You are on page 1of 5

1.

โครงงานวิจัย : การพัฒนากันแดดจาก ZnO ที่ได้จากการสังเคราะห์โดยวิธีเคมีสีเขียว

Project title : Development of sunscreen products from ZnO obtained synthesis from
Green chemistry.

2. ที่มาและความสำคัญของงานวิจัย
เนื่องด้วยประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร มีสภาะวะอากาศที่ร้อนอบอ้าวตลอดทั้งปี มีแดด
จัด โดยแสงแดดที่ส่องมายังโลกนั้น ประกอบด้วย รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) รังสีอินฟาเรด (IR) และรังสีที่
มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (Visible) ซึ่งการได้รับแสงแดดเป็นระยะเวลานานนั้น จะทำให้เกิดผื่นแดง ผิวหมอง
คล้ำ ฝ้า กระ จุดด่างดำ รอยเหี่ยวย่น ผิวแก่ก่อนวัย และ อาจเกิดมะเร็งผิวหนังได้ แต่เนื่องด้วยการดำเนินชีวิต
ในปัจจุบันนั้น อาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงแสงแดดได้ 100% ซึ่งการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด
(Sunscreen) เป็นหนึ่งในวิธีการที่จะช่วยป้องกันแสงแดดได้ เนื่องจากในในกันแดดมีสารที่ช่วยในการป้องกัน
รังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งจะแบ่งสารเหล่านั้นออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่สารทีท่ ำหน้าที่ดูดซับรังสี (UV) เช่น
สารอินทรีย์ (Organic) และสารที่ทำหน้าที่สะท้อนรังสี (UV) เช่น ซิงค์ออกไซด์ (Zinc Oxide) ไททาเนียมได
ออกไซด์ (Titanium Dioxide) แมกนีเซียมออกไซด์ (Magnesium Oxide) เป็นต้น (พิชชาภา ห้อมา,2562)
ซิงค์ออกไซด์หรือสังกะสีออกไซด์ (ZnO) เป็นสารอนินทรีย์ที่นิมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญของกัน
แดด เนื่องจากมีความสามารถในการป้องกันรังสี UV โดยสามารถสะท้อนได้ทงั้ รังสี UVA และ UVB ซึ่งเป็น
รังสีที่อันตราย เกิดโทษเป็นส่วนใหญ่ โดยรังสี UVA สามารถทะลุผ่านผิวหนังถึงชั้นหนังแท้ เข้าไปทำลาย
เนื้อเยื่อคอลลาเจนและเส้นใยอิลาสติก ทำให้เซลล์ผิวเกิดภาวะแก่ก่อนวัย ส่วนรังสี UVB เมื่อได้รับเป็น
เวลานานจะทำให้ผิวหนังบวมแดง พองและลอกออก เกิดอาการไหม้แดด (sunburn) และเมือ่ ได้รับรังสีอย่าง
ต่อเนื่อง ก็อาจพัฒนาให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ โดยซิงค์ออกไซด์จะทำหน้าที่เคลือบผิวหนังแล้วทำการสะท้อน
หรือกระจายรังสี UV เปรียบเสมือนเป็นร่มให้กับผิวหนัง จึงสามารถป้องกันรังสี UV ไม่ให้เข้าไปทำอันตรายต่อ
ผิวหนังได้ นอกจากนี้ยังถือว่าซิงค์ออกไซด์เป็นสารที่มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากเป็นสารที่ไม่ถูกดูดซึมเข้า
ผิวหนัง จึงมีโอกาสแพ้ได้น้อย ดังนั้นซิงค์ออกไซด์ (ZnO) จึงเป็นสารที่มีประสิทธิภาพและเหมาะแก่การนำไป
พัฒนาเป็นกันแดด (ชุติมณฑน์ อุดมเกียรติกูล,2558)
เคมีสีเขียว (Green chemistry) คือ แนวคิดของการนำหลักการพื้นฐานที่คำนึงถึงความปลอดภัยในการ
ใช้สารเคมีเป็นอันดับแรกการใช้สารเคมีจะต้องไม่เป็นพิษหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ
ผลิตน้อยที่สุด รวมทั้งคำนึงถึงการป้องกันหรือลดการปล่อยสารเคมีที่เป็นพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม โดยอาศัย
หลักการในการเลือก ใช้วัตถุดิบการวางแผนและการออกแบบการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกล่าว
ง่าย ๆ คือในการใช้สาร เคมีในแต่ละขั้นตอนของการผลิตจะต้องคำนึงและระลึกเสมอว่าสารเคมีชนิดนั้นจะไม่
เป็นอันตรายต่อมนุษย์และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นหลักสำคัญของ Green chemistry ดังนั้นเคมีสีเขียว
จะให้ความ สำคัญกับ การป้องกันที่ต้นเหตุมากกว่าการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
เคมีสีเขียว (Green chemistry) เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่ยึดหลักปรัชญาในกระบวนการออกแบบและ
สังเคราะห์วัสดุหรือสารเคมี โดยการลด ละ หรือหลีกเลี่ยงการใช้หรือสังเคราะห์สารที่ก่อให้เกิดอันตรายและ
เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม กระบวนการหรือขั้นตอนทางเคมี รวมถึงการวางแผนการปฏิบัติการที่เป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อม จึงเป็นหัวใจและกลไกสำคัญของเคมีสีเขียว (ณปภัช พิมพ์ดี,2560)
ดังนั้นทางเราจึงมีแนวคิดที่จะสังเคราะห์ซิงค์ออกไซด์ (ZnO) ด้วยวิธีเคมีสีเขียว (Green chemistry) ซึ่ง
เป็นวิธีที่ปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เพื่อนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์กันแดด (Sunscreen)

