You are on page 1of 9

SDG 11 เมืองและถิ่นฐานมนุษย์ที่ยั่งยืน

Civilization หรือ อารยธรรม เป็ นวัฒนธรรมขั้นสูง คือ วัฒนธรรมที่


จะเรียกว่าเป็ นอารยธรรมได้ก็ต่อเมื่อวัฒนธรรมนั้นได้มีการพัฒนาให้เจริญถึง
ขั้นสูงสุดแล้ว ต้องมีการบันทึกเรื่องราวต่างๆ วัฒนธรรมด้านอื่นต้องได้รับ
การปรับปรุง หรือจะว่าด้วยความเจริญทางวัตถุและทางจิตใจของมนุษย์
สองอย่างนี้รวมกันอยู่ในรัฐหรือประเทศ มีสถาบันการปกครอง สถาบัน
ศาสนา และสถาบันอื่น มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ไม่มีสถาบันเหล่านี้ จึงไม่มี
อารยธรรม จากแนวคิดข้างต้นถือว่าอารยธรรมเป็ นรากฐานสำคัญที่จะหลวม
รวมให้สังคม หรือการอยู่ร่วมกันของมนุษย์นั้นสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่าง
สงบสุขและมีชีวิตที่มีคุณภาพ

จากประวัติศาสตร์ชาติไทย จะเห็นได้ว่ามีการรับเอาหลักอารยธรรมที่
หลากหลายมาหลอมรวมกัน ยกตัวอย่างเช่น หลักทางความเชื่อ ศาสนาที่รับ
อิทธิพลมาจากอารยธรรมอินเดีย หลักทางด้านศิลปสถาปั ตยกรรม การเมือง
การปกครองยุกประวัติศาสตร์ที่รับอิทธิพลมาจากขอมโบราณ และได้รับการ
พัฒนาจนกลายเป็ นกฎหมายระบอบปกครองซึ่งเป็ นที่ยอมรับของคนทุกกลุ่ม
วัฒนธรรมประเพณีที่เคารพสิทธิของกันและกัน และการสืบทอดวัฒนธรรม
ประเพณีนั้น ซึ่งอาจออกมาในรูปของดนตรี ละคร ภาพเขียน ประติมากรรม
โครงสร้างการปลูกสร้างต่างๆ หรือออกมาในรูปของการถ่ายทอดความรู้
ประสบการณ์ในสถานศึกษาที่เป็ นสาธารณะ ที่เป็ นแบบไทย ซึ่งก็สามารถ
แบ่งออกได้ตามอัตลักษณ์การตั้งถิ่นถานของคนแต่ละภูมิภาคในประเทศไทย
เช่น ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมีการถ่ายถอดวัฒนธรรมที่แสดง
ถึงการผสมผสานจากทางล้านช้าง หรือประเทศลาวในปั จจุบัน ทางภาคใต้
ของไทยมีกลิ่นอายของวัฒนธรรมศรีวิชัย ให้คงเห็นเป็ นอัตลักษณ์ของทาง
ภาคใต้ของไทย ในส่วนของภาคเหนือเป็ นการรรับเอาอิทธิพลที่หลากหลาย
มารวมเก็นอัตลักษ์ท้องถิ่นที่เรียกว่าความเป็ น “ล้านนา” (Lannalization)
ไม่ว่าจะเป็ นอัตลักษณ์ด้านอาหาร ภาษา วรรณกรรม ดนตรี งานศิลปะ รวม
ถึงสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งคู่ควรแก่การทำนุบำรุงรักษาให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

(อาจจะใส่ภาพ อะไรสักอย่างที่สะท้อนความเป็ นล้านนา)

จังหวัดเชียงใหม่ ถือเป็ นเมืองหลักของวัฒนธรรมล้านนา และมรดก


ทางวัฒนธรรมล้านนา (ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย) เป็ นทั้งสถานที่
ท่องเที่ยวทางวัฒนะธรรมล้านนา และแหล่งศึกษาเรียนรู้ความหลากหลาย
ทางวัฒนะธรรมและแหล่งมรดกทางวัฒนะธรรมของภาคแหนือตอนบน และ
ยังมีความหลากหลายทางชาติพันธ์ที่สะท้อนออกมาในลักษณะถิ่นที่อยู่อาศัย
สิ่งปลูกสร้าง และอื่นๆ อีกมากมาย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้าน
นา ตั้งอยู่ใน 6 จังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัด
เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ตาก น่าน และจังหวัดพิษณุโลก นอกจากจะเป็ น
สถานศึกษาที่จัดการศึกษาให้กับคนในภูมิภาคนี้แล้ว ยังถือเป็ นสถานที่ใน
การสนับสนุน และพื้นที่สำหรับส่งเสริมศิลปะและมรดกตกทอดศิลปะท้อง
ถิ่นการแสดง รวมถึงจัดโครงการต่างๆเพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม
ธรรมเนียมประเพณีนิทานพื้นบ้านโดยเน้นท้องถิ่นที่มีอัตลักษณ์ชัดเจนให้
สามารถสืบทอดอย่างยั่งยืน
การให้บุคคลทั่วไปเข้าถึงหอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรมราชมงคลล้านนา

