You are on page 1of 9

บทที่ 5

สรุป อภิปรายผล และขอเสนอแนะ

การวิจยั ครั้งนีม้ ีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาผลการปลูกฝงความสํานึกในความเปนไทยโดยใช


กิจกรรมสถานการณจําลองแกนักเรียนชนกลุมนอย ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรูเกีย่ วกับชาติ
ศาสนา พระมหากษัตริยที่เปนสาระพื้นฐานของความเปนไทย และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน
ชนกลุมนอยทีม่ ีตอการจัดกิจกรรมสถานการณจําลองในการปลูกฝงความสํานึกในความเปนไทย
ในโรงเรียนแมระมาดวิทยาคม จังหวัดตาก สรุปผลการวิจัยดังนี้

ประชากร
ประชากร
ประชากรที่ใชในการวิจัยครัง้ นี้ คือ นักเรียนชนกลุมนอยชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 ที่มีผลการ
เรียน เกง ปานกลาง ออน และไดรับการแปลงสัญชาติทุกคน ซึ่งกําลังศึกษาอยูใ นโรงเรียนแมระมาด
อําเภอแมระมาด จังหวัดตาก ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2551 จํานวน 95 คน
กลุมเปาหมาย
กลุมเปาหมายที่ใชในการวิจยั ครั้งนี้ คือ นักเรียนชนกลุมนอยชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3/1
จํานวน 30 คน ซึ่งเปนนักเรียนชนกลุมนอยทั้งหมด

เครื่องมือที่ใชในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมแบบสถานการณจาํ ลองจํานวน 3 แผน แผนละ 5 คาบ รวม 15 คาบ
2. แบบบันทึกการเขียนสะทอนความคิดของนักเรียนชนกลุมนอยเกี่ยวกับความสํานึก
ในความเปนไทยแบงออกเปน 3 ดาน ประกอบไปดวย ดานความสํานึกที่มีตอชาติ ดานความสํานึก
ที่มีตอศาสนา ดานความสํานึกที่มีตอพระมหากษัตริย เปนแบบอัตนัย จํานวนดานละ 6 ขอ รวมทั้งสิ้น
18 ขอ
3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเกี่ยวกับชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย
เปนแบบปรนัย 4 ตัวเลือกแบงออกเปน 3 ดาน ดานละ 10 ขอรวมทั้งสิ้น 30 ขอ
4. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชนกลุมนอยทีม่ ีตอการจัดกิจกรรมสถานการณ
จําลอง เปนแบบเลือกตอบ 5 ระดับ แบงออกเปน 3 ดาน ดานละ 30 ขอรวมทั้งสิ้น 90 ขอ
101

การวิเคราะหขอมูล
1. วิเคราะหขอ มูลการเขียนสะทอนความคิดของนักเรียนชนกลุมนอยเกี่ยวกับความสํานึก
ในความเปนไทยโดยหาคาเฉลี่ยและสวนเบี่ยงเบนมาตรฐานแลวนําเสนอในรูปแบบพรรณนา
แบบความเรียง
2. วิเคราะหขอ มูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หาคาเฉลี่ยและสวนเบีย่ งเบนมาตรฐาน
3. วิเคราะหขอ มูลการสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชนกลุมนอยทีม่ ีตอการจัดกิจกรรม
สถานการณจําลอง หาคาเฉลี่ยและสวนเบีย่ งเบนมาตรฐานแลวนําเสนอในรูปแบบพรรณนา
แบบความเรียง

