You are on page 1of 10

บทความการศึกษา ดร.ภก.

ประยุทธ ภูวรัตนาวิวิธ
ต่อเนื่อง(CPE) ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ
รหัส 01A-084-2016
บทความหมดอายุ 1-03-2017
คณะเภสัชศาสตร์
จำ�นวน 1 หน่วยกิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

การบริบาลทางเภสัชกรรม
ในผู ้ป่วยที่มีภาวะ
ตากุ้งยิงในร้านยา
วัตถุประสงค์
1. สามารถแยกโรคตากุ้งยิงเบื้องต้น ได้ในร้านยา
2. สามารถตัดสินใจรักษาภาวะตากุ้งยิง หรือส่งต่อได้อย่างเหมาะสม
3. สามารถแก้ปัญหาที่มักพบในการบริบาลทางเภสัชกรรมส�ำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะตากุ้งยิงในร้านยาได้
บทคัดย่อ
ตากุ้งยิง เป็นภาวะความผิดปกติทางตาที่พบได้บ่อย และส่วนใหญ่สามารถให้การรักษาอย่างสมบูรณ์ได้ในร้านยา
ตากุง้ ยิง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ตากุง้ ยิงภายนอก และ ตากุง้ ยิงภายใน และอีกภาวะหนึง่ ทีม่ ลี กั ษณะรอยโรคคล้ายกับตากุง้ ยิง
คือ ภาวะ chalazion การบริบาลทางเภสัชกรรมในบริบทร้านยา เภสัชควรแยกโรคให้ได้ และให้การรักษาโดยการใช้
ยาปฏิชีวนะ และ/หรือ ยาแก้ปวด ขึ้นอยู่กับรอยโรค อาการ อาการแสดง และความรุนแรงของโรค พร้อมค�ำแนะน�ำผู้ป่วย
อย่างเหมาะสมทั้งเรื่องการใช้ยา และการปฏิบัติตัว ในกรณีที่ผู้ป่วยตากุ้งยิงภายนอก และ ภายใน ที่มีอาการรุนแรงมาก
หรือมีภาวะ chalazion ให้พิจารณาการส่งต่อแพทย์ พร้อมเขียนใบส่งต่อข้อมูลอย่างละเอียดทุกครั้ง
ค�ำส�ำคัญ : ตากุ้งยิงภายนอก ตากุ้งยิงภายใน chalazion

บทน�ำ
ตากุ้งยิง (stye หรือ hordeolum) เป็นภาวะผิดปกติทางตา ที่พบบ่อยในร้านยา บทบาทหลักของเภสัชกร คือ
ให้การวินิจฉัยเบื้องต้น เพื่อแยกโรค ตัดสินใจให้การรักษา และ พิจารณาการส่งต่อผู้ป่วยอย่างเหมาะสม สาเหตุของตากุ้งยิง
เกิดจาก การติดเชื้อแบคทีเรีย ตากุ้งยิง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ตากุ้งยิงภายนอก (external hordeolum) และ ตากุ้งยิง
ภายใน (internal hordeolum) และอีกภาวะหนึ่งที่มีลักษณะรอยโรคคล้ายกับภาวะตากุ้งยิง คือ ภาวะ chalazion การรักษา
ภาวะตากุ้งยิง ในกรณีอาการไม่รุนแรง คือ การใช้ยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์กว้าง ในรูปแบบยาหยอดตา และ ยาป้ายตา และ
จะใช้ยาปฏิชีวนะแบบรับประทาน ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากขึ้น แต่หากพบว่าผู้ป่วยเป็นตากุ้งยิงภายนอกที่มีความ
รุนแรงมาก หรือ ตากุ้งยิงภายใน หรือ chalazion ให้ส่งต่อแพทย์ทันที และต้องแจ้งผู้ป่วยทุกรายว่า ห้ามเจาะ หรือ บีบหนอง
เองโดยเด็ดขาด เพราะจะส่งเสริมให้รอยโรค เกิดการอักเสบ และ เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ซับซ้อน และรุนแรงมากขึ้น จนน�ำไปสู่
ความผิดปกติทางตาที่อันตรายมากขึ้นได้

พยาธิก�ำเนิดของภาวะตากุ้งยิง
ตากุง้ ยิง เป็นความผิดปกติของระบบตา ประกอบด้วยภาวะผิดปกติ 2 ชนิด ทีส่ ามารถเกิดร่วมกัน ได้แก่ ภาวะอักเสบ
(inflammation) และ ภาวะติดเชือ้ (infection)(1-3) อาการแสดงหลักของโรค คือ อาการบวมทีเ่ ปลือกตา จากนัน้ จะเป็นก้อน
บวมแดงเฉพาะที่ อาการแสดงส�ำคัญของภาวะตากุง้ ยิง คือ อาการกดเจ็บ น�ำ้ ตาไหล กลัวแสง และพัฒนาเป็นตุม่ หนอง(1-3)

43 วารสารสมาคมเภสั43
ชกรรมชุมชน
การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่มีภาวะตากุ้งยิงในร้านยา

สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียที่พบที่ผิวหนัง เชื้อแบคทีเรีย ที่พบว่าเป็นสาเหตุหลัก ได้แก่ เชื้อ


