You are on page 1of 11

เครื่องทำควำมสะอำดแผงโซล่ำเซลล์ควบคุมผ่ำนสมำร์ทโฟน

SOLAR PANEL CLEANING MACHINE CONTROL VIA SMARTPHONE

กิตติ หอมลำดวน1 กรณ์ ศิริรัตน์2


Kitti Homlamduan1 Korn sirirut2

บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ออกแบบและสร้างเครื่องทาความสะอาดแผงโซ
ล่าเซลล์ที่ควบคุมการท างานผ่านสมาร์ทโฟน 2)ศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องท าความ
สะอาดแผงโซล่าเซลล์ท ี่ควบคุ มการท างานผ่านสมาร์ ทโฟน 3)ศึกษาความพึง พอใจของ
ผู้ใช้เครื่องท าความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ ที่ควบคุมการท างานผ่านสมาร์ทโฟน มีวิธีการ
ดาเนินการวิจัยดังนี้ 1)ศึกษาข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนามาออกแบบและสร้างเครื่อง
ทาความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน 2)ทดสอบประสิทธิภาพเครื ่องท า
ความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ควบคุมผ่านสมาร์ทโฟนโดยทดสอบจานวน 10 ครั้งและบันทึก
ผลการทดสอบ 3)ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้เครื่องทาความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ควบคุม
ผ่านสมาร์ทโฟน ผลการวิจัยพบว่า 1)เครื่องทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ควบคุมผ่ า น
สมาร์ทโฟนมีขนาด 1.8เมตร x 4เมตร x 1เมตร 2)เครื่องทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์
ควบคุมผ่านสมาร์ทโฟนที่สามารถทางานได้อย่างประสิทธิภาพ 3)ผู้ใช้เครื่องทำความสะอาด
แผงโซล่าเซลล์ควบคุมผ่านสมาร์ทโฟนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ : โซล่าเซลล์ สมาร์ทโฟน เครื่องทาความสะอาด

1 วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี
2 วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี
1 Phetchburi Technical College

2 Phetchburi Technical College


Abstract
This research aims to 1) Design and build a solar panel cleaner that can
be controlled via a smartphone. 2)Study the efficiency of a solar panel cleaning
machine controlled via a smartphone. 3)Study on user satisfaction of solar
panel cleaning machine controlled via smartphone. The methods of
conducting research are as follows. 1)Study relevant research data and used
to design and build a solar panel cleaning machine controlled via a
smartphone 2) Test the efficiency of the solar panel cleaner controlled via a
smartphone by testing the function of the walking stick 10 times and recording
the test results. 3)To study the satisfaction of using a solar panel cleaning
machine controlled via a smartphone. The results showed that 1) Got a solar
panel cleaning machine controlled via a smartphone, size 1.8m x 4m x 1m as
designed 2) A solar panel cleaner that can work efficiently and can control the
device via smartphone 3) The testers of the solar panel cleaner controlled via
smartphone were satisfied at a high level.
Keywords : Solar cell, Smart phone, Cleaning Machine

