You are on page 1of 30

รายงานเรื่อง

การประยุกต์ใช้ DMAIC Model ภายในโรงงานกระสอบพลาสติก


สาน

เสนอ

รศ.ดร.ชุมพล ยวงใย

จัดทำโดย

นายชยานันต์ วิศยทักษิณ 61010213

นายฐาปนนท์ คุ่ยเสงี่ยม 61010268

นายณพวัฒน์ จูมงคล 61010286

รายงานเรื่องนี้เป็ นส่วนหนึ่งของวิชา QUALITY MANAGEMENT


รหัสวิชา 01216801
หลักสูตรคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ปี การ
ศึกษา 2564
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำนำ

รายงานเรื่องนี้เป็ นส่วนหนึ่งของวิชา QUALITY MANAGEMENT


โดยได้มีการนำหลักการของ DMAIC มาประยุกต์ใช้กับโรงงานเพื่อช่วยใน
การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพเพิ่มเติมให้กับผลิตภัณฑ์ ข้อดีหลักๆ
ของการใช้ DMAIC ทำให้มีกรอบในการทำงานที่ได้มาตรฐาน สามารถ
ดำเนินการเปลี่ยนแปลงแก้ไข และแนวทาง 5 ขั้นตอนที่ชัดเจนจะช่วยให้
ไม่พลาดข้อมูลในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการ

เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้ข้อมูลที่อยู่ในรายงานเป็ นข้อมูลที่
สมมุติอ้างอิงมาจากงานวิจัยเรื่อง Waste reduction of
polypropylene bag manufacturing process using Six Sigma
DMAIC approach: A case study เพื่อแสดงการประยุกต์ใช้ DMAIC

คณะผู้จัดทำ
สารบัญ

คำนำ
สารบัญ
สารบัญรูป
สารบัญตาราง
1. รายละเอียดผลิตภัณฑ์ 1
1.1 ข้อมูลเบื้องต้น 1
1.2 กระบวนผลิต 1
1.2.1 การทอผ้าพลาสติก 1
1.2.2 พิมพ์ลายบนกระสอบ 2
1.2.3 เคลือบลามิเนต 2
1.2.4 ตัดและเย็บก้นกระสอบ 2
1.3 ปั ญหาที่พบ 2
2. การประยุกต์ใช้ DMAIC ในการแก้ปั ญหา 3
2.1 Define 3
2.2 Measure 4
2.2.1 การระบุ KPIVs และ KPOVs 4
2.3 Analyze 5
2.3.1 การเลือกแผนกเพื่อทำการปรับปรุง 5
2.3.2 การคัดเลือก KPIVs และ KPOVs 6
2.4 Improve 8
2.4.1 การออกแบบการทดลอง (DOE) 8
2.4.2 ผลจากการปรับปรุงกระบวนการ 1
1
2.5 Control 1
2
2.5.1 การควบคุมกระบวนการด้วยเครื่องมือทางสถิติ 1
(SPC) 2
3. สรุปผลการดำเนินงาน 1
4
อ้างอิง 1
5

สารบัญรูป

รูปที่ 1 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ 1
รูปที่ 2 Project Charter 3
รูปที่ 3 SIPOC Model 4
รูปที่ 4 แผนภูมิพาเรโตของการปฏิเสธของเสียในแต่ละแผนก 6
รูปที่ 5 x – R Chart ของความแข็งแรงก่อนปรับปรุง 7
รูปที่ 6 ผลการทำ DOE 9
รูปที่ 7 Residual Plots ของ DOE 9
รูปที่ 8 Normal Plot ของ DOE 1
0
รูปที่ 9 Pareto Chart ของ DOE 1
0
รูปที่ 10 Main Effect Plot ของ DOE 1
0
รูปที่ 11 Interaction Plot 1
0
รูปที่ 12 x – R Chart ของความแข็งแรงหลังการปรับปรุง 1
3

สารบัญตาราง

ตารางที่ 1 การระบุ KPIVs และ KPOVs ของแต่ละกระบวนการ 5


ผลิต
ตารางที่ 2 อัตราการปฏิเสธของเสียต่อเดือนโดยแบ่งตามแผนก 5
ตารางที่ 3 Cause and Effect Matrix ของ KPIVs และ KPOVs 7
ของกระบวนการทอผ้าพลาสติก
ตารางที่ 4 ปั จจัยและค่าระดับของปั จจัยในการทำ DOE 8
ตารางที่ 5 ตารางออกแบบการทดลอง DOE 9
ตารางที่ 6 ค่าของปั จจัยที่ทำให้ความแข็งแรงสูงสุด 1
1
ตารางที่ 7 เปรียบเทียบตัวชี้วัดก่อนและหลังการปรับปรุง 1
1
ตารางที่ 8 ข้อมูลความแข็งแรงหลังการปรับปรุง 1
2
ตารางที่ 9 นโยบายในการควบคุมคุณภาพ 1
3
1