Staphylococcus aureus หรือ Staphylococcus epidermidis(1-3) โรคตากุ้งยิงเกิดจาก เชื้อแบคทีเรียจากผิวหนัง
ผ่านเข้าสู่ระบบตาทางต่อมไขมัน และท�ำให้เกิดการติดเชื้อ จากนั้นเชื้อจะรบกวนกระบวนการสร้าง สารหล่อลื่น และ น�้ำตา
ท�ำให้เกิดอาการแสดง เช่น น�้ำตาไหล กลัวแสง และพัฒนาไปเป็นตุ่มหนอง(1) และเชื้อจะเหนี่ยวน�ำให้เกิดภาวะอักเสบ ท�ำให้
เกิดรอยโรคที่มีอาการ บวม แดง กดเจ็บ เกิดขึ้น หากเชื้อแบคทีเรียก่อการติดเชื้อที่ต่อมไขมันภายในเปลือกตา จะท�ำให้เกิด
ภาวะตากุ้งยิงภายในได้(2, 3) ภาวะตากุ้งยิงภายในที่ไม่ได้รับการรักษา อาจพัฒนาไปสู่ความผิดปกติอีกชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะ
คล้ายตากุ้งยิงภายนอก แต่ไม่มีการพัฒนาไปเป็นตุ่มหนองที่กดเจ็บ เรียกว่า chalazion ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากการอุดตันของ
ต่อมไขมัน Meibomian’s gland, Zeis’s glands หรือ Moll’s glands และเกิดการอักเสบของผิวหนังโดยไม่มีการติดเชื้อ
และ ไม่เจ็บ(1-3) อาการ และอาการแสดงของภาวะตากุ้งยิง แสดงดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 อาการ และอาการแสดงของภาวะตากุ้งยิงภายนอก ตากุ้งยิงภายใน และ chalazion(1-3)


อาการ และอาการแสดง ตากุ้งยิงภายนอก ตากุ้งยิงภายใน chalazion
น�้ำตาไหล
กลัวแสง
ตุ่มหนอง
บวม แดง
กดเจ็บ
หมายเหตุ เครื่องหมาย คือ พบอาการ เครื่องหมาย คือ ไม่พบอาการ

สาเหตุ และปั จจัยเสี่ยง


สาเหตุของภาวะตากุ้งยิง คือ การติดเชื้อแบคทีเรีย กลุ่ม Staphylococcus species ชนิดที่พบบริเวณผิวหนัง เช่น
Staphylococcus aureus หรือ Staphylococcus epidermidis(1-3) ระยะเวลาหลังจากติดเชือ้ จนก่อโรค (onset) ค่อนข้างไว
และขึ้นอยู่กับ ความสะอาดของดวงตาและผิวหนังบริเวณใกล้เคียง และ โรคร่วมที่เป็นอยู่ เช่น โรคในระบบผิวหนัง หรือ
โรคระบบทางเดินหายใจส่วนบน หรือ ระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น ในผู้ป่วยที่มีการรักษาความสะอาดของดวงตาและ
ผิวหนังบริเวณใกล้เคียง ไม่ดี หรือ มีโรคในระบบผิวหนัง หรือ โรคในระบบทางเดินหายใจส่วนบน หรือ โรคในระบบทางเดิน
ปัสสาวะ ร่วมด้วย ก็จะท�ำให้การเกิดอาการตากุ้งยิงได้ไวขึ้น และอาจมีอาการของโรคที่รุนแรงมากขึ้นด้วย(1-3)

การประเมินความรุนแรง
การประเมินความรุนแรงของภาวะตากุ้งยิง
สามารถประเมินได้จาก การติดเชื้อ และ การอักเสบ
การประเมินการติดเชื้อ(1-4) จะพิจารณาจาก ขนาดของ
ตุ ่ ม หนอง และ ต� ำ แหน่ง ที่เ กิดตุ่มหนอง ขนาดของ
ตุ่มหนองที่ใหญ่มากขึ้นจะบ่งชี้ความรุนแรงของการติด
เชื้อที่มีมากขึ้น และหากเกิดตุ่มหนองบริเวณด้านใน
ของเปลือกตา จะท�ำให้มีความรุนแรงของอาการปวด
และติดเชื้อยาวนานมากขึ้น(4) การอักเสบจะพิจารณาจาก ระดับการอักเสบ เช่น อาการปวด แดง บวม ของรอยโรค เป็นต้น
อาการปวด สามารถประเมินได้จาก pain score หรือ visual analog score อาการ แดง บวม สามารถพิจารณาได้โดยตรง
ที่รอยโรคหรือสอบถามจากผู้ป่วยว่ารอยโรคที่เกิด ไม่เปลี่ยนแปลง มากขึ้น หรือ ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับวันก่อนๆ ที่ผ่านมา
(4)
แนวทางการซักประวัติ และ ประเมินความรุนแรง ของภาวะตากุ้งยิง แสดงดังตารางที่ 2

วารสารสมาคมเภสัชกรรมชุมชน 44
การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่มีภาวะตากุ้งยิงในร้านยา

ตารางที่ 2 แนวทางการซั กประวัติ และ ประเมินความรุ นแรง ของภาวะตากุ้งยิง(1-4)


หัวข้ออาการ การตรวจร่างกาย หรือ
ตัวอย่างค�ำถามที่ใช้ซักประวัติ แนวทางการประเมินความรุนแรง
อาการแสดง ประเมินเบื้องต้น
การติดเชื้ อ “ท่านมีตุ่มหนอง ที่บริเวณเปลือกตา ขอดูรอยโรค อาการบวม หากมีตุ่มหนองที่เปลือกตาขนาดใหญ่ หรือตุ่ม
หรือใต้เปลือกตาหรือไม่” ประเมินตุ่มหนอง หนองเกิดใต้เปลือกตา แสดงถึงการมีความ
และประเมินขนาด รุ นแรงของโรคมาก
หากพบเพียงการบวมของผิวหนัง
แต่ไม่มีตุ่มหนอง อาจคิดถึงภาวะ chalazion

