You are on page 1of 7

Biology ชีววิทยา ม.

5 Kru’DIS

CHAPTER 4

เรื่อง เซลล์ประสาท
จุดประสงค์
1.สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ประสาท
2.จำแนกเซลล์ประสาทตามโครงสร้างและหน้าที่พร้อมยกตัวอย่าง
3.สืบค้นและอธิบายการเกิดเยื่อหุ้มไมอีลินของเซลล์ประสาท
4.สืบค้นและระบุบริเวณที่มีการถ่ายทอดกระแสประสาทจากเซลล์ประสาทหนึ่งไปยังเซลล์ประสาทอีกเซลล์
************************************************************************************

การรับรูแ้ ละตอบสนองต่อสิง่ เร้าของคนและสัตว์มกี ระดูกสันหลัง


สัตว์ที่มีวิวัฒนาการสูงขึ้นจะมีเซลล์ประสาทภายในร่างกายเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ และมี การเปลี่ยนตำแหน่ง
จากระบบประสาทที่อยู่ทางด้านท้อง(ventral) มาอยู่ทางด้านหลัง(dorsal) สำหรับคนและสัตว์มีกระดูกสันหลังจะมี
ระบบประสาทที่พัฒนามาก จะมีศูนย์ควบคุมการทำงานอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งประกอบด้วย สมอง(brain)
และไขสันหลัง(spinal cord) อวัยวะเหล่านี้ประกอบด้วยเซลล์ประสาทจำนวนมาก เซลล์ประสาทแต่ละเซลล์นั้นจะ
ประกอบด้ วยตั วเซลล์ แ ละใยประสาทที่ แ ยกออกจากตัวเซลล์( cell processes) และขณะเดี ย วกั น มี ป มประสาท
(Ganglion)และเส้นประสาท(Nerve) แยกออกจากสมองและไขสันหลัง

โครงสร้างของเซลล์ประสาท(Nerve cell หรือ Neuron)


เซลล์ประสาทเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของระบบประสาทที่สามารถทำงานได้ เจริญเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อ
ชั้น เอกโทเดิร์ม(Ectoderm) มีลักษณะแตกต่างจากเซลล์อื่นๆ ในร่างกายและมีขนาดรูปร่างต่างๆกัน แต่ละเซลล์
ประกอบด้วยส่วนสำคัญสองส่วน คือ ตัวเซลล์(Cell body) และ ใยประสาท(Nerve fiber)

1.ตัวเซลล์(Cell body)

มีรูปร่างหลายแบบ เช่น กลม รี หรืออาจเป็นเหลี่ยม ขนาดของตัวเซลล์มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-25


ไมโครเมตร ประกอบด้วยนิวเคลียส(อยู่ตรงกลางเซลล์) และไซโทพลาซึมรวมทั้งออร์แกแนลต่างๆ เหมือนเซลล์ทั่วไป
เช่น ไมโทคอนเดรีย กอลจิคอมเพลกซ์ ไรโบโซม ร่างแหเอนโดพลาซึม ไลโซโซม เป็นต้น และพบว่ามีบางบริเวณ

1
Biology ชีววิทยา ม.5 Kru’DIS
ในไซโทพลาซึมของเซลล์ประสาทมีลักษณะจำเพาะและไม่พบในเซลล์ชนิดอื่นๆ เรียกว่า “นิสเซิลบอดี(Nissl body)”
คือ กลุ่มของ rough endoplasmic reticulum (RER) ที่ย้อมติดสี basophilic กระจายอยู่ทั่วไปใน cell body ซึ่ง
เป็ น ส่ ว นของไซโทพลาซึ ม ที่ มี ลั ก ษ ณ ะซั บ ซ้ อ นของกรดนิ ว คลี อิ ค และโปรตี น ( Ribonucleoprotein) และ
ร่างแหเอนโดพลาซึมกับ ไรโบโซม ซึ่ง ทำหน้ าที่สร้างโปรตีนจำเพาะบางชนิดที่ใช้ในการทำงานของเซลล์ประสาท
ยกเว้นบริเวณที่ต่อเนื่องกับ axon ซึ่งเรียกชื่อเฉพาะว่า Axon hillock จะไม่พบ Nissl bodies

