You are on page 1of 10

จัดทำโดย

เด็กหญิงสุกัญญณัฐ คงรักษา ม.3/7



เลขที่40

เ เ ผ น ที่ เ ฉ พ า ะ เ รื่ อ ง
เเละ
เ ค รื่ อ ง มื อ ท า ง
ภู มิ ศ า ส ต ร์

เสนอ
ครูอนงค์ ตามสายสุด

หน้าปก
หน้า 1
สารบัญ

หัวข้อ หน้า

ความสำคัญ 1

ประโยชน์ 2

องค์ประกอบ 3

เเผนที่เฉพาะเรื่อง 4-6

เเหล่งที่มาของข้อมูล 7
ความสำคัญ

ความสำคัญของเเผนที่เฉพาะเรื่อง
ใช้เป็นเครื่องแสดงเส้นทางเดิน ถิ่นที่อยู่อาศัย แหล่งอาหารใน
ทางภูมิศาสตร์ถือว่าแผนที่เป็นศูนย์รวมข้อมูลทางภูมิศาสตร์ มี
ความสำคัญต่อการศึกษาข้อมูลเพื่อประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจ
ทางสังคม และ ทางการเมืองมีความจำเป็นในการวางผังเมือง
ให้เหมาะสมกับการขยายตัวของชุมชนและการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติ มนุษย์นำมาใช้เป็นเครื่องช่วยในการดำเนิน
กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
แผนที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ การเรียนการสอน
การประกอบอาชีพสาขาต่าง ๆ และการนำไปใช้งานด้านต่าง ๆ
เช่น ภูมิศาสตร์ การสำรวจธรณีวิทยา การเกษตร ป่าไม้ การ
คมนาคมขนส่ง กิจการทหารตำรวจ ศิลปวัฒนธรรม และ ข้อ
ควรรู้ในการใช้แผนที่แผนที่เฉพาะเรื่อง (thematic map) เป็น
แผนที่ที่แสดงรายละเอียดเฉพาะเรื่อง แผนที่รัฐกิจ (political
map) แผนที่ภูมิอากาศ (climatic map) แผนที่ธรณีวิทยา
(geologic map) แผนที่การถือครองที่ดิน (cadastral
map) แผนที่พืชพรรณธรรมชาติ (natural vegetation
map)แผนที่ท่องเที่ยว (tourist map) แผนที่รัฐกิจ
(political map)

1
ประโยชน์

- ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้แสดงเส้นทางคมนาคมในการเดินทาง


- ใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนที่มีประโยชน์ในการเดินทางไปยังสถานที่
ท่องเที่ยว การวางแผนการท่องเที่ยว
- ใช้ในการรายงานปรากฎการณ์ธรรมชาติ เช่น แผนที่แสดงอุณหภูมิ แผนที่
แสดงการเคลื่อนที่ของพายุ ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนสร้างระบบ
สาธารณูปโภค เช่น วางแผนการตัดถนน วางระบบโทรคมนาคม วางสายไฟฟ้า
- ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เช่น แผนที่แสดงความ
หนาแน่นของประชากร แผนที่แสดงแหล่งปลูกพืชเศรษฐกิจ
-ใช้ในกิจการทางทหาร โดยนำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนทางยุทธศาสตร์ เช่น
การเลือกตั้งที่ค่ายทหาร การทิ้งระเบิดโจมตีทางอากาศ
- ใช้ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น ใช้เป็นข้อมูลในการสำรวจและ
ปักปันเขตแดน
- ใช้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพื้นที่ เช่น ศึกษาชนิด คุณภาพ และการกระจายดิน
ธรณีวิทยา ป่าไม้
- ทำให้รู้จักที่ตั้งของประเทศ จังหวัด อำเภอ ภูเขา แม่น้ำ
- เป็นประโยชน์สำหรับนักเดินทาง นักเดินทางใช้มักเป็นแผนที่แสดงเส้นทาง
คมนาคม และบอกสถานที่ตั้งของสถานที่ต่าง ๆ

