You are on page 1of 32

์ ้านเชื้อราที่เท้าจากสารสกัดเหง้าข่า

การศึกษาฤทธิต

บทนำ

โรคกลากเกลื้อนเป็ นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา โดยจะมีลักษณะเป็ น


รอยด่าง ขรุขระ เป็ นขุย หรือมีอาการผิวหนังแดง แสบ และมีอาการคันร่วม
ด้วย ซึ่งโรคนีส
้ ามารถพบบ่อยบริเวณ หนังศีรษะ ใบหน้า ลำตัว ขาหนีบ เล็บ
มือ เล็บเท้า และเท้า โดยเฉพาะบริเวณเท้ามักพบได้บ่อยในบุคคลที่ทำงาน
ใส่รองเท้าคัชชู นักกีฬา หรือบุคคลเดินลุยน้ำ สาเหตุของโรคนี ้ คือ การ
สะสมเหงื่อ ความชื้น บริเวณนัน
้ อากาศร้อน การใช้ของร่วมกับผู้อ่ น
ื การ
เดินลุยน้ำในที่สาธารณะ เป็ นต้น โรคนีส
้ ามารถติดต่อได้โดยการสัมผัสเชื้อ
โดยตรง โดยเชื้อราที่มักพบริเวณที่เท้า คือ เชื้อ T.rubrum
T.mentagrophytes และ E.floccosum หากติดเชื้อราทัง้ 3 ชนิดที่กล่าว
มา แล้วไม่ทำการรักษาที่ถูกต้องอาจจะส่งผลต่อสุขภาพได้ อีกทัง้ นำมาสู่
ปั ญหาการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ผิวหนังเกิดความเสียหาย เกิดกลิ่นเท้า
และสูญเสียความมั่นใจในการใช้ชีวิต ทัง้ นีใ้ นประเทศไทยมีการใช้สมุนไพร
ตามตำราแผนโบราณและสมุนไพรพื้นบ้านในการรักษาโรคติดเชื้อทาง
ผิวหนังมาเป็ นเวลานาน สมุนไพรพื้นบ้านที่นิยมใช้ ได้แก่ ข่า ขิง กระเทียม
และขมิน
้ เป็ นต้น จึงยกตัวอย่าง สมุนไพรข่าที่เห็นผลในการรักษา เป็ นที่น่า
พอใจในระดับหนึ่ง และสามารถหาได้ง่ายตามครัวเรือน จัดอยู่ในวงศ์
Zingeberaceae มีสรรพคุณ

เนื้อหา

1. Tinea pedis (โรคกลากที่เท้า)


เป็ นโรคที่พบได้บ่อยสุดในผูช
้ ายที่ต้องใส่รองเท้าอับชื้นหรืองานที่เท้าโดน
น้ำบ่อยๆ โดยเชื้อราเหล่านีจ
้ ะพบในที่ต่างๆ เช่น พื้นห้องน้ำ สระว่ายน้ำ
พื้นที่ห้องพักนักศึกษา ที่วางรองเท้าและพื้นบ้าน รองเท้า และถุงเท้า เป็ น
แหล่งสะสมของเชื้อ Dermatophyte เชื้อจะอยู่ได้นานในรองเท้าและถุงเท้า
ที่ไม่ใช้แล้ว ระยะเวลาประมาณ 5 เดือน
ลักษณะสำคัญทางคลินิก
1.1 The Intertrigenous form พบได้บ่อยสุด ง่ามนิว้ เท้า โดยเฉพาะง่าม
ที่สี่ พบว่าผิวหนังจะมีลก
ั ษณะขาวยุ่ย ลอกเป็ นแผ่นหรือเป็ นสะเก็ดแตกเป็ น
ร่อง มีกลิ่น ในรายที่มีอาการมากอาจจะลามไปที่ฝ่าเท้า มีอาการคัน และจะ
คันมากๆ เมื่ออากาศร้อน อบอ้าว มักเป็ นเรื้อรังในรายที่มีเหงื่อออกตาม
ฝ่ าเท้าหรือเท้าเปี ยกชื้น เชื้อที่พบได้บ่อยคือ T.mentagrophytes และ
T.rubrum ถ้าเกิดจาก E.fioccosum จะเป็ นขุยที่ง่ามเท้า ฝ่ าเท้า ต่อมาจะ
ยุ่ย และเป็ นผื่นขึน
้ ล้อมรอบที่เป็ นอยู่ก่อน นานเข้าจะกลายเป็ นผื่นสีน้ำตาล
ที่ง่ามเท้าบางทีอาจะเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน
1.2 The vesicular form มักจะเกิดจาก T.mentagrophytes เกิดเป็ น
ตุ่มน้ำเล็กๆ ที่ด้านในของเท้า ถ้ามีอาการมากมักเป็ นทัง้ ฝ่ าเท้า ลามขึน
้ หลัง
เท้า ตุ่มน้ำเหล่านีถ
้ ้ามีมากจะรวมกันเป็ นตุ่มน้ำพอง น้ำข้างในมีสีเหลือง
เหนียว มีอาการคันมาก ถ้าแตกจะเห็นฐานสีแดง ถ้าตุ่มน้ำไม่แตก ตุ่มน้ำจะ
แห้ง และทำให้ผิวหนังตรงนัน
้ เป็ นตุ่มแข็ง บางรายพบขึน
้ ที่มือร่วมด้วย (อาจ
จะเป็ นเชื้อราหรือ Id eruption)
vesicular form มักเป็ นแบบ subacute ถ้าเป็ น acute ulcerative
form เกิดจากตุ่มหนองลุกลามอย่างรวดเร็ว การติดเชื้อซ้ำ ถ้าแตกเป็ นแผล
จะทำให้อักเสบบริเวณแผลที่เป็ นและมีไข้ร่วมด้วย อาการเหล่านีจ
้ ะเริ่มเป็ น
บริเวณอุ้งเท้าก่อน โดยผื่นจะเริ่มเป็ นตุ่มน้ำใสหลายๆ ตุ่ม บนฐานผิวหนัง มี
การอักเสบแดงและอาการคันมาก ต่อมาตุ่มน้ำจะแตกออกกลายเป็ นขุย
บางๆ และจะมีตุ่มน้ำใหม่เกิดขึน
้ อีกครัง้ ทำให้ผ่ น
ื ลามเป็ นวงแดง ผื่นกลากที่
เท้าชนิดนีม
้ ักพบในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ บางครัง้ Antigen – Antibody
รุนแรงมากจนกระตุ้นทำให้เกิดอาการ
1.3 The chronic, papulosquameus, hyperkeratotic type ลักษณะ
เป็ นขุย หนังลอกทีฝ่าเท้า หลังเท้าและง่ามเท้า ไม่การอักเสบ ผื่นขอบไม่
ชัดเจน อาการมักเป็ นเรื้อรัง มักเป็ นที่เท้าทัง้ 2 ข้าง ถ้ามีอาการมากขุยจะ
หนาและลามไปที่หลังเท้าได้ เรียกว่า Moccasin foot มักเกิดจากเชื้อ
T.rubrum อีกอาการหนึ่งคือ หนังจะลอกเป็ นแผ่นๆ ฝ่ าเท้าหนาแข็งบริเวณ
ที่เป็ นอาจจะมีสีแดงๆ จากการอักเสบ ปกคลุมด้วยขุยสีขาว พบได้ที่ฝ่าเท้า
ส้นเท้า และด้านในของเท้า ส่วนมากเท้าจะแห้ง แต่มีเหงื่ออกมากๆ มักเป็ น
[1]
เรื้อรัง และทำการรักษาหายยาก

