You are on page 1of 5

โรคต่อมไขมันอักเสบ (面游风 Seborriheic Dermatitis )

1. ขอบเขต (范围)

หลักการวินิจฉัยและรักษาเล่มนี้ระบุเรื่องการตรวจ วินิจฉัยโรค วิเคราะห์แยก


ประเภทและการรักษาของโรคต่อมไขมันอักเสบ

ตามคู่มือเล่มนี้เหมาะแก่การวินิจฉัย และรักษาโรคต่อมไขมันอักเสบ

2. ศัพท์เทคนิคและความหมาย (术语和定义)

ศัพท์เทคนิคและความหมายต่อไปนี้คือคำที่ใช้ในหลักการวินิจฉัยและรักษา
เล่มนี้

เมี่ยนโหยวเฟิ ง(面游风)เทียบเคียงกับโรคในทางแพทย์แผนตะวันตกคือ โรคต่อมไข


มันอักเสบ(Seborrheic dermatitis)

เมี่ยนโหยวเฟิ ง มักพบได้ตำแหน่งบริเวณที่มีการขับของต่อมไขมันเช่น หน้า


ศีรษะ อก หลัง เป็ นต้น มักพบแผ่นสีแดงเหลืองขนาดเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน มีสะเก็ดสี
เหลืองลักษณะมันเหนียวคลุมอยู่ด้านบนซึ่งเป็ นลัษณะสำคัญของกลุ่มโรคผิวหนังที่มี
อาการคันเรื้อรังชนิดหนึ่ง

3.การวินิจฉัย

3.1 ข้อสำคัญการวินิจฉัย

เมี่ยนโหยวเฟิ งมักเกิดขึ้นในเด็กแรกเกิดและผู้ใหญ่วัยกลางคนบริเวณ หนัง


ศีรษะ ขมับ ตาคิ้ว ระหว่างคิ้ว ร่องระหว่างจมูกกับปาก และหลังหู บริเวณหูด้าน
นอก และอาจเกิดขึ้นได้บริเวณหน้าอก หลัง

เมี่ยนโหยวเฟิ งในวัยกลางคนจะมีลักษณะของผื่นได้ทั้งรอยแดงเล็กน้อยถึง
มาก บริเวณด้านบนมีขุยหรือมีสะเก็ดสีเหลืองมัน มักเริ่มเป็ นจากบริเวณศีรษะก่อน
การดำเนินโรคยาวนาน รอยโรคบริเวณหนังศีรษะหากอาการไม่หนักมากอาจมี
ลักษณะสะเก็ดขุยสีขาวละเอียด ในผู้ที่เป็ นหนักอาจพบสะเก็ดหนาสีเหลืองมัน
ลักษณะคล้าย gypseum pityriasis และอาจมีกลิ่นเหม็นร่วมด้วย

3.2 การวินิจฉัยโรคและการแยกแยะโรค

3.2.1 ไป๋ ปี้บริเวณหนังศีรษะ (โรคสะเก็ดเงิน)

รอยโรคมีลักษณะ Papule, Plaque สีแดง บนรอยโรคมีสะเก็ดสีขาวเงินหลาย


ชั้น ขอบเขตชัดเจน เส้นผมบริเวณรอยโรคจะมีลักษณะรวมเป็ นกระจุก บริเวณอื่นๆ
ตามร่างกายมักมีรอยโรคลักษณะเดียวกัน

3.2.2 เฟิ งเร่อชวง (ผื่นกุหลาบ)

เฟิ งเร่อชวงโดยส่วนใหญ่แล้วมักเกิดบริเวณคอ ลำตัว และระยางค์ระยะใกล้


ทั้งสี่ โดยทั่วไปไม่ลุกลามไปที่บริเวณศีรษะ มักมีผื่นแม่เกิดก่อน ลักษณะรอยโรคเป็ น
ผื่นวงรีขึ้นตามแนวยาวไปกับลายผิว ปกคลุมด้วยขุยคล้ายแกลบ ไม่มีลักษณะมัน
เหนียว ไม่มีความสัมพันธ์กับบริเวณที่มีการขับไขมัน

