You are on page 1of 21

บทนําอาชีวอนามัย

(Introduction to Occupational Health)

รองศาสตราจารยสมจิต พฤกษะริตานนท
อาจารยแพทยหญิงวิภาวี กิจกําแหง
กุมภาพันธ 2554
บทนํา
ประวัติความเปนมา
นิยามอาชีวอนามัย
สิ่งคุกคามสุขภาพจากการทํางาน
โรคที่พบในคนทํางาน
การวินจิ ฉัยโรคจากการทํางาน
การบริการอาชีวอนามัย

บทนํา
พื้นฐานความเปนอยู ความสุขสบาย และสุขภาพของมนุษยอาศัยการทํางานและการพัฒนา
ทางเศรษฐกิจ แตการทํางานยอมมีความเสีย่ งเพราะผูปฏิบัติตองทํางานสัมผัสสิ่งแวดลอมที่มีอันตราย
ทั้งตามธรรมชาติและที่มนุษยสรางขึ้น อันตรายดังกลาวพบไดในชีวิตประจําวัน เชน อากาศที่สูด
หายใจ อาหารและน้ําที่ตองกินและดื่ม ผลิตภัณฑที่ใชรวมทั้งของที่ตองทิ้ง

ประวัติความเปนมา
การทําเหมืองแร เชน เหมืองทอง เหมืองเงิน และเหมืองตะกัว่ มีมาตั้งแตยุคกรีกและอียิปต
เปนอุตสาหกรรมเกาแกที่สุดแตปจ จุบนั ก็ยงั เปนอาชีพที่อนั ตราย ในสมัยโบราณมักใชแรงงานจากทาส
หรือนักโทษใหทํางานในเหมืองแรซึ่งถือวาเปนรูปแบบหนึ่งของการลงโทษ ดวยเหตุนี้จึงอาจเปน
สาเหตุหนึ่งทีท่ ําใหไมมกี ารปรับปรุงสภาพการทํางาน Agricola G (พ.ศ. 2037-2098) และ Paracelsus
(พ.ศ. 2036-2084) ไดสังเกตวาเพราะความเจริญกาวหนาทางการคา เกิดอุปสงคดานเงินตราและภาษี
ทําใหมีการขุดทองและเงินในเหมืองแรเพิม่ ขึ้น การจะใหไดทรัพยากรมากขึ้นการทํางานในเหมืองแร
ก็ตองลึกลงไปมากขึ้น เหมืองแรที่ลึกลงไปสภาพการทํางานก็ยิ่งเลวรายเพิ่มขึ้น แมวาในอดีตยังไมมี
ใครรูจักโรคจากการทํางาน แตสันนิษฐานวานาจะมีคนปวยดวยโรคจากการทํางาน และมีอัตราการ
เสียชีวิตสูง เชน โรคซิลิโคสีส (silicosis) วัณโรคปอดและมะเร็งปอด โดยอาศัยหลักฐานที่ Agricola
2

เขียนไววา “การทําเหมืองแรที่ภูเขา Carpathian มีสตรีที่มีสามีถึง 7 คน เพราะสามีเหลานั้นเสียชีวติ


กอนวัย” 1
Bernardino Ramazzini (พ.ศ. 2176-2257) เปนชาวอิตาลี ไดทําคุณประโยชนใหแกการแพทย
สาขานี้มากมาย เชน ออกไปเยี่ยมสํารวจทีท่ ํางาน แสดงความเห็นอกเห็นใจคนสวนนอยของสังคมที่
โชคราย เขียนหนังสือชื่อ โรคของคนทํางาน ฉบับสมบูรณเลมแรก และใหคําแนะนําทางการแพทยวา
แพทยควรซักถามเกี่ยวกับอาชีพของผูปวยดวย จึงไดรับการยกยองวาเปนบิดาของอาชีวเวชศาสตร 1
การออกกฎหมาย เชน พระราชบัญญัติ (พรบ.) โรงงาน กฎหมายกองทุนเงินทดแทน ซึ่งดู
เสมือนวาไมใชกิจกรรมดานสุขภาพแตมีผลตอพัฒนาการของอาชีวอนามัย ในปจจุบนั พรบ. ก็ยังเปน
องคประกอบที่สําคัญของอาชีวอนามัยทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย เชน พรบ.ประกันสังคม พรบ.เงิน
ทดแทน ซึ่งผูทําเวชปฏิบัติควรตองทําความเขาใจ
ประเทศไทยมีการพัฒนางานดานอาชีวอนามัยตั้งแตหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยความ
สนับสนุนจากธนาคารโลก ในป 2507 มีโรคพิษแมงกานีสจากการทํางานในโรงงานถานไฟฉาย 41
ราย และพบรายงานโรคจากการทํางานอื่นๆ ตามมาอีกเปนระยะๆ หลังจากนั้นจึงมีการบรรจุโครงการ
อาชีวอนามัยไวในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ มีการออกพระราชบัญญัติโรงงาน จัดตั้ง
หนวยงานอาชีวิอนามัย และมีพรบ. ประกันสังคม พ.ศ.2533 (ที่ใชอยูใ นปจจุบันคือฉบับที่ 3 บังคับใช
1 เม.ย. 2542) และ พรบ. เงินทดแทน พ.ศ.2537 เปนตน

นิยามอาชีวอนามัย
ในชวงที่มกี ารปฏิวัติอุตสาหกรรม การแพทยสวนใหญเนนคนทํางานในเหมืองแรและ
โรงงานอุตสาหกรรมจึงรูจักวิชาทางการแพทยในชื่อ เวชศาสตรอุตสาหกรรม (industrial medicine)
ตอมามีการตระหนักถึงโรคจากการทํางานจากอาชีพตางๆ จึงมีการเรียกชื่อใหมวา อาชีวเวชศาสตร
(occupational medicine) แตเนื่องจากวิชาการแพทยมีววิ ฒ ั นาการอยางตอเนื่อง วิชาอาชีวอนามัย
(occupational health) จึงเกิดขึ้น ดวยเหตุผลที่วาไมใชการดูแลเฉพาะโรคแตคํานึงถึงการสงเสริม
สุขภาพและการปองกันโรคดวย นอกจากนั้นยังเนนเรื่องการทํางานรับผิดชอบรวมกันเปนทีมสห
วิชาชีพ (multidisciplinary responsibility) ไดแก แพทยอาชีวเวชศาสตร พยาบาลอาชีวอนามัย นัก
อาชีวสุขศาสตร เจาหนาที่ความปลอดภัย (จป.)
องคการแรงงานระหวางประเทศ (International Labour Office, ILO) และองคการอนามัยโลก
(World Health Organization, WHO) ไดนยิ าม อาชีวอนามัย (Occupational Health) วา หมายถึงการ
สงเสริม (promotion) และคงไว (maintenance) ซึ่งสุขภาวะทั้งดานรางกาย จิตใจ และสังคมของ
คนทํางานทุกอาชีพ โดยอาศัยการบริการสุขภาพ (health service) แกประชาชนวัยทํางานเปนกลไกใน
การบรรลุเปาหมาย 2
3

งาน/อาชีพที่เสี่ยง3
คนทํางานแตละคนมีโอกาสของการเกิดโรคไดมากหรือนอยแตกตางกันตามคุณสมบัติที่
สําคัญ คือ
1. คุณสมบัติพนื้ ฐาน เชน เพศ อายุ ความสูง ความอวน พันธุกรรม โรคประจําตัว
ประสบการณการทํางาน เปนตน คนที่เปนโรคหอบหืดมีโอกาสเปนโรครุนแรงขึ้นในสิ่งแวดลอมที่มี
ฝุนมาก คนอวนอาจเกิดโรคไดงายในสิ่งแวดลอมที่มีสารเคมีจําพวกทีล่ ะลายไดดใี นไขมัน เปนตน
2. พฤติกรรมทางสุขภาพของคนทํางาน คนที่เมาขณะขับรถยอมเกิดอุบัติเหตุไดงา ย คนที่
สูบบุหรี่ยอมมีโอกาสเกิดโรคปอดจากการทํางานไดมากกวาคนทีไ่ มสูบบุหรี่ เปนตน