1. รายละเอียดผลิตภัณฑ์

รูปที่ 1 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ

1.1 ข้อมูลเบื้องต้น
โรงงาน ก เป็ นผู้ผลิตกระสอบพลาสติกสาน (Polypropylene
Sacks) แบบครบวงจรรายใหญ่ในประเทศไทย โดยผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้แก่
กระสอบพลาสติกสาน กระสอบเคลือบลามิเนต กระสอบกราเวียร์ และ
กระเป๋ ากระสอบ
กลุ่มผลิตภัณฑ์เลือกมาศึกษาคือผลิตภัณฑ์ประเภทกระสอบเคลือบ
ลามิเนต เนื่องจากเป็ นผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการของลูกค้าสูงที่สุดในทั้ง
4 กลุ่มผลิตภัณฑ์ กระสอบประเภทนี้จะมีการเคลือบลามิเนตด้านนอก
(Laminate Bag) เพื่อให้เกิดความทนทานและเพิ่มคุณสมบัติป้ องกันการ
ซึมผ่านของทั้งอากาศและความชื้นที่จะเข้าไปยังด้านในกระสอบ เหมาะ
สำหรับสินค้าที่ต้องการควบคุมอัตราการซึมผ่านของอากาศและความชื้น
เป็ นพิเศษ เช่น ข้าว อาหารสัตว์ ปุ๋ย ซึ่งกระสอบเคลือบลามิเนต

1.2 กระบวนผลิต
1.2.1 การทอผ้าพลาสติก
แบ่งออกเป็ น 3 กระบวนการย่อย ได้แก่
2

1) คัดเลือกและผสมเม็ดพลาสติก
ทำการคัดเลือกชนิดพลาสติกให้เหมาะสมกับเครื่องจักร
และคุณสมบัติกระสอบที่ต้องการ รวมถึงสารเคมีประกอบอื่นๆ เพื่อเพิ่ม
คุณสมบัติบางประการ เช่น ความแข็งแรง ความยืดหยุ่น หรือเม็ดแม่สี
ต่างๆ หลังจากนั้นจะทำการผสมเม็ดพลาสติกจะโดยใช้เครื่องผสม
อัตโนมัติ เกลี่ยให้เข้ากัน เมื่อผสมเสร็จเรียบร้อยแล้วตามส่วนผสมที่
กำหนด เม็ดผสมจะถูกนำเข้าถังเก็บเพื่อรอการผลิต

2) เป่ าเส้นด้าย
นำเม็ดพลาสติกที่ผสมรวมกันแล้วมาเข้าเครื่องเป่ าด้าย
(Extrusion) โดยเม็ดผสมจะถูกหลอมละลายด้วยความร้อน และถูกรีด
ออกมาเป็ นแผ่นบาง ๆ จากหัว T-Die และผ่านถังน้ำเย็นเพื่อลดอุณหภูมิ
เพื่อให้ฟิ ล์มคงรูป หลังจากนั้นแผ่นฟิ ล์มพลาสติกจะถูกตัดออกมาเป็ นเส้น
เล็ก ๆ และผ่านกระบวนการอบด้วยเตาอบ เพื่อยืดออกเพิ่มอีก 5 - 6 เท่า
เส้นด้ายที่ผ่านกระบวนการยืดแล้วจะผ่านสู่เครื่องกรอเส้นด้าย (Winder)
โดยกรอเก็บเข้าแกนเหล็ก เพื่อนำไปใช้ในแผนกทอต่อไป
3) ทอกลมขึ้นรูปกระสอบ
เส้นด้ายที่ได้จากเครื่องเป่ ามาแล้ว จะถูกแบ่งได้เป็ น 2 ชนิด
คือ ด้ายยืนและด้ายพุ่ง ด้ายยืนจะถูกจัดวางไว้ที่คิวปั กหลอดด้าย ส่วนด้าย
พุ่งจะถูกนำเข้ากระสวยภายในเครื่องทอ จากนั้นเครื่องทอจะทำการทอ
เส้นด้ายสลับกัน เพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาเป็ นม้วนผ้ากระสอบ
3

