You are on page 1of 12

การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

Continuous Quality Improvement (CQI)

การเฝ้ าระวังอาการไม่คงที่หรือมีอาการทรุดลงขณะรอตรวจ

ห้องตรวจอายุรกรรม กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่ วยนอก


โรงพยาบาลสระบุรี
สมาชิกทีม

1. นางประภาภรณ์ จันทาโลก พยาบาลวิชาชีพชำนาญ


การ หัวหน้าทีม

2. นางอารีรัตน์ โศภิษฐพันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญ


การ

3. นางอรุณรัตน์ แก้ววงษ์ไหม พยาบาลวิชาชีพชำนาญ


การ

4. นางสาวอาจารียา ดัชชานนท์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญ


การ

5. นางจงศรินพร กาญจนจำรูญศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญ


การ

6. นางสาวสุพิชญานัน ธนาดลเอื้ออังกูร พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติ


การ

7. นางสาวณัชชา เจือทอง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติ


การ

8. นางสำเนียง วิริขิตกุล พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติ


การ
9. นางวรันตรี วรเลิศ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติ
การ

โครงการที่เลือกมาดำเนินการ : การเฝ้ าระวังอาการไม่คงที่หรือมีอาการ


ทรุดลงขณะรอตรวจ

ความเป็ นมาและความสำคัญของปั ญหา

การเฝ้ าระวังผู้ป่ วยอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจเป็ นจุดมุ่งหมายที่


สำคัญของบุคลากรทางการพยาบาลในการประเมินสภาพผู้ป่ วย และให้ความ
ช่วยเหลือการรักษาพยาบาล ตามที่สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล
ของประเทศไทยได้กำหนดให้การบริหารความเสี่ยง ความปลอดภัยและ
คุณภาพ เป็ นระบบงานสำคัญของโรงพยาบาล ที่ทุกหน่วยงานพึงปฏิบัติ
กล่าวคือ กำหนดให้ทุกองค์กรมีระบบบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยที่
มีประสิทธิผลและประสานสอดคล้องกัน เพื่อจัดการความเสี่ยงและสร้าง
ความปลอดภัยแก่ผู้ป่ วย/ผู้รับบริการ และเจ้าหน้าที่ ซึ่งพยาบาลเป็ น
บุคลากรทางสุขภาพที่มีบทบาทสำคัญในการป้ องกันความผิดพลาดในการ
ดูแลผู้ป่ วยและพัฒนาระบบหรือแนวทางในการเฝ้ าระวังผู้ป่ วยที่มีความเสี่ยง
ต่ออาการทรุดลง ซึ่งนับเป็ นหัวใจสำคัญอย่างยิ่งของความปลอดภัยของผู้ป่ วย
งานบริการผู้ป่ วยนอกเป็ นการบริการด่านหน้าเป็ นลักษณะงานเฉพาะที่ผู้มาใช้
บริการผู้ป่ วยนอกมีความหลากหลายและมีจำนวนมาก ถือเป็ นจุดหนึ่งที่มี
ความเสี่ยงที่ผู้ป่ วยที่มีอาการของโรครุนแรงอาจมีอาการทรุดลงในระหว่างรอ
รับการตรวจรักษาที่ต้องบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากในแต่ละ
วันจะมีผู้มารับบริการหลากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็ นผู้สูงอายุ ผู้ป่ วยที่ต้องการ
การผ่าตัดเร่งด่วน ผู้ป่ วยหลังผ่าตัดอวัยวะสำคัญต่าง ๆ หรือผู้ป่ วยที่มีโรค
ประจำตัว เช่น เบาหวาน และความดันโลหิตสูง บุคคลดังกล่าวมีโอกาสเสี่ยง
ที่จะเกิดอาการทรุดลงในขณะรอตรวจได้ตลอดเวลาดังนั้นระบบการจัดการที่
มีประสิทธิภาพมีความจำเป็ นอย่างยิ่งเพื่อให้สามารถให้บริการพยาบาลอย่าง
มีคุณภาพตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่ วยนอก โดยมุ่งผลลัพธ์เช่น ผู้ป่ วยได้
รับการบริการที่ถูกต้อง รวดเร็ว ปลอดภัย ได้รับความรู้หรือคำแนะนำเพื่อให้
สามารถกลับไปดูแลตนเองที่บ้านได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นพยาบาลต้องมีทักษะ
ในการประเมินผู้ป่ วยเพื่อป้ องกันอาการทรุดลง และเฝ้ าระวังอาการ
เปลี่ยนแปลงของผู้ป่ วย โดยทำการประเมินผู้ป่ วยในเชิงรุกทั้งในระยะก่อน
ตรวจ ขณะตรวจและหลังตรวจเพื่อป้ องกันเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์กับผู้
ป่ วย ปั ญหาอาการที่ทรุดลงหรืออาการที่เปลี่ยนแปลงไปในทางแย่ลงจากเดิม
ของผู้ป่ วยระหว่างรอตรวจมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับผู้ป่ วยทุกราย ส่งผลให้เกิด
ความไม่ปลอดภัยกับผู้ป่ วย โดยทางห้องตรวจอายุรกรรม กลุ่มงานการ
พยาบาลผู้ป่ วยนอก มีหน้าที่หลักในการให้บริการผู้ป่ วยนอกอายุรกรรม ซึ่งมี
ผู้รับบริการจำนวนมาก เฉลี่ยวันละ 500-600 คน การให้บริการในแต่ละวัน
จะมีขั้นตอนบริการตั้งแต่ก่อนตรวจ ขณะตรวจพบแพทย์ และหลังตรวจ ซึ่ง
ในขั้นตอนหลังตรวจจะมีทั้งการจำหน่ายผู้ป่ วยกลับบ้าน และการส่งไปตรวจ
วินิจฉัยเพิ่มเติมซึ่งผู้ป่ วยในกลุ่มที่ส่งไปตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมนี้ จะต้องส่งกลับ
มารอผลการตรวจ ที่ห้องตรวจอายุรกรรมต่อ โดยระหว่างการรอผลตรวจ
นั้น ผู้ป่ วยอาจมีอาการเปลี่ยนแปลงระหว่างรอผลการตรวจได้ ซึ่งในเดือน
มกราคม 2566 พบว่ามีผู้ป่ วยอาการทรุดลงขณะรอผลการตรวจเพิ่มเติม
จำนวน 1 ราย โดยมีอาการ เหงื่อออก ตัวเย็น กระสับกระส่าย ความดัน
โลหิตต่ำ ได้ส่งห้องฉุกเฉิน และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ดังนั้นทางห้องตรวจ
อายุรกรรม จึงได้พัฒนาการเฝ้ าระวังอาการไม่คงที่หรือมีอาการทรุดลงขณะ
รอตรวจ เพื่อให้บุคลากรปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติเป็ นไปในทิศทางเดียวกัน
เพื่อให้ผู้ป่ วยได้รับการรักษาพยาบาลอย่างปลอดภัย
สาเหตุรากเหง้าของปั ญหา
Machine

