You are on page 1of 109

คำนำ

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์และซัพพลายเชน เพื่อเป็นแนวทาง
การศึกษาของนักศึกษา ได้เข้ามามีส่วนร่วมค้นคว้าข้อมูลลายละเอียดต่างๆให้มีความพัฒนาศักยภาพความเป็น
ผู้นารู้จริงปรับใช้ในการทางานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์และซัพพลายเชนเป็นเนื้อหาที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้
เข้าใจในเรื่องการผลิตสินค้าที่ออกมาเป็นรูปแบบของผลิตภัณฑ์การจัดเก็บให้มีความปลอดภัยและมาตรฐาน
ระดับสากล และการแข่งขันที่สูงขึ้น
สำรบัญ

หน้าที่
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นของการบรรจุภัณฑ์ 2
บทที่ 2 บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง 22
บทที่ 3 การออกแบบบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์ 27
บทที่ 4 กฎระเบียบข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ 37
บทที่ 5 กรณีศึกษา 43
บทที่ 6 บรรจุภัณฑ์เพื่อการนาเข้าและส่งออก 50
บทที่ 7 บรรจุภัณฑ์วัตถุอันตราย 57
บทที่ 8 การวางแผนและวิเคราะห์บรรจุภัณฑ์ในงานโลจิสติกส์ 69
บทที่ 9 กลยุทธ์การออกแบบบรรจุภัณฑ์ 75
บทที่ 10 ความรู้เบื้องต้นการขนถ่ายวัสดุ 83
บทที่ 11 อุปกรณ์ในการรวมหน่วยวัสดุ 93
บทที่ 12 อุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายสินค้า 106
บทที่ 13 อุปกรณ์ในการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า 126
บทที่ 14 Automated Storage/Retrieval (AS/RS) 145
บทที่ 15 การปฏิบัติงานความปลอดภัยในคลังสินค้า 156
บรรณานุกรม 161
รหัสวิชา BL 308
การจัดการบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์และซัพพลายเชน
Packaging Management for Logistics and Supply Chain
หน่วยที่ 1
ความรู้เบื้องต้นของการบรรจุภัณฑ์

ความแตกต่างระหว่าง การบรรจุหีบห่อ (Packing) กับ บรรจุภัณฑ์ (Packaging)


การบรรจุ (Packing) คือ วิธีการในการบรรจุผลิตภัณฑ์หรือสินค้า เช่น การห่อหุ้ม การใส่ลงไปในบรรจุภัณฑ์
ต่างๆ หรือสิ่งอื่นๆ ที่ปลอดภัย รวมทั้งภาชนะที่ใช้เพื่อการขนส่งผลิตภัณฑ์จากแหล่งผลิตไปยังแหล่งผู้บริโภค
หรือแหล่งใช้ประโยชน์

บรรจุภัณฑ์ (Packaging)
หมายถึง การนาเอาวัสดุ เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ ไม้ ประกอบเป็นภาชนะหุ้มห่อสินค้า เพื่อ
ประโยชน์ในการใช้สอยมีความแข็งแรง สวยงาม ได้สัดส่วนที่ถูกต้อง สร้างภาพพจน์ที่ดี มีภาษาในการ
ติดต่อสื่อสาร และทาให้เกิดผลความพึงพอใจจากผู้ซื้อสินค้า
ยกตัวอย่าง ถ้าซื้อซอสพริกหนึ่งขวด เป็นบรรจุภัณฑ์ แต่เมื่อจะบริโภคโดยเทซอสพริกลงในถ้วยเล็ก ถือเป็น
ภาชนะบรรจุ เมื่อใดที่ภาชนะบรรจุมีการผนึกและนาส่ง ภาชนะบรรจุนั้นก็จะเป็นบรรจุภัณฑ์ แม้ว่าจะไม่มี
การพิมพ์ยี่ห้อหรือฉลากก็ตาม
ความหมายของบรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์หรือการบรรจุหีบห่อ หมายถึงศาสตร์และศิลป์ที่ใช้ในการบรรจุสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีที่
ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อการคุ้มครองปกป้องสินค้าจากผู้ผลิตจนถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัยด้วย

~2~
การป้องกัน ลาเลียง จัดส่ง และนาเสนอสินค้า ตั้งแต่วัตถุดิบจนเป็นสินค้า ที่ผ่านการผลิตตั้งแต่ผู้ผลิตถึงผู้ใช้
หรือผู้บริโภคโดยมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม
บรรจุภัณฑ์ (Package) ทางด้านโลจิสติกส์ คือ ภาชนะ กล่อง หีบ ห่อ ลัง พาเลท (pallet) ตู้ หรือ
สิ่งอื่นใดที่ทาหน้าที่เพื่อการบรรจุ วัตถุดิบ สินค้าหรือสิ่งของไว้ภายใน ซึ่งมีส่วนสาคัญที่ทาให้ระบบโลจิสติกส์มี
ประสิทธิภาพและเป็นเครื่องมือในการกระจายสินค้า (Distribution) ไปสู่ผู้ใช้ ผู้ซื้อหรือผู้บริโภค
ความสาคัญของบรรจุภัณฑ์
1. เพื่อการเก็บรักษาสินค้าให้คงสภาพ และสามารถจัดเรียง รวบรวม อยู่ในเนื้อที่ซึ่งจากัด ให้มีปริมาตร
การใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนโลจิสติกส์
2. บรรจุภัณฑ์ที่ดีจะมีการออกแบบเพื่อให้ทาหน้าที่ในการป้องกันสินค้าที่บรรจุ อยู่ภายในไม่ให้ได้รับ
ความเสียหายหรือเสียรูปในขณะเคลื่อนย้ายสินค้า และช่วยให้การจัดวางหรือจัดเรียงสินค้าได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
3. เป็นอุปกรณ์ที่จาเป็นต่อการขนย้ายสินค้าจากแหล่งผลิต และเพื่อให้มีการส่งต่อสินค้าผ่านกิจกรรม
ต่างๆ ทางโลจิสติกส์จนสินค้าไปสู่ที่หมายปลายทาง ในสภาพที่ปลอดภัยมีความสะดวกโดยมีต้นทุนในการส่ง
มอบ (delivery cost) ที่ประหยัด
4. บรรจุภัณฑ์มีส่วนสาคัญที่ก่อให้เกิดการส่งมอบสินค้า ภายใต้ความพึงพอใจของสินค้า ซึ่งจะเกี่ยวข้อง
กับพันธะกิจของโลจิสติกส์โดยตรง
วัตถุประสงค์ของบรรจุภัณฑ์
1. เพื่อเป็นการป้องกันสินค้า
2. เพื่อความสะดวกในการเก็บรักษาหรือเคลื่อนย้ายสินค้า
3. เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรในการยก และขนส่งสินค้า
4. เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ยอดขายเพิ่มขึ้น
5. เพื่อจัดรูปร่างสินค้าให้มีความเหมาะสม
6. เพื่อความสะดวกสบายในการใช้
7. เพื่อให้สามารถใช้สินค้าในคราวต่อไปได้

~3~
คุณลักษณะที่ดีของบรรจุภัณฑ์
ด้านผู้ลิตหรือผู้จาหน่าย
1.สะดวกต่อการจัดเก็บและการรักษา
2.สะดวกต่อการจัดส่งและการเคลื่อนย้าย
3.เป็นสื่อเผยแพร่โฆษณาตัวผลิตภัณฑ์
4.ยกระดับราคา สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์
5.ช่วยดึงดูดความสนใจแก่ลูกค้า
6.ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
ด้านผู้บริโภคหรือลูกค้า
1.พกพาเคลื่อนย้ายสะดวก
2.สามารถรักษาผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานได้มากขึ้น
3.ช่วยให้ทราบรายละเอียดแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์
4.ช่วยสร้างความภูมิใจในการซื้อ
5.สามารถแปรรูปประยุกต์ใช้งานอื่นได้
บรรจุภัณฑ์ในอนาคต
1.มีตรารับรองคุณภาพสินค้า เช่น ตรา Q
2.มีเรื่องราวที่น่าสนใจบนบรรจุภัณฑ์
3.แสดงคุณภาพสินค้าในระบบดิจิตอลหรือ e-packaging
ประโยชน์ของการบรรจุหีบห่อ (Packing)
• การป้องกัน (Protection) เช่น กันน้า กันความชื้น กันแสง กันแก๊ส เมื่ออุณหภูมิสูงหรือต่า ต้านทาน
มิให้ผลิตภัณฑ์แปรสภาพไม่แต่ไม่ฉีกขาดง่าย ปกป้องให้สินค้าอยู่ในสภาพใหม่สดอยู่ในสภาวะแวดล้อมของ
ตลาดได้ในวงจรยาว โดยไม่แปรสภาพขนานแท้และดั้งเดิม
• การจัดจาหน่ายและการกระจาย (Distribution) เหมาะสมต่อพฤติกรรมการซื้อขายเอื้ออานวยการ
แยกขาย ส่งต่อ การตั้งโชว์ การกระจาย การส่งเสริมจูงใจในตัว ทนต่อการขนย้าย ขนส่ง และการคลังสินค้า
ด้วยต้นทุนสมเหตุสมผล ไม่เกิดรอยขูดขีด / ชารุด ตั้งแต่จุดผลิตและบรรจุจนถึงมือผู้ซื้อ / ผู้ใช้ / ผู้บริโภค
ทนทานต่อการเก็บไว้นานได้

~4~
• การส่งเสริมการจาหน่าย (Promotion) เพื่อยึดพื้นที่แสดงจุดเด่น โชว์ตัวเองได้อย่างสะดุดตา
สามารถระบุแจ้งเงื่อนไข แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอผลประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อจูงใจผู้บริโภค เมื่อต้องการจัด
รายการเพื่อเสริมพลังการแข่งขัน ก็สามารถเปลี่ยนแปลงและจัดทาได้สะดวก ควบคุมได้และประหยัด
• การบรรจุภัณฑ์กลมกลืนกับสินค้า และกรรมวิธีการบรรจุ (Packaging) เหมาะสมทั้งในแง่การ
ออกแบบ และเพื่อให้มีโครงสร้างเข้ากับขบวนการบรรจุ และเอื้ออานวยความสะดวกในการหิ้ว – ถือกลับบ้าน
ตลอดจนการใช้ได้กับเครื่องมือการบรรจุที่มีอยู่แล้ว หรือจัดหามาได้ ด้วยอัตราความเร็วในการผลิตที่ต้องการ
ต้นทุนการบรรจุภัณฑ์ต่าหรือสมเหตุสมผล ส่งเสริมจรรยาบรรณและรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ
และอยู่ในทานองคลองธรรมถูกต้องตามกฎหมายและพระราชบัญญัติ ต่าง ๆ
• เพิ่มยอดขาย เนื่องจากในตลาดมีสินค้าและคู่แข่งเพิ่มขึ้นตลอดเวลา หากบรรจุภัณฑ์ของสินค้าใด
ได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี จะสามารถดึงดูดตา ดึงดูดใจผู้บริโภคและก่อให้เกิดการซื้อในที่สุด รวมทั้งการ
ลดต้นทุนการผลิต
ปัจจัยที่ใช้พิจารณาในการเลือกใช้วัสดุ
• ลักษณะและคุณสมบัติของสินค้า รวมทั้งสาเหตุต่าง ๆ ที่จะทาให้สินค้าเสื่อมสภาพ
• ลักษณะของตลาดเป้าหมาย
• ลักษณะของภาชนะบรรจุ
• การออกแบบเพื่อความสวยงาม
• วิธีการบรรจุหีบห่อ
• การขนถ่ายและการขนส่งสินค้า
• ราคาวัสดุและภาชนะที่ใช้บรรจุ
• ข้อบังคับทางกฎหมาย
สรุป เป็นกลไกสาคัญให้มีการส่งมอบสินค้าแก่ผู้ที่ต้องการขายไปสู่ผู้ที่ต้องการซื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง
ได้แก่ การบ่งชี้ ระบุข้อมูลของสินค้าบนกล่อง ลัง หรือบรรจุภัณฑ์ รายละเอียดของสินค้า แหล่งที่ผลิต และ
แหล่งที่สินค้าจะมีการส่งมอบ
หน้าที่รองของบรรจุภัณฑ์
1. ช่วยให้ทนต่อกระบวนการผลิต
– ผลิตภัณฑ์อาหารบางประเภทต้องบรรจุก่อนนาไปผ่านกระบวนการ ซึ่งใช้สภาวะต่างกัน วัสดุ
บรรจุต้องทนต่อสภาวะได้

~5~
– การใช้ไอน้าแรงดันสูงฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
2. ป้องกันการปลอมปนผลิตภัณฑ์
– โดยทั่วไปการป้องกันการปลอมปนเป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ ต่างๆ ที่ใช้ปิดภาชนะบรรจุ
– อุปกรณ์เหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีการเปิดภาชนะ
3. ป้องกันการลักขโมย
– : เช่น การบรรจุผัก และไม้สด ในกล่อง
– แทนการบรรจุในเข่ง
4. ป้องกันอันตรายให้เด็ก
ประเภทบรรจุภัณฑ์
ด้านเทคนิค ด้านการตลาด
: การบรบรรจุใส่ : การส่งเสริมการขาย
: การปกป้องกันคุ้มครอง : การแสดงข้อมูลอาหาร
: การรักรักษาคุณภาพอาหาร : การตั้งราคาขายได้สูงขึ้น
: การขนการขนส่ง : การเพิ่มปริมาณขาย
: การวาการจัดจาหน่าย : ให้ความถูกต้องรวดเร็ว
แบ่งบรรจุภัณฑ์ออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. บรรจุภัณฑ์ขั้นที่ 1 (Primary Packaging) เป็นบรรจุภัณฑ์ชั้นในสุดอยู่ติดกับเนื้อของบรรจุภัณฑ์ ทา
หน้าที่ห่อหุ้มหรือบรรจุสินค้า
2. บรรจุภัณฑ์ขั้นที่ 2 (Secondary Packaging) ทาหน้าที่ขายและจูงใจให้ผู้บริโภคซื้อผลิตภัณฑ์
3. บรรจุภัณฑ์ขั้นที่ 3 (Shopping Packaging) ทาหน้าที่ขนส่งผลิตภัณฑ์
4. บรรจุภัณฑ์เบ็ดเตล็ด (Labeling) เป็นรายละเอียดข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏบนบรรจุภัณฑ์

~6~
ประเภทของบรรจุภัณฑ์ : แบ่งตามการออกแบบ
1. บรรจุภัณฑ์ชั้นในหรือปฐมภูมิ (primary packaging)
: อยู่ในสุดติดกับอาหาร
: การออกแบบจะคานึงปัจจัย 2 ประการ
(1) ต้องทดสอบจนมั่นใจว่าอาหารที่ผลิตและบรรจุภัณฑ์ที่
เลือกใช้จาเป็นต้องเข้ากันได้ (compatibility)
(2) ต้องเป็นบรรจุภัณฑ์ที่วางขายบน shelf หรือไม่
2. บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองหรือทุติยภูมิ (secondary packaging)
: เป็นบรรจุภัณฑ์ที่รวบรวมบรรจุภัณฑ์ชั้นแรกเข้าด้วยกัน
: เพื่อการปกป้องหรือเพื่อการขนส่ง
: การออกแบบมักจะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ต้องแสดงบนหิ้ง ณ จุดขาย
1+2 อาจเรียกว่า
“บรรจุภัณฑ์เพื่อการขายปลีก (commercial packaging)”
3. บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สามหรือตติยภูมิ (tertiary packaging)
: หน้าที่หลักคือ การป้องกันสินค้าระหว่างการขนส่ง
: อาจแบ่งย่อยได้ 3 ประเภท
(1) ใช้จากแหล่งผลิตถึงแหล่งจาหน่ายปลีก
(2) ใช้ระหว่างโรงงาน
(3) ใช้จากแหล่งขายปลีก
ประเภทของบรรจุภัณฑ์ : แบ่งตามวัสดุ
1. กระดาษ
2. โลหะ
3. แก้ว
4. พลาสติก
5. ไม้

~7~
1. กระดาษ
มีหลายชนิดและมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น ความเหนียว การฉีกขาด การดูดซึมน้า การต้านแรงดัน
ทะลุ ความทนทานต่อการพับไปมา และอื่น ๆ กระดาษสามารถนามาบรรจุหรือห่อหุ้มสินค้า เพื่อป้องกันไม่ให้
สินค้าเสื่อมสภาพหรือรั่วไหลกระจัดกระจาย นอกจากนั้นยังสามารถนามาแปรรูปเป็นภาชนะบรรจุต่าง ๆ ได้

ข้อดีและข้อเสียของ กระดาษ
ข้อดี
1. น้าหนักเบา ประหยัดค่าขนส่ง และสามารถเก็บในลักษณะพับแบนได้เป็นการประหยัดค่าเก็บภาชนะ
เปล่าและค่าขนส่ง
2. วัตถุดิบมีหลากหลายชนิด และมีทดแทนได้
3. ขอบข่ายการใช้งานกว้างขวาง ใช้ได้กับผลิตภัณฑ์แทบทุกชนิด
4. ต้นทุนต่า เมื่อเปรียบเทียบกับภาชนะประเภทอื่น ยกเว้นบางกรณีที่ต้องการผลิตภาชนะกระดาษเพื่อ
การใช้งานพิเศษ
5. เหมาะกับงานที่ต้องการความสวยงาม พิมพ์ได้ง่าย และออกแบบให้มีรูปร่างพิเศษได้สะดวก
6. ไม่มีปัญหาในการกาจัดภาชนะหลังการใช้งาน และสามารถนามาหมุนเวียนได้ (Recycle)
ข้อเสีย
1. ไม่สามารถป้องกันความชื้นหรือน้า
2. ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซ ไอน้า และกลิ่นได้ต่า
3. ถูกทาลายโดยจุลินทรีย์ แมลง ปลวก หรือสัตว์ได้ง่าย
4. มีความแข็งแรงน้อยกว่าบรรจุภัณฑ์ชนิดอื่นๆ

~8~
กล่องกระดาษลูกฟูก
เป็นบรรจุภัณฑ์กระดาษที่นามาใช้ในการบรรจุเพื่อการขนส่งมากที่สุด ผลิตมาจากแผ่นลูกฟูก ซึง่
กระดาษจะเป็นชั้นต่างๆ เพื่อความแข็งแรง
กระดาษลูกฟูก (Corrugated Fibreboard Box)

โครงสร้างกระดาษลูกฟูก
1. กระดาษลูกหน้าเดียว (Single Face Corrugated board)
มักเป็นวัสดุใช้กันกระเเทก เพื่อป้องกันหารเสียหายของสินค้า ใช้ห่อหุ้มพวกหลอดไฟ ขวดสุรา เฟอร์นิเจอร์
เครื่องครัว สินค้าเเตกหักง่ายไม่ให้สินค้าเกิดความเสียหายระหว่างบรรจุเเละเคลื่อนย้าย

2. กระดาษลูกฟูก 1 ชั้น (Single Wall)

แผ่นกระดาษลูกฟูกชนิด 1 ชัน้ หรือ แผ่นกระดาษลูกฟูก 2 หน้าโครงสร้างประกอบด้วยกระดาษทาผิวกล่อง 2


ชั้นและกระดาษทาลูกฟูก 1 ชัน้ มักใช้กันมากในการทากล่องที่มีน้าหนักบรรจุปานกลาง ทั่วๆไป นอกจากนี้ยัง

~9~
ใช้ทาเป็นส่วนประกอบอื่นๆของกล่อง เช่น แผ่นรอง แผ่นกั้น แผ่นบุข้าง กรอบเริม และกล่องไร้ฝา เป็นต้น
เพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงของกล่อง
3. กระดาษลูกฟูก 2 ชั้น (Triple Wall)
โครงสร้างประกอบด้วยกระดาษทาผิวกล่อง 3 ชั้น และกระดาษทาลูกฟูก 2 ชั้น ที่ 1,3,5 เป็นแผ่นกระดาษ
แผ่นเรียบ ลอนชั้น 2,4 เป็นลอนลูกฟูก มักใช้ลอน B ผสมกับลอน C สาหรับลอนลูกฟูก มักทาเป็นลอนที่มี
ขนาดต่างกัน เพื่อให้ยืดหยุ่นตัวได้ในการรับแรงกระทบกระแทก ใช้ทากล่องที่มีน้าหนักบรรจุมากขึ้นสามารถใช้
บรรจุสินค้าตั้งแต่ฝาจีบ แบตเตอรี่ ตลับลูกปืน

4. กระดาษลูกฟูก 3 ชั้น (Triple Wall)


ประกอบด้วยกระดาษ 7 ชั้น โดยชั้นที่ 1,3,5,7 เป็นกระดาษแผ่นเรียบ ส่วนชั้นที่
2,4,6 เป็นลูกฟูก มักใช้บรรจุ ภัณฑ์เพื่อการขนส่ง ยิ่งมีจานวนชั้นมาก ความ
ปลอดภัยในตัวสินค้าก็ยิ่งมีมาก ความปลอดภัยในตัวสินค้าก็มีมากขึ้นเช่นกัน

โครงสร้างกระดาษลูกฟูก

~ 10 ~
การเปรียบเทียบคุณสมบัติลอนลูกฟูก

การต้านแรงกดของกระดาษลูกฟูก
ค่าความต้านแรงดันทะลุของกล่องกระดาษลูกฟูกแบบ 1 ชั้น (Single Wall)

ตัวอย่าง กล่องสินค้าขนาด 60 x 30 x 30 เซนติเมตร (กว้าง x ยาว x สูง) ขนาดรวมจะมีเท่ากับ 120


เซนติเมตร กล่องใบนี้สามารถรับน้าหนักสินค้ารวมน้าหนักกล่องได้ไม่เกิน 15 กิโลกรัม
กล่องกระดาษแบบพับ กล่องประเภทนี้เมื่อออกจากโรงงานผลิตจะพับแบน และจะทาเป็นรูปเมื่อใช้บรรจุ
สินค้า สามารถใช้บรรจุหีบห่อสินค้าได้หลายประเภท เช่น เครื่องใช้ อาหาร และอื่น ๆ

~ 11 ~
กล่องกระดาษแบบแข็ง เป็นกล่องกระดาษสาเร็จรูปที่มีรูปแบบตามลักษณะของสินค้าและการใช้เช่น กล่อง
บรรจุขนมเค้ก กล่องบรรจุเครื่องประดับ

กระป๋องกระดาษ ตัวภาชนะทาด้วยกระดาษทบกันหลายชั้นและก้นของภาชนะประเภทนี้มักจะทาด้วยโลหะ
พลาสติก หรือกระดาษ นิยมนาไปใช้บรรจุอาหาร เครื่องสาอาง เครื่องดื่ม น้ามันเครื่อง และอื่น ๆ

เยื่อกกระดาษขึ้นรูป (Molded Pulp Container ) มีทั้งชนิดที่ทาจากเยื่อบริสุทธิ์ ซึ่งใช้ บรรจุอาหาร


สาเร็จรูปและอาหารที่เข้าตู้อบไมโครเวฟได้ และชนิดที่ทาจากเยื่อเศษกระดาษซึ่งใช้บรรจุไข่ ผัก ผลไม้สด และ
ทาเป็นวัสดุกันกระแทก การเลือกใช้ต้องคานึงถึงผลิตภัณฑ์ที่บรรจุเป็นสาคัญเพราะเกี่ยวข้องกับความปลอดภัย
ของผู้บริโภค

~ 12 ~
ถุงหรือกระสอบการดาษหลายชั้น (Multiwall Paper Sack) ใช้สาหรับบรรจุสินค้าที่มีน้าหนักมากกว่า 10
กิโลกรัม เช่น ปูนซีเมนต์ อาหารสัตว์ เม็ดพลาสติก สารเคมี

2. โลหะ
• โลหะที่ใช้มากสาหรับผลิตภาชนะบรรจุอาหาร คือ เหล็กกล้าและอะลูมิเนียม
• รูปแบบภาชนะบรรจุโลหะที่ใช้ เช่น กระป๋องเหล็กชุบดีบุก กระป๋องเหล็กชุบโครเมียม กระป๋อง
อะลูมิเนียม ฝา สายรัด และลวดเย็บ เป็นต้น
• โลหะสามารถป้องกันการซึมผ่านของแก๊ส ความชื้น และแสงได้ 100%
• มีความแข็งแรง (strength) ความทนทานต่อการพับงอ (stiffness) และสามารถพับขึ้นรูปได้ตาม
ต้องการ

มีคุณสมบัติแข็งแรง ทนทาน และมักจะมีการเคลือบภายใน เพื่อช่วยลดการเป็นสนิมและสึกกร่อน มีทั้งที่


เป็นเหล็ก สังกะสี และอะลูมินัม ซึ่งมีรูปร่างหลายแบบ เช่น กระป๋อง ถัง กระบอกแผ่นเปลวอะลูมินัม เป็น
ต้น นิยมใช้บรรจุกับสินค้าประเภทผลไม้ อาหาร ยา เครื่องสาอาง สารเคมี น้ามันหล่อลื่น
แก้ว
คุณสมบัติของแก้ว
เป็นกลาง ไม่ทาปฏิกิริยากับสารใดๆ มีความใส ป้องกันการซึมผ่านของไอน้าและก๊าซได้ มีความคง
รูป สามารถใช้ซ้าหรือใช้หมุนเวียนใหม่ได้ ทนความร้อนได้สูง มีความปลอดภัยต่อสินค้าและอาหารที่บรรจุ
มากที่สุด มีความสวยงาม แต่แก้วก็มีข้อเสียคือน้าหนักมาก และราคาแพง
บรรจุภัณฑ์แก้ว นิยมนามาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อยกระดับ และสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่อุตสาหกรรม
การผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่มมากมายหลายประเภทดังนี้ สิ่งที่สาคัญที่สุดของขวดแก้ว คือ ปากขวด
ซึ่งต้องสัมพันธ์กับการเลือกฝา วิธีเปิดฝา วิธีบรรจุผลิตภัณฑ์ลงในขวด และวิธีนาผลิตภัณฑ์ออกมาใช้

~ 13 ~
ส่วนประกอบของขวดแก้ว

รูปแบบของแก้ว

ชนิดของขวดแก้วและฝา

~ 14 ~
4. พลาสติก
คุณสมบัติของพลาสติก
บรรจุภัณฑ์พลาสติกได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีน้าหนักเบา ต้นทุนไม่สูง รวมทั้ง
ทนทานต่อความชื้น ความร้อนหรือ ความเย็น ทนกรดหรือด่าง แข็ง เหนียว มีน้าหนักเบา ไม่นาความร้อน
ไม่นาไฟฟ้า และทาให้มีรูปร่างและขนาดต่างๆ ได้หลายลักษณะ
บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบ่งตามรูปแบบได้ 2 ประเภท คือ
ฟิล์มพลาสติก (Plastic Film)
และภาชนะพลาสติก (Plastic Container)

ข้อดีของพลาสติก
1. มีสมบัติหลากหลาย และสามารถปรับปรุงให้ใช้งานได้ง่าย
2. ขึ้นรูปได้หลายวิธี สะดวก และได้รูปร่างตามต้องการ
3. ความแข็งแรงสูงเพียงพอกับการใช้งาน และน้าหนักน้อย
4. เทคโนโลยีพลาสติกก้าวหน้าเร็ว จึงทาให้มีพลาสติกใหม่ๆ ที่มีสมบัติดีขึ้น
5. สามารถใช้ร่วมกับวัสดุอื่นๆ ได้ง่าย

~ 15 ~
พลาสติกทามาจากอะไร ?