3.2.3 ซือชวง (ผื่นผิวหนังอักเสบ eczema)

ซือชวงมักมีลักษณะหลากหลายรูปแบบ เช่น Papule Vesicle รอยแดง erosion

exudation ขอบเขตไม่ชัดเจน ไม่มีความมันเหนียวและขุย อาการคันรุยแรง มักกลับ


เป็ นซ้ำ

3.2.4 เกลื้อน

จำนวนรอยโรคไม่มาก ไม่สมมาตร บรอเวณกึ่งกลางรอยโรคเมื่อดีขึ้นจะมี


ลักษณะแผ่ออกไปรอบข้าง ขอบนูน มีอาการอักเสบชัดเจน ขุยไม่มีลักษณะมัน
เหนียว ตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อรา

4.การวินิจฉัย

4.1 กลุ่มอาการ ลมร้อนเลือดแห้ง


มักขึ้นบริเวณศีรษะและใบหน้า มีผื่นสีแดงอ่อน บนผื่นมีขุยแห้งลอกไม่หยุด
ลักษณะคล้ายแกลบ หลุดลอกได้ง่าย คนไข้อาจมีอาการคันเล็กน้อย มักมีอาการปาก
แห้งลิ้นแห้งผาด ท้องผูก ลิ้นแดงฝ้ าบาง ชีพจรเล็กเร็ว

4.2 กลุ่มอาการม้ามกระเพาะร้อนชื้น

พบบริเวณศีรษะใบหน้า หลังอก รวมถึงซอกรักแร้เป็ นต้น พบผื่นแดง ผื่น


เหลืองแดงขนาดใหญ่ คลุมด้วยขุยชนิดมันเป็ นจำนวนมาก หรือ หลังมี
exudation ปริมาณน้อยแล้วเกิดสะเก็ดผิวสีเหลืองหนา รู้สึกคัน มักมีอาการเบื่อ
อาหารร่วม คอแห้งไม่อยากดื่มน้ำ อุจจาระกลิ่นรุนแรง ลิ้นแดง ฝ้ าเหลืองเหนียว
ชีพจรลื่นเร็ว

5.การรักษา

5.1 หลักการรักษา

การรรักษาเมี่ยนโหยวเฟิ งแบ่งเป็ นสองชนิดได้แก่ ชนิดแห้งและชนิดชื้น หลัก


สำคัญในการรักษาคือ ระบายร้อนขับความชื้น ขับลมระงับคัน หรือ บำรุงม้าม
ระบายชี่ตับ บำรุงเลือดเพิ่มความชุ่มชื้น ทำให้เลือดเย็นเพิ่มสารอิน

