You are on page 1of 4

๑.

คำภาษาอังกฤษในข้อใดใช้คำไทยแทนไม่ได้

๑. จินดาทำข้อสอบหลายวิชาจนรู้สึกเบลอร์ไปหมด

๒. จิตราเป็นดีไซเนอร์ประจำห้องเสื้อที่มีชื่อเสียง

๓. จินตนาไปหาหมอเพื่อใช้แสงเลเซอร์รักษาผิวหน้า

๔. จิตรลดาเป็นวิสัญญีแพทย์ระดับอินเตอร์ของโรงพยาบาลนี้

เหตุผล ข้อ 3 คำว่า “เลเซอร์” ไม่มีคำไทยใช้

ข้อ 1 คำว่า “เบลอร์” ใช้คำว่า งุนงง แทนได้

ข้อ 2 คำว่า “ดีไซเนอร์” ใช้คำว่า นักออกแบบ แทนได้

ข้อ 4 คำว่า “อินเตอร์” ใช้คำว่า สากล แทนได้

๒. ข้อใดเป็นคำศัพท์บัญญัติจากคำภาษาอังกฤษทุกคำ

๑. จุลทรรศน์ จุลินทรีย์ จุลกฐิน ๒. สังคม สังเคราะห์ สังโยค

๓. สมมาตร สมมุติฐาน สมเพช ๔. วิกฤตการณ์ วิจัย วิสัยทัศน์

เหตุผล ข้อ 4 คำว่า “วิกฤตการณ์” บัญญัติศัพท์มาจาก crisis “วิจัย” บัญญัติมา

จาก research “วิสัยทัศน์” บัญญัติศัพท์มาจาก vision

ข้อ 1 คำว่า “จุลกฐิน” ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาอังกฤษ เป็นคำสมาส

ข้อ 2 คำว่า “สังโยค” ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาอังกฤษเป็นคำที่มาจาก

ภาษาบาลี-สันสกฤต

ข้อ 3 คำว่า”สมเพช” ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาอังกฤษเป็นคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต


๓. ข้อใดไม่มีคำยืมภาษาบาลีสันสกฤต

ก. วันจะจรจากน้องสิบสองค่ำ

ข. พอจวนย่ำรุ่งเร่งออกจากท่า

ค. รำลึกถึงดวงจันทร์ครรไลลา

ง. พี่ตั้งตาแลแลตามแพราย
๑. ข้อ ก และ ข ๒. ข้อ ก และ ค
๓. ข้อ ข และ ง ๔. ข้อ ค และ ง

เหตุผล ข้อ 3 เพราะข้อ ข และ ง ทุกคำเป็นคำไทย

ข้อ 1 ข้อ ก มีคำว่า “จร” เป็นคำยืม

ข้อ 2 ข้อ ก มีคำว่า “จร” เป็นคำยืม ข้อ ค มีคำว่า “จันทร์” เป็นคำยืม

ข้อ 4 ข้อ ค มีคำว่า “จันทร์” เป็นคำยืม

๔. ข้อใดใช้คำลักษณนามไม่ถูกต้อง

๑. เขาสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขของหน่วยงานได้ครบทุกข้อ

๒. นักวิชาการเสนอข้อคิดเห็นไว้ในบทสรุปของรายงานหลายประการ

๓. รัฐบาลมีปัญหาเร่งด่วนที่ต้องรีบแก้ไขหลายเรื่อง

๔. คณะกรรมการกำลังพิจารณาคำขวัญที่ส่งเข้าประกวด ๕๐ บท

เหตุผล ข้อ 4 คำขวัญ ต้องใช้ลักษณะนามว่า “คำขวัญ”ตามข้อกำหนดของราชบัณฑิตยสถาน

ข้อ 1 เงื่อนไข ใช้ลักษณะนามว่า “ข้อ” ถูกต้อง

ข้อ 2 ข้อคิดเห็น ใช้ลักษณะนามว่า “ประการ” ถูกต้อง

ข้อ 3 ปัญหา ใช้ลักษณะนามว่า “เรื่อง” ถูกต้อง


๕. ข้อใดสะกดถูกทุกคำ

๑. เขากินอาหารมังสวิรัตทุกวันพุธมาสามปีแล้ว

๒. ที่ปากทางเข้าหมู่บ้านมียามรักษาการอยู่ตลอดเวลา

๓. คนที่ซื้อทองรูปพรรณต้องจ่ายเงินค่ากำเหน็จด้วย

๔. เพื่อนเห็นเขานั่งหลับจึงถามว่าเข้าฌานถึงชั้นไหนแล้ว

เหตุผล ข้อ 3 คำว่า “กำเหน็จ” สะกดถูกต้อง หมายถึง ค่าจ้างทำเครื่องเงินหรือทองรูปพรรณ

ข้อ 1 คำว่า “มังสวิรัต” สะกดผิด ที่ถูกคือ “มังสวิรัติ” เพราะ วิรัติ หมายถึงงดเว้น,เลิก

ข้อ 2 คำว่า “รักษาการ” สะกดผิด ที่ถูกคือ “รักษาการณ์” หมายถึง เฝ้าดูแลเหตุการณ์

ข้อ 4 คำว่า “เข้าฌาณ” สะกดผิด ที่ถูกคือ “เข้าฌาน” ฌาน หมายถึงภาวะที่จิตสงบแน่วแน่

You might also like