การอักเสบ “ท่านรู ้สึกปวดที่รอยโรคหรือไม่” ใช้ pain score หรือ visual หากผู ้ป่วยให้คะแนนความปวดมาก แสดงถึง
“ระดับความปวดขณะนี้ อยู ่ในระดับใด analog score ร่วมในการ การมีความรุ นแรงของโรคมาก
หากสมมติให้ ปวดมากที่สุด คือ 10 ประเมินอาการปวด
และไม่ปวดเลย คือ 0 ท่านพอจะบอก หากพบเพียงการบวมของผิวหนัง ไม่มีตุ่ม
ได้หรือไม่ว่า ท่านให้คะแนนความปวด หนอง และไม่มีอาการปวด อาจคิดถึงภาวะ
ได้เท่าไร” chalazion

“ถ้าเทียบกับก่อนหน้านี้ อาการ บวมแดง ใช้การถ่ายภาพบันทึกลักษณะ หากมีอาการ บวม แดง มากขึ้น แสดงถึงการมี


เป็น เท่าเดิม มากขึ้น หรือลดลง” รอยโรค วันต่อวัน ความรุ นแรงของโรคมาก

Internal hordeolum External hordeolum Chalazion


รูปที่ 1 ตากุ้งยิงชนิดต่างๆ

แนวทางการรักษา และการส่งต่อ
แนวทางการรั ก ษาภาวะตากุ ้ ง ยิ ง ให้ เริ่ ม จาก การ
ประเมินอาการ และ อาการแสดงของภาวะตากุ้งยิง ที่ต้องได้
รับการรักษา และ พิจารณาต�ำแหน่งรอยโรค (แสดงดังรูปที่ 1)
หากผู้ป่วยมีอาการแสดง เช่น เปลือกตาบวม ก้อนบวมแดง
กดเจ็บ เป็นหนองที่เปลือกตา มีอาการปวดเคืองคล้ายมีผง
ในตา น�้ำตาไหล และ อาจมีไข้ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ ก็ให้การ
รักษา แต่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการส่งต่อควบคู่ไปด้วย(1-4) ดังนี้
หาก มีอาการแสดงชัดเจน และรอยโรคอยู่ที่บริเวณ
เปลือกตา แสดงว่าเป็น ตากุ้งยิงภายนอก ก็สามารถให้การรักษาได้ในร้านยา(1-4)
หาก มีอาการแสดงชัดเจน แต่รอยโรคอยู่ใต้เปลือกตา แสดงว่าเป็น ตากุ้งยิงภายใน ให้ส่งต่อแพทย์(1-4)
หาก มีเฉพาะอาการบวม เป็นตุ่ม ที่เปลือกตาภายนอก โดยไม่มีอาการปวด หรือ กดเจ็บ แสดงว่าเป็น chalazion
ให้ส่งต่อแพทย์(1-4)

45 วารสารสมาคมเภสั45
ชกรรมชุมชน
การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่มีภาวะตากุ้งยิงในร้านยา

ในกรณีที่เป็น ตากุ้งยิงภายนอก ให้ประเมินความรุนแรงของการติดเชื้อจาก ปริมาณหนอง และ อาการบวม หาก


อาการเป็นมาก หรือ พบอาการอื่นๆที่แสดงถึงภาวะติดเชื้อรุนแรงร่วมด้วย เช่น มีไข้สูง มีตุ่มหนองบวม ใหญ่ มีอาการปวดตา
มากจนส่งผลต่อการมองเห็น ให้พิจารณาส่งต่อแพทย์ เนื่องจากอาจต้องท�ำหัตการเพื่อน�ำหนองออกจากรอยโรค(1-4) แต่หาก
ไม่มีอาการดังกล่าวก็ให้ เลือกใช้ ยาต้านจุลชีพที่ครอบคลุมเชื้อ S. aureus และ S. epidermidis เป็นหลัก(5) อาจใช้ยา
หยอดตา หรือ ยาขี้ผึ้งป้ายตา ที่มีส่วนประกอบของ ยาต้านจุลชีพ ชนิดออกฤทธิ์กว้าง และ corticosteroids ในกรณีที่มี
อาการอักเสบ บวม แดง ของผิวหนังเปลือกตามากๆ แต่จะใช้เมื่อมั่นใจว่าไม่มีการติดเชื้อไวรัสร่วมด้วย (ให้พิจารณาจาก
ความสะอาดของมือ และโรคร่วม เช่น ไข้หวัด หรือ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน หรือ การติดเชื้อในระบบ
ทางเดินปัสสาวะ)(5) และสามารถใช้ยาแก้ปวด รักษาตามอาการปวด หรือมีไข้ ในขนาดยาที่เหมาะสม เช่น paracetamol
10 mg/kg/dose แบ่งให้ทุก 6 ชั่วโมง และหลังจากใช้ยาต้านจุลชีพนาน 7-14 วัน(5) หากภาวะตากุ้งยิง ไม่หาย หรือ มีอาการ
รุนแรงขึ้น หรือ มีการมองเห็นผิดปกติ ให้รีบส่งต่อแพทย์เพื่อ วินิจฉัย และ ให้การรักษาแบบเฉพาะต่อไป แนวทาง
การรักษา และการส่งต่อแพทย์(1-4) แสดงดังรูปที่ 2

