You are on page 1of 20

ep 3 Oct 28 2023 ทาน

อยากเก็บรายละเอียดให้ท่านทั้งหลายได้เข้าใจ
เจาะให้เห็นสภาวธรรมที่เราท่านทั้งหลายกำลังศึกษา วิธีคิด
วิธีมนสิการในการบำเพ็ญ ทาน ศีล ภาวนา

ทานเป็นบันไดขั้นแรกที่ไต่ขึ้นไปสู่สวรรค์
ทานเป็นเสบียงที่ติดตัวไป ปราศจากอันตรายต่างๆ
และให้ผลเป็นความสะดวกสบายแก่ผู้ที่ยังเวียนว่าย
อยู่ในสังสารวัฏ
ทานเป็นทางสายตรงที่จะนำไปสู่พระนิพพาน
และทานเป็นเหตุอย่างประเสริฐที่ยังผลให้พ้นจากวัฏสงสาร

มีอยู่ยุคหนึ่งที่กล่าวว่าชาวพุทธเราเอาสวรรค์มาล่อและระดมให้
ทานกัน มีพุทธบริษัทกลุ่มหนึ่งก็โจมตีกัน
ในยุคนี้เราก็จะเห็นว่า ช่วงออกพรรษาวัดต่างๆก็จัดให้มีประธาน
กฐิน รองประธาน ว่า ตำแหน่งต่างๆต้องจ่ายเท่าไหร่
โยมก็เครียดกัน ทุกข์ เจ้าอาวาสก็วิตกว่าปีนี้จัดกฐินจะคุ้มหรือไม่
นี่เป็นปัญหามาก
อย่างนี้บ่งบอกทัศนคติว่าการให้ทานขับเน้นที่ตัววัตถุ ไม่เข้าใจ
วัตถุประสงค์ของการให้ทานอย่างแท้จริง
ต้องการชี้ให้เห็นว่าชาวพุทธขาดความเข้าใจอย่างมาก
และเอาจำนวนเงินมาเป็นตัวตั้ง วัดไหนได้เงินมากคนเป็นเจ้าภาพ
ก็หน้าบานชื่นใจ ประกาศตัวเลขกันแล้วก็จะถามกันว่า
วัดนั้นได้เท่าไหร่ วัดนี้ได้เท่าไหร่
ค่านิยมตรงนี้แก้ยากจริงๆ เป็นวัฒนธรรม เป็นความเชื่อ
ทั้งหลาย กฐินไปๆมาๆก็เลยกลายเป็นเรื่องเงิน ไม่สนใจเรื่องผ้า
และไม่คำนึงถึงพระวินัย
ก็เลยมีชาวพุทธกลุ่มหนึ่งไม่เอากฐิน เลิกทอดกฐิน ทำให้เสียหาย

ชาดก ๕๕๐ ชาติ เหลือ ๕๔๗ ชาติ


หากชาดกจะเสื่อม เรื่องไหนจะเสื่อมก่อน
= เวสสันดรชาดก จะเสื่อมก่อน เพราะขับเน้นเรื่องการให้ทาน
เพราะตอนนี้เอาเวสสันดรชาดกมาเทศน์มาแสดง และเอามาทำกิจกรรม
เรี่ยไรเงิน เทศน์ไปเทศน์มามันออกนอกชาดกเรี่ยไรเงิน
ลักขณาทิจตุกะของทาน

ลักษณะของทาน เวลาจะศึกษาเรื่องทาน เราต้องไปดูลักษณะของทาน ว่าเป็นอย่างไร


เหมือนเราดูคนว่าคนๆนี้มีลักษณะอ้วนหรือผอม หรือสูง

ทานมีการบริจาคเป็นลักษณะ
การมีเจตนาที่จะให้หรือถวายก็ดี วัตถุที่จะให้หรือถวายก็ดี เรียกว่าทาน
ฉะนั้นเจตนาที่จะถวายและการได้ถวายนั้นเรียกว่าทาน
ผู้ที่ไม่มีเจตนาก็ไม่อยากถวาย ผู้มีเจตนาเท่านั้นที่จะถวายได้
เจตนาในที่นั้นก็คือถือเอามุญจนเจตนาที่เป็นตัวทานแท้ๆ