2.ใยประสาท(Nerve fiber)

เป็นส่วนของไซโทพลาซึมของเซลล์ที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ มีลักษณะเป็นแขนงเล็กๆ มีความยาวต่างๆ กันตาม


ตำแหน่งที่อยู่ และตามหน้าที่ใยประสาทแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
2.1. เดนไดรต์(Dendrite) เป็นส่วนของเซลล์ที่ยื่นออกมาจากตัวเซลล์ เป็นใยหรือเส้นสั้นๆ เซลล์ประสาทแต่
ละเซลล์จะมีเดนไดรต์แยกออกจากตัวเซลล์หนึ่งใยหรือหลายใย ทำหน้าที่นำกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์
2.2. แอกซอน(Axon) เป็นส่วนที่ยื่นออกจากตัวเซลล์เพียงใยเดียวเท่านั้น แอกซอนเส้นที่ยาวๆ จะมีเยื่อของ
เซลล์ชวาน(Schwann cell) เรียกว่า “เยื่อไมอีลิน(Myelin sheath)” หุ้มอยู่ ทำหน้าที่นำกระประสาทออกจากตัวเซลล์
แอกซอนอาจจะมีเยื่อไมอีลินหุ้มหรือไม่ก็ได้ โดยที่แอกซอนที่มีเยื่อไมอีลินหุ้มจะมีเปลือกหุ้มสองชั้น ชั้นนอกเรียกว่า
นิวริเล็มมา(Neurilemma) ส่วนชั้นในเป็นแผ่นเยื่อไมอีลิน(Myelin Sheath)

ภาพที่ 1 แสดงเซลล์ประสาทจากกล้องจุลทรรศน์
2
Biology ชีววิทยา ม.5 Kru’DIS

Cytoplasm
Cell body or perikaryon
Neurofibril
Nucleus
Nucleolus
Mitochondria Golgi apparatus

Nissl body
Axon hilock

Dendrites

Axon or axis
cylinder

Myelin sheath

Neurilemma Node of Ranvier

Nucleus of
Schwann cell

ภาพที่ 2 แผนภาพแสดงโครงสร้างของเซลล์ประสาท

3
Biology ชีววิทยา ม.5 Kru’DIS
จากการศึกษาโครงสร้างของเยื่อไมอีลินนี้พบว่า ประกอบด้วยสารประเภทไขมัน(Phospholipid) และโปรตีน
ซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี และจากการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน พบว่า เซลล์ชวานติดต่อกับเยื่อไมอีลิน และ
ยังคงมีส่วนบางๆ ที่ติดต่อถึงกันอยู่ แสดงว่า เยื่อไมอีลินเกิดจากเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ชวานที่พันรอบแอกซอนซ้อนกัน
แน่นหลายชั้นทำให้เห็นเป็นปลอกหนา เนื่องจากแอกซอนมีความยาวจึงต้องมีเซลล์ชวาน(Schwan cell) หุ้มต่อกัน
หลายเซลล์ ตรงบริเวณรอยต่อของเซลล์ชวานแต่ละเซลล์นี้เรียกว่า “โนดออฟแรนเวียร์(Node of Ravier)” จึงเป็น
บริเวณที่ไม่มีเยื่อไมอีลิน ช่วงห่างของโนดออฟแรนเวียร์และความหนาของแผ่นเยื่อไมอินแปรผันตามขนาดเส้นผ่าน
ศูนย์กลางของแอกซอน กล่าวคือ แอกซอนที่มีขนาดใหญ่จะมีแผ่นเยื่อไมอีลินหนา และช่วงห่างของโนดออฟแรนเวียร์
กว้าง

Layer of Myelin sheath

Axon
Membrane of Schwann cell
Schwann cell
Nucleus of Schwann cell

ภาพที่ 3 ภาคตัดขวางของแอกซอนบริเวณที่มเี ซลล์ชวานหุม้


นอกจากแอกซอนจะมีเยื่อไมอีลินหุ้มอยู่แล้วที่ปลายของแอกซอน ยังมีลักษณะพิเศษ กล่าวคือ บริเวณปลาย
แอกซอนจะพองออกมีลักษณะคล้ายถุง ภายในไซโทพลาซึมมีโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นถุงเล็กๆ ซึ่งภายในบรรจุ
สารเคมี เรียกว่า “สารสื่อประสาท(Neurotransmitter)” และมีไมโทคอนเดรียเป็นจำนวนมาก
Axon