1.) เม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene - HDPE) มีคุณสมบัติ


เด่น คือ การไหลตัวดี ขึ้นรูปง่าย ทนทานต่อสารเคมี เหมาะสาหรับการผลิตถุงบรรจุสินค้า ขวดบรรจุนม ขวด
แชมพูและเครื่องสาอาง ถังบรรจุน้ามันเครื่อง ลังบรรจุขวด ลังผลไม้ พาเลท ถังขยะ เชือก แห อวน ท่อน้า
และฉนวนหุ้มสายไฟ เป็นต้น
2) เม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นปานกลาง(Medium Density Polyethylene - MDPE)
มีคุณสมบัติเด่นด้านทนแรงกระแทก ทรงรูป ใช้ในงานอุณหภูมิต่าได้ดี เหมาะสาหรับการผลิตถังแช่เย็น ถังเก็บ
น้า ถังบาบัดน้าเสีย และกรวยจราจร เป็นต้น
3) เม็ดพลาสติกโพลิเอทิลนี ชนิดความหนาแน่นต่าเชิงเส้น (Linear Low Density Polyethylene -
LLDPE) มีคุณสมบัติเด่นด้านความเหนียว ทนแรงดึงได้สูง เหมาะสาหรับการผลิตแผ่นฟิล์มอุตสาหกรรมและ
เกษตรกรรม ถุงข้าวสาร เป็นต้น
4) เม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่า (Low Density Polyethylene - LDPE) มีคุณสมบัติ
เด่นด้านความใส ทนแรงฉีกขาดได้ดี เหมาะสาหรับการผลิตถุงใส่อาหารเย็น ฟิล์มถนอมอาหาร ฝา กล่อง
พลาสติก งานเคลือบพื้นผิว เป็นต้น

~ 16 ~
5) เม็ดพลาสติกโพลิโพรไพลีน (Polypropylene - PP) มีคุณสมบัติเด่นด้านทนแรงกระแทก ทนความร้อน
ได้สูง เหมาะสาหรับการผลิตถุงใส่อาหารร้อน ฟิล์มห่อของใช้ทั่วไป ถุงสาน เครื่องใช้ ในครัวเรือน กล่อง
แบตเตอรี่สาหรับรถยนต์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น
6) PET/PETP (Polyethylene terephthalate) มีคุณสมบัติเด่น คือ มีน้าหนักเบา ความเหนียวและ
ทนทาน มีการยืดหยุ่นต่อแรงกระแทก แก๊สซึมผ่านได้ยาก ดังนั้นจึงถูกนามาบรรจุเป็นขวดน้าอัดลม ขวดน้าดื่ม
ขวดน้าผลไม้ ขวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
7) PVC (Polyvinyl chloride) คุณสมบัติที่สาคัญคือ เมื่อติดไฟจะดับได้ด้วยตัวเอง ทนต่อน้า น้ามัน กรด
ด่าง,แอลกอฮอล์ และสารเคมีต่างๆ ยกเว้นคลอรีน ทนต่อการขัดถู เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี และเนื่องจาก PVC มี
คุณสมบัติแข็งแต่เปราะ และสลายตัวได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับความร้อน และแสงแดด ดังนั้นจึงมักนา PVC ไปทา
Compounding ก่อน โดยเติมสารเติมแต่งต่างๆ เช่น stabilizer , plasticizer เป็นต้น ตัวอย่างการใช้งาน
เช่น ใช้ทาท่อ ข้อต่อ ฉนวนหุ้มสายไฟ สายเคเบิ้ล แผ่นพลาสติก ฟิล์ม หนังเทียม รองเท้า บัตรเครดิต ทาจาน
แผ่นเสียง อุปกรณ์รถยนต์ ขวดพลาสติก ของเด็กเล่น เป็นต้น

~ 17 ~
ภาชนะพลาสติก (Plastic Container)

ภาชนะพลาสติก (Plastic Container)


แอร์แคป
เป็นวัสดุใหม่ในการบรรจุ ผลิตจากพลาสติกโดยการทาฟองอากาศให้เกิดขึ้น ตลอดแผ่นฟิล์มพลาสติกที่ติดกัน
มีประโยชน์ในการใช้วัสดุรองรับในการบรรจุหีบห่อเพื่อบรรเทาการกระทบกระเทือนเสียหายของสินค้า นิยมใช้
กับสินค้าที่บอบบาง สินค้ามีราคาสูง เช่น เครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า

~ 18 ~
ไม้
บรรจุภัณฑ์สาหรับสินค้าอุตสาหกรรมอยู่ทั่วไป เช่น สินค้าประเภทเครื่องจักรที่มีน้าหนักมาก และมี
มูลค่าค่อนข้างสูง ซึ่งจาเป็นต้องขนส่งทางเรือโดยไม่ใช้ตู้ขนสินค้า ดังนั้น การใช้ไม้เป็นแท่นรองรับสินค้ายัง
ประสบความสาเร็จอยู่ ถึงแม้จะมีวัสดุอื่นที่ใช้ทดแทนได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วยังคงใช้ไม้เนื่องจากอัตราส่วนระหว่าง
ความแข็งและน้าหนักของไม้ยังไม่อาจมีวัสดุอื่นมาทดแทนได้ รวมทั้งราคาต่าเมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์ชนิดอื่น

ข้อดีและข้อเสียของไม้
ข้อดีไม้
• เป็นสินค้าที่หาใช้ได้ง่าย ระยะเวลาในการผลิตรวดเร็ว
• ราคาไม่แพง แข็งแรง ทนทาน สามารถนากลับมาใช้ใหม่ได้
• สามารถรองรับน้าหนักสินค้าได้ประมาณ 1 - 2 ตัน
• สามารถซ่อมแซมได้ เก็บรักษาดูแลง่าย
ข้อเสียไม้
• ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและปัญหาภาวะโลกร้อน
• ปัญหาเรื่องเชื้อราในเนื้อไม้ แมลง ปลวก มอด เสี้ยนไม้ ความชื้น
• อาจแตกหรือหักได้เมื่อบรรจุสินค้าที่มีน้าหนักมากเกินไป
• ไม้อาจบิด โก่ง หรือโค้งงอได้

~ 19 ~
1. ไม้ไผ่

เป็นวัสดุที่หาง่ายราคาถูก ส่วนใหญ่ใช้ทาภาชนะบรรจุเพื่อการขนส่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งผักและผลไม้สด เช่น


เข่ง ตะกร้า ก๋วย มีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน ชนิดของไม้ไผ่ที่ใช้ทา ได้แก่ ไม้ไผ่สีสุกหรือไม้รวก ความแข็งแรง
ขึ้นอยู่กับคุณภาพของภาชนะ บรรจุและชนิดของไม้ไผ่ที่ใช้ทา

ตัวอย่างการประทับตรา IPPC และตราประทับชนิดอื่นๆ

~ 20 ~
ตราประทับ IPPC ด้านข้างพาเลทไม้ ตัวอย่างตราประทับ EURO PALLET

**Note : ให้นักศึกษาเข้าทากิจกรรมในระบบการเรียนการสอนออนไลน์ เพือ่ ติดตามภาระงานที่อาจารย์มอบหมายในแต่ละสัปดาห์ เช่น


แบบฝึกหัด, แบบทดสอบก่อนเรียน, แบบทดสอบหลังเรียน และกิจกรรมอื่นๆ เสมือนการเรียนในห้องเรียนจริง เป็นต้น

~ 21 ~
หน่วยที่ 2
บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง
Transport Packaging

แนวคิดของบรรจุภัณฑ์เกี่ยวกับการขนส่ง
1. บรรจุภัณฑ์ถูกออกแบบให้สามารถป้องกันสินค้าที่บรรจุภายในจากสภาวะแวดล้อมได้หรือไม่
2. บรรจุภัณฑ์ถูกออกแบบให้สามารถทนต่อแรงกระแทกระหว่างการขนส่งและแรงดึงระหว่างการเก็บ
รักษาได้หรือไม่
3. บรรจุภัณฑ์ถูกออกแบบให้ป้องกันการฉกฉวยได้หรือไม่
4. บรรจุภัณฑ์สามารถที่จะใช้สาหรับตลาดภายในประเทศและเพื่อการส่งออกด้วยหรือไม่
5. มีการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของการใช้ระบบแท่นรองรับสินค้าและระบบการใช้ตู้ คอนเทน
เนอร์ต่อโครงสร้างและต้นทุนของบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งหรือไม่
6. มีการพิจารณาเกี่ยวกับความเป็นมาตรฐานของสินค้านั้น ๆ หรือเกี่ยวกับกฎระเบียบในตลาดเป้าหมาย
หรือไม่
7. เครื่องหมายของบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง มีการใช้สัญลักษณ์รูปภาพของสถาบันเกี่ยวกับการ
เคลื่อนย้ายสินค้าหรือไม่
8. การใช้คาศัพท์เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายใช้ได้เหมาะสมหรือไม่

~ 22 ~
บทบาทและหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์
1. ทาหน้าที่ด้านการเก็บรักษา (storage support) ในการปกป้องและเก็บรักษาสินค้าไม่ให้ได้รับความ
เสียหายและมีความสะดวกในระหว่างการจัดเก็บ
2. ทาหน้าที่ด้านการขนส่ง (transport support) เพื่อให้เกิดความสะดวกและมีความปลอดภัยในการ
เคลื่อนย้ายเพื่อการขนส่ง
3. ทาหน้าที่ลดต้นทุน (cost reduction) ในการทาให้ประหยัดเนื้อที่ ทั้งเพื่อการเก็บรักษาและเพื่อการ
ขนย้ายสินค้าหรือ การขนส่งเนื่องจากสามารถจัดวางเรียงทับซ้อน

~ 23 ~
ประเภทของบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์
1. บรรจุภัณฑ์เพื่อการขายปลีก (retail package) เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบไว้เพื่อความสะดวกต่อการ
ส่งมอบสินค้าให้กับผู้บริโภคโดยตรง จึงมีการออกแบบให้มีความสะดุดตา และ เป็นสื่อโฆษณาภายในตัวเอง
นอกจากนี้ยังทาหน้าที่ปกป้องสินค้า มีรูปร่างที่เหมาะแก่การใช้งาน และมีการออกแบบเชิงส่งเสริมการตลาด
หรือเชิงพาณิชย์

2. บรรจุภัณฑ์เพื่อการขายส่ง (wholesale package) เป็นบรรจุภัณฑ์ที่แบ่งสินค้าออกเป็นชุดเพื่อ


สะดวกในการจัด จาหน่าย เช่น 6 ชิ้น 12 ชิ้น หรือ 24 ชิ้น เพื่อป้องกันรักษาไม่ให้สินค้าเสียภายในระหว่างการ
เก็บรักษาในคลังสินค้าหรือจากการ ขนส่งและสะดวกต่อการส่งมอบสินค้าไปสู่ผู้ขายปลีกหรือขายส่ง ซึ่งบรรจุ
ภัณฑ์นี้สาคัญต่อกระบวนการกระจายสินค้าที่เรียกว่า DC (Distribution Center) หรือ ศูนย์กระจายสินค้า

3. บรรจุภัณฑ์ชั้นนอกหรือบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (out package/transport package) เป็น


บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบเพื่อใช้บรรจุสินค้าเพื่อให้สามารถจัดเรียงหรือจัดวางโดยใช้พื้นที่ได้น้อยที่สุด เพื่อใช้ใน
การขนส่ง รวมถึงให้มีสภาพแข็งแรงเพื่อป้องกันการกระแทกหรือป้องกันละอองน้าหรือน้า ไม่ให้สินค้าเสียหาย
ระหว่างการเคลื่อนย้ายหรือขนส่ง เช่น ลังไม้ หรือที่บรรจุในพาเลท (pallet) เป็นต้น

~ 24 ~
ปัญหาของการจัดการบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์
การจัดบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพที่มีความจาเป็นต่อความสาเร็จของธุรกิจ ทั้งต่อกระบวนการดาเนินการ
และการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่ง อย่างไรก็ตามการจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ไม่มีประสิทธิภาพจะก่อให้เกิด
ปัญหาดังนี้
1. ปัญหาการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ (packaging development) เมื่อนาผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เข้าสู่ตลาด
เพื่อวางจาหน่ายจาเป็นต้องมีการบรรจุภัณฑ์และการติดฉลาก การพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์จะมีบทบาทต่อ
การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในปัจจุบันการออกแบบบรรจุภัณฑ์เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่สาคัญ เพราะ
บรรจุภัณฑ์ที่ถูกออกแบบมาดีทาให้ง่ายต่อการใช้งานของผู้บริโภค มีส่วนทาให้ผู้บริโภคจดจาสินค้าได้ทันทีช่วย
ในการส่งเสริมการขายของผู้ผลิตได้ และดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคหากไม่มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ธุรกิจจะ
ไม่สามารถแข่งขันทางการค้าได้ดังนั้น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์จะต้องสอดรับประเด็นการตลาดการกระจาย
สินค้า และการผลิตซึ่งจะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องโลจิสติกส์ทั้งในส่วนของการออกแบบที่เข้ากับการใช้งาน รวมถึง
เป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์ให้เหมาะสมกับรูปแบบการขนส่งที่กาหนด
2. ปัญหาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (packaging design) บรรจุภัณฑ์รวมถึงภาชนะที่บรรจุ
(container) และการออกแบบ สีสัน รูปร่าง ตราฉลาก ข้อความโฆษณาประชาสัมพันธ์การออกแบบบรรจุ
ภัณฑ์ใดๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถเอื้ออานวยคุณประโยชน์ด้านหน้าที่ใช้สอยได้ดีและ
เพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถสื่อสาร และสร้างผลกระทบทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภคปัญหาที่พบในการ
ออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้แก่ตราเครื่องหมายไม่เด่นขาดความสวยงามการออกแบบไม่สะดวกต่อการใช้งาน และ
ไม่สะดวกในการเก็บรักษา

ดังนั้น การออกแบบบรรจุภัณฑ์จึงสาคัญอย่างยิ่งในตลาดปัจจุบัน นักออกแบบบรรจุภัณฑ์จึงต้องใช้ความรู้และ


ข้อมูลจากหลายๆ ด้านมาประกอบกัน การใช้ทักษะทางศิลปะในการอกแบบ ต้องอาศัยความรู้และข้อมูลต่างๆ
เพื่อให้ได้ผลงานที่สาเร็จออกมามีประสิทธิภาพในการใช้งานจริง และสอดคล้องกับภาวการณ์แข่งขันทาง
การค้าเช่นในสภาพปัจจุบัน
3. ปัญหาการขาดบุคลากรในด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีความ
สลับซับซ้อนมากๆ ทาให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่น การผลิต การบรรจุ และรวมทั้งการขนส่ง ถ้าไม่คานึงถึง
สภาพการณ์ที่เป็นจริงแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือบรรจุภัณฑ์นั้นจะไม่สามารถใช้งานได้เต็มที่เท่าที่ควร และจะ

~ 25 ~
ก่อให้เกิดความเสียหายรวมในการลงทุนได้จนกลาเป็นการเพิ่มต้นทุนโดยไม่จาเป็น ปัญหาการขาดบุคลากรใน
ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีความรู้อย่างลึกซึ้งหรือขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขาด
การศึกษาวิจัยอย่าจริงจังถือเป็นอุปสรรคสาคัญที่ทาให้การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของประเทศยังไม่ครบวงจร
4. ปัญหาการเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ (packaging materials)การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์มีส่วนสาคัญใน
การเพิ่มมูลค่าและสร้างความโดดเด่นให้กับตัวสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่
มีคุณสมบัติพิเศษเหนือกว่าสินค้าอื่นในท้องตลาด ซึ่งต้องเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงยกระดับมาตรฐาน
สินค้าให้สูงขึ้นการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมกับสินค้าจะทาให้สินค้าดูด้อยคุณภาพไม่ได้มาตรฐานดังนั้น
ผู้เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ต้องรู้จักชนิดของวัสดุที่ใช้ทาบรรจุภัณฑ์ด้านคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมี
5. ปัญหาต้นทุนบรรจุภัณฑ์ (packaging cost) ในสถานการณ์ปัจจุบันต้นทุนบรรจุภัณฑ์เป็นปัจจัยที่
สาคัญของธุรกิจต้นทุนบรรจุภัณฑ์ประกอบด้วย ต้นทุนในการออกแบบบรรจุภัณฑ์(packagingdesigncost)
ต้นทุนวัสดุบรรจุภัณฑ์(packagingmaterial cost) ต้นทุนในการขนส่ง (transportation cost) และต้นทุนใน
คลังสินค้า (warehouse cost) ปัญหาที่พบในต้นทุนบรรจุภัณฑ์ได้แก่การใช้วัสดุในการบรรจุภัณฑ์ไม่เหมาะสม
กับราคาใช้เครื่องมือเครื่องจักรในการผลิตบรรจุภัณฑ์ไม่คุ้มค่า หรือซื้อวัตถุดิบในราคาที่สูง ทั้งนี้การจัดวาง
บรรจุภัณฑ์เรียงทับซ้อนกันในทางสูง ก็จะสามารถลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์ได้นอกจากนี้ขนาดของบรรจุภัณฑ์ที่
เหมาะสมต่อรูปแบบ

**Note : ให้นักศึกษาเข้าทากิจกรรมในระบบการเรียนการสอนออนไลน์ เพือ่ ติดตามภาระงานที่อาจารย์มอบหมายในแต่ละสัปดาห์ เช่น


แบบฝึกหัด, แบบทดสอบก่อนเรียน, แบบทดสอบหลังเรียน และกิจกรรมอื่นๆ เสมือนการเรียนในห้องเรียนจริง เป็นต้น

~ 26 ~
หน่วยที่ 3
การออกแบบบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์
(Packaging Lo marketing/ distribution/ product)

1. จะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องโซ่อุปทาน หรือ supply chain ทั้งในส่วนของการออกแบบที่เข้ากับการใช้


งาน
2. เหมาะสมกับรูปแบบการขนส่งที่กาหนด
3. จะต้องช่วยในการลดต้นทุน (cost) ในกระบวนการต่างๆ
4. คาถึงการจัดเก็บในคลังสินค้า (warehouse)
5. สามารถเสริมช่วยในการบริหารพื้นที่ว่าง (space)
6. การบรรทุกหรือการออกแบบการขนส่ง (transport design) ที่ต้องเหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่บรรจุภายใน

7. การใช้วัสดุที่เบา เพราะจะทาให้ประหยัดค่าขนส่ง
8. ช่วยให้บรรทุกสินค้าได้ ทาให้เกิดการบรรทุกสินค้าเต็มคันรถ เกิดความสะดวกในการยกขนและความ
สะดวกในการรองรับสินค้า
9.ช่วยลดของหายและเสียหาย เช่น การใช้พลาสติกใสส่งผลให้สามารถมองเห็นสินค้าภายในบรรจุภัณฑ์ ทาให้
ทราบว่าสินค้าสูญหายหรือเสียหายหรือไม่ นอกจากนี้ยังช่วยให้ลูกค้าสามารถเลือกสีของสินค้าได้สะดวก 10.
ช่วยเสริมภาพลักษณ์ของกิจการ และคานึงถึงการนากลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง
11.ออกแบบให้สามารถวางทับซ้อนกันได้ส่งผลให้เกิดการขนส่งเต็มคันรถ เพิ่มประสิทธิภาพในการทางาน ลด
ความสูญเปล่าในกระบวนการ และลดต้นทุนได้จานวนมาก

~ 27 ~
หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์
1. การใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกลยุทธ์ทางด้านการตลาด
บรรจุภัณฑ์มีบทบาท ที่สาคัญยิ่งต่อผู้ผลิตสินค้า เนื่องจากบรรจุภัณฑ์สามารถทาหน้าที่ส่งเสริมการขาย
กระตุ้นยอดขายให้เพิ่มขึ้น ในเวลาเดียวกันมีโอกาสลดต้นทุนสินค้าอันจะนาไปสู่ยอดกาไรสูงซึ่งเป็นเป้า หมาย
ของทุกองค์กรในระบบการค้าเสรี
คานิยาม การตลาด คือกระบวนการทางด้านบริหารที่รับผิดชอบต่อกลุ่มเป้าหมายโดยการค้นหาความต้อง
การ และสนองความต้องการนั้นเพื่อบรรลุถึงกาไร ตามที่ต้องการ ตามคานิยาม การตลาดประกอบด้วย
องค์ประกอบสาคัญ 3 ประการ คือ กลุ่มเป้าหมาย การสนองความต้องการ และกาไร การกาหนด
กลุ่มเป้าหมาย เฉพาะนั้น จาเป็นต้องหาข้อมูลจากตลาด พร้อมทั้งค้นหาความต้องการ ของกลุ่มเป้าหมายในรูป
ของการบริโภค สินค้าหรือบริการ ส่วนการตอบสนองความต้องการนั้น ต้องใช้กลไกทางด้านส่วนผสมทาง
การตลาด เพื่อชักจูงให้กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ซื้อให้เลือกซื้อสินค้าเราแทนที่จะซื้อ ของคู่แข่งเพื่อบรรลุถึงกาไรที่
ได้กาหนดไว้
สภาวะการจัดจาหน่ายสมัยใหม่
ในระบบจาหน่ายสมัยใหม่ เช่น ในซุปเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งมีสินค้าวางขายอยู่เป็นนับพันประเภท แต่ละ
ประเภท จะมีสินค้าที่เป็นคู่แข่งขันวางขายกันเป็นสิบเพื่อการเปรียบเทียบเลือกซื้อ ภายใต้สภาวะการขาย
เช่นนี้ ผู้ซื้อจะใช้เวลาประมาณเศษ 2 ใน 3 ของเวลาที่อยู่ในร้านเดินจากสินค้าประเภทหนึ่ง ไปยังสินค้าอีก
ประเภทหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ซื้อโดยเฉลี่ยใช้เวลา 10 – 15 นาที ในการเลือกซื้อสินค้า และสมมติว่าโดย
เฉลี่ยผู้ซื้อแต่ละคนจะซื้อสินค้าประมาณ 12 ชิ้น นั่นก็หมายความว่า เวลาที่ใช้ในการตัดสินใจ เลือกซื้อสินค้า
นั้นมีเวลาเพียง 1 นาที ในสภาพความเป็นจริงเวลาที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า จะแปรเปลี่ยนไปแล้วแต่
ประเภทของสินค้า สินค้าบางชนิด เช่น ไข่ หมู ไก่ อาจใช้เวลาเลือกนาน กล่าวคือใช้เวลาประมาณ 20 – 50
วินาที ในขณะที่สินค้าบางชนิด เช่น ข้าว น้าอัดลม เป็นต้น จะใช้เวลาน้อยเพียงแค่ 10 วินาที จาก
ปรากฏการณ์นี้ย่อมเป็นที่ประจักษ์ว่า ในยุคนี้ผู้ซื้อใช้เวลาน้อยมาก ณ จุดขายในขณะที่มีสินค้า ให้เลือก
มากมาย ด้วยเหตุนี้ บรรจุภัณฑ์ในยุคนี้จึงจาเป็นต้องออกแบบ ให้ได้รับความสนใจอย่างเร่งรีบ โดยมีเวลาผ่าน
ตาบนหิ้งในช่วงเวลา 10 – 50 วินาทีที่จะสร้างความมั่นใจ ให้แก่ลูกค้าเพื่อตัดสินใจซื้อและวางลงในรถเข็น
บทบาทของบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวนี้ เป็นบทบาททางด้านการตลาดในปัจจุบัน ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย

~ 28 ~
แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์ เป็นการออกแบบงานพิมพ์แบบ 3 มิติ ที่เป็นพาณิชย์ศิลป์ ดังนั้น บุคลากรที่รับผิดชอบการพัฒนา
บรรจุภัณฑ์ ทางกราฟฟิก นอกจากเป็นนักออกแบบแล้วยังต้องเป็นคนช่างสังเกต มีความรู้ทางด้านธุรกิจ
เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบนั้น เป็นสื่อและเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ ทางธุรกิจการจาหน่าย ในการ
ออกแบบข้อมูลที่ผู้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ควรรู้มีดังนี้
(1) ด้านการตลาด เนื่องจากบรรจุภัณฑ์เป็นองค์ประกอบ ส่วนหนึ่งของการตลาด การออกแบบบรรจุภัณฑ์
จึงต้องคานึงถึง หลักการและเทคนิคทางด้านการตลาด อันประกอบด้วย การตั้งเป้าหมาย การจัดกลยุทธ์ การ
วางแผนการตลาด การส่งเสริมการจาหน่าย เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องทราบวิธีการจัดเรียง และบรรยากาศ
ของการจาหน่าย ณ จุดขาย การคานึงถึงสถานที่ที่วางขายสินค้าเป็นปัจจัยแรกในการออกแบบ เช่น การ
วางขายในตลาดสด ดังภาพที่ 1 หรือวางขายในห้าง ดังภาพที่ 2 เป็นต้น
แนวทางในการออกแบบทั่วไป คือ การเปรียบเทียบ กับสินค้าคู่แข่ง การเปรียบเทียบนี้ไม่ใช่ การ
เปรียบเทียบ เพื่อลอกเลียนแบบ แต่เป็นการเปรียบเทียบเพื่อหาจุดเด่น ของสินค้าเพื่อขาย (Unique Selling
Point) การใช้คาว่า “ใหม่” “สด” หรือ “ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ” ล้วนเป็นคาบรรยายที่จะเน้น ถึงจุดขาย
ของสินค้า คาบรรยายดังกล่าวจาต้องเป็นสิ่งที่ผลิตได้และปฏิบัติได้จริง ยกตัวอย่าง เช่น การออกแบบมีคาว่า
“ใหม่” ดังภาพที่ 3 ผู้ผลิตต้องมั่นใจว่าในตลาดหาสินค้าที่ทดแทนหรือคล้ายคลึงกันได้ยาก
(2) ตัวสินค้าที่จะใช้บรรจุ การออกแบบบรรจุภัณฑ์จะประสบความสาเร็จ ได้ต่อเมื่อผู้ออกแบบและ ผู้ที่
เกี่ยวข้องทราบถึงคุณลักษณะ ของตัวสินค้าอย่างถ่องแท้ คุณสมบัติ เด่นของสินค้าที่จะสนอง ความต้องการ
ของลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมายเป็นสิ่งจาเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องสร้างขึ้นมา มิฉะนั้น จะไม่ทราบเลยว่าจะเสนอ
อะไร เพื่อสนองความต้องการของผู้ซื้อ/กลุ่มเป้าหมาย และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ก็จะไม่สามารถบรรลุถึง
จุดเป้าหมาย ท้ายที่สุดการตลาด ของสินค้านั้นก็พังพินาศ
(3) กลุ่มเป้าหมาย หรือกลุ่มผู้ซื้อ ซึ่งอาจเป็นผู้บริโภคสินค้าเอง หรือไม่ได้เป็นผู้บริโภค อาจแยกตาม
สถานะทางสังคม การออกแบบที่ดี จะต้องทราบความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ปริมาณที่บริโภค ความ
สะดวก ในการนาอาหารออกจากบรรจุภัณฑ์ มาบริโภค เป็นต้น สถานะของผู้บริโภคที่ควรคานึงถึงมีดังนี้
เพศ อาชีพ
ระดับการศึกษา สถานะครอบครัว
เชื้อชาติ ขนาดครอบครัว
ศาสนา สถานะทางสังคมเศรษฐกิจ
ย่านที่พักอาศัย สิ่งอานวยความสะดวกในชีวิตประจาวัน