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค3
ปจจัยที่ทําใหเกิดโรคจากการทํางาน แบงเปน 3 ประเภท คือ
1. คนทํางาน หรือผูประกอบอาชีพ (Worker)
2. สภาพการทํางานและสิ่งแวดลอมในการทํางาน (Working conditions and working
environments) ซึ่งเปนสิ่งคุกคามสุขภาพ(Health hazards)
3. สิ่งแวดลอมทั่วไป (General environments) หมายถึง สิ่งแวดลอมนอกสถานประกอบการ
การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ก็เปนปจจัยทีก่ ระทบตอสุขภาพคนทํางานและคุณภาพของงาน ฯลฯ

สิ่งคุกคามสุขภาพจากการทํางาน
(Occupational Health Hazards)
สิ่งคุกคามสุขภาพแบงเปน 5 ประเภท3 ไดแก
1. สิ่งคุกคามดานกายภาพ (Physical Hazard)
2. สิ่งคุกคามดานเคมี (Chemical Hazard)
3. สิ่งคุกคามดานชีวภาพ (Biological Hazard)
4. สิ่งคุกคามดานการยศาสตร (Ergonomic Hazard)
5. สิ่งคุกคามดานจิตวิทยาสังคม (Psychosocial Hazard)

1. สิ่งคุกคามดานกายภาพ (Physical Hazard)


1.1 เสียงดัง (Noise) และโรคหูตึงจากเสียง
- Acoustic trauma การสัมผัสเสียงดังมากถึง 140 เดซิเบลเอ ทําใหเกิดภยันตรายตออวัยวะ
4

รับคลื่นเสียงภายในหู (acoustic trauma) ทําใหสูญเสียการไดยนิ เฉียบพลัน สามารถพบเยื่อแกวหูทะลุ


และการแยกตัวของกระดูกคอน ทั่ง โกลน ทําใหเกิดภาวะ conductive hearing loss
- Noise induced hearing loss การสัมผัสเสียงดังเกิน 90 เดซิเบลเอ ในเวลา 8 ชั่วโมงการ
ทํางานนานหนึ่งป หรือสัมผัสเวลานานติดตอกันอยางนอย 3 วันในหนึ่งสัปดาห เปนเวลา 40 สัปดาห
ตอป ทําใหสญู เสียการไดยนิ แบบประสาทหูเสื่อม (sensorineural hearing loss) จะมีอาการ เสียงดังใน
หู เวียนศีรษะ หูอื้อ ภาพบันทึกการไดยิน (audiogram) ในระยะแรกสามารถเห็นลักษณะเปนรูปอักษร
วี คือมีจุดตก (notch) ที่บริเวณความถี่สูง 4,000 – 6000 เฮิรทซ (รูปที่ 1) เมื่อสัมผัสกับเสียงดังนานขึน้
จะสูญเสียการไดยนิ มากขึ้นในความถี่ต่ําดวย 3
1.2 ความสั่นสะเทือน (Vibration) ทําใหเกิดอาการ 3 กลุม ไดแก3
- ความสั่นสะเทือนทั่วรางกาย (Whole body vibration) อาการเฉียบพลัน ไดแก
รบกวนการมองเห็นหรือสายตา การใชมือควบคุมเครื่องจักร ลดความมั่นคงของกลามเนื้อ ทําใหเพิม่
แรงกดตอไขสันหลัง การสัมผัสเรื้อรังทําใหเกิดผลเสียตอกระดูกสันหลัง ปวดหลังสวนลางและสวน
ทรวงอก
- ความสั่นสะเทือนเฉพาะสวน เชน เฉพาะมือและแขน ซึ่งความสั่นสะเทือนมีผลตอ
หลอดเลือดและประสาทสัมผัส ทําใหเกิดอาการเสียวแปลบ ชา และซีดขาวของนิ้วมือ เรียกความ
ผิดปกตินวี้ า Hand-arm vibration syndrome (HAVS) ในอดีตมักเรียก Vibration-induced white fingers
หรือ Raynaud’s phenomenon of occupational origin
- อาการเมารถเมาเรือ (motion sickness)

รูปที่ 1 ภาพบันทึกการไดยิน
(audiogram) ที่แสดงการ
สูญเสียการไดยินชนิด
ประสาทหูเสื่อม
O = ขางขวา (sensorineural hearing
X = ขางซาย loss) มีจุดตก (notch) ที่
ความถี่สูง 6000 เฮิรทซ

1.3 ความรอน (Heat) ทําใหเกิด ผด (Miliaria หรือ heat rash), ลมแดด (Heat syncope), การ
เกร็งตัวของกลามเนื้อ (Heat cramps), ออนเพลีย (Heat exhaustion) และ Heat stroke3
5

1.4 ความเย็น (Cold) ทําใหเกิด Systemic hypothermia และ Localized hypothermia เชน
Chilblains, immersion foot, frostbite
1.5 ความกดดันอากาศ (Pressure) แบงเปน 2 กลุม คือ ความกดอากาศเพิ่มและความกดอากาศ
ต่ํา
ก. ความกดอากาศเพิ่มขึ้น
- การเจ็บปวยจากความดันอากาศที่เพิ่มขึ้น ไดแก การบาดเจ็บจากแรงดันอากาศ
อากาศที่อยูในหูสวนกลางและไซนัส (Middle ear and sinus barotraumas), ปอดฉีกขาด (Burst lung)
และการอุดตันของเสนเลือดไปเลี้ยงสมอง (Cerebral air embolism) เนื่องจากภายใตความกดอากาศที่
เพิ่มขึ้น กาซไนโตรเจนจะละลายในเลือดและของเหลวในรางกายเพิ่มขึ้น เมื่อกาซนีไ้ ปอยูในหู
สวนกลางของคนที่มีการอุดตันของทอยูสเตเชี่ยนและชองไซนัสไมเปด ทําใหความดันในหูสวนกลาง
และไซนัสเพิม่ ขึ้นจึงเกิดอาการเจ็บปวดมาก3
- การเจ็บปวยจากการเปลี่ยนความดันอากาศจากมากไปนอย (Decompression
sickness) ซึ่งมี 2 ชนิด ชนิดที่ 1 มีอาการนอยจะปวดเฉพาะบริเวณเอ็นและกลามเนื้อแขนและขา ชนิดที่
2 อาการจะเปนรุนแรงมากขึน้ โดยฟองอากาศจะเขาไปอุดกั้นในเสนเลือดที่ไปเลี้ยงสวนสําคัญของ
รางกาย เชน สมอง (ทําใหเกิดอัมตาตครึ่งซีก หมดสติ หรือชัก) ไขสันหลัง (ขาออนแรง ชา) ระบบ
vestibular (เวียนศีรษะ คลื่นไส อาเจียน ตากระตุก) ระบบกระดูก (เกิด dysbaric osteonecrosis หรือ
aseptic necrosis โดยเฉพาะบริเวณกระดูกขอสะโพก) หัวใจและระบบหายใจได3
ข. ความกดอากาศต่ํา เชน ขึ้นเขา ขึ้นไปในอากาศสูงๆ ทําใหเกิด เนื้อเยื่อขาดออกซิเจน
(Hypoxia), acute / chronic mountain sickness (คลื่นไส อาเจียน ออนแรง หายใจไมอมิ่ ไอ), high-
altitude pulmonary edema, high-altitude cerebral edema (กระสับกระสาย นอนไมหลับ เดินเซ
ประสาทหลอน อัมพาต ชัก หมดสติ), retinal hemorrhage (ปริมาณเลือดที่เลี้ยงจอตาเพิ่มขึ้นเนื่องจาก
หลอดเลือดขยายตัวเพราะการขาดออกซิเจน 3
1.6 แสงและคลื่นแมเหล็กไฟฟา (Light & electromagnetic fields)
ก. แสงธรรมดา เชน แสงสีน้ําเงินที่ความยาวคลื่น 440-500 นาโนเมตร ทําใหเกิด
photochemical reaction, solar retinitis, พลังงานความรอนจากแสงวาบทําใหเกิด flash blindness
ชั่วคราว แสงที่สวางไมพอหรือมีแสงสะทอนทําเกิด asthenopia (eye strain) visual fatigue, ปวดศีรษะ
เคืองตา
ข. สนามแมเหล็กไฟฟา เชน การสัมผัสวัสดุที่เปนสื่อนํากระแสไฟฟาทําใหเกิดอาการคลายถูก
ไฟฟาชอต การสัมผัสสนามแมเหล็กเปนเวลานานอาจสัมพันธกับการเกิดมะเร็งสมอง มะเร็งเม็ดเลือด
ขาว มะเร็งเตานม และ Alzheimer’s disease
1.7 สารกัมมันตภาพรังสี (Radiation)
6