รูปที่ 2 แนวทางการรักษา และการส่งต่อแพทย์ กรณีภาวะตากุ้งยิง

เปลือกตาบวม มีก้อนบวมแดง กดเจ็บ เป็นหนองที่เปลือกตา มีอาการปวดเคืองคล้ายมีผงใน


ตา น�้ำตาไหล และอาจมีไข้ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้

เป็นตากุ้งยิงภายนอก เป็นตากุ้งยิงภายใน
พิจารณาต�ำแหน่งรอยโรค หรือ chalazion

ประเมินความรุ นแรง มีไข้สูง มีตุ่มหนองบวมใหญ่


ของการติดเชื้ อ มีอาการปวดตามากจน ส่งต่อแพทย์
จาก ปริมาณหนอง ส่งผลต่อการมองเห็น
และ อาการบวม

ารมอ งเห็น
ส่งผ ลต่อก
- 1 4 ว ัน หรือ
เลือกใช้ ยาต้านจุ ลชี พที่ครอบคลุม 7
า รไ ม ่ดีขนึ ้ ใน
เชื้ อ S. aureus เป็นหลัก อาก

แนวทางการเลือกใช้ยาต้านปฏิชีวนะในร้านยา
หากอาการไม่รนุ แรง พิจารณาใช้ยาต้านจุลชีพในรูปแบบ ยาหยอดตา หรือ ยาขีผ้ งึ้ ป้ายตา ทีม่ กี ารออกฤทธิก์ ว้าง
เป็นอันดับแรก(5) ตัวอย่างยาต้านจุลชีพที่สามารถเลือกจ่ายได้ เช่น azithromycin 1%, bacitracin, ciprofloxacin 0.3%,
chloramphenicol, erythromycin 0.5%, gentamicin 0.3%, gramicidin, neomycin, ofloxacin 0.3%, sulfacetamide
10%, tobramycin 0.3% หรือ trimethoprim/polymyxin B(5-7) และ สามารถเลือกใช้รูปแบบสารละลาย (ophthalmic
solutions) หรือ ขี้ผึ้ง (ointments) ก็ได้ แต่ควรเลือกยาในรูปแบบ ขี้ผึ้ง เพราะ ยารูปแบบนี้สามารถเกาะบริเวณรอยโรค
ได้ ดี ก ว่ า ยารู ป แบบอื่ น ซึ่ ง จะท� ำ ให้ ตั ว ยาสามารถเกาะติ ด ณ บริ เวณที่ ก� ำ ลั ง มี ก ารติ ด เชื้ อ อยู ่ ไ ด้ ดี ที่ สุ ด ซึ่ ง จะช่ ว ยเพิ่ ม
ประสิทธิภาพในการรักษาโรค แต่อาจพบปัญหาว่าผู้ป่วยบางรายอาจปฏิเสธการใช้ยารูปแบบนี้ เพราะ กลิ่น และ สัมผัส

วารสารสมาคมเภสัชกรรมชุมชน 46
การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่มีภาวะตากุ้งยิงในร้านยา

อันไม่พึงประสงค์ หรือ อาจรบกวนการมองเห็น ดังนั้นในทาง


ปฏิ บั ติ ส ามารถใช้ ย าต้ า นจุ ล ชี พ ชนิ ด ครี ม (ophthalmic
creams) แทนชนิดขี้ผึ้งได้ ส�ำหรับยาต้านจุลชีพในรูปแบบ
สารละลายสามารถใช้ได้เช่นกัน หากผู้ป่วยไม่มีอาการน�้ำตา
ไหลในปริมาณมาก เพราะหากมีอาการดังกล่าวอาจท�ำให้ยา
เกาะติดกับรอยโรคได้ไม่ดีเท่าที่ควร อีกทั้งยังเป็นการเจือจาง
ความเข้มข้นของยาอีกด้วย และจะต้องแนะน�ำผู้ป่วยทุกครั้ง
ว่า “ก่อนทายาต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง” และ “ห้าม
เจาะหนองออกเองโดยเด็ดขาด” (5-6)

ในกรณีที่อาการรุนแรง เช่น ปริมาณหนอง และ


อาการบวม หรือมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น มีไข้สูง มีตุ่ม
หนองบวม ใหญ่ บริเวณเปลือกตา แต่อาการยังไม่รุนแรงมาก
จนส่ ง ผลต่ อ การมองเห็ น หรื อ มี อ าการปวดตามาก ให้
พิจารณาใช้ยาต้านจุลชีพแบบรับประทานกลุ่ม penicillins(5)
โดยให้ซักประวัติแพ้ยากลุ่ม penicillins ทุกครั้ง ก่อนจ่ายยา
เช่น “ท่านเคยรับประทานยากลุ่ม penicillins และ เภสัชกร
อาจยกตัวอย่างชื่อยา หรือน�ำตัวอย่างยาให้ดู เช่น penicillin
V, amoxicillin แล้วเกิดอาการ บวม ผื่นคัน หรือ หายใจไม่
ออก มาก่อนหน้านี้หรือไม่”