1.2.2 พิมพ์ลายบนกระสอบ
การพิมพ์กระสอบแบ่งออกได้เป็ น 2 ประเภท คือ พิมพ์เฟล็กโซ่และ
กราเวียร์ โดยแบบเฟล็กโซ่ คือการพิมพ์โดยพิมพ์ลงบนกระสอบโดยตรง
ซึ่งเครื่องสามารถพิมพ์กระสอบได้พร้อมกันทั้ง 2 หน้าภายในครั้งเดียว
การพิมพ์แบบกราเวียร์ คือการพิมพ์ลงบนฟิ ล์ม BOPP ก่อนจะนำมา
เคลือบกับกระสอบเพื่อให้กระสอบมีลวดลายสวยงาม
1.2.3 เคลือบลามิเนต
เพิ่มคุณสมบัติป้ องกันความชื้นและอากาศ ซึมผ่านเข้าไปในกระสอบ
โดยจะนำม้วนผ้าเคลือบลามิเนตทั้งสองด้านด้วยพลาสติกพีพีอีกชั้นนึง
ด้วยเครื่องเคลือบลามิเนต
1.2.4 ตัดและเย็บก้นกระสอบ
ม้วนผ้ากระสอบที่ผ่านการเคลือบและพิมพ์แล้วจะถูกนำเข้าเครื่อง
ตัดตามความยาวของกระสอบที่ต้องการ ซึ่งกระสอบจะถูกตัดด้วยเส้น
ลวดหรือมีดที่มีความร้อนและความคมสูง ผ้าที่ตัดเรียบร้อยแล้วจะถูกนำ
เข้าเครื่องเย็บจักรอัตโนมัติเพื่อเย็บก้นกระสอบ

1.3 ปั ญหาที่พบ
ปั ญหาหลักที่พบในการผลิตกระสอบเคลือบลามิเนตคือ ของเสีย
และการทำซ้ำ (Rework) เนื่องจากไม่ผ่านมาตรฐานของโรงงานที่กำหนด
ไว้ นอกจากนี้ยังมีปั ญหาในการหยุดทำงานของเครื่องจักร ซึ่งจะทำให้
ประสิทธิภาพโดยรวมของโรงงานลดลง นำไปสู่ความไม่พอใจของลูกค้า
การยกเลิกคำสั่งซื้อ และการสูญเสียส่วนแบ่งการตลาด
4

2. การประยุกต์ใช้ DMAIC ในการแก้ปั ญหา


2.1 Define
เป็ นขั้นตอนการระบุกระบวนการ ปั ญหา เป้ าหมาย ขอบเขต และ
รายละเอียดอื่นของลูกค้าและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ โดยจะมีการใช้
Project Charter ซึ่งเป็ นเอกสารสรุปที่อธิบายโครงการที่ชัดเจนและมี
ความกระชับรัดกุมเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันของสมาชิกและระบุราย
ละเอียดต่าง ๆ เช่น ปั ญหา เป้ าหมาย ขอบเขตด้านเวลา หน้าที่ของ
สมาชิก เป็ นต้น ซึ่งจากการจัดทำ Project Charter ได้ผลดังรูปที่ 2

Project Charter
ชื่อ
การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตกระสอบเคลือบลามิเนต
โครงการ
Project
เริ่มต้น 22/01/2021 นางสาว ก.
Manager
Project
สิ้นสุด 22/11/2021 นาย ข.
Sponsor
ปั ญหาที่พบ
1) เปอร์เซ็นต์การปฏิเสธของเสียสูงถึง 5% ต่อเดือน
2) มีการทำ Rework มาก
3) เครื่องจักรหยุดทำงาน
เป้ าหมายของโครงการ ขอบเขตของโครงการ
1) ลดการผลิตของเสียลง 50% ศึกษาตั้งแต่รับวัตถุดิบมาไปจนถึง
ต่อเดือน ส่งมอบให้ลูกค้าของผลิตภัณฑ์
ประเภทกระสอบเพคลือบลามิเนต
5

โดยมีการเก็บข้อมูลเป็ นระยะเวลา
10 เดือน
แผนโครงการ สมาชิก
Define 22/01 28/02 นาย A
Measure 01/03 30/04 นาย B
Analyze 01/05 31/05 นาย O
Improve 01/06 31/08
Control 01/09 22/11

รูปที่ 2 Project Charter


นอกจากนี้ยังมีการใช้ SIPOC Model ซึ่งเป็ นแผนภาพที่แสดงภาพ
รวมของกระบวนการและองค์กรตั้งแต่ต้นน้ำจนไปถึงปลายน้ำ เพื่อสร้าง
ความเข้าใจในวัตถุประสงค์และขอบเขตของงานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจากการเก็บ
ข้อมูล ทำให้สามารถสร้างแผนภาพ SIPOC ได้ ดังรูปที่ 3

S I P O C
Suppliers Input Process Output Customer
การไฟฟ้ า เม็ดพลาสติก กระสอบ
คัดและผสมเม็ด โรงสีข้าว
นครหลวง โพลีโพรพิลีน พลาสติกสาน
เป่ าเส้นด้าย กระสอบ
การประปา
เม็ดสี เคลือบ โรงงานปุ๋ย
นครหลวง
ทอขึ้นรูป ลามิเนต
โรงงานผลิต กระสอบกรา โรงงานอาหาร
น้ำ พิมพ์ลาย
เม็ดพลาสติก เวียร์ สัตว์
ไฟฟ้ า กระเป๋ า ร้านค้าทั่วไป
เคลือบลามิเนต
กระสอบ