จากการศึกษาการระบาดวิทยาของ Tinea pedis พบว่า ปั จจัยการเกิดจะ


แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค สภาพแวะล้อมในท้องถิ่น ลักษณะภูมิอากาศ
(ความชื้นสูงและอุณภูมิ) ตลอดถึงปั จจัยทางสังคมและพฤติกรรมการใช้ชีวิต
เช่น ในเพศชายมักสวมใส่รองเท้าฟุตบอลและกีฬาจึงเกิดเหงื่อบริเวณที่เท้า
จนเกิดการสะสมทำให้เกิดเป็ นเชื้อรา ส่วนในเพศหญิงมักสวมใส่รองเท้าคัทชู
หรือทำสปาเล็บเท้า จึงเกิดการติดเชื้อได้ง่าย โดยการศึกษาการระบาดวิทยา
ของ Tinea pedis จึงแบ่งไปแต่ละประเทศดังนี ้

ประเทศ T.rubr T.interdigi T.mentagro E.flocco T.violac T.verruc T.tonsu M.ca


um talae phytes sum eum osum rans nis
Switzerla 63.38 35.3 0.45 0.12 0.16 0.04 0.08
nd
Germany 81.35 15.54 0.52 1.55
Zagreb 13 84 2 0.05 0.33
Croatia
France 84.3 13.9 0.6 0.6
Grenoble
Poland 72 4 2 22
Spain 88.5 5.8 1.9 1.9
Colombia 43.7 42.6 42.9 0.55 0.05
Egipt 32.5 28.9 38.5
Australia NT NT NT NT NT NT NT NT
Tunisia 95.6 2.1 2.1
*Iran, 30 53 16 1
North
*Iran, 6.1 14.3 34.7 2 24.5 18.4
Shiraz
*Iran 81.5 17.6 0.9
(southwe
stern)
*Japan 55 44.1 0.31 0.19
*China 76.2 23.8
* = ประเทศเอเชีย

จากตารางพบว่า ประเทศที่อยู่แถบยุโรปมักพบเปอร์เซ็นของเชื้อบริเวณที่
เท้าจากมากไปน้อย คือ เชื้อ T.rubrum T.interdigitalae และ
E.floccosum ตามลำดับ และประเทศที่อยู่แถบเอเชียพบเปอร์เซ็นของเชื้อ
บริเวณที่เท้าจากมากไปน้อย คือ เชื้อ T.rubrum T.mentagrophytes และ
[2]
E.floccosum ตามลำดับ

2. ความรู้เกี่ยวกับเชื้อราที่เป็ นสาเหตุโรคกลากที่เท้า (Tinea pedis)


2.1 Trichophyton Rubrum
เป็ นเชื้อที่พบได้บ่อยของ Dermatophyte ที่แยกได้จากมนุษย์ จัดอยู่
ในสกุล Trichophyton วงศ์ Arthrodermataceae จากเชื้อ
Dermatophyte ทัง้ หมด สายพันธุ์ T.rubrum เป็ นสายพันธุ์ที่พบได้มาก
ที่สุดเนื่องจากเป็ นโรคเฉพาะถิ่นทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา มักอาศัย
อยู่ในชัน
้ บนของผิวหนังที่ตายแล้ว เป็ นสาเหตุหลักทำให้เกิดโรคผิวหนัง เช่น
Tinea pedis, Tinea unguium, Tinea corporis และ Tinea capitis

ภาพที่ 1 Macroconidia ของเชื้อ T.rubrum


ที่มา : Creative-biolabs, 2566
ลักษณะของเชื้อมักเจริญช้า โดยทั่วไปมักพบ 2 ชนิด คือ
- T. rubrum downy type : ชนิดขนอ่อน ลักษณะไมโทคอนเดรียจะ
เรียวยาว หรือรูปทรงกระบอก
- T. rubrum granular type : ชนิดเป็ นเม็ด รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มี
ปลายหนา หรือเป็ นลักษณะรูปลูกแพร์
โคโลนีของ T. Rubrum เมื่อเติบโตขึน
้ จะปกคลุมด้วยสายของรา
ลักษณะเป็ นปุย ด้านหน้าโคโลนีมีมีชมพู ด้านหลังมีสีแดง สายราบางส่วนจะ
เจริญอยู่ในวุ้นด้วย เชื้อกลุ่มนี ้ เมื่อส่องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบ
microconidia เป็ นรูปหยดน้ำหรือ clavate เกาะอยู่สองข้างของสายรา
[3]
หรือบนก้านสัน
้ ๆ
ภาพที่ 2 โคโลนีของเชื้อ T.rubrum
ที่มา : Creative-biolabs, 2566

2.2 Trichophyton mentagrophytes


เป็ นหนึ่งในสามสกุลของเชื้อรา Dermatophyte จัดอยู่ในสกุล
Trichophyton มักพบในสัตว์และมีการติดต่อสู่มนุษย์ได้ เช่น หนู จิงโจ้
แมว สุนัข ม้า แกะ และกระต่าย ทำให้มีอาการอักเสบบริเวณผิวหนังหรือ
โรคกลากในมนุษย์ จะเกิดอาการบริเวณศีรษะ เครา และเท้า
ภาพที่ 3 Macroconidia ของเชื้อ T. mentrographes
ที่มา : de Hoog et, 2561

โคโลนีโดยทั่วไปจะมีลักษณะแบน มีสข
ี าวถึงสีครีม พื้นผิวเป็ นผงถึง
เป็ นเม็ด บางชนิดตรงกลางจะมีลักษณะเป็ นกระจุก สีน้ำตาลเหลืองถึง
น้ำตาลแดง Macroconidia เป็ นเซลล์เดียว อยู่เป็ นกระจุกหนาแน่น ผนัง
[4]
เรียบและบาง รูปร่างคล้าย clavate