Man
ภาระงานมาก
ขาดความใส่ใจในการ อุปกรณ์ในการ
ทำงานไม่ทัน
ดูแลผู้ป่ วย ประเมินสภาพผู้
ผู้ป่ วยมี
ขาดความรู้ในการ อัตรากำลัง
อาการไม่คงที่หรือมี
ประเมินสภาพผู้ ไม่เหมาะ อาการทรุดลงขณะรอ
ตรวจ
ป้ ายธงแยก ไม่มีแนวทางปฏิบัติทีชัดเจน ไม่มีแผนนิเทศงานที่ชัดเจน
สสl ถานที่
ส l ส l สถ
ประเภทผู้ กระบวนการ านถานส
อยู่ไกล
ขาดการให้ความรู้กับบุคลากร พยาบาล
ป่ วยไม่ ทบทวนความรู้ไม่ สถานที่รอตรวจ
การนิเทศกำกับงานไม่ต่อเนื่อง ห่างไกลกัน
สิ่งแวดล้อมไม่
Environment สะดวกในการ
Material
ดูแลผู้ป่ วย
Method

1. ผู้รับบริการแต่ละวันมีจำนวนมาก

2. พยาบาลยังมีการประเมินสภาพผู้ป่ วยยังไม่ครอบคลุม ขาดความรู้ใน


การประเมินสภาพผู้ป่ วย
3. พยาบาลมีภาระงานมาก ในบางวันอัตรากำลังขาดไม่มีการทดแทน
ทำให้ทำงานไม่ทัน

4. พยาบาลขาดความใส่ใจในการดูแลผู้ป่ วย

5. ไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการเฝ้ าระวังผู้ป่ วยอาการทรุดลง


ระหว่างรอตรวจ

6. ขาดการลงบันทึกผลการประเมินสภาพที่มีความต่อเนื่อง ตั้งแต่แรก
รับ ระหว่างรอผลการตรวจทางห้อง ปฏิบัติการ จนถึงระหว่างการรอตรวจ

7. การนิเทศกำกับงานไม่ต่อเนื่อง แผนการนิเทศไม่ชัดเจน

8. สถานที่รอตรวจผู้ป่ วยประเภทรถนั่ง รถนอนจะอยู่ไกลพยาบาล


ทำให้ไม่สะดวกในการดูแลและเฝ้ าระวังผู้ป่ วยเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลง

ตัวชี้วัด

ผู้ป่ วยที่มีอาการไม่คงที่หรือมีอาการทรุดลงขณะรอตรวจไม่ได้รับ
อันตรายถึงชีวิต

เป้ าหมาย

จำนวนผู้ป่ วยที่มีอาการไม่คงที่หรือมีอาการทรุดลงขณะรอตรวจได้รับ
อันตรายถึงชีวิต = 0

วิธีการดำเนินการพัฒนา
1.ประชุมทีม รวบรวมข้อมูล ทบทวนวิเคราะห์ประเด็นปั ญหา ระบบงาน
ในหน่วยงาน

2.ทบทวนความเสี่ยง อุบัติการณ์ในเรื่องอาการไม่คงที่หรือมีอาการทรุดลง
ขณะรอตรวจแล้วเสียชีวิตของผู้ป่ วย ในหน่วยงาน

3.แต่งตั้งคณะทำงานโครงการพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง

4.กำหนดวัตถุประสงค์โครงการพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง

5.กำหนดเป้ าหมายของโครงการพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง

6.จัดทำแนวทางในการเฝ้ าระวังอาการไม่คงที่หรือมีอาการทรุดลงระหว่าง
รอตรวจ

7.ชี้แจงและจัดทำแนวทางปฏิบัติการเฝ้ าระวังอาการไม่คงที่หรือมีอาการ
ทรุดลงระหว่างรอตรวจ ในหน่วยงาน

8.ทดลองใช้แนวทางปฏิบัติการเฝ้ าระวังอาการไม่คงที่หรือมีอาการทรุดลง
ระหว่างรอตรวจ ในหน่วยงาน

9.ติดตามและรวบรวมผลลัพธ์การใช้แนวทางปฏิบัติการเฝ้ าระวังอาการไม่
คงที่หรือมีอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจ ในหน่วยงาน

ระยะเวลาที่เริ่มดำเนินการ
1 กุมภาพันธ์ 2566 - 30 มิถุนายน 2566

แนวทางปฏิบัติการเฝ้ าระวังอาการไม่คงที่หรือมีอาการทรุดลงขณะรอ
ตรวจ

มียา
ผู้ป่ วยหลัง กลับบ้าน/
ไม่มียา

ผู้ป่ วยรถนั่ง รถนอน


ผู้ป่ วยเดินได้

ประเมินสภาพ วัด ส่งวินิจฉัยเพิ่ม

สัญญาณชีพ

ผู้ป่ วยรถนั่ง รถ ผู้ป่ วยเดินได้


ประเมินสภาพ วัด รอผลการตรวจแล้ว

มียา ไม่มียา

กลับบ้าน/

ทางห้องตรวจอายุรกรรมได้วิเคราะห์สาเหตุของปั ญหาแล้วนั้น จึงได้จัด


ทำแนวทางปฏิบัติการเฝ้ าระวังอาการไม่คงที่หรือมีอาการทรุดลงขณะรอ
ตรวจ โดยเลือกกลุ่มผู้ป่ วยระหว่างรอผลการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม และเป็ นผู้
ป่ วยประเภทรถนั่ง และรถนอนก่อน เนื่องจากผู้ป่ วยกลุ่มนี้จะใช้เวลาในการ
รอนาน 2-3 ชั่วโมง จนกว่าผลการตรวจวินิจฉัยจะออก โดยเมื่อผู้ป่ วยพบ
แพทย์ครั้งแรกแล้วแพทย์ส่งให้ตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ผู้ป่ วยจะได้การประเมิน
สภาพ วัดสัญญาณชีพก่อนและหลังการส่งไปตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เมื่อผลการ
ตรวจวินิจฉัยออกแล้ว ผู้ป่ วยจะได้พบแพทย์อีกครั้ง

ผลการพัฒนา
การเฝ้ าระวังอาการไม่คงที่หรือมีอาการทรุดลงขณะรอตรวจของห้อง
ตรวจอายุรกรม โดยใช้แนวทางปฏิบัติที่จัดทำขึ้นนี้ ส่งผลให้ผู้ป่ วยมีความ
ปลอดภัยมากขึ้น โดยมีการเฝ้ าระวังอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่ วย และ
สามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงที โดยพบว่าช่วงเวลาที่มีการดำเนินการนี้ไม่พบผู้
ป่ วยมีอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจ

สรุปบทเรียน

การจัดทำแนวทางการเฝ้ าระวังอาการไม่คงที่หรือมีอาการทรุดลงขณะ
รอตรวจ ของห้องตรวจอายุรกรรมนี้ทำให้สามารถดูแลผู้ป่ วยให้ปลอดภัย
และมีการเฝ้ าระวังอาการไม่คงที่หรือมีอาการทรุดลงขณะรอตรวจได้ และ
ทำให้พยาบาลสามารถดูแลผู้ป่ วยอย่างมีระบบ

แผนการพัฒนาต่อ

ทางห้องตรวจอายุรกรรมจะนำแนวทางปฏิบัตินี้ประยุกต์ไปใช้กับผู้ป่ วย
ในกลุ่มอื่นๆเพิ่มเติม และจะพัฒนาไปใช้กับผู้ป่ วยที่รอตรวจในจุดบริการอื่นๆ
ต่อไป

You might also like