บทนำ
พลังงานสะอาด (Clean Energy) คือ พลังงานที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือ
ก่อให้เกิดมลภาวะอย่างน้อยที่สุดในทุกขั้นตอนนับตั้งแต่การผลิต การแปรรูป การนาไปใช้
งาน ไปจนถึงการจัดการของเสีย โดยเฉพาะการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่ง เป็น
ต้นเหตุสาคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน โดยทั่วไปแล้ว พลังงานสะอาดมั กเป็นพลังงานที่มา
จากธรรมชาติเป็นหลัก สามารถนามาใช้ทดแทนแหล่งพลังงานแบบเดิมได้อย่างไม่จากัด จึง
ถือเป็นพลังงานแห่งอนาคตที่ทั่วโลกล้วนให้ความสาคัญ
พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) คือ พลังงานที่ได้จากรังสีและความร้อนที่แผ่
ออกมาจากดวงอาทิตย์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่สะอาดที่สุดและอุดมสมบูรณ์
ที่สุดและเป็นที่รู้จักมากที่สุด ซึ่งเราสามารถนาพลังงานความร้อนนี้ไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง
หรือเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของพลังงานไฟฟ้าได้ด้วย 2 วิธี คือ การใช้โซลาร์เซลล์ (Solar Cell)
ในการเปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า และการใช้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ผลิตไอ
น้าแรงดันสูงเพื่อใช้ปั่นเครื่องปั่นกระแสไฟฟ้า
โซล่าเซลล์ (Solar Cell) เป็นสิ่งประดิษฐ์กรรมทาง Electronic ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็น
อุปกรณ์สาหรับเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงาน ไฟฟ้า โดยการนาสารกึ่งตัวนา
เช่ น ซิ ล ิ ก อน ซึ ่ ง มี ร าคาถู ก ที ่ ส ุ ด และมี ม ากที ่ ส ุ ด บนพื ้ น โลกมาผ่ า นกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ เพื่อผลิตให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ์ และทันทีที่แสงตกกระทบบนแผ่นเซลล์ รังสี
ของแสงที่มีอนุภาคของพลังงานประกอบที่เรียกว่า โฟตอน (Proton) จะถ่ายเทพลังงาน
ให้กับอิเล็กตรอน (Electron) ในสารกึ่งตัวนาจนมีพลังงานมากพอที่จะกระโดดออกมาจาก
แรงดึงดูดของอะตอม (atom) และเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ดังนั้นเมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ครบ
วงจรจะทาให้เกิดไฟฟ้ากระแสตรงขึ้น
ส าหรับประเทศไทยนั้น พบว่า ในปี 2020 ที่ผ่านมา ก าลัง ผลิตติดตั้ง ไฟฟ้าจาก
พลังงานทดแทน มีปริมาณรวม 12,005 เมกะวัตต์ (MW) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.3 โดย
เป็นกาลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 2,979.4 เมกะวัตต์ (MW) หรือคิดเป็น
ร้อยละ 24.88
แผงโซล่ า เซลล์ ที่ ใ ช้ง านอยู่ กลางแจ้ ง จะถู ก ฝุ่ น ละออง เขม่ า ควั น ละอองเกสร
ดอกไม้ รวมถึงมูลนกเกาะแน่นได้ ทาให้ ลดประสิทฺธิภาพในการผลิตระบบผลิตไฟฟ้าด้วย
พลัง แสงได้ถึง 20% จะเห็นได้ว่าพลังธรรมชาติจากฝน น้าค้าง และลมไม่มีประสิทธิภาพ
มากพอที่จะทาความสะอาดแผงโซลาเซลล์ดังกล่าวได้
ด้ ว ยเหตุ ดั ง กล่ า วจึงได้ออกแบบและสร้างเครื่องทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์
ควบคุมผ่านสมาร์ทโฟนขึ้น เพื่อตอบสนองต่อการใช้งานในปัจจุบัน อีกทั้งยังตอบโจทย์ใน
เรื่อง ของความสะดวก และยังลดค่าใช้จ่ายในส่ว นของค่าจ้างพนักงานในการล้างทำความ
สะอาดแผงโซล่าเซลล์

วัตถุประสงค์กำรวิจัย
1.เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องทาความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ที่ควบคุมการทางาน
ผ่านสมาร์ทโฟน
2.เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องท าความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ที่ควบคุมการ
ทางานผ่านสมาร์ทโฟน
3.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ เครื่องทาความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ที่ควบคุม
การทางานผ่านสมาร์ทโฟน