ก. รังสีแตกตัว (Ionizing radiation) แบงเปน 2 กลุม คือ ชนิดที่มีอนุภาค เชน แอลฟา และเบตา
กับชนิดที่ไมมอี นุภาค เชน รังสีเอ็กซ และรังสีแกมมา ทําใหเกิด radiation sickness
ข. รังสีไมแตกตัว (Non-ionizing radiation)
- แสงอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet radiation) การทํางาน ทําใหเกิด photo-
keratoconjunctivitis, cataract, skin erythema, photosensitivity (allergic and non-allergic) reaction,
premalignant lesions (actinic keratosis, keratoacanthoma และ Hutchison’s melanosis), basal cell
carcinoma, squamous cell carcinoma
- รังสีอินฟราเรด (Infra red radiation) การทํางานกลางแสงแดด การเชือ่ มโลหะ
ผลิตแกว การหลอและหลอมโลหะ ทําใหผิวหนังไหมและสีคล้ําขึ้น ตาเกิดตอกระจก
- แสงเลเซอร มีการนําแสงเลเซอรมาใชในการจัดแนวหรือระดับในอุตสาหกรรม
กอสราง จัดแนวตัด เชื่อม และเผา ใชแสงเลเซอรความเขมขนสูงในการตัดโลหะแข็งและเพชร ใชแสง
เลเซอรความเขมขนต่ําในทางการแพทย อาการที่เกิดจากการสัมผัสความเขมขนสูงทําใหเกิด อาการ
กลัวแสง มีแสงวาบในลานสายตา scotoma และเงาของวัตถุมีขนาดใหญขึ้น หรือมองเห็นสีผิดเพีย้ น
ลานสายตาผิดปกติ จอประสาทตาบวม coagulation hemorrhage และ vitreous ขุน
- คลื่นอุลตราซาวดกําลังสูงใชในอุตสาหกรรมหลายประเภท เชน การทําความ
สะอาดและลางคราบมัน เชื่อมพลาสติก เชื่อมโลหะ สกัดสาร การทําใหของเหลวเปนเนื้อเดียวกัน การ
กําจัดฟองและกาซจากของเหลว การทําใหเครื่องดื่มมีฟอง การทดสอบการผุกรอน การทําใหแปง
อาหารหรือยาแหง อันตรายเกิดจากการสัมผัสเครื่องกําเนิดคลื่นโดยตรง (คลื่นความถีส่ ูงทําใหเกิด
อาการปวดหรือเจ็บนิ้วมือทีส่ ัมผัส การสัมผัสคลื่นความถี่ต่ํานานๆทําใหเกิด polyneuritis หรือ partial
paralysis ของมือหรือนิ้วมือ) และการไดรบั คลื่นที่สงผานมาทางอากาศ (ความรอนที่สงผานมาทําให
รางกายดูดซับความรอน อุณหภูมิกายจะสูงขึ้นคลายมีไขต่ําๆได คลื่นเสียงที่สงออกมาทําใหเกิดการ
สูญเสียการดยนิ ชั่วคราว คลืน่ อุลตราซาวดที่มีกําลังสูงตั้งแต 10 กิโลเฮิรตขึ้นไปมีผลตอระบบประสาท
สวนกลาง เกิดอาการคลื่นไส อาเจียน ปวดแกวหู มีเสียงในหู มึนงงและออนเพลียได)

2. สิ่งคุกคามดานเคมี (Chemical Hazard)


2.1 อนุภาค (Particulate) อนุภาคที่มีเสนผาศูนยกลาง aerodynamic เฉลี่ย 10 ไมครอน
จะติดทีจ่ มูก คอหอย และทางเดินหายใจสวนบน เรียก inhalable dust สวนอนุภาคที่มีเสนผาศูนยกลาง
aerodynamic ตั้งแต 5 ไมครอนลงไปสามารถผานเขาถึงถุงลม (alveoli) ในปอดได เรียกวา respirable
dust4 โดยทั่วไปคนจะมองเห็นอนุภาคขนาด 50 ไมครอนได แตถาความเขมขนของอนุภาคสูงมากก็
สามารถมองเห็นไดแมวาอนุภาคมีขนาดเล็กก็ตาม อนุภาคสามารถแบงตามรูปรางลักษณะ5 ดังนี้
ฝุน (dust) เกิดจากการบด ทุบ ตี กระแทก มีขนาด 0.1-100 ไมครอน เชน ฝุนซิลิกา (free
crystalline silica) ทําใหเกิดพังผืดจับปอด (pneumoconiosis) ซึ่งเรียกโรคตามชื่อของฝุนซิลิกาวาโรคซิ
ลิโคสิส (silicosis)
7

ฟูม (fume) เปนอนุภาคของแข็งที่เปลี่ยนสถานะจากของแข็งที่หลอมเหลวกลายเปนไอ


แลวควบแนนกลับมาเปนของแข็งอีกครั้ง มีขนาดเสนผาศูนยกลางนอยกวา 1 ไมครอน เชน ฟูมตะกั่ว
ออกไซด เมื่อเขาสูปอดจะถูกดูดซึมเขากระแสเลือดทําใหเกิดโรคพิษตะกัว่ ได
ควัน (smoke) มีขนาดนอยกวา 0.1 ไมครอน มีคารบอนเปนองคประกอบ เชน ควัน
บุหรี่ ควันทอไอเสียรถยนต
ละออง (mists) เปนอนุภาคของเหลวขนาดไมเกิน 10 ไมครอน เกิดจากการควบแนน
ของกาซไปเปนของเหลว หรือการแตกตัวของของเหลวไปในภาวะทีฟ่ ุงกระจายได เชน ละอองสี
ละอองยาฆาแมลง ละอองกรด ละอองน้ํามัน
เสนใย (fiber) เชน เสนใยใยหิน (asbestos fiber) ทําใหเกิดพังผืดจับปอด (pneumoconiosis)
ซึ่งเรียกโรคตามชื่อของเสนใย เชน เสนใยแอสเบสทอสวาโรคแอสเบสโทสิส (asbestosis)
2.2 โลหะและสารประกอบโลหะ เชน ตะกั่ว แมงกานีส สารหนู ปรอท โครเมี่ยม
แคดเมียม ทําใหเกิดพิษโลหะนั้นๆ
2.3 ตัวทําละลายและสารประกอบ เชน Acetone, Benzene, Formaldyhyde
2.4 แกสพิษ (Toxic gas) เชน Carbon monoxide, Hydrogen sulphide, Phosgene, Sulfur dioxide,
Cyanide, Nitrogen oxide, Ammonia, Chlorine แกสกลุมนี้มีพิษสูงสามารถทําใหเกิดการระคายเคือง
เยื่อบุ นัยนตา และทําอันตรายตอปอดทําใหเกิดปอดอักเสบและปอดบวมได

