You are on page 1of 27

รายงาน

เรื่อง กิจกรรมโลจิสติกส์ / การบรรจุภัณฑ์

จัดทำโดย

น.ส.รัชชิดา สุโทวา ปวส. 1 / 5 เลขที่ 33

เสนอ

อาจารย์ปริญดา จันทสิทธิ์

รายงานนี้เป็ นส่วนหนึ่งของวิชา โลจิสติกส์และซัพพลาย


เชน
ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2566

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ

คำนำ

รายงานเล่มนี้่่จัดทำขึ้นเพื่อเป็ นส่วนหนึ่งของวิชา โลจิสติกส์และ


ซัพพลายเชน ชั้น ปวส. 1 / 5 เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่่อง การบรรจุ
ภัณฑ์ และได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็ นประโยชน์กับการเรียน

ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็ นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน


นักศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาด
ประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

น.ส.รัชชิดา สุโทวา
สารบัญ

เรื่อง หน้า
บทนำ 4–6
ความหมายของโลจิสติกส์ 4
องค์ประกอบของโลจิสติกส์ 4
ความสำคัญของโลจิสติกส์ 4
กิจกรรมของลิสติกส์ 5
บทบาทของบรรจุภัณฑ์ในงานโลจิ 6
สติกส์
การบรรจุภัณฑ์ 7 - 16
ความหมายของการบรรจุภัณฑ์ 7
บทบาทและหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ 7
โลจิสติกส์
ความสำคัญของบรรจุภัณฑ์ กับการ 8
ทำธุรกิจ
วัตถุประสงค์ของบรรจุภัณฑ์ 8
การจัดการบรรจุภัณฑ์ (packaging 9
management)
ประเภทของบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์ 9
ประเภทของ Packing (แพ็คกิ้ง) 10
ลักษณะของการบรรจุภัณฑ์ 11
ปั ญหาของการจัดการบรรจุภัณฑ์โล 11
จิสติกส์
แนวทางการจัดการบรรจุภัณฑ์โลจิ 13
สติกส์ให้มีประสิทธิภาพ
บรรจุภัณฑ์พลาสติกกับงานโลจิสติ 15
กส์ (Logistics) ความสะดวกสบาย
ที่เอื้อประโยชน์ต่อกัน
อ้างอิง 17
บทนำ

โลจิสติกส์ หรือ ลอจิสติกส์ (logistics) หมายถึง กิจกรรมที่มีการ


เคลื่อนย้าย จัดเก็บสินค้า วัสดุ วัตถุดิบ เอกสาร จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง ใน
ระยะเวลาชั่วคราวหรือระยะเวลายาวนาน โดยมีความพยายามในการจัดการ
กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ ให้เกิดค่าใช้จ่ายโดยรวมต่ำที่สุด

กระบวนการส่วนหนึ่งของ โลจิสติกส์ ในการขนส่ง ของการจัดการ


เท่านั้น ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็ นอีกส่วนของการจัดการโลจิสติกส์ (logistics)
อีกมากมาย ตัวอย่างเช่น การจัดการคลังสินค้า , การกระจายสินค้า , การ
จัดการสินค้าคงคลัง , การบรรจุภัณฑ์ ,การรับส่ง , ข้อมูลต่างและระบบ
สารสนเทศต่างๆ เป็ นต้น

องค์ประกอบของโลจิสติกส์

การคลังสินค้า – เพื่อจัดเก็บและรักษาวัตถุดิบและสินค้า
การบรรจุสินค้าและบรรจุภัณฑ์ – โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของ
สินค้า และความสะดวกในการจัดเก็บและขนส่ง

การสต็อคสินค้าหรือการจัดการสินค้าคงคลัง – ทั้งการไหลเวียนของ
สินค้า การคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า และสถานที่ที่เหมาะสมในการ
จัดเก็บสินค้า

การขนส่งสินค้า – ทั้งประเภทของการขนส่งและวันหมดอายุของ
สินค้า

การจัดการข้อมูล – เพื่อวางแผนการจัดการโลจิสติกส์ที่แม่นยำและมี
ประสิทธิภาพมากขึ้น

ความสำคัญของโลจิสติกส์

โลจิสติกส์ถือเป็ นส่วนสำคัญในเกือบทุกวงการธุรกิจ โดยนอกเหนือไป


จากการออกแบบและผลิตสินค้าให้ถูกใจกลุ่มเป้ าหมายแล้ว การขนส่งสินค้า
ไปให้ถึงมือของลูกค้าก็เป็ นเรื่องที่ไม่สามารถละเลยได้เช่นกัน โดยหากสินค้า
เสียหายหรือไปถึงมือลูกค้าช้า ย่อมส่งผลกระทบต่อบริษัทอย่างแน่นอน และ
นอกเหนือไปจากการขนส่งสินค้าไปให้ลูกค้าแล้ว การขนส่งและจัดเก็บ
วัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพจะส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตลดลง หรือสามารถ
เพิ่มกำลังผลิตให้สูงขึ้นในเวลาเท่าเดิมได้ จึงอาจกล่าวได้ว่า การจัดการโลจิ
สติกส์ที่ดีย่อมส่งผลต่อผลกำไรของบริษัทโดยตรง
กิจกรรมของโลจิสติกส์