หากไม่แพ้ยากลุ่ม penicillins ให้ใช้ cloxacillin หรือ dicloxacillin ขนาด 250-500 mg รับประทาน วันละ 4 ครั้ง
หรือ ค�ำนวณจากน�้ำหนักตัว 50 mg/kg ต่อวัน แบ่งให้ทุก 6 ชั่วโมง ติดต่อกันนาน 7-14 วัน(5) ในกรณีที่หากสงสัยติดเชื้อ
แกรมลบ ร่วมด้วย (เช่น ผู้ป่วยมีภาวะติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะมาก่อนหน้า ผู้ป่วยที่สูบบุหรี่) หรือเชื้อแกรมบวกที่ดื้อยา
(เช่น ผู้ป่วยมีภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนมาก่อนหน้า) อาจพิจารณาใช้ยา amoxicillin/clavulanic acid
ขนาด 500 mg รับประทาน ทุก 8 ชัว่ โมง ติดต่อกันนาน 7-14 วัน(5)

แต่หากซักประวัติแล้วพบว่าผู้ป่วย มีอาการแพ้
ยากลุ่ม penicillins เช่น รับประทานยากลุ่ม penicillins
แล้วมีอาการบวม ผืน่ คัน หรือหายใจไม่ออก ให้หา้ มใช้ยาก
ลุม่ penicillins และเปลีย่ นไปใช้ยากลุม่ macrolides เช่น
erythromycin ethylsuccinate ขนาด 200 mg
รั บ ประทาน วั น ละ 4 ครั้ ง ติ ด ต่ อ กั น นาน 7-14 วั น
หรือ ค�ำนวณจากน�้ำหนักตัว 1.25 mg/kg ต่อวัน แบ่ง
ให้ทุก 6 ชั่วโมง(5) แต่การใช้ยากลุ่ม macrolides มีข้อ
ควรพิจารณาบางประการ เช่น ระวังการเกิดอันตรกิริยา
กับยาอื่นที่ผู้ป่วยใช้อยู่ ยา erythromycin estolate จะถูกดูดซึมในรูปเอสเทอร์ แล้วแตกตัวให้ erythromycin base ที่ตับ
ท�ำให้ระดับยาในเลือดจะสูงกว่า sterate salt แต่มีผลต่อตับมาก ดังนั้นห้ามใช้ estolate salt ในสตรีตั้งครรภ์ เป็นต้น(8)
ส�ำหรับกรณีที่มีการกลับเป็นซ�้ำหลายๆครั้ง อาจพิจารณาใช้ doxycycline ขนาด 100 mg รับประทานวันละครั้ง ติดต่อกัน
นาน 10 วัน การรักษาโดยไม่ใช้ยา แนะน�ำการประคบอุน่ บริเวณรอยโรค แต่ตอ้ งค�ำนึงถึงความสะอาดของลูกประคบร่วมด้วย(5)

47 วารสารสมาคมเภสั47
ชกรรมชุมชน
การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่มีภาวะตากุ้งยิงในร้านยา

รูปที่ 3 แนวทางการรักษาภาวะตากุ้งยิง ด้วยการใช้ยา

พิจารณาจากอาการ
เป็นตากุ้งยิงภายนอก
อาการไม่รุนแรง
ใช้ยาต้านจุ ลชี พ ชนิดทาเฉพาะที่ ตากุ้งยิงภายใน
และออกฤทธิ์กว้าง chalazion
เป็นตากุ้งยิงภายนอก
อาการรุ นแรง
การมองเห็น
ผลต่อ
ว น
ั หรือส่ง
7- 1 4
รไ ม ด
่ ีขนึ ้ ใน
พิจารณาประวัติแพ้ penicillins อากา

ไม่แพ้ penicillins
cloxacillin หรือ dicloxacillin ขนาด 250-500 mg รับประทาน วันละ 4 ครัง้
หรือ ค�ำนวณจากน�้ำหนักตัว 50 mg/kg ต่อวัน แบ่งให้ทุก 6 ชั่ วโมง ติดต่อกันนาน 7-14 วัน

แพ้ penicillin
erythromycin ethylsuccinate ขนาด 200 mg รับประทาน วันละ 4 ครัง้ ติดต่อกันนาน 7-14 วัน
อาจพิจารณาใช้ยา amoxicillin/clavulanic acid ขนาด 500 mg รับประทาน ทุก 8 ชั่ วโมง ติดต่อกันนาน 7-14 วัน
กรณีสงสัยติดเชื้ อแกรมลบ หรือแกรมบวกที่ดื้อยา

ต้องแจ้งผู ป้ ่ วยด้วยว่า “ก่อนหยอดตา หรือ ป้ายตา ต้องยาต้องล้างมือให้สะอาดทุกครัง้ ” และ “ห้ามเจาะหนองออกเองโดยเด็ดขาด”

กรณีท่มี กี ารกลับเป็นซ�้ ำหลายๆ ครัง้ อาจพิจารณาใช้ doxycycline ขนาด 100 mg รับประทานวันละครัง้ ติดต่อกันนาน 10 วัน

สามารถใช้การประคบอุ ่นบริเวณรอยโรค ร่วมด้วยได้ แต่ต้องค�ำนึงถึงความสะอาดของลูกประคบด้วย

แนวทางการป้องกันการกลับมาเป็นซ�้ ำ
เนื่องจาก ภาวะตากุ้งยิง มีสาเหตุหลักจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และมักพบว่าเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มักพบบริเวณผิวหนัง
ดังนั้นแนวทางการป้องกันการกลับเป็นซ�้ำ(1-4) คือ
การรักษาความสะอาดบริเวณ หน้า และ มือ ด้วยการล้างมือด้วยน�้ำสะอาดเป็นประจ�ำ ห้ามขยี้ตา เกา บริเวณตา
ในกรณีที่ป่วยเป็นหวัด หรือมีอาการของภาวะติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน ให้ใส่ผ้าปิดปาก เพื่อป้องกันไม่ให้
น�ำมือมาปิดปากเวลาจาม