3. สิ่งคุกคามดานชีวภาพ (Biological Hazard)


3.1 Microbial pathogens3 เชน
ก. เชื้อแบคทีเรีย (ตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 อาชีพที่เสี่ยงตอการติดเชื้อแบคทีเรียและการเกิดโรต
อาชีพ เชื้อ โรค
ชําแหละโค กระบือ ทําขนสัตว หนังสัตว Bacillus anthracis แอนแทรกซ (โรคกาลี)
สัมผัสกับสัตวและผลิตภัณฑสัตว Brucella บรูเซลโลสิส (โรคแทงติดตอ)
สัมผัสสัตวที่ติดเชื้อหรือน้ําปนเปอน Leptospira interogans ที่ออกมา เลปโตสไปโรสิส (โรคฉี่หนู)
ทางปสสาวะหนู
เก็บขยะ ขุดทอ สัมผัสกับหนูที่ติดเชื้อ Yersinia pestis กาฬโรค (plague)
พยาบาล แพทยหรือเจาหนาที่หองปฏิบัติการ Mycobacterium วัณโรค
tuberculosis

ข. เชื้อไวรัส3 เชน
แพทย พยาบาล บุคลากรทางการแพทย พนักงานหนวยกูภยั มีโอกาสสัมผัสเชื้อ Human
Immunodeficiency Virus (HIV) ที่ทําใหเกิดโรคเอดส (AIDS)
8

ผูมีอาชีพใกลชิดสัตวปก ไดแก ผูเลี้ยง ขนยาย ขนสง ผูขาย ชําแหละ สัตวแพทย


ที่รักษาสัตวปก และแพทยทรี่ ักษาผูปวยทีต่ ิดเชื้อ H5N1 ที่ทําใหเกิดโรคไขหวัดนก (Avian influenza หรือ
Bird Flu)
แพทย พยาบาล บุคลากรทางการแพทยที่รักษาผูติดเชื้อ H1N1 ที่ทําใหเกิดโรคไขหวัดใหญ
2009 (Swine Flu หรือ H1N1 Flu)
บุคลากรทางการแพทยที่ดแู ลผูตดิ เชื้อ Hepatitis B Virus ซึ่งทําใหเกิดโรคตับอักเสบี
บุคลากรทางการแพทยที่ดแู ลผูติดเชื้อ Hepatitis C Virus ทําใหเกิดโรคตับ อักเสบซี
พนักงานหองปฏิบัติการ สัตวแพทย สัตวบาล คนทํางานเกี่ยวกับสุนัขและคางคาวที่ตดิ เชื้อ
Lyssavirus ทําใหเกิดโรคพิษสุนัขบา
บุคลากรทางการแพทยที่ดแู ลผูปวยติดเชื้อ SARS-Corona virus ทําใหเกิดโรค severe acute
respiratory syndrome
3.2 Genetically modified organisms (GMOs) เปนการทํางานที่เกีย่ วของกับสิ่งคุกคามดาน
ชีวภาพ เชน non-human adenovirus แตยังไมทราบการเกิดโทษในมนุษย 6
3.3 Animals and animal products เชน แมลงมีพิษ งูพษิ สัตวทดลอง (ทําใหเกิดโรค Q fever,
Herpes B) เนื้อเยื่อจากสมองวัว (prion protein ทําใหเกิด mad cow disease) 6
3.4 Organic dusts and mists เชน ฝุนฝาย ปาน ปอ และลินิน เปนสาเหตุสําคัญของการ
เกิดโรคบิสสิโนสิส (Byssinosis) สวนฝุนไม (Wood dust) ทําใหเกิดมะเร็งหลังโพรงจมูก
(Nasopharyngeal carcinoma) พบความสัมพันธของการเกิดมะเร็งกับการติดเชื้อ Epstein-Barr virus 3

4. สิ่งคุกคามดานการยศาสตร (Ergonomic Hazard)


การยศาสตร – ศาสตรในการจัดสภาพงานใหเหมาะกับคนทํางาน ไดแก
4.1 ลักษณะการทํางาน ไดแก การยกและการถือของหนัก (Lifting and handling) ทาทางการ
ทํางานที่ไมเหมาะสม (Posture) การทํางานซ้ําๆ (Repetitive work)
4.2 สถานที่ปฏิบัติงานคับแคบทําใหเคลื่อนไหวรางกายสวนที่ใชงานไมสะดวก
4.3 เครื่องมือ (Mechanical) เครื่องจักร ที่กอใหเกิดภยันตราย ไดแก สายพาน เพลา เกียร
เลื่อย ใบมีด เข็ม
โรคของระบบกลามเนื้อและโครงสรางกระดูกจากการทํางานมักเกิดจากปจจัยเสี่ยงหลาย
ปจจัยซึ่งรวมถึงลักษณะการทํางานและการทํางานในทีแ่ คบ เชน de Quervain’s tenosynovitis, chronic
tenosynovitis of hand and wrist, olecranon bursitis, prepatella bursitis, medial and lateral
epichondylitis, carpal tunnel syndrome, occupational low back pain 3
9

5. สิ่งคุกคามดานจิตวิทยาสังคม (Psychosocial Hazard) ไดแก


o ความเครียดและสภาวะกดดันสูง
o งานกะหรืองานผลัด (Shift work)
o แรงงานยายถิ่นหรือแรงงานอพยพ แรงงานตางถิ่น
o งานที่ตองทําเปนเวลานาน
o งานที่ตองทําคนเดียว
o การเดินทางขามเวลาที่ตางกันมากกวา ๖ ชัว่ โมง(Circadian rhythm)

โรคที่พบในที่ทํางาน
การทํางานและสุขภาพเปนความสัมพันธสองทาง (รูปที่ 2) การทํางานมีผลกระทบตอสุขภาพ
และความเปนอยู สุขภาพก็มผี ลตอการทํางาน คนที่สุขภาพดียอมมีผลผลิตดีกวาผูทมี่ ีสุขภาพไมดี ผูที่
มีสุขภาพไมดนี อกจากมีผลผลผลิตนอยแลวยังมีอันตรายตอตนเอง ตอคนทํางานดวยกันและตอชุมชน
ดวย เชน ผูปว ยโรคลมชักกับการขับรถยนตสาธารณะ เปนตน
ผลดีจากการมีงานทําตอตนเอง ไดแก เอกลักษณ (identity) ความพึงพอใจ (satisfaction)
ความภูมใิ จในตนเอง (self-esteem) มีรายได มีเพื่อน มีสังคม มีการประกันสุขภาพ มีการประกัน
รายไดเนื่องจากเจ็บปวยหรืออุบัติเหตุ มีการเก็บสะสมเงินเมื่อเกษียณ เปนตน
โรคที่พบในคนทํางาน แบงได 3 กลุม (รูปที่ 2) ไดแก
1. โรคเกี่ยวเนือ่ งจากการทํางาน (Work-related diseases)
2. โรคจากการทํางาน (Occupational diseases)
3. โรคทั่วไปที่พบไดในชุมชน (General diseases) - ไมไดกลาวในทีน่ ี้
HEALTH WORK

โรคทั่วไป โรคเกี่ยวเนื่องจากการทํางาน โรคจากการทํางาน ประโยชน สิ่งคุกคามสุขภาพ


(Health hazards)
(General diseases) (Work-related diseases) (Occupational
เชน Diabetes เชน Coronary heart diseases)
Malaria diseases เชน Asbestosis
Low back pain Lead poisoning

รูปที่ 2 ความสัมพันธระหวางสุขภาพและการทํางาน (ดัดแปลงจากเอกสารอางอิง 2)