เจตนาในที่นี้ที่จะเรียกว่าทานต้องหมายเอามุญจนเจตนา
เจตนาที่กำลังถวาย ขณะที่ถวาย มุญจน หมายถึงการสละ
เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะถวายนั้นเรียกว่ามุญจนเจตนา
มุญจนเจตนาเป็นองค์ธรรมของทานอย่างแท้จริง แต่ต้องเป็นเจตนา
ที่เป็นกุศลด้วย
มุญจนเจตนาเป็นทานแท้ๆ ในขณะที่ตั้งจิตคิดที่จะถวาย มันมีความพร้อมระหว่างตัววัตถุ มีความพร้อม
ทั้งเจตนาที่จะสละในขณะนั้น มีสัมฤทธิ์ผลคือมีผู้รับ อย่างนี้
ตัวมุญจนเจตนาถือว่าสมบูรณ์ที่สุด จึงเรียกว่าเป็นทานแท้ๆ
แต่ไม่ได้หมายความว่าปุพเจตนาจะไม่เป็นทาน เป็นกุศล แต่ความสมบูรณ์
ของการให้ยังไม่สัมฤทธิ์ก่อนเพราะยังไม่ได้มีการหยิบและยื่น
มีการปรุงแต่ง ประดับตกแต่งจิต ตรงนั้นก็ให้ผลเช่นกัน แต่ทานที่แท้จริง
ขับเน้นที่มุญจนเจตนา
ปุพพเจตนา นับเข้าในทานได้ เพราะคำว่าปุพพ แปลว่าก่อน หมายถึงไทยธรรม
ไทยทานที่มีอยู่แล้ว มีความตั้งใจว่าจะถวายทานนี้
มันมีวัตถุ มีการขวนขวายหา เรียกว่าปุพเจตนา
ถ้าเจาะกันให้ลึกจริงๆ ถ้าไม่มีวัตถุทานเลย เพียงคิดว่าจะให้
อย่างนี้เรียกว่ากุศลสามัญ ยังไม่นับเนื่องเป็นทานอย่างแท้จริง

วัตถุมีมากมาย ที่จริงวัตถุทานมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ


อีกมากมายที่สามารถน้อมสละ แต่มันหาวัตถุไม่ได้

ทานประกอบไปด้วย ๑. เจตนา
๒. วัตถุ
ที่จะให้สมบูรณ์จริงๆ ต้องมีเจตนาเจตจำนง มีเจตนาที่จะให้นี้ รวมทั้ง
อโลภะ คือความไม่โลภ
อโทสะ คือความไม่โกรธ
อโมหะ คือปัญญา
อยู่ในนั้น ถ้าจะให้สมบูรณ์ต้องไปเจาะรายละเอียดว่าเราสามารถตั้ง
เจตนากระตุ้นเตือนให้อโลภะความไม่โลภ อโทสะความไม่โกรธ และ
ปัญญาเกิดขึ้นในการที่จะให้จะสละหรือไม่ และมีวัตถุทาน
มีทั้งเจตนา มีทั้งวัตถุ จึงจะสมบูรณ์

ทียติ อเนนาติ ทานํ ได้แก่เจตนา


ทียตีติ ทาานํ ได้แก่วัตถุที่จะถวาย
ทานกุศลที่จะให้ผลนั้น วัตถุให้ผลหรือเจตนาเป็นตัวให้ผล

เช่นถวายน้ำแด่พระ มีเจตนาเป็นตัวกระตุ้นเตือนขับเคลื่อนในการ
ที่จะให้ ถ้าครบองค์ประกอบอย่างนี้ ในขณะให้นั้นเป็นมุญจนเจตนา
เป็นตัวทานกุศลแท้ๆ พอให้สัมฤทธิ์ผลแล้ว วัตถุก็มี เจตนาก็เป็นไป
แต่เจตนาต้องเป็นกุศลด้วย หลังให้แล้วผลของทานที่จะให้ผล
ตัววัตถุเป็นตัวให้ผล หรือตัวเจตนาเป็นตัวให้ผล

เจตนาเป็นตัวให้ผล ถ้าวัตถุไม่สามารถที่จะให้ผลได้ ทำไมจึงนับเนื่องเข้าในทานได้ด้วย


ถ้ามีเจตนาอย่างเดียวไม่มีวัตถุ นับเป็นทานหรือไม่

เจตนาที่เป็นกรรม แม้สามารถให้ผลได้ก็ตาม แต่เจตนาที่จะเป็น


เจตนาทานนั้น ต้องประกอบด้วย มีตัววัตถุที่เป็นตัวระลึก
เป็นตัวที่จะน้อมสละและน้อมให้
วัตถุไม่ได้ให้ผล ถึงแม้ว่าตัววัตถุจะไม่ได้เป็นตัวให้ผล แต่ถ้าไม่มีวัตถุเป็นตัวขับ
แต่เป็นตัวขับเคลื่อน เคลื่อน เป็นตัวหยิบยื่น ก็ไม่สามารถเกิดผลมาเป็นการให้ผลของ
เป็นตัวหยิบยื่น ทานเหล่านี้ได้ วัตถุนั้นแม้ไม่สามารถให้ผลได้โดยตรงก็ตาม แต่
โดยเหตุที่มีความเกี่ยวข้องกันสามารถให้ผลได้ เช่นว่าข้าวสุก ถ้า
ไม่มีฟืนไม่มีไฟ ข้าวก็สุกไม่ได้ จะทำให้ข้าวสุกได้นั้น ต้องมีฟืน ไฟ
แต่ถ้าไม่มีฟืนข้าวก็สุกไม่ได้
สรุปก็คือข้าวสุกเพราะฟืนดีแม้ฉันใด
เพราะวัตถุทานจึงได้อานิสงส์ขึ้นมาก็ไม่ผิดฉันนั้น ฉะนั้นวัตถุทานจ
จึงมีความสำคัญเป็นไปในลักษณะนี้
ถวายทานตามพระวินัย ถวายอาหาร ถวายเครื่องนุ่งห่ม ถวายเสนาสนะ ถวายยา ตามพระวินัย
ถวายทานตามพระอภิธรรม ให้รูปเป็นทาน ให้เสียงเป็นทาน ให้กลิ่นเป็นทาน ให้รสเป็นทาน
ให้โผฏฐัพพะเป็นทาน ให้ธัมมารมณ์เป็นทาน