~ 29 ~
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่ทาขึ้นโดยไม่ได้ทาการศึกษาวิจัย อาจจะต้องใช้วิธีการสังเกต แล้วประเมิน จาก
สิ่งที่สังเกต นาข้อมูลที่วิเคราะห์ หรือรวบรวมได้ส่งต่อให้นักออกแบบ เพื่อทาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ให้
สอดคล้องกับความต้องการและการบริโภคของกลุ่มเป้าหมาย
สิ่งที่พึงให้ความสาคัญ กับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่ผู้ซื้อไม่ได้เป็นผู้บริโภค เช่น สินค้าของฝาก การ
ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ยิ่งมีความสาคัญที่จะต้องสร้างภาพพจน์ที่ดี เพิ่มคุณค่าแก่สินค้าให้เหมาะสม กับเป็น
สินค้าฝากจากแดนไกล โดยบรรจุภัณฑ์จาเป็นต้องสร้างมโนภาพ (Imaginary) ที่ดีต่อตัวสินค้า พร้อมทั้งมี การ
ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ คานึงถึงความสะดวกในการนากลับ และพิจารณาถึงระยะเดินทางพอสมควร ก่อนจะถึง
มือผู้บริโภคด้วย ยกตัวอย่างเช่น ไอศกรีมที่บรรจุขายในปริมาณและขนาดบริโภค ของครอบครัว ควรจะ
พิจารณาใส่น้าแข็งแห้งเพื่อรักษาคุณภาพสินค้าในระหว่างทาง เป็นต้น
(4) กฎข้อบังคับ ในกรณีของบรรจุภัณฑ์อาหาร องค์กรของรัฐที่เข้ามามีบทบาทควบคุมดูแล คือ สานักงาน
คณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ดังภาพที่ 4 สาหรับผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุในภาชนะบรรจุภัณฑ์ปิด
สนิท จาต้องขออนุญาตจาก อย. พร้อมหมายเลขกากับ
ปรากฏการณ์ใหม่ สาหรับสินค้าที่จัดจาหน่ายผ่านทางซุปเปอร์มาร์เก็ตและห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ คือ การ
พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ หรือฉลากด้วยสัญลักษณ์รหัสแท่งที่เรียกว่า “บาร์โค้ด (Bar Code) ดังภาพที่ 5 ” ซึ่งเป็น
รหัส ประจาตัวสินค้า เพื่อความสะดวกในการคิดเงิน และตัดสต๊อกของผู้ขายปลีก
เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2540 ทาง อย. ได้มีประกาศแต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจดาเนินตาม โครงการ
นาสัญลักษณ์รหัสแท่งมาใช้ในฉลากอาหาร” ทาหน้าที่ศึกษาข้อมูล กาหนดรูปแบบ และวิธีการ นาสัญลักษณ์
รหัสแท่งมาใช้ ในขั้นตอนขออนุญาตตามพระราชบัญญัติอาหาร และในขั้นตอนการตรวจติดตาม ผลิตภัณฑ์ใน
ท้องตลาด ทั้งนี้เพื่อดูแลตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหาร อย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกัน การปลอมแปลงเลข
ทะเบียนตารับ และเลขที่การรับอนุญาตใช้ฉลาก การที่ อย. เตรียมการที่จะนาระบบ สัญลักษณ์รหัสแท่ง มาใช้
แทนที่ตัวอักษรและตัวเลขในอนาคตนั้น การขออนุญาตใช้รหัสแท่ง เป็นสิ่งที่นักออกแบบและผู้ประกอบการ
แปรรูปอาหารควรศึกษาและประยุกต์ใช้
(5) ช่องทางการจาหน่าย กุญแจสาคัญของผลิตภัณฑ์อาหาร คือ อายุการเก็บรักษาของสินค้าโดยปกติอาหาร
สด เช่น ก๋วยเตี๋ยวสด กระยาสารท เป็นต้น มีอายุการเก็บที่สั้น เพียงไม่กี่วัน เนื่องจากสูญเสีย สภาวะคุณสมบัติ
ของอาหาร ด้วยวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีของบรรจุภัณฑ์ เช่น ถ้ามีการประยุกต์ใช้ วิธีการปรับสภาวะ
บรรยากาศภายในบรรจุภัณฑ์ (Modified Atmosphere Packaging ดังภาพที่ 6 ) สาหรับก๋วยเตี๋ยวสด พร้อม
กับการเลือกใช้ วัสดุบรรจุภัณฑ์ ที่ถูกต้องเพื่อช่วยยืดอายุการเก็บสินค้าและส่งขายได้ทั่วราชอาณาจักรแทน ที่
จะขายเฉพาะ ที่ตลาดสด หรือส่งขายวันต่อวัน ด้วยเหตุนี้ การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม ย่อมช่วยเพิ่ม
โอกาส ในการเลือกช่องทางการจัดจาหน่ายให้มีมากขึ้นโดยการส่งให้พ่อค้าขายส่ง พ่อค้าขายปลีก หรือขายส่ง
ให้แก่ ห้างร้าน การส่งตรงไปยังศูนย์รวบรวมกระจายสินค้า (Distribution Center หรือ DC ดังภาพที่ 7 ) เป็น

~ 30 ~
ต้น หรือพิจารณา ช่องทางการจาหน่าย เริ่มจากการขายหน้าบ้าน ตลาดสด และขยายไปถึงการขายสู่ห้างใหญ่
ที่มีศูนย์ รวบรวมกระจายสินค้า (DC) ย่อมมีผลต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับแต่ละช่องทาง
(6) สภาวะการแข่งขัน การเก็บข้อมูลของคู่แข่งขันเป็นสิ่งจาเป็น อย่างยิ่งที่จะทาให้บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมา
เด่นกว่าคู่แข่ขันภายใต้สภาวะช่องทางการจาหน่ายหรือจุดขายที่เป็นจริง เช่น การวางขาย ณ แหล่งท่องเที่ยว
ซึ่งไม่มีชั้นหิ้ง วางอย่างเรียบร้อยเช่นเดียวกับในซุปเปอร์มาร์เก็ต การออกแบบ บรรจุภัณฑ์ย่อมต้องคานึงถึง
ความสามารถในการวางเรียงซ้อนได้อย่างมั่นคง เนื่องจากไม่มีชั้นหิ้งรองรับ เป็นต้น
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ด้วยการลอกเลียนแบบ ของคู่แข่งขันเป็นสิ่งที่ไม่สมควรทา อย่างยิ่ง เพราะจะ
มีวัฏจักรชีวิตบรรจุภัณฑ์สั้นมาก ในทางปฏิบัติทั่วไปการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ควรสอดคล้องกับกลยุทธ์ที่ตั้งไว้
และสร้างความแตกต่างในการออกแบบ เพื่อให้บรรลุถึงจุดหมายในการออกแบบ
(7) สิ่งแวดล้อม แม้ว่าในประเทศไทย ยังไม่มีองค์กรใด หรือหน่วยงานของรัฐออกกฏข้อบังคับ ต่อการ
ควบคุมดูแลปัญหาของบรรจุภัณฑ์ ที่มีผลกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง แต่กระแสการรณรงค์ ใช้
บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสภาพสิ่งแวดล้อม ได้รับความสนใจจากชุมชนเมืองมากยิ่งขึ้น การออกแบบบรรจุ
ภัณฑ์โดยใช้วัสดุ ที่นากลับมาผลิตใหม่สามารถลดปริมาณขยะและกาจัดได้ง่าย จึงเป็นจุดขายเพื่อเป็นการ
ส่งเสริมการจาหน่ายได้อย่างดี
ตามที่ได้อธิบายแล้วว่าบรรจุภัณฑ์ มีบทบาทในส่วนผสมการตลาด ในการทาหน้าที่เสริมกิจกรรมการตลาด
ในแต่ละขั้นตอนของวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ รายละเอียดปลีกย่อยในการช่วยเสริมกิจกรรมต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้
1. การใช้โฆษณา บรรจุภัณฑ์จาเป็นต้องออกแบบให้จาได้ง่าย ณ จุดขาย หลังจากกลุ่มเป้าหมายได้เห็นหรือฟัง
โฆษณามาแล้ว ในกลยุทย์นี้บรรจุภัณฑ์ มักจะต้องเด่น กว่าคู่แข่งขัน หรือมีกราฟฟิกที่สะดุดตาโดยไม่ต้องให้
กลุ่มเป้าหมายมองหา ณ จุดขาย
2. การเพิ่มช่องทางการจัดจาหน่าย หช่องทางการจัดจาหน่ายที่เปลี่ยนแปลงไป อาจจาเป็นต้องมี การ
ออกแบบปริมาณสินค้า ต่อหน่วยขนส่งใหม่เพื่อลดค่าใช้จ่าย หรือมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สาหรับจุดขายใหม่
การเพิ่มหิ้ง ณ จุดขายที่เรียกว่า POP (Point of Purchase) ดังภาพที่ 8 อาจมีส่วนช่วยส่งเสริมการขาย เมื่อ
เปิดช่องทาง การจัดจาหน่ายใหม่
3.เจาะตลาดใหม่ มีความจาเป็นอย่างยิ่งที่ต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ ในการเจาะตลาดใหม่ หรือ
กลุ่มเป้าหมายใหม่ ในบางกรณีอาจจาเป็นต้องเปลี่ยนตราสินค้าใหม่อีกด้วย
4.ผลิตภัณฑ์ใหม่ ถ้าผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นสินค้า ที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าเก่า เช่น เปลี่ยนจากการขาย
กล้วยตากแบบเก่า เพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่มาเป็น กล้วยตากชุบน้าผึ้ง อาจใช้บรรจุภัณฑ์เก่าแต่เปลี่ยนสีใหม่ เพื่อ
แสดงความสาพันธ์กับสินค้าเดิม หรืออาจใช้เทคนิคของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ยูนิฟอร์ม แต่ในกรณีที่เป็น
สินค้าใหม่ถอดด้ามจาต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่หมด แต่อาจคงตราสินค้าและ รูปแบบเดิมไว้เพื่อสร้าง
ความสัมพันธ์กับลูกค้ากลุ่มที่เคยเป็นลูกค้าประจา ของสินค้าเดิม ดังรูปที่ 9

~ 31 ~
5.การส่งเสริมการขาย จาเป็นอย่างยิ่งต้องมีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ เพื่อเน้นให้ผู้บริโภคทราบ
ว่า มีการเพิ่มปริมาณสินค้า การลดราคาสินค้า หรือการแถมสินค้า รายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ย่อมมีส่วนช่วย
ในการกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีความอยากซื้อมากขึ้น
6.การใช้ตราสินค้า เป็นสิ่งจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี เพื่อสร้างความทรงจาที่ดีต่อสินค้า บรรจุภัณฑ์ที่
มี ตราสินค้าใหม่ ความจะได้รับการออกแบบใหม่ด้วยการเน้นตราสินค้า
7.เปลี่ยนขนาดหรือรูปทรงของบรรจุภัณฑ์ โดยปกติสินค้าแต่ละชนิดมีวัฏจักร ชีวิตของตัวมันเอง
(Product Life Cycle) ดังรูปที่ 10 เมื่อถึงวัฏจักรชีวิตช่วงหนึ่ง ๆ จาเป็นต้องมีการเปลี่ยนโฉมของบรรจุภัณฑ์
เพื่อยืดอายุของวัฏจักร ในบางกรณี การเปลี่ยนขนาดอาจเกิดจากนวัตกรรมใหม่ ทางด้านบรรจุภัณฑ์ เช่น การ
เลือกใช้วัสดุใหม่จึงมีการเปลี่ยนรูปทรงหรือขนาด ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุใดก็ตามมีความจาเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมี
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ เพื่อรักษาหรือขยายส่วนแบ่งการตลาด
กิจกรรมทั้ง 7 ที่กล่าวมาแล้วนี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่าง ของกิจกรรมทางด้านการตลาด ที่ใช้บรรจุภัณฑ์ เป็น
กลยุทธ์ทางด้านการตลาด ปรากฏการณ์ทางด้านการตลาดอื่น ๆ ย่อมมีเกิดขึ้นหลายครั้ง ที่จะสามารถใช้ บรรจุ
ภัณฑ์ช่วยแก้ไขปัญหาทางด้านการตลาดได้
การพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์ทางด้านกราฟฟิกดังได้กล่าวมาแล้วอาจจะสรุปเป็นแผนภูมิง่าย ๆ ดังภาพที่ 11
สิ่งสาคัญที่สุดของการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ คือ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพราะว่าปัจจัยต่าง ๆที่มีอิทธิพล ใน
การออกแบบอาจเปลี่ยนแปลงได้อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยทางด้านตลาดและช่องทางการจาหน่าย
ด้วยเหตุนี้ความต้องการด้านตัวสินค้า และบรรจุภัณฑ์จาต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
โดยคานึงถึงปัจจัย ทางด้านการผลิต และความสามารถในการแปรรูปบรรจุภัณฑ์เป็นเกณฑ์
องค์ประกอบการออกแบบ
ตามที่ได้ทราบกันแล้ว องค์ประกอบบนบรรจุภัณฑ์ มีอยู่หลากหลายประเภท ณ จุดขายที่มีสินค้าเป็นร้อยให้
เลือก องค์ประกอบต่าง ๆ ที่ออกแบบไว้บนบรรจุภัณฑ์ จึงเป็นปัจจัยสาคัญในการเลือกซื้อบรรจุภัณฑ์และ
สินค้านั้น รายละเอียดหรือส่วนประกอบบนบรรจุภัณฑ์จะแสดงออกถึงจิตสานึกของผู้ผลิตสินค้า และสถานะ
(Class) ของบรรจุภัณฑ์ ซึ่งสามารถขยับเป็นสื่อโฆษณาระยะยาว ส่วนประกอบที่สาคัญบนบรรจุภัณฑ์อย่าง
น้อยที่สุดควรประกอบด้วย
1. ชื่อสินค้า
2. ตราสินค้า
3. สัญลักษณ์ทางการค้า
4. รายละเอียดของสินค้า
5. รายละเอียดส่งเสริมการขาย

~ 32 ~
6. รูปภาพ
7. ส่วนประกอบของสินค้า
8. ปริมาตรหรือปริมาณ
9. ชื่อผู้ผลิตและผู้จาหน่าย (ถ้ามี)
10. รายละเอียดตามข้อบังคับของกฎหมาย เช่น วันผลิต วันหมดอายุ เป็นต้น
เมื่อมีการเก็บข้อมูลของรายละเอียดต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วจึงเริ่มกระบวนการออกแบบ ด้วยการเปลี่ยนข้อมูล
ที่ได้รับมาเป็นกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์ จุดมุ่งหมายทั่ว ๆ ไปในการออกแบบมีดังนี้
(1) เด่น (Stand Out) ภายใต้สภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรง ตัวบรรจุภัณฑ์จาต้องออกแบบให้เด่นสะดุด
ตา (Catch the Eye) จึงจะมีโอกาสได้รับความสนใจ จากกลุ่มเป้าหมายเมื่อวางประกบกับบรรจุภัณฑ์ของ
คู่แข่ง เทคนิคที่ใช้กันมากคือ รูปทรงและขนาดซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน ของบรรจุภัณฑ์หรืออาจใช้ การตั้ง
ตราสินค้าให้เด่น เป็นต้น
(2) ตราภาพพจน์และความแตกต่าง (Brand Image Differentiate) เป็นความรู้สึกที่จะต้องก่อให้เกิดขึ้น
กับกลุ่มเป้าหมายเมื่อมีการสังเกตเห็น แล้วจูงใจให้อ่านรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์การออกแบบตราภาพพจน์
ให้มีความแตกต่างนี้ เป็นวิธีการออกแบบที่แพร่หลายมาก ความรู้สึกร่วมที่ดี การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เป็น
พาณิชย์ศิลป์ที่สร้างขึ้นเพื่อ ให้ผู้ซื้อเกิดความรู้สึกที่ดี ต่อศิลปะที่ออกแบบบรรจุภัณฑ์โดยรวมทั้งหมด เริ่มจาก
การก่อให้เกิดความสนใจด้วยความเด่น เปรียบเทียบรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อจูงใจให้ตัดสินใจซื้อ สร้างความ
มั่นใจเพิ่มขึ้นสาหรับกลุ่มเป้าหมายบางกลุ่ม และจบลงด้วยความรู้สึกที่ดีที่สามารถสนองต่อ ความต้องการของ
ผู้ซื้อได้ จึงก่อให้เกิดการตัดสินใจซื้อ “ซื้อฉันสิ” (Buy Me) จึงนับเป็นรูปธรรมสุดท้ายที่ บรรจุภัณฑ์ต้องทาให้
อุบัติขึ้น ด้วยเหตุนี้ การชักจูงหว่านล้อมโดยรูป คาบรรยาย สัญลักษณ์ หรือรางวัลที่ได้รับ ย่อมสร้างให้เกิด
ความรู้สึกอยากเป็นเจ้าของและอย่ากทดลองสินค้าพร้อมบรรจุ ภัณฑ์นั้น
ทฤษฎีตราสินค้า (Branding)
ในสภาพธุรกิจปัจจุบันที่เรียกว่าโลกานุวัตรนั้น ขอบเขตของช่องทางการจาหน่ายสินค้า จะไม่จากัดอย่าง
สมัยก่อน โดยสามารถนาไปจาหน่ายในอีกมุมหนึ่งของโลก รวมทั้งสามารถแหวกม่าน ของความแตกต่าง
ทางด้านเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรมได้ด้วยวิธีการสร้างบุคลิกที่เป็นเอกลักษณ์ (Identity) พร้อมกับการ
สร้างภาพพจน์ที่สามารถจดจาได้ง่าย (Recognition) ให้แก่สินค้า ทฤษฎีของตราสินค้า (Branding) เป็นวิธีการ
ง่าย ๆ มีหลักการพอสังเขป คือ การนาสินค้าที่เห็นอยู่ทั่ว ๆ ไป ซึ่งไม่มีความแตกต่างจากสินค้า ของคู่แข่งแต่
เพิ่มคุณค่าพิเศษลงไปที่สินค้า แล้วสร้างภาพพจน์ของสินค้าด้วยการตั้งชื่อ การใช้บรรจุภัณฑ์ และการโฆษณา
เข้าช่วยส่งเสริมภาพพจน์นั้น ๆ กลยุทธ์ทางการตลาดในการสร้างตราสินค้านี้เริ่มเกิดขึ้น ในประเทศ
สหรัฐอเมริกาเมื่อกว่า 100 ปีมาแล้วโดยสบู่ซันไลต์ จากนั้นได้รับการประยุกต์นามาใช้กับสินค้า พื้นบ้านต่าง ๆ

~ 33 ~
เช่น กาแฟ ชา ข้าวโอ้ต เป็นต้น ด้วยการตั้งชื่อใหม่ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัย ทาโฆษณาทั่วทั้งประเทศ
และสร้างเครือข่ายการขายทั่วทั้งประเทศด้วยระบบการจัดส่ง ที่ตรงต่อเวลาและ แน่นอน
การพัฒนาขั้นต่อมา ของการใช้ตราสินค้า คือ การแยกประเภทของสินค้าและเจาะกลุ่มเป้าหมาย ที่
แตกต่างกัน เพื่อขยายตลาดให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ ในยุคปัจจุบันจึงสามารถพบสินค้า ที่มี
อรรถประโยชน์แตกต่างกัน และเจาะกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มทุกเพศทุกวัย ไม่ยกเว้นแม้กระทั่ง อาหารสัตว์เลี้ยง
สาหรับสุนัข แมว และปลา เป็นต้น
การสร้างตราสินค้า (Branding) เมื่อกล่าวถึงตราสินค้า (Brand) จะหมายถึงสิ่งที่ผู้ซื้อจดจาได้และทาการ
เลือก ณ จุดขาย ทั้งที่ในอดีตกาลศัพท์คาว่า Branding มาจากการตีตราบนสัตว์ด้วยเหล็กที่เผาร้อนจนแดงใน
ปศุสัตว์ เพื่อเป็นการบ่งบอกว่าสัตว์นั้นเป็นของคอกใดเจ้าของใด ศัพท์คานี้ได้รับการประยุกต์มาใช้กับบรรจุ
ภัณฑ์ โดยหมายถึงภาพพจน์ของบรรจุภัณฑ์อุปโภคบริโภคที่บรรจุสินค้าอยู่ภายใน วิวัฒนาการของตราสินค้า
มิได้มีความหมายเฉพาะตราอย่างเดียว แต่รวมถึงรูปทรงโครงสร้างและการออกแบบทั้งหมดของบรรจุภัณฑ์
อุปโภคบริโภค จึงอาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า Total Branding
การสร้างตราสินค้า จนเป็นที่ยอมรับแก่กลุ่มเป้าหมาย เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาและเงินทุนพอสมควร
ยกตัวอย่างเช่น ผงซักฟอก “เปา” ที่พยายามสร้างตราสินค้า ให้เป็นที่ยอมรับแข่งกับ “แฟ้บ” เมื่อสิบกว่าปี
ก่อน เป็นต้น ถ้าสามารถสร้างตราสินค้า จนเป็นที่ยอมรับได้แล้ว ตราสินค้าจะเป็นสินทรัพย์ที่ประเมินค่ามิได้
ขององค์กรนั้น ๆ เนื่องจากผู้ซื้อที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจะมีความซื่อสัตย์และเชื่อถือในตราสิน ค้านั้น ๆ (Brand
Loyalty)
งานที่ยากที่สุดในการออกแบบตราสินค้า คือ การสร้างภาพพจน์ของบรรจุภัณฑ์และตัวสินค้า ตัวอย่างของ
ผงซักฟอก “เปา” เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในการสร้างภาพพจน์ให้แก่สินค้า โดยการสร้างภาพพจน์ ของความ
ยุติธรรม ด้วยการหยิบเอาความนิยมของภาพยนต์เปาบุ้นจิ้นมาเป็นอุปกรณ์ในการสร้างตราสิน ค้า (Brand
Device) เพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้ซื้อว่า จะได้สินค้าที่มีคุณภาพและราคายุติธรรม ตัวอย่างของผงซักฟอก
“เปา” แสดงให้เห็นว่า ความคิดริเริ่มเป็นสิ่งจาเป็นอย่างยิ่งในการออกแบบตราสินค้า
ภาพพจน์ของบรรจุภัณฑ์ที่สร้างขึ้น จาต้องทาให้กลุ่มเป้าหมายจดจาได้ง่าย (Recognition) การออกแบบ
ตราสินค้าจึงจาเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์ของตราสินค้าเข้ามาช่วย นอกเหนือจากสัญลักษณ์ทางการค้า (Logo) ยัง
มีชื่อและรูปภาพด้วย ในกรณีของผงซักฟอก “เปา” ดังกล่าวแล้วคือ รูปของท่านเปาบุ้นจิ้นและชื่อเปา ซึ่งตอน
แรกใช้ชื่อเต็มว่า “เปาบุ้นจิ้น” และต่อมาได้ย่อสั้นลงมาเหลือแต่คาว่า “เปา” นอกจากรูปของ ท่านเปาบุ้นจิ้นก็
ไม่ได้ใส่ เนื่องจากผงซักฟอก “เปา” นี้ติดตลาดเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้ว
ตราสินค้า (Brand) และสัญลักษณ์ทางการค้า (Logo) จากที่กล่าวมาแล้วจะพบว่าตราสินค้า เป็นการรวม
สิ่งที่มีคณ
ุ ค่า (Set of Values) ของตัวบรรจุภัณฑ์ไว้ในความทรงจาของกลุ่มเป้าหมาย ตราสินค้าที่ดีจะสื่อให้
ทราบถึงกลุ่มบริโภคสินค้าช่องทางการจัดจาหน่ายของ สินค้าและความรู้สึกที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ สืบเนื่องจากตรา

~ 34 ~
สินค้ามีหน้าที่ทาให้ผู้ซื้อ/กลุ่มเป้าหมายจาสินค้าได้ (Recognition) โดยมีสัญลักษณ์ทางการค้า และการ
ออกแบบกราฟฟิกผนวกอยู่บนบรรจุภัณฑ์ เราจึงกล่าวได้ว่าสัญลักษณ์ทางการค้า เป็นส่วนหนึ่ง ของตราสินค้า
ตามคาจากัดความจากหนังสือ Glossary of Package Terms สัญลักษณ์ทางการค้า (Logo) คือ คาที่มา
จาก Logotype เป็นสัญลักษณ์พิเศษที่ออกแบบมา โดยเฉพาะแทนตัวองค์กร เพื่อใช้ในการโฆษณา และการ
ส่งเสริม การจาหน่ายสินค้า และบริการขององค์กรที่มีขนาด และลักษณะเฉพาะแบบไม่ซ้ากับใคร เพื่อใช้ใน
กิจการทางด้านการตลาดต่างสถานที่ ด้วยวิธีการแตกต่างกันให้กลุ่มเป้าหมาย จาได้ว่าเป็น กิจกรรมขององค์กร
นั้น ๆ
ตราสินค้านั้นจะใช้กับสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ในขณะที่สัญลักษณ์ทางการค้าจะเป็นเครื่องหมาย ตัวแทน
ขององค์กร เมื่อไรก็ตามที่กิจกรรมทางด้านการตลาด กาหนดไว้ว่าจะต้องมีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ ตรา
สินค้าก็จะได้รับการออกแบบใหม่ไปด้วย ในขณะเดียวกันสัญลักษณ์ทางการค้าโดยส่วนใหญ่ จะยังคง
เหมือนเดิม อาจจะมีการเข้าใจผิดว่าสัญลักษณ์ทางการค้าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ แต่ในสภาพความเป็น
จริงแล้ว สัญลักษณ์ทางการค้า มักจะมีการออกแบบเปลี่ยนแปลงใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพบว่าไม่ทันสมัย
และไม่สามารถสร้างความประทับใจ ดังตัวอย่างของน้ามันเชลล์ ดังภาพที่ 12
การใช้ตราสินค้าในเมืองไทยนั้น ยังนิยมใช้รูปของเจ้าของกิจการมาเป็นสัญลักษณ์ทางการค้า ซึ่งอาจจะ
เป็นสมัยนิยมในอดีต แต่ในปัจจุบันนี้ถ้าใช้หลักทางด้านการตลาดสมัยใหม่ ในการออกแบบ ตราสินค้าแล้ว จะ
พบว่าสัญลักษณ์ทางการค้าดังกล่าว ไม่สามารถสนองกับจุดมุ่งหมายในการออกแบบ ตราสินค้าได้ดีนัก
เนื่องจากการสร้างภาพพจน์และการจาเป็นไปได้ยาก ยกเว้นว่ารูปเจ้าของกิจการที่ใช้ เป็นสัญลักษณ์ทางการค้า
นั้น เป็นที่รู้จักของคนทั่วประเทศหรือทั่วโลกที่ต้องการสินค้านั้นไปจาหน่าย ดังภาพที่ 13
วิเคราะห์ขั้นตอนการตัดสินใจเลือกซื้อ
ในตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มเป้าหมายที่จับจ่ายซื้อสินค้า มีเหตุจูงใจที่แตกต่างกัน การออกแบบ
บรรจุภัณฑ์ ทางด้านกราฟฟิกต้องพยายามสนองตอบต่อ สิ่งจูงใจของกลุ่มเป้าหมายที่จะให้เลือกซื้อสินค้า เช่น
กลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยว เป็นต้น กลุ่มเป้าหมายอาจมีการเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคแตกต่างกัน ซึ่งอาจ
แยกได้เป็นดังนี้
(1) ซื้อน้อยแบบดาวกระจาย กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้มักจะเป็นคนโสด ครอบครัวขนาดเล็ก และหนุ่มสาว
วัยรุ่นที่มีกาลังซื้อไม่มากนัก ซื้อสินค้าปริมาณน้อยชิ้น แต่อาจซื้อหลายประเภท ขึ้นอยู่กับกาลังการซื้อ การ
ออกแบบสาหรับกลุ่มเป้าหมายนี้ จะต้องคานึงถึงปริมาณต่อบรรจุภัณฑ์ที่น้อย มีความสะดวกในการใช้และเก็บ
หลังการใช้
(2) ซื้อมากแบบดาวเต็มฟ้า กลุ่มเป้าหมายนี้อาจจะกว้างกว่าหรือมีมากกว่ากลุ่มเป้าหมายแบบแรก การ
ออกแบบเพื่อการจับกลุ่มเป้าหมายนี้ให้ชัดเจนจึงค่อนข้างลาบากมากกว่า การออกแบบ ที่มุ่งให้ความสาคัญต่อ
สถานที่จาหน่ายสินค้าหรือจุดขายเป็นหลักในการออกแบบ พร้อมทั้งพิจารณาสภาวะคู่แข่ง ยกตัวอย่างเช่น

~ 35 ~
อาหารขบเคี้ยวสาหรับผู้ชาย จะต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สร้างความเป็นชายบนบรรจุภัณฑ์ และพยายามฉีก
แนวจากคู่แข่ง
(3) ซื้อแบบดาวดวงเด่น เป็นการซื้อแบบเฉพาะเจาะจง เช่น การซื้อเครื่องดื่มชูกาลัง กลุ่มเป้าหมาย จะ
สามารถกาหนดได้อย่างเด่นชัด การออกแบบจะเน้นอรรถประโยชน์และภาพพจน์ของสินค้าเป็นเกณฑ์ เหตุจูง
ใจในการซื้อสินค้าเหล่านี้เป็นการซื้อเพราะความนิยมและความเชื่อถือ
(4) ซื้อแบบดาวหาง คือ การซื้อแบบไม่ได้ตั้งใจ กล่าวคือ เกิดความอยากได้อย่างฉับพลันเมื่อเห็นสินค้า
บรรจุภัณฑ์สาหรับนักท่องเที่ยวนับได้ว่าเป็นการซื้อแบบดาวหาง การออกแบบจะเน้นสถานที่ผลิต ตราสินค้า
ส่วนประกอบทางโภชนาการของสินค้า เป็นต้น ส่วนรูปแบบกราฟฟิกค่อนข้างจะสะดุดตาและสะดวกในการ
นาพา

**Note : ให้นักศึกษาเข้าทากิจกรรมในระบบการเรียนการสอนออนไลน์ เพือ่ ติดตามภาระงานที่อาจารย์มอบหมายในแต่ละสัปดาห์ เช่น


แบบฝึกหัด, แบบทดสอบก่อนเรียน, แบบทดสอบหลังเรียน และกิจกรรมอื่นๆ เสมือนการเรียนในห้องเรียนจริง เป็นต้น

~ 36 ~
หน่วยที่ 4
กฎระเบียบข้อบังคับ
และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ (Packaging Specification)