วารสารสมาคมเภสัชกรรมชุมชน 48
การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่มีภาวะตากุ้งยิงในร้านยา

ตัวอย่างค�ำถาม
ที่พบบ่อยในร้านยา
และแนวทางการตอบค�ำถาม
ค�ำถาม
“สามารถน�ำยาป้ายตามาทาผิวหนัง และน�ำยาทาผิวหนังไปป้ายตาได้หรือไม่”
ค�ำตอบ
ไม่ควรน�ำต�ำรับยาป้ายตา มาใช้ทาผิวหนัง เพราะปลายหลอดอาจปนเปื้อนกับเชื้อโรคที่ผิวหนัง หากน�ำกลับไป
ป้ายตาอีกอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อซ�้ำที่ดวงตาได้ การน�ำต�ำรับยาป้ายตาซึ่งมีความเข้มข้นของตัวยาที่ต�่ำกว่าต�ำรับยาทา
ผิวหนังนั้นอาจท�ำให้การรักษาโรคผิวหนังไม่ได้ผลด้วยเช่นกัน
ไม่ควรน�ำยาทาผิวหนังมาใช้ป้ายตา เพราะรูปแบบของภาชนะบรรจุไม่เหมาะสมที่จะป้ายตา (ปลายหลอดยา
เป็นปลายหัวตัด) และก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้ยารวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อโรคที่หลอดยา
ด้วยเช่นกัน

ค�ำถาม
“ขณะที่เป็นตากุ้งยิง ต้องปิดตาหรือไม่”
ค�ำตอบ
ไม่ควรปิดตา เพราะอาจท�ำให้เกิดความอับชื้น และเกิดการสะสมของเชื้อบริเวณรอยโรคได้ อาจท�ำให้โรค
หายช้า หรือ มีอาการรุนแรงขึ้นได้

ค�ำถาม
“สามารถใช้เลนส์สัมผัส ล้างตา หรือ ใช้น�้ำตาเทียม ขณะเป็นตากุ้งยิงได้หรือไม่”
ค�ำตอบ
ไม่ควรใช้ เลนส์สัมผัส ขณะเป็นตากุ้งยิง เพราะ เลนส์สัมผัสเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดการสะสมของเชื้อโรค
การล้างตาสามารถท�ำได้ แต่ต้องล้างตาก่อนทายา และ ระวังการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ส�ำหรับน�้ำตาเทียมสามารถใช้ได้
แต่ในภาวะตากุ้งยิงจะมีน�้ำตาไหลในปริมาณมากอยู่แล้ว ดังนั้น น�้ำตาเทียมอาจไม่มีความจ�ำเป็น

ค�ำถาม
“สามารถใช้ยาสเตรียรอยด์ เพื่อรักษาภาวะตากุ้งยิงได้ในกรณีใดบ้าง”
ค�ำตอบ
ใช้ยาสเตียรอยด์เฉพาะกรณีที่มั่นใจว่า ไม่มีการติดเชื้อไวรัสร่วมด้วย (ให้พิจารณาความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัส
จากความสะอาดของมือ และโรคร่วม เช่น ไข้หวัด หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน) และพบว่าการใช้
ยาสเตียรอยด์ โดยเฉพาะในรูปแบบ ยาผสมกับยาต้านจุลชีพชนิดออกฤทธิ์กว้าง เป็นระยะเวลานานๆ อาจท�ำให้เกิดการ
ติดเชื้อแทรกซ้อน กับเชื้อเดิมที่รอยโรค (superinfection) และท�ำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้นได้(9) อาการแสดงของ
superinfection ที่อาจพบ เช่น ตุ่มหนองมีขนาดใหญ่ขึ้น มีหนองมากขึ้น มีการอักเสบมากขึ้น เป็นต้น

49 วารสารสมาคมเภสั49
ชกรรมชุมชน
การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่มีภาวะตากุ้งยิงในร้านยา