เวลาเราให้วัตถุแต่ละชิ้น เราได้ระลึกอารมณ์ ๖ ตลอดหรือไม่


เริ่มคล่องขึ้นหรือไม่ มีสี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะใดที่เรายัง
ไม่เคยถวายเป็นพุทธบูชา

ถวายทานตามพระสูตร อันนทาน ให้ข้าวเป็นทาน


ปานทาน ให้น้ำเป็นทาน
วัตถทาน ให้เสื้อผ้าเป็นทาน
ยานทาน ให้พาหนะเป็นทาน
มาลาทาน การให้ดอกไม้เป็นทาน
คันธทาน การให้ของหอมเป็นทาน
วิเลปนทาน การให้ของลูบไล้เป็นทาน ตระกูลทา นวด
เสยยทาน การให้ที่นอนเป็นทาน
อาวาสถทาน การให้ที่พักอาศัยเป็นทาน
ปทีปทาน การให้ประทีปแสงสว่างเป็นทาน
ให้ทานแล้วต้องไม่ยินดีในสิ่งเหล่านั้น

การที่เรามีองค์ความรู้แบบนี้สำคัญมาก ถ้าอย่างนั้นมันไม่รู้ว่าจะ
ระลึกอย่างไร ถ้าเราเคยให้ข้าวเป็นทาน มีเจตจำนงจงใจตั้งใจ
ที่จะสละข้าวเป็นทานแล้ว ถ้าอย่างนั้นทำไมเราจึงยังยินดีในการ
กินข้าวอยู่เล่า เราให้น้ำเป็นทาน แต่ทำไมเรายังยินดีพอใจใน
น้ำอยู่เล่า เราให้เสื้อผ้าเป็นทานแต่ทำไมยินดีพอใจในเสื้อผ้า
เราให้พาหนะเป็นทานแต่ทำไมเรายังยินดีพอใจในยานพาหนะ
เราให้เครื่องลูบไล้ ของหอม ให้ที่นอน ที่พักอาศัย ให้ประทีป
แสงสว่างเป็นทานก็ให้มาแล้วแต่ทำไมยังยินดีพอใจในสิ่งเหล่า
นี้อยู่ แสดงให้เห็นชัดว่าเราไม่ได้ชำระความรู้สึก หรือจิตที่คิดจะ
สละสิ่งเหล่านี้

ให้สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเป็นทาน ให้ธัมมารมณ์เป็นทาน


แต่ทำไมยังมีรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหาอยู่เล่า การสละของเรายังเป็นจุดๆ
เป็นหย่อมๆ ทำไมไม่ขยายให้กว้างขวางไปหาสิ่งอื่น
แสดงให้เห็นชัดว่า ตัณหาก็ดี ทิฏฐิก็ดี มานะก็ดี
ไม่ถูกอโลภะ อโทสะ และปัญญาเข้าไปชำระทานกุศลที่เราทำกันเลย
กิเลสลดลง ปัญญาเพิ่มขึ้นหรือไม่
ความไม่โลภลดลงหรือไม่ หรือความโลภวิจิตรมากขึ้น
ลักษณะของทาน คือการสละวัตถุและการสละกิเลส

กิจของทาน เทยฺยธมฺเม โลถวิทฺธํสนรสา


มีการไม่ยึดติดในสิ่งของนั้นๆ เป็นกิจรส
หรือมีความปราศจากโทษเป็นคุณสมบัติ

คือการกำจัดความโลภ ความยึดติด ความยินดีในไทยธรรม เช่นเรา


สละสี เราไม่ยินดีในสีแล้วเราจึงสละสีออกไป กำจัดความยินดีในเสียง
เพราะเราได้สละเสียงบูชาไปแล้ว กำจัดความยินดีในกลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ เครื่องนุ่งห่ม ยา ข้าว
น้ำ เป็นต้น จนถึงแสงสว่าง แปลว่าต้องกำจัดความยินดี กำจัดโลภะ
ในสิ่งที่เราสละไปแล้ว