3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จากการศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์กันแดดจากซิงค์ออกไซด์ ZnO ทีไ่ ด้จากการสังเคราะห์โดยวิธีเคมีสี
เขียว โดยใช้สภาวะศึกษาและเงื่อนไขที่สอดคล้องกับงานวิจัยดังต่อไปนี้

ดร.อุดมลักษณ์ สุขอัตตะ และคณะจากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรแล


อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2020) ได้ทำการวิจัยสร้างนวัตกรรมผลงาน "บียอนซิงค์ออก
ไซด์ บียอนซันสกรีน" (Beyond Zinc Oxide Beyond Sunscreen) โดยได้อธิบายถึง นาโนซิงค์ออกไซด์ว่า
เป็นหนึ่งในสารสำคัญที่มีคุณสมบัติต้านเชื้อจุลินทรีย์ และสามารถป้องกันรังสียูวีได้ ซึง่ มีอนุภาคละเอียด มี
ความบริสุทธิ์สูง ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย โดยผลงาน Beyond Zinc Oxide (บียอนซิงค์ออกไซด์) เป็นการผลิต
อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์โดยใช้สารสกัดจากเปลือกผลไม้ ได้แก่ ลิ้นจี่ มังคุดและมะม่วง ในกระบวนการทางชีว
สังเคราะห์จนเป็นอนุภาคนาโนซิงคออกไซด์ และเมื่อตรวจวิเคราะห์ฤทธิ์ทางชีวภาพสามารถใช้ยับยั้งเชื้อ
แบคทีเรียและเชื้อรา และจากการวิจัยพบว่าประโยชน์ของอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ สามารถนำไปใช้เป็นสาร
ป้องกัน UV เป็นสารต้านจุลินทรีย์ก่อสิว สารลดการอักเสบในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เช่น นำมาเป็น
ส่วนผสมในผลิตภัณฑ์กันแดด สำหรับผิวหน้า ผิวกาย เพื่อปกป้องการทำลายผิวจากแสงแดด ลดการเกิดสิว
การอักเสบของผิวหนัง และลดโอกาสเกิดมะเร็งผิวหนังที่มีสาเหตุจากแสงแดด รวมถึงการนำมาใช้เป็นสารต้าน
เชื้อรายืดอายุผลไม้หลังการเก็บเกี่ยว หรือใช้เป็นสารโฟโตคะตะลิสต์ในการบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุ ตสาหกรรม
หรือใช้เป็นสารป้องกัน UV ในผลิตภัณฑ์เส้นใย ตลอดจนใช้เป็นสารต้านเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค ประยุกต์ใช้เป็น
สารต้านเชื้อจุลินทรีย์ในวัสดุต่างๆ เช่น แผ่นแปะแผลหรือในหน้ากากอนามัย เป็นต้น

สุดกมล ลาโสภา และรุ่งนภา พิมเสน (2016) ได้ทำการสังเคราะห์อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์โดยวิธีเคมีสี