แนวคิด ทฤษฎี และงำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง


การออกแบบและการสร้างเครื่องทาความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ที่ควบคุมการทางาน
ผ่านสมาร์ทโฟน ให้มปี ระสิทธิภาพ ได้วางแผนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์โดยมีทฤษฎีและ
เอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. โซล่าเซลล์ (Solar Cell) เป็นสิ่งประดิษฐ์กรรมทาง Electronic ที่สร้างขึ้นเพื่อ
เป็นอุปกรณ์สาหรับเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงาน ไฟฟ้า โดยการนาสารกึ่งตัวนา
เช่ น ซิ ล ิ ก อน ซึ ่ ง มี ร าคาถู ก ที ่ ส ุ ด และมี ม ากที ่ ส ุ ด บนพื ้ น โลกมาผ่ า นกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ เพื่อผลิตให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ์ และทันทีที่แสงตกกระทบบนแผ่นเซลล์ รังสี
ของแสงที่มีอนุภาคของพลังงานประกอบที่เรียกว่า โฟตอน (Proton) จะถ่ายเทพลังงาน
ให้กับอิเล็กตรอน (Electron) ในสารกึ่งตัวนาจนมีพลังงานมากพอที่จะกระโดดออกมาจาก
แรงดึงดูดของอะตอม (atom) และเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ดังนั้นเมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ครบ
วงจรจะทาให้เกิดไฟฟ้ากระแสตรงขึ้น
2. การทาความสะอาดโซล่าเซลล์แผงโซล่าเซลล์ที่ใช้งานอยู่กลางแจ้ง แผงที่เอียงไม่
มาก ถูกฝุ่นละออง เขม่าควัน ละอองเกสรดอกไม้ รวมถึง มูลนกเกาะแน่นได้ สามารถลด
กาลังการผลิตของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังแสงได้ถึง 20% จะเห็นได้ว่าพลังธรรมชาติจาก
ฝน น้าค้าง และลมไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะทาความสะอาดแผงโซลาเซลล์ดังกล่าวได้
อย่างมีประสิทธิผล[1]
3. เจนวิทย์ สุวรรณโชติ [2] ได้ท าการพัฒนาหุ่นยนต์ต้น แบบส าหรั บท าความ
สะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์ แบบบนหลังคา เพื่อใช้ทดแทนแรงงานคนเพื่อลดความเสี่ยงจาก
อุบัติเหตุในการทาความสะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่อยู่บนหลังคาสูง รวมถึงป้องกันความ
เสียหายทั้งต่อแผงเซลล์และหลังคาจากการใช้แรงงานคน ซึ่งได้ออกแบบตามความต้องการ
ของผู้ประกอบการ โดยหุ่นยนต์มีน้า หนัก 47 kg มีความกว้าง 1,300mm ยาว 1,179 mm
สูง 236 mm วัสดุเป็นสแตนเลสที่สามารถทนแสงแดดและน้าได้ดี มีเซนเซอร์ป้องกันหุ่นยนต์
ตกจากแผงทั้งหมด 8 ตาแหน่ง และสามารถถอดประกอบได้ 7 ชิ้น โดยโครงสร้างทุกชิ้นผ่าน
การทดสอบความแข็งแรงด้วยคาสั่ง Solidworks Simulation Static Test ในโปรแกรม
Solidworks และมีระบบล้อที่สามารถเคลื่อนที่ข้ามช่องว่างระหว่างแผงเซลล์ที่กว้าง 100
มิลลิเมตร ได้มีวัสดุหุ้มล้อเป็นผ้าหนังวัวเพื่อให้สามารถเกาะแผงเซลล์ในสภาพการทางานที่
เปียกน้าได้ สามารถเคลื่อนที่ขึ้นลงบนแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีความลาดเอียงได้ถึง 15 องศา
มี Arduino Mega เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์คุม DC มอเตอร์ ขนาด 120 W ใช้ก าลัง ไฟ
24V ทั้งหมด 4 ตัว สาหรับชุดขับเคลื่อน 4 ชุด และเมื่อเปรียบเทียบกับการทาความสะอาด
ด้วยคนแล้ว หุ่นยนต์ทาความสะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบบนหลังคาสามารถคุ้มทุนใน
เวลา 1 ปี 11 เดือน
4.พรหมพั ก ตร์ บุ ญ รั ก ษา [3] ได้ ศ ึ ก ษาการเพิ ่ มประสิ ท ธิ ภาพของระบบเซลล์
แสงอาทิตย์โดยใช้เครื่องล้างแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบอัตมัติ โดยการออกแบบต้นแบบเครื่อง
ทาความสะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์อัตโนมั ติด้วย Arduino โครงสร้างของเครื่องท าจาก
อลูมิเนียมโปรไฟล์ ขนาด 70x30 m2 หลักการทาความสะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์นั้นถูก
ควบคุมโดย บอร์ด Arduino ซึ่งเป็นบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ออกแบบมาให้มีลักษณะ
เด่นที่ใช้งานง่าย ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกเดี่ยวขนาด 80W ทาการทดสอบเครื่องเป็น
เวลา 6 เดือน ผลการวิจัย พบว่า เมื่อเครื่องล้างแผงเซลล์แสงอาทิตย์ถูกตั้งค่าให้ท างานที่
อุณหภูมิเริ่มต้น 42 องศาเซลเซียส กาลังไฟฟ้าขาออกของแผงที่ติดตั้งเครื่องล้างแผงเซลล์
แสงอาทิตย์มีค่ากาลังไฟฟ้าขาออกสูงกว่าแผงที่ไม่ได้ติดตั้งเครื่อง ล้างแผงเซลล์แสงอาทิตย์
และประสิ ท ธิ ภ าพของแผงเซลล์ แ สงอาทิ ต ย์ ท ี ่ ต ิ ด ตั ้ ง เครื ่ อ งท าความสะอาดแผงเซลล์
แสงอาทิตย์อัตโนมัติด้วยมีค่า 0.67% กาลังไฟฟ้าขาออกเฉลี่ยรวม คือ 4.603kWh

