You are on page 1of 11

ใบความรู้ การใช้ อุ ป กรณ์ ชั่ ง ตวง วั ด

ความสำคัญของการชั่ง ตวง วัด


1.สามารถระบุค่า เป็นตัวเลข บอกจำนวน ปริมาณ สัดส่วนที่ชัดเจนได้ดีกว่าการใช้ความรู้สึกเป็นตัวบอก
2.ค่าที่วัดได้และสื่อสารเข้าใจตรงกันทั่วโลก มีความละเอียดแม่นยำมีความน่าเชื่อถือมีมาตรฐานรองรับ
3.ช่วยในการประเมินค่า เพื่อประกอบการตัดสินใจ

คุณลักษณะของเครื่องชั่ง ตวง วัด


1.ความแม่นยำ (Accuracy) หมายถึง ประสิทธิภาพของเครื่องมือที่แสดงค่าหรือบันทึกได้ตรงตาม
ความเป็นจริงของตัวแปรที่ต้องการวัดหรือเป็นความสามารถในการควบคุมตัวแปรให้มีค่าถูกต้องตามต้องการ
2.ความเที่ยงตรง (Precision) หรือ ความามารถในการทำซ้ำ (reproducibility) หมายถึง
ประสิทธิภาพของเครื่องมือวัดที่แสดงค่าหรือบันทึกค่าของตัวแปรที่วัดได้เท่าเดิมทุกครั้งเมื่อค่าของตัวแปรที่วัด
มีค่าเดียวกัน

อ้างอิงภาพประกอบ : https://www.freepik.com

ปฐมาภรณ์ ชุมแสง นักวิชาการ งานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท : เรียบเรียง


ใช้เพื่อการศึกษากิจกรรมสะเต็มศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพสำหรับเด็กและเยาวชนเครือข่ายรักษ์ป่าบาลา จ.นราธิวาส
การใช้ อุ ป กรณ์ เครื่ อ งชั่ ง

หน่วยการวัดระบบพื้นฐานที่นักเรียน ควรรู้จัก

เช่น

มวล (หน่วยในการชั่งน้ำหนัก) มีหน่วยเป็น


milligram (mg) = มิลลิกรัม
gram (g) = กรัม
kilogram (kg) = กิโลกรัม

ปริมาตรของเหลว (ความจุของเหลว) มีหน่วยเป็น


milliliter (ml) = มิลลิลิตร
liter (l) = ลิตร

ความยาว มีหน่วยเป็น
millimeter (mm) = มิลลิเมตร
centimeter (cm) = เซนติเมตร
meter (m) = เมตร
kilometer (km) = กิโลเมตร

อุณหภูมิ ในระบบเอสไอ (SI) มีหน่วยเป็น

Degree Celsius (°C) = องศาเซลเซียส

Fahrenheit (°F) = องศาฟาเรนไฮต์

ปฐมาภรณ์ ชุมแสง นักวิชาการ งานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท : เรียบเรียง


ใช้เพื่อการศึกษากิจกรรมสะเต็มศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพสำหรับเด็กและเยาวชนเครือข่ายรักษ์ป่าบาลา จ.นราธิวาส
การใช้ อุ ป กรณ์ เครื่ อ งชั่ ง

เครื่องมือในการวัด

1.อุปกรณ์วัดมวล
เครื่องชั่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดมวลทั้งที่เป็นของแข็ง ก๊าซ ของเหลว ความน่าเชื่อถือของค่ามวล
ทีว่ ัดได้ขึ้นอยู่กับความละเอียดของเครื่องชั่งและวิธีการใช้เครื่องชั่ง
ตัวอย่างเครื่องชั่งสปริง สำหรับการชั่งสินค้าไม่เกิน 1 กิโลกรัม

ถาดรองวัตถุ

แขนเครื่องชั่ง

หน้าปัด แสดงตัวเลขและเส้นขีด
แบ่งจำนวนช่อง

เข็มชี้น้ำหนัก

ปุ่มหมุน
เพื่อปรับเข็มเครื่องชั่ง
ให้เที่ยงตรง

เส้นลวดขดเป็นสปริง

ปฐมาภรณ์ ชุมแสง นักวิชาการ งานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท : เรียบเรียง


ใช้เพื่อการศึกษากิจกรรมสะเต็มศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพสำหรับเด็กและเยาวชนเครือข่ายรักษ์ป่าบาลา จ.นราธิวาส
การใช้ อุ ป กรณ์ เครื่ อ งชั่ ง