สรุปผลการวิจยั
จากการวิจัยเพือ่ ศึกษาผลการปลูกฝงความสํานึกในความเปนไทยโดยใชกจิ กรรมสถานการณ
จําลองแกนกั เรียนชนกลุมนอยในโรงเรียนแมระมาดวิทยาคม จังหวัดตากสรุปผลการวิจัยไดดังนี้
1. การปลูกฝงความสํานึกในความเปนไทยโดยใชกิจกรรมสถานการณจําลองแกนักเรียน
ชนกลุมนอยในโรงเรียนแมระมาดวิทยาคม จังหวัดตากพบวา
1.1 ความสํานึกในความเปนไทยของนักเรียนชนกลุมนอยโดยการเขียนสะทอนความคิด
เรื่อง กวาจะเปนชาติไทย โดยรวมอยูใ นระดับดี เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบวา ระดับความสํานึก
ที่มีคาเฉลี่ยสูงสุดอยูในขัน้ ความเขาใจคือ ความเขาใจเหตุการณสําคัญในอดีตของชนชาติไทยและ
มีสวนชวยใหชาติไทยเปนปกแผน
1.2 ความสํานึกในความเปนไทยของนักเรียนชนกลุมนอยโดยการเขียนสะทอนความคิด
เรื่อง ศาสนาของชนชาติไทยโดยรวมอยูใ นระดับดี เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบวา ระดับความสํานึก
ที่มีคาเฉลี่ยสูงสุดอยูในขัน้ ความรูความจําเกี่ยวกับพระพุทธศาสนามีประวัติความเปนมาอยางไรและ
มีความสําคัญตอชนชาติไทย
1.3 ความสํานึกในความเปนไทยของนักเรียนชนกลุมนอยโดยการเขียนสะทอนความคิด
เรื่อง มหาราชของไทย โดยรวมอยูใ นระดับดี เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบวา ระดับความสํานึก
ที่มีคาเฉลีย่ สูงสุดอยูใ นขั้นการประเมินคาจากการศึกษาพระราชประวัตแิ ละพระราชกรณียกิจที่สําคัญ
ของพระมหากษัตริยไ ทย นักเรียนคิดวานักเรียนควรปฏิบตั ิตนเชนไรเพื่อที่จะธํารงครักษาสถาบัน
พระมหากษัตริย สืบตอเปนมรดกของชาติตอไป
102

2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรูเกี่ยวกับชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย
ที่เปนสาระพื้นฐานของความเปนไทยของนักเรียนชนกลุม นอยในโรงเรียนแมระมาดวิทยาคม
จังหวัดตาก พบวา
2.1 นักเรียนกลุมเปาหมายมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกอนเรียนนอยกวาหลังเรียน
โดยมีคาความตางเฉลี่ยของคะแนน 2.73 คะแนน แสดงวาการใชกิจกรรมสถานการณจําลอง
เรื่อง กวาจะเปนชาติไทย มีผลทําใหนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
2.2 นักเรียนกลุมเปาหมายมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกอนเรียนนอยกวาหลังเรียน
โดยมีคาความตางเฉลี่ยของคะแนน 2.30 คะแนน แสดงวาการใชกิจกรรมสถานการณจําลอง
เรื่องศาสนาของชนชาติไทย มีผลทําใหนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
2.3 นักเรียนกลุมเปาหมายมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกอนเรียนนอยกวาหลังเรียน
โดยมีคาความตางเฉลี่ยของคะแนน 2.60 คะแนน แสดงวาการใชกิจกรรมสถานการณจําลอง
เรื่อง มหาราชของไทย มีผลทําใหนกั เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
3. ความคิดเห็นของนักเรียนชนกลุมนอยทีม่ ีตอการจัดกิจกรรมสถานการณจําลอง
ในการปลูกฝงความสํานึกในความเปนไทยในโรงเรียนแมระมาดวิทยาคม จังหวัดตากพบวา
3.1 นักเรียนโดยรวมมีความคิดเห็นตอการจัดกิจกรรมสถานการณจําลองในการปลูกฝง
ความสํานึกในความเปนไทย เรื่อง กวาจะเปนชาติไทย อยูใ นระดับมาก และเมื่อพิจารณาแตละดาน
พบวา ดานเนื้อหา นักเรียนเห็นดวยในเรื่อง รายละเอียดของเนื้อหาที่เรียนมากที่สุด ดานการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอน นักเรียนเห็นดวยในเรื่อง การมีสวนรวมในการทํากิจกรรมและความตองการให
มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบนี้อกี มากที่สุด ดานสื่อการเรียนการสอน นักเรียนเห็นดวย
ในเรื่อง ความตองการใหมกี ารใชสื่อการเรียนการสอนชนิดนี้อีก มากทีส่ ุด และ ดานการวัดผลและ
ประเมินผล นักเรียนเห็นดวยในเรื่อง การไดรับการสงเสริมใหเกิดกําลังใจในการเรียนครั้งตอไป
มากที่สุด
3.2 นักเรียนโดยรวมมีความคิดเห็นตอการจัดกิจกรรมสถานการณจําลองในการปลูกฝง
ความสํานึกในความเปนไทย เรื่อง ศาสนาของชนชาติไทย อยูในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแตละดาน
พบวา ดานเนือ้ หา นักเรียนเห็นดวยในเรื่อง ความนาสนใจในการนําเสนอเนื้อหา มากที่สุด
ดานการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนักเรียนเห็นดวยในเรื่อง การสนับสนุน/การชวยใหเขาใจใน
บทเรียนมากทีส่ ุด ดานสื่อการเรียนการสอน นักเรียนเห็นดวยในเรื่อง จํานวนสื่อการเรียนการสอน
เพียงพอ มากทีส่ ุด และ ดานการวัดผลและประเมินผล นักเรียนเห็นดวยในเรื่อง การไดทราบคะแนน
และผลงานที่ปฏิบัติ มากที่สุด
103