ขนาดของบรรจุภัณฑ์
ขนาดของบรรจุภัณฑ์จะมีข้อบังคับในเรื่องของหีบห่อที่ไม่ใหญ่โตจนเกินไปซึ่งทาให้ไม่สามารถขนลอด
สะพานได้ หรือบรรจุภัณฑ์นั้นมีน้าหนักมากจนไม่สามารถใช้เครื่องมือ หรือรถยกได้ และในทางกลับกันถ้า
บรรจุภัณฑ์มีขนาดเล็กเกินไปก็จะเกิดความไม่สะดวกเช่นกัน
เครื่องหมายของการขนย้ายพัสดุ ตามมาตรฐาน ISO R 780
บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งโดยทั่วไปควรมีเครื่องหมายของการขนย้ายพัสดุ ถ้าการใช้ภาษาของประเทศ
ต้นทางบนบรรจุภัณฑ์ก็จะได้เพียงแต่การป้องกันความเสียหายได้เฉพาะต้นทางเท่านั้น เมื่อบรรจุภัณฑ์นั้นถึง
ปลายทางการป้องกันความเสียหายอาจจะไม่สามารถใช้ได้ เนื่องจากต่างประเทศไม่สามารถอ่านภาษาของ
ประเทศต้นทางออก
ดังนั้นสิ่งที่สามารถทาให้ทั้งประเทศต้นทางและปลายทางนั้นเข้าใจตรงกันคือรูปภาพ ซึ่งจะสามารถทา
ให้ตรงกับความต้องการของผู้ส่งอันจะเป็นการลดความเสียหายที่จะเกิดจากการขนส่งได้
แม้ว่าการใช้เครื่องหมายที่ถูกต้องเข้าใจตรงกันแล้วก็ตาม สิ่งที่ต้องคานึงเป็นสาคัญก็คือหน้าที่ของ
บรรจุภัณฑ์ในการที่จะสามารถปกป้องคุ้มครองตัวสินค้าได้นั้น คือ ส่วนที่สาคัญที่สุด
รูปเครื่องหมาย
รูปเครื่องหมายตามมาตรฐานสากล ไอ.เอส.โอ. อาร์ 780 ได้กล่าวถึงเครื่องหมายที่สาคัญ 7 ภาพ ซึง่
มีความหมายต่างๆ เพื่อแจ้งให้ผู้ขนส่งทราบว่าในการขนส่งนั้นมีสิ่งที่จะต้องพึงระวังในเรื่องใดบ้าง ทั้งนี้เพื่อการ
ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสินค้าหากไม่ปฏิบัติตามเครื่องหมายนั้นๆอันประกอบไปด้วย

~ 37 ~
เครื่องหมายของการขนย้ายพัสดุ ตามมาตรฐาน ISO R 780

~ 38 ~
~ 39 ~
สีของเครื่องหมาย
สีของเครื่องหมายนั้นตามมาตรฐานนี้ได้กล่าวไว้ให้ ใช้สีดาทั้งหมด จะใช้วิธีเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ ถ้าสี
ของบรรจุมีผลทาให้เห็นเครื่องหมายไม่ชัดเจน ให้เปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมที่สามารถทาให้เห็นเครื่องหมาย
ได้ชัดเจน
จานวนของเครื่องหมาย
จานวนของเครื่องหมายบนบรรจุภัณฑ์นั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้าว่าต้องการการปกป้องคุ้มครอง
ขนาดใด และในด้านใดบ้างทั้งนี้ผู้ใช้จะต้องเป็นผู้ตัดสินใจเอง และในกรณีที่บรรจุภัณฑ์ที่มีอันตรายจะต้องแสดง
เครื่องหมายนั้นเป็นอันดับแรกก่อนเครื่องหมายอื่นๆ

ตาแหน่งของการวางเครื่องหมาย
ตาแหน่งของการวางเครื่องหมายมักจะวางไว้ที่ด้านข้างของกล่องทั้ง 2 ข้าง หรือถ้าจะวางไว้ที่ด้าน
อื่นๆ อีกก็ได้ไม่จากัด กรณีของเครื่องหมายบางชนิดจะต้องวางให้ตรงตาแหน่งที่ต้องการ เช่น เครื่องหมายแนว
จุดศูนย์ถ่วง หรือเครื่องหมายคล้องที่นี่ เป็นต้น
ขนาดของเครื่องหมาย
ขนาดของเครื่องหมายที่นิยมใช้กันคือ 10 ซม. 15 ซม. 20 ซม. หรือจะมีขนาดอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้
ไม่ได้กาหนดตายตัว ทั้งนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม แต่ขนาดที่ดีนั้นถ้าขนาดเล็กไม่ควร
เล็กกว่า 10 ซม.

~ 40 ~
สัญลักษณ์สาหรับการขนย้าย (Handling Marks)

ตาแหน่งการพิมพ์ของสัญลักษณ์
ส่วนที่ 1 : เป็นรายละเอียดของผู้รับมีขนาดตัวอักษรประมาณ 2 นิ้ว บริเวณบรรทัดสุดท้ายของส่วนนี้
ได้แจ้งหมายเลขบรรจุภัณฑ์ต่อด้วยจานวนบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด
ส่วนที่ 2 : เป็นรายละเอียดของผู้จัดส่ง ใช้ตัวอักษรขนาดเล็กกว่าส่วนที่
ส่วนที่ 3 : เป็นบริเวณที่ใช้พิมพ์สัญลักษณ์สาหรับการขนย้าย

~ 41 ~
**Note : ให้นักศึกษาเข้าทากิจกรรมในระบบการเรียนการสอนออนไลน์ เพือ่ ติดตามภาระงานที่อาจารย์มอบหมายในแต่ละสัปดาห์ เช่น
แบบฝึกหัด, แบบทดสอบก่อนเรียน, แบบทดสอบหลังเรียน และกิจกรรมอื่นๆ เสมือนการเรียนในห้องเรียนจริง เป็นต้น

~ 42 ~
หน่วยที่ 5
กรณีศึกษา

คู่มือทั่วไปในการบรรจุหีบห่อของ Fedex
• ใช้บรรจุภัณฑ์ของเฟดเอ็กซ์ในการส่งพัสดุกับเฟดเอ็กซ์เท่านั้น ห้ามเอาไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น
• อาจใช้บรรจุภัณฑ์ของคุณเองหากกล่องนั้นแข็งแรง และไม่เสียหายหากถูกกระแทก
• กล่องชิปบอร์ด เช่น กล่องของขวัญ หรือกล่องรองเท้า จะต้องถูกบรรจุในกล่องลูกฟูกชั้นนอกอีกที
• ใช้กล่องสองชั้นสาหรับสินค้าที่มีน้าหนักมาก
• วางกล่องเล็กข้างในกล่องชั้นนอกที่ใหญ่กว่า สาหรับพัสดุที่เล็กกว่า18 ซม. x 10 ซม. x 5 ซม. (7" x 4" x 2")
ควรเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ของเฟดเอ็กซ์
• กล่องสองชั้นสาหรับพัสดุที่บอบบาง ใช้กล่องที่มีวัสดุกันกระแทกหนา 8 ซม. (3") บุภายใน และรอบกล่องที่
เล็กกว่า
• ห่อสินค้าแต่ละชิ้นด้วยวัสดุกันกระแทกและวางตรงกลางกล่องให้ห่างจากสินค้าชิ้นอื่น และด้านข้าง มุม
ด้านบน และด้านล่างกล่อง
• ขวดที่บรรจุของเหลวควรวางตั้งตรงขึ้น ใช้การปิดผนึกข้างในและฝาซึ่งแยกออกมาได้ บรรจุภัณฑ์ข้างในควร
จะสามารถกักน้าได้หากมีการรั่วไหล
• สาหรับสินค้าที่อาจเสียหายได้หากจัดการแบบปกติทั่วไป เช่น จากการเปื้อนสิ่งสกปรก การทาเครื่องหมาย
หรือรอยจากการติดป้ายให้วางไว้ในกล่องป้องกันด้านนอก
• สาหรับสินค้าที่มีรูปร่างไม่ปกติ อย่างน้อยคุณควรทาการห่อ และปิดเทปคลุมด้านที่เป็นของแหลม หรือส่วนที่
ยื่นออกมาทั้งหมด
• แนบฉลากพิเศษ นามบัตร หรือกระดาษหัวจดหมายไปกับที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ของผู้ส่ง และผู้รับไว้ในหีบ
ห่อ ก่อนทาการปิดผนึก
• หากเป็นกล่องเก่าที่นามาใช้หมด ต้องลบที่อยู่เก่าบนฉลากออกให้หมดก่อนทาการส่ง และให้แน่ใจว่า กล่อง
ภายนอกนั้นไม่มีรูฉีกขาด หรือรอยบุ๋ม

~ 43 ~
วิธีทั่วไปในการบรรจุหีบห่อ
• บรรจุสินค้าที่ไม่ได้แตกหักง่าย เช่นสินค้าที่พื้นผิวอ่อนนุ่ม
ไว้ภายในกล่องชั้นนอกที่แข็งแรง
• ใช้ตัวเติม เช่น เศษกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ย่อยแล้ว เม็ดโฟม หรือวัสดุกันกระแทกที่อัดอากาศข้างใน เช่น
บับเบิ้ลแรพ เพื่อเติมช่องว่างให้เต็ม และป้องกันการเคลื่อนไหวของสินค้าในกล่องระหว่างการส่ง
• สาหรับสินค้าที่อาจได้รับผลกระทบจากสิ่งสกปรก น้า หรือความเปียกชื้น ควรใส่ในถุงพลาสติก
• รวมชิ้นส่วนเล็กๆ หรือสินค้าที่กระจายได้ ใส่ไว้ในบรรจุภัณฑ์ที่แข็งแรงและปิดผนึก เช่น ถุงผ้า หรือ
ถุงพลาสติกก่อนใส่ลงไปในกล่อง ชั้นนอกที่แข็งแรง
• ใช้วิธีปิดเทปแบบ H

กล่องใบเดียวที่พัสดุถูกห่อไว้
สินค้าถูกห่อด้วยวัสดุกันกระแทกที่มี
ความหนาอย่างน้อย 8 ซม.(3”)

~ 44 ~
กล่องชั้นนอกที่แข็ง

การปิดผนึกกล่อง • ใช้เทปกาวพลาสติกสาหรับปิดฝากล่อง เทปกระดาษ กาวน้า (water-activated) (เกรด


แบบรับน้า หนักได้อย่างต่า 27กก. (60 lb.) หรือ เทปแบบ water-activated reinforced ที่ความกว้างอย่าง
น้อย 5 ซม. (2")
• ติดเทปปิดทุกรอยต่อให้เรียบร้อยทั้งด้านบนและด้านล่างของกล่องด้านนอก โดยใช้วิธตี ิดเทปแบบ H
• อย่าใช้เทปใส เทปกาว สายรัด หรือเชือก ในการปิดผนึกกล่อง

~ 45 ~
การติดที่อยู่และฉลาก
• แปะข้อมูลเกี่ยวกับการส่งทั้งด้านใน และด้านนอกกล่องอย่าลืมแปะที่อยู่ของผู้รับ และของตัวคุณเองด้วย
• อย่าใส่ที่อยู่ตู้ปณ. (P.O. box) สาหรับผู้รับในสหรัฐอเมริกา FedEx สามารถส่งไปยังที่อยู่ตู้ปณ. ได้ในบาง
สถานที่ รวมไปถึงเปอร์โตริโก้แต่คุณต้องให้เบอร์โทรศัพท์ และเบอร์แฟกซ์ หรือโทรเลขที่ติดต่อได้ของผู้รับด้วย
• หากมีฉลากของที่อยู่เดิมแปะอยู่บนกล่องด้านนอก ให้แกะฉลากออกหรือขีดฆ่าทิ้ง
• ป้ายฉลาก และใบสลิปควรติดที่ด้านเดียวกันกับพัสดุนั้น
• หลีกเลี่ยงการแปะป้ายฉลากบริเวณมุม หรือขอบของหีบห่อหรือส่วนต่อของวัสดุที่ใช้ห่อ
• แปะฉลากการส่งในด้านที่มีพืนที่ว่างมากที่สุด ในขณะที่เราไม่สามารถมั่นใจว่าวิธีการติดเครื่องหมายลูกศรว่า
“ตั้งด้านนี้ขึ้น”หรือ “ส่วนนี้อยู่ด้านล่าง” จะช่วยได้ แต่การติดฉลากการจัดส่งอย่างเหมาะสม จะช่วยเพิ่ม
โอกาสที่พัสดุจะถูกวางในด้านที่ถูกต้องได้
• ใช้ป้าย tie-on tag บนกล่องสาหรับการขนย้าย (รวมไปถึงงานแสดงสินค้า สินค้าตัวอย่าง ถุงกอล์ฟ สกี หรือ
กระเป๋าเดินทาง)
การบรรจุหีบห่อสาหรับสินค้าพิเศษ
• งานศิลปะ ใช้กระดาษกาวแปะเป็นกากบาทบนพื้นผิวกระจก เพื่อป้องกันไม่ให้กระจกแตก
• รูปภาพ และแผ่นโปสเตอร์ แปะเทปบนวัสดุแข็ง เช่นไม้อัดพลาสติก หรือชั้นต่างๆของแผ่นไฟเบอร์บอร์ด
หรืออีกทางเลือกหนี่ง คือ อาจวางภาพพิมพ์บนชิ้นของแผ่นลูกฟู แล้วติดเทปบนแผ่นทั้งสอง และรอยต่อ
ทั้งหมด
• แผ่นฟิมล์ที่ยังไม่ได้ล้าง ทาเครื่องหมายบนสินค้าให้ชัดเจนว่าได้บรรจุฟิลม์ที่ยังไม่ได้ล้าง สามารถขอฉลาก
พิเศษจากเฟดเอ็กซ์ได้
• ดนตรีเครื่องสาย คลายให้สายหย่อนเพื่อลดความตึงของสายเครื่องดนตรี
• สิ่งพิมพ์ ห่อสิ่งพิมพ์รวมกันเพื่อป้องกันการเคลื่อนตัว บุด้วยวัสดุกันกระแทก ก่อนที่จะบรรจุในกล่องชั้นนอก
ซึ่งทาจากลูกฟูกที่บุผนังสองชั้น
• วัสดุเป็นม้วน ห่อสินค้าที่อยู่ในม้วนอย่างหนาแน่นโดยใช้ฟิลม์พลาสติกที่ทนทานต่อการใช้งานพันหลายๆ ชั้น
หรือกระดาษคราฟท์ แล้วพันด้วยเทปพลาสติกหลักจากนั้นติดฉลากที่อยู่ไว้โดยรอบสินค้า หรือใช้ Pouch
(ซองพลาสติกใส่เอกสาร) เฟดเอ็กซ์ไม่สามารถให้การชดเชยได้หากเกิดความเสียหายสินค้า เนื่องจากมีการ
ป้องกันที่ไม่เพียงพอเวลาห่อสินค้า

~ 46 ~
การบรรจุหีบห่อสาหรับดอกไม้ และต้นไม้

ดอกไม้ที่จัดแล้ว
การบรรจุหีบห่อสาหรับดอกไม้ และต้นไม้
เมล็ดพืช และรากเพาะชา

~ 47 ~
การบรรจุหีบห่อสาหรับดอกไม้ และต้นไม้
ต้นไม้

การบรรจุหีบห่อสาหรับดอกไม้ และต้นไม้
กล้วยไม้

การบรรจุหีบห่อสาหรับ คอมพิวเตอร์

~ 48 ~
ใช้เม็ดโฟม (Loosefill Peanuts)

**Note : ให้นักศึกษาเข้าทากิจกรรมในระบบการเรียนการสอนออนไลน์ เพือ่ ติดตามภาระงานที่อาจารย์มอบหมายในแต่ละสัปดาห์ เช่น


แบบฝึกหัด, แบบทดสอบก่อนเรียน, แบบทดสอบหลังเรียน และกิจกรรมอื่นๆ เสมือนการเรียนในห้องเรียนจริง เป็นต้น

~ 49 ~
หน่วยที่ 6
บรรจุภัณฑ์เพื่อการนาเข้าและส่งออก
(Import and Export Packaging)

ปัจจัยพิจารณาการบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง
1. ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับสินค้า
2. ปัจจัยเกี่ยวกับความประหยัดในระบบการขนส่งและกระจายสินค้า
3. ปัจจัยด้านการผลิตสินค้า
4. ปัจจัยด้านความสะดวกในการใช้งานของผู้บริโภค
5. ปัจจัยด้านการสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องในระบบการขนส่ง
ความเสียหายที่เกิดขึ้นในการกระจายสินค้า (Distribution Hazards)
ความเสียหายต่างๆ แก่สินค้าในระหว่างการขนส่ง โยกย้าย และเก็บรักษา เป็นปัญหาพื้นฐานดั้งเดิมของการ
บรรจุภัณฑ์ประเภทหนึ่ง อย่างไรก็ตามบรรจุภัณฑ์ที่ดีที่สุดจะปกป้องสินค้าจากความเสียหายต่างๆ หรือ
สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากเกินควร เช่น ความเสียหายจากอุบัติเหตุ จึงเป็นไปเพื่อคุ้มครองสินค้าจากความ
เสียหายที่เกิดขึ้นในระบบการขนส่งโยกย้าย มี 5 ประการดังนี้
2.1 ความเสียหายจากการขนถ่ายลาเลียง
น้าหนักของสินค้า - สินค้าที่มีน้าหนักมาก เช่นเกิน 50 กิโลกรัม พบว่ามีการตกกระแทกบ่อยกว่า น้าหนักบรรจุ
สินค้าที่เหมาะสมในการขนถ่ายระหว่าง 10-25 กิโลกรัม
ขนาดและรูปทรงของสินค้า - สินค้ามีขนาด (กว้างxยาวxสูง) มากกว่า 70x50x50 ซม. และมีน้าหนักเกิน 25
กิโลกรัมไม่เหมาะกับการลาเลียงด้วยแรงงาน
ลักษณะของการลาเลียงขนถ่าย - จานวนครั้งและระยะการตกกระแทกของสินค้าขึ้นอยู่กับสภาพการขนส่ง
ลักษณะของสินค้า - สินค้าที่บอบบางหรือมีชิ้นส่วนที่แตกหักง่าย ย่อมเสียหายหากไม่ได้รับการหีบห่อหรือการ
ป้องกันที่เพียงพอ
จานวนครั้งของการขนถ่าย – ในการขนส่งกระจายสินค้าต้องโยกย้ายขนถ่ายลาเลียงหลายจุดหลายครั้ง ย่อมมี
โอกาสเสียหายมากกว่า เช่น ในการขนส่งไปต่างประเทศความเสียหายนี้จะเกิดขึ้นได้มากกว่าในประเทศ

~ 50 ~
2.2 ความเสียหายจากการขนส่ง
การขนส่งสินค้าไปยังสถานที่ต่างๆ ทั้งระยะไกลและใกล้มีทั้งทางบก น้า และอากาศ โดยอาศัยยานพาหนะ
ต่างๆ ได้แก่ รถไฟ รถยนต์ เรือ และเครื่องบิน มี 4 ลักษณะ
การขนส่งโดยรถไฟ - ความเสียหายจากการขนส่งนี้มักเกิดจากกระแทก เนื่องจากการกระแทกของหัวจักร
รถไฟและความเสียหายจากการสั่นสะเทือนภายใต้การกดทับของหีบห่อ
การขนส่งโดยรถยนต์ - ความเสียหายส่วนใหญ่มักเกิดจากการสั่นสะเทือน ซึ่งความรุนแรงจะมากหรือน้อยนั้น
ขึ้นอยู่กับสภาพถนน คุณสมบัติของสินค้า ระบบเครื่องยนต์และการสปริงตัวของรถ
การขนส่งโดยเครื่องบิน - เนื่องจากน้าหนักบรรทุกเป็นข้อจากัดสาคัญของการขนส่งทางอากาศ ดังนั้น
ภาชนะบรรจุที่ใช้สาหรับการขนส่งวิธีจึงมักเน้นให้มีน้าหนักเบาที่สุดที่จะทาได้
การขนส่งโดยเรือ - โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรือเดินสมุทร พบว่าเกิดความเสียหายได้หลายลักษณะ ทั้งทางกล ทั้ง
ทางสภาพดินฟ้าอากาศ ความเสียหายจากสิ่งมีชีวิต
2.3 ความเสียหายจากสภาพอากาศ
ความเสียหายจากสภาพอากาศนั้นมีความสัมพันธ์โดนตรงกับสภาพตลอดเส้นทางของการส่งสินค้า การ
เปลี่ยนแปลงความชื้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความชื้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง คุณสมบัติของสินค้าอย่างน้อย
5 ประการ ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น สินค้าเครื่องหนังจะแห้งแข็งหากอากาศแห้ง ขนมปังกรอบจะนิ่มและอ่อน
ตัวเมื่อชื้น
การเปลี่ยนแปลงทางเคมีฟิสิกส์ เช่น เกลือป่นและน้าตาลจับเกาะติดกันเป็นก้อน การเกิดหยดน้าเกาะที่สินค้า
เนื่องจากแตกต่างของอุณหภูมิและความชื้นของอากาศ ที่จุดเริ่มต้นและปลายทาง
การเปลี่ยนแปลงทางด้านจุลชีววิทยา เช่น การเกิดเชื้อราหรือบักเตรีที่ความชื้นสูง
การเปลี่ยนแปลงทางเคมี เช่น การเกิดสนิมเหล็ก การกัดกร่อนของโลหะ
การเปลี่ยนแปลงทางเอ็นซายมาติค โดยเฉพาะในอาหารสาเร็จรูปทาให้สินค้าเน่าบูด เสียหาย หรืออายุการเก็บ
รักษาของอาหารสั้นลง
2.4 ความเสียหายจากสิ่งมีชีวิต
ความเสียหายทางชีวะ เกิดจากสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในสภาพแวดล้อม ได้แก่ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น เชื้อบักเตรี เชื้อ
รา แมลงชนิดต่างๆ และหนู ตลอดจนจากการกระทาของมนุษย์ ทาให้สินค้าเสียหาย เช่น อาหารเสียเพราะมี
ราขึ้น สินค้าถูกหนูหรือแมลงสาบกัดแทะ

~ 51 ~
2.5 ความเสียหายจากเหตุอื่น
ความเสียหายจากการเก็บในคลังสินค้า ระหว่างรอการขนส่งหรือรอจาหน่าย การเก็บสินค้ารอไว้ในคลัง ต้องมี
การวางเรียงซ้อนเพื่อประหยัดเนื้อที่ หากจัดเรียงไม่เหมาะสมหรือสูงมากเกินระดับความสูง อาจเกิดการโค่น
ล้ม
ความเสียหายจากอุบัติเหตุ วินาศภัย การส่งผิดที่ อัคคีภัย ฯลฯ
ความเสียหายในลักษณะของการปนเปื้อน เช่น การถูกปนเปื้อน โดยสินค้าที่วางอยู่ใกล้ เช่น เปื้อนหมึกพิมพ์
หรือสนิมจากสิ่งที่ วางอยู่ใกล้
3. การป้องกันความเสียหายของสินค้าในการขนส่งกระจายสินค้า
1.การใช้ภาชนะบรรจุที่แข็งแรง สามารถรับแรงกดเมื่อเรียงซ้อนได้
2.การออกแบบภาชนะบรรจุให้มีขนาดและรูปร่างที่สอดคล้องกับวิธีขนส่งลาเลียงดังเช่น ขนาดหีบห่อที่
เหมาะสมสาหรับระบบการลาเลียงขนส่งแบบหน่วยใหญ่ โดยใช้เครื่องจักร แท่นรอบรับสินค้า
3.น้าหนักบรรจุที่เหมาะสมก็เป็นส่วนสาคัญต่อการขนถ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.การใช้แผ่นกั้น แผ่นรอง โฟม ฟองน้าพลาสติกอัดอากาศ เป็นวัสดุภายในเพื่อลดความรุนแรงการสั่นสะเทือน
และการตกกระแทก
5.การป้องกันความชื้นและไอน้าด้วยการห่อหุ้มสินค้าด้วยวัสดุที่ป้องกันความชื้นและไอน้าได้
6.การใช้ระบบขนถ่ายหน่วยใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยการใช้แท่นรองรับสินค้า และการใช้ตู้บรรจุสินค้า
4. ระบบการยกขนหน่วยใหญ่ (Unit Load System)
• ช่วยลดความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุในระหว่างการเคลื่อนย้าย
• ช่วยอานวยความสะดวกในการตรวจนับจานวนของหีบห่อสินค้า
• ช่วยให้การเรียงซ้อนเป็นไปอย่างสม่าเสมอและมั่นคง
• การขนถ่ายทาได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ส่งผลต่อการประหยัดค่าใช้จ่ายโดยรวม
4.1 การใช้แท่นรองรับสินค้า (Palletization) แท่นรองรับสินค้า (Pallet) เป็นอุปกรณ์สาคัญที่ใช้ช่วยรองรับ
หีบห่อสินค้าเพื่อการถ่ายขนส่ง และเก็บในคลังสินค้าเป็นหน่วยใหญ่ จะมีรูปร่างเป็นแบบถาดมีความคงตัวดี
เพื่อให้รองรับหีบห่อสินค้าขึ้นหรือลง เข้าหรือออก ตามจุดขนถ่ายต่างๆ โดยใช้รถยกช่วยซึ่งวัสดุที่ใช้ทาแท่น
รองรับสินค้า มีทั้งไม้ พลาสติก กระดาษ และโลหะ การเลือกใช้วัสดุชนิดใดนั้นขึ้นอยู่กับ
• น้าหนักของสินค้า - รับน้าหนักได้โดยมีตั้งแต่ระดับ 500-1500 กิโลกรัม

~ 52 ~
• ประเภทของการใช้งาน - ต้องการความเข้มแรงและวัสดุในการทาต่างกัน เช่น ใช้เฉพาะการเก็บและขนถ่าย
ในบริเวณโรงงาน
• รูปแบบของแท่นรองรับ - ส่วนใหญ่ของแท่นรองรับสินค้ามีลักษณะเป็นแผ่น (Flat Pallet) และมีการ
ออกแบบเพื่อใช้งานพิเศษอื่นบ้าง เช่น Box Pallet เป็นต้น
5.การบรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งออก
5.1 ปัจจัยพิจารณาการบรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งออก
ในการตัดสินใจด้านบรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งออก มีข้อพิจารณา 5 ปัจจัยดังนี้
ลักษณะและธรรมชาติของผลิตภัณฑ์ : ผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทย่อมเหมาะกับบรรจุหีบห่อที่แตกต่างกัน ทั้งใน
แง่วัสดุ การออกแบบและกระบวนการบรรจุหับห่อ ทั้งเพื่อการขายปลีกและเพื่อการขนส่ง
สภาพตลาดในต่างประเทศ : ต้องศึกษาว่าในต่างประเทศมีการแข่งขันกันหรือไม่อย่างไร พิจารณาถึงข้อมูล
เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศ เกี่ยวกับการใช้สินค้า วิธีการปริมาณ สินค้าที่ลูกค้าใช้
เพื่อที่จะตัดสินใจได้ถูกต้องว่าควรหีบห่อในลักษณะเพื่อการขายปลีกหรือหีบห่อรวมเพื่อให้ตรงกับความ
ต้องการศึกษาจนคู่แข่งมีการบรรจุหีบห่ออย่างไร ลักษณะการจัดจาหน่าย ต้องออกแบบให้เหมาะสมกับการ
วางจาหน่าย
ลักษณะวิธีการ เส้นทาง และระยะเวลาในการขนส่ง : การขนส่งสินค้าไปยังตลาดโดยวิธีการใดเป็นการลาเลียง
สินค้า ณ ประเทศปลายทาง
กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในตลาดต่างประเทศ : การขนส่ง ระหว่างประเทศ ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับบรรจุหีบ
ห่อสาหรับสินค้านาเข้าของประเทศต่างๆ ข้อห้ามที่ควรคานึงถึง วัสดุที่ใช้หีบห่อชนิดและประเภทของสินค้า
วิธีการบรรจุ การทาเครื่องหมาย ผู้ส่งออกอาจติดต่อสอบถามข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
กรมส่งเสริมการส่งออก
สถานเอกอัครราชทูตของประเทศต่างๆ
ผู้ซื้อหรือผู้แทนจาหน่าย
ไม่ควรมีการหีบห่อแบบจงใจเพื่อเลี่ยงภาษี
ต้นทุนและการประเมินค่าใช้จ่ายของบรรจุภัณฑ์ : การประกันภัย การบรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งออกต้องมีความ
แข็งแรง แน่นหนากว่าที่ใช้ในการขนส่งภายในประเทศ จึงเป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิตและบรรจุหีบห่อ
5.2 เทคนิคและการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งออก
ควรพิจารณาออกแบบให้บรรจุภัณฑ์มีความแข็งแรงเพียงพอสาหรับการขนส่งระหว่างประเทศ เพื่อป้องกัน
ความเสียหายของสินค้าในลักษณะและสาเหตุต่างๆ