กิจกรรมในกระบวนการโลจิสติกส์ ประกอบไปด้วย 14 กิจกรรม แบ่ง


เป็ นกิจกรรมหลัก 7 กิจกรรม กิจกรรมรอง 7 กิจกรรม ดังนี้

1. การบริการลูกค้า ( Customer service )

2. กระบวนการรับคำสั่งซื้อ ( Order Processing )

3. การพยากรณ์อุปสงค์ ( Demand Forecasting )

4. การจัดการสินค้าคงคลัง ( inventory management )

5. การจัดการการขนส่ง ( transportation)

6. การจัดการคลังสินค้า ( Warehousing and Storage )

7.โลจิสติกส์ย้อนกลับ (reverse logistics)

8. การจัดการวัสดุ (Material Management)

9. การสนบสนุนอะไหล่และการให้บริการ ( Part and Service


Support )

10. การจัดการสถานที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้า (Location


Selection)

11. การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบและสินค้าในระหว่างการผลิต
(Material Handling)

12. บรรจุภัณฑ์ (Packaging)


13. การติดต่อสื่อสารทางด้านโลจิสติกส์ ( Logistics
Communications)

14. การวางแผนการผลิต ( Production Planning )

บทบาทของบรรจุภัณฑ์ในงานโลจิสติกส์

บรรจุภัณฑ์นับว่ามีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจเนื่องจาก
สามารถเป็ นสื่อโฆษณา ณ จุดขายปลีกไปสู่มือผู้ซื้อโดยตรง แสดงถึงชื่อเสียง
ของบริษัทผู้ผลิต ตราสินค้า คุณสมบัติสรรพคุณและวิธีการใช้สินค้า และยัง
ช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้สินค้าและองค์กรได้นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์ยังมี
บทบาทสำคัญต่อการค้าและการบริการ ในฐานะช่วยอำนวยความสะดวกแก่
การขนส่งสินค้า โดยทำหน้าที่ในการปกป้ องและคุ้มครองสินค้าให้ปลอดภัย
จนถึงมือผู้บริโภค บรรจุภัณฑ์เป็ นปั จจัยหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับ
ผลิตภัณฑ์และการตลาดได้การตัดสินใจซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มิได้
ขึ้นอยู่กับชนิดและคุณภาพของสินค้าเพียงอย่างเดียวหากแต่ยังขึ้นอยู่กับรูป
แบบและภาพลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์จูงใจภายนอกของสินค้านั้นด้วยทำให้
บรรจุภัณฑ์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ปั จจุบันสภาพการแข่งขันและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปประกอบกับ
เทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์ได้เจริญรุดหน้าเป็ นอย่างมาก ทำให้มีการพัฒนา
บรรจุภัณฑ์ ทั้งในด้านการออกแบบและวัสดุบรรจุภัณฑ์อุปกรณ์เครื่องจักร
และเทคโนโลยีการผลิตดังนั้น ในการจัดการบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์ให้มี
ประสิทธิภาพนั้น จะต้องพิจารณาถึงแนวทางการจัดการต่างๆได้แก่การ
พัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์ การเพิ่มการจ้างงานในการบรรจุภัณฑ์ การเลือก
วัสดุบรรจุภัณฑ์ การป้ องกันสูญหายในระหว่างการขนส่ง การจัดการบรรจุ
ภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีในการบรรจุภัณฑ์ทั้งนี้การ
จัดการบรรจุภัณฑ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพ ช่วยลดต้นทุนของธุรกิจ และเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการกระจายสินค้าให้ลูกค้าได้อย่างมีคุณภาพและทันเวลา
ซึ่งเป็ นปั จจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จสามารถแข่งขันและอยู่
รอดได้ในยุคโลกาภิวัตน์

การบรรจุภัณฑ์

คือ บรรุภัณฑ์ที่ช่วยปกป้ องรักษาสินค้าที่อยู่ภายนให้คงคุณภาพ


ระหว่างการขนส่ง เคลื่อนย้ายสินค้า เนื่องจากในการเคลือนย้ายในกิจกรรม
ของโลจิสติกส์ อาจทำให้สินค้าเกิดความเสียหาย บรรจุภัณฑ์จึงมีส่วนสำคัญ
ในกิจกรรมของโลจิสติกส์ ทั้งนี้การนำสินค้าใส่บรรจุภัณฑ์นั้นยังช่วยให้ง่าย
ต่อการเคลื่อนย้ายสินค้า ไม่เสียพื้นที่การขนส่งนส่วนของยานพาหนะและ
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ยังช่วยสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า

บรรจุภัณฑ์ (Packaging) หมายถึง ภาชนะ กล่อง หีบ ห่อ ลัง พาเลท


ตู้ หรือสิ่งอื่นใดที่ทำหน้าที่บรรจุสินค้าหรือสิ่งของไว้ภายใน จึงมีส่วนสำคัญที่
ทำให้ระบบโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพและเป็ นเครื่องมือในการกระจายสินค้า
ไปสู่ผู้บริโภค โดยหน้าที่หลักของบรรจุภัณฑ์เพื่อการเก็บรักษาสินค้าให้คง
สภาพเดิมและไม่ได้รับความเสียหายระหว่างการเดินทาง อีกทั้งยังสามารถ
จัดเรียงสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

บทบาทและหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์

สำหรับหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ด้านโลจิสติกส์ ในการออกแบบบรรจุ
ภัณฑ์และอุปกรณ์ขนส่ง จะเน้นด้านความสะดวกต่อการใช้งานและต้นทุน
โดยปรับเปลี่ยนวัสดุ ลดขนาด หรือเพิ่มขนาดกล่องสินค้า วัสดุกันกระแทก
อย่างเช่น แผ่นกระดาษลูกฟูก พาเลทกระดาษ ให้เหมาะสมกับสินค้า ซึ่ง
บทบาทและหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์ แบ่งออกเป็ น 3 ประการ ได้แก่

1.ทำหน้าที่ด้านการเก็บรักษา (storage support) ในระบบโลจิสคิกส์


บรรจุภัณฑ์จะทำหน้าที่ปกป้ องสินค้าไม่ให้ได้รับความเสียหาย และอำนวย
ความสะดวกในการจัดเก็บหรือจัดวางสินค้าในขณะจัดส่งให้เป็ นระเบียบ
สามารถตรวจนับและตรวจสอบสินค้าได้ง่าย

2.ทำหน้าที่ด้านการขนส่ง (transport support) เพื่อให้เกิดความ


สะดวกและมีความปลอดภัยในการเคลื่อนย้าย

3.ทำหน้าที่ลดต้นทุน(cost reduction) ในการทำให้ประหยัดเนื้อที่


ทั้งเพื่อการเก็บรักษาและเพื่อการขนย้สยสินค้า เนื่องจากบรรจุภัณฑ์สามารถ
จัดวางเรียงทับซ้อน ทำให้ขนส่งได้ครั้งละมากๆ

ความสำคัญของบรรจุภัณฑ์

1.บรรจุภัณฑ์เป็ นปั จจัยหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และ


การตลาดได้ การตัดสินใจซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับภาพ
ลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์ซึ่งเป็ นสิ่งจูงใจ

2.บรรจุภัณฑ์ มีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ เนื่องจาก


สามารถเป็ นสื่อโฆษณา ณ จุดขายปลีกให้เข้าถึงกลุ่มผู้ซื้อได้โดยตรง ฉลาก
สินค้ายังแสดงชื่อเสียงของบริษัทผู้ผลิต ตราสินค้า คุณสมบัติ สรรพคุณและ
วิธีการใช้สินค้าไว้อย่างชัดเจน

3.บรรจุภัณฑ์ช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้สินค้าและองค์กรได้ เช่น การ


เลือกใช้ กล่องกระดาษ พาเลทกระดาษ กระดาษลูกฟูก หรือบรรจุภัณฑ์
อื่นๆที่เป็ นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้แล้วสามารถนำกลับมาใช้ไหม่ได้หรือย่อย
สลายได้เองตามธรรมชาติ

4.องค์กรธุรกิจที่มีการการจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพ
ช่วยลดต้นทุนของธุรกิจ และเพิ่ม

ประสิทธิภาพในการกระจายสินค้าให้ลูกค้าได้อย่างมีคุณภาพและทันเวลา

5.บรรจุภัณฑ์ที่ดีจะช่วยลดความเสียหายต่างๆ จากการระเหย การ


แตกหัก และการเสื่อมสภาพ ทำให้ได้รับความไว้วางใจและเชื่อมั่นจากลูกค้า

บทบาทของบรรจุภัณฑ์ต่อระบบขนส่งหรือโลจิสติกส์ ก็เพื่อทำหน้าที่
ปกป้ องสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภคอย่างปลอดภัย การออกแบบและเลือกใช้
บรรจุภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพมาตรฐาน นอกจากช่วยปกป้ องสินค้าใน
กระบวนการขนส่งแล้ว ยังเป็ นการส่งเสริมการขายได้อีกทางหนึ่งด้วย

วัตถุประสงค์ของบรรจุภัณฑ์

1. เพื่อช่วยปกป้ องคุ้มครองและรักษาคุณภาพสินค้า

2. เพื่อเป็ นตัวบ่งชี้ และสื่อสารรายละเอียดสินค้า ดึงดูดผู้บริโภคให้


แสดงถึงภาพลักษณ์

3. เพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถเอื้อประโยชน์ด้านหน้าที่ใช้สอยได้ดี
มีความปลอดภัย ประหยัดและมีประสิทธิภาพ

4. เพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถสื่อสาร และสร้างผลกระทบต่อผู้
บริโภคโดยใช้ความรู้แขนงศิลปะเข้ามาสร้างคุณลักษณะเช่น มีเอกลักษณ์
ลักษณะพิเศษที่ดึงดูดและสร้างการจดจำตลอดจนเข้าถึงความหมายและคุณ
ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์

การจัดการบรรจุภัณฑ์ (packaging management)

เป็ นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางโลจิสติกส์ โดยเฉพาะปั จจุบันที่การ