ภาพที่ 4 โคโลนีของเชื้อ T. mentrographes


ที่มา : de Hoog et, 2561
2.3 Epidermophyton floccosum
เป็ นหนึ่งในสามสกุลของเชื้อรา Dermatophyte เชื้อราชนิดนีม
้ ักพบใน
ห้องอาบน้ำ สระว่ายน้ำ ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน เสื้อผ้า และรองเท้า
แพร่กระจายโดยการสัมผัสโดยตรง สามารถสลายเคราตินภายในผม ผิวหนัง
และเล็บได้ กรณีล่าสุดมีการติดเชื้อบริเวณที่ดวงตาทำให้เกิดอาการโรค
กระจกตาอักเสบ เชื้อ E. floccosum มักจะติดต่อในมนุษย์ที่มีภูมิคุ้มกัน
บกพร่อง อาการที่แสดง คือ ผิวหนังอักเสบ เชื้อราที่เล็บ หรือบริเวณฝ่ าเท้า
ภาพที่ 5 Macroconidia ของเชื้อ E. floccosum
ที่มา : de Hoog et, 2560

เมื่อสังเกตโคโลนีด้วยสายตา การเจริญเติบโตช้า มีสีน้ำตาลแกมเขียว


หรือสีกากี มีพ้น
ื ที่ผิวคล้ายหนังกลับ ยกขึน
้ และพับอยู่ตรงกลาง โดยมีขอบ
แบน เป็ นสีขาวหรือน้ำตาลอมเหลืองเข้ม ผ่านทางกล้องจุลทรรศน์ จะมี
ลักษณะเป็ นเส้นใย ผนังบาง รูปร่างคล้ายทรงกระบอก ไม่พบไมโทคอนเด
[3][4]
รีย