วิธีดำเนินกำรวิจัย
การสร้างเครื่องทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ควบคุมผ่านสมาร์ทโฟนเป็นโครงการ
เชิง ทดลองการสร้างนวัตกรรมประเภทสิ่งประดิษฐ์ไ ด้ การน าความรู้ความสามารถจาก
การศึกษาทางหลักวิชาการ เพื่อใช้แก้ปัญหากระบวนการเป็นประโยชน์ต่อการประกอบ
อาชีพและสัง คมใช้ประสบการณ์ที่ได้รับไปพัฒนาเองในอนาคต ผู้ศึกษาได้ก าหนดวิธ ีก าร
ดาเนินการศึกษาตามลาดับดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. ออกแบบและสร้างเครื่องทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน
1.1 ออกแบบโครงสร้างเครื่องทำความสะอาดแผงโซล่า เซลล์ ควบคุม ผ่ า น
สมาร์ทโฟน

ภาพที่ 1 แบบโครงสร้างเครื่องทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน
1.2 สร้างโครงสร้างตามการออกแบบติดตั้งใบทำความสะอาดและมอเตอร์

ภาพที่ 2 สร้างโครงสร้างตามการออกแบบ

ภาพที่ 3 ติดตั้งใบทำความสะอาด

ภาพที่ 4 ติดตั้งมอเตอร์
1.3 ออกแบบวงจร ติดตั้งวงจรและโปรแกรมควบคุม

ภาพที่ 5 ออกแบบวงจรควบคุม

ภาพที่ 6 ติดตังวงจรควบคุม
1.4 ทดสอบการทำงานของเครื่องและแก้ไขข้อบกพร่อง

ภาพที่ 7 ทดสอบการทำงานของเครื่องและแก้ไขข้อบกพร่อง
2. ทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ควบคุม
ผ่านสมาร์ทโฟน ด้วยการทดลองการทำงานของเครื่องทุก 7 วัน เป็นระยะเวลาทั้งหมด 10
ครั้ง
3. ศึกษาพึงพอใจของผู้ใช้เครื่องทาความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ที่ควบคุมการทางาน
ผ่านสมาร์ทโฟน จำนวน 30 คน ประกอบด้วย ประชาชนทั่วไป ที่อาศัยอยู่ใน อ.เมือง จ.
เพชรบุรี จำนวน 10 คน ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ ใน อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี จำนวน 10 คน
ผู้ประกอบการประเภททำฟาร์มโซล่ าเซลล์ ที่อาศัยอยู่ ใน อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี
จำนวน 5 คน และ ผู้ประกอบการประเภททำฟาร์มโซล่าเซลล์ ที่อาศัยอยู่ใน อ.ชะอำ จ.
เพชรบุรี จำนวน 5 คน
ผลกำรวิจัย
1. เครื่องทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน ส่วนตัวเครื่อง
สาหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ออกแบบให้มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีขนาด 1.8 เมตร x
4เมตร x 1เมตร ส่วนที่ใช้ในการติดตั้งชุดควบคุมและมอเตอร์ในการ ขับชุดขัดล้างแผงโซล่า
เซลล์ ประกอบด้วยส่วนรองรับกล่องเก็บอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังภาพที่ 8