ตัดและเย็บ
6

สารเคมีอื่นๆ

รูปที่ 3 SIPOC Model

2.2 Measure
2.2.1 การระบุ KPIVs และ KPOVs
ในการระบุ KPIVs (Key Process Input Variables) และ KPOVs
(Key Process Output Variables) ของกระบวนการผลิตกระสอบ
เคลือบลามิเนต โดยแบ่งตามขั้นตอนการผลิต ได้ข้อมูลของ KPIVs และ
KPOVs ดังตารางที่ 1

กระบวนการ
KPIVs KPOVs
ผลิต
1) การทอผ้า - อุณหภูมิการเป่ า - ความยืดหยุ่น
พลาสติก (Extrusion) (Elongation)
- ความเร็วการเป่ า - ความแข็งแรง (Strength)
(Extrusion Speed) - ขนาดของเส้นด้าย
- อุณภูมิการหล่อน้ำ - ขนาดของแผ่นผ้าพลาสติก
(Cooling) - ความสม่ำเสมอของการ
- อุณหภูมิการอบ ทอ
- แรงในการยืดเส้นด้าย
7

- ความเร็วในการทอของ
เครื่องจักร
2) การพิมพ์ลาย - คุณภาพของสี - ความคมชัด
- ประสิทธิภาพเครื่องปริ้
นท์
3) การเคลือบลามิ - อุณหภูมิในการเคลือบ - การป้ องกันความชื้นและ
เนต - คุณภาพของลามิเนต อากาศ
- ความหนาของชั้นลามิเนต
4) การตัดและเย็บ - ความแข็งแรงของเส้น - ขนาดของกระสอบ
ก้นกระสอบ ด้ายที่ใช้เย็บ - ความแข็งแรงของตะเข็บ
- ความแม่นยำในการตัด

ตารางที่ 1 การระบุ KPIVs และ KPOVs ของแต่ละกระบวนการผลิต

2.3 Analyze

2.3.1 การเลือกแผนกเพื่อทำการปรับปรุง

ในการเลือกกระบวนการหรือแผนกงานที่จะทำการปรับปรุง
คุณภาพ ได้มีการนำแผนภูมิพาเรโต (Pareto Chart) ซึ่งเป็ นเครื่องมือที่
ใช้ระบุลำดับความสำคัญของปั ญหาเพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าปั ญหาใด
ควรได้รับการแก้ไขก่อน-หลัง โดยใช้หลัก 80:20 หมายถึง 80% ของ
ผลลัพธ์นั้นเกิดมาจากตัวแปร 20% และการกระทำด้วยปั จจัยเพียง 20%
แต่ได้ผลมากถึง 80% จากการเก็บข้อมูลการผลิตเป็ นเวลา 10 เดือน พบ
ว่ามีอัตราการปฏิเสธของเสียต่อเดือนโดยเฉลี่ยดังตารางที่ 2

แผนก การปฏิเสธของเสีย (ต่อ


เดือน)
1) การทอผ้าพลาสติก 1928.60
8

2) การพิมพ์ลาย 182.40
3) การเคลือบลามิเนต 259.50
4) การตัดและเย็บก้น
288.70
กระสอบ

ตารางที่ 2 อัตราการปฏิเสธของเสียต่อเดือนโดยแบ่งตามแผนก

รูปที่ 4 แผนภูมิพาเรโตของการปฏิเสธของเสียในแต่ละแผนก

จากแผนภูมิพาเรโตในรูปที่ 4 พบว่าแผนกการทอผ้าพลาสติกมี
จำนวนการปฏิเสธของเสียเฉลี่ยต่อเดือนมากที่สุดจากทั้งหมด 4 แผนก
โดยคิดเป็ น 72.5% จากจำนวนการปฏิเสธของเสียทั้งหมด ดังนั้นการ
ปรับปรุงคุณภาพการผลิตจึงมุ่งเน้นไปที่แผนกการเป่ าเส้นด้ายเป็ นหลัก

2.3.2 การคัดเลือก KPIVs และ KPOVs

ในการปรับปรุงปรับปรุงคุณภาพการผลิตกระสอบเคลือบลามิเนต
จะมีการใช้ Cause and Effect Matrix เพื่อเป็ นการเลือก KPIVs ที่มี
อิทธิพลต่อคุณภาพมากที่สุดจากทั้งหมด 6 ปั จจัยภายในแผนกการทอผ้า
พลาสติกที่ได้ทำการระบุไว้ในตารางที่ 1 โดยการให้คะแนนของปั จจัยและ
9

ความสัมพันธ์ภายใน Cause and Effect Matrix มาจากการระดมความ


คิด (Brainstorming) ของสมาชิกภายในกลุ่ม ได้ผลดังตารางที่ 3
จาก Cause and Effect Matrix ในตารางที่ 3 พบว่า KPIVs ที่ได้
คะแนนมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ความเร็วในการทอของเครื่องจักร
(Weaving Speed) อุณหภูมิในการเป่ า (Extrusion Temperature)
และอุณหภูมิในการหล่อน้ำ (Water Bath Temperature) ตามลำดับ ดัง
นั้น 3 ปั จจัยนี้จะถูกนำไปใช้ในการออกแบบการทดลอง (Design of
Experiment; DOE) ในขั้นตอนต่อไป