อาการปรากฏของทาน อนาสตฺติปจฺจุปฏฺฐานา ภววิภวสมฺปตฺติปจฺจุปฏฺฐานา วา


มีการปรากฏตามสภาวะที่ไม่มีการยึดติด เป็นอาการปรากฏ
หรือมีอาการปรากฏเป็นมนุษย์สมบัติ เทวสมบัติและวิภวสมบัติ เป็น
ปัจจัยต่อนิพพานเป็นอาการปรากฏ

เหตุใกล้ของทาน มีวัตถุอันควรสละเป็นเหตุใกล้ให้เกิด

เรื่องทานจริงๆแล้วเป็นเรื่องใหญ่
I

Ef
เราท่านทั้งหลาย ยึดติดในผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก
เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ ยึดมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ บ่งบอกถึงความที่เราไม่ได้สละ

ถวายอัตภาพแด่พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ แปลว่า


ยกขันธ์ ๕ ถวายแด่พระพุทธเจ้า และต้องถวายจริงๆ เพราะ
เราเห็นว่าเราจะไม่ยอมเป็นทาสของกิเลส จะไม่ยอมให้
ตัณหา มานะ ทิฏฐิ เข้ามายึดอีก เราได้ตั้งใจอย่างเต็มที่แล้ว
ได้ยกอัตภาพนี้ถวายพระรัตนตรัยแล้ว หากตัณหาจะมายึด
ติดเราก็บอกว่าเราได้สละถวายให้พระพุทธเจ้าแล้ว

การให้ทานสัตว์เดรัจฉาน ในพระสูตรกล่าวไว้ว่าการให้ทานแก่สัตว์เดรัจฉาน
กล่าวไว้ในทักขิณาวิภังคสูตร ๑ อิ่ม ได้อานิสงส์ ๑๐๐ อัตภาพ
เช่นจะราดเศษอาหารเททิ้ง มนสิการว่าให้มด แมลงใดๆ หมู่หนอน
ทั้งหลาย ได้เศษอาหารนี้จงอิ่มหนำสำราญ จงเป็นผู้มีความสุข
มีอายุยืนเถิด
อานิสงส์ การให้ทานแก่สัตว์เดรัจฉาน ๑อิ่มคือ จะได้
อายุ วรรณะ ความสุข กำลัง ปัญญา ๑๐๐ อัตภาพ * ๕
เวลาไปเกิด ๑๐๐ อัตภาพ ท่านจะเป็นผู้มีอายุยืน มีกำลัง มีผิวพรรณ
งามและมีปัญญา ๑๐๐ ชาติ เจตนาคือจิตที่คิดจะให้ด้วยความรู้และ
เข้าใจ ต้องรู้และเข้าใจด้วยจึงจะได้ปัญญา อยู่ที่ว่าเราได้ให้ได้สละ
ได้ถูกต้องหรือไม่
คำถาม ถวายทานแด่สงฆ์ที่เป็นภิกษุทุศีล กับพระพุทธเจ้า อันไหนได้อานิสงส์มากกว่ากัน

คำว่าถวายสงฆ์ ท่านไม่นับคำว่าสงฆ์ทุศีล
สงฆ์ทุศีลไม่มี เพราะสงฆ์ไม่ใช่บุคคล ห้ามนับเป็นบุคคล
ถวายทานแด่สงฆ์ ไม่ได้สนใจว่าจะมีศีลหรือไม่มีศีล เพราะเขาไม่ได้
น้อมถวายคนนั้น ทั้งสมมติสงฆ์และอริยสงฆ์
ไปกระทบถึงคุณ ศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ วิมุตติคุณ วิมุตติ
ญาณทัสสนคุณ ของหมู่สงฆ์ ไม่ได้มุ่งตัวบุคคล
แต่เพราะมีสัญลักษณ์ผ้าเหลืองพันอยู่จึงน้อมแก่สงฆ์ ไม่ได้น้อมขันธ์
นั้นด้วย ไม่ได้ไปดูรายละเอียดด้วยว่ากระแสชีวิตนี้จะทุศีลหรือไม่
ทุศีล เขามองเพียงแค่เป็นตัวแทนของสงฆ์

ยกตัวอย่างเช่น เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย
ไม่ได้มองเป็นบุคคลนั้นแต่มองว่าเป็นตัวแทนของประชากรประเทศ
อินเดีย