ภาพที่ 6 โคโลนีของเชื้อ E. floccosum


ที่มา : Creative-biolabs, 2566
3. สมุนไพรข่า

ภาพที่ 7 สมุนไพรข่า
ที่มา : พรรณไม้ไทย, 2566
ชื่อสมุนไพร ข่า
ชื่ออื่น กฎกกโรหิ
ุ นี (กลาง); ข่าตาแดง ข่าหยวก ข่าหลวง (เหนือ)
ข่าใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alpinia galanga (L.) Willd.
ชื่อพ้อง Alpinia alba (Retz.) Roscoe, Alpinia bifida Warb,
Alpinia carnea Griff, Alpinia
pyramidata Blume, Alpinia rheedei Wight, Alpinia viridiflora
Griff, Amomum galanga (L.) Lour ,
Amomum medium Lour, Galanga officinalis
Salisb, Hellenia alba (Retz.) Willd, Heritiera alba Retz, Languas
galanga (L.) Stuntz, Languas pyramidata
(Blume) Merr, Languas vulgare J.Koenig,
Maranta galanga L., Zingiber galanga (L.) Stokes, Zingiber
medium Stokes, Zingiber sylvestre
ชื่อวงศ์ Zingeberaceae
3.1 ถิ่นกำเนิด
สำหรับข่า เป็ นพืชพื้นเมืองของไทยอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ทุกภาคของ
ประเทศโดยมีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเขตร้อนในเอเชีย สามารถพบได้ตาม
ประเทศ ศรีลงั กา อินโดนีเซีย ฟิ ลิปปิ นส์ อินเดีย และไทย ซึง่ คนไทยนิยมใช้
ข่ามาตัง้ แต่อดีตแล้ว โดยการนำมาประกอบอาหารและยังใช้เป็ นสมุนไพรอีก
ด้วย
3.2 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน สีน้ำตาลอมแสด เลื้อยขนานกับผิวดิน มีอายุหลาย
ปี มีข้อปล้องสัน
้ ก้านใบแผ่เป็ นกาบหุ้มซ้อนกัน ดูคล้ายลำต้น แตกกอ สูง
1.5-2.5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รอบลำต้น เหนือดิน ใบรูปใบหอก หรือรูป
ขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 4-11 เซนติเมตร ยาว 25-45 เซนติเมตร กาบ
ใบมีขน ปลายใบแหลม ฐานใบสอบแหลม ขอบใบเรียบเป็ นคลื่น เส้นกลาง
ใบใหญ่ทางด้านท้องใบเป็ นเส้นนูนชัด เส้นใบขนานกัน ก้านใบเป็ นกาบหุ้ม
ดอกช่อแยกแขนง ตัง้ ขึน
้ ขนาดใหญ่ ออกที่ปลายยอด ก้านดอกยาว 15-20
เซนติเมตร เมื่อยังอ่อนมีสีเขียวปนเหลือง ดอกแก่สีขาวปนม่วงแดง ดอกย่อย
จำนวนมากเรียงกันแน่น อยู่บนก้านช่อเดียวกัน ดอกย่อยคล้ายดอกกล้วยไม้
มีขนาดเล็ก มีใบประดับย่อยเป็ นแผ่นรูปไข่ กลีบดอกสีขาวแกมเขียว 3
กลีบ โคนเชื่อมติดกันตลอด ปลายแยกจากกันเป็ นปาก แต่ละกลีบเป็ นรูปไข่
กลับ ที่ปากท่อดอกจะมีอวัยวะยาวเรียวจากโคนถึงยอด สีม่วงคล้ายตะขอ 1
คู่ ใต้อวัยวะมีต่อมให้กลิ่นหอม เกสรเพศเมียมี 1 อัน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ เกสร
เพศผู้มี 3 อัน มี 2 อัน คล้ายกลีบดอก มีเรณู 1 อัน เกสรตัวผู้ที่เป็ นหมันแผ่
เป็ นแผ่นคล้ายกลีบดอกสีขาว มีลายเส้นสีม่วงแดง ผลแห้งแตก รูปกระสวย
หรือทรงกลม ขนาด 0.5-1 เซนติเมตร มีกลีบเลีย
้ งติดอยู่ เมื่อแก่มีสส
ี ้มแดง
มี 1-2 เมล็ด เมล็ดใช้เป็ นเครื่องเทศ ดอกใช้เป็ นผักจิม
้ ได้ ออกดอกช่วงเดือน
พฤษภาคมถึงมิถุนายน
3.3 ประโยชน์ทางยา
 ทางบัญชียาหลักแห่งชาติ
การใช้ข่าในตำรับ “ยาแก้ลมอัมพฤกษ์” มีส่วนประกอบของเหง้าข่า
ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดตามเส้น
[5]
เอ็น กล้ามเนื้อ มือ เท้า ตึงหรือชา
 ทางตำรับยาไทย
เหง้าหรือลำต้นใต้ดิน รสเผ็ดร้อนขม แก้ฟกช้ำ แก้บวม แก้อาการท้อง
อืด ท้องเฟ้ อ จุกเสียด แน่น แก้กลาก เกลื้อน ขับลมในลำไส้ แก้ปวดมวนใน
ท้อง ขับลมในสตรีหลังคลอดบุตร ใช้ภายนอกรักษาอาการคันในโรคลมพิษ
ช่วยย่อยอาหาร แก้บิด แก้ลมพิษ แก้โรคปวดบวมตามข้อ หลอดลมอักเสบ
มีฤทธิก์ ดหัวใจ กระตุ้นการหายใจ กดการหายใจ กระตุ้นการหายใจในเด็ก
เป็ นยาธาตุ
ผล รสเผ็ดร้อนฉุน ช่วยย่อยอาหาร แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้ อ
แก้คลื่นไส้ อาเจียน แก้บิด แก้แน่นหน้าอก
ต้นแก่ นำไปเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว ทาแก้ปวดเมื่อย เป็ นตะคริว
ใบมีรสเผ็ดร้อน แก้พยาธิ
์ ่าเชื้อแบคทีเรีย
สารสกัดจากข่า มีฤทธิฆ
น้ำมันหอมระเหย ์ ำให้ไข่แมลงฝ่ อ
น้ำมันหอมระเหยจากข่ามีฤทธิท
กำจัดเชื้อราบางชนิดได้ ใช้ผสมกับสะเดาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัด
แมลงข่า ลดการบีบตัวของลำไส้ ขับน้ำดี ขับลม ลดการอักเสบ ยับยัง้ แผลใน
กระเพาะอาหาร ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อราใช้รักษากลากเกลื้อน
ใบ รสเผ็ดร้อน แก้กลากเกลื้อน ฆ่าพยาธิ ต้มอาบแก้ปวดเมื่อยตาม
ข้อ
ต้น รสเผ็ดร้อนซ่า ต้นแก่โขลกผสมน้ำมันมะพร้าวทาแก้ตะคริว แก้
ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ตามข้อ
ดอก รสเผ็ดร้อน เป็ นยาแก้กลากเกลื้อน
หน่อ รสเผ็ดร้อนหวาน บำรุงไฟธาตุ แก้ลมแน่นหน้าอก
เหง้าและราก รสร้อนปร่า ขับลม แก้ปวดท้อง ท้องเสีย จุกเสียด
แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย
[6]
ราก รสร้อนปร่า ขับเสมหะ ขับโลหิต แก้เหน็บชา ขับหลอดลม
3.3 รูปแบบและขนาดวิธีใช้
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
 ทางคลินิก
ยาแก้ลมอัมพฤกษ์ : รับประทานครัง้ ละ 1 กรัม ชงน้ำร้อนดื่มประมาณ
120-200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครัง้ ก่อนอาหาร
 ทางตำรับยาไทย
- รักษาท้องขึน
้ ท้องอืด ท้องเฟ้ อ ขับลม แก้ท้องเดิน (ที่เรียกโรคป่ วง)
แก้บิด อาเจียน ปวดท้อง
ใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1-1 ½ นิว้ ฟุต (หรือประมาณ 2 องคุลี) ตำให้
ละเอียด เติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่ม ครัง้ ละ ½ ถ้วยแก้ว วันละ 3 เวลา หลัง
อาหาร
- เหง้าแก่สดหรือแห้ง ใช้รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้ อ แน่นจุกเสียด ให้
ใช้ประมาณเท่าหัวแม่มือ ใช้สดประมาณ 5 กรัม และแห้งประมาณ 2 กรัม
นำมาทุบให้แตกแล้วต้มเอาน้ำดื่ม
- ในการรักษาโรคผิวหนัง
- เหง้าสด ใช้รักษาเกลื้อน นำเหง้าสดมาฝนผสมกับเหล้าโรงหรือน้ำส้ม
สายชู หรือตำแล้วนำมาแช่แอลกอฮอล์ ใช้ทาที่เป็ น
- ใช้เหง้าข่าปอกเปลือก จุม
่ เหล้าแล้วเอามาทาบริเวณทีเ่ ป็ นเกลื้อน ทา
แรงๆ ทำเช่นนี้ 4-5 วัน ก็จะหาย
- ใช้เหง้าข่าแก่ๆ ล้างให้สะอาดฝานเป็ นแว่นบางๆ หรือทุบพอแตก นำ
ไปแช่เหล้าขาวทิง้ ไว้สัก 1 คืน ทำความสะอาดขัดถูบริเวณที่เป็ นเกลื้อนจน
พอแดงและแสบ แล้วเอาข่าที่แช่ไว้มาทาเฉพาะบริเวณที่เป็ นเกลื้อน จะรู้สึก
แสบๆ เย็นๆ ทาเช้าและเย็นหลังอาบน้ำทุกวัน ประมาณ 2 สัปดาห์ เกลื้อน
จะจางลง และหายไปในที่สุด - ใช้เหง้าข่าล้างให้สะอาด ฝานเป็ นแผ่
นบางๆ นำไปแช่เหล้า 35 ดีกรี ประมาณ 5 นาที แล้วทาที่มีผ่ น
ื คัน อาการ
จะหายไป และถ้าแช่ค้างคืนจะใช้รักษาเกลื้อนได้ดี
- ใช้เหง้าข่าสดตัดท่อนละ 1 นิว้ ทุบให้แตกพอช้ำอย่าถึงกับละเอียด ใส่
ถ้วยแช่เหล้าโรงประมาณ 1/4 ถ้วยชา ใช้สำลีชุบทาวันละครัง้
- ใช้เหง้าข่าแก่ๆ นำมาตำพอแหลก แล้วผสมเหล้าหรือแอลกอฮอล์ แช่ไว้ 1
คืน ใช้ทาแก้เกลือ
้ น หรือกลาก
- รักษาลมพิษ ใช้เหง้าข่าแก่ๆ ที่สด 1 แง่ง ตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรง
[5]
พอให้แฉะๆ ใช้ทงั ้ เนื้อและน้ำ ทาบริเวณที่เป็ นลมพิษบ่อยๆ จนกว่าจะดีขน
ึ้
[7]