คะแนนของ KPOVs 9 10 5 6 7
ขนาดของเส้นด้าย

ขนาดของแผ่นผ้า

ความสม่ำเสมอ
ความแข็งแรง
ความยืดหยุ่น

คะแนน
KPIVs

อุณหภูมิในการเป่ า (Extrusion 191


9 9 4 0 0
Temperature)
ความเร็วในการเป่ า (Extrusion 5 7 7 0 0 150
10

Speed)
อุณภูมิในการหล่อน้ำ (Water Bath 182
8 9 4 0 0
Temperature)
อุณหภูมิในการอบ 5 6 4 0 0 125
แรงในการยืดเส้นด้าย 4 4 7 2 0 123
ความเร็วในการทอของเครื่องจักร 203
6 7 0 5 7
(Weaving Speed)

ตารางที่ 3 Cause and Effect Matrix ของ KPIVs และ KPOVs ของ
กระบวนการทอผ้าพลาสติก

ในส่วนของการคัดเลือก KPOV ที่มีความสำคัญมากที่สุดจาก 5


KPOVs ข้างต้น จะใช้การระดมความคิดของสมาชิกภายในกลุ่ม ได้ข้อ
สรุปว่าความแข็งแรงของกระสอบ (Strength) เป็ นตัวชี้วัดที่มีความสำคัญ
มากที่สุด ซึ่งจากการเก็บข้อมูลความแข็งแรงของกระสอบภายในแผนก
ทอผ้าพลาสติก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 7.488 MPa
จากการเก็บข้อมูลการผลิตในแผนกทอผ้าพลาสติก สามารถสร้าง
Control Chart ในตัวชี้วัดด้านความแข็งแรงเพื่อใช้ในการควบคุม
คุณภาพและเป็ นเกณฑ์ในการปฏิเสธของเสีย ดังรูปที่ 5
11

รูปที่ 5 x – R Chart ของความแข็งแรงก่อนปรับปรุง

2.4 Improve

จากขั้นตอนการทำ DMAIC ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปว่าแผนกที่มีอัตรา


การปฏิเสธของเสียมากที่สุดคือแผนกการทอผ้าพลาสติก ซึ่งคิดเป็ น
72.5% ของการปฏิเสธของเสียในกระบวนการผลิตกระสอบเคลือบลามิ
เนตทั้งหมด ซึ่ง KPOVs ที่ใช้ในการวัดคุณภาพของกระสอบคือความแข็ง
แรงของกระสอบ (Strength) และ KPIVs ของแผนกการทอผ้าพลาสติกที่
มีความสำคัญต่อคุณภาพมีทั้งหมด 3 ปั จจัย ได้แก่ อุณหภูมิในการเป่ า
(Extrusion Temperature) ความเร็วในการเป่ า (Extrusion Speed)
และความเร็วในการทอของเครื่องจักร (Weaving Speed) ข้อมูลเหล่านี้
จะนำไปใช้ในการออกแบบการทอดลอง (DOE) เพื่อเพิ่มคุณภาพของ
กระสอบเคลือบลามิเนต ในด้านของความแข็งแรง

2.4.1 การออกแบบการทดลอง (DOE)

ในการทำการออกแบบการทดลอง เนื่องจากข้อจำกัดในด้าน
k
ทรัพยากร จะมีการใช้ 2 Factorials ซึ่งมีปั จจัยทั้งหมด 3 ปั จจัย และมี
ระดับค่าที่ใช้ในการทดลอง 2 ระดับ คือค่าสูง (High Level, 1) และค่าต่ำ
(Low Level, -1) และทำซ้ำ (Replicate) 2 ครั้ง คิดเป็ นทั้งสิ้น 16 Runs
ซึ่งรายละเอียดของปั จจัยและค่าระดับของปั จจัย แสดงในตารางที่ 4

ตัวแป ระดับ
ปั จจัย
ร Low (-1) High (1)
อุณหภูมิในการเป่ า (Extrusion 180 °c 200 °c
A
Temperature)
12

ความเร็วในการเป่ า (Extrusion 12 14 m/min


B
Speed) m/min
อุณภูมิในการแช่น้ำ (Water Bath 20 °c 30 °c
C
Temperature)

ตารางที่ 4 ปั จจัยและค่าระดับของปั จจัยในการทำ DOE

การออกแบบการทดลอง (DOE) จะดำเนินการโดยใช้โปรแกรม


Minitab ซึ่งในขั้นแรกจะเป็ นการออกแบบตารางการทดลอง โดยกำหนด
ระดับปั จจัยต่างๆ 8 แบบ และทำการทดลองซ้ำ 2 ครั้ง ซึ่งค่าความแข็ง
แรงที่ได้ มาจากการทำการลองโดยกำหนดค่าปั จจัยต่างๆ ดังตารางที่ 5
และจากการคำนวณโดยใช้ซอฟต์แวร์ Minitab ได้ผลลัพธ์ดังรูปที่ 6

