You are on page 1of 3

สอบปลายภาค ม.

5
วิชาภาษาไทย
……………………………………………………………….
เนื้อหาที่สอบ
1. ภาษากับเหตุผล การอนุมาน (อุปนัย , นิรนัย)
2. การแสดงทรรศนะ
3. การโน้มน้าวใจ
4. ขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา
5. สามัคคีเภทคำฉันท์
6. ไตรภูมิพระร่วง ตอนมนุสสภูมิ

สรุปเนื้อหาไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วงหรือไตรภูมิกถา , เตภูมิกถา หมายถึงเรื่องราวของโลกทั้ง 3 ได้แก่
1. กามภูมิ คือโลกของผู้ที่ข้องอยู่ในกิเลส แบ่งเป็ น สุคติภูมิ 7 และทุคติภูมิหรือ
อบายภูมิ 4 (อบายภูมิ ได้แก่ นรกภูมิ เปรตภูมิ อสูรกายภูมิ เดรัจฉานภูมิ)
2. รูปภูมิ คือดินแดนของพรหมที่มีรูป มี 16 ชั้น
3. อรูปภูมิ คือดินแดนของพรหมไม่มีรูป มี 4 ชั้น

ไตรภูมิพระร่วง ตอนมนุสสภูมิกล่าวถึงการเกิดของมนุษย์ว่าเป็ นความยากลำบาก


หรือเป็ นความทุกข์อย่างหนึ่ง โดยกล่าวถึงมนุษย์ตังแต่แรกเกิด ดังนี้
เริ่มปฏิสนธิ เรียกว่า กลละ มีขนาด 1/256 ของเส้นผม
7 วัน เรียกว่า อัมพุทะ (น้ำล้างเนื้อ)
14 วัน เรียกว่า เปสิ (ชิ้นเนื้อ)
21 วัน เรียกว่า ฆนะ (ก้อนเนื้อ ขนาดเท่าไข่ไก่)
28 วัน เรียกว่า เบญจสาขาหูด (แขน 2, ขา 2, หัว 1)
35 วัน มีฝ่ ามือ นิ้วมือ ลายนิ้วมือ
42 วัน มีขน เล็บมือ เล็บเท้า
50 วัน ส่วนล่างสมบูรณ์
84 วัน ท่อนบนสมบูรณ์
184 วัน เป็ นเด็กสมบูรณ์นั่งกลางท้องแม่
เมื่ออยู่ในท้องแม่ 6 เดือน คลอดออกมามักจะไม่รอด ,
7 เดือนคลอดจะไม่แข็งแรง ทารกที่คลอดออกมาแล้วร้องไห้ ท่านว่า
มาจากนรกจำความทุกข์ทรมานในนรกนั้นได้ เมื่ออยู่ในท้องแม่ก็กระวนกระวาย
ไม่เป็ นสุข พลอยให้แม่ร้อนเนื้อร้อนตัวไปด้วย
ทารกที่คลอดออกมาแล้วหัวเราะท่านว่ามาจากสวรรค์ เนื้อตัวจะเย็น เมื่ออยู่ในท้องแม่ก็
อยู่เย็นเป็ นสุขสบายใจ เมื่อทารกถึงเวลาคลอดจะเกิดลมกรรมชวาตพัดให้ทารกนั้นกลับหัวลง
เหมือนยมบาลจับสัตว์นรกหย่อนหัวลงในขุมนรก ทารกนั้นคลอดยากจะเจ็บเนื้อเจ็บตัวราวกับ
ถูกภูเขาหนีบและทับให้บดบี้
คนทั่วไป เมื่อแรกเกิดก็ดี เมื่ออยู่ในท้องแม่ก็ดี เมื่อคลอดออกจากท้องแม่ก็ดี (กาลทั้ง 3)
จะจำไม่ได้ (ย่อมหลง บ่มิได้คำนึงรู้อันใดสักสิ่ง)
พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตขีณาสพ และพระอัครสาวก จะจำกาลเมื่อแรกเกิดและ
เมื่ออยู่ในท้องแม่ได้ แต่เมื่อคลอดจากท้องแม่ก็จะจำไม่ได้เหมือนคนทั่วไป

คำศัพท์ที่น่าจะรู้
ไปเบื้องหน้า หมายความว่า โตขึ้น
ตืด , เอือน “ พยาธิ
ที่เร่ว “ ป่ าช้า
คนกันอยู่ “ ปนกัน
เริม “ ไช , ชอน
อาจม “ อุจจาระ
สะหน่อย “ สักหน่อย
อยู่ธรห้อย “ โคลงเคลง
วาร “ วัน
บ่ห่อนจะได้สักคาบ “ ไม่รอด
บ่มิได้กล้าแข็ง “ ไม่แข็งแรง
กระหนกระหาย “ กระวนกระวาย
ประตูลักษ “ ช่องดาล , ช่องรูกุญแจ
หีบ “ หนีบ
เหง “ ทับ
อย่า “ หยุด
เมือหน้า “ ภายหน้า
ควรอิ่มสงสารแล “ ควรเข้าใจ

You might also like