ผลิตสินค้าหรือบริการให้ความสำคัญกับผู้บริโภค ทำให้การบรรจุภัณฑ์มี
บทบาทมากขึ้นเนื่องจากมีสินค้าชนิดใหม่เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา การแข่งขัน
ทางธุรกิจก็เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อสินค้าย่อมไม่อาจติดตามการ
เคลื่อนไหวของสินค้าได้ตลอดเวลาบรรจุภัณฑ์จึงต้องทำหน้าที่แนะนำ
ผลิตภัณฑ์ที่ถูกบรรจุอยู่ให้กับผู้ซื้อ และต้องดึงความสนใจของผู้ซื้อที่ไม่เคยใช้
ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ให้สนใจใช้สินค้า และเกิดความพอใจที่จะซื้อใช้อีกบรรจุ
ภัณฑ์จะทำหน้าที่ขายและโฆษณาสินค้าควบคู่กันไปในตัวด้วย ดังนั้น การ
บรรจุภัณฑ์จึงมีความสำคัญ เพราะการมีบรรจุภัณฑ์และการขนส่งที่เหมาะ
สม นอกจากจะช่วยลดความเสียหายแล้ว ยังทำให้ธุรกิจสามารถจำหน่าย
สินค้าได้ในราคาที่สูงขึ้นการจัดการบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพ
เป็ นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งของธุรกิจ เพราะบรรจุภัณฑ์จะเกี่ยวข้องกับกิจกรรม
ทางโลจิสติกส์และนับวันจะมีส่วนสำคัญต่อการผลิตและประสิทธิภาพของ
ระบบโลจิสติกส์ ซึ่งจะมีการเคลื่อนย้ายแลกเปลี่ยนสินค้าทางไกลกันมากยิ่ง
ขึ้น บรรจุภัณฑ์จึงมีส่วนสำคัญต่อการลดต้นทุนโลจิสติกส์และมีส่วนสำคัญ
เพื่อให้ระบบโลจิสติกส์มีการขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านเชิง
เวลาประสิทธิภาพและต้นทุน รวมถึงมีส่วนสำคัญในลักษณะที่มีการบ่ง
ชี้(identify) แหล่งที่มาและแหล่งที่จะส่งมอบ(delivery) อีกด้วย
ประเภทของบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์

บรรจุภัณฑ์อาจจำแนกออกตามวัตถุประสงค์ของการบรรจุภัณฑ์ การ
บรรจุภัณฑ์มีความสำคัญที่สุดสำหรับสินค้าสะดวกซื้อ (convenience
goods) จะเห็นได้ว่าสินค้าที่วางขายตามห้างสรรพสินค้าทุกประเภทจะต้อง
มีการบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะสินค้าที่ต้องมีความระมัดระวังเป็ นพิเศษ เช่น
อุปกรณ์ราคาแพง ซึ่งต้องมีการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อให้เหมาะสมกับ
ผลิตภัณฑ์ และมีาตรฐานความปลอดภัยจนถึงมือผู้บริโภค เพื่อให้สะดวกทั้ง
ผู้บริโภคและผู้ผลิต แต่สำหรับประเภทของบรรจุภัณฑ์ตามการใช้ในงานโลจิ
สติกส์ แบ่งได้เป็ นดังนี้

1. บรรจุภัณฑ์เพื่อการขายปลีก (retail package)

เป็ นบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบไว้เพื่อความสะดวกต่อการส่งมอบสินค้าให้
กับผู้บริโภคโดยตรง จึงมีการออกแบบให้มีความสะดุดตา และเป็ นสื่อ
โฆษณาภายในตัวเองนอกจากนี้ยังทำหน้าที่ปกป้ องสินค้ามีรูปร่างที่เหมาะแก่
การใช้งานและมีการออกแบบเชิงส่งเสริมการตลาดหรือเชิงพาณิชย์

2. บรรจุภัณฑ์เพื่อการขายส่ง (wholesale package)


เป็ นบรรจุภัณฑ์ที่แบ่งสินค้าออกเป็ นชุดเพื่อสะดวกในการจัดจำหน่าย
เช่น 6 ชิ้น 12 ชิ้น หรือ 24 ชิ้น เพื่อป้ องกันรักษาไม่ให้สินค้าเสียภายใน
ระหว่างการเก็บรักษาในคลังสินค้าหรือจากการขนส่งและสะดวกต่อการส่ง
มอบสินค้าไปสู่ผู้ขายปลีกหรือขายส่งซึ่งบรรจุภัณฑ์นี้สำคัญต่อกระบวนการ
กระจายสินค้าที่เรียกว่า DC(Distribution Center) หรือ ศูนย์กระจายสินค้า

3. บรรจุภัณฑ์ชั้นนอกหรือบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง(out
package/transport package)

เป็ นบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบเพื่อใช้บรรจุสินค้า เพื่อให้สามารถจัดเรียง


หรือจัดวางโดยใช้พื้นที่ได้น้อยที่สุด เพื่อใช้ในการขนส่ง รวมถึง ให้มีสภาพ
แข็งแรงเพื่อป้ องกันการกระแทกหรือป้ องกันละอองน้ำหรือน้ำไม่ให้สินค้า
เสียหายระหว่างการเคลื่อนย้ายหรือขนส่ง เช่น ลังไม้หรือที่บรรจุในพา
เลท(pallet) เป็ นต้น

ประเภทของ Packing (แพ็คกิ้ง)

CARTON กล่องกระดาษ

เป็ นบรรจุภัณฑ์ ที่มีน้ำหนักเบา ต้นทุนต่ำ และเคลื่อนที่ขนย้ายได้


สะดวก ใช้บรรจุสินค้าที่ไม่เกิดความเสียหายได้ง่าย ไม่จำเป็ นต้องป้ องกันการ
แตกหัก เช่น กล่องบรรจุนม ถาดใส่ไข่