ต้องแยกระหว่างสงฆ์กับบุคคลให้ออก
บุคคลใดน้อมถวายสงฆ์ได้ บุญจะเกิดขึ้นมหาศาล
ต้องฝึกในการให้ทาน แต่ประเด็นคือใจของเรา ที่พูดแบบนี้ไม่ใช่ว่าทำได้ง่าย ทำได้ยาก
มองว่ากระแสชีวิตท่านเป็นตัวแทน เวลาดูแลก็ดูแลกระแสชีวิตท่าน
อย่างดี ทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่มที่เหมาะสมกับตัวท่าน แต่ไม่ได้มอง
ที่ตัวท่านเลย มองท่านเป็นเพียงตัวแทนเท่านั้น ไม่ได้หวังบุญจาก
หนึ่งกระแสชีวิตนี้ แต่เบื้องหลังตัวแทนคือสงฆ์ทั่วสังฆมณทลเช่น
อริยสงฆ์ มีพระโสดาบันเป็นต้นจนถึงพระอรหันต์เป็นที่สุด
และมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จึงไม่ได้เกี่ยวกับบุคคลเลย
คนที่เป็นพระสงฆ์จึงต้องขวนขวายในการฝึกตนอย่างมาก
ว่าเราจะมีคุณสมบัติไปรับทานหรือไม่ ต้องไปว่ากันอีกเยอะ

อามิสทาน
ธรรมทาน

อามิสกับปัจจัยเหมือน ปัจจยามิส อามิสคือปัจจัย ๔


หรือต่างกัน โลกามิส อามิสคือเกียรติยศชื่อเสียง
วัฏฏามิส อามิสคือวัฏฏะ
ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยา อาหาร สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ธัมมารมณ์ มีมากมาย อามิสจึงกินความรวมไปถึงปัจจัยด้วย
กินความไปถึงตัวเกียรติยศชื่อเสียงด้วย ในกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ
ภพภูมิทั้งหมดเป็นอามิสหมด ทำให้ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ไปจับกุม
ยึดติดได้หมด เรามองอามิสเหล่านี้เป็นวัตถุกามหรือวัตถุทาน
โดยมากมองเป็นวัตถุกาม ไม่ได้มองเป็นวัตถุทาน

เราเห็นที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยา อาหาร เราน้อมสละจริงๆหรือไม่


อภัยทานเป็นอามิสทาน อามิสทานขับเน้นในส่วนที่เป็นวัตถุ ดอกไม้ ของหอม
หรือธรรมทาน ในขณะที่ถวายหากได้ความเครียด ความกลุ้ม ความทุกข์
ก็แปลว่าได้เฉพาะอามิสทาน ไม่ได้ธรรมทาน
ธรรมทานขับเน้นธรรมะ ที่เป็นทานกุศล หรือเจตนาที่เป็นไปกับ
ศีลกุศล พระอริยบุคคลในครั้งพุทธกาลก็มีปกติปฏิบัติอย่างนี้
เจตนาที่เป็นทาน เจตนาที่เป็นศีล กุศลจิตท่ีระลึกถึงพุทธคุณ
ก็จัดเป็นธรรมทาน
อามิสทานจึงขับเน้นที่วัตถุ ส่วนธรรมทานก็ขับเน้นที่นามธรรม

อรรถกถาก็มาขยายต่อเป็นวัตถุทาน อภัยทาน และธรรมทาน


จากวัตถุทานที่สละวัตถุ พัฒนามากขึ้นเป็นการให้ความปลอดภัย
เป็นการให้ความปลอดภัยในกระแสชีวิต ใจก็เป็นไปกับเมตตา
ให้ความปลอดภัยในทรัพย์สิน ใจก็เป็นไปกับการไม่น้อมนำ
ทรัพย์สินของคนอื่น คิดให้คิดสละ
ให้ความปลอดภัยในบุตร ภรรยา ให้ความปลอดภัยในคำพูด
ให้ความปลอดภัยไม่หวาดระแวง
อภัยทานจัดเป็นมหาทาน ซึ่งจัดเป็นศีลกุศล
จึงแยกอภัยทานกับธรรมทานออกจากกันให้เห็นภาพชัดเจนว่า
อภัยทานจัดเป็นศีลกุศล
ส่วนการให้ข้อมูล ให้องค์ความรู้ ให้ธรรมะ หรือการปฏิบัติบูชาก็
เป็นส่วนภาวนากุศล จัดเป็นธรรมทาน

วัตถุทาน อภัยทาน ธรรมทาน ที่จริงก็มาจากคำว่า


=
อามิสทานกับธรรมทานนั่นเอง
อามิสทานเป็นวัตถุ เป็นปัจจยามิส โลกามิส วัฏฏามิส
ประเด็นต่างๆเกี่ยวกับเรื่องทาน

ประเด็นที่ ๑ การสร้างพระเจดีย์ การสร้างพระพุทธรูปเป็นการสละทรัพย์มากมาย


มีบางมติว่าเห็นว่าไม่เป็นทาน
เหมือนเอาของไปถวายพระเจดีย์
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เพราะว่าการจะเป็นทานได้ต้องประกอบไปด้วย
ผู้รับทาน ผู้บริจาค และเครื่องไทยธรรม ต้องสมบูรณ์ด้วย ๓ อย่างนี้
จึงจะสำเร็จเป็นทานได้
การสร้างพระพุทธรูปก็ดี แม้จะมีผู้บริจาคทรัพย์ก็ตามแต่ไม่มีผู้รับ
เจดีย์และพระพุทธรูปนี้จึงไม่เรียกว่าเป็นทาน ควรเรียกว่าเป็นพุทธา
นุสสติกรรมฐานก็ได้แล้วจะได้พิจารณาคุณของพระพุทธเจ้าบ่อยๆ
มติอย่างนี้เราเห็นด้วยหรือไม่