วิธีการใช้งานเครื่องชั่งสปริงแบบตั้งพื้น

1.วางเครื่องชั่งบนพื้นและมั่นคงแข็งแรง
2.วางถาดรองวัตถุ
3.สังเกตหน้าปัดเครื่องชั่งว่าเข็มชี้น้ำหนัก ชี้ไปที่เลข 0 หรือไม่ ถ้าเข็มไม่ชี้ที่เลข0 ให้ปรับที่ปุ่มหมุน
ของเครื่องชั่ง โดยปรับให้เข็มชี้ที่เลข 0
4.ทดลองกดถาดชั่งแล้วปล่อย เข็มต้องกลับมาที่เลข 0 เสมอ
5.วางสินค้าบนถาดชั่ง
6.อ่านผลการชั่งโดยอ่าน ค่าน้ำหนัก ณ จุดที่ปลายเข็มชี้

วิธีการอ่านค่าน้ำหนักสิ่งของที่ชั่ง

หน้าปัดของเครื่องชั่งประเภทสปริง จะมีตัวเลขบอกน้ำหนัก แต่จำนวนเส้นขีดทีแ่ สดงบนหน้าปัดของ


แต่ละเครื่องชั่งอาจไม่เท่ากัน การอ่านค่าจึงต้องพิจารณา
1.เครื่องชั่งสามารถชั่งน้ำหนักได้มากที่สุด
เท่าไร และมีหน่วยอะไร
2.เส้นขีดที่แสดงบนหน้าปัดในแต่ละช่อง แทนค่าน้ำหนักจำนวนเท่าไร
3.อ่านค่าตามหน้าปัดที่เข็มชี้น้ำหนักแสดง

หน้าปัดแสดงว่า
เครื่องชั่งชั่งน้ำหนักได้สูงสุด 1
กิโลกรัม

หน้าปัดแสดง 1 ช่อง มีค่าเท่ากับน้ำหนัก


20 กรัม
ถ้าเข็มชี้ไปที่ขีดที่ 4 ซึ่งมีจำนวน 3 ช่อง
ค่าน้ำหนักชั่งเท่ากับ 60 กรัม

ปฐมาภรณ์ ชุมแสง นักวิชาการ งานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท : เรียบเรียง


ใช้เพื่อการศึกษากิจกรรมสะเต็มศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพสำหรับเด็กและเยาวชนเครือข่ายรักษ์ป่าบาลา จ.นราธิวาส
การใช้ อุ ป กรณ์ เครื่ อ งชั่ ง

ตัวอย่างเครื่องชั่งสปริงชนิดแขวน สำหรับการชั่งสินค้าไม่เกิน 1 กิโลกรัม

1 ช่อง มีค่าเท่ากับ ห่วงสำหรับใช้แขวน/จับ


น้ำหนัก 10 กรัม
ดังนี้ ถ้ากึ่งกลาง
แสดงหน่วย
หมุดเคลื่อนไปที่
เส้นขีดที่ 6
นับจำนวนช่อง
ท หมุด
ได้ 5 ช่อง
จะแสดงค่าน้ำหนัก
50 กรัม ตัวเลขและขีดแสดงค่า (สเกล)

สปริง
เส้นขีดและตัวเลขแสดงน้ำหนัก
ที่เครื่องชั่งรองรับได้มากที่สุด
เท่ากับ 1,000 กรัม ตะขอเกี่ยว

วิธีการใช้งานเครื่องชั่งสปริงแบบแขวนให้เที่ยงตรง

1.จับห่วงในแนวดิ่งหรือแขวนเครื่องชั่งสปริงกับคานเพื่อความมั่นคง

2.สังเกตหมุดเครื่องชั่งว่ากึ่งกลางหมุดอยู่ตรงกับเลข 0 หรือไม่ ถ้าไม่ตรงให้เปลี่ยนเครื่องชั่งใหม่

3.นำวัตถุที่ต้องการชั่งคล้องกับตะขอเกี่ยว ด้านล่าง

4.จุดที่เส้นกึ่งกลางหมุด เคลื่องที่ไปคือน้ำหนักวัตถุ อ่านค่าน้ำหนักจากเส้นขีดที่แสดงบนเครื่องชั่ง

ปฐมาภรณ์ ชุมแสง นักวิชาการ งานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท : เรียบเรียง


ใช้เพื่อการศึกษากิจกรรมสะเต็มศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพสำหรับเด็กและเยาวชนเครือข่ายรักษ์ป่าบาลา จ.นราธิวาส
การใช้ อุ ป กรณ์ เครื่ อ งชั่ ง