2
องค์ประกอบ
องค์ประกอบเเผนที่เฉพาะเรื่อง คือ สิ่งที่ปรากฏในเเผนที่เพื่อให้ผู้ใช้เเผนที่ได้
ทราบข้อมูลและรายละเอียดในเเผนที่เฉพาะเรื่อง

1.ชื่อแผนที่ เพื่อจะได้ทราบว่าเป็นแผนที่เรื่องอะไรแสดงรายละเอียดอะไรบ้างเช่น
แผนที่ประเทศไทยแสดงเนื้อที่ป่าไม้ แผนที่ประเทศไทยแสดงการแบ่งภาคและ
เขตจังหวัด
2.มาตราส่วน เพื่อที่จะได้ทราบว่าแผนที่นั้นย่อมาจากผิวโลกจริงด้วยอัตรา
ส่วนเท่าใด สูตรการคำนวณ : ระยะทางบนเเผนที่
ระยะทางจริงบนพื้นผิวโลก
3.ทิศ ทิศหลักคือทิศเหนือนิยมใช้ในรูปแบบลูกศรที่ปลายหัวลูกศรมีตัวอักษรกำกับ
เป็น น หรือ N
4.ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ เป็นเส้นหรือตารางที่แสดงไว้ในขอบเขตระวางแผนที่ใช้ ใช้
กำหนดพิกัดของตำแหน่งต่างๆ (ค่าละติจูด เเละ ลองจิจูด)
5.สัญลักษณ์และคำอธิบายสัญลักษณ์ เป็นสัญลักษณ์ที่กำหนดในแผนที่มีคำ
อธิบายสัญลักษณ์อยู่บริเวณขอบระวางแผนที่
สัญลักษณ์เป็นจุด : ใช้เเสดงตำเเหน่งของข้อมูล
เล็ก
จุดน้อย / จุดปริมาณน้อย : หนาเเน่นน้อย
กลาง
จุดกลาง / จุดปริมาณกลาง : หนาเเน่นปานกลาง
จุดมาก / จุดปริมาณมาก : หนาเเน่นมาก ใหญ่

สัญลักษณ์ที่เป็นเส้น : เเสดงข้อมูลที่มีความยาวในการเคลื่อนที่
น้อย
มาก

สัญลักษณ์ที่เป็นพื้นที่ : จำเเนกความเเตกต่างของพื้นที่
ต่ำ , ปานกลาง , สูง
3
เเผนที่เฉพาะเรื่อง

‘แผนที่เฉพาะเรื่อง’ จะแสดงข้อมูลหรือปรากฏการณ์หนึ่งลงบนพื้นที่หนึ่ง
โดยแบ่งออกเป็น 5 รูปแบบตามลักษณะการนำเสนอข้อมูล ได้แก่

1. แผนที่จุด (Dot Map) เป็นแผนที่ที่ใช้จุดแสดงความหนาแน่นหรือการกระจายตัวของ


ข้อมูล เช่น แผนที่จุดแสดงความหนาแน่นของประชากรโดยบริเวณที่มีจุดกระจุกตัวอยู่จำนวน
มาก แสดงว่าบริเวณนั้นมีประชากรอาศัยอยู่มาก เป็นต้น ซึ่งหนึ่งจุดในแผนที่อาจแทนหนึ่ง
หน่วย (1:1) หรือแทนจำนวนที่กำหนดไว้ เช่น 1 จุด = จำนวนประชากรในจังหวัด 1,000 คน

2. แผนที่แสดงลักษณะสัดส่วน (Proportional symbol map) เป็นแผนที่ที่ใช้สัญลักษณ์


ขนาดแตกต่างกัน แสดงสัดส่วนหรือความหนาแน่นของข้อมูล เช่น บริเวณที่มีความหนาแน่น
ของประชากรมาก วงกลมหรือจุดที่แสดงข้อมูลจะมีขนาดใหญ่กว่า บริเวณที่มีความหนาแน่น
ของประชากรน้อย