CASE ลังไม้แบบโปร่ง
เป็ นบรรจุภัณฑ์ที่ลักษณะโปร่งเป็ นเพียงโครงไม้ ไม่สามารถป้ องกันการ
ทิ่มแทงจากวัตถุภายนอกได้ ใช้บรรจุสินค้าที่มีน้ำหนักสูงและสินค้าที่ทำจาก
โลหะ เช่น เครื่องจักรบางชนิดหรือ หิน

CRATE ลังไม้ทึบ

เป็ นบรรจุภัณฑ์ที่มีความแข็งแรงสูง ป้ องกันการกระแทกได้รอบด้าน


และสามารถรับน้ำหนักได้มาก ใช้บรรจุสินค้าที่มีโอกาสเสียหายสูง

PALLET พาเลทไม้

เป็ นฐานรองเลื่อนไม้ใช้ร่วมกับบรรจุภัณฑ์ชนิดอื่นๆ ในการขนส่งที่นิยม


ใช้กันมาก เนื่องจากมีความสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายโดยใช้เครื่องทุ่นแรงยก
ขนสามารถจัดเรียงสินค้าได้เป็ นระเบียบ

ลักษณะของการบรรจุภัณฑ์

1. บรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่ง (Primary Packaging)คือ บรรจุภัณฑ์ที่มาห่อ


หุ้มตัวสินค้า เพื่อป้ องกันรักษาไม่ให้ตัวสินค้าได้รับความเสียหายหรือเพื่อ
ความสะดวกในการน าไปใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น หลอดยาสีฟั นขวดแชมพู

2. บรรจุภัณฑ์ขั้นที่สอง (Secondary Packaging) คือ บรรจุภัณฑ์ที่มา


ห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่งเพื่อป้ องกันไม่ให้ตัวสินค้าได้รับความเสียหาย อีก
ทั้งยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้า ช่วยในการขายสินค้าโดยการดึงดูด
ความสนใจของผู้บริโภคยกตัวอย่างเช่น กล่องยาสีฟั น และกล่องใส่ขวดเบียร์

3. บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Shipping Packaging) คือ บรรจุภัณฑ์ที่


ทำหน้าที่ในการเก็บรักษาและขนส่งสินค้า ยกตัวอย่างเช่น ลัง ตู้
คอนเทนเนอร์ เป็ นต้น

ปั ญหาของการจัดการบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์

การจัดบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพที่มีความจำเป็ นต่อความสำเร็จของ
ธุรกิจ ทั้งต่อกระบวนการดำเนินการ และการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการ
ขนส่ง อย่างไรก็ตามการจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ไม่มีประสิทธิภาพจะก่อให้เกิด
ปั ญหาดังนี้

1. ปั ญหาการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ (packaging development)

เมื่อนำผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เข้าสู่ตลาดเพื่อวางจำหน่ายจำเป็ นต้องมีการ
บรรจุภัณฑ์และการติดฉลาก การพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์จะมีบทบาทต่อ
การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในปั จจุบันการออกแบบบรรจุภัณฑ์เป็ นเครื่อง
มือทางการตลาดที่สำคัญ เพราะบรรจุภัณฑ์ที่ถูกออกแบบมาดีทำให้ง่ายต่อ
การใช้งานของผู้บริโภค มีส่วนทำให้ผู้บริโภคจดจำสินค้าได้ทันทีช่วยในการ
ส่งเสริมการขายของผู้ผลิตได้ และดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคหากไม่มี
การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ธุรกิจจะไม่สามารถแข่งขันทางการค้าได้ดังนั้น การ
พัฒนาบรรจุภัณฑ์จะต้องสอดรับประเด็นการตลาดการกระจายสินค้า และ
การผลิตซึ่งจะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องโลจิสติกส์ทั้งในส่วนของการออกแบบที่
เข้ากับการใช้งาน รวมถึงเป็ นเครื่องมือประชาสัมพันธ์ให้เหมาะสมกับรูป
แบบการขนส่งที่กำหนด

2. ปั ญหาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (packaging design)

บรรจุภัณฑ์รวมถึงภาชนะที่บรรจุ(container) และการออกแบบ สีสัน


รูปร่าง ตราฉลาก ข้อความโฆษณาประชาสัมพันธ์การออกแบบบรรจุภัณฑ์
ใดๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถเอื้ออำนวยคุณประโยชน์
ด้านหน้าที่ใช้สอยได้ดีและเพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถสื่อสาร และสร้าง
ผลกระทบทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภคปั ญหาที่พบในการออกแบบบรรจุภัณฑ์
ได้แก่ตราเครื่องหมายไม่เด่นขาดความสวยงามการออกแบบไม่สะดวกต่อ
การใช้งาน และไม่สะดวกในการเก็บรักษา ดังนั้น การออกแบบบรรจุภัณฑ์
จึงสำคัญอย่างยิ่งในตลาดปั จจุบัน นักออกแบบบรรจุภัณฑ์จึงต้องใช้ความรู้
และข้อมูลจากหลายๆ ด้านมาประกอบกัน การใช้ทักษะทางศิลปะในการ
ออกแบบ ต้องอาศัยความรู้และข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้ผลงานที่สำเร็จออกมา
มีประสิทธิภาพในการใช้งานจริง และสอดคล้องกับภาวการณ์แข่งขัน
ทางการค้าเช่นในสภาพปั จจุบัน
3. ปั ญหาการขาดบุคลากรในด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์

การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีความสลับซับซ้อนมากๆ ทำให้เกิดปั ญหา


หลายประการ เช่น การผลิต การบรรจุ และรวมทั้งการขนส่ง ถ้าไม่คำนึงถึง
สภาพการณ์ที่เป็ นจริงแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือบรรจุภัณฑ์นั้นจะไม่สามารถใช้
งานได้เต็มที่เท่าที่ควร และจะก่อให้เกิดความเสียหายรวมในการลงทุนได้จน
กลายเป็ นการเพิ่มต้นทุนโดยไม่จำเป็ น ปั ญหาการขาดบุคลากรในด้านการ
ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีความรู้อย่างลึกซึ้งหรือขาดการสนับสนุนจากหน่วย
งานที่เกี่ยวข้อง และขาดการศึกษาวิจัยอย่างจริงจังถือเป็ นอุปสรรคสำคัญที่
ทำให้การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของประเทศยังไม่ครบวงจร

4. ปั ญหาการเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ (packaging materials)

การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์มีส่วนสำคัญในการเพิ่มมูลค่าและสร้างความ
โดดเด่นให้กับตัวสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่มีคุณสมบัติพิเศษเหนือ
กว่าสินค้าอื่นในท้องตลาด ซึ่งต้องเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงยกระดับ
มาตรฐานสินค้าให้สูงขึ้นการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมกับสินค้าจะ
ทำให้สินค้าดูด้อยคุณภาพไม่ได้มาตรฐานดังนั้นผู้เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ต้องรู้จัก
ชนิดของวัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ด้านคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติ
ทาง

แนวทางการจัดการบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพ

เนื่องจากการจัดการบรรจุภัณฑ์ เป็ นกิจกรรมที่สำคัญกิจกรรมหนึ่ง


ของระบบโลจิสติกส์และเป็ นหนึ่งในกิจกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาด
ให้กับสินค้า (value of goods in the market) เพราะเป็ นภาพลักษณ์ของ
สินค้าที่ผู้บริโภคได้สัมผัส และมีบทบาทในการชี้ขาดการตัดสินใจของผู้
บริโภคต่อสินค้าอีกทั้งยังทำหน้าที่ปกป้ องให้สินค้าให้ถึงมือผู้บริโภคปลาย
ทางอย่างปลอดภัยโดยสอดคล้องกับวิธีหรือกระบวนการในการจัดส่งและ
การกระจายสินค้า ดังนั้น แนวทางการจัดการบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์ให้มี
ประสิทธิภาพ สรุปได้ดังนี้

1. การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ (packaging development)ในอดีตบรรจุ


ภัณฑ์มีหน้าที่เพียงห่อหุ้มและปกป้ องผลิตภัณฑ์เท่านั้นแต่ปั จจุบันบรรจุภัณฑ์
มีหน้าที่ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านผลิตภัณฑ์และรูปลักษณ์ที่สามารถ
ดึงดูดผู้ซื้อตลอดจนสามารถใช้ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมด้านสังคมของ
องค์กร เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้า จากสภาพ
การแข่งขันในตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้
อุตสาหกรรมการบรรจุภัณฑ์เติบโตมากทั้งด้านการออกแบบวัสดุบรรจุภัณฑ์
อุปกรณ์เครื่องจักรและเทคโนโลยีการผลิต พร้อมทั้งบทบาทความสำคัญที่
เพิ่มมากขึ้นของบรรจุภัณฑ์ต่อความสำเร็จทางการตลาด ทั้งนี้ความก้าวหน้า
ทางเทคโนโลยีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์รูปแบบต่างๆ จากวัสดุหลากหลาย
กระแสของการรักษาสิ่งแวดล้อมในประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่งผลให้มีการ
พัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่มุ่งสู่การใช้วัสดุน้อยลงและเพิ่มความเป็ นมิตรต่อสิ่ง
แวดล้อมมากขึ้นหัวใจสำคัญในการพัฒนาคือ ความพยายามลดจุดด้อยของ
บรรจุภัณฑ์แต่ละชนิด

2. การออกแบบบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์ (packaging logistics


design)
การบรรจุภัณฑ์เป็ นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการออกแบบการสร้างสิ่งบรรจุ
เพื่อห่อหุ้มสินค้าให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยป้ องกันไม่ให้เกิดการแตกหักของ
สินค้า การสูญหายของสินค้า และการเสื่อมสภาพของสินค้า ธุรกิจสามารถ
ลดความเสี่ยงภัยดังกล่าวได้ด้วยบรรจุภัณฑ์ที่แข็งแรงทนทานต่อการกดทับ
และการเสียดสีที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายและขนส่งสินค้า รวมทั้งมีการ
กำหนดมาตรฐานของบรรจุภัณฑ์ เช่น ขนาด น้ำหนัก ของหีบห่อ เพื่อให้การ
ขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าเป็ นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การออกแบบบรรจุภัณฑ์
สำหรับโลจิสติกส์ จะต้องมีลักษณะ ดังนี้