การดูแลรักษา

1.ระวังอย่าให้เครื่องชั่งตกหล่น กระแทกพื้น
2.ห้ามชั่งวัตถุที่มีน้ำหนักมากกว่าความสามารถของเครื่องชั่งตามที่ผู้ผลิตะระบุไว้
3. เลือกใช้ขนาดของเครื่องชั่ง และความละเอียดให้เหมาะสมกับน้ำหนักของสิ่งของที่ชั่ง เช่นหาก
ต้องการค่าละเอียดควรเลือกใช้เครื่องชั่งที่สามารถระบุน้ำหนักมวลแบบละเอียดได้
4. หลังจากใช้งานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณถาดรองวัตถุหรือบริเวณตะขอเกี่ยว
5.เก็บเครื่องชั่งเข้าที่ให้เป็นระเบียบ

☺ รู้หรือไม่ ☺

เครื่องชั่งสปริงชนิดแขวน หากชั่งในแนวดิ่ง ค่าที่อ่านได้คือน้ำหนักของวัตถุ


หากใช้เครื่องชั่งสปริงลากวัตถุในแนวราบ ค่าที่อ่านได้คือ ขนาดแรงที่กระทำต่อวัตถุ (หน่วย ของแรง
N นิวตัน)

น้ำหนัก (Weight) เกิดจากแรงดึงดูดที่โลกกระทำกับวัตถุหนึ่งๆ ทำให้วัตถุตกลงสู่พื้นโลก และทำให้


วัตถุมีน้ำหนัก น้ำหนักของวัตถุขึ้นกับมวลของวัตถุ โดยวัตถุที่มีมวลมากจะมีน้ำหนักมาก วัตถุที่มีมวลน้อยจะมี
น้ำหนักน้อย

น้ำหนักคือค่าของแรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำต่อมวลของวัตถุ โดยดึงดูดให้วัตถุตกลงมาที่พื้นโลก
น้ำหนัก มีหน่วยเป็นนิวตัน (N)

มวล คือ ปริมาณเนื้อของสสารทั้งหมดที่ประกอบกันเป็นวัตถุนั้น ซึ่งมีค่าคงที่ไม่ว่าจะอยู่ตำแหน่งใด


ของโลก เช่น มวลหิน มวลของผลไม้ มวลกระดาษ มวลมีหน่วยเป็นกรัม (g)หรือกิโลกรัม (kg)

ปฐมาภรณ์ ชุมแสง นักวิชาการ งานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท : เรียบเรียง


ใช้เพื่อการศึกษากิจกรรมสะเต็มศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพสำหรับเด็กและเยาวชนเครือข่ายรักษ์ป่าบาลา จ.นราธิวาส
การใช้ อุ ป กรณ์ การวั ด ปริ ม าตร (ตวง)

2.อุปกรณ์วัดปริมาตร
อุปกรณ์ที่ใช้วัดปริมาตรของเหลวมีมากมายหลายชนิด ในการใช้งาน มีตั้งแต่อุปกรณ์ทั่วไปที่มีติดบ้าน
เช่น กา แก้วน้ำ ถ้วยตวง ช้อนตวง ไปจนถึงอุปกรณ์ที่มีความละเอียดในการตวง เช่น กระบอกตวง เข็มฉีดยา
เราสามารถพิจารณาใช้งานตามความเหมาะสม

กระบอกตวงหรือเครื่องมือวัดปริมาตร (Cylinder)

ความจุ 10 ml
ปริมาตรแต่ละขีด 0.2ml

ค่าความคลาดเคลื่อน
+,- 0.5
ประเทศ ขีดบอกปริมาตร
บริษัทผู้ผลิต
อุณหภูมิอ้างอิง 20 oC
ระดับคุณภาพเครื่องแก้ว ในการสอบเทียบมาตรฐาน ISO
B class

วิธีการใช้งานกระบอกตวง
1.วางกระบอกตวงบนพื้นราบให้ได้ระดับและมั่นคงแข็งแรง
2.ค่อยๆ เทของเหลวจากภาชนะลงในกระบอกตวง จนส่วนโค้งเว้าต่ำสุดของของเหลวอยู่กว่าขีดบอก
ปริมาตร หากปริมาตรของของเหลวยังไม่ตรงตามที่ต้องการ อาจใช้หลอดหยดบีบของเหลวนั้นใส่กระบอกตวง
เพื่อปรับปริมาตรให้ตรงตามที่ต้องการ
3.อ่านปริมาตรของเหลวในกระบอกตวง ส่วนโค้งเว้าของของเหลวต่ำสุดอยู่ระดับสายตาเสมอ และ
อ่านค่าปริมาตร ณ จุดต่ำสุดของส่วนโค้งเว้า