10

1. โรคเกี่ยวเนื่องจากการทํางาน (Work-related Diseases)


องคการอนามัยโลกจําแนกโรคเกี่ยวเนื่องจากทํางานวาเกิดจาก “ปจจัยหลายประการ”
(multifactorial) โดยที่ปจจัยสวนบุคคล สิ่งแวดลอม สังคมและวัฒนธรรม มีบทบาทสําคัญตอการเกิด
โรค ปจจัยจากสิ่งแวดลอมการทํางานอาจไมใชสาเหตุโดยตรงแตอาจเปนปจจัยแรงหรือเปนตัวรวมที่
ทําใหสภาวะเดิมที่มีอยูกอนแลวเปนมากขึน้ โรคเกี่ยวเนือ่ งจากการทํางานเหลานี้สามารถพบไดใน
ชุมชนทั่วๆ ไปดวย
กลุมโรคเกี่ยวเนื่องจากการทํางานแบงได 5 ประเภท ไดแก
1. Hypertension
2. Ischemic heart diseases
3. Psychosomatic illness
4. Musculoskeletal disorders
5. Chronic non-specific respiratory disease / chronic bronchitis
ตารางที่ 2 โรคเกี่ยวเนื่องจากการทํางานและปจจัยเสี่ยงจากการทํางาน

โรคเกี่ยวเนื่อง
จากการทํางาน ปจจัยเสี่ยงจากการทํางาน การควบคุม
1. Hypertension Stress Stress relief, diet and weight control
2. Ischemic heart Stress Stress relief
disease Workplace exposures, e.g. Screening for risk factors and
carbon disulphide, carbon intervention
monoxide
Lack of physical exercise
3. Psychosomatic illness Stress Reduction of organizational stress
4. Musculoskeletal Ergonomic factors; weight Ergonomic design, Healthy back
disorders bearing, trauma, whole body program
vibration, poor work posture
5. Chronic non specific Smoke, dusts and irritants Smoking, dusts and irritants control
respiratory disease

2. โรคจากการทํางาน (Occupational Diseases)


โรคจากการทํางาน หมายถึงโรคที่เกิดจากการสัมผัสกับปจจัยสิ่งคุกคามสุขภาพจากการ
ทํางาน เชน ปจจัยดานกายภาพ สารเคมี ชีวภาพ การยศาสตร จิตวิทยาสังคม ครอบคลุมทั้งโรคและ
การบาดเจ็บจากการทํางาน อาจเปนโรคติดเชื้อและไมติดเชื้อ3
11

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
ปจจัยที่ทําใหเกิดโรคจากการทํางานแบงเปน 3 ประเภท คือ
1. คนทํางานหรือผูประกอบอาชีพ
1.1 คุณสมบัติพื้นฐาน ไดแก พันธุกรรม อายุ เพศ เชื้อชาติ ความสูง น้ําหนัก (ความอวน)
โรคประจําตัว ประสบการณการทํางาน การพักผอน โภชนาการ สภาวะภูมิคุมกัน และฮอรโมน
ตลอดจนสภาวะสุขภาพ การมีโรคหรือความเครียด ปจจัยตางๆ เหลานีม้ ีความสัมพันธซึ่งกันและกัน เชน
พันธุกรรมเปนตัวกําหนดปจจัยอื่นๆ และสภาวะบกพรองทางโภชนาการมีผลตอภูมิคุมกัน เปนตน
พันธุกรรม เปนตัวกําหนดความไวตอสารพิษและรังสี เชน บุคคลที่เปน Glucose-6-
phosphete dehydrogenase (G6PD) deficiency, sickle cell anemia, α1-antitrypsin deficiency (ทําให
เกิด emphysema เพิ่มขึ้น)
อายุ เปนตัวกําหนดความไวของบุคคล โดยเฉพาะขณะเปนทารกในครรภ (fetus)
และผูสูงอายุ (elderly) เนื่องจากประสิทธิภาพในการเมแทบอไลทสารเคมีตางๆ ลดลง ดังนั้นเมื่อ
ผูปฏิบัติงานตั้งครรภ หรือมีอายุมากขึ้นจึงตองเพิ่มความตระหนักมากขึ้น
ภาวะทุโภชนาการ (nutritional deficiency) เปนตัวกําหนดความไวตอสารพิษซึ่งไดรับ
การสนับสนุนจากงานวิจยั ในสัตวทดลอง
คนอวน อาจเกิดโรคไดงา ยในสิ่งแวดลอมที่มีสารเคมีท่ลี ะลายไดดใี นไขมัน
1.2 พฤติกรรมสุขภาพของคนทํางานและวิถีชีวิต เชน การดื่มแอลกอฮอล การสูบบุหรี่ สิ่ง
เสพติดอื่นๆ และยา เปนตน
2. สิ่งคุกคามสุขภาพจากการทํางาน (ดังไดกลาวแลว)
3. สิ่งแวดลอมทัว่ ไป หมายถึง สิ่งแวดลอมนอกสถานประกอบการ การเปลี่ยนแปลงตาม
ฤดูกาล

ตารางที่ 3 ความแตกตางระหวางโรคเหตุอาชีพ และโรคเกี่ยวเนื่องจากการประกอบอาชีพ

โรคจากการทํางาน โรคเกี่ยวเนื่องจากการทํางาน
1. เกิดในสิ่งแวดลอมการทํางาน เชน โรงงาน 1. สวนใหญเกิดในชุมชน
อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมในครัวเรือน งานเกษตรกรรม
2. มีสาเหตุจําเพาะเจาะจง เชน ฝุน Silica ทําใหเกิด 2. สาเหตุ “เกิดจากปจจัยหลายประการ”
Silicosis
3. จําเปนตองสัมผัสในสถานประกอบการ 3. การสัมผัสในสถานประกอบการอาจเปน
เพียงปจจัยเดียว
4. ตองแจงกระทรวงแรงงานและสามารถเรียกรองเงิน 4. อาจตองแจงและเรียกรองการชดเชยถา
ชดเชยได พิสูจนไดวาเปนโรคจากการทํางาน
12

การวินิจฉัยโรคจากการทํางาน
การดําเนินการวินิจฉัยโรคเพือ่ ยืนยันวา
1. มีโรคเกิดขึ้นจริง
2. โรคนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากการทํางานหรือไม ถาวินิจฉัยวาคนทํางานดังกลาวเจ็บปวยจริง จะตองมีการ
ตรวจพิสูจนดว ยวามีสาเหตุจากการทํางานหรือไม
3. ปจจัยหรือสาเหตุที่ทําใหเกิดโรค เนื่องจากคนคนหนึ่งอาจจะทํางานหลาย ประเภท อาจจะสัมผัส
ปจจัยเสีย่ งที่ทาํ ใหเกิดการเจ็บปวยไดหลายอยาง หรือกรณีที่มีการเปลี่ยนงาน / ยายทีท่ ํางาน ก็ตอง
พิสูจนใหไดวา คนทํางานดังกลาวเจ็บปวยจากงานใด3
การวินจิ ฉัยโรคจากการทํางานประกอบดวย
1. การซักประวัติ ประกอบดวย
• ประวัติสวนตัว ประวัติครอบครัว ประวัตกิ ารทํางาน (ดูเรื่องการซักประวัตกิ ารทํางาน)
เพื่อประกอบการแยกแยะสาเหตุของการเกิดโรค เชน โรคทางพันธุกรรม โรคจาก
พฤติกรรมสุขภาพที่ไมเหมาะสม หรือการสัมผัสปจจัยเสี่ยงจากกการทํางาน (major type
of exposureassociated with clinical illness) เปนตน
• ประวัติการเจ็บปวย เชน ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการปวย อาการและอาการแสดง เปนตน
2. การตรวจรางกาย เหมือนการตรวจรางกายเพื่อวินิจฉัยโรคทั่วไป แตตองคนหาอาการ
แสดงที่คอนขางจําเพาะโรคดวย เชน lead line ในโรคพิษตะกัว่ สวน chrome ulceration และ nasal
septum perforation จากการสัมผัสโครเมียม เปนตน
3. การตรวจทางหองปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ เชน การตรวจเลือดเพื่อดูการทํางานของ
ตับ ไต การตรวจระดับสารเคมีในรางกาย หรือ metabolite ของสารเคมีที่รางกายไดรบั
การตรวจปสสาวะ การตรวจเสมหะ การฉายภาพรังสีทรวงอก การตรวจสมรรถภาพปอด
และการตรวจสมรรถภาพการไดยิน เปนตน ซึ่งขึ้นกับชนิดของโรคที่สงสัยวาควรสง
ตรวจทางหองปฏิบัติการอะไรบาง
ตารางที่ 4 ตัวชี้วัดการสัมผัสทางชีวภาพและเวลาที่ตรวจสารเคมีในรางกาย
สารเคมี ระดับที่ยอมรับได (BEI) เวลาที่ตรวจ
Carbon Monoxide 3.5% of carboxyhaemoglobin in blood end of shift
20 ppm carbon monoxide on end-exhaled air end of shift
Lead 30 ug/100 ml in blood not critical
Phenol 250 mg/g creatinine in urine end of shift
13