ค�ำแนะน�ำในการใช้ยา และการเก็บรักษา ยาหยอดตา และยาป้ายตา


วิธีใช้ยาหยอดตา
1. ล้างมือให้สะอาด
2. เปิดฝาครอบขวดยาออก โดยไม่วางฝาคว�ำ่ ลงบนพื้น ในกรณีที่
เป็นยาที่มีหลอดหยดซึ่งสามารถน�ำออกมาจากขวดได้ ให้ยังไม่ต้องน�ำ
ออกมานอกขวด
3. ในกรณีที่เป็นยาที่มีหลอดหยดซึ่งสามารถน�ำออกมาจาก
ขวดได้ ให้ใช้มือข้างหนึ่งดูดยาเข้าไปในหลอดหยด
4. นอนหรือนั่งเงยหน้าขึ้น
5. ค่ อยๆ ใช้มืออีก ข้างหนึ่ง ดึง เปลือกตาล่า งลงมาให้เป็น
กระพุ้ง และเหลือบตาขึ้นด้านบน
6. หยอดตา 1 หยด ลงด้านในกระพุ้งของเปลือกตาล่าง ใน
ขั้นตอนนี้ต้องแนะน�ำผู้ป่วยให้ระวังอย่าให้ปลายหลอดหรือส่วนใดของ
หลอดยาสัมผัสกับ ตา ขนตา เปลือกตา ผิวหนัง หรือส่วนใดๆ
7. ปล่อยมือจากการดึงเปลือกตาล่าง และอย่ากระพริบตาสักครูห่ นึง่ (ประมาณ 30 วินาที) หรืออาจหลับตาสักครูห่ นึง่
8. เก็บหลอดหยด และปิดฝาหลอดยาให้สนิท
9. อื่นๆ
หากต้องหยอดตามากกว่า 1 หยด ให้หยดครั้ง
แรก 1 หยดก่อน ท�ำจนครบขั้นตอน และเริ่มขั้นตอนครั้งใหม่อีก 1
หยด แต่ละหยอดห่างกัน 1-5 นาที
หากต้องการหยอดตามากกว่า 1 ชนิดขึ้นไป ควร
เว้นระยะห่างการหยอดตาแต่ละชนิดประมาณ 5-10 นาที และหากยา
อีกชนิดหนึ่งเป็นยาขี้ผึ้งป้ายตา ให้หยอดยาก่อนแล้วรอประมาณ 10
นาที จึงใช้ยาขี้ผึ้งป้ายตา
หากหยอดตามียาล้นออกมาให้ซับด้วยผ้า หรือ
กระดาษที่สะอาด
ห้ามใช้ยาตาร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจเสี่ยงต่อการ
ติดเชื้อแทรกซ้อนได้
การหยอดตา อาจท�ำให้มอี าการตาพร่ามัวชัว่ ขณะ
ดังนั้นหลังจากใช้ยาแล้วอย่าขับรถ หรือท�ำกิจกรรมที่อาจเสี่ยงต่อการ
เกิดอุบัติเหตุ ให้รอจนกว่าการมองเห็นจะกลับสู่ภาวะปกติก่อน
ห้ามล้างผลิตภัณฑ์ยาหยอดตา
หากลืมหยอดตา ให้หยอดทันทีที่นึกขึ้นได้ แต่
หากใกล้ระยะเวลาที่ต้องหยอดตาครั้งต่อไปให้เลื่อนไปหยอดครั้งต่อไปได้เลย และไม่ต้องเพิ่มปริมาณการหยอดตาเป็น
2 เท่า
หากยาหยอดตาอยู่ในรูปแบบยาแขวนตะกอน ให้แนะน�ำผู้ป่วยเขย่าขวดก่อนหยอดตาทุกครั้ง
ผู้ใช้เลนส์สัมผัส ควรถอดออกก่อนใช้ยาหยอดตา
ยาหยอดตาบางชนิด เมื่อหยอดแล้วอาจท�ำให้ขมในล�ำคอได้ เพราะตาและคอมีช่องทางเชื่อมต่อกัน
ให้แนะน�ำผู้ป่วยกดบริเวณหัวตาเบาๆจะช่วยลดการไหลของยาลงคอได้

วารสารสมาคมเภสัชกรรมชุมชน 50
การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่มีภาวะตากุ้งยิงในร้านยา

วิธีเก็บรักษายาหยอดตา
1. ยาหยอดตาขวดทีเ่ ปิดใช้แล้ว ห้ามใช้เกิน 1 เดือน
ถึงแม้ยังมียาเหลือก็ให้ทิ้งไป
2. เก็บ ณ อุณหภูมิห้อง ระวังความร้อน และ
เก็บให้พ้นมือเด็ก
3. ยาหยอดตาบางชนิดต้องเก็บในตู้เย็น ดังนั้น
ต้องอ่านข้อแนะน�ำบนฉลากให้เข้าใจ และในกรณีที่ยาต้อง
เก็บในตู้เย็นก่อนน�ำมาใช้ ควรคลึง หรือ ก�ำขวดยา ให้
อุณหภูมิของยาใกล้เคียงกับอุณหภูมิร่างกายก่อนใช้ยา

วิธีใช้ยาขี้ผึ้งป้ายตา
1. ล้างมือให้สะอาด
2. เปิดจุกหลอดยาไว้ โดยวางฝาให้หงายขึ้น
3. นอนหรือนั่งเงยหน้าขึ้น
4. ค่อยๆ ใช้มืออีกข้างหนึ่งดึงเปลือกตาล่างลงมาให้เป็นกระพุ้ง
และเหลือบตาขึ้นด้านบน
5. ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับหลอดขี้ผึ้งป้ายตา และบีบขี้ผึ้งขนาดยา
ประมาณ 1 เซนติเมตร หรือ ครึ่งนิ้ว ลงด้านในกระพุ้งเปลือกตาล่าง ระวังอย่า
ให้ปลายหลอดหรือส่วนใดของหลอดยาสัมผัสกับ ตา ขนตา เปลือกตา ผิวหนัง
หรือส่วนใดๆ
6. ปล่อยมือจากการดึงเปลือกตาล่าง
7. ค่อยๆหลับตา และกลอกลูกตาทุกทิศทางในขณะที่ยังคงหลับตา ไป
มาสักครู่
8. ปิดฝาจุกหลอดยาให้สนิท
9. หากต้องการป้ายตามากกว่า 1 ชนิดขึ้นไป ควรเว้นระยะห่างการ
ป้ายตาแต่ละชนิดประมาณ 10 นาที และหากยาอีกชนิดหนึ่งเป็นยาขี้ผึ้งป้ายตา
ให้หยอดยาก่อนแล้วรอประมาณ 10 นาที จึงใช้ยาขี้ผึ้งป้ายตา
10. อื่นๆ
การป้ายตา อาจท�ำให้มีอาการตาพร่ามัวชั่วขณะ ดังนั้นหลัง
จากใช้ยาแล้วอย่าขับรถ หรือท�ำกิจกรรมที่อาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ให้รอ
จนกว่าการมองเห็นจะกลับสู่ภาวะปกติก่อน
ห้ามล้างผลิตภัณฑ์ยาขี้ผึ้งป้ายตา
หากลืมป้ายตา ให้ป้ายทันทีที่นึกขึ้นได้ แต่หากใกล้ระยะเวลาที่ต้องป้ายตาครั้งต่อไปให้เลื่อนไปป้ายตา
ครั้งต่อไปได้เลย และไม่ต้องเพิ่มปริมาณการใช้เป็น 2 เท่า