Extrusion Water Bath Result


Extrusion
Temperatur Temperatu
Speed ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2
e re
-1 -1 -1 7.27489 7.09649
1 -1 -1 7.48377 7.75533
-1 1 -1 8.30456 7.83805
1 1 -1 7.02566 7.46260
-1 -1 1 7.90238 8.60185
1 -1 1 7.87235 8.01855
-1 1 1 7.47112 7.73140
1 1 1 7.50025 8.39543
13

ตารางที่ 5 ตารางออกแบบการทดลอง DOE

รูปที่ 6 ผลการทำ DOE

รูปที่ 7 Residual Plots ของ DOE

รูปที่ 8 Normal Plot ของ DOE รูปที่ 9


Pareto Chart ของ DOE
14

รูปที่ 10 Main Effect Plot ของ DOE รูปที่


11 Interaction Plot

จากการวิเคราะห์ Residual Plot ของ DOE ในรูปที่ 7 Normal


Probability Plot มีการกระจายตัวของข้อมูลเป็ นแบบปกติ ไม่พบสิ่งผิด
ปกติใดๆ แสดงว่าการออกแบบการทดลองมีความเหมาะสมเพียงพอใน
การวิเคราะห์ข้อมูล
จากข้อมูลการทดลอง DOE พบว่าปั จจัยหลัก (Main Effect) ที่มี
อิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อความแข็งแรงของกระสอบคือ อุณหภูมิในการ
แช่น้ำ (Water Bath Temperature) ซึ่งมีค่า P-value ต่ำกว่า 0.05
(ระดับความเชื่อมั่น 95%) นอกจากนี้ Interaction ระหว่างทั้งอุณหภูมิ
ในการเป่ า (Extrusion Temperature) ความเร็วในการเป่ า (Extrusion
Speed) และอุณภูมิในการแช่น้ำ (Water Bath Temperature) ก็มี
อิทธิพลต่อความแข็งแรงของกระสอบเช่นกัน
15

หลังจากการวิเคราะห์ผล DOE ทำให้สามารถกำหนดค่าปั จจัยที่ส่ง


ผลให้ค่าความแข็งแรงของกระสอบสูงที่สุด โดยการคำนวณจากสมการ
y =7.7334 - 0.0442 A - 0.0173 B + 0.2032 C + 0.2393
A*B*C
โดย y คือ ความแข็งแรง (Strength)
A คือ อุณหภูมิในการเป่ า (Extrusion
Temperature)
B คือ ความเร็วในการเป่ า (Extrusion Speed)
C คือ อุณภูมิในการแช่น้ำ (Water Bath
Temperature)
เมื่อแทนค่า A และ B เป็ นค่าระดับต่ำ (-1) C เป็ นค่าระดับสูง (1)
จะทำให้ได้ค่าความแข็งแรง (y) สูงที่สุด คือ 8.123 MPa โดยค่าของ
ปั จจัยต่างๆ ที่จะทำให้ค่าความแข็งแรงสูงสุด แสดงในตารางที่ 6

ตัวแป ค่าของ
ปั จจัย
ร ปั จจัย
อุณหภูมิในการเป่ า (Extrusion 180 °c
A
Temperature)
ความเร็วในการเป่ า (Extrusion 12 m/min
B
Speed)
อุณภูมิในการแช่น้ำ (Water Bath 30 °c
C
Temperature)

ตารางที่ 6 ค่าของปั จจัยที่ทำให้ความแข็งแรงสูงสุด

2.4.2 ผลจากการปรับปรุงกระบวนการ
16

หลังจากการปรับค่าปั จจัยทั้ง 3 ปั จจัย ภายในแผนกทอผ้าพลาสติก


ซึ่งก่อนการทดลองมีจำนวนการปฏิเสธของเสียเฉลี่ยต่อเดือน 1928.60
ชิ้น คิดเป็ น 6.43% ของปริมาณการผลิตต่อเดือน ภายหลังการปรับปรุง
คุณภาพ พบว่าจำนวนการปฏิเสธของเสียลดลงเหลือ 1067 ชิ้นต่อเดือน
คิดเป็ นของเสีย 3.56% ของการผลิตต่อเดือน ซึ่งลดลงจากก่อนการผลิต
44.67%
ในด้านของความแข็งแรงซึ่งเป็ น KPOV ของแผนกทอผ้าพลาสติก
เมื่ อปรับค่าปั จจัยให้เหมาะสมแล้ว ทำให้ค่าความแข็งแรงเพิ่มขึ้นเป็ น
8.123 MPa ซึ่งเพิ่มขึ้นจากก่อนทำการปรับปรุง 8.48%