3.3 นักเรียนโดยรวมมีความคิดเห็นตอการจัดกิจกรรมสถานการณจาํ ลองในการปลูกฝง


ความสํานึกในความเปนไทย เรื่อง มหาราชของไทย อยูใ นระดับมากที่สดุ และเมือ่ พิจารณาแตละดาน
พบวา ดานเนื้อหา นักเรียนเห็นดวยในเรื่อง ความนาสนใจในการนําเสนอเนื้อหา มากที่สุด
ดานการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน นักเรียนเห็นดวยในเรื่อง การสงเสริมใหเกิดความสนใจ
มากที่สุด ดานสื่อการเรียนการสอน นักเรียนเห็นดวยในเรื่อง จํานวนสือ่ การเรียนการสอนเพียงพอ
มากที่สุด และ ดานการวัดผลและประเมินผล นักเรียนเห็นดวยในเรื่อง การไดทราบคะแนนและ
ผลการปฏิบัติงานทันทีหลังจากที่จบบทเรียนมากที่สุด

อภิปรายผล
1. การปลูกฝงความสํานึกในความเปนไทยโดยใชกิจกรรมสถานการณจําลองแกนักเรียน
ชนกลุมนอยในโรงเรียนแมระมาดวิทยาคม จังหวัดตาก
1.1 ดานความสํานึกที่มีตอชาติ
ผลการวิจัยพบวาความสํานึกในความเปนไทยของนักเรียนชนกลุมนอยโดย
การเขียนสะทอนความคิด เรื่อง กวาจะเปนชาติไทย โดยรวมมีความสํานึกอยูในระดับดี เพราะ
กิจกรรมสถานการณจําลองทีใ่ ชในการจัดกิจกรรมมีประโยชนแกผูเรียนและชวยปลูกฝงใหนักเรียน
ที่เปน ชนกลุมนอยถึงแมวาไมไดเปนคนไทยเห็นความสําคัญของชาติไทยและสํานึกถึงบุญคุณของ
ชาติไทยที่ไดใหเขามาอยูอาศัย สวนการที่ความสํานึกในดานตาง ๆ อยูระดับดี นั้นเพราะกิจกรรม
สถานการณจําลองมีสวนชวยใหนักเรียนมีความรูความจํา ความเขาใจ การนําไปใช ไดประโยชน
เปนอยางดี รวมทั้งนักเรียนสามารถวิเคราะหเรื่องความเปนมาและความสําคัญของชนชาติไทยได
ยกเวน ดานการสังเคราะหที่อยูในระดับนอยเพราะนักเรียนยังคิดรวบรวมขอมูลไมคอยเปนการจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนนี้ ไดจัดกิจกรรมตามแนวคิดของจรูญ สุภาพ (2526, หนา 17) ที่ไดกลาว
ไววา ชาติเนนถึงความเปนอันหนึ่งอันเดียวกันคือการที่ประชาชนมีความผูกพันในทางสายโลหิต
เผาพันธุ ภาษา ตลอดจนมีประสบการณในทางประวัติศาสตร และการยึดถือประเพณีดว ยกัน ซึ่งการ
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเนนย้ําเพื่อแสดงใหเห็นถึงประวัตแิ ละความเปนมาของชนชาติไทย
1.2 ดานความสํานึกที่มีตอ ศาสนา
ผลการวิจัยพบวาความสํานึกในความเปนไทยของนักเรียนชนกลุมนอยโดยการเขียน
สะทอนความคิด เรื่อง ศาสนาของชนชาติไทย โดยรวมมีความสํานึกอยูในระดับดี เพราะกิจกรรม
สถานการณจําลองที่ใชในการจัดกิจกรรมมีความนาสนใจและชวยใหผูเรียนสนใจทีจ่ ะศึกษารวมทั้ง
มีสวนสําคัญที่ชวยปลูกฝงใหนักเรียนที่เปนชนกลุมนอยสํานึกถึงความสําคัญของพระพุทธศาสนา
ที่มีตอชาติไทย สวนการที่ความสํานึกในดานตาง ๆ อยูระดับดี นัน้ เพราะกิจกรรมสถานการณจาํ ลอง
104