เขียวสำหรับปรับปรุงการย้อมสีผ้าฝ้ายด้วยสีธรรมชาติ ซึ่งใช้สารสกัดของพืชในท้องถิ่น ได้แก่ เค็ง (Dialium
cochinchinense Pierre) ผักเสี้ยน (Cleoma viscosa L.) ยอ (Morinda citrifolia) มะรุม (Moringa
oleifera) มะขาม (Tamarindus indica L.) มะหาด (Artocarpus lacucha) ชะพลู (Piper nigrum L.)
และราชพฤกษ์ (Cassia fistula) ซิงค์ไนเตรตถูกเปลี่ยนรูปจากซิงค์ไออนเป็นสารประกอบเชิงซ้อนของซิงค์กับ
สารสกัดจากพืช จากนั้นเมื่อนำมาเผาที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง จะได้อนุภาคนาโนซิ
งค์ออกไซด์จากสารสกัดพืชทั้งหมดที่ศึกษาพบว่าสารสกัดจากใบเค็งดีที่สุดเนื่องจากให้ปริมาณของซิ งค์ออกไซด์
สูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสารสกัดจากพืชชนิดอื่นๆ พิสูจน์เอกลักษณ์อนุภาคนาโนที่สังเคราะห์ได้โดยใช้
เทคนิคยูวี-วิสสิเบิล สเปกโทรสโกปีกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM)การเลี้ยวเบนของรังสี
เอกซ์(XRD) และฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี(FTIR)

ฉัตร ผลนาค (2016) ได้ศึกษาการสังเคราะห์ซิงค์ออกไซด์ด้วยวิธีโซโนเคมีเป็นวิธีการสังเคราะห์ผลึกที่


อาศัยคลื่นเสียง ความถี่สูงหรือคลื่นอัลตราซาวด์ (ultrasonic wave) ใน กระบวนการทางเคมีได้แก่การแตก
พันธะเคมีและการกระตุน้ ปฏิกิริยาเคมีให้เกิดการฟอร์มผลึกทัง้ แบบสัณฐานและอสัณฐาน งานวิจัยที่ใช้คลื่นอัล
ตราซาวด์ในการสังเคราะห์ ซิงก์ออกไซด์ภายใต้เงื่อนไขของบรรยากาศ มักใช้ความถี่ ในช่วง 20-40 กิโลเฮิรตซ์
ด้วยกำลังขับระหว่าง 50-1,500 วัตต์ โดยสัณฐานวิทยาของผลึกที่สังเคราะห์ได้ขึ้นกับชนิดสารตั้งต้น ค่าความ
เข้มข้นและค่า pH ของสารผสม ธรรมชาติของการเติมสารลดแรงตึงผิวและสารเพิ่มการยึด เกาะ และเงื่อนไข
การให้พลังงานคลื่นอัลตราซาวด์

Yang และคณะ (2014) ได้สังเคราะห์ ZnO ขนาดอนุภาคนาโนที่มีรูปร่างต่างๆ ด้วยวิธี hydrothermal


ซึ่งเป็นกระบวนการที่เตรียมจาก Zn foil ซึ่งจากการศึกษาพบว่าอนุภาคที่มีรูปร่างต่างกัน จะส่งผลต่อ
ความสามารถในการย่อยสลาย Rhodamine B ที่แตกต่างกัน

4. วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
4.1 เพื่อศึกษาวิธีสังเคราะห์ซิงค์ออกไซด์ (ZnO) โดยวิธีเคมีสีเขียว
4.2 เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ของผลิตภัณฑ์กันแดดที่พัฒนาขึ้นมา

5. สมมติฐานของงานวิจัย
5.1 สามารถสังเคราะห์ซิงค์ออกไซด์ (ZnO) ได้โดยวิธีเคมีสีเขียว
5.2 ผลิตภัณฑ์กันแดดมีประสิทธิภาพในป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ได้ดี