3.4 องค์ประกอบทางเคมี
สารประกอบทางเคมีที่พบในข่าได้มากที่สุด คือ 1,8-cineol, -
fenchyl acetate, ß-farnesene, ß-∝
bisabolene, ∝-bergamotene, ß-pinene, and 1'-acetoxychavicol
acetate. 1, 8-cineole และพบสารประกอบทางเคมีอ่ น
ื ๆ คือ galango
flavonoid, 1'S-1'-acetoxychavicol acetate ( ACE ) ,
phenylpropanoidsand phydroxybenzaldehyde (1'S-1'-
acetoxychavicol acetate และ 1'S-1'-acetoxyeuginol acetate),
acetoxycineoles (trans และ cis)-2-และ 3-acetoxy- 1, 1, 8 - cineoles,
1'-acetoxychavicol acetate (galangal acetate), ß -Sitosterol
diglucoside (AG-7) และ ß -sitsteryl Arabinoside (AG-8), hydroxy-1,8-
cineole
glucopyranosides, (1R, 2R, 4S)-และ (1S, 2S, 4R)-trans-2- hydroxy-1,8-
cineole ß -D-glucopyranoside, และ (1R, 3S, 4S)-trans-3-hydroxy-1, 8-
[8]
cineole ß-D-glucopyranoside
ภาพที่ 8 รูปแบบโครงสร้างองค์ประกอบทางเคมีของเหง้าข่า
ที่มา : Ramesh Kumar Verma, Neeraj Sharma, 2562
4. การสกัดสารด้วยตัวทำละลาย
์ ้านเชื้อของวงศ์ Zingiberaceae ในเชื้อ
จากการศึกษาฤทธิต
Staphylococcus aureus โดยใช้สารสกัดเอทานอล 100 เป็ นตัวทำละลาย
ในสมุนไพรข่า ขิง ขมิน
้ และกระชัย โดยสมุนไพรในแต่ละตัวต้องเข้าอบ
อุณหภูมิที่ 50 º C ใน 24 hr. และบดเป็ นผงปริมาณ 10 g ผสมกับเอทา
นอล 100% : 100 มล. ทิง้ ไว้ในอุณภูมิห้อง 1 คืน และสกัดแห้งด้วยเครื่อง
rotary evaporator เก็บไว้อุณหภูมิที่ 4 º C ทดสอบกับเชื้อ
Staphylococcus aureus เพาะเชื้อโดย agar disc diffusion พบว่า สาร
สกัดข่ามีฤทธิย์ ับยัง้ เชื้อ S .aureus ได้ดีที่สุด โดยค่า MIC คือ 0.325
mg/ml และค่า MBC คือ 1.3 mg/ml โดยใช้วิธี broth dilution
[9]
method
การศึกษาสารประกอบทางเคมีของ 1’-acetoxychavicol acetate จาก
สารสกัดข่าที่มีสารต้านแบคทีเรีย โดยใช้ตัวทำละลาย 6 ชนิด คือ n-
hexane, chloroform, ethyl acetate, n-butayl alcohol, ethanol
และ น้ำ เมื่อทดสอบกับเชื้อ Staphylococcus aureus พบว่า ตัวทำละลาย
์ ้านเชื้อแบคทีเรียได้ดีที่สุด คือ ethanol โดยมีค่าความเข้มข้นใน
ที่มีฤทธิต
การยับยัง้ ขัน
้ ต่ำ (MIC) และค่าความเข้มข้นขัน
้ ต่ำในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
(MBC) 0.313 และ 0.625 mg/ml. ตามลำดับ การศึกษานีพ
้ บว่า
สารประกอบทางเคมีของ 1’-acetoxychavicol acetate มีอิทธิพลอย่าง
นัยสำคัญต่อสัณฐานวิทยาของแบคทีเรีย ทำให้ความสมบูรณ์ของเยื่อหุ้ม
เซลล์ของแบคทีเรียของแบคทีเรียเสียหาย กลไกการเชื้อแบคทีเรียของ 1’-
acetoxychavicol acetate อาจจะใช้ประโยชน์เป็ นสารกันเสียตาม
[10]
ธรรมชาติในอุตสาหกรรมได้

์ ้านเชื้อ
5. การทดสอบฤทธิต
์ ้านเชื้อราของสารสกัด ข่า
จากการศึกษาของวิจัย การทำงานของฤทธิต
และ หอมแดง โดยใช้เชื้อรา คือ M. canis, M. gypseum และ T.
mentagophyte และยีสต์ฉวยโอกาส คือ Candida albicans โดยใช้
เทคนิค broth dilution. แสดงค่า IC50SEM และ EmaxSEM ของสารสกัด
เมื่อเปรียบเทียบกับ Ketoconazole เเละ griseofulvin พบว่า ค่า IC50
ของสารสกัดข่า มีการยับยัง้ เชื้อ M. canis ได้ใน 26.05 ± 7.42 mg/ml
มากกว่าเชื้อราชนิดอื่น ในขณะที่สารสกัดหอมแดงสามารถยับยัง้ เชื้อที่
ทดสอบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ จึงสรุปได้ว่า สารสกัดข่าและ
หอมแดง ยังเป็ นทางเลือกที่สามารถนำมายับยัง้ เชื้อราได้ อย่างไรก็ตาม ผล
[11]
ข้างเคียงของสารสกัดยังคงต้องมีการพิจารณาต่อไป

สารสกัดข่าได้แสดงถึงฤทธิก์ ารยับยัง้ ของเชื้อราที่ก่อเกิดโรคในมนุษย์ รวม


ถึงเชื้อราสายพันธุ์ที่ด้อ
ื ต่อยา Amphotericin และ Ketoconazole และ
ฤทธิข์ องสาร 1'-Acetoxychavicol ของสารสกัดข่าสามารถยับยัง้ การเจริญ
เติบโตของเชื้อ Candida albicans และ phytopathogenic fungi
Colletotrichum musae และ Fusarium oxysporum ในความเข้มข้น
10 mg/ml และฤทธิข์ องสาร 1'-Acetoxychavicol ของสารสกัดข่า ใน
ความเข้มข้นที่ 14 mg/ml สามารถยับยัง้ Trichophyton
mentagrophytes, Trichophyton rubrum, Trichophyton
[12]
concentricum, Rhizopus stolonifer และ Aspergillus niger
จากวารสารศูนย์การศึกษาแพททย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาพระปกเกล้า
์ ้านเชื้อของสารสกัดข่าสามารถฆ่าเชื้อรา Microsporum
พบว่า ฤทธิต
gypseum, Trichophyton rubrum และ Trichophyton
mentagrophyte ที่เป็ นสาเหตุของการเกิดโรคกลาเกลื้อนได้ โดยพบว่า 1'-
acetoxychavicol acetate และ 1'-acetoxyeugenol acetate เป็ นสา
[13]
์ ่าเชื้อราดังกล่าว
รสําคัญในการออกฤทธิฆ
์ ้านเชื้อราของสารสกัดเหง้าวงศ์ Zingiberaceae 5 ชนิด
การศึกษาฤทธิต
คือ Curcuma longa, Alpinia galanga, Zingiber officinale. var.
rubrum, Zingiber officinale var. officinarum และ Zingiber
officinale var. amarum กับเชื้อรา Candida albicans และ
Trichophyton rubrum โดย Zingiberaceae 5 ชนิดนี ้ ได้มาจากเมือง
Semarang ประเทศอินโดนีเซีย เตรียมสารสกัดในแต่ละชนิดจากเหง้าผง 5
ชนิด 100 g แช่ในเอทานอล 300 ml. เป็ นเวลา 24 hr. ภายในห้อง
อุณหภูมิปกติและในที่ปลอดแสง กรองด้วยกระดาษกรอง และสกัดแห้งโดย
วิธี rotary evaporator ที่อุณภูมิ 500 º C และปล่อยให้แห้งที่อุณหภูมิห้อง