~ 53 ~
คานึงถึงการออกแบบขนาดของบรรจุภัณฑ์ให้สามารถใช้ปริมาตรของพาหนะที่ใช้ในการขนส่งได้อย่างเต็มที่มี
น้าหนักบรรจุเหมาะสม และต้องออกแบบให้มีรูปลักษณะ และการใช้งานที่เหมาะสมกับสภาวะในต่างประเทศ
พิจารณาสภาวะของคลังสินค้าและการเก็บรักษาระหว่างการขนส่งตลอดจนวิธีการลาเลียงสินค้า ณ ประเทศ
ปลายทาง บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ขนส่งภายในประเทศมักไม่แข็งแรงเพียงพอที่จะใช้กับสภาวะต่างๆ และระยะเวลาที่
ยาวนานกว่าการขนส่งในประเทศ
การเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม ไม่ขัดต่อกฎระเบียบของประเทศผู้นาเข้าและสอดคล้องกับรสนิยมของ
ผู้บริโภคในประเทศต่างๆ
วิทยาการใหม่ที่ใช้กับบรรจุภัณฑ์ส่งออก เพื่อช่วยลดความเสียหายของสินค้าระหว่างการขนส่งระหว่างประเทศ
กรณีของการจัดส่งทางอากาศ มีข้อควรปฏิบัติ
 ควรใช้ภาชนะบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีเท่านั้น
 กรณีสินค้าเป็นของเหลวไม่ควรบรรจุจนเต็มพาชนะ ควรเผื่อพื้นที่ไว้บ้าง ป้องกันการรั่วไหลและบิด
เสียรูปของภาชนะ
 สินค้าที่แตกหักง่ายใส่วัสดุรองรับให้เกิดความยืดหยุ่นภายในลังไม้หรือกล่องกระดาษ
 สาหรับภาชนะบรรจุทั่วไป ควรเพิ่มกาลังการยึดโดยใช้สายคาด หรือเครื่องรัดภาชนะให้แน่นหนา
ยิ่งขึ้น
 สินค้าบางชนิดจะทาการขนส่งทางอากาศได้ต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของสมาคมการขนส่งทาง
อากาศระหว่างชาติ
อุปกรณ์บรรทุกสินค้าทางอากาศ Unit Loading Device (ULD)
เนื่องจากสินค้าที่ทาการขนส่งทางอากาศนั้นมีความจาเป็นเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทาการบรรจุสินค้าลงในตู้คอน
เทนเนอร์ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะสาหรับการขนส่งทางอากาศ ก่อนที่จะทาการบรรจุเข้าในตัวเครื่องบิน
เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ภายในเครื่องบินให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ตู้สินค้าสาหรับขนส่งสินค้าทางอากาศแต่ละตู้จะถูกวางตาแหน่งภายในเครื่องบิน เพื่อทาการปรับน้า
หนักภายในตัวเครื่องบินให้สมดุล ดังนั้น ก่อนที่ตู้สินค้าต่างๆจะถูกนาขึ้นเครื่องบิน ตู้สินค้าจะถูกจัดเรียงลาดับ
ก่อนหลังตามตาแหน่งระวางที่ได้คานวณน้าหนักไว้ นอกจากนี้ตาแหน่งที่จัดวางตู้สินค้าภายในเครื่องบินยัง
ขึ้นกับประเภทของเครื่องบินที่ใช้ในการขนส่งสินค้า ซึ่งประเภทของเครื่องบินที่ใช้ในการขนส่งทางอากาศก็จะมี
ความสัมพันธ์กับระยะทางที่ทาการขนส่งสินค้า
สายการบินขนส่งสินค้า (Cargo Airlines) สายการบินที่ให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ โดยจะมีตู้คอนเทน
เนอร์ที่ใช้ในเครื่องบินโดยเฉพาะ ให้บริการมีทั้งแบบตู้ทึบ ตู้แช่ และ แบบพาเลท -สายการบินที่ขนส่งสินค้า
โดยเฉพาะ เช่น เฟดเอ็กซ์ ดีเอชแอล เป็นต้น -สายการบินโดยสารที่มีบริการขนส่งสินค้า โดยประเภทนี้จะมี

~ 54 ~
สายการบินทั่วไป บริการ -สายการบินขนส่งสินค้าที่แยกออกจากสายการบินโดยสาร เช่น แยกชื่อ เป็นต้น เช่น
โคเรียนแอร์คาร์โก ไทยแอร์เวย์ คาร์โก ไชน่าแอร์ไลน์คาร์โก
ชนิดของภาชนะบรรจุที่นิยมใช้กับการขนส่งระหว่างประเทศ
1.กล่องกระดาษลูกฟูก – เป็นภาชนะบรรจุที่น้าหนักเบา ประหยัดสะดวกต่อการใช้งาน
2.ลังไม้ยึดด้วยตะปู – เป็นภาชนะที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่งในการขนส่งทางเรือ โดยเฉพาะสินค้าที่มีน้าหนัก
มากจนเกินไปนักเพราะลังไม้รับน้าหนักได้ไม่เสียรูปทรง
3.ลังโครงไม้ – มี 2 ชนิด คือ ชนิดโปร่งและชนิดทึบทั้งสองชนิดประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนต่างๆ ซึ่งทาหน้าที่เป็น
กรอบเสริม โครงสร้างให้แข็งแรงและอาศัยแนวทแยงเพื่อช่วยเสริมความมั่นคงของลัง
4.ลังไม้รัดด้วยลวด – ลังไม้รัดด้วยลวดและลังไม้แบบโครงไม้นิยมใช้ในการบรรจุสินค้าหลายชนิดที่ไม่มีปัญหา
เสียหายเนื่องจากลังบรรจุบิดเบี้ยวเสียรูป หรือถูกลักขโมยง่ายเหมาะเป็นลังภายนอก
5.ลังไม้อัดเสริมคร่าว - นิยมใช้ในการขนส่งต่างประเทศโดยเฉพาะในการขนส่งทางอากาศเนื่องจากมีน้าหนัก
เบาและมีความแข็งแรงพอประมาณ
6.ถังไม้ต่างๆ – เป็นภาชนะบรรจุเพื่อขนส่งมาตั้งแต่สมัยโบราณมีให้เลือกหลายชนิด สาหรับใช้กับสินค้า
ลักษณะต่างๆในการเลือกใช้จาเป็นต้องพิจารณาให้เหมาะสม
7.ถังโลหะ – เหมาะอย่างยิ่งกับการบรรจุของเหลวเพื่อการขนส่งต่างประเทศ แต่ต้องหลีกเลี่ยงถังเก่าที่มิได้
ปรับสภาพให้ดีก่อนนามาใช้ใหม่
8.ถังกระดาษ – ถังที่ผลิตด้วยกระดาษได้รับความนิยมสูงเพื่อใช้ในการส่งสินค้าออก
9.ห่อมัด – สามารถใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี แต่มีความบกพร่องที่ไม่สามารถป้องกันการลักขโมย จึงไม่ควร
บรรจุสินค้าที่มีค่ามาก
10.ถุงซ้อนหลายชั้น – เป็นที่นิยมใช้กันมาก โดยเฉพาะในการบรรจุสินค้าที่เป็นเม็ดผง หรือชิ้นใหญ่ เช่น
สารเคมีแห้ง
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ด้านกราฟฟิกและการสื่อสาร
มีหลักการและข้อเสนอแนะต่างๆเกี่ยวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งออกดังนี้
การออกแบบกราฟฟิกและคุณภาพการพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ที่จาหน่ายในประเทศ คือ การ จูงใจ ให้เกิดความ
ต้องการสินค้าเพื่อการจดจาสินค้าได้ง่าย เพื่อภาพลักษณ์ที่ต้องการของสินค้า ประเด็นที่เพิ่มเติม คือ ความเป็น
สากลของการออกแบบ และการสื่อความหมาย ความเหมาะสมสอดคล้องกับรสนิยมและวัฒนธรรม
การสื่อสารบนบรรจุภัณฑ์ขนส่ง โดยการเขียนข้อความหรือทาเครื่องหมายบนหีบห่อมีจุดประสงค์เพื่อชี้แจงให้
ผู้ขนส่งสามารถนาสินค้าไปยังผู้รับได้ถูกต้อง ปลอดภัยและครบถ้วน มีข้อปฏิบัติดังนี้

~ 55 ~
1) หลีกเลี่ยงการใช้ข้อความหรือเครื่องหมายลางเลือน ยุ่งเหยิง หรือคาโฆษณามากเกินไป
2) เมื่อมีกฎ หรือข้อบังคับระบุไว้กรณีสินค้าอาจเสี่ยงต่อการถูกลักขโมยควรหลีกเลี่ยงการแจ้ง
รายละเอียดใดๆ ที่ทาให้ทราบถึงลักษณะของสินค้าแต่ควรใช้ รหัสหรือตัวย่อแทนชื่อเดิม
3) ข้อความหรือเครื่องหมายต่างๆ โดยเฉพาะที่ระบุถึงผู้รับ ท่าปลายทาง ควรพิมพ์ตัวใหญ่ ให้อ่านง่าย
4) ใช้ภาษาหรือคาเตือนที่เป็นภาษาอังกฤษของจุดหมายปลายทางหรือใช้สัญลักษณ์แทน กรณีผู้ส่งอ่านไม่ออก
5) กรณีที่สินค้าที่ขนส่งจาเป็นต้องอาศัยวิธีการพิเศษในการเคลื่อนย้ายหรือเก็บรักษาควรทาเครื่องหมายเตือน
6) ศึกษากฎข้อบังคับของประเทศปลายทางเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ ที่ต้องระบุในหีบห่อ เช่น หลาย
ประเทศควรระบุว่าผู้ส่งออกต้องบอกแหล่งที่มาของสินค้า
7) ข้อความที่จาเป็นที่ควรเขียนลงบนบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยชื่อที่
อยู่ของผู้ส่งสินค้า ชื่อและเครื่องหมายของลูกค้า จานวนกล่องหรือลัง ท่าเรือจุดหมายปลายทาง สถานที่ดั้งเดิม
ของสินค้า เป็นต้น

**Note : ให้นักศึกษาเข้าทากิจกรรมในระบบการเรียนการสอนออนไลน์ เพือ่ ติดตามภาระงานที่อาจารย์มอบหมายในแต่ละสัปดาห์ เช่น


แบบฝึกหัด, แบบทดสอบก่อนเรียน, แบบทดสอบหลังเรียน และกิจกรรมอื่นๆ เสมือนการเรียนในห้องเรียนจริง เป็นต้น

~ 56 ~
หน่วยที่ 7
บรรจุภัณฑ์วัตถุอันตราย
Hazardous Packaging

ประเภทวัตถุอันตราย
สินค้าประเภทอันตราย คือ สาร สิ่งของ วัตถุหรือวัสดุ ที่อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของคน
สัตว์ ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม ระหว่างทาการขนส่ง ซึ่งมีการจัดประเภทสินค้าอันตรายจากลักษณะของความ
อันตรายของสารนั้น แบ่งออกได้ 9 ประเภท ดังนี้
1.วัตถุอันตรายประเภทที่ 1 วัตถุระเบิด (Explosives)
a. สารระเบิด หมายถึง ของแข็งของเหลว (หรือสารผสม) สามารถทาให้เกิด ปฏิกิริยาเคมีโดยตัวของมัน
เอง แล้วให้ก๊าซที่เมื่อถึงอุณหภูมิ และความดันหน่าง จะทาให้เกิดการระเบิดอย่างรวดเร็ว โดยสารประเภท
ดอกไม้เพลิงรวมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย
b. Pyrotechnic Substances หมายถึง สารหรือสารผสมออกแบบเพื่อให้เกิดความร้อน และก๊าซ หรือ
ควัน หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน
c. สิ่งของระเบิดได้ หมายถึง สิ่งของที่มีส่วนประกอบของสารระเบิดหนึ่งอย่างหรือมากกว่า
2. วัตถุอันตรายประเภทที่ 2 ก๊าซ (Gases)
หมายถึง สารที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส และความดันปกติ 101.3 กิโลปาสกาล ผสมกับอากาศที่สามารถ
ติดไฟได้ที่ความเข้มข้นร้อยละ 13 หรือต่ากว่าโดยปริมาณ หรือมีช่วงกว้างของการติดไฟเมื่ออยู่ในอากาศตั้งแต่
ร้อยละ 12 ขึ้น ไป
3.วัตถุอันตรายประเภทที่ 3 ของเหลวไวไฟ (Flammable liquids)
หมายถึง ของเหลว หรือของเหลวผสม หรือของเหลวที่มีสารที่ปกติเป็นของแข็งละลายอยู่ หรือของเหลวที่สาร
แขวนลอยผสมซึ่งมีจุดวาบไฟ ที่อุณหภูมิต่ากว่า 60.5 องศาเซลเซียส นอกจากนั้นวัตถุอันตรายประเภทนี้ ยัง
หมายถึงของเหลวซึ่งในการขนส่งต้องมีอุณหภูมิมากกว่า หรือเท่ากับจุดวาบไฟของของเหลว ซึ่งจะให้ไอระเหย
ของสารที่สามารถติดไฟได้ที่อุณหภูมิเท่ากับหรือต่ากว่าอุณหภูมิต่าสุดที่สามารถใช้ในการขนส่งได้
4.วัตถุอันตรายประเภทที่ 4 ของแข็งไวไฟ
สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง และสารที่สัมผัสกับน้าแล้วทาให้เกิดก๊าซไวไฟ (Flammable Solids,
Substances Liable to spontaneous combustion, Substances which in contact with water emit

~ 57 ~
flammable gases) คือ สารที่เกิดการลุกไหม้ได้เองสารที่ให้ก๊าซไวไฟเมื่อสัมผัสกับน้า แบ่งเป็น 3 ประเภท
ย่อยดังต่อไปนี้
1. ของแข็งไวไฟ หมายถึง ของแข็งซึ่งระหว่างการขนส่งสามารถที่จะเผาไหม้ได้ง่ายและอาจลุกไหม้ได้
2. สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกใหม่ได้เอง หมายถึง สารที่อาจร้อนขึ้นมาและสามารถลุกไหม้ได้เองภายใต้
ภาวะปกติในระหว่างการขนส่ง เมื่อสัมผัสกับอากาศแล้วจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้ติดไฟได้
3. สารที่ให้ก๊าซไวไฟเมื่อสัมผัสกับน้า หมายถึง สารเมื่อทาปฏิกิริยากับน้า หมายถึง สารเมื่อทาปฏิกิริยา
กับน้าแล้วอาจลุกไหม้ได้ เอง หรือให้ก๊าซไวไฟ ในปริมาณที่อาจเป็นอันตรายได้

5. วัตถุอันตรายประเภทที่ 5 สารออกซิไดซ์และสารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ (Oxidizing substances and


Organic peroxides)
1. สารออกซิไดซ์ (Oxidizing substances) หมายถึง สารที่ด้วยตัวของสารเองไม่จาเป็นต้องติดไฟ แต่
โดยทั่วไปจะปล่อยออกซิเจน ซึ่งเป็นก๊าซที่เป็นสาเหตุหรือร่วมในการลุกไหม้ของวัสดุอื่น สารประเภทนี้บาง
ชนิดรวมอยู่ในสิ่งของอื่นได้ด้วย
2. สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ (Organic peroxides) หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีโครงสร้างออกซิเจน 2
อะตอมดังนี้ -O-O- ซึ่งอาจจะถือได้ว่าเป็นสารที่มีอนุพันธ์ของ hydrogen peroxide ซึ่งอะตอมของ
hydrogen นี้ถูกแทนที่ด้วยอนุมูล (radical) 1 หรือ 2 ตัว ถูกแทนที่ด้วย Organic radicals สารเปอร์ออกไซด์
อินทรีย์เหล่านี้เป็นสารไม่เสถียร เมื่อถูกความร้อนจะเกิดการแตกตัวรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการคายความ
ร้อนออกมาก หรือเร่งการแตกตัวด้วยตัวเอง และอาจมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
- แนวโน้มที่จะระเบิดสลายตัว
- เผาไหม้อย่างรวดเร็ว
- ไวต่อการกระแทกหรือการเสียดสี
- ทาปฏิกิริยากับสารอื่นก่อให้เกิดอันตรายได้
- เป็นอันตรายต่อตา
6. ประเภทที่ 6 สารพิษและสารติดเชื้อ (Toxic and Infections substances)
1. สารพิษ (Toxic substances) หมายถึง สารพิษที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หรือบาดเจ็บร้ายแรง หรือเป็น
อันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ ซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกาย โดยการกลืน การสูดดม หรือจากการสัมผัสทางผิวหนัง
2. สารติดเชื้อ (Infections substances) หมายถึง สารที่รู้ว่าหรือคาดว่ามีเชื้อโรครวมอยู่ด้วย เชื้อโรค
หมายถึง สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก รวมทั้งแบคทีเรีย ไวรัส แบคทีเรียกับราบางชนิดปนกัน พยาธิ เชื้อรา หรือ

~ 58 ~
เชื้อจุลินทรีย์ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ซึ่งเชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้เป็นที่รู้จักกันว่าหรือคาดว่าสามารถ
ทาให้เกิดโรคติดเชื่อได้ในสัตว์หรือมนุษย์
7. วัตถุอันตรายประเภทที่ 7 วัตถุกัมมันตรังสี (Radioactive Material)
หมายถึง วัตถุใดที่มีนิวเคลียร์ที่สามารถแผ่รังสีที่มองไม่เห็น ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย การพิจารณาความเป็น
อันตรายให้เป็นไปตามมาตรฐานและข้อกาหนดต่าง ๆ ด้านการขนส่งสารกัมมันตรังสีของทบวงการพลังงาน
ปรมาณูระหว่างประเทศ โดยมีคุณสมบัติของวัตถุกัมมันตรังสี ดังนี้
1. วัตถุกัมมันตรังสี มีทั้งที่เป็นอันตรายมากและน้อย เนื่องจากรังสีที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จะเป็น
อันตรายต่อเนื้อเยื้อต่าง ๆ ของร่างการของสิ่งมีชีวิต
2. ในการขนส่งสินค้าหากสารใดที่มีที่มีค่ากิจกรรมเฉพาะมากกว่า 70 kBq/kg (0.002 Uci /g ให้จัดอยู่
ในประเภทนี้
8. วัตถุอันตรายประเภทที่ 8 สารกัดกร่อน (Corrosive substances)
สารกัดกร่อนมีคุณสมบัติดังนี้
1. สารประเภทนี้ ในสภาพปกติเป็นได้ทั้งของแข็งและของเหลว และมีฤทธิ์กัดกร่อนเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต
และหากมรการรั่วไหลของสารจากภาชนะบรรจุ ทาให้เกิดความเสียหายกับสภาพแวดล้อมได้
2. ไอระเหยของสาร อาจเป็นอันตรายตานัยน์ตาและโพรงจมูก
3. สารบางชนิดอาจให้ก๊าซพิษเมื่อสลายตัว เมื่ออยู่ในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง
4. สารบางชนิดอาจมีคุณสมบัติติดไฟได้ด้วย
5. สารทุกชนิดในประเภทนี้ทาอันตรายต่อวัสดุต่าง ๆ เช่น โลหะ ใยสังเคราะห์
6. สารบางชนิดจะมีฤทธิ์กัดกร่อนต่อเมื่อทาปฏิกิริยากับน้าหรือความชื้น
7. สารบางชนิดเมื่อทาปฏิกิริยากับน้าแล้วจะให้ก๊าซไวไฟ
8. สารบางชนิดเมื่อทาปฏิกิริยากับน้าหรือสารอินทรีย์จะให้ความร้อนสูงมาก
9. วัตถุอันตรายประเภทที่ 9 สารและสิ่งของอันตรายเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Dangerous Substances
and Articles)
หมายถึง สารและสิ่งของที่ในขณะขนส่งมีความเป็นอันตราย ซึ่งไม่จัดอยู่ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 8 และให้
รวมถึงสารที่มีอุณหภูมิไม่ต่ากว่า 100 องศาเซลเซียส ในสภาพของเหลวหรือมีอุณหภูมิไม่ต่ากว่า 240 องศา
เซลเซียส ในสภาพของแข็ง

~ 59 ~
บรรจุภัณฑ์วัตถุอันตราย
บรรจุภัณฑ์ หรือภาชนะบรรจุสาหรับวัตถุอันตราย แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ดังต่อไปนี้
1. บรรจุภัณฑ์ (Packaging) หมายถึงภาชนะปิด และองค์ประกอบอื่น ๆ หรือ วัสดุที่จาเป็นเพื่อให้ภาชนะปิด
ทับ สามารถทาหน้าทีปกปิดสิ่งที่บรรจุอย่างมิดชิด แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ตามความอันตรายของสาร ดังนี้
กลุ่มการบรรจุที่ l - สารที่มีความอันตรายมาก
กลุ่มการบรรจุที่ ll - สารที่มีความเป็นอันตรายปานกลาง
กลุ่มการบรรจุที่ lll – สารที่มีความเป็นอันตรายน้อย
รหัสของบรรจุภัณฑ์
1A1 / X / 250 /89/S/SR391 : ถังที่ทาด้วยเหล็ก ด้านบนมีช่องสาหรับเปิด สามารถทนแรงดันได้ 250 กิโล
ปาสกาล (kPa)
ความหมายของรหัส
1A1 หมายถึง รหัสแทนชนิดของตัวภาชนะ
X หมายถึง กลุ่มการบรรจุ
250 หมายถึง แรงดันที่สามารถทนทานได้
89 หมายถึง ปีที่ผลิต
S หมายถึง ประเทศที่ทาการทดสอบ
SR 319 หมายถึง หมายเลขเฉพาะของสถาบันตรวจสอบมาตรฐาน
2. IBCs (Intermediate Bulk Containers) หมายถึง บรรจุภัณฑ์ที่คงรูป หรือยืดหยุ่นสามารถเคลื่อนย้าย
และมีคุณสมบัติดังนี้
- ความจุ(i) ไม่เกิน 3.0 ลูกบาศก์เมตร (3,000 ลิตร) สาหรับของแข็งและของเหลวในกลุ่มบรรจุที่ ll
และ lll;(ii) ไม่เกิน 1.5 ลูกบาศก์เมตร สาหรับของแข็งในกลุ่มการบรรจุที่ l เมื่อบรรจุที่ IBCs ที่ทาจากพลาสติก
คงรูป วัตถุประกอบ แผ่นไฟเบอร์และไม้;(iii) ไม่เกิน 3.0 ลูกบาศก์เมตร สาหรับของแข็งในกลุ่มการบรรจุที่ l
เมื่อบรรจุใน IBCs ที่เป็นโลหะ;(iv) ไม่เกิน 3.0 ลูกบาศก์เมตร สาหรับวัสดุกัมมันตรังสีประเภทที่ 7
- ได้รับการออกแบบสาหรับขนย้ายด้วยเครื่องจักร
- ผ่านการทดสอบความต้านทานต่อความเค้นที่เกิดจากการขนย้าย และการขนส่ง

~ 60 ~
2.2 รหัสสาหรับระบุประเภทของภาชนะบรรจุ IBCs
11C/X/01 93/S/Aurigny 9876/3000/910 :ภาชนะบรรจุๆไม้สาหรับบรรจุของแข็ง มีการบุรองภายในและ
จัดอยู่ในกลุ่มการบรรจุที่ 1 สาหรับของแข็ง
2.2.2 ความหมายของรหัส
11 หมายถึง ประเภทของภาชนะบรรจุ
C หมายถึง วัสดุที่ใช้
X หมายถึง กลุ่มการบรรจุ (เฉพาะ IBCs กลุ่มบรรจุ X จะใช้สาหรับของแข็งเท่านั้น) 01
93 หมายถึง เดือน ปี ที่ทาการผลิต S หมายถึง ประเทศผู้รับรองต้นทางของภาชนะบรรจุ Aurigny
9876 หมายถึง ชื่อหรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิต
3000 หมายถึง น้าหนักที่ใช้ในการทดสอบการวางซ้อนทับ (กิโลกรัม) (IBCs ที่ไม่ได้ออกแบบมา
สาหรับการวางซ้อนทับต้องแสดง “O” เอาไว้ )
910 หมายถึง มวลรวมสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้ได้ (กิโลกรัม)
3. บรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ (Large Packaging) ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ที่ประกอบด้วยบรรจุภัณฑ์ภายนอก ซึ่ง
บรรจุสิ่งของ หรือบรรจุภัณฑ์ภายใน และโดยที่- ได้รับการออกแบบสาหรับขนถ่ายด้วยเครื่องจักรมีมวลสุทธิ
เกิน 400 กิโลกรัม หรือมีความจุเกิน 450 ลิตร แต่มีปริมาณไม่เกิน 3 ลูกบาศก์เมตร
รหัสสาหรับระบุประเภทของภาชนะบรรจุขนาดใหญ่ 50A/X/05 96/N/PQRS/2500/1000 : บรรจุภัณฑ์
เหล็กกล้าขนาดใหญ่เหมาะกับการวางซ้อนทับรับน้าหนักจากการวางซ้อนทับได้ 2.500 กิโลกรัม มวลบรรจุรวม
สูงสุด 1,000 กิโลกรัม
50A/X/05 96/N/PQRS/2500/1000 :
ความหมายของรหัส
50 หมายถึง บรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่คงรูป หรือ 51 สาหรับบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ ที่ยืดหยุ่น
A หมายถึง ชนิดของวัสดุที่ใช้
X หมายถึง กลุ่มการบรรจุ
05 96 หมายถึง เดือน ปี ที่ทาการผลิต
N หมายถึง ประเทศผู้รับรองต้นทางของภาชนะบรรจุ
PQRS หมายถึง ชื่อหรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิต
2500 หมายถึง น้าหนักที่ใช้ในการทดสอบการวางซ้อนทับ (กิโลกรัม)
1000 หมายถึง มวลรวมสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้ได้ (กิโลกรัม)

~ 61 ~
แท็งก์คอนเทนเนอร์ (Tank Container) โดยปกติมีขนาด 6 x 2.5 เมตร ปริมาตรบรรจุไม่เกิน 24,000 ลิตร
วัสดุที่ใช้ผลิตเป็นเหล็กสแตนเลส แท็งก์บางชนิดจะมีฉนวนหุ้มหนา ซึ่งทาจาก Polyurethane
foam,Polystyrene foam, Mineral wall หรือFiberglass โดยมีเปลือกนอกที่ทาด้วยโลหะหรือพลาสติกหนา
เกินกว่า 1 มิลลิเมตร ความดันภายในแท็งก์ส่วนใหญ่จะประมาณ 100 PSI (6867 Bar)
การขนส่งวัตถุอันตราย
กฎหมายในการขนส่งวัตถุอันตราย ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย ปีพุทธศักราช 2535 ได้กาหนดให้ผู้ที่
ได้รับใบอนุญาตผลิต นาเข้า ส่งออกและมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายซึ่งทาการขนส่งวัตถุอันตราย ต้องจัด
ให้มี
1. ยานพาหนะที่เหมาะสมและปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตราย ในกรณีที่ต้องบรรทุกวัตถุอันตรายรวม
กับสิ่งอื่น ต้องแยกวัตถุอันตรายไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก โดยมีสิ่งห่อหุ้มเพื่อป้องกันมิให้วัตถุอันตรายหกหรือ
รั่วไหล
2. สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายแสดงคุณสมบัติของวัตถุอันตรายที่ทาการขนส่งรวมทั้งคาว่า “วัตถุ
อันตราย” เป็นอักษรสีแดงเห็นได้ชัดเจน ติดไว้ข้างยานพาหนะทั้งสองข้าง
3. เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสาหรับผู้ขับขี่ยานพาหนะและอุปกรณ์สาหรับป้องกัน
อุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการหกหรือรั่วไหลของวัตถุอันตราย
4. เอกสารแสดงข้อมูลความปลอดภัยของวัตถุอันตรายที่ทาการขนส่ง เพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานหรือ
พนักงานเจ้าหน้าที่ในขณะที่ขนส่งกรณีที่มีการขนส่งวัตถุอันตรายเกิน 1,000 กิโลกรัม หรือ 1,000 ลิตร
5. ผู้ขับขี่ยานพาหนะซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับวัตถุอันตรายที่ทาการขนส่ง โดยผ่านการฝึกอบรมการป้องกัน
และระงับอันตรายจากวัตถุอันตราย
6. บริเวณที่จอดยานพาหนะเพื่อการขนส่งต้องกว้างขวางเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดเหตุราคาญหรือเป็น
อุปสรรคต่อการสัญจรของสาธารณชน
ประกาศ กรมขนส่งทางบก เรื่องการติดป้ายอักษร ภาพและเครื่องหมายของรถบรรทุกวัตถุอันตราย
พ.ศ.2555 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2555
มีสาระสาคัญ คือ ต้องติดป้ายแสดงความเสี่ยง หมายเลขแสดงความเป็นอันตรายและหมายเลขสหประชาชาติ
(UN number) ที่ด้านข้าง ด้านหน้าของหน่วยการขนส่งสินค้าอันตราย
เครื่องหมายและป้ายบนรถขนส่งสินค้าอันตราย
– ตรวจสอบประเภทความอันตราย และหมายเลขแสดงความเป็นอันตรายจากบัญชีรายชื่อ
สินค้าอันตราย