Mitochondria

Synaptic knop
Synaptic vesicle

ร่องประสานประสาท Dendrite
(Synapse)
ภาพที่ 5 แสดงส่วนปลายของแอกซอนทีพ่ องออกต่อกับส่วนเดนไดรต์ของอีกเซลล์หนึง่

4
Biology ชีววิทยา ม.5 Kru’DIS

การเกิดเยือ่ ไมอีลนิ หุม้ แอกซอน

ในขณะที่ ยั ง เป็ น เอมบริโ ออยู่ เซลล์ ป ระสาทยั งไม่ เจริญ เติ บ โตเต็ ม ที่ ใยประสาทเส้ น ที่ ย าวๆ ยั งไม่ มี เยื่ อ
ไมอีลินหุ้ม มีแต่เซลล์ชวาน การนำกระแสประสาทจึงยังไม่ดีและไม่รวดเร็ว ต่อมาส่วนของเยื่อหุ้มเซลล์ชวานจะม้วนตัวกลายๆ
ครั้งหุ้มแอกซอน ดังนั้น เยื่อไมอีลิน ก็คือ เยื่อหุ้มเซลล์ชวานนั่นเอง
สัตว์ที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีทั้งเซลล์ประสาทที่มีและไม่มีเยื่อหุ้มไมอีลิน เซลล์ประสาทที่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม
(Myelinated Neuron) เป็นเซลล์ประสาทที่สามารถส่งกระแสประสาทได้อย่างรวดเร็ว ตามปกติกระแสประสาทในแอกซอนที่
หุ้มด้วยเยื่อไมอีลินจะเคลื่อนที่ 120 เมตรต่อวินาที เช่น เซลล์ประสาทรับความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัว หรือเซลล์ประสาทที่
ไม่ มี เยื่ อไมอีลิน เป็ น เซลล์ป ระสาทที่ น ำความรู้สึก หรือสั่ งการที่ มีอัต ราการเคลื่อนที่ ของกระแสประสาทช้ากว่า กล่ าวคื อ
แอกซอนที่ไม่มีเยื่อไมอีลิน หุ้ม กระแสประสาทจะมีความเร็วเพียง 12 เมตรต่อวินาที ตัวอย่างเช่น เซลล์ของระบบประสาท
ซิมพาเทติก ซึ่งมีการควบคุมการทำงานของอวัยวะอยู่ตลอดเวลา เช่น ปอด หัวใจ กระเพาะอาหารให้ทำงานอยู่ตลอดเวลา