มีสวนชวยใหนักเรียนมีความรูความจํา ความเขาใจ การนําไปใช และการประเมินคา ไดประโยชน


เปนอยางดี รวมทั้งนักเรียนสามารถวิเคราะหเรื่องความเปนมาและความสําคัญของพระพุทธศาสนา
ได แตยกเวนขั้นการวิเคราะหและขั้นการสังเคราะหที่มคี วามสํานึกในระดับพอใช ซึ่งนักเรียน
ยังคิดรวบรวมขอมูลและแยกแยะไมคอยเปน อาจจะเปนเพราะวาโดยพื้นฐานของชนกลุมนอยนั้น
สวนใหญจะนับถือศาสนาที่แตกตางกันและยังมีความไมเขาใจอยางถองแทตอศาสนาพุทธ
จึงไมสามารถวิเคราะหและสังเคราะหไดมากนัก ซึ่งสอดคลองกับ สุพัตรา สุภาพ (2528, หนา 84)
ที่ไดกลาวไววาสถาบันศาสนาเปนสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ มีคําสั่งสอนที่ทําใหคนเชื่อถือและยึดถือ
ปฏิบัติตาม ศาสนาเปนสถาบันที่สําคัญของสังคมไทย สังคมไทยมีความผูกพันกับสถาบันศาสนา
ในลักษณะทีเ่ ปนพิเศษแตกตางจากชาติอนื่ ในโลกแมแตชาติตะวันตก นับเปนเอกลักษณที่เปนพิเศษ
นั้นคือ คนไทยมีจิตใจเอื้อเฟอตอศาสนาทุกศาสนา จนกลายเปนบุคลิกภาพของสังคมไทย ที่เปดโอกาส
ใหบุคคลนับถือศาสนาตาง ๆ โดยอิสระและยอมใหศาสนาทั้งปวงดํารงอยูในสังคมไทย
1.3 ดานความสํานึกที่มีตอพระมหากษัตริย
ผลการวิจัยพบวาความสํานึกในความเปนไทยของนักเรียนชนกลุมนอยโดยการ
เขียนสะทอนความคิด เรื่อง มหาราชของไทย โดยรวมมีความสํานึกอยูในระดับดีเพราะ กิจกรรม
สถานการณจําลองที่ใชในการจัดกิจกรรมมีสวนสําคัญในการชวยใหนักเรียนไดทํากิจกรรมรวมกัน
และสนใจในการเรียนอีกทัง้ ยังชวยปลูกฝงใหนกั เรียนทีเ่ ปนชนกลุมนอยสํานึกถึงความสําคัญของ
สถาบันพระมหากษัตริยที่มตี อชาติไทย สวนการที่ความสํานึกในดานตาง ๆ อยูระดับดีนั้นเพราะ
กิจกรรมสถานการณจําลองมีสวนชวยใหนักเรียนมีความรูความจํา ความเขาใจ การนําไปใช
การสังเคราะห และการประเมินคา ไดประโยชนเปนอยางดี รวมทั้งนักเรียนสามารถวิเคราะหเรื่อง
พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริยไทยได แตยกเวนดานการวิเคราะห ซึ่งนักเรียนยังคิดรวบรวม
ขอมูลไมคอยเปนซึ่งทําใหมคี วามสํานึกดานนี้อยูใ นระดับนอยอาจจะเปนเพราะวาโดยพืน้ ฐานแลวชน
กลุมนอยมีทักษะดานการคิดวิเคราะหต่ํากวาเกณฑ ในขณะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนผูวิจัย
พยายามเชื่อมโยงใหนักเรียนเห็นภาพของพระบรมวงศศานุวงศของไทยไดใหการชวยเหลือ ในดาน
การดํารงชีวิตแก ชนกลุมนอยตาง ๆ มาอยางยาวนาน โดยเฉพาะอยางยิ่งการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนโดยใชสถานการณจําลองนั้น ไดจัดกิจกรรมโดยเนนใหเห็นความสําคัญของสถาบัน
พระมหากษัตริยไทย ที่มีมาแตโบราณวา พระมหากษัตริยไทยในทุก ๆ พระองคนั้น โดยเฉพาะ
พระมหากษัตริยไทย ทีไ่ ดรบั สมญานามวามหาราช ทรงประกอบคุณูประการตอชนชาติไทยอยาง
ยิ่งใหญทาํ ใหประเทศชาติพัฒนาอยางกวางขวาง ซึ่งขณะจัดกิจกรรมนัน้ ผูวิจยั ไดลําดับความสําคัญ
และชี้ใหเห็นถึงบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริยตามแนวคิดของหมอมราชวงศ คึกฤทธิ์
ปราโมช (2516, หนา 9) ไดกลาวไววาความผูกพันระหวางพระเจาอยูหวั กับคนไทยนัน้ ถึงขณะนี้
105