พืช ชนิด ตัวทำละลาย %Yield


Curcuma longa เหง้า Ethanol 19.7
Alpinia galanga เหง้า Ethanol 13.3
Zingiber officinale. var. เหง้า Ethanol 15.1
rubrum
Zingiber officinale var. เหง้า Ethanol 14.1
officinarum
Zingiber officinale var. เหง้า Ethanol 11.7
amarum
ตารางที่ 1 %Yield ของสารสกัดใน 5 ชนิด

การเพาะเชื้อรา Candida albicans และ Trichophyton rubrum ใช้


อาหารเลีย
้ งเชื้อ SDA โดยนำเชื้อ 100 µl. เทียบเท่า 1 McFarland ทาบน
พื้นผิวอาหารเลีย
้ งเชื้อ SDA และวางแผ่นดิสที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 cm. 5
หลุม โดยแต่ละหลุมถูกบรรจุในความเข้มข้นที่แต่ต่างกันของพืช 5 ชนิด
ได้แก่ Curcuma longa, Alpinia galangal (0.25-1.00 mg/ml.) และ
Zingiber officinale. var. rubrum, Zingiber officinale var.
officinarum และ Zingiber officinale var. amarum (0.05-0.2
้ บ่มเชื้อ C.albicans และ T.rubrum ที่อุณหภูมิ 35 ± 2
mg/ml.) จากนัน
°C เป็ นเวลา 24 hr. ได้ผลดังนี ้

พืช Zone of inhibition (mm)


เชื้อรา Ca. Tr. Ca. Tr. Ca. Tr. Ca. Tr.
ความเข้มข้นของ 0.25 0.5 mg/ml. 0.75 1 mg/ml.
สารสกัด mg/ml. mg/ml.
Curcuma 16 35 18 39 20 41 23 44
longa
Alpinia 17 38 19 39 25 42 27 44
galanga

พืช Zone of inhibition (mm)


เชื้อรา Ca. Tr. Ca. Tr. Ca. Tr. Ca. Tr.
ความเข้มข้นของ 0.05 0.1 mg/ml. 0.15 0.2 mg/ml.
สารสกัด mg/ml. mg/ml.
Zingiber 12 29 14 30 15 31 16 33
officinale. var.
rubrum
Zingiber 12 28 13 29 13 31 14 32
officinale var.
officinarum
Zingiber 10 27 11 28 12 29 13 30
officinale var.
amarum
หมายเหตุ : Ca. คือ Candida albicans
Tr. คือ Trichophyton rubrum
์ ้านเชื้อรา
จากตาราง สารสกัดเหง้าวงศ์ Zingiberaceae 5 ชนิด มีฤทธิต
ต่อเชื้อ Candida albicans ทดสอบโดย agar well diffusion เส้นผ่าน
์ ้านเชื้อราต่อเชื้อ Trichophyton
ศูนย์กลาง 10-27 mm. และมีฤทธิต
rubrum เส้นผ่านศูนย์กลาง 27-44 mm. จึงสรุปได้ว่าสารสกัดทัง้ 5 ชนิดมี
ศักยภาพในการพัฒนาเป็ นสารต้านเชื้อรา โดยเฉพาะเชื้อ Candida
[14]
albicans และ Trichophyton rubrum
์ ้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราจากสารสกัดใบฟั กข้าวโดย
การศึกษาฤทธิต
สกัดสารดวยเฮกเซน เอทิลอะซิเตท เอทานอล และเมทานอล และทดสอบ
์ ้านจุลชีพของสารสกัดด้วยวิธี Agar well diffusion method และ
ฤทธิต
Agar dilution method ผลการศึกษาผลการศึกษาพบวาสารสกัดใบ
ฟั กข้าวที่สกัดดวยเฮกเซนไมสามารถยับยัง้ การเจริญของแบคทีเรีย
(Staphylococcus aureus, Streptococcus pyogenes และ
Escherichia coli) และเชื้อรา (Candida albicans, Aspergillus fl avus,
Trichophyton rubrum, Trichophyton mentagrophytes,
Microsporum gypseum, Epidermophyton fl occosum) ที่ใช้ในการ
ทดสอบไดสวนสารสกัดจากเมทานอลแมไมสามารถยับยัง้ การเจริญของ
แบคทีเรียทัง้ 3 ชนิด และเชื้อรา C. albicans และ A. fl avus แตสามารถ
ยับยัง้ การเจริญของเชื้อรากอโรคกลากทัง้ 4 ชนิดได้ (T. rubrum,
T.mentagrophytes, M. gypseum, E. fl occosum) โดยมีค่า MIC =
78.125–312.5 mg/mL : zone size 12.2 ± 2.1 mm -15.0 ± 0.5 mm)
ขณะที่สารสกัดดวยเอทานอล และเอทิลอะซิเตทสามารถยับยัง้ การเจริญ
ของแบคทีเรียชนิดแกรมบวก (S. aureus, S. pyogenes) และเชื้อรากอโรค
กลากทัง้ 4 ชนิด (T. rubrum, T.mentagrophytes, M. gypseum, E. fl
occosum) โดยมีฤทธิต์ านเชื้อรา (MIC= 156.250 – 312.5 mg/mL :
์ านแบคทีเรีย (MIC
zone size 12.0 ± 0.5- 24.0 ± 1.5 mm) ดีกวาฤทธิต
= 625.0 mg/mL : zone size 12.0 ± 0.5 - 14.0 ± 0.5 mm) ดังตาราง
์ ้านเชื้อ Staphylococcus aureus ของสารสกัดใบฟกขาว
ตารางที่ 1 ฤทธิต
จากสารที่ใชสกัด

สารสกัด MIC (mg/mL) / Zone size


(mm)
Hexane fraction 625.0 / 12.0 ± 0.5
Ethyl acetate fraction No zone
Ethanol fraction No zone
Methanol fraction No zone

์ ้านเชื้อ Streptococcus pyogenes ของสารสกัด


ตารางที่ 2 ฤทธิต
ใบฟกขาวจากสารที่ใชสกัด

สารสกัด MIC (mg/mL) / Zone size


(mm)
Hexane fraction No zone
Ethyl acetate fraction No zone
Ethanol fraction 625.0 / 14.0±0.5
Methanol fraction No zone