ภาพที่ 8 เครื่องทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน
2. ประสิทธิภาพเครื่องทำความสะอาดแผงโซล่า เซลล์ ควบคุม ผ่ านสมาร์ ท โฟน
สามารถทางานได้อย่างประสิทธิภาพดังตารางที่ 1
ครั้งที่ ก่อนทาความสะอาด หลังทาความสะอาด
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
ตารางที่ 1 ผลการเปลี่ยบเทียบความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ก่อนและหลังทาความสะอาดโดย
ใช้เครื่องทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน
จากตารางที่ 1 พบว่าเครื่องทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ควบคุมผ่านสมาร์ทโฟนที่
ทำการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานจำนวน 10 ครั้งในทุก ๆ 2 สัปดาห์สามารถทำความ
สะอาดสิ่งที่มาเกาะอยู่บนแผ่งโซล่าเซลล์ เช่น ฝุ่น เกษรดอกไม้ มูลนก เศษใบไม้ ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ยังไม่สามารถทำความสะอาดได้หมด
3. ศึกษาความพึงพอใจผู้ใช้เครื่องทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ควบคุมผ่านสมาร์ท
โฟนดังตารางที่ 2
รายการประเมิน 𝑥̅ S.D. ความพึงพอใจ
1. ด้ำนตัวเครื่อง
1.1 การออกแบบ รูปร่าง ขนาด น้าหนัก เหมาะสม 3.80 0.83 มาก
1.2 การจัดวางตาแหน่งของอุปกรณ์เหมาะสม 4.13 0.80 มาก
1.3 ความเหมาะสมของวัสดุที่ใช้ทา 4.06 0.85 มาก
1.4 มีความแข็งแรง 4.40 0.85 มาก
1.5 ความยากง่ายในการทา 4.13 0.61 มาก
1.6 ความสะดวกในการติดตั้ง 4.13 0.88 มาก
1.7 การดัดแปลงใช้วัสดุอุปกรณ์ 4.00 0.96 มาก
2. ด้ำนกำรใช้งำน
2.1 ทางานได้ตามวัตถุประสงค์ 4.06 0.67 มาก
2.2 ความสะดวกในการใช้งาน 3.86 0.88 มาก
2.3 มีความปลอดภัยในการใช้งาน 4.13 1.14 มาก
2.4 ความสะดวกในการบารุงรักษา 4.00 0.81 มาก
2.5 นาไปใช้ประโยชน์ได้จริง 3.93 0.85 มาก
ค่ำเฉลี่ยรวม 4.05 0.85 มาก
ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความพึ่งพอใจของผู้ใช้เครื่องทำความ
สะอาดแผงโซล่าเซลล์ควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน
จากตารางที่ 2 พบว่าผู้ใช้เครื่องทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ควบคุมผ่านสมาร์ทโฟ
นมีความพึง พอใจในภาพรวมอยู่ ในระดั บมาก ( X̅=4.05 ,S.D.=0.85 ) เมื่อพิจารณาเป็ น
รายการพบว่า อยู่ในระดับมากทุกรายการโดยรายการที่มีความพึ่งพอใจมากที่สุดคือรายการ
ที่ 1.4 มีความแข็งแรง ( ̅X=4.40 ,S.D.=0.85 ) และราการที่มีความพึ่งพอใจน้อยที่สุดคือ
รายการที่ 1.1 การออกแบบ รูปร่าง ขนาด น้ำหนักเหมาะสม ( X̅=3.80 ,S.D.=0.83 )
กำรอภิปรำยผลกำรวิจัย
1.เครื่องทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน สามารถทำงานได้
ตามที่ออกแบบไว้
2. จากการทดสอบประสิทธิภาพในการทำงาน ของเครื่องทำความสะอาดแผงโซล่า
เซลล์ควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน จำนวน 10ครั้ง พบว่าในทุก ๆ 2 สัปดาห์สามารถทำความ