มีอยูมากเกินกวานิมิตหมายแหงความเปนชาติไทย เกินกวามิ่งขวัญ เกินกวาความเคารพบูชา แตเปน


ความผูกพันดวยชีวิต ระหวางคนไทยคนหนึ่งกับคนไทยคนอื่น ๆ ทุก ๆ คน จึงทําใหนักเรียนมีผล
การประเมินผลในขั้นความเขาใจมีระดับมากซึ่งสอดคลองกับผลการวิจัยของวรรณโณ ภักดี (2530)
ไดกลาวไววา ชาวเขามีความสํานึกตอพระมหากษัตริยในระดับคอนขางสูงความรูสึกถึงความสําคัญ
และคุณประโยชนของสถาบันพระมหากษัตริย มีความเคารพสักการะตอองคพระมหากษัตริยแ ละ
พระบรมฉายาลักษณ อันเปนสัญลักษณแทนองคพระมหากษัตริย
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรูเกี่ยวกับชาติ ศาสนา พระมหากษัตริยที่เปน
สาระพื้นฐานของความเปนไทยของนักเรียนชนกลุมนอยในโรงเรียนแมระมาดวิทยาคม จังหวัดตาก
2.1 ดานความสํานึกที่มีตอชาติ
ผลการวิจัยพบวานักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกอนและหลังเรียนแตกตางกัน
ซึ่งแสดงวาการใชกิจกรรมสถานการณจําลอง เรื่องกวาจะเปนชาติไทย มีผลทําใหนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนสูงขึ้นเพราะการใชกิจกรรมสถานการณจําลองเปนกิจกรรมที่นาสนใจและนักเรียน
มีสวนรวมทํากิจกรรมในชั้นเรียนจึงชวยสงเสริมความสนใจเรียนแกนักเรียนจึงทําใหนักเรียน
มีผลการเรียนสูงขึ้น ซึ่งสอดคลองกับผลการวิจัยของ จันทวิส พันธุสุข (2533) ทําการศึกษาเปรียบเทียบ
ความสนใจตออาชีพอิสระ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 6 ที่ไดรับการสอนโดยใชสถานการณ
จําลอง กับการสอนแบบปกติผลการวิจัยพบวา กลุมทดลองมีความสนใจตออาชีพอิสระสูงกวา
กลุมควบคุมอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.2 ดานความสํานึกที่มีตอศาสนา
ผลการวิจัยพบวานักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกอนและหลังเรียนแตกตางกัน
ซึ่งแสดงวาการใชกิจกรรมสถานการณจําลอง เรื่องศาสนาของชนชาติไทย มีผลทําใหนักเรียน
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น เพราะการใชกิจกรรมสถานการณจําลองเปนกิจกรรมที่ชวยสงเสริม
ความสนใจเรียนแกนักเรียนและยังชวยใหนักเรียนตั้งใจเรียนรูเรื่องราวตาง ๆ ในเนื้อหาที่เรียน
จึงเปนผลทําใหนักเรียนมีผลการเรียนสูงขึ้น ซึ่งสอดคลองกับผลการวิจัยของ พุทธชาติ เพชรสถิต
(2535) ทําการศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการแกปญหาสิ่งแวดลอมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 6
ที่ไดรับการพัฒนาพฤติกรรมการแกปญหาสิ่งแวดลอมโดยการใชสถานการณจําลองกับการอภิปรายกลุม
ผลการวิจัยพบวา กลุมทดลองที่ 1 และกลุมทดลองที่ 2 มีพฤติกรรมการแกปญหาสิ่งแวดลอม
แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 ดานความสํานึกที่มีตอพระมหากษัตริย
ผลจากการวิจัยพบวานักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกอนและหลังเรียน
แตกตางกัน ซึง่ แสดงวาการใชกิจกรรมสถานการณจําลองในเรื่องมหาราชของไทย มีผลทําใหนกั เรียนมี
106

