You are on page 1of 6

บทที่ 3

วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหาประสิทธิภาพและศึกษาความพึงพอใจผู้ทดลองใช้
อุปกรณ์ช่วยยโต๊ะพับซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษา ตามขั้นตอนดังนี้
ศึกษาปัญหาและแนวคิดการแก้ไข

ปรับปรุง
วางแผนและออกแบบ

การนำเสนอโครงการ

ปรับปรุง
อุปกรณ์สางใบอ้อยและตัดต้น
อาจารย์ที่ปรึกษา ปรับปรุง
อ้อยหวานเพือ่ เกษตรกรรายย่อย

ประเมินผล

ดำเนินการสร้าง

ปรับปรุง

หาประสิทธิภาพ

อุปกรณ์อุปกรณ์ช่วยยกโต๊ะพับ

แผนภูมิ 3.1 การดำเนินการสร้างอุปกรณ์ช่วยยกโต๊ะพับ


ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร ได้แก่ พนักงานจัดโต๊ะประชุมในโรงแรมและรีสอร์ทในจังหวัดสุโขทัย
2. กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน ดังนี้
1 พนักงานจัดโต๊ะประชุมในโรงแรมเทรเชอร์รีสอร์ทแอนด์สปา จำนวน 5 คน
2 พนักงานจัดโต๊ะประชุมในแคนดี้บาร์รีสอร์ท จำนวน 5 คน

ขั้นตอนการสร้างอุปกรณ์ช่วยยกโต๊ะพับ
การศึกษาค้นคว้าวิจัยอุปกรณ์ช่วยยกโต๊ะพับ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1. ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับโต๊ะพับ
2. ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการยกโต๊ะพับ
3. ออกแบบโครงสร้างอุปกรณ์ช่วยยกโต๊ะพับ

ภาพที่ 3.1 ออกแบบโครงสร้างอุปกรณ์ช่วยยกโต๊ะพับ

4. นำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาประเมินผล
5. นำข้อเสนอแนะมาทำการปรับปรุงอุปกรณ์ช่วยยกโต๊ะพับ
6. สร้างอุปกรณ์อุปกรณ์ช่วยยกโต๊ะพับ
ภาพที่ 3.2 สร้างอุปกรณ์ช่วยยกโต๊ะพับ

การทดสอบประสิทธิภาพอุปกรณ์อุปกรณ์ช่วยยกโต๊ะพับ
1. นำอุปกรณ์ช่วยยกโต๊ะพับ ไปทดสอบยกโต๊ะพับ โดยการดึงหูจับขึ้นแล้วนำอุปกรณ์ช่วยยก
โต๊ะพับสวมเข้ากับขอบโต๊ะด้านยาวของโต๊ะพับทั้งสองฝั่ง โดยมีสปริงช่วยในการดึงชุดจับด้านบนให้มา
ประกบกับแผ่นเหล็กด้านล่าง ซึ่งทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของโต๊ะพับ และแล้วใช้มือจับด้ามจับยกโต๊ะพับ
ขึ้น
2. นำไปเปรียบเทียบกับการยกโต๊ะโดยใช้มือเปล่าแบบเดิม ด้านความเร็ว
2.1 วิธีการยกโดยใช้วิธีเดิม(ใช้มือ)
2.1.1 ใช้มือจับโต๊ะพับ

ภาพที่ 3.3 แสดงวิธีการใช้มือจับโต๊ะพับก่อนยก


2.1.2 ยกโต๊ะพับขึ้น

ภาพที่ 3.4 แสดงวิธีการยกโต๊ะพับขึ้น

2.2 วิธีการยกโดยใช้อุปกร์ช่วยยกโต๊ะพับ
2.2.1 ดึงหูจับขึ้นแล้ว นำอุปกรณ์ช่วยยกโต๊ะพับสวมเข้ากับขอบโต๊ะด้านยาวของโต๊ะ
พับทั้งสองฝั่ง

ภาพที่ 3.5 แสดงการสวมอุปกรณ์ช่วยยกโต๊ะพับเข้ากับโต๊ะพับ


2.2.2 ใช้มือจับด้ามจับยกโต๊ะพับขึ้น

ภาพที่ 3.6 แสดงการใช้อุปกร์ช่วยยกโต๊ะพับยกโต๊ะพับขึ้น

3. หาค่าเฉลี่ยจากวิธีเก่าและจากอุปกรณ์ปกร์ช่วยยกโต๊ะ
4. จดบันทึกวิธีทั้งสองลงในตาราง

ครั้งที่ จำนวนโต๊ะและขนาดของโต๊ะพับ ระยะทาง ระยะเวลาที่ใช้


ใช้อุปกรณ์ ใช้มือ
1 1 ( กว้าง45xยาว120xสูง75) 10 เมตร
2 1 (กว้าง45xยาว120xสูง75) 10 เมตร
3 1 (กว้าง45xยาว120xสูง75) 10 เมตร
4 1 (กว้าง45xยาว120xสูง75) 10 เมตร
5 1 (กว้าง45xยาว120xสูง75) 10 เมตร
ตารางที่ 3.1 ตารางการหาประสิทธิภาพอุปกรณ์ช่วยยกโต๊ะพับ