Schwann cell

Axon

A B

Schwann cell

Myelin sheath
C D

ภาพที่ 6 แสดงการเกิดไมอีลนิ
5
Biology ชีววิทยา ม.5 Kru’DIS

ชนิดของเซลล์ประสาท
เซลล์ประสาทมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน รวมทั้งหน้าที่ก็แตกต่างกันด้วย ถ้าพิจารณาจำนวนใยประสาทตรง
ตำแหน่งที่แยกออกจากตัวเซลล์(พิจารณารูปร่าง) สามารถจำแนกออกเป็น 3 ชนิด คือ
1. เซลล์ประสาทขั้วเดียว(Unipolar neuron) เป็นเซลล์ประสาทที่ มีใยประสาทแยกออกจากตัวเซลล์เพียงเส้น
เดียว แล้วจึงแยกออกไปทำหน้าที่เป็นแอกซอนและเดนไดรต์ ซึ่งมักจะมีเดนไดรต์ยาวกว่าแอกซอนมาก ในสัตว์ชั้นสูงและ
คนเราพบเซลล์พวกนี้ได้บริเวณปมประสาทด้านบนของไขสันหลัง(Dorsal root ganglia of spinal cord)
2. เซลล์ประสาทสองขั้ว(Bipolar neuron) เป็นเซลล์ประสาทที่มีใยประสาทออกจากตัวเซลล์สองเส้น เส้นหนึ่ง
ทำหน้าที่เป็นเดนไดรต์อีกเส้นหนึ่งทำหน้าที่เป็นแอกซอน ทั้งเดนไดรต์และแอกซอนจะมีความยาวใกล้เคียงกัน ซึ่งพบได้ใน
กลุ่มเซลล์ประสาทรับความรู้สึกจากตาและหู
3. เซลล์ประสาทหลายขั้ว(Multipolar neuron) เป็นเซลล์ประสาทที่มีใยประสาทออกจากตัวเซลล์หลายเส้น โดย
มีเส้นยาวหนึ่งเส้นทำหน้าที่เป็นแอกซอนและเส้นสั้นๆที่เหลือทำหน้าที่เป็นเดนไดรต์ เซลล์ประสาทพวกนี้มีเดนไดรต์สั้นและ
แอกซอนยาว เราจะพบในระบบประสาทส่วนกลางเป็นส่วนใหญ่(เซลล์ประสาทสองและไขสันหลัง) ทำหน้าที่ควบคุมการหด
ตัวของกล้ามเนื้อ หรือการทำงานของอวัยวะตอบสนอง(Effector organs)ต่างๆ และในเซลล์ชนิดที่ทำหน้าที่เป็นตัวติดต่อ
ประสานงานอยู่ภายในระบบประสาทส่วนกลาง

(A) (B) (C)

ภาพที่ 7 แสดงเซลล์ประสาทหลายขัว้ สองขัว้ และขัว้ เดียว (A),(B),(C) ตามลำดับ

6
Biology ชีววิทยา ม.5 Kru’DIS
โดยทั่ ว ไปเซลล์ป ระสาทขั้ ว เดี ย วและสองขั้ว จะทำหน้ าที่ เป็ น เซลล์ ป ระสาทรับ ความรู้สึ ก (Sensory neuron)
นำกระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึก เช่น นำความรู้สึกบริเวณผิวหนังเข้าไขสันหลังและสมอง ส่วนเซลล์ประสาทหลายขั้ว
ทำหน้าที่เป็นประสาทสั่งการ(Motor neuron) รับคำสั่งจากสมองหรือไขสันหลังไปยังหน่วยปฏิบัติการ ซึ่งได้แก่ กล้ามเนื้อ
ยึดกระดูก เป็นต้น บางเซลล์ก็ทำหน้าที่เป็นเซลล์ประสาทประสานงาน (Association neuron)
ถ้าพิจารณาตามหน้าที่การทำงาน สามารถจำแนกออกเป็น 3 ชนิด คือ
1. เซลล์ประสาทรับความรู้สึก(Sensory neuron) เป็นเซลล์ประสาทที่มีเดนไดรต์ต่ออยู่กับอวัยวะรับสัมผัส หรือ
หน่วยรับความรู้สึก(Sensory receptor) เช่น ตา หู จมูก ผิวหนัง และมี แอกซอนต่ออยู่กับเซลล์ประสาทอื่น ทำหน้าที่
นำกระแสความรู้สึกเข้าสู่สมองหรือไขสันหลัง
2. เซลล์ประสาทสั่งการ(Motor neuron) เป็น เซลล์ประสาทที่มีเดนไดรต์ต่ออยู่ กับเซลล์ประสาทอื่น และมี
แอกซอนต่อกับหน่วยปฏิบัติการ ซึ่งได้แก่กล้ามเนื้อยึดกระดูก ต่อมมีท่อ เป็นต้น ทำหน้าที่รับคำสั่งจากสมองหรือไขสันหลัง
ไปยังหน่วยปฏิบัติการ(Effector organs) เพือ่ ควบคุมการของอวัยวะต่างๆ
3. เซลล์ประสาทประสานงาน(Association neuron) เป็นเซลล์ประสาทที่มีเดนไดรต์ต่อกับแอกซอนของเซลล์
ประสาทรับความรู้สึก และมีแอกซอนต่อกับเดนไดรต์ของเซลล์ประสาทสั่งการ ทำให้หน้าที่เชื่อมโยงกระแสประสาทจากเซลล์
ประสาทรับความรู้สึกและเซลล์ประสาทสั่งการ พบอยู่ในระบบประสาทส่วนกลาง

***********************************************************************************************

You might also like