You are on page 1of 28

ปะการัง

เป็ นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกเดียว


กับดอกไม้ทะเล มีรูปร่างเป็ นทรงกระบอก
ขนาดตั้งแต่ 1 มิลลิเมตร ถึง 1 เซนติเมตร มักอยู่
รวมกันเป็ นกระจุกหรือเป็ นกลุ่ม ที่เรียกว่า โคโลนี
ซึ่งบางกลุ่มอาจมีขนาดโคโลนีถึง 3 เมตร แต่มี
ปะการังบางชนิดที่อาศัยอยู่แบบเดี่ยวและมีขนาด
ถึง 30 เซนติเมตร
ชีวิตเล็กๆ ของปะการังซึ่งมีอายุเพียง 2 สัปดาห์
จะสร้างหินปูนออกมาพอกทับถมกันเป็ นโครงร่าง
ห่อหุ้มตัวอันอ่อนนุ่มของปะการังไว้ชั้นหนึ่ง
จากนั้นจะค่อยๆ แผ่ขยายออกไปเป็ นกิ่งก้าน
สาขารูปร่างแตกต่างกันในปะการังแต่ละชนิด ปรากฎ
ให้เห็นเป็ นแนวปะการังประดุจผืนป่ าแห่งท้องทะเล
บางครั้งอาจพบแนวปะการังก่อตัวขึ้นเป็ นเกาะปะการัง
ก็มี และนั่นก็คือ ซากชีวิตเล็กๆ ของปะการังที่ตาย
ทับถมพอกพูนตามธรรมชาติมาเป็ นระยะเวลาอัน
ยาวนาน
ลักษณะพิเศษที่น่าสนใจของปะการังคือ การอยู่
รวมกันระหว่างพืชกับสัตว์ในตัวปะการัง นั่นคือ ภายในผนัง
เนื้อเยื่อชั้นในของปะการังเป็ นที่อยู่ของสาหร่ายเซลล์เดียว
ที่เรียกว่า ซูซานเทลลี่ (Zooxanthallae) สาหร่ายหรือพืช
ชนิดนี้จะพบได้ในปะการังแทบทุกชนิด และยังพบใน
เนื้อเยื่อของสัตว์ทะเลอื่นๆ ที่มีสีสันสวยงาม ซึ่งอาศัยอยู่
ตามแนวปะการังด้วย เช่น เพียงหัวหอม หอยมือเสือ โดย
สาหร่ายเซลล์เดียวซูซานเทลลี่จะมีการสังเคราะห์แสงทำ
ชีววิทยาของ
ปะการัง
ชีววิทยาของปะการัง
ปะการังที่เจริญเติบโตเต็มที่จะให้กำเนิดลูกปะการัง
เล็กๆ มากมาย
โดยวิธีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
จากการปฏิสนธิระหว่างไข่และสเปิร์มที่ถูกปล่อย
ออกจากปะการังตัวเต็ม วัย ซึ่งส่วนใหญ่จะรวมกัน
เป็ นกลุ่มหรือเป็ นโคโลนี เมื่อไข่ที่ได้รับการ ผสมพันธุ์
และเป็ นตัวอ่อนแล้ว ตัวอ่อนจะล่องลอยไปตามกระแส
น้ำ จนกว่าจะสามารถหาที่จับเกาะได้เช่น พื้นหิน
ตามใต้ท้องทะเล
ลูกปะการังที่เหลือรอดชีวิตจะช่วยกันก่อร่าง
สร้างบ้านหลังใหม่ จนในที่สุดเกิดเป็ นแนวปะการัง
ขึ้นมา และนั่นคือจุดเริ่มต้นของชุมชนชีวิตใต้ทะเล
หลังจากนั้นปะการังก็จะสืบพันธุ์ต่อโดยวิธีไม่อาศัย
เพศ โดยการแตกหน่อออกไปเรื่อยๆ ตามแต่
ลักษณะรูปร่างของปะการังแต่ละชนิด และมีอัตรา
การเติบโตช้าเร็วต่างกัน เช่น ปะการังเขากวางบาง
ร่างกายของปะการังแยกได้เป็ น 2 ส่วน
ส่วนแรกเป็ นเนื้อเยื่อที่อ่อนนุ่มเรียกว่า "โพลิบ" (Polyp)
รูปร่างเป็ นทรงกระบอกปลายตัน มีปากอยู่ตรงกลาง
ของปลายท่อด้านบน และมีหนวดอยู่รอบๆ เป็ นจำนวน
6 หรือจำนวนเท่าของหก
ส่วนที่สองเป็ นโครงสร้างหินปูนที่แข็ง โดยสร้างขึ้นมา
ห่อหุ้มตัวเรียกว่า "คอรอลไลต์" (Corallite) ซึ่งเปรียบ