4. การสํารวจสถานประกอบการ (Walk-through Survey) และการตรวจสภาพแวดลอม


การทํางาน (assessment of the workplace) การสํารวจสถานที่ทํางานและการตรวจสภาพแวดลอมการ
ทํางานเปนสิ่งจําเปนเพื่อคนหาสิ่งคุกคามที่เสี่ยงตอการเกิดโรค
5. อื่นๆ ไดแก ขอมูลทางระบาดวิทยา รายละเอียดเกีย่ วกับสารเคมีทสี่ งสัยวาจะทําใหเกิดโรค
(Material Safety Data Sheet, MSDS) และการประเมินปจจัยเสีย่ งอื่นๆนอกเหนือจากที่ทํางาน3

ประเด็นที่ควรจดจํา
การวินจิ ฉัยโรคจากการทํางาน 7 มีหลัก 5 ประการ คือ
1. โรคจากการทํางานสวนใหญมีลักษณะทางคลินิกและพยาธิที่ไมสามารถจําแนกจาก
โรคทั่วไปที่ไมมีสาเหตุจากอาชีพหรือสิ่งแวดลอม
2. โรคจากการทํางานจํานวนมากเกิดจากปจจัยหลายประการรวมกัน(multifactorial)
3. การสัมผัสอันตรายจากการทํางานและสิ่งแวดลอม จะไมปรากฏอาการทันทีแตจะมี
ระยะแฝง (latent interval) เชน โรคซิลิโคสิส แอสเบสโตสิส เปนตน
4. การเกิดโรคสัมพันธกับขนาดที่สัมผัสสารพิษ (dose-response relationship)
5. บุคคลแตละคนมีความไว (susceptibility) แตกตางกันในการตอบสนองตอสารพิษที่
สัมผัส (hypersensitivity)

การบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

การบริการทางการแพทย
การบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยหมายถึง งานบริการที่เกี่ยวของกับการสงเสริม
และธํารงไวซงึ่ สุขภาพอนามัยที่ดีทั้งรางกาย จิตใจ และสังคมและจิตวิญญาณ ของผูประกอบอาชีพ
ตลอดจนการควบคุมปองกันโรคและการบาดเจ็บอันอาจเกิดขึ้นเนื่องจากการสัมผัสกับอันตรายจาก
สภาวะแวดลอมการทํางาน แบงออกได 5 ประเภท ดังนี้
1. การสงเสริมสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย
2. การปองกัน
3. การวินิจฉัยโรคและการรักษา
4. การฟนฟูสภาพ
1. การสงเสริมสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย
เนื่องจากยังไมมีรูปแบบใดรูปแบบเดียวทีน่ ําไปใชในทีท่ ํางานเพราะวามีความแตกตางดาน
การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ การสงเสริมสุขภาพมักทําในรูปของโครงการที่แสดงถึงกิจกรรมเพือ่
14

คนทํางานหรือครอบครัวในที่ทํางาน โครงการที่ดําเนินการอาจแบงเปนเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป
เชน พฤติกรรมสุขภาพ วิถีชวี ิต การสูบบุหรี่ การออกกําลังกาย ที่จะมีผลกระทบตอการทํางาน และสิ่ง
คุกคามจากการทํางานที่จะมีผลตอสุขภาพ 8
1.1 ภาคอุตสาหกรรม เชน โครงการปองกันการปวดหลัง การปองกันโรคระบบหายใจ โรค
ทางเดินอาหาร โรคกลามเนื้อและกระดูก เปนตน
1.2 แรงงานนอกระบบ ไดแก คนขับแทกซี่ แมคาขายอาหาร คนขับมอเตอรไซดรับจาง
คนทํางานบาน แมคาขายพวงมาลัย
1.3 ผูที่จะเดินทางไปทํางานตางประเทศ เชน การเรียนรูภาษาและวัฒนธรรมของประเทศ
นั้นๆ การดํารงชีวิต การใชอปุ กรณปองกันอันตรายสวนบุคคล เปนตน
2. การปองกันโรค
โรคที่เกิดจากการทํางานจํานวนมากเมื่อเกิดเปนแลวไมสามารถรักษาใหหายขาดได การ
ปองกันโรคจากการทํางานจึงสําคัญ การปองกันโรคแบงเปน การปองกันปฐมภูมิ ทุตยิ ภูมิ และตติยภู
มิค 9,10
2.1 ปองกันปฐมภูมิ มีเปาหมายคือ ปองกันการเกิดโรคและการบาดเจ็บ โดยปองกันที่การสัมผัสสิ่ง
คุกคามหรือปองกันผลที่จะเกิดขึ้นตอรางกายจากการสัมผัสสิ่งคุกคามนั้นๆ ตัวอยาง เชน
- การฉีดวัคซีนปองกันบาดทะยัก ไวรัสตับอักเสบ ไขหวัดใหญ เปนตน
- การคนหาสิง่ คุกคาม จากการซักประวัติทาํ ใหทราบสิ่งคุกคามจากการทํางานได
- การคนหากลุมเสี่ยง เชน pre-employment medical examination, periodic medical
examination (เปนการตรวจวามีสารพิษหรือ metabolite ของสารพิษที่อยูในระดับทีย่ อมรับได)
- การใหความรูเพื่อลดการสัมผัสสิ่งคุกคาม เชน ไมกนิ อาหารในที่ทํางานที่มีสารพิษ เชน
โรงงานผลิตแบตเตอรี่ (สารตะกัว่ ) การลางมือกอนกินอาหารและหลังเลิกงาน การใชอุปกรณปองกัน
อันตรายสวนบุคคล พฤติกรรมอื่นๆที่จะทําใหความเสี่ยงตอการเปนโรคเพิ่มขึ้น เชน การสูบบุหรี่
นอกจากเปนอันตรายจากตัวบุหรี่เองแลว บุหรี่จะเสริมใหแอสเบสตอสมีความเสี่ยงตอการเกิดมะเร็ง
ปอดเพิ่มขึ้น
- การควบคุมสิ่งคุกคามที่จะเกิดขึ้นใหม
- การใชสารทีม่ ีพิษนอยหรือไมมีพิษทดแทนสารที่มีพิษมากกวา
- การควบคุมสิ่งคุกคามที่มีอยูแลว
- การตรวจติดตามดานสิ่งแวดลอม
- การควบคุมทางวิศวกรรม
- การระบายอากาศ
2.2 การปองกันทุติยภูมิ เปนการคนหาโรคในคนที่ยังไมปรากฎอาการ (asymptomatic) ไดแก การคัด
กรองโรคโดยการการตรวจสุขภาพเปนระยะๆ (periodic health examination - เปนการตรวจวามี
15