สร้างเครื่องมือในการวิจัย
1. ศึกษาแนวคิดทฤษฎี เอกสารตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับการประเมินความพึงพอใจ
ในการปฏิบัติงานมากำหนดในการสร้างเครื่องมือ
2. พัฒนาปรับปรุงเครื่องมือตามแนวคิดและวัตถุประสงค์ของการวิจัย
3. นำเครื่องมือที่ได้สร้างขึ้นตรวจสอบความถูกต้องของแบบสอบถาม เนื้อหา ความถูกต้อง
ของภาษา ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
4. นำอุปกรณ์ช่วยยกโต๊ะพับไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานจัดโต๊ะประชุมใน
โรงแรมและรีสอร์ทในจังหวัดสุโขทัย จำนวน 2 กลุ่ม แบ่งออกเป็น พนักงานจัดโต๊ะประชุมในโรงแรมเทร
เชอร์รีสอร์ทแอนด์สปา จำนวน 5 คน พนักงานจัดโต๊ะประชุมในแคนดี้บาร์รีสอร์ท จำนวน 5 คน
5. นำแบบสอบถามความพึงพอใจให้ผู้ที่ทดลองใช้อุปกรณ์ช่วยยกโต๊ะพับ
การเก็บรวบรวมข้อมูล
นำอุปกรณ์ช่วยยกโต๊ะพับไปให้พนักงานจัดโต๊ะประชุมในโรงแรมและรีสอร์ท ในจังหวัดสุโขทัย
ทดลองใช้และตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 1 ข้อ
พนักงานจัดโต๊ะประชุมในโรงแรม พนักงานจัดโต๊ะประชุมในรีสอร์ท
ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับการแสดงความพึงพอใจของอุปกรณ์ช่วยยกโต๊ะพับ
คำชี้แจง ให้ทำเครื่องหมาย √ ในช่องระดับความเหมาะสมตามความเป็นจริง
5 = มีความพึงพอใจมากที่สุด 4 = มีความพึงพอใจมาก 3 = มีความพึงพอใจปานกลาง
2 = มีความพึงพอใจน้อย 1 = มีความพึงพอใจน้อยที่สุด
แบบสอบถามความพึงพอใจอุปกรณ์ช่วยยกโต๊ะพับ
ระดับความพึงพอใจ
ที่ หัวข้อการประเมิน
5 4 3 2 1
ด้านการออกแบบอุปกรณ์ช่วยยกโต๊ะพับ
1 การออกแบบอุปกรณ์
2 วัสดุที่ใช้ในการสร้างอุปกรณ์
3 การจัดวางตำแหน่งของส่วนประกอบอุปกรณ์
4 ความยาวของอุปกรณ์
5 ความกว้างของอุปกรณ์
ด้านการใช้งานอุปกรณ์ช่วยยกโต๊ะพับ
1 การใช้เวลาในการยกโต๊ะพับ
2 ขั้นตอนการใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก
3 ด้านความปลอดภัยในการใช้งานอุปกรณ์
4 ขั้นตอนในการประกอบอุปกรณ์
5 การดูแลรักษาอุปกรณ์
ตอนที่ 3 แบบสอบถามปลายเปิด จำนวน 1 ข้อ
ข้อเสนอแนะ................................................................................................................... ............................
....................................................................................................................................................................
ตารางที่ 3.2 ตารางแบบสอบถามความพึงพอใจอุปกรณ์ช่วยยกโต๊ะพับ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
สูตรที่ใช้ในการคำนวณ โดยวิเคราะห์ด้วยสถิติพื้นฐาน เช่น ร้อยละ (Percentage) และ
ค่าเฉลี่ย (Mean)
ค่าสถิติร้อยละ (Percentage) (ปกรณ์ ประจัญบาน 2542: 144)
f
P = N  100
เมื่อ P แทน ร้อยละ
f แทน ความถี่ที่ต้องการแปลงเป็นร้อยละ
N แทน จำนวนความถี่ทั้งหมด

ค่าเฉลี่ย (Mean, X ) (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ 2540: 53)


สูตร X = f
N
เมื่อ X แทน คะแนนตัวกลางเลขคณิต
f แทน ผลรวมทั้งหมดของคะแนน
N แทน จำนวนคะแนนในข้อมูลนั้น

เกณฑ์การแปลความหมายของ มาเรียม นิลพันธุ์ (อ้างอิงใน ปกรณ์ ประจันบาล, 2549: 196)


คะแนนเฉลี่ย 4.50 – 5.00 หมายถึง มีความพึงพอใจมากที่สุด
คะแนนเฉลี่ย 3.50 – 4.49 หมายถึง มีความพึงพอใจมาก
คะแนนเฉลี่ย 2.50 – 3.49 หมายถึง มีความพึงพอใจปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 1.50 – 2.49 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อย
คะแนนเฉลี่ย 1.00 – 1.49 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อยที่สุด

You might also like