คณะศิลปกรรมและสถาปั ตยกรรมศาสตร์พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา รองศาสตราจารย์ ดร.อุเทน คำ
น่าน รองอธิการบดีฝ่ ายวิจัยและพัฒนาระบบอย่างยั่งยืน ร่วมให้การต้อนรับ
ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยคณะ ในการเยี่ยมชมดูงานผล
การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่การพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ภาคเหนือ
(Creative Lanna) ชมการจัดแสดงผลงานของหลักสูตรสถาปั ตยกรรม
ทัศนศิลป์ ออกแบบสื่อสาร ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบสิ่งทอ เทคโนโลยี
เชรามิกส์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ สิ่งพิมพ์ดิจิทัล อีกทั้งชมงานศิลปหัตถกรรม
พื้นบ้านล้านนา ในวันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม 2565 เวลา 09.30 – 11.00
น. ณ หอศิลปวัฒนธรรมคณะศิลปกรรมและสถาปั ตยกรรมศาสตร์
หลักสูตรสถาปั ตยกรรมศาสตร์ร่วมกับคณะศรัทธาและชาวบ้านชุมชน
บ้านห้วยทราย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ร่วมระดมทุนจัดซื้อที่ดินและก่อสร้าง
ถวายวัด

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ คณะศิลปกรรม


และสถาปั ตยกรรมศาสตร์ นำโดยอาจารย์พงษ์สินธ์ ทวีเพชร อาจารย์
ประจำหลักสูตรสถาปั ตยกรรมศาสตร์ และนายคำไผ่ เจริญทอง ร่วมกับ
คณะจิตศรัทธาบ้านห้วยทราย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ร่วมระดมทุนกับผู้มีจิต
ศรัทธาร่วมสร้างกำแพงที่ธรณีสงฆ์หน้าวัดห้วยทราย และชาวบ้านในชุมชน
บ้านห้วยทรายร่วมระดมทุนจัดซื้อที่ดินถวายวัด ซึ่งอาจารย์พงษ์สินธ์ ทวี
เพชรและนายคำไผ่ร่วมถวายแบบก่อสร้าง
การทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงอาคารได้ ปี : 2022 ทำให้ประชาชนทั่วไป
สามารถเข้าถึงอาคารและ/หรืออนุสาวรีย์ หรือพื้นที่มรดกทางธรรมชาติที่
มีความสำคัญทางวัฒนธรรมได้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีพื้นที่มรดกทางธรรมชาติที่
มีความสำคัญทางวัฒนธรรม อยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของมหาวิทยาลัยฯ ที่
นักศึกษา บุคลากร หรือหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกสามารถมาเข้ารับ
บริการได้ ประกอบด้วย สถานที่เก็บเรือพายของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคลล้านนา น่าน อยู่โถงชั้น 1 อาคารเอนกประสงค์ เป็ นสถานที่ศึกษาดู
งานเรือสกุลน่าน ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยโขนเรือ(หัวเรือ)เป็ น
พญานาค, ศาลเจ้าพ่อพุทธรักษา และพระพิรุณทรงพญานาค เป็ นสถานที่
ศักดิ์สิทธิ์ในการเคารพสักการะสิ่งศักดิ์ของบุคลากร นักศึกษา และประชาชน
ทั่วไป และศาลเจ้าพ่อช้างเผือก ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ล้านนา ลำปาง เป็ นสถานที่สักการะบูชาและยึดเหนี่ยวจิตใจของชาว
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง และชาวบ้านบริเวณโดย
รอบมหาวิทยาลัย ในการขอพรในเรื่องต่างๆ
https://sdgs.rmutl.ac.th/11/11-2/11-2-1/11-2-1-
%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%97%e0
%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%ab
%e0%b9%89%e0%b8%9b
%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%8a
%e0%b8%b2%e0%b8%8a
%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0
%b8%a7%e0%b9%84%e0%b8%9b/

การออกแบบก่อสร้างพื้นที่ วัดป่ าบ้านนาค ณ เวียดนาม จังหวัดทัญฮว้า


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ นำโดย อา
จารย์พงษ์สิน ทวีเพชร สถาปนิก และอภินันท์ พดด้วงทอง สถาปนิกผู้
ช่วย ศิษย์เก่าสาขาสถาปั ตยกรรมศาสตร์ และทีมไฟฟ้ า ผศ. มนตรี เงาเดช
สาขาวิศวกรรมไฟฟ้ า ได้ร่วมมือกับทาง เจ้าอาวาส พระอาจารย์อั๋น จิตต
สวโร (Su Thich Ho Tam) จัดตั้งโครงการสร้างวิหารโถง เพื่อทำนุบำรุง
สืบสานเผยแพร่ศาสนา และศิลปะวัฒนะธรรม ณ อำเภอน๊อกลัค (NgocLac
Districy) จังหวัด ทัญฮว้า (Thanh Hoa) ประเทศเวียดนาม แนวความคิดใน
การออกแบบ รูปแบบสถาปั ตยกรรมแบบล้านนา ผสมผสานกับ
สถาปั ตยกรรมแบบล้านช้าง มีกลิ่นไอของลุ่มแม่น้ำโขง เป็ นวัดศาสนาพุทธ
นิกายเถรวาทวัดแรกในประเทศเวียดนาม เจ้าอาวาสเป็ นพระเวียดนามที่เคย
บวชเรียนธรรมยุตินิกาย วัดป่ าในจังหวัดหนองคาย จึงมีจิตมุ่งมั่นที่จะเผย
แพร่พุทธศาสนาในประเทศเวียดนาม

You might also like