์ ้านเชื้อ Trichophyton rubrum ของสารสกัดใบฟกขาว


ตารางที่ 3 ฤทธิต
จากสารที่ใชสกัด
สารสกัด MIC (mg/mL) / Zone size
(mm)
Hexane fraction No zone
Ethyl acetate fraction 312.5 / 20.0±0.6
Ethanol fraction 312.5 / 23.0±0.5
Methanol fraction 156.25 / 15.0±0.5

์ ้านเชื้อ Trichophyton mentagrophytes ของสารสกัด


ตารางที่ 4 ฤทธิต
ใบฟกขาวจากสารที่ใชสกัด

สารสกัด MIC (mg/mL) / Zone size


(mm)
Hexane fraction No zone
Ethyl acetate fraction 312.5 / 23.2±0.6
Ethanol fraction 312.5 / 23.0±0.5
Methanol fraction 156.25 / 15.0±0.5

์ ้านเชื้อ Microsporum gypseum ของสารสกัดใบฟกขาว


ตารางที่ 5 ฤทธิต
จากสารที่ใชสกัด

สารสกัด MIC (mg/mL) / Zone size


(mm)
Hexane fraction No zone
Ethyl acetate fraction 156.25 / 22.7±1.2
Ethanol fraction 156.25 / 22.0±2.0
Methanol fraction 78.125 / 12.2±2.1

์ ้านเชื้อ Epidermophyton floccosum ของสารสกัด


ตารางที่ 6 ฤทธิต
[15]
ใบฟกขาวจากสารที่ใชสกัด

สารสกัด MIC (mg/mL) / Zone size


(mm)
Hexane fraction No zone
Ethyl acetate fraction 312.5 / 22.2±0.5
Ethanol fraction 312.5 / 12.0±0.5
Methanol fraction 156.25 / 13.0±0.5

การศึกษาความคงตัวและฤทธิเ์ บื้องต้นของสารสกัดจากตำรับสมุนไพรไทย
ในการต้านเชื้อจุลชีพที่ก่อโรคผิวหนัง โดยการเตรียมตำรับยาสมุนไพรจะใช้
วิธีการเตรียมโดยการตัง้ ตำรับยาตามศาสตร์แพทย์แผนไทย ซึง่ ประกอบด้วย
ตัวยาตรง ตัวยาช่วย ตัวยาประกอบ ตัวยาชูกลิ่น ชูรส และแต่งสี ประกอบ
ด้วย สมุนไพร 9 ชนิด คือ เหงือกปลาหมอ พญายอ เปลือกมังคุด น้ำมันขันธ์
พลู เบญกานี บัวบก สาบเสือ และกำมะถัน สกัดสารโดยใช้เครื่องไมโคเวฟ
(Microwave-assisted extraction; MAE) และใช้ตัวทำละลาย ได้แก่
์ ำรุงผิวรวมถึงรักษาโรคผิวหนังอีกด้วย จากนัน
น้ำมันมะพร้าว มีฤทธิบ ้ นำสาร
สกัดจากตำรับสมุนไพรที่ได้ไปศึกษาความคงตัวในสภาวะต่างๆ และศึกษา
ฤทธิก์ ารต้านเชื้อจุลชีพที่ก่อโรคบนผิวหนังด้วยวิธี Agar dilution ที่ระดับ
ความเข้มข้น 0.0025-5 mg/ml. ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดจากตำรับ
สมุนไพรมีความคงตัวดีเมื่อเก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิด ป้ องกันแสงที่อุณหภูมิ
ห้อง และสารสกัดนีม ์ ้านเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus
้ ีฤทธิต
ATCC 6538 และ Propionibacterium acnes DMST 14916 รวมถึงเชื้อ
รา Trichophyton mentagrophytes DMST 19735, Candida albicans
ATCC 10231 มีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ต้านเชื้อ ( Minimal Inhibitory
[16]
Concentration; MIC) เท่ากับ 5, 0.5, 0.5 และ 5 mg/ml. ตามลำดับ
ดังตาราง

ตัวอย่างที่ใช้ ช่วง ความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยังเชื้อ (MIC)


ทดสอบ ความ (mg/ml.) (Mean±SD)
เข้มข้น S. P. acnes T. C.
(mg/ aureus mentagroph albicans
ml.) yte
สารสกัดตำรับ 0.002 5±0.00 0.5±0.0 5±0.00 0.5±0.00
สมุนไพร 5-5 0
Gentamicin 0.002 0.013±0 NT NT NT
5-5 .00
Clindamycin 0.002 NT 0.006±0 NT NT
5-5 .00
Terbinafine 0.002 NT NT 0.003±0.00 NT
5-5
Fluconazole 0.002 NT NT NT 0.003±0.0
5-5 0
กลุ่มควบคุม - G G G G
หมายเหตุ NT = Not test หมายถึง ไม่ได้ทดสอบ
G = Growth หมายถึง พบการเจริญของเชื้อทดสอบใน
อาหารทดสอบ
กลุ่มควบคุม หมายถึง Positive control: อาหารทดสอบตาม
ชนิดของจุลินทรีย์ผสมกับ
เชื้อจุลินทรีย์ทดสอบ