~ 62 ~
– ติดป้ายสีส้ม
ป้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีส้ม สูงไม่น้อยกว่า 30 ซม. กว้าง 40 ซม.
ขอบขนาดไม่เกิน 15 มม. โดยมีหมายเลขสหประชาชาติ(ล่าง)
และหมายเลขแสดงความเป็นอันตราย(บน) สูง 10 ซม.
หนา 15 มม. คั่นด้วยเส้นนอน โดยเส้นและหมายเลขทั้งหมดเป็นสีดา
– ติดเครื่องหมายแสดงความเป็นอันตราย
มีขนาดด้านละไม่น้อยกว่า 25 ซม. มีเส้นขนาด 1.25 ซม.
ตัวเลขแสดงประเภทหรือหมวด สูงไม่น้อยกว่า 2.5 ซม.
อาจติด เครื่องหมายเตือนอุณหภูมิสูง สาหรับสินค้าสินค้าอันตราย
ประเภทที่ 9 ที่เป็นของเหลวมีอุณหภูมิสูงเกินกว่า 100 °C
หรือ ของแข็งที่มีอุณหภูมิเกินกว่า 240°C
– ติดเครื่องหมายสาหรับสารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
เป็นป้ายรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสวางทามุม 45 องศา กับแนวระนาบ
มีความยาวด้านละไม่น้อยกว่า 25 ซม.
จานวนและตาแหน่งเครื่องหมายและป้ายบนรถขนส่งสินค้าอันตราย
1. สินค้าอันตรายบรรจุในบรรจุภัณฑ์ แล้วนาไปบรรทุกบนรถบรรทุก
– ให้ติดเพียงป้ายสีส้มโดยไม่ต้องระบุ
หมายเลขที่ด้านหน้าและด้านหลัง
ไม่ต้องติดเครื่องหมายแสดงความเป็นอันตราย
– กรณีสินค้าอันตรายประเภท 1 หรือ 7
จะต้องติดเครื่องหมายแสดงความเป็นอันตราย
ที่ด้านข้างทั้ง 2 ด้าน และที่ด้านท้ายด้วย
2. สินค้าอันตรายบรรทุกในตู้คอนเทนเนอร์
ให้ติดป้ายสีส้มโดยไม่ต้องระบุหมายเลขด้านหน้าและด้านหลัง และติดเครื่องหมายแสดงความเป็นอันตรายที่
รอบตัวตู้คอนเทนเนอร์

~ 63 ~
3. สินค้าอันตรายชนิดเดียวบรรทุกใน Tank Container
– ให้ติดป้ายสีส้มโดยไม่ต้องระบุหมายเลขด้านหน้าและด้านหลังของรถ
และติดป้ายสีส้มที่ระบุตัวเลขที่ด้านข้างของ Tank Container และติดเครื่องหมายแสดงความเป็นอันตรายที่
รอบตัว Tank Container
4. สินค้าอันตรายชนิดเดียวบรรทุกในตัวถังส่วนบรรทุกของรถ
– ติดป้ายสีส้มโดยพร้อมระบุหมายเลขด้านหน้าและด้านหลัง
ติดเครื่องหมายแสดงความเป็นอันตรายที่ด้านข้างทั้ง 2 ด้าน และที่ด้านท้าย
5. สินค้าอันตรายหลายชนิด บรรทุกในตัวถังส่วนบรรทุกของรถ
– ติดป้ายสีส้มโดยไม่ต้องระบุหมายเลขด้านหน้าและด้านหลัง และติดเครื่องหมายแสดงความ
เป็นอันตรายของสินค้าอันตรายทุกชนิดที่ด้านท้าย
– ติดป้ายสีส้มโดยระบุหมายเลข และติดเครื่องหมายแสดงความเป็นอันตรายที่ด้านข้างทั้ง 2
ด้านของถังบรรทุกตามชนิดสินค้าอันตราย
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กาหนดขนาด จานวน และคุณภาพของเครื่องดับเพลิงสาหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ลักษณะ 4 (รถบรรทุกวัสดุอันตราย) พ.ศ.2556 ลงวันที่ 18 กันยายน 2556
มีสาระสาคัญ คือ กาหนดให้รถบรรทุกวัตถุอันตรายต้องมีเครื่องดับเพลิงแบบยกหิ้วชนิดผงเคมีแห้ง ขนาด
อย่างน้อย 2 กก.อย่างน้อย 1 เครื่องในห้องผู้ขับรถ และที่ด้านหลังห้องผู้ขับรถหรือส่วนที่บรรทุก
o สาหรับรถที่มี GVW ไม่เกิน 3,500 กก. จะใช้ขนาดอย่างน้อย 2 กก. อย่างน้อย 1 เครื่อง
o สาหรับรถที่มี GVW. เกิน 3,500 กก. แต่ไม่เกิน 7,500 กก. จะใช้ขนาดอย่างน้อย 6 กก. อย่าง
น้อย 1 เครื่อง
o สาหรับรถที่มี GVW. เกิน 7,500 กก. จะใช้ขนาดอย่างน้อย 10 กก. อย่างน้อย 1 เครื่อง
o รถใหม่บังคับใช้ 12 ธ.ค.56 , รถที่จดทะเบียนแล้วบังคับใช้ 12 มิ.ย.57
ทั้งนี้การติดตั้งเครื่องดับเพลิงด้านหลังห้องผู้ขับรถ จะใช้บังคับกับรถที่ขนส่งวัตถุอันตรายที่มีปริมาณ
การขนส่งเกินกว่าตามที่กาหนดในตารางท้ายประกาศ ซึ่งเป็นไปตามข้อกาหนด TP2 และ ADR
อุปกรณ์ที่ต้องมีประจารถ

~ 64 ~
อุปกรณ์อื่นที่ควรมีเพิ่มเติม

~ 65 ~
ข้อมูลที่ต้องระบุในเอกสาร
1. ชื่อที่ถูกต้องในการขนส่งตามที่กาหนดไว้ในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย
2. ประเภทหรือประเภทย่อย ของวัตถุอันตราย ถ้าเป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 1 ต้องมีอักษรระบุกลุ่ม ที่
สามารถอยู่รวมกันได้ (Compatibility group)
3. หมายเลขสหประชาชาติ (UN number) และกลุ่มภาชนะบรรจุ(Packaging group)
4. ปริมาณรวมของวัตถุอันตราย
5. ถ้าเป็นของเสียอันตราย ยกเว้นกากสารกัมมันตรังสี ในการขนส่งต้องระบุคาว่า “ของเสีย” หรือ
“WASTE” ไว้หน้าชื่อที่ถูกต้อง ในเอกสารด้วย
6. ในการขนส่งของเหลวที่ต้องควบคุมอุณหภูมิเท่ากับหรือสูงกว่า 100 องศาเซลเซียสหรือของแข็ง ที่มี
อุณหภูมิมากกว่า 240 องศาเซลเซียส ต้องระบุคาว่า “ร้อน” หรือ “HOT”ไว้หน้าชื่อของสินค้าในเอกสารด้วย

~ 66 ~
7. การขนส่งวัตถุอันตราย ที่ต้องควบคุมอุณหภูมิขณะขนส่ง ต้องระบุอุณหภูมิควบคุมและอุณหภูมิ
ฉุกเฉิน ไว้ในเอกสารด้วย
8. วัตถุอันตรายที่มีความเสี่ยงในการระเบิดต้องระบุความเสี่ยงรอง คือประเภทที่ 1 ไว้ด้วย
9. สารติดเชื้อ ต้องระบุชื่อ ที่อยู่ของผู้รับปลายทาง ชื่อสกุลผู้รับผิดชอบและหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถ
ติดต่อได้
10. วัตถุอันตรายประเภทที่ 7 ปฏิบัติตามข้อกาหนดของ The Regulations for the Safe Transport of
Radioactive Materials (LAEA
11. สารติดเชื่อต้องแสดงหมายเลขเที่ยวบินหรือขบวนรถไฟที่ใช้ในการขนส่ง จะต้องระบุวันที่และชื่อของ
สถานที่ที่รถไฟหรือสนามบิน จะเดินทางไปถึงหรือแวะจอดระหว่างทาง
12. สารที่เน่าเสียได้ ต้องระบุคาเตือนที่เหมาะสมไว้บนเอกสารกับการขนส่งด้วย เช่น “ต้องเก็บรักษาให้
อยู่ ที่อุณหภูมิระหว่าง 2 ถึง 4 องซาเซลเซียส” “เก็บรักษาโดยการแช่แข็ง” หรือ “ไม่ต้องแช่แข็ง”
13. ภาชนะบรรจุและแทงค์เปล่าที่เคยบรรจุวัตถุอันตรายและยังไม่ได้ความสะอาดจะต้องระบุคาว่า
“แทงค์เปล่ายังไม่ได้ทาความสะอาด” หรือ “มีวัตถุอันตรายหลงเหลืออยู่” หรือ “EMPTY UNCLEANED”
หรือ “RESIDUE LAST CONTAINED” ไว้ก่อนหรือหลังชื่อที่ถูกต้องในการส่ง
เอกสารประกอบการขนส่ง จะต้องได้รับการรับรองจากผู้ขนส่ง ว่าได้ทาการบรรจุทาเครื่องหมาย ติดฉลาก
และปฏิบัติตามเงื่อนไขสาหรับการขนส่งที่ได้กาหนดไว้
บรรจุภัณฑ์สินค้าที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ
1.สินค้าแตกหักง่าย สินค้าแตกหักง่ายหมายถึงสินค้าที่มีลักษณะบอบบาง เปราะ หรือแตกหักเสียหายง่าย
หากเกิดการกระทบหรือตกในระหว่างที่ทาการขนส่ง ได้แก่ เครื่องแก้ว เป็นต้น การขนส่งต้องบรรจุในหีบห่อที่
แข็งแรง เช่น ลังไม้และควรเป็นหีบห่อใหม่หากเคยใช้แล้วต้องอยู่ในสภาพดีที่แข็งแรง กรณีที่เกิดการแตกขึ้น
หีบห่อของสินค้าแตกหักง่ายจะต้องติดป้าย “ ของแตกหักง่าย ” และป้าย “ ตั้งตามลูกศร
2.สินค้าน้าหนักมากและสินค้าขนาดใหญ่ (HEA/BIG) สินค้าน้าหนักมากหมายถึงสินค่าที่มีน้าหนักตั้งแต่ 150
กิโลกรัมขึ้นไปต่อหนึ่งหีบห่อสินค้าขนาดใหญ่ สินค้าขนาดใหญ่จะต้องได้รับการยืนยันการทาสารองระวาง
บรรทุกก่อนการรับขนส่งทุกครั้ง
3.ศพมนุษย์ (HUM) การรับขนส่งศพมนุษย์จะต้องมีเอกสาร “ใบมรณะบัตร” ประกอบการขนส่งศพจะต้อง
บรรจุอยู่ในโลงที่แข็งแรงและมีที่จับยึด ภายนอกคลุมด้วยผ้าใบ ส่วนอัฐต้องใส่ภาชนะที่ไม่แตกง่ายมีวัสดุกัน
กระแทกและมีเอกสาร “ใบฌาปนกิจ” แนบมาด้วย
4. สัตว์มีชีวิต (AVI) การรับขนส่งสัตว์มีชีวิตต้องเป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการขนส่งสัตว์มีชีวิต ภายใต้
เงื่อนไข ดังนี้

~ 67 ~
1. สุขภาพสัตว์ต้องไม่ป่วยหรือเป็นโรค ต้องได้รับการดูแลระหว่างขนส่งเป็นอย่างดีและห้ามรับขนส่งสัตว์
ที่กาลังท้องแก่
2. กรงที่ใช้ขนส่งสัตว์ต้องเหมาะกับชนิดของสัตว์นั้น ๆ ต้องสะอาดและกันน้าพร้อมติดป้าย สัตว์มีชีวิต
3. อาหารที่นามาเลี้ยงดูสัตว์ต้องรวมอยู่ในน้าหนักที่ใช้คิดค่าระวางสินค้า
4. การขนส่งสัตว์มีชีวิตต้องสารองค่าระวางบรรทุกไว้ล่วงหน้า
5. สัตว์มีชีวิตจะรวมกับสินค้าอื่นภายใต้ใบตราส่งสินค้าชุดเดียวกันไม่ได้
6. การขนส่งสัตว์มีชีวิตต้องมีใบตรวจสุขภาพสัตว์ ใบสาแดงบัตรมีชีวิต และใบอนุญาตอื่น ๆ
5วัตถุที่มีลักษณะเป็นแม่เหล็ก (MAG) สินค้าแม่เหล็กหมายถึงสินค้าที่มีคุณสมบัติสามารถเกิดสนามแม่เหล็ก
มีผลต่อระบบนาร่องของเครื่องบิน
6.สินค้าของสดหรือที่เสียง่าย (PER) หมายถึงสินค้าที่ง่ายต่อการเน่าเปื่อย บูดเน่าง่าย การรับขนส่งสินค้า
ประเภทนี้ต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าและมีการทาสารองระวางบรรทุกตลอดเส้นทางบินแต่ละหีบห่อของ
สินค้าของสดเสียง่าย ต้องติดป้าย “ของสดเสียง่าย” และ “ป้ายตั้งตามลูกศร”
7.สินค้ามีค่า (VAL) การรับสินค้ามีค่าต้องมีการควบคุมดูแลการขนส่งอย่างรดกุมปลอดภัยในทุกขั้นตอน และ
ต้องมีการทาสารองระวางบรรทุกตลอดเส้นทางบินไม่ควรมีจุดเปลี่ยนเครื่องหรือถ้ามีให้น้อยที่สุดและหีบห่อ
สินค้ามีค่าต้องมั่นคงแข็งแรง
8.สินค้าที่เสี่ยงต่อการสูญหาย (VUN) หมายถึงสินค้าที่ไม่เข้าข่ายสินค้ามีค่า แต่มีลักษณะ และขนาดที่
เอื้ออานวยหรือมีราคาจูงใจให้เกิดการลักขโมย หยิบฉวยได้ง่าย ได้แก่ กล้องถ่ายรูป นาฬิกา เป็นต้น
9.สินค้าที่มีน้าเป็นองค์ประกอบ (WET) ต้องมีการบรรจุหีบห่อและจัดบรรทุกอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อ
ป้องกันน้ารั่วซึมออกมาทาให้สินค้าอื่นเสียหาย กัดกร่อน อุปกรณ์บรรทุกสินค้าและห้องบรรทุกสินค้าภายใน
ท้องเครื่องบินเกิดความเสียหายได้จึงต้องใช้กล่องโฟม

**Note : ให้นักศึกษาเข้าทากิจกรรมในระบบการเรียนการสอนออนไลน์ เพือ่ ติดตามภาระงานที่อาจารย์มอบหมายในแต่ละสัปดาห์ เช่น


แบบฝึกหัด, แบบทดสอบก่อนเรียน, แบบทดสอบหลังเรียน และกิจกรรมอื่นๆ เสมือนการเรียนในห้องเรียนจริง เป็นต้น

~ 68 ~
หน่วยที่ 8
การวางแผนและวิเคราะห์บรรจุภัณฑ์ในงานโลจิสติกส์
(Packaging Planning and Analysis in Logistics)

• การวางแผนบรรจุภัณฑ์ในงานโลจิสติกส์
• การวางแผนทรัพยากรในการกระจายสินค้า
• กระบวนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์
• การใช้ซอฟต์แวร์ในการวางแผนจัดวางบรรจุภัณฑ์
• แนวทางปฏิบัติที่ดีในการบรรจุหีบห่อ การจัดเก็บและความปลอดภัยที่ดี
1. การวางแผนบรรจุภัณฑ์ในงานโลจิสติกส์
การวางแผนบรรจุภัณฑ์ในงานโลจิสติกส์ เป็นขั้นตอนการทาการประมาณจานวนบรรจุภัณฑ์ที่สั่งซื้อ หรือสั่ง
ผลิต ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลที่ต้องใช้ประกอบการวางแผนต่อไปนี้
1.ข้อมูลการเจริญเติบโตทางธุรกิจ เป็นการศึกษาแนวโน้มจากจาหน่ายหรือใช้ปัจจุบันสามารถนาเข้าสู่การ
พยากรณ์ และจากข้อมูลของบริษัทที่ให้บริการจัดส่งวัสดุภัณฑ์
2.ข้อมูลสินค้าและอุปสงค์ ศึกษาจานวนชนิดสินค้าในปัจจุบัน การวางแผน
อุปสงค์ของแต่ละชนิดสินค้า ซึ่งส่วนมากจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์
1.รายละเอียดสินค้าพัสดุภัณฑ์
2.ยอดจาหน่ายสินค้าพัสดุภัณฑ์
2.การวางแผนทรัพยากรในการกระจายสินค้า
การศึกษาวางแผน และประมาณความต้องการบรรจุภัณฑ์ แต่ละขนาดมีความจาเป็นต้องศึกษาสถิติการทางาน
ทรัพยากรที่มีอยู่ และทรัพยากรอื่นที่ต้องการในการกระจายสินค้า ทรัพยากรที่จาเป็นต้องศึกษานอกเหนือจาก
อาคารคลังสินค้า มีดังนี้
1. ทรัพยากรมนุษย์ที่มีอยู่ในการกระจายสินค้า ต้องทราบจานวนบุคลากรแต่ละหน้าที่กระจายสินค้า
2.ชนิดอุปกรณ์ยกขนสินค้าที่มี ต้องทราบจานวนอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระจายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการยกขน
สินค้า

~ 69 ~
การประเมินทรัพยากร เทียบกับความต้องการบรรจุภัณฑ์ เพื่อประเมินความต้องการพื้นที่จัดเก็บในคลังสินค้า
ใหม่ ในทางปฏิบัติต้องทาการเปรียบเทียบจานวนพาเลทที่จัดได้จากระบบชั้นวางสินค้า รูปแบบต่าง ๆ การใช้
รถยกขนสินค้ารูปแบบต่าง ๆว่าแบบใดที่ทาให้การจัดการโลจิสติกส์เกิดผลดีที่สุด
3. กระบวนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์
การพัฒนาการบรรจุภัณฑ์มักจะเป็นโครงการ ซึ่งมีทั้งโครงการขนาดเล็กและขนาดใหญ่ขึ้นอยู่กับว่าเป็นการ
พัฒนาในบางส่วน หรือการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้กับผลิตภัณฑ์ใหม่
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้
1.การระบุชนิดของการพัฒนา ซึ่งจะบ่งบอกถึงความซับซ้อนของโครงการ โดยมีลักษณะการพัฒนาบรรจุ
ภัณฑ์ มี 4 แนวทาง ดังนี้
1.1.บรรจุภัณฑ์ใหม่/ผลิตภัณฑ์ใหม่ มีความซับซ้อนในการทางานและตัดสินใจมากที่สุด
1.2. การเปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์ปัจจุบัน มี 2 ลักษณะ คือ
การเปลี่ยนแปลงจุดหลัก เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงลักษณะของหีบห่อที่จะปรากฏต่อสายตาผู้บริโภค
เปลี่ยนแปลงหน้าที่การใช้งานรวมไปถึงการลดต้นทุนการบรรจุภัณฑ์โดยที่ตัวสินค้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง
- เปลี่ยนวัสดุบรรจุภัณฑ์จากกระป่องโลหะ เป็นขวดพลาสติก
- เปลี่ยนฉลากจากทากาวปิดบนขวดเป็นฉลากแบบฟิล์มหดรัดรอบขวด
การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย การเปลี่ยนข้อกาหนดเพื่อลดต้นทุน เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น
- ลดระดับคุณภาพของกระดาษที่ใช้ทาหีบห่อลงบ้าง
- การเปลี่ยนมาตราที่ใช้ระบุปริมาณของสินค้าบนหีบห่อ
1.3. หีบห่อเพื่อส่งเสริมตลาด/ผลิตภัณฑ์ปัจจุบัน
1.4. การเปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์มีการเปลี่ยนแปลง มี 2 ลักษณะ คือ Major มีการเปลี่ยนแปลง
สาคัญของหีบห่อพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในตัวสินค้าด้วยManor การเปลี่ยนแปลงในตัวสินค้าที่ไม่ได้ทาให้
ลักษณะของสินค้าเปลี่ยนไปจากเดิม แต่เปลี่ยนสูตรผลิต ส่วนผสมซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงลงในตัวหีบห่อบ้าง
2. การกาหนดวัตถุประสงค์
การวางแผนพัฒนาบรรจุภัณฑ์เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกองค์การมีความต้องการหรือ
วัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน การกาหนดวัตถุประสงค์ของการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ชัดเจนโดยหน่วยงานที่
รับผิดชอบด้านบรรจุภัณฑ์โดยตรง

~ 70 ~
3. การรวบรวมข้อมูล
เป็นการศึกษารวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ได้แก่
ปัจจัยภายใน
1) ตัวองค์การหรือบริษัท เช่น ทรัพยากรของกิจการ
2) ลักษณะของผลิตภัณฑ์ เช่น คุณสมบัติทางกายภาพ
3) ปัจจัยด้านการตลาด ได้แก่ ตราสินค้าและภาพลักษณ์ วัตถุประสงค์ทางการตลาด
4) ลักษณะการกระจายสินค้า และเก็บรักษา
ปัจจัยภายนอก
1) ผู้บริโภค หรือตลาดเป้าหมาย
2) คู่แข่งขัน ข้อมูลกว้าง ๆ เกี่ยวกับการแข่งขันในตลาด จุดแข็งจุดอ่อนของสินค้าคู่แข่ง
3) สภาพแวดล้อมมหภาคที่สาคัญ คือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุภัณฑ์
สภาพเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
4. กาหนดตารางการทางาน เป็นการวางแผนเวลาสาหรับกิจกรรมแต่ละอย่างของแผนก
ต่าง ๆ อาจใช้วิธีกาหนดผังงานอย่างง่าย
5. การประมาณการด้านต้นทุน ต้นทุนต่าง ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาบรรจุภัณฑ์
1) แผนกบรรจุภัณฑ์
2) แผนกวิศวกรรม
3) แผนกจัดซื้อ
4) แผนกการตลาด
5) แผนกผลิต
การปฏิบัติการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ มี 3 ขั้นตอน
1. การออกแบบสร้างสรรค์
2.การประเมินและทดสอบบรรจุภัณฑ์
3.การดาเนินการ

~ 71 ~
4. การใช้ซอฟต์แวร์ในการวางแผนจัดวางบรรจุภัณฑ์
การบรรจุหรือยกขนสินค้าที่อยู่ในรูปกล่องซึ่งมีหลายขนาด ขึ้นไปยังรถยนต์ ตู้คอนเทนเนอร์ ตู้รถไฟ
เพื่อให้เกิดผลที่ดีที่สุดในรูปน้าหนักบรรทุก ปริมาตร แม้กระทั่งการบรรจุสินค้าลงกล่องหรือพาเลท สามารถ
ประยุกต์ได้ นอกจากนั้นยังสามารถใช้ได้กับสินค้ารูปแบบต่าง ๆ
การจัดการบรรจุตู้ (Cube Utilization)
คือ การวางแผนการจัดวางสินค้าในตู้สินค้าโดยอยู่บนพื้นฐานที่สามารถใช้พื้นได้มากที่สุด โดยการใช้
ประโยชน์จากทรัพยากรที่ใช้ในด้านการขนส่งของบริษัทให้เกิดประโยชน์สูงสุด
5. แนวทางปฏิบัติที่ดีในการบรรจุหีบห่อ การจัดเก็บ และความปลอดภัย
การขนส่งต้องมีการบรรจุหีบห่อสินค้าที่ดี น้าหนักสินค้าและตู้คอนเทนเนอร์ต้องสอดคล้องกับกฎหมาย
ข้อบังคับของแต่ละบริษัทและแต่ละประเทศ ซึ่งการบรรทุกสินค้าที่ดีมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
1. การบรรจุหีบห่อ ต้องเหมาะกับตู้คอนเทนเนอร์ เช่น ขนาดพาเลทเหมาะสมกับขนาดตู้
2. การจัดวาง ต้องจัดวางสินค้า และบรรจุภัณฑ์ในตู้คอนเทนเนอร์ในตาแหน่ง ที่ทาให้การกระจาย
น้าหนักที่เหมาะสม
3. ความปลอดภัย การบรรทุกที่มีความปลอดภัยจะป้องกันการเคลื่อนของสินค้าภายในตู้คอนเทน
เนอร์ภายใต้สภาพแวดล้อมในการขนส่งที่ไม่แน่นอน
บทบาทและหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์
สาหรับหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ด้านโลจิสติกส์ ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์และอุปกรณ์ขนส่ง จะเน้น
ด้านความสะดวกต่อการใช้งานและต้นทุน โดยปรับเปลี่ยนวัสดุ ลดขนาด หรือเพิ่มขนาดกล่องสินค้า วัสดุกัน
กระแทก อย่างเช่น แผ่นกระดาษลูกฟูก พาเลทกระดาษ ให้เหมาะสมกับสินค้า ซึ่งบทบาทและหน้าที่ของ
บรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์ แบ่งออกเป็น 3 ประการ ได้แก่
1.ทาหน้าที่ด้านการเก็บรักษา (storage support) ในระบบโลจิสคิกส์ บรรจุภัณฑ์จะทาหน้าที่ปกป้อง
สินค้าไม่ให้ได้รับความเสียหาย และอานวยความสะดวกในการจัดเก็บหรือจัดวางสินค้าในขณะจัดส่งให้เป็น
ระเบียบ สามารถตรวจนับและตรวจสอบสินค้าได้ง่าย
2.ทาหน้าที่ด้านการขนส่ง (transport support) เพื่อให้เกิดความสะดวกและมีความปลอดภัยในการ
เคลื่อนย้าย
3.ทาหน้าที่ลดต้นทุน(cost reduction) ในการทาให้ประหยัดเนื้อที่ ทั้งเพื่อการเก็บรักษาและเพื่อการ
ขนย้ายสินค้า เนื่องจากบรรจุภัณฑ์สามารถจัดวางเรียงทับซ้อน ทาให้ขนส่งได้ครั้งละมากๆ
หน้าที่บทบาทของบรรจุภัณฑ์