ประเด็นที่ ๒ ผู้สร้างเจดีย์นั้นไม่ได้เจาะจงถวายผู้ใดผู้หนึ่ง พิจารณาคุณของ


พระพุทธเจ้าเพื่อที่จะพิจารณาเห็นรูปธรรมที่ชัดเจนเท่านั้น
ฉะนั้นการไหว้พระเจดีย์ พระพุทธรูปนั้นก็เพื่อให้เห็นคุณของ
พระพุทธเจ้า ฉะนั้นบุคคลจึงกล่าวว่าเกี่ยวกับพุทธานุสสติเท่านั้น
อย่างนี้เราเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย
ประเด็นที่ ๓ ประเด็นต่อมา ผู้สร้างเจดีย์ก็ดี พระพุทธรูปก็ดี สร้างเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าซึ่ง
เป็นบุคคลที่ควรบูชา ถ้าสงเคราะห์เข้าในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ แล้ว ก็เป็น
อปจายนกุศล ซึ่งจัดเข้าในศีล การเคารพบุคคลที่ควรเคารพนั้นเป็นจารีต
ฉะนั้นบุญที่เกี่ยวกับการสร้างเจดีย์จึงไม่ควรนับเข้าในพุทธานุสสติ
แต่ควรนับเข้าในศีลเท่านั้น

ประเด็นที่ ๔ พุทธานุสสติ สมถกุศล กับอปจายนกุศล


ไม่เกี่ยวกับการสละวัตถุ แต่การสร้างพระเจดีย์ต้องสละวัตถุจำนวน
มาก จึงเกี่ยวกับทานได้ เมื่อเกี่ยวกับทานแล้วแต่ถ้าไม่มีผู้รับทานจะ
เป็นทานได้หรือ นี้เป็นข้อกำหนดที่ก่อให้เกิดความสงสัยได้

การพูดว่ามนุษย์และเทวดาทั้งหลายที่ทำการบูชาองค์พระเจดีย์นั้น
เป็นผู้รับทานก็ไม่ผิด เพราะองค์ของพระเจดีย์นั้นเป็นวัตถุที่ควรบูชา
ของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย เช่นนั้นจึงเรียกวัตถุทานก็ได้
ถ้าจะถือเอาตามนี้
ผู้ท่ีสร้างพระเจดีย์นั้นเป็นผู้ให้ทาน
องค์พระเจดีย์เป็นวัตถุทาน
มนุษย์และเทวดาผู้บูชากราบไหว้เป็นผู้รับทานก็ได้

E เรื่องทานคิดได้หลายมุม ห้ามสุดโต่ง
คนที่สร้าง คนที่สละ คนที่ทำ แปลว่ามีเจตนาที่สร้าง
ต่อมาคนก็มาบูชา เทวดาก็มาบูชา ก็ถือว่าเป็นผู้รับก็ได้
สำหรับบุคคลที่สุดโต่งว่าเป็นวัตถุทานไม่ได้ก็ให้คิดมุมนี้ไป
เพื่อแก้ความขุ่นข้องหมองใจ

ในโลกนี้ทั้งหมดมีวัตถุปัจจัยหลายๆอย่าง
แต่ละอย่างนั้นก็ต้องใช้ตามฐานะที่ควรใช้ เช่นถ้าเป็นของกินก็ใช้
กิน ถ้าเป็นของใช้สอย เครื่องสวมใส่ เป็นสิ่งที่ควรบูชาก็บูชา
กราบไหว้ การขุดบ่อขุดสระ ทางอันเป็นที่สัญจรนั้นไม่ได้ถวายผู้
ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ แต่สร้างเพื่อบุคคลทั่วไปที่เดินทาง
ฉะนั้นผู้สร้างก็เป็นผู้ให้ทาน
บ่อน้ำ สระ ศาลา ถนน ก็เป็นวัตถุทาน
ผู้ใช้ทั่วไปก็เป็นผู้รับทาน นี้ก็สำเร็จเป็นทานเช่นกัน

มองให้กว้าง มองให้ลึก ที่จริงเราน้อมถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า