ปฐมาภรณ์ ชุมแสง นักวิชาการ งานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท : เรียบเรียง


ใช้เพื่อการศึกษากิจกรรมสะเต็มศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพสำหรับเด็กและเยาวชนเครือข่ายรักษ์ป่าบาลา จ.นราธิวาส
การใช้ อุ ป กรณ์ การวั ด ปริ ม าตร (ตวง)

บีกเกอร์ (Beaker)

ปากบีกเกอร์ บริษัทผู้ผลิต

ขนาดของบีกเกอร์
ขีดบอกปริมาตร

ที่ติดฉลาก

ค่าปริมาตรโดยประมาณ

บีกเกอร์ ใช้วัดปริมาตรของเหลวที่มีปริมาณมาก หรือใช้ในการผสมสารที่ไม่ทำปฏิกิริยาเคมี บีเกอร์


แก้วสามารถตั้งไฟได้ นอกจากนี้ยังมีบีกเกอร์พลาสติกที่เพิ่มความสะดวกในการใช้เพราะไม่แตกง่าย แต่ไม่ทน
ความร้อน การเทสารทำได้ง่ายทางปากบีกเกอร์ บีกเกอร์มีขีดบอกปริมาตร ซึ่งเป็นค่าโดยประมาณ เนื่องจาก
มีสเกลบอกปริมาตรไม่ละเอียด
วิธีการใช้งานบีกเกอร์

1.เลือกขนาดของบีกเกอร์ให้เหมาะสมกับงาน โดยคำนึงถึงปริมาณของเหลวที่บรรจุ
2.วางบีกเกอร์บนพื้นราบให้ได้ระดับและมั่นคงแข็งแรง
3.เทของเหลวให้ได้ปริมาณตามขีดบอกปริมาตรที่ต้องการ
4.อ่านค่าที่ถูกต้อง
หมายเหตุ : หากต้องการถ่ายของเหลวสู่ภาชนะอื่นๆ จับแท่งแก้วแตะกับปากบีกเกอร์ เอียงบีกเกอร์ให้ของ
เหลวไหลตามแท่งแก้วลงสู่ภาชนะที่รองรับ

ปฐมาภรณ์ ชุมแสง นักวิชาการ งานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท : เรียบเรียง


ใช้เพื่อการศึกษากิจกรรมสะเต็มศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพสำหรับเด็กและเยาวชนเครือข่ายรักษ์ป่าบาลา จ.นราธิวาส
การใช้ อุ ป กรณ์ การวั ด ปริ ม าตร (ตวง)

ถ้วยตวงของเหลว

ปากถ้วยตวง หูจับ

หน่วยการวัด
มิลลิลิตร
ขีดบอกปริมาตร
และ ออนซ์ (อีกด้าน)

ถ้วยตวงของเหลว ส่วนใหญ่ทำจากพลาสติก มีหูจับเพื่อความสะดวกในการใช้งาน เหมาะสำหรับใช้วัด


ปริมาตรของเหลวที่ต้องใช้ปริมาณมาก มักใช้ในการตวงนม น้ำ หรือน้ำมันพืช ขนาดถ้วยตวงของเหลวที่ใช้กัน
มักใช้ขนาด 1-2 ถ้วยตวง
วิธีการใช้งานถ้วยตวง
1.เลือกขนาดของถ้วยตวงของเหลวให้เหมาะสมกับงาน โดยคำนึงถึงปริมาณของเหลวที่บรรจุ
2.วางถ้วยตวงบนพื้นราบให้ได้ระดับและมั่นคงแข็งแรง
3.เทของเหลวลงในถ้วยตวงให้ได้ปริมาณตามขีดบอกปริมาตรที่ต้องการ
4.อ่านค่าที่ถูกต้อง
หมายเหตุ : หากต้องการถ่ายของเหลวสู่ภาชนะอื่นๆ จับที่บริเวณหูจับ และเอียงแก้ว โดยรินของเหลวผ่านปาก
ถ้วยตวง

ปฐมาภรณ์ ชุมแสง นักวิชาการ งานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท : เรียบเรียง


ใช้เพื่อการศึกษากิจกรรมสะเต็มศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพสำหรับเด็กและเยาวชนเครือข่ายรักษ์ป่าบาลา จ.นราธิวาส
การใช้ อุ ป กรณ์ การวั ด ปริ ม าตร (ตวง)