สรุปเนื้อหา
โรคกลากที่เท้าเป็ นโรคที่พบได้บ่อยสุดในผู้ชายที่ต้องใส่รองเท้าอับชื้นหรือ
ทำงานที่เท้าโดนน้ำบ่อยๆ โดยเชื้อราเหล่านีจ
้ ะพบในที่ต่างๆ เช่น พื้นห้องน้ำ
สระว่ายน้ำ พื้นที่ห้องพักนักศึกษา ที่วางรองเท้าและพื้นบ้าน รองเท้า และ
ถุงเท้า เป็ นแหล่งสะสมของเชื้อ Dermatophyte (เจนจิรา ชัชโลทรกุล,
2545) จากการศึกษาพบว่า ปั จจัยจัยการเติบโตของเชื้อจะแตกต่างกันไปใน
แต่ละภูมิภาคสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น ลักษณะพฤติกรรม เช่น ประเทศที่
อยู่แถบยุโรปมักพบเปอร์เซ็นของเชื้อบริเวณที่เท้าจากมากไปน้อย คือ เชื้อ
T.rubrum T.interdigitalae และ E.floccosum ตามลำดับ และประเทศที่
อยู่แถบเอเชียพบเปอร์เซ็นของเชื้อบริเวณที่เท้าจากมากไปน้อย คือ เชื้อ
T.rubrum T.mentagrophytes และ E.floccosum (Danuta Nowicka
และ Urszula Nawrot, 2564) โดยวิธีการทดสอบเชื้อ คือ เพาะเลีย
้ งเชื้อรา
ด้วยอาหาร SDA บ่มที่อุณหภูมิ 35 ± 2 º C 24 hr. (บงกชวรรณ สุตพฟา
หะ และบรรยง คันธวะ, 2554) โดยในทางการแพทย์แผนไทยมีการใช้
สมุนไพรในการรักษาโรคเกี่ยวกับผิวหนังมายาวนาน โดยเฉพาะเชื้อรา เช่น
สมุนไพรในวงศ์ Zingiberaceae ประกอบไปด้วย ข่า ขมิน
้ ไพล และขิง
เป็ นต้น โดยเฉพาะข่า สามารถหาได้ง่ายตามครัวเรือนในประเทศไทย มี
ประโยชน์และสรรพคุณมากมาย เช่น เหง้า สามารถแก้อาการท้องอืดท้อง
เฟ้ อ แก้กลากเกลื้อนได้ดี (อ.โชติอนันต์ และคณะ, 2551). อีกทัง้ มีการศึกษา
ด้านการวิจัย พบว่า ข่ามีองค์ประกอบทางเคมีที่สามารถฆ่าเชื้อรา
Microsporum gypseum, Trichophyton rubrum และ Trichophyton
mentagrophyte คือสารประกอบ 1'-acetoxychavicol acetate และ 1'-
acetoxyeugenol acetate (ประเสริฐ สุขเจริญ และวรินทร ร่มโพธิช์ ี,
2563) และการสกัดสารข่าที่สามารถได้สารประกอบทางเคมีได้มากที่สุด
คือตัวทำละลาย ได้แก่ คือ เอทานอล และเมทานอล (บงกชวรรณ สุตพฟา
หะ และบรรยง คันธวะ, 2554) ทัง้ นีส
้ มุนไพรข่าอาจจะต่อยอดเป็ น
ผลิตภัณฑ์สมุนไพรในการรักษาของผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคผิวหนังที่เกิด
จากเชื้อราและแบคทีเรียต่อไปในอนาคต
เอกสารอ้างอิง

1 เจนจิรา ชัชโลทรกุล. (2545). การศึกษาถึงความชุกและการกระจายของ


ชื้อราที่เป็ นสาเหตุของโรคกลากที่ เท้าในคลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาล
จุฬาลงกรณ์. อายุรศาสตร์ คณะเพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2545(1), 3.
2 Danuta Nowicka และ Urszula Nawrot. (2564). Tinea pedis-An
embarrassing problem for health and beauty-A narrative
review. Mycoses, 2564(64), 4.
3 Creative-biolabs. (2566). Trichophyton Rubrum. สืบค้นเมือวันที่
2 สิงหาคม 2566, สืบค้นจาก https://www.creative-biolabs.com
4 de Hoog et. (2561). Trichophyton mentagrophytes. สืบค้นเมือ
วันที่ 2 สิงหาคม 2566, สืบค้น จาก https://www.creative-
biolabs.com
5 สุดารัตน์ หอมหวล . (2556). ข่า. สืบค้นเมือวันที่ 23 เมษายน 2566,
สืบค้นจาก https://apps.phar.ubu.ac.th/
6 อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุข
มูลฐาน. (ครัง้ ทีพ
่ ิมพ์ 1). กรุงเทพฯ: ดี.เค.บุค
๊ ดิสทริบิว.
7 สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ. (2566). ข่า (กลุ่มยารักษาโรคผิวหนังผื่น
คันกลากเกลื้อน). สืบค้นเมือวันที่ 23 เมษายน 2566, สืบค้นจาก
http://www.rspg.or.th/
8 Ramesh Kumar Verma และ Neeraj Sharma. (2565).
Phytochemical and Pharmacological activities of Alpinia
galangal. สืบค้นเมือวันที่ 2 สิงหาคม 2566, สืบค้นจาก
https://www.researchgate.net/
9 Jirawan Oonmetta-areea, Tomoko Suzukib, Piyawan Gasalucka
และ Griangsak Eumkebc. (2549). Antimicrobial properties and
action of galangal (Alpinia galanga Linn.) on
Staphylococcus aureus. สืบค้นเมือวันที่ 2 สิงหาคม 2566, สืบค้นจาก
http://sutir.sut.ac.th/
10 Dan Zhang a b, Liang Zou c, และคณะ. (2564). Discovery of
1’-acetoxychavicol acetate (ACA) as a promising
antibacterial compound from galangal (Alpinia galanga
(Linn.) Willd). สืบค้นเมือวันที่ 20 สิงหาคม 2566, สืบค้นจาก
https://www.sciencedirect.com
11 Arinee Chatchawanchonteera, Wittaya Suriyasathaporn และ
Nopamart Trakrannmgsie. (2546). ANTIFUNGAL ACTIVITY
OF ALPINIA GALANGA AND ALLIUM ASCALONICUM
EXTRACTS. สืบค้นเมือวันที่ 23 เมษายน 2566, , สืบค้นจาก
https://li01.tci-thaijo.org/
12 Chudiwal, Jain และ Somani. (2553). Alpinia galanga Willd.–
An overview on phyto- pharmacological propertie. สืบค้นเมือวันที่
23 เมษายน 2566, สืบค้นจาก https://nopr.niscpr.res.in
13 ประเสริฐ สุขเจริญ และวรินทร ร่มโพธิช์ ี. (2563). ข่า. วารสารศูนย์การ
ศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, ปี ที่ 38(ฉบับที่ 1),
84.)
14 Muhammad evy prastiyanto, Nimatur rohmah และ คณะ.
(2564). Antifungal activities of the rhizome extract of five
member Zingiberaceae against Candida albicans and
Trichophyton rubrum. สืบค้นเมือวันที่ 10 สิงหาคม 2566, สืบค้นจาก
https://smujo.id/biodiv/article/view/7217/4676
15 บงกชวรรณ สุตพฟาหะ และบรรยง คันธวะ. (2554). การศึกษาฤทธิ ์
ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราจากสาร สกัดใบฟั กข้าว. วารสารเทคนิ
กการแพทย์เชียงใหม่, 44(ฉบับที่ 1), 31.
16 ซาฟาวี มะแม, นัสรีย์ แวมะม มูฮำหมัดเปาซี คาเร็งม อนัส เบ็ญจมาตร,
ศิริรัตน์ ศรีรักษา และพิรุณรัตน์ แซ่ลม
ิ ้ . (2565). การศึกษาความคงตัว
และฤทธิเ์ บื้องต้นของสารสกัดจากตำรับสมุนไพรไทยในการต้าน เชื้อจุลชีพที่
ก่อโรคบนผิวหนัง. วารสารหมอยาไทยวิจัย, 8(ฉบับที่ 1), 115.

You might also like