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นเพราะการใชกจิ กรรมสถานการณจําลองเปนกิจกรรมที่ชวยสงเสริมการ
แสดงออกทางความคิดและการมีสวนรวมในการทํากิจกรรมการเรียน ดังนั้นจึงมีสวนชวยทําให
นักเรียน มีผลการเรียนสูงขึ้น ซึ่งสอดคลองกับกับ วัชรีพร จับเกตุ (2534) ทําการศึกษาเปรียบเทียบความ
เสียสละของนักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปที่ 5 ที่ไดรับการพัฒนาความเสียสละโดยการใชสถานการณ
จําลองกับการใหขอสนเทศ กลุมตัวอยางทีใ่ ชในการทดลองเปนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 5 ซึ่งมี
คะแนนความเสียสละต่ํา จํานวน 30 คน โดยแบงเปนกลุม ทดลอง 15 คน ใชสถานการณจําลองและ
กลุมควบคุม 15 คน ใหขอสนเทศ ผลการวิจัยพบวา กลุมทดลองมีความเสียสละสูงกวากลุมควบคุม
อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความคิดเห็นของนักเรียนชนกลุมนอยทีม่ ีตอการจัดกิจกรรมสถานการณจําลอง
ในการปลูกฝงความสํานึกในความเปนไทยในโรงเรียนแมระมาดวิทยาคม จังหวัดตาก
3.1 ดานความสํานึกที่มีตอชาติ
ผลจากการวิจัยพบวานักเรียนเห็นดวยวาสมควรมีการจัดกิจกรรมสถานการณ
จําลองในการปลูกฝงความสํานึกในความเปนไทย เรื่อง กวาจะเปนชาติไทยโดยรวมอยูในระดับมาก
เพราะนักเรียนมีความคิดเห็นวาการจัดกิจกรรมสถานการณจําลองเปนกิจกรรมที่นาสนใจและ
มีประโยชนตอ การเรียน นักเรียนจึงมีความกระตือรือรนในการเรียนในเรื่องชาติไทยเพิ่มมากขึน้
โดยนักเรียนมีความคิดเห็นตอการจัดกิจกรรมในแตละดาน คือ ควรมีรายละเอียดของเนื้อหาที่เรียน
การมีสวนรวมในการทํากิจกรรมและความตองการใหมกี ารจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบนี้อีก
ความตองการใหมีการใชสื่อการเรียนการสอนชนิดนี้อีก การไดรับการสงเสริมใหเกิดกําลังใจ
ในการเรียนครัง้ ตอไป เพราะสิ่งเหลานี้เปนสิ่งจําเปนในการจัดกิจกรรมสถานการณจําลองในการปลูกฝง
ความสํานึกใหนักเรียนชนกลุม นอยมีความสํานึกในความเปนไทยดีขึ้น ซึ่งสอดคลองกับ ดุสิต โกนสันเทียะ
(2538) ไดทําการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุมสรางเสริมประสบการณชวี ติ หนวยการเมือง
และการปกครอง และทัศนคติตอบุคลิกภาพประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปท่ี 5
ระหวาง การสอนโดยใชสถานการณจําลองกับการสอนตามปกติ ผลการวิจัยพบวา นักเรียนกลุม
ทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทัศนคติตอบุคลิกภาพประชาธิปไตยสูงกวานักเรียนกลุม
ควบคุมที่ไดรบั การสอนตามปกติ
3.2 ดานความสํานึกที่มีตอศาสนา
ผลจากการวิจัยพบวานักเรียนเห็นดวยวาสมควรมีการจัดกิจกรรมสถานการณ
จําลองในการปลูกฝงความสํานึกในความเปนไทย เรื่อง ศาสนาของชนชาติไทย โดยรวมอยูใ น
ระดับมาก เพราะนักเรียนมีความคิดเห็นวาการจัดกิจกรรมสถานการณจาํ ลองเปนกิจกรรมที่นาสนใจ
และมีประโยชนตอการเรียนเนื้อหาดานศาสนาอีกทั้งยังชวยให นักเรียนจึงมีความกระตือรือรนในการ
107

เรียนเพิ่มมากขึน้ โดยนักเรียนมีความเห็นตอการจัดกิจกรรมแตละดานคือ กิจกรรมมีความนาสนใจ