ถ้วยตวงของแห้ง

ตัวเลขกำกับบอกขนาดถ้วย
ตวง
ถ้วยตวงของแห้งที่นิยมใช้ 4 ขนาด คือ 1 ถ้วยตวง, 1/2 ถ้วยตวง, 1/3 ถ้วยตวง, 1/4 ถ้วย
ตวง โดยตัวเลขกำกับที่ด้ามจับภาชนะเพื่อบอกปริมาตรการตวง
ถ้วยตวงใช้ตวงของแห้งปริมาณมาก มักใช้ตวงของแห้งในการทำขนม อาหารต่างๆ เช่น แป้ง
น้ำตาล ธัญพืช เนยละลาย เป็นต้น
ถ้วยตวงของแห้งสามารถใช้ตวงของเหลวได้ด้วย เนื่องจากมีการเทียบค่าอ้างอิงเป็นปริมาตร
ของเหลวกำกับไว้ที่ด้ามจับ เช่น ของแห้ง1 ถ้วยตวง เท่ากับปริมาตร 250 มิลลิลิตร

วิธีการใช้งานถ้วยตวง
1.เลือกขนาดถ้วยตวงของแห้งให้เหมาะสมกับงาน โดยคำนึงถึงปริมาณของแห้งที่ต้องการตวง
2.ใช้ถ้วยตวงของแห้งตักวัตถุดิบที่ต้องการให้พูนเต็มถ้วยตวง
3.ใช้ด้ามช้อนหรือมีดปาดส่วนเกินออก เหลือแต่วัตถุดิบที่ถูกต้องตามขนาดถ้วยตวงของแห้ง
หมายเหตุ : ในกรณีใช้ถ้วยตวงของแห้ง ตวงวัตถุดิบที่เป็นของเหลวให้เทจนปริ่มขอบถ้วยตวง

ช้อนตวงวัตถุดิบ ใช้ตวงวัตถุดิบในปริมาณน้อย โดยนิยมใช้กับทั้งของแห้ง


และของเหลว
ช้อนตวงมี 4-6 ขนาด ในแถบเอเชียนั้นส่วนใหญ่ใช้ช้อนตวง 4 ขนาด คือ
1 ช้อนโต๊ะ, 1 ช้อนชา, 1/2 ช้อนชา, 1/4 ช้อนจะชา
วิธีการใช้ช้อนตวงเหมือนกับวิธีการใช้ถ้วยตวงของแห้งคือตักแล้วปาด
ส่วนเกินออก

ปฐมาภรณ์ ชุมแสง นักวิชาการ งานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท : เรียบเรียง


ใช้เพื่อการศึกษากิจกรรมสะเต็มศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพสำหรับเด็กและเยาวชนเครือข่ายรักษ์ป่าบาลา จ.นราธิวาส
การใช้ อุ ป กรณ์ การวั ด ปริ ม าตร (ตวง)

หลอดฉีดยา

ขีดบอกปริมาตร
กระบอก

หน่วยวัด (ml)

ตัวกด

กระบอกฉีดยา เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรของเหลวอย่างง่าย นิยมใช้ในโรงเรียนเนื่องจากราคา


ถูก และหาซื้อง่าย ทำด้วยแก้วหรือพลาสติก มีหลายขนาดต่างๆกัน มีขนาดตั้งแต่ 5 มิลลิลิตร จนถึง 35
มิลลิลิตร

วิธีการใช้งานเข็มฉีดยา
1.เลือกขนาดของหลอดฉีดยาให้เหมาะสมกับปริมาตรที่ต้องการวัด ดึงก้านหลอดฉีดยาขึ้นและกดลงเพื่อให้ยาง
ที่ปลายก้านหลอดฉีดยาเลื่อนได้คล่อง
2.กดก้านหลอดฉีดยาจนสุดเพื่อไล่อากาศออกให้หมด
3.จุ่มปลายหลอดฉีดยาลงในของเหลว ค่อยๆ ดึงก้านหลอดฉีดยาขึ้น ขณะที่ดูดสารละลายเข้าไปในหลอดฉีดยา
ระวังอย่าให้มีฟองอากาศ ถ้ามีต้องกดก้านหลอดฉีดยาลงไปจนสุดเพื่อไล่อากาศ แล้วค่อยๆ ดึงก้านหลอดฉีดยา
ให้ส่วนที่โค้งต่ำสุดของลูกยางตรงกับขีดปริมาตรที่ต้องการ
4.อ่านค่าปริมาตรที่วัด

ปฐมาภรณ์ ชุมแสง นักวิชาการ งานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท : เรียบเรียง


ใช้เพื่อการศึกษากิจกรรมสะเต็มศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพสำหรับเด็กและเยาวชนเครือข่ายรักษ์ป่าบาลา จ.นราธิวาส

You might also like