่ อนโทษได้ ยกเว้นโทษถึงตายจากความผิดอื่นๆก็ให้นาบาเหน็จความชอบนั้น มา
พิจารณาลดหย่อนโทษได้ตามควรแก่กรณี
๔. กฎหมายว่าด้วยกฎมณเฑียรบาล คือพระราชกาหนดที่ใช้ภายในราชสานักซึ่งสมเด็จพระบรมไตร
โลกนาถทรงแก้ไขปรับปรุงมาจากตาราราชประเพณีโบราณตามคัมภีร์มนูธรรมศาสตร์ของอินเดียที่พวกพราหมณ์
นาเข้ามาสอนแต่สมัยโบราณโดยใช้ในราชสานักไทยเมื่อ พ.ศ.๒๐๑๑ กฎมณเทียรบาลแบ่งออกเป็น ๓ แผนกคือ
๑. แผนกพระตารา หมายถึง ตาราที่ว่าด้วยแบบแผนพระราชานุกิจกาหนดเวลาที่พระเจ้าแผ่นดิน
ทรงปฏิบัติพระราชกิจต่างๆประจาวันประจาเทศกาลซึ่งถือเป็นพระราชกรณียกิจที่สาคัญในการปกครอง
บ้านเมืองเช่น กาหนดระเบียบวาระพระราชอิริยาบถไว้เป็นพระราชานุกิจว่าเวลาใดจะทรงทาสิ่งใดบ้างมี
ทั้งที่เป็นการส่วนพระองค์และพระราชภาระกิจในการปกครองบ้านเมือง เช่ น การเสด็จออกว่าราชการ
เสด็จไปทรงพิพากษาคดีเสด็จออกงานเทศกาลและงานประเพณีต่างๆเป็นต้น
๒.แผนกพระธรรมนูญเป็นแผนกที่ว่าด้วยตาแหน่งหน้าที่ราชการและการจัดตาแหนงต่างๆ ของ
พระราชวงศ์เช่นพระราชกุมารตลอดจนพระราชนัดดาฝ่ายพระราชกุมารเกิดด้วยอัดรมเหสี คือ หน่อ
สมเด็จพระพุทธเจ้าเกิดด้วยแม่หัวเมืองเป็นพระมหาอุปราช เกิดด้วยลูกหลวงกินเมืองเอก เกิดด้วยหลาน
หลวงกินเมืองโท เกิดด้วยพระสนมเป็นพระเยาวราช
๓. แผนกพระราชกาหนด เป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับกฎระเบียบแบบแผนข้อบังคับที่ใช้ปกครองใน
ราชสานัก เช่น การลงโทษลูกหลวงจะต้องกระทาให้สมกับราชอิสริยศักดิ์ คือ ถ้าจาเป็นต้องใส่ตรวน ต้อง
ใช้เครื่องทองสาหรับลูกหลวงเอก เครื่องเงินสาหรับลูกหลวงโท ถ้าโทษหนักถึงสิ้นชีวิตให้ตีดัวยท่อนจันทน์
เป็นต้น
สาหรับการรักษาความสงบเรียบร้อยในวัง มีบัญญัติไว้จานวนมากเช่นการเข้าออกพระราชวังมีกฎระเบียบ
ห้ามคนต่างด้าวเข้ามาเล่นด้วยสนม ห้ามลูกขุนหรือขุนนางขี่ม้าเข้ามาในสนามเมื่อขุนดาบห้ามมิฟังกลับต่อด่าต่อ
เถียงให้มีโทษ ๓ประการคือ ประการหนึ่งให้ส่งมหาดไทย ประการหนึ่งให้ส่งองครักษ์ ประการหนึ่งให้สักลงหญ้า
ช้าง หรือหากวิวาทเถียงกันในพระราชวังให้จาใส่ขื่อไว้ ๓ วัน ถ้าด่ากันในวังให้ตีด้วยหวาย ๕๐ ที ถ้าชกตีกันให้ปอก
เล็ บ มือข้างผู้ ตีนั้ น เสี ย ๕ นิ้ ว ถ้าจั บ มีดพร้ าอาวุธ แทงกันมีบาดเจ็บให้ ปอกเล็ บมือเสียทั้ง ๑๐ นิ้ว แล้ ว จึ งให้ ว่า
เนื้อความซึ่งวิวาท และให้ไหมโดยความเมืองท่าน ถ้าถีบประตูวังให้ตัดตีนเสีย กินเหล้าในวังให้กรอกปากด้วยเหล้า
ต้มร้อนๆ ขว้างพระที่นั่งโทษถึงตาย มีการระบุโทษเรื่องชู้สาวในพระราชฐานไว้อย่างชัดแจ้งหลายกรณี

ด้านศาสนาศิลปวัฒนธรรมและวรรณคดี
๑, สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิสังขรณ์พระปรางค์และทรงสร้างวัดจุพามณีเพี่อทรงผนวชซึ่งมี
พระสงฆ์บวชโดยเสด็จถึง ๔ คณะและมีผู้บวชโดยเสด็จจานวน ๒,๓๘๙ พระองค์รูปทรงผนวช ๘ เดือน ๑๕ วันที่วัด
จุฬามณี
๒.ทรงปฏิสังขรณ์เจดีย์เก่าแก่ศิลปสมัยสุโขทัย ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารพิษณุโลก มีรูปแบบ
“ปรางค์” ตามความนิยมในสมัยอยุธยา
๓.ทรงบูรณะซ่อมแซมพระวิหารพระพุทธชินราชบริเวณส่วนบน และทรงสร้างเรือนแก้วถวายพระพุทธชิน
ราชเรือนแก้วจึงเป็นพุทธลักษณะเฉพาะของพระพุทธชินราชจนถึงปัจจุบันนี้
๔..ทรงจัดงานฉลองเมืองพิษณุโลก ๑๕ วันในปีพุทธศักราช ๒๐๒๕ ซึ่งพบหลักฐานนี้จากพงศาวดารกล่าว
ไว้สั้นๆดังนี้ “ศักราช ๘๔๔ ขาลศก (พ.ศ.๒๐๒๕) ท่านให้เล่นการมหรสพ ๑๕ วัน”
๕ ทรงสร้างประสาทพระราชวังตาหนักท้องพระโรงในเขตพระราชวังจันทน์จังหวัดพิษณุโลกสันนิษฐานว่า
คงจะสร้างด้วยไม้บนฐานอิฐ เพราะหลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีพบเพียงฐานอิฐบนเนินดินเท่านั้น
๖. ทรงพระราชนิ พนธ์มหาชาติคาหลวง มหาชาตินี้มี ๑๓ กัณฑ์ซึ่งใช้ส วดครั้งแรกในงานฉลองเมื อ ง
พิษณุโลก ๑๕ วัน ในปีพุทธศักราช ๒๐๒๕
๗. นักวิชาการและนักประวัติศาสตร์ หลายท่านเชื่อว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้เปลี่ยนชื่อเมือง
สองแควเป็นพิษณุโลก ในงานฉลองเมืองพิษณุโลก ในปีพุทธศักราช ๒๐๒๕
๘. ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ปรากฏวรรณคดีชั้นยอดเยี่ยมของไทยหลายเรื่อง อาทิเช่น
ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ ฯลฯ

You might also like