วิธีเก็บรักษายาขี้ผึ้งป้ายตา
1. เก็บ ณ อุณหภูมิห้อง ระวังความร้อน และเก็บให้พ้นมือเด็ก

51 วารสารสมาคมเภสั51
ชกรรมชุมชน
การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่มีภาวะตากุ้งยิงในร้านยา

ตัวอย่าง แนวทางการเขียนใบส่งต่อแพทย์ กรณี ตากุ้งยิงที่มีอาการรุนแรง

เรียน แพทย์ผู้เกี่ยวข้อง
ผู้ป่วยมีภาวะตากุ้งยิง และมีความรุนแรงของโรคมาก คือ XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX
การรักษาที่ได้รับมาก่อนหน้านี้ คือ XXXXXXXXXXXXXXXXXXX ได้รับมาแล้ว X วัน ผู้ป่วยยังคงไม่ตอบสนอง
ต่อการรักษา และพบว่ามีอาการรุนแรงขึ้น ได้แก่ อาการ XXXXXXXXXXXXXXX ดังนั้น เภสัชกรจึงส่งตัวผู้ป่วย
รายนี้ มาพบท่าน เพื่อโปรดพิจารณาให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ลงชื่อเภสัชกร XXXXXXXXXX
ที่อยู่ที่ติดต่อได้สะดวก คือ XXXXXXXXXX

บทสรุป
การรักษาภาวะตากุ้งยิงในร้านยา เริ่มจากการวินิจฉัยแยกโรค ให้การรักษา และ ตัดสินใจส่งต่อแพทย์ในกรณี
ที่มีอาการรุนแรง หรือ ต้องได้รับการท�ำหัตการทางการแพทย์ เช่น กรณีตากุ้งยิงภายนอกที่มีอาการรุนแรง ตากุ้งยิง
ภายใน และ chalazion การเลือกจ่ายยา ให้พิจารณาจากความรุนแรงของโรคเป็นหลัก ถ้าอาการตากุ้งยิงไม่รุนแรงให้ใช้
ยาต้านจุลชีพชนิด หยอดตา หรือ ป้ายตา และ ออกฤทธิ์กว้าง เป็นอันดับแรก หากอาการรุนแรงให้ใช้ยาต้านจุลชีพ ชนิด
รับประทาน โดยเลือกใช้ยากลุ่ม penicillins เป็นหลัก หากผู้ป่วยไม่มีประวัติแพ้ยากลุ่มนี้ หากอาการของโรครุนแรงขึ้น
ให้พิจารณาส่งต่อแพทย์ และต้องแนะน�ำผู้ป่วยทุกรายว่า “ห้ามเจาะหนองออกเองโดยเด็ดขาด” ในการป้องกันการกลับ
เป็นซ�้ำ แนวทางที่เหมาะสมที่สุด คือ การรักษาผิวหนังบริเวณหน้า และ มือ ให้สะอาดอยู่เสมอ

เอกสารอ้างอิง
1. Deibel JP, Cowling K. Ocular inflammation and infection. Emerg Med Clin North Am. 2013
May;31(2):387-97. doi: 10.1016/j.emc.2013.01.006.
2. American Academy of Ophthalmology. Hordeolum and chalazion. In: Basic and clinical science course.
Section 7: Orbit, eyelids, and lacrimal system. San Francisco, CA: American Academy of Ophthalmology;
2008-2009:165-6.
3. Lederman C, Miller M. Hordeola and chalazia. Pediatr Rev 1999;20:283-4.
4. Kook D, Kampik A. Emergency checklist: hordeolum. MMW Fortschr Med. 2009 Mar 19;151(12):41.
5. Chutima P, Parima H. Current pattern treatment of hordeolum by ophthalmologists in Thailand. J Med
Assoc Thai 2011;94(6):721-4.
6. Lindsley K, Nichols JJ, Dickersin K. Interventions for acute internal hordeolum. Cochrane Database Syst
Rev. 2013 Apr 30;4:CD007742. doi: 10.1002/14651858.CD007742.pub3.
7. Hirunwiwatkul P, Wachirasereechai K. Effectiveness of combined antibiotic ophthalmic solution in the
treatment of hordeolum after incision and curettage: a randomized, placebo-controlled trial: a pilot study. J Med
Assoc Thai. 2005 May;88(5):647-50.
8. Bryan S, Melissa A, Carin S, Gary O. Macrolides Drug Class Review. University of Utah college of
pharmacy. 2014:5-25.
9. Bat-Chen F, Ran DG. Anti-staphylococcal treatment in dermatitis. Can Fam Physician. 2011 Jun; 57(6):
669-71.

วารสารสมาคมเภสัชกรรมชุมชน 52

You might also like