~ 72 ~
ใน สมัยก่อนนั้น การใช้บรรจุภัณฑ์ก็เพื่อเก็บรักษาสินค้าให้คงสภาพ (Protection) ในระยะเวลาหนึ่ง
หรือจนกว่าจะนาไปใช้ แต่เมื่อมีการแข่งขันทางการค้ามากขึ้น บรรจุภัณฑ์จึงมีบทบาทในด้านการส่งเสริม
การตลาด (Promotion) เริ่มเน้นเรื่องความสวยงาม สะดุดตา ตลอดจนความสะดวกในการนาไปใช้ บรรจุ
ภัณฑ์ในปัจจุบันมีหน้าที่
1. ทาหน้าที่รองรับ (Contain) บรรจุภัณฑ์จะทาหน้าที่รองรับสินค้าให้รวมกันอยู่เป็นกลุ่มน้อย หรือ
ตามรูปร่างของภาชนะนั้น ๆ
2. ป้องกัน (Protect) บรรจุภัณฑ์จะทาหน้าที่ป้องกันคุ้มครองสินค้าที่บรรจุอยู่ภายในไม่ให้ยุบ สลาย
เสียรูปหรือเสียหายอันเกิดจากสภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยสภาพดินฟ้าอากาศ ระยะเวลาในการเก็บ
รักษา สภาพการขนส่ง กล่าวคือให้คงสภาพลักษณะของสินค้าให้เหมือนเมื่อผลิตออกจากโรงงานให้มากที่ สุด
3. ทาหน้าที่รักษา (Preserve) คุณภาพสินค้าให้คงเดิมตั้งแต่ผู้ผลิตจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย
4. บ่งชี้ (Identify) หรือแจ้งข้อมูล (Inform) รายละเอียดต่าง ๆ ของสินค้าเกี่ยวกับชนิด คุณ - ภาพ
และแหล่งที่มาหรือจุดหมายปลายทาง โดยหีบห่อต้องแสดงข้อมูลอย่างชัดเจนให้ผู้บริโภครู้ว่าสินค้าที่อยู่ภายใน
คืออะไร ผลิตจาที่ไหน มีปริมาณเท่าใด ส่วนประกอบ วันเวลาที่ผลิต วันเวลาที่ หมดอายุ การระบุข้อความ
สาคัญ ๆ ตามกฎหมาย โดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหารและยา ชื่อการค้า (Trade Name) เครื่องหมายการค้า
(Trade Mark)
5. ดึงดูดความสนใจ (Consumer Appeal) และช่วยชักจูงในการซื้อสินค้า เนื่องจากสินค้าชนิดใหม่มี
เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา การแข่งขันทางด้านตลาดก็เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ผู้ซื้อสินค้าย่อมไม่อาจติดตามการ
เคลื่อนไหวทางด้านตลาดได้ทัน หีบห่อจึงต้องทาหน้าที่แนะนาผลิตภัณฑ์ที่ถูกบรรจุอยู่ให้กับผู้ซื้อด้วย ต้องดึง
ความสนใจของผู้ซื้อที่ไม่เคยใช้ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ให้สนใจในการใช้ และหลังจากใช้แล้วเกิดความพอใจที่จะซื้อใช้
อีก หีบห่อจะทาหน้าที่ขายและโฆษณาสินค้าควบคู่กันไปในตัวด้วย เสมือนหนึ่งเป็นพนักงานขายเงียบ (Silent
Salesman) ดังนั้นการที่บรรจุภัณฑ์จะสามารถดึงดูดความสนใจ และชักจูงใจให้เกิดการซื้อได้จึงเป็นผลจาก
ปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น ขนาด รูปร่าง สี รูปทรง วัสดุ ข้อความรายละเอียด ตัวอักษร ฯลฯ
6. ช่วยเพิ่มผลกาไร หีบห่อจะทาหน้าที่อย่างสมบูรณ์ไม่ได้ ถ้าหากหีบห่อไม่สามารถช่วยเพิ่มผลกาไร
ให้กับผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ หีบห่อสามารถช่วยส่งเสริมยุทธวิธีการตลาด โดยการเปิดตลาดใหม่หรือการเพิ่ม
ยอดขายให้กับสินค้าแต่ละชนิด เนื่องจากในตลาดมีสินค้าและคู่แข่งเพิ่มขึ้นตลอดเวลา หากบรรจุภัณฑ์ของ
สินค้าใดได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี จะสามารถดึงดูดตา ดึงดูดใจผู้บริโภคและก่อให้เกิดการซื้อในที่สุด
รวมทั้งการลดต้นทุนการผลิต
7. สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้แก่ผลิตภัณฑ์ สร้างความเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

~ 73 ~
8. การส่งเสริมการจาหน่าย (Promotion) เพื่อยึดพื้นที่แสดงจุดเด่น โชว์ตัวเองได้อย่างสะดุดตา
สามารถระบุแจ้งเงื่อนไข แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอผลประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อจูงใจผู้บริโภค เมื่อต้องการจัด
รายการเพื่อเสริมพลังการแข่งขัน ก็สามารถเปลี่ยนแปลงและจัดทาได้สะดวก ควบคุมได้และประหยัด
9. การแสดงตัว (Presentation) คือ การสื่อความหมาย บุคลิก ภาพพจน์ การออกแบบและสีสันแห่ง
คุณภาพ ความคุ้มค่าต่อผู้บริโภค / ผู้ใช้ / ผู้ซื้อ ให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ชัดแจ้ง สร้างความมั่นใจ เห็นแล้วอดซื้อ
ไม่ได้
10. การจัดจาหน่ายและการกระจาย (Distribution) เหมาะสมต่อพฤติกรรมการซื้อขายเอื้ออานวย
การแยกขาย ส่งต่อ การตั้งโชว์ การกระจาย การส่งเสริมจูงใจในตัว ทนต่อการขนย้าย ขนส่ง และการ
คลังสินค้า ด้วยต้นทุนสมเหตุสมผล ไม่เกิดรอยขูดขีด / ชารุด ตั้งแต่จุดผลิตและบรรจุจนถึงมือผู้ซื้อ / ผู้ใช้ /
ผู้บริโภค ทนทานต่อการเก็บไว้นานได้

**Note : ให้นักศึกษาเข้าทากิจกรรมในระบบการเรียนการสอนออนไลน์ เพือ่ ติดตามภาระงานที่อาจารย์มอบหมายในแต่ละสัปดาห์ เช่น


แบบฝึกหัด, แบบทดสอบก่อนเรียน, แบบทดสอบหลังเรียน และกิจกรรมอื่นๆ เสมือนการเรียนในห้องเรียนจริง เป็นต้น

~ 74 ~
หน่วยที่ 9
กลยุทธ์การออกแบบบรรจุภัณฑ์
(Packaging Design)

นักออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดีต้องเริ่มจากการรู้ว่า ใครเป็นผู้ใช้ ความคาดหวัง และความต้องการของผู้ใช้


การรับรู้ของผู้ใช้สภาพแวดล้อมของการใช้งาน และประสบการณ์ของผู้ใช้ ทั้งนี้ต้องพยายามออกแบบ
ผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป้าหมายมากที่สุด
การออกการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องคานึงหลัก 7 ประการดังนี้
1. ประโยชน์ใช้สอย (Functions)
2. ความงาม (Aesthetic)
3. ความถูกต้องตามหลักสรีระศาสตร์ (Ergonomics)
4. ความปลอดภัยในการใช้งาน (Safety)
5. ราคาขายและต้นทุนการผลิต (Price & Cost)
6. ความแข็งแรงทนทาน (Durable)
7. การบารุงรักษา (Maintenance)
แบบบรรจุภัณฑ์ (packaging design) หมายถึง การกาหนดรูปแบบและโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ให้สัมพันธ์
กับหน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ เพื่อการคุ้มครองป้องกันไม่ให้สินค้าเสียหายและเพิ่มคุณค่าด้านจิตวิทยาต่อ
ผู้บริโภค โดยอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสร้างสรรค์
การออกแบบโครงสร้าง หมายถึง การกาหนดลักษณะรูปร่าง รูปทรง ขนาด ปริมาตร ส่วนปริมาตรอื่น ๆ ของ
วัสดุที่จะนามาผลิต และประกอบเป็นภาชนะบรรจุ ให้เหมาะสม กับหน้าที่ใช้สอย ตลอดจนกรรมวิธีการผลิต
การบรรจุ การเก็บรักษาและการขนส่ง
การออกแบบ และโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์นั้น ผู้ออกแบบจะมีบทบาทสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ประเภท
individual package และ inner package ที่สัมผัสอยู่กับผลิตภัณฑ์ ชั้นแรกและชั้นที่ 2 เป็นส่วนใหญ่ แต่จะ
มีรูปร่างลักษณะอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ ( product) ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทใดเป็นตัวกาหนดขึ้นมา
ซึ่งผู้ออกแบบจะต้องศึกษาข้อมูล ของผลิตภัณฑ์ที่จะต้องบรรจุ และออกแบบโครงสร้างเพื่อรองรับการบรรจุให้
เหมาะสม โดยอาจจะกาหนด ให้มีลักษณะพิเศษเฉพาะ หรือทาให้มีรูปร่างที่เหมาะ แก่การจับถือ หิ้ว และ
อานวยความสะดวกต่อการนาเอาผลิตภัณฑ์ภายในออกมาใช้ พร้อมทั้งทาหน้าที่ป้องกันคุ้มครองผลิตภัณฑ์

~ 75 ~
โดยตรงด้วย ตัวอย่างเช่น กาหนด individual package ครีมเทียม สาหรับชงกาแฟบรรจุในซองอลูมิเนียมฟ
ลอยส์แล้วบรรจุใน กล่องกระดาษแข็งแบบพับ (folding carton) รูปสี่เหลี่ยมอีกชั้นหนึ่ง ทั้งนี้เพราะผลิตภัณฑ์
เป็นแบบผง จึงต้องการวัสดุ สาหรับบรรจุที่สามารถกันความชื้นได้ดี การใช้แผ่นอลูมิเนียมฟลอยส์ บรรจุก็
สามารถป้องกันความชื้นได้ดีสามารถพิมพ์ลวดลายหรือข้อความบนผิวได้ดี กว่าถุงพลาสติก อีกยัง เสริมสร้าง
ภาพพจน์ความพอใจในผลิตภัณฑ์ให้เกิดแก่ผู้ใช้และเชื่อถือในผู้ผลิต ต่อมา การบรรจุในกล่องกระดาษแข็งอีก
ชั้นหนึ่งก็เพราะว่าบรรจุภัณฑ์ชั้นแร เป็นวัสดุประเภทอ่อนตัว ( flexible) มีความอ่อนแอด้านการป้องกัน
ผลิตภัณฑ์จากการกระทบกระแทกทะลุในระหว่างการขน ย้าย ตลอดจนยากแก่การวางจาหน่ายหรือตั้งโชว์ จึง
ต้องอาศัยบรรจุภัณฑ์ชั้นที่ 2 เข้ามาช่วยเพื่อการทาหน้าที่ประการหลังดังกล่าว
จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าเพียงแค่ขั้นตอนการกาหนด การเลือกวัสดุให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์นั้น ผู้ออกแบบ
จะต้องอาศัย ความรู้และข้อมูลตลอดจนปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาพิจารณา ตัดสินใจร่วมใน กระบวนการ ออกแบบ
เช่นราคาวัสดุ การผลิตเครื่องจักร การขนส่ง การตลาด การพิมพ์ฯลฯ ที่จะต้องพิจารณาว่ามี ความคุ้มทุน หรือ
เป็นไปได้ ในระบบการผลิต และจาหน่ายพียงใด แล้วจึงจะมากาหนด เป็นรูปร่างรูปทรง ( shap & form) ของ
บรรจุภัณฑ์อีกครั้งหนึ่ง ว่าบรรจุภัณฑ์ควรจะออกมาในรูปลักษณะอย่างไร ซึ่งรูปทรงเลขาคณิต รูปทรงอิสระก็มี
ข้อดี-ข้อเสียในการบรรจุ การใช้เนื้อที่ และมีความเหมาะสมกับชนิด ประเภทของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันไป
วัสดุแต่ละชนิด ก็มีข้อจากัด และสามารถดัดแปลงประโยชน์ได้เพียงใด หรือใช้วัสดุมาประกอบ จึงจะเหมาะสม
ดีกว่า หรือลดต้นทุนในการผลิตที่ดีที่สุดสิ่งต่างๆ เหล่านี้คือสิ่งที่ผู้ออกแบบ จะต้องพิจารณาประกอบด้วย
ข้อพิจารณาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ตามปัจจัยหลัก 3 ประการ
1.บรรจุภัณฑ์ต้องสื่อสารได้ทั้งวัจนสัญลักษณ์และทัศนสัญลักษณ์
2.บรรจุภัณฑ์ควรจะสร้างความพึงพอใจ เกียรติและศักดิ์ศรีสาหรับผู้ใช้
3.บรรจุภัณฑ์จะต้องแสดงความโดดเด่นออกมาให้ชัดเจนจากผลิตภัณฑ์อื่น
วัตถุประสงค์การออกแบบบรรจุภัณฑ์
1.เพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถเอื้ออานวยคุณประโยชน์ด้านหน้าที่ใช้สอยได้ดี มีความปลอดภัยต่อการ
คุ้มครองผลิตภัณฑ์ ความประหยัด ความมีประสิทธิภาพในการผลิต การบรรจุ การขนส่ง การเก็บรักษา การ
วางจาหน่ายและการอุปโภค
2.เพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถสื่อสารและสร้างผลกระทบทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภค สามารถดึงดูดความ
สนใจของผู้บริโภค ตลอดจนให้เข้าใจถึงคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์
ขั้นตอนการออกแบบบรรจุภัณฑ์
1.กาหนดขอบเขตของปัญหา วัตถุประสงค์และงบประมาณ ใช้หลัก 5W 2H
Who สินค้าของเราขายใคร ผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก ฯลฯ

~ 76 ~
When เราจะขายสินค้าของเราได้เมื่อไร ช่วงเทศกาลหรือตลอดปี
Where จะขายที่ไหน ซูเปอร์มาร์เก็ต เปิดท้ายขายของ ส่งออก
Why คิดว่า ทาไมลูกค้าถึงนิยมชมชอบสินค้าของเรา
How เรามีวิธีหรือแนวคิดที่จะจับใจลูกค้าของเราได้อย่างไร
How much ราคาสินค้าขายเท่าไร
การศึกษาข้อมูลเบื้องต้น
1.เกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์หรือสินค้า ได้แก่ คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ด้านต่างๆ จุดขาย ข้อดีข้อด้อย ฯลฯ
2.เกี่ยวกับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ทัศนคติ พฤติกรรมผู้บริโภค ลักษณะของกลุ่มเป้าหมายที่มีผลต่อการ
พิจารณาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ ฯลฯ
3.เกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของตลาด สภาพคู่แข่งขัน และแนวโน้มบรรจุภัณฑ์ในอนาคต
4.เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ วัสดุ คุณสมบัติของวัสดุ ความแข็งแรง ฯลฯ
การกาหนดแนวคิด วัสดุและรูปร่างของบรรจุภัณฑ์
1.นาข้อมูลเบื้องต้นมาวิเคราะห์ แล้วสร้างแนวคิดหลักในการออกแบบ (Concept Design) เพื่อเป็นแกนยึดใน
การทางานออกแบบในขั้นตอนไป
2.กาหนดและเลือกวัสดุบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ ราคาวัสดุ ความคุ้มค่า การผลิตเครื่องจักรการ
ขนส่ง การตลาด การพิมพ์ ฯลฯ
3.กาหนดรูปร่างและรูปทรงของบรรจุภัณฑ์ ข้อดีและข้อเสียของรูปร่างบรรจุภัณฑ์นั้น
การพัฒนาแนวคิดให้เป็นรูปร่าง
นา Concept Design และข้อกาหนดเบื้องต้นมาพัฒนาเป็น Idea Sketch หลายๆ แบบ และเลือกแบบร่างที่
เหมาะสมที่สุด 1-2 แบบ เพื่อนาไปพัฒนาต่อ
การพัฒนาและแก้ไขแบบ
นา Idea Sketch ที่เลือก มาจัดทา Sketch Design โดยขยายรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ให้ทราบ
อย่างละเอียด ขนาดและมาตราส่วน เพื่อแสดงให้ผู้ผลิต ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจ กาหนดเทคนิคและวิธีการผลิต การ
บรรจุ วัสดุ การประมาณราคา และสร้างแบบจาลอง (Mock Up) ที่เหมือนจริงมากที่สุดขึ้นมา เพื่อศึกษา
วิเคราะห์ข้อบกพร่องต่างๆ และทาการแก้ไขก่อนนาเสนอลูกค้า

~ 77 ~
การทาต้นแบบจริง
เมื่อลูกค้า Sketch Design พิจารณาผ่านแล้ว ต้องทาต้นแบบจริงขึ้นมา กาหนดขนาด รูปร่าง สัดส่วน
จริง ด้วยการเขียนภาพประกอบแสดงรายละเอียดของรูปแปลน (Plan) รูปด้านต่างๆ (Elevations)
ทัศนียภาพ (Perspective) หรือภาพแสดงการประกอบ (Assembly) ของส่วนประกอบต่างๆ มีการกาหนด
มาตราส่วน (Scale) บอกชนิดและประเภทวัสดุที่ใช้ มีข้อความคาสั่งที่สื่อความเข้าใจในกระบวนการผลิตเป็น
บรรจุภัณฑ์ของจริง
การผลิตจริง
ขั้นตอนนี้เป็นหน้าที่รับผิดชอบของฝ่ายผลิตในโรงงาน ที่จะต้องดาเนินการตามแบบที่นักออกแบบให้
ไว้ ซึ่งทางฝ่ายผลิตจะต้องจัดเตรียมแบบแม่พิมพ์ของตัวบรรจุภัณฑ์ให้เป็นไปตามกาหนด และจะต้องสร้าง
บรรจุภัณฑ์จริงออกมาก่อนจานวนหนึ่ง เพื่อเป็นตัวอย่างในการทดสอบ ทดลองและวิเคราะห์เป็นครั้งสุดท้าย
หากพบว่ามีข้อบกพร่อง ต้องรีบดาเนินการแก้ไขจึงจะดาเนินการผลิตเพื่อนาไปบรรจุและจาหน่ายในลาดับ
ต่อไป
กลยุทธ์ของบรรจุภัณฑ์
• ควรเลือกใช้วัสดุใหม่ๆ ในการจัดทาบรรจุภัณฑ์ให้กับผลิตภัณฑ์ทั้งนี้เพื่อความทันสมัยและลดต้นทุน
ปัจจุบันนิยมใช้วัสดุที่ไม่ทาลายสิ่งแวดล้อม
• ออกแบบโครงสร้างต้องแข็งแรงจะช่วยป้องกันผลิตภัณฑ์ไม่ให้แตกหัก บุบสลาย ชารุด ในระหว่างการ
ขนส่ง
• ออกแบบกราฟิกใหม่ เพื่อให้บรรจุภัณฑ์ที่ได้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม ดึงดูดใจมากขึ้น ทาให้
ผลิตภัณฑ์ดูน่าใช้ น่าหยิบและทันสมัย
• ออกแบบขนาดและรูปร่างใหม่ ขนาดที่เหมาะสมและรูปร่างที่น่าจับต้องและออกแบบได้สะดวกต่อ
การใช้ผลิตภัณฑ์จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีภาพลักษณ์ดีขึ้นและทันสมัยมากขึ้น
• บรรจุภัณฑ์เพื่อส่งแวดล้อม อาจทาได้โดย
Recycle - เป็นการแปรสภาพของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เสียใหม่
Refill - เป็นบรรจุภัณฑ์ชนิดเติมช่วยประหยัดทั้งทรัพยากร และลดปริมาณขยะได้เป็นอย่างดี
Reuse - เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้าได้อีก
Reduce - เป็นบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็กทาให้ประหยัดทรัพยากรได้เป็นอย่างดี
Reject - เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ทาจากวัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ
Repair - เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เมื่อชารุดแล้วสามารถซ่อมไว้ใช้ใหม่ได้อีก

~ 78 ~
ข้อกาหนดเกี่ยวกับความปลอดภัย
1.มีการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์รวมทั้งสิ่งที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น หมึกพิมพ์ กาว ตรงกับที่ระบุในกฎหมายที่มีอยู่และ
ถ้าเป็นบรรจุภัณฑ์สาหรับอาหารวัสดุเหล่านี้สัมผัสกับอาหารหรือไม่
2.มีการตรวจสอบและออกใบรับรองสินค้าที่บรรจุแล้งตามข้อกาหนดหรือไม่
3.มีการตรวจสอบข้อกาหนดของการบรรจุและฉลากที่ใช้กับผลิตภัณฑ์เช่น ยา เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ายา
เคมีทาความสะอาดบ้าน เครื่องสาอาง เป็นต้น
4.ฝาของบรรจุภัณฑ์สามารถป้องกันเด็กเปิดได้หรือไม่
5.เมื่อใช้บรรจุอาหารที่เน่าเปื่อยได้ง่าย เช่น เนื้อ ปลา อาหารทะเล มีข้อกาหนดเกี่ยวกับการรับรองความปลอด
เชื้อ การชี้แจงวัสดุที่ใช้ วัน เดือน ปี หรือสัญลักษณ์อื่น ๆ หรือไม่
6.ชื่อที่ใช้บ่งบอกถึงผลิตภัณฑ์ได้ถูกต้องหรือไม่ ทั้งนี้โดยไม่ทาให้เกิดความเข้าใจผิดถึงลักษณะธรรมชาติและ
แหล่งผลิตของสินค้านั้น ๆ
7. ภาพของสินค้าที่แสดงอยู่ขนบรรจุภัณฑ์ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับของที่บรรจุอยู่ภายในหรือขนาดที่
แท้จริงของผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่หรือไม่
8.มีการหลีกเลี่ยงการใช้ขนาดและรูปทรงที่อาจก่อให้เกิดการเข้าใจผิดหรือไม่
9. ข้อความบรรจุภัณฑ์ประกอบด้วยข้อมูลต่อไปนี้หรือไม่
-ประเทศผู้ผลิต
-ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต ผู้บรรจุ ผู้นาเข้า
-น้าหนัก ปริมาตร จานวนของสินค้าที่บรรจุอยู่ภายใน แสดงเป็นค่าสุทธิ
-ส่วนผสมต่าง ๆ บันทึกอย่างถูกต้องและเรียงตามลาดับ
-คาเตือนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้บริโภค ซึ่งอาจเกิดจากการนา
ไปใช้ในทางที่ผิด การเคลื่อนย้ายบรรจุภัณฑ์ไม่ถูกต้อง หรือเคลื่อนยายด้วยปริมาณมากเกินไป
10. ข้อความบนบรรจุภัณฑ์ใช้ภาษาที่ถูกต้องหรือไม่
11. ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและการใช้งานถูกต้องตามข้อแนะนาของสานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
หรือไม่
ข้อกาหนดเกี่ยวกับความประหยัดในการผลิต
ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อราคาของบรรจุภัณฑ์ได้แก่
1.ราคาของวัสดุบรรจุภัณฑ์

~ 79 ~
2.ราคาของกรรมวีการผลิตบรรจุภัณฑ์
3.ราคาของการเก็บรักษาและการขนส่ง
4.ราคาของเครื่องมือ เครื่องจักที่ใช้ในการผลิตและบรรจุภัณฑ์
5.ราคาของการใช้แรงงานที่เกี่ยวข้อง
ยุทธวิธีในการลดต้นทุนการบรรจุภัณฑ์
1.การเปลี่ยนรูปทรงจากทรงกลมเป็นทรงสี่เหลี่ยม
2.การเพิ่มปริมาณบรรจุต่อกล่องให้มากขึ้น
3.การเปลี่ยนชนิดวัสดุของภาชนะบรรจุ
4.การลดจานวนขนาดให้น้อยลง
5.การจัดเรียงสินค้าเพื่อประหยัดค่ากล่อง
6.การลดจานวนสีที่พิมพ์ และใช้สีที่มีคุณภาพ
ข้อกาหนดเกี่ยวกับการจัดจาหน่าย
1. คู่แข่งขันใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งประเภทใด และทาไม่จึงใช้วิธีนั้น
2. มีการค้นคว้าเกี่ยวกับข้อคิดเห็น (Opinion) ของผู้นาเข้าพ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีก เรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้หรือไม่
มาตรฐานทางคุณภาพ การทาเครื่องหมาย ขนาดและน้าหนักของบรรจุภัณฑ์
3. คู่แข่งขันใช้บรรจุภัณฑ์สาหรับผู้บริโภคประเภทใดและทาไม
4. มีแนวโน้มว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้หรือไม่
5. บรรจุภัณฑ์มีฉลากติดสัญลักษณ์รหัสแท่งหรือไม่
ข้อกาหนดเกี่ยวกับตัวสินค้า
1.สินค้านั้นต้องการการป้องกันเป็นพิเศษเพื่อรักษารสชาติ กลิ่นหอม สี รูปแบบ ความแห้ง ความชื้นหรือไม่
2.แบบหรือส่วนประกอบของสินค้าสามารถปรับปรุงได้ เพื่อให้เป็นบรรจุภัณฑ์สาหรับผู้บริโภคที่ประหยัดขึ้น มี
เทคนิคดีขึ้นหรือไม่
3.ผลิตภัณฑ์ได้ถูกออกแบบให้บรรจุเพื่อการขนส่งได้สะดวกหรือไม่การเปลี่ยนแปลงแบบของผลิตภัณฑ์สามารถ
ใช้กับบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งแบบเก่าหรือไม่
4.เพื่อเป็นการรักษาคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ มีการป้องกันด้วยรูปแบบพิเศษหรือไม่
ข้อกาหนดเกี่ยวกับชนิดและคุณสมบัติของวัสดุ

~ 80 ~
1. มีการศึกษาเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งชนิดต่าง ๆ ต่อไปนี้ หรือไม่
• Bulk Container
• กล่องและลังซึ่งทาด้วยไม้
• กล่องที่รัดด้วยลวด
• กล่องกระดาษลูกฟูกและกล่องกระดาษคร๊าฟ
• ถังทรงกระบอกโลหะและพลาสติก
• ถังกระดาษ
• กล่องพลาสติกแบบแข็ง
• ถุงกระดาษ ถุงพลาสติก ถุงผ้า
• การรวมเป็นหน่วยเดียว ด้วยวัสดุรัดชนิดต่าง ๆ
• วัสดุชนิดต่าง ๆ สาหรับใช้เป็นสารกันการกระแทกระหว่างการขนส่ง ฝาเกลียว ฟิล์มหดหรือฟิล์มรัด
สาหรับการบรรจุรวมเป็นหน่วยเดียว
2. มีการศึกษาเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งและวัตถุดิบชนิดต่าง ๆ เหล่านี้หรือไม่
• ข้อกาหนดรายละเอียดทางเศรษฐกิจ
• วัตถุดิบที่จะหามาได้ภายในประเทศ
• การเลือกใช้วัสดุทดแทน และสามารถปรับปรุงให้เหมาะสมกับการส่งออก
• ความจาเป็นในการนาเข้าวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูงหรือบรรจุภัณฑ์สาเร็จรูป
• ความเป็นไปได้ในการประหยัดค่าระวางขนส่ง โดยการลดปริมาตรหรือน้าหนักของบรรจุภัณฑ์
3. มีการศึกษาเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สาหรับผู้บริโภคและวัสดุการบรรจุประเภทต่อไปนี้หรือไม่
• กระป๋องโลหะ และกระดาษ
• กระป๋องสเปรย์
• ขวดแก้วและเหยือกแก้ว
• ขวดพลาสติกและบรรจุภัณฑ์พลาสติกแข็งแบบอื่น ๆ

~ 81 ~
4. มีการพิจารณาบรรจุภัณฑ์สาหรับผู้บริโภคในเรื่องต่อไปนี้หรือไม่
• มีขายในท้องถิ่น
• มีการปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดส่งออก ในเรื่องเทคนิคและส่งเสริมคุณภาพเช่นการ
พิมพ์ เป็นต้น

**Note : ให้นักศึกษาเข้าทากิจกรรมในระบบการเรียนการสอนออนไลน์ เพือ่ ติดตามภาระงานที่อาจารย์มอบหมายในแต่ละสัปดาห์ เช่น


แบบฝึกหัด, แบบทดสอบก่อนเรียน, แบบทดสอบหลังเรียน และกิจกรรมอื่นๆ เสมือนการเรียนในห้องเรียนจริง เป็นต้น

~ 82 ~
หน่วยที่ 10
ความรู้เบื้องต้นการขนถ่ายวัสดุ
Material Handling

การขนถ่ายวัสดุ (Material Handling)


เป็น Action หนึ่งซึ่งมีความสาคัญในกระบวนการผลิตทาหน้าที่เคลื่อนสินค้า/ วัตถุดิบ จากจุดหนึ่ง ไป
ยังอีกจุดหนึ่งหลักการสาคัญก็คือ ทาอย่างไรจึงจะทาให้การเคลื่อนที่หรือการขนถ่ายนั้นเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพต้องมีการสรรหาเครื่องมือที่เหมาะสมในการขนถ่ายวัสดุมาใช้เป้าหมายคือทาการขนถ่ายได้อย่าง
สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และประหยัด ซึ่งกว่าจะถึงจุดนั้นได้เราต้องทราบถึงตัวปัญหาและพยายามวิเคราะห์
การขนถ่ายวัสดุอย่างเป็นระบบ
ความหมายของการขนถ่ายวัสดุ (Material Handling)
การขนถ่ายวัสดุ (Material Handling) หมายถึง การจัดเตรียมสถานที่และตาแหน่งของวัสดุเพื่อ
อานวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษา และการจัดอุปกรณ์และวิธีการที่เหมาะสมในการทางาน
ความหมายของระบบการขนถ่ายวัสดุ (Material Handling System)
ระบบการขนถ่ายวัสดุ (Material Handling System) คือ การจัดเตรียมสถานที่ทางานให้มีตาแหน่ง
ประจาของวัสดุแต่ละชนิด และการจัดเตรียมอุปกรณ์สาหรับเคลื่อนย้ายวัสดุเหล่านั้น เพื่อนาไปผ่าน
กระบวนการหรือกิจกรรมที่เพิ่มมูลค่า ทั้งนี้ต้องอานวยความสะดวกต่อการผลิต ซึ่งการที่จะทาให้เกิดสิ่งเหล่านี้
ต้องอาศัยทักษะและความรู้ในการสรรหาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการขนถ่ายวัสดุการใช้ให้เหมาะสมกับงาน
การขนถ่ายวัสดุภายในระบบการขนส่ง