มองให้ชัด แต่บุคคลที่ไม่ได้สร้างแต่มาใช้สอยก็อยู่ในฐานผู้รับผลที่เราทำ
บุคคลที่เขามาบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ มาบูชาพระเจดีย์
พระอริยะ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์
ท่านเหล่านั้นมีศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ วิมุตติคุณ วิมุตติญาณทัสสนคุณ
เมื่อมีศีล สมาธิ ปัญญา ที่เกิดขึ้น
ท่านเหล่านั้นทำตามพระวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็แปลว่า
พระธรรมและวินัยเกิดขึ้นในกระแสชีวิตของท่านเหล่านั้น เมื่อพระธรรมวินัย
เกิดขึ้นในกระแสชีวิตของท่านเหล่านั้น และท่านเหล่านั้นมาสักการะบูชา
เราน้อมถวายพระพุทธเจ้า เราก็ถวายพระธรรมวินัยเป็นองค์ของพระศาสดา
พระธรรมวินัยไม่ได้นิพพานไป เมื่อท่านมาบูชา มาสักการะ ฉะนั้นพระธรรม
วินัยเป็นผู้รับทาน ไม่ได้มีสัตว์บุคคลเป็นผู้รับทาน
อย่างนี้ชื่อว่าพระพุทธเจ้าที่อยู่ในพระธรรมวินัยรับทานของเราด้วย

พระธรรมวินัยอยู่ในกระแสชีวิต พระธรรมวินัยอยู่ในกระแสชีวิตของพระสงฆ์ อยู่ในกระแสชีวิตของพุทธ


บริษัท เทพเทวดา พรหมทั้งหลาย
พระพุทธเจ้าปรินิพพานไป ๑ แต่พระธรรมวินัยขยายมา
๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์
พระธรรมวินัยยังอยู่ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะยังอยู่
ในฐานะแห่งพระธรรมวินัย เรายังได้บูชาอยู่ ได้ปฏิบัติตามอยู่
พวกเราที่ศึกษาพระธรรมและวินัย พระธรรมและวินัยต้องขยายมาอยู่
ในกระแสชีวิตของพวกเราให้ได้ และต้องออกมาเป็นผลด้วย
ต้องประชุมธรรมวินัย อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายต้องแข็งแรง ต้องมีพลัง ต้องประกาศเปิดเผย

ในกระแสชีวิต ต้องไปประชุมและทำให้เกิดให้มีขึ้นมา
เราไปยืนไปเดินไปนั่งไปนอน แปลว่าพระธรรมวินัยกำลังกำกับ
ท่านกำลังปฏิบัติตามวินัยและฝึกตามสิกขาบทเข้าสู่ธรรมะ
วินัยคลุมทั้งหมดพูดโดยรวม ส่วนสิกขาบทเป็นข้อๆ แปลว่าเรามี
พระวินัยเป็นตัวกำกับอยู่ ฝึกตามข้อฝึกแต่ละข้อเข้าสู่ศีล พัฒนาสู่ปราโมทย์
ปีติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ พัฒนาสู่ปัญญา เลยเข้าถึงศีล สมาธิ ปัญญา
สู่ธรรมะแต่มีวินัยเป็นแบบแผน มีสิกขาบทเป็นข้อฝึกและดำเนินสู่ศีล สมาธิ
ปัญญา ซึ่งเป็นธรรมะ ธรรมและวินัยจึงมากำกับ แปลว่าพระศาสดาก็
ทำกิจตลอด พระธรรมวินัยก็ไม่หยุด ไปประกาศให้พระธรรมวินัยนั้นเปล่ง
แสงออกมา ผลักออกมาเป็นการกระทำ เป็นคำพูด
เป็นกระบวนการความคิด พุทธบริษัทก็งดงาม อุบาสกอุบาสิกาก็งดงาม
มารก็สกัดไม่อยู่ ยกเว้นพุทธบริษัทไม่แข็งแรง ไม่สามารถนำธรรมวินัย
เข้าไปอยู่ในกระแสชีวิตได้

ถ้าเป็นพระธรรมวินัยที่ บางคนมีกิเลส ราคะ โทสะ โมหะ ชวนคนได้มาก แต่ศีล สมาธิ ปัญญา


แข็งแรงจริงๆ มีพลังมาก ดึงคนอื่นเข้ามาในพระธรรมวินัยไม่ได้ บางคนแย่กว่านั้น เข้าไปในบ้าน
ก็ทะเลาะกับแม่ ทำไมไม่ให้แม่มีศีล มีสุตะ มีจาคะ มีปัญญา
ไปอยู่กับน้อง ก็ทำให้น้องมีศีล หิริ โอตตัปปะ จาคะ ปัญญา ไป ณ ที่ไหน
พระธรรมก็แผ่ขยายออก ถ้าเป็นอย่างนี้จะน่าตื่นเต้นมาก จาก ๑ แตกตัว
ออกไปเป็น ๑๐ อย่างนี้เป็นต้น