ก่อน หลัง ความ


ตัวชี้วัด
ปรับปรุง ปรับปรุง แตกต่าง
ความแข็งแรง (MPa) 7.488 8.123 เพิ่มขึ้น
8.48%
การปฏิเสธของเสียเฉลี่ยต่อเดือน ( 1,928.60 1,067 ลดลง
ชิ้น) 44.67%

ตารางที่ 7 เปรียบเทียบตัวชี้วัดก่อนและหลังการปรับปรุง

2.5 Control

2.5.1 การควบคุมกระบวนการด้วยเครื่องมือทางสถิติ (SPC)


หลังจากการปรับปรุงคุณภาพการผลิต จำเป็ นต้องมีการควบคุม
คุณภาพอย่าสม่ำเสมอเพื่อเป็ นการรักษาความสำเร็จในการปรับปรุง
17

กระบวนการอย่างยั่งยืนต่อไป โดยมีการใช้การควบคุมกระบวนการด้วย
สถิติ (Statistical Process Control; SPC)
ขั้นแรกคือการเก็บข้อมูลความแข็งแรงของภายในแผนกทอผ้า
พลาสติก โดยสุ่มตัวอย่างตรวจ วันละ 3 ชิ้น เป็ นเวลา 30 วัน ได้ข้อมูล
ตามตารางที่ 8

ความแข็งแรง (MPa) ความแข็งแรง (MPa)


วันที่ ครั้งที่ ครั้งที่ ครั้งที่ วันที่ ครั้งที่ ครั้งที่ ครั้งที่
1 2 3 1 2 3
8.360 7.633 8.577 5.187 8.474
1 8.8830 16
1 4 4 8 3
9.245 7.342 8.276 7.765 9.104
2 8.5651 17
9 1 9 4 6
9.141 7.172 8.965 6.641 8.311
3 7.8523 18
8 7 1 6 8
8.116 9.465 6.283 7.899 9.510
4 9.2207 19
5 5 7 9 7
7.003 8.487 8.130 4.915 8.963
5 8.5355 20
5 7 2 3 6
10.180 7.963 6.708 7.858 7.042 7.579
6 21
9 4 8 1 6 6
9.038 8.010 6.782 8.917 7.708
7 7.1276 22
1 1 8 9 0
8.350 9.051 8.381 10.51 7.919
8 8.8976 23
8 9 4 84 5
7.323 8.184 6.980 7.360 8.935
9 7.6306 24
3 9 8 2 5
18

8.734 8.049 8.507 8.267 8.266


10 6.4127 25
3 6 6 2 9
8.474 7.467 6.358 8.345 7.940
11 7.6308 26
5 4 5 2 7
10.06 6.456 9.043 5.018 8.337
12 7.3740 27
82 8 3 9 9
7.930 7.814 7.802 9.885 7.409
13 8.9803 28
0 2 8 9 6
9.043 7.738 8.173 10.70 8.959
14 8.5203 29
2 7 9 32 9
9.089 8.873 8.185 8.871 8.716
15 7.1392 30
3 3 6 6 8

ตารางที่ 8 ข้อมูลความแข็งแรงหลังการปรับปรุง

การทำ การควบคุมกระบวนการ ด้วยสถิติ (SPC) จะมีการใช้


Control Chart ประเภท x – R Chart ด้วยซอฟต์แวร์ Minitab เพื่อนำ
ไปใช้ในการควบคุมคุณภาพของกระบวนการต่อไป (รูปที่ 12)

รูปที่ 12 x – R Chart ของความแข็งแรงหลังการปรับปรุง


19

ในส่วนของภาพรวมของการผลิต ได้มีการจัดทำข้อนโยบายในการ
ควบคุมคุณภาพของแต่ละแผนก โดยกำหนดความถี่ในการตรวจสอบและ
การสร้าง Control Chart ใหม่ เพื่อเป็ นมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพ
ของกระบวนการผลิต ดังตารางที่ 9

ความถี่ใน
เครื่องมือใน
กิจกรรม ตัวชี้วัด การตรวจ
การควบคุมคุณภาพ
สอบ
การทอผ้า อัตราการ Control Chart
รายวัน
พลาสติก ปฏิเสธของเสีย แบบรายเดือน
อัตราการ Control Chart
การพิมพ์ลาย รายวัน
ปฏิเสธของเสีย แบบรายเดือน
การเคลือบลามิ อัตราการ Control Chart
รายวัน
เนต ปฏิเสธของเสีย แบบรายเดือน
การตัดและเย็บ อัตราการ Control Chart
รายวัน
ก้นกระสอบ ปฏิเสธของเสีย แบบรายเดือน
ความแข็งแรงใน ความแข็งแรง 3 ครั้งต่อ Control Chart
การทอ (MPa) วัน แบบรายเดือน