5.2 การรักษาตามกลุ่มอาการ

5.2.1 กลุ่มอาการ ลมร้อนเลือดแห้ง

หลักการรักษา : ขับลมระบายร้อน บำรุงเลือดเพิ่มความชุ่มชื้น

ตำรับยา : 消风散(《外科正宗》)กับ 当归饮子(《外科正宗》) เพิ่มลด

ยาที่ใช้บ่อย : ตี้หวง(地黄) ตังกุย(当归) เซิงสือเกา(生石膏) หนิวป้ างจื่อ(牛蒡


子) หลิงเซียวฮวา(凌霄花) ขู่เซิน(苦参) หมู่ตันผี(牡丹皮) ฝางเฟิ ง(防风) ขู่
เซิน(苦参) ฉานเทว่ย(蝉蜕) หูหมาเหริน(胡麻仁) หนิวป้ างจื่อ(牛蒡子) ตี้
หวง(地黄) หมู่ตันผี(牡丹皮) เช่อเสา(赤芍) ตันเซิน(丹参) กันเฉ่า(甘草)
เป็ นต้น
เพิ่มลด : ผู้ที่มีอาการคันรุนแรงเพิ่ม ไป๋ เซียนผี(白鲜皮) จี๋ลี่(蒺藜) นอนไม่
หลับฝั นมากเพิ่ม เหอฮวนผี(合欢皮) ฝูเสิน(茯神) รอยโรคมีลักษณะแห้งชัดเจนเพิ่ม
เสวียนเซิน(玄参) ไม่ตง(麦冬) เทียนฮวาเฝิ่ น(天花粉) ผู้ที่มีอาการปวดเอวหัวเข่ารวม
ทั้งหลั่วเร็วฝั นเปี ยกเพิ่ม หนิวซี(牛膝) ซานจูยหวี(山茱萸) โก่วฉีจื่อ(枸杞子) อู่
เว่ยจื่อ(五味子)

5.2.2 กลุ่มอาการ ม้ามกระเพาะร้อนชื้น

หลักการรักษา : ระบายร้อนขับความชื้น ปรับสมดุลม้ามกระเพาะ

ตำรับยา : 泻黄散(《小二药证直诀》)กับ 茵陈蒿汤(《伤寒论》)เพิ่มลด

ยาที่ใช้บ่อย :หวงฉิน(黄芩) (山楂) ฝางเฟิ ง(防风) จือจื่อ(栀子) กว่างฮั่วเซี


ยง(广藿香) อี้อี่เหริน(薏苡仁) ถู่ฝูหลิง(土茯苓) กันเฉ่า(甘草) อินเฉิน (茵陈) จู๋เยี่ย (竹

叶) เป็ นต้น

เพิ่มลด : ท้องผูก เพิ่ม ต้าหวง(大黄) ใส่ทีหลัง(后下) หงุดหงิดกระวนกระวาย


ปากขมปากเหม็น เสียดหน้าอกและชายโครง ผู้ที่มีอาการค่อนไปทางไฟตับกำเริบ
เพิ่ม หลงต่าน(龙胆) ไฉหู(柴胡) เชอเฉียนจื่อ(车前子) อ่อนแรงท้องอืด ถ่ายเหลว ผู้ที่
มีอาการไปทางม้ามพร่องใช้ร่วมกับตำรับ 参苓白术散 หรือเพิ่ม ตั่งเซิน(党参) ฝูหลิง(茯
苓) ไป๋ จู๋(白术) เฉินผี(陈皮) ซาเหริน(砂仁) ผู้ที่มักใจร้อน ทำงานเครียดหรือมี
ความเครียดมักทำให้อาการกำเริบ มีอาการไปทางชี่ตับติดขัดเพิ่ม ไฉหู(柴胡) ไป๋
เสา(白芍) ป๋ อเหอ(薄荷) เซียงฟู่(香附)เป็ นต้น

5.3 ยาใช้ภายนอก (药物外治)

ผู้ที่มีลักษณะม้ามกระเพาะร้อนชื้นอาจใช้ ขู่เซิน(苦参) หวังปู้หลิวสิง(王


不留行) หมิงฝาน(明矾) ชางเอ๋อจื่อ(苍耳子) เสอชวงจื่อ(蛇床子) ตี้ฝูจื่อ(地肤子) หวงป๋ อ(黄
柏) เป็ นต้นนำมาต้มอาบ

ผู้ที่ลักษณะลมร้อนเลือดแห้ง อาจเลือกใช้《外科正宗》ไห่อ้ายทัง(海艾汤)
(อ้ายเย่(艾叶)、จวี๋ฮวา(菊花)、เกาเปิ่ น(藁本)、ม่านจิงจื่อ(蔓荆子)、จิ่งเจี้ย(荆芥)、
ฝางเฟิ ง(防风)、ป๋ อเหอ(薄荷)、กว่างฮั่วเซียง(广藿香)、กันซง(甘松))
ผู้จัดทำ

มนัญญา อนุรักษ์ธนากร

You might also like