~ 83 ~
หลักการขนถ่ายวัสดุ (Principle of Material Handling)
การขนถ่ายวัสดุ (Material Handling) เป็นทั้งศิลปะ และวิทยาศาสตร์ในการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ
ป้องกัน และควบคุมวัสดุ เพื่อให้เกิด “ความถูกต้อง 9 ประการ”
1. ปริมาณที่ถูกต้อง (Right Amount)
2. วัสดุที่ถูกต้อง (Right Material)
3. สภาพที่ถูกต้อง (Right Condition)
4. ลาดับที่ถูกต้อง (Right Sequence)
5. กาหนดตาแหน่งที่ถูกต้อง (Right Orientation)
6. สถานที่ถูกต้อง (Right Place)
7. เวลาที่ถูกต้อง (Right Time)
8. ต้นทุนที่ถูกต้อง (Right Cost)
9. วิธีการที่ถูกต้อง (Right Method)

 การเคลื่อนที่ (Motion)
การเคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
 เวลา (Time)
เป็นปัจจัยหนึ่งที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของการเคลื่อนที่
 ปริมาณ (Quantity)
ปริมาณวัสดุที่ต้องเคลื่อนที่ต้องสัมพันธ์กับความ ต้องการ และเหมาะสมกับค่าใช้จ่าย

~ 84 ~
 เนื้อที่ (Space)
พื้นที่ในการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ กลไกในระบบขนถ่าย พื้นที่สาหรับวางวัสดุที่รอการ ขนถ่ายและหลัง
การขนถ่าย
1. การเคลื่อนที่ เป็นการเคลื่อนย้ายวัสดุหรือสินค้า จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งสินค้าและวัสดุแต่ละ
ประเภทย่อมมีวิธีการเคลื่อนที่ที่หลากหลาย แต่ทาอย่างไรให้เกิดการเคลื่อนที่ด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพมาก
ที่สุด
2. เวลา เป็นปัจจัยที่กาหนดความสาคัญของการขนถ่าย ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่ต้องการจะให้ขนถ่าย เวลาที่ใช้
ในการขนถ่าย เวลาที่ต้องขนถ่ายมาถึง ทั้งนี้แล้วแต่การควบคุมที่ต้องการ
3. ปริมาณ ปริมาณต้องไม่มากเกินไปจนเกิดอันตราย หรือใช้พลังงานมาก แต่ต้องไม่น้อยเกินไปจนทาให้
กระบวนการผลิตติดขัด ดังนั้นวัสดุหรือสินค้าที่เครื่องต้องสัมพันธ์ถึงความต้องการแต่ละจุด และต้องประหยัด
ค่าใช้จ่าย
4. เนื้อที่ เนื้อที่เป็นปัจจัยที่สาคัญของการติดตั้งอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุ และการกองเก็บวัสดุหรือสินค้า ดังนั้น
จึงต้องมีการพิจารณาเพื่อการสรรหา หรือจัดสรรเนื้อที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การขนถ่ายวัสดุ ประกอบด้วยหน้าที่หลัก 2 ประการ
1. งานเคลื่อนย้ายวัสดุ คือ การเคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในตาแหน่งที่ทางานเอง หรือ
ระหว่างตาแหน่งที่ทางาน ระหว่างเครื่องจักร ระหว่างแผนก ระหว่างโรงงาน หรือ ระหว่างอาคาร ตลอดจน
การขนวัสดุขึ้นและลง
2. 2. งานเก็บพัสดุ คือ การเก็บพักวัตถุดิบที่ส่งเข้ามาก่อนป้อนเข้ากระบวนการผลิต การเก็บพักวัสดุใน
ขั้นตอนงานผลิต ตลอดจนการเก็บผลิตภัณฑ์สาเร็จรูปก่อนที่ จะส่งออกไปยังผู้ใช้
ขอบเขตการขนถ่าย
1. สถานที่ทางาน (Work Place) หมายถึง การขนถ่ายวัสดุภายในบริเวณที่ทางาน เช่น บริเวณที่ยืนประกอ
สินค้า

~ 85 ~
2. สายงานผลิต (Line) หมายถึง การขนถ่ายวัสดุภายในสถานการผลิตที่ต่อเนื่องกันจากตาแหน่งหนึ่ง
ไปยังอีกตาแหน่งหนึ่ง โดยในแต่ละตาแหน่งก็ทางานเฉพาะอย่างเสร็จแล้งจึงส่งต่อให้ตาแหน่งอื่นทางานต่อไป
3. การขนถ่ายระหว่างแผนก (Inter department) หมายถึงการขนถ่ายวัสดุระหว่างแผนกต่างๆ
ตั้งแต่แผนกจัดซื้อรับของไปยังแผนกคลังวัสดุ และต่อไปยังแผนกผลิต จากนั้นจึงไปยังแผนกคลังสินค้า และไป
ยังฝ่ายขาย

หน้าที่งานขั้นพื้นฐานของคลังสินค้า
รับสินค้า (Receiving)
- Schedule carrier - Unload vehicle
- Inspect for damage - Compare to P/O
นาไปเก็บ (Put-away)
- Identity product - Identify storage location
- Move product - Updated records
เก็บรักษาสินค้า (Storage)
- Equipment

~ 86 ~
- Storage location (Population,Unit size,Cube)
เตรียมส่งสินค้า (Shipping Prepare)
- Packing - Labeling
- Staging
หยิบสินค้า (Order Picking)
Information - Walk & Pick
Batch Picking - AS/RS
ส่งสินค้า (Shipping)
- Schedule carrier - Load vehicle
- Delivery - Update record
การจัดพื้นที่คลังสินค้า

~ 87 ~
4. การขนถ่ายระหว่างโรงงาน (Inter-Plant) ในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ ในบางสถาน
ประกอบการอาจมีหลายโรงงานโดยในแต่ละโรงงานทางานผลิตชิ้นส่วนที่แตกต่างกัน แล้วนามาประกอบกัน
เป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งระบบการขนถ่ายที่นามาใช้อาจมีขนาดใหญ่และเคลื่อนย้ายได้คราวละมากๆ โดยแต่ละ
โรงงานก็จะมีแผนกรับและส่งของตนเอง

5. การขนถ่ายระหว่างบริษัท (Inter-Company) หมายถึง การขนถ่ายวัสดุในระดับบริษัทที่มีการส่งต่อกัน


โดยแต่ละบริษัทก็ทาหน้าที่เพิ่มมูลค่าเพื่อผลกาไรของตนเอง จากบริษัทผู้ผลิตไปยังบริษัทผู้ส่งและจากบริษัทผู้
ส่งไปยังบริษัทตัวแทนจาหน่าย

~ 88 ~
จุดมุ่งหมายและประโยชน์ของการขนถ่ายวัสดุ
1. การลดต้นทุน
• ลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของอุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายวัสดุ
• ลดต้นทุนที่จะส่งเสริมให้ระบบการผลิตใช้เวลาผลิตน้อยที่สุด
• ใช้อุปกรณ์แทนแรงงาน
• ใช้แรงงานควบคุมอุปกรณ์
• ลดความสูญเสีย
• ลดเวลาในการตรวจสอบปริมาณ
2. การเพิ่มขีดความสามารถในการทางาน
- สามารถใช้เนื้อที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- ปรับปรุงผังโรงงานเพื่อลดระยะทาง
- ลดเวลาในการเอาของขึ้น-ลง
3. การปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทางาน
- ปรับปรุงด้านความปลอดภัย
- เลือกคนงานให้เหมาะกับสภาพงาน เช่น สภาพงานเบา
- สภาพแวดล้อมส่งเสริมให้ทางานง่าย
4. การปรับปรุงเพื่อส่งเสริมการขาย
- การให้บริการที่รวดเร็ว
- ลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง
หลักการสาคัญของการขนถ่ายวัสดุ
• เคลื่อนย้ายต่อเนื่องเป็นวิธีการที่ประหยัดที่สุด
• การประหยัดเป็นสัดส่วนโดยตรงกับขนาดของการบรรทุกในแต่ละเที่ยว
• สินค้ามาตรฐานจะสามารถลดต้นทุนได้
• การใช้เครื่องจักรกลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
• การใช้แรงโน้มถ่วงตามธรรมชาติต้นทุนจะถูกลง
• สามารถให้ทุกอย่างง่ายขึ้น

~ 89 ~
ขนถ่ายวัสดุ
• วิธีการขนถ่ายวัสดุ
• วิธีการเก็บวัสดุ –สินค้า ในคลัง
• เทคนิคการนาของขึ้น – ลง จากเครื่องกลขนถ่าย
• วิธีการบรรจุหีบห่อเพื่อส่งไปยังลูกค้า
• วิธีการบรรจุหีบห่อเพื่อการขนส่งและป้องกันสินค้า
• การเลือกอุปกรณ์ในการขนถ่าย
• การเลือกภาชนะที่ใช้สาหรับการขนถ่าย
• ความปลอดภัยในการขนถ่าย
การเลือกใช้เครื่องมือขนย้ายวัสดุ
การเลือกใช้เครื่องมือการขนย้ายวัสดุ เพื่อใช้ในการขนย้ายวัสดุเป็นในการขนย้ายวัสดุเป็นค่าใช้จ่าย
ทางอ้อมที่สาคัญมากอย่างหนึ่ง ที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายทั้งหมดของการผลิต โดยมีประโยชน์ของการเลือกใช้
เครื่องมือขนย้ายวัสดุในการวางผังโรงงาน คือ
1. ทาให้เกิดความสมดุลในกระบวนการผลิต
2. ช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการทางาน
3. ใช้แรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ช่วยให้ใช้พื้นที่โรงงานให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่
5. ช่วยมองเห็นการปรับเปลี่ยนพื้นที่ในอนาคต
6. ลดเวลาในการขนย้ายให้สั้นที่สุดในการผลิตสินค้าต่าง ๆ
7. ทาให้คนงานมีสุขภาพจิตที่ดี
8. ช่วยลดสิ่งรบกวนต่าง ๆ

~ 90 ~
การวางแผนผังกระบวนการผลิต
การเคลื่อนย้ายวัสดุในบริเวณโรงงานนับแต่การขนถ่ายวัตถุดิบลงจากพาหนะในการขนส่งแล้วนาเข้า
ไปเก็บรักษาในคลังแล้วลาเลียมมาตรวจพินิจก่อนเคลื่อนย้ายไปเข้าระบบการผลิตในระบบการผลิตนี้มีการ
เคลื่อนย้ายที่ของสินค้าระหว่างผลิต เมื่อผลิตเป็นสินค้าสาเร็จรูปแล้วต้องลาเลียงไปเก็บในคลังสินค้าอีกครั้ง
หนึ่ง ก่อนจะเคลื่อนย้ายไปยังแผนกขนส่งเพื่อขนขึ้นยานพาหนะเพื่อนาส่งจุดหมายปลายทางต่อไปซึ่งลักษณะ
เครือ่ งมือเครื่องจักรที่นามาใช้ในการขนย้ายนั้นมีด้วยกันหลายอย่างคือ
วัตถุประสงค์ของการวางแผนผังกระบวนการผลิต
1. เพิ่มผลผลิตโดยการนาองค์ประกอบที่สาคัญกระบวนการผลิตมารวมกัน
2. ปรับปรุงสภาพการทางานในโรงงาน
3. ปรับปรุงกรรมวิธีการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ต่าง ๆ
4. ลดจานวนสินค้าคงเหลือในกระบวนการผลิต
5. ทาให้โรงงานมีความปลอดภัยต่อคนงานโดยมีทางหนีไฟได้อย่างเหมาะสม
6. ทาให้คนงานทางานอย่างมีประสิทธิภาพ
7. กาหนดขอบเขตความรับผิดชอบในการทางาน
8. จัดตาแหน่องเครื่องจักรเครื่องมือใหม่เท่าที่จาเป็น
9. จัดแผนงานต่าง ๆ ให้ทางานในขอบเขตความรับผิดชอบ
10. ใช้ประโยชน์จากการจัดพื้นที่อย่างเต็มที่
หลักเกณฑ์ในการวางแผนผังกระบวนการผลิต
1. ความคล่องตัวสูง (maximum flexibility)
2. การประสานงานได้ดีที่สุด (maximum co-ordination)
3. ชี้เนื้อที่ให้มากที่สุด (maximum use of volume)
4. มองเห็นได้มากที่สุด (maximum visibility)
5. เข้าถึงได้ง่ายที่สุด (maximum accessibility)
6. ระยะสั้นที่สุด (minimum handing)
7. การเคลื่อนย้ายน้อยที่สุด (minimum handing)
8. สภาพแวดล้อมการทางานที่ดีที่สุด(maximum comfort)

~ 91 ~
9. ความปลอดภัย(inherent safety)
10. เคลื่อนย้ายวัสดุทางเดียว (unidirectional flow)
สมการระบบยกขนถ่ายวัสดุ
Material Handling System Equation : MHS

สมการระบบยกขนถ่ายวัสดุ Material Handling System Equation : MHS


1. เหตุผลที่ต้องยกขนวัสดุ (Why : Material Handling)
2. วัสดุอะไรที่ต้องยกขน (What : Materials)
3. เคลื่อนย้ายไปที่ไหน (Where : Moves)
4. เคลื่อนย้ายเมื่อไหร่ (When : Moves)
5. วิธีการเคลื่อนย้าย (How : Methods)
6. ใครเคลื่อนย้ายด้วยวิธีนี้ (Who : Methods)
7. ระบบใดที่ต้องการใช้ (Which : Preferred System)

**Note : ให้นักศึกษาเข้าทากิจกรรมในระบบการเรียนการสอนออนไลน์ เพือ่ ติดตามภาระงานที่อาจารย์มอบหมายในแต่ละสัปดาห์ เช่น


แบบฝึกหัด, แบบทดสอบก่อนเรียน, แบบทดสอบหลังเรียน และกิจกรรมอื่นๆ เสมือนการเรียนในห้องเรียนจริง เป็นต้น

~ 92 ~
หน่วยที่ 11
อุปกรณ์ในการรวมหน่วยวัสดุ
(Material Unit Load Formation Equipment)

Containers
Pallets
Skids and Skid boxes
Tote pants
Unitizers
Stretch-wrap
Palletizer
แนวความคิดเกี่ยวกับหน่วยรวมวัสดุ (Unit Load)
หน่วยรวมวัสดุ หมายถึง จานวนของรายการต่างๆ วัสดุที่เป็นกอง ที่นามาจัดหรือผูกรวมกันเป็นกลุ่ม
ง่ายต่อการยกขึ้นลง และ การเคลื่อนย้ายเป็นหน่วยเดียว
ข้อดี
 ลดการขนถ่ายครั้งละมากๆ
 งานขนถ่ายทาได้รวดเร็วขึ้น
 ลดปัญหาการสูญหายและเสียหายของวัสดุ
 ใช้เนื้อที่ประโยชน์สูงสุด
ข้อเสีย
 ต้นทุนเพิ่มขึ้น
 ต้องเลือกใช้อุปกรณ์ในการขนถ่ายให้เหมาะสม
 ใช้พื้นที่มากขึ้น
 ต้องเสียพลังงานเพิ่มขึ้นในการขนถ่าย (เนื่องจากมีน้าหนักหน่วยขนถ่ายเพิ่มขึ้น)

~ 93 ~
เหตุผลที่จาเป็นต้องใช้เครื่องมือหน่วยรวมวัสดุ (Unit Load Equipment)
1. สามารถเคลื่อนย้ายวัสดุได้พร้อมกัน
2. จานวนรอบในการเคลื่อนย้ายลดลง
3. เวลาที่ใช้ในการจัดการกับวัสดุโดยรวมลดลง
4. โอกาสที่จะเกิดความเสียหายต่อวัสดุ/สินค้า ลดลง
1. Containers

ชนิดหรือขนาดของตู้คอนเทนเนอร์
1. ขนาด 20 ฟุต ยาว 19.10 ฟุต และกว้าง 8.0 ฟุต สูง 8.6 ฟุต โดยมีน้าหนักบรรจุตู้ได้สูงสุดประมาณ 32-
33.5 CUM (คิวบิกเมตร) และน้าหนักบรรจุตู้ได้ไม่เกิน 21.7 ตัน (TEU ย่อมาจาก Twenty-foot Equivalent
Unit)
2. ขนาด 40 ฟุต ยาว 40 ฟุต กว้าง 8 ฟุต สูง 9.6 ฟุต (Hicute) โดยสามารถบรรจุสินค้าได้ 76.40 – 76.88
CUM และบรรจุสินค้าน้าหนักสูงสุดได้ 27.4 (FEU ย่อมาจาก Forty-foot Equivalent Unit)

~ 94 ~
ชนิดหรือขนาดของตู้คอนเทนเนอร์

ชนิดตู้คอนเทนเนอร์ (Container)
Dry Cargoes เป็นตู้ที่ใส่สินค้าทั่วไปที่มีการบรรจุหีบห่อหรือภาชนะต้องเป็นสินค้าที่ไม่ต้องการรักษาอุณหภูมิ
ขนาด 20 (TEU) และ 40 (FEU) ฟุต (Bulk Container &Tank Containers) (ตู้ขนาด 20 ฟุต เหมาะกับ
สินค้าที่มีน้าหนักมากแต่ปริมาณน้อย)
Refrigerator Cargoes เป็นตู้สินค้าประเภทที่มีเครื่องปรับอากาศ มีการปรับอุณหภูมิในตู้
Garment Container เป็นตู้สินค้าที่ออกแบบสาหรับใช้ในการบรรจุสินค้าที่เป็นเสื้อผ้า โดยมีราวสาหรับแขวน
เสื้อ มักจะใช้กับสินค้าที่เป็น Fashion
Open Top ส่วนใหญ่จะต้องเป็น 40 ฟุต โดยไม่มี
หลังคา สาหรับใช้ในการวางสินค้าขนาดใหญ่ เช่น เครื่องจักร
Flat-rack สาหรับใส่สินค้าที่มีลักษณะเป็นพิเศษ เช่น เครื่องจักร แท่งหินประติมากรรม รถแทรกเตอร์

~ 95 ~
ตัวอย่างตู้บรรจุสินค้าแบบต่างๆ

หมายเลขตู้สินค้า
ตู้สินค้าจะต้องมีหมายเลขตู้สินค้ากากับที่ผนังตู้ทุกด้าน ทั้งด้านนอกและด้านใน
Tare คือ น้าหนักของตู้เปล่า 2,230 kg.
Net คือ สามารถบรรจุสินค้าเข้าตู้ได้ไม่เกิน 28,250 Kg
Max Gross คือ ตู้สินค้าตู้นี้สามารถรับน้าหนักสินค้า + น้าหนักตู้เปล่าแล้วต้องไม่เกิน 30,480 Kg. CU.CAP
คือ ปริมาตรลูกบาศ์กเมตร สามารถบรรจุได้ คือ 33.2 CU.M

~ 96 ~
2. Pallets

พาเลทแบบเข้าได้ 2 ทาง (Two Ways Entry)

พาเลทแบบเข้าได้ 4 ทาง (Four Ways Entry)

พาเลทไม้
ข้อดีของพาเลทไม้
• เป็นสินค้าที่หาใช้ได้ง่าย ระยะเวลาในการผลิตรวดเร็ว
• ราคาไม่แพง แข็งแรง ทนทาน สามารถนากลับมาใช้ใหม่ได้
• สามารถรองรับน้าหนักสินค้าได้ประมาณ 1 - 2 ตัน
• สามารถซ่อมแซมได้ เก็บรักษาดูแลง่าย
• ลดระยะเวลาในการผลิตพาเลท
ข้อเสียของพาเลทไม้
• ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและปัญหาภาวะโลกร้อน
• ปัญหาเรื่องเชื้อราในเนื้อไม้ แมลง ปลวก มอด เสี้ยนไม้ ความชื้น
• อาจแตกหรือหักได้เมื่อบรรจุสินค้าที่มีน้าหนักมากเกินไป
• ไม้อาจบิด โก่ง หรือโค้งงอได้
พาเลทพลาสติก (Plastic Pallets)

~ 97 ~
ข้อดีของพาเลทพลาสติก
• มีน้าหนักเบา ราคาไม่แพง
• ไม่มีปัญหาเรื่องความชื้น เรื่องแมลง ปลวก มอด โก่ง บิด หรืองอ
• เก็บรักษาง่าย ซ่อมแซมได้
• มีความคงทน ทนความร้อน
• สามารถนาไปขายเป็นพาเลทมือสองหรือนากลับมาใช้ใหม่ได้
• ลดปัญหาเรื่องการตัดไม้และวิ่งแวดล้อม
ข้อเสียของพาเลทพลาสติก
• สามารถใช้งานได้ประมาณ 3 – 5 ปี
• ราคาของพาเลทพลาสติก จะขึ้น – ลง ตามราคาของวัตถุดิบที่นามาใช้ในการผลิตเป็นพาเลท
• อาจจะชารุดได้ถ้ามีการใช้งานมากเกินไป
คุณสมบัติการรับน้าหนักของพาเลท
ลักษณะ รายละเอียด
ขนาด 100 x 120 x 150 mm
น้าหนักต่อตัว 25(+/-) kg
ลักษณะการใช้งาน สามารถใช้งานได้ 4 ทิศทาง
Dynamic Load 1,500 Kg
Static Load 6,000 Kg
Racking Load 1,000 Kg

~ 98 ~
พาเลทกระดาษ (Paper Pallets)

ข้อดีของพาเลทกระดาษ
• น้าหนักเบา สะดวกต่อการใช้งาน และลดน้าหนักในการขนส่งสินค้า เหมาะต่อการขนส่งทางอากาศ
• สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้ทั่วโลก ไม่ต้องประทับตรา IPPC
ข้อเสียของพาเลทกระดาษ
• หากถูกน้า จะทาให้เปื่อยยุ่ยได้ง่าย
• อาจขึ้นราได้ หากเก็บอยู่ในพื้นที่จัดเก็บที่มีความร้อนชื้น
• ความแข็งแรง ทนทาน อาจน้อยกว่าพาเลทชนิดอื่นๆ
พาเลทโฟม (Foam Pallets)
ข้อดีของพาเลทโฟม
• น้าหนักเบา สามารถลดต้นทุนในการขนส่ง เช่น การขนส่งทางอากาศ
• หมดปัญหาเรื่องปลวก มอด แมลง
• ไม่ขึ้นรา แม้จะเก็บในที่ชื้น
• ทาความสะอาดได้ง่าย
• ไม่ต้องผ่านมาตรฐาน ISPM15

~ 99 ~
ข้อเสียของพาเลทโฟม
• ไม่ย่อยสลาย ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
• ความแข็งแรงทนทานน้อย

พาเลทเหล็ก (Steel Pallet)

ข้อดี คือ แข็งแรงทนทาน ทนความร้อน ไม่มีปัญหาเรื่องแมลง ปลวก มอด ความชื้นและเชื้อรา เป็นวัสดุที่ไม่


เป็นเชื้อไฟ หรือสิ่งที่จะทาให้เกิดความเสียหายต่อสินค้าที่จะทาการส่งออก มีอายุการใช้งานยาวนาน สามารถ
นากลับมาใช้ใหม่ได้
ข้อเสีย คือ ราคาค่อนข้างสูง น้าหนักมาก ไม่เหมาะกับการส่งออก เหมาะกับการใช้หมุนเวียนภายในโรงงาน
การจัดเรียง (Palletizing) หมายถึงการจัดเรียงสินค้าที่บรรจุแล้ว เช่น กล่อง บนแผ่นพาเลท (pallet) เพื่อ
สะดวกในการขนถ่ายวัสดุ (material handing) การจัดเก็บ และการกระจายสินค้า

~ 100 ~
Racking Load Dynamic Load

Static Load

มาตรฐานการวางสินค้าบนพาเลท ขนาด100 x 120 cm


3. Skids and Skid boxes
คอกไม้กั้นสินค้าบนพาเลท สาหรับเคลื่อนย้ายระวางสินค้าที่เปราะบางหรือจาเป็นต้องบรรจุใส่กล่องโดยไม่
จาเป็นต้องใช้ห่อหุ้มด้วยพลาสติกชนิดหดตัวที่มีต้นทุนสูง สามารถวางซ้อนกันได้ มีทั้งแบบปิดผา และไม่ผิดฝา
รวมทั้งสามารถนากลับมาใช้ซ้าได้หลายครั้ง

~ 101 ~
GPaks

GPAK สามารถใช้ในงานเก็บรักษา ขนส่ง และการกระจายสินค้า ซึ่งจาเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาเป็นพิเศษ


หรือขนย้ายยาก GPAK สามารถช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งและค่าขนถ่ายสินค้า (handling cost) นับตั้งแต่
อุตสาหกรรมยานยนต์ ยา แฟชั่น อิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงอุตสาหกรรมคมนาคมขนส่ง อีกทั้งยังสามารถรักษา
ความปลอดภัยให้กับผลิตภัณฑ์
ถุงจัมโบ้ Big Bag
ขนาด 90 x 90 x 120 cm. (กว้าง x ยาว x สูง) ส่วนใหญ่ใช้สาหรับบรรจุซีเมนต์ข้าวสาร ทราย เคมีภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์จากแร่ สินค้าเกษตร (ทั้งผงและเมล็ด) และสามารถบรรจุได้ 500-2,000 กิโลกรัม

~ 102 ~
4.Tote pants
ลังกระจายสินค้า ( Distribution )

~ 103 ~
5. Stretch-wrap ฟิล์มยืดพันพาเลท
เพื่อรวมสินค้าเป็นหนึ่งเดียวกัน ในการหุ้มห่อสินค้าเพื่อความเป็นระเบียบ ช่วยอานวยความสะดวกต่อการ
ขนส่ง และเก็บรักษา ป้องกันสิ่งปนเปื้อน ยืดอายุสินค้าในการวางขาย หรือตั้งโชว์ และสะดวกในการขนส่ง
สินค้า ทั้งใน-ต่างประเทศ ทั้งการห่อรัดสินค้ารวมกับพาเลท
1. ฟิล์มยืดแบบพันด้วยมือ (Hand-roll)
2. ฟิล์มยืดแบบพันด้วยเครื่องจักร (Machine-roll)

~ 104 ~
7. Palletizer
Palletizer หรือ เครื่องจัดวาง เป็นเครื่องที่ทางานอัตโนมัติสาหรับการขนของสินค้า
หรอผลิตภัณฑ์ลงบนพาเลทด้วยตนเอง สามารถวางกล่องบนพาเลท ได้อย่างรวดเร็ว

8. เครื่องหดรัดรูป (Shrink Wrapping Machine)


Shrink Packaging Machine (เครื่องอบฟิล์มหดหรือเครื่องหดรัดรูป) เป็นเครื่องที่เหมาะมากสาหรับการ
บรรจุสินค้าที่ต้องการที่จะซีลหรือห่อหุ้มฟิล์มเพื่อป้องกันฝุ่น ป้องกันการแกะสินค้าก่อนจ่ายเงิน และป้องกัน
ไม่ให้สินค้ามีรอยขีดข่วนและป้องกันไม่ให้สินค้าเกิดความเสียหายเพื่อรวมสินค้าให้เป็นแพ็คเป็นโหลและเพื่อ
ความสวยงามของสินค้า

**Note : ให้นักศึกษาเข้าทากิจกรรมในระบบการเรียนการสอนออนไลน์ เพือ่ ติดตามภาระงานที่อาจารย์มอบหมายในแต่ละสัปดาห์ เช่น


แบบฝึกหัด, แบบทดสอบก่อนเรียน, แบบทดสอบหลังเรียน และกิจกรรมอื่นๆ เสมือนการเรียนในห้องเรียนจริง เป็นต้น

~ 105 ~

You might also like