ตารางที่ 9 นโยบายในการควบคุมคุณภาพ

3. สรุปผลการดำเนินงาน
20

จากการปรับปรุงคุณภาพการผลิตของกระสอบเคลือบลาเนตโดยใช้
ขั้นตอน DMAIC มาประยุกต์ใช้ แบ่งออกเป็ น 5 ขั้นตอน ในขั้นตอนแรก
เป็ นการกำหนดปั ญหา (Define) โดยมีการใช้ Project Charter และ
SIPOC Model มาใช้ในการระบุกระบวนการ ปั ญหา เป้ าหมาย ขอบเขต
และรายละเอียดอื่นของลูกค้าและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ขั้นที่สองเป็ นการวัด
กระบวนการ (Measure) มีการระบุ KPIVs และ KPOVs ของแต่ละแผนก
ในการผลิต ขั้นต่อมาเป็ นการวิเคราะห์ปั ญหา (Analyze) ซึ่งมีการใช้แผน
ภูมิพาเรโต (Pareto Chart) เพื่อวิเคราะห์และเลือกแผนกที่มีการปฏิเสธ
ของเสียต่อเดือนมากและสมควรที่จะได้รับการแก้ไขก่อน โดยแผนกที่ควร
ได้รับการปรับปรุงมากที่สุดคือแผนกการทอผ้าพลาสติก เมื่อเลือกแผนก
ได้แล้ว จะมีการใช้ Cause and Effect Matrix เพื่อวิเคราะห์หา KPIVs
ภายในแผนกนั้นที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพมากที่สุด ผลคือ ความเร็วในการ
ทอของเครื่องจักร (Weaving Speed) อุณหภูมิในการเป่ า (Extrusion
Temperature) และอุณหภูมิในการหล่อน้ำ (Water Bath
Temperature) ได้คะแนนมากที่สุด

หลังจากนั้นจึงเลือก KPOVs ที่เป็ นตัวชี้วัดคุณภาพของผลิตภัณฑ์


โดยความแข็งแรง (Strength) เป็ นตัวชี้วัดที่ดีสุด ปั จจัยและตัวชี้วัดเหล่านี้
จะถูกนำไปใช้ในการออกแบบทดลอง (DOE) ในขั้นตอนการปรับปรุง
k
(Improve) ซึ่งมีการใช้ 2 Factorials ปั จจัยทั้งหมด 3 ปั จจัย และมี
ระดับค่าที่ใช้ในการทดลอง 2 ระดับ และทำซ้ำ (Replicate) 2 ครั้ง คิด
เป็ นทั้งสิ้น 16 Runs ผลจากการทดลอง คือ ที่อุณหภูมิในการเป่ า 180 °c
ความเร็วในการเป่ า 12 m/min อุณภูมิในการแช่น้ำ 30 °c จะทำให้ค่า
ความแข็งแรงของกระสอบสูงที่สุด ที่ค่า 8.123 MPa ซึ่งมากกว่าค่าเดิมที่
21

ได้จากการผลิตในอดีต 8.48% และทำให้อัตราการปฏิเสธของเสียต่อ


เดือนลดลงถึง 44.67%

เมื่อทำการปรับปรุงคุณภาพแล้ว จะต้องมีการควบคุมกระบวนการ
(Control) โดยใช้การควบคุมกระบวนการด้วยเครื่องมือทางสถิติ (SPC)
ซึ่งได้ทำการออกแบบ Control Chart ประเภท x – R Chart ในการ
ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพภายในแผนกทอผ้าพลาสติก นอกจากนี้ยัง
ได้ทำการออกแบบนโนบายในการควบคุมคุณภาพของทั้งกระบวนการ
การผลิตเพื่อในเป็ นมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพต่อไป

แหล่งอ้างอิง

1.การผลิตกระสอบพลาสติก
(https://www.siampolynet.com/portfolio/)

2. SIPOC Model ของพันเอก มารวย ส่งทานินทร์


(https://www.gotoknow.org/posts/587120)

3.การประยุกต์ใช้เทคนิคซิกซ์ ซิกม่าเพื่อเพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้อง
กับข้อกำหนดในกระบวนการผลิตถุงมือยางสำหรับตรวจโรค
22

(https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/9824/1/391210.pd
f)

4. งานวิจัยเรื่อง Waste reduction of polypropylene bag


manufacturing process using Six Sigma DMAIC approach: A
case study
(https://www.researchgate.net/publication/349871405_Waste
_reduction_of_polypropylene_bag_manufacturing_process_us
ing_Six_Sigma_DMAIC_approach_A_case_study)

5. Introduction to Lean Six Sigma DMAIC Methodology


(https://evocon.com/articles/introduction-to-lean-six-sigma-
dmaic-methodology/)

6. DMAIC Project Example in Manufacturing


(https://evocon.com/articles/dmaic-project-example/)

7. Cause and Effect Matrix


(https://goterrestrial.com/2021/05/19/cause-and-effect-
matrix/)

8 .แผนภูมิพาเรโตความหมาย ประโยชน์
(http://www.lampang.cmustat.com/ppt/208345/lesson
%201/Pareto%20Diagram%204.pdf)

You might also like