เสมือนแบบพิมพ์ที่จะคงสภาพอยู่ภายหลังจากที่เน่า
รูปโครงสร้าง
การกินอาหารของปะการังจะอาศัยหนวด
ที่มีอยู่มากมายคอยดักจับสัตว์ตัวเล็กๆ เช่น แพ
ลงก์ตอน จุลินทรีย์ต่างๆ โปรโตซัว ตลอดจนอิน
ทรียสารที่ล่องลอยอยู่ในน้ำเป็ นอาหาร
โครงสร้างหินปูนที่ห่อหุ้มตัวปะการังไว้จะ
ถูกกัดกร่อนด้วยกระแสคลื่นและถูกแทะเล็มจาก
สัตว์น้ำบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลานกแก้ว
ที่มีขากรรไกรแข็งเป็ นพิเศษ ชอบกัดกินปะการัง
และย่อยสลายปะการังซึ่งมีโครงสร้างเป็ นหินปูน
แล้วขับถ่ายออกมาเป็ นเม็ดทรายที่ขาวละเอียด
แหล่งแพร่กระจายของแนวปะการังถูกจำกัด
ด้วยอุณหภูมิของน้ำทะเลและแสงอาทิตย์ โดย
อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของ
ปะการังจะอยู่ระหว่าง 23-25 องศาเซลเซียส สูงสุด
ไม่เกิน 33 องศาเซลเซียส และต่ำสุดไม่เกิน 18
องศาเซลเซียส บริเวณดังกล่าวต้องเป็ นที่ที่มีแสง
สว่างส่องลงไปถึง เพื่อสาหร่ายซูซานเทลลี่ที่อาศัย
อยู่รวมกับปะการัง สามารถนำไปใช้ในขบวนการ
สังเคราะห์แสงสร้างอาหาร และผลิตก๊าซออกซิเจน
ให้แก่ปะการังด้วย
ระดับความลึกที่พบปะการังจึงมักไม่เกินระดับ
50 เมตร แต่ถ้าหากแสงแดดส่องถึงมากเกินไป
ปะการังก็ไม่อาจเจริญเติบโตได้ดี ในเรื่องระดับความ
เค็มของน้ำทะเลที่เหมาะสมมีค่าประมาณ 30-36
ส่วนต่อพันส่วน ปะการังไม่อาจเจริญเติบโตได้ดีใน
บริเวณที่มีตะกอนขุ่นข้น และฝนตกระยะยาว ด้วย
เหตุนี้จึงพบเห็นแหล่งปะการังเฉพาะในน่านน้ำเขต
จากรูปร่างภายนอกของปะการังที่มีลักษณะเด่น
แตกต่างกัน ทำให้สามารถแบ่งกลุ่มของปะการังได้เป็ น 7
กลุ่ม คือ1. ปะการังก้อน เป็ นก้อนตันคล้ายก้อนหิน ไม่มีกิ่ง
ยื่นออกมา เช่น ปะการังสมอง
2. ปะการังกิ่งก้าน บางทีเรียกว่า ปะการังเขากวาง มี
ลักษณะเป็ นแท่งรวมกันเป็ นกระจุก โดยไม่ติดต่อกันเป็ น
เนื้อเดียวกันตลอดทั้งก้อน มักพบในบริเวณที่น้ำนิ่ง
เนื่องจากไม่สามารถทนทานต่อคลื่นลมรุนแรงได้
3. ปะการังหุ้มห่อ หรือปะการังเคลือบ มีลักษณะแผ่
ขยายคลุมไปตามลักษณะของพื้นผิวที่มันห่อหุ้มอยู่
4. ปะการังแผ่นมีลักษณะแบบขยายออกไปตามแนว
ราบคล้ายโต๊ะ อาจซ้อนกันเป็ นชั้นๆ บางครั้งเรียก
ปะการังโต๊ะ
5. ปะการังผักกาด หรือปะการังกลีบซ้อน หรือ
ปะการังแผ่นตั้ง มีลักษณะเป็ นแผ่นแบนติดกัน หรือ
รวมกันเป็ นกระจุกแบบใบไม้หรือผัก จะพบอยู่ใน
แหล่งน้ำที่ตื้นหรือน้ำที่ใส
6. ปะการังพุ่ม มีลักษณะเป็ นพุ่มกลม มีกิ่งก้านสั้น
เป็ นแท่งรวมกันเป็ นกระจุก เป็ นดง หรืออาจพบอยู่
ตามด้านบนของก้อนปะการังขนาดใหญ่
7. ปะการังเห็ด มีลักษณะเป็ นปะการังก้อนเดี่ยว มี