(1) สอดรับกับเรื่องของการตลาด/การจัดจำหน่าย/ผลิตภัณฑ์
(marketing/ distribution/ product/)

(2) จะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องโซ่อุปทานหรือ supply chain ทั้งใน


ส่วนของการออกแบบที่เข้ากับการใช้งาน

(3) เหมาะสมกับรูปแบบการขนส่งที่กำหนด

(4) จะต้องช่วยในการลดต้นทุน (cost) ในกระบวนการต่างๆ

(5) คำถึงการจัดเก็บในคลังสินค้า (warehouse)

(6) สามารถเสริมช่วยในการบริหารพื้นที่ว่าง(space)ของการบรรทุก
หรือการออกแบบการขนส่ง(transport design) ที่ต้องเหมาะกับผลิตภัณฑ์
ที่บรรจุภายใน

(7) การใช้วัสดุที่เบา เพราะจะทำให้ประหยัดค่าขนส่ง


(8) ช่วยให้บรรทุกสินค้าได้ทำให้เกิดการบรรทุกสินค้าเต็มคันรถ เกิด
ความสะดวกในการยกขนและความสะดวกในการรองรับสินค้า

(9) ช่วยลดของหายและเสียหาย เช่น การใช้พลาสติกใสส่งผลให้


สามารถมองเห็นสินค้าภายในบรรจุภัณฑ์ ทำให้ทราบว่าสินค้าสูญหายหรือ
เสียหายหรือไม่นอกจากนี้ยังช่วยให้ลูกค้าสามารถเลือกสีของสินค้าได้สะดวก

(10) ช่วยเสริมภาพลักษณ์ของกิจการ และคำนึงถึงการนำกลับมาใช้


ใหม่อีกครั้ง

(11) ออกแบบให้สามารถวางทับซ้อนกันได้ส่งผลให้เกิดการขนส่งเต็ม
คันรถ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดความสูญเปล่าในกระบวนการ
และลดต้นทุนได้จำนวนมาก

4. การเลือกวัสดุบรรจุภัณฑ์ (packaging materials)

การเลือกวัสดุและวิธีการบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับผลิตภัณฑ์ ต้องอาศัย
ความรู้และพิจารณาข้อมูลตลอดจนปั จจัยต่างๆ ซึ่งต้องพิจารณามีความคุ้ม
ทุน หรือความเป็ นไปได้ในระบบการผลิตและจัดจำหน่าย ปั จจัยในการ
พิจารณาเลือกใช้วัสดุและบรรจุภัณฑ์ได้แก่สภาพทางการตลาดและข้อจำกัด
ต่างๆ ธรรมชาติลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์สภาพการลำเลียง การขนส่ง
การเก็บรักษาวิธีการบรรจุผลิตภัณฑ์ และการจัดหาวัสดุบรรจุ ปั จจุบันวัสดุ
หลักๆ ที่ใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆ แบ่งออกเป็ น 4 ประเภทคือ
กระดาษพลาสติก โลหะ และแก้ว ซึ่งแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะที่โดด
เด่นแตกต่างกันออกไป การเลือกวัสดุไปใช้จึงต้องคำนึงถึงสินค้าที่อยู่ภายใน
ด้วย ลักษณะของบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสินค้านั้น ต้องสอดคล้องกับ
ลักษณะของสินค้าที่บรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ว่ามีลักษณะเป็ น น้ำ ครีม ผง เม็ด
ก้อน แผ่นบางกรอบ ก๊าซ หรือลักษณะอื่นๆ ซึ่งอาจช่วยให้สินค้าสามารถอยู่
ในสภาพที่ต้องการได้โดยไม่แตกหักเสียหาย และเน่าเสียก่อนเวลาที่กำหนด
ไว้

5. การลดค่าใช้จ่ายในการบรรจุภัณฑ์ (cost saving)

บรรจุภัณฑ์ที่ใช้เป็ นส่วนหนึ่งของการขายให้กับผู้บริโภค ณ จุดซื้อหรือ


ผู้ใช้รายสุดท้าย บรรจุภัณฑ์มีความจำเป็ นอย่างมากในการรักษาสินค้าให้คง
อยู่สภาพเดิมที่สุด ในขณะเดียวกันก็ยังมีประโยชน์อย่างยิ่งในการขนส่ง
สินค้าได้โดยสะดวก เช่น เมื่อนำสินค้าที่เป็ นกระป๋ อง ลงกล่องกระดาษจะ
ทำให้สามารถทำการขนถ่ายได้เป็ นจำนวนมากขึ้น พร้อมทั้งลดปริมาณพื้นที่
ในการเก็บคงคลัง ก่อให้เกิดความสะดวกในการเรียงซ้อน ซึ่งผู้ประกอบการ
ค้าโดยทั่วไปค้นพบว่า การเพิ่มต้นทุนของบรรจุภัณฑ์ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายใน
การขนส่ง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ยังผลให้ต้นทุนรวมของสินค้ามีมูลค่าถูกลง
และผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าด้วยราคาที่ถูกลง ซึ่งเท่ากับเป็ นการลดค่าใช้
จ่ายให้กับผู้บริโภค บรรจุภัณฑ์ที่ดีจะช่วยลดความเสียหายต่างๆ จาจากการ
ระเหยการแตกหักการเสื่อมสภาพและการถูกแมลงหรือสัตว์อื่นๆรบกวน
เป็ นต้น สินค้าที่ไม่ได้บรรจุภัณฑ์ จะเสียหายได้ง่ายกว่าสินค้าที่มีการบรรจุ
ภัณฑ์ที่ดีดังนั้นบรรจุภัณฑ์จึงช่วยลดความเสียหายและเป็ นการประหยัด โดย
เสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาต่ำ
บรรจุภัณฑ์พลาสติกกับงานโลจิสติกส์ (Logistics) ความ
สะดวกสบายที่เอื้อประโยชน์ต่อกัน