6. ขอบเขตของงานวิจัย
6.1 สังเคราะห์ ZnO โดยวิธีเคมีสีเขียว
6.2 ทดสอบเปรียบเทียบค่าการดูดกลืนแสงของสารซิงค์ออกไซด์ ZnO ที่ได้จากการสังเคราะห์โดยวิธีเคมี
สีเขียว ที่ได้กับสารมาตรฐานซิงค์ออกไซด์จากท้องตลาด (Standard Zinc oxide) ด้วยเครื่อง UV-VIS
Spectrophotometer
6.3 สร้างผลิตภัณฑ์กันแดดจาก ZnO ที่สังเคราะห์โดยวิธีเคมีสีเขียว
6.4 ทดสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์กันแดดจาก ZnO ที่ได้จากการสังเคราะห์โดยวิธีเคมีสี
เขียว ได่แก่ การทดสอบความเป็นกรด-ด่าง ด้วยเครื่องวัดความเป็นกรด-ด่าง (pH meter) วัดขนาดของ
อนุภาค ด้วยเครื่องวิเคราะห์ขนาดอนุภาค (Particle Size Analyzer) ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และ
ทดสอบประสิทธิภาพการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต โดยหาค่า SPF และ Boots Star Rating ด้วยเครื่องวัด
ค่าการป้องการทำลายของแสงอัลตราไวโอเลต (Sun Protection analyzer) SPF-290S Analyzer System
พร้อม WinSPF Software

7. สถานที่ทำวิจัย
ทําการวิจัย ณ ห้องปฏิบัติการสาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สงขลา

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
8.1 เพื่อให้ได้ ZnO ที่สังเคราะห์โดยวิธีเคมีสีเขียว
8.2 เพื่อได้ผลิตภัณฑ์กันแดดจาก ZnO ที่สังเคราะห์โดยวิธีเคมีสีเขียว
8.3 เพื่อเป็นแนวทางในการสังเคราะห์สารชนิดอื่นด้วยวิธีเคมีสีเขียว (Green chemistry)

9. ระยะเวลาในการดำเนินงานวิจยั

เดือนกันยายน พ.ศ. 25566 - เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567


กิจกรรมแผนการดำเนินงาน
ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค.

1.เตรียมแผนการทำวิจัย
2.เขียนโครงร่างวิจัย
3.สังเคราะห์ ZnO โดยวิธีเคมีสีเขียว
4.สร้างผลิตภัณฑ์กันแดดจาก ZnO ที่
สังเคราะห์โดยวิธีเคมีสีเขียว
5.วิเคราะห์ข้อมูลและเขียนรายงานผลการวิจัย

10. เอกสารอ้างอิง

พิชชาภา ห้อมา, (ออนไลน์). (ม.ป.ป.) การพัฒนาผลิตภัณฑ์กันแดดของสารพิเพอรีนที่แยกได้จาก สารสกัด


พริกไทยดำในรูปแบบไมโครอิมัลชัน สืบค้นจาก : https://rsuir-library.rsu.ac.th [2 ตุลาคม 2566]
ชุติมณฑน์ อุดมเกียรติกูล, (ออนไลน์). (ม.ป.ป.) ผลิตภัณฑ์กันแดดปกป้องผิวอย่างไร? สืบค้นจาก :
https://pharmacy.mahidol.ac.th [2 ตุลาคม 2566]

ณปภัช พิมพ์ดี, (ออนไลน์). (ม.ป.ป.) เคมีสีเขียว (Green Chemistry) สืบค้นจาก :


https://www.scimath.org [2 ตุลาคม 2566]

ดร.อุดมลักษณ์ สุขอัตตะ และคณะจากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรแลอุตสาหกรรมเกษตร


มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, (ออนไลน์). (ม.ป.ป.) วิจัยสร้างนวัตกรรม “Beyond Zinc Oxide Beyond
Sunscreen ” สืบค้นจาก : https://pr.ku.ac.th [4 ตุลาคม 2566]

สุดกมล ลาโสภา และรุ่งนภา พิมเสน, (ออนไลน์). (ม.ป.ป.) การสังเคราะห์อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์โดยวิธี


เคมีสีเขียวสำหรับปรับปรุงการย้อมสีผ้าฝ้ายด้วยสีธรรมชาติ สืบค้นจาก : https://li01.tci-thaijo.org
[5 ตุลาคม 2566]

ฉัตร ผลนาค, (ออนไลน์). (ม.ป.ป.) การสังเคราะห์ซิงค์ออกไซด์ด้วยวิธีโซโนเคมี สืบค้นจาก :


https://ph01.tci-thaijo.org [6 ตุลาคม 2566]

Yang และคณะ, (ออนไลน์). (ม.ป.ป.) การเตรียมทรงกลมกลวงซิงค์ออกไซด์เพื่อประยุกต์ใช้ในเซลล์


แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง สืบค้นจาก : http://202.28.34.124 [6 ตุลาคม 2566]

You might also like