สะอาดสิ่งที่มาเกาะอยู่บนแผ่งโซล่าเซลล์ เช่น ฝุ่น เกษรดอกไม้ มูลนก เศษใบไม้ ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับงานวิจัย ของ เจนวิทย์ สุวรรณโชติ [2] ได้ทาการพัฒนา
หุ่นยนต์ต้นแบบสาหรับทาความสะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์ แบบบนหลังคา เพื่อใช้ทดแทน
แรงงานคนเพื่อลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุในการทาความสะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่อยู่
บนหลังคาสูง รวมถึงป้องกันความเสียหายทั้งต่อแผงเซลล์และหลังคาจากการใช้แรงงานคน
และ พรหมพักตร์ บุญรักษา [2] ได้ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเซลล์แสงอาทิตย์
โดยใช้เครื่องล้างแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบอัตมัติ โดยการออกแบบต้นแบบเครื่องทาความ
สะอาดแผงเซลล์ แ สงอาทิ ต ย์ อ ั ต โนมั ต ิ ด ้ ว ย Arduino ล้ า งแผงเซลล์ แ สงอาทิ ต ย์ และ
ประสิทธิภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งเครื่องทาความสะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์
อัตโนมัติด้วยมีค่า 0.67% กาลังไฟฟ้าขาออกเฉลี่ยรวม คือ 4.603kWh
3.ผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อการใช้งานเครื่องทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ควบคุม
ผ่านสมาร์ทโฟน ด้านตัวเครื่องและการใช้งาน ค่าเฉลี่ยรวม อยูใ่ นระดับมาก
ข้อเสนอแนะจำกกำรวิจัย
ข้อเสนอแนะในการนาผลวิจัยไปใช้
1.โครงสร้างที่มีความแข็งแรงสามารถที่จะนาไปประยุกต์และดัดแปลงในการใช้ง าน
ในรูปแบบอื่น
2.การจัดวางต าแหน่งของอุ ปกรณ์ เหมาะสม สะดวกในการติ ดตั้ง และมีค วาม
ปลอดภัยในการใช้งาน
ข้อเสนอแนะเพื่อการทาวิจัยครั้งต่อไป
1.รูปร่าง ขนาด น้าหนัก ยังไม่เหมาะสม ควรปรับลดขนาดหรือวัสดุให้มีน ้ าหนัก
น้อยลง
2.ควรติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้าเข้าชุดมอเตอร์ เพื่อป้องกันความเสียหายเพิ่มเติม

เอกสำรอ้ำงอิง

[1] บริษัทบางจาก คอร์ปอเรชั่น จ ากัด (มหาชน) และบริษัทบางจากเอนเนอร์ยี , พลังงาน


แสงอาทิตย์,พ.ศ.2563,หน้า 69-73.
[2] เจนวิทย์ สุวรรณโชติและคณะ, โครงการพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบสาหรับทาควาสะอาด
แผงเซลล์ แ สงอาทิ ต ย์ แ บบบนหลั ง คา, ปริ ญ ญาวิ ศ วกรรมศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต
(วิศวกรรมเครื่องกล) มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, พ.ศ.2562. หน้า ค.
[3] พรหมพักตร์ บุญรักษา, การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเซลล์แสงอาทิตย์โดยใช้เครื่อง
ล้างแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบอัตโนมัติ,มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, พ.ศ.2562, หน้า 4.

You might also like