“พลาสติก” เป็ นหนึ่งในวัสดุอันดับต้น ๆ ที่ถูกนำมาใช้ผลิตเป็ นบรรจุ


ภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างแพร่หลายทั้ง 7 ชนิดหลัก ๆพลาสติกยังช่วยทำให้งานโล
ติกส์ (Logistics) เป็ นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรม
พลาสติก ส.อ.ท. ขอนำเสนอ ข้อดีของการใช้งานบรรจุภัณฑ์พลาสติกในงาน
โลจิสติกส์ ดังนี้

บรรจุภัณฑ์พลาสติก มีส่วนเป็ นอย่างมากในการทำให้กิจกรรมในกระ


บวนการโลจิสติกส์ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี กระบวนการดังกล่าวประกอบด้วย
การเคลื่อนย้าย จัดเก็บ รวบรวม และกระจายสินค้า จากจุดเริ่มต้นไปสู่
ปลายทาง ด้วยข้อดีด้านคุณลักษณะของบรรจุภัณฑ์พลาสติก ที่เป็ น
ประโยชน์และช่วยรองรับกระบวนการโลจิสติกส์ในหลาย ๆ ทาง กล่าวคือ
พลาสติกเป็ นวัสดุที่ราคาไม่แพง ทำให้มีต้นทุนการผลิตต่ำ หาซื้อได้สะดวก
ง่ายดายในท้องตลาด มีคุณสมบัติด้านความเหนียว น้ำหนักเบา ไม่นำความ
ร้อน ไม่นำไฟฟ้ า ป้ องกันการซึมของอากาศ และน้ำได้ ไม่เป็ นสนิม ทนต่อ
ความชื้น ทนความร้อน-เย็น และกรด-ด่าง จึงนำไปใช้ร่วมกับวัสดุ และบรรจุ
ภัณฑ์อื่น ๆ ได้ดี อีกทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) หรือรีไซเคิลเพื่อ
นำมาใช้ใหม่ได้ ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Upcycling Economy)

สาเหตุที่บรรจุภัณฑ์พลาสติก ได้รับความนิยมในกระบวนการโลจิสติ
กส์ เป็ นเพราะลักษณะเฉพาะอันโดดเด่นดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เพราะ
ในงานโลจิสติกส์เราต้องคำนึงถึง การป้ องกันความเสียหายของสินค้าที่อยู่
ภายในด้วย ทั้งนี้ ปั จจัยที่นำมาพิจารณาในการออกแบบบรรจุภัณฑ์โลจิสติ
กส์ ได้แก่ ความเหมาะสมต่อรูปแบบการขนส่ง ช่วยลดต้นทุนตลอดทั้ง
กระบวนการขนส่ง การจัดเก็บในคลังสินค้า การส่งเสริมการบริหารพื้นที่ว่าง
ในการบรรทุก หรือการออกแบบการขนส่ง ซึ่งต้องเหมาะกับสินค้าที่บรรจุ
ภายใน การใช้วัสดุที่เบาเพื่อประหยัดค่าขนส่ง การออกแบบให้สามารถวาง
ทับซ้อนกันได้ เพื่อการบรรทุกสินค้าได้เต็มคันรถ ความสะดวกในการยกขน
และการรองรับสินค้า การเพิ่มประสิทธิภาพในงานโลจิสติกส์ ลดความสูญ
เปล่าในกระบวนการ และลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด การลดของหายและเสีย
หาย อาทิ ใช้พลาสติกใสเพื่อมองเห็นสินค้าภายในบรรจุภัณฑ์ เป็ นต้น

จะเห็นได้ว่าการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกในงานโลจิสติกส์ สามารถตอบ
โจทย์การขนส่งเคลื่อนย้ายสินค้า ตั้งแต่ต้นทาง ไปจนถึงปลายทางได้เป็ น
อย่างดี ทั้งนี้ การใช้งานบรรจุภัณฑ์พลาสติก โดยคำนึงถึงการนำกลับมาใช้
ใหม่อย่างสร้างสรรค์ในหมู่ผู้ประกอบการโลจิสติกส์เอง จะช่วยเสริมภาพ
ลักษณ์ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมขององค์กรได้อีกด้วย
อ้างอิง

https://www.cplinter.com/
%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%A
A%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA
%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD
%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/

https://www.hongthai.co.th/th/
%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A
A%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D
%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9A
%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A
0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C/

https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/
jan_mar_12/pdf/aw018.pdf

https://industrialclub.fti.or.th/2022/08/23/%E0%B8%9A
%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A
0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C
%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA
%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B
1%E0%B8%9A%E0%B8%87%E0%B8%B2/

You might also like