4
เเผนที่เฉพาะเรื่อง

3. แผนที่แสดงเส้นเท่า (Isoline Map) เป็นแผนที่ที่ใช้เส้นแสดงข้อมูล เพื่อบอกความห่าง


ถี่ของข้อมูล โดยแต่ละเส้นจะลากผ่านบริเวณที่ข้อมูลมีค่าเท่ากัน บางครั้งอาจใช้ระดับสีเข้ามา
ช่วยเพื่อแสดงถึงความแตกต่างของข้อมูล เช่น ถ้าเส้นมีความถี่มากแสดงว่ามีความต่างมาก
อาจใช้สีเข้มในบริเวณดังกล่าว

4. แผนที่แสดงการเคลื่อนที่ (Flow Map) เป็นแผนที่ที่แสดงถึงการเคลื่อนย้ายของข้อมูล


จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง เช่น การอพยพย้ายถิ่นของประชากร การขนส่งสินค้า

5
เเผนที่เฉพาะเรื่อง

5.แผนที่โคโรเพลท (Choropleth Map) เป็นแผนที่ที่ใช้สีเข้ม-อ่อนแสดงปริมาณของข้อมูล


ในพื้นที่นั้น ๆ โดยสีเข้มแสดงถึงข้อมูลที่มีปริมาณมาก และ สีอ่อนแสดงถึงข้อมูลที่มี
ปริมาณน้อย เป็นแผนที่ที่ใช้แสดงความแตกต่างของข้อมูลด้วยสีหรือความอ่อนเข้มของสี หรือ
ลวดลายในสัดส่วนที่เป็นตัววัดของตัวแปรทางสถิติที่มี การแสดงบนแผนที่ เช่น ความหนา
แน่นของประชากรแผนที่โคโรเพลทอยู่ในประเภทของแผนที่เฉพาะเรื่องเพราะเป็นแผนที่ที่
แสดงเฉพาะสิ่งที่สนใจในบริเวณพื้นที่ภูมิศาสตร์ที่สนใจเท่านั้น

-แผนที่จุด (Dot Map) เป็นแผนที่ที่ใช้จุดแสดงความหนาแน่นหรือการกระจายตัวของข้อมูล


-แผนที่แสดงลักษณะสัดส่วน (Proportional symbol map) เป็นแผนที่ที่ใช้สัญลักษณ์
ขนาดแตกต่างกัน แสดงสัดส่วนหรือความหนาแน่นของข้อมูล
-แผนที่แสดงเส้นเท่า (Isoline Map) เป็นแผนที่ที่ใช้เส้นแสดงข้อมูล เพื่อบอกความห่าง ถี่ของ
ข้อมูล
-แผนที่แสดงการเคลื่อนที่ (Flow Map) เป็นแผนที่ที่แสดงถึงการเคลื่อนย้ายของข้อมูล
-แผนที่โคโรเพลท (Choropleth Map) เป็นแผนที่ที่ใช้สีเข้ม-อ่อนแสดงปริมาณของข้อมูลใน
พื้นที่นั้น ๆ โดยสีเข้มแสดงถึงข้อมูลที่มีปริมาณมาก และ สีอ่อนแสดงถึงข้อมูลที่มี
ปริมาณน้อย

6
เเหล่งที่มาของข้อมูล

ข้อมูล
-http://academic.obec.go.th/textbook/web/

-http://www.spburi.com/BOONJUR/page2.htm

-https://www.kroobannok.com/

-https://blog.startdee.com/

-https://sites.google.com/site/surinmap

รูปภาพ
-https://blog.startdee.com/

-https://sites.google.com/site/catographymapoftheworld/

-https://sites.google.com/site/surinmap

You might also like