สารพิษหรือ metabolite ของสารพิษที่อยูในระดับทีก่ อโรค) ตัวอยาง เชน การตรวจระดับการไดยนิ


(audiogram), การตรวจระดับตะกัว่ ปรอท ในเลือด การฉายรังสีทรวงอกเพื่อดู asbestos-related
malignancy เปนตน เมื่อตรวจพบผลกระทบก็สามารถแกไขสิ่งแวดลอมและใหผูปวยออกจากสิ่ง
คุกคามนั้น ในหลายๆกรณีผลกระทบตอสุขภาพนั้นสามารถกลับสูภาวะปกติได
ประกอบดวย
2.3 การปองกันตติยภูมิ เปนการปองกันทุพพลภาพ การดําเนินโรค หรือการเสียชีวติ เนื่องจากโรค
หรือความเจ็บปวยนั้นๆ

3. การวินิจฉัยโรคและการรักษา
การวินจิ ฉัยใหไดโดยเร็วกอนที่โรคจะปรากฏชัดเจน จึงเปนแนวทางหนึ่งที่จะควบคุมและ
ปองกันมิใหบคุ คลนั้นตองทุพพลภาพไปตลอดชีวิต
แนวทางปฏิบัติ ประกอบดวย
3.1 การปฐมพยาบาล เพื่อรักษาชีวติ และปองกันความพิการกอนที่ผปู วยจะถึงมือแพทย
3.2 การรักษาพยาบาลโรคจากการทํางาน และโรคเกี่ยวเนื่องจากการทํางานมีหลักการเหมือนโรค
ทั่วไป รวมทั้งการใหยาเฉพาะ เชน chelating agents เปนตน
3.3 ควรคํานึงถึงการทํางานในการใหคําแนะนําดานการรักษา11
ไมวาคนงานจะปวยจากสาเหตุใดๆก็ตาม ความรับผิดชอบของแพทยคือทําใหสุขภาพและ
หนาที่การทํางานของผูปวยกลับคืนสภาวะปกติมากที่สุด ควรคํานึงถึงความเหมาะสมในเรื่องการหยุด
งานหรือพักฟน และการขาดรายได การหยุดงานกับความเจ็บปวยแบงไดเปน 3 ประเภท
3.1.1 ปวยแตไมตองหยุดงาน เชน พนักงานพิมพดดี ที่มกี ระดูกนิ้วเทาหัก เปนตน
3.1.2 ปวยแตสามารถทํางานไดโดยใหสับเปลี่ยนงานชัว่ คราวจนกวาจะทํางานเดิมได
ตามปกติ เชน พนักงานขับรถยกเปนโรคลมชัก ควรโยกยายไปทํางานที่ไมตองขับเคลื่อนเครื่องจักร
เพราะนอกจากจะอันตรายกับตนเองยังเปนอันตรายกับบุคคลอื่นอีกดวย จนกวาจะสามารถควบคุมการ
ชักได
3.3.3 ปวยใหหยุดงาน
3.4 ระมัดระวังการวินจิ ฉัยโรคจากการทํางาน
แพทยจะไดรับการปรึกษาอยูเสมอวาโรคหรือการบาดเจ็บเกิดจากการทํางานหรือไม การ
ตัดสินวาเปนโรคหรืออุบัติเหตุที่เกิดจากการทํางานมักมีกฎหมายเขามาเกี่ยวของ จึงแตกตางจากการ
วินิจฉัยโรคและการรักษาทัว่ ๆ ไป
3.5 แยกผูปว ยออกจากการสัมผัสสิ่งคุกคาม ในกรณีที่ผูปวยกลับไปทํางานเดิมแมสัมผัสเพียงเล็กนอย
ก็เกิดอาการ เชน ภูมิแพจากการสัมผัส Raynaud’s phenomenon ทํางานสัมผัสความเย็น เปนตน
3.6 แพทยออกหนังสือรับรองการรักษา (กท 16 ของสํานักงานประกันสังคม)
16

4. การฟนฟูสมรรถภาพ โดยการฟนฟูสมรรถภาพของผูพิการจากการทํางานทั้งดานการแพทย จิตใจ


สังคม และอาชีพ

การประเมินการสูญเสียหรือความพิการ
การประเมินการสูญเสียมี 2 แนวทาง ไดแก การประเมินการสูญเสียตามอวัยวะ (organ
impairment) และการประเมินการสูญเสียทั่วรางกาย (whole body impairment) โดยคณะอนุกรรมการ
การแพทยซึ่งแตงตั้งโดยกระทรวงแรงงาน
ผูปวยที่ไดรับการวินจิ ฉัยโรคจากการทํางานตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องกําหนดชนิด
ของโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานเนื่องจากการทํางาน พ.ศ. 2550 จะไดรับการ
พิจารณาเพื่อรับเงินชดเชยตาม พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537

การควบคุมสิ่งคุกคามในสถานประกอบการ
นายจางมีหนาที่
1. ตองสงตัวลูกจางเขารับการรักษาพยาบาล (แบบฟอรม กท 44 ของสํานักงาน
ประกันสังคม)
2. ควบคุมสิ่งคุกคามในสถานประกอบการ ซึ่งอาศัยตัวชีว้ ัดทางชีวภาพและสิ่งแวดลอม
ตัวชี้วดั ทางชีวภาพอาจวัดสารโดยตรงในเลือด ปสสาวะ หรือทางลมหายใจ หรือวัด metabolite ที่
ออกมาทางปสสาวะ หรือวัดผลที่มีตอรางกาย เชนการทํางานของตับ ไต เปนตน สวนดานสิ่งแวดลอม
เปนการวัดสารในสิ่งแวดลอมการทํางานเพื่อใหสารนั้นๆอยูในระดับที่อนุญาตใหคนงานสัมผัสได
(permissible exposure level, PEL) และระดับความเขมขนของสารที่จํากัดใหมีไดในชวงเวลาที่
กําหนดโดยไมทําใหเกิดโรค (threshold limit value, TLV) ซึ่งมี 2 คา คือ TLV-time weighted average
(TLV-TWA) เปนคาเฉี่ยความเขมขนของสารที่วัดภายใน 8 ชั่วโมงการทํางาน และ TLV-short term
exposure limit (TLV-STEL) เปนระดับความเขมขนสูงสุดของสารที่ใหสัมผัสไดในระยะเวลาสั้นๆ

กฎหมายที่เกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในปจจุบัน
มีกฎหมายหลายฉบับที่ใหความคุมครอง และปองกันอันตรายทั้งกอนและหลังการเกิด
เหตุการณอันตรายขึ้น โดยกฎหมายทีใ่ หการปองกันกอนเกิดอันตรายมีหลายฉบับ แตมีเพียง 1 ฉบับ ที่
ใหความคุมครองดูแลภายหลังการประสบอุบัติเหตุและหรือเปนโรคจากการทํางาน
1. กฎหมายที่เนนการปองกันการเกิดอันตรายในการทํางาน
1.1 พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ.2541
1.2 ป.มท. เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร
1.3 ป.มท. เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับภาวะแวดลอม
17

1.4 ป.มท. เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับภาวะแวดลอม (สารเคมี)