Ef ตอนนี้ กิเลสแตกออก แต่พระธรรมวินัยอ่อนแอ


บางคนเพื่อนหายหมด พอมาศึกษาธรรมะแล้วเพื่อนหายหมด คบกับใครไม่ได้ มาหาพระ
ก็ทะเลาะกับพระ ทำไมศีล สมาธิ ปัญญาอ่อนแอ
ที่จริงต้องขยาย ไปจัดการกิเลสของบุคคลอื่นด้วย ทำให้บุคคล
อื่นเข้าถึงศรัทธา เข้าถึงศีล สุตะ จาคะ ปัญญา

สติ สมาธิ ปัญญา ไม่กลัวกิเลส สามารถเผชิญหน้ากับกิเลสได้แบบมั่นคง เห็นคนอื่นเกิดกิเลสแล้วไม่


หลบ เช่นเห็นแม่เกิดกิเลส ลูก เพื่อน คนที่เรารู้จัก
แสดงปฏิกิริยาออกมาแล้วไม่รู้สึกสั่นกลัว
พุทธบริษัทต้องมีวิธีการจัดการกับกิเลสของบุคคลที่เราไปสัมพันธ์
ด้วยและไม่ปล่อยให้กิเลสเกิดขึ้นกับเรา ไม่ยอมจำนน
ไม่ยอมให้กิเลสลากเราไปหาเขา ต้องมีวิธีจัดการกับกิเลส
ของตนเองและบุคคลที่เราเกี่ยวข้อง
อยากให้พวกเราทั้งหลายประพฤติธรรม
เมื่อประพฤติธรรมแล้ว..
ธรรมะคือขันติ ธรรมะคือปัญญา ธรรมะคือวิริยะ ธรรมะคือศรัทธาทั้งหลาย
มันผลักออกมา มันเด่นออกมา คนที่อยู่ด้วยจะเห็น
เช่น เมตตาเด่นออกมา กรุณาเด่นออกมา มุทิตาเด่นออกมา
มันผลักออกมา ทั้งการกระทำ และคำพูด
ถ้าเห็นคุณธรรมเหล่านี้ออกมา มันจะชื่นใจ

การจะเห็นคุณธรรมของผู้อื่นได้ก็ต้องฝึกในการที่จะมอง
เหมือนกรณีที่แม่เห็นคุณธรรมของลูก ลูกเห็นคุณธรรมของแม่
สามีเห็นคุณธรรมของภรรยา ภรรยาเห็นคุณธรรมของสามี
เพื่อนเห็นคุณธรรมของกันและกัน
พระเห็นคุณธรรมของญาติโยม ญาติโยมเห็นคุณธรรมของพระ
ก็เลยปฏิบัติต่อกัน รู้สึกซาบซึ้งตรึงใจที่ปฏิบัติต่อกัน
มันก็เลยอยู่ด้วยกันอย่างผาสุกทันที
แต่ถ้าไปเห็นบาปก็จะเครียดต่อกัน
ต้องมองให้เห็นคุณธรรม
จริงๆแล้วกระแสชีวิตมันมีจุดเด่นอีกเยอะมาก มองให้เป็นเจาะให้ถึง
แล้วเราจะได้เคารพซึ่งกันและกันได้อย่างซาบซึ้ง
ไม่ใช่ไปร่องลึกแข็งทื่อ จำอะไรแต่สิ่งที่ไม่เป็นสาระ
อดีตที่เคยไปทำผิดมาก็ตอกย้ำกัน เอาปมด้อยมาว่ากัน
ไม่เรียกว่าปฏิบัติธรรม มันไม่ได้เกิดประโยชน์แต่อย่างใดเลย
เอามาขู่กัน กดกัน มีตัณหา มานะทิฏฐิใส่กัน
ให้เลิกเสีย ถอนเสีย

เพราะเราต้องการประพฤติธรรมที่จะพัฒนาให้ไปไกลกว่านี้
ไม่ใช่อยู่เพียงเท่านี้ ไปกดกัน และไม่เคารพกันอย่างแท้จริง
เคารพความเป็นมนุษย์ ธรรมของมนุษย์
กุศลกรรมบถที่ปฏิบัติมันมีอยู่
เราให้ทานแก่กันยังเป็นบุญเลย
แล้วเราปฏิบัติศีลต่อกันมันจะไม่เป็นบุญได้อย่างไร
พูดจาดีต่อกัน มนสิการที่เป็นกุศลต่อกัน
กุศลจะมีพลังเฟื่องฟูมาก ในบ้านนั้น ในสังคมนั้น น่าชื่นใจ
การปฏิบัติธรรมน่าตื่นเต้น ไม่ใช่นั่งหลับตาแต่ว่าทิฏฐิเต็มตัว
ทิฏฐิฝังร่องลึก เครียดใส่กัน นั่งหลับตาใส่กันไม่คุยกัน ขัดแย้งกัน
เมื่อเราเข้าใจแล้วต้องทำทันที แล้วจะเป็นประโยชน์กับท่านทั้งหลาย

You might also like