ในการนําเสนอเนื้อหา การสนับสนุน/การชวยใหเขาใจในบทเรียน จํานวนสื่อการเรียนการสอน
เพียงพอ การไดทราบคะแนนและผลงานที่ปฏิบัติ เพราะสิ่งเหลานี้เปนสิ่งจําเปนในการจัดกิจกรรม
สถานการณจําลองในการปลูกฝงความสํานึกใหนักเรียนชนกลุมนอยมีความสํานึกในความเปนไทย
ดีขึ้น ซึ่งสอดคลองกับ นิรันดร ศรีวรกุล (2540) ไดศึกษาการใชชุดฝกการคิดที่มุงเนนคุณธรรม
โดยใชสถานการณจําลอง สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปท่ี 4 ดวยการทดสอบกอนเรียนและ
หลังเรียน ผลการวิจัยพบวา วิธีการคิดของนักเรียนหลังจากที่เรียนโดยใชชุดฝกแลว นักเรียนเกิด
การเรียนรูและพัฒนาการคิดของตนเอง รูจกั คิดวิเคราะหเปนระบบ สามารถใชความคิดแยกแยะ
ประเด็นปญหาตาง ๆ และนําหลักธรรมมาแกไขสถานการณที่กําหนดใหไดอยางเหมาะสม
3.3 ดานความสํานึกที่มีตอพระมหากษัตริย
ผลจากการวิจัยพบวา นักเรียนเห็นดวยวาสมควรมีการจัดกิจกรรมสถานการณ
จําลองในการปลูกฝงความสํานึกในความเปนไทย เรื่อง มหาราชของไทย โดยรวมอยูในระดับมาก
ที่สุดเพราะนักเรียนมีความคิดเห็นวาการจัดกิจกรรมสถานการณจําลองเปนกิจกรรมที่นาสนใจและ
มีสวนในการชวยปลูกฝงใหนักเรียนเห็นความสําคัญและสํานึกในบุญคุณของพระมหากษัตริยไ ทย
เพิ่มมากขึ้น โดยนักเรียนมีความคิดเห็นตอการจัดกิจกรรมแตละดานคือ มีความนาสนใจในการนําเสนอ
เนื้อหา การสงเสริมใหเกิดความสนใจ จํานวนสื่อการเรียนการสอนเพียงพอ การไดทราบคะแนน
และผลการปฏิบัติงานทันทีหลังจากที่จบบทเรียน เพราะสิ่งเหลานี้เปนสิ่งจําเปนในการจัดกิจกรรม
สถานการณจําลองในการปลูกฝงความสํานึกใหนักเรียนชนกลุมนอยมีความสํานึกในความเปนไทย
ดีขึ้น ซึ่งสอดคลองกับ ปยรัตน แสงจันทร (2540) ไดทาํ การศึกษาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนและความสามารถในการแกปญหาวิชาสรางเสริมประสบการณชีวิต ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปที่ 5 ระหวางการสอน โดยใชสถานการณจําลองกับการสอนปกติ กลุมตัวอยาง
เปนนักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปที่ 5 โรงเรียนโนนมวง จังหวัดขอนแกน จํานวน 60 คน โดยแบงเปน
กลุมทดลอง 30 คน ไดรับการสอนโดยใชสถานการณจําลองและกลุมควบคุม 30 คน ไดรับการสอน
แบบปกติ ผลการวิจยั พบวา นักเรียนที่เรียนดวยสถานการณจําลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ
ความสามารถในการแกปญหาไมแตกตางกันกับนักเรียนที่ไดรับการสอนแบบปกติ
108

ขอเสนอแนะ
ขอเสนอแนะสําหรับครูผูสอน
1. การจัดกิจกรรมสถานการณจําลองเพื่อปลูกฝงความสํานึกในความเปนไทย ครูผูสอน
ควรเปดโอกาสใหนักเรียนชนกลุมนอยไดมีสวนรวมอยางทั่วถึงเพื่อกระตุนหรือสรางความสํานึก
ใหเกิดขึ้นกับนักเรียนชนกลุม นอย
2. การใชสื่อประกอบการจัดกิจกรรมสถานการณจําลองควรคํานึงถึงความมีคุณภาพของ
สื่อเพื่อกระตุนความสํานึกของนักเรียนชนกลุมนอย
3. การใชกิจกรรมสถานการณจําลองควรพิจารณาใชกิจกรรมที่เปนรูปธรรมเพื่อให
นักเรียนชนกลุม นอยมองเห็นภาพไดชัดเจนมากยิ่งขึน้
4. การจัดกิจกรรมสถานการณจําลองควรจัดใหสอดคลองกับความสามารถของนักเรียน
ชนกลุมนอยทีม่ ีลักษณะตางจากนักเรียนทีเ่ ปนคนไทย
ขอเสนอแนะสําหรับการวิจัยครั้งตอไป
1. ควรมีการศึกษาวิจยั โดยใชกิจกรรมสถานการณจาํ ลองเพือ่ ปลูกฝงความสํานึกความเปนไทย
กับนักเรียนชนกลุมนอยชวงชั้นอื่น ๆ
2. ควรมีการศึกษาวิจัยโดยใชกิจกรรมสถานการณจําลองเพื่อปลูกฝงความสํานึกใน
ความเปนไทยโดยเปรียบเทียบกับชนกลุมนอยแตละกลุม
3. ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความสํานึกในความเปนไทยในดานอื่น ๆ ที่นอกเหนือจาก
ความสํานึกทีม่ ีตอชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย

You might also like