1.5 ป.มท. เรื่อง ความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟา
1.6 ป.มท. เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานในสถานที่อับอากาศ
1.7 ป.มท. เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย
1.8 ป.มท. เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับหมอน้าํ
1.9 ป.มท. เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานในสถานที่มีอันตรายจากการตกจาก ที่สูง วัสดุกระเด็น ตก
หลน และการพังทลาย
1.10 ป.มท. เรื่อง การปองกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ เพื่อความปลอดภัยใน การทํางาน
สําหรับลูกจาง
1.11 ป.รส. เรื่อง คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอมในการทํางาน
1.12 ป.รส. เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานของลูกจาง
1.13 พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ.2535
1.14 กฎหมายที่ออกตามความใน พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ.2535
1.15 พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535
1.16 กฎหมายที่ออกตามความใน พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ.2535
1.17 พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ.2535
1.18 กฎกระทรวงทีอ่ อกตามความใน พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535
1.19 พ.ร.บ.สงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ.2535
1.20 กฎกระทรวงทีอ่ อกตามความใน พ.ร.บ. สงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ.2535
1.21 พ.ร.บ.วาดวยการเก็บรักษาน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ.2474
1.22 กฎกระทรวงทีอ่ อกตามความ พ.ร.บ.วาดวยการเก็บรักษาน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ.2474
1.23 ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 28 วาดวยการบรรจุกาซปโตรเลียมเหลว
1.24 กฎหมายที่ออกตามความประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 28 วาดวยการบรรจุกาซปโตรเลียมเหลว

2. กฎหมายทีเ่ นนหลังการประสบอันตรายและหรือโรคจากการทํางาน มีเพียงฉบับเดียวคือ พ.ร.บ.


เงินทดแทน พ.ศ.2537

ตารางที่ 5 สาระสําคัญของ พ.ร.บ. เงินทดแทน และ พ.ร.บ. ประกันสังคม


กฎหมายและหนวยงาน สาระสําคัญ
1. พ.ร.บ. เงินทดแทน สิทธิประโยชนที่ลูกจางไดรบั
พ.ศ. 2537 - เนนการใหเงินจากการเจ็บปวยหรือประสบอันตรายจากการทํางาน
กระทรวงแรงงาน
18

2. พ.ร.บ. ประกันสังคม ใหประโยชนทดแทนในกรณี


พ.ศ. 2533 2.1 ประสบอันตรายหรือเจ็บปวยที่ไมใชจากงาน
กระทรวงแรงงาน 2.2 คลอดบุตร
2.3 ทุพพลภาพ
เริ่มมีผลบังคับใชเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2533 กับสถานประกอบการที่มลี ูกจาง
ตั้งแต 20 คนขึน้ ไปและภายหลังไดขยายออกไปเปนสถานประกอบการที่มีลูกจาง
ตั้งแต 10 คนขึน้ ไป เมื่อวันที 2 เดือนกันยายน 2536 และขยายไปยังสถาน
ประกอบการที่มีลูกจางตั้งแต 1 คนขึ้นไป ตั้งแตวนั ที่ 1 เมษายน 2545

สิทธิประโยชนที่ลูกจางไดรบั ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537


1. เจ็บปวยหรือประสบอันตราย
- คารักษาพยาบาลที่จายจริงตามความจําเปน ไมเกิน 35,000 บาท กรณีบาดเจ็บรุนแรงเพิ่มได
อีก 50,000 บาท รวมเปน 85,000 บาท หากเปนการเจ็บปวยที่รุนแรงและเรื้อรัง (ตามกฎกระทรวง
กําหนด) เบิกจายเพิ่มไดอีกรวมกันแลวไมเกิน 200,000 บาท
- คาทดแทนรอยละ 60 ของคาจางรายเดือน ไมต่ํากวาคาแรงขั้นต่ํารายวันในทองที่ ที่ลูกจาง
ทํางานและสูงสุดไมเกินเดือน 12,000 บาท
- กรณีหยุดพักรักษาตัวเกิน 3 วันขึ้นไป
2. สูญเสียอวัยวะ
- คาทดแทน 60% ของคาจางรายเดือน ไมเกิน 10 ป ตามประเภทของการสูญเสียอวัยวะ
- คาฟนฟู ดานการแพทย และอาชีพไมเกิน 20,000 บาท
- คาผาตัด เพือ่ ฟนฟูสมรรถภาพไมเกิน 20,000 บาท
3. ทุพพลภาพ
- คาทดแทนรายเดือน 60% ของคาจางเปนเวลา 15 ป
4. ตายหรือสูญหาย
- คาทําศพ 100 เทา ของอัตราสูงสุดของคาจางขั้นต่ํารายวัน
- คาทดแทนแกทายาทรอยละ 60 ของคาจางเปนเวลา 8 ป
19

แหลงคนควาเพิ่มเติม
• The SafeWork Bookshelf, The International Labour Organization (ILO), United
Nations http://www.ilo.org/safework_bookshelf/english/
• TOXNET, National Library of Medicine, US Government http://toxnet.nlm.nih.gov/
• Agency for Toxic Substances and Disease Registry, Center for Disease Control, US government
http://www.atsdr.cdc.gov/
• National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH), Center for Disease Control, US
government http://www.cdc.gov/niosh/
• Haz-Map: Occupational Exposures to Hazardous Agents, National Institute of Health, US Government
http://hazmap.nlm.nih.gov/cgi-bin/hazmap_cgi?level=0&tree=Agent
• IRIS The Integrated Risk Information, Environmental Protection Agency System US government
http://www.epa.gov/iris/index.html
• The SafeWork Bookshelf, The International Labour Organization (ILO), United
Nations http://www.ilo.org/safework_bookshelf/english/

เอกสารอางอิง

1. Schilling RSF. Development in occupational health. In: Waldron HA, ed. Occupational health
practice, third edition. London: Butterworths; 1989: 1-21.
2. Koh D, Jeyaratnam J. Work and health. In: Jeyaratnam J, Koh D, eds. Textbook of occupational
medicine practice, second edition. Singapore: World Scientific Publishing 2001: 1-34.
3 โยธิน เบญจวัง, วิลาวัณย จึงประเสริฐ, บรรณาธิการ. มาตรฐานการวินิจฉัยโรคจากการทํางาน ฉบับ
เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐.
สํานักงานกองทุนเงินทดแทน สํานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ๒๕๕๐.
4 United States, Department of labor. Occupational Safety & Health Administration. Dust and its
control. Available at: http://www.osha.gov/SLTC/silicacrystalline/dust/chapter_1.html
5 ดร. พรพิมล กองทิพย. สุขศาสตรอุตสาหกรรม ตระหนัก ประเมิน ควบคุม. กรุงเทพฯ: นําอักษร
การพิมพ 2545.
6 Fischman ML, Goldstein DA, Cullen MR. Work sectors of emerging importance. In;
Rosenstock L, Cullen MR, Brodkin CA, Redlich CA, eds. Textbook of clinical occupational and
environmental medicine, second edition. China; ELSEVIER SAUNDERS 2005; 263-271.
7 Cullen MR, Rosenstock L, Kilbourne EM. Introduction to occupational and environmental
medicine. In; Rosenstock L, Cullen MR, Brodkin CA, Redlich CA, eds. Textbook of clinical
occupational and environmental medicine, second edition. China; Elsevier Saunders 2005; 3-15.
20

8 Gardner IR. Health promotion in workplace. In: Jeyaratnam J, Koh D, eds. Textbook of
occupational medicine practice, second edition. Singapore: World Scientific Publishing 2001:
458-479.
9 Koh D, Jeyaratnam J, Chia KS. Prevention of occupational diseases. In: Jeyaratnam J, Koh D,
eds. Textbook of occupational medicine practice, second edition. Singapore: World Scientific
Publishing 2001: 480-504.
10 Herbert R, Szeinuk J. Integrating clinical care with prevention of occupational illness and
injury. In; Rosenstock L, Cullen MR, Brodkin CA, Redlich CA, eds. Textbook of clinical
occupational and environmental medicine, second edition. China; Elsevier Saunders 2005;
1263-1274.
11 Sheridan DP, Winoground IJ. The Preventive approach to patient care. Amsterdam: Elsevier
Science Publishing Co 1978.
21

You might also like