ปะการังอยู่ตัวเดียว มีปากอยู่ตรงกลางเคลื่อนที่ไป
ได้ช้าๆ มักพบตามพื้นทรายระหว่างแนวปะการัง
แนวปะการังที่ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทั่วไป
นั้น หากจะพิจารณารูปแบบโครงสร้างการก่อตัวแล้ว
สามารถแบ่งได้เป็ น 3 ชนิด โดยแนวปะการังเล็กๆ ที่
ก่อตัวและแพร่กระจายตามบริเวณชายฝั่งเรียกว่า
"แนวปะการังชายฝั่ง" ห่างจากฝั่งออกไปเป็ นแนว
ปะการังที่ถูกแบ่งกั้นจากชายฝั่ง โดยทะเลสาบน้ำ
เค็ม (Lagoon) เรียกว่า "แนวปะการังแบบกำแพง"
ส่วนแนวปะการังที่ก่อตัวในน่านน้ำทะเลลึก มี
ลักษณะเป็ นวงแหวนหรือเกือกม้า ซึ่งอาจเกิดจาก
ภูเขาไฟยุบตัวเรียกว่า "แนวปะการังแบบเกาะ"
แนวปะการังที่พบตามชายฝั่งทะเลไทยจาก
ลักษณะภูมิประเทศของชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยที่
มีลักษณะเป็ นชายฝั่งทะเลน้ำตื้น มีแม่น้ำใหญ่ๆ
หลายสายไหลลงสู่อ่าวไทย เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำบางปะกง และอื่นๆ น้ำทะเลจึง
ขุ่นมากกว่าน้ำทะเลด้านชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งมี
ลักษณะภูมิประเทศค่อนข้างเป็ นหน้าผาชัน การก่อ
ตัวของแนวปะการังของฝั่งทะเลอันดามันจึงเป็ นไป
ได้ดีกว่าทางฝั่งอ่าวไทย ทั้งนี้เพราะมีสภาพแวดล้อม
ทางธรรมชาติที่เหมาะสมกว่า โดยเฉพาะความ
โปร่งใสของน้ำทะเล
แนวปะการังที่แผ่ขยายอาณาจักรครอบคลุมน่าน
น้ำชายฝั่งทะเลไทย มีพื้นที่รวมประมาณ 12,000
ตารางกิโลเมตร และมีปะการังมากว่า 300 ชนิด ซึ่ง
หากจะเปรียบเทียบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง
ใต้แล้ว พื้นที่แนวปะการังของไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 3
รองจากประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนิเซีย แต่ในเรื่อง
ความงดงามและความหลากหลายนั้น แนวปะการัง
ของไทยขึ้นชื่อลือนามติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก
ซึ่งแนวปะการังที่งดงามนี้ คือแนวปะการังของหมู่
เกาะสิมิลันและหมู่เกาะสุรินทร์
แหล่งปะการังที่สำคัญบริเวณอ่าวไทยตอนบนฝั่ง
ตะวันออก ได้แก่ หมู่เกาะสีชัง (เกาะค้างคาว) หมู่เกาะ
ไผ่ (เกาะมารวิชัย) หมู่เกาะล้าน ในจังหวัดชลบุรี
อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า หมู่เกาะเสม็ด ใน
จังหวัดระยอง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง หมู่เกาะ
หมาก หมู่เกาะกูด ในจังหวัดตราด บริเวณอ่าวไทยฝั่ง
ตะวันตก ได้แก่ หมู่เกาะหัวหิน หมู่เกาะประจวบ หมู่
เกาะบางสะพาน (เกาะทะลุ) ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
หมู่เกาะทุ่งวัวแล่น (เกาะไข่ เกาะง่าม) หมู่เกาะท่า
ตะเภา หมู่เกาะเสวี ในจังหวัดชุมพร หมู่เกาะเต่า
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง หมู่เกาะแตน หมู่
สำหรับบริเวณชายฝั่งทะเลอันดันดามันได้แก่
อุทยานแห่งชาติแหลมสน จังหวัดระนอง - พังงา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ อุทยานแห่งชาติหมู่
เกาะสิมิลัน ในจังหวัดพังงา อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
เกาะเฮ เกาะราชา ในจังหวัดภูเก็ต อุทยานแห่งชาติ
หาดนพรัตน์ธารา - หมู่เกาะพีพี อุทยานแห่งชาติหมู่
เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้า
ไหม จังหวัดตรัง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
จังหวัดตรัง-สตูล และอุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัด
สตูล ทั้งนี้ บริเวณที่ปะการังเจริญเติบโตได้ดีในทะเล
อันดามันมักจะเป็ นบริเวณที่มีกำบัง
ความสำคัญของแนวปะการัง
ธรรมชาติได้เสกสร้างแนวปะการังไว้อย่างน่า
อัศจรรย์ ความลึกลับซับซ้อนของซอกหลืบโพรงผา
หินในห้วงทะเล ที่นี่สังคมชีวิตดำเนินไปตามวิถี
ธรรมชาติอย่างแท้จริง มีสายใยชีวิตผูกพันกันอย่าง
ลึกซึ้งจนไม่อาจแยกจากกันได้การหมุนเวียน
ถ่ายทอดพลังงานหรือห่วงโซ่อาหารในแนวปะการัง
คือ ปัจจัยหลักที่กำเนิดความอุดมสมบูรณ์ให้กับท้อง
ทะเล
ความสำคัญของแนวปะการังยังมีอีกมากมายหลายประการ
คือ
-ทำหน้าที่เป็ นกำแพงธรรมชาติ ลดความรุนแรงของการกัด
เซาะชายฝั่งจากคลื่นลมและกระแสน้ำ
-เป็ นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญให้มวลมนุษย์
-เป็ นแหล่งที่อยู่อาศัย หากิน และแพร่กระจายพันธุ์ของสัตว์
ทะเล
-แหล่งกำเนิดเม็ดทรายให้กับชายหาด อาจเกิดจากการ
กัดกร่อนตามธรรมชาติ หรือโดยการกระทำของสัตว์ทะเล
บางชนิด เช่น ปลานกแก้ว
-เป็ นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญ ช่วยให้เกิดการกระ
จายรายได้ไปสู่ท้องถิ่น
ทำอย่างไรให้แนวปะการังคงอยู่
การขยายความเจริญอย่างรวดเร็วของบ้าน
เมืองตามกระแสโลกาภิวัฒน์ ได้ส่งผลให้มีการนำ
เอาทรัพยากรชายฝั่งมาใช้ประโยชน์อย่างมากมาย
มหาศาล รวมทั้งการพัฒนาที่มีผลกระทบทั้งทาง
ตรงและทางอ้อมต่อทรัพยากรชายฝั่ง จนทำให้
สถานภาพของแหล่งทรัพยากรชายฝั่งตกอยู่ใน
สภาพเสื่อมโทรมอย่างน่าเป็ นห่วง แนวปะการังเป็ น
ทรัพยากรที่มีความเปราะบางอย่างยิ่ง และต้องใช้
เวลานานมากกว่าที่จะฟื้นคืนสภาพการป้องกัน
ความเสียหายและรู้จักประโยชน์อย่างชาญฉลาด
ซึ่งมีวิธีการดังนี้
-ไม่เก็บหรือซื้อปะการัง
-ระมัดระวังในการท่องเที่ยวชมปะการัง ไม่เหยียบ
ย่ำลงบนแนวปะการัง -ไม่ทิ้งขยะลงชายหาดและ
ในทะเล
-งดเว้นการทิ้งสมอเรือลงในแนวปะการัง โดยใช้วิธี